Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉ-ช-ซ-ฌ-ญ-ฎ-ฐ-ด-ต-ถ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หรือ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ออนไลน์

ฉกามาพจรสวรรค์ สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกาม ๖ ชั้น คือ ๑. จาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕.นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี

ฉงน สงสัย, ไม่แน่ใจ, เคลือบแคลง, สนเท่ห์

ฉลอง 1. แทน, ตอบแทน 2. ทำบุญสมโภชหรือบูชา

ฉลองพระบาท รองเท้า

ฉลองพระองค์ เสื้อ

ฉวี ผิวกาย

ฉ้อ โกง เช่น รับฝากของ ครั้นเจ้าของมาขอคืน กล่าวปฏิเสธว่าไม่ได้รับไว้หรือได้ให้คืนแล้ว

ฉักกะ หมวด ๖

ฉัน กิน , รับประทาน (ใช้สำหรับภิกษุสามเณร)

ฉันท์ คำประพันธ์ประเภทหนึ่ง กำหนดด้วยครุ ลหุ และกำหนดจำนวนคำตามข้อบังคับ

ฉันทะ 1 ความพอใจ, ความชอบใจ ความยินดี, ความต้องการ, ความรัก ใคร่ในสิ่งนั้น ๆ, ความรักงาน (เป็นกลาง ๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓, ที่เป็นอกุศล เช่นในกามฉันทะ ที่เป็นกุศล เช่น ข้อ ๑ ใน อิทธิบาท ๔) 2. ความยินยอม, ความยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้น ๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย, เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ที่อยู่ในวัดซึ่งมีสีมารวมกัน มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำ กิจของสงฆ์ เว้นแต่ภิกษุนั้นอาพาธจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ ก็มอบฉันทะคือ แสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจ นั้น ๆ ได้

ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่ (ข้อ ๑ ในอคติ ๔)

ฉันนะ อำมาตย์คนสนิทผู้เป็นสหชาติและเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวันเสด็จออกบรรพชา ฉันนะตามเสด็จไป ด้วย ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่เก่าก่อน ใครว่าไม่ฟังเกิดความบ่อย ๆ หลังจาก พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์หายพยศ และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

ฉัพพรรณรังสี รัศมี ๖ ประการ ซึ่งเปล่งออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า คือ ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕. มัญเชฐ สีหงส บาท เหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่ ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

ฉายา 1. เงา, อาการที่เป็นเงา ๆ คือไม่ชัดออกไป, อาการเคลือบแฝง 2. ชื่อที่พระอุปัชฌายะตั้งให้แก่ผู้ขอบวชเป็นภาษา บาลี เรียกว่าชื่อฉายา ที่เรียกเช่นนี้เพราะเดิมเมื่อเสร็จการบวชแล้ว ต้องมีการวัดฉายาคือเงาแดด ด้วยการสืบเท้าว่าเงา หดหรือเงาขยายแค่ไหน ชั่วกี่สืบเท้า การวัดเงาด้วยเท้านั้นเป็นมาตรานับเวลา เรียกว่าบาท เมื่อวัดแล้วจดเวลาไว้และ จดสิ่งอื่น ๆ เช่นชื่อพระอุปัชฌายะ พระกรรมวาจาจารย์ จำนวนสงฆ์ และชื่อผู้อุปสมบท ทั้งภาษาไทยและมคธลงใน นั้นด้วย ชื่อใหม่ที่จดลงตอนวัดฉายานั้น จึงเรียกว่าชื่อฉายา

ฉายาปาราชิก เงาแห่งปาราชิก คือประพฤติตนในฐานะที่ล่อแหลมต่อปาราชิก อาจเป็นปาราชิกได้ แต่จับไม่ถนัด เรียกว่าฉายาปาราชิก เป็นผู้ที่สงฆ์รังเกียจ

ฉิบหายเสียจากคุณอันใหญ่ ไม่ได้บรรลุโลกุตตรธรรม, หมดโอกาสที่จะบรรลุโลกุตตรธรรม

เฉทนกปาจิตตีย์ อาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องตัดสิ่งของที่เป็นเหตุให้ต้องอาบัติเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก ได้แก่ สิกขาบทที่ ๕-๗-๘-๙-๑๐ แห่งรตนวรรค (ปาจิตตีย์ข้อ ๘๗, ๘๙, ๙๐, ๙๑, ๙๒)

เฉวียง (ในคำว่า “ทำผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า”) ซ้าย, ในที่นี้หมายถึง พาดจีวรไว้ที่บ่าซ้าย

ชฎา ผมที่เกล้าเป็นมวยสูงขึ้น, เครื่องประดับสำหรับสวมศีรษะ รูปคล้ายมงกุฎ

ชฎิล นักบวชประเภทหนึ่ง เกล้าผมมุ่นเป็นมวยสูงขึ้น มักถือลัทธิบูชาไฟ บางครั้งจัดเข้าในพวกฤษี

ชฎิลสามพี่น้อง ดู ชฎิลกัสสปะ

ชฎิลกัสสปะ กัสสปะสามพี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ ผู้เป็นนักบวชประเภทชฎิล (ฤาษีกัสสปะ สามพี่น้อง)

ชตุกัณณีมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

ชตุเภสัช พืชที่มียางเป็นยา, ยาทำจากยางพืช เช่น มหาหิงคุ์ กำยาน เป็นต้น

ชนกกรรม กรรมที่นำให้เกิด, กรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลก็ตามที่เป็นตัวแต่งสัตว์ให้เกิด คือชักนำให้ถือปฏิสนธิในภพ ใหม่ เมื่อสิ้นชีวิตจากภพนี้ (ข้อ ๕ ในกรรม ๑๒)

ชนนี หญิงผู้ให้เกิด, แม่

ชนมายุกาล เวลาที่ดำรงชีวิตอยู่แต่ปีที่เกิดมา

ชนเมชยะ พระเจ้าแผ่นดินในครั้งโบราณ เคยทำพิธี อัศวเมธ เพื่อประกาศความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

ชนวสภสูตร สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกาย มหาวรรค สุตตันตปิฎก ว่าด้วยเรื่องที่พระเจ้าพิมพิสารซึ่งสวรรคตไปเกิด เป็นชนวสภยักษ์ มาสำแดงตนแก่พระพุทธเจ้า และพระอานนท์แล้วเล่าเหตุการณ์ที่พวกเทวดามาประชุมในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ พากันชื่นชมข่าวดีที่เทวดามีจำนวนเพิ่มขึ้น เพราะคนประพฤติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

ชมพูทวีป ชื่อประเทศอินเดียครั้งโบราณ ดู อินเดีย

ชมพูพฤกษ์ ต้นหว้า

ชยเสนะ พระราชบิดาของพระเจ้าสีหหนุ ครองนครกบิลพัสดุ์

ชราธรรม มีความแก่เป็นธรรมดา, มีความแก่เป็นของแน่นอน, ธรรมคือความแก่

ชราภาพ ความแก่, ความชำรุดทรุดโทรม

ชลาพุชะ, ชลามพุชะ สัตว์เกิดในครรภ์ ได้แก่มนุษย์ และสัตว์เดียรัจฉานที่ออกลูกเป็นตัว ดู โยนิ

ชลาลัย “ที่อยู่ของน้ำ”, แม่น้ำ, ทะเล

ชโลทกวารี น้ำ

ชะตา เวลาที่ถือกำเนิดของคนและสิ่งที่สำคัญ

ชักสื่อ นำถ้อยคำหรือข่าวสาสน์ของชายและหญิง จากฝ่ายหนึ่งไปบอกอีกฝ่ายหนึ่ง หรือจากทั้งสองฝ่ายให้รู้ถึงกัน เพื่อ ให้เขาสำเร็จความประสงค์ในทางเมถุน (สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๕)

ชั่งเกียจ ตราชั่งที่ไม่ซื่อตรง ทำไว้เอาเปรียบผู้อื่น

ชัชวาล รุ่งเรือง, สว่าง, โพลงขึ้น

ชัยมงคล มงคลคือความชนะ, ความชนะที่เป็นมงคล

ชาคริยานุโยค การประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ คือ เพียรพยายามปฏิบัติธรรม ไม่เห็นแก่นอน ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตไม่ให้มีนิวรณ์ ดู อปัณณกปฏิปทา

ชาตปฐพี ดินเกิดเอง, ปฐพีแท้ คือมีดินร่วนล้วน มีดินเหนียวล้วน หรือมีของอื่น เช่นหินกรวด กระเบื้อง แร่และทราย น้อย มีดินร่วน ดินเหนียวมาก ดินนี้ประสงค์เอาที่ยังไม่ได้เผาไฟ กองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี มีฝนตกรดเกิน ๔ เดือนมาแล้วนับเข้าในปฐพีแท้

ชาตสระ สระเกิดเอง, ที่น้ำขังอันเป็นเอง เช่น บึง, หนอง, ทะเลสาบ ฯลฯ

ชาติ การเกิด, ชนิด, พวก, เหล่า, ปวงชนแห่งประเทศเดียวกัน

ชาติปุกกุสะ พวกปุกกุสะ เป็นคนชั้นต่ำพวกหนึ่งในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์ มีอาชีพคอยเก็บกวาดขยะดอก ไม้ตามสถานที่บูชา

ชาติสงสาร ความท่องเที่ยวไปด้วยความเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด

ชาติสุททะ พวกสุททะ, คนพวกวรรณะศูทร เป็นคนชั้นต่ำในชมพูทวีป ดู ศูทร

ชานุมณฑล เข่า, ตอนเข่า

ชาวปาจีน คำเรียกภิกษุชาววัชชีบุตรอีกชื่อหนึ่ง หมายถึงอยู่ด้านทิศตะวันออก, ชาวเมืองตะวันออก

ชิวหา ลิ้น

ชิวหาวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรสกระทบลิ้น, รสกระทบลิ้นเกิดความรู้ขึ้น, การรู้รส

ชิวหาสัมผัส อาการที่ลิ้น รส และ ชิวหาวิญญาณประจวบกัน

ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ลิ้น รส และชิวหา- วิญญาณประจวบกัน

ชี นักบวช, หญิงถือบวช, อุบาสิกาที่นุ่งขาวห่มขาวโกนผมโกนคิ้ว ถือศีล

ชีต้น พระสงฆ์ที่คุ้นเคยใกล้ชิดกับครอบครัวหรือตระกูล ซึ่งเขาเคารพนับถือเป็นอาจารย์เป็นที่ปรึกษา เรียกอย่างคำ บาลีว่า กุลุปกะ, กุลูปกะ หรือกุลุปก์ ดู กุลุปกะ

ชีเปลือย นักบวชจำพวกหนึ่ง ถือเพศเปลือยกาย

ชีพ ชีวิต, ความเป็นอยู่

ชีวก ชื่อหมอใหญ่ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและมีชื่อเสียงมากในครั้งพุทธกาล เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้า พิมพิสาร และพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าด้วย, เรียกชื่อเต็มว่า ชีวกโกมารภัจจ์ หมอชีวกเกิดที่เมืองราชคฤห์แคว้นมคธ เป็นบุตรของนางคณิกา (หญิง งามเมือง) ชื่อว่าสาลวดี แต่ไม่รู้จัก มารดาบิดาของตน เพราะเมื่อนางสาลวดีมีครรภ์ เกรงค่าตัวจะตกจึงเก็บตัวอยู่ ครั้นคลอดแล้วก็ให้คนรับใช้เอาทารก ไปทิ้งที่กองขยะ แต่พอดีเมื่อถึงเวลาเช้าตรู่ เจ้าชายอภัย โอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสาร จะไปเข้าเฝ้า เสด็จผ่านไป เห็นการุมล้อมทารกอยู่ เมื่อทรงทราบว่าเป็นทารกและยังมีชีวิต อยู่ จึงได้โปรดให้นำไปให้นางนมเลี้ยงไว้ในวัง ใน ขณะที่ทรงทราบว่าเป็นทารกเจ้าชายอภัยได้ตรัสถามว่าเด็กยังมีชีวิตอยู่ (หรือยังเป็นอยู่) หรือไม่ และทรงได้รับคำตอบ ว่ายังมีชีวิตอยู่ (ชีวติ = ยังเป็นอยู่ หรือยังมีชีวิตอยู่) ทารกนั้นจึงได้ชื่อว่า ชีวก (ผู้ยังเป็น) และเพราะเหตุที่เป็นผู้อันเจ้า ชายเลี้ยงจึงได้มีสร้อยนามว่า โกมารภัจจ์ (ผู้อันพระราชกุมารเลี้ยง) ครั้นชีวกเจริญวัยขึ้น พอจะทราบว่าตนเป็นเด็กกำพร้า ก็คิดแสวงหาศิลปวิทยาไว้เลี้ยงตัว จึงได้เดินทางไป ศึกษาวิชาแพทย์กับอาจารย์แพทย์ทิศาปาโมกข์ ที่เมืองตักสิลา ศึกษาอยู่ ๗ ปี อยากทราบว่าเมื่อใดจะเรียนจบ อาจารย์ให้ ถือเสียมไปตรวจดูทั่วบริเวณ ๑ โยชน์รอบเมืองตักสิลา เพื่อหาสิ่งที่ไม่ใช่ตัวยา ชีวกหาไม่พบ กลับมาบอกอาจารย์ ๆ ว่า สำเร็จการศึกษามีวิชาพอเลี้ยงชีพแล้ว และมอบเสบียงเดินทางให้เล็กน้อย ชีวกเดินทางกลับยังพระนครราชคฤห์เมื่อ เสบียงหมดในระหว่างทาง ได้แวะหาเสบียงที่เมือง สาเกต โดยไปอาสารักษาภรรยาเศรษฐีเมืองนั้นซึ่งเป็นโรคปวด ศีรษะมา ๗ ปี ไม่มีใครรักษาหาย ภรรยาเศรษฐีหายโรคแล้ว ให้รางวัลมากมาย หมอชีวกได้เงินมา ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ พร้อมด้วยทาสทาสีและรถม้าเดินทางกลับถึงพระนครราชคฤห์ นำเงินและของรางวัลทั้งหมดไปถวายเจ้าชายอภัยเป็น ค่าปฏิการะคุณที่ได้ทรงเลี้ยงตนมา เจ้าชายอภัยโปรดให้หมอชีวกเก็บรางวัลนั้นไว้เป็นของตนเอง ไม่ทรงรับเอา และ โปรดให้หมอชีวกสร้างบ้านอยู่ในวังของพระองค์ ต่อมาไม่นานเจ้าชายอภัยนำหมอชีวกไปรักษาโรคริดสีดวงงอกแด่ พระเจ้าพิมพิสาร จอมชนแห่งมคธทรงหายประชวรแล้ว จะพระราชทานเครื่องประดับของสตรีชาววัง ๕๐๐ นางให้ เป็นรางวัล หมอชีวกไม่รับ ขอให้ทรงถือว่าเป็นหน้าที่ของตนเท่านั้น พระเจ้าพิมพิสารจึงโปรดให้หมอชีวกเป็นแพทย์ ประจำพระองค์ ประจำฝ่ายในทั้งหมด และประจำพระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข หมอชีวกได้รักษาโรค ร้ายสำคัญหลายครั้ง เช่น ผ่าตัดรักษาโรคในสมองของเศรษฐีเมืองราชคฤห์ ผ่าตัดเนื้องอกในลำไส้ของบุตรเศรษฐี เมืองพาราณสี รักษาโรคผอมเหลืองแด่พระเจ้าจัณฑปัชโชตแห่งกรุงอุชเชนี และถวายการรักษาแด่พระพุทธเจ้าใน คราวที่พระบาทห้อพระโลหิต เนื่องจากเศษหินจากก้อนศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงมาจากภูเขาเพื่อหมายปลงพระชนม์ชีพ หมอชีวกได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน และด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ ๒-๓ ครั้ง เห็นว่าพระเวฬุวันไกลเกินไปจึงสร้าง วัดถวายในอัมพวันคือสวนมะม่วงของตนเรียกกันว่า ชีวกัมพวัน (อัมพวัน ของหมอชีวก) เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเริ่มน้อมพระทัยมาทางศาสนา หมอชีวกก็เป็นผู้แนะนำให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุที่หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำคณะสงฆ์และเป็นผู้มีศรัทธาเอาใจใส่เกื้อกูลพระสงฆ์มาก จึงเป็นเหตุให้ มีคนมาบวชเพื่ออาศัยวัดเป็นที่รักษา ตัวจำนวนมาก จนหมอชีวกต้องทูลเสนอพระพุทธเจ้าให้ทรงบัญญัติข้อ ห้ามมิ ให้รับบวชคนเจ็บป่วย ด้วยโรคบางชนิด นอกจากนั้นหมอชีวกได้กราบทูลเสนอให้ทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ เพื่อเป็นที่บริหารกายช่วยรักษาสุขภาพของภิกษุทั้งหลาย หมอ ชีวกได้รับพระดำรัสยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดา อุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล

ชีวกโกมารภัจจ์ ผู้ที่พระราชกุมารเลี้ยง ชื่อชีวก ดู ชีวก

ชีวิต ความเป็นอยู่

ชีวิตสมสีสี ผู้สิ้นกิเลสพร้อมกับสิ้นชีวิต, ผู้ได้บรรลุธรรมวิเศษแล้วก็ดับจิตพอดี

ชีวิตักษัย การสิ้นชีวิต, ตาย

ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการตามรักษาสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมด้วย) ดุจน้ำหล่อเลี้ยง ดอกบัว เป็นต้น มี ๒ ฝ่ายคือ ๑. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นชีวิตรูป เป็นอุปาทาย รูปอย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๑๓) เป็นเจ้าการในการ รักษาหล่อเลี้ยงเหล่ากรรมชรูป (รูปที่เกิดแต่กรรม) บางทีเรียก รูปชีวิตินทรีย์ ๒. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิกเป็นสัพพ จิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิก ที่เกิดกับจิตทุกดวง) อย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๖) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงนามธรรมคือ จิตและเจตสิกทั้งหลาย บางทีเรียก อรูปชีวิตินทรีย์ หรือ นามชีวิตินทรีย์

ชีโว ผู้เป็น, ดวงชีพ ตรงกับ อาตมันหรือ “อัตตา” ของลัทธิพราหมณ์

ชุณหปักษ์ ฝ่ายขาว, ฝ่ายสว่าง, ข้างขึ้น

ชูงวง ในประโยคว่า “เราจักไม่ชูงวงเข้าไปสู่ตระกูล” ถือตัว

เชษฐ, เชษฐา พี่

เชฏฐภคินี พี่สาวคนโต

เชฏฐมาส เดือน ๗

เชาวน์ ความนึกคิดที่แล่นไป, ความเร็วของปัญญาหรือความคิด, ไหวพริบ

เชื่อดายไป เชื่อเรื่อยไป, เชื่อดะไปโดยไม่นึกถึงเหตุผล

ซัดไปประหาร ฆ่าหรือทำร้ายโดยยิงด้วยศรหรือด้วยปืน พุ่งด้วยหอก ขว้างด้วยศิลา เป็นต้น

ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก; ฌาน ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา) ๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา) ๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา); ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบ อภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคค ตา) ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ข้อ ๓. ๔. ๕. ตรงกับข้อ ๒. ๓. ๔. ในฌาน ๔ ตามลำดับ

ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชากำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกแห่งฌาน วิโมกข์สมาธิ สมาบัติ ตามความเป็นจริง (ข้อ ๗ ในทศพลญาณ)

ฌาปนกิจ กิจเผาศพ, การเผาศพ

ญัตติ คำเผดียงสงฆ์, การประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน, วาจานัด

ญัตติกรรม กรรมอันกระทำด้วยตั้งญัตติไม่ต้องสวดอนุสาวนา คือ ประกาศให้สงฆ์ทราบ เพื่อทำกิจร่วมกันเรียกว่าเผดียง สงฆ์อย่างเดียว ไม่ต้องขอมติ เช่น อุโบสถ และปวารณา เป็นต้น

ญัตติจตุตถกรรม กรรมมีญัตติเป็นที่สี่ ได้แก่สังฆกรรมที่สำคัญมีการอุปสมบท เป็นต้น ซึ่งเมื่อตั้งญัตติแล้วต้องสวด อนุสาวนาคำประกาศขอมติถึง ๓ หน เพื่อสงฆ์คือที่ชุมนุมนั้นจะได้มีเวลาพิจารณาหลายเที่ยวว่าจะอนุมัติหรือไม่

ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม ได้แก่วิธีอุปสมบทที่สงฆ์เป็นผู้กระทำอย่างที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน โดยภิกษุประชุมครบองค์กำหนด ในเขตชุมนุมซึ่งเรียกว่า สีมา กล่าววาจาประกาศเรื่องความที่จะรับคนนั้น เข้าหมู่ยินยอมของภิกษุทั้งปวงผู้เข้าประชุมเป็นสงฆ์นั้น; พระราธะเป็นบุคคลแรกที่ได้รับอุปสมบทอย่างนี้

ญัตติทุติยกรรม การมีญัตติเป็นที่สอง หรือกรรมมีวาจาครบ ๒ ทั้งญัตติ, กรรมอันทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนา หนเดียว เช่น การสมมติสีมา การสังคายนา และการมอบให้ผ้ากฐิน เป็นต้น

ญาณ ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้; ญาณ ๓ หมวดหนึ่ง ได้แก่ ๑. อตีตังสญาณ ญาณในส่วนอดีต ๒. อนาค ตังสญาณ ญานในส่วนอนาคต ๓. ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณในส่วนปัจจุบัน; อีกหมวดหนึ่งได้แก่ ๑. สัจจญาณ หยั่งรู้ อริยสัจแต่ละอย่าง ๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจ ๓. กตญาณ หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจ; อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ วิชชา ๓

ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่างคือ ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์ ๔. - ๑๒. (ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙) ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณ ครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน ๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน; ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือเรียกกึ่งไทยว่า ญาณ โสฬส; ดู วิปัสสนาญาณ ๙

ญาณจริต คนที่มีพื้นนิสัยหนักในความรู้ มักใช้ความคิด พึงส่งเสริมด้วย แนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ (เป็นอีก ชื่อหนึ่งของพุทธิจริต)

ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือ เห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุด หมายถึง วิปัสสนาญาณ นอกนั้นในที่หลายแห่งหมายถึง ทิพพจักขุญาณ บ้าง มรรคญาณ บ้าง และในบางกรณีหมายถึง ผล ญาณ บ้าง ปัจจเวกขณญาณ บ้าง สัพพัญญุตญาณ บ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้น ๆ

ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ ได้แก่ญาณในอริยมรรค ๔ ดู วิสุทธิ

ญาณวิปปยุต ปราศจากญาณ, ไม่ประกอบด้วยปัญญา, ปราศจากปรีชาหยั่งรู้, ขาดความรู้

ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก คือกำหนดรู้สิ่งนั้น ๆ ตามลักษณะที่เป็นสภาวะของมันเอง พอให้แยกออกจากสิ่งอื่น ๆ ได้ เช่น รู้ว่า นี้คือเวทนา เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ดังนี้ เป็นต้น (ข้อ ๑ ในปริญญา ๓)

ญาตัตถจริยา พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่พระญาติ, ทรงประพฤติประโยชน์แก่พระประยูรญาติ เช่นทรงอนุญาต ให้พระญาติที่เป็นเดียรถีย์เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ๔ เดือนก่อนเหมือนเดียรถีย์อื่น และเสด็จไปห้ามพระญาติ ที่วิวาทกันด้วยเรื่องน้ำเป็นต้น ดู พุทธจริยา

ญาติ พี่น้องที่ยังนับรู้กันได้, ผู้ร่วมสายโลหิตกันทางบิดาหรือมารดา, ในฎีกาวินัย ท่านนับ ๗ ชั้น ทั้งข้างบนและข้าง ล่าง แต่ตามปกติจะไม่พบมากหลายชั้นอย่างนั้น ปัจจุบันท่านให้นับญาติ ๗ ชั้น หรือ ๗ ชั่วคน คือ นับทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ชั้นตนเองเป็น ๑ ข้างบน ๓ (ถึงทวด) ข้างล่าง ๓ (ถึงเหลน), เขยและสะใภ้ ไม่นับเป็นญาติ

ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, ช่วยเหลือเกื้อกูลญาติ (ข้อ ๑ ในพลี ๕ อย่างแห่งโภคอาทิยะ ๕)

ญาติสาโลหิต พี่น้องร่วมสายโลหิต (ญาติ=พี่น้องที่ยังนับรู้กันได้, สาโลหิต = ผู้ร่วมสายเลือดคือญาติที่สืบสกุลมาโดยตรง)

ญายะ, ญายธรรม ความถูกต้องชอบธรรม, ความยุติธรรม, สิ่งที่สมเหตุผล, ทางที่ถูก, วิธีการที่ถูกต้อง, ข้อปฏิบัติที่ถูก ต้อง หมายถึง อริยอัฏฐังคิกมรรค, ภาวะอันจะลุถึงได้ด้วยข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ นิพพาน

ญายปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง หรือปฏิบัติเป็นธรรม คือปฏิบัติปฏิปทาที่จะให้เกิดความรู้ หรือปฏิบัติ เพื่อได้ความรู้ธรรม ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ อีกนัยหนึ่งว่าปฏิบัติมุ่งธรรมเป็นใหญ่ ถือความถูกเป็นประมาณ (ข้อ ๓ ในสังฆคุณ ๙)

ไญยธรรม ธรรมอันควรรู้, สิ่งที่ควรรู้ควรเข้าใจ; เญยธรรม ก็เขียน

ฎีกา 1. ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายในภายหลังแต่งแก้หรืออธิบายเพิ่มเติม อรรถกถา 2. หนังสือนิมนต์พระสงฆ์ 3. ใบบอกบุญเรี่ยไร

ฐานะ เหตุ, อย่าง, ประการ, ที่ตั้ง, ตำแหน่ง, โอกาส, ความเป็นไปได้

ฐานาฐานญาณ ปรีชากำหนดรู้ฐานะคือสิ่งที่เป็นไปได้ เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น และอฐานะ คือสิ่งที่เป็นไป ไม่ได้ เช่น ทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี เป็นต้น (ข้อ ๑ ในทสพลญาณ)

ฐานานุกรม ลำดับตำแหน่งยศที่พระภิกษุผู้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์แล้ว มีอำนาจตั้งให้แก่พระภิกษุชั้นผู้น้อยตาม ทำเนียบ เช่น พระปลัด พระสมุห์ พระใบฎีกา เป็นต้น

ฐานานุรูป สมควรแก่ตำแหน่ง, สมควรแก่เหตุที่จะเป็นได้

ด้น เย็บผ้าให้ติดกันเป็นตะเข็บโดยฝีเย็บ

ดนตรี ลำดับเสียงอันไพเราะ

ดวงตาเห็นธรรม แปลจากคำว่า ธรรมจักษุ หมายถึงความรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ดู ธรรมจักษุ

ดับไม่มีเชื้อเหลือ ดับหมด คือดับทั้งกิเลสทั้งขันธ์ (= อนุปาทิเสสนิพพาน)

ดาบส ผู้บำเพ็ญตบะ, ผู้เผากิเลส

ดาวเคราะห์ ดู ดาวพระเคราะห์

ดาวดึงส์ สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีจอมเทพผู้ปกครองชื่อท้าวสักกะ แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่า พระอินทร์

ดาวนักษัตร ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี (ดาวม้า) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง ๓. กฤติกา (ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง ๕. มฤคศิร (ดาวหัวเนื้อ) มี ๓ ดวง ๖. อารทรา (ดาวตาสำเภา) มี ๑ ดวง ๗. ปุนัพสุ (ดาวสำเภาทอง) มี ๓ ดวง ๘. บุษย (ดาวสมอสำเภา) มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา (ดาวเรือน) มี ๕ ดวง ๑๐. มฆา (ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุณี (ดาวงูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุณี (ดาวเพดาน) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต (ดาวศอกคู้) มี ๕ ดวง ๑๔. จิตรา (ดาวตาจระเข้) มี ๑ ดวง ๑๕.สวาติ (ดาวช้างพัง) มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา (ดาวคันฉัตร) มี ๕ ดวง ๑๗. อนุราธา (ดาวประจำฉัตร) มี ๔ ดวง ๑๘. เชษฐา (ดาวช้างใหญ่) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูลา (ดาวช้างน้อย) มี ๙ ดวง ๒๐. บุรพาษาฒ (ดาวสัปคับช้าง) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ (ดาวแตรงอน) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ (ดาวหลักชัย) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐา (ดาวไซ) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช (ดาวพิมพ์ทอง) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทบท (ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖. อุตรภัทรบท (ดาวไม้เท้า) มี ๒ ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน) มี ๑๖ ดวง

ดาวพระเคราะห์ ในทางโหราศาสตร์ หมายถึงดาวทั้ง ๙ ที่เรียกว่า นพเคราะห์ คืออาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ; แต่ในทางดาราศาสตร์เรียก ดาวเคราะห์ หมายถึงดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเองต้องได้รับ แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ มี ๙ ดวง คือ พุธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัสบดี เสาร์ มฤตยู (ยูเรนัส) เกตุหรือพระสมุทร (เนปจูน) พระยม (พลูโต)

ดาวฤกษ์ ดู ดาวนักษัตร

ดำริ คิด, ตริตรอง

ดำริชอบ ดำริออกจากกาม ดำริในอันไม่พยาบาท ดำริในอันไม่เบียดเบียน ดู สัมมาสังกัปปะ

ดำฤษณา ความอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา (ตัณหา)

ดิถี วันตามจันทรคติ ใช้ว่า ค่ำหนึ่ง สองค่ำ เป็นต้น

ดิถีเพ็ญ ดีถีมีพระจันทร์เต็มดวง, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ

ดิรัจฉาน สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง, สัตว์เว้นจากมนุษย์ (เดียรัจฉานก็ใช้)

ดิรัจฉานกถา ดู ติรัจฉานกถา

ดิรัจฉานวิชา ความรู้ที่ขวางต่อทางพระนิพพาน เช่น รู้ในการทำเสน่ห์ รู้ในการทำให้คนถึงวิบัติ รู้เรื่องภูตผี รู้ในทาง ทำนาย เช่น หมอดู เป็นต้น เมื่อเรียนหรือใช้ปฏิบัติ ตนเองก็หลงเพลินหมกมุ่น ทั้งทำผู้อื่นให้ลุ่มหลงงมงาย ไม่เป็นอัน ปฏิบัติกิจหน้าที่และประกอบการตามเหตุผล

ดึกดำบรรพ์ ครั้งเก่าก่อน, ครั้งโบราณ

ดุษณีภาพ ความเป็นผู้นิ่ง

ดุสิต สวรรค์ชั้นที่ ๔ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวสันดุสิตเทวราชปกครอง สวรรค์ชั้นนี้เป็นที่สถิตของพระโพธิสัตว์ ก่อน จุติลงมาสู่มนุษยโลกและตรัสรู้ในพระชาติสุดท้าย

เดาะ (ในคำว่าการเดาะกฐิน) เสียหาย คือกฐินใช้ไม่ได้หมดประโยชน์ หมดอานิสงส์ ออกมาจากคำว่า อุพฺภาโร, อุทฺธา โร แปลว่ายกขึ้น หรือรื้อ เข้ากับศัพท์กฐินแปลว่ารื้อไม้สะดึง คือหมดโอกาสได้ประโยชน์จากกฐิน

เดียงสา รู้ความควรและไม่ควร, รู้ความเป็นไปบริบูรณ์แล้ว, เข้าใจความ

เดียรฉาน, เดียรัจฉาน สัตว์อื่นจากมนุษย์, สัตว์ผู้มีร่างกายเจริญขวางออกไป คือไม่เจริญตั้งขึ้นไปเหมือนคนหรือต้นไม้

เดียรถีย์ นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา

เดือน ดวงจันทร์, ส่วนของปี คือ ปีหนึ่งมี ๑๒ เดือนบ้าง ๑๓ เดือนบ้าง (อย่างจันทรคติ); การที่นับเวลาเป็นเดือนและ เรียกเวลาที่นับนั้นว่าเดือน ก็เพราะกำหนดเอาข้างขึ้นข้างแรมของเดือน คือดวงจันทร์เป็นหลักมาตั้งแต่ตั้งเดิม ดูชื่อเดือน ที่ มาตรา

โดยชอบ ในประโยคว่า “เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ” ความตรัสรู้นั้นชอบ ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่วิปริต ให้สำเร็จ ประโยชน์แก่พระองค์เองและผู้อื่น

ได้รับสมมติ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ หรือทำกิจที่สงฆ์มอบหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง

ตจะ หนัง

ตจปัญจกกัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานมีหนังเป็นที่คำรบห้า, กัมมัฏฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็น อารมณ์ คือ กัมมัฏฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนของร่างกาย ๕ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยความเป็นของ ปฏิกูล หรือโดยความเป็นสภาวะอย่างหนึ่ง ๆ ตามที่มันเป็นของมัน ไม่เอาใจเข้าไปผูกพันแล้วคิดวาดภาพใฝ่ฝันตาม อำนาจกิเลส พจนานุกรมเขียน ตจปัญจกกรรมฐาน เรียกอีกอย่างว่า มูลกัมมัฏฐาน (กัมมัฏฐานเบื้องต้น)

ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุข กับ เอกัคคตา

ตถตา ความเป็นอย่างนั้น, ความเป็นเช่นนั้น,ภาวะที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของมันอย่างนั้นเอง คือเป็นไปตามเหตุ ปัจจัย (มิใช่เป็นไปตามความอ้อนวอนปรารถนา หรือการดลบันดาลของใคร ๆ) เป็นชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกกฎ ปฏิจจสมุป บาท หรือ อิทัปปัจจยตา

ตถาคต พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรง เรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความ หมาย ๘ อย่าง คือ ๑. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือ เสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นต้น เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๒. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือทรงทำลายอวิชชา สละปวงกิเลสเสด็จไปเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๓. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายหรือของธรรมทุกอย่าง ๔. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มัน เป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาทอันเป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน ๕. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น คือ ทรงรู้เท่า ทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ซึ่งสัตวโลกตลอดถึงเทพถึงพรหมได้ประสบและพากันแสวง หา ทรงเข้าใจสภาพที่แท้จริง ๖. พระผู้ตรัสอย่างนั้น (หรือมีพระวาจาที่แท้จริง) คือ พระดำรัสทั้งปวงนับแต่ตรัสรู้จน เสด็จดับขันธปรินิพพาน ล้วนเป็นสิ่งแท้จริงถูกต้อง ไม่เป็นอย่างอื่น ๗. พระผู้ทำอย่างนั้น คือ ตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ๘. พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) คือ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูง สุด เป็นผู้เห็นถ่องแท้ ทรงอำนาจเป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหม เหนือประดาพรหม ไม่มีใครจะอาจวัดหรือจะทัดเทียมพระองค์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสะ

ตถาคตโพธิสัทธา ดู สัทธา

ตทังคนิพพาน “นิพพานด้วยองค์นั้น”, นิพพานด้วยองค์ธรรมจำเพาะ เช่นมองเห็นขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์แล้วหายทุกข์ ร้อน ใจสงบสบายมีความสุขอยู่ตลอดชั่วคราวนั้นๆ, นิพพานเฉพาะกรณี

ตทังคปหาน “การละด้วยองค์นั้น”, การละกิเลสด้วยองค์ธรรมที่จำเพาะกันนั้น คือละกิเลสด้วยองค์ธรรมจำเพาะที่ เป็นคู่ปรับกัน แปลง่าย ๆ ว่า การละกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ เช่นละโกรธด้วยเมตตา (แปลกันมาว่าการละกิเลสได้ ชั่วคราว)

ตทังควิมุตติ พ้นด้วยองค์นั้น ๆ หมายความว่า พ้นจากกิเลสด้วยอาศัยธรรมตรงข้ามที่เป็นคู่ปรับกัน เช่น เกิดเมตตา หายโกรธ เกิดสังเวช หายกำหนัด เป็นต้น เป็นการหลุดพ้นชั่วคราว และเป็นโลกียวิมุตติ ดู วิมุตติ

ต้นโพธิ์ ดู โพธิ

ตบะ 1. ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส, การบำเพ็ญเพียรเพื่อกำจัดกิเลส 2. พิธีข่มกิเลสโดยการทรมานตัวของนักบวช บางพวกในสมัยพุทธกาล

ตปุสสะ พ่อค้าที่มาจากอุกกลชนบทคู่กับภัลลิกะพบพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นไม้ราชายตนะภาย หลังตรัสรู้ใหม่ ๆ ได้ถวายเสบียงเดินทาง คือ ข้าวสัตตุผง ข้าวสัตตุก้อน แล้วแสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธเจ้ากับ พระธรรมเป็นสรณะ นับเป็นปฐมอุบาสกผู้ถึงสรณะ ๒ ที่เรียกว่า เทฺววาจิก

ตโปทาราม สวนซึ่งอยู่ใกล้บ่อน้ำพุร้อนชื่อตโปทา ใกล้พระนครราชคฤห์ เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเคยทำ นิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

ตระกูลอันมั่งคั่ง จะตั้งอยู่นานไม่ได้ เพราะเหตุ ๔ คือ ๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว ๒. ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า ๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ ๔. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีล ให้เป็นแม่บ้านพ่อเรือน

ตระบัด ยืมของเขาไปแล้วเอาเสีย เช่นขอยืมของไปใช้แล้วไม่ส่งคืน กู้หนี้ไปแล้วไม่ส่งต้นทุนและดอกเบี้ย

ตระหนี่ เหนียว, เหนียวแน่น, ไม่อยากให้ง่ายๆ, ขี้เหนียว (มัจฉริยะ)

ตรัสรู้ รู้แจ้ง หมายถึงรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ตรุษ นักษัตรฤกษ์เมื่อเวลาสิ้นปี

ต้อง ถูก, ถึง, ประสบ (ในคำว่า “ต้องอาบัติ” คือ ถึงความละเมิด หรือมีความผิดสถานนั้น ๆ คล้ายในคำว่า ต้องหาต้อง ขัง ต้องโทษ ต้องคดี)

ต่อตาม พูดเกี่ยงราคาในเรื่องซื้อขาย, พูดเกี่ยงผลประโยชน์ในการทำความตกลงกัน

ต่อหนังสือค่ำ วิธีที่ใช้สอนให้จำ ในยุคที่ยังไม่ได้ใช้หนังสือ โดยอาจารย์สอนให้ว่าทีละคำหรือทีละวรรค ศิษย์ก็ว่า ตามว่าซ้ำหลายๆ ครั้งเพื่อให้จำได้ เมื่อศิษย์จำได้แล้ว อาจารย์ก็สอนต่อไป ทุก ๆ วัน วันละมากหรือน้อยแล้วแต่ความ สามารถของศิษย์ นี่เรียกว่าต่อหนังสือ และมักต่อในเวลาค่ำ จึงเรียกว่าต่อหนังสือค่ำ

ตะเบ็งมาน เป็นชื่อวิธีห่มผ้าของหญิงอย่างหนึ่ง คือ เอาผ้าโอบหลังสอดรักแร้สองข้างออกมาข้างหน้า ชักชายไขว้กัน ขึ้นพาดบ่าปกลงไปเหน็บไว้ที่ผ้าโอบหลัง

ตะโพน เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีหนังสองหน้า ตรงกลางป่อง ริม ๒ ข้างสอบลง

ตักบาตรเทโว ดู เทโวโรหณะ

ตักสิลา ชื่อนครหลวงแห่งแคว้น คันธาระ ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป ตักสิลามีมาแต่ดึกดำ บรรพ์ก่อนพุทธกาล เคยรุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยาต่าง ๆ เป็นสถานที่มี่ชื่อเสียงที่สุดในการศึกษายุคโบราณ เรียกกันว่า เป็นเมืองมหาวิทยาลัย สันนิษฐานกันว่า บัดนี้ อยู่ในเขตราวัลปินดิ ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน ตักสิลาเป็นราชธานีที่มั่งคั่งรุ่งเรืองสืบต่อกันมาหลายศตวรรษ ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ มีเรื่องราวเล่าไว้ในชาดกเป็นอันมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตักสิลาเป็นศูนย์กลางการศึกษา มีสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สั่งสอนศิลปวิทยาต่าง ๆ แก่ศิษย์ซึ่งเดินทางมาเล่าเรียนจากทุกถิ่นในชมพูทวีป แต่ในยุคก่อนพุทธกาลชนวรรณะสูง เท่านั้นจึงมีสิทธิเข้าเรียนได้ บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านในสมัยพุทธกาลสำเร็จการศึกษาจากนครตักสิลา เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล เจ้ามหาลิลิจฉวี พันธุลเสนาบดี หมอชีวกโกมารภัจ และองคุลิมาล เป็นต้น ต่อมาภายหลัง พุทธกาล ตักสิลาได้ถูกพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกษัตริย์กรีกยึดครอง มีหนังสือที่คนชาติกรีกกล่าวถึงขนบธรรม เนียมประเพณีของเมืองตักสิลา เช่นว่าประชาชนชาวตักสิลา ถ้าเป็นคนยากจนไม่สามารถจะปลูกฝังธิดาให้มีเหย้า เรือนตามประเพณีได้ ก็นำธิดาไปขายที่ตลาดโดยเป่าสังข์ตีกลองเป็นอาณัติสัญญาณ ประชาชนก็พากันมาล้อมดู ถ้าผู้ ใดชอบใจก็ตกลงราคากันนำไปเป็นภรรยา หญิงที่สามีตายจะต้องเผาตัวตายไปกับสามี นับแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นต้นมา ตักสิลาได้เป็นนครที่รุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนา ซึ่งเจริญขึ้นมา เคียงข้างศาสนาฮินดู เป็นแหล่งสำคัญแห่งหนึ่งของการศึกษาพระพุทธศาสนา ดังมีซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม และ ประติมากรรมแบบศิลปะคันธาระจำนวนมากปรากฏเป็นหลักฐาน ต่อมาราว พ.ศ. ๙๔๓ หลวงจีนฟาเหียนได้มาสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย ยังได้มานมัสการพระสถูปเจดีย์ที่ เมืองตักสิลา แสดงว่าเมืองตักสิลายังคงบริบูรณ์ดีอยู่ แต่ต่อมาราว พ.ศ. ๑๐๕๐ ชนชาติฮั่นยกมาตีอินเดียและได้ทำลาย พระพุทธศาสนา ทำให้เมืองตักสิลาพินาศสาปสูญไป ครั้นถึง พ.ศ. ๑๑๘๖ หลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซัมจั๋ง) มาสืบ พระพุทธศาสนาในอินเดีย กล่าวว่าเมืองตักสิลาตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม เป็นเพียงเมืองหนึ่งที่ขึ้นอยู่ในแคว้นกัษมี ระ โบสถ์วิหารสถานศึกษา และปูชนียสถานถูกทำลายหมด จากนั้นมาก็ไม่ปรากฏเรื่องเมืองตักสิลาอีก ; เขียนเต็ม ตามบาลีเป็น ตักกสิลา เขียนอย่างสันสกฤตเป็นตักษศิลา อังกฤษเขียน Taxila

ตั่ง ม้า ๔ เหลี่ยมรี นั่งได้ ๒ คนก็มี

ตัชชนียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงขู่, สังฆกรรมประเภทนิคหกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งสงฆ์ทำการตำหนิ โทษภิกษุผู้ก่อความทะเลาะวิวาท ก่ออธิกรณ์ขึ้นในสงฆ์เป็นผู้มีอาบัติมาก และคลุกคลีกับคฤหัสถ์ในทางที่ไม่สมควร

ตั้งใจชอบ ดู สัมมาสมาธิ

ตณฺหกฺขโย ความสิ้นไปแห่งตัณหาเป็นไวพจน์อย่างหนึ่งแห่งวิราคะ และนิพพาน

ตัณหา ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความแส่หา มี ๓ คือ ๑. กามตัณหา ความทะยานอยากใน กาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่ ๒. ภวตัณหา ความทะยานอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ๓. วิภวตัณหา ความ ทะยานอยากในวิภพอยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย

ตัณหา ธิดามารนางหนึ่งใน ๓ นางที่อาสาพระยามารผู้เป็นบิดา เข้าไปประโลมพระพุทธเจ้าด้วยอาการต่างๆ ใน สมัยที่พระองค์ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ (อีก ๒ นาง คือ อรดีกับราคา)

ตัตรมัชฌัตตตา ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ, ภาวะที่จิตและเจตสิกตั้งอยู่ในความเป็นกลาง บางทีเรียก อุเบกขา (ข้อ ๗ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

ตัสสปาปิยสิกากรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำเพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้เลวทราม, กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้เป็นจำเลยใน อนุวาทาธิกรณ์ ให้การกลับไปกลับมา เดี๋ยวปฏิเสธ เดี๋ยวสารภาพพูดถลากไถล พูดกลบเกลื่อนข้อที่ถูกซัก พูดมุสาซึ่ง หน้า สงฆ์ทำกรรมนี้แก่เธอเป็นการลงโทษตามความผิดแม้ว่าเธอจะไม่รับ หรือเพื่อเพิ่มโทษจากอาบัติที่ต้อง

ตาลุ เพดานปาก

ตำรับ, ตำหรับ ตำราที่กำหนดไว้เป็นเฉพาะแต่ละเรื่องละราย

ติกะ หมวด ๓

ติจีวรวิปปวาส การอยู่ปราศจากไตรจีวร

ติจีวรอวิปปวาส การไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร ดู ติจีวราวิปปวาส

ติจีวราวิปปวาส การไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร คือ ภิกษุอยู่ในแดนที่สมมติเป็น ติจีวราวิปปวาสแล้ว อยู่ห่างจากไตรจีวร ก็ไม่เป็นอันอยู่ปราศ ไม่ต้องอาบัติด้วยนิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบทที่ ๑

ติจีวราวิปปวาสสีมา แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร สมมติแล้วภิกษุอยู่ห่างจากไตรจีวรในสีมานั้นก็ไม่เป็นอันปราศ

ติณชาติ หญ้า

ติณวัตถารกวิธี วิธีแห่ง ติณวัตถารกวินัย

ติณวัตถารกวินัย ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า ได้แก่กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหา ความเดิมเป็นวิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์ ที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติที่เกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างก็ประ พฤติไม่สม ควรและซัดทอดกันเป็นเรื่องนุงนังซับซ้อน ชวนให้ทะเลาะวิวาท กล่าวซัดลำเลิกกันไปไม่มีที่สุดจะระงับด้วยวิธีอื่นก็ จะเป็นเรื่องลุกลามไป เพราะถ้าจะสืบสวนสอบสวนปรับให้กันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแต่จะทำให้อธิกรณ์รุนแรงยิ่ง ขึ้น จึงระงับเสียด้วยติณวัตถารกวิธี คือแบบกลบไว้ด้วยหญ้า ตัดตอนยกเลิกเสีย ไม่สะสางความหลังกันอีก

ติตถกร เจ้าลัทธิ หมายถึงคณาจารย์ ๖ คน คือ ๑. ปูรณกัสสป ๒. มักขลิโคสาล ๓. อชิตเกสกัมพล ๔. ปกุทธกัจจายนะ ๕. สัญชัยเวลัฏฐบุตร ๖. นิครนถนาฏบุตร มักเรียกว่า ครูทั้ง ๖

ติตถิยะ เดียรถีย์, นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา

ติตถิยปริวาส วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนากล่าวคือ นักบวชในลัทธิศาสนาอื่นหากปรา- รถนาจะบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาสก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจ จึงจะ อุปสมบทได้

ติตถิยปักกันตกะ ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ อุปสมบทอีกไม่ได้ (เป็นวัตถุวิบัติ)

ติรัจฉานกถา ถ้อยคำอันขวางต่อทางนิพพาน, เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนา โดยไม่เกี่ยวกับการ พิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรมอันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากันหลงเพลินเสียเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม เช่น ราชกถา สนทนาเรื่องพระราชา ว่าราชาพระองค์นั้นโปรดของอย่างนั้น พระองค์นี้โปรดของอย่างนี้ โจรกถา สนทนาเรื่องโจรว่าโจรหมู่นั้นปล้นที่นั่นได้เท่านั้น ๆ ปล้นที่นี่ได้เท่า นี้ ๆ เป็นต้น (ท่านแสดงไว้ ๒๘ อย่าง หรือแยก ย่อยได้ ๓๓ อย่าง)

ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน

ติรัจฉานวิชา ดู ดิรัจฉานวิชา

ติสรณคมนูปสัมปทา อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ เป็นวิธีบวชพระที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกบวช กุลบุตรในครั้งต้นพุทธกาล ต่อมาเมื่อทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว ก็ทรงอนุญาตการบวชด้วย ไตรสรณคมน์นี้ ให้เป็นวิธีบวชสามเณรสืบมา

ติสสเถระ ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในเกาะลังกา เคยอุปการะพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย คราวเสียราชสมบัติแก่ทมิฬ ภาย หลังทรงกู้ราชสมบัติคืนได้แล้ว ได้สร้างวัดอภัยคีรีวิหารถวาย

ติสสเมตเตยยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์

ตีรณปริญญา กำหนดรู้ขั้นพิจารณา คือ กำหนดรู้สังขารด้วยการพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ว่าสิ่งนั้นๆ มีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (ข้อ ๒ ในปริญญา ๓)

ตุมพสตูป พระสถูปบรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณ์เป็นผู้สร้าง

ตุลาการ ผู้วินิจฉัยอรรถคดี, ผู้ตัดสินคดี

ตู่, กล่าวตู่ กล่าวอ้างหรือทึกทักเอาของผู้อื่นว่าเป็นของตัว, กล่าวอ้างผิดตัว ผิดสิ่ง ผิดเรื่อง, ในคำว่า กล่าวตู่พระพุทธ เจ้า หรือตู่พุทธพจน์ หมายความว่า อ้างผิดๆ ถูกๆ, กล่าวสิ่งที่ตรัสว่ามิได้ตรัส กล่าวสิ่งที่มิได้ตรัสว่าได้ตรัสไว้, พูดให้ เคลื่อนคลาดหรือไขว้เขวไปจากพุทธดำรัส, พูดใส่โทษ, กล่าวข่มขี่, พูดกด เช่นคัดค้านให้เห็นว่าไม่จริงหรือไม่สำคัญ

ตู่กรรมสิทธิ์ กล่าวอ้างเอากรรมสิทธิ์ของผู้อื่นว่าเป็นของตัว

เตจีวริกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร คือถือเพียงผ้าสามผืนได้แก่ จีวร สบง สังฆาฏิอย่างละผืนเท่านั้น ไม่ ใช้จีวรนอกจากผ้าสามผืนนั้น (ข้อ ๒ ในธุดงค์ ๑๓)

เตโชธาตุ ธาตุไฟ, ธาตุที่มีลักษณะร้อน, ความร้อน; ในร่างกาย ได้แก่ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย และไฟที่เผาอาหารให้ย่อย

เตรสกัณฑ์ “กัณฑ์สิบสาม” ตอนที่ว่าด้วยสิกขาบท ๑๓ หมายถึง หมวดความในพระวินัยปิฎก ส่วนที่ว่าด้วยบท บัญญัติเกี่ยวกับอาบัติสังฆาทิเสสซึ่งมี ๑๓ สิกขาบท

เตวาจิก มีวาจาครบสาม หมายถึงผู้กล่าววาจาถึงสรณะครบทั้งสามอย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ บิดา พระยสเป็นคนแรก ที่ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต (เทียบ เทฺววาจิก)

เตียง ภิกษุทำเตียงหรือตั่ง พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้วพระสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ และต้องไม่หุ้มนุ่น ถ้าฝ่าฝืน ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณ หรือรื้อเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก (ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่ ๙ สิกขาบทที่ ๕ และ ๖)

โตเทยยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรีที่ไปทูล ถามปัญหากะพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์

ไตรจีวร จีวรสาม, ผ้าสามผืนที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัว คือ ๑. สังฆาฏิ ผ้าทาบ ๒. อุตราสงค์ ผ้าห่ม เรียกสามัญในภาษาไทยว่าจีวร ๓. อันตรวาสก ผ้านุ่ง เรียกสามัญว่าสบง

ไตรทวาร ทวารสาม, ทางทำกรรม ๓ ทาง คือ กายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร

ไตรปิฎก “ปิฎกสาม”; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้วโดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่าคัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่ง คัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวดกล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก; พระไตรปิฎก จัดแบ่ง หมวดหมู่โดยย่อดังนี้

๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป) คือ ๑. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ปาราชิก ถึงอนิยต ๒. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ รวมตลอดทั้งภิกขุนี วิภังค์ทั้งหมด ๓. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะ หรือ ๑๐ ตอน ๔. จุลวรรคว่าด้วย สิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ ๕. ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อม ความรู้พระวินัย พระวินัยปิฎกนี้ แบ่งอีกแบบหนึ่งเป็น ๕ คัมภีร์เหมือนกัน (จัด ๒ ข้อในแบบต้นนั้นใหม่) คือ ๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๒๒๗ ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิ โมกข์ (ศีล ๓๑๑ ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ ๓. มหาวรรค ๔. จุลวรรค ๕. ปริวาร บางทีท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น ๓ หมวด คือ ๑. วิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ทั้ง ฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ (คือรวมข้อ ๑ และ ๒ ข้างต้นทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน) ๒. ขันธกะ ว่าด้วยสิกขาบท นอกปาฏิโมกข์ทั้ง ๒๒ ขันธกะหรือ ๒๒ บทตอน (คือรวมข้อ ๓ และ ๔ เข้าด้วยกัน) ๓. ปริวาร คัมภีร์ประกอบ (คือข้อ ๕ ข้างบน)

๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนาคำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยัก เยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธ ศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ ๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร ๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร ๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็น กลุ่ม ๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร ๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวด ๆ เรียกว่านิบาตหนึ่ง ๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรมมี ๙,๕๕๗ สูตร ๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตรคาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่อง ราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี ๑๕ คัมภีร์

๓. พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลัก วิชา ล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ ๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท ๆ ๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นตั้ง เป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด ๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ ๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ ๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธี ถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ ๗. ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัย กันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร

พระไตรปิฎกที่พิมพ์ด้วยอักษรไทยท่านจัดแบ่งเป็น ๔๕ เล่ม แสดงพอให้เห็นรูปเค้าดังนี้

. พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่าด้วยปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยตสิกขาบท (สิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุ สงฆ์ ๑๙ ข้อแรก) เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วย สิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษุ (เป็นอันครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือ ศีล ๒๒๗) เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ของภิกษุณี เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธ กะ ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระ ศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ มี ๖ ขันธ กะ ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนัง เภสัช กฐิน จีวร นิคหกรรม และการทะเลาะ วิวาทและสามัคคี เล่ม ๖ จุลวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคหกรรม วุฏฐานวิธีและการระงับอธิกรณ์ เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค มี ๘ ขันธกะว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อย เรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงด สวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ เล่ม ๘ ปริวาร คู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย

ข. พระสุตตันปิฎก ๒๕ เล่ม ๑. ทีฆนิกาย ๓ เล่ม เล่ม ๙ สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร หลายสูตรกล่าวถึงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย “มหา” เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสติปัฏ ฐานสูตร เป็นต้น เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว ๑๑ สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตร หลายสูตรมีชื่อเสียงเช่น จักกวัตติ สูตร อัคคัญสูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร ๒. มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ บั้นต้น มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร เล่ม ๑๓ มัชฌิมปัณณาสก์ บั้นกลางมีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์ บั้นปลายมีพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร ๓. สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่าง ๆ เช่นเทวดา มาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระ เจ้าโกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุตต์ เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัย คือหลักปฏิจจสมุปบาท นอกนั้น มีเรื่องเหตุ การบรรลุธรรม สังสารวัฏ ลาภสักการะ เป็นต้น จัด เป็น ๑๐ สังยุตต์ เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่อง สมาธิและทิฏฐิ ต่าง ๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุตต์ เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ ถึงอสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์ เล่ม ๑๙ มหาวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัม- มัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจจ์ ฌาน ตลอดถึงองค์คุณของพระ โสดาบันและอานิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุตต์ (พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความ สำคัญของความมีกัลยาณมิตร เป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค) ๔. อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๔ เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖ เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙ เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐-๑๑ ในอังคุตตรนิกายมีข้อธรรมหลากหลายลักษณะ ตั้งแต่ทิฏฐธัมมิกัตถะถึงปรมัตถะ ทั้งสำหรับบรรพชิต และ สำหรับคฤหัสถ์ กระจายกันอยู่โดยเรียงตามจำนวน ๕. ขุททกนิกาย ๙ เล่ม เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕ คือ ขุททกปาฐะ (บทสวดย่อยๆ โดยเฉพาะมงคลสูตร รตนสูตร กรณียเมตตสูตร) ธรรมบท (เฉพาะตัวคาถาทั้ง ๔๒๓) อุทาน (พุทธอุทาน ๘๐) อิติวุตตกะ (พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วย “เอวมฺเม สุตํ” แต่ เชื่อมความเข้าสู่คาถาด้วยคำว่า “อิติ วุจฺจติ” รวม ๑๑๒ สูตร) และสุตตนิบาต (ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ ซึ่งเป็นคาถา ล้วนหรือมีความนำเป็นร้อยแก้ว รวม ๗๑ สูตร) เล่ม ๒๖ มีคัมภีร์ย่อยที่เป็นคาถาล้วน ๔ คือ วิมานวัตถุ (เรื่องผู้เกิดในสวรรค์อยู่วิมาน เล่าการทำความดีของ ตนในอดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น ๘๕ เรื่อง) เปตวัตถุ (เรื่องเปรตเล่ากรรมชั่วในอดีตของตน ๕๑ เรื่อง) เถรคาถา (คาถาของพระอรหันตเถระ ๒๖๔ รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรม เป็นต้น) เถรีคาถา (คาถาของพระอรหันตเถรี ๗๓ รูป ที่กล่าวแสดงความรู้สึกเช่นนั้น) เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑ รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และ มีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) รวม ๕๒๕ เรื่อง เล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒ รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถารวมอีก ๒๒ เรื่อง บรรจบทั้งสองภาค เป็น ๕๔๗ ชาดก เล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตต นิบาต เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตรในปารายนวรรคและขัคควิ สาณสูตรใน อุรควรรค แห่งสุตตนิบาต เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆ เช่นเรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานา ปาน อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค คาถาประพันธ์แสดงประวัติโดยเฉพาะในอดีตชาติ เริ่มด้วยพุทธอปทาน (ประวัติของ พระพุทธเจ้า) ปัจเจกพุทธอปทาน (เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า) ต่อด้วยเถรอปทาน (อัตตประวัติแห่งพระอรหันต เถระ) เรียงลำดับเริ่มแต่พระ สารีบุตร ตามด้วยพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธ พระปุณณมันตานี บุตร พระอุบาลี พระอัญญาโกณฑัญญะ พระปิณโฑลภารทวาชะ พระขทิรวนิยเรวตะ พระอานนท์ ต่อเรื่อยไปจนจบภาค ๑ รวม พระอรหันตเถระ ๔๑๐ รูป เล่ม ๓๓ อปทาน ภาค ๒ คาถาประพันธ์แสดงอัตตประวัติพระอรหันตเถระต่ออีกจนถึงรูปที่ ๕๕๐ ต่อนั้น เป็นเถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม ๑๖ รูป ต่อด้วยพระเถรีที่ สำคัญเรียงลำดับคือพระมหาปชาบดีโคตมี พระเขมา พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา พระกุณฑลเกสี พระกีสาโคตมี พระ ธรรมทินนา พระสกุลา พระนันทา พระโสณา พระภัททกา ปิลานี พระยโสธรา และท่านอื่น ๆ ต่อไปจนจบ ครั้นจบ อปทานแล้วท้ายเล่ม ๓๓ นี้ มีคัมภีร์ พุทธวงส์ เป็นคาถาประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ที่ พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้าและได้รับพยากรณ์จนถึงประวัติของพระองค์เอง รวมเป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ จบแล้วมีคัมภีร์สั้นๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕ เรื่องที่มีแล้วในชาดก แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่ ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ

ค. พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม เล่ม ๓๔ ธัมมสังคณี ต้นเล่มแสดง มาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ มีทั้งชุด ๓ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามีเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรมชุดหนึ่ง เป็นอดีตธรรม อนาคต ธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ และชุด ๒ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสังขตธรรม อสังขตธรรม ชุดหนึ่ง รูปีธรรม อรูปีธรรม ชุดหนึ่ง โลกียธรรม โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่งเป็นต้น รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา จากนั้น ขยายความมาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรมและอัพยากฤตธรรม ที่กระจายออกไปโดย จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท แสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่ กล่าวถึงข้างต้นจนครบ ๑๖๔ มาติกา ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท เป็น ๒ แบบ (แต่บทท้ายจำกัดความไว้เพียง ๑๒๒ มาติกา) เล่ม ๓๕ วิภังค์ ยกหลักธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่จนชัดเจนจบ ไปเป็นเรื่องๆ รวมอธิบายทั้งหมด ๑๘ เรื่อง คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจจ์ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฌาน อัปปมัญญา ศีล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณ ประเภทต่าง ๆ และเบ็ดเตล็ดว่าด้วยอกุศลธรรมต่างๆ อธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่าวิภังค์ของเรื่องนั้น ๆ เช่นอธิบายขันธ์ ๕ ก็เรียกขันธวิภังค์ เป็นต้น รวมมี ๑๘ วิภังค์ เล่ม ๓๖ ธาตุกถา นำข้อธรรมในมาติกาทั้งหลายและข้อธรรมอื่น ๆ อีก ๑๒๕ อย่าง มาจัดเข้าในขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดได้หรือไม่ได้ในอย่างไหน ๆ และปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้ เรียกบุคคลต่างๆ ตามคุณธรรม เช่นว่า “โสดาบัน” ได้แก่ บุคคลผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ดังนี้เป็นต้น เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมค คัลลีบุตรติสสเถระ ประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้น เพื่อแก้ ความเห็นผิดของนิกายต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกแล้วถึง ๑๘ นิกาย เช่นความเห็นว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้ ทุกอย่างเกิดจากกรรม เป็นต้น ประพันธ์ เป็นคำปุจฉาวิสัชนา มีทั้งหมด ๒๑๙ กถา เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๓ คัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และทดสอบ ความรู้อย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ (ยมก แปลว่า คู่) เช่นถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์ (ทั้งหมด) เป็นรูป, ทุกข์ (ทั้ง หมด) เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์ หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี ๗ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้น ๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น เล่มนี้จึงมี ๗ ยมก เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒ ถามตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล- อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมกบรรจบเป็น ๑๐ ยมก เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑ คัมภีร์ปัฏฐานอธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดาร แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัย แก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้าน ต่าง ๆ ธรรมที่นำมาอธิบายก็คือข้อธรรมที่มีในมาติกาคือแม่บทหรือบทสรุป ธรรมซึ่งกล่าวไว้แล้วในคัมภีร์สังคณีนั่นเองแต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกาแรกที่เรียกว่า อภิธรรมมาติกา ปัฏฐานเล่ม แรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔ เป็นการปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้นก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของเล่ม คือ อนุโลมติกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โดยปัจจัย ๒๔ นั้น เช่นว่ากุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (เพราะศรัทธา จึงให้ทาน จึงสมาทานศีล จึงบำเพ็ญฌาน จึงเจริญวิปัสสนา ฯลฯ) กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (คิดถึงทานที่ตนได้ให้ศีลที่ได้รักษา แล้ว ดีใจ ยึดเป็นอารมณ์แน่นหนาจนเกิดราคะ ทิฏฐิ, มีศรัทธา มีศีล มีปัญญา แล้วเกิดมานะว่า ฉันดีกว่า เก่งกว่า หรือ เกิดทิฏฐิว่า ต้องทำอย่างเรานี้เท่านั้นจึงถูกต้อง ฯลฯ) อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (เพราะ ความอยากบางอย่าง หรือเพราะมานะหรือทิฏฐิ จึงให้ทาน จึงรักษาศีล จึงทำฌานให้เกิด ฯลฯ) กุศลธรรมเป็น ปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (คิดถึงฌานที่ตนเคยได้แต่มาเสื่อมไปเสียแล้ว เกิดความโทมนัส ฯลฯ) อย่างนี้เป็นต้น (เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลมคือตามนัยปกติไม่อธิบายตามนัยปฏิเสธจึงเรียกว่าอนุโลมปัฏฐาน) เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน ต่อ คือ อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บท ชุด ๓ ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น อดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (พิจารณารูปเสียงเป็นต้น ที่ดับ เป็นอดีตไปแล้วว่าเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้น ฯลฯ) เป็นต้น เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย ในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น โลกียธรรมเป็นปัจจัยแก่โลกียธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาคอนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ เล่ม ๔๔ ปัฏฐาน ภาค ๕ ยังเป็นอนุโลมปัฏฐาน แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บท ต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) เช่น อธิบาย “กุศลธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ที่เป็นโลกียธรรม โดยอธิปติ ปัจจัย” เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมติกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุก มาติกา) อนุโลมติกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โยงระหว่าง ต่างชุดกัน เช่นอธิบายว่า “กุศลธรรมที่เป็นอดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม” เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในบทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่างต่าง ชุดกัน เช่นชุดโลกียะ โลกุตตระ กับชุดสังขตะอสังขตะ เป็นต้น เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖ เป็นปัจจนียปัฏฐาน คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่ม ก่อนๆ นั่นเอง แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็นปัจจนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+ปฏิเสธ เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล อาศัยธรรม ที่ไม่ใช่กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คืออนุโลม+ปฏิเสธ เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตตรธรรมเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+อนุโลม เช่นว่า อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลธรรมที่เป็นอกุศล เกิดขึ้น โดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร และในทั้ง ๓ แบบนี้ แต่ละแบบ จะ อธิบายโดยใช้ธรรมในแม่บทชุด ๓ แล้วต่อด้วยชุด ๒ แล้วข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับชุด ๓ ชุด ๓ กับชุด ๒ ชุด ๓ กับ ชุด ๓ ชุด ๒ กับชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน ดังนั้นแต่ละแบบจึงแยกซอยละเอียดออกไปเป็น ติก ทุก ทุกติก ติก ทุก ติกติก ทุกทุก ตามลำดับ (เขียนให้เต็มเป็น ปัจจนียติกปัฏฐาน ปัจจนียทุกปัฏฐาน ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้ เรื่อยไป จนถึงท้ายสุดคือ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน) คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียดเฉพาะเล่มต้น ๆ เท่านั้นเล่มหลัง ๆ ท่านแสดงไว้แต่หัวข้อหรือ แนว และทิ้งไว้ให้ผู้เข้าใจแนวนั้นแล้วเอาไปแจกแจงโดยพิสดารเอง โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค ๖ แสดงไว้ย่นย่อที่ สุด แม้กระนั้นก็ยังเป็นหนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐ หน้ากระดาษพิมพ์ ถ้าอธิบายโดยพิสดารทั้งหมดจะเป็นเล่ม หนังสืออีกจำนวนมากมายหลายเท่าตัว ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า “มหาปกรณ์” แปลว่า ตำราใหญ่ ใหญ่ทั้ง โดยขนาดและโดยความสำคัญ

พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระ ธรรมขันธ์

ไตรเพท พระเวท ๓ อย่าง ซึ่งเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ประมวลบทสวด สรรเสริญเทพเจ้า ๒. ยชุรเวท ประกอบด้วยบทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญ ต่าง ๆ ๓. สามเวท ประมวลบทเพลงขับ สำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ ต่อมาเพิ่มอถรรพเวท หรือ อาถรรพณเวท อันว่าด้วยคาถาอาคมทาง ไสยศาสตร์เข้ามาอีกเป็น ๔

ไตรมาส สามเดือน

ไตรรัตน์ แก้วสามประการ หมายถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

ไตรลักษณ์ ลักษณะสาม คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความมิใช่ตัวตน (อนิจฺจตา ทุกฺขตา อนตฺตตา) ดู สามัญ ลักษณะ

ไตรลิงค์ สามเพศ หมายถึง คำศัพท์ที่เป็นได้ทั้งสามเพศในทางไวยากรณ์กล่าวคือ ปุํลิงค์ เพศชาย อิตถีลิงค์ เพศหญิง นปุํสกลิงค์ มิใช่เพศชายและหญิง; คำบาลีที่เป็นไตรลิงค์ เช่น นิพฺ พุโต นิพฺพุตา นิพฺพุตํ เป็น ปุํลิงค์ อิตถีลิงค์ และนปุํ สกลิงค์ ตามลำดับ

ไตรวัฏฏ์, ไตรวัฏ วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาทซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อ ๆ กันไป ทำให้มี การเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑. กิเลสวัฏฏ์ ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒. กรรมวัฏฏ์ ประกอบด้วย สังขาร ภพ ๓. วิปากวัฏฏ์ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส) คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้ รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุขเวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยาก ได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิด กิเลสคือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด

ไตรสรณะ ที่พึ่งสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

ไตรสรณคมน์ การถึงสรณะสาม, การถึงรัตนะสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง คำถึงไตรสรณะดังนี้ : พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ), ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึง พระธรรมเป็นสรณะ), สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ); ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึง พระพุทธเจ้าเป็นสรณะแม้ครั้งที่ ๒), ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ, ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ; ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺ ฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแม้ครั้งที่ ๓), ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ, ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

ไตรสิกขา สิกขาสาม, ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา ๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เรียกกันง่าย ๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

ถ้วนทศมาส ครบสิบเดือน

ถวายพระเพลิง ให้ไฟ คือ เผา

ถอน (ในคำว่า “รู้จักถอนไตรจีวร”) ยกเลิกของเดิม ออกมาจากศัพท์ ปัจจุทธรณ์

ถัมภะ หัวดื้อ (ข้อ ๑๑ ในอุปกิเลส ๑๖)

ถาวรวัตถุ สิ่งของที่มั่นคง ได้แก่ของที่สร้างด้วยอิฐ ปูน หรือโลหะ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร เป็นต้น

ถีนะ ความหดหู่, ความท้อแท้ใจ

ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม, ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม, ความง่วงเหงาซึมเซา (ข้อ ๓ ในนิวรณ์ ๕)

ถึงที่สุดเพท เรียนจบไตรเพท

ถือ (ในคำว่า การให้ถือเสนาสนะ) รับแจก, รับมอบ, ถือสิทธิ์ครอบครอง

ถือบวช ถือการเว้นต่าง ๆ ตามข้อกำหนดทางศาสนา

ถือบังสุกุล ใช้ผ้าเฉพาะที่ได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อ คือผ้าที่เขาทิ้งแล้วมาทำเครื่องนุ่งห่ม ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย ดู ปังสุกูลิกังคะ

ถุลลโกฏฐิตนิคม นิคมแห่งหนึ่งอยู่ในแคว้นกุรุ

ถุลลัจจัย “ความล่วงละเมิดที่หยาบ”, ชื่ออาบัติหยาบอย่างหนึ่งเป็นความผิดขั้นถัดรองลงมาจากอาบัติสังฆาทิเสส เช่น ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุชักสื่อบัณเฑาะก์ (กะเทย) ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุ นุ่งห่มหนังเสืออย่างเดียรถีย์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ดู อาบัติ

ถูณคาม ตำบลที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบท ด้านทิศตะวันตก เขียนถูนคามก็มี

ถูปารหบุคคล บุคคลผู้ควรแก่สถูป คือ บุคคลที่ควรนำกระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา มี ๔ คือ ๑. พระพุทธเจ้า ๒. พระ ปัจเจกพุทธเจ้า ๓. พระอรหันตสาวก ๔. พระเจ้าจักรพรรดิ

เถยยสังวาส ลักเพศ, มิใช่ภิกษุ แต่ปลอมเพศเป็นภิกษุ (พจนานุกรมเขียนเถยสังวาส, เขียนอย่างบาลีเป็น เถยย- สังวาสก์)

เถระ พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกำหนดว่ามีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป

เถรภูมิ ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป และรู้ปาฏิโมกข์ เป็นต้น

เถรวาท วาทะหรือลัทธิของพระเถระ, นิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวกได้วางหลัก ธรรมวินัยเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งปฐมสังคายนา ได้แก่พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือแพร่หลายในประเทศไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา (อีกนิกายหนึ่ง คือ มหายาน)

เถรานุเถระ “เถระและอนุเถระ”, พระเถระผู้ใหญ่ผู้น้อย

เถรี พระเถระผู้หญิง

ไถ้ ถุงยาวๆ สำหรับใส่เงินหรือสิ่งของ

ไถยจิต จิตคิดจะลัก, จิตคิดขโมย, จิตประกอบด้วยความเป็นขโมย

ทดสอบระบบค้นข้อมูล

3 ความคิดเห็น :

  1. สาธุสาธุสาธุ����พระพุทธศาสนา ในพระธรรม ในพระสงฆ์เเละพุทธบริษัทผู้มีศีลธรรมอันดีที่มีจิตรกุศลธรรมทั้งหลายที่ให้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์รวมถึงพุทธบริษัททั้งหลายให้มีอยู่ใด้เป็นสารณะที่พึ่งทางจิตใจที่ชี้นำตักเตือนสั่งสอนศาสนิกชนทั่วไปไม่ให้เป็นอกุศลกรรมในชีวิตของศาสนิกชนทั่วไปอย่างตัวกระผม
    สารบัญญัติพจนานุกรมที่มีข้อสาระธรรมเเปลประกบประกอบธรรมพระพุทธศาสนาเพื่อไม่ให้เสียหายในทำความเข้าใจในนัยธรรมต่างๆ ที่มุ่งเเสดงความให้คนทั่วไปเเบบชาวบ้านเเบบกระผมที่บางครั้งไม่เข้าใจภาษา
    บาลีเเละคำราชาศัพย์หรือสิ่งที่มีอยู่ในความหมายปกติทั้งหมด
    เเละพระธรรมคุณทั้งหลายที่มีมากมายที่ให้ชีวิตฯคน นุษย์อยู่ในสังคร่วมกันด้วยดีทั้งตนเราเเละผู้อื่น เเละรักษาชาติภพนี้ดี รักษาธรรมทั้งหลายด้วยดี รักษาโลกกับธรรมด้วยดี รักษาสัตว์ทั้งหลายด้วยดีในเขตอภัยธาร รักษาสิ่งที่ทำให้ชาติภพอยู่ร่วมกันด้วยดี ทำให้การปฏิบัติทางกายเจริญดีทางวาจาดีสุจริตทางจิตรกุศลดีในตนเราในโลกนี้เเละโลกหน้า จรสถึงตรัสรู้ธรรม ถึงชั้นพระศาสดาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ปรินิพพานหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏจักรเเห่งกรรมจิตรอันบริสุทธิ์
    นิรันดร์กาล

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สาธุกาลมงคลบรรจบพบสวัสดิ์ธรรมสติ

      ลบ