Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๓-๔ หน้า ๑๙๕ - ๒๕๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย
อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๗. อัชเชลผลทายกเถราปทาน
[๗๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมาตุลุงคผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
มาตุลุงคผลทายกเถราปทานที่ ๖ จบ
๗. อัชเชลผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัชเชลผลทายกเถระ
(พระอัชเชลผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๔] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอชินะ(สิทธัตถะ)
ผู้เพียบพร้อมด้วยจรณะ ฉลาดในสมาธิ เป็นมุนี
ประทับอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๘. อโมรผลิยเถราปทาน
[๗๕] ข้าพเจ้าถือผลรกฟ้ามีขนาดเท่าหม้อ
ถือร่มใบไม้แล้วได้ถวายพระศาสดา
[๗๖] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัชเชลผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
อัชเชลผลทายกเถราปทานที่ ๗ จบ
๘. อโมรผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอโมรผลิยเถระ
(พระอโมรผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๐] ข้าพเจ้าได้ถวายผลอโมระแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๙. ตาลผลิยเถราปทาน
[๘๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๘๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอโมรผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อโมรผลิยเถราปทานที่ ๘ จบ
๙. ตาลผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตาลผลิยเถระ
(พระตาลผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๕] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสตรังสี๑
ทรงเป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
ทรงออกจากวิเวกแล้วเสด็จไปบิณฑบาต

เชิงอรรถ :
๑ สตรังสี เป็นพระคุณนามของพระพุทธเจ้า หมายถึงพระพุทธเจ้ามีพระรัศมีแผ่ออกจากพระวรกายหลายร้อย
หลายแสน เปรียบเหมือนรัศมีดวงอาทิตย์ที่แผ่ออกไปทั่วทุกทิศ (ขุ.อป.อ. ๒/๖๒-๓/๑๕๔,๑๕/๑๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๙. ตาลผลิยเถราปทาน
[๘๖] ข้าพเจ้าถือผลไม้อยู่ ได้เห็นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้องอาจกว่านรชน
เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี จึงได้ถวายผลตาล
[๘๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๘๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๙๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตาลผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ตาลผลิยเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑๐. นาฬิเกรผลทายกเถราปทาน
๑๐. นาฬิเกรผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนาฬิเกรผลทายกเถระ
(พระนาฬิเกรผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นชาวสวนอยู่ในกรุงพันธุมดี
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ซึ่งกำลังเสด็จไปในอากาศ
[๙๒] ข้าพเจ้าได้ถือผลมะพร้าวไปถวายพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ประทับยืนอยู่ในอากาศ ทรงรับแล้ว
[๙๓] ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความปลื้มใจ
และทรงนำความสุขมาให้ในปัจจุบัน
ข้าพเจ้ามีจิตผ่องใส เพราะได้ถวายผลมะพร้าวแด่พระพุทธเจ้า
[๙๔] ได้ประสบปีติอันไพบูลย์และสุขอันสูงสุด
รัตนะย่อมบังเกิดแก่ข้าพเจ้าผู้บังเกิดอยู่ในภพนั้น ๆ
[๙๕] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๙๖] ทิพยจักษุของข้าพเจ้าบริสุทธิ์
ข้าพเจ้าฉลาดในสมาธิ ถึงความสำเร็จอภิญญา
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๙๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๙๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๙๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนาฬิเกรผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
นาฬิเกรผลทายกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
กณิการวรรคที่ ๕๑ จบบริบูรณ์
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน ๒. เอกปัตตทายกเถราปทาน
๓. กาสุมาริกผลทายกเถราปทาน ๔. อวฏผลิยเถราปทาน
๕. จารผลิยเถราปทาน ๖. มาตุลุงคผลทายกเถราปทาน
๗. อัชเชลผลทายกเถราปทาน ๘. อโมรผลิยเถราปทาน
๙. ตาลผลิยเถราปทาน ๑๐. นาฬิเกรผลทายกเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๙๙ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๑. กุรัญชิยผลทายกเถราปทาน
๕๒. ผลทายกวรรค
หมวดว่าด้วยการถวายผลไม้เป็นต้น
๑. กุรัญชิยผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุรัญชิยผลทายกเถระ
(พระกุรัญชิยผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ เที่ยวอยู่ในป่า
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
[๒] ข้าพเจ้าเลื่อมใสแล้ว ได้ถือผลอัญชันขาว ด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
ไปถวายพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นเนื้อนาบุญ เป็นนักปราชญ์
[๓] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๒. กปิฏฐผลทายกเถราปทาน
[๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุรัญชิยผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กุรัญชิยผลทายกเถราปทานที่ ๑ จบ
๒. กปิฏฐผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกปิฏฐผลทายกเถระ
(พระกปิฏฐผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗] ข้าพเจ้าได้ถวายผลมะขวิดแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน
[๘] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๓. โกสุมพผลิยเถราปทาน
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกปิฏฐผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กปิฏฐผลทายกเถราปทานที่ ๒ จบ
๓. โกสุมพผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโกสุมพผลิยเถระ
(พระโกสุมพผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ถวายผลสะคร้อแด่พระผู้องอาจกว่านรชน
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ทรงงดงามดังต้นรกฟ้าขาว
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน
[๑๓] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๑๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๔. เกตกปุปผิยเถราปทาน
[๑๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโกสุมพผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โกสุมพผลิยเถราปทานที่ ๓ จบ
๔. เกตกปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเกตกปุปผิยเถระ
(พระเกตกปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๗] พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษสูงสุดประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำวินตา
ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้เป็นเอกอัครบุคคล มีพระทัยตั้งมั่น
[๑๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ด้วยดอกการะเกด
ซึ่งมีกลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้ง
[๑๙] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๕. นาคปุปผิยเถราปทาน
[๒๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเกตกปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เกตกปุปผิยเถราปทานที่ ๔ จบ
๕. นาคปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนาคปุปผิยเถระ
(พระนาคปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๓] ข้าพเจ้าได้นำดอกกากะทิงมาบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน
[๒๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๖. อัชชุนปุปผิยเถราปทาน
[๒๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนาคปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นาคปุปผิยเถราปทานที่ ๕ จบ
๖. อัชชุนปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัชชุนปุปผิยเถระ
(พระอัชชุนปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เป็นกินนรอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
ได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
[๒๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
เกิดความปราโมทย์ ประนมมือแล้ว
ถือดอกรกฟ้ามาบูชาพระสยัมภู
[๓๐] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๖. อัชชุนปุปผิยเถราปทาน
ข้าพเจ้าละร่างกินนรแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๓๑] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๖ ชาติ
ได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิครองมหาสมบัติ ๑๐ ชาติ
[๓๒] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
พืชนั้นเป็นอันข้าพเจ้าได้หว่านไว้แล้ว
ในเนื้อนาที่ดีคือพระสยัมภู
[๓๓] กุศลของข้าพเจ้ามีอยู่ ข้าพเจ้าบวชเป็นบรรพชิต
วันนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้ควรแก่การบูชาในศาสนาของพระศากยบุตร
[๓๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัชชุนปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัชชุนปุปผิยเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๗. กุฏชปุปผิยเถราปทาน
๗. กุฏชปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุฏชปุปผิยเถระ
(พระกุฏชปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๗] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่ออัจจละ
พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุทัสสนะ ประทับอยู่ที่ระหว่างภูเขา
[๓๘] ข้าพเจ้าถือดอกไม้ซึ่งเกิดที่ภูเขาหิมพานต์เหาะไป ณ ที่นั้น
ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ผู้ไม่มีอาสวะ
[๓๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถือดอกโมกใหญ่ทูลเกล้า
บูชาพระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๔๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุฏชปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กุฏชปุปผิยเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๘. โฆสสัญญกเถราปทาน
๘. โฆสสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโฆสสัญญกเถระ
(พระโฆสสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๔] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ซึ่งหมู่เทวดาห้อมล้อมแล้ว
[๔๕] ทรงประกาศสัจจะ ๔ ทรงแสดงอมตบทอยู่
ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมอันไพเราะของพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลกพระนามว่าสิขี
[๔๖] จึงทำจิตให้เลื่อมใสในพระสุรเสียงและในพระองค์
ผู้หาใครเสมอเหมือนและเปรียบเทียบมิได้
ครั้นทำจิตให้เลื่อมใสแล้ว จึงได้ข้ามภพที่ข้ามได้ยาก
[๔๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สัญญาในพระสุรเสียงในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระสุรเสียง
[๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
[๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโฆสสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โฆสสัญญกเถราปทานที่ ๘ จบ
๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัพพผลทายกเถระ
(พระสัพพผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เป็นพราหมณ์มีนามว่าวรุณ
เรียนจบมนตร์แล้วละทิ้งบุตร ๑๐ คน เข้าป่า
[๕๒] สร้างอาศรมอย่างดี สร้างบรรณศาลา
จัดไว้เป็นสัดส่วนน่ารื่นรมย์ใจ อยู่ในป่าใหญ่
[๕๓] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
พระองค์ทรงประสงค์จะช่วยเหลือข้าพเจ้า
จึงเสด็จมายังอาศรมของข้าพเจ้า
[๕๔] พระรัศมีได้แผ่ไปทั่วไพรสณฑ์
ครั้งนั้น ป่าใหญ่สว่างไสวด้วยพุทธานุภาพ
[๕๕] ข้าพเจ้าเห็นปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ผู้คงที่ จึงได้เก็บใบไม้มาเย็บเป็นกระทงแล้วใส่ผลไม้จนเต็ม
[๕๖] เข้าไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้ถวายทั้งหาบ
เพราะจะทรงอนุเคราะห์ข้าพเจ้า
พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
[๕๗] ท่านจงหาบตามหลังเรามา
เมื่อพระสงฆ์ฉันแล้ว บุญจักมีแก่ท่าน
[๕๘] ข้าพเจ้าได้หอบห่อผลไม้ถวายภิกษุสงฆ์
ทำจิตให้เลื่อมใสในภิกษุสงฆ์นั้นแล้ว
ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
[๕๙] ข้าพเจ้าผู้ประกอบด้วยบุญกรรม
เสวยยศ พร้อมด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง
และประโคมดนตรีอันเป็นทิพย์
อยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตนั้น
[๖๐] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
(ในกำเนิดนั้น ๆ) ข้าพเจ้าไม่มีความพร่องด้วยโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๑] เพราะได้ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าจึงครองความเป็นใหญ่
ตลอดทวีปทั้ง ๔ พร้อมทั้งทะเลและภูเขา
[๖๒] แม้ฝูงนกเท่าที่โผบินอยู่ในอากาศ
ก็อยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๓] ยักษ์ ภูต รากษส กุมภัณฑ์ และครุฑ
เท่าที่มีอยู่ในไพรสณฑ์ ต่างก็มาบำรุงข้าพเจ้า
[๖๔] แม้จระเข้ หมาใน ผึ้ง เหลือบ และยุงทั้ง ๒
ก็อยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
[๖๕] แม้นกครุฑและเหล่าปักษีที่มีกำลังมาก
ก็มานับถือข้าพเจ้าเป็นที่พึ่ง
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๖] แม้พวกนาคที่มีอายุยืน มีฤทธิ์
มียศมาก ก็อยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๗] ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี
หมาป่า หมาใน ก็อยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๘] รุกขเทวดาที่มีรัศมีดังดาวประกายพรึก
และเหล่าอากาสัฏฐเทวดา
ทั้งหมดล้วนนับถือข้าพเจ้าเป็นที่พึ่ง
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๙] ธรรมที่เห็นได้โดยยาก ละเอียด ลึกซึ้ง
ซึ่งพระศาสดาทรงประกาศไว้ดีแล้ว
ข้าพเจ้าก็ได้บรรลุแล้ว
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๐] ข้าพเจ้าบรรลุวิโมกข์ ๘ เป็นผู้มีความเพียร
และมีปัญญาเครื่องรักษาตนอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๑] บรรดาพุทธบุตรผู้บรรลุอรหัตตผล
สิ้นโทสะ มียศยิ่งใหญ่ ข้าพเจ้าก็เป็นผู้หนึ่ง
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
[๗๒] ข้าพเจ้าได้สำเร็จอภิญญา ถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว อยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๗๓] บรรดาพุทธบุตรผู้ได้วิชชา ๓ มีฤทธิ์
มียศยิ่งใหญ่ มีหูทิพย์ ข้าพเจ้าก็เป็นผู้หนึ่ง
[๗๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัพพผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
สัพพผลทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๑๐. ปทุมธาริยเถราปทาน
๑๐. ปทุมธาริยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปทุมธาริยเถระ
(พระปทุมธาริยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๘] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อโรมสะ
ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าอภิสัมภวะ ประทับอยู่กลางแจ้ง
[๗๙] ข้าพเจ้าออกจากที่อยู่ กั้นดอกปทุม(แทนร่ม)
ครั้นกั้นอยู่ตลอดหนึ่งวันแล้วจึงกลับไปยังที่อยู่
[๘๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปทุมธาริยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปทุมธาริยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ผลทายกวรรคที่ ๕๒ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรคนี้
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุรัญชิยผลทายกเถราปทาน ๒. กปิฏฐผลทายกเถราปทาน
๓. โกสุมพผลิยเถราปทาน ๔. เกตกปุปผิยเถราปทาน
๕. นาคปุปผิยเถราปทาน ๖. อัชชุนปุปผิยเถราปทาน
๗. กุฏชปุปผิยเถราปทาน ๘. โฆสสัญญกเถราปทาน
๙. สัพพผลทายกเถราปทาน ๑๐. ปทุมธาริยเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๘๓ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
๕๓. ติณทายกวรรค
หมวดว่าด้วยการถวายหญ้าเป็นต้น
๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระติณมุฏฐิทายกเถระ
(พระติณมุฏฐิทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อลัมพกะ
ที่ภูเขานั้นแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ
เสด็จจงกรมอยู่กลางแจ้ง
[๒] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้ออยู่ในป่าดงใหญ่
เห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
จึงได้ถวายหญ้ากำหนึ่ง
[๓] เพื่อประทับนั่งสำหรับพระพุทธเจ้า
ครั้นถวายแล้วทำจิตให้เลื่อมใส
ได้ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
บ่ายหน้าหลีกไปทางทิศเหนือ
[๔] ข้าพเจ้าพอเดินไปได้ไม่นานก็ถูกราชสีห์ทำร้าย
ถูกราชสีห์ฆ่าตายในที่นั้นนั่นเอง
[๕] ในเวลาใกล้ตาย กรรมที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้ในพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด ไม่มีอาสวะ ข้าพเจ้าจึงได้ไปเกิดในเทวโลก
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นจากแล่งไปแล้ว
[๖] ในเทวโลกนั้น ปราสาท ๗ ชั้น สูง ๑,๐๐๐ ชั่วลูกธนู
สะพรั่งไปด้วยธง พราวไปด้วยแก้วมณีสีเขียว
อันสวยงาม ซึ่งบุญกรรมเนรมิตให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
[๗] แสงสว่างของปราสาทนั้นพวยพุ่งดังดวงอาทิตย์อุทัย
ข้าพเจ้ามีนางเทพกัญญาอยู่มากมาย
เพลิดเพลินหมกมุ่นอยู่ในกามคุณ
[๘] ข้าพเจ้าถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว
จุติจากเทวโลกกลับมาเกิดเป็นมนุษย์
ได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะแล้ว
[๙] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายหญ้าสำหรับประทับนั่งไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายหญ้ากำหนึ่ง
[๑๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระติณมุฏฐิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ติณมุฏฐิทายกเถราปทานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๒. เวจจกทายกเถราปทาน
๒. เวจจกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเวจจกทายกเถระ
(พระเวจจกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๓] ข้าพเจ้าเลื่อมใส ได้ถวายเวจกุฎีหลังหนึ่งด้วยมือของตน
แด่พระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
[๑๔] ข้าพเจ้าได้ยานคือช้าง ยานคือม้า
และยานทิพย์ อย่างครบถ้วน
ได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะเพราะการถวายเวจกุฎีนั้น
[๑๕] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายเวจกุฎีไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเวจกุฎี
[๑๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเวจจกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เวจจกทายกเถราปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๓. สรณคมนิยเถราปทาน
๓. สรณคมนิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสรณคมนิยเถระ
(พระสรณคมนิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าผู้เป็นอาชีวกและภิกษุ
ลงเรือไปด้วยกัน เมื่อเรือกำลังจะอับปาง
ภิกษุได้ให้สรณะแก่ข้าพเจ้า
[๒๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ภิกษุนั้นได้ให้สรณะใดแก่ข้าพเจ้า
ด้วยสรณะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งสรณคมน์
[๒๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสรณคมนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สรณคมนิยเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน
๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัพภัญชนทายกเถระ
(พระอัพภัญชนทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๔] ข้าพเจ้าอยู่ใกล้พระราชอุทยานในกรุงพันธุมดี
ครั้งนั้น ข้าพเจ้านุ่งผ้าหนังสัตว์ สะพายคนโทน้ำ
[๒๕] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ มีความเพียร มีพระทัยแน่วแน่
มีปกติเข้าฌาน ยินดีในฌาน ทรงแสวงคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๖] สำเร็จความประสงค์ทั้งปวง ข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
ครั้นเห็นแล้วก็เป็นผู้เลื่อมใส มีใจยินดี ได้ถวายยาหยอดตา
[๒๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายยาหยอดตา
[๒๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัพภัญชนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัพภัญชนทายกเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๕. สุปฏทายกเถราปทาน
๕. สุปฏทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุปฏทายกเถระ
(พระสุปฏทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๑] พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จออกจากที่ประทับพักผ่อนกลางวันแล้ว
ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าทออย่างดี เนื้อเบา
บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง
[๓๒] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าอย่างดี
[๓๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุปฏทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุปฏทายกเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๖. ทัณฑทายกเถราปทาน
๖. ทัณฑทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระทัณฑทายกเถระ
(พระทัณฑทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เข้าไปยังป่าใหญ่
ตัดไม้ไผ่มาทำเป็นไม้แขวน(ผ้า) ถวายพระสงฆ์
[๓๗] ข้าพเจ้าไหว้ท่านผู้มีวัตรงาม ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้น
ครั้นถวายไม้แขวนแล้วมุ่งหน้าหลีกไปทางทิศเหนือ
[๓๘] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายไม้
[๓๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระทัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ทัณฑทายกเถราปทานที่ ๖ จบ
ภาณวารที่ ๒๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๗. คิริเนลปูชกเถราปทาน
๗. คิริเนลปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระคิริเนลปูชกเถระ
(พระคิริเนลปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๒] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ เที่ยวอยู่ในป่า
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
[๔๓] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ในพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
ทรงยินดีในประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์
จึงบูชาด้วยดอกไม้ที่บริสุทธิ์
[๔๔] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
[๔๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระคิริเนลปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
คิริเนลปูชกเถราปทานที่ ๗ จบ
๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโพธิสัมมัชชกเถระ
(พระโพธิสัมมัชชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๘] เมื่อชาติปางก่อน ข้าพเจ้าเก็บใบโพธิ์ที่ถูกทิ้งไว้
ที่ลานพระเจดีย์ไปทิ้ง จึงได้คุณ ๒๐ ประการ
[๔๙] ด้วยเดชแห่งกรรมนั้น
เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) ในภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
[๕๐] จุติจากเทวโลกแล้วมาสู่ภพมนุษย์
ก็เกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
[๕๑] ข้าพเจ้ามีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีร่างกายสูงใหญ่
รูปงาม สะอาดสะอ้าน สมบูรณ์ ไม่บกพร่อง
[๕๒] ข้าพเจ้าเกิดในภพใดภพหนึ่ง
คือในเทวโลกหรือในหมู่มนุษย์
มีผิวพรรณดังทองคำ
เหมือนทองคำที่นายช่างหลอมดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
[๕๓] ผิวของข้าพเจ้า อ่อนนุ่ม สนิท
ละเอียดอ่อนอยู่ตลอดเวลา
ในเพราะใบโพธิ์ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๔] ในคติไหน ๆ ก็ตามเถิด ฝุ่นละออง
ย่อมไม่ติดร่างกาย ที่ประชุมกันขึ้น
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๕] เพราะความร้อนจากลม แดด
หรือเพราะความร้อนจากไฟก็ตาม
ที่กายของข้าพเจ้าเหงื่อไม่ไหล
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๖] ที่กายของข้าพเจ้าไม่มีโรคเรื้อน ฝี
โรคกลาก ตกกระ พุพอง และหิดเปื่อย
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๗] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือโรคไม่มีในกาย
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๘] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือความบีบคั้นทางใจไม่มี
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๙] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือข้าพเจ้าไม่มีศัตรู
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
[๖๐] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือโภคสมบัติไม่มีความบกพร่องเลย
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๖๑] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือไม่มีอัคคีภัย ราชภัย โจรภัย และอุทกภัย
[๖๒] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือทาสหญิงชายเป็นผู้ติดตามคล้อยตามความคิดของข้าพเจ้า
[๖๓] บุคคลเกิดในมนุษยโลกที่มีอายุขัยเท่าใด
อายุของข้าพเจ้าไม่หย่อนไปกว่านั้น
ดำรงอยู่ได้จนชั่วอายุขัย
[๖๔] คนภายใน คนภายนอก ชาวนิคม
ตลอดจนชาวแว่นแคว้น ล้วนแต่เป็นผู้คอยช่วยเหลือ
มุ่งความเจริญ ปรารถนาความสุขแก่ข้าพเจ้าไปทุกคน
[๖๕] ทุก ๆ ภพ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีโภคะ มียศ
มีสิริ มีญาติ มีพวกพ้อง ไม่มีเวร
ปราศจากความสะดุ้งกลัวภัย ในกาลทั้งปวง
[๖๖] เมื่อข้าพเจ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ เทวดา
มนุษย์ อสูร คนธรรพ์ ยักษ์ และรากษส
ล้วนคอยอารักขาป้องกันอยู่ทุกเมื่อ
[๖๗] ข้าพเจ้าเสวยยศทั้ง ๒ ทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
และในอวสานก็ได้บรรลุนิพพานอันเกษมอย่างยอดเยี่ยม
[๖๘] คนเช่นใดพึงได้บุญเพราะเจาะจงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หรือต้นไม้เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระศาสดาพระองค์นั้น
สำหรับคนเช่นนั้น อะไรเล่าที่พึงได้โดยยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน
[๖๙] เขาเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าคนอื่น ๆ ในมรรค ผล และปริยัติธรรม
และในคุณคือฌาน และอภิญญา เป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วปรินิพพาน
[๗๐] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้ามีใจร่าเริงเก็บใบโพธิ์ไปทิ้ง
จึงเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยองค์คุณ ๒๐ ประการนี้ ในกาลทั้งปวง
[๗๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโพธิสัมมัชชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โพธิสัมมัชชกเถราปทานที่ ๘ จบ
๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอามัณฑผลทายกเถระ
(พระอามัณฑผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๔] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ออกจากสมาธิแล้วจงกรมอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน
[๗๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเก็บผลไม้หาบมา
ได้เห็นพระมหามุนีพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส เสด็จจงกรมอยู่
[๗๖] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ประนมมือเหนือศีรษะ
ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจึงได้ถวายผลแฟง
[๗๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลแฟง
[๗๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอามัณฑผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
อามัณฑผลทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
๑๐. สุคันธเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุคันธเถระ
(พระสุคันธเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๑] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่๑ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ทรงประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๘๒] พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๒
ซึ่งมีพระรัศมีประมาณ ๑ วาแวดล้อมแล้ว
ปกคลุมไปด้วยข่ายพระรัศมี
[๘๓] ทรงทำหมู่สัตว์ให้ยินดีได้เหมือนดวงจันทร์
เปล่งพระรัศมีได้เหมือนดวงอาทิตย์
ทำหมู่สัตว์ให้เยือกเย็นได้เหมือนเมฆฝน
เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนสาคร
[๘๔] พระองค์เปรียบดังแผ่นดินโดยศีล
เปรียบดังภูเขาหิมพานต์โดยสมาธิ
เปรียบดังอากาศโดยปัญญา
เป็นผู้ไม่ข้องเกี่ยว(อะไร ๆ)เหมือนสายลม
[๘๕] มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามอัธยาศัย
ไม่บกพร่อง ทรงแกล้วกล้าในท่ามกลางบริษัท
เมื่อจะฉุดมหาชนขึ้น(จากหล่มคือกาม)จึงทรงประกาศสัจจะ

เชิงอรรถ :
๑ มีพระยศยิ่งใหญ่ หมายถึงมียศแผ่ไปในโลกทั้ง ๓ คือ มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก (ขุ.อป.อ.
๒/๒๕๑/๓๓๑)
๒ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๘๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรเศรษฐี
มียศยิ่งใหญ่ในกรุงพาราณสี
ข้าพเจ้ามีทรัพย์และธัญชาติอย่างล้นเหลือ
จึงมีความองอาจ
[๘๗] ข้าพเจ้าเดินพักผ่อนไปจนถึงป่ามฤคทายวัน
ได้เห็นพระศาสดาผู้เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์โลก
กำลังแสดงอมตบทอยู่
[๘๘] มีพระดำรัสไพเราะ น่าฟัง
มีพระสุรเสียงดุจเสียงนกการเวก
มีพระสุรเสียงก้องกังวานคล้ายเสียงหงส์และเสียงฟ้าคำรน
ทำมหาชนให้รู้แจ้งชัด ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
[๘๙] ครั้นเห็นพระองค์แล้วและได้สดับพระสุรเสียงที่ไพเราะ
ข้าพเจ้าจึงได้สละโภคะมิใช่น้อย ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๙๐] ข้าพเจ้าบวชแล้วเช่นนี้ ไม่นานนักก็เป็นพหูสูต
เป็นพระธรรมกถึก มีปฏิภาณอันวิจิตร
[๙๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้องอาจในการพรรณนา
ได้สรรเสริญพระคุณของพระศาสดา
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำอยู่บ่อย ๆ
ณ ท่ามกลางบริษัทใหญ่ว่า
[๙๒] พระศาสดาพระองค์นี้ เป็นพระขีณาสพ
เป็นพระพุทธเจ้า ไม่มีทุกข์ ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว
ถึงความสิ้นกรรมทุกอย่าง ทรงพ้นจากกิเลสแล้ว
ในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ
[๙๓] พระพุทธเจ้าพระองค์นี้นั้น เป็นพระผู้มีพระภาค
พระองค์ทรงเป็นผู้ประเสริฐอย่างยิ่ง
ทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๙๔] เป็นพระฤาษีทรงฝึกพระองค์เองและฝึกมหาชน
ทรงสงบระงับเองและทำให้มหาชนสงบระงับ
ทรงดับกิเลสเองและทรงยังมหาชนให้ดับกิเลส
ทรงเบาพระทัยเองและทรงให้มหาชนเบาใจ
[๙๕] ทรงมีความแกล้วกล้า องอาจ กล้าหาญ มีพระปัญญา
ทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรงได้วสี ทรงมีชัยชนะ
ทรงชนะแล้ว ไม่ทรงคะนอง ทรงหมดความห่วงใย
[๙๖] เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน เป็นนักปราชญ์
ไม่หลงใหล ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นมุนี ทรงฝักใฝ่ในธุระ
ทรงกล้าหาญแม้ในหมู่เจ้าลัทธิ ดังพญาโคอุสภะ
พญาคชสาร และพญาราชสีห์
[๙๗] เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากมลทิน
เป็นดังพรหม ฉลาดกว่านักปราชญ์
กำจัดเสียซึ่งข้าศึกคือกิเลส หมดเสี้ยนหนาม
ปราศจากความเศร้าโศก ไม่มีใครเสมอเหมือน
เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้หมดจด
[๙๘] เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นที่พึ่ง เป็นหมอ
เป็นผู้กำจัดลูกศร(คือความโศก) เป็นนักรบ
เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้คงแก่เรียนและเรียนรู้กว้างขวาง
ไม่หวั่นไหว มีใจเบิกบาน ยิ้มแย้ม
[๙๙] ทรงฝึกอินทรีย์ เป็นผู้นำตนไป เป็นผู้ทำ เป็นผู้นำ
เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ยังสัตว์ให้ร่าเริง
เป็นผู้วิด เป็นผู้ตัด เป็นผู้ฟัง เป็นผู้สรรเสริญ
[๑๐๐] เป็นผู้ไม่มีลิ่มสลัก ปราศจากลูกศร ไม่มีทุกข์
ไม่มีความสงสัย เป็นผู้หมดตัณหา
ปราศจากธุลี เป็นผู้ขุด เป็นผู้ทำลาย
เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ทำให้ปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๑๐๑] เป็นผู้ช่วยสัตว์ให้ข้าม ให้ทำประโยชน์ ให้สร้างประโยชน์
เป็นผู้ช่วยให้ถึงสัมปทา เป็นผู้ช่วยสัตว์ให้บรรลุ
เป็นผู้มีประโยชน์เกื้อกูล เป็นผู้ฆ่า
ทรงทำกิเลสให้เร่าร้อน ทำตัณหาให้เหือดแห้ง
[๑๐๒] ดำรงอยู่ในสัจจะ หาผู้เสมอเหมือนมิได้
ไม่มีสหาย ทรงมีความกรุณา มีความมหัศจรรย์
ไม่ทรงหลอกลวง เป็นผู้ทำ
เป็นฤๅษี เป็นผู้ประเสริฐ(พระพุทธเจ้า)
[๑๐๓] ทรงข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว
ไม่ทรงถือพระองค์ ทรงมีพระคุณหาประมาณมิได้
ไม่มีใครเปรียบเทียบ ไม่ยึดถือถ้อยคำทุกชนิด
บรรลุธรรมที่ควรแนะนำทุกประการ ทรงชนะหมู่มาร
[๑๐๔] ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระนามว่าสตรังสีพระองค์นั้น
เป็นเหตุนำอมตมหานิพพานมาให้
เพราะฉะนั้น ความศรัทธาในพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์ จึงมีประโยชน์มาก
[๑๐๕] ข้าพเจ้าสรรเสริญพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นสรณะอย่างสูงสุดของโลกทั้ง ๓
ด้วยคุณมีอย่างนี้เป็นต้น
จึงแสดงธรรมกถาในท่ามกลางบริษัท
[๑๐๖] จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้เสวยความสุขมากในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตแล้วเกิดในมนุษย์ เป็นผู้มีกลิ่นหอม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๑๐๗] ลมหายใจ กลิ่นปาก และกลิ่นกายของข้าพเจ้า
ก็เช่นนั้นเหมือนกัน(คือมีกลิ่นหอม)
และกลิ่นทั้งหมดนั้น
ของข้าพเจ้าก็หอมอยู่เป็นนิตย์
[๑๐๘] กลิ่นปากของข้าพเจ้า หอมฟุ้งไปตลอดกาล
เหมือนกลิ่นดอกปทุม ดอกอุบล และดอกจำปา
และกายของข้าพเจ้าก็หอมฟุ้งไปทุกเมื่อเช่นนั้นเหมือนกัน
[๑๐๙] ทั้งหมดนั้นเป็นผลแห่งการกล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า
ผลนั้นน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง
ขอท่านทุกคนจงตั้งใจฟังภาษิตของเรา
[๑๑๐] ครั้นข้าพเจ้ากล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า
ซึ่งนำประโยชน์และความสุขมาให้แล้ว
เป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วในธรรมทั้งปวง
พระสงฆ์เป็นผู้ขวนขวายในความเพียรอย่างยิ่ง
[๑๑๑] มียศ ถึงความสุข งดงาม รุ่งเรือง น่ารัก น่าชม
เป็นผู้กล่าว ไม่ดูหมิ่นดูแคลน ไม่มีโทษ และเป็นผู้มีปัญญา
[๑๑๒] ขวนขวายในธรรมเป็นที่สิ้นกิเลส
พระนิพพานอันเหล่าชนผู้ภักดีต่อพระพุทธเจ้าพึงได้โดยง่าย
ข้าพเจ้าจักกล่าวถึงเหตุของพวกเขา
เชิญท่านทั้งหลายฟังเหตุนั้นตามเป็นจริง
[๑๑๓] ข้าพเจ้าถวายอภิวาทก็เพราะค้นพบพระยศ
ที่มีอยู่ของพระผู้มีพระภาค
เพราะเหตุนั้น แม้ข้าพเจ้าจะเกิดในภพใด ๆ ก็เป็นผู้มียศในภพนั้น ๆ
[๑๑๔] ข้าพเจ้าสรรเสริญพระพุทธเจ้าผู้ทำที่สุดทุกข์ได้
และพระธรรมที่สงบซึ่งปัจจัยปรุงแต่งมิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
เป็นผู้ให้ความสุขแก่สรรพสัตว์
เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงได้รับแต่ความสุข
[๑๑๕] ข้าพเจ้าผู้ประกอบด้วยปีติในพระพุทธเจ้า
สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า
เป็นที่พอใจของตนเอง และเป็นที่พอใจของคนอื่น
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีความพอใจ
[๑๑๖] พระชินเจ้าพระองค์ใด ทรงย่ำยีพวกเดียรถีย์
ล่วงพ้นเดียรถีย์ได้
ข้าพเจ้าเมื่อสรรเสริญคุณของพระชินเจ้าพระองค์นั้น
จึงชมเชยพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีแต่ความรุ่งเรือง
[๑๑๗] ข้าพเจ้าเมื่อกล่าวสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้กระทำตนให้เป็นที่รักแม้ของประชาชน
เป็นเหมือนดวงจันทร์อันมีในสารทกาล๑
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้น่ารัก น่าชม
[๑๑๘] ข้าพเจ้าชมเชยพระสุคตด้วยวาจาทุกอย่างตามความสามารถ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงมีปฏิภาณวิจิตรเหมือนท่านพระวังคีสะ
[๑๑๙] คนพาลเหล่าใดเป็นผู้มีความสงสัย จึงดูหมิ่นพระมหามุนี
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงข่มคนพาลเหล่านั้นโดยการข่มขี่ที่ชอบธรรม
[๑๒๐] ข้าพเจ้าช่วยกำจัดกิเลสทั้งหลายของเหล่าสัตว์
ด้วยการสรรเสริญพระพุทธเจ้า
เพราะอานุภาพของกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีจิตปราศจากกิเลส

เชิงอรรถ :
๑ สารทกาล หมายถึงฤดูใบไม้ร่วง ฤดูสารท ย่างเข้าฤดูหนาว (องฺ.ติก.(แปล) ๒๐/๖๔/๒๔๘,๙๕/๓๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๑๒๑] ข้าพเจ้าแสดงพุทธานุสสติ
ได้ทำปัญญาเครื่องตรัสรู้ให้เกิดแก่ผู้ฟัง
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งอรรถที่ละเอียด
[๑๒๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกอย่าง
จักข้ามพ้นห้วงน้ำคือสังสารวัฏไปได้
และเป็นผู้ได้วสี ไม่ถือมั่น๑ ถึงความดับสนิท
[๑๒๓] ในกัปนี้เอง ข้าพเจ้าได้สดุดีพระชินเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๒๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๒๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุคันธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุคันธเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ติณทายกวรรคที่ ๕๓ จบบริบูรณ์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ไม่ถือมั่น หมายถึงไม่ถือกิเลสเครื่องยึดมั่นถือมั่น คือ อุปาทาน ๔ ประการ คือ (๑) กามุปาทาน
(๒) ทิฏฐุปาทาน (๓) สีลัพพตุปาทาน (๔) อัตตวาทุปาทาน (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๒/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน ๒. เวจจกทายกเถราปทาน
๓. สรณคมนิยเถราปทาน ๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน
๕. สุปฏทายกเถราปทาน ๖. ทัณฑทายกเถราปทาน
๗. คิริเนลปูชกเถราปทาน ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน ๑๐. สุคันธเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๑๒๓ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑. มหากัจจายนเถราปทา
๕๔. กัจจายนวรรค
หมวดว่าด้วยพระกัจจายนะเป็นต้น
๑. มหากัจจายนเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหากัจจายนเถระ
(พระมหากัจจายนเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้หมดตัณหา ทรงชนะสิ่งที่ใคร ๆ เอาชนะไม่ได้
ทรงเป็นผู้นำ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒] พระองค์เป็นผู้แกล้วกล้า
มีพระเนตรเหมือนกลีบบัว
มีพระพักตร์ปราศจากมลทินดุจดวงจันทร์
มีพระฉวีวรรณดุจทองคำ
มีพระรัศมีเสมอด้วยแสงอาทิตย์
[๓] ดึงดูดดวงตาและดวงใจของสัตว์ไว้ได้
ประดับด้วยพระลักษณะอันประเสริฐ
ไม่ยึดถือถ้อยคำทุกชนิด
ผู้อันหมู่มนุษย์และเทวดาสักการะ
[๔] ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงช่วยเหล่าสัตว์ให้ตรัสรู้
ทรงนำไปได้อย่างรวดเร็ว ทรงมีพระสุรเสียงไพเราะ
มีพระอุปนิสัยเนื่องด้วยพระกรุณา
ทรงแกล้วกล้าในท่ามกลางบริษัท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑. มหากัจจายนเถราปทาน
[๕] ทรงแสดงธรรมอย่างไพเราะ ซึ่งประกอบด้วยสัจจะ ๔
ทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์ ที่จมอยู่ในเปือกตมคือโมหะได้
[๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นดาบส เที่ยวไปแต่ผู้เดียว
อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์
กำลังไปยังมนุษยโลกทางอากาศก็ได้เห็นพระชินเจ้า
[๗] ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระองค์แล้ว
ฟังพระธรรมเทศนาของพระธีรเจ้า
ผู้ทรงพรรณนาคุณอันยิ่งใหญ่ของสาวกอยู่ว่า
[๘-๙] ‘เราไม่เห็นสาวกอื่นบางรูป
ในธรรมวินัยนี้เหมือนพระกัจจายนะนี้
ผู้ประกาศธรรมที่เราแสดงไว้โดยย่อให้พิสดารได้
ทำชุมชนและเราให้ยินดี
เพราะฉะนั้น พระกัจจายนะนี้เป็นผู้เลิศในตำแหน่งที่เลิศนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจำไว้อย่างนี้เถิด’
[๑๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสที่รื่นรมย์ใจแล้ว
เกิดความอัศจรรย์ใจ จึงไปยังป่าหิมพานต์นำกลุ่มดอกไม้มา
[๑๑] บูชาพระผู้เป็นสรณะของสัตว์โลก
แล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น
ครั้งนั้น พระผู้เป็นที่อยู่แห่งสรณะ
ทรงทราบอัธยาศัยของข้าพเจ้าแล้ว
ได้ทรงพยากรณ์ว่า
[๑๒] ‘เธอทั้งหลายจงดูฤๅษีผู้ประเสริฐนี้
ซึ่งเป็นผู้มีผิวพรรณเหมือนทองคำที่ไล่มลทินออกแล้ว
มีโลมชาติชูชันและมีใจเบิกบาน ยืนประนมมือนิ่งอยู่
[๑๓] ร่าเริง มีนัยน์ตาเต็มดี
มีอัธยาศัยน้อมไปในคุณของพระพุทธเจ้า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑. มหากัจจายนเถราปทาน
มีใจเบิกบาน ซึ่งเกิดแต่ธรรม
มีรัศมีเรืองรองเหมือนถูกรดด้วยน้ำอมฤต
[๑๔] ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์ได้ฟังคุณของพระกัจจายนะแล้ว
จึงได้ยืนปรารถนาตำแหน่งนั้น
ในอนาคตกาลของพระโคดมพุทธเจ้า
[๑๕] ฤๅษีผู้นี้มีนามว่ากัจจายนะ ตามโคตร
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดา
[๑๖] เขาจักเป็นพหูสูต มีญาณยิ่งใหญ่
รู้อธิบายชัดแจ้ง เป็นมุนี
จักถึงตำแหน่งนั้น ดังที่เราพยากรณ์ไว้’
[๑๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๘] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
คติอื่นข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๙] ข้าพเจ้ารู้เฉพาะ ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
จะไม่เกิดในตระกูลที่ต่ำ
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๐] ในภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดเป็นพราหมณ์ปุโรหิต
ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนีที่รื่นรมย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑. มหากัจจายนเถราปทาน
[๒๑] เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อว่าติปีติวัจฉะ
เป็นผู้ฉลาด เรียนจบพระเวท
ส่วนมารดาของข้าพเจ้าชื่อว่าจันทนปทุมา
ข้าพเจ้าชื่อว่ากัจจายนะ เป็นผู้มีผิวพรรณสวยงาม
[๒๒] ข้าพเจ้าถูกพระเจ้าแผ่นดิน
ทรงส่งไปเพื่อพิจารณา(สืบข่าว)พระพุทธเจ้า
ได้เห็นพระผู้นำซึ่งเป็นประตูของโมกขบุรี๑
เป็นที่สั่งสมพระคุณ
[๒๓] และได้ฟังพุทธภาษิตที่ปราศจากมลทิน
เป็นเครื่องชำระล้างเปือกตมคือคติ
ได้บรรลุอมตธรรมที่สงบระงับ
พร้อมกับบุรุษที่เหลืออีก ๗ คน
[๒๔] ข้าพเจ้าเป็นผู้รู้อธิบายในอมตบทที่ยิ่งใหญ่ของพระสุคต
และมีมโนรถอันสำเร็จด้วยดี ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๒๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ โมกขบุรี หมายถึงบุรีคือพระนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
[๒๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัจจายนเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหากัจจายนเถราปทานที่ ๑ จบ
๒. วักกลิเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวักกลิเถระ
(พระวักกลิเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๘] พระผู้ทรงเป็นผู้นำมีพระนามไม่ต่ำต้อย
มีพระคุณนับไม่ถ้วน
พระนามว่าปทุมุตตระ ตามพระโคตร
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒๙] มีพระพักตร์เหมือนดอกปทุม
มีพระฉวีวรรณงดงาม ไม่มีมลทินเหมือนดอกปทุม
ไม่เปื้อนด้วยโลกธรรม เหมือนดอกปทุมไม่เปื้อนด้วยน้ำ
[๓๐] ทรงเป็นนักปราชญ์ มีพระเนตรเหมือนกลีบบัว
และน่ารักเหมือนดอกปทุม
กลิ่นพระโอษฐ์หอมคล้ายกลิ่นดอกปทุม
เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่าปทุมุตตระ
[๓๑] พระองค์ทรงเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก
ไม่ทรงถือพระองค์เปรียบเป็นนัยน์ตาให้คนบอด๑

เชิงอรรถ :
๑ เป็นนัยน์ตาให้คนบอด หมายความว่า ทรงประทานปัญญาจักษุให้แก่สรรพสัตว์ด้วยพระธรรมเทศนา
(ขุ.อป.อ. ๒/๓๑/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
มีพระอิริยาบถสงบ เป็นที่สั่งสมคุณ
เป็นดุจสาครที่รองรับพระกรุณาคุณและพระปัญญาคุณ
[๓๒] ถึงในครั้งไหน ๆ พระมหาวีระพระองค์นั้น
ก็เป็นผู้ที่พรหม อสูร และเทวดาบูชา เป็นผู้สูงสุดในหมู่ชน
ในท่ามกลางหมู่ชนที่คับคั่งไปด้วยเทวดาและมนุษย์
[๓๓] เมื่อจะให้บริษัททั้งปวงยินดีด้วยพระพักตร์มีกลิ่นหอม(เบิกบาน)
และด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะเพราะพริ้ง
จึงได้ชมสาวกของพระองค์ว่า
[๓๔] ภิกษุอื่นผู้มุ่งมั่นด้วยศรัทธา มีปัญญาดี
มีความอาลัยในการดูเราเช่นกับวักกลิภิกษุนี้ไม่มีเลย
[๓๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรของพราหมณ์ในกรุงหงสวดี
ได้ฟังพระดำรัสนั้น จึงปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๓๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลนิมนต์พระตถาคต
ผู้ไม่มีมลทินพระองค์นั้น พร้อมด้วยพระสาวก
ให้เสวยและฉันตลอด ๗ วันแล้วให้ครองผ้าชุดใหม่
[๓๗] ข้าพเจ้าหมอบลงแล้วจมลง(ดื่มด่ำ)ในสาคร
คือพระอนันตคุณของพระตถาคตพระองค์นั้น
เต็มเปี่ยมไปด้วยปีติ ได้กราบทูลคำนี้ว่า
[๓๘] ข้าแต่พระมหามุนี ผู้เป็นพระฤาษี
ขอข้าพระองค์จงเป็นเช่นกับภิกษุผู้เป็นสัทธาธิมุต (มุ่งมั่นด้วยศรัทธา)
ที่พระองค์ทรงตรัสชมเชยว่า เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีศรัทธา
[๓๙] เมื่อข้าพเจ้ากราบทูลดังนี้แล้ว
พระมหามุนีผู้มีความเพียรมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
มีทรรศนะที่หาเครื่องกั้นมิได้
ได้ตรัสพระดำรัสนี้ในชุมนุมชนว่า
[๔๐] ‘จงดูมาณพนี้ ผู้นุ่งผ้าเนื้อเกลี้ยงสีเหลือง
มีสังวาลทองคำคล้องกาย
ดึงดูดดวงตาและดวงใจของหมู่ชนไว้ได้
[๔๑] ในอนาคตกาล
มาณพนี้ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้สัทธาธิมุต
จักได้เป็นสาวกของพระโคดม
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๔๒] เขาเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
จักเป็นผู้เว้นจากความเดือดร้อนทั้งปวง
เป็นที่รวมแห่งโภคะทุกอย่าง มีความสุขเวียนว่ายตายเกิดไป
[๔๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๔๔] มาณพผู้นี้จักมีนามว่าวักกลิ ตามโคตร
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นพระสาวกของพระศาสดา’
[๔๕] ด้วยผลกรรมที่วิเศษนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔๖] ข้าพเจ้ามีความสุขในที่ทุกสถาน
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ได้เกิดในตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
[๔๗] ข้าพเจ้าผู้ละเอียดอ่อนเหมือนเนยข้น
นุ่มนิ่มเหมือนใบไม้อ่อนซึ่งยังนอนหงายอยู่
[๔๘] มารดาถูกภัยคือปีศาจคุกคาม
มีใจหวาดกลัวจึงให้นอนลง
แทบพระยุคลบาทของพระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระโลกนาถ ผู้ทรงเป็นผู้นำ
หม่อมฉันขอถวายทารกนี้แด่พระองค์
ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของเขาด้วยเถิด’
[๔๙] ครั้งนั้น พระมุนีพระองค์นั้นผู้ทรงเป็นที่พึ่ง
ของหมู่สัตว์ผู้หวาดกลัว ได้ทรงรับข้าพเจ้า
ด้วยฝ่าพระหัตถ์ที่บริสุทธิ์อ่อนนุ่มมีตาข่ายกำหนดด้วยจักร
[๕๐] จำเดิมแต่นั้นมา ข้าพเจ้าได้รับการคุ้มครองโดยไม่ต้องเฝ้ารักษา
จึงพ้นจากความป่วยไข้ทุกอย่าง อยู่อย่างสุขสำราญ
[๕๑] ข้าพเจ้าห่างจากพระสุคตเพียงครู่เดียว ก็กระวนกระวาย
พออายุได้ ๗ ขวบ ก็บวชเป็นบรรพชิต
[๕๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่อิ่มอยู่ เพราะเห็นพระรูปกายที่ประเสริฐ
ซึ่งเกิดจากพระบารมีทุกอย่าง
มีดวงตาสีดำสนิท มีผิวพรรณสัณฐานงดงาม
[๕๓] ครั้งนั้น พระชินเจ้าทรงทราบว่า
ข้าพเจ้ายินดีในพระรูป
จึงได้ตรัสสอนข้าพเจ้าว่า ‘อย่าเลย วักกลิ
ทำไม เธอจึงยินดีในรูปที่ชนพาลชอบเล่า
[๕๔] ผู้ใดเห็นพระสัทธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิตเห็นเรา
(ส่วน)ผู้ไม่เห็นพระสัทธรรม ถึงจะเห็นเราก็ชื่อว่าไม่เห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
[๕๕] ร่างกายมีโทษไม่สิ้นสุดเหมือนต้นไม้มีพิษ
เป็นที่อาศัยของโรคทุกชนิด ล้วนเป็นที่ประชุมของทุกข์
[๕๖] เพราะฉะนั้น เธอจงเบื่อหน่ายในรูป
พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย
จะถึงที่สุดแห่งสรรพกิเลสได้โดยง่ายเถิด’
[๕๗] ข้าพเจ้าถูกพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้แสวงหาประโยชน์พระองค์นั้น ทรงพร่ำสอนอย่างนี้
ได้ขึ้นไปยังภูเขาคิชฌกูฏ เพ่งดูอยู่ที่ซอกภูเขา
[๕๘] พระชินเจ้าผู้มหามุนีประทับยืนอยู่ที่เชิงเขา
เมื่อจะทรงปลอบโยนข้าพเจ้า ได้ตรัสเรียกว่า ‘วักกลิ’
ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสนั้นจึงเบิกบานใจ
[๕๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าวิ่งลงไปที่เงื้อมเขาลึกหลายร้อยชั่วบุรุษ
แต่ก็ถึงแผ่นดินได้โดยสะดวกทีเดียวด้วยพุทธานุภาพ
[๖๐] พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมเทศนา
คือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลายอีก
ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมนั้นแล้ว จึงได้บรรลุอรหัตตผล
[๖๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงพระปรีชามาก
ทรงบรรลุจรณธรรม๑ ทรงประกาศข้าพเจ้าว่า
เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายสัทธาธิมุต
ในท่ามกลางบุรุษผู้ควรบูชาอย่างยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ จรณธรรม หมายถึงจรณธรรม ๑๕ มีศีลเป็นต้น (ขุ.อป.อ. ๒/๖๑/๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๖๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๖๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวักกลิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วักกลิเถราปทานที่ ๒ จบ
๓. มหากัปปินเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหากัปปินเถระ
(พระมหากัปปินเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๖] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ทรงปรากฏแล้วในอากาศทั้งสิ้น
เหมือนดวงอาทิตย์ปรากฏในท้องฟ้าในสารทกาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๖๗] ทรงทำดอกบัวคือเวไนยสัตว์ให้เบ่งบานด้วยพระรัศมีคือพระดำรัส
พระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระองค์นั้น
ทรงทำเปือกตมคือกิเลสให้แห้งไปด้วยพระรัศมีคือปัญญา
[๖๘] พระผู้ทรงวชิรญาณขจัดยศของพวกเดียรถีย์
เหมือนดวงอาทิตย์
พระทิวากรพุทธเจ้าทรงส่องสว่าง
ทั้งกลางวันและกลางคืน ในที่ทุกแห่ง
[๖๙] พระพุทธองค์เป็นบ่อเกิดแห่งคุณ
เหมือนทะเลเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ
ทรงทำเมฆฝนคือธรรมให้ตกลงเพื่อหมู่สัตว์
เหมือนเมฆทำฝนให้ตก
[๗๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้พิพากษาอยู่ในกรุงหงสวดี
ได้เข้าไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
[๗๑] ซึ่งกำลังประกาศคุณของสาวกผู้มีสติ
ผู้กล่าวสอนภิกษุทั้งหลายอยู่ ทรงทำใจของข้าพเจ้าให้ยินดี
[๗๒] ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วเกิดปีติโสมนัส
ทูลนิมนต์พระตถาคตพร้อมด้วยสาวกให้เสวยและฉันแล้ว
ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๗๓] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีส่วนเปรียบด้วยหงส์
มีพระสุรเสียงเหมือนเสียงหงส์และเสียงมโหระทึก๑
ได้ตรัสว่า จงดูมหาอำมาตย์ผู้นี้ ผู้องอาจในการตัดสิน
[๗๔] ซึ่งหมอบอยู่แทบเท้าของเรา
มีโลมชาติชูชันและมีใจฟูขึ้น

เชิงอรรถ :
๑ มโหระทึก หมายถึงกลองโลหะชนิดหนึ่งของชนชาติที่อยู่ตอนใต้ประเทศจีน ใช้ตีเป็นสัญญาณและประโคม
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พ.ศ. ๒๕๒๕, น. ๖๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
มีวรรณะเหมือนแก้วมุกดาที่งดงาม
มีนัยน์ตาและใบหน้าที่ผ่องใส
[๗๕] มีบริวารเป็นอันมาก ทำราชการ มียศใหญ่
มหาอำมาตย์นี้ปรารถนาตำแหน่งภิกษุผู้กล่าวสอน
เพราะร่วมยินดีด้วย
[๗๖] ด้วยบิณฑบาต ด้วยการบริจาค
และด้วยการตั้งความปรารถนาไว้นี้
เขาจะไม่เกิดยังทุคติเลยตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป
[๗๗] จักเสวยความเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นเทวดาในหมู่เทพ
และความเป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์
จักบรรลุพระนิพพานด้วยผลกรรมที่เหลือ
[๗๘] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๗๙] มหาอำมาตย์นี้จักมีนามว่ากัปปินะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดา
[๘๐] จากนั้น ข้าพเจ้าได้ทำสักการะที่กระทำไว้ดีแล้ว
ในศาสนาของพระชินเจ้า ละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
[๘๑] ข้าพเจ้าครองราชสมบัติในเทวโลก
และมนุษยโลกโดยธรรม แล้วเกิดในตระกูลช่างหูก
ในหมู่บ้านใกล้กรุงพาราณสี
[๘๒] ข้าพเจ้ากับภรรยามีบริวาร ๑๐๐,๐๐๐ คน
ได้อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๘๓] นิมนต์ให้ฉันตลอดไตรมาส แล้วให้ครองไตรจีวร
ข้าพเจ้าทั้งหมดจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๘๔] ข้าพเจ้าทั้งหลายจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว
กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ในกุกกุฏบุรี ข้างภูเขาหิมพานต์
[๘๕] ข้าพเจ้าได้เป็นโอรสผู้มียศใหญ่นามว่ากัปปินะ
พวกที่เหลือเกิดในตระกูลอำมาตย์แวดล้อมข้าพเจ้า
[๘๖] ข้าพเจ้ามีความสุขในราชสมบัติเป็นอันมาก
สำเร็จสิ่งที่ต้องประสงค์ทุกประการ
ได้ฟังข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าที่พวกพ่อค้าบอกดังนี้ว่า
[๘๗] ‘พระพุทธเจ้าผู้เป็นเอกอัครบุคคล ไม่มีใครเหมือน
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์ทรงประกาศพระสัทธรรม
ซึ่งเป็นอมตะเป็นสุขอย่างประเสริฐ
[๘๘] และสาวกของพระองค์ขวนขวายดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว ไม่มีอาสวะ’
ครั้นข้าพเจ้าได้ฟังคำของพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว
ได้ทำสักการะพวกพ่อค้า
[๘๙] สละราชสมบัติ พร้อมด้วยอำมาตย์ ได้เป็นพุทธมามกะ
พากันออกเดินทาง ได้เห็นแม่น้ำมหาจันทามีน้ำเต็มเสมอขอบฝั่ง
[๙๐] ทั้งไม่มีท่าน้ำ ไม่มีแพ ข้ามได้ยาก
และยังมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว
ข้าพเจ้าข้ามแม่น้ำไปได้โดยความสวัสดี
เพราะระลึกถึงพระพุทธคุณว่า
[๙๑] ‘ถ้าพระพุทธเจ้าทรงข้ามกระแสน้ำคือภพ
ทรงถึงที่สุดแห่งโลก ทรงรู้แจ้งไซร้
ด้วยสัจวาจานี้ ขอการไปของข้าพเจ้าจงสำเร็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๙๒] ถ้ามรรคเป็นเครื่องให้สัตว์ถึงความสงบได้
เป็นเครื่องให้โมกขธรรมอันเป็นสันติสุขได้
ด้วยสัจวาจานี้ ขอการไปของข้าพเจ้าจงสำเร็จ
[๙๓] ถ้าพระสงฆ์เป็นผู้ข้ามพ้นความกันดารไปได้
เป็นเนื้อนาบุญอย่างยอดเยี่ยม
ด้วยสัจวาจานี้ ขอการไปของข้าพเจ้าจงสำเร็จ’
[๙๔] พร้อมกับที่ข้าพเจ้าทำสัจจะอย่างประเสริฐนี้
น้ำได้ไหลหลีกออกไปจากหนทาง
ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้ข้ามขึ้นฝั่งแม่น้ำที่น่ารื่นรมย์ใจได้โดยสะดวก
[๙๕] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่
เปล่งรัศมีดุจดวงอาทิตย์อุทัย รุ่งเรืองดุจภูเขาทอง
โชติช่วงดุจต้นพฤกษาประทีป
[๙๖] ผู้อันสาวกห้อมล้อม เปรียบดังดวงจันทร์
ที่ล้อมรอบด้วยดาวนักษัตร
ทำเทวดาและมนุษย์ให้เพลิดเพลิน
ประหนึ่งท้าววาสวะ ทำฝนคือรัตนะให้ตก
[๙๗] ข้าพเจ้าพร้อมด้วยอำมาตย์ถวายบังคม
เข้าเฝ้า ณ ที่สมควร
ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยแล้ว
จึงได้ทรงแสดงธรรม
[๙๘] ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ฟังธรรมที่ปราศจากมลทินแล้ว
ได้ทูลขอพระชินเจ้าว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
ขอได้โปรดให้ข้าพระองค์ทั้งหลายได้บรรพชาเถิด
ข้าพระองค์ทั้งหลายข้ามภพได้แล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๙๙] พระมุนีผู้ประเสริฐสุดตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว
เธอทั้งหลายจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์เถิด’
[๑๐๐] พร้อมกับพุทธดำรัสนี้ ข้าพเจ้าทุกคนล้วนทรงเพศเป็นภิกษุ
ได้อุปสมบท เป็นพระโสดาบันในศาสนา
[๑๐๑] จากนั้น พระผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ได้เสด็จไปยังพระเชตวัน แล้วทรงพร่ำสอน
ข้าพเจ้าผู้อันพระชินเจ้าทรงพร่ำสอนแล้วก็ได้บรรลุพระอรหัต
[๑๐๒] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้สั่งสอนภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป
แม้ภิกษุเหล่านั้นก็ปฏิบัติตามคำสอนของข้าพเจ้า
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๐๓] พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้น
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
ในท่ามกลางมหาชนว่า
‘ภิกษุชื่อกัปปินะเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ’
[๑๐๔] กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐
ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว(จากกิเลส)
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง
ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว
[๑๐๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัปปินเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหากัปปินเถราปทานที่ ๓ จบ
๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระทัพพมัลลปุตตเถระ
(พระทัพพมัลลบุตรเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐๘] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวง เป็นพระมุนี ทรงมีพระจักษุ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๑๐๙] พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงธรรมให้สัตว์รู้ชัดได้
ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น
ทรงฉลาดในเทศนา เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๑๑๐] พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในศีล ๕
[๑๑๑] เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาจึงหมดความอากูล
ว่างจากพวกเดียรถีย์
และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ได้วสี ผู้คงที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๑๒] พระมหามุนีพระองค์นั้นทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
มีพระฉวีวรรณคล้ายทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
[๑๑๓] ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น
ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๑๑๔] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรเศรษฐีผู้มียศใหญ่ในกรุงหงสวดี
ได้เข้าเฝ้าพระองค์ผู้ส่องโลกให้สว่างไสว
แล้วได้ฟังพระธรรมเทศนา
[๑๑๕] ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ซึ่งตรัสยกย่องภิกษุ
พร้อมด้วยสาวกผู้จัดแจงเสนาสนะให้ภิกษุทั้งหลายก็พลอยยินดี
[๑๑๖] จึงทำสักการะอย่างยิ่งใหญ่แด่พระองค์
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พร้อมทั้งพระสงฆ์
หมอบลงแทบพระบาทด้วยเศียรเกล้า
แล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๑๑๗] ความจริง ในครั้งนั้น พระมหาวีระพระองค์นั้น
ได้ทรงพยากรณ์กรรมของข้าพเจ้าไว้ว่า
‘บุตรเศรษฐีนี้ได้นิมนต์พระผู้เป็นผู้นำสัตว์โลก’
พร้อมด้วยพระสงฆ์ให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน
[๑๑๘] เขาจักมีดวงตาเหมือนกลีบบัว มีช่วงไหล่เหมือนราชสีห์
มีผิวพรรณดุจทองคำ หมอบอยู่แทบเท้าของเรา
ปรารถนาตำแหน่งอันสูงสุด
[๑๑๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๒๐] บุตรเศรษฐีนี้จักได้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปรากฏโดยชื่อว่าทัพพะ
เป็นภิกษุผู้เลิศฝ่ายภิกษุผู้จัดแจงเสนาสนะตามปรารถนา’
[๑๒๑] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒๒] ครองเทวสมบัติตลอด ๓๐๐ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
[๑๒๓] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงมีความสุขในทุกภพ
[๑๒๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้ทรงเป็นผู้นำ
ผู้มีพระเนตรงาม ทรงเห็นแจ้งธรรมทั้งปวงเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๒๕] ข้าพเจ้ามีจิตขัดเคือง ได้กล่าวตู่สาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้คงที่พระองค์นั้น ผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว
ทั้งที่รู้อยู่ว่า ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์
[๑๒๖] อนึ่ง ข้าพเจ้าจับสลากแล้วถวายข้าวสุกที่หุงด้วยน้ำนม
แด่พระสาวกทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ของพระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้ากว่านรชนพระองค์นั้นแหละ
[๑๒๗] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ทรงประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๒๘] พระองค์พร้อมด้วยสาวกประกาศศาสนาให้รุ่งเรือง
ข่มเดียรถีย์ผู้หลอกลวงได้แล้ว
ทรงแนะนำเหล่าเวไนยสัตว์ ปรินิพพานแล้ว
[๑๒๙] เมื่อพระโลกนาถพร้อมด้วยสาวกปรินิพพานแล้ว
เมื่อศาสนากำลังจะสิ้นไป เทพและมนุษย์พากันสลดใจ
สยายผม มีน้ำตานองหน้า คร่ำครวญว่า
[๑๓๐] ‘ดวงตาคือพระธรรมจักดับ
เราทั้งหลายจักไม่ได้เห็นท่านผู้มีวัตรดีงาม
จักไม่ได้ฟังพระสัทธรรม น่าสังเวชใจ เราทั้งหลายช่างมีบุญน้อย’
[๑๓๑] ครั้งนั้น พื้นปฐพีทั้งหมดนี้ ทั้งใหญ่ทั้งหนา
ได้ไหว สาครดังจะมีความเศร้าโศก
ส่งเสียงดังกึกก้องอย่างน่าสงสาร
[๑๓๒] เหล่าอมนุษย์ตีกลองอยู่ทั่วทั้ง ๔ ทิศ
อสนีบาตที่น่าสะพรึงกลัวก็ฟาดลงอยู่โดยรอบ
[๑๓๓] อุกกาบาตตกจากท้องฟ้า ปรากฏเป็นลำเพลิง
มีควันและเปลวเพลิงพวยพุ่ง
หมู่สัตว์ร้องครวญครางอย่างน่าสงสาร
[๑๓๔] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นภิกษุรวม ๗ รูปด้วยกัน
ได้เห็นความอุบาทว์ที่ร้ายแรง
แสดงเหตุถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งศาสนา
จึงเกิดความสังเวชใจ คิดกันว่า
[๑๓๕] ‘เราทั้งหลายเว้นศาสนาไม่ควรจะมีชีวิตอยู่
จึงเข้าไปยังป่าใหญ่แล้ว
บำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระชินสีห์เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๓๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้พบภูเขาหินสูงในป่า
จึงไต่บันไดขึ้นไปยังภูเขาลูกนั้นแล้วผลักบันไดให้ตกลง
[๑๓๗] ครั้งนั้น พระเถระได้ตักเตือนพวกข้าพเจ้าว่า
‘การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าหาได้แสนยาก
อีกประการหนึ่ง ศรัทธาที่ได้ไว้ก็หายาก
และศาสนายังเหลืออีกเล็กน้อย
[๑๓๘] ผู้ที่ปล่อยเวลาให้ผ่านไป จะต้องตกลงไปในสาคร
คือความทุกข์ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด
เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายควรกระทำความเพียร
ตลอดเวลาที่ศาสนายังดำรงอยู่เถิด’
[๑๓๙] ครั้งนั้น พระเถระนั้นเป็นพระอรหันต์
องค์รองได้เป็นพระอนาคามี
พวกข้าพเจ้าที่เหลือจากนั้น เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
ประกอบความเพียร จึงได้ไปเกิดยังเทวโลก
[๑๔๐] พระเถระองค์ที่ข้ามสงสารไป
ได้ปรินิพพานในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสเพียงองค์เดียว
ข้าพเจ้าทั้งหลาย คือ (๑) ตัวข้าพเจ้า (๒) พระปุกกุสาติ
(๓) พระสภิยะ (๔) พระพาหิยะ
[๑๔๑] (๕) พระกุมารกัสสปะ เกิดในที่นั้น ๆ
อันพระโคดมทรงอนุเคราะห์
จึงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำคือสงสารได้
[๑๔๒] ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลมัลลกษัตริย์
ในกรุงกุสินารา เมื่อยังอยู่ในครรภ์นั่นแหละ
มารดาได้สิ้นพระชนม์ เขาช่วยกันยกขึ้นสู่จิตกาธาน
ข้าพเจ้าได้ตกลงมาจากจิตกาธานนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๔๓] ตกลงไปในกองไม้ จากนั้น จึงปรากฏนามว่าทัพพะ
ด้วยผลแห่งการประพฤติพรหมจรรย์
ข้าพเจ้ามีอายุได้ ๗ ขวบก็หลุดพ้นจากกิเลส
[๑๔๔] ด้วยผลที่ข้าพเจ้าถวายข้าวสุกที่หุงด้วยน้ำนม
ข้าพเจ้าจึงประกอบด้วยองค์ ๕
เพราะบาปที่ข้าพเจ้ากล่าวตู่พระขีณาสพ
จึงถูกคนชั่วจำนวนมากโจท(กล่าวหา)
[๑๔๕] บัดนี้ ข้าพเจ้าล่วงบุญและบาปทั้ง ๒ แล้ว
ได้บรรลุสันติสุขอย่างยิ่ง อยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๔๖] ข้าพเจ้าจัดแจงเสนาสนะให้ท่านผู้มีวัตรดีงามทั้งหลายยินดี
พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้น
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๑๔๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระทัพพมัลลบุตรเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ทัพพมัลลปุตตเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๕. กุมารกัสสปเถราปทาน
๕. กุมารกัสสปเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุมารกัสสปเถระ
(พระกุมารกัสสปเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๕๐] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ เป็นนักปราชญ์
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๑๕๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์มีชื่อเสียงเลื่องลือ
เรียนจบไตรเพท เที่ยวพักสำราญในเวลากลางวัน
ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๑๕๒] กำลังทรงประกาศสัจจะ ๔
ช่วยมนุษย์พร้อมด้วยเทวดาให้ตรัสรู้
กำลังสรรเสริญสาวกของพระองค์
ผู้กล่าวธรรมีกถาอย่างวิจิตรอยู่ในหมู่มหาชน
[๑๕๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเบิกบานใจจึงทูลนิมนต์พระตถาคต
แล้วประดับมณฑปด้วยผ้าที่ย้อมด้วยสีต่าง ๆ
[๑๕๔] ให้โชติช่วงด้วยรัตนะต่าง ๆ ทูลนิมนต์พระตถาคต
พร้อมทั้งพระสงฆ์ให้เสวยและฉันโภชนะ
มีรสเลิศต่าง ๆ ตลอด ๗ วัน ในมณฑปนั้น
[๑๕๕] ได้บูชาพระตถาคตพร้อมทั้งสาวก
ด้วยดอกไม้อันสวยงามนานาชนิด
แล้วหมอบลงแทบพระบาท ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๑๕๖] ครั้งนั้น พระมุนีผู้ประเสริฐ ทรงมีพระกรุณา
ได้ตรัสว่า ‘จงดูพราหมณ์ผู้ประเสริฐนี้
ผู้มีปากและดวงตาเหมือนดอกปทุม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๕. กุมารกัสสปเถราปทาน
[๑๕๗] ผู้มากด้วยความปรีดาปราโมทย์
มีโลมชาติชูชันและมีใจฟูขึ้น มีนัยน์ตากลมโต
นำความร่าเริงมา มีความอาลัยในศาสนาของเรา
[๑๕๘] ผู้มีใจดี มีผ้าผืนเดียวหมอบอยู่แทบเท้าของเรา
เขาปรารถนาตำแหน่งคือการกล่าวธรรมได้อย่างวิจิตรนั้น
[๑๕๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๖๐] ผู้นี้จักมีนามว่ากุมารกัสสปะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๑๖๑] เพราะอานุภาพแห่งดอกไม้และผ้า
อันวิจิตรและรัตนะทั้งหลาย
เขาจักถึงความเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
ผู้กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร’
[๑๖๒] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๖๓] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
เหมือนตัวละครเต้นรำหมุนเวียนอยู่กลางเวที
ข้าพเจ้าเป็นลูกของเนื้อชื่อสาขะ
ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของแม่เนื้อ
[๑๖๔] ครั้งนั้น เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์
ถึงวาระที่จะต้องถูกฆ่า
มารดาของข้าพเจ้าถูกเนื้อชื่อสาขะทอดทิ้ง
จึงยึดเนื้อชื่อนิโครธเป็นที่พึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น