Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๐-๔ หน้า ๑๖๘ - ๒๒๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ทรงพระกรุณา ได้แก่ ทรงพระกรุณา คือ ทรงเอ็นดู รักษา อนุเคราะห์
เอื้อเฟื้อ รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์ทรงพระกรุณาตรัสสอน
คำว่า วิเวกธรรม ที่ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ อธิบายว่า อมตนิพพานตรัส
เรียกว่า วิเวกธรรม ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด
เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า ที่ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ ได้แก่ ที่ข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว
รู้เฉพาะ แทงตลอด บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง รวมความว่า วิเวกธรรม ที่
ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
คำว่า และโดยวิธีที่ข้าพระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ อธิบายว่า
อากาศไม่ขัดข้อง คือ จับต้องไม่ได้ ไม่ติด ไม่พัวพัน ฉันใด ข้าพระองค์ไม่ขัดข้อง
คือ ไม่ยึดถือ ไม่ติด ไม่พัวพัน ฉันนั้น รวมความว่า ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ
อย่างนี้บ้าง
อากาศย้อมไม่ได้ด้วยน้ำครั่ง น้ำขมิ้น สีเขียว หรือสีน้ำฝาด ฉันใด ข้าพระองค์
ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ลุ่มหลง ไม่เศร้าหมอง ฉันนั้น รวมความว่า ไม่ขัดข้อง
เหมือนอากาศ อย่างนี้บ้าง
อากาศไม่กำเริบ ไม่พยาบาท ไม่หดหู่ ไม่กระทบกระทั่ง ฉันใด ข้าพระ-
องค์ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่หดหู่ ไม่กระทบ ไม่กระทั่ง ฉันนั้น รวมความว่า
ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ อย่างนี้บ้าง
คำว่า ข้าพระองค์จะพึงสงบอยู่ในที่นี้แล ในคำว่า ข้าพระองค์จะพึงสงบ
อยู่ในที่นี้แล เป็นผู้ไม่ยึดอาศัย เที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า เป็นผู้อยู่ในที่นี้แล คือ
เป็นผู้นั่งอยู่ในที่นี้แล เป็นผู้นั่งอยู่แล้วบนอาสนะนี้แล เป็นผู้นั่งอยู่ในบริษัทนี้แล
รวมความว่า ข้าพระองค์จะพึงสงบอยู่ในที่นี้แล อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง สงบได้แล้ว คือ เข้าไปสงบได้แล้ว สงบเย็นแล้ว ดับได้แล้ว
สงบระงับได้แล้ว ในที่นี้แล รวมความว่า สงบอยู่ในที่นี้แล อย่างนี้บ้าง
คำว่า เป็นผู้ไม่ยึดอาศัย อธิบายว่า การอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) การ
อาศัยด้วยอำนาจตัณหา (๒) การอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าการอาศัย
ด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าการอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
ผู้ใดละการอาศัยด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่
อาศัยตา ไม่อาศัยหู ไม่อาศัยจมูก ไม่อาศัยลิ้น ไม่อาศัยกาย ไม่อาศัยใจ ไม่ยึดอาศัย
คือ ไม่อาศัย ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดใจ ในรูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ
กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ ตระกูล ฯลฯ คณะ
ฯลฯ อาวาส ฯลฯ ลาภ ฯลฯ ยศ ฯลฯ สรรเสริญ ฯลฯ สุข ฯลฯ จีวร ฯลฯ
บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ กามธาตุ ฯลฯ
รูปธาตุ ฯลฯ อรูปธาตุ ฯลฯ กามภพ ฯลฯ รูปภพ ฯลฯ อรูปภพ ฯลฯ สัญญาภพ
ฯลฯ อสัญญาภพ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญาภพ ฯลฯ เอกโวการภพ๑ ฯลฯ
จตุโวการภพ๒ ฯลฯ ปัญจโวการภพ๓ ฯลฯ อดีต ฯลฯ อนาคต ฯลฯ ปัจจุบัน
ฯลฯ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่
คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไปอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ข้าพระองค์จะพึงสงบอยู่ในที่นี้แล
เป็นผู้ไม่ยึดอาศัย เที่ยวไปอยู่ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
ขอพระองค์ทรงพระกรุณาตรัสสอนวิเวกธรรม
ที่ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
และโดยวิธีที่ข้าพระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ
ข้าพระองค์จะพึงสงบอยู่ในที่นี้แล
เป็นผู้ไม่ยึดอาศัย เที่ยวไปอยู่

เชิงอรรถ :
๑ เอกโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยรูปขันธ์ ๑ หรือภพที่มีขันธ์ ๑ ได้แก่ อสัญญาภพ (ขุ.ม.อ. ๓/๔๒)
๒ จตุโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยอรูปขันธ์ ๔ หรือภพที่มีขันธ์ ๔ ได้แก่ อรูปภพ (ขุ.ม.อ. ๓/๔๒)
๓ ปัญจโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ หรือภพที่มีขันธ์ ๕ ปัญจโวการภพนี้เป็นกามภพด้วย
เป็นเอกเทศแห่งรูปภพด้วย (ขุ.ม.อ. ๓/๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
[๓๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ)
บุคคลรู้ชัดความสงบใดแล้ว มีสติ
เที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
เราจักกล่าวความสงบนั้น ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง
ในธรรมที่เราเห็นแล้ว แก่เธอ (๖)
คำว่า เราจักกล่าวความสงบนั้น ... แก่เธอ อธิบายว่า เราจักกล่าว คือ
ชี้แจง บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ
ความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงบระงับราคะ
ความสงบโทสะ ความสงบโมหะ ฯลฯ
เราจักกล่าว ชี้แจง บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงบ
ระงับโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ
ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ
ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ
เราจักกล่าว ชี้แจง บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงบ
ระงับกิเลสทุกชนิด ฯลฯ ทุจริตทุกทาง ฯลฯ ความกระวนกระวายทุกอย่าง ฯลฯ
ความเร่าร้อนทุกสถาน ฯลฯ ความเดือดร้อนทุกประการ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร
ทุกประเภท รวมความว่า เราจักกล่าวความสงบนั้น ... แก่เธอ
คำว่า โธตกะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ
คำว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว ในคำว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเองในธรรมที่
เราเห็นแล้ว อธิบายว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว คือ ในธรรมที่เรารู้แล้ว ในธรรมที่
เราเทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่เราพิจารณาแล้ว ในธรรมที่เราทำให้แจ้งแล้ว ใน
ธรรมที่เราทำให้กระจ่างแล้ว ได้แก่ ในธรรมที่เราเห็นแล้ว ในธรรมที่เรารู้แล้ว ใน
ธรรมที่เราเทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่เราพิจารณาแล้ว ในธรรมที่เราทำให้แจ้งแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
ในธรรมที่เราทำให้กระจ่างแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ฯลฯ ได้แก่ ในธรรม
ที่เราเห็นแล้ว ในธรรมที่เรารู้แล้ว ในธรรมที่เราเทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่เรา
พิจารณาแล้ว ในธรรมที่เราทำให้แจ้งแล้ว ในธรรมที่เราทำให้กระจ่างแล้วว่า
“สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด ล้วนมีความดับไปเป็น
ธรรมดา” รวมความว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราจักกล่าวถึงทุกข์ ในทุกข์ที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงสมุทัย ใน
สมุทัยที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงมรรค ในมรรคที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงนิโรธใน
นิโรธที่ได้เห็นแล้ว รวมความว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง (เราจักกล่าวธรรม) ที่เห็นได้เอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เชิญมาดูได้
ควรน้อมเข้ามาในตน วิญญูชนพึงรู้ด้วยตนเองในธรรมที่เราเห็นแล้ว รวมความว่า
ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง
คำว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง อธิบายว่า เราจักกล่าวธรรมที่รู้ด้วยตนเอง
ธรรมที่ประจักษ์แก่ตนเอง มิใช่โดยการเชื่อผู้อื่นว่าธรรมนี้เป็นดังนี้ ๆ คือ มิใช่โดย
การเล่าลือ มิใช่โดยการถือสืบ ๆ กันมา มิใช่โดยการอ้างตำรา มิใช่โดยตรรก
มิใช่โดยการอนุมาน มิใช่โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล มิใช่เพราะเข้าได้กับ
ทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รวมความว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเองในธรรมที่เราเห็นแล้ว
คำว่า บุคคลรู้ชัดความสงบใดแล้ว มีสติ เที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า บุคคลรู้
ชัดแล้ว คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่
บุคคลรู้ชัดแล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า
“สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ฯลฯ ได้แก่ บุคคลรู้แล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้
กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญ
สติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ
คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไปอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า บุคคลรู้ชัดความสงบใดแล้ว มีสติ
เที่ยวไปอยู่ทุกขณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหาตรัส
เรียกว่า วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูล
คือโลภะ๑
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร
ฯลฯ ซ่านไป ขยายไป๒ ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก๓
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า บุคคลผู้มีสติ พึง
ข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
รวมความว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ
ภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ)
บุคคลรู้ชัดความสงบใดแล้ว มีสติ
เที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
เราจักกล่าวความสงบนั้น ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง
ในธรรมที่เราเห็นแล้ว แก่เธอ
[๓๖] (ท่านโธตกะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์ชอบใจความสงบอันสูงสุดนั้น
ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่
พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ (๗)
คำว่า นั้น ในคำว่า ข้าพระองค์ชอบใจ...นั้น อธิบายว่า ข้าพระองค์พอใจ
ชอบใจ คือ เบิกบานใจ อนุโมทนา ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่ง
หวังพระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอน รวมความว่า
ข้าพระองค์ชอบใจ...นั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒๒/๑๓๒
๓ ดูรายละเอียดข้อ ๔/๕๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหา
คุณอันยิ่งใหญ่ ... ความสงบอันสูงสุด อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อย่างไร
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าทรงแสวง
หาคุณอันยิ่งใหญ่ ฯลฯ “พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน” จึงชื่อว่าผู้
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่๑
คำว่า ความสงบอันสูงสุด อธิบายว่า อมตนิพพานตรัสเรียกว่า ความสงบ
ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา
เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า สูงสุด ได้แก่ เลิศ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม
รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ... ความสงบอันสูงสุด
คำว่า ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า บุคคลรู้ชัดแล้ว คือ
เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง”
ฯลฯ ได้แก่ บุคคลรู้ชัดแล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง
แล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไป
เป็นธรรมดา”
คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญ
สติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ บุคคลนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ
คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไปอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า
วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๒
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร
ฯลฯ ซ่านไป ขยายไป ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๓/๑๓๓-๑๓๕
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหานี้ที่ชื่อว่า
วิสัตติกาในโลกนี้ บุคคลผู้มีสติพึงข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วง
เลยตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ รวมความว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกา
ในโลกได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์ชอบใจความสงบอันสูงสุดนั้น
ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่
พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
[๓๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ)
เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง
เธอรู้ชัดธรรมนั้นว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว
อย่าได้ก่อตัณหาเพื่อภพน้อยและภพใหญ่เลย (๘)
คำว่า เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เธอรู้ชัด คือ รู้ทั่ว รู้เฉพาะ
แทงตลอดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมความว่า เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า โธตกะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ เป็นคำที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โธตกะ
ว่าด้วยธรรมชั้นสูงชั้นต่ำและชั้นกลาง
คำว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลาง อธิบายว่า
อนาคต ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อดีต ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ ปัจจุบัน ตรัสเรียก
ว่า ชั้นกลาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
เทวโลก ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อบายโลก ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ มนุษยโลก
ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง
อีกนัยหนึ่ง กุศลธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อกุศลธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ
อัพยากตธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง
อรูปธาตุ ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง กามธาตุ ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ รูปธาตุ ตรัส
เรียกว่า ชั้นกลาง
สุขเวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง ทุกขเวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ อทุกขมสุข-
เวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง
เบื้องสูงจากฝ่าเท้าขึ้นไป ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง เบื้องต่ำจากปลายผมลงมา
ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ ตรงกลาง ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง รวมความว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำ
และชั้นกลาง
คำว่า เธอรู้ชัดธรรมนั้นว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว อธิบายว่า เธอรู้แล้ว
คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า นี้เป็น
เครื่องข้อง นี้เป็นเครื่องติดพัน นี้เป็นเครื่องผูกพัน นี้เป็นเครื่องพัวพัน รวมความว่า
เธอรู้ชัดธรรมนั้นว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว
คำว่า ตัณหา ในคำว่า อย่าได้ก่อตัณหาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ได้แก่
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย อธิบายว่า อย่าก่อ คือ อย่าให้เกิด อย่า
ให้เกิดขึ้น อย่าให้บังเกิด อย่าให้บังเกิดขึ้น ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหา เพื่อภพน้อยภพใหญ่ คือ เพื่อกรรมวัฏและวิปากวัฏ
เพื่อกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ เพื่อ
กรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ เพื่อกรรมวัฏ
เป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ เพื่อภพต่อไป
เพื่อคติต่อไป เพื่อการถือกำเนิดต่อไป เพื่อปฏิสนธิต่อไป เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่ง
อัตภาพต่อไป รวมความว่า อย่าได้ก่อตัณหาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ)
เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง
เธอรู้ชัดธรรมนั้นว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว
อย่าได้ก่อตัณหาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ โธตกมาณพ ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
โธตกมาณวปัญหานิทเทสที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของอุปสีวมาณพ
[๓๘] (ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว
ไม่ได้อาศัย (ใคร ๆ หรือสิ่งใด ๆ)
จึงไม่สามารถข้ามห้วงกิเลสอันยิ่งใหญ่ได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอารมณ์
ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว พึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ (๑)
คำว่า ผู้เดียว ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว ... ห้วง
กิเลสอันยิ่งใหญ่ได้ อธิบายว่า ข้าพระองค์อาศัยบุคคลหรือธรรมใดข้าม ข้ามไป
ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลสใหญ่ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ
ข้าพระองค์ไม่มีบุคคล หรือธรรมนั้นเป็นเพื่อน
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าสักกะ
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้สักกะเสด็จออก
ผนวชจากศากยตระกูล จึงชื่อว่าผู้สักกะ
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก มีทรัพย์ จึงชื่อว่าผู้
สักกะ
พระองค์ทรงมีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ
ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือ
สติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์คือ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๗๖-๑๐๘๓/๕๓๘-๕๔๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
พละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน
พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก ทรงมีทรัพย์ด้วยทรัพย์ที่เป็นรัตนะหลาย
อย่างเหล่านี้ จึงชื่อว่าผู้สักกะ
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ คือ ทรงองอาจ อาจหาญ มี
ความสามารถ กล้า กล้าหาญ ก้าวหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี
ทรงละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าผู้สักกะ
รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว ... ห้วงกิเลสอันยิ่งใหญ่ได้
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ
คำว่า อุปสีวะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ไม่ได้อาศัย ในคำว่า ไม่ได้อาศัย (ใคร ๆ หรือสิ่งใด ๆ) จึงไม่
สามารถข้าม ได้แก่ ไม่ได้อาศัยบุคคล หรือธรรมเลย
คำว่า จึงไม่สามารถ ได้แก่ ไม่กล้า ไม่อาจ เป็นผู้ไม่สามารถ
คำว่า ข้าม ได้แก่ ข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลส
ใหญ่คือกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ รวมความว่า ไม่ได้อาศัย (ใคร ๆ
หรือสิ่งใด ๆ) จึงไม่สามารถข้าม
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
อารมณ์ อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ
กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ อารมณ์เครื่องยึดเหนี่ยว ที่อาศัย
ที่เข้าไปอาศัย
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ อธิบายว่า พระสัพพัญญุตญาณ เรียก
ว่า สมันตจักขุ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนิน
ไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยพระสัพพัญญุตญาณนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
(สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่เห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้ง ก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า ผู้มีสมันตจักขุ๑
รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอารมณ์
คำว่า ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว ในคำว่า ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้วพึง
ข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ ได้แก่ บุคคล หรือธรรม ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว
คำว่า พึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ อธิบายว่า พึงข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น
ก้างล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลสใหญ่คือกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ รวมความว่า
ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้วพึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบ
ทูลว่า
(ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว
ไม่ได้อาศัย (ใคร ๆ หรือสิ่งใด ๆ)
จึงไม่สามารถข้ามห้วงกิเลสอันยิ่งใหญ่ได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอารมณ์
ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว พึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๓๑, ขุ.ป. ๓๑/๑๒๑/๑๓๖-๑๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
[๓๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
เธอจงมีสติ เพ่งพิจารณาอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไรดังนี้แล้ว
ก็จะข้ามห้วงกิเลสได้ เธอจงละกามทั้งหลาย
เป็นผู้งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย
พิจารณาความสิ้นตัณหา ทั้งคืนทั้งวัน (๒)
คำว่า เธอจงมีสติ เพ่งพิจารณาอากิญจัญญายตนสมาบัติ อธิบายว่า
พราหมณ์นั้นได้อากิญจัญญายตนสมาบัติอยู่โดยปกติ ไม่รู้ที่อาศัยว่า “สมาบัตินี้
เป็นที่อาศัยของเรา” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสบอกที่อาศัยและทางออกที่สูงขึ้นไปแก่
พราหมณ์นั้น พระองค์ตรัสบอกว่า เธอจงมีสติเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นแล้ว เพ่งพิจารณา คือ แลเห็น ตรวจดู
เพ่งพินิจ พิจารณาจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ เป็นทุกข์ ฯลฯ เป็นโรค ฯลฯ เป็นดุจหัวฝี ฯลฯ เป็นดุจลูกศร ฯลฯ
เป็นของลำบาก ฯลฯ เป็นอาพาธ ฯลฯ เป็นอย่างอื่น (บังคับไม่ได้) ฯลฯ
เป็นของทรุดโทรม ฯลฯ เป็นเสนียด ฯลฯ เป็นอุปัททวะ ฯลฯ เป็นภัย ฯลฯ
เป็นอุปสรรค ฯลฯ เป็นของหวั่นไหว ฯลฯ เป็นของผุพัง ฯลฯ เป็นของไม่
ยั่งยืน ฯลฯ เป็นของไม่มีที่ต้านทาน ฯลฯ เป็นของไม่มีที่หลีกเร้น ฯลฯ เป็น
ของไม่มีที่พึ่ง ฯลฯ เป็นของไม่มีที่อาศัย ฯลฯ เป็นของว่าง ฯลฯ เป็นของเปล่า
ฯลฯ เป็นของสูญ ฯลฯ เป็นอนัตตา ฯลฯ เป็นของมีโทษ ฯลฯ เป็นของแปร
ผันไปเป็นธรรมดา ฯลฯ เป็นของไม่มีแก่นสาร ฯลฯ เป็นเหตุแห่งความลำบาก
ฯลฯ เป็นความเจริญ ฯลฯ เป็นของปราศจากความเจริญ ฯลฯ เป็นของมีอาสวะ
ฯลฯ เป็นดุจเพชฌฆาต ฯลฯ เป็นของที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ เป็นเหยื่อ
แห่งมาร ฯลฯ มีชาติเป็นธรรมดา ฯลฯ มีชราเป็นธรรมดา ฯลฯ มีพยาธิเป็น
ธรรมดา ฯลฯ มีมรณะเป็นธรรมดา ฯลฯ มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็น
ธรรมดา ฯลฯ เป็นเหตุเกิดทุกข์ ฯลฯ ตั้งอยู่ไม่ได้ ฯลฯ หาความแช่มชื่นไม่ได้
ฯลฯ เป็นโทษ ฯลฯ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า มีสติ อธิบายว่า สติ ความตามระลึกถึง ความระลึกได้เฉพาะ ฯลฯ
สัมมาสติ๑ นี้ตรัสเรียกว่า มีสติ
พราหมณ์นั้นผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป
เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยสตินี้ พราหมณ์นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
มีสติ รวมความว่า เธอจงมีสติ เพ่งพิจารณาอากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า อุปสีวะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
อุปสีวะ
คำว่า ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไรดังนี้แล้ว ก็จะข้ามห้วงกิเลสได้
อธิบายว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี”
อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี” เพราะเหตุไร
พราหมณ์นั้น มีสติ เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ไม่
ให้วิญญาณนั้นมี ไม่ให้มีโดยประการต่าง ๆ ให้อันตรธานไป ย่อมเห็นว่า “อะไร
น้อยหนึ่งย่อมไม่มี” เพราะเหตุนั้น เธออาศัย คือ เข้าไปอาศัยอากิญจัญญายตน-
สมาบัติที่มีความหมายว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี” ทำให้เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง
จงข้าม คือ จงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลสคือกาโมฆะ ภโวฆะ
ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะให้ได้ รวมความว่า ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไรดังนี้แล้ว
ก็จะข้ามห้วงกิเลสได้
คำว่า เธอจงละกามทั้งหลาย เป็นผู้งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๒

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๔/๕๔-๕๕
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ละกามทั้งหลาย อธิบายว่า กำหนดรู้วัตถุกาม ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสกาม รวมความว่า ละกามทั้งหลาย
คำว่า เป็นผู้งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย อธิบายว่า วิจิกิจฉาตรัสเรียกว่า
ความสงสัย ได้แก่ ความสงสัยในทุกข์ ฯลฯ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความติด
ขัดในใจเห็นปานนี้๑ บุคคลงด งดเว้น คือเว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่
เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระจากความสงสัยอยู่ รวมความว่า เป็นผู้งดเว้นจากความ
สงสัยทั้งหลาย อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลงด งดเว้น คือเว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง
มีใจเป็นอิสระจากเดรัจฉานกถา๒ ๓๒ ประการอยู่ รวมความว่า เป็นผู้งดเว้น
จากความสงสัยทั้งหลาย อย่างนี้บ้าง รวมความว่า เธอจงละกามทั้งหลาย เป็นผู้
งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย
คำว่า พิจารณาความสิ้นตัณหา ทั้งคืนทั้งวัน อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า ทั้งคืน ได้แก่ ตลอดคืน
คำว่า ทั้งวัน ได้แก่ ตลอดวัน อธิบายว่า เธอจงเห็น เพ่งพิจารณา คือ
แลเห็น มองเห็น เพ่งพินิจ พิจารณาซึ่งความสิ้นตัณหา คือ ความสิ้นราคะ
สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ สิ้นคติ สิ้นการถือกำเนิด สิ้นปฏิสนธิ สิ้นภพ สิ้นสงสาร
สิ้นวัฏฏะ ตลอดกลางคืนและกลางวันเถิด รวมความว่า พิจารณาความสิ้นตัณหา
ทั้งคืนทั้งวัน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓๒/๑๖๔
๒ เดรัจฉานกถา คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์ นิพพาน หมายถึงเรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อ
ถกเถียงสนทนากัน โดยไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรม อันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากัน
หลงเพลินเสียเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม (ที.สี.(แปล) ๙/๑๗/๗, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๕๗/๔๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
เธอจงมีสติ เพ่งพิจารณาอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไรดังนี้แล้ว
ก็จะข้ามห้วงกิเลสได้ เธอจงละกามทั้งหลาย
เป็นผู้งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย
พิจารณาความสิ้นตัณหา ทั้งคืนทั้งวัน
[๔๐] (ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้)
บุคคลใดคลายราคะในกามทั้งปวง
ละสมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง
บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลก
ชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้หรือ (๓)
คำว่า ทั้งปวง ในคำว่า บุคคลใดคลายราคะในกามทั้งปวง ได้แก่
ทุกสิ่ง โดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง
คำว่า ทั้งปวงนี้เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด
คำว่า ในกาม อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑
คำว่า บุคคใดคลายราคะในกามทั้งปวง อธิบายว่า บุคคลใดเป็นผู้คลาย
ราคะแล้ว คือปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว
ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะในกามทั้งหลายแล้ว โดยการข่มไว้ รวมความว่า
บุคคลใดคลายราคะในกามทั้งปวง
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านอุปสีวทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก ฯลฯ
คำว่า อุปสีวะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านอุปสีวทูลถาม ดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ละสมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ อธิบายว่า ละ คือ
สละ เสียสละ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นสมาบัติ ๖ เบื้องต่ำ ได้แก่ อาศัย ติด ติด
แน่น แนบแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่ออากิญจัญญายตนสมาบัติ รวมความว่า ละ
สมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง อธิบายว่า สัญญาสมาบัติ ๗
ตรัสเรียกว่า สัญญาวิโมกข์๑
ว่าด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นวิโมกข์อันเลิศ
บรรดาสัญญาสมาบัติเหล่านั้น อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นวิโมกข์อันเลิศ
ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด และยอดเยี่ยม ผู้น้อมใจไปในสัญญา-
วิโมกข์ชั้นสูง เลิศ คือ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม
ด้วยอธิมุตติวิโมกข์ ได้แก่ น้อมใจเชื่อในสัญญาวิโมกข์นั้น น้อมใจไปสู่สัญญา-
วิโมกข์นั้น เที่ยวไปด้วยสัญญาวิโมกข์นั้น มากไปด้วยสัญญาวิโมกข์นั้น หนักไปใน
สัญญาวิโมกข์นั้น เอนไปในสัญญาวิโมกข์นั้น โอนไปในสัญญาวิโมกข์นั้น โน้มไป
ในสัญญาวิโมกข์นั้น มีสัญญาวิโมกข์นั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า น้อมใจไปใน
สัญญาวิโมกข์ชั้นสูง
คำว่า ดำรงอยู่... ได้หรือ ในคำว่า บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ใน
พรหมโลกชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้หรือ เป็นคำถามด้วยความสงสัย เป็นคำ
ถามด้วยความข้องใจ เป็นคำถาม ๒ แง่ เป็นคำถามมีแง่มุมหลายหลากว่า
อย่างนี้หรือหนอ มิใช่หรือหนอ เป็นอะไรเล่าหนอ เป็นอย่างไรเล่าหนอ รวมความว่า
ดำรงอยู่... ได้หรือ
คำว่า ในนั้น ได้แก่ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า ไม่หวั่นไหว อธิบายว่า ไม่หวั่นไหว คือ ไม่พรั่นพรึง ไม่หลบหนี
ไม่อันตรธานไป ไม่เสื่อมไป อีกนัยหนึ่ง ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ลุ่มหลง ไม่
เศร้าหมอง รวมความว่า บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้น
อากิญจัญญายตนะนั้นได้หรือ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาวิโมกข์ คือ คุณธรรมชั้นสูงที่บุคคลบรรลุ มี ๗ ได้แก่รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๓ (ยกเว้นเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
(ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้)
บุคคลใดคลายราคะในกามทั้งปวง
ละสมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง
บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลก
ชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้หรือ
[๔๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
บุคคลใดคลายราคะในกามทั้งปวง
ละสมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง
บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลก
ชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้ (๔)
คำว่า ทั้งปวง ในคำว่า บุคคใดคลายราคะในกามทั้งปวง ได้แก่ ทุกสิ่ง
โดยอาการทั้งปวง ทุกอย่างโดยทุกประการ ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการ
ทั้งปวง คำว่า ทั้งปวงนี้เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด
คำว่า ในกาม อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑
คำว่า บุคคใดคลายราคะในกามทั้งปวง อธิบายว่า บุคคลใดเป็นผู้คายราคะแล้ว
คือปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คลายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว
สลัดทิ้งราคะแล้วในกามทั้งปวง โดยการข่มไว้ รวมความว่า บุคคลใดคลายราคะ
ในกามทั้งปวง
คำว่า อุปสีวะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระผู้มี-
พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ
คำว่า ละสมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ อธิบายว่า ละ คือ
สละ เสียสละ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นสมาบัติ ๖ เบื้องต่ำ ได้แก่ อาศัย ติด
ติดแน่น แนบแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่ออากิญจัญญายตนสมาบัติ รวมความว่า ละ
สมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง อธิบายว่า สัญญาสมาบัติ ๗
ตรัสเรียกว่า สัญญาวิโมกข์
บรรดาสัญญาสมาบัติเหล่านั้น อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นวิโมกข์อันเลิศ
ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด และยอดเยี่ยม ผู้น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์
ชั้นสูง คือ เลิศ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม ด้วย
อธิมุตติวิโมกข์ ได้แก่ น้อมใจเชื่อในสัญญาวิโมกข์นั้น น้อมใจไปสู่สัญญาวิโมกข์นั้น
เที่ยวไปด้วยสัญญาวิโมกข์นั้น มากไปด้วยสัญญาวิโมกข์นั้น หนักไปในสัญญาวิโมกข์นั้น
เอนไปในสัญญาวิโมกข์นั้น โอนไปในสัญญาวิโมกข์นั้น โน้มไปในสัญญาวิโมกข์นั้น
มีสัญญาวิโมกข์นั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง
คำว่า ดำรงอยู่ ในคำว่า บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้น
อากิญจัญญายตนะนั้นได้ ได้แก่ พึงดำรงอยู่ได้ ๖๐,๐๐๐ กัป
คำว่า ในนั้น ได้แก่ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า ไม่หวั่นไหว อธิบายว่า ไม่หวั่นไหว คือ ไม่พรั่นพรึง ไม่หลบหนี
ไม่อันตรธานไป ไม่เสื่อมไป
อีกนัยหนึ่ง ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ลุ่มหลง ไม่เสื่อมไป รวมความว่า
บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้ ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
บุคคลใดคลายราคะในกามทั้งปวง
ละสมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง
บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลก
ชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้
[๔๒] (ท่านอุปสีวะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ถ้าบุคคลนั้นไม่หวั่นไหวดำรงอยู่ในพรหมโลกนั้นนานปีไซร้
บุคคลนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
มีความสงบเย็นอยู่ในพรหมโลกนั้นนั่นแลหรือ
หรือว่าวิญญาณของบุคคลนั้นจะพึงจุติอีก (๕)
คำว่า ถ้าบุคคลผู้นั้น... ดำรงอยู่ ในคำว่า ถ้าบุคคนั้นไม่หวั่นไหว ดำรง
อยู่ในพรหมโลกนั้นนานปีไซร้ ได้แก่ ถ้าผู้นั้นพึงดำรงอยู่ได้ถึง ๖๐,๐๐๐ กัปไซร้
คำว่า ในนั้น ได้แก่ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า ไม่หวั่นไหว อธิบายว่า ไม่หวั่นไหว ไม่พรั่นพรึง ไม่หลบหนี ไม่
อันตรธานไป ไม่เสื่อมไป
อีกนัยหนึ่ง ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ลุ่มหลง ไม่เสื่อมไป รวมความว่า
ถ้าบุคคลนั้นไม่หวั่นไหวดำรงอยู่ในพรหมโลกนั้นนานปีไซร้
คำว่า นานปีไซร้ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ... นานปีไซร้
อธิบายว่า นานนับปีไม่ได้ คือ หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี
หลายร้อยกัป หลายพันกัป หลายแสนกัป
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ อธิบายว่า พระสัพพัญญุตญาณ ตรัส
เรียกว่า สมันตจักขุ ฯลฯ พระตถาคต จึงชื่อว่ามีสมันตจักขุ ด้วยจักษุนั้น รวม
ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ... นานปีไซร้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว มีความสงบเย็นในพรหมโลกนั้นนั่นแล
หรือ หรือว่าวิญญาณของบุคคลนั้นจะพึงจุติอีก อธิบายว่า บุคคลนั้นพึงเป็นผู้ถึง
ความเป็นผู้สงบเย็น คือ เที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา
ในพรหมโลกนั้นนั่นเอง ได้แก่ พึงดำรงอยู่อย่างนั้นเสมอกับสิ่งที่ยึดถือว่าแน่แท้ใน
พรหมโลกนั้นนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง พราหมณ์นั้นทูลถามถึงความแน่แท้ และความขาดสูญของบุคคล
ผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติว่า วิญญาณของเขาพึงจุติ ขาดสูญ หาย พินาศ
ไม่พึงมีหรือ หรือว่าปฏิสนธิวิญญาณในภพใหม่พึงนิพพานในกามธาตุ รูปธาตุ
หรืออรูปธาตุ หรือว่าทูลถามถึงการปรินิพพาน และปฏิสนธิของบุคคลผู้เข้า
อากิญจัญญายตนสมาบัติว่า เขาพึงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุใน
อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นนั่นเอง หรือว่าวิญญาณของเขาพึงจุติ ปฏิสนธิวิญญาณ
พึงบังเกิด ในกามธาตุ รูปธาตุหรืออรูปธาตุอีก
คำว่า ของบุคคลนั้น ได้แก่ ของบุคคลนั้น คือ ของบุคคลผู้เช่นนั้น ดำรงอยู่
ดังนั้น มีประการดังนั้น เปรียบเทียบได้ดังนั้น ได้แก่ ผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ
อยู่แล้ว รวมความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว มีความสงบเย็นในพรหมโลกนั้น
นั่นแลหรือ หรือว่าวิญญาณของบุคคลนั้นจะพึงจุติอีก ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น
จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ถ้าบุคคลนั้นไม่หวั่นไหวดำรงอยู่ในพรหมโลกนั้นนานปีไซร้
บุคคลนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
มีความสงบเย็นอยู่ในพรหมโลกนั้นนั่นแลหรือ
หรือว่าวิญญาณของบุคคลนั้นจะพึงจุติอีก
[๔๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
เปลวไฟถูกกำลังลมพัดไป
ย่อมดับ กำหนดไม่ได้ ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อมดับไป
กำหนดไม่ได้ ฉันนั้น (๖)
คำว่า เปลวไฟถูกกำลังลมพัดไป ... ฉันใด อธิบายว่า เปลวแห่งไฟตรัส
เรียกว่า เปลวไฟ
ว่าด้วยลม
คำว่า ลม ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่น
ลมไม่มีฝุ่น ลมหนาว ลมร้อน ลมพัดเบา ลมพัดแรง ลมบ้าหมู ลมจากปีกนก
ลมจากปีกครุฑ ลมจากใบตาล ลมจากพัด
คำว่า ถูกกำลังลมพัดไป อธิบายว่า ถูกกำลังลมพัดไป คือ พัดขึ้นไป พาไป
พาไปทั่ว กระโชก กระโชกอย่างแรง รวมความว่า เปลวไฟถูกกำลังลมพัดไป ฉันใด
คำว่า อุปสีวะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ เป็นคำที่พระผู้-
มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
อุปสีวะ
คำว่า ย่อมดับ ในคำว่า ย่อมดับ กำหนดไม่ได้ อธิบายว่า ย่อมดับ คือ
ย่อมถึงความไม่มี ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ได้แก่ ดับ สงบ ระงับไป
คำว่า กำหนดไม่ได้ อธิบายว่า กำหนดไม่ได้ คือ ยกมาอ้างไม่ได้ นับไม่ได้
บัญญัติไม่ได้ว่า “เปลวไฟนั้นไปทิศชื่อโน้นแล้ว คือ ไปทิศตะวันออกแล้ว ไป
ทิศตะวันตกแล้ว ไปทิศเหนือแล้ว ไปทิศใต้แล้ว ไปข้างบนแล้ว ไปข้างล่างแล้ว
ไปทิศขวางแล้ว ไปทิศเฉียงแล้ว” คือ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีสาเหตุที่จะเป็น
เครื่องกำหนดได้ รวมความว่า ย่อมดับ กำหนดไม่ได้
คำว่า ฉันนั้น ในคำว่า มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ... ฉันนั้น เป็นคำทำการ
เปรียบเทียบให้สมบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ มุนีก้าวล่วงกิเลส
เครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑
คำว่า พ้นแล้วจากนามกาย อธิบายว่า มุนีนั้นพ้นแล้วจากรูปกายมาก่อน
แล้วโดยปกติ คือ ก้าวล่วงรูปกายนั้นแล้วละเสียได้ด้วยวิกขัมภนปหาน๒ มุนีนั้น
มาถึงที่สุดภพ ได้อริยมรรค ๔ ประการแล้ว เพราะเป็นผู้ได้อริยมรรค ๔ ประการ
แล้ว ท่านจึงกำหนดรู้นามกาย และรูปกายได้ เพราะเป็นผู้กำหนดรู้นามกายและ
รูปกายได้แล้ว จึงพ้น คือ หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากนามกาย และรูปกาย
ด้วยความหลุดพ้นโดยไม่ยึดมั่นถือมั่นอย่างสิ้นเชิง รวมความว่า มุนีพ้นแล้วจาก
นามกาย ... ฉันนั้น
คำว่า ย่อมดับไป ในคำว่า ย่อมดับไป กำหนดไม่ได้ ได้แก่ ปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
คำว่า กำหนดไม่ได้ อธิบายว่า มุนีนั้นปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ กำหนดไม่ได้ คือ ยกมาอ้างไม่ได้ นับไม่ได้ บัญญัติไม่ได้ว่า “เป็น
กษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา
เป็นมนุษย์ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มีสัญญา เป็นผู้มี
สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีสาเหตุที่จะเป็นเครื่อง
กำหนด รวมความว่า ย่อมดับไป กำหนดไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
เปลวไฟถูกกำลังลมพัดไป
ย่อมดับ กำหนดไม่ได้ ฉันใด
มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อมดับไป
กำหนดไม่ได้ ฉันนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๑๒๗-๑๒๙
๒ วิกขัมภนปหาน หมายถึงการดับกิเลสด้วยการข่มไว้ของท่านผู้บำเพ็ญปฐมฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้
ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น เป็นข้อแรกของปหาน ๕ ดูรายละเอียดจาก ขุ.ป. ๓๑/๒๔/๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
[๔๔] (ท่านอุปสีวะทูลถามว่า)
มุนีนั้นถึงความสลายไป หรือว่าไม่มี
หรือว่าไม่แตกทำลายเพราะมีความแน่แท้
พระองค์ผู้เป็นพระมุนี โปรดพยากรณ์ปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบชัดแล้ว (๗)
คำว่า มุนีนั้นถึงความสลายไป หรือว่าไม่มี อธิบายว่า มุนีนั้นถึงความ
สลายไปแล้ว หรือว่าไม่มี คือ มุนีนั้นดับไปแล้ว สูญไปแล้ว หายไปแล้ว รวมความว่า
มุนีนั้นถึงความสลายไป หรือว่าไม่มี
คำว่า หรือว่าไม่แตกทำลาย เพราะมีความแน่แท้ อธิบายว่า หรือว่า เที่ยง
คือ มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา ได้แก่ พึงดำรงอยู่อย่างนั้น
เสมอกับสิ่งที่ยึดถือว่าแน่แท้ ในพรหมโลกนั้น รวมความว่า หรือว่าไม่แตกทำลาย
เพราะมีความแน่แท้
คำว่า ปัญหานั้น ในคำว่า พระองค์ผู้เป็นพระมุนี โปรดพยากรณ์ปัญหา
นั้นแก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด ได้แก่ ปัญหาที่ข้าพระองค์ทูลถาม ปัญหา
ที่ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ มุนีก้าวล่วงกิเลส
เครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑
คำว่า โปรดพยากรณ์(ปัญหานั้น) ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด ได้แก่ ขอ
พระองค์โปรดตรัสบอก คือ โปรดแสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศปัญหานั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด รวมความว่า พระองค์ผู้เป็น
พระมุนี โปรดพยากรณ์ปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
คำว่า เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบชัดแล้ว อธิบายว่า เพราะพระองค์
ทรงทราบชัดแล้ว คือ ทรงรู้แล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๑๒๗-๑๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
แจ่มแจ้งแล้วรวมความว่า เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบชัดแล้ว ด้วยเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
มุนีนั้นถึงความสลายไป หรือว่าไม่มี
หรือว่าไม่แตกทำลายเพราะมีความแน่แท้
พระองค์ผู้เป็นพระมุนี โปรดพยากรณ์ปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบชัดแล้ว
[๔๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
มุนีผู้ถึงความสลายไป ย่อมไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ
ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยกิเลสใด
กิเลสนั้นย่อมไม่มีแก่มุนีนั้น
(เพราะ) เมื่อมุนีนั้นถอนธรรมทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว
แม้ครรลองแห่งวาทะทั้งปวง
ท่านก็ถอนได้เด็ดขาดแล้ว(เหมือนกัน) (๘)
คำว่า มุนีผู้ถึงความสลายไปย่อมไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ อธิบายว่า มุนี
ผู้ถึงความสลายไป คือ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมไม่มี
ประมาณ แห่งรูป ไม่มีประมาณแห่งเวทนา ไม่มีประมาณแห่งสัญญา ไม่มี
ประมาณแห่งสังขาร ไม่มีประมาณแห่งวิญญาณ คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้
ได้แก่ ท่านละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิด
ขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า มุนีผู้ถึงความสลายไป ย่อม
ไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ
คำว่า อุปสีวะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
อุปสีวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นย่อมไม่มีแก่
มุนีนั้น อธิบายว่า ชนทั้งหลายที่ว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ
อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัยใดว่า “เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้ยึดติด
เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ลังเล หรือเป็นผู้ตกอยู่ในพลังกิเลส” กิเลส
เครื่องปรุงแต่งเหล่านั้นท่านละได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งได้แล้ว
ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวท่านโดยคติด้วยเหตุใดว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดใน
กำเนิดเดรัจฉาน เป็นผู้เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป
เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือ เป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่”
ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงด้วยกิเลสใด เหตุนั้นไม่มี
ปัจจัยไม่มี สาเหตุไม่มี รวมความว่า ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยกิเลสใด
กิเลสนั้นย่อมไม่มีแก่มุนีนั้น
คำว่า (เพราะ) เมื่อมุนีนั้นถอนธรรมทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว อธิบายว่า
เมื่อธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ทั้งปวง อายตนะทั้งปวง ธาตุทั้งปวง คติทั้งปวง อุปบัติ
(การถือกำเนิด) ทั้งปวง ปฏิสนธิทั้งปวง ภพทั้งปวง สงสารทั้งปวง วัฏฏะทั้งปวง
มุนีนั้นถอนแล้ว ถอนได้เด็ดขาดแล้ว ดึงขึ้น ดึงขึ้นได้เด็ดขาดแล้ว เพิกขึ้น เพิก
ขึ้นได้เด็ดขาดแล้ว ได้แก่ มุนีนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า (เพราะ)
เมื่อมุนีนั้นถอนธรรมทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว
คำว่า แม้ครรลองแห่งวาทะทั้งปวง ท่านก็ถอนได้เด็ดขาดแล้ว อธิบายว่า
กิเลส ขันธ์ และอภิสังขารตรัสเรียกว่า ครรลองแห่งวาทะ วาทะ ครรลองแห่งวาทะ
ชื่อ ครรลองแห่งชื่อ ภาษา ครรลองแห่งภาษา บัญญัติและครรลองแห่งบัญญัติ
มุนีนั้นถอนแล้ว ถอนได้เด็ดขาดแล้ว คือ ดึงขึ้น ดึงขึ้นได้เด็ดขาดแล้ว เพิกขึ้น
เพิกขึ้นได้เด็ดขาดแล้ว ได้แก่ มุนีนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า แม้ครรลอง
แห่งวาทะทั้งปวง ท่านก็ถอนได้ได้เด็ดขาดแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
มุนีผู้ถึงความสลายไป ย่อมไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ
ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยกิเลสใด
กิเลสนั้นย่อมไม่มีแก่มุนีนั้น
(เพราะ) เมื่อมุนีนั้นถอนธรรมทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว
แม้ครรลองแห่งวาทะทั้งปวง
ท่านก็ถอนได้ได้เด็ดขาดแล้ว(เหมือนกัน)
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ อุปสีวมาณพนั่งประคองอัญชลี นมัสการ
พระผู้มีพระภาคโดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็น
ศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
อุปสีวมาณวปัญหานิทเทสที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของนันทมาณพ
[๔๖] (ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้)
ชนทั้งหลายกล่าวว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก
คำกล่าวนี้นั้นเป็นอย่างไร
ชนทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยญาณ
หรือว่าเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยความเป็นอยู่ว่า เป็นมุนี (๑)
คำว่า มีอยู่ ในคำว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก อธิบายว่า มีอยู่ คือปรากฏ
มี หาได้
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ ในอายตนโลก
คำว่า มุนีทั้งหลาย ได้แก่ อาชีวก นิครนถ์ ชฎิล ดาบส เรียกชื่อว่ามุนี
(ชนทั้งหลายเข้าใจกันว่า มุนีทั้งหลายในโลกเป็นเทพ แต่เทพเหล่านั้นหาใช่มุนีไม่)
รวมความว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก ฯลฯ
คำว่า นันทะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ชนทั้งหลาย ในคำว่า ชนทั้งหลายกล่าวว่า ...คำกล่าวนี้นั้นเป็น
อย่างไร ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและ
มนุษย์
คำว่า ย่อมกล่าว ได้แก่ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง
คำว่า คำกล่าวนี้นั้นเป็นอย่างไร เป็นคำทูลถามด้วยความสงสัย เป็นคำถาม
ด้วยความข้องใจ เป็นคำถาม ๒ แง่ เป็นคำถามมีแง่มุมหลายหลากว่า “อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๘๔-๑๐๙๐/๕๔๐-๕๔๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
หรือหนอ มิใช่หรือหนอ เป็นอะไรเล่าหนอ เป็นอย่างไรเล่าหนอ” รวมความว่า
ชนทั้งหลายกล่าวว่า ... คำกล่าวนี้นั้นเป็นอย่างไร
คำว่า ชนทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยญาณว่าเป็นมุนี อธิบายว่า ชน
ทั้งหลายย่อมเรียก คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงบุคคลผู้ประกอบ คือ
ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อม
ด้วยญาณในสมาบัติ ๘ หรือญาณในอภิญญา ๕ ว่าเป็นมุนี รวมความว่า ชน
ทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยญาณว่าเป็นมุนี
คำว่า หรือว่าเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยความเป็นอยู่ว่า เป็นมุนี อธิบายว่า
ชนทั้งหลาย ย่อมเรียก คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงบุคคลผู้ประกอบ คือ
ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อม
ด้วยความเพียรของบุคคลผู้ดำเนินชีวิตเศร้าหมอง ผู้ทำกิจที่ทำได้ยากยิ่งหลายอย่างว่า
เป็นมุนี รวมความว่า หรือว่า เรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยความเป็นอยู่ว่า เป็นมุนี
ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้)
ชนทั้งหลายกล่าวว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก
คำกล่าวนี้นั้นเป็นอย่างไร
ชนทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยญาณ
หรือว่าเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยความเป็นอยู่ว่า เป็นมุนี
[๔๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
นันทะ ชนทั้งหลายผู้ฉลาดในโลกนี้
ไม่เรียกบุคคลว่าเป็นมุนี เพราะได้เห็นเพราะได้ฟังและเพราะได้รู้
เราเรียกเหล่าชนผู้กำจัดเสนามารได้แล้ว
ผู้ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวัง เที่ยวจาริกอยู่ว่า เป็นมุนี (๒)
คำว่า ไม่เรียก... เพราะได้เห็น เพราะได้ฟังและเพราะได้รู้ ได้แก่ ไม่เรียก
เพราะความหมดจดแห่งรูปที่ได้เห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ไม่เรียก... เพราะได้ฟัง ได้แก่ ไม่เรียก เพราะความหมดจดแห่ง
เสียงที่ได้ยิน
คำว่า ไม่เรียก... เพราะได้รู้ ได้แก่ ไม่เรียกเพราะญาณในสมาบัติ ๘ บ้าง
ไม่เรียกเพราะญาณในอภิญญา ๕ บ้าง ไม่เรียกเพราะมิจฉาญาณบ้าง รวมความว่า
ไม่เรียก... เพราะได้เห็น เพราะได้ฟัง และเพราะได้รู้
คำว่า ชนทั้งหลายผู้ฉลาด ในคำว่า นันทะ ชนทั้งหลายผู้ฉลาดในโลกนี้
ไม่เรียกบุคคลว่าเป็นมุนี อธิบายว่า ชนทั้งหลายผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ
ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน
ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค
ฉลาดในผล ฉลาดในนิพพาน ย่อมไม่เรียก คือ ย่อมไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง
ไม่ชี้แจงบุคคลผู้ประกอบ คือ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป
เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยความสะอาดแห่งรูปที่ได้เห็น ความหมดจดแห่ง
เสียงที่ได้ยิน ญาณในสมาบัติ ๘ ญาณในอภิญญา๑ ๕ มิจฉาญาณ รูปที่ได้เห็น หรือ
เสียงที่ได้ยินว่าเป็นมุนี รวมความว่า นันทะ ชนทั้งหลายผู้ฉลาดในโลกนี้ ไม่เรียก
บุคคลว่าเป็นมุนี
ว่าด้วยเสนามาร
คำว่า เราเรียกเหล่าชนผู้กำจัดเสนามารได้แล้ว ผู้ไม่มีความทุกข์ ไม่มี
ความหวัง เที่ยวจาริกอยู่ว่า เป็นมุนี อธิบายว่า เสนามารตรัสเรียกว่า เสนา
กายทุจริต ชื่อว่าเสนามาร วจีทุจริต ชื่อว่าเสนามาร มโนทุจริต ชื่อว่าเสนามาร ราคะ
ชื่อว่าเสนามาร โทสะ ชื่อว่าเสนามาร โมหะ ชื่อว่าเสนามาร โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ
ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ
ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ
ฯลฯ กิเลสทุกชนิด ฯลฯ ทุจริตทุกทาง ฯลฯ ความกระวนกระวายทุกอย่าง ฯลฯ
ความเร่าร้อนทุกสถาน ฯลฯ ความเดือดร้อนทุกประการ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร
ทุกประเภท ชื่อว่าเสนามาร สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ อภิญญา ๕ ได้แก่ (๑) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ (๒) ทิพพโสต หูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ
กำหนดรู้ใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ (ที.ปา.
๑๑/๔๓๑/๓๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
กิเลสกามเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑ ของท่าน
ความไม่ยินดีเราเรียกว่าเสนากองที่ ๒ ของท่าน
ความหิวกระหายเราเรียกว่าเสนากองที่ ๓ ของท่าน
ตัณหาเราเรียกว่าเสนากองที่ ๔ ของท่าน
ถีนมิทธะเราเรียกว่าเสนากองที่ ๕ ของท่าน
ความกลัวเราเรียกว่าเสนากองที่ ๖ ของท่าน
วิจิกิจฉาเราเรียกว่าเสนากองที่ ๗ ของท่าน
มักขะและถัมภะเราเรียกว่าเสนากองที่ ๘ ของท่าน
ลาภ ความสรรเสริญ สักการะและยศที่ได้มาผิด ๆ
เราเรียกว่าเสนากองที่ ๙ ของท่าน
การยกตนและข่มผู้อื่นเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑๐ ของท่าน
มารเอ๋ย เสนาของท่านนี้ มีปกติประหารผู้มีธรรมดำ
คนขลาดเอาชนะเสนานั้นไม่ได้
แต่คนกล้า ครั้นชนะได้แล้วย่อมได้ความสุข๑
เมื่อใด เสนามารทั้งหมดและกิเลสที่สร้างเสนาฝ่ายตรงข้ามทั้งปวง ถูกชน
เหล่าใดพิชิตและทำให้ปราชัย ถูกทำลาย กำจัด ทำให้ไม่สู้หน้าแล้วด้วยอริยมรรค ๔
เมื่อนั้น ชนเหล่านั้น เรียกว่า ผู้กำจัดเสนามารได้แล้ว
คำว่า ผู้ไม่มีความทุกข์ อธิบายว่า ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ
เป็นความทุกข์ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท เป็นทุกข์ ความทุกข์เหล่านี้
ชนเหล่าใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้
เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ชนเหล่านั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีความทุกข์
คำว่า ไม่มีความหวัง อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวัง ได้แก่
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ความหวังคือตัณหานี้ ชนเหล่าใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบ
ได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ชนเหล่านั้น
ตรัสเรียกว่า ไม่มีความหวัง ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕ /๔๓๙-๔๔๒ /๔๑๖, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๒๘/๑๑๕-๑๑๖,๖๘/๒๑๐,๑๔๙/๓๙๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า เราเรียกเหล่าชนผู้กำจัดเสนามารได้แล้ว ผู้ไม่มีความทุกข์ ไม่มี
ความหวัง เที่ยวจาริกอยู่ว่า เป็นมุนี อธิบายว่า เราเรียก คือ บอก แสดง บัญญัติ
กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศว่า ชนเหล่าใดกำจัดเสนามารได้แล้ว
ไม่มีทุกข์และไม่มีความหวัง เที่ยวจาริกอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ชนเหล่านั้นจึงเป็นมุนีในโลกได้ รวมความว่า เรา
เรียกเหล่าชนผู้กำจัดเสนามารได้แล้ว ผู้ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวัง เที่ยวจาริก
อยู่ว่า เป็นมุนี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
นันทะ ชนทั้งหลายผู้ฉลาดในโลกนี้
ไม่เรียกบุคคลว่าเป็นมุนี เพราะได้เห็นเพราะได้ฟังและเพราะได้รู้
เราเรียกเหล่าชนผู้กำจัดเสนามารได้แล้ว
ผู้ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวัง เที่ยวจาริกอยู่ว่า เป็นมุนี
[๔๘] (ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้)
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้นิรทุกข์
สมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นผู้ประพฤติตนเคร่งครัด
ในหลักการของตนนั้น ข้ามชาติและชราได้บ้างหรือไม่
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด (๓)
คำว่า บางพวก ในคำว่า สมณพราหมณ์บางพวก ได้แก่ ทุกสิ่ง โดย
อาการทั้งหมด ทุกอย่างไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า บางพวก
นี้ เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า สมณะ ได้แก่ นักบวชพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งเข้าถึงการบวชเป็นปริพาชก
ถึงการบวชเป็นปริพาชกภายนอกจากธรรมวินัยนี้
คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้กล่าวอ้างว่าตนเจริญบางพวก
รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวก
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก ฯลฯ
คำว่า นันทะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยิน
บ้าง อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะ
เสียงที่ได้ยินบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะ
รูปที่ได้เห็นและเสียงที่ได้ยินบ้าง รวมความว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะรูปที่
ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ
ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะศีลบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด
บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะวัตรบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง
ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไปเพราะศีลวัตรบ้าง รวมความว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะ
ศีลวัตรบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง อธิบายว่า ย่อม
กล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ได้แก่ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะพิธีหลายอย่างบ้าง
คำว่า ได้บ้างหรือไม่ ในคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ... สมณพราหมณ์
พวกนั้นเป็นผู้ประพฤติตนเคร่งครัดในหลักการของตนนั้น... ได้บ้างหรือไม่ เป็น
คำถามด้วยความสงสัย เป็นคำถามด้วยความข้องใจ เป็นคำถาม ๒ แง่ เป็นคำถาม
มีแง่มุมหลายหลากว่า “อย่างนี้หรือหนอ มิใช่หรือหนอ เป็นอะไรเล่าหนอ เป็น
อย่างไรเล่าหนอ” รวมความว่า ได้บ้างหรือไม่
คำว่า พวกนั้น ได้แก่ สมณพราหมณ์ผู้ถือทิฏฐิ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ...
สมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นผู้ประพฤติตนเคร่งครัดในหลักการของตนนั้น... ได้บ้าง
หรือไม่
คำว่า ใน ... นั้น ในคำว่า เป็นผู้ประพฤติตนเคร่งครัดในหลักการ
ของตนนั้น อธิบายว่า ในหลักการของตน คือ ในความถูกใจ ความพอใจ ลัทธิ
ของตน
คำว่า เคร่งครัด ได้แก่ ระวัง ระมัดระวัง คุ้มครอง ปกปัก รักษา สังวรแล้ว
คำว่า ประพฤติ ได้แก่ ประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ... สมณ-
พราหมณ์พวกนั้นเป็นผู้ประพฤติตนเคร่งครัดในหลักการของตนนั้น ... ได้บ้างหรือไม่
คำว่า ผู้นิรทุกข์...ข้ามชาติและชรา อธิบายว่า ข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น
ก้าวล่วง ล่วงเลยชาติชราและมรณะ
คำว่า ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำ
ว่า ผู้นิรทุกข์ นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง รวมความว่า ผู้
นิรทุกข์...ข้ามชาติและชรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ในคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระ
องค์ด้วยเถิด ได้แก่ ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรง
ประกาศปัญหานั้นว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกแก่ข้าพระองค์เถิด รวมความว่า
ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด อธิบายว่า
ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์
ด้วยเถิด ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้)
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้นิรทุกข์
สมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นผู้ประพฤติตนเคร่งครัด
ในหลักการของตนนั้น ข้ามชาติและชราได้บ้างหรือไม่
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
[๔๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ)
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
สมณพราหมณ์พวกนั้น
แม้ประพฤติตนเคร่งครัดอยู่ในหลักการของตนนั้น ก็จริง
แต่เรากล่าวว่า พวกเขายังข้ามชาติและชราไปไม่ได้ (๔)
คำว่า บางพวก ในคำว่า สมณพราหมณ์บางพวก ได้แก่ ทุกสิ่ง โดย
อาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า บางพวก
นี้ เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด
คำว่า สมณะ ได้แก่ นักบวชพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งเข้าถึงการบวชเป็นปริพาชก
ถึงการบวชเป็นปริพาชกภายนอกจากธรรมวินัยนี้
คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้กล่าวอ้างว่าตนเจริญบางพวก
รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวก
คำว่า นันทะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ เป็นคำที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
นันทะ
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะรูปที่ได้เห็นบ้างเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดงชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะ
เสียงที่ได้ยินบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะ
รูปที่ได้เห็นบ้างและเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง รวมความว่า ย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้างเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ
ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง
ชี้แจง ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไปเพราะศีลบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง
ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไปเพราะวัตรบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง
ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไปเพราะศีลวัตรบ้าง รวมความว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะ
ศีลวัตรบ้าง
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง อธิบายว่า ย่อม
กล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ได้แก่ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะพิธีหลากหลายบ้าง รวม
ความว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
คำว่า แม้...ก็จริง ในคำว่า สมณพราหมณ์พวกนั้นแม้ประพฤติตน
เคร่งครัดอยู่ในหลักการของตนนั้น ก็จริง เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท ทำบท
ให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า
แม้ ... ก็จริง นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า พวกนั้น ได้แก่ สมณพราหมณ์ผู้ถือทิฏฐิอยู่
คำว่า ใน... นั้น ได้แก่ ในหลักการของตน คือ ในความถูกใจ ความพอใจ
ในลัทธิของตน
คำว่า เคร่งครัด ได้แก่ ระวัง ระมัดระวัง คุ้มครอง ปกปัก รักษา สังวรแล้ว
คำว่า ประพฤติ ได้แก่ ประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า สมณพราหมณ์พวกนั้นแม้ประพฤติ
ตนเคร่งครัดอยู่ในหลักการของตนนั้น ก็จริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า แต่เรากล่าวว่าพวกเขายังข้ามชาติและชราไปไม่ได้ อธิบายว่า เรา
กล่าว คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศว่า
สมณพราหมณ์พวกนั้นข้ามไม่ได้ คือ ข้ามไปไม่ได้ ข้ามพ้นไม่ได้ ก้าวล่วงไม่ได้
ล่วงเลยชาติชราและมรณะไปไม่ได้ ได้แก่ ออกจากชาติชราและมรณะไม่ได้ คือ
สลัดออกไม่ได้ ก้าวพ้นไม่ได้ ก้าวล่วงไม่ได้ ล่วงเลยจากชาติชราและมรณะไม่ได้
ได้แก่ หมุนเวียนอยู่ภายในชาติ ชราและมรณะ หมุนเวียนอยู่ภายในทางแห่งสงสาร
ไปตามชาติ ถูกชราติดตาม ถูกพยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่
หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย รวมความว่า สมณพราหมณ์พวกนั้นแม้
ประพฤติตนเคร่งครัดอยู่ในหลักการของตนนั้น ก็จริง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ)
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
สมณพราหมณ์พวกนั้น
แม้ประพฤติตนเคร่งครัดอยู่ในหลักการของตนนั้น ก็จริง
แต่เรากล่าวว่า พวกเขายังข้ามชาติและชราไปไม่ได้
[๕๐] (ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้)
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
หากพระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสว่า
สมณพราหมณ์พวกนั้นยังข้ามห้วงกิเลสไม่ได้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนั้น
ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ชื่อว่าข้ามชาติและชราไปได้
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า บางพวก ในคำว่า สมณพราหมณ์บางพวก ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการ
ทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า บางพวก นี้
เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวก
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก
คำว่า นันทะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยิน
บ้าง อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง ความหมดจด
คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง ความหมดจด
คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง รวมความว่า ย่อมกล่าวความหมด
จดเพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
คำว่า ย่อมกล่าวถึงความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง อธิบายว่า ย่อมกล่าว
คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะศีลบ้าง เพราะวัตรบ้าง ย่อมกล่าว
ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะศีลวัตรบ้าง รวมความว่า ย่อม
กล่าวถึงความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง อธิบายว่า ย่อม
กล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะพิธีหลากหลายบ้าง รวมความว่า
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า หาก... สมณพราหมณ์พวกนั้น ในคำว่า หากพระองค์ผู้เป็นพระมุนี
ตรัสว่า สมณพราหมณ์พวกนั้นยังข้ามห้วงกิเลสไม่ได้ ได้แก่ สมณพราหมณ์ผู้
ถือทิฏฐิ
คำว่า พระองค์ผู้เป็นพระมุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ
พระองค์ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่าพระมุนี
คำว่า ตรัสว่าสมณพราหมณ์พวกนั้นว่ายังข้ามห้วงกิเลสไม่ได้ อธิบายว่า
สมณพราหมณ์พวกนั้น ข้ามไม่ได้ คือ ข้ามขึ้นไม่ได้ ข้ามพ้นไม่ได้ ก้าวล่วงไม่ได้
ก้าวพ้นไม่ได้ ล่วงเลยกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะไม่ได้ ได้แก่ หมุนเวียน
อยู่ภายในชาติ ชรา และมรณะ หมุนเวียนอยู่ภายในทางแห่งสงสาร ไปตามชาติ
ถูกชราติดตาม ถูกพยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่หลีกเร้น
ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย
คำว่า ตรัส ได้แก่ ตรัส คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า หาก...พระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสว่าสมณ-
พราหมณ์พวกนั้นยังข้ามห้วงกิเลสไม่ได้
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครเล่าในเทวโลกและ
มนุษยโลก ชื่อว่าข้ามชาติและชราไปได้ อธิบายว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครกันเล่า
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ จึงข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยชาติ ชรา
และมรณะไปได้
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดย
ความเคารพ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและ
ความยำเกรง รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครเล่าใน
เทวโลกและมนุษยโลก ชื่อว่าข้ามชาติและชราไปได้
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ในคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่
ข้าพระองค์ด้วยเถิด อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ทูลขอ ทูลอัญเชิญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
ทูลให้ทรงประกาศปัญหานั้นว่า “ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์
ด้วยเถิด” รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด อธิบายว่า
ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถาม
ปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ด้วยเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้)
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
หากพระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสว่า
สมณพราหมณ์พวกนั้นยังข้ามห้วงกิเลสไม่ได้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนั้น
ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ชื่อว่าข้ามชาติและชราไปได้
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
[๕๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ)
เราไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมด
ถูกชาติและชราโอบล้อม นรชนเหล่าใดในโลกนี้
ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้รับรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง
กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ
เรากล่าวว่านรชนเหล่านั้นแล
ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว (๖)
คำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ เราไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์
ทั้งหมดถูกชาติและชราโอบล้อม อธิบายว่า นันทะ เราไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์
ทั้งหมดถูกชาติและชราหุ้มห่อไว้ โอบล้อม คือห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม
บดบังไว้แล้ว เรากล่าว คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศว่า สมณพราหมณ์ผู้ละชาติ ชราและมรณะได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ เราไม่กล่าวว่า สมณ-
พราหมณ์ทั้งหมดถูกชาติและชราโอบล้อม
คำว่า นรชนเหล่าใดในโลกนี้ ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้
รับรู้หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด อธิบายว่า นรชนเหล่าใด ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความหมดจดแห่งรูปที่ได้เห็นทุกอย่าง ละ
ความหมดจดแห่งเสียงที่ได้ยินทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดจดแห่งอารมณ์ที่ได้รับรู้
ทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดจดแห่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ได้รับรู้
ทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดจดแห่งศีลทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดจดแห่งวัตรทุกอย่าง
นรชนใด ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง
ความหมดจดแห่งศีลวัตรทุกอย่าง รวมความว่า นรชนเหล่าใดในโลกนี้ ละรูปที่ได้
เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้รับรู้หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด
คำว่า ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง อธิบายว่า ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะมงคลที่เล่าลือกันหลากหลาย
รูปแบบ รวมความว่า ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ตัณหา ในคำว่า นรชนเหล่าใด กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมด
อาสวะ เรากล่าวว่า นรชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว ได้แก่
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
ว่าด้วยปริญญา ๓
คำว่า กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว อธิบายว่า กำหนดรู้ตัณหาด้วยปริญญา ๓ คือ
๑. ญาตปริญญา (การกำหนดรู้ขั้นรู้จัก)
๒. ตีรณปริญญา (การกำหนดรู้ขั้นพิจารณา)
๓. ปหานปริญญา (การกำหนดรู้ขั้นละ)
ญาตปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์กำหนดรู้ตัณหา คือ รู้ เห็นว่า “นี้รูปตัณหา นี้สัททตัณหา
นี้คันธตัณหา นี้รสตัณหา นี้โผฏฐัพพตัณหา นี้ธัมมตัณหา” นี้ชื่อว่าญาตปริญญา
ตีรณปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์ทำสิ่งที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้แล้ว พิจารณาตัณหา คือ
พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ... เป็นทุกข์ ... เป็นโรค ... เป็นดุจหัวฝี ...
เป็นของที่ต้องสลัดออกไป นี้ชื่อว่าตีรณปริญญา
ปหานปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์ครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีตัณหาอีก สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในตัณหาเสีย ตัณหานั้นเธอ
ทั้งหลายละได้เด็ดขาดแล้ว จักถูกตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอน
โคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้” นี้ชื่อว่าปหานปริญญา
คำว่า กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว ได้แก่ กำหนดรู้ตัณหาด้วยปริญญา ๓ อย่าง
เหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยอาสวะ ๔
คำว่า เป็นผู้หมดอาสวะ ได้แก่ อาสวะ ๔ อย่าง คือ
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม)
๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. ทิฏฐาสวะ (อาสวะคือทิฏฐิ)
๔. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
อาสวะเหล่านี้นรชนเหล่าใดละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
นรชนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า เป็นผู้หมดอาสวะ ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า นรชนเหล่าใด... กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ เรา
กล่าวว่า นรชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า
นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ เรากล่าว คือ บอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศว่า นรชนเหล่านั้นข้าม คือ
ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ
ทางแห่งสงสารทุกอย่างได้แล้ว รวมความว่า นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว
เป็นผู้หมดอาสวะ เรากล่าวว่านรชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ)
เราไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมด
ถูกชาติและชราโอบล้อม นรชนเหล่าใดในโลกนี้
ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้รับรู้
หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง
กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ
เรากล่าวว่านรชนเหล่านั้นแล
ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
[๕๒] (ท่านนันทะกราบทูลว่า)
ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสนี้ของพระองค์
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าแต่พระโคดม
ธรรมที่ปราศจากอุปธิ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
นรชนเหล่าใดในโลกนี้ ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ได้รับรู้หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด
ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว
เป็นผู้หมดอาสวะ แม้ข้าพระองค์ก็กล่าวว่า
นรชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว (๗)
คำว่า นี้ ในคำว่า ... ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสนี้ ของพระองค์ผู้ทรง
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า ข้าพระองค์พอใจ ชอบใจ คือ เบิกบานใจ
อนุโมทนา ต้องการ ยินดี ทูลขอ ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังพระดำรัส คือ
คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอนนี้
คำว่า พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค
ชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อย่างไร
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์อันยิ่งใหญ่ จึงชื่อว่า
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ฯลฯ “พระผู้ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพประทับอยู่ที่ไหน
พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน” จึงชื่อว่าพระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอัน
ยิ่งใหญ่ รวมความว่า ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสนี้ของพระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอัน
ยิ่งใหญ่
คำว่า ตรัสไว้ดีแล้ว ในคำว่า ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิ
พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว อธิบายว่า ตรัสไว้ดีแล้ว คือ ตรัสบอกไว้ดีแล้ว แสดงไว้ดีแล้ว
บัญญัติไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว เปิดเผยไว้ดีแล้ว จำแนกไว้ดีแล้ว ทำให้ง่ายดีแล้ว
ประกาศไว้ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิ อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และ
อภิสังขาร๑ ตรัสเรียกว่า อุปธิ
การละอุปธิ ความเข้าไปสงบอุปธิ ความสลัดทิ้งอุปธิ ความสงบระงับอุปธิ
ชื่อว่าอมตนิพพาน รวมความว่า ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิพระองค์
ตรัสไว้ดีแล้ว
คำว่า นรชนเหล่าใดในโลกนี้ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้รับ
รู้หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด อธิบายว่า นรชนเหล่าใด ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความหมดจดแห่งรูปที่ได้เห็นทุกอย่าง ได้แก่
ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความ
หมดจดแห่งเสียงที่ได้ยินทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดจดแห่งอารมณ์ที่ได้รับรู้ทุกอย่าง
ฯลฯ ความหมดจดแห่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ได้รับรู้ ฯลฯ
ความหมดจดแห่งศีลทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดแห่งวัตรทุกอย่าง ฯลฯ ละ คือ สละ
ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความหมดจดแห่งศีลวัตร
ทุกอย่าง รวมความว่า นรชนเหล่าใดในโลกนี้ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ได้รับรู้หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด
คำว่า ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง อธิบายว่า ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความหมดจด คือ ความสะอาด ความ
บริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะมงคลที่เล่าลือกัน
หลากหลายรูปแบบ รวมความว่า ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง
คำว่า นรชนเหล่าใด... กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ แม้ข้า
พระองค์ก็กล่าวว่า นรชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า

เชิงอรรถ :
๑ อภิสังขาร หมายถึงสภาพที่ปรุงแต่ง ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ มี ๓ อย่าง
คือ (๑) ปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร
(๒) อปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย (๓) อาเนญชาภิสังขาร
สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะที่มั่นคง
แน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน (ขุ.ป. ๓๑/๑๑๔/๑๒๘, อภิ.วิ.อ. ๒๒๖/๑๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
ว่าด้วยปริญญา ๓
คำว่า กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว ได้แก่ กำหนดรู้ตัณหาด้วยปริญญา ๓ คือ
๑. ญาตปริญญา
๒. ตีรณปริญญา
๓. ปหานปริญญา
ญาตปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์กำหนดรู้ตัณหา คือ รู้ เห็นว่า “นี้รูปตัณหา นี้สัททตัณหา
นี้คันธตัณหา นี้รสตัณหา นี้โผฏฐัพพตัณหา นี้ธัมมตัณหา” นี้ชื่อว่า
ญาตปริญญา
ตีรณปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์ทำสิ่งที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้แล้ว พิจารณาตัณหา คือ
พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร
เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นเสนียด เป็น
อุปัททวะ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน
เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มีที่หลีกเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของไม่มีที่
อาศัย เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นของมีโทษ
เป็นของแปรผันไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นเหตุแห่งความลำบาก
เป็นดุจเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของที่ถูก
เหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร มีชาติเป็นธรรมดา มีชราเป็นธรรมดา
มีพยาธิเป็นธรรมดา มีมรณะเป็นธรรมดา มีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสเป็นธรรมดา มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดทุกข์ ตั้งอยู่ไม่ได้
หาความ แช่มชื่นไม่ได้ เป็นโทษ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป นี้ชื่อว่าตีรณปริญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
ปหานปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์ครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีตัณหาอีก นี้ชื่อว่าปหานปริญญา
คำว่า กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว ได้แก่ กำหนดรู้ตัณหานั้น ด้วยปริญญา ๓
อย่างเหล่านี้
ว่าด้วยอาสวะ ๔
คำว่า เป็นผู้หมดอาสวะ ได้แก่ อาสวะ ๔ อย่าง คือ
๑. กามาสวะ
๒. ภวาสวะ
๓. ทิฏฐาสวะ
๔. อวิชชาสวะ
อาสวะเหล่านี้นรชนเหล่าใดละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
นรชนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า เป็นผู้หมดอาสวะ ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า นรชนเหล่าใด... กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ แม้
ข้าพระองค์ก็กล่าวว่า นรชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า
นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ เรากล่าว คือ บอกว่า
นรชนเหล่านั้นข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นกาโมฆะ
ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ทางแห่งสงสารทุกอย่างได้แล้ว รวมความว่า นรชน
เหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ เรากล่าวว่านรชนเหล่านั้นแล ชื่อ
ว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสนี้ของพระองค์
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าแต่พระโคดม
ธรรมที่ปราศจากอุปธิ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
นรชนเหล่าใดในโลกนี้ ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ได้รับรู้หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด
ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว
เป็นผู้หมดอาสวะ แม้ข้าพระองค์ก็กล่าวว่า
นรชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ นันทมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
นันทมาณวปัญหานิทเทสที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของเหมกมาณพ
[๕๓] (ท่านเหมกะทูลถาม ดังนี้)
ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม
อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใดเคยพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ว่า
เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้
คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา
คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่าง ๆ
ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในคำพยากรณ์นั้น (๑)
คำว่า อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใด ในคำว่า ก่อน ... อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใด
เคยพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ อธิบายว่า พราหมณ์พาวรี และอาจารย์คนอื่น ๆ
ของพราหมณ์พาวรี เคยพยากรณ์ คือ เคยบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศหลักการของตน ความถูกใจ ความพอใจ ลัทธิ อัธยาศัย
ความประสงค์ของตน รวมความว่า ก่อน ... อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใดเคยพยากรณ์
แก่ข้าพระองค์
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านเหมกะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ดังนี้
นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน๒
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า เหมกะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๓
คำว่า แต่ศาสนาของพระโคดม อธิบายว่า แต่ศาสนาของพระโคดม คือ
อื่นจากศาสนาของพระโคดม ก่อนศาสนาของพระโคดม ก่อนกว่าศาสนาของพระ
โคดม ได้แก่ ก่อนกว่าศาสนาของพระพุทธเจ้า ศาสนาของพระชินเจ้า ศาสนาของ
พระตถาคต ศาสนาของพระอรหันต์ รวมความว่า แต่ศาสนาของพระโคดม

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๙๑-๑๐๙๔/๕๔๒-๕๔๓
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔
๓ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ อธิบายว่า เล่ากันว่า
เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ เหตุนี้จักเป็นอย่างนี้ รวมความว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้ว
อย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้
คำว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา อธิบายว่า คำ
พยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา คือ อาจารย์เหล่านั้นกล่าวธรรมที่
ตนไม่รู้ด้วยตนเอง ธรรมที่ไม่ได้ประจักษ์แก่ตนเอง โดยการเชื่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็น
ดังนี้ ๆ โดยการเล่าลือ โดยการถือสืบ ๆ กันมา โดยการอ้างตำรา โดยตรรก
โดยการอนุมาน โดยการคิดตรอง ตามแนวเหตุผล โดยเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
รวมความว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา
คำว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่าง ๆ อธิบายว่า
คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่าง ๆ คือ ทำให้ความวิตกเจริญ ทำให้
ความดำริเจริญ ทำให้กามวิตกเจริญ ทำให้พยาบาทวิตกเจริญ ทำให้วิหิงสาวิตก
เจริญ ทำให้ความวิตกถึงญาติเจริญ ทำให้ความวิตกถึงชนบทเจริญ ทำให้ความ
วิตกถึงความไม่ตายเจริญ ทำให้ความวิตกที่ประกอบด้วยความเอ็นดูเจริญ ทำให้
ความวิตกที่ประกอบด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเจริญ ทำให้ความวิตกที่
ประกอบด้วยความปรารถนามิให้ใครดูหมิ่นเจริญ รวมความว่า คำพยากรณ์
ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่าง ๆ
คำว่า ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในคำพยากรณ์นั้น อธิบายว่า ข้าพระองค์จึง
ไม่ยินดี คือ ไม่พอใจ ไม่ยอมรับ ไม่อยากได้ในคำพยากรณ์นั้น รวมความว่า
ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในคำพยากรณ์นั้น ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านเหมกะทูลถาม ดังนี้)
ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม
อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใดเคยพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ว่า
เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้
คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา
คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่าง ๆ
ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในคำพยากรณ์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
[๕๔] (ท่านเหมกะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระมุนี บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว
มีสติ เที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม(นั้น)
ที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา แก่ข้าพระองค์เถิด (๒)
คำว่า พระองค์ ในคำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม(นั้น) ... แก่ข้า
พระองค์ เป็นคำที่เหมกมาณพเรียกพระผู้มีพระภาค
คำว่า ธรรม ในคำว่า โปรดตรัสบอกธรรม อธิบายว่า ขอพระองค์โปรด
ตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศพรหมจรรย์ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม
ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค
มีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า ขอ
พระองค์โปรดตรัสบอกธรรม(นั้น) ... แก่ข้าพระองค์
คำว่า ข้าแต่พระมุนี ... ธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา คือ ธรรมเป็นเครื่อง
ละตัณหา เข้าไปสงบตัณหา สลัดทิ้งตัณหา ระงับตัณหา คืออมตนิพพาน
คำว่า ข้าแต่พระมุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ พระองค์
ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี รวมความว่า ข้าแต่
พระมุนี ... ธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา
คำว่า บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติ เที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า บุคคลรู้ชัดแล้ว
คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่ บุคคลรู้ชัดแล้ว
คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ฯลฯ บุคคลรู้ชัดแล้ว
คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อ
เจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ บุคคลนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
มีสติ
คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไปอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติ เที่ยวไปอยู่
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่า
วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร ฯลฯ ซ่านไป ขยายไป ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา๒
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ผู้มีสติพึงข้าม
คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยตัณหานี้ที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกนั่นเอง
รวมความว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น
จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระมุนี บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว
มีสติ เที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม(นั้น)
ที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา แก่ข้าพระองค์เถิด
[๕๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เหมกะ นิพพานบทอันไม่แปรผัน
เป็นเครื่องกำจัดความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
ในปิยรูปทั้งหลายที่ได้เห็น ได้ยินได้รับรู้และได้รู้ ในโลกนี้ (๓)

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒๒/๑๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ที่ได้เห็น ในคำว่า ที่ได้เห็น ได้ยินได้รับรู้และได้รู้ในโลกนี้ ได้แก่
ได้เห็นทางตา
คำว่า ได้ยิน ได้แก่ ได้ยินทางหู
คำว่า ได้รับรู้ ได้แก่ ได้รับรู้ คือ ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น สัมผัส
ทางกาย
คำว่า และได้รู้ ได้แก่ ได้รู้(ธรรมารมณ์)ทางใจ รวมความว่า ที่ได้เห็น ได้ยิน
ได้รับรู้และได้รู้ ในโลกนี้
ว่าด้วยปิยรูปและสาตรูป
คำว่า เหมกะ ... ในปิยรูปทั้งหลาย อธิบายว่า ก็อะไรเป็นปิยรูป๑ เป็น
สาตรูป๒ในโลก จักขุ เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก โสตะ (ประสาทหู) ... ฆานะ
(ประสาทจมูก) ... ชิวหา (ประสาทลิ้น) ... กาย (ประสาทกาย) ... มโน เป็นปิยรูป
เป็นสาตรูปในโลก
รูป เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์
เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก โสต-
วิญญาณ ... ฆานวิญญาณ ... ชิวหาวิญญาณ ... กายวิญญาณ ... มโนวิญญาณ
เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก จักขุสัมผัส เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก โสตสัมผัส
... ฆานสัมผัส ... ชิวหาสัมผัส ... กายสัมผัส ... มโนสัมผัส เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป
ในโลก
เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก เวทนาที่เกิดจาก
โสตสัมผัส ... เวทนาที่เกิดจากฆานสัมผัส ... เวทนาที่เกิดจากชิวหาสัมผัส ...
เวทนาที่เกิดจากกายสัมผัส ... เวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัส เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป
ในโลก


เชิงอรรถ :
๑ปิยรูป คือรูปที่น่ารัก น่าปรารถนา
๒สาตรูป คือรูปที่น่ายินดี น่าต้องการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
รูปสัญญา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททสัญญา ... คันธสัญญา ...
รสสัญญา ... โผฏฐัพพสัญญา ... ธัมมสัญญา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก
รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททสัญเจตนา ... คันธสัญเจตนา
... รสสัญเจตนา ... โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ธัมมสัญเจตนา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป
ในโลก
รูปตัณหา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททตัณหา ... คันธตัณหา ...
รสตัณหา ... โผฏฐัพพตัณหา ... ธัมมตัณหา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก
รูปวิตก เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททวิตก ... คันธวิตก ... รสวิตก
... โผฏฐัพพวิตก ... ธัมมวิตก เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก รูปวิจารเป็นปิยรูป
เป็นสาตรูปในโลก ... สัททวิจาร ... คันธวิจาร ... รสวิจาร ... โผฏฐัพพวิจาร ...
ธัมมวิจาร เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก รวมความว่า ในปิยรูปทั้งหลาย
คำว่า เหมกะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในคำว่า เป็นเครื่องกำจัด
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ อธิบายว่า ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่
ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่ ความ
เยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วย
อำนาจความใคร่ ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลส
เครื่องประกอบคือความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือ
ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย
คำว่า เป็นเครื่องกำจัดความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ได้แก่ เป็น
เครื่องละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เข้าไปสงบความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจ สลัดทิ้งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ระงับความกำหนัดด้วย
อำนาจความพอใจ คือ อมตนิพพาน รวมความว่า เป็นเครื่องกำจัดความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจ
คำว่า นิพพานบทอันไม่แปรผัน อธิบายว่า นิพพานบท (ทางนิพพาน) คือ
ตาณบท (ทางปกป้อง) เลณบท (ทางหลีกเร้น) ปรายนบท (ทางไปสู่จุดหมาย)
อภยบท (ทางไม่มีภัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า อันไม่แปรผัน ได้แก่ เที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไป
เป็นธรรมดา รวมความว่า นิพพานบทอันไม่แปรผัน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสตอบว่า
เหมกะ นิพพานบทอันไม่แปรผัน
เป็นเครื่องกำจัดความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
ในปิยรูปทั้งหลายที่ได้เห็น ได้ยินได้รับรู้และได้รู้ ในโลกนี้
[๕๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ชนเหล่าใดผู้มีสติ รู้นิพพานนั้นแล้ว
เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
ชนเหล่านั้น เป็นผู้สงบทุกเมื่อ
ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว (๔)
คำว่า นั้น ในคำว่า ชนเหล่าใดผู้มีสติ รู้นิพพานนั้นแล้ว ได้แก่ อมตนิพพาน
อันเป็นธรรมระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็น
ที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า รู้แล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว
ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว
พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ฯลฯ รู้แล้ว ทราบแล้ว
เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สิ่งใดสิ่ง
หนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า เหล่าใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ผู้มีสติ ได้แก่ ผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญ
สติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ รวมความว่า ชนเหล่าใดผู้มีสติ รู้นิพพานนั้นแล้ว
คำว่า เห็นธรรม ในคำว่า เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า ผู้เห็นธรรม
คือ ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๓ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น