Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๐-๕ หน้า ๒๒๔ - ๒๗๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐-๕ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
ได้แก่ ผู้เห็นธรรม คือ ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม
ผู้เห็นแจ้งธรรมว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า ดับกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้
ราคะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โทสะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลส
ได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โมหะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โกธะ
ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภทดับแล้ว รวมความว่า เห็นธรรม
ดับกิเลสได้แล้ว
คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า ชนเหล่านั้น เป็นผู้สงบทุกเมื่อ อธิบายว่า
ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบราคะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโทสะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ
เพราะสงบโมหะ คือ สงบแล้ว เข้าไปสงบแล้ว สงบเย็นแล้ว ดับได้แล้ว ระงับได้แล้ว
เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับโกธะ อุปนาหะ ฯลฯ
อกุสลาภิสังขารทุกประเภทแล้ว รวมความว่า เป็นผู้สงบ
คำว่า เหล่านั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ทุกเมื่อ อธิบายว่า ทุกเมื่อ คือ ในกาลทุกเมื่อ ตลอดกาลทั้งปวง
ตลอดกาลเป็นนิจ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลต่อเนื่องกัน ตลอดกาลสืบเนื่องกัน
ตลอดกาลติดต่อกัน ตลอดกาลเป็นลำดับ ตลอดกาลติดต่อกันเหมือนระลอกคลื่น
ตลอดกาลเป็นไปต่อเนื่องไม่ขาดสาย ตลอดกาลสืบต่อกันกระชั้นชิด ตลอดกาลก่อนภัต
หลังภัต ตลอดปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม ตลอดข้างแรม ข้างขึ้น ตลอดฤดูฝน
ฤดูหนาว ฤดูร้อน ตลอดปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย รวมความว่า ชนเหล่านั้น
เป็นผู้สงบทุกเมื่อ
คำว่า ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหา ตรัส
เรียกว่า วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูล
คือโลภะ
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร ฯลฯ ซ่านไป ขยายไป ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๒/๑๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก
คำว่า เป็นผู้ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหาที่
ชื่อว่าวิสัตติกาในโลก พระอรหันตขีณาสพ เป็นผู้ข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง
ก้าวพ้น ล่วงพ้นตัณหาชื่อว่าวิสัตติกาในโลกแล้ว รวมความว่า เป็นผู้ข้ามตัณหาที่
ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใดผู้มีสติ รู้นิพพานนั้นแล้ว
เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
ชนเหล่านั้น เป็นสงบทุกเมื่อ
ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ เหมกมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
เหมกมาณวปัญหานิทเทสที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของโตเทยยมาณพ
[๕๗] (ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้)
กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด
ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด
และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว
วิโมกข์ของบุคคลนั้นเป็นเช่นไร (๑)
คำว่า กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด อธิบายว่า กามทั้งหลายย่อมไม่อยู่ คือ
ไม่อยู่ร่วม ไม่อยู่อาศัย ไม่อยู่ครอง ในบุคคลใด รวมความว่า กามทั้งหลายไม่
อยู่ในบุคคลใด
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า
ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า โตเทยยะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด อธิบายว่า ตัณหาไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ
หาไม่ได้แก่บุคคลใด ได้แก่ ตัณหาอันผู้ใดละได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด
คำว่า และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า ผู้ใดข้าม คือ ข้าม
ขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นความสงสัยได้แล้ว รวมความว่า และ
บุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๙๕-๑๐๙๘/๕๔๓-๕๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า วิโมกข์ของบุคคลนั้นเป็นเช่นไร อธิบายว่า พราหมณ์ทูลถามวิโมกข์ว่า
วิโมกข์ของเขาเป็นเช่นไร คือ มีสัณฐานอย่างไร มีประการอย่างไร เปรียบได้กับอะไร
ที่บุคคลพึงปรารถนา รวมความว่า วิโมกข์ของบุคคลนั้นเป็นเช่นไร ด้วยเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้)
กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด
ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด
และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว
วิโมกข์ของบุคคลนั้นเป็นเช่นไร
[๕๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โตเทยยะ)
กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด
ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด
และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว
วิโมกข์อื่นของบุคคลนั้นย่อมไม่มี (๒)
คำว่า ใด ในคำว่า กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด ได้แก่ ในบุคคลใด คือ
พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม
(๒) กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑
คำว่า ไม่อยู่ อธิบายว่า กามทั้งหลายย่อมไม่อยู่ คือ ไม่อยู่ร่วม ไม่อยู่อาศัย
ไม่อยู่ครองในบุคคลใด รวมความว่า กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด
คำว่า โตเทยยะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โตเทยยะ เป็นคำ
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โตเทยยะ
คำว่า ตัณหา ในคำว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า บุคคลใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด อธิบายว่า ตัณหาไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ
หาไม่ได้แก่บุคคลใด ได้แก่ ตัณหาอันบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า
ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด
คำว่า และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า วิจิกิจฉา ตรัสเรียกว่า
ความสงสัย ได้แก่ ความสงสัยในทุกข์ ฯลฯ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความ
ติดขัดในใจ๒
คำว่า บุคคลใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า บุคคลใดข้าม คือ
ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นความสงสัยได้แล้ว รวมความว่า
และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว
คำว่า วิโมกข์อื่นของบุคคลนั้นย่อมไม่มี อธิบายว่า บุคคลผู้หลุดพ้นแล้วนั้น
พึงหลุดพ้นด้วยวิโมกข์ใด วิโมกข์อื่นจากนั้น ของบุคคลนั้นย่อมไม่มี (เพราะ) บุคคล
นั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยวิโมกข์เสร็จแล้ว รวมความว่า วิโมกข์อื่นของบุคคลนั้น
ย่อมไม่มี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๓๒/๑๖๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โตเทยยะ)
กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด
ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด
และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว
วิโมกข์อื่นของบุคคลนั้นย่อมไม่มี
[๕๙] (ท่านโตเทยยะทูลถามว่า)
บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง หรือว่ายังหวังอยู่
บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือว่ายังมีความดำริด้วยปัญญา
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด (๓)
คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง หรือว่ายังหวังอยู่ อธิบายว่า บุคคล
นั้นไม่มีตัณหา หรือว่า ยังมีตัณหาอยู่ คือ หวัง ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย
มุ่งหวังในรูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ตระกูล
ฯลฯ คณะ ฯลฯ อาวาส ฯลฯ ลาภ ฯลฯ ยศ ฯลฯ สรรเสริญ ฯลฯ สุข ฯลฯ
จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ กามธาตุ
ฯลฯ รูปธาตุ ฯลฯ อรูปธาตุ ฯลฯ กามภพ ฯลฯ รูปภพ ฯลฯ อรูปภพ ฯลฯ
สัญญาภพ ฯลฯ อสัญญาภพ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญาภพ ฯลฯ เอกโวการภพ๑
ฯลฯ จตุโวการภพ๒ ฯลฯ ปัญจโวการภพ๓ ฯลฯ อดีต ฯลฯ อนาคต ฯลฯ ปัจจุบัน
ฯลฯ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้
แจ้ง รวมความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง หรือว่ายังหวังอยู่

เชิงอรรถ :
๑ เอกโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓๔/๑๖๙
๒ จตุโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓๔/๑๖๙
๓ ปัญจโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓๔/๑๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือว่า
ยังมีความดำริด้วยปัญญา ได้แก่ บัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ
มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
คำว่า หรือว่ายังมีความดำริด้วยปัญญา อธิบายว่า หรือว่ายังดำริถึงตัณหา
หรือทิฏฐิ คือ ให้ความดำริถึงตัณหาหรือทิฏฐิเกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้
บังเกิดขึ้นด้วยญาณในสมาบัติ ๘ ญาณในอภิญญา ๕ หรือมิจฉาญาณ รวมความว่า
บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือว่ายังมีความดำริด้วยปัญญา
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้สักกะ
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์
จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้สักกะเสด็จออกผนวช
จากศากยตระกูล จึงชื่อว่าผู้สักกะ
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก มีทรัพย์ จึงชื่อว่าผู้
สักกะ
พระองค์ทรงมีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ
ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือ
สติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์
คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน
พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีทรัพย์ด้วยทรัพย์ที่เป็นรัตนะหลายอย่าง
เหล่านี้ จึงชื่อว่าผู้สักกะ
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ คือ ทรงองอาจ อาจหาญ มี
ความสามารถ กล้า กล้าหาญ ก้าวหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี
ทรงละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าผู้สักกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร
อธิบายว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง
รู้เฉพาะ แทงตลอด พระมุนีได้อย่างไร รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ
ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร
คำว่า นั้น ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัส
บอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด อธิบายว่า ปัญหาที่ข้าพระองค์
ทูลถาม ที่ข้าพระองค์ทูลขอ ที่ข้าพระองค์ทูลอัญเชิญ ที่ข้าพระองค์ทูลให้ทรงประกาศ
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก (ปัญหานั้น) ให้แจ่มแจ้ง อธิบายว่า
ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศ
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ อธิบายว่า พระสัพพัญญุตญาณตรัส
เรียกว่า สมันตจักขุ ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระตถาคต ชื่อว่าผู้มีสมันตจักขุ๑
รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่
ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง หรือว่ายังหวังอยู่
บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือว่ายังมีความดำริด้วยปัญญา
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
[๖๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง ทั้งไม่หวัง
บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา แต่ไม่มีความดำริด้วยปัญญา
โตเทยยะ เธอจงรู้จักบุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล
ผู้ไม่ข้องในกามและภพว่าเป็นมุนี อย่างนี้ (๔)

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓๘/๑๗๘-๑๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง ทั้งไม่หวัง อธิบายว่า บุคคลนั้นไม่มี
ตัณหา ทั้งไม่มีตัณหา ไม่หวัง คือ ไม่ต้องการ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย
ไม่มุ่งหวังในรูป ... ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส
โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง รวมความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มี
ความหวัง ทั้งไม่หวัง
คำว่า ผู้มีปัญญา ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา แต่ไม่มีความดำริ
ด้วยปัญญา ได้แก่ บัณฑิต มีปัญญา คือ มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มี
ปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
คำว่า แต่ไม่มีความดำริด้วยปัญญา อธิบายว่า ไม่ดำริถึงตัณหาหรือทิฏฐิ
ด้วยญาณในสมาบัติ ๘ อภิญญา ๕ หรือมิจฉาญาณ คือ ไม่ให้ความดำริถึง
ตัณหาหรือทิฏฐิเกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น รวมความว่า
บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา แต่ไม่มีความดำริด้วยปัญญา
คำว่า โตเทยยะ เธอจงรู้จัก ... ว่าเป็นมุนี อย่างนี้ อธิบายว่า
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ บุคคลก้าวล่วงกิเลส
เครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑
คำว่า โตเทยยะ เธอจงรู้จัก ... ว่าเป็นมุนี อย่างนี้ อธิบายว่า โตเทยยะ
เธอจงรู้ คือ จงรู้เฉพาะ รู้แจ่มแจ้ง แทงตลอด ว่าเป็นมุนี อย่างนี้ รวมความว่า
โตเทยยะ เธอจงรู้จัก ... ว่าเป็นมุนี อย่างนี้
คำว่า เครื่องกังวล ในคำว่า บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกาม
และภพ ได้แก่ เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ
เครื่องกังวลคือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวล
คือทุจริต เครื่องกังวลเหล่านี้ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า
บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๑๒๗-๑๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ในกามและภพ อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑
คำว่า ภพ ได้แก่ ภพ ๒ คือ (๑) กรรมภพ (๒) ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ
ฯลฯ นี้ชื่อว่าภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ๒
คำว่า บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ อธิบายว่า
บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้อง คือ ไม่เกาะติด ไม่เกี่ยวพัน ไม่พัวพัน ออก
สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องในกามและภพ มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่
รวมความว่า บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง ทั้งไม่หวัง
บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา แต่ไม่มีความดำริด้วยปัญญา
โตเทยยะ เธอจงรู้จักบุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล
ผู้ไม่ข้องในกามและภพว่าเป็นมุนี อย่างนี้
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ โตเทยยมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
โตเทยยมาณวปัญหานิทเทสที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒๔/๑๓๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของกัปปมาณพ
[๖๑] (ท่านกัปปะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์
ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ
ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย
อนึ่ง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง
โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมีแก่ข้าพระองค์อีก (๑)
ว่าด้วยสังสารวัฏ
คำว่า เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ อธิบายว่า สงสาร ตรัสเรียกว่า
สระ คือ การมา๒ การไป๓ การไปและการมา ความตาย คติ๔ ภพน้อยภพใหญ่
จุติ อุปบัติ๕ ความเกิด ความดับ ชาติ ชรา มรณะ ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารไม่
ปรากฏ ที่สุดเบื้องปลายก็ไม่ปรากฏ เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว
ติดแล้ว ติดแน่นแล้ว ติดพันแล้ว ติดใจแล้วในสงสารอันเป็นท่ามกลาง
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร
คือ วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๙๙-๑๑๐๒/๕๔๔
๒ การมา ในที่นี้หมายถึงการมาจากเบื้องต้นและที่สุด (ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖)
๓ การไป ในที่นี้หมายถึงการไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น (ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖)
๔ คติ ในที่นี้หมายถึงการบังเกิด (ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖)
๕ อุปบัติ ในที่นี้หมายถึงการเกิดขึ้นต่อจากการเคลื่อน (ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
วัฏฏะเป็นไปแล้วร้อยชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วพันชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วโกฏิชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วพันโกฏิชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนโกฏิชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด
เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นร้อยปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วพันปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด
เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด
เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วโกฏิปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด
เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วร้อยโกฏิปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
วัฏฏะเป็นไปแล้วพันโกฏิปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด
เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนโกฏิปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด
เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วร้อยกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วพันกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด
เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วร้อยโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วพันโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ มีเบื้องต้น
และเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์
ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน ท่องเที่ยวไป ภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
เหล่าสัตว์เสวยทุกข์ เสวยความยากลำบาก เสวยความพินาศ เต็มป่าช้า๑ เป็นเวลา
ยาวนานอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ จึงควรเบื่อหน่าย ควร
คลายกำหนัด ควรหลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง ฉะนั้น๒ ที่สุดเบื้องต้น แห่งสงสาร
จึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร
คือ วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้
บ้าง
วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นร้อยชาติเท่านี้ ฯลฯ พันชาติเท่านี้ ฯลฯ แสนชาติเท่านี้
ฯลฯ โกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ ร้อยโกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ พันโกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ
แสนโกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ ปีเท่านี้ ฯลฯ ร้อยปีเท่านี้ ฯลฯ พันปีเท่านี้ ฯลฯ
แสนปีเท่านี้ ฯลฯ โกฏิปีเท่านี้ ฯลฯ ร้อยโกฏิปีเท่านี้ฯลฯ พันโกฏิปีเท่านี้ ฯลฯ
แสนโกฏิปีเท่านี้ ฯลฯ กัปเท่านี้ ฯลฯ ร้อยกัปเท่านี้ ฯลฯ พันกัปเท่านี้ ฯลฯ
แสนกัปเท่านี้ ฯลฯ โกฏิกัปเท่านี้ ฯลฯ ร้อยโกฏิกัปเท่านี้ ฯลฯ พันโกฏิกัปเท่านี้
ฯลฯ แสนโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องปลาย
แห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
ที่สุดทั้งเบื้องต้นทั้งเบื้องปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ เหล่าสัตว์ผู้
ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว ติดแล้ว ติดแน่นแล้ว ติดพันแล้ว ติดใจแล้วใน
สงสารอันเป็นท่ามกลาง รวมความว่า เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านกัปปะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ดังนี้
นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง

เชิงอรรถ :
๑ เต็มป่าช้า ในที่นี้หมายถึงซากศพของเหล่าสัตว์ที่ตายแล้ว มีมากมาย ทับถมกันอยู่ในป่าช้า หรือเต็ม
แผ่นดิน (สํ.นิ.อ. ๒/๑๒๔/๑๗๖, ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖)
๒ สํ.นิ. ๑๖/๑๒๔/๑๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า กัปปะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๑ รวมความว่า
ท่านกัปปะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย อธิบายว่า ในขณะห้วงน้ำคือกาม
ห้วงน้ำคือภพ ห้วงน้ำคือทิฏฐิ ห้วงน้ำคืออวิชชา เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น
ปรากฏ
คำว่า อันเป็นมหันตภัย ได้แก่ ชาติภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยชาติ) ชราภัย
(ภัยที่เกิดเพราะอาศัยชรา) พยาธิภัย (ภัยที่เกิดเพราะความเจ็บป่วย) มรณภัย
(ภัยที่เกิดเพราะมรณะ) รวมความว่า ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย
คำว่า ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ อธิบายว่า ผู้ถูกชราถูกต้อง ครอบงำ
คือ กลุ้มรุม ห้อมล้อม ผู้ถูกมรณะจับต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ห้อมล้อม ได้แก่
ผู้ไปตามชาติ ชราติดตาม พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่หลีกเร้น
ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย รวมความว่า ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง อธิบายว่า
ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศที่พึ่ง คือ ที่ปกป้อง ที่หลีกเร้น ที่พึ่ง คติ จุดหมาย
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดย
ความเคารพ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและ
ความยำเกรง รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ที่พึ่ง
คำว่า พระองค์ ในคำว่า อนึ่ง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง ... แก่
ข้าพระองค์ เป็นคำที่พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาค
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัส คือ
โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศที่พึ่ง คือ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
ที่ปกป้อง ที่หลีกเร้น ที่ระลึก คติ จุดหมาย รวมความว่า อนึ่ง ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกที่พึ่ง ... แก่ข้าพระองค์
คำว่า โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมี...อีก อธิบายว่า โดยวิธีที่ทุกข์นี้พึงดับ คือ
พึงเข้าไปสงบ พึงถึงความสิ้นสุด ระงับในชาตินี้เอง คือ ทุกข์อันมีในปฏิสนธิ ไม่พึง
บังเกิดอีก ได้แก่ ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น ไม่บังเกิด ไม่บังเกิดขึ้น ในกามธาตุ รูปธาตุ
อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ
เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ คติใหม่ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร
หรือวัฏฏะ คือ พึงดับ เข้าไปสงบ ถึงความสิ้นสุด ระงับในชาตินี้แหละ รวมความว่า
โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมี...อีก ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านกัปปะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์
ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ
ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย
อนึ่ง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง
โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมีแก่ข้าพระองค์อีก
[๖๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า กัปปะ)
กัปปะ เราจะบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์
ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ
ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัยแก่เธอ (๒)
คำว่า ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ อธิบายว่า สงสาร ตรัสเรียกว่า สระ คือ
การมา การไป การไปและการมา ความตาย คติ ภพน้อยภพใหญ่ จุติ อุปบัติ
ความเกิด ความดับ ชาติ ชรา มรณะ ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารไม่ปรากฏ ที่สุด
เบื้องปลายก็ไม่ปรากฏ เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว ติดแล้ว ติด
แน่นแล้ว ติดพันแล้ว ติดใจแล้วในสงสารอันเป็นท่ามกลาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร ฯลฯ
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร ฯลฯ
ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง ที่สุดทั้งเบื้องต้นทั้งเบื้อง
ปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏ แม้อย่างนี้
เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว ติดแล้ว ติดแน่นแล้ว ติดพันแล้ว
ติดใจแล้วในสงสารอันเป็นท่ามกลาง รวมความว่า เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
คำว่า กัปปะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กัปปะ เป็นคำที่พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
กัปปะ
คำว่า ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย อธิบายว่า ในขณะห้วงน้ำคือ
กาม ห้วงน้ำคือภพ ห้วงน้ำคือทิฏฐิ ห้วงน้ำคืออวิชชา เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด
บังเกิดขึ้น ปรากฏ
คำว่า อันเป็นมหันตภัย ได้แก่ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย
รวมความว่า ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย
คำว่า ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ อธิบายว่า ผู้ถูกชราถูกต้อง ครอบงำ
คือ กลุ้มรุม ห้อมล้อม ผู้ถูกมรณะจับต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ห้อมล้อม ได้แก่
ผู้ไปตามชาติ ชราติดตาม พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่หลีกเร้น
ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย รวมความว่า ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า เราจะบอกที่พึ่ง... แก่เธอ อธิบายว่า เราจะบอก คือ บอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศที่พึ่ง คือ ที่ปกป้อง ที่หลีกเร้น
ที่พึ่ง คติ จุดหมาย
คำว่า กัปปะ ในคำว่า กัปปะ... แก่เธอ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
พราหมณ์นั้นโดยชื่อ รวมความว่า เราจะบอกที่พึ่ง... แก่เธอ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสตอบว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า กัปปะ)
กัปปะ เราจะบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์
ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ
ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัยแก่เธอ
[๖๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เราเรียกนิพพาน ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล
ไม่มีเครื่องยึดมั่นนี้นั้น ว่าเป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า
(เพราะ)นิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งชราและมัจจุราช (๓)
คำว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล ในคำว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล ไม่มีเครื่องยึดมั่น
ได้แก่ เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวล
คือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต การละ
เครื่องกังวล การเข้าไปสงบเครื่องกังวล การสลัดทิ้งเครื่องกังวล การระงับเครื่อง
กังวลได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล
คำว่า ไม่มีเครื่องยึดมั่น อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า เครื่องยึดมั่น
ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑
การละเครื่องยึดมั่น การเข้าไปสงบเครื่องยึดมั่น การสลัดทิ้งเครื่องยึดมั่น
การระงับเครื่องยึดมั่นได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล ไม่มี
เครื่องยึดมั่น

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า นั้นว่าเป็นที่พึ่งนั้นอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า อธิบายว่า นี้เป็นที่พึ่ง ที่
ปกป้อง ที่หลีกเร้น ที่พึ่ง เป็นคติ เป็นจุดหมาย
คำว่า อันไม่มีที่พึ่งอื่น อธิบายว่า ที่พึ่งอื่น คือ อย่างอื่นจากนิพพานนั้น ไม่มี
โดยที่แท้ ธรรมนั้น เป็นที่พึ่งอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม
อย่างนี้ รวมความว่า นั้นว่าเป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า
คำว่า เราเรียกนิพพาน ... นั้น อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า วานะ (เครื่อง
เสียบแทง) ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
การละวานะ การเข้าไปสงบวานะ การสลัดทิ้งวานะ การระงับวานะได้ เป็น
อมตนิพพาน
คำว่า ว่า เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ว่า นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบท
หลังเข้าด้วยกัน
คำว่า เรียก ได้แก่ พูด คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า เราเรียกนิพพาน ... นั้น
คำว่า เป็นที่สิ้นไปแห่งชราและมัจจุราช อธิบายว่า การละ การเข้าไปสงบ
การสลัดทิ้ง การระงับชราและมรณะได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า เป็นที่สิ้น
ไปแห่งชราและมรณะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
เราเรียกนิพพาน ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล
ไม่มีเครื่องยึดมั่นนี้นั้น ว่าเป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า
(เพราะ)นิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งชราและมัจจุราช
[๖๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ชนเหล่าใดมีสติรู้นิพพานนั้นแล้ว
เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร ไม่ไปบำรุงมาร (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า นั้น ในคำว่า ชนเหล่าใดรู้นิพพานนั้นแล้ว อธิบายว่า อมตนิพพาน
คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา
เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า รู้แล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว
ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว
พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า เหล่าใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อ
เจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น พระผู้มี-
พระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ รวมความว่า ชนเหล่าใดมีสติรู้นิพพานนั้นแล้ว
คำว่า เห็นธรรม ในคำว่า เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า ผู้เห็นธรรม
คือ ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรม
คำว่า ดับกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำ
ให้ราคะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โทสะดับแล้ว ชื่อว่าดับ
กิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โมหะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้
ทำให้โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภทดับแล้ว รวมความว่า
เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
คำว่า ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร อธิบายว่า
คำว่า มาร ได้แก่ มาร ผู้มีกรรมดำ คือ ผู้ยิ่งใหญ่ พาไปสู่ความตาย
ไม่ให้สัตว์หลุดพ้น เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท
คำว่า ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร อธิบายว่า ชนเหล่านั้นไม่ไป
ตามอำนาจมาร ทั้งมารก็ไม่เป็นไปในอำนาจชนเหล่านั้น ชนเหล่านั้นข่มขี่ ครอบงำ
ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีมาร คือ ฝักฝ่ายแห่งมาร บ่วงมาร เบ็ดมาร เหยื่อมาร วิสัยมาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
ที่อยู่ของมาร โคจรของมาร เครื่องผูกแห่งมาร เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตาม
อำนาจมาร
คำว่า ไม่ไปบำรุงมาร อธิบายว่า ชนเหล่านั้น ไม่บำรุง ไม่เที่ยวบำรุง
ไม่บำเรอ ไม่รับใช้มาร ชนเหล่านั้นบำรุง เที่ยวบำรุง บำเรอ รับใช้แต่พระผู้มี-
พระภาคพุทธเจ้า รวมความว่า ไม่ไปบำรุงมาร ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใดมีสติรู้นิพพานนั้นแล้ว
เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร ไม่ไปบำรุงมาร
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ กัปปมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
กัปปมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของชตุกัณณิมาณพ
[๖๕] (ท่านชตุกัณณิทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระวีระ ข้าพระองค์ได้ยินว่า
พระองค์ไม่มีความใคร่กาม ล่วงพ้นห้วงกิเลส
จึงมาเฝ้าเพื่อทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม
ข้าแต่พระสหชเนตร ขอพระองค์โปรดตรัสบอกสันติบท
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม
อันแท้จริงนั้นแก่ข้าพระองค์ (๑)
คำว่า ข้าแต่พระวีระ ข้าพระองค์ได้ยินว่า พระองค์ไม่มีความใคร่กาม
อธิบายว่า ข้าพระองค์ได้ยิน คือ สดับ เรียน ทรงจำ เข้าไปกำหนดไว้ว่า “แม้
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค” รวมความว่า ข้าพระองค์ได้ยินว่า
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าวีระ
คำว่า ข้าแต่พระวีระ อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคผู้วีระ มีพระวิริยะ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงองอาจ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงให้ผู้อื่นพากเพียร จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงกล้าหาญ จึงชื่อว่าวีระ
คือ ทรงก้าวไปข้างหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ทรงละ
ภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าพระวีระ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๐๓-๑๑๐๗/๕๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงเว้นขาดจากบาปธรรมทั้งปวงในโลกนี้
ก้าวล่วงทุกข์ในนรก ทรงอยู่ด้วยความเพียร
ทรงมีความเพียร มีความมุ่งมั่น แกล้วกล้า มั่นคง
เรียกได้ว่า ทรงเป็นอย่างนั้น
คำว่า ข้าแต่พระวีระ ข้าพระองค์ได้ยินว่าพระองค์ไม่มีความใคร่กาม
อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้ เรียกว่ากิเลสกาม๑
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงกำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละกิเลสกามได้แล้ว เพราะ
เป็นผู้ทรงกำหนดรู้วัตถุกาม เพราะทรงละกิเลสกามได้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงไม่
ทรงใคร่ในกาม คือ ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังในกาม
ชนเหล่าใดใคร่กาม ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังกาม ชนเหล่านั้น ชื่อว่า
ยังใคร่กาม กำหนัดในราคะ มีความสำคัญในสัญญา
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงใคร่กาม ไม่ทรงปรารถนา ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังกาม
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีกาม คือ ทรงปราศจากกาม สละกามแล้ว
คายกามแล้ว ปล่อยกามแล้ว ละกามแล้ว สลัดทิ้งกามแล้ว คลายราคะแล้ว
ปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว
สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้หมดความอยากแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐ
เสวยสุขอยู่ รวมความว่า ข้าแต่พระวีระ ข้าพระองค์ได้ยินว่าพระองค์ไม่มีความ
ใคร่กาม
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านชตุกัณณิทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า
ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก คำว่า ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มี
ความเคารพและความยำเกรง

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ชตุกัณณิ เป็นโคตรของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๑ รวมความ
ว่า ท่านชตุกัณณิทูลถาม ดังนี้
คำว่า ล่วงพ้นห้วงกิเลส ในคำว่า ล่วงพ้นห้วงกิเลส จึงมาเฝ้าเพื่อทูลถาม
พระองค์ผู้ไม่มีกาม อธิบายว่า ล่วงพ้นห้วงกิเลส คือ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วง
พ้นห้วงกิเลสแล้ว รวมความว่า ล่วงพ้นห้วงกิเลส
คำว่า เพื่อทูลถาม ได้แก่ เพื่อทูลถาม คือ เพื่อทูลปุจฉา ทูลขอ ทูลอัญเชิญ
ทูลให้ทรงประกาศ
คำว่า จึงมาเฝ้า ... ผู้ไม่มีกาม อธิบายว่า จึงมาเฝ้า คือ เป็นผู้มาเฝ้าแล้ว
มาเข้าเฝ้าแล้ว ถึงพร้อมแล้ว เป็นผู้มาถึงพร้อมกับพระองค์แล้ว เพื่อทูลถามพระ
องค์ผู้ไม่มีกาม คือ ทรงปราศจากกาม สละกามแล้ว คายกามแล้ว ปล่อยกามแล้ว
ละกามแล้ว สลัดทิ้งกามแล้ว ได้แก่ คลายราคะแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละ
ราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว รวม
ความว่า ล่วงพ้นห้วงกิเลส จึงมาเฝ้าเพื่อทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม
คำว่า ข้าแต่พระสหชเนตร ขอพระองค์โปรดตรัสบอกสันติบท อธิบายว่า
คำว่า สันติ ได้แก่ ทั้งสันติและสันติบท มีความหมายอย่างเดียวกัน สันติบท
นั้นเอง คือ อมตนิพพาน ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิ
ทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บทนี้สงบ บทนี้ประณีต คือ ธรรม
เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่ดับกิเลส
เป็นที่เย็นสนิท”
อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่าใด เป็นไปเพื่อบรรลุความสงบ ถูกต้องความสงบ
ทำให้แจ้งความสงบ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เหล่านี้ก็ตรัสเรียกว่า สันติบท

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศสันติบท คือ ตาณบท เลณบท สรณบท อภยบท อัจจุตบท
อมตบท นิพพานบท
คำว่า ข้าแต่พระสหชเนตร อธิบายว่า พระสัพพัญญุตญาณตรัสเรียกว่า
พระเนตร พระเนตรและความเป็นพระชินเจ้าของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เกิดขึ้น
ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลังกัน ที่โคนต้นโพธิ์ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงมี
พระนามว่าพระสหชเนตร รวมความว่า ข้าแต่พระสหชเนตร ขอพระองค์โปรด
ตรัสบอกสันติบท
คำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมอันแท้จริงนั้น
แก่ข้าพระองค์ อธิบายว่า อมตนิพพานตรัสเรียกว่า ธรรมแท้จริง ได้แก่ ธรรม
เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลาย
กำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก...นั้นแก่ข้าพระองค์ ได้แก่ ขอพระองค์
โปรดตรัส คือ โปรดบอก ฯลฯ ประกาศ รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ขอพระองค์ โปรดตรัสบอกธรรมอันแท้จริงนั้นแก่ข้าพระองค์ ด้วยเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านชตุกัณณิทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระวีระ ข้าพระองค์ได้ยินว่า
พระองค์ไม่มีความใคร่กาม ล่วงพ้นห้วงกิเลส
จึงมาเฝ้าเพื่อจะทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม
ข้าแต่พระสหชเนตร ขอพระองค์โปรดตรัสบอกสันติบท
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม
อันแท้จริงนั้นแก่ข้าพระองค์

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
[๖๖] (ท่านชตุกัณณิทูลถามว่า)
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงครอบงำกามทั้งหลาย
ด้วยพระเดช ทรงเคลื่อนไหว(อิริยาบถ)อยู่
เหมือนดวงอาทิตย์มีแสงสว่าง ส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี
พระองค์ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติ
และชราในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง
แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยด้วยเถิด (๒)
คำว่า พระผู้มีพระภาค ในคำว่า อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงครอบงำกาม
ทั้งหลาย (ด้วยพระเดช) ทรงเคลื่อนไหว (อิริยาบถ) อยู่ เป็นคำกล่าวโดย
ความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละ ครอบงำ คือ ข่มขี่ ท่วมทับ
ควบคุม ย่ำยีกิเลสกามได้แล้ว เสด็จไป ประทับอยู่ ทรงเคลื่อนไหว ทรงเป็นไป
ทรงเลี้ยงพระชนมชีพ ทรงดำเนินไป ทรงยังพระชนมชีพให้ดำเนินไปอยู่ รวมความว่า
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงครอบงำกามทั้งหลาย (ด้วยพระเดช) ทรงเคลื่อนไหว
(อิริยาบถ)อยู่
คำว่า เหมือนดวงอาทิตย์มีแสงสว่าง ส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี อธิบายว่า
พระสุรียะเรียกว่า ดวงอาทิตย์ พื้นแผ่นดินเรียกว่า ปฐพี
ดวงอาทิตย์มีแสงสว่าง คือ ประกอบด้วยแสงสว่าง ครอบงำ ข่มขี่ ท่วมทับ
ปกคลุม แผดเผาแผ่นดิน ขจัดความมืด คือกำจัดความมืดมิดในอากาศทั้งหมดแล้ว
ส่องแสงสว่างโคจรไปในอากาศบนท้องฟ้าอันโปร่งใส ฉันใด พระผู้มีพระภาคมีพระ
เดชคือญาณ คือ ประกอบด้วยพระเดชคือญาณ ทรงกำจัดอภิสังขารสมุทัยทั้งปวง
ฯลฯ ความมืดคือกิเลส ความมืดคืออวิชชา ทรงส่องแสงสว่างคือพระญาณ ทรง
กำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละ ครอบงำ ข่มขี่ ท่วมทับ ควบคุม ย่ำยีกิเลสกามได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
เสด็จไป ประทับอยู่ ทรงเคลื่อนไหว ทรงเป็นไป ทรงเลี้ยงพระชนมชีพ
ทรงดำเนินไป ทรงยังพระชนมชีพให้ดำเนินไป ฉันนั้น รวมความว่า เหมือน
ดวงอาทิตย์มีแสงสว่าง ส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี
คำว่า พระองค์ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ... แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยด้วย
เถิด อธิบายว่า ข้าพระองค์เป็นผู้มีปัญญาน้อย คือ มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญา
น่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบ ส่วนพระองค์มีพระปัญญามาก คือ มีพระปัญญา
กว้างขวาง มีพระปัญญาอาจหาญ มีพระปัญญาฉับไว มีพระปัญญาเฉียบคม มี
พระปัญญาเพิกถอนกิเลส
แผ่นดินท่านเรียกว่า ภูริ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญาอันกว้าง
ขวาง แผ่ไป เสมอด้วยแผ่นดินนั้น รวมความว่า พระองค์ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ...
แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยด้วยเถิด
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม ในคำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ธรรม ... ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศธรรม คือ พรหมจรรย์
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ นิพพาน
และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน
คำว่า ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง ได้แก่ ซึ่งข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว
รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง รวมความว่า
โปรดตรัสบอกธรรม... ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง
คำว่า ธรรมเป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ อธิบายว่า ธรรมเป็นเครื่อง
ละ คือ ธรรมเป็นเครื่องเข้าไปสงบ เป็นเครื่องสลัดทิ้ง เป็นเครื่องระงับชาติชรา
และมรณะในโลกนี้ คืออมตนิพพาน รวมความว่า ธรรมเป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงครอบงำกามทั้งหลาย
ด้วยพระเดช ทรงเคลื่อนไหว(อิริยาบถ)อยู่
เหมือนดวงอาทิตย์มีแสงสว่าง ส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี
พระองค์ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติ
และชราในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง
แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยด้วยเถิด
[๖๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชตุกัณณิ)
เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลายเสีย
เธอเห็นเนกขัมมะโดยความเกษมแล้ว
ควรสลัดเครื่องกังวลที่ยึดถือ
หรือว่าเครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอ (๓)
คำว่า ในกามทั้งหลาย ในคำว่า เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลาย
เสีย ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ฯลฯ
เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑
คำว่า ความติดใจ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความติดใจ ได้แก่
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลายเสีย อธิบายว่า เธอจงกำจัด
คือ ขจัด ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความกำหนัดใน
กามทั้งหลาย รวมความว่า เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลายเสีย
คำว่า ชตุกัณณิ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยโคตร
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๒ รวมความว่า พระผู้มีพระภาตตรัสตอบว่า
ชตุกัณณิ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยธรรมอันเกษม
คำว่า เนกขัมมะ ในคำว่า เธอเห็นเนกขัมมะโดยความเกษมแล้ว อธิบาย
ว่า เธอเห็นแล้ว คือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่ม
แจ้งซึ่งการปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติ
ที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์
ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณ ในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ
สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน
โดยความเป็นธรรมเกษม คือ เป็นที่ปกป้อง เป็นที่หลีกเร้น เป็นที่พึ่ง ที่อาศัย ที่
ปลอดภัย ที่ไม่จุติ ที่ไม่ตาย ที่ดับเย็น รวมความว่า เธอเห็นเนกขัมมะโดยความ
เกษมแล้ว
คำว่า เครื่องกังวลที่ยึดถือ ในคำว่า ควรสลัดเครื่องกังวลที่ยึดถือ หรือว่า
อธิบายว่า เครื่องกังวลที่ถือแล้ว ยึดมั่นแล้ว ถือมั่นแล้ว ติดใจแล้ว น้อมใจเชื่อแล้ว
ด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ
คำว่า ควรสลัด ... หรือว่า อธิบายว่า ควรสลัด คือ ควรเปลื้อง ละ บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก หรือว่า รวมความว่า ควรสลัดเครื่องกังวล
ที่ยึดถือ หรือว่า
คำว่า เครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอ อธิบายว่า เครื่องกังวลคือราคะ เครื่อง
กังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวลคือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ
เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต เครื่องกังวลนี้อย่าได้มี คือ อย่าได้
ประสบ อย่าได้ปรากฏแก่เธอเลย ได้แก่ เธอจงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า เครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอ ด้วยเหตุนั้น พระผู้-
มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชตุกัณณิ)
เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลายเสีย
เธอเห็นเนกขัมมะโดยความเกษมแล้ว
ควรสลัดเครื่องกังวลที่ยึดถือ
หรือว่าเครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอ
[๖๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป
เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลังอย่าได้มีแก่เธอ
ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้
ก็จักเป็นผู้เข้าไปสงบ เที่ยวไป (๔)
คำว่า เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป
อธิบายว่า กิเลสเหล่าใดพึงปรารภสังขารที่เป็นอดีตเกิดขึ้น เธอจงทำกิเลสเหล่านั้น
ให้แห้งไป เหือดแห้งไป คือ แห้งเหือดไป แห้งหายไป ทำให้หมดพืชพันธุ์ จงละ
บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า เธอจงทำกิเลสที่
ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง กัมมาภิสังขารที่เป็นอดีตซึ่งให้ผลเหล่าใด เธอจงทำกัมมาภิ-
สังขารเหล่านั้นให้แห้งไป เหือดแห้งไป คือ แห้งเหือดไป แห้งหายไป ทำให้
หมดพืชพันธุ์ จงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า
เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป อย่างนี้บ้าง
ว่าด้วยอนาคตตรัสเรียกว่าส่วนภายหลัง
คำว่า เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลังอย่าได้มีแก่เธอ อธิบายว่า
เครื่องกังวลส่วนอนาคต ตรัสเรียกว่า ภายหลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวล
คือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต อัน
ปรารภสังขารที่เป็นส่วนอนาคต เครื่องกังวลนี้อย่าได้มี คือ อย่าได้มีแล้วแก่เธอ
ได้แก่ เธออย่าให้เกิด อย่าให้เกิดขึ้น อย่าให้บังเกิด จงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลังอย่า
ได้มีแก่เธอ
คำว่า ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้ อธิบายว่า รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นปัจจุบัน ตรัสเรียกว่า ส่วนท่ามกลาง
เธอจักไม่ถือ คือ ไม่ถือ ไม่ยึดถือ ไม่ใยดี ไม่พูดถึง ไม่ติดใจสังขารที่เป็น
ปัจจุบันด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ คือ จักละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น
ความถือมั่น รวมความว่า ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้
คำว่า ก็จักเป็นผู้เข้าไปสงบ เที่ยวไป อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะ
สงบราคะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโทสะ ฯลฯ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโมหะ
ฯลฯ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ คือ สงบเย็น ดับ ระงับ เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น
เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป
รวมความว่า ก็จักเป็นผู้เข้าไปสงบ เที่ยวไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
ตอบว่า
เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป
เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลังอย่าได้มีแก่เธอ
ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้
ก็จักเป็นผู้เข้าไปสงบ เที่ยวไป
[๖๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
พราหมณ์ อาสวะทั้งหลาย
อันเป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ ไม่มีแก่บุคคลนั้น
ผู้คลายความติดใจในนามรูป โดยประการทั้งปวง (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า โดยประการทั้งปวง ในคำว่า พราหมณ์... ผู้คลายความติดใจใน
นามรูปโดยประการทั้งปวง ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ
ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า โดยประการทั้งปวง นี้ เป็นคำกล่าวรวม ๆ
ไว้ทั้งหมด
คำว่า นาม ได้แก่ อรูปขันธ์ ๔
คำว่า รูป ได้แก่ มหาภูตรูป ๔๑ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔๒ ตัณหา
ตรัสเรียกว่า ความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า พราหมณ์ ... ผู้คลายความติดใจในนามรูป โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า พราหมณ์ พระอรหันตขีณาสพ ผู้คลายความติดใจแล้ว คือ ผู้ปราศจาก
ความติดใจแล้ว สละความติดใจแล้ว คายความติดใจแล้ว ปล่อยความติดใจแล้ว
ละความติดใจแล้ว สลัดทิ้งความติดใจได้แล้ว รวมความว่า พราหมณ์ ... ผู้
คลายความติดใจในนามรูป โดยประการทั้งปวง
คำว่า อาสวะทั้งหลาย ในคำว่า อาสวะทั้งหลาย ... ไม่มีแก่บุคคลนั้น ได้แก่
อาสวะ ๔ อย่าง คือ
๑. กามาสวะ
๒. ภวาสวะ
๓. ทิฏฐาสวะ
๔. อวิชชาสวะ
คำว่า แก่บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ไม่มี อธิบายว่า อาสวะเหล่านี้ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่
ได้แก่พระอรหันตขีณาสพนั้น ได้แก่ อาสวะทั้งหลายท่านละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
รวมความว่า อาสวะทั้งหลาย ... ไม่มีแก่บุคคลนั้น

เชิงอรรถ :
๑ มหาภูตรูป ๔ ดูเชิงอรรถข้อ ๕/๕๘
๒ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ดูเชิงอรรถข้อ ๕/๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า อันเป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ อธิบายว่า อาสวะทั้งหลาย ที่
เป็นเหตุให้ไปสู่อำนาจแห่งมรณะ หรือ ไปสู่อำนาจของมรณะ หรือ ไปสู่อำนาจ
ของพรรคพวกมาร ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่มีปรากฏ หาไม่ได้แก่พระอรหันตขีณาสพนั้น
ได้แก่ อาสวะทั้งหลายท่านละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า อันเป็นเหตุให้ถึง
อำนาจแห่งมัจจุ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
พราหมณ์ อาสวะทั้งหลาย
อันเป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ ไม่มีแก่บุคคลนั้น
ผู้คลายความติดใจในนามรูป โดยประการทั้งปวง
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ ชตุกัณณิมาณพ ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของภัทราวุธมาณพ
[๗๐] (ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้)
ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนาพระองค์
ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้
หลุดพ้นแล้ว ละการกำหนด มีพระปัญญาดี
ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้นาคะแล้ว
จึงจักกลับไปจากที่นี้ (๑)
คำว่า ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ในคำว่า ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้
ตัดตัณหาได้ ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว อธิบายว่า ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย๒และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไป
ตั้งมั่นถือมั่นนอนเนื่องในรูปธาตุ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอัน
เป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นนอนเนื่องในเวทนาธาตุ ฯลฯ ในสัญญาธาตุ ฯลฯ
ในสังขารธาตุ ฯลฯ ในวิญญาณธาตุ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้
คำว่า ตัดตัณหาได้ อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ตัณหานั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตัดแล้ว คือ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๐๘-๑๑๑๑/๕๔๖
๒ อุบาย ในที่นี้หมายถึงตัณหาและทิฎฐิ (ขุ.จู.อ. ๗๐/๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
ตัดขาดแล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก
เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าตัดตัณหาได้
คำว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า เหตุให้
หวั่นไหว ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑
ตัณหาเหตุให้หวั่นไหวนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว คือ
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว เพราะ
เป็นผู้ละตัณหาเหตุให้หวั่นไหวได้แล้ว จึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว พระผู้มี-
พระภาค ไม่ทรงหวั่นไหว คือ ไม่ทรงสะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน
เพราะได้ลาภ เพราะเสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ
เพราะนินทาบ้าง เพราะได้สุข เพราะทุกข์บ้าง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มี
ตัณหาเหตุให้หวั่นไหว รวมความว่า ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้ ไม่
มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า
ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า ภัทราวุธ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๒ รวมความว่า
ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้
คำว่า ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุดพ้นแล้ว อธิบายว่า
ตัณหาตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลิน ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ความเพลิดเพลินคือตัณหานั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงละได้เด็ดขาดแล้ว คือ ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไป
แล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่า
ละความเพลิดเพลินได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้ามห้วงกิเลสได้ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงข้าม คือ ข้ามขึ้น
ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นแล้วซึ่งกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ
ทางแห่งสงสารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว
ประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ พระองค์ไม่มี การเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย
และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้
หลุดพ้นแล้ว
คำว่า หลุดพ้นแล้ว อธิบายว่า จิตของพระผู้มีพระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว
หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากราคะ จิตของพระผู้พระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว
หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโทสะ จิตของพระผู้มีพระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว
หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโมหะ จิตของพระผู้มีพระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว
หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโกธะ อุปนาหะ ฯลฯ จากอกุสลาภิสังขารทุกประเภท
รวมความว่า ละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุดพ้นแล้ว
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนา ... ละการกำหนด มีพระปัญญาดี
อธิบายว่า
คำว่า การกำหนด ได้แก่ การกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) การกำหนด
ด้วยอำนาจตัณหา (๒) การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าการกำหนด
ด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการ
กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทรงละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา
สลัดทิ้งการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าละการกำหนด
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนา ได้แก่ ทูลขอ ทูลอาราธนา คือ อัญเชิญ
ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย พอใจ มุ่งหวัง
คำว่า มีพระปัญญาดี อธิบายว่า ปัญญาตรัสเรียกว่า เมธา (ปัญญาเครื่อง
ทำลายกิเลส) ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม
เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมแล้วด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสนี้ ฉะนั้น
พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่ามีพระปัญญาดี รวมความว่า ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนา ...
ละการกำหนด มีพระปัญญญาดี
คำว่า ผู้นาคะ๑ ในคำว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้
นาคะแล้ว จึงจักกลับไปจากที่นี้ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ
เพราะไม่ทรงทำความชั่ว พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงถึง พระผู้มี
พระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงกลับมาหา ฯลฯ พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ
เพราะไม่ทรงกลับมาหา เป็นอย่างนี้
คำว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้นาคะแล้วจึงจักกลับ
ไปจากที่นี้๒ อธิบายว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟัง คือ ครั้นได้สดับ เรียน ทรงจำ
เข้าไปกำหนดแล้วซึ่งพระดำรัส คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำ
พร่ำสอนของพระองค์ จึงจักกลับ คือ ดำเนินไป จากไป ไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่จากที่นี้
รวมความว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้นาคะแล้วจึงจักกลับไป
จากที่นี้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้)
ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนาพระองค์
ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ทรงละความเพลิดเพลินได้ข้ามห้วงกิเลสได้
หลุดพ้นแล้ว ละการกำหนด มีพระปัญญาดี
ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้นาคะแล้ว
จึงจักกลับไปจากที่นี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๗/๑๔๕-๑๔๖
๒ จากที่นี้ ในที่นี้หมายถึง จากปาสาณกเจดีย์ (ขุ.จู.อ. ๗๐/๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
[๗๑] (ท่านภัทราวุธทูลถามว่า)
ข้าแต่พระวีระ ชนต่าง ๆ จากชนบททั้งหลาย
มาชุมนุมกัน(ในที่นี้) หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะได้ฟัง)
พระดำรัสของพระองค์ ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา)
แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะว่าธรรมนี้พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว (๒)
คำว่า ชนต่าง ๆ ในคำว่า ชนต่าง ๆ จากชนบททั้งหลาย มาชุมนุมกัน
(ในที่นี้) ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา
และมนุษย์
คำว่า จากชนบททั้งหลาย มาชุมนุมกัน(ในที่นี้) อธิบายว่า จากแคว้นอังคะ
มคธ กลิงคะ กาสี โกศล วัชชี มัลละ วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ
อวันตี โยนะ(คันธาระ) และกัมโพชะ
คำว่า มาชุมนุมกัน(ในที่นี้) อธิบายว่า มาชุมนุมกัน คือ มาพร้อมกัน
มารวมกัน มาประชุมกัน (ในที่นี้) รวมความว่า ชนต่าง ๆ จากชนบททั้งหลาย
มาชุมนุมกัน (ในที่นี้)
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าวีระ
คำว่า ข้าแต่พระวีระ ในคำว่า ข้าแต่พระวีระ ... หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะ
ได้ฟัง)พระดำรัสของพระองค์ อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคผู้วีระ มีพระวิริยะ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงองอาจ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีภาคทรงให้ผู้อื่นพากเพียร จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงหมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าวีระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงเว้นขาดจากบาปธรรมทั้งปวงในโลกนี้
ก้าวล่วงทุกข์ในนรก ทรงอยู่ด้วยความเพียร
ทรงมีความเพียร มีความมุ่งมั่น แกล้วกล้า มั่นคง
เรียกได้ว่า ทรงเป็นอย่างนั้น
คำว่า ข้าแต่พระวีระ...หวังเป็นอย่างยิ่ง (ที่จะได้ฟัง) พระดำรัสของ
พระองค์ ได้แก่ พระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำพร่ำสอน
คำว่า หวังเป็นอย่างยิ่ง อธิบายว่า หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะได้ฟัง) คือ ต้องการ
ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง รวมความว่า ข้าแต่พระวีระ ... หวังเป็นอย่างยิ่ง
(ที่จะได้ฟัง) พระดำรัสของพระองค์
คำว่า แก่ชนเหล่านั้น ในคำว่า ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา)แก่ชน
เหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด อธิบายว่า แก่ชนเหล่านั้น คือ กษัตริย์ พราหมณ์
แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์
คำว่า พระองค์ เป็นคำที่พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาค
คำว่า โปรดพยากรณ์(ปัญหา) ... ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด อธิบายว่า ขอ
พระองค์โปรดตรัสบอก คือ แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด รวมความว่า ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา)แก่ชน
เหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
คำว่า เพราะว่าธรรมนี้พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว อธิบายว่า เพราะว่า
พระองค์ทรงทราบแล้ว คือ ทรงรู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้
กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว รวมความว่า ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา)
แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่งแจ้งด้วยเถิด ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระวีระ ชนต่าง ๆ จากชนบททั้งหลาย
มาชุมนุมกัน(ในที่นี้) หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะได้ฟัง)
พระดำรัสของพระองค์ ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา)
แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะว่าธรรมนี้พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
[๗๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ)
นรชนควรทำลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง
ทั้งชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง
เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใด ๆ ในโลก
มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล (๓)
คำว่า นรชนควรทำลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง อธิบายว่า รูปตัณหา ตรัส
เรียกว่า เครื่องยึดมั่น
คำว่า เครื่องยึดมั่น อธิบายว่า รูปตัณหา ท่านเรียกว่าเครื่องยึดมั่น เพราะเหตุไร
เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมยึดถือ เข้าไปยึดถือ คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูปด้วยตัณหานั้น
ฯลฯ ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมยึดถือ เข้าไปยึดถือ คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นเวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ คติ ฯลฯ อุปบัติ ฯลฯ ปฏิสนธิ
ฯลฯ ภพ ฯลฯ สงสาร ฯลฯ วัฏฏะ เพราะเหตุนั้น รูปตัณหาเป็นต้นนั้น
ท่านจึงเรียกว่า เครื่องยึดมั่น
คำว่า นรชนควรทำลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง อธิบายว่า นรชนควรทำลาย
คือ พึงขจัด ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งเครื่องยึดมั่นทั้งหมด
รวมความว่า นรชนควรทำลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง
คำว่า ภัทราวุธ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ภัทราวุธ
คำว่า ทั้งชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลาง อธิบายว่า
อนาคต ตรัสเรียกว่าชั้นสูง อดีต ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ ปัจจุบัน ตรัสเรียกว่า
ชั้นกลาง
กุศลธรรม ตรัสเรียกว่าชั้นสูง อกุศลธรรม ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ อัพยากตธรรม
ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
เทวโลก ตรัสเรียกว่าชั้นสูง อบายโลก ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ มนุษยโลก ตรัส
เรียกว่าชั้นกลาง
สุขเวทนา ตรัสเรียกว่าชั้นสูง ทุกขเวทนา ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ อทุกขมสุขเวทนา
ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง
อรูปธาตุ ตรัสเรียกว่าชั้นสูง กามธาตุ ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ รูปธาตุ ตรัส
เรียกว่าชั้นกลาง
เบื้องสูงจากฝ่าเท้าขึ้นไป ตรัสเรียกว่าชั้นสูง เบื้องต่ำจากปลายผมลงมา
ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ ตรงกลาง ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง รวมความว่า ทั้งชั้นสูง ชั้นต่ำ
และชั้นกลาง
คำว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใด ๆ ในโลก อธิบายว่า เพราะ
สัตว์ทั้งหลายยึดถือ เข้าไปยึดถือ คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณใด ๆ
คำว่า ในโลก อธิบายว่า ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก๑ รวมความว่า
เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใด ๆ ในโลก
คำว่า มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล อธิบายว่า ขันธมาร
ธาตุมาร อายตนมาร คติมาร อุปบัติมาร ปฏิสนธิมาร ภวมาร สังสารมาร วัฏฏมาร
อันมีในปฏิสนธิ ย่อมติดตาม คือ ไปตาม เป็นผู้ติดตามไปด้วยอำนาจ
กัมมาภิสังขารนั้นนั่นเอง
คำว่า สัตว์ ได้แก่ ผู้ข้อง ชน นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ รวมความว่า มารย่อมติดตามสัตว์เพราะ
สิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๔/๕๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ)
นรชนควรทำลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง
ทั้งชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง
เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใด ๆ ในโลก
มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล
[๗๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัดเพ่งพิจารณาหมู่สัตว์นี้
ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราชว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
ควรเป็นผู้มีสติ ไม่พึงเข้าไปยึดถือเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง (๔)
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัด... ไม่พึงเข้าไป
ยึดถือ อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น
เพราะต้นเหตุนั้น ภิกษุเมื่อมองเห็นโทษแห่งตัณหาเครื่องยึดมั่นนี้ รวมความว่า
เพราะฉะนั้น
คำว่า เมื่อรู้ชัด อธิบายว่า รู้อยู่ รู้ชัด รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดอยู่
ได้แก่ รู้อยู่ รู้ชัด รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดอยู่ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า ไม่พึงเข้าไปยึดถือ อธิบายว่า ไม่พึงยึดถือ ไม่พึงเข้าไปยึดถือ ไม่พึงถือ
ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่นรูป ฯลฯ ไม่พึงยึดถือ ไม่พึงเข้าไปยึดถือ ไม่พึงถือ ไม่
พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
คติ ฯลฯ อุปบัติ ฯลฯ ปฏิสนธิ ฯลฯ ภพ ฯลฯ สงสาร ฯลฯ วัฏฏะ รวมความว่า
เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัด ... ไม่พึงเข้าไปยึดถือ
คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ ... เครื่องกังวลในโลก
ทั้งปวง ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือ ภิกษุผู้เป็นเสขะ
คำว่า ควรเป็นผู้มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ
เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ ภิกษุนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
ผู้มีสติ รวมความว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า เครื่องกังวล ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร
เป็นวิญญาณไร ๆ
คำว่า ในโลกทั้งปวง ได้แก่ ในอบายโลกทั้งปวง ในมนุษยโลกทั้งปวง
ในเทวโลกทั้งปวง ในขันธโลกทั้งปวง ในธาตุโลกทั้งปวง ในอายตนโลกทั้งปวง
รวมความว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ ... เครื่องกังวล ในโลกทั้งปวง
คำว่า เพ่งพิจารณา ... ว่าเป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น อธิบายว่า
ชนเหล่าใดยึดถือ เข้าไปยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูป ฯลฯ ได้แก่ ย่อมยึดถือ
เข้าไปยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ คติ ฯลฯ อุปบัติ ฯลฯ ปฏิสนธิ ฯลฯ ภพ ฯลฯ สงสาร ฯลฯ วัฏฏะ
ชนเหล่านั้นตรัสเรียกว่า ผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
คำว่า ว่า เป็นคำสนธิ ฯลฯ คำว่า ว่า นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลัง
เข้าด้วยกัน
คำว่า เพ่งพิจารณา ได้แก่ เพ่งพิจารณา แลเห็น มองเห็น เห็น มองดู
เพ่งพินิจ พิจารณา รวมความว่า เพ่งพิจารณา ... ว่าเป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
คำว่า หมู่สัตว์ ในคำว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราช เป็นชื่อของ
สัตว์
คำว่า บ่วงแห่งมัจจุราช อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร เรียกว่า
บ่วงแห่งมัจจุราช
หมู่สัตว์ ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในบ่วงแห่งมัจจุราช
คือ บ่วงแห่งมาร บ่วงแห่งมรณะ อธิบายว่า สิ่งของที่ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด
เกี่ยวพัน ติดตรึงอยู่ที่ตะปูข้างฝา หรือที่เครื่องแขวนทำด้วยงาช้าง ฉันใด หมู่สัตว์
ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในบ่วงแห่งมัจจุราช คือบ่วงแห่งมาร
บ่วงแห่งมรณะ ฉันนั้น รวมความว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราช ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัดเพ่งพิจารณาหมู่สัตว์นี้
ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราชว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
ควรเป็นผู้มีสติ ไม่พึงเข้าไปยึดถือเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ ภัทราวุธมาณพ ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของอุทัยมาณพ
[๗๔] (ท่านอุทัยทูลถาม ดังนี้)
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม
จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงมีฌาน ปราศจากธุลี
ประทับนั่งอยู่ ผู้ทรงทำกิจสำเร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์
อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชาด้วยเถิด (๑)
คำว่า ผู้ทรงมีฌาน ในคำว่า ผู้ทรงมีฌาน ปราศจากธุลี ประทับนั่งอยู่
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีฌาน ชื่อว่าทรงมีฌาน ด้วยปฐมฌานบ้าง ด้วย
ทุติยฌานบ้าง ด้วยตติยฌานบ้าง ด้วยจตุตถฌานบ้าง ด้วยฌานที่มีวิตกและวิจาร
เป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มี
วิตกและวิจารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่มีปีติเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มีปีติ
เป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่สหรคตด้วยความแช่มชื่นบ้าง ด้วยฌานที่สหรคตด้วย
อุเบกขาบ้าง ด้วยฌานที่เป็นสุญญตะบ้าง๒ ด้วยฌานที่เป็นอนิมิตตะบ้าง๓ ด้วย
ฌานที่เป็นอัปปณิหิตะบ้าง๔ ด้วยฌานที่เป็นโลกิยะบ้าง ด้วยฌานที่เป็นโลกุตตระบ้าง
คือ ทรงเป็นผู้ยินดีในฌาน ทรงขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว
ทรงหนักในประโยชน์ของพระองค์ รวมความว่า ผู้ทรงมีฌาน
ว่าด้วยธุลี
คำว่า ปราศจากธุลี อธิบายว่า ราคะ ชื่อว่าธุลี โทสะ ชื่อว่าธุลี โมหะ ชื่อว่าธุลี
โกธะ ชื่อว่าธุลี อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่าธุลี

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๒-๑๑๑๘/๕๔๖-๕๔๗
๒ ฌานที่เป็นสุญญตะ คือฌานที่ประกอบด้วยสุญญตวิโมกข์ (ขุ.จู.อ. ๗๔/๔๗)
๓ ฌานที่เป็นอนิมิตตะ คือฌานที่ถอนนิมิตว่าเที่ยง ยั่งยืน ตัวตนได้ (ขุ.จู.อ. ๗๔/๔๗)
๔ฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ คือฌานอันไม่มีที่ตั้งเพราะผลสมาบัติ เพราะชำระถือเอาความปรารถนาด้วยการ
ถึงมรรค (ขุ.จู.อ. ๗๔/๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
กิเลสที่เรียกว่าธุลีเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีธุลี ปราศจากธุลี คือ
ไร้ธุลี บำราศธุลี ละธุลีได้ หลุดพ้นธุลีได้ ก้าวล่วงธุลีทั้งปวงเสียแล้ว
ราคะ เราเรียกว่า ธุลี
เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลี ไม่
คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของราคะ
ฉะนั้น พระชินเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงละธุลีนั้นแล้ว
จึงเรียกได้ว่า ผู้ปราศจากธุลี
โทสะ เราเรียกว่า ธุลี
เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลี ไม่
คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของโทสะ
ฉะนั้น พระชินเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงละธุลีนั้นแล้ว
จึงเรียกได้ว่า ผู้ปราศจากธุลี
โมหะ เราเรียกว่า ธุลี
เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลี ไม่
คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของโมหะ
ฉะนั้น พระชินเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงละธุลีนั้นได้แล้ว
จึงเรียกได้ว่า ผู้ปราศจากธุลี๑
รวมความว่า ปราศจากธุลี
คำว่า ประทับนั่งอยู่ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปาสาณกเจดีย์
รวมความว่า ประทับนั่งอยู่
พระสาวกทั้งหลาย ผู้มีวิชชา ๓ ละมัจจุได้
นั่งห้อมล้อมพระมุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์
ประทับอยู่ข้างภูเขา

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๒๐๙/๖๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคชื่อว่าประทับนั่งอยู่ อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าประทับนั่งอยู่ เพราะทรงเป็นผู้สงัดจาก
ความขวนขวายทั้งปวงแล้ว ทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว
ฯลฯ พระองค์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย (และ)ภพใหม่ก็ไม่มีอีก
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าประทับนั่งอยู่ อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ผู้ทรงมีฌาน
ปราศจากธุลี ประทับนั่งอยู่
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านอุทัยทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ
คำว่า อุทัย เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๑ รวมความว่า
ท่านอุทัยทูลถาม ดังนี้
คำว่า ผู้ทรงทำกิจสำเร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ อธิบายว่า กิจน้อยใหญ่ คือ
กิจที่ควรทำและไม่ควรทำ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก
ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ทรงทำกิจสำเร็จแล้ว
ภิกษุผู้ไม่มีทิฏฐิที่ทำให้ตกไป ตัดกระแสขาดแล้ว
ละกิจน้อยใหญ่ได้แล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน๒
ว่าด้วยอาสวะ ๔
คำว่า ทรงทำกิจสำเร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ อธิบายว่า
คำว่า อาสวะ ได้แก่ อาสวะ ๔ อย่าง คือ
๑. กามาสวะ
๒. ภวาสวะ
๓. ทิฏฐาสวะ
๔. อวิชชาสวะ

เชิงอรรถ :
๑ เทียบกับความในข้อ ๑/๔๔
๒ ขุ.สุ. ๒๕/๗๒๑/๔๗๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
อาสวะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอน
โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีอาสวะ รวมความว่า ผู้ทรงทำกิจ
สำเร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ
คำว่า ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงถึงฝั่งได้
ด้วยความรู้ยิ่ง ถึงฝั่งได้ด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งได้ด้วยการละ ถึงฝั่งได้ด้วยการ
เจริญภาวนา ถึงฝั่งได้ด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งได้ด้วยการเข้าสมาบัติ ถึงฝั่งได้ด้วย
ความรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ถึงฝั่งได้ด้วยการกำหนดรู้ทุกข์ทั้งปวง ถึงฝั่งได้ด้วยการละ
กิเลสทั้งปวง ถึงฝั่งได้ด้วยการเจริญอริยมรรค ๔ ถึงฝั่งได้ด้วยการทำให้แจ้งนิโรธ
ถึงฝั่งได้ด้วยการเข้าถึงสมาบัติ ๘
พระองค์ทรงถึงความชำนาญ บรรลุบารมีในอริยศีล ทรงถึงความชำนาญ
บรรลุบารมีในอริยสมาธิ ทรงถึงความชำนาญ บรรลุบารมีในอริยปัญญา ทรงถึง
ความชำนาญ บรรลุบารมีในอริยวิมุตติ
พระองค์ทรงถึงฝั่ง บรรลุฝั่ง ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงปลายสุด บรรลุ
ปลายสุด ถึงท้ายสุด บรรลุท้ายสุด ถึงความสำเร็จ บรรลุความสำเร็จ ถึงที่ปกป้อง
บรรลุที่ปกป้อง ถึงที่หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย
บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงที่ดับ
บรรลุที่ดับ พระผู้มีพระภาคนั้นทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรม
แล้ว ฯลฯ พระองค์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก
รวมความว่า ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
คำว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถามจึงมาเฝ้า อธิบายว่า ข้าพระองค์มี
ความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้าแล้ว คือ ปรารถนาจะทูลถามปัญหาจึงมาเฝ้าแล้ว
มีความปรารถนาจะฟังปัญหาจึงมาเฝ้าแล้ว รวมความว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะ
ทูลถามจึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
อีกนัยหนึ่ง การมาเฝ้า การก้าวเดินเข้าเฝ้า การเข้าไปเฝ้า การเข้าไปนั่งใกล้
พึงมีแก่ผู้ต้องการปัญหา คือ ผู้ปรารถนาจะถามปัญหา ผู้ปรารถนาจะฟังปัญหา
รวมความว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถามจึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระองค์ทรงมีอาคม(แหล่งความรู้)แห่งปัญหา ทั้งพระองค์ทรง
องอาจ ทรงสามารถที่จะตรัสบอก คือ วิสัชนาปัญหา ที่ข้าพระองค์ทูลถาม ข้อ
นี้เป็นภาระของพระองค์ รวมความว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถามจึงมาเฝ้า
อย่างนี้บ้าง
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์ อธิบายว่า ความหลุดพ้น
ด้วยอรหัตตผล ตรัสเรียกว่า อัญญาวิโมกข์ ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความหลุดพ้นด้วย
อรหัตตผลด้วยเถิด รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์
คำว่า อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชาด้วยเถิด อธิบายว่า อันเป็นเครื่องสลาย
เป็นเครื่องทำลาย คือ เป็นการละ การเข้าไปสงบ การสลัดทิ้ง การระงับอวิชชาได้
เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชาด้วยเถิด เหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านอุทัยทูลถาม ดังนี้)
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม
จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงมีฌาน ปราศจากธุลี
ประทับนั่งอยู่ ผู้ทรงทำกิจสำเร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์
อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชาด้วยเถิด
[๗๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุทัย)
เราจะบอกอัญญาวิโมกข์
อันเป็นเครื่องละความพอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
ในกามและโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง
เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ
และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง (๒)
คำว่า อันเป็นเครื่องละความพอใจในกาม อธิบายว่า
คำว่า ความพอใจ ได้แก่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความใคร่ ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยาก
ด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความกระหายด้วยอำนาจ
ความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่
ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลสเป็น
เครื่องประกอบคือความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือ
ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย
คำว่า อันเป็นเครื่องละความพอใจในกาม อธิบายว่า อันเป็นเครื่องละ คือ
เป็นเครื่องเข้าไปสงบ สลัดทิ้ง ระงับความพอใจในกามได้ เป็นอมตนิพพาน รวม
ความว่า อันเป็นเครื่องละความพอใจในกาม
คำว่า อุทัย ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุทัย เป็นคำที่พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุทัย
คำว่า โทมนัส ในคำว่า และโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง อธิบายว่า ความไม่
แช่มชื่นทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์เป็นทุกข์อันไม่แช่มชื่นเกิดจาก
สัมผัสทางใจ ทุกขเวทนาอันไม่แช่มชื่นเกิดจากสัมผัสทางใจ
คำว่า และโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง อธิบายว่า การละ การเข้าไปสงบ การสลัดทิ้ง
การระงับความพอใจในกามและโทมนัสทั้ง ๒ อย่างได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า
และโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ความย่อท้อ ในคำว่า เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ อธิบายว่า
ความที่จิตไม่คล่องแคล่ว ความที่จิตไม่ควรแก่การงาน ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่
ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย ภาวะที่ท้อถอย ความย่อท้อ กิริยาที่ย่อท้อ
ความเป็นผู้มีจิตย่อท้อ
คำว่า เป็นเครื่องบรรเทา ได้แก่ เป็นเครื่องบรรเทา คือ เป็นเครื่องละ
เป็นเครื่องเข้าไปสงบ สลัดทิ้ง ระงับความย่อท้อได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า
เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ
ว่าด้วยความคะนอง
คำว่า ความคะนอง ในคำว่า และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง อธิบายว่า
ความคะนองมือ ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง ความ
คะนองมือและเท้า ก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความ
สำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร ฯลฯ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความ
สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความคะนอง กิริยาที่คะนอง ภาวะที่คะนอง
ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความคะนอง
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒
อย่าง คือ (๑) เพราะทำ (๒) เพราะไม่ทำ
ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะ
ไม่ทำ เป็นอย่างไร
คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราทำแต่กาย
ทุจริต ไม่ทำกายสุจริต” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า
“เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต เราทำแต่มโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต เราทำ
แต่ปาณาติปาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ เราทำแต่อทินนาทาน
ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน ฯลฯ เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร ไม่ทำความ
งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจากมุสาวาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
ฯลฯ เราทำแต่ปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา ฯลฯ เราทำแต่
ผรุสวาจาไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา ฯลฯ เราทำแต่สัมผัปปลาปะ ไม่ทำ
ความงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ฯลฯ เราทำแต่อภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา ฯลฯ
เราทำแต่พยาบาท ไม่ทำอัพยาบาท ฯลฯ เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ”
ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ
เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เรามิ
ได้รักษาศีลให้บริบูรณ์” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า
“เราไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖ ฯลฯ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ฯลฯ
ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ ฯลฯ ไม่หมั่นประกอบสติสัมปชัญญะ
ฯลฯ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ไม่เจริญอิทธิบาท
๔ ฯลฯ ไม่เจริญอินทรีย์ ๕ ฯลฯ ไม่เจริญพละ ๕ ฯลฯ ไม่เจริญโพชฌงค์ ๗ ฯลฯ
ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ฯลฯ ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่เจริญมรรค
เราไม่ทำนิโรธให้ประจักษ์แจ้ง”
คำว่า และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง อธิบายว่า เครื่องปิด เครื่องกั้น คือ
การละ การเข้าไปสงบ การสลัดทิ้ง การระงับความคะนองได้ เป็นอมตนิพพาน
รวมความว่า และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุทัย)
เราจะบอกอัญญาวิโมกข์
อันเป็นเครื่องละความพอใจ
ในกามและโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง
เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ
และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
[๗๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เราจะบอกอัญญาวิโมกข์ที่บริสุทธิ์
เพราะมีอุเบกขาและสติ ที่มีธรรมตรรกเป็นเบื้องต้น
เป็นเครื่องทำลายอวิชชา (๓)
คำว่า อุเบกขา ในคำว่า ที่บริสุทธิ์เพราะมีอุเบกขาและสติ ได้แก่ อุเบกขา
คือ ความเพิกเฉย ความเพิกเฉยอย่างยิ่ง ความที่จิตสงบ ความที่จิตสงัด ความ
ที่จิตเป็นกลางในจตุตถฌาน
คำว่า สติ ได้แก่ สติ คือ ความระลึกถึง ฯลฯ สัมมาสติ ปรารภอุเบกขา
ในจตุตถฌาน
คำว่า ที่บริสุทธิ์เพราะมีอุเบกขาและสติ อธิบายว่า อุเบกขาและสติใน
จตุตถฌาน สะอาด คือ หมดจด บริสุทธิ์ สะอาดพร้อม ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส
เครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่
หวั่นไหว รวมความว่า ที่บริสุทธิ์เพราะมีอุเบกขาและสติ
คำว่า ที่มีธรรมตรรกเป็นเบื้องต้น อธิบายว่า สัมมาสังกัปปะ ตรัสเรียกว่า
ธรรมตรรก สัมมาสังกัปปะนั้น เป็นเบื้องต้น คือ เป็นเบื้องหน้า เป็นหัวหน้าแห่ง
อัญญาวิโมกข์ รวมความว่า ที่มีธรรมตรรกเป็นเบื้องต้น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง สัมมาทิฏฐิตรัสเรียกว่า ธรรมตรรก สัมมาทิฏฐินั้น เป็นเบื้องต้น
คือ เป็นเบื้องหน้า เป็นหัวหน้าแห่งอัญญาวิโมกข์ รวมความว่า ที่มีธรรมตรรก
เป็นเบื้องต้น อย่างนี้บ้าง
คำว่า เราจะบอกอัญญาวิโมกข์ อธิบายว่า ความหลุดพ้นด้วยอรหัตตผล
ตรัสเรียกว่า อัญญาวิโมกข์ เราจะบอก คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความหลุดพ้นด้วยอรหัตตผล รวมความว่า เราจะ
บอกอัญญาวิโมกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า อวิชชา ในคำว่า เป็นเครื่องลำลายอวิชชา อธิบายว่า ความไม่รู้ในทุกข์
ฯลฯ อวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ๑
คำว่า เป็นเครื่องทำลาย อธิบายว่า เป็นเครื่องสลาย เป็นเครื่องทำลาย คือ
การละ การเข้าไปสงบ การสลัดทิ้ง การระงับอวิชชาได้ เป็นอมตนิพพาน รวม
ความว่า เป็นเครื่องทำลายอวิชชา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
เราจะบอกอัญญาวิโมกข์ที่บริสุทธิ์
เพราะมีอุเบกขาและสติ ที่มีธรรมตรรกเป็นเบื้องต้น
เป็นเครื่องทำลายอวิชชา
[๗๗] (ท่านอุทัยทูลถามว่า)
สัตว์โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้
อะไรเล่าเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น
เพราะละอะไรได้เล่า พระองค์จึงตรัสว่า นิพพาน (๔)
คำว่า สัตว์โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ อธิบายว่า อะไรเป็นเครื่อง
ประกอบ คือ เครื่องเกี่ยวข้อง เครื่องผูกพัน เครื่องเศร้าหมองของสัตว์โลก โลก
ถูกอะไร ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบทั่วถึง ประกอบพร้อม เกาะติด เกี่ยวข้อง
พัวพันไว้ รวมความว่า สัตว์โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้
คำว่า อะไรเล่าเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น อธิบายว่า อะไรเล่าเป็น
เครื่องสัญจร เที่ยวไป คือ ท่องเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น คือ โลกสัญจรไป เที่ยวไป
ท่องเที่ยวไปด้วยอะไร รวมความว่า อะไรเล่าเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น
คำว่า เพราะละอะไรได้เล่า พระองค์จึงตรัสว่า นิพพาน อธิบายว่า เพราะ
ละ คือ เพราะเข้าไปสงบ เพราะสลัดทิ้ง เพราะระงับอะไรได้เล่า พระองค์จึงตรัสเรียก
คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงว่านิพพาน รวมความว่า เพราะละอะไรได้เล่า
พระองค์จึงตรัสว่า นิพพาน ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๕-๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
สัตว์โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้
อะไรเล่าเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น
เพราะละอะไรได้เล่า พระองค์จึงตรัสว่า นิพพาน
[๗๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
สัตว์โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้
ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น
เพราะละตัณหาได้ เราจึงเรียกว่า นิพพาน (๕)
คำว่า สัตว์โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ อธิบายว่า ตัณหา
ตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลิน ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ นี้ตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลิน ได้แก่ ความเพลิดเพลินที่
เป็นเครื่องประกอบ เป็นเครื่องเกี่ยวข้อง เป็นเครื่องผูกพัน เป็นเครื่องเศร้าหมอง
ของสัตว์โลก สัตว์โลกถูกความเพลิดเพลินนี้ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบทั่วถึง
ประกอบพร้อม เกาะติด เกี่ยวข้อง พัวพันไว้ รวมความว่า สัตว์โลกมีความ
เพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้
ว่าด้วยความตรึก ๙ อย่าง
คำว่า ความตรึก ในคำว่า ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น ได้แก่
ความตรึก ๙ อย่าง คือ
๑. ความตรึกในกาม
๒. ความตรึกในความพยาบาท
๓. ความตรึกในความเบียดเบียน
๔. ความตรึกถึงญาติ
๕. ความตรึกถึงชนบท
๖. ความตรึกถึงเทพเจ้า
๗. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
๘. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ
๙. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น
เหล่านี้เรียกว่า ความตรึก ๙ อย่าง ความตรึก ๙ อย่างเหล่านี้ เป็นเหตุสัญจร
เที่ยวไป คือ ท่องเที่ยวไปของสัตว์โลก คือ สัตว์โลกสัญจรไป เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป
ด้วยความตรึก ๙ อย่างเหล่านี้ รวมความว่า ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์
โลกนั้น
คำว่า ตัณหา ในคำว่า เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่านิพพาน ได้แก่
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่า นิพพาน อธิบายว่า เพราะละ คือ
เพราะเข้าไปสงบ เพราะสลัดทิ้ง เพราะระงับตัณหาได้ เราจึงเรียก คือ กล่าว พูด
บอก แสดง ชี้แจงว่า นิพพาน รวมความว่า เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่า นิพพาน
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
สัตว์โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้
ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น
เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่า นิพพาน
[๗๙] (ท่านอุทัยทูลถามว่า)
ข้าพระองค์มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร วิญญาณจึงดับสนิท
ขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์ (๖)
คำว่า สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร อธิบายว่า สัตว์โลกมีสติสัมปชัญญะ
เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปอย่างไร
รวมความว่า สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร
คำว่า วิญญาณจึงดับสนิท อธิบายว่า วิญญาณจึงดับ คือ เข้าไปสงบ
ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป รวมความว่า วิญญาณจึงดับสนิท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น