Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๔-๒ หน้า ๔๔ - ๘๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔-๒ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๑ ธัมมสังคนี



พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมสังคณี
_________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๑] สัมมาสังกัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๒] สัมมาวายามะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาวายามะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๓] สัมมาสติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ
ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าสัมมาสติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๔] สัมมาสมาธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาสมาธิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
สภาวธรรมนี้ชื่อว่ามรรคมีองค์ ๕ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๕] พละ ๗ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
พละ ๗ คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ ๖. หิริพละ
๗. โอตตัปปพละ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
[๙๖] สัทธาพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเชื่อ กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
สัทธาพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัทธาพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๗] วิริยพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่น
อย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ วิริยะ
วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๘] สติพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่
เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สติพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๙] สมาธิพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมาธิพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๐] ปัญญาพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด
ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน
แผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญา
เหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัญญาพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๑] หิริพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ละอายต่อ
การประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าหิริพละที่เกิด
ขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๒] โอตตัปปพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่เกรง
กลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
โอตตัปปพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าพละ ๗ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๓] เหตุ ๓ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เหตุ ๓ คือ
๑. อโลภะ
๒. อโทสะ
๓. อโมหะ
[๑๐๔] อโลภะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า อโลภะที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๕] อโทสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อโทสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๖] อโมหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ กุศลมูลคืออโมหะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอโมหะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุ ๓ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๗] ผัสสะ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๘] เวทนา ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าเวทนา ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๙] สัญญา ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญา ๑ ที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๑๑๐] เจตนา ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนา ๑ ที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๑๑๑] จิต ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิต ๑ ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑๒] เวทนาขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
[๑๑๓] สัญญาขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ๑
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑๔] สังขารขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ หิริ
โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา
จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑๕] วิญญาณขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิญญาณขันธ์
๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑๖] มนายตนะ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนายตนะ
๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑๗] มนินทรีย์ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ ๑
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑๘] มโนวิญญาณธาตุ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ สุญญตวาร
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑๙] ธัมมายตนะ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้ชื่อว่าธัมมายตนะ ๑ ที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๑๒๐] ธัมมธาตุ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้ชื่อว่าธัมมธาตุ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัย
นั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โกฏฐาสวาร จบ
สุญญตวาร
[๑๒๑] สภาวธรรม คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อาหาร อินทรีย์ ฌาน มรรค
พละ เหตุ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ มนายตนะ มนินทรีย์ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมายตนะ และธัมมธาตุ
ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๒๒] สภาวธรรม ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า
สภาวธรรมที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๒๓] ขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่าขันธ์ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๒๔] อายตนะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
มนายตนะ และธัมมายตนะ เหล่านี้ชื่อว่าอายตนะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ สุญญตวาร
[๑๒๕] ธาตุ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุ และธัมมธาตุ เหล่านี้ชื่อว่าธาตุที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๒๖] อาหาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร เหล่านี้ชื่อว่าอาหารที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๑๒๗] อินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ เหล่านี้ชื่อว่าอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๒๘] ฌาน ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา นี้ชื่อว่าฌานที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๒๙] มรรค ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
นี้ชื่อว่ามรรคที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๐] พละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ และ
โอตตัปปพละ เหล่านี้ชื่อว่าพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๑] เหตุ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อโลภะ อโทสะ และอโมหะ เหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๒] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๓] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๔] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๕] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ สุญญตวาร
[๑๓๖] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๗] เวทนาขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าเวทนาขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๘] สัญญาขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าสัญญาขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๙] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๔๐] วิญญาณขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าวิญญาณขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๔๑] มนายตนะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่ามนายตนะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๔๒] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๔๓] มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่ามโนวิญญาณธาตุที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๔๔] ธัมมายตนะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้ชื่อว่าธัมมายตนะที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๑๔๕] ธัมมธาตุ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้ชื่อว่าธัมมธาตุที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
สุญญตวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๓
กุศลจิตดวงที่ ๒
[๑๔๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
กุศลจิตดวงที่ ๓
[๑๔๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ
วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา
อัพยาบาท หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา
กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๗ ฌานมีองค์ ๕ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๖ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ก็เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๔๘] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๕
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ
อนภิชฌา อัพยาบาท หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา
จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กาย-
ปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ และ
อวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
กุศลจิตดวงที่ ๔
[๑๔๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
กุศลจิตดวงที่ ๕
[๑๕๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะ
เป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ
วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๕
อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ
กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา
กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ
วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๕๑] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๕๒] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่ง
มโนธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๑๕๓] อุเบกขา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเบกขาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๑๕๔] อุเปกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเปกขินทรีย์๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๗
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๔ มรรค
มีองค์ ๕ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๕๕] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ หิริ
โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา
จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
กุศลจิตดวงที่ ๖
[๑๕๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
กุศลจิตดวงที่ ๗
[๑๕๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๗
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ
สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาบาท
หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา
จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา
กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๗ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๖ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๕๘] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ
อนภิชฌา อัพยาบาท หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา
จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จตุกกนัย
กุศลจิตดวงที่ ๘
[๑๕๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
กามาวจรมหากุศลจิตทั้ง ๘ ดวง จบ
ทุติยภาณวาร จบ
รูปาวจรกุศลจิต
จตุกกนัย
[๑๖๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรค๑ เพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีวิตก วิจาร ปีติ และสุข อัน
เกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาว
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๖๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็น
หนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า เจริญมรรค หมายถึงอุบายหรือเหตุที่จะให้ได้ไปเกิดในรูปภพ (อภิ.สงฺ.อ. ๒๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จตุกกนัย
สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
กุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๓ มรรค
มีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ใน
สมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๖๒] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๖๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ที่
พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
กุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัย
นั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จตุกกนัย
[๑๖๔] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๖๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ
โสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา
สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป
ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ใน
สมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๖๖] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จตุกกนัย จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต ปัญจกนัย
ปัญจกนัย
[๑๖๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๖๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์ ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัย
นั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๖๙] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ
และอวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๗๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต ปัญจกนัย
เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป
ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๓ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัย
นั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๗๑] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๗๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา
สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ
ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกัน
เกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒ มรรค
มีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๗๓] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต ปัญจกนัย
ผัสสะ เจตนา จิต เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๗๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขได้แล้ว ฯลฯ บรรลุ
ปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็น
รูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัย
นั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๗๕] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ปัญจกนัย จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต ปฏิปทา ๔
ปฏิปทา ๔
[๑๗๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๗๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๗๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๗๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๘๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ
ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็น
อารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ปฏิปทา ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต อารมณ์ ๔
อารมณ์ ๔
[๑๘๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังน้อยและมีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นกุศล
[๑๘๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังน้อย แต่มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๘๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังมาก แต่มีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๘๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๘๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังน้อย และมี
อารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์
ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ที่มี
ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อารมณ์ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๑๖
จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๑๖
[๑๘๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย
และมีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๘๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย
แต่มีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๘๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก แต่มี
อารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๘๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก
และมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย
และมีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๑๖
[๑๙๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย
แต่มีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก
แต่มีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก
และมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย
และมีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย แต่
มีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๑๖
[๑๙๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก แต่
มีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก
และมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย
และมีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย แต่
มีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๐๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก แต่
มีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๐๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๑๖
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก
และมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๐๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย และมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ ที่มี
ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก แต่มีอารมณ์
เล็กน้อย ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลัง
มากและมีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย และมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ ที่มี
ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์
เล็กน้อย ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลัง
มาก และมีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธา-
ภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย
ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมี
อารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่ง
มีกำลังน้อย และมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทา-
ขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ที่มี
ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต อภิภายตนะ ปริตตะ
ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๑๖ จบ
จำแนกกสิณ ๘ เป็นอย่างละ ๑๖
[๒๐๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวาโยกสิณ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีนีลกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปีตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
โลหิตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกกสิณ ๘ เป็นอย่างละ ๑๖ จบ
อภิภายตนะ ปริตตะ
[๒๐๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๐๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะ
วิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อภิภายตนะ ปริตตะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต ปฏิปทา ๒
ปฏิปทา ๔
[๒๐๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๐๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัด
จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๐๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๐๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๑๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะ
วิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต อารมณ์ ๒
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ปฏิปทา ๔ จบ
อารมณ์ ๒
[๒๑๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัด
จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ซึ่งมีกำลังน้อย และมีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๑๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัด
จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๑๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะ
วิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ซึ่งมีกำลังน้อย และมี
อารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อารมณ์ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘
จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘
[๒๑๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมี
อารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๑๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มี
อารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๑๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมี
อารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๑๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มี
อารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘
[๒๑๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมี
อารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๑๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็ก
น้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๒๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมี
อารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๒๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์
เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๒๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกอภิภายตนะแม้นี้เป็นอย่างละ ๘
วิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘ จบ
จำแนกอภิภายตนะแม้นี้เป็นอย่างละ ๘
[๒๒๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อยที่มีสีงามหรือไม่งาม ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้
เราเห็น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๒๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อยที่มีสีงามหรือไม่งาม ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้
เราเห็น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน
ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกอภิภายตนะแม้นี้เป็นอย่างละ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต ปฏิปทา ๔
อัปปมาณะ
[๒๒๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็
เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๒๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้น ด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะ
วิตกวิจารสงบระงับไปปล้ว บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อัปปมาณะ จบ
ปฏิปทา ๔
[๒๒๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๒๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต อารมณ์ ๒
[๒๒๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๓๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นแล้ว ด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัด
จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๓๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ปฏิปทา ๔ จบ
อารมณ์ ๒
[๒๓๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘ อีกนัยหนึ่ง
[๒๓๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๓๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มี
อารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ มีกำลังมากและมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อารมณ์ ๒ จบ
จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘ อีกนัยหนึ่ง
[๒๓๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มี
อารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๓๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมี
อารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘ อีกนัยหนึ่ง
[๒๓๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มี
อารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๓๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมี
อารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๓๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มี
อารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๔๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์
ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๔๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘ อีกนัยหนึ่ง
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มี
อารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๔๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้น ด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมี
อารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๔๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปา-
ภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่ง
มีกำลังมากและมีอารมณ์ไพบูลย์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มี
อารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์
ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์
ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัย
ใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นกุศล
จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘ อีกนัยหนึ่ง จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกอภิภายตนะเป็นอย่างละ ๑๖
จำแนกอภิภายตนะแม้นี้เป็นอย่างละ ๘
[๒๔๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ที่มีสีงามหรือไม่งาม ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้
เราเห็น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๔๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ที่มีสีงามหรือไม่งาม ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรา
รู้ เราเห็น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกอภิภายตนะแม้นี้เป็นอย่างละ ๘ จบ
จำแนกอภิภายตนะเป็นอย่างละ ๑๖
[๒๔๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียวมีสีเขียว สีเขียวล้วน มีแสงสีเขียว ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า
เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๔๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอก ที่เหลือง มีสีเหลือง สีเหลืองล้วน มีแสงสีเหลือง ฯลฯ
เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง สีแดงล้วน มีแสงสีแดง ฯลฯ เห็นรูปภายนอก ที่ขาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกพรหมวิหารฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖
มีสีขาว สีขาวล้วน มีแสงสีขาว ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกอภิภายตนะเป็นอย่างละ ๑๖ จบ
จำแนกวิโมกข์ ๓ เป็นอย่างละ ๑๖
[๒๔๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เป็นผู้ได้รูปฌาน มีรูปภายในเป็น
อารมณ์ เห็นรูป สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๔๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอก สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๕๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ มนสิการวรรณกสิณว่างาม สงัด
จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกวิโมกข์ ๓ เป็นอย่างละ ๑๖ จบ
จำแนกพรหมวิหารฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖
[๒๕๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่สหรคตด้วยเมตตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกพรหมวิหารฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖
[๒๕๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๕๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๕๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๕๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วย
เมตตาพรหมวิหารอันไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นกุศล
[๒๕๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๕๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกพรหมวิหารฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖
[๒๕๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๕๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๖๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๖๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๖๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขได้ ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกพรหมวิหารฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อรูปาวจรกุศลจิต จำแนกอรูปฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖
จำแนกอสุภฌานเป็นอย่างละ ๑๖
[๒๖๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่สหรคตด้วยอุทธุมาตกสัญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๖๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยวินีลกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยวิปุพพกสัญญา ฯลฯ ที่
สหรคตด้วยวิจฉิททกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยวิกขายิตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคต
ด้วยวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยหตวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคด้วย
โลหิตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยปุฬุวกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกอสุภฌานเป็นอย่างละ ๑๖ จบ
รูปาวจรกุศลจิต จบ
อรูปาวจรกุศลจิต
จำแนกอรูปฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖
[๒๖๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา บรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็
เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] เตภูมิกกุศลจิต กามาวจรกุศลจิต
[๒๖๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญ-
จายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะละสุขได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคต
ด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๖๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญ-
จายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากิญจัญ-
ญายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขได้ ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๖๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญ-
ญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขได้ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกอรูปฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖ จบ
อรูปาวจรกุศลจิต จบ
เตภูมิกกุศลจิต
กามาวจรกุศลจิต
[๒๖๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็น
ชั้นต่ำ ฯลฯ เป็นชั้นกลาง ฯลฯ เป็นชั้นประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] เตภูมิกกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต
เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็น
ฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ
ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ
ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต เกิดขึ้น
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๗๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง๑ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ
ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย
ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็น
วิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตยชั้นต่ำ
ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
กามาวจรกุศลจิต จบ
รูปาวจรกุศลจิต
[๒๗๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๒๐๖-๒๐๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๖ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น