Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๑-๙ หน้า ๔๐๗ - ๔๕๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๙ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ อวิชชาเป็นกาก
บุคคลทิ้งอวิชชาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาของ
ปัญญาพละ เพราะเหตุนั้น ปัญญาพละจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความประมาทเป็นกาก
บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสติสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น สติสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อวิชชาเป็นกาก บุคคล
ทิ้งอวิชชาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเลือกเฟ้นของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความเกียจคร้านเป็นกาก
บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของวิริย-
สัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น วิริยสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความเร่าร้อนเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความเร่าร้อนอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความแผ่ซ่านของปีติสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ปีติสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความชั่วหยาบเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความชั่วหยาบอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความสงบของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธิสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การไม่พิจารณาเป็นกาก
บุคคลทิ้งการไม่พิจารณาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการพิจารณาของอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาทิฏฐิ
อันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเห็นของสัมมาทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น สัมมาทิฏฐิ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก
บุคคลทิ้งมิจฉาสังกัปปะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตรึกตรองของสัมมา-
สังกัปปะ เพราะเหตุนั้น สัมมาสังกัปปะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มิจฉาวาจาเป็นกาก บุคคลทิ้ง
มิจฉาวาจาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการกำหนดของสัมมาวาจา เพราะเหตุนั้น
สัมมาวาจาจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ มิจฉากัมมันตะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉากัมมันตะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือสมุฏฐานของสัมมากัมมันตะ เพราะ
เหตุนั้น สัมมากัมมันตะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มิจฉาอาชีวะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉาอาชีวะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความผ่องแผ้วของสัมมาอาชีวะ
เพราะเหตุนั้น สัมมาอาชีวะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ มิจฉาวายามะเป็นกาก
บุคคลทิ้งมิจฉาวายามะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของสัมมาวายามะ
เพราะเหตุนั้น สัมมาวายามะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มิจฉาสติเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาสติ
อันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสัมมาสติ เพราะเหตุนั้น สัมมาสติ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉาสมาธิอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสัมมาสมาธิ เพราะ
เหตุนั้น สัมมาสมาธิจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
[๒๔๐] ความใสมีอยู่ ความน่าดื่มมีอยู่ กากก็มีอยู่ ความใสคือความน้อม
ใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความไม่มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส๑ ธรรมรส๒ วิมุตติรส๓
ในสัทธินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม

เชิงอรรถ :
๑ อรรถรส หมายถึงสามัญญผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖)
๒ ธรรมรส หมายถึงมรรค ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖)
๓ วิมุตติรส หมายถึงอมตนิพพาน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยินทรีย์ ความเกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความประมาทเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสตินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ อวิชชาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรสในปัญญินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความไม่
มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัทธาพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความ
เกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความประมาท
เป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสติพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ อุทธัจจะเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธิพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ อวิชชาเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในปัญญาพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความประมาทเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสติสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อวิชชาเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความเกียจคร้านเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความเร่าร้อนเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในปีติสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความชั่วหยาบเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การไม่พิจารณาเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรสในสัมมาทิฏฐินั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาสังกัปปะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มิจฉาวาจาเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาวาจานั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ มิจฉากัมมันตะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมากัมมันตะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มิจฉาอาชีวะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาอาชีวะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ มิจฉาวายามะเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาวายามะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มิจฉาสติเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรสในสัมมาสตินั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาสมาธินั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่า
สัมมาสังกัปปะ ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา ความใสคือสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ ความใสคือ
การประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความใสคือ
ความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความใส
คือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความใสคือความไม่
หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ
ชื่อว่าสมาธิพละ ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
ความใสคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่า
วิริยินทรีย์ ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ ความใสคือการเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์
ความใสที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ความใสที่ชื่อว่าพละ เพราะ
มีสภาวะไม่หวั่นไหว ความใสที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก ความใสที่ชื่อว่า
มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ ความใสที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ความใสที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งไว้ ความใสที่ชื่อว่าอิทธิบาท
เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ ความใสที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ความใส
ที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ความใสที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ความใสที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมี
สภาวะไม่ล่วงเลยกัน ความใสที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม ความใสที่
ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ความใสที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมี
สภาวะเห็น ความใสที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ความใสที่ชื่อว่าวิชชา
เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง ความใสที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะปล่อย ความใสที่ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
ญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด ความใสที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะ
มีสภาวะสงบ ความใสที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ความใสที่ชื่อว่า
มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ความใสที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็น
ที่ประชุม ความใสที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม ความใสที่ชื่อว่าสมาธิ
เพราะมีสภาวะเป็นประธาน ความใสที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ความใส
ที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ความใสที่ชื่อว่าวิมุตติ
เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร ความใสที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุด ฉะนี้แล
มัณฑเปยยกถา จบ
จตุตถภาณวาร จบ
มหาวรรคที่ ๑ จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ญาณกถา ๒. ทิฏฐิกถา
๓. อานาปานัสสติกถา ๔. อินทริยกถา
๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา
๗. กัมมกถา ๘. วิปัลลาสกถา
๙. มัคคกถา ๑๐. มัณฑเปยยกถา

วรรคที่ ๑ นี้เป็นวรรคอันยอดเยี่ยม ไม่มีวรรคอื่นเสมอ ท่านผู้ทรงนิกาย
ตั้งไว้แล้ว ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา
๒. ยุคนัทธวรรค
หมวดว่าด้วยการเจริญธรรมที่เป็นคู่
๑. ยุคนัทธกถา
ว่าด้วยการเจริญธรรมที่เป็นคู่
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ณ ที่นั้น
ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้น
รับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ย่อมทำให้แจ้งอรหัต
ในสำนักของเรา ด้วยมรรคครบทั้ง ๔ ประการ หรือมรรคใดมรรคหนึ่งบรรดามรรค
๔ ประการนี้
มรรค ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า เมื่อเธอเจริญ
วิปัสสนามีสมถะนำหน้า มรรคย่อมเกิด เธอปฏิบัติ๑ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
๒. ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนา
นำหน้า มรรคย่อมเกิด เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไป
๓. ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ปฏิบัติ” แปลจากคำว่า “อาเสวติ” ซึ่งมีความหมายหลายนัยแล้วแต่บริบท (ดูข้อ ๒ ถัดไป) ในที่นี้
ที่ใช้คำว่า “ปฏิบัติ” เพื่อให้เป็นคำกลางของความหมายเหล่านั้น ในกรณีอื่นจะใช้คำว่า “เสพ” ก็ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
มรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้น ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
๔. ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็เกิดแก่เธอ เธอปฏิบัติ
เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
ผู้ใดผู้หนึ่งก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ย่อมทำให้แจ้งอรหัตในสำนัก
ของเรา ด้วยมรรคครบทั้ง ๔ ประการ หรือมรรคใดมรรคหนึ่งบรรดามรรค ๔
ประการนี้”
๑. สุตตันตนิทเทส
แสดงพระสูตร
[๒] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ เป็น
สมาธิ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดย
ความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะ
จึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญวิปัสสนา
มีสมถะนำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
คือ มรรคชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะ
กำหนด ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิด
มรรคชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา-
วายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมี
สภาวะตั้งมั่น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมเกิด
มรรคย่อมเกิดอย่างนี้
คำว่า เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น อธิบายว่า ภิกษุปฏิบัติ
อย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อเห็น ชื่อว่าปฏิบัติ
เมื่อพิจารณา ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา
ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าปฏิบัติ
เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่
ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อละ
ธรรมที่ควรละ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าปฏิบัติ ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภิกษุเจริญอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อเห็น ชื่อว่าเจริญ
เมื่อพิจารณา ชื่อว่าเจริญ เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าเจริญ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา
ชื่อว่าเจริญ เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าเจริญ
เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าเจริญ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อละธรรมที่ควรละ
ชื่อว่าเจริญ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าเจริญ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าเจริญ ภิกษุเจริญอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
คำว่า ทำให้มาก อธิบายว่า ภิกษุทำให้มากอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อเห็น
ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อพิจารณา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าทำให้มาก
เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าทำให้
มาก เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ชัด
ด้วยปัญญา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อ
กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าทำให้มาก
เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าทำให้มาก ภิกษุทำให้มากอย่างนี้
คำว่า เมื่อเธอปฏิบัติมรรคนั้น ฯลฯ อนุสัยย่อมสิ้นไป อธิบายว่า ภิกษุ
ย่อมละสังโยชน์ได้อย่างไร อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างไร
คือ ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ส่วนหยาบ ๆ
อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนหยาบ ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
สกทาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ
อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
อนาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา
อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตต-
มรรค ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
[๓] ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท
เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลก-
สัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้พิจารณา
เห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมาธิ ฯลฯ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีความหมาย
ว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดย
ความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร
คือ มรรคชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ฯลฯ มรรคชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะ
ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้
คำว่า เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น อธิบายว่า ภิกษุปฏิบัติ
อย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ ฯลฯ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าปฏิบัติ ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภิกษุเจริญอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าเจริญ ภิกษุเจริญอย่างนี้
คำว่า ทำให้มาก อธิบายว่า ภิกษุทำให้มากอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ เมื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าทำให้มาก ภิกษุทำให้มากอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
คำว่า เมื่อเธอปฏิบัติมรรคนั้น ฯลฯ อนุสัยย่อมสิ้นไป อธิบายว่า ภิกษุ
ย่อมละสังโยชน์ได้อย่างไร อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างไร
คือ ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ
อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนหยาบ ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
สกทาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ
อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนละเอียด ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
อนาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา
อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตต-
มรรค ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าย่อม
เจริญวิปัสสนา มีสมถะนำหน้าอย่างนี้
[๔] ภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่า
วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมี
สภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่า
วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะ
มีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่
เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็น
สมาธิ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อ
ว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละ
สังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร
ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชรา
และมรณะโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชราและ
มรณะโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชราและมรณะ
โดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็น
อารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ วิปัสสนาจึงมีก่อน
สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะมี
วิปัสสนานำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญ
สมถะมีวิปัสสนานำหน้าอย่างนี้
[๕] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ อย่าง๑ ได้แก่

เชิงอรรถ :
๑ อาการ ๑๖ อย่าง หมายเอาสภาวะที่เป็นคู่กันด้วย (ขุ.ป.อ. ๒/๕/๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส

๑. ด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ ๒. ด้วยมีสภาวะเป็นโคจร
๓. ด้วยมีสภาวะละ ๔. ด้วยมีสภาวะสละ
๕. ด้วยมีสภาวะออก ๖. ด้วยมีสภาวะหลีกออก
๗. ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด ๘. ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต
๙. ด้วยมีสภาวะหลุดพ้น ๑๐. ด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ
๑๑. ด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม ๑๒. ด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต
๑๓. ด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ ๑๔. ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ
๑๕. ด้วยมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ๑๖. ด้วยมีสภาวะเป็นคู่กันไม่ล่วง
เลยกัน

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์ เมื่อภิกษุนั้นละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ ดังนี้ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็น
อารมณ์”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญ
สมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์อย่างนี้
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นโคจร เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นโคจร ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญ
สมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นโคจร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะละ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและขันธ์ จึงมีสมาธิคือความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสที่ประกอบด้วย
อวิชชาและขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลย
กันด้วยมีสภาวะละ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา
คู่กันไปด้วยมีสภาวะละ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะสละ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุสละกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและขันธ์ จึงมีสมาธิคือความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสที่ประกอบ
ด้วยอวิชชาและขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร
ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วง
เลยกันด้วยมีสภาวะสละ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะสละ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะออก เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมีสมาธิ
คือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจาก
กิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะออก ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะออก”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลีกออก เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุหลีกออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมี
สมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีก
ออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
อย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะหลีกออก ดังนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลีกออก”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด เป็น
อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่
ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะ
เป็นธรรมละเอียด ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา
คู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต เป็น
อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะ
เป็นธรรมประณีต ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา
คู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลุดพ้น เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน หลุดพ้นจากกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น หลุดพ้นจากอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าเจโตวิมุตติ เพราะมีสภาวะปราศจากราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะมีสภาวะ
ปราศจากอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะหลุดพ้น ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลุดพ้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกัน
ด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมีสมาธิ
คือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจาก
กิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็น
คู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ไม่มีนิมิตด้วยนิมิตทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีนิมิตด้วยนิมิตทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลย
กันด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ไม่มีปณิธิด้วยปณิธิทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีปณิธิด้วยปณิธิทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกัน
ด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ว่างจากอภินิเวสทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ว่างจากอภินิเวสทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะ
เป็นสุญญตะ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ฯลฯ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญ
สมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
อย่างนี้
สุตตันตนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๒. ธัมมุทธัจจวารนิทเทส
๒. ธัมมุทธัจจวารนิทเทส
แสดงอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้
[๖] (ภิกษุ) มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาส
ว่า “โอภาสเป็นธรรม” เพราะนึกถึงโอภาสนั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมี
ใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง
ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดย
ความเป็นอนัตตาตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะ
ในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
มรรคก็เกิดแก่เธอ มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อม
ละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณ (ความรู้) ย่อมเกิดขึ้น ปีติ (ความอิ่มใจ)
ย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) ย่อมเกิดขึ้น สุข (ความสุข) ย่อมเกิดขึ้น
อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะ (ความเพียรที่พอดี) ย่อมเกิดขึ้น
อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า) ย่อมเกิดขึ้น อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) ย่อมเกิดขึ้น
นิกันติ (ความติดใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า “นิกันติเป็นธรรม” เพราะนึกถึง
นิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้อย่างนี้ ย่อม
ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดย
ความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้
ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็
เกิดแก่เธอ มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละ
สังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
โอภาสย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ญาณย่อมเกิดขึ้น ปีติย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้น
สุขย่อมเกิดขึ้น อธิโมกข์ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะย่อมเกิดขึ้น อุปัฏฐานย่อมเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา
อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า “นิกันติเป็นธรรม”
เพราะนึกถึงนิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้
ย่อมไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นอนัตตาตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความ
ปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นทุกข์
ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ฯลฯ
ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
เมื่อมนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์
ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา เมื่อมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความไม่เที่ยง
ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและ
มรณะโดยความเป็นอนัตตา โอภาสย่อมเกิดขึ้น ญาณย่อมเกิดขึ้น ปีติย่อมเกิดขึ้น
ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้น สุขย่อมเกิดขึ้น อธิโมกข์ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะย่อมเกิดขึ้น
อุปัฏฐานย่อมเกิดขึ้น อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า
“นิกันติเป็นธรรม” เพราะนึกถึงนิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูก
อุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความเป็นอนัตตาตาม
ความเป็นจริง ไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง
ไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ โดยความไม่เที่ยง มรรคก็เกิดแก่เธอ มรรค
ย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ภิกษุละสังโยชน์ได้อย่างนี้
อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้อย่างนี้
[๗] จิตย่อมกวัดแกว่ง หวั่นไหว
เพราะโอภาส เพราะญาณ เพราะปีติ
เพราะปัสสัทธิ เพราะสุข
เพราะอธิโมกข์ เพราะปัคคหะ
เพราะอุปัฏฐาน เพราะอุเบกขา
เพราะน้อมนึกถึงอุเบกขาและนิกันติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา
ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้
ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาด
ในอุทธัจจะในธรรม
และย่อมไม่ถึงความหลงใหล
จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมเคลื่อน
จิตกวัดแกว่ง ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมเสื่อมไป
จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมไม่เสื่อมไป
จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมไม่เคลื่อน
ด้วยฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมรู้ชัดความที่จิตกวัดแกว่ง ฟุ้งซ่าน ถูก
โอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการนี้ ฉะนี้แล
(ธัมมุทธัจจวารนิทเทส จบ)
ยุคนัทธกถา จบ
๒. สัจจกถา
ว่าด้วยสัจจะ
[๘] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น๑ ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้
เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
สัจจะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ สูตรข้างต้น ในที่นี้หมายถึงยุคนัทธกถา ข้อที่ ๑ หน้า ๔๑๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๑. สัจจะว่า นี้ทุกข์ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
๒. สัจจะว่า นี้ทุกขสมุทัย เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
๓. สัจจะว่า นี้ทุกขนิโรธ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
๔. สัจจะว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้แล เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๑
ทุกข์ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ได้แก่
๑. สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ๒. สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์
๓. สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ ๔. สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์
สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ทุกข์ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้
สมุทัย ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด
ไม่เป็นอย่างอื่น ได้แก่
๑. สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย
๓. สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย ๔. สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย
สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็น
อย่างอื่น สมุทัย ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้
นิโรธ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด
ไม่เป็นอย่างอื่น ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๑. สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ ๒. สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ
๓. สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ ๔. สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ
สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็น
อย่างอื่น นิโรธ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้
มรรค ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ได้แก่
๑. สภาวะที่นำออกแห่งมรรค ๒. สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค
๓. สภาวะที่เห็นแห่งมรรค ๔. สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค
สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
มรรค ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้
[๙] สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการเท่าไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. ด้วยสภาวะเป็นของแท้ ๒. ด้วยสภาวะเป็นอนัตตา
๓. ด้วยสภาวะเป็นของจริง ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับอาการ ๔ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์
เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว
ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้
ด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา เป็น
อย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา
ด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นอนัตตา
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นอนัตตา
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นอนัตตา
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นอนัตตา
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นอนัตตา ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง เป็น
อย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง
ด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของจริง
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของจริง
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของจริง
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของจริง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของจริง ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้
แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง เป็นอย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยอาการ
๔ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะรู้แจ้ง
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะรู้แจ้ง
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะรู้แจ้ง
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะรู้แจ้ง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะรู้แจ้ง ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
[๑๐] สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว เป็นอย่างไร คือ
สัจจะใดไม่เที่ยง สัจจะนั้นเป็นทุกข์ สัจจะใดเป็นทุกข์ สัจจะนั้นไม่เที่ยง
สัจจะใดไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ สัจจะนั้นเป็นอนัตตา
สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา สัจจะนั้นเป็นของแท้
สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และเป็นของแท้ สัจจะนั้นเป็นของจริง
สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของแท้ และเป็นของจริง
สัจจะนั้นท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้น
เป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น
สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการเท่าไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการ ๙ อย่าง ได้แก่
๑. ด้วยสภาวะเป็นของแท้ ๒. ด้วยสภาวะเป็นอนัตตา
๓. ด้วยสภาวะเป็นของจริง ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๕. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
๖. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
๗. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรละ
๘. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรเจริญ
๙. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับอาการ ๙ อย่างนี้ สัจจะใดท่าน
สงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะที่
เป็นสภาวะเดียวด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ เป็น
อย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้
ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
๕. สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา มีสภาวะเป็นของแท้
๖. สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งปริญญา มีสภาวะเป็นของแท้
๗. สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ มีสภาวะเป็นของแท้
๘. สภาวะที่ควรเจริญแห่งภาวนา มีสภาวะเป็นของแท้
๙. สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีสภาวะเป็นของแท้
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้
แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้
แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา ...
พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง ... สัจจะ ๔ มีการรู้แจังด้วยญาณเดียวพร้อม
ด้วยสภาวะรู้แจ้ง เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วย
อาการ ๙ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะรู้แจ้ง
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะรู้แจ้ง
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะรู้แจ้ง
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะรู้แจ้ง
๕. สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา มีสภาวะรู้แจ้ง
๖. สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งปริญญา มีสภาวะรู้แจ้ง
๗. สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ มีสภาวะรู้แจ้ง
๘. สภาวะที่ควรเจริญแห่งภาวนา มีสภาวะรู้แจ้ง
๙. สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีสภาวะรู้แจ้ง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะรู้แจ้ง ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
[๑๑] สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการเท่าไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียวพร้อมด้วยอาการ ๑๒ อย่าง ได้แก่


๑. ด้วยสภาวะเป็นของแท้ ๒. ด้วยสภาวะเป็นอนัตตา
๓. ด้วยสภาวะเป็นของจริง ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง
๕. ด้วยสภาวะเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ๖. ด้วยสภาวะเป็นเครื่องกำหนดรู้
๗. ด้วยสภาวะเป็นธรรม ๘. ด้วยสภาวะเป็นเหมือนอย่างนั้น
๙. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่รู้แล้ว ๑๐. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควร
ทำให้แจ้ง
๑๑. ด้วยสภาวะถูกต้อง ๑๒. ด้วยสภาวะตรัสรู้

สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับอาการ ๑๒ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์
เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะ
เดียวด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้
เป็นอย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้
ด้วยอาการ ๑๖ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๒. สภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๓. สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๔. สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๕. สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๖. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๗. สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๘. สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๙. สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๑๐. สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๑๑. สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๑๒. สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๑๓. สภาวะที่นำออกแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
๑๔. สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
๑๕. สภาวะที่เห็นแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
๑๖. สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจร ย่อมรู้
แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้
แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา ฯลฯ
พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง พร้อมด้วยสภาวะเป็น
เครื่องรู้ยิ่ง พร้อมด้วยสภาวะเป็นเครื่องกำหนดรู้ พร้อมด้วยสภาวะเป็นธรรม
พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ พร้อมด้วยสภาวะเป็นธรรมที่รู้แล้ว พร้อมด้วย
สภาวะเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง พร้อมด้วยสภาวะถูกต้อง ด้วยมีสภาวะตรัสรู้
เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะตรัสรู้ ด้วย
อาการ ๑๖ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
๒. สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
๓. สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
๔. สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
๕. สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
๖. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
๗. สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
๘. สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
๙. สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
๑๐. สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
๑๑. สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
๑๒. สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
๑๓. สภาวะที่นำออกแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
๑๔. สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
๑๕. สภาวะที่เห็นแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
๑๖. สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะตรัสรู้ ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจร ย่อมรู้
แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้
แจ้งด้วยญาณเดียว
[๑๒] สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๒ คือ
๑. สังขตลักษณะ (ลักษณะแห่งธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง)
๒. อสังขตลักษณะ (ลักษณะแห่งธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง)
สัจจะมีลักษณะ ๒ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๖ คือ
๑. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเกิดปรากฏ
๒. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเสื่อมปรากฏ
๓. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
๔. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเกิดไม่ปรากฏ
๕. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเสื่อมไม่ปรากฏ
๖. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนไม่ปรากฏ
สัจจะมีลักษณะ ๖ อย่างนี้
สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๑๒ คือ
๑. ทุกขสัจ มีความเกิดปรากฏ
๒. ทุกขสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
๓. ทุกขสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
๔. สมุทยสัจ มีความเกิดปรากฏ
๕. สมุทยสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
๖. สมุทยสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
๗. มัคคสัจ มีความเกิดปรากฏ
๘. มัคคสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
๙. มัคคสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
๑๐. นิโรธสัจ ความเกิดไม่ปรากฏ
๑๑. นิโรธสัจ ความเสื่อมไม่ปรากฏ
๑๒. นิโรธสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนไม่ปรากฏ
สัจจะมีลักษณะ ๑๒ อย่างนี้
สัจจะ ๔ เป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤตเท่าไร
คือ สมุทยสัจเป็นอกุศล มัคคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต ทุกขสัจ
เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัจจะ ๓ นี้ ท่านสงเคราะห์เข้ากับ
สัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๓ ด้วยอำนาจวัตถุ๑(และ) ด้วยปริยาย

เชิงอรรถ :
๑ วัตถุ ในที่นี้หมายถึงกุศล อกุศล อัพยากฤต ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (ขุ.ป.อ. ๒/๑๒/๒๓๒))

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตบาลี
คำว่า พึงมี อธิบายว่า พึงมีได้อย่างไร
คือ ทุกขสัจเป็นอกุศล สมุทยสัจเป็นอกุศล สัจจะ ๒ นี้ท่านสงเคราะห์เข้า
กับสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นอกุศล พึงมีได้
อย่างนี้
ทุกขสัจเป็นกุศล มัคคสัจเป็นกุศล สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๑
สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นกุศล พึงมีได้อย่างนี้
ทุกขสัจเป็นอัพยากฤต นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์เข้ากับ
สัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นอัพยากฤต
พึงมีได้อย่างนี้
สัจจะ ๓ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ
๓ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้
ปฐมสุตตันตนิทเทส จบ
๒. ทุติยสุตตันตบาลี
พระบาลีแห่งสูตรที่ ๒
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ก่อนตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความ
คิดดังนี้ว่า “อะไรหนอแลเป็นคุณ๑แห่งรูป อะไรเป็นโทษ๒แห่งรูป อะไรเป็นเครื่องสลัด
ออกจากรูป อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัด
ออกจากเวทนา อะไรเป็นคุณแห่งสัญญา อะไรเป็นโทษแห่งสัญญา อะไรเป็นเครื่อง
สลัดออกจากสัญญา อะไรเป็นคุณแห่งสังขาร อะไรเป็นโทษแห่งสังขาร อะไรเป็น
เครื่องสลัดออกจากสังขาร อะไรเป็นคุณแห่งวิญญาณ อะไรเป็นโทษแห่งวิญญาณ
อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ” เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้อีกว่า “สุขโสมนัส
ที่อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๓

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูเชิงอรรถข้อ ๘/๑๕ ในสุตมยญาณนิทเทสในเล่มนี้
๓ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๔/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ในรูป นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากรูป สุขโสมนัสที่อาศัยเวทนา ฯลฯ ที่อาศัยสัญญา
ฯลฯ ที่อาศัยสังขาร ฯลฯ สุขโสมนัสที่อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ
วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณ
เรายังไม่รู้ทั่วถึงคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัด
ออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ โดยความเป็นเครื่องสลัดออกนี้ ตามความเป็นจริง
เพียงใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น แต่เมื่อใด เราได้รู้ทั่วถึงคุณโดยความเป็นคุณ โทษ
โดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ โดยความเป็นเครื่อง
สลัดออกนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงจะยินยันว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิ--
ญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า
“เจโตวิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ทุติยสุตตันตบาลี จบ
๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๒
[๑๔] การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยรูปเกิดขึ้นว่า “นี้เป็นคุณแห่งรูป”
เป็นสมุทยสัจ การรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้รูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดาว่า “นี้เป็นโทษแห่งรูป” เป็นทุกขสัจ การรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในรูปว่า “นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากรูป” เป็นนิโรธสัจ การรู้แจ้งด้วยการเจริญทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ
อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ในฐานะทั้ง ๓ นี้เป็นมัคคสัจ

เชิงอรรถ :
๑ ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรค ผล กิเลส
ที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์) ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ (องฺ.ติก.อ.
๒/๑๐๔/๑๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยเวทนา ฯลฯ ที่อาศัยสัญญา ฯลฯ
ที่อาศัยสังขาร ฯลฯ การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยวิญญาณเกิดขึ้นว่า “นี้
เป็นคุณแห่งวิญญาณ” เป็นสมุทยสัจ การรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้วิญญาณที่ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดาว่า “นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ” เป็นทุกขสัจ
การรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ
ในวิญญาณว่า “นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ” เป็นนิโรธสัจ การรู้แจ้งด้วย
การเจริญทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ในฐานะ
ทั้ง ๓ นี้เป็นมัคคสัจ
[๑๕] คำว่า สัจจะ อธิบายว่า ชื่อว่าสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ ชื่อว่าสัจจะด้วยอาการ ๓ อย่าง ได้แก่
๑. ด้วยมีสภาวะแสวงหา ๒. ด้วยมีสภาวะกำหนด
๓. ด้วยมีสภาวะรู้แจ้ง
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหา เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ชราและมรณะมีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมี
สภาวะกำหนดอย่างนี้ว่า “ชราและมรณะมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นเหตุเกิด มีชาติ
เป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้
ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และข้อ
ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ชาติมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดน
เกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ
ความดับแห่งชาติ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ภพมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
อย่างนี้ว่า “ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นเหตุเกิด มีอุปาทานเป็นกำเนิด มี
อุปาทานเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งภพ
เหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งภพ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “อุปาทานมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะ
กำหนดอย่างนี้ว่า “อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็น
กำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้
ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่งอุปาทาน และข้อปฏิบัติที่ให้
ถึงความดับแห่งอุปาทาน”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ตัณหามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มี
เวทนาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งตัณหา
เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งตัณหา”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “เวทนามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มี
ผัสสะเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งเวทนา
เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ผัสสะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็น
กำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณ
รู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความ
ดับแห่งผัสสะ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “สฬายตนะมีอะไรเป็นเหตุ มี
อะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
สภาวะกำหนดอย่างนี้ว่า “สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มี
นามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า
“ญาณรู้ชัดซึ่งสฬายตนะ เหตุเกิดแห่งสฬายตนะ ความดับแห่งสฬายตนะ และข้อ
ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “นามรูปมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด
มีวิญญาณเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่ง
นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งนามรูป และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับ
แห่งนามรูป”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “วิญญาณมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะ
กำหนดอย่างนี้ว่า “วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขารเป็น
กำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัด
ซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึง
ความดับแห่งวิญญาณ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “สังขารมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มี
อวิชชาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งสังขาร
เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร”
[๑๖] ชราและมรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นสมุทยสัจ การสลัดชรามรณะและ
ชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชรามรณะและชาติเป็นมัคคสัจ
ชาติเป็นทุกขสัจ ภพเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากชาติและภพแม้ทั้งสอง
เป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชาติและภพเป็นมัคคสัจ
ภพเป็นทุกขสัจ อุปาทานเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากภพและอุปาทาน
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับภพและอุปาทานเป็นมัคคสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
อุปาทานเป็นทุกขสัจ ตัณหาเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากอุปาทานและ
ตัณหาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งอุปาทานและตัณหาเป็นมัคคสัจ
ตัณหาเป็นทุกขสัจ เวทนาเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากตัณหาและเวทนา
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งตัณหาและเวทนาเป็นมัคคสัจ
เวทนาเป็นทุกขสัจ ผัสสะเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากเวทนาและผัสสะ
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งเวทนาและผัสสะเป็นมัคคสัจ
ผัสสะเป็นทุกขสัจ สฬายตนะเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากผัสสะและสฬายตนะ
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งผัสสะและสฬายตนะเป็นมัคคสัจ
สฬายตนะเป็นทุกขสัจ นามรูปเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากสฬายตนะ
และนามรูปแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งสฬายตนะและนามรูปเป็น
มัคคสัจ
นามรูปเป็นทุกขสัจ วิญญาณเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากนามรูปและ
วิญญาณแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งนามรูปและวิญญาณเป็นมัคคสัจ
วิญญาณเป็นทุกขสัจ สังขารเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากวิญญาณและ
สังขารแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งวิญญาณและสังขารเป็นมัคคสัจ
สังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากสังขารและอวิชชา
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งสังขารและอวิชชาเป็นมัคคสัจ
ชราและมรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี การสลัด
ออกจากชรามรณะและชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชรามรณะ
และชาติเป็นมัคคสัจ
ชาติเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี ภพเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี
การสลัดออกจากชาติและภพแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชาติและ
ภพเป็นมัคคสัจ ฯลฯ สังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี
การสลัดสังขารและอวิชชาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งสังขารและ
อวิชชาเป็นมัคคสัจ ฉะนี้แล
ทุติยสุตตันตนิทเทส จบ
สัจจกถา จบ
ภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
๓. โพชฌังคกถา
ว่าด้วยโพชฌงค์
[๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเลือกเฟ้น
ธรรม)
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร)
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกาย
สงบใจ)
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็น
กลาง)

ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล
คำว่า โพชฌงค์ อธิบายว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไปในความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้พร้อม
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้
ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ตรัสรู้พร้อม (๑)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้ตาม ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้พร้อม (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้
ตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะให้ตรัสรู้พร้อม (๓)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็น
ไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่าย
ตรัสรู้พร้อม (๔)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุให้ได้ความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะปลูกความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะบำรุงความตรัสรู้
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้
ถึงพร้อมความตรัสรู้ (๕)
มูลมูลกาทิทสกะ
ว่าด้วยหมวด ๑๐ แห่งธรรมที่เป็นมูลมีสภาวะเป็นมูลเป็นต้น
[๑๘] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็นมูล
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าใน
ธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล (๑)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็นเหตุ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อ
ว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่า
โพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ (๒)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็น
ปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้า
ในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย
ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย (๓)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความหมดจด
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าใน
ความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์
แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด (๔)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความไม่มีโทษ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
มีสภาวะเต็มรอบในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในความ
ไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของ
บุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดเนกขัมมะ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
เต็มรอบในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในเนกขัมมะ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้
ถึงความแตกฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญ
ในความแตกฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญใน
ความแตกฉานในเนกขัมมะ (๖)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความหลุดพ้น
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าใน
ความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์
แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น (๗)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความไม่มี
อาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความไม่มีอาสวะ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะแก่กล้าในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความ
ไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ
ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ (๘)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบในวิเวก
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
แตกฉานในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในวิเวก ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในวิเวก ชื่อว่า
โพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในวิเวก (๙)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะดำเนินไป
ในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบใน
ความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะแตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความ
แตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความ
แตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความ
แตกฉานในความสละ (๑๐)
[๑๙] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นปัจจัย ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีโทษ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่หลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สละ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในความ
หมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในความไม่มีโทษ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะดำเนินไปในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปใน
ความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในความสละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะกำหนดธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะกำหนดความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่เป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
บริวารแห่งความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เต็มรอบแห่งธรรมที่
เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะเต็มรอบในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่แก่กล้าในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่แก่กล้าในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะความแตกฉานใน
ธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะความแตกฉานในความสละ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้ถึงความแตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เจริญความชำนาญในความแตกฉานในความสละ
(ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตก
ฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแม้ของบุคคลผู้ถึง
ความชำนาญในความแตกฉานในความสละ)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ควรกำหนด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นบริวาร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เต็มรอบ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่กระจัดกระจายไป ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่
ขุ่นมัว ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหว ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจความปรากฏแห่งจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
เป็นโคจร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่สละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ออก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่หลีกไป ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ละเอียด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประณีต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หลุดพ้น ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
เครื่องข้าม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีนิมิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีที่ตั้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ว่าง ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
ไม่ล่วงเลยกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งธรรมที่เป็นคู่กัน ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะเครื่องนำออก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
ใหญ่
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่พิจารณาเห็นแห่งวิปัสสนา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ไม่ล่วงเลยกันแห่งธรรมที่เป็นคู่กัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
สมาทานแห่งสิกขา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นโคจรแห่งอารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองจิตที่ย่อท้อ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่คุมจิตอัน
บริสุทธิ์จากความย่อท้อ และความฟุ้งซ่านทั้ง ๒ ประการ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่บรรลุคุณวิเศษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้ง
อริยมรรคอันยอดเยี่ยม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้สัจจะ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหว เพราะความไม่มีศรัทธาแห่ง
สัทธาพละ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหว เพราะอวิชชา
แห่งปัญญาพละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่พิจารณาแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นำ
ออกแห่งโพชฌงค์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สำเร็จแห่ง
อิทธิบาท ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นของแท้แห่งสัจจะ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่สงบระงับแห่งมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
ทำให้แจ้งแห่งผล
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรึกตรองแห่งวิตก ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรวจตราแห่งวิจาร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่แผ่ไป
แห่งปีติ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไหลมาแห่งสุข ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่นึก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่รู้ชัด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่จำได้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่พิจารณาแห่งปริญญา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สละแห่งปหานะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งภาวนา ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุ
ทั้งหลาย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ต่อแห่งอายตนะทั้งหลาย ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่ไม่มีระหว่างคั่นแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ออกแห่งจิต ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะหลีกไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
เหตุแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นปัจจัยแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นภูมิ
แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอารมณ์แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นโคจรแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เที่ยวไป
แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่นำไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นำออกแห่งจิต
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สลัดออกแห่งจิต
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นึกในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้งในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้ชัดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่จำได้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่เนื่องในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่แล่นไปใน
จิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ผ่องใสในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หลุดพ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นว่า “นี้ละเอียด” ในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เป็นดุจญาณในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เป็นที่ตั้งในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งขึ้นเนือง ๆ ในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อบรมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปรารภเสมอดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่กำหนดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นบริวารในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ตรัสรู้สภาวะที่เต็มรอบในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ประชุมลงในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
อธิษฐานในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปฏิบัติใน
จิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เจริญในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้มากในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รวมดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หลุดพ้นด้วยดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ให้ตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
ให้ตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้
ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้
ตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นไป
ในฝ่ายตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นไป
ในฝ่ายตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
เป็นไปในฝ่ายให้ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่สว่างในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่สว่างขึ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
สว่างเนือง ๆ ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
สว่างเฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สว่าง
พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคให้สว่าง ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
อริยมรรคทำให้กิเลสเร่าร้อน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
มลทิน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคปราศจากมลทิน ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคหมดมลทิน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะแห่งความสงบ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคทำให้กิเลสระงับ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
ดำเนินไปในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความคลายกำหนัด
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความคลายกำหนัด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความดับ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปใน
ความดับ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่ง
ความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความหลุดพ้น
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นบาทแห่งฉันทะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่สำเร็จแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่น้อมไปแห่งฉันทะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้แห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่ง
ฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งฉันทะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิริยะ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะแห่งจิตตะ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
บาทแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นประธานแห่งวิมังสา ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สำเร็จแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่น้อมไปแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิมังสา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งวิมังสา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งสมุทัย
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่พัวพัน
แห่งสมุทัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งนิโรธ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
อสังขตะแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
นำออกแห่งมรรค ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ฯลฯ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งมรรค ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นของแท้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นอนัตตา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นของจริง ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้ยิ่ง ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่กำหนดรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นธรรม ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นธาตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่ถูกต้อง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อพยาบาท
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อาโลกสัญญา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อวิกเขปะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธัมมววัตถาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ญาณ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปามุชชะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อรหัตตมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อรหัตตผลสมาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัทธินทรีย์ด้วยสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปัญญินทรีย์ด้วยสภาวะเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สัทธาพละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้ปัญญาพละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สติสัมโพชฌงค์ด้วยสภาวะตั้งมั่น ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ด้วยสภาวะพิจารณา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัมมาทิฏฐิด้วยสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สัมมาสมาธิด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อินทรีย์
ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้พละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหว ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นำออก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้มรรคด้วย
สภาวะเป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สติปัฏฐานด้วยสภาวะตั้งมั่น ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัมมัปปธานด้วยสภาวะตั้งไว้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
อิทธิบาทด้วยสภาวะให้สำเร็จ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัจจะด้วยสภาวะเป็น
ของแท้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมถะด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้วิปัสสนาด้วยสภาวะพิจารณาเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมถะ
และวิปัสสนาด้วยสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธรรมที่
เป็นคู่กันด้วยสภาวะไม่ล่วงเลยกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สีลวิสุทธิด้วยสภาวะ
สำรวม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้จิตตวิสุทธิด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้ทิฏฐิวิสุทธิด้วยสภาวะเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิโมกข์ด้วยสภาวะ
หลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิชชาด้วยสภาวะรู้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้วิมุตติด้วยสภาวะสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ญาณในความสิ้นไปด้วย
สภาวะตัดขาด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อนุปปาทญาณด้วยสภาวะสงบระงับ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ฉันทะด้วยสภาวะเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้มนสิการด้วยสภาวะเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ผัสสะด้วย
สภาวะเป็นที่รวม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เวทนาด้วยสภาวะเป็นที่ประชุม ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมาธิด้วยสภาวะเป็นประธาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สติ
ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปัญญาด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่ง
กว่าธรรมนั้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิมุตติด้วยสภาวะเป็นแก่นสาร ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพานด้วยสภาวะเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
[๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ผมนั้นประสงค์จะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์
ใด ๆ บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ผมก็อยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ
ประสงค์จะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ ในเวลาเย็นด้วยโพชฌงค์ใด ๆ ผมก็อยู่ในเวลา
เย็นด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ สติสัมโพชฌงค์ของผม
ก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด
สติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป
ก็รู้ชัดว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้” ฯลฯ ท่านทั้งหลาย
ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่า
หาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป
ก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”
ท่านทั้งหลาย เปรียบเหมือนตู้เก็บผ้าของพระราชาหรือของมหาอำมาตย์ของ
พระราชา เต็มด้วยผ้าสีต่าง ๆ พระราชาหรือมหาอำมาตย์นั้นประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใด
ในเวลาเช้า ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแหละในเวลาเช้า ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเที่ยง ฯลฯ
ในเวลาเย็น ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแหละในเวลาเย็น ฉันใด ผมก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ประสงค์จะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์ใด ๆ บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ก็อยู่
ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ ในเวลาเย็นด้วย
โพชฌงค์ใด ๆ ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ สติ-
สัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผม
กำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้สติ-
สัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปก็รู้ว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ฯลฯ ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่า
หาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไปย่อมรู้ชัดอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ก็รู้ชัด
ว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”
สุตตันตนิทเทส
แสดงพระสูตร
[๒๑] โพชฌงค์ ในข้อว่า “ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” มีอยู่อย่างไร
คือ นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่
ดังนี้” ก็มีเพียงนั้น เหมือนประทีปน้ำมันกำลังสว่างอยู่ เปลวไฟมีเพียงใด แสงก็
มีเพียงนั้น แสงมีเพียงใด เปลวไฟก็มีเพียงนั้น นิโรธมีอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า
“ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น
โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ดังนี้” มีอยู่
อย่างไร
คือ กิเลสทั้งหลาย ได้แก่ กิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวงเทียว สังขารที่ให้เกิดในภพ
ใหม่มีประมาณ นิโรธชื่อว่าหาประมาณมิได้ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว เพราะมี
สภาวะเป็นอสังขตธรรม นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์
ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น
โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้วนั้น ดังนี้”
มีอยู่อย่างไร
คือ กิเลสทั้งหลาย ได้แก่ กิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวงเทียว สังขารที่ให้เกิดใน
ภพใหม่ไม่เสมอ นิโรธมีความเสมอเป็นธรรมดา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด
เพราะมีสภาวะเป็นธรรมประณีต นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “สติ-
สัมโพชฌงค์ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น
เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้า
สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไป ก็รู้ชัดว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”
เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๗ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น