Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๒-๙ หน้า ๔๗๑ - ๕๒๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒-๙ สุตตันตปิฎกที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๑. ปทุมเกสริยวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
และได้ตั้งหม้อน้ำสำหรับฉันไว้ถวายแด่พระองค์ผู้คงที่
[๔๘] พระพุทธเจ้าผู้มหามุนีพระนามว่าปิยทัสสี
ทรงพยากรณ์เรื่องนั้นแก่ข้าพเจ้าว่า
จักมีปราสาท ๗ ชั้น สูงพันชั่วลูกธนู
สะพรั่งไปด้วยธง พราวไปด้วยแก้วมณีสีเขียว
[๔๙] ปราสาทและแก้วนับประมาณมิได้ จักบังเกิดขึ้น
ครั้นข้าพเจ้าถวายทานคือการชำระถ้ำแล้ว
บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอด ๑ กัป
[๕๐] ในกัปที่ ๓๒ นับจากกัปนี้ไป
ได้เป็นกษัตริย์ผู้จักรพรรดิพระนามว่าสุพุทธะ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก
[๕๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปัพภารทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปัพภารทายกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ปทุมเกสริยวรรคที่ ๓๑ จบบริบูรณ์
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปทุมเกสริยเถราปทาน ๒. สัพพคันธิยเถราปทาน
๓. ปรมันนทายกเถราปทาน ๔. ธัมมสัญญกเถราปทาน
๕. ผลทายกเถราปทาน ๖. สัมปสาทิกเถราปทาน
๗. อารามทายกเถราปทาน ๘. อนุเลปทายกเถราปทาน
๙. พุทธสัญญิกเถราปทาน ๑๐. ปัพภารทายกเถราปทาน

และท่านกล่าวคาถาไว้ ๕๑ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๒. อารักขาทายกวรรค] ๒. โภชนทายกเถราปทาน
๓๒. อารักขทายกวรรค
หมวดว่าด้วยพระอารักขทายกะเป็นต้น
๑. อารักขทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอารักขทายกเถระ
(พระอารักขทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้าให้สร้างรั้ว และได้ถวายอารักขา
แด่พระมุนีพระนามว่าธัมมทัสสี
ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์ ผู้คงที่
[๒] ในกัปที่ ๑๑๘ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงได้บรรลุความสิ้นอาสวะ เพราะผลกรรมวิเศษนั้น
[๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอารักขทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อารักขทายกเถราปทานที่ ๑ จบ
๒. โภชนทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโภชนทายกเถระ
(พระโภชนทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔] พระชินเจ้าย่อมรุ่งโรจน์ทุกเมื่อ ดังหน่อต้นรังที่เกิดดี
ดุจไม้อัญชันที่กำลังขึ้นงาม (และ) เหมือนสายรุ้งในอากาศ
[๕] ข้าพเจ้ามีใจผ่องใส
ได้ถวายโภชนะแด่พระองค์ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
พระนามว่าเวสสภู ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๒. อารักขาทายกวรรค] ๓. คตสัญญกเถราปทาน
[๖] พระสยัมภูพุทธเจ้าผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
ทรงอนุโมทนาทานของข้าพเจ้านั้นว่า
ผลจงบังเกิดแก่ท่านในภพที่เกิดเถิด
[๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายโภชนะ
[๘] ในกัปที่ ๒๕ นับจากกัปนี้ไป
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่งพระนามว่าอมิตตกะ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก
[๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโภชนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โภชนทายกเถราปทานที่ ๒ จบ
๓. คตสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระคตสัญญกเถระ
(พระคตสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐] ในอากาศไม่ปรากฏรอยเท้า ข้าพเจ้าได้เห็นพระชินเจ้า
พระนามว่าสิทธัตถะเสด็จเหาะไป
ยังหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ทางอากาศในท้องฟ้า
[๑๑] ขณะนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นชายจีวร
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สะบัดพลิ้วไปตามลม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๒. อารักขาทายกวรรค] ๔. สัตตปทุมิยเถราปทาน
จึงมีความปลาบปลื้มใจเป็นอย่างมาก
เพราะได้เห็นพระมุนีเสด็จไป
[๑๒] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ความทรงจำไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งความทรงจำในพระพุทธเจ้า
[๑๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระคตสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
คตสัญญกเถราปทานที่ ๓ จบ
๔. สัตตปทุมิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัตตปทุมิยเถระ
(พระสัตตปทุมิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔] ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์มีนามว่าเนสาทะ
ใช้ดอกไม้ร้อยกลีบกวาดอาศรม อาศัยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ
[๑๕] ความชื่นชมเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
เพราะได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก กำลังเสด็จไปทางป่า
[๑๖] ข้าพเจ้าต้อนรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก
ทรงองอาจกว่านรชน
จึงนำเสด็จพระองค์มายังอาศรมแล้ว
บูชาด้วยดอกบัวงาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๒. อารักขาทายกวรรค] ๕. ปุปผาสนทายกเถราปทาน
[๑๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๘] ในกัปที่ ๗ นับจากกัปนี้ไป
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ชาติ พระนามว่าปาทปาวระ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก
[๑๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัตตปทุมิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สัตตปทุมิยเถราปทานที่ ๔ จบ
๕. ปุปผาสนทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุปผาสนทายกเถระ
(พระปุปผาสนทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ
มีพระรัศมีรุ่งเรืองดังดวงอาทิตย์
เสด็จดำเนินอยู่ในที่ไม่ไกล
[๒๑] ข้าพเจ้ามีจิตผ่องใสต้อนรับพระองค์แล้ว
ทูลนิมนต์เสด็จเข้ามายังอาศรมแล้ว
ได้ถวายอาสนะดอกไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๒. อารักขาทายกวรรค] ๖. อาสนสันถวิกเถราปทาน
[๒๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าประนมมือแล้ว
เกิดความปลื้มใจ ทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
น้อมนึกถึงกรรมนั้นด้วยความปรารถนาว่า
[๒๓] บุญกุศลใด ที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ในพระสยัมภู
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
ด้วยบุญกุศลทั้งปวงนั้น
ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ปราศจากมลทินในศาสนาเถิด
[๒๔] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายอาสนะดอกไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายอาสนะดอกไม้
[๒๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุปผาสนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ปุปผาสนทายกเถราปทานที่ ๕ จบ
๖. อาสนสันถวิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอาสนสันถวิกเถระ
(พระอาสนสันถวิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้บอด เที่ยวค้นหาพระเจดีย์ชื่อว่าอุตตมะ
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก ในไพรวันซึ่งเป็นป่าใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๒. อารักขาทายกวรรค] ๖. อาสนสันถวิกเถราปทาน
[๒๗] ข้าพเจ้าออกจากป่าใหญ่ ได้พบพระแท่นสีหาสน์
จึงทำหนังสัตว์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ประนมมือสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๒๘] ครั้นสรรเสริญพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ในส่วนกลางวันแล้ว ก็มีจิตร่าเริง เบิกบาน ได้เปล่งวาจานี้ว่า
[๒๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมแด่พระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด ขอนอบน้อมแด่พระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้มีความเพียรมาก
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
พระองค์เป็นพระสัพพัญญู
[๓๐] ข้าพเจ้าได้สรรเสริญพระพุทธเจ้า
พระนามว่าสิขี ด้วยการทำนิมิตอภิวาทอาสนะแล้ว
บ่ายหน้าหลีกไปทางทิศเหนือ
[๓๑] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สรรเสริญพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริญกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลายไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ
[๓๒] ในกัปที่ ๒๗ นับจากกัปนี้ไป
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ชาติ พระนามว่าอตุลยะ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก
[๓๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอาสนสันถวิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อาสนสันถวิกเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๒. อารักขาทายกวรรค] ๗. สัททสัญญกเถราปทาน
๗. สัททสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัททสัญญกเถระ
(พระสัททสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๔] พระผู้มีพระภาคมหาวีรเจ้าผู้มีพระรูปงาม
น่าดู ทรงแสดงอมตบทอยู่
มีหมู่สาวกแวดล้อม ประทับอยู่ในวิหารชั้นเลิศ
[๓๕] ทรงสงเคราะห์มหาชนด้วยพระวาจาที่ไพเราะ
ได้มีเสียงกังวานแผ่ไปกว้างขวาง ทั่วทั้งเทวดาและมนุษย์
[๓๖] ข้าพเจ้าได้ฟังเสียงกึกก้องแล้ว
ทำจิตให้เลื่อมใสในพระสุรเสียง
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
แล้วได้ไหว้พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๓๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ความทรงจำไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งความทรงจำในพระพุทธเจ้า
[๓๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัททสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สัททสัญญกเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๒. อารักขาทายกวรรค] ๘. ติรังสิยเถราปทาน
๘. ติรังสิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระติรังสิยเถระ
(พระติรังสิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๙] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ประทับนั่งอยู่ระหว่างภูเขา ดุจราชสีห์ผู้มีชาติสูง
ทรงทำทิศให้สว่างไสวดังกองไฟบนภูเขา
[๔๐] และได้เห็นแสงสว่างของดวงอาทิตย์
แสงสว่างของดวงจันทร์
และแสงสว่างของพระพุทธเจ้า จึงเกิดปีติซาบซ่าน
[๔๑] ครั้นข้าพเจ้าได้เห็นแสงสว่าง ๓ ประการแล้ว
จึงทำหนังสัตว์เฉวียงบ่า
กล่าวสรรเสริญพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า
[๔๒] ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
และพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
สิ่งทั้ง ๓ นี้แล ส่องแสงสว่างในโลก
บรรเทาความมืดในโลก
[๔๓] ข้าพเจ้ายกข้ออุปมาขึ้นสรรเสริญพระมหามุนี
ครั้นข้าพเจ้าสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว
ไปบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง
[๔๔] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ
[๔๕] ในกัปที่ ๖๑ นับจากกัปนี้ไป
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่งพระนามว่าญาณธระ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๒. อารักขาทายกวรรค] ๙. นาลิปุปผิยเถราปทาน
[๔๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระติรังสิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ติรังสิยเถราปทานที่ ๘ จบ
๙. นาลิปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนาลิปุปผิยเถระ
(พระนาลิปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นชาวนาอาศัยอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำสินธุ
ขวนขวายในการงานของผู้อื่น
อาศัยอาหารของผู้อื่นเลี้ยงชีวิต
[๔๘] ข้าพเจ้าเที่ยวไปตามแม่น้ำสินธุ
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคชินเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
กำลังประทับนั่งเข้าสมาธิอยู่ ดังดอกบัวบาน
[๔๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เด็ดดอกบัวพร้อมทั้งก้าน ๗ ดอกที่ขั้ว
โปรยบูชาเหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพระอาทิตย์
[๕๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ
มีพระหฤทัยมั่นคงในการเกื้อกูล
กระทบกระทั่งได้ยาก
ดุจช้างมาตังคะตกมัน ๓ แห่ง
[๕๑] มีปัญญารักษาพระองค์ ทรงอบรมอินทรีย์แล้ว
ข้าพเจ้าได้ประคองอัญชลีกราบไหว้พระศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๒. อารักขาทายกวรรค] ๑๐. กุมุทมาลิยเถราปทาน
[๕๒] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๕๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนาลิปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นาลิปุปผิยเถราปทานที่ ๙ จบ
๑๐. กุมุทมาลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุมุทมาลิยเถระ
(พระกุมุทมาลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๔] พระผู้มีพระภาคผู้ทรงมีความเพียรมาก
พระนามว่าวิปัสสี ผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้า
ทรงชนะวิเศษ แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ดุจพญาราชสีห์ผู้มีชาติสูง
[๕๕] ผู้สมควรรับเครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนินอยู่ที่ถนน
จึงถือพวงดอกโกมุทไปโปรยลงบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๕๖] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๒. อารักขาทายกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๕๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุมุทมาลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กุมุทมาลิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
อารักขทายกวรรคที่ ๓๒ จบบริบูรณ์
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อารักขทายกเถราปทาน ๒. โภชนทายกเถราปทาน
๓. คตสัญญกเถราปทาน ๔. สัตตปทุมิยเถราปทาน
๕. ปุปผาสนทายกเถราปทาน ๖. อาสนสันถวิกเถราปทาน
๗. สัททสัญญกเถราปทาน ๘. ติรังสิยเถราปทาน
๙. นาลิปุปผิยเถราปทาน ๑๐. กุมุทมาลิยเถราปทาน

มีคาถา ๕๗ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๑. อุมาปุปผิยเถราปทาน
๓๓. อุมาปุปผิยวรรค
หมวดว่าด้วยพระอุมาปุปผิยะเป็นต้น
๑. อุมาปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุมาปุปผิยเถระ
(พระอุมาปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ ผู้เป็นนรชนผู้สูงสุด
มีพระหฤทัยมั่นคง ไม่หวั่นไหว กำลังเข้าสมาธิแล้ว
[๒] จึงได้ถือดอกสามหาวไปบูชาพระพุทธเจ้า
ดอกสามหาวทั้งหมดมียอดรวมกัน
ขั้วชี้ขึ้นข้างบน ดอกย้อยลงข้างล่าง
[๓] เป็นเครื่องลาดดอกไม้ประดิษฐานอยู่ในอากาศ
เป็นเหมือนมีจิตดี ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดุสิต
[๔] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๕] ในกัปที่ ๕๕ นับจากกัปนี้ไป
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่งพระนามว่าสมันตฉทนะ
ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีพลานุภาพมาก
[๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุมาปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุมาปุปผิยเถราปทานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๒. ปุฬินปูชกเถราปทาน
๒. ปุฬินปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุฬินปูชกเถระ
(พระปุฬินปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗] พระศาสดาผู้องอาจกว่านรชน สว่างไสวเหมือนดอกรกฟ้า
สง่างามอยู่เหมือนม้าอาชาไนย ผู้องอาจ
ดุจดาวประกายพรึกรุ่งโรจน์อยู่
[๘] ข้าพเจ้าจึงได้ประคองอัญชลี กราบไหว้พระศาสดา
สรรเสริญพระศาสดา พอใจการกระทำของตน
[๙] ข้าพเจ้าหยิบทรายขาวบริสุทธิ์กำมือหนึ่ง
ใส่ห่อพกมาโปรยลงที่ทางเสด็จดำเนิน
ของพระศาสดาพระนามว่าวิปัสสี
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๐] แต่นั้น ข้าพเจ้ามีใจผ่องใสแบ่งทรายครึ่งหนึ่ง
โปรยลงในที่พักกลางวันของพระองค์
ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์ ผู้คงที่
[๑๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้โปรยทรายไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการโปรยทราย
[๑๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุฬินปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุฬินปูชกเถราปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๔. ยัญญสามิกเถราปทาน
๓. หาสชนกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระหาสชนกเถระ
(พระหาสชนกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๓] ข้าพเจ้าได้เห็นผ้าบังสุกุลของพระศาสดาคล้องอยู่ที่ยอดไม้
จึงประนมมือ แล้วเปล่งวาจาขึ้นอย่างดัง
[๑๔] ความยินดีเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าเพราะได้เห็นแต่ไกล
ข้าพเจ้าประนมมือแล้ว ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
[๑๕] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ความทรงจำไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งความทรงจำในพระพุทธเจ้า
[๑๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระหาสชนกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
หาสชนกเถราปทานที่ ๓ จบ
๔. ยัญญสามิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระยัญญสามิกเถระ
(พระยัญญสามิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๗] ข้าพเจ้ามีอายุ ๗ ขวบ เป็นผู้จบมนตร์
ได้ดำรงวงศ์ตระกูล ได้ตระเตรียมพิธีบูชายัญ
[๑๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าจะฆ่าสัตว์เลี้ยง ๘๔,๐๐๐ ตัว
จึงให้คนจับผูกไว้ที่หลักไม้แก่น ตระเตรียมเพื่อจะบูชายัญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๔. ยัญญสามิกเถราปทาน
[๑๙] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้มีพระรัศมีเรืองรองดุจถ่านไม้ตะเคียน กระทบที่ปากเบ้า
เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย (และ) เหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ
[๒๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้ให้สำเร็จประโยชน์ทุกอย่าง
ผู้มีประโยชน์เกื้อกูลอันไตรโลกบูชา
เสด็จเข้ามาหาแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
[๒๑] กุมาร เราพอใจการไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง
การงดเว้นจากการลักขโมย
จากการประพฤตินอกใจ
และจากการดื่มน้ำเมา
[๒๒] คือความยินดีในการประพฤติสม่ำเสมอ
ความเป็นพหูสูต และความเป็นผู้กตัญญู
ธรรมเหล่านี้บัณฑิตก็สรรเสริญทั้งในปัจจุบันและอนาคต
[๒๓] ท่านเจริญธรรมเหล่านี้
ยินดีในความเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง
ทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้ว
จงเจริญมรรคที่สูงสุดเถิด
[๒๔] พระสัพพัญญูผู้เจริญที่สุดในโลก
ทรงองอาจกว่านรชน ครั้นตรัสดังนี้
ทรงพร่ำสอนข้าพเจ้าอย่างนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ
[๒๕] ข้าพเจ้าชำระจิตให้บริสุทธิ์ก่อนแล้ว
ทำจิตให้เลื่อมใสในภายหลัง
ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดุสิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๕. นิมิตตสัญญกเถราปทาน
[๒๖] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งความทรงจำในพระพุทธเจ้า
[๒๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระยัญญสามิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ยัญญสามิกเถราปทานที่ ๔ จบ
๕. นิมิตตสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนิมิตตสัญญกเถระ
(พระนิมิตตสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๘] ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ในอาศรมใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
ได้เห็นกวางทองกำลังเดินอยู่ในป่า
[๒๙] จึงทำจิตให้เลื่อมใส(ชื่นชม)ในกวางทอง
แล้วระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้เจริญที่สุดในโลก
ข้าพเจ้าหวนระลึกถึงพระพุทธเจ้าเหล่าอื่น
[๓๐] คือพระพุทธเจ้าในอดีต
พระพุทธเจ้าในปัจจุบัน และพระพุทธเจ้าในอนาคต
พระพุทธเจ้า ๓ จำพวกนั้น
ย่อมไพโรจน์ดุจพญาเนื้อ
[๓๑] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ความทรงจำไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๖. อันนสังสาวกเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งความทรงจำในพระพุทธเจ้า
[๓๒] ในกัปที่ ๒๗ นับจากกัปนี้ไป
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่งมีพระนามว่าอรัญญสัตตะ
เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีพลานุภาพมาก
[๓๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนิมิตตสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นิมิตตสัญญกเถราปทานที่ ๕ จบ
๖. อันนสังสาวกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอันนสังสาวกเถระ
(พระอันนสังสาวกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๔] พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ
ผู้เสด็จไประหว่างร้านตลาด ผู้เช่นกับทองคำมีค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ
[๓๕] พระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ให้ประโยชน์ทุกอย่างสำเร็จ
ผู้ไม่ทรงหวั่นไหว ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
ข้าพเจ้าน้อมนมัสการแล้ว
ทูลนิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มหามุนีให้เสวยแล้ว
[๓๖] ครั้งนั้น พระมุนีผู้ประกอบด้วยพระกรุณาในโลก
ได้ทำให้ข้าพเจ้าแจ่มใส
ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้ว
ไปบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดหนึ่งกัป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๗. นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน
[๓๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายภิกษา
[๓๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอันนสังสาวกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อันนสังสาวกเถราปทานที่ ๖ จบ
๗. นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนิคคุณฑิปุปผิยเถระ
(พระนิคคุณฑิปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๙] ในกาลใด เทวดาจะจุติจากหมู่เทพเพราะสิ้นอายุ
ในกาลนั้น เทวดาทั้งหลายผู้พลอยยินดี
ย่อมเปล่งเสียง ๓ ประการว่า
[๔๐] ท่านผู้เจริญ ท่านจากที่นี้จงไปสู่สุคติ
สู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับมนุษย์ เป็นมนุษย์แล้ว
จงได้ศรัทธาอย่างยอดเยี่ยมในพระสัทธรรม
[๔๑] ศรัทธาของท่านพึงตั้งมั่นดำรงอยู่ เป็นมูลไว้ เป็นที่พึ่ง
อย่าคลอนแคลนในพระสัทธรรม
ที่พระอริยะประกาศไว้ดีแล้วจนตลอดชีวิต
[๔๒] จงทำกุศลที่ไม่มีความเบียดเบียน
ไม่มีอุปธิทางกาย ทางวาจา ทางใจ ให้มากเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๗. นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน
[๔๓] จงทำบุญให้ยิ่งไปกว่านั้นให้มากด้วยการให้ทาน
จงชักชวนผู้อื่นให้ตั้งมั่นในพรหมจรรย์
ซึ่งเป็นพระสัทธรรมอย่างประเสริฐ
[๔๔] ด้วยความอนุเคราะห์นี้
ในกาลใด เหล่าเทวดาผู้รู้แจ้ง
พลอยยินดีกับท่านผู้ประเสริฐซึ่งกำลังจุติว่า
ท่านเทวดา ขอท่านจงมาบ่อย ๆ นะ
[๔๕] ในกาลนั้น เมื่อหมู่เทวดามาประชุมกัน
ข้าพเจ้าเกิดความสลดใจว่า
เราจุติจากที่นี้แล้วจักไปเกิดยังกำเนิดอะไรหนอ
[๔๖] พระสมณะผู้อบรมอินทรีย์แล้ว
รู้ความสังเวชของข้าพเจ้า
ท่านประสงค์จะช่วยเหลือข้าพเจ้า
จึงมายังสำนักของข้าพเจ้า
[๔๗] ท่านมีนามว่าสุมนะ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
พระนามว่าปทุมุตตระ พร่ำสอนอรรถธรรม
ให้ข้าพเจ้าสลดใจ ในครั้งนั้น
ภาณวารที่ ๑๒ จบ
[๔๘] ข้าพเจ้าได้ฟังคำของท่านแล้ว
ทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
อภิวาทท่านผู้เป็นนักปราชญ์แล้ว
ก็สิ้นชีวิตลงในที่นั้น
[๔๙] ข้าพเจ้านั้น อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว
ได้อุบัติ ณ ที่นั้นเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๗. นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน
ตนเมื่ออยู่ในครรภ์มารดา
ก็อยู่ในครรภ์ของมารดาคนเดิม
[๕๐] ข้าพเจ้าจุติจากกายนั้นแล้ว
ได้เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในระหว่างนี้
ข้าพเจ้าไม่เห็นความโทมนัสในครั้งนั้นเลย
[๕๑] ข้าพเจ้าจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว
ลงสู่ครรภ์มารดา ออกจากครรภ์มารดา(คลอด)แล้ว
ไม่รู้จักทุกข์อะไร ๆ เลย
[๕๒] ข้าพเจ้ามีอายุ ๗ ขวบ ได้เข้าไปยังอาราม
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดมศากยบุตร ผู้คงที่
[๕๓] ได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดา
ในปาพจน์อย่างกว้างขวาง
ในศาสนาที่ชนจำนวนมากนับถือ
[๕๔] กรุงชื่อว่าสาวัตถี พระเจ้าโกศลทรงเป็นใหญ่ในกรุงนั้น
พระองค์เสด็จไปยังต้นโพธิ์ที่ประเสริฐด้วยรถซึ่งเทียมด้วยม้า
[๕๕] ข้าพเจ้าเห็นพาหนะประเสริฐของพระเจ้าโกศลนั้นแล้ว
ระลึกถึงบุพกรรม จึงได้ประนมมือไปยังที่ประชุม
[๕๖] ข้าพเจ้ามีอายุ ๗ ขวบ ก็ได้บวชเป็นบรรพชิต
พระสาวกชื่ออานนท์ เป็นอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
[๕๗] ท่านมีคติ มีธิติ มีสติ เป็นพหูสูต๑ มีความรุ่งเรืองมาก
ได้ถวายพระธรรมเทศนาทำพระหฤทัยของพระราชาให้ทรงเลื่อมใส

เชิงอรรถ :
๑ มีคติ ในที่นี้หมายถึงมีหลักการทรงจำพุทธพจน์ได้หมดทุกบทที่พระองค์ทรงแสดงให้ฟังในแต่ละครั้งได้หมดทุกข์บท
มีธิติ ในที่นี้หมายถึงเพียรเรียน เพียรสาธยาย เพียรทรงจำ
มีสติ ในที่นี้หมายถึงสามารถจำพระพุทธพจน์ได้เป็นเลิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๗. นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน
[๕๘] ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมของท่านพระอานนท์แล้ว
ระลึกถึงบุพกรรมยืนอยู่ในที่นั้นเอง ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๕๙] ข้าพเจ้าห่มจีวรเฉวียงบ่า
ประคองอัญชลีไว้เหนือเศียรเกล้า
ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้เปล่งวาจานี้
[๖๐] ข้าพเจ้าถือดอกย่านทรายไปวางที่พระแท่นสีหาสน์
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์ ผู้คงที่
[๖๑] ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
ด้วยผลแห่งกรรมนั้น
ข้าพระองค์ละความชนะและความพ่ายแพ้ได้แล้ว
บรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหว
[๖๒] ในกัปที่ ๒๕,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ชาติ
มีอายุมากมายหลายอัพพุทะและนิรัพพุทะ
[๖๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนิคคุณฑิปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทานที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
เป็นพหูสูต ในที่นี้หมายถึงได้เรียนพุทธพจน์โดยตรงจากพระผู้มีพระภาค ตั้งอยู่ในฐานะ “ขุนคลังปริยัติ”
ในศาสนาของพระทศพล (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๒๓/๒๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๘. สุมนาเวฬิยเถราปทาน
๘. สุมนาเวฬิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุมนาเวฬิยเถระ
(พระสุมนาเวฬิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๔] ชนทั้งปวงมาประชุมกันทำการบูชาใหญ่แด่พระผู้มีพระภาค
พระนามว่าเวสสภู ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
[๖๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าใส่ก้อนปูนขาวแล้ววางพวงมาลัยดอกมะลิไว้
บูชาข้างหน้าพระแท่นสีหาสน์
[๖๖] ชนทั้งปวงมามุงดูดอกไม้ชั้นดีเยี่ยมด้วยคิดว่า
ดอกไม้นี้ใครบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ผู้คงที่
[๖๗] ข้าพเจ้าได้เข้าถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
เพราะจิตที่เลื่อมใสนั้น
ได้เสวยผลกรรมของตนที่ทำไว้ดีแล้วในครั้งก่อน
[๖๘] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ย่อมเป็นที่รักของปวงชน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้
[๖๙] ข้าพเจ้าไม่รู้ถึงการด่าทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ
ที่ข้าพเจ้าทำแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายผู้สำรวม ผู้มีตบะ
[๗๐] ด้วยความประพฤติชอบนั้น
และด้วยการตั้งเจตจำนงไว้
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ที่ปวงชนบูชา
นี้เป็นผลแห่งการไม่ด่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๙. ปุปผฉัตติยเถราปทาน
[๗๑] ในกัปที่ ๑๑ นับจากกัปนี้ไป
ได้เป็นกษัตริย์ผู้จักรพรรดิพระนามว่าสหัสสาระ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก
[๗๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุมนาเวฬิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุมนาเวฬิยเถราปทานที่ ๘ จบ
๙. ปุปผฉัตติยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุปผฉัตติยเถระ
(พระปุปผฉัตติยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
ทรงประกาศสัจจะ ทำสัตว์ทั้งหลายให้สงบเย็นอยู่
[๗๔] ข้าพเจ้าได้นำดอกบัว ๑๐๐ กลีบ ที่รื่นรมย์ใจ
มาทำเป็นฉัตรดอกไม้ยกขึ้นบูชาพระพุทธเจ้า
[๗๕] พระศาสดาพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ประทับยืนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุ
ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
[๗๖] ผู้ใดทำจิตให้เลื่อมใส ได้กั้นฉัตรดอกไม้ให้เรา
ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้น
ผู้นั้นจะไม่ไปเกิดยังทุคติเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๑๐. สปริวารฉัตตทายกเถราปทาน
[๗๗] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ครั้นตรัสดังนี้แล้ว
ทรงส่งบริษัทไปแล้วเสด็จเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าเวหาส
[๗๘] เมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นนรชนผู้ประเสริฐเสด็จลุกขึ้น
แม้ฉัตรขาวก็ลอยขึ้นด้วย
ฉัตรที่งามเลิศลอยไปข้างหน้าของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๗๙] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยฉัตรดอกไม้
[๘๐] ในกัปที่ ๗๔ (นับจากกัปนี้ไป)
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ชาติ มีพระนามเหมือนกันว่าชลสิขะ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก
[๘๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุปผฉัตติยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุปผฉัตติยเถราปทานที่ ๙ จบ
๑๐. สปริวารฉัตตทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสปริวารฉัตตทายกเถระ
(พระสปริวารฉัตตทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึง
กล่าวว่า)
[๘๒] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ทรงโปรยฝนคือธรรมให้ตกอยู่ เหมือนน้ำฝนในอากาศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๑๐. สปริวารฉัตตทายกเถราปทาน
[๘๓] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นทรงแสดงอมตบทอยู่
จึงทำจิตของตนให้เลื่อมใสแล้วได้กลับไปยังเรือนของตน
[๘๔] ข้าพเจ้าถือฉัตรที่ประดับแล้ว
เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นนรชนผู้สูงสุด
ข้าพเจ้ามีจิตร่าเริงเบิกบาน ได้โยนฉัตรขึ้นไปในอากาศ
[๘๕] สาวกผู้ล้ำเลิศ ฝึกตนดุจยานที่ควบคุมดีแล้ว
เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
กั้นฉัตรไว้เหนือเศียรเกล้า
[๘๖] พระพุทธเจ้าผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๘๗] ผู้ใดถวายฉัตรที่ประดับแล้วเป็นที่รื่นรมย์ใจนี้
ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้น
ผู้นั้นจะไม่ไปเกิดยังทุคติเลย
[๘๘] จักได้ครองเทวสมบัติในหมู่เทวดาตลอด ๗ ชาติ
และจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๒ ชาติ
[๘๙] ต่อจากนี้ไปอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
จักทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๙๐] ผู้นั้นจักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดา
พระองค์เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวง เป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๙๑] ข้าพเจ้าทราบพระพุทธดำรัสที่ทรงเปล่งออกมา
เป็นอาสภิวาจาแล้วก็มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
จึงเกิดความร่าเริงอย่างยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๑๐. สปริวารฉัตตทายกเถราปทาน
[๙๒] ข้าพเจ้าละกำเนิดมนุษย์แล้วได้ไปเกิดในกำเนิดเทวดา
วิมานของข้าพเจ้าสวยงาม สูงตระหง่าน เป็นที่รื่นรมย์ใจ
[๙๓] เมื่อข้าพเจ้าออกจากวิมาน
เทวดาทั้งหลายย่อมกั้นฉัตรขาวให้
ข้าพเจ้ากลับได้ความทรงจำในครั้งนั้น
นี้เป็นผลแห่งบุพกรรม
[๙๔] ข้าพเจ้าจุติจากเทวโลกแล้ว ได้มาเกิดเป็นมนุษย์
ในกัปที่ ๑๐๗ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๖ ชาติ
[๙๕] จุติจากกายนั้นแล้วได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ท่องเที่ยวไปโดยลำดับแล้ว ได้มาเกิดเป็นมนุษย์อีก
[๙๖] ชนทั้งหลายได้กั้นฉัตรขาวให้ข้าพเจ้า
ผู้ลงมาปฏิสนธิในครรภ์มารดา
ข้าพเจ้ามีอายุ ๗ ขวบ ก็ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๙๗] พราหมณ์มีนามว่าสุนันทะ จบมนตร์
เขาได้ถือฉัตรมีสีดังแก้วผลึกมาถวายพระอัครสาวก
[๙๘] พระสารีบุตรผู้มีความเพียรมาก
ผู้มีวาจาน่าบูชา อนุโมทนาแล้ว
ข้าพเจ้าฟังอนุโมทนาของท่านแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมได้
[๙๙] จึงประนมมือ ทำจิตของตนให้เลื่อมใส
ระลึกถึงกรรมเก่าแล้วได้บรรลุอรหัตตผล
[๑๐๐] ลุกจากอาสนะนั้นแล้วประนมมือไว้เหนือเศียรเกล้า
ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เปล่งวาจานี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] ๑๐. สปริวารฉัตตทายกเถราปทาน
[๑๐๑] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมในโลกพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
[๑๐๒] ข้าพเจ้าถวายไตรจีวรที่สวยงามตกแต่งดีแล้วแด่พระองค์
พระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้เป็นบุคคลผู้เลิศ
ทรงรับด้วยพระหัตถ์ทั้ง ๒
[๑๐๓] ช่างน่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้า
ช่างน่าอัศจรรย์ พระธรรม
ช่างน่าอัศจรรย์ การที่ข้าพเจ้าได้มาประจวบกับพระศาสดา
ด้วยผลแห่งการถวายฉัตรคันหนึ่ง
ข้าพเจ้าจึงไม่เข้าถึงทุคติเลย
[๑๐๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้ากำหนดรู้อาสวะทั้งปวงได้แล้ว
[๑๐๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสปริวารฉัตตทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
สปริวารฉัตตทายกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
อุมาปุปผิยวรรคที่ ๓๓ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุมาปุปผิยเถราปทาน ๒. ปุฬินปูชกเถราปทาน
๓. หาสชนกเถราปทาน ๔. ยัญญสามิกเถราปทาน
๕. นิมิตตสัญญกเถราปทาน ๖. อันนสังสาวกเถราปทาน
๗. นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน ๘. สุมนาเวฬิยเถราปทาน
๙. ปุปผฉัตติยเถราปทาน ๑๐. สปริวารฉัตตทายกเถราปทาน

มีคาถา ๑๐๗ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๔๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๑. คันธธูปิยเถราปทาน
๓๔. คันโธทกวรรค
หมวดว่าด้วยพระคันโธทกะเป็นต้น
๑. คันธธูปิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระคันธธูปิยเถระ
(พระคันธธูปิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้าได้ถวายธูปหอมซึ่งอบด้วยดอกมะลิ
สมควรแด่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
[๒] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เช่นกับทองที่ล้ำค่า
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก รุ่งเรืองดังดอกอุบลเขียว
โชติช่วงเหมือนดวงไฟใหญ่
[๓] ผู้ประเสริฐดุจเสือโคร่งและโคอุสภะ
ดุจพญาไกรสรซึ่งมีชาติสูง
เลิศกว่าสมณะทั้งหลาย
ประทับนั่งมีหมู่ภิกษุแวดล้อม
[๔] ครั้นเห็นแล้วจึงทำจิตให้เลื่อมใส
ประนมมือถวายอภิวาทพระบาทของพระศาสดา
แล้วบ่ายหน้าหลีกไปทางทิศเหนือ
[๕] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายธูปหอมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยธูปหอม
[๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระคันธธูปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
คันธธูปิยเถราปทานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๒. อุทกปูชกเถราปทาน
๒. อุทกปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุทกปูชกเถระ
(พระอุทกปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗] พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ
รุ่งเรืองดังดวงไฟ โชติช่วงดังดวงไฟใหญ่เสด็จเหาะไปในอากาศ
[๘] ข้าพเจ้าจึงใช้ฝ่ามือกอบน้ำแล้วซัดขึ้นไปบนอากาศ
พระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรมาก
ทรงประกอบด้วยพระกรุณา เป็นพระฤๅษี ทรงรับแล้ว
[๙] พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ
ประทับยืนอยู่ในอากาศ
ทรงทราบความคิดของข้าพระองค์
จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
[๑๐] ด้วยผลแห่งการถวายน้ำ
และด้วยผลแห่งการทำปีติให้เกิดขึ้นนี้
ท่านจะไม่ไปเกิดในทุคติเลยแม้ตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป
[๑๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ละความชนะและความพ่ายแพ้ได้แล้ว
บรรลุถึงฐานะที่ไม่หวั่นไหว
[๑๒] ในกัปที่ ๑๖๕ (นับจากกัปนี้ไป)
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ชาติ
มีนามว่าสหัสสราช
เป็นใหญ่ในหมู่ชน มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๓. ปุนนาคปุปผิยเถราปทาน
[๑๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุทกปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุทกปูชกเถราปทานที่ ๒ จบ
๓. ปุนนาคปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุนนาคปุปผิยเถระ
(พระปุนนาคปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔] ข้าพเจ้าเป็นนายพราน เข้าไปอยู่ในป่าใหญ่
ได้พบต้นบุนนาคมีดอกบานสะพรั่ง
จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๑๕] ข้าพเจ้าได้เลือกเก็บดอกบุนนาคนั้น
เฉพาะที่มีกลิ่นหอม
สวยงามแล้วก่อสถูปบนเนินทราย
ยกขึ้นบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๖] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๗] ในกัปที่ ๙๑ (นับจากกัปนี้ไป)
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่งนามว่าตโมนุทะ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๔. เอกทุสสทายกเถราปทาน
[๑๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุนนาคปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุนนาคปุปผิยเถราปทานที่ ๓ จบ
๔. เอกทุสสทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกทุสสทายกเถระ
(พระเอกทุสสทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๙] ข้าพเจ้าเป็นคนเกี่ยวหญ้าขายอยู่ในกรุงหงสวดี
เลี้ยงชีวิตและเลี้ยงภรรยาด้วยการเกี่ยวหญ้าขายนั้น
[๒๐] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
เป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จอุบัติขึ้นทำลายความมืดให้พินาศไป
[๒๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้านั่งอยู่ในเรือนของตนคิดอย่างนี้ว่า
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
แต่ไทยธรรมของเราไม่มีเลย
[๒๒] เรามีแต่ผ้าสาฎกผืนเดียวนี้ ไม่มีใครให้(อะไร)แก่เรา
การสัมผัสถูกต้องนรก(ตกนรก) เป็นทุกข์
เราจักปลูกฝังทักษิณาทานไว้
[๒๓] ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงทำจิตของตนให้เลื่อมใส
ได้ถือผ้าผืนหนึ่งไปถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๔. เอกทุสสทายกเถราปทาน
[๒๔] ครั้นถวายผ้าผืนนั้นแล้วได้ประกาศก้องขึ้นว่า
ข้าแต่พระมหามุนีวีรเจ้า ถ้าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า
ขอได้ทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ให้ข้าม(วัฏสงสาร) ด้วยเถิด
[๒๕] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
เมื่อจะทรงสรรเสริญทานของข้าพเจ้า
ได้ทรงทำอนุโมทนาแก่ข้าพเจ้าว่า
[๒๖] ด้วยผลแห่งการถวายผ้าผืนเดียวนี้
และด้วยการตั้งเจตจำนงไว้
ผู้นี้จะไม่ตกวินิบาตนรกเลยตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป
[๒๗] จักเกิดเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติ ๓๖ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๓ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ นับชาติไม่ถ้วน
[๒๘] ท่านเมื่อเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในเทวโลกหรือในมนุษยโลก
จักเป็นผู้มีรูปงาม สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ
มีกายน่าใคร่ยิ่งนัก ผ้านับไม่ได้ ประมาณมิได้
จักเกิดมีตามความปรารถนา
[๒๙] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เป็นนักปราชญ์ ครั้นตรัสดังนี้แล้ว
เสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ ดุจพญาหงส์ในท้องฟ้า
[๓๐] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ในกำเนิดนั้น ๆ ความพร่องในโภคสมบัติไม่มีแก่ข้าพเจ้าเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าผืนหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๔. เอกทุสสทายกเถราปทาน
[๓๑] ผ้าย่อมบังเกิดแก่ข้าพเจ้าทุก ๆ ย่างเท้า
เบื้องล่างข้าพเจ้ายืนอยู่บนผ้า
เบื้องบนข้าพเจ้ามีผ้าเป็นหลังคา
[๓๒] วันนี้ ถ้าข้าพเจ้าปรารถนา ก็จะพึงใช้ผ้าปกปิด
กระทั่งจักรวาลพร้อมทั้งป่า พร้อมทั้งภูเขาได้
[๓๓] ด้วยผลแห่งการถวายผ้าผืนเดียวนั้นนั่นแล
เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
เป็นผู้มีผิวพรรณดังทองคำ
จะเวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่
[๓๔] ผลแห่งการถวายผ้าผืนเดียวไม่ถึงความสิ้นไปในที่ไหน ๆ
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของข้าพเจ้า
ผ้าย่อมให้ผลแก่ข้าพเจ้าแม้ในชาตินี้
[๓๕] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าผืนเดียว
[๓๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างไม่มีอาสวะ
ดุจช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกทุสสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
เอกทุสสทายกเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๕. ผุสิตกัมมิยเถราปทาน
๕. ผุสิตกัมมิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระผุสิตกัมมิยเถระ
(พระผุสิตกัมมิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๘] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
พร้อมด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย ประทับอยู่ ณ สังฆาราม
[๓๙] พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีนั้น
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จออกจากประตูอาราม ได้ประทับยืน
พร้อมด้วยพระขีณาสพ ๑๐๐,๐๐๐ องค์
[๔๐] ข้าพเจ้านุ่งหนังสัตว์และห่มผ้าเปลือกไม้
ถือน้ำเจือดอกโกสุม เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๔๑] ทำจิตของตนให้เลื่อมใส เกิดโสมนัส ประคองอัญชลี
ถือน้ำเจือดอกโกสุมไปประพรมพระพุทธเจ้า
[๔๒] ด้วยกรรมนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงสรรเสริญกรรมของข้าพเจ้าแล้ว
ได้เสด็จไปตามพระประสงค์
[๔๓] ข้าพเจ้าได้บูชาพระชินเจ้าด้วยน้ำซึ่งกำหนดได้ ๕,๐๐๐ หยด
ได้ครองเทวสมบัติเพราะน้ำ ๒,๕๐๐ หยด
[๔๔] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเพราะน้ำ ๒,๕๐๐ หยด
ได้บรรลุอรหัตตผลด้วยกรรมที่เหลือ
[๔๕] ในกาลที่ข้าพเจ้าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ก็มีนามว่าผุสิตะ ในกาลที่ข้าพเจ้าเป็นท้าวเทวราช
คำว่า ผุสิตะ นั้นแล เป็นชื่อของข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๕. ผุสิตกัมมิยเถราปทาน
[๔๖] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
หยดน้ำย่อมตกโดยรอบข้าพเจ้าข้างละหนึ่งวา
[๔๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าเป็นผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว
นี้เป็นผลแห่งหยดน้ำ
[๔๘] กายของข้าพเจ้ามีกลิ่นหอมฟุ้งไปเหมือนกลิ่นจันทน์
กลิ่นหอมที่ออกจากร่างกายของข้าพเจ้า
ฟุ้งไป ๒๕๐ ชั่วธนู
[๔๙] ชนทั้งหลายสูดกลิ่นหอมอบอวล
ที่ประกอบด้วยบุญกรรมแล้ว
ย่อมรู้ได้ทันทีว่า พระเจ้าผุสิตะ เสด็จมา ณ ที่นี้
[๕๐] กิ่งไม้ ใบไม้ ท่อนไม้ และแม้กระทั่งหญ้า
ทุกชนิด (ดังจะ) รู้ความดำริของข้าพเจ้า
ย่อมสำเร็จเป็นกลิ่นหอมทันที
[๕๑] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ไม้จันทน์บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยหยดน้ำ
[๕๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระผุสิตกัมมิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ผุสิตกัมมิยเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๖. ปภังกรเถราปทาน
๖. ปภังกรเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปภังกรเถระ
(พระปภังกรเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๓] พระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
มีอยู่ในป่าใหญ่ซึ่งพลุกพล่านด้วยเนื้อร้าย
[๕๔] ใคร ๆ ไม่อาจจะไปกราบไหว้พระเจดีย์ได้
พระเจดีย์ถูกหญ้า ต้นไม้ และเถาวัลย์ปกคลุม จึงหักพังลง
[๕๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นคนทำการงานในป่า พร้อมบิดาและปู่
จึงได้เห็นพระสถูปหักพัง
รกไปด้วยหญ้าและเถาวัลย์ ในป่าใหญ่
[๕๖] ครั้นได้เห็นพระสถูปของพระพุทธเจ้าแล้ว
ตั้งจิตเคารพไว้ว่า
พระสถูปนี้ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด หักพังอยู่ในป่า
[๕๗] พระสถูปไม่มีอะไรบังแดดฝน
ไม่(อยู่ในที่)เหมาะสมแก่คนที่รู้คุณและมิใช่คุณ
เรายังไม่ได้ทำความสะอาดพระสถูปของพระพุทธเจ้า
จะไม่ประกอบการงานอย่างอื่น
[๕๘] ข้าพเจ้าแผ้วถางหญ้า ต้นไม้ และเถาวัลย์ที่พระเจดีย์เสร็จแล้ว
คุกเข่าไหว้ครบ ๘ ครั้งแล้วก็กลับไป
[๕๙] ด้วยกุศลกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้แล้วนั้น
และด้วยการตั้งเจตจำนงไว้
ข้าพเจ้าละร่างกายมนุษย์แล้ว
ได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๖. ปภังกรเถราปทาน
[๖๐] วิมานทองที่บุญกรรมสร้างไว้อย่างดีในภพดาวดึงส์นั้น
สวยงาม สีเลื่อมประภัสสร สูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์
[๖๑] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติ ๓๐๐ ชาติ
และได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๕ ชาติ
[๖๒] เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ย่อมได้โภคสมบัติมาก
ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคสมบัติ
นี้เป็นผลแห่งการแผ้วถาง
[๖๓] เมื่อข้าพเจ้านั่งคานหามหรือขี่คอช้าง
ไปในป่าใหญ่ ไปยังทิศใด ๆ
ในทิศนั้น ๆ ป่าย่อมสำเร็จเป็นที่พึ่งได้
[๖๔] ข้าพเจ้าประกอบด้วยบุญกรรมไม่พบเห็นตอหรือหนามเลย
บุญกรรมนำ(ตอหรือหนาม) ออกไปเอง
[๖๕] โรคเรื้อน ฝี กลาก โรคลมบ้าหมู คุดทะราด
หิดเปื่อย และหิดด้าน ไม่มีแก่ข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการแผ้วถาง
[๖๖] เพราะข้าพเจ้าแผ้วถางพระสถูปของพระพุทธเจ้า
ความอัศจรรย์อย่างอื่นยังมีอีก
ข้าพเจ้าไม่รู้สึกว่าจะมีต่อมฝี
หยาดน้ำเหลือง เกิดที่กายของข้าพเจ้าเลย
[๖๗] เพราะข้าพเจ้าแผ้วถางพระสถูปของพระพุทธเจ้า
ความอัศจรรย์อย่างอื่นยังมีอีก
ข้าพเจ้าได้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือในภพเทวดาหรือภพมนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๖. ปภังกรเถราปทาน
[๖๘] เพราะข้าพเจ้าแผ้วถางพระสถูปของพระพุทธเจ้า
ความอัศจรรย์อย่างอื่นยังมีอีก
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณดังทองคำ
เป็นผู้มีรัศมีในที่ทั้งปวง
[๖๙] เพราะข้าพเจ้าแผ้วถางพระสถูปของพระพุทธเจ้า
ความอัศจรรย์อย่างอื่นยังมีอีก
สิ่งที่ไม่น่าชอบใจย่อมไม่มี
สิ่งที่น่าชอบใจย่อมผุดขึ้นรออยู่
[๗๐] เพราะข้าพเจ้าแผ้วถางพระสถูปของพระพุทธเจ้า
ความอัศจรรย์อย่างอื่นยังมีอีก
จิตของข้าพเจ้าเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์
มีอารมณ์เดียวตั้งมั่นด้วยดี
[๗๑] เพราะข้าพเจ้าแผ้วถางพระสถูปของพระพุทธเจ้า
ความอัศจรรย์อย่างอื่นยังมีอีก
ข้าพเจ้านั่งบนอาสนะเดียวก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๗๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการแผ้วถาง
[๗๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปภังกรเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปภังกรเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๗. ติณกุฏิทายกเถราปทาน
๗. ติณกุฏิทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระติณกุฏิทายกเถระ
(พระติณกุฏิทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๔] ข้าพเจ้าเป็นคนรับจ้างทำงานของผู้อื่น
ขวนขวายในการงานของผู้อื่น
อาศัยอาหารของผู้อื่นเลี้ยงชีพ อยู่ในกรุงพันธุมดี
[๗๕] ในครั้งนั้น ข้าพเจ้านั่งอยู่ในที่เร้นแล้ว คิดอย่างนี้ว่า
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
แต่การสร้างบุญกุศลของเรายังไม่มี
[๗๖] บัดนี้ เป็นเวลาสมควรที่เราจะชำระคติ
ถึงเวลาของเราแล้ว การสัมผัสถูกต้องนรกเป็นทุกข์
แก่สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีบุญเป็นแน่แท้
[๗๗] ครั้นข้าพเจ้าคิดอย่างนี้แล้ว
จึงเข้าไปหาเจ้าของงาน
ขอหยุดงาน ๑ วันแล้วเข้าไปยังป่าใหญ่
[๗๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าขนหญ้า ไม้ และเถาวัลย์มาแล้ว
ตั้งไม้เป็น ๓ เส้า ได้สร้างเป็นกุฎีหญ้า
[๗๙] ข้าพเจ้าได้มอบถวายกุฎีนั้นเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์
แล้วกลับมาหาเจ้าของงานในวันนั้นนั่นเอง
[๘๐] ด้วยกุศลกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้แล้วนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
วิมานที่บุญกรรมเนรมิตสร้างไว้อย่างดี
เพื่อข้าพเจ้าในภพดาวดึงส์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๗. ติณกุฏิทายกเถราปทาน
[๘๑] ปราสาท ๑๐๐ ชั้น สูง ๑,๐๐๐ ชั่วลูกธนู
สะพรั่งไปด้วยธง พราวไปด้วยแก้วมณีสีเขียว
และป้อม ๑๐๐,๐๐๐ ป้อม
ปรากฏในวิมานของข้าพเจ้า๑
[๘๒] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ในกำเนิดนั้น ๆ ปราสาท(ดังจะ)
รู้ความดำริของข้าพเจ้าผุดขึ้น
[๘๓] ความกลัว ความครั่นคร้าม หรือขนลุกชูชัน
ย่อมไม่มีแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าไม่รู้สึกสะดุ้งหวาดเสียวเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฎีหญ้า
[๘๔] ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาใน
และเสือดาว ทั้งหมดก็ละเว้นข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฎีหญ้า
[๘๕] สัตว์เลื้อยคลาน ภูตผีปีศาจ งู กุมภัณฑ์
และผีเสื้อน้ำ แม้เหล่านั้น ก็ละเว้นข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฎีหญ้า
[๘๖] ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ว่าจะได้เห็นความฝันอันชั่วช้า
สติของข้าพเจ้าตั้งมั่น
นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฎีหญ้า
[๘๗] เพราะการถวายกุฎีหญ้านั้นแล
ข้าพเจ้าจึงได้เสวยสมบัติ
ได้กระทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.เถร.อ. ๑/๑๔๓/๑๖๔, ขุ.ชา.อ. ๔/๔๑/๖๗, มงฺคลตฺถ. ๑/๑๓๙/๑๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๘. อุตตเรยยทายกเถราปทาน
[๘๘] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฎีหญ้า
[๘๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระติณกุฏิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ติณกุฏิทายกเถราปทานที่ ๗ จบ
๘. อุตตเรยยทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุตตเรยยทายกเถระ
(พระอุตตเรยยทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ผู้คงแก่เรียน
ทรงจำมนตร์ จบไตรเพท อยู่ในกรุงหงสวดี
[๙๑] เวลานั้น ข้าพเจ้ามีพวกศิษย์ของตนแวดล้อม
เป็นคนมีตระกูล ศึกษาดี
ออกไปจากกรุงเพื่อต้องการจะรดน้ำ
[๙๒] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
เสด็จเข้ามายังกรุงพร้อมกับพระขีณาสพหลายพันองค์
[๙๓] ข้าพเจ้าเห็นพระองค์มีพระรูปงามยิ่งนัก
ไม่หวั่นไหวเหมือนรูปที่เขาหล่อไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๘. อุตตเรยยทายกเถราปทาน
มีพระอรหันต์ทั้งหลายแวดล้อม
ครั้นแล้วได้ทำจิตให้เลื่อมใส
[๙๔] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ประนมมือไว้เหนือเศียรเกล้า
นมัสการพระองค์ผู้มีวัตรงามแล้ว ได้ถวายผ้าห่ม
[๙๕] ข้าพเจ้าประคองผ้าสาฎกด้วยมือทั้ง ๒ แล้วยกขึ้น
ผ้าสาฎกปกปิด(บังแดดฝน)ตลอดทั่วพุทธบริษัท
[๙๖] เมื่อหมู่ภิกษุเป็นต้นจำนวนมาก
เที่ยวจาริกไปบิณฑบาตในเวลานั้น
ผ้าสาฎกได้กั้นเป็นหลังคา ยังข้าพเจ้าให้ร่าเริง
[๙๗] เมื่อหมู่ภิกษุเป็นต้นจะออกจากเรือน
พระศาสดาผู้เป็นพระสยัมภู ทรงเป็นบุคคลผู้เลิศ
ประทับยืนอยู่ที่ถนนได้ทรงทำอนุโมทนาว่า
[๙๘] เราจักพยากรณ์ผู้ที่มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถวายผ้าสาฎกแก่เรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๙๙] ผู้นั้นจักรื่นรมย์ในเทวโลก ๓๐,๐๐๐ กัป
จักเป็นจอมเทพครองเทวราชสมบัติในเทวโลก ๕๐ ชาติ
[๑๐๐] เมื่อเขาผู้พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรมอยู่ในเทวโลก
จักมีผ้าเป็นหลังคาบังแดดฝนตลอด ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
[๑๐๑] และจักเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๖ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๑๐๒] เมื่อเขาผู้พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ
สิ่งที่เขาปรารถนาด้วยใจทุกอย่างจักบังเกิดขึ้นทันที

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๘. อุตตเรยยทายกเถราปทาน
[๑๐๓] คนผู้นี้จักได้ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้
ผ้าฝ้าย และผ้าทั้งหลาย ซึ่งมีค่ามาก
[๑๐๔] คนผู้นี้จักได้สิ่งที่ตนปรารถนาด้วยใจทุกอย่าง
จักเสวยวิบากแห่งผ้าผืนเดียว ในกาลทุกเมื่อ
[๑๐๕] ภายหลังเขาอันกุศลมูลตักเตือนแล้วจักออกบวช
จักกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม
[๑๐๖] น่าปลื้มใจ ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ดีแล้ว
แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
จึงได้บรรลุอมตบทเพราะถวายผ้าสาฎกผืนเดียว
[๑๐๗] ผ้าเป็นหลังคาบังแดดฝนให้แก่ข้าพเจ้าผู้อยู่ในมณฑป
ที่โคนไม้หรือในเรือนว่าง โดยรอบ ข้างละ ๑ วา
[๑๐๘] ข้าพเจ้านุ่งห่มจีวรและใช้สอยปัจจัย
ซึ่งไม่ได้ทำวิญญัติ(ไม่ได้ออกปากขอมา)ได้ข้าวและน้ำ
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าห่มผืนเดียว
[๑๐๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้า
[๑๑๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุตตเรยยทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
อุตตเรยยทายกเถราปทานที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๙. ธัมมัสสวินิยเถราปทาน
๙. ธัมมัสสวนิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระธัมมสวนิยเถระ
(พระธัมมัสสวนิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ทรงประกาศสัจจะ ๔
ทรงช่วยชนจำนวนมากให้ข้ามพ้น(วัฏสงสาร)
[๑๑๒] สมัยนั้น ข้าพเจ้าเป็นชฎิลมีตบะแก่กล้า
สลัดผ้าเปลือกไม้ เหาะไปในท้องฟ้า ในครั้งนั้น
[๑๑๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าไม่อาจจะไปในเบื้องบน
แห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดได้
เวลานั้นข้าพเจ้าเป็นเหมือนนกชนหน้าผา(หิน)บินไปไม่ได้
[๑๑๔] ความเป็นไปที่ผิดแปลกเช่นนี้ไม่เคยมีแก่ข้าพเจ้าเลย
ข้าพเจ้าเหาะไปในท้องฟ้า เหมือนลืมตาไปในน้ำ
[๑๑๕] (ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีความคิดว่า)ก็มนุษย์ซึ่งเป็นผู้ประเสริฐ
จักมีอยู่ภายใต้นี้กระมังหนอ
ถ้าเช่นนั้นเราจักค้นหาเขา บางทีจะพึงได้ประโยชน์บ้าง
[๑๑๖] เมื่อข้าพเจ้าลงจากอากาศ
ได้ฟังพระสุรเสียงของพระศาสดาซึ่งกำลังตรัสเรื่องอนิจจตาอยู่
ข้าพเจ้าจึงเรียนเรื่องอนิจจตานั้นในขณะนั้น
[๑๑๗] ครั้นเรียนอนิจจสัญญาแล้วได้กลับไปสู่อาศรมของตน
ข้าพเจ้าอยู่จนตลอดกำหนดอายุแล้วได้สิ้นชีวิตลง ณ ที่นั้น
[๑๑๘] เมื่อภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
ข้าพเจ้าระลึกถึงการฟังธรรมนั้นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๙. ธัมมัสสวินิยเถราปทาน
ด้วยกุศลกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
จึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๑๙] ข้าพเจ้ารื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓๐,๐๐๐ กัป
ได้ครองเทวสมบัติ ๕๑ ชาติ
[๑๒๐] ได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๑ ชาติ
และเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๑๒๑] พระสมณะผู้อบรมอินทรีย์แล้ว นั่งบนเรือนของบิดา
เปล่งวาจาถึงเรื่องไม่เที่ยง แสดงเป็นคาถา
[๑๒๒] ข้าพเจ้าระลึกถึงสัญญานั้นได้
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ยังไม่ได้รู้แจ้งที่สุดคือพระนิพพาน ซึ่งเป็นหนทางไม่จุติว่า
[๑๒๓] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นเหตุนำความสุขมาให้
[๑๒๔] ข้าพเจ้าระลึกถึงบุพกรรมได้ พร้อมกับได้ฟังคาถา
นั่งอยู่บนอาสนะเดียวนั่นเองก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว
[๑๒๕] ข้าพเจ้ามีอายุ ๗ ขวบ ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ทรงรู้คุณสมบัติของข้าพเจ้าแล้ว
จึงประทานอุปสมบทให้
[๑๒๖] ข้าพเจ้ายังเป็นเด็กอยู่ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
วันนี้ ข้าพเจ้าจะทำกิจอะไร
ในศาสนาของพระศากยบุตรอีกเล่า
[๑๒๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๑๐. อุกขิตตปทุมิยเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการฟังธรรม
[๑๒๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระธัมมสวนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ธัมมัสสวนิยเถราปทานที่ ๙ จบ
๑๐. อุกขิตตปทุมิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุกขิตตปทุมิยเถระ
(พระอุกขิตตปทุมิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๒๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นช่างดอกไม้อยู่ในกรุงหงสวดี
ข้าพเจ้าลงสู่สระปทุมเลือกเก็บดอกบัวอยู่
[๑๓๐] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
พร้อมด้วยพระขีณาสพประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูป
ผู้จิตสงบ ผู้คงที่
[๑๓๑] ผู้สิ้นอาสวะ บริสุทธิ์ ได้อภิญญา ๖ ผู้เข้าฌาน
พระองค์ผู้เป็นบุรุษสูงสุด ทรงแสวงหาความเจริญ
แก่ข้าพเจ้า เสด็จมาแล้ว
[๑๓๒] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสยัมภูผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก จึงเด็ดดอกบัวที่ก้าน
แล้วโยนขึ้นไป (บูชา) ในอากาศในกาลนั้น
[๑๓๓] (ด้วยเปล่งวาจาว่า) ข้าแต่พระธีรเจ้า
ถ้าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] ๑๐. อุกขิตตปทุมิยเถราปทาน
องอาจกว่านรชน ขอดอกบัวจงลอยไปเอง
กั้นอยู่เหนือพระเศียรของพระองค์เองเถิด
[๑๓๔] พระมหาวีรเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก
องอาจกว่านรชน ทรงอธิษฐานแล้ว
ดอกบัวเหล่านั้นได้ลอยกั้นอยู่
เหนือพระเศียรด้วยพุทธานุภาพ
[๑๓๕] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยการตั้งเจตนาไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
ได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๓๖] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
วิมานของข้าพเจ้าที่บุญกรรมสร้างไว้
อย่างสวยงาม เรียกชื่อว่าสัตตปัตตะ
สูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์
[๑๓๗] ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติ ๑,๐๐๐ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ชาติ
[๑๓๘] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
ข้าพเจ้าเสวยกรรมของตนที่ทำไว้ดีแล้วในปางก่อน
[๑๓๙] ด้วยผลแห่งดอกปทุมดอกเดียวนั้นแล
ข้าพเจ้าได้เสวยสมบัติแล้ว
ได้ทำให้แจ้งธรรมของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม
[๑๔๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างไม่มีอาสวะ
ดุจช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๔. คันโธทกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๑๔๑] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งดอกปทุมดอกเดียว
[๑๔๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุกขิตตปทุมิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
อุกขิตตปทุมิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
คันโธทกวรรคที่ ๓๔ จบบริบูรณ์
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. คันธธูปิยเถราปทาน ๒. อุทกปูชกเถราปทาน
๓. ปุนนาคปุปผิยเถราปทาน ๔. เอกทุสสทายกเถราปทาน
๕. ผุสิตกัมมิยเถราปทาน ๖. ปภังกรเถราปทาน
๗. ติณกุฏิทายกเถราปทาน ๘. อุตตเรยยทายกเถราปทาน
๙. ธัมมสวนิยเถราปทาน ๑๐. อุกขิตตปทุมิยเถราปทาน

ท่านรวบรวมคาถาทั้งหมดได้ ๑๔๔ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๕. เอกปทุมวรรค] ๑. เอกปทุมิยเถราปทาน
๓๕. เอกปทุมวรรค
หมวดว่าด้วยพระเอกปทุมะเป็นต้น
๑. เอกปทุมิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกปทุมิยเถระ
(พระเอกปทุมิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ทรงทำให้แจ้งภพน้อยภพใหญ่
ทรงช่วยประชุมชนจำนวนมากให้ข้ามพ้น(วัฏสงสาร)
[๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพญาหงส์
ประเสริฐกว่านกทั้งหลาย
บินโผลงยังสระน้ำแล้วเล่นอยู่อย่างสำราญใจ
[๓] ขณะนั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
เสด็จเหาะมาเหนือสระน้ำ
[๔] ข้าพเจ้าได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้สยัมภู
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
จึงหักดอกบัวหลวงซึ่งน่ารื่นรมย์ใจที่ก้านแล้ว
[๕] ข้าพเจ้ามีใจผ่องใสใช้จะงอยปากคาบโยนขึ้นไปในท้องฟ้า
ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๖] พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ประทับยืนอยู่ในอากาศ
ได้ทรงทำอนุโมทนาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๕. เอกปทุมวรรค] ๒. ตีณุปปลมาลิยเถราปทาน
[๗] ด้วยดอกปทุมดอกเดียวนี้
และด้วยการตั้งเจตนาไว้มั่น
ท่านจะไม่ตกวินิบาตนรกเลยตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป
[๘] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ครั้นตรัสอย่างนี้ ทรงสรรเสริญกรรมของข้าพเจ้าแล้ว
ได้เสด็จไปตามพระประสงค์
[๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกปทุมิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกปทุมิยเถราปทานที่ ๑ จบ
๒. ตีณุปปลมาลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตีณุปปลมาลิยเถระ
(พระตีณุปปลมาลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นวานรอาศัยอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ประทับนั่งอยู่ระหว่างภูเขา
[๑๒] ทรงทำทิศทั้งปวงให้สว่างไสว
ดังต้นพญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง
ทรงประกอบด้วยพระลักษณะและอนุพยัญชนะ
ครั้นได้เห็นแล้วก็มีความปลื้มใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๕. เอกปทุมวรรค] ๒. ตีณุปปลมาลิยเถราปทาน
[๑๓] ข้าพเจ้ามีจิตเบิกบาน มีใจยินดีร่าเริงด้วยปีติ
ได้ใช้ดอกอุบล ๓ ดอกขึ้นบูชาเหนือเศียรเกล้า
[๑๔] ครั้นใช้ดอกไม้บูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
เคารพนบนอบแล้วบ่ายหน้าหลีกไปทางทิศเหนือ
[๑๕] เมื่อข้าพเจ้ากำลังเดินกระโหย่งกลับด้วยใจที่ผ่องใส
จึงพลัดตกไปในระหว่างภูเขาหิน
ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว
[๑๖] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยการตั้งเจตนาไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
ได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๗] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติตลอด ๓๐๐ ชาติ
และได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
[๑๘] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตีณุปปลมาลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ตีณุปปลมาลิยเถราปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๕. เอกปทุมวรรค] ๓. ธชทายกเถราปทาน
๓. ธชทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระธชทายกเถราปทาน
(พระธชทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๐] ข้าพเจ้าเห็นความสิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสทั้ง ๓
จึงให้ยกธงขึ้นบูชาพระศาสดาพระนามว่าติสสะ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
[๒๑] ด้วยกุศลกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้นั้น
และด้วยการตั้งเจตนาไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
ได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๒] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติตลอด ๓๐๐ ชาติ
และได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
[๒๓] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
ข้าพเจ้าได้เสวยกรรมของตนที่ทำไว้ดีแล้วในครั้งก่อน
[๒๔] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายธง
[๒๕] วันนี้ ถ้าข้าพเจ้าปรารถนาก็จะพึงใช้ผ้าโขมะ
ปกปิดแผ่นดินพร้อมทั้งป่าและภูเขาได้
นี้เป็นผลแห่งกรรมที่ข้าพเจ้าทำไว้ในครั้งนั้น
[๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระธชทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ธชทายกเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๕. เอกปทุมวรรค] ๕. นฬาคาริกเถราปทาน
๔. ตีณิกิงกณิปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตีณิกิงกณิปูชกเถระ
(พระตีณิกิงกณิปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๗] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์
มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อภูตคณะ
ข้าพเจ้าได้เห็นผ้าบังสุกุลคล้องอยู่บนยอดไม้ที่ภูเขานั้น
[๒๘] ขณะนั้น ข้าพเจ้าร่าเริง มีจิตเบิกบาน
ได้เลือกเก็บดอกหงอนไก่ ๓ ดอกมาบูชาผ้าบังสุกุล
[๒๙] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายดอกไม้ ๓ ดอก
[๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตีณิกิงกณิปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ตีณิกิงกณิปูชกเถราปทานที่ ๔ จบ
๕. นฬาคาริกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนฬาคาริกเถระ
(พระนฬาคาริกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๑] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์
มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อหาริกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๕. เอกปทุมวรรค] ๕. นฬาคาริกเถราปทาน
พระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ
ประทับอยู่ที่โคนไม้ ในครั้งนั้น
[๓๒] ข้าพเจ้าได้สร้างเรือนไม้อ้อ มุงด้วยหญ้า
แผ้วถางที่จงกรมแล้ว ได้ถวายแด่พระสยัมภู
[๓๓] ในกัปที่ ๑๔ ข้าพเจ้ารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก
ได้ครองเทวสมบัติตลอด ๗๔ ชาติ
[๓๔] ได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๗ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ นับชาติไม่ถ้วน
[๓๕] วิมานของข้าพเจ้าสูงลอยเด่น เหมือนสายรุ้ง
วิมานของข้าพเจ้ามีเสา ๑,๐๐๐ ต้น
มีสีเลื่อมประภัสสร (ไม่มีวิมานอื่นเสมอเหมือน)
[๓๖] ข้าพเจ้าเสวยสมบัติทั้ง ๒ แล้ว อันกุศลมูลตักเตือน
จึงออกบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม
[๓๗] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเด็ดเดี่ยวเพื่อบำเพ็ญเพียร
สงบระงับ ไม่มีอุปธิ
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างไม่มีอาสวะ
ดุจช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนฬาคาริกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นฬาคาริกเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๕. เอกปทุมวรรค] ๖. จัมปกปุปผิยเถราปทาน
๖. จัมปกปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจัมปกปุปผิยเถระ
(พระจัมปกปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๙] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์
มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อฉาปละ
พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุทัสสนะ
ประทับอยู่ระหว่างภูเขา
[๔๐] ข้าพเจ้าถือดอกจำปาเหาะไปทางอากาศ
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้ข้ามโอฆกิเลสได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
[๔๑] ขณะนั้น ข้าพเจ้าได้ยกดอกจำปา ๗ ดอกขึ้นไว้เหนือศีรษะ
บูชาพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระสยัมภู
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๔๒] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจัมปกปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จัมปกปุปผิยเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๕. เอกปทุมวรรค] ๘. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
๗. ปทุมปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปทุมปูชกเถระ
(พระปทุมปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๔] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์
มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อโรมสะ
ก็เวลานั้นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะ
ประทับอยู่ ณ ที่กลางแจ้ง
[๔๕] ข้าพเจ้าออกจากที่อยู่มากั้นดอกบัวหลวง(บังแดด)ถวาย
ครั้นกั้นอยู่ตลอดหนึ่งวันแล้ว
จึงกลับมายังที่อยู่ตามเดิม
[๔๖] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปทุมปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปทุมปูชกเถราปทานที่ ๗ จบ
ภาณวารที่ ๑๓ จบ
๘. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระติณมุฏฐิทายกเถระ
(พระติณมุฏฐิทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๘] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์
มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อลัมพกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๒๘ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น