Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๕-๔ หน้า ๑๗๓ - ๒๒๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕-๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์



พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร
บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ มี
สัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
กล่าวสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ
โสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ๑ (๘)
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สุตตันตภาชนีย์ จบ
๒. อภิธรรมภาชนีย์
อัฏฐังคิกวาร
[๒๐๖] สัจจะ ๔ คือ

๑. ทุกข์ (ทุกข์)
๒. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์)
๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

บรรดาสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาว-
ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็น
กุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม และรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์๒

เชิงอรรถ :
๑ ม.อุ. ๑๔/๓๗๕/๓๑๙, ขุ.ป. ๓๑/๓๖/๔๒, อภิ.วิ. ๓๕/๔๘๗/๒๘๒
๒ ในอภิธรรมภาชนีย์ท่านยกทุกขสมุทัยขึ้นอธิบายก่อน (อภิ.วิ.อ. ๒๐๖-๒๑๔/๑๓๐-๑๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหาเสียได้ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น
บรรดามรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากวจีทุจริต ๔ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งวจีทุจริต
๔) สัมมาวาจา อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากกายทุจริต ๓ การ
ไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งกายทุจริต
๓) สัมมากัมมันตะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมิจฉาชีพ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งมิจฉาชีพ)
สัมมาอาชีวะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา
[๒๐๗] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรม
ที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม๑ ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
[๒๐๘] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา กิเลสที่เหลือ และสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็น
อารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของ
อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม
และรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือและละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ นี้เรียกว่า
ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทา
[๒๐๙] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มใน อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๖๐/๕๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร
ทุกข์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาว-
ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็น
กุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือ ละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ และละ
กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
[๒๑๐] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะและสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือ ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า
ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาว-
ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด
นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือ ละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ ละกุศลมูล ๓
ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และละสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของ
อาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ปัญจังคิกวาร
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ปัญจังคิกวาร
[๒๑๑] สัจจะ ๔ คือ

๑. ทุกข์ (ทุกข์)
๒. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์)
๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

บรรดาสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล
ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหาเสียได้ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ปัญจังคิกวาร
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๕ คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น
สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ
เนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา
[๒๑๒] บรรดาสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า
ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ สัพพสังคาหิกวาร
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาว-
ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด
นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือ ละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ ละกุศลมูล ๓
ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และละสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของ
อาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมา-
ทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
สัพพสังคาหิกวาร
[๒๑๓] สัจจะ ๔ คือ

๑. ทุกข์ (ทุกข์)
๒. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์)
๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

บรรดาสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล
ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ สัพพสังคาหิกวาร
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหาเสียได้ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
[๒๑๔] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า
ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาว-�
ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด
นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือ ละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ ละกุศลมูล ๓
ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และละสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๒๑๕] อริยสัจ ๔ คือ

๑. ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์)
๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์)
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์)

[๒๑๖] บรรดาอริยสัจ ๔ อริยสัจเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑. กุสลติกวิสัชนา
[๒๑๗] สมุทยสัจเป็นอกุศล มัคคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต
ทุกขสัจที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
๒. เวทนาติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
๓. วิปากติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก นิโรธสัจไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิด
วิบาก ทุกขสัจที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๔. อุปาทินนติกวิสัชนา
สมุทยสัจ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน สัจจะ ๒ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ทุกขสัจที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี
๕. สังกิลิฏฐติกวิสัชนา
สมุทยสัจ กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส สัจจะ ๒ กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส ทุกขสัจที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและ
เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
๖. สวิตักกติกวิสัชนา
สมุทยสัจมีทั้งวิตกและวิจาร นิโรธสัจไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มัคคสัจที่มีทั้งวิตก
และวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ทุกขสัจที่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่กล่าวไม่ได้
ว่า มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
๗. ปีติติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วยอุเบกขา
ทุกขสัจที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
๘. ทัสสนติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ สมุทยสัจ
ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ทุกขสัจที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๙. ทัสสนเหตุติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สมุทยสัจที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ทุกขสัจที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
๑๐. อาจยคามิติกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ มัคคสัจเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน นิโรธสัจ
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ทุกขสัจที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี
ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
๑๑. เสกขติกวิสัชนา
มัคคสัจเป็นของเสขบุคคล สัจจะ ๓ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
๑๒. ปริตตติกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นปริตตะ สัจจะ ๒ เป็นอัปปมาณะ ทุกขสัจที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็น
มหัคคตะก็มี
๑๓. ปริตตารัมมณติกวิสัชนา
นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ มัคคสัจมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ สมุทยสัจที่
มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์แต่ไม่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ หรือมีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ทุกขสัจที่มี
ปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์ก็มี
๑๔. หีนติกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นชั้นต่ำ สัจจะ ๒ เป็นชั้นประณีต ทุกขสัจที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็น
ชั้นกลางก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑๕. มิจฉัตตติกวิสัชนา
นิโรธสัจไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น มัคคสัจมีสภาวะชอบและให้ผล
แน่นอน สัจจะ ๒ ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง
นั้นก็มี
๑๖. มัคคารัมมณติกวิสัชนา
นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ สมุทยสัจกล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรค
เป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดี มัคคสัจไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี
ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ทุกขสัจที่มีมรรคเป็นอารมณ์แต่ไม่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
๑๗. อุปปันนติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้นแน่นอน
นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้น หรือจักเกิดขึ้นแน่นอน ทุกขสัจที่เกิดขึ้น
ก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
๑๘. อตีตติกวิสัชนา
สัจจะ ๓ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี นิโรธสัจกล่าวไม่
ได้ว่า เป็นอดีต เป็นอนาคต หรือเป็นปัจจุบัน
๑๙. อตีตารัมมณติกวิสัชนา
นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ มัคคสัจกล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์
มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ สัจจะ ๒ ที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบัน-
ธรรมเป็นอารมณ์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒๐. อัชฌัตตติกวิสัชนา
นิโรธสัจเป็นภายนอกตน สัจจะ ๓ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตน
ก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี
๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกวิสัชนา
นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ มัคคสัจมีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ สมุทยสัจที่
มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรม
ภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ทุกขสัจที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
หรือมีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
๒๒. สนิทัสสนติกวิสัชนา
สัจจะ ๓ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ทุกขสัจที่เห็นได้และกระทบได้ก็มี ที่เห็นไม่
ได้แต่กระทบได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ก็มี
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๒๑๘] สมุทยสัจเป็นเหตุ นิโรธสัจไม่เป็นเหตุ สัจจะ ๒ ที่เป็นเหตุก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุก็มี
สัจจะ ๒ มีเหตุ นิโรธสัจไม่มีเหตุ ทุกขสัจที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัจจะ ๒ สัมปยุตด้วยเหตุ นิโรธสัจวิปปยุตจากเหตุ ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วย
เหตุก็มี ที่วิปปยุตจากเหตุก็มี
สมุทยสัจเป็นเหตุและมีเหตุ นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมี
เหตุแต่ไม่เป็นเหตุ มัคคสัจที่เป็นเหตุและมีเหตุก็มี ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ทุกขสัจ
ที่เป็นเหตุและมีเหตุก็มี ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ
หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและ
สัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ มัคคสัจที่เป็นเหตุและสัมปยุต
ด้วยเหตุก็มี ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ทุกขสัจที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วย
เหตุก็มี ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วย
เหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
นิโรธสัจไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ สมุทยสัจกล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ มัคคสัจที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่
เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี ทุกขสัจที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี
ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุ
และไม่มีเหตุก็มี
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
สัจจะ ๓ มีปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธสัจไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
สัจจะ ๓ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธสัจไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
สัจจะ ๓ เห็นไม่ได้ ทุกขสัจที่เห็นได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้ก็มี
สัจจะ ๓ กระทบไม่ได้ ทุกขสัจที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี
สัจจะ ๓ ไม่เป็นรูป ทุกขสัจที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่เป็นรูปก็มี
สัจจะ ๒ เป็นโลกิยะ๑ สัจจะ ๒ เป็นโลกุตตระ
สัจจะ ๔ จิตบางดวงรู้ได้ สัจจะ ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นอาสวะ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอาสวะ ทุกขสัจที่เป็นอาสวะก็มี ที่
ไม่เป็นอาสวะก็มี
สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

เชิงอรรถ :
๑ สัจจะ ๒ คือ ทุกขสัจและสมุทยสัจ เป็นโลกิยธรรม ส่วนอีก ๒ คือ มัคคสัจและนิโรธสัจ เป็นโลกุตตรธรรม
(อภิ.วิ.อ. ๒๑๕/๑๓๒-๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สมุทยสัจสัมปยุตด้วยอาสวะ สัจจะ ๒ วิปปยุตจากอาสวะ ทุกขสัจที่สัมปยุต
ด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี
สมุทยสัจเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
ทุกขสัจที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่
เป็นอาสวะก็มี
สมุทยสัจเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ ทุกขสัจ
ที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็น
อาสวะก็มี
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สมุทยสัจกล่าวไม่
ได้ว่า วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือวิปปยุตจากอาสวะและ
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ทุกขสัจที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือวิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นสังโยชน์ สัจจะ ๒ ไม่เป็นสังโยชน์ ทุกขสัจที่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่ไม่
เป็นสังโยชน์ก็มี
สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
สมุทยสัจสัมปยุตด้วยสังโยชน์ สัจจะ ๒ วิปปยุตจากสังโยชน์ ทุกขสัจที่สัมปยุต
ด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
สมุทยสัจเป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
ทุกขสัจที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่
ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
สังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
ทุกขสัจที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็น
สังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วย
สังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ สมุทยสัจกล่าว
ไม่ได้ว่า วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือวิปปยุตจากสังโยชน์
และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ทุกขสัจที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือ
วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
๕. คันถโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นคันถะ สัจจะ ๒ ไม่เป็นคันถะ ทุกขสัจที่เป็นคันถะก็มี ที่ไม่
เป็นคันถะก็มี
สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของคันถะ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากคันถะ สัจจะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก
คันถะก็มี
สมุทยสัจเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
คันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ หรือเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ ทุกขสัจ
ที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
สมุทยสัจเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและ
สัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ ทุกขสัจที่
เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ สัจจะ ๒ ที่วิปปยุต
จากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากคันถะแต่เป็น
อารมณ์ของคันถะ หรือวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
๖-๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นโอฆะ ฯลฯ เป็นโยคะ ฯลฯ เป็นนิวรณ์ สัจจะ ๒ ไม่เป็นนิวรณ์
ทุกขสัจที่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
สมุทยสัจสัมปยุตด้วยนิวรณ์ สัจจะ ๒ วิปปยุตจากนิวรณ์ ทุกขสัจที่สัมปยุต
ด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ก็มี
สมุทยสัจเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
นิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์
ทุกขสัจที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็น
นิวรณ์ก็มี
สมุทยสัจเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์
และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ ทุกขสัจที่เป็น
นิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์
ก็มี
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ สมุทยสัจกล่าว
ไม่ได้ว่า วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือวิปปยุตจากนิวรณ์และ
ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ทุกขสัจที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือวิปปยุตจากนิวรณ์
และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา
สัจจะ ๓ ไม่เป็นปรามาส ทุกขสัจที่เป็นปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นปรามาสก็มี
สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของปรามาส๑ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากปรามาส สมุทยสัจที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุต
จากปรามาสก็มี ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสก็มี
สมุทยสัจกล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็น
อารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและ
เป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส ทุกขสัจที่
เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็น
ปรามาสก็มี
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส สัจจะ ๒ ที่
วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจาก
ปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์
ของปรามาสก็มี
๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
สัจจะ ๒ รับรู้อารมณ์ได้ นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ทุกขสัจที่รับรู้อารมณ์ได้
ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี
สัจจะ ๓ ไม่เป็นจิต ทุกขสัจที่เป็นจิตก็มี ที่ไม่เป็นจิตก็มี
สัจจะ ๒ เป็นเจตสิก นิโรธสัจไม่เป็นเจตสิก ทุกขสัจที่เป็นเจตสิกก็มี ที่ไม่เป็น
เจตสิกก็มี
สัจจะ ๒ สัมปยุตด้วยจิต นิโรธสัจวิปปยุตจากจิต ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วยจิตก็มี
ที่วิปปยุตจากจิตก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิตก็มี

เชิงอรรถ :
๑ ทุกขสัจและสมุทยสัจ เป็นอารมณ์ของปรามาส เพราะเป็นโลกิยธรรม ส่วนนิโรธสัจและมัคคสัจ เป็น
โลกุตตรธรรม จึงไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส (อภิ.วิ.อ. ๒๑๕/๑๓๒-๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สัจจะ ๒ ระคนกับจิต นิโรธสัจไม่ระคนกับจิต ทุกขสัจที่ระคนกับจิตก็มี ที่ไม่
ระคนกับจิตก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิตก็มี
สัจจะ ๒ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นิโรธสัจไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทุกขสัจที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานก็มี ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี
สัจจะ ๒ เกิดพร้อมกับจิต นิโรธสัจไม่เกิดพร้อมกับจิต ทุกขสัจที่เกิด
พร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตก็มี
สัจจะ ๒ เป็นไปตามจิต นิโรธสัจไม่เป็นไปตามจิต ทุกขสัจที่เป็นไปตามจิต
ก็มี ที่ไม่เป็นไปตามจิตก็มี
สัจจะ ๒ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน นิโรธสัจไม่ระคนกับจิตและ
มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทุกขสัจที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่ระคนกับ
จิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี
สัจจะ ๒ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต นิโรธสัจไม่ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต ทุกขสัจที่ระคนกับจิตมีจิตเป็น
สมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อม
กับจิตก็มี
สัจจะ ๒ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต นิโรธสัจไม่ระคนกับ
จิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ทุกขสัจที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและ
เป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิตก็มี
สัจจะ ๓ เป็นภายนอก ทุกขสัจที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
สัจจะ ๓ ไม่เป็นอุปาทายรูป ทุกขสัจที่เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปก็มี
สัจจะ ๓ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ทุกขสัจที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นอุปาทาน สัจจะ ๒ ไม่เป็นอุปาทาน ทุกขสัจที่เป็นอุปาทานก็มี
ที่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน๑
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากอุปาทาน สัจจะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่
วิปปยุตจากอุปาทานก็มี
สมุทยสัจเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น
อุปาทาน ทุกขสัจที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
สมุทยสัจที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วย
อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน ทุกขสัจที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี
ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและ
สัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน สัจจะ ๒ ที่
วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจาก
อุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี
๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นกิเลส สัจจะ ๒ ไม่เป็นกิเลส ทุกขสัจที่เป็นกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นกิเลส
ก็มี

เชิงอรรถ :
๑ สัจจะ ๒ คือ นิโรธสัจและมัคคสัจ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เพราะเป็นโลกุตตรธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของกิเลส สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สมุทยสัจกิเลสทำให้เศร้าหมอง สัจจะ ๒ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง ทุกขสัจ
ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี
สมุทยสัจสัมปยุตด้วยกิเลส สัจจะ ๒ วิปปยุตจากกิเลส ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วย
กิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสก็มี
สมุทยสัจเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
กิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส ทุกขสัจที่
เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
สมุทยสัจเป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
กิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส ทุกขสัจ
ที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่
ไม่เป็นกิเลสก็มี
สมุทยสัจเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลส
และสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส ทุกขสัจที่เป็นกิเลสและ
สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
กิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส สมุทยสัจกล่าว
ไม่ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส หรือวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลส ทุกขสัจที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่
ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส หรือวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สัจจะ ๒ ที่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สัจจะ ๒ ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สัจจะ ๒ ที่ต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
สัจจะ ๒ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สัจจะ ๒ ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
สัจจะ ๒ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สัจจะ ๒ ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
ก็มี
สมุทยสัจมีวิตก นิโรธสัจไม่มีวิตก สัจจะ ๒ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
สมุทยสัจมีวิจาร นิโรธสัจไม่มีวิจาร สัจจะ ๒ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
นิโรธสัจไม่มีปีติ สัจจะ ๓ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
นิโรธสัจไม่สหรคตด้วยปีติ สัจจะ ๓ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วย
ปีติก็มี
นิโรธสัจไม่สหรคตด้วยสุข สัจจะ ๓ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วย
สุขก็มี
นิโรธสัจไม่สหรคตด้วยอุเบกขา สัจจะ ๓ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
สมุทยสัจเป็นกามาวจร สัจจะ ๒ ไม่เป็นกามาวจร ทุกขสัจที่เป็นกามาวจร
ก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
สัจจะ ๓ ไม่เป็นรูปาวจร ทุกขสัจที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
สัจจะ ๓ ไม่เป็นอรูปาวจร ทุกขสัจที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจรก็มี
สัจจะ ๒ นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สัจจะ ๒ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
มัคคสัจเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ สัจจะ ๓ ไม่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
มัคคสัจให้ผลแน่นอน นิโรธสัจไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น๑ สัจจะ ๒ ที่ให้
ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
สัจจะ ๒ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า สัจจะ ๒ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
สมุทยสัจเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ สัจจะ ๒ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ ทุกขสัจ
ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
ปัญหาปุจฉกะ จบ
สัจจวิภังค์ จบบริบูรณ์

เชิงอรรถ :
๑ นิโรธสัจนั้น ได้แก่ นิพพาน เป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติของโยคีบุคคล ดังนั้น จะกล่าวว่า ให้ผลแน่นอน
หรือให้ผลไม่แน่นอนนั้นไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕. อินทริยวิภังค์] ๑. อภิธรรมภาชนีย์
๕. อินทริยวิภังค์
๑. อภิธรรมภาชนีย์
[๒๑๙] อินทรีย์ ๒๒ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ ๘. ปุริสินทรีย์
๙. ชีวิตินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์
๑๑. ทุกขินทรีย์ ๑๒. โสมนัสสินทรีย์
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ๑๔. อุเปกขินทรีย์
๑๕. สัทธินทรีย์ ๑๖. วิริยินทรีย์
๑๗. สตินทรีย์ ๑๘. สมาธินทรีย์
๑๙. ปัญญินทรีย์ ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๒๑. อัญญินทรีย์ ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์

[๒๒๐] บรรดาอินทรีย์ ๒๒ นั้น จักขุนทรีย์ เป็นไฉน
จักษุใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียก
ว่า จักขุนทรีย์๑ (๑)
โสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ เป็นไฉน
กายใดเป็นปสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า
กายินทรีย์๒ (๕)
มนินทรีย์ เป็นไฉน
มนินทรีย์หมวดละ ๑ ได้แก่ มนินทรีย์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
มนินทรีย์หมวดละ ๒ ได้แก่ มนินทรีย์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๗๑๐/๒๐๔ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๗๑๒/๒๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
มนินทรีย์หมวดละ ๓ ได้แก่ มนินทรีย์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็น
อัพยากฤตก็มี
มนินทรีย์หมวดละ ๔ ได้แก่ มนินทรีย์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี
ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
มนินทรีย์หมวดละ ๕ ได้แก่ มนินทรีย์ที่สัมปยุตด้วยสุขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยทุกขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโสมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโทมนัสสินทรีย์ก็มี
ที่สัมปยุตด้วยอุเปกขินทรีย์ก็มี
มนินทรีย์หมวดละ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
มนินทรีย์หมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนินทรีย์หมวดละ ๗ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุ
มนินทรีย์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนินทรีย์หมวดละ ๘ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณที่สหรคต
ด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ
มนินทรีย์หมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนินทรีย์หมวดละ ๙ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
มนินทรีย์หมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนินทรีย์หมวดละ ๑๐ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณที่สหรคต
ด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลก็มี ที่
เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
มนินทรีย์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
มนินทรีย์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้เรียกว่า มนินทรีย์ (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
อิตถินทรีย์ เป็นไฉน
ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายประจำเพศหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ
หญิง ภาวะหญิงของสตรี นี้เรียกว่า อิตถินทรีย์๑ (๗)
ปุริสินทรีย์ เป็นไฉน
ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพ
ชาย ภาวะชายของบุรุษ นี้เรียกว่า ปุริสินทรีย์๒ (๘)
ชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน
ชีวิตินทรีย์หมวดละ ๒ ได้แก่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปก็มี ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป
ก็มี
ในชีวิตินทรีย์ทั้ง ๒ นั้น ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูป เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น นี้
เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูป๓
ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
นี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป
นี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ (๙)
สุขินทรีย์ เป็นไฉน
ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส นี้
เรียกว่า สุขินทรีย์๔ (๑๐)
ทุกขินทรีย์ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๒/๑๙๔,๗๑๔/๒๐๕ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๓/๑๙๕,๗๑๖/๒๐๕
๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๔/๑๙๕,๗๑๘/๒๐๕ ๔ อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๕๒/๑๒๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์๑ (๑๑)
โสมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์๒ (๑๒)
โทมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์๓ (๑๓)
อุเปกขินทรีย์ เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์๔ (๑๔)
สัทธินทรีย์ เป็นไฉน
ศรัทธา ความเชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
สัทธาพละ นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์๕ (๑๕)
วิริยินทรีย์ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่น
อย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ
วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์๖ (๑๖)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๖๐/๑๕๘ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๘/๒๔
๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๑๗/๑๑๖ ๔ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๕๔/๔๗
๕ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๒/๒๓ ๖ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓/๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
สตินทรีย์ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ นี้เรียกว่า
สตินทรีย์๑ (๑๗)
สมาธินทรีย์ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงมั่น ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่
ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ
สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์๒ (๑๘)
ปัญญินทรีย์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์๓ (๑๙)
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่
เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบ
ธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้งนั้น ๆ นี้เรียกว่า
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์๔ (๒๐)
อัญญินทรีย์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว
เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้น ๆ นี้เรียกว่า อัญญินทรีย์๕ (๒๑)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๔/๒๓ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๕/๒๓ ๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๖/๒๔
๔ หมายถึงโสดาปัตติมรรค (อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๖/๘๘, อภิ.วิ.อ. ๒๑๙/๑๓๔)
๕ หมายถึงโสดาปัตติผลถึงอรหัตตมรรค (อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๖๔/๑๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒. ปัญหาปุจฉกะ
อัญญาตาวินทรีย์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้ทั่วแล้ว
เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้น ๆ นี้เรียกว่า อัญญาตาวินทรีย์๑ (๒๒)
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
๒. ปัญหาปุจฉกะ
[๒๒๑] อินทรีย์ ๒๒ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ ๘. ปุริสินทรีย์
๙. ชีวิตินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์
๑๑. ทุกขินทรีย์ ๑๒. โสมนัสสินทรีย์
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ๑๔. อุเปกขินทรีย์
๑๕. สัทธินทรีย์ ๑๖. วิริยินทรีย์
๑๗. สตินทรีย์ ๑๘. สมาธินทรีย์
๑๙. ปัญญินทรีย์ ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๒๑. อัญญินทรีย์ ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๒๒๒] บรรดาอินทรีย์ ๒๒ อินทรีย์เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงอรหัตตผล (อภิ.สงฺ.อ. ๕๕๓/๓๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑. กุสลติกวิสัชนา
[๒๒๓] อินทรีย์ ๑๐ เป็นอัพยากฤต โทมนัสสินทรีย์เป็นอกุศล อนัญญาตัญ-
ญัสสามีตินทรีย์เป็นกุศล อินทรีย์ ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี อินทรีย์ ๖
ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
๒. เวทนาติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๒ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา อินทรีย์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี อินทรีย์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ชีวิตินทรีย์ที่สัมปยุตด้วยสุข-
เวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนาก็มี
๓. วิปากติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๗ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อินทรีย์ ๓ เป็นวิบาก
อินทรีย์ ๒ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อัญญินทรีย์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
ก็มี อินทรีย์ ๙ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
๔. อุปาทินนติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๙ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน โทมนัสสินทรีย์กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน อินทรีย์ ๓ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อินทรีย์ ๙ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๕. สังกิลิฏฐติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๙ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส โทมนัสสินทรีย์
กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส อินทรีย์ ๓ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง
และไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส อินทรีย์ ๓ ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของ
กิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี อินทรีย์ ๖ ที่
กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่
เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
๖. สวิตักกติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๙ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร โทมนัสสินทรีย์มีทั้งวิตกและวิจาร
อุเปกขินทรีย์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี อินทรีย์ ๑๑ ที่มี
ทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
๗. ปีติติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๑ กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วย
อุเบกขา โสมนัสสินทรีย์ ที่สหรคตด้วยปีติแต่ไม่สหรคตด้วยสุขและไม่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติก็มี อินทรีย์ ๖ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่
สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี อินทรีย์ ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่
สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ
สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
๘. ทัสสนติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๕ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
โทมนัสสินทรีย์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี อินทรีย์ ๖ ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน
๓ ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๙. ทัสสนเหตุติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๕ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
โทมนัสสินทรีย์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี อินทรีย์ ๖ ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
๑๐. อาจยคามิติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน โทมนัสสินทรีย์เป็น
เหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
อัญญินทรีย์ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน
ก็มี อินทรีย์ ๙ ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
๑๑. เสกขติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล อินทรีย์ ๒ เป็นของเสข-
บุคคล อัญญาตาวินทรีย์เป็นของอเสขบุคคล อินทรีย์ ๙ ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี
ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
๑๒. ปริตตติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ เป็นปริตตะ อินทรีย์ ๓ เป็นอัปปมาณะ อินทรีย์ ๙ ที่เป็นปริตตะ
ก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
๑๓. ปริตตารัมมณติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๗ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อินทรีย์ ๒ มีปริตตะเป็นอารมณ์ อินทรีย์ ๓ มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ โทมนัสสินทรีย์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์แต่ไม่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
หรือมีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี อินทรีย์ ๙ ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์
มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
๑๔. หีนติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๙ เป็นชั้นกลาง โทมนัสสินทรีย์เป็นชั้นต่ำ อินทรีย์ ๓ เป็นชั้น
ประณีต อินทรีย์ ๓ ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี อินทรีย์ ๖ ที่เป็นชั้นต่ำ
ก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
๑๕. มิจฉัตตติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มี
สภาวะชอบและให้ผลแน่นอน อินทรีย์ ๔ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ไม่
แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี โทมนัสสินทรีย์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี
ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี อินทรีย์ ๖ ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี
ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
๑๖. มัคคารัมมณติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๗ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อินทรีย์ ๔ กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์
มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดี อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ไม่ใช่มีมรรค
เป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็น
เหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี อัญญินทรีย์ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็น
เหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็น
อธิบดีก็มี อินทรีย์ ๙ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็น
อธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็น
อธิบดีก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑๗. อุปปันนติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า ยังไม่เกิด
ขึ้น อินทรีย์ ๒ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้นแน่นอน
อินทรีย์ ๑๐ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
๑๘. อตีตติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
๑๙. อตีตารัมมณติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๗ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อินทรีย์ ๒ มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือ
มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ อินทรีย์ ๑๐ ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคต-
ธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
๒๐. อัชฌัตตติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๗ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อินทรีย์ ๓ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
อินทรีย์ ๔ ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี อินทรีย์ ๘ ที่มีธรรมภายในตน
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภาย
นอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ มีธรรมภาย
นอกตนเป็นอารมณ์ หรือมีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
๒๒. สนิทัสสนติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๕ เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ อินทรีย์ ๑๗ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๒๒๔] อินทรีย์ ๔ เป็นเหตุ อินทรีย์ ๑๘ ไม่เป็นเหตุ
อินทรีย์ ๗ มีเหตุ อินทรีย์ ๙ ไม่มีเหตุ อินทรีย์ ๖ ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
อินทรีย์ ๗ สัมปยุตด้วยเหตุ อินทรีย์ ๙ วิปปยุตจากเหตุ อินทรีย์ ๖ ที่
สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุตจากเหตุก็มี
อินทรีย์ ๔ เป็นเหตุและมีเหตุ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ
หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุ
แต่ไม่เป็นเหตุ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
อินทรีย์ ๔ เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุ
และสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ อินทรีย์ ๖
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
อินทรีย์ ๙ ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ อินทรีย์ ๔
กล่าวไม่ได้ว่าไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ อินทรีย์ ๖ ที่ไม่
เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ มีปัจจัยปรุงแต่ง อินทรีย์ ๒๒ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อินทรีย์ ๒๒ เห็นไม่ได้ อินทรีย์ ๕ กระทบได้ อินทรีย์ ๑๗ กระทบไม่ได้
อินทรีย์ ๗ เป็นรูป อินทรีย์ ๑๔ ไม่เป็นรูป ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่เป็นรูป
ก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นโลกิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตตระ อินทรีย์ ๙ ที่เป็นโลกิยะก็มี
ที่เป็นโลกุตตระก็มี
อินทรีย์ ๒๒ จิตบางดวงรู้ได้ อินทรีย์ ๒๒ จิตบางดวงรู้ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ไม่เป็นอาสวะ
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอารมณ์ของอาสวะ อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อินทรีย์ ๙ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
อินทรีย์ ๑๕ วิปปยุตจากอาสวะ โทมนัสสินทรีย์สัมปยุตด้วยอาสวะ
อินทรีย์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี
อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็น
อารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและ
เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อินทรีย์ ๙
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่
เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุต
ด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
อินทรีย์ ๙ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ อินทรีย์ ๓ วิปปยุต
จากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุต
จากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ อินทรีย์ ๓ ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุต
จากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี อินทรีย์ ๖ ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่
เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือวิปปยุตจากอาสวะ
และไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ไม่เป็นสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
อินทรีย์ ๙ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
อินทรีย์ ๑๕ วิปปยุตจากสังโยชน์ โทมนัสสินทรีย์สัมปยุตด้วยสังโยชน์
อินทรีย์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็น
อารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และ
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ อินทรีย์ ๙
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่
ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุต
ด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และ
สัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ อินทรีย์ ๖ กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
อินทรีย์ ๙ วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ อินทรีย์ ๓
วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า
วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ อินทรีย์ ๓ ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี อินทรีย์ ๖ ที่วิปปยุตจาก
สังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือ
วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
๕. คันถโคจฉกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ไม่เป็นคันถะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอารมณ์ของคันถะ อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
อินทรีย์ ๙ ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
อินทรีย์ ๑๕ วิปปยุตจากคันถะ โทมนัสสินทรีย์สัมปยุตด้วยคันถะ อินทรีย์ ๖
ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะก็มี
อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ หรือเป็น
อารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็น
อารมณ์ของคันถะ หรือเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ อินทรีย์ ๙ กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ ที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุต
ด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุต
ด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
คันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ ที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
อินทรีย์ ๙ วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ อินทรีย์ ๓ วิปปยุต
จากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจาก
คันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ หรือวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของ
คันถะ อินทรีย์ ๓ ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก
คันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี อินทรีย์ ๖ ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็น
อารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ หรือวิปปยุตจากคันถะและไม่
เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
๖-๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
อินทรีย์ ๙ ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๕ วิปปยุตจากนิวรณ์ โทมนัสสินทรีย์สัมปยุตด้วยนิวรณ์
อินทรีย์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ก็มี
อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็น
อารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่
ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือสัมปยุต
ด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย
นิวรณ์ หรือสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์
และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
อินทรีย์ ๙ วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ อินทรีย์ ๓ วิปปยุต
จากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจาก
นิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
อินทรีย์ ๓ ที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์
และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี อินทรีย์ ๖ ที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์
ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ไม่เป็นปรามาส
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอารมณ์ของปรามาส อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
อินทรีย์ ๙ ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
อินทรีย์ ๑๖ วิปปยุตจากปรามาส อินทรีย์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่
วิปปยุตจากปรามาสก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือ
เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาส
และเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส
อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส ที่เป็นอารมณ์
ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่
ไม่เป็นปรามาสก็มี
อินทรีย์ ๑๐ วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส อินทรีย์ ๓
วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส อินทรีย์ ๓ ที่วิปปยุตจาก
ปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์
ของปรามาสก็มี อินทรีย์ ๖ ที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
ที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุต
จากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็น
อารมณ์ของปรามาสก็มี
๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
อินทรีย์ ๗ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อินทรีย์ ๑๔ รับรู้อารมณ์ได้ ชีวิตินทรีย์ที่รับรู้
อารมณ์ได้ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี
อินทรีย์ ๒๑ ไม่เป็นจิต มนินทรีย์เป็นจิต
อินทรีย์ ๑๓ เป็นเจตสิก อินทรีย์ ๘ ไม่เป็นเจตสิก ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิก
ก็มี ที่ไม่เป็นเจตสิกก็มี
อินทรีย์ ๑๓ สัมปยุตด้วยจิต อินทรีย์ ๗ วิปปยุตจากจิต ชีวิตินทรีย์ที่
สัมปยุตด้วยจิตก็มี ที่วิปปยุตจากจิตก็มี มนินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยจิต
หรือวิปปยุตจากจิต
อินทรีย์ ๑๓ ระคนกับจิต อินทรีย์ ๗ ไม่ระคนกับจิต ชีวิตินทรีย์ที่ระคนกับจิต
ก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตก็มี มนินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๓ มีจิตเป็นสมุฏฐาน อินทรีย์ ๘ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ชีวิตินทรีย์
ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี
อินทรีย์ ๑๓ เกิดพร้อมกับจิต อินทรีย์ ๘ ไม่เกิดพร้อมกับจิต ชีวิตินทรีย์
ที่เกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตก็มี
อินทรีย์ ๑๓ เป็นไปตามจิต อินทรีย์ ๘ ไม่เป็นไปตามจิต ชีวิตินทรีย์ที่เป็นไป
ตามจิตก็มี ที่ไม่เป็นไปตามจิตก็มี
อินทรีย์ ๑๓ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน อินทรีย์ ๘ ไม่ระคนกับจิตและ
มีจิตเป็นสมุฏฐาน ชีวิตินทรีย์ที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่ระคนกับ
จิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี
อินทรีย์ ๑๓ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต อินทรีย์ ๘
ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต ชีวิตินทรีย์ที่ระคนกับจิตมีจิต
เป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและ
เกิดพร้อมกับจิตก็มี
อินทรีย์ ๑๓ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต อินทรีย์ ๘ ไม่
ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ชีวิตินทรีย์ที่ระคนกับจิตมีจิต
เป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไป
ตามจิตก็มี
อินทรีย์ ๖ เป็นภายใน อินทรีย์ ๑๖ เป็นภายนอก
อินทรีย์ ๗ เป็นอุปาทายรูป อินทรีย์ ๑๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป ชีวิตินทรีย์ที่
เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี
อินทรีย์ ๙ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ อินทรีย์ ๔ กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ อินทรีย์ ๙ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ไม่เป็นอุปาทาน
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
อินทรีย์ ๙ ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
อินทรีย์ ๑๖ วิปปยุตจากอุปาทาน อินทรีย์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี
ที่วิปปยุตจากอุปาทานก็มี
อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทาน
และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน
อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน ที่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
อินทรีย์ ๑๐ ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
อินทรีย์ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือ
สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและ
สัมปยุตด้วยอุปาทาน ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
อินทรีย์ ๑๐ วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อินทรีย์ ๓
วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อินทรีย์ ๓ ที่วิปปยุตจาก
อุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี อินทรีย์ ๖ ที่วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
ก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือวิปปยุตจากอุปาทานและ
ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ไม่เป็นกิเลส
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอารมณ์ของกิเลส อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
อินทรีย์ ๙ ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
อินทรีย์ ๑๕ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง โทมนัสสินทรีย์กิเลสทำให้เศร้าหมอง
อินทรีย์ ๖ ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี
อินทรีย์ ๑๕ วิปปยุตจากกิเลส โทมนัสสินทรีย์สัมปยุตด้วยกิเลส อินทรีย์ ๖
ที่สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสก็มี อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลส
และเป็นอารมณ์ของกิเลส หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส อินทรีย์ ๓
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่
เป็นกิเลส อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส ที่เป็น
อารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็น
กิเลสก็มี
อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลส
ทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลส
ทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุต
ด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วย
กิเลส หรือสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและ
สัมปยุตด้วยกิเลส ที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุต
ด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
อินทรีย์ ๙ วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส อินทรีย์ ๓ วิปปยุตจาก
กิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
แต่เป็นอารมณ์ของกิเลส หรือวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส อินทรีย์
๓ ที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี อินทรีย์ ๖ ที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่
วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลส
แต่เป็นอารมณ์ของกิเลส หรือวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๕ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค อินทรีย์ ๗ ที่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
อินทรีย์ ๑๕ ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ อินทรีย์ ๗ ที่ต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
อินทรีย์ ๑๕ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค อินทรีย์ ๗ ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
ก็มี
อินทรีย์ ๑๕ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ อินทรีย์ ๗ ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน
๓ ก็มี
อินทรีย์ ๙ ไม่มีวิตก โทมนัสสินทรีย์มีวิตก อินทรีย์ ๑๒ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มี
วิตกก็มี
อินทรีย์ ๙ ไม่มีวิจาร โทมนัสสินทรีย์มีวิจาร อินทรีย์ ๑๒ ที่มีวิจารก็มี ที่
ไม่มีวิจารก็มี
อินทรีย์ ๑๑ ไม่มีปีติ อินทรีย์ ๑๑ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
อินทรีย์ ๑๑ ไม่สหรคตด้วยปีติ อินทรีย์ ๑๑ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคต
ด้วยปีติก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๒ ไม่สหรคตด้วยสุข อินทรีย์ ๑๐ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยสุขก็มี
อินทรีย์ ๑๒ ไม่สหรตด้วยอุเบกขา อินทรีย์ ๑๐ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
อินทรีย์ ๑๐ เป็นกามาวจร อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นกามาวจร อินทรีย์ ๙ ที่เป็น
กามาวจรก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
อินทรีย์ ๑๓ ไม่เป็นรูปาวจร อินทรีย์ ๙ ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจร
ก็มี
อินทรีย์ ๑๔ ไม่เป็นอรูปาวจร อินทรีย์ ๘ ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็น
อรูปาวจรก็มี
อินทรีย์ ๑๐ นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อินทรีย์ ๓ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อินทรีย์
๙ ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
อินทรีย์ ๑๑ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อินทรีย์ ๑๐ ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี
อินทรีย์ ๑๐ ให้ผลไม่แน่นอน อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ให้ผลแน่นอน
อินทรีย์ ๑๑ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
อินทรีย์ ๑๐ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อินทรีย์ ๓ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อินทรีย์ ๙
ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี
อินทรีย์ ๑๕ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ โทมนัสสินทรีย์เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
อินทรีย์ ๖ ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
ปัญหาปุจฉกะ จบ
อินทริยวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๒๒๕] เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๒๖] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อวิชชา๑
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร วจีสังขาร
และจิตตสังขาร๒

เชิงอรรถ :
๑ ม.มู. ๑๒/๑๐๓/๗๔, สํ.นิ.๑๖/๒/๔ ๒ อภิ.วิ.อ. ๒๒๕/๑๔๕,๒๒๖/๑๕๒-๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
เจตนาที่เป็นกุศลซึ่งเป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร สำเร็จด้วยทาน ศีล และ
ภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
เจตนาที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน
เจตนาที่เป็นกุศลซึ่งเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร
กายสังขาร เป็นไฉน
กายสัญเจตนาเป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนาเป็นวจีสังขาร มโนสัญเจตนาเป็น
จิตตสังขาร
เหล่านี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
[๒๒๗] เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
และมโนวิญญาณ นี้เรียกว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
[๒๒๘] เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ (อุปาทายรูป) นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
[๒๒๙] เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เป็นไฉน
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และมนายตนะ
นี้เรียกว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๒๓๐] เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส และมโนสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
[๒๓๑] เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆาน-
สัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
มโนสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
[๒๓๒] เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เป็นไฉน
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา และธัมมตัณหา
นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
[๒๓๓] เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เป็นไฉน
กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
[๒๓๔] เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
ภพ ๒ คือ กรรมภพและอุปปัตติภพ
ในภพ ๒ นั้น กรรมภพ เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า กรรมภพ
กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมดเรียกว่า กรรมภพ
อุปปัตติภพ เป็นไฉน
กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ
เอกโวการภพ จตุโวการภพ และปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ
กรรมภพและอุปปัตติภพดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงมี
[๒๓๕] เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า เพราะ
ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
[๒๓๖] เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เป็นไฉน
ชรา ๑ มรณะ ๑
ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน
ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหัก ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยวย่น
ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า ชรา๑
มรณะ เป็นไฉน
ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือ
มฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่ง
ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ๒
ชราและมรณะดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
[๒๓๗] โสกะ เป็นไฉน
ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของผู้ที่ถูก
ความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล
หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)
ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า โสกะ๓
[๒๓๘] ปริเทวะ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. ๑๐/๓๘๙/๒๖๐, ม.มู. ๑๒/๙๒/๖๖-๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๗, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓,๒๗/๔๑,
๒๘/๔๒, ๓๓/๕๕, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๒/๑๑๗
๒ ที.ม. ๑๐/๓๙๐/๒๖๐, ม.มู. ๑๒/๙๒/๖๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๘, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓,๒๗/๔๑,
๒๘/๔๒,๓๓/๕๕, ขุ.ม. ๒๙/๔๑/๑๐๒, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๓/๑๑๘
๓ ขุ.ม. ๒๙/๔๔/๑๐๖, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๖, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่ร้องไห้
ภาวะที่คร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรรำพัน กิริยาที่
พิไรรำพัน ภาวะที่พิไรรำพัน ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์
ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่
ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด
อย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า ปริเทวะ๑
[๒๓๙] ทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกข์๒
[๒๔๐] โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส๓
[๒๔๑] อุปายาส เป็นไฉน
ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่คับแค้น ของผู้ที่ถูกความ
เสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือ
ความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ
(หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า อุปายาส๔
[๒๔๒] คำว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ นั้นอธิบาย
ว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
สุตตันตภาชนีย์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม. ๒๙/๔๔/๑๐๗, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๕/๑๑๘
๒ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๕๙/๑๕๘, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๖/๑๑๘
๓ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๑๗/๑๑๖, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๗/๑๑๘.
๔ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๘/๑๑๙.

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.ปัจจยจตุกกะ
๒. อภิธรรมภาชนีย์
๑. ปัจจยจตุกกะ
อวิชชามูลกนัย
[๒๔๓] เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ (มนายตนะ) จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.ปัจจยจตุกกะ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๓)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๔)
ปัจจยจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เหตุจตุกกะ
๒. เหตุจตุกกะ
อวิชชามูลกนัย
[๒๔๔] เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามเป็นเหตุจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑-๕)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีนามเป็นเหตุจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒-๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เหตุจตุกกะ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๓-๗)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๔-๘)
เหตุจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัมปยุตตจตุกกะ
๓. สัมปยุตตจตุกกะ
อวิชชามูลกนัย
[๒๔๕] เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑-๙)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒-๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัมปยุตตจตุกกะ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและนามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามรูปจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๓-๑๑)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและนามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ และอายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุต
ด้วยนามจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๔-๑๒)
สัมปยุตตจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น