Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๕-๘ หน้า ๔๐๓ - ๔๖๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕-๘ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์



พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
วิจาร เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ นี้เรียกว่า วิจาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิตกวิจารนี้ดังที่กล่าวมานี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีวิตกวิจาร
[๕๖๖] คำว่า เกิดจากวิเวก อธิบายว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข และ
เอกัคคตา ธรรมเหล่านั้นเกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว
ปรากฏแล้วในวิเวกนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เกิดจากวิเวก
[๕๖๗] คำว่า ปีติและสุข อธิบายว่า ปีติและสุขนั้นแยกเป็นปีติอย่างหนึ่ง
สุขอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น ปีติ เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี นี้เรียกว่า ปีติ
สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า สุข
สุขนี้สหรคต เกิดพร้อม ระคน และประกอบด้วยปีตินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียก
ว่า มีปีติและสุข
[๕๖๘] คำว่า ปฐม อธิบายว่า ชื่อว่าปฐม โดยลำดับแห่งการนับ ชื่อว่า
ปฐม เพราะโยคาวจรบุคคลเข้าถึงฌานนี้เป็นที่ ๑
[๕๖๙] คำว่า ฌาน อธิบายว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา
[๕๗๐] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุปฐมฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๗๑] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่าอยู่
[๕๗๒] คำว่า เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว อธิบายว่า วิตกวิจารนั้น
แยกเป็นวิตกอย่างหนึ่ง วิจารอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า วิตก
วิจาร เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ นี้เรียกว่า วิจาร
วิตกและวิจารดังกล่าวมานี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป
ถูกทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้
สิ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
[๕๗๓] คำว่า ภายในตน อธิบายว่า เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
[๕๗๔] คำว่า ผ่องใส อธิบายว่า ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปักใจเชื่อ
ความเลื่อมใสยิ่ง
[๕๗๕] คำว่า มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น อธิบายว่า ความตั้งอยู่แห่งจิต
ฯลฯ สัมมาสมาธิ
[๕๗๖] คำว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร อธิบายว่า วิตกวิจารนั้นแยกเป็น วิตก
อย่างหนึ่ง วิจารอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า วิตก
วิจาร เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ นี้เรียกว่า วิจาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
วิตกวิจารดังที่กล่าวมานี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูก
ทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้น
ไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
[๕๗๗] คำว่า เกิดจากสมาธิ อธิบายว่า ความผ่องใส ปีติ และสุข ธรรม
เหล่านั้นเกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้วใน
สมาธินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เกิดจากสมาธิ
[๕๗๘] คำว่า มีปีติและสุข อธิบายว่า ปีติและสุขนั้นแยกเป็นปีติอย่าง
หนึ่ง สุขอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น ปีติ เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ฯลฯ ความที่จิตชื่นชมยินดี นี้เรียกว่า ปีติ
สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ฯลฯ กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า สุข
สุขนี้สหรคต เกิดพร้อม ระคน ประกอบด้วยปีตินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีปีติและสุข
[๕๗๙] คำว่า ทุติยะ อธิบายว่า ชื่อว่าทุติยะ โดยลำดับแห่งการนับ ชื่อว่า
ทุติยะ เพราะโยคาวจรบุคคลเข้าถึงฌานนี้เป็นที่ ๒
[๕๘๐] คำว่า ฌาน อธิบายว่า ความผ่องใส ปีติ สุข และเอกัคคตา
[๕๘๑] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุทุติยฌาน
[๕๘๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่าอยู่
[๕๘๓] ในคำว่า เพราะปีติจางคลายไป นั้น ปีติ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี นี้เรียกว่า ปีติ
ปีตินี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป ให้
พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะปีติจางคลายไป
[๕๘๔] ในคำว่า มีอุเบกขา นั้น อุเบกขา เป็นไฉน
อุเบกขา ภาวะที่วางเฉย กิริยาที่เพ่งเฉย ความวางตนเป็นกลางแห่งจิต นี้
เรียกว่า อุเบกขา
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยอุเบกขานี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า มีอุเบกขา
[๕๘๕] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๕๘๖] ในคำว่า มีสติสัมปชัญญะ นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสตินี้และสัมปชัญญะนี้ ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ
[๕๘๗] ในคำว่า เสวยสุขด้วยนามกาย นั้น สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า สุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
กาย เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า กาย
ภิกษุเสวยสุขนี้ด้วยกายนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เสวยสุขด้วยนามกาย
[๕๘๘] ในคำว่า ที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญ นั้น พระอริยะ
ทั้งหลาย เป็นไฉน
พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระอริยะทั้งหลาย พระอริยะ
เหล่านั้น กล่าวสรรเสริญ แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ชัดเจน
ประกาศบุคคลผู้ได้บรรลุนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ที่พระอริยะทั้งหลายกล่าว
สรรเสริญ
[๕๘๙] ในคำว่า มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข นั้น อุเบกขา เป็นไฉน
อุเบกขา ความวางเฉย กิริยาที่เพ่งเฉย ความเป็นกลางแห่งจิต นี้เรียกว่า
อุเบกขา
สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า สุข
ภิกษุประกอบด้วยอุเบกขา สติและสุขนี้ สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่
เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
[๕๙๐] คำว่า ตติยะ อธิบายว่า ชื่อว่าตติยะ โดยลำดับแห่งการนับ ชื่อว่า
ตติยะ เพราะโยคาวจรบุคคลเข้าถึงฌานนี้เป็นที่ ๓
[๕๙๑] คำว่า ฌาน อธิบายว่า อุเบกขา สติ สัมปชัญญะ สุข และเอกัคคตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๙๒] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุตติยฌาน
[๕๙๓] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๕๙๔] คำว่า เพราะละสุขและทุกข์ได้ อธิบายว่า สุขและทุกข์นั้นแยก
เป็น สุขอย่างหนึ่ง ทุกข์อย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส นี้
เรียกว่า สุข
ทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิด
แต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกข์
สุขและทุกข์นี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป
ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะละสุขและทุกข์ได้
[๕๙๕] คำว่า เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว อธิบายว่า โสมนัส
และโทมนัสนั้นแยกเป็นโสมนัสอย่างหนึ่ง โทมนัสอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น โสมนัส เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า โสมนัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
โสมนัสและโทมนัสนี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้
พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
[๕๙๖] คำว่า ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข อธิบายว่า ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่
ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่มี
ทุกข์ไม่มีสุข
[๕๙๗] ในคำว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา นั้น อุเบกขา เป็นไฉน
อุเบกขา ภาวะที่วางเฉย กิริยาที่เพ่งเฉย ความวางตนเป็นกลางแห่งจิต นี้
เรียกว่า อุเบกขา
สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สตินี้เป็นอันเปิดเผย บริสุทธิ์ ผุดผ่อง เพราะอุเบกขานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
[๕๙๘] คำว่า จตุตถะ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าเป็นที่ ๔ โดยลำดับแห่งการนับ
ชื่อว่าจตุตถะ เพราะโยคาวจรบุคคลเข้าถึงฌานนี้เป็นที่ ๔
[๕๙๙] คำว่า ฌาน อธิบายว่า อุเบกขา สติ และเอกัคคตา
[๖๐๐] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุจตุตถฌาน
[๖๐๑] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๖๐๒] ในคำว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง นั้น
รูปสัญญา เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ของโยคาวจรบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ
ผู้อุบัติในรูปภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เหล่านี้เรียกว่า รูปสัญญา
ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งรูปสัญญาเหล่านี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง
[๖๐๓] ในคำว่า เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา นั้น ปฏิฆสัญญา
เป็นไฉน
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา และโผฏฐัพพสัญญา
เหล่านี้เรียกว่า ปฏิฆสัญญา
ปฏิฆสัญญาเหล่านี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้
พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา
[๖๐๔] ในคำว่า เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา นั้น นานัตตสัญญา
เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วย
มโนธาตุ หรือผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณธาตุซึ่งไม่ได้เข้าสมาบัติ เหล่านี้
เรียกว่า นานัตตสัญญา
ภิกษุไม่มนสิการนานัตตสัญญาเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะไม่
มนสิการนานัตตสัญญา
[๖๐๕] ในคำว่า อากาศไม่มีที่สุด นั้น อากาศ เป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความ
ว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป ๔ ถูกต้องไม่ได้ นี้เรียกว่า
อากาศ๑

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๗๒๔/๒๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุตั้งจิตไว้ ตั้งจิตไว้ด้วยดี แผ่ไปไม่มีที่สุดในอากาศนั้น เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า อากาศไม่มีที่สุด
[๖๐๖] คำว่า อากาสานัญจายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกของ
บุคคลผู้เข้าอากาสานัญจายตนะ ผู้อุบัติในอากาสานัญจายตนภูมิ หรือพระอรหันต์
ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[๖๐๗] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุ
ถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุอากาสานัญจายตนะ
[๖๐๘] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๖๐๙] คำว่า เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งอากาสานัญจายตนะ
นี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
[๖๑๐] คำว่า วิญญาณไม่มีที่สุด อธิบายว่า ภิกษุมนสิการอากาศนั้นนั่น
แหละที่วิญญาณถูกต้องแล้ว แผ่ไปไม่มีที่สุด เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณไม่มี
ที่สุด
[๖๑๑] คำว่า วิญญาณัญจายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและเจตสิก
ของบุคคลผู้เข้าวิญญาณัญจายตนะ ผู้อุบัติในวิญญาณัญจายตนภูมิ หรือของพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[๖๑๒] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุวิญญาณัญจายตนะ
[๖๑๓] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า อยู่
[๖๑๔] คำว่า เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งวิญญาณัญจายตนะ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๖๑๕] คำว่า อะไร ๆ สักน้อยหนึ่งก็ไม่มี อธิบายว่า ภิกษุทำวิญญาณนั้น
นั่นแหละไม่ให้มี ให้เสื่อมไป ให้อันตรธานไป พิจารณาเห็นว่า น้อยหนึ่งก็ไม่มี
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อะไร ๆ สักน้อยหนึ่งก็ไม่มี
[๖๑๖] คำว่า อากิญจัญญายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกของ
บุคคลผู้เข้าอากิญจัญญายตนะ ผู้อุบัติในอากิญจัญญายตนภูมิ หรือของพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[๖๑๗] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุ
ถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุอากิญจัญญายตนะ
[๖๑๘] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๖๑๙] คำว่า เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งอากิญจัญญายตนะ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
คำว่า ผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อธิบายว่า ภิกษุมนสิการ
อากิญจัญญายตนะนั้นนั่นแหละโดยความเป็นฌานที่สงบ เจริญสมาบัติที่มีสังขาร
เหลืออยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
[๖๒๐] คำว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและ
เจตสิกของบุคคลผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือผู้อุบัติในเนวสัญญานา-
สัญญายตนภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[๖๒๑] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ
[๖๒๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
สุตตันตภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปาวจรกุศล
๒. อภิธรรมภาชนีย์
๑. รูปาวจรกุศล
ฌานจตุกกนัย
[๖๒๓] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑)
๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒)
๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓)
๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔)
[๖๒๔] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๕ คือ
วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑)
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๒)
ตติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒
คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยฌาน (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปาวจรกุศล
จตุตถฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔)
ฌานจตุกกนัย จบ
ฌานปัญจกนัย
[๖๒๕] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมี
องค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาวธรรม
ที่เป็นอกุศลทั้งหลาย บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๔ คือ วิจาร
ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยฌาน (๒)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๓)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒
คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อ
ว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.โลกุตตรกุศล
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒
คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๕)
ฌานปัญจกนัย จบ
๒. อรูปาวจรกุศล
[๖๒๖] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง
อากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
๓. โลกุตตรกุศล
ฌานจตุกกนัย
[๖๒๗] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
[๖๒๘] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก
วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.โลกุตตรกุศล
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๒)
ตติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุ
ตติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒
คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยฌาน (๓)
จตุตถฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุจตุตถฌานที่เป็นทุกขา-
ปฏิปทาทันธาภิญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัย
ใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔)
ฌานจตุกกนัย จบ
ฌานปัญจกนัย
[๖๒๙] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.รูปาวจรวิบาก
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกามและสภาวธรรมที่เป็น
อกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๔ คือ
วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๒)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๓)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๒ คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุปัญจมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๕)
ฌานปัญจกนัย จบ
๔. รูปาวจรวิบาก
[๖๓๐] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕. อรูปาวจรวิบาก
[๖๓๑] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน
ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวี-
กสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้น
นั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
๕. อรูปาวจรวิบาก
[๖๓๒] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง
อากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน
ที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและ
ทุกข์ได้ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๖. โลกุตตรวิบาก
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
๖. โลกุตตรวิบาก
[๖๓๓] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
[๖๓๔] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
... เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน
ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญ
ฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ
อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๗. รูปารูปาวจรกิริยา
๗. รูปารูปาวจรกิริยา
[๖๓๕] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
[๖๓๖] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะวิตกวิจาร
สงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็น
อารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
[๖๓๗] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่
เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะ
ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๖๓๘] ฌาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. ฯลฯ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่มีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. ฯลฯ เพราะปีติจางคลายไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าว
สรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ฯลฯ
๔. ฯลฯ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้วจึงบรรลุจตุตถฌาน
ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๖๓๙] บรรดาฌาน ๔ ฌานเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๖๔๐] ฌาน ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
เว้นสุขเวทนาที่เกิดในฌานนี้แล้ว ฌาน ๓ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เว้น
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดในฌานนี้แล้ว จตุตถฌานสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ฌาน ๔ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา
ฌาน ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
ฌาน ๔ ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
เว้นวิตกและวิจารที่เกิดในฌานนี้แล้ว ปฐมฌานมีทั้งวิตกและวิจาร ฌาน ๓ ไม่
มีทั้งวิตกและวิจาร
เว้นปีติที่เกิดในฌานนี้แล้ว ฌาน ๒ สหรคตด้วยปีติ เว้นสุขที่เกิดในฌาน
นี้แล้ว ฌาน ๓ สหรคตด้วยสุข เว้นอุเบกขาที่เกิดในฌานนี้แล้ว จตุตถฌาน
สหรคตด้วยอุเบกขา
ฌาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ฌาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ฌาน ๔ ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
ฌาน ๓ กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ หรือมีมหัคคตะเป็นอารมณ์
ฌาน ๔ ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์ก็มี จตุตถฌานที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่
มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
ฌาน ๔ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
ฌาน ๓ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดี
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี จตุตถฌานที่มี
มรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ฌาน ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
ฌาน ๓ กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ จตุตถฌานที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มี
อดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
ก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
ฌาน ๓ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ จตุตถฌานที่มีธรรมภายในตนเป็น
อารมณ์ก็มี มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี มีธรรมภายในตนและภายนอกตน
เป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายนอก
ตนเป็นอารมณ์ หรือมีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฌาน ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๖๔๑] ฌาน ๔ ไม่เป็นเหตุ ฌาน ๔ มีเหตุ
ฌาน ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ
ฌาน ๔ มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุต
ด้วยเหตุ
ฌาน ๔ สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ ฌาน ๔ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
ฌาน ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง ฌาน ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ฌาน ๔ เห็นไม่ได้ ฌาน ๔ กระทบไม่ได้
ฌาน ๔ ไม่เป็นรูป ฌาน ๔ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ฌาน ๔ จิตบางดวงรู้ได้ ฌาน ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้
๓.อาสวโคจฉกวิสัชนา
ฌาน ๔ ไม่เป็นอาสวะ ฌาน ๔ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะก็มี
ฌาน ๔ วิปปยุตจากอาสวะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของ
อาสวะ
ฌาน ๔ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
ฌาน ๔ ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
๔-๙. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
ฌาน ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
ฌาน ๔ รับรู้อารมณ์ได้ ฌาน ๔ ไม่เป็นจิต
ฌาน ๔ เป็นเจตสิก ฌาน ๔ สัมปยุตด้วยจิต
ฌาน ๔ ระคนกับจิต ฌาน ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ฌาน ๔ เกิดพร้อมกับจิต ฌาน ๔ เป็นไปตามจิต
ฌาน ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน ฌาน ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็น
สมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ฌาน ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ฌาน ๔ เป็น
ภายนอก
ฌาน ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป ฌาน ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
๑๑-๑๒. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา
ฌาน ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
ฌาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ฌาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
เว้นวิตกที่เกิดในฌานนี้แล้ว ปฐมฌานมีวิตก ฌาน ๓ ไม่มีวิตก เว้นวิจาร
ที่เกิดในฌานนี้แล้ว ปฐมฌานมีวิจาร ฌาน ๓ ไม่มีวิจาร เว้นปีติที่เกิดในฌานนี้แล้ว
ฌาน ๒ มีปีติ ฌาน ๒ ไม่มีปีติ เว้นปีติที่เกิดในฌานนี้แล้ว ฌาน ๒ สหรคตด้วยปีติ
ฌาน ๒ ไม่สหรคตด้วยปีติ
เว้นสุขที่เกิดในฌานนี้แล้ว ฌาน ๓ สหรคตด้วยสุข จตุตถฌานไม่สหรคตด้วย
สุข เว้นอุเบกขาที่เกิดในฌานนี้แล้ว จตุตถฌานสหรคตด้วยอุเบกขา ฌาน ๓ ไม่
สหรคตด้วยอุเบกขา
ฌาน ๔ ไม่เป็นกามาวจร ฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
ฌาน ๓ ไม่เป็นอรูปาวจร จตุตถฌานที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจร
ก็มี ฌาน ๔ ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ก็มี ฌาน ๔ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
ฌาน ๔ ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ฌาน ๔ ไม่เป็น
เหตุให้สัตว์ร้องไห้
ปัญหาปุจฉกะ จบ
ฌานวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๖๔๒] อัปปมัญญา ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันไพบูลย์ กว้าง
ขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลก
ทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่
๒. มีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยกรุณาอันไพบูลย์ กว้างขวาง
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่
๓. มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศ
เฉียง ก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ กว้างขวาง
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่
๔. มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง
ก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ กว้างขวาง
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่๑

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, ม.มู. ๑๒/๔๓๘/๓๘๕, อภิ.วิ. ๓๕/๖๙๙/๓๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.เมตตาอัปปมัญญานิทเทส
๑. เมตตาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๔๓] มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนคนเห็นคนผู้หนึ่ง
ผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจแล้วพึงรักใคร่ฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น เมตตา เป็นไฉน
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า เมตตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยเมตตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา
[๖๔๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ
[๖๔๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๔๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อยู่
[๖๔๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศที่
๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ทิศต่าง ๆ ก็เช่นนั้น
[๖๔๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก
หมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมด โดยประการทั้งปวง
ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.กรุณาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๔๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา นั้น เมตตา เป็นไฉน
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า เมตตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยเมตตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา
[๖๕๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด
กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด
ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท
[๖๕๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๕๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อยู่
๒. กรุณาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๕๓] มีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคน
ผู้หนึ่งผู้ตกทุกข์ได้ยากแล้วพึงสงสารฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น กรุณา เป็นไฉน
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า กรุณา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยกรุณานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตที่สหรคตด้วยกรุณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.กรุณาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๕๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ
[๖๕๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๕๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่
เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอยู่
[๖๕๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศที่
๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ทิศต่าง ๆ ก็เช่นนั้น
[๖๕๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก
หมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง ไม่
มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้
[๖๕๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยกรุณา นั้น กรุณา เป็นไฉน
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า กรุณา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้ เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยกรุณานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตสหรคตด้วยกรุณา
[๖๖๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด
กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด
ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท
[๖๖๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๖๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. มุทิตาอัปปมัญญานิทเทส
๓. มุทิตาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๖๓] มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยมุทิตาไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคนผู้หนึ่ง
ผู้เป็นที่รักชอบใจแล้วพลอยยินดีฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น มุทิตา เป็นไฉน
ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย นี้
เรียกว่า มุทิตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยมุทิตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตที่สหรคตด้วยมุทิตา
[๖๖๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ
[๖๖๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๖๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอยู่
[๖๖๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศที่
๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ ก็เช่นนั้น
[๖๖๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์
ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง
ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้
[๖๖๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา นั้น มุทิตา เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.อุเปกขาอัปปมัญญานิทเทส
ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย
มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้ชื่อว่ามุทิตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยมุทิตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่ามีจิตสหรคตด้วยมุทิตา
[๖๗๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด
กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด
ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท
[๖๗๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๗๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอยู่
๔. อุเปกขาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๗๓] มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคน
ผู้หนึ่งผู้เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ แล้วเป็นผู้มีอุเบกขาฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น อุเบกขา เป็นไฉน
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเปกขาเจโต-
วิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยอุเบกขานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่ามีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.อุเปกขาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๗๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ
[๖๗๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๗๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึง
ชื่อว่าอยู่
[๖๗๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศ
ที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ทิศต่าง ๆ ก็เช่นนั้น
[๖๗๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก
หมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง
ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้
[๖๗๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา นั้น อุเบกขา เป็นไฉน
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเปกขา-
เจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยอุเบกขานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่ามีจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา
[๖๘๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด
กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด
ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท
[๖๘๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๘๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอยู่
สุตตันตภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๖๘๓] อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. เมตตา (ความรักใคร่) ๒. กรุณา (ความสงสาร)
๓. มุทิตา (ความพลอยยินดี) ๔. อุเบกขา (ความวางเฉย)

เมตตากุศลฌานจตุกกนัย
[๖๘๔] บรรดาอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่
ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยเมตตา (๑)
เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่
กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๒)
เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยา
ที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๓)
เมตตากุศลฌานปัญจกนัย
[๖๘๕] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยาที่
รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยเมตตา (๑-๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาวธรรม
ที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่
ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยเมตตา (๒-๕)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับ
ไปแล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความ
รักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๓-๖)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยา
ที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๔-๗)
กรุณากุศลฌานจตุกกนัย
[๖๘๖] กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร กิริยาที่สงสาร
ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยกรุณา (๑)
กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความ
สงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร
กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๓)
กรุณากุศลฌานปัญจกนัย
[๖๘๗] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร
กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๑-๔)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาว-
ธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ไม่มีวิตกมี
เพียงวิจาร มีปีติและสุขที่เกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร
กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๒-๕)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับ
ไปแล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๓-๖)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร
กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๔-๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
มุทิตากุศลฌานจตุกกนัย
[๖๘๘] มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยา
ที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๑)
มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอย
ยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๒)
มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอย
ยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๓)
มุทิตากุศลฌานปัญจกนัย
[๖๘๙] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี
กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาว-
ธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๑-๔)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาวธรรม
ที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุข อัน
เกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี
ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยมุทิตา (๒-๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความ
พลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า
มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๓-๖)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี
กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาว-
ธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๔-๗)
อุเปกขากุศลฌาน
[๖๙๐] อุเบกขา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความวางเฉย
กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉย อุเปกขาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเบกขา
[๖๙๑] อัปปมัญญา ๔ คือ
๑. เมตตา ๒. กรุณา
๓. มุทิตา ๔. อุเบกขา
เมตตาวิปากฌาน
[๖๙๒] บรรดาอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นวิบาก
เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้ชื่อว่าเมตตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา
เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เป็นกุศล
...เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติย-
ฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่าเมตตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา
กรุณาวิปากฌาน
[๖๙๓] กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นวิบาก
เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา
สภาวธรรม ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา
กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
...เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติย-
ฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา
มุทิตาวิปากฌาน
[๖๙๔] มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นวิบาก
เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า
มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา
มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
...เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติย-
ฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจร-
กุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอย
ยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
อุเปกขาวิปากฌาน
[๖๙๕] อุเบกขา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
...เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา
เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉย อุเปกขาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า
อุเบกขา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเบกขา
[๖๙๖] อัปปมัญญา ๔ คือ
๑. เมตตา ๒. กรุณา
๓. มุทิตา ๔. อุเบกขา
เมตตากิริยาฌาน
[๖๙๗] บรรดาอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่
กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา
เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ
[๖๙๘] กรุณา เป็นไฉน
ฯลฯ
มุทิตา เป็นไฉน
ฯลฯ
อุเบกขา เป็นไฉน
ฯลฯ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะละสุข
และทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉย อุเปกขาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเบกขา
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๖๙๙] อัปปมัญญา ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็
เช่นนั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันไพบูลย์
กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง
สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่
ทั้งปวงอยู่
๒. มีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศ
เฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยกรุณาอันไพบูลย์ กว้างขวาง
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๓. มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง
ก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ กว้างขวาง หา
ประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง สัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่
๔. มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็
เช่น นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์
กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง
สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่
ทั้งปวงอยู่๑
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๗๐๐] บรรดาอัปปมัญญา ๔ อัปปมัญญาเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์
ร้องไห้
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๗๐๑] อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
อัปปมัญญา ๓ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา อุเบกขาสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, ม.มู. ๑๒/๔๓๘/๓๘๕, อภิ.วิ.๓๕/๖๙๙/๓๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
อัปปมัญญา ๔ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส อัปปมัญญา
๓ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
อุเบกขาไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
อัปปมัญญา ๓ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี แต่ไม่สหรคตด้วย
อุเบกขา ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติก็มี อุเบกขาสหรคตด้วยอุเบกขา
อัปปมัญญา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อัปปมัญญา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ
จุติ และนิพพานก็มี
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
อัปปมัญญา ๔ เป็นมหัคคตะ กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
อัปปมัญญา ๔ เป็นชั้นกลาง
อัปปมัญญา ๔ ให้ผลไม่แน่นอน กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มี
มรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดี
อัปปมัญญา ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี กล่าว
ไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์
อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายใน
ตนและภายนอกตนก็มี
อัปปมัญญา ๔ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
อัปปมัญญา ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๐๒] เมตตาเป็นเหตุ อัปปมัญญา ๓ ไม่เป็นเหตุ อัปปมัญญา ๔ มีเหตุ
อัปปมัญญา ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ เมตตาเป็นเหตุและมีเหตุ อัปปมัญญา ๓
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ
อัปปมัญญา ๓ มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เมตตาเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
อัปปมัญญา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
อัปปมัญญา ๓ สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ อัปปมัญญา ๓ ไม่เป็นเหตุ
แต่มีเหตุ เมตตากล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง อัปปมัญญา ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อัปปมัญญา ๔ เห็นไม่ได้ อัปปมัญญา ๔ กระทบไม่ได้
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นรูป อัปปมัญญา ๔ เป็นโลกิยะ
อัปปมัญญา ๔ จิตบางดวงรู้ได้ อัปปมัญญา ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอาสวะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อัปปมัญญา ๔ วิปปยุตจากอาสวะ อัปปมัญญา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
อัปปมัญญา ๔ เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อัปปมัญญา ๔
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็น
อาสวะ
อัปปมัญญา ๔ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๔-๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
อัปปมัญญา ๔ รับรู้อารมณ์ได้ อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นจิต
อัปปมัญญา ๔ เป็นเจตสิก อัปปมัญญา ๔ สัมปยุตด้วยจิต
อัปปมัญญา ๔ ระคนกับจิต อัปปมัญญา ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
อัปปมัญญา ๔ เกิดพร้อมกับจิต อัปปมัญญา ๔ เป็นไปตามจิต
อัปปมัญญา ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน อัปปมัญญา ๔ ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
อัปปมัญญา ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต อัปปมัญญา
๔ เป็นภายนอก
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป อัปปมัญญา ๔ ที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
อัปปมัญญา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อัปปมัญญา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อัปปมัญญา ๓ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี อุเบกขาไม่มีวิตก อัปปมัญญา ๓
ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี อุเบกขาไม่มีวิจาร
อัปปมัญญา ๓ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี อุเบกขาไม่มีปีติ อัปปมัญญา ๓
ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี อุเบกขาไม่สหรคตด้วยปีติ
อัปปมัญญา ๓ สหรคตด้วยสุข อุเบกขาไม่สหรคตด้วยสุข อัปปมัญญา ๓
ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา อุเบกขาสหรคตด้วยอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นกามาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นรูปาวจร
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอรูปาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นโลกิยะ
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อัปปมัญญา ๔ ให้ผลไม่
แน่นอน
อัปปมัญญา ๔ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
ปัญหาปุจฉกะ จบ
อัปปมัญญาวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔. สิกขาปทวิภังค์] ๑. อภิธรรมภาชนีย์
๑๔. สิกขาปทวิภังค์
๑. อภิธรรมภาชนีย์
[๗๐๓] สิกขาบท ๕ คือ
๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
[๗๐๔] บรรดาสิกขาบท ๕ นั้น ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น
การเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต
การกำจัดต้นเหตุแห่งการฆ่าสัตว์ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ กิริยาที่จงใจ
ภาวะที่จงใจ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยเจตนา
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ
และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณเกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด
ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การไม่ทำ
การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการฆ่าสัตว์ ก็
เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยเวรมณี
[๗๐๕] ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ
กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
[๗๐๖] อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วง
ละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความประมาท ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วย
เจตนา
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น
การงดเว้น การเว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการดื่ม
น้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สุรา-
เมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี
[๗๐๗] สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ก็เกิด
ขึ้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยเจตนา
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
[๗๐๘] สิกขาบท ๕ คือ
๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
[๗๐๙] บรรดาสิกขาบท ๕ นั้น ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็น
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย จิตตาธิปไตย
วิมังสาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็น
วิมังสาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้นแก่บุคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการ
ฆ่าสัตว์ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อ
ว่าสัมปยุต ด้วยเวรมณี
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็น
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย จิตตาธิปไตย
วิมังสาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตยชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็น
วิมังสาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็น
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย จิตตาธิปไตย
วิมังสาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต
เป็นวิมังสาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้
เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิด
ขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคต
ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมี
เหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
วิปปยุตจากญาณ เป็นชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย
จิตตาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด
การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่
ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการฆ่าสัตว์ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
[๗๑๐] อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็น
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย จิตตาธิปไตย
วิมังสาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต
เป็นวิมังสาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการ
ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ในสมัยใด ในสมัยนั้น
การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต
การกำจัดต้นเหตุแห่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา ฯลฯ
ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชช-
ปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
[๗๑๑] สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุต ด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมี
เหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ เป็นชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย
จิตตาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
โดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาด
จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท การไม่ทำ การเลิก
ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการดื่มน้ำเมาคือสุรา
และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา-
เวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
สภาวธรรมที่เป็นสิกขา
[๗๑๒] สภาวธรรมที่เป็นสิกขา เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสิกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ
สภาวธรรมที่เป็นสิกขา เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์
ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสิกขา
[๗๑๓] สภาวธรรมที่เป็นสิกขา เป็นไฉน
ภิกษุเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ฯลฯ เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ ฯลฯ
เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ
เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสิกขา
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
๒. ปัญหาปุจฉกะ
[๗๑๔] สิกขาบท ๕ คือ
๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๗๑๕] บรรดาสิกขาบท ๕ สิกขาบทเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๗๑๖] สิกขาบท ๕ เป็นกุศลอย่างเดียว
สิกขาบท ๕ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
สิกขาบท ๕ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
สิกขาบท ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน
สิกขาบท ๕ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สิกขาบท ๕ มีทั้งวิตกและวิจาร
สิกขาบท ๕ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี
สิกขาบท ๕ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สิกขาบท ๕ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สิกขาบท ๕ เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
สิกขาบท ๕ เป็นปริตตะ
สิกขาบท ๕ มีปริตตะเป็นอารมณ์
สิกขาบท ๕ เป็นชั้นกลาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สิกขาบท ๕ ให้ผลไม่แน่นอน
สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรค
เป็นอธิบดี
สิกขาบท ๕ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้นแน่นอน
สิกขาบท ๕ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
สิกขาบท ๕ มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
สิกขาบท ๕ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
สิกขาบท ๕ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
สิกขาบท ๕ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๑๗] สิกขาบท ๕ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ สิกขาบท ๕ สัมปยุตด้วยเหตุ
แต่กล่าวไม่ได้ว่าเป็นเหตุและมีเหตุ
สิกขาบท ๕ มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ แต่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วย
เหตุ สิกขาบท ๕ สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ หรือไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
สิกขาบท ๕ มีปัจจัยปรุงแต่ง สิกขาบท ๕ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
สิกขาบท ๕ เห็นไม่ได้ สิกขาบท ๕ กระทบไม่ได้
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นรูป สิกขาบท ๕ เป็นโลกิยะ
สิกขาบท ๕ จิตบางดวงรู้ได้ สิกขาบท ๕ จิตบางดวงรู้ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นอาสวะ สิกขาบท ๕ เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สิกขาบท ๕ วิปปยุตจากอาสวะ แต่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็น
อารมณ์ของอาสวะ สิกขาบท ๕ เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ สิกขาบท ๕ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ
๔-๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
สิกขาบท ๕ รับรู้อารมณ์ได้ สิกขาบท ๕ ไม่เป็นจิต
สิกขาบท ๕ เป็นเจตสิก สิกขาบท ๕ สัมปยุตด้วยจิต
สิกขาบท ๕ ระคนกับจิต สิกขาบท ๕ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
สิกขาบท ๕ เกิดพร้อมกับจิต สิกขาบท ๕ เป็นไปตามจิต
สิกขาบท ๕ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน สิกขาบท ๕ ระคนกับจิต
มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
สิกขาบท ๕ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต สิกขาบท ๕
เป็นภายนอก
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นอุปาทายรูป สิกขาบท ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือ
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
สิกขาบท ๕ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สิกขาบท ๕ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สิกขาบท ๕ มีวิตก สิกขาบท ๕ มีวิจาร
สิกขาบท ๕ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี สิกขาบท ๕ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
สิกขาบท ๕ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี สิกขาบท ๕ ที่
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
สิกขาบท ๕ เป็นกามาวจร สิกขาบท ๕ ไม่เป็นรูปาวจร
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นอรูปาวจร สิกขาบท ๕ เป็นโลกิยะ
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ สิกขาบท ๕ ให้ผลไม่แน่นอน
สิกขาบท ๕ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า สิกขาบท ๕ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
ปัญหาปุจฉกะ จบ
สิกขาปทวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ ๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. เหตุวาร
๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
๑. สังคหวาร
[๗๑๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ)
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาน)

ความรู้ในอรรถชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา๑ ความรู้ในธรรมชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าสังคหวาร
๒. สัจจวาร
[๗๑๙] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ความรู้ในทุกข์ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขสมุทัยชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา
ความรู้ในทุกขนิโรธชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาชื่อว่า
ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าสัจจวาร
๓. เหตุวาร
[๗๒๐] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๗๑๘/๔๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ ๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๕. ปฏิจจสมุปปาทวาร
ความรู้ในเหตุชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในผลของเหตุชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าเหตุวาร
๔. ธัมมวาร
[๗๒๑] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว
ปรากฏแล้ว ความรู้ในธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเกิดแล้ว มี
แล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เพราะธรรมเหล่าใด
ความรู้ในธรรมเหล่านั้นชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อ
ว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่า ธัมมวาร
๕. ปฏิจจสมุปปาทวาร
[๗๒๒] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ความรู้ในชรามรณะชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุเกิดแห่งชรามรณะชื่อ
ว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในความดับแห่งชรามรณะชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้
ในปฏิปทาที่เป็นเหตุให้ถึงความดับแห่งชรามรณะชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ใน
การกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๒๓] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น