Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๕-๑๐ หน้า ๕๑๘ - ๕๗๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕-๑๐ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์



พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๘. อัฏฐกนิทเทส
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี
ก็รู้ว่าชรามรณะไม่มี
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่
มี ก็รู้ว่าชรามรณะไม่มี ความรู้ว่า แม้ธัมมฐิติญาณของบุคคลนั้นก็มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น
ธรรมดา ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ
ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ
ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี ก็รู้ว่าสังขารไม่มี
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ความรู้ว่า
เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ความรู้ว่า
เมื่ออวิชชาไม่มี ก็รู้ว่าสังขารไม่มี ความรู้ว่า แม้ธัมมฐิติญาณของบุคคลนั้นก็มีความ
สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มี
ความดับไปเป็นธรรมดา เหล่านี้ชื่อว่าญาณวัตถุ ๗๗๑
ญาณวัตถุหมวดละ ๗ มีด้วยประการฉะนี้ (๑)
๘. อัฏฐกนิทเทส
[๘๐๗] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๘ นั้น ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ เป็นไฉน
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ คือ

เชิงอรรถ :
๑ สํ.นิ. ๑๖/๓๔/๕๘, อภิ.วิ.อ. ๘๐๖/๔๕๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส

๑. ปัญญาในโสดาปัตติมรรค ๒. ปัญญาในโสดาปัตติผล
๓. ปัญญาในสกทาคามิมรรค ๔. ปัญญาในสกทาคามิผล
๕. ปัญญาในอนาคามิมรรค ๖. ปัญญาในอนาคามิผล
๗. ปัญญาในอรหัตตมรรค ๘. ปัญญาในอรหัตตผล

เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔
ญาณวัตถุหมวดละ ๘ มีด้วยประการฉะนี้ (๑)
๙. นวกนิทเทส
[๘๐๘] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๙ นั้น ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ
๙ เป็นไฉน
ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ

๑. ปัญญาในปฐมฌานสมาบัติ ๒. ปัญญาในทุติยฌานสมาบัติ
๓. ปัญญาในตติยฌานสมาบัติ ๔. ปัญญาในจตุตถฌานสมาบัติ
๕. ปัญญาในอากาสานัญจายตนสมาบัติ ๖. ปัญญาในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
๗. ปัญญาในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ๘. ปัญญาในเนวสัญญานาสัญญาย
ตนสมาบัติ

๙. ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙
ญาณวัตถุหมวดละ ๙ มีด้วยประการฉะนี้ (๑)
๑๐. ทสกนิทเทส
๑. ฐานาฐานญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ)๑
[๘๐๙] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๑๐ นั้น พระตถาคตทรงทราบธรรมที่
เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะและธรรมที่ไม่เป็นฐานะโดยความไม่เป็นฐานะ
ตามความเป็นจริง เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ฐานะ” หมายถึงสิ่งที่เป็นไปได้ คือทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วเป็นต้น “อฐานะ” หมายถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
คือทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดีเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. ๘๐๙/๔๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อมด้วยมัคค-
ทิฏฐิ๑ จะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ โดยความเป็นสภาวะที่เที่ยง นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่
โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ โดย
ความเป็นสภาวะที่เที่ยง นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ
จะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ โดยความเป็นสภาวะที่เป็นสุข นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่
จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ โดยความเป็น
สภาวะที่เป็นสุข นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ
จะพึงยึดถือธรรมอะไร ๆ โดยความเป็นสภาวะที่เป็นตัวตน นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาส
ที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือธรรมอะไร ๆ โดยความเป็น
สภาวะที่เป็นตัวตน นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ
จะพึงฆ่ามารดา นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชน
จะพึงฆ่ามารดา นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ
จะพึงฆ่าบิดา ฯลฯ ฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ มีจิตคิดประทุษร้ายทำพระโลหิตของ
พระตถาคตให้ห้อขึ้น ฯลฯ ทำสงฆ์ให้แตกกัน ฯลฯ นับถือศาสดาอื่น ฯลฯ
บังเกิดในภพที่ ๘๑ นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่
ปุถุชนจะพึงบังเกิดในภพที่ ๘ นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระ
องค์จะพึงอุบัติขึ้นพร้อม ๆ กันในโลกธาตุอันเดียวกัน นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะ
มีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะพึงอุบัติขึ้นพระองค์
เดียวในโลกธาตุเดียว นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงพระอริยสาวกผู้โสดาบัน (อภิ.วิ.อ. ๘๐๙/๔๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ องค์จะพึงอุบัติขึ้น
พร้อม ๆ กันในโลกธาตุอันเดียวกัน นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรง
ทราบว่า ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิจะพึงอุบัติขึ้นพระองค์เดียวในโลกธาตุเดียว นี้แล
เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่สตรีจะพึงเป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่บุรุษจะ
พึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่สตรีจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นี้ไม่
ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่บุรุษจะพึงเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่สตรีจะพึงเกิดเป็นพระอินทร์ เป็นมาร
เป็นพรหม นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่บุรุษจะพึง
เกิดเป็นพระอินทร์ เป็นมาร เป็นพรหม นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่
กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นี้แลเป็นฐานะที่มี
ได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่วจีทุจริต ฯลฯ มโนทุจริตจะพึงเกิด
ผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์
ทรงทราบว่า ข้อที่วจีทุจริต ฯลฯ มโนทุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อ
ที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นี้แลเป็นฐานะที่มีได้
เป็นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่วจีสุจริต ฯลฯ มโนสุจริตจะพึงเกิดผล
ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้
พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่วจีสุจริต ฯลฯ มโนสุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยกาย-
ทุจริต หลังจากตายแล้วจะพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายทุจริตนั้นเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้มี
ความพรั่งพร้อมด้วยกายทุจริต หลังจากตายแล้วจะพึงเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต
นรก เพราะกายทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยวจีทุจริต
ฯลฯ บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะพึงเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ เพราะวจีทุจริตและมโนทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่
โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยวจีทุจริต
ฯลฯ บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะพึงเข้าถึงอบาย
ทุคคติ วินิบาต นรก เพราะวจีทุจริตและมโนทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นี้แล
เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยกายสุจริต
หลังจากตายแล้วจะพึงเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก เพราะกายสุจริตนั้น
เป็นเหตุเป็นปัจจัย นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่
บุคคลผู้มีความ พรั่งพร้อมด้วยกายสุจริต หลังจากตายแล้วจะพึงเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ เพราะกายสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยวจีสุจริต
ฯลฯ บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะพึงเข้าถึงอบาย
ทุคคติ วินิบาต นรก เพราะวจีสุจริตและมโนสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นี้ไม่ใช่
ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อม
ด้วยวจีสุจริต ฯลฯ บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะ
พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีสุจริตและมโนสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นี้แล
เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า สภาวธรรมใด ๆ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
สภาวธรรมใด ๆ เกิดขึ้น สภาวธรรมนั้น ๆ เป็นฐานะ สภาวธรรมใด ๆ ไม่เป็น
เหตุไม่เป็นปัจจัยให้สภาวธรรมใด ๆ เกิดขึ้น สภาวธรรมนั้น ๆ ไม่เป็นฐานะ ปัญญา
กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในสภาวธรรม
ที่เป็นฐานะและสภาวธรรมที่ไม่เป็นฐานะเหล่านั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบ
สภาวธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะ และสภาวธรรมที่ไม่เป็นฐานะโดยความ
ไม่เป็นฐานะตามความเป็นจริง (๑)
๒. กัมมวิปากญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม)
[๘๑๐] พระตถาคตทรงทราบผลของกรรมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันตามความเป็นจริง โดยฐานะ โดยเหตุ เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่างอันคติ-
สมบัติห้ามไว้จึงไม่ให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่างอันอุปธิสมบัติห้ามไว้
จึงไม่ให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่างอันกาลสมบัติห้ามไว้จึงไม่ให้ผลก็มี
กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่างอันปโยคสมบัติห้ามไว้จึงไม่ให้ผลก็มี
กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่างอาศัยคติวิบัติจึงให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่
เป็นบาปบางอย่างอาศัยอุปธิวิบัติจึงให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่างอาศัย
กาลวิบัติจึงให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่างอาศัยปโยควิบัติจึงให้ผลก็มี
กรรมสมาทานที่เป็นบุญบางอย่างอันคติวิบัติห้ามไว้จึงไม่ให้ผลก็มี กรรม
สมาทานที่เป็นบุญบางอย่างอันอุปธิวิบัติห้ามไว้จึงไม่ให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็น
บุญบางอย่างอันกาลวิบัติห้ามไว้จึงไม่ให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็นบุญบางอย่าง
อันปโยควิบัติห้ามไว้จึงไม่ให้ผลก็มี
กรรมสมาทานที่เป็นบุญบางอย่างอาศัยคติสมบัติจึงให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่
เป็นบุญบางอย่างอาศัยอุปธิสมบัติจึงให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็นบุญบางอย่างอาศัย
กาลสมบัติจึงให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็นบุญบางอย่างอาศัยปโยคสมบัติจึงให้ผลก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิในกรรมสมาทานนั้น นี้ชื่อพระตถาคตทรงทราบวิบากของกรรมสมาทานที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบันตามความเป็นจริงโดยฐานะ โดยเหตุ (๒)
๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ทางที่จะนำไปสู่ภูมิทั้งปวง)
[๘๑๑] พระตถาคตทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง เป็น
ไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่นรก ทรงทราบว่า
ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ให้
ไปสู่วิสัยแห่งเปรต ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ให้ไปสู่มนุษยโลก ทรงทราบว่า
ทางนี้ ปฏิปทานี้ให้ไปสู่เทวโลก ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ให้ไปสู่นิพพาน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในทางไปสู่ภูมิทั้งปวงนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวง
ตามความเป็นจริง (๓)
๔. นานาธาตุญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้สัตว์ที่มีธาตุแตกต่างกัน)
[๘๑๒] พระตถาคตทรงทราบโลกที่เป็นอเนกธาตุและนานาธาตุตาม
ความเป็นจริง เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบความเป็นต่าง ๆ กันแห่งขันธ์ ทรงทราบความ
เป็น ต่าง ๆ กันแห่งอายตนะ ทรงทราบความเป็นต่าง ๆ กันแห่งธาตุ ทรงทราบ
ความเป็นต่าง ๆ กันแห่งโลกที่เป็นอเนกธาตุและที่เป็นนานาธาตุ
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิในโลกที่เป็นอเนกธาตุและที่เป็นนานาธาตุนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบโลก
ที่เป็นอเนกธาตุและที่เป็นนานาธาตุตามความเป็นจริง๑ (๔)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๘๑๒/๔๙๑-๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
๕. นานาธิมุตติกญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้สัตว์ที่มีอัธยาศัยแตกต่างกัน)
[๘๑๓] พระตถาคตทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่าง ๆ
กันตามความเป็นจริง เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามก็มี สัตว์ทั้ง
หลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็มี เหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทรามย่อมคบหาสมาคมเข้าไป
หาบ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทราม เหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีตก็คบหา
สมาคมเข้าหาบ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต
แม้แต่ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามได้คบหาสมาคมเข้าหา
บ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ผู้มีอัธยาศัยทรามมาแล้ว สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็
ได้คบหาสมาคมเข้าหาบ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีตมาแล้ว
แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ก็จักคบหาสมาคมเข้าหา
บ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็จักคบหา
สมาคมเข้าหาบ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรง
ทราบความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันตามความเป็นจริง (๕)
๖. อินทริยปโรปริยัตติญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้สัตว์ที่มีอินทรีย์แก่กล้า และไม่แก่กล้า)
[๘๑๔] (๖) พระตถาคตทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่ง
อินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นตามความเป็นจริง เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบอาสยะ อนุสัย จริต อธิมุตติ๑ ของสัตว์ทั้งหลาย
ทรงทราบสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีคือกิเลสน้อย มีธุลีคือกิเลสมาก มีอินทรีย์แก่กล้า มี

เชิงอรรถ :
๑ อาสยะ ได้แก่ ทิฏฐิและยถาภูตญาณอันเป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่าสัตว์
อนุสัย ได้แก่ กิเลสที่นอนเนื่องซึ่งยังละไม่ได้
จริต ได้แก่ กุศลและอกุศลที่กายกรรมเป็นต้นปรุงแต่ง
อธิมุตติ ได้แก่ อัธยาศัยของเหล่าสัตว์ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๔/๔๙๓-๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
อินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการชั่ว แนะนำให้เข้าใจได้ง่าย แนะนำให้เข้าใจได้ยาก
ควรบรรลุธรรมและไม่ควรบรรลุธรรม
[๘๑๕] อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะเป็น
อย่างหนึ่ง สรีระก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็น
คนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็ใช่ หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ สัตว์ทั้งหลายผู้อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิดัง
กล่าวมานี้ หรือสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เข้าไปอาศัยที่สุดทั้ง ๒ นี้ ได้อนุโลมิกขันติ๑ ใน
สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้นก็มี ญาณ
รู้ตามความเป็นจริง๒ นี้ชื่อว่าอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย
[๘๑๖] อนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน
อนุสัย ๗ คือ

๑. กามราคานุสัย (อนุสัยคือกามราคะ) ๒. ปฏิฆานุสัย (อนุสัยคือปฏิฆะ)
๓. มานานุสัย (อนุสัยคือมานะ) ๔. ทิฏฐานุสัย (อนุสัยคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉานุสัย (อนุสัยคือวิจิกิจฉา) ๖. ภวราคานุสัย (อนุสัยคือภวราคะ)
๗. อวิชชานุสัย (อนุสัยคืออวิชชา)

ราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องอยู่ในปิยรูปสาตรูป๓ ในโลก ปฏิฆานุสัย
ของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องอยู่ในอัปปิยรูปอสาตรูปในโลก อวิชชาตกไปใน
สภาวธรรมทั้ง ๒ นี้ ด้วยอาการอย่างนี้ มานะ ทิฏฐิ และวิจิกิจฉา พึงเห็นว่าตั้ง
อยู่ในฐานะแห่งเดียวกันกับอวิชชานั้น นี้ชื่อว่าอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ อนุโลมขันติ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๕/๔๙๔)
๒ ญาณรู้ตามความเป็นจริง ได้แก่ มรรคญาณ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๕/๔๙๔)
๓ สภาวะที่น่ารัก น่าชื่นใจ มุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหา (อภิ.วิ.อ. ๘๑๖/๔๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
[๘๑๗] จริตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี) อปุญญาภิสังขาร (สภาพที่
ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว) อาเนญชาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง) ที่
เป็นกามาวจรภูมิ หรือที่เป็นรูปาวจรภูมิและอรูปาวจรภูมิ นี้ชื่อว่าจริตของสัตว์
ทั้งหลาย
[๘๑๘] อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน
สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็มี
เหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทรามย่อมคบหาสมาคมเข้าไปหาเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทราม
เหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีตก็ย่อมคบหาสมาคมเข้าไปหาเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต
แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามก็ได้คบหาสมาคมเข้าไปหา
เหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทรามมาแล้ว สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็ได้คบหา
สมาคมเข้าไปหาเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีตมาแล้ว
แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามก็จักคบหาสมาคมเข้าไปหา
เหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็จักคบหาสมาคม
เข้าไปหาเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต นี้ชื่อว่าอัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย
[๘๑๙] สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุมาก เหล่านั้นเป็นไฉน
กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ

๑. โลภะ (ความอยากได้) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง) ๔. มานะ (ความถือตัว)
๕. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๖. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๗. ถีนะ (ความท้อแท้) ๘. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๙. อหิริกะ (ความไม่ละอาย) ๑๐. อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัว)

กิเลสวัตถุ ๑๐ เหล่านี้อันสัตว์เหล่าใดส้องเสพ เจริญ ทำให้มากเพิ่มพูนขึ้นแล้ว
สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
[๘๒๐] สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย เหล่านั้นเป็นไฉน
กิเลสวัตถุ ๑๐ เหล่านี้สัตว์เหล่าใดไม่ส้องเสพ ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก ไม่
เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่ามีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย
[๘๒๑] สัตว์ทั้งหลายที่มีอินทรีย์อ่อน เหล่านั้นเป็นไฉน
อินทรีย์ ๕๑ คือ
๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา) ๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ) ๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)
อินทรีย์ ๕ เหล่านี้อันสัตว์เหล่าใดไม่ส้องเสพ ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก ไม่
ทำให้เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน
[๘๒๒] สัตว์ทั้งหลายที่มีอินทรีย์แก่กล้า เหล่านั้นเป็นไฉน
อินทรีย์ ๕ เหล่านี้อันสัตว์เหล่าใดส้องเสพ เจริญ ทำให้มาก เพิ่มพูนขึ้นแล้ว
สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้มีอินทรีย์แก่กล้า
[๘๒๓] สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการชั่ว เหล่านั้นเป็นไฉน
สัตว์เหล่านั้นใดมีอาสวะชั่ว มีอนุสัยชั่ว มีจริตชั่ว มีอัธยาศัยชั่ว มีธุลีคือ
กิเลสในปัญญาจักษุมาก มีอินทรีย์อ่อน สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว
[๘๒๔] สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการดี เหล่านั้นเป็นไฉน
สัตว์เหล่านั้นใดที่มีอาสยะดี มีจริตดี มีอัธยาศัยดี มีธุลีคือกิเลสในปัญญา
จักษุน้อย มีอินทรีย์แก่กล้า สัตว์เหล่านั้นนี้ชื่อว่าผู้มีอาการดี
[๘๒๕] สัตว์ทั้งหลายผู้ที่แนะนำให้เข้าใจได้ยาก เหล่านั้นเป็นไฉน
ก็สัตว์เหล่าใดมีอาการชั่ว สัตว์เหล่านั้นแลชื่อว่าผู้แนะนำให้เข้าใจได้ยาก
ส่วนสัตว์เหล่าใดมีอาการดี สัตว์เหล่านั้นแลชื่อว่าผู้แนะนำให้เข้าใจได้ง่าย
[๘๒๖] สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ควรบรรลุธรรม เหล่านั้นเป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน เช่นศรัทธาเป็นใหญ่ในการครอบงำความไม่มีศรัทธาเป็นต้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
สัตว์เหล่านั้นใดประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือกรรม ประกอบด้วยเครื่องกางกั้น
คือกิเลส ประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือวิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มี
ปัญญาทราม ไม่ควรที่จะหยั่งลงสู่มรรคคือสัมมัตตนิยาม๑ในสภาวธรรมที่เป็นกุศล
ทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้ไม่ควรบรรลุธรรม
[๘๒๗] สัตว์ทั้งหลายผู้ควรบรรลุธรรม เหล่านั้นเป็นไฉน
สัตว์เหล่านั้นใดไม่ประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือกรรม ไม่ประกอบด้วยเครื่อง
กางกั้นคือกิเลส ไม่ประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือวิบาก มีศรัทธา มีฉันทะ มี
ปัญญา ควรที่จะหยั่งลงสู่มรรคคือสัมมัตตนิยามในสภาวธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย
สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้ควรบรรลุธรรม
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายนั้น นี้ชื่อว่า
พระตถาคตทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคล
เหล่าอื่นตามความเป็นจริง (๖)
๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ผ่องแผ้วและการออกจากฌานเป็นต้นตามเป็นจริง)
[๘๒๘] พระตถาคตทรงทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่ง
ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ และความออกจากฌานเป็นต้นนั้นตามความ
เป็นจริง เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวกชื่อว่าฌายี คือ โยคาวจรบุคคลผู้เจริญ
ฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนได้แล้วนั่นแหละผิดจากว่ายังไม่ได้ก็มี โยคาวจรบุคคลผู้
เจริญฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนยังไม่ได้นั่นแหละผิดไปว่าได้แล้วก็มี โยคาวจร-
บุคคลผู้เจริญฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนได้แล้วนั่นแหละว่าได้แล้วก็มี โยคาวจร-
บุคคลผู้เจริญฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนยังไม่ได้นั่นแหละว่ายังไม่ได้ก็มี เหล่านี้ชื่อ
ว่าโยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก

เชิงอรรถ :
๑ มรรค คือข้อกำหนดถึงความเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ๑๐ ประการ ๘ ข้อข้างต้นตรงกับมรรค ๘ เพิ่มอีก ๒ ข้อ คือ
สัมมาญาณ (รู้ชอบ) และสัมมาวิมุตติ (พ้นชอบ) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเสขธรรม (ธรรมของพระอเสขะ)
(ที.ป. ๑๑/๓๔๘/๒๔๐,๓๖๐/๒๘๒, อภิ.วิ.อ. ๘๒๖/๔๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานอีก ๔ จำพวก คือ โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน
บางคนเข้าฌานได้ช้าแต่ออกได้เร็วก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเข้าฌาน
เร็วแต่ออกช้าก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเข้าฌานได้ช้าและออกช้าก็มี
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเข้าฌานได้เร็วและออกได้เร็วก็มี เหล่านี้ชื่อว่า
โยคาวจรบุคคล ๔ จำพวก
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานอีก ๔ จำพวก คือ โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน
บางคนเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดสมาธิในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการกำหนดสมาบัติ
ในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดสมาบัติ
ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการกำหนดสมาธิในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน
บางคนเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดสมาธิในสมาธิและฉลาดในการกำหนดสมาบัติใน
สมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเป็นผู้ไม่ฉลาดในการกำหนดสมาธิใน
สมาธิ ไม่ฉลาดในการกำหนดสมาบัติในสมาธิก็มี เหล่านี้ชื่อว่าโยคาวจรบุคคลผู้
เจริญฌาน ๔ จำพวก
คำว่า ฌาน ได้แก่ ฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถ-
ฌาน
คำว่า วิโมกข์ ได้แก่ วิโมกข์ ๘ คือ โยคาวจรบุคคลผู้ได้รูปฌานโดยทำ
บริกรรมในรูปภายในตนย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๑
โยคาวจรบุคคลผู้ได้อรูปฌานโดยทำบริกรรมในรูปภายในตนย่อมเห็นรูปทั้งหลาย
ในภายนอกตน นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๒
โยคาวจรบุคคลเป็นผู้น้อมจิตไปว่า งามแท้ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๓
เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา
และเพราะไม่ได้มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุอากาสานัญจา-
ยตนฌาน โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุดดังนี้อยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๔
เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้อยู่ นี้ชื่อว่า
วิโมกข์ข้อที่ ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรมว่าอะไร ๆ ก็ไม่มี ดังนี้อยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์
ข้อที่ ๖
เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๗
เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจร-
บุคคลจึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๘
คำว่า สมาธิ ได้แก่ สมาธิ ๓ คือ

๑. สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร)
๒. อวิตักกวิจารปัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร)
๓. อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร)

คำว่า สมาบัติ ได้แก่ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ

๑. ปฐมฌานสมาบัติ ๒. ทุติยฌานสมาบัติ
๓. ตติยฌานสมาบัติ ๔. จตุตถฌานสมาบัติ
๕. อากาสานัญจายตนสมาบัติ ๖. วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
๗. อากิญจัญญายตนสมาบัติ ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
๙. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ๑

บทว่า ความเศร้าหมอง ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นฝ่ายเสื่อม
บทว่า ความผ่องแผ้ว ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นฝ่ายคุณวิเศษ
บทว่า ความออก ได้แก่ แม้ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่าความออก แม้ความ
ออกจากสมาธินั้น ๆ ก็ชื่อว่าความออก

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หมายถึงสมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนามี ๒ คือ อสัญญสมาบัติ และนิโรธ-
สมาบัติ ที่เป็นอสัญญสมาบัติมีแก่ปุถุชน ที่เป็นนิโรธสมาบัติ มีเฉพาะแต่พระอนาคามีและพระอรหันต์
ผู้ชำนาญในสมาบัติ ๘ ข้างต้นแล้วเท่านั้นจึงจะเข้าได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิในความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกจากฌาน นี้ชื่อว่าพระตถาคต
ทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
และความออกจากฌานเป็นต้นนั้นตามความเป็นจริง (๗)
๘. ปุพเพนิวาสนานุสสติญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้)
[๘๒๙] พระตถาคตทรงทราบการระลึกชาติในหนหลังตามความเป็นจริง
เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงระลึกชาติในหนหลังได้หลาย ๆ ชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐
ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐
ชาติบ้าง หลายสังวัฏฏกัปบ้าง หลายวิวัฏฏกัปบ้าง หลายสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้างว่า
เราอยู่ในภพโน้น เป็นผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้
เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ เรานั้นจุติจากชาตินั้นแล้วจึงไปเกิด
ในภพโน้น เราอยู่ในภพนั้น เป็นผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนี้ มี
อาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ เรานั้นจุติจากชาติ
นั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้ พระตถาคตทรงระลึกชาติในหนหลังได้หลาย ๆ ชาติพร้อม
ทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในการระลึกชาตินั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบการระลึกชาติหนหลังตามความ
เป็นจริง (๘)
๙. จุตูปปาตญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามธรรม)
[๘๓๐] พระตถาคตทรงทราบความจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตาม
ความเป็นจริง เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
พระตถาคตในโลกนี้ทรงมีทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของสามัญมนุษย์ ทรง
เห็นสัตว์ผู้กำลังจุติ อุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณเลว ไปสุคติ ไปทุคติ
ย่อมทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ประกอบด้วยกาย-
ทุจริต ประกอบด้วยวจีทุจริต ประกอบด้วยมโนทุจริต กล่าวใส่ร้ายพระอริยะ เป็น
มิจฉาทิฏฐิ สมาทานมิจฉาทิฏฐิกรรม สัตว์เหล่านั้นหลังจากตายแล้วก็เข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก หรือสัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต ประกอบด้วย
วจีสุจริต ประกอบด้วยมโนสุจริต ไม่กล่าวใส่ร้ายพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ สมาทาน
สัมมาทิฏฐิกรรม สัตว์เหล่านั้นหลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ พระ
ตถาคตทรงมีทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงสามัญมนุษย์ ทรงเห็นเหล่าสัตว์ผู้กำลังจุติ
อุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณเลว ไปสุคติ ไปทุคติ ทรงทราบเหล่า
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในการจุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบการ
จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายตามความเป็นจริง (๙)
๑๐. อาสวักขยญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะ)
[๘๓๑] พระตถาคตทรงทราบความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริง เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง เข้าถึงอยู่ในทิฏฐิธรรม
ด้วยอาการอย่างนี้
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในความสิ้นอาสวะนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบความสิ้นอาสวะตาม
ความเป็นจริง (๑๐)
ญาณวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑. เอกกมาติกา
๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์
๑. เอกกมาติกา

[๘๓๒] (๑) ชาติมทะ (ความเมาเพราะอาศัยชาติ) (๘๔๓)
(๒) โคตตมทะ (ความเมาเพราะอาศัยโคตร) (๘๔๔)
(๓) อาโรคยมทะ (ความเมาในความไม่มีโรค) (๘๔๔)
(๔) โยพพนมทะ (ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว) (๘๔๔)
(๕) ชีวิตมทะ (ความเมาในชีวิต) (๘๔๔)
(๖) ลาภมทะ (ความเมาในลาภ) (๘๔๔)
(๗) สักการมทะ (ความเมาในสักการะ) (๘๔๔)
(๘) ครุการมทะ (ความเมาในความเคารพ) (๘๔๔)
(๙) ปุเรกขารมทะ (ความเมาในความเป็นหัวหน้า) (๘๔๔)
(๑๐) ปริวารมทะ (ความเมาในบริวาร) (๘๔๔)
(๑๑) โภคมทะ (ความเมาในโภคสมบัติ) (๘๔๔)
(๑๒) วัณณมทะ (ความเมาเพราะอาศัยผิวพรรณและคุณความดี) (๘๔๔)
(๑๓) สุตมทะ (ความเมาในการการสดับตรับฟัง) (๘๔๔)
(๑๔) ปฏิภาณมทะ (ความเมาในปฏิภาณ) (๘๔๔)
(๑๕) รัตตัญญูมทะ (ความเมาในความเป็นผู้รัตตัญญู) (๘๔๔)


(๑๖) ปิณฑปาติกมทะ (ความเมาในการถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร) (๘๔๔)
(๑๗) อนวัญญาตมทะ ความเมาเพราะไม่ถูกใครดูหมิ่น (๘๔๔)
(๑๘) อิริยาปถมทะ ความเมาในอิริยาบถ (๘๔๔)
(๑๙) อิทธิมทะ ความเมาในฤทธิ์ (๘๔๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑. เอกกมาติกา

(๒๐) ยสมทะ (ความเมาในยศ) (๘๔๔)
(๒๑) สีลมทะ (ความเมาในศีล) (๘๔๔)
(๒๒) ฌานมทะ (ความเมาในฌาน) (๘๔๔)
(๒๓) สิปปมทะ (ความเมาในศิลปะ) (๘๔๔)
(๒๔) อาโรหมทะ (ความเมาในความมีทรวดทรงสูง) (๘๔๔)
(๒๕) ปริณาหมทะ (ความเมาในความมีทรวดทรงสันทัด) (๘๔๔)
(๒๖) สัณฐานมทะ (ความเมาในความมีทรวดทรงงาม) (๘๔๔)
(๒๗) ปาริปูริมทะ (ความเมาในความมีร่างกายสมบูรณ์) (๘๔๔)
(๒๘) มทะ (ความเมา) (๘๔๕)
(๒๙) ปมาทะ (ความประมาท) (๘๔๖)
(๓๐) ถัมภะ (ความหัวดื้อ) (๘๔๗)
(๓๑) สารัมภะ (ความแข่งดี) (๘๔๘)
(๓๒) อติริจฉตา (ความอยากได้เกินประมาณ) (๘๔๙)
(๓๓) มหิจฉตา (ความมักมาก) (๘๕๐)
(๓๔) ปาปิจฉตา (ความปรารถนาลามก) (๘๕๑)
(๓๕) สิงคะ (ความยั่วยวน) (๘๕๒)
(๓๖) ตินติณะ (การพูดเกียดกัน) (๘๕๓)
(๓๗) จาปัลยะ (การชอบตกแต่ง) (๘๕๔)
(๓๘) อสภาควุตติ (ความประพฤติไม่เหมาะสม) (๘๕๕)
(๓๙) อรติ (ความไม่ยินดี) (๘๕๖)
(๔๐) ตันที (ความโงกง่วง) (๘๕๗)
(๔๑) วิชัมภิตา (ความบิดกาย) (๘๕๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑. เอกกมาติกา

(๔๒) ภัตตสัมมทะ (ความเมาในอาหาร) (๘๕๙)
(๔๓) เจตโสลีนัตตะ (ความหดหู่จิต) (๘๖๐)
(๔๔) กุหนา (ความหลอกลวง) (๘๖๑)
(๔๕) ลปนา (การพูดประจบ) (๘๖๒)
(๔๖) เนมิตติกตา (การทำนิมิต) (๘๖๓)
(๔๗) นิปเปสิกตา (การพูดลบล้างความดีของคนอื่น) (๘๖๔)
(๔๘) ลาเภนลาภังนิชิคิงสนตา (การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ) (๘๖๕)
(๔๙) ความถือตัวว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา (๘๖๖)
(๕๐) ความถือตัวว่า เป็นผู้เสมอเขา (๘๖๗)
(๕๑) ความถือตัวว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา (๘๖๘)
(๕๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘๖๙)
(๕๓) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๘๗๐)
(๕๔) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๘๗๑)
(๕๕) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘๗๒)
(๕๖) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๘๗๓)
(๕๗) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๘๗๔)
(๕๘) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘๗๕)
(๕๙) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๘๗๖)
(๖๐) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๘๗๗)
(๖๑) มานะ (ความถือตัว) (๘๗๘)
(๖๒) อติมานะ (ความดูหมิ่นผู้อื่น (๘๗๙)
(๖๓) มานาติมานะ (ความเย่อหยิ่งถือตัว) (๘๘๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกมาติกา

(๖๔) โอมานะ (ความดูหมิ่นตนเอง) (๘๘๑)
(๖๕) อธิมานะ (ความสำคัญว่าได้บรรลุ) (๘๘๒)
(๖๖) อัสมิมานะ (ความสำคัญว่ามีตัวตน) (๘๘๓)
(๖๗) มิจฉามานะ (ความถือตัวผิด) (๘๘๔)
(๖๘) ญาติวิตักกะ (ความตรึกถึงญาติ) (๘๘๕)
(๖๙) ชนปทวิตักกะ (ความตรึกถึงชนบท) (๘๘๖)
(๗๐) อมรวิตักกะ (ความตรึกเพื่อเอาตัวรอด) (๘๘๗)

(๗๑) ปรานุททยตาปฏิสังยุตตวิตักกะ (ความตรึกเกี่ยวด้วยความ
เอ็นดูผู้อื่น) (๘๘๘)
(๗๒) ลาภสักการสิโลกปฏิสังยุตตวิตักกะ (ความตรึกเกี่ยวด้วยลาภ
สักการะและชื่อเสียง) (๘๘๙)
(๗๓) อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตักกะ (ความตรึกเกี่ยวด้วยความไม่
ต้องการให้ใครดูหมิ่น) (๘๙๐)
เอกกมาติกา จบ
๒. ทุกมาติกา

[๘๓๓] (๑) โกธะ (ความโกรธ) (๘๙๑)
อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) (๘๙๑)
(๒) มักขะ (ความลบหลู่) (๘๙๒)
ปลาสะ (ความตีตัวเสมอ) (๙๘๒)
(๓) อิสสา (ความริษยา) (๘๙๓)
มัจฉริยะ (ความตระหนี่) (๘๙๓)
(๔) มายา (ความเจ้าเล่ห์) (๘๙๔)
สาเถยยะ (ความโอ้อวด) (๘๙๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกมาติกา

(๕) อวิชชา (ความไม่รู้) (๘๙๕)
ภวตัณหา (ความปรารถนาภพ) (๘๙๕)
(๖) ภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าเกิดอีก) (๘๙๖)
วิภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่เกิดอีก) (๘๙๖)
(๗) สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) (๘๙๗)
อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) (๘๙๗)
(๘) อันตวาทิฏฐิ (ความเห็นว่ามีที่สุด) (๘๙๘)
อนันตวาทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มีที่สุด) (๘๙๘)
(๙) ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความเห็นปรารภส่วนอดีต) (๘๙๙)
อปรันตานุทิฏฐิ (ความเห็นปรารภส่วนอนาคต) (๘๙๙)


(๑๐) อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต) (๙๐๐)
อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อการประพฤติทุจริต) (๙๐๐)


(๑๑) โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) (๙๐๑)
ปาปมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว) (๙๐๑)
(๑๒) อนัชชวะ (ความไม่ซื่อตรง) (๙๐๒)
อมัททวะ (ความไม่อ่อนโยน) (๙๐๒)
(๑๓) อขันติ (ความไม่อดทน) (๙๐๓)
อโสรัจจะ (ความไม่เสงี่ยม) (๙๐๓)
(๑๔) อสาขัลยะ (ความไม่มีวาจานิ่มนวล) (๙๐๔)
อัปปฏิสันถาระ (ความไม่มีปฏิสันถาร) (๙๐๔)


(๑๕) ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (๙๐๕)
ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค (๙๐๕)


(๑๖) มุฏฐสัจจะ (ความหลงลืมสติ) (๙๐๖)
อสัมปชัญญะ (ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ) (๙๐๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกมาติกา

(๑๗) สีลวิปัตติ (ความวิบัติแห่งศีล) (๙๐๗)
ทิฏฐิวิปัตติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) (๙๐๗)
(๑๘) อัชฌัตตสัญโญชนะ (สังโยชน์ภายใน) (๙๐๘)
พหิทธาสัญโญชนะ (สังโยชน์ภายนอก) (๙๐๘)

ทุกมาติกา จบ
๓. ติกมาติกา

[๘๓๔] (๑) อกุศลมูล (รากเหง้าแห่งอกุศล) ๓ (๙๐๙)
(๒) อกุศลวิตก (ความตรึกที่เป็นอกุศล) ๓ (๙๑๐)
(๓) อกุศลสัญญา (การกำหนดหมายที่เป็นอกุศล) ๓ (๙๑๑)
(๔) อกุศลธาตุ (ธาตุที่เป็นอกุศล) ๓ (๙๑๒)
(๕) ทุจริต (ความประพฤติชั่ว) ๓ (๙๑๓)
(๖) อาสวะ (สภาวะที่หมักดองสันดาน) ๓ (๙๑๔)
(๗) สังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๓ (๙๑๕)
(๘) ตัณหา (ความทะยานอยาก) ๓ (๙๑๖)


(๙) ตัณหา ๓ อีกนัยหนึ่ง (๙๑๗)
(๑๐) ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง (๙๑๘)
(๑๑) เอสนา (ความพอใจ) ๓ (๙๑๙)
(๑๒) วิธา ๓ (๙๒๐)
(๑๓) ภัย ๓ (๙๒๑)
(๑๔) ตมะ (ความมืด) ๓ (๙๒๒)
(๑๕) ติตถายตนะ (ถิ่นเกิดของทิฏฐิ) ๓ (๙๒๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกมาติกา

(๑๖) กิญจนะ (กิเลสเครื่องกังวล) ๓ (๙๒๔)
(๑๗) อังคณะ (กิเลสเพียงดังเนิน) ๓ (๙๒๔)
(๑๘) มละ (มลทิน) ๓ (๙๒๔)
(๑๙) วิสมะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ) ๓ (๙๒๔)


(๒๐) วิสมะ ๓ อีกนัยหนึ่ง (๙๒๔)
(๒๑) อัคคิ (ไฟ) ๓ (๙๒๔)
(๒๒) กสาวะ (กิเลสดุจน้ำฝาด) ๓ (๙๒๔)
(๒๓) กสาวะ ๓ อีกนัยหนึ่ง (๙๒๔)

(๒๔) อัสสาททิฏฐิ (ความเห็นผิดที่ประกอบด้วยความยินดี ) (๙๒๕)

อัตตานุทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่ามีตัวตน) (๙๒๕)
มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) (๙๒๕)
(๒๕) อรติ (ความไม่ยินดี) (๙๒๖)
วิเหสา (ความเบียดเบียน) (๙๒๖)
อธรรมจริยา (ความประพฤติไม่เป็นธรรม) (๙๒๖)
(๒๖) โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) (๙๒๗)
ปาปมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว) (๙๒๗)
นานัตตสัญญา (สัญญาที่แตกต่างกัน) (๙๒๗)
(๒๗) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) (๙๒๘)
โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) (๙๒๘)
ปมาทะ (ความประมาท) (๙๒๘)
(๒๘) อสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษ) (๙๒๙)
อสัมปชัญญตา (ความไม่มีสัมปชัญญะ) (๙๒๙)
มหิจฉตา (ความมักมาก) (๙๒๙)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกมาติกา

(๒๙) อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต) (๙๓๐)
อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อการประพฤติทุจริต) (๙๓๐)
ปมาทะ (ความประมาท) (๙๓๐)


(๓๐) อนาทริยะ (ความไม่เอื้อเฟื้อ) (๙๓๑)
โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) (๙๓๑)
ปาปมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว) (๙๓๑)
(๓๑) อัสสัทธิยะ (ความไม่เชื่อ) (๙๓๒)
อวทัญญุตา (ความเป็นผู้ไม่โอบอ้อมอารี) (๙๓๒)
โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) (๙๓๒)
(๓๒) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) (๙๓๓)
อสังวร (ความไม่สำรวม) (๙๓๓)
ทุสสีลยะ (ความเป็นผู้ทุศีล) (๙๓๓)


(๓๓) อริยานัง อทัสสนกัมยตา (ความไม่อยากเห็นพระอริยะ) (๙๓๔)
สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา (ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม) (๙๓๔)
อุปารัมภจิตตตา (ความคิดแข่งดี) (๙๓๔)
(๓๔) มุฏฐัสสัจจะ (ความเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน) (๙๓๕)
อสัมปชัญญะ (ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ) (๙๓๕)
เจตโสวิกเขปะ (ความฟุ้งซ่านแห่งจิต) (๙๓๕)
(๓๕) อโยนิโสมนสิการ (การไม่พิจารณาโดยแยบคาย) (๙๓๖)
กุมมัคคเสวนา (การยึดถือทางผิด) (๙๓๖)
เจตโสลีนัตตะ (ความหดหู่จิต) (๙๓๖)

ติกมาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๔. จตุกกมาติกา
๔. จตุกกมาติกา

[๘๓๕] (๑) อาสวะ (สภาวะที่หมักดองในสันดาน) ๔ (๙๓๗)
(๒) คันถะ (กิเลสเครื่องร้อยรัดใจ) ๔ (๙๓๘)
(๓) โอฆะ (กิเลสดุจห้วงน้ำ) ๔ (๙๓๘)
(๔) โยคะ (กิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๔ (๙๓๘)
(๕) อุปาทาน (ความยึดมั่น) ๔ (๙๓๘)
(๖) ตัณหุปาทาน (ความยึดมั่นด้วยตัณหา) ๔ (๙๓๙)


(๗) อคติคมนะ (การถึงอคติ) ๔ (๙๓๙)
(๘) วิปริเยสะ (การแสวงหาผิด) ๔ (๙๓๙)
(๙) อนริยโวหาร (โวหารของผู้มิใช่พระอริยะ) ๔ (๙๓๙)
(๑๐) อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง (๙๓๙)
(๑๑) ทุจริต (ความประพฤติชั่ว) ๔ (๙๓๙)
(๑๒) ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง (๙๓๙)
(๑๓) ภัย ๔ (๙๓๙)
(๑๔) ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง (๙๓๙)
(๑๕) ภัย ๔ อื่นอีกนัยหนึ่ง (๙๓๙)
(๑๖) ภัย ๔ อื่นต่อไปอีกนัยหนึ่ง (๙๓๙)
(๑๗) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๔ (๙๓๙)

จตุกกมาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๖.ฉักกมาติกา
๕. ปัญจกมาติกา

[๘๓๖] (๑) โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ (๙๔๐)
(๒) อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ (๙๔๐)


(๓) มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๕ (๙๔๐)
(๔) สังคะ (กิเลสเครื่องข้อง) ๕ (๙๔๐)
(๕) สัลละ (กิเลสดุจลูกศร) ๕ (๙๔๐)
(๖) เจโตขีละ (กิเลสดุจตะปูตรึงใจ) ๕ (๙๔๑)


(๗) เจตโสวินิพันธะ (กิเลสเครื่องผูกพันใจ) ๕ (๙๔๑)
(๘) นิวรณ์ (กิเลสเครื่องกั้นความดี) ๕ (๙๔๑)
(๙) อนันตริยกรรม (กรรมหนัก) ๕ (๙๔๑)


(๑๐) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕ (๙๔๑)
(๑๑) เวร (ความแค้นเคือง) ๕ (๙๔๒)
(๑๒) พยสนะ (ความพินาศ) ๕ (๙๔๒)


(๑๓) โทษแห่งความไม่อดทน ๕ (๙๔๒)
(๑๔) ภัย ๕ (๙๔๒)

(๑๕) ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ (วาทะว่านิพพานมีในชีวิตปัจจุบัน) ๕
(๙๔๓)
ปัญจกมาติกา จบ
๖. ฉักกมาติกา
[๘๓๗] (๑) วิวาทมูล (เหตุก่อวิวาท) ๖ (๙๔๔)
(๒) ฉันทราคเคหสิตธรรม (สภาวธรรมคือฉันทราคะซึ่งอาศัย
กามคุณ) (๙๔๔)
(๓) วิโรธวัตถุ ๖ (๙๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๗. สัตตกมาติกา

(๔) ตัณหากาย (กองตัณหา) ๖ (๙๔๔)
(๕) อคารวะ (ความไม่เคารพ) ๖ (๙๔๕)
(๖) ปริหานิยธรรม (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม) ๖ (๙๔๕)
(๗) ปริหานิยธรรม ๖ อีกนัยหนึ่ง (๙๔๖)
(๘) โสมนัสสุปวิจาร (ความครุ่นคิดเกี่ยวด้วยโสมนัส) ๖ (๙๔๖)
(๙) โทมนัสสุปวิจาร (ความครุ่นคิดเกี่ยวด้วยโทมนัส) ๖ (๙๔๖)
(๑๐) อุเปกขูปวิจาร (ความครุ่นคิดเกี่ยวด้วยอุเบกขา) ๖ (๙๔๖)
(๑๑) เคหสิตโสมนัส (โสมนัสที่อาศัยกามคุณ) ๖ (๙๔๗)
(๑๒) เคหสิตโทมนัส (โทมนัสที่อาศัยกามคุณ) ๖ (๙๔๗)
(๑๓) เคหสิตอุเบกขา (อุเบกขาที่อาศัยกามคุณ) ๖ (๙๔๖)
(๑๔) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๖ (๙๔๘)

ฉักกมาติกา จบ
๗. สัตตกมาติกา

[๘๓๘] (๑) อนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่อง) ๗ (๙๔๙)
(๒) สังโยชน์ (กิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๗ (๙๔๙)
(๓) ปริยุฏฐาน (กิเลสเครื่องกลุ้มรุมใจ) ๗ (๙๔๙)
(๔) อสัทธรรม (ธรรมของคนพาล) ๗ (๙๕๐)
(๕) ทุจริต (ความประพฤติชั่ว) ๗ (๙๕๐)
(๖) มานะ (ความถือตัว) ๗ (๙๕๐)
(๗) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๗ (๙๕๑)

สัตตกมาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๙.นวกมาติกา
๘. อัฏฐกมาติกา

[๘๓๙] (๑) กิเลสวัตถุ (สิ่งก่อความเศร้าหมอง) ๘ (๙๕๒)
(๒) กุสีตวัตถุ (เหตุเกิดความเกียจคร้าน) ๘ (๙๕๒)

(๓) จิตกระทบในโลกธรรม ๘ (๙๕๔)

(๔) อนริยโวหาร (คำพูดของผู้มิใช่พระอริยะ) ๘ (๙๕๕)
(๕) มิจฉัตตะ (ความเห็นผิด) ๘ (๙๕๖)
(๖) บุรุษโทษ (โทษของคน) ๘ (๙๕๗)
(๗) อสัญญีวาทะ (วาทะว่าอัตตาไม่มีสัญญา) ๘ (๙๕๘)

(๘) เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ (วาทะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญา
ก็ไม่ใช่) ๘ (๙๕๘)
อัฏฐกมาติกา จบ
๙. นวกมาติกา

[๘๔๐] (๑) อาฆาตวัตถุ (เรื่องให้เกิดความอาฆาต) ๙ (๙๖๑)
(๒) ปุริสมละ (มลทินของคน) ๙ (๙๖๒)
(๓) มานะ (ความถือตัว) ๙ (๙๖๓)
(๔) ตัณหามูลกธรรม (ธรรมที่มีตัณหาเป็นมูล) ๙ (๙๖๔)
(๕) อิญชิตะ ๙ (๙๖๔)
(๖) มัญญิตะ ๙ (๙๖๕)
(๗) ผันทิตะ ๙ (๙๖๕)
(๘) ปปัญจิตะ ๙ (๙๖๕)
(๙) สังขตะ ๙ (๙๖๕)

นวกมาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
๑๐. ทสกมาติกา

[๘๔๑] (๑) กิเลสวัตถุ (สิ่งก่อความเศร้าหมอง) ๑๐ (๙๖๖)
(๒) อาฆาตวัตถุ (สิ่งก่อความอาฆาต) ๑๐ (๙๖๗)
(๓) อกุศลกรรมบถ (ทางแห่งอกุศลกรรม) ๑๐ (๙๖๘)
(๔) สังโยชน์ (กิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๑๐ (๙๖๙)
(๕) มิจฉัตตะ (ความเห็นผิด) ๑๐ (๙๗๐)
(๖) มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ (ความเห็นผิดมี ๑๐ อย่าง) ๑๐ (๙๗๑)

(๗) อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ (ความเห็นที่ยึดเอาที่สุดมี ๑๐ อย่าง) ๑๐
(๙๗๒)
ทสกมาติกา จบ
[๘๔๒] ตัณหาวิจริตอาศัยอายตนะภายใน ๑๘ อาศัยอายตนะภายนอก ๑๘
รวมเข้าด้วยกันเป็นตัณหาวิจริต ๓๖
ตัณหาวิจริตที่เป็นอดีต ๓๖ ที่เป็นอนาคต ๓๖ ที่เป็นปัจจุบัน ๓๖ รวม
เข้าด้วยกันเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ ด้วยประการฉะนี้
ทิฏฐิ ๖๒ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร
มาติกา จบ
๑. เอกกนิทเทส
[๘๔๓] บรรดาเอกกมาติกาเหล่านั้น ชาติมทะ เป็นไฉน
ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่
จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยชาติ นี้เรียกว่า ชาติมทะ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
[๘๔๔] โคตตมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยโคตร นี้
เรียกว่า โคตตมทะ (๒)
อาโรคยมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความไม่มีโรค
นี้เรียกว่า อาโรคยมทะ (๓)
โยพพนมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น
หนุ่มเป็นสาว นี้เรียกว่า โยพพนมทะ (๔)
ชีวิตมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยชีวิต นี้เรียก
ว่า ชีวิตมทะ (๕)
ลาภมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยลาภ นี้เรียก
ว่า ลาภมทะ (๖)
สักการมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยสักการะ
นี้เรียกว่า สักการมทะ (๗)
ครุการมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเคารพ
นี้เรียกว่า ครุการมทะ (๘)
ปุเรกขารมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น
หัวหน้า นี้เรียกว่า ปุเรกขารมทะ (๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
ปริวารมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยบริวาร นี้
เรียกว่า ปริวารมทะ (๑๐)
โภคมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยโภคะ นี้
เรียกว่า โภคมทะ (๑๑)
วัณณมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความยกย่อง
นี้เรียกว่า วัณณมทะ (๑๒)
สุตมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยการสดับ
ตรับฟังมาก นี้เรียกว่า สุตมทะ (๑๓)
ปฏิภาณมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยปฏิภาณ
นี้เรียกว่า ปฏิภาณมทะ (๑๔)
รัตตัญญูมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น
ผู้รัตตัญญู นี้เรียกว่า รัตตัญญูมทะ (๑๕)
ปิณฑปาติกมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น
ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร นี้เรียกว่า ปิณฑปาติกมทะ (๑๖)
อนวัญญาตมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความที่ไม่
มีใครดูหมิ่น นี้เรียกว่า อนวัญญาตมทะ (๑๗)
อิริยาปถมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยอิริยาบถ
นี้เรียกว่า อิริยาปถมทะ (๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
อิทธิมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยฤทธิ์ นี้
เรียกว่า อิทธิมทะ (๑๙)
ยสมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยยศ นี้
เรียกว่า ยสมทะ (๒๐)
สีลมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยศีล นี้
เรียกว่า สีลมทะ (๒๑)
ฌานมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยฌาน นี้
เรียกว่า ฌานมทะ (๒๒)
สิปปมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยศิลปะ นี้
เรียกว่า สิปปมทะ (๒๓)
อาโรหมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น
ผู้มีทรวดทรงสูง นี้เรียกว่า อาโรหมทะ (๒๔)
ปริณาหมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความมี
ทรวดทรงสันทัด นี้เรียกว่า ปริณาหมทะ (๒๕)
สัณฐานมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความมี
ทรวดทรงงาม นี้เรียกว่า สัณฐานมทะ (๒๖)
ปาริปูริมทะ เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิญชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความ
ที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความมีร่างกายสมบูรณ์ นี้เรียกว่า
ปาริปูริมทะ (๒๗)
[๘๔๕] มทะ เป็นไฉน
ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่
จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธง นี้เรียกว่า มทะ (๒๘)
[๘๔๖] ปมาทะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิตไป การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ ๕ หรือการทำโดยไม่เคารพ การทำไม่ให้ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ
ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ
ความประมาทในการเจริญสภาวธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่
ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (๒๙)
[๘๔๗] ถัมภะ เป็นไฉน
ความหัวดื้อ กิริยาที่หัวดื้อ ภาวะที่หัวดื้อ ความแข็งกระด้าง ความหยาบคาย
ความเป็นผู้มีจิตแข็งกระด้าง ความไม่อ่อนโยน นี้เรียกว่า ถัมภะ (๓๐)
[๘๔๘] สารัมภะ เป็นไฉน
ความแข่งดี ความแข่งดีตอบ กิริยาที่แข่งดี กิริยาที่แข่งดีตอบ ภาวะที่แข่งดี
ตอบ นี้เรียกว่า สารัมภะ (๓๑)
[๘๔๙] อติริจฉตา เป็นไฉน
ความอยากได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือด้วยกามคุณ ๕ ตามมีตามได้ ความอยากได้
ความปรารถนา ความอยากได้เกินประมาณ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความ
กำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อติริจฉตา (๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
[๘๕๐] มหิจฉตา เป็นไฉน
ความอยากได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือด้วยกามคุณ ๕ ตามมีตามได้ ความอยากได้
ความปรารถนา ความอยากได้เกินประมาณ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก
ความกำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มหิจฉตา (๓๓)
[๘๕๑] ปาปิจฉตา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธาปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า
เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีลปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีศีล
เป็นผู้มีสุตะน้อยปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีสุตะมาก เป็นผู้
ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้ชอบสงัด
เป็นผู้เกียจคร้านปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้บำเพ็ญเพียร
เป็นผู้มีสติหลงลืมปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้
มีจิตไม่เป็นสมาธิปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิ เป็น
ผู้มีปัญญาทรามปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ยังไม่
สิ้นอาสวะปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้สิ้นอาสวะ ความอยากได้
ความปรารถนา ความปรารถนาลามก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความ
กำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปาปิจฉตา๑ (๓๔)
[๘๕๒] สิงคะ เป็นไฉน
ความยั่วยวน ความน่ารัก ความสวยสง่า ความเพริดพริ้ง ความมีเสน่ห์
ความไฉไล นี้เรียกว่า สิงคะ (๓๕)
[๘๕๓] ตินติณะ เป็นไฉน
การพูดเกียดกัน กิริยาที่พูดเกียดกัน ภาวะที่พูดเกียดกัน ความละโมบ
กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ความถ่อมตนเพื่อที่จะได้ ความต้องการสิ่งที่ประณีต
นี้เรียกว่า ตินติณะ (๓๖)

เชิงอรรถ :
๑ ภาวะแห่งผู้ปรารถนาลามก ว่าโดยลักษณะ คือยกย่องคุณที่ไม่มีและไม่รู้จักประมาณในการรับ (อภิ.วิ.อ..
๘๕๑/๕๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
[๘๕๔] จาปัลยะ เป็นไฉน
การตกแต่งจีวร การตกแต่งบาตร การตกแต่งเสนาสนะ การประดับร่างกาย
ที่เปื่อยเน่านี้ หรือบริขารภายนอก การประเทืองผิว การเล่นหัว ความร่าเริง
ความกำหนัดยินดี ภาวะที่กำหนัดยินดี การตกแต่ง กิริยาที่ชอบตกแต่ง นี้เรียกว่า
จาปัลยะ (๓๗)
[๘๕๕] อสภาควุตติ เป็นไฉน
ความไม่ประพฤติตาม ความประพฤติขัดขืน ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะที่ไม่
เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่ยำเกรงในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้ที่ควรเคารพ เช่น
มารดาบิดา พี่ชาย พี่สาว อาจารย์ อุปัชฌาย์ พระพุทธเจ้า หรือพระสาวก
นี้เรียกว่า อสภาควุตติ (๓๘)
[๘๕๖] อรติ เป็นไฉน
ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความ
รำคาญ ความกระวนกระวายใจในเสนาสนะที่สงัด หรือในสภาวธรรมที่เป็นอธิกุศล๑
คือสมถะและวิปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อรติ (๓๙)
[๘๕๗] ตันที เป็นไฉน
ความง่วงซึม กิริยาที่ง่วงซึม ภาวะที่ง่วงซึม ความเกียจคร้าน กิริยาที่
เกียจคร้าน ภาวะที่เกียจคร้าน นี้เรียกว่า ตันที๒ (๔๐)
[๘๕๘] วิชัมภิตา เป็นไฉน
ความบิดกาย กิริยาที่บิดกาย การโน้มกายไปข้างหน้า การโน้มกายมาข้าง
หลัง การโน้มกายไปรอบ ๆ การตั้งกายให้สูงขึ้น ความไม่สำราญทางกาย นี้เรียกว่า
วิชัมภิตา (๔๑)
[๘๕๙] ภัตตสัมมทะ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๘๕๖/๕๑๗
๒ หมายถึงเกียจคร้านโดยกำเนิด (อภิ.วิ.อ. ๘๕๗/๕๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
ความเมาเพราะอาหาร ความอึดอัดลำบากเพราะอาหาร ความเร่าร้อน
กระวนกระวายเพราะอาหาร ความหนักเนื้อหนักตัวเพราะอาหาร ของผู้รับประทาน
อาหารแล้ว นี้เรียกว่า ภัตตสัมมทะ (๔๒)
[๘๖๐] เจตโสลีนัตตะ เป็นไฉน
ความไม่คล่องแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความ
ทดถอย ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย
ภาวะที่จิตท้อถอย นี้เรียกว่า เจตโสลีนัตตะ (๔๓)
[๘๖๑] กุหนา เป็นไฉน
ความหลอกลวงด้วยการเสพปัจจัย ความหลอกลวงด้วยการกระซิบในที่ใกล้
หรือการวางท่าทางอิริยาบถ๑ กิริยาที่วางท่าทางอิริยาบถ ความดำรงอิริยาบถด้วยดี
การปั้นสีหน้า ภาวะที่ปั้นสีหน้า ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่
หลอกลวงของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้ปรารถนาลามก ถูกความ
อยากครอบงำ นี้เรียกว่า กุหนา (๔๔)
[๘๖๒] ลปนา เป็นไฉน
การทักทายผู้อื่น การพูดแนะนำตนเอง การพูดปลอบโยน การพูดยกย่อง
การพูดยกย่องให้สูงขึ้นทุกส่วน การพูดเอาใจคนอื่น การพูดเอาใจคนอื่นบ่อย ๆ
การพูดแนะนำ การพูดแนะนำบ่อย ๆ การพูดยกย่องเพื่อต้องการจะให้เขารัก การ
พูดทำตนให้ต่ำลง การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก ของภิกษุผู้
มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้
เรียกว่า ลปนา (๔๕)
[๘๖๓] เนมิตติกตา เป็นไฉน
การทำนิมิต๒ ความฉลาดในการทำนิมิต การพูดเกี่ยวข้องด้วยปัจจัย การ
พูดเป็นเลศนัย การพูดเลียบเคียงชนเหล่าอื่น ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง
ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า เนมิตติกตา (๔๖)

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อิริยาบถ” หมายถึงอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน (อภิ.วิ.อ. ๘๖๑/๕๒๑)
๒ คำว่า “ทำนิมิต” ในที่นี้หมายถึงความฉลาดในการกระทำทางกายและวาจาเพื่อให้คนอื่นให้ทาน (อภิ.วิ.อ.
๘๖๓/๕๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
[๘๖๔] นิปเปสิกตา เป็นไฉน
การด่า การพูดข่ม การพูดนินทา การพูดตำหนิโทษ การพูดตำหนิโทษหนัก
ขึ้น การพูดเหยียดหยาม การพูดเหยียดหยามให้หนักยิ่งขึ้น การพูดให้เสียชื่อเสียง
การพูดให้เสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรง การนำเรื่องเที่ยวไปประจาน การพูดสรรเสริญ
ต่อหน้านินทาลับหลัง๑ ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้ปรารถนาลามก
ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า นิปเปสิกตา (๔๗)
[๘๖๕] ลาเภนลาภังนิชิคีสนตา เป็นไฉน
ภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยาก
ครอบงำ นำอามิสที่ได้จากข้างนี้ไปให้ข้างโน้น หรือที่ได้จากข้างโน้นไปให้ข้างนี้
การแสวงหา การเสาะแสวงหา การเสาะแสวงหาบ่อย ๆ กิริยาที่แสวงหา กิริยา
ที่เสาะแสวงหา กิริยาที่เสาะแสวงหาบ่อย ๆ ซึ่งอามิสด้วยอามิส มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า ลาเภนลาภังนิชิคีสนตา (๔๘)
[๘๖๖] ความถือตัวว่าเป็นผู้เลิศกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร
โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความ
เป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดย
ปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน
การเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า ความถือตัวว่าเป็นผู้เลิศกว่าเขา (๔๙)
[๘๖๗] ความถือตัวว่าเป็นผู้เสมอเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดย
โคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดย
ความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือ

เชิงอรรถ :
๑ คำบาลีว่า “ปรปิฏฺฐิมํสิกตา” อรรถกถาขยายความว่า “ปุรโต มธุรํ ภณิตฺวา ปรมฺมุเข อวณฺณภาสิตา”
ต่อหน้าพูดจาอ่อนหวาน ลับหลังพูดนินทา ติเตียน (อภิ.วิ.อ. ๘๖๔/๕๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
โดยปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความ
ทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความถือตัวว่าเป็นผู้เสมอเขา (๕๐)
[๘๖๘] ความถือตัวว่าเป็นผู้ด้อยกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นตนเองโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ
โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์
โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา
หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่น กิริยาที่ดูหมิ่น ภาวะที่ดูหมิ่น ความเกลียดตน
ความเกลียดตนยิ่ง ภาวะที่เกลียดตนเป็นอย่างยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่า
ต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความถือตัวว่าเป็นผู้ด้อย
กว่าเขา (๕๑)
[๘๖๙] เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดย
ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ
โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยการถือตัวว่าเลิศกว่าคน
อื่น ๆ เช่นนี้แล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน
ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕๒)
[๘๗๐] เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดย
ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ
โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยความถือตัวว่าเสมอกับ
คนอื่น ๆ เช่นนี้แล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน
ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๕๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
[๘๗๑] เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดย
ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดย
ศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยความถือตัวว่า
ด้อยกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะ
ที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตนยิ่ง ภาวะที่เกลียดตนเป็นอย่างยิ่ง
ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้
เรียกว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๕๔)
[๘๗๒] เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ
เขาอาศัยความถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่
ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง
ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้
เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕๕)
[๘๗๓] เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ เขา
อาศัยความถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว
ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความ
เห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เสมอเขา
ถือตัวว่าเสมอเขา (๕๖)
[๘๗๔] เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
เขาอาศัยความถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน
กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตนยิ่ง ภาวะ
ที่เกลียดตนเป็นอย่างยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความดูแคลนตน
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๕๗)
[๘๗๕] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ
เขาอาศัยความถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่
ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง
ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือ
ตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕๘)
[๘๗๖] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ
เขาอาศัยความถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่
ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง
ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้
ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๕๙)
[๘๗๗] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล
ฯลฯ เขาอาศัยความถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่น
ตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตน ภาวะ
ที่เกลียดตน ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะ
เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๖๐)
[๘๗๘] มานะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน
ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง นี้เรียกว่า
มานะ (๖๑)
[๘๗๙] อติมานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดย
ชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว
ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความ
เห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อติมานะ (๖๒)
[๘๘๐] มานาติมานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เบื้องต้นถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ ต่อมาถือตัวว่าเลิศ
กว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็น
บุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน
ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มานาติมานะ (๖๓)
[๘๘๑] โอมานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นตนเองโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ
โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์
โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา
หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความ
เกลียดตน กิริยาที่เกลียดตน ภาวะที่เกลียดตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความ
ดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โอมานะ (๖๔)
[๘๘๒] อธิมานะ เป็นไฉน
ความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุแล้ว ความสำคัญกิจที่ตนยังไม่
ได้ทำว่าทำแล้ว ความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุแล้ว ความสำคัญ
ธรรมที่ตน ยังไม่ได้ทำให้แจ้งว่าทำให้แจ้งแล้ว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่
ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม
ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อธิมานะ (๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
[๘๘๓] อัสมิมานะ เป็นไฉน
ความสำคัญว่าเราเป็นรูป ความพอใจว่าเราเป็นรูป ความเข้าใจว่าเราเป็นรูป
ความสำคัญว่าเราเป็นเวทนา ฯลฯ เราเป็นสัญญา ฯลฯ เราเป็นสังขาร ฯลฯ เรา
เป็นวิญญาณ ความพอใจว่าเราเป็นวิญญาณ ความเข้าใจว่าเราเป็นวิญญาณ ความ
ถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชู
ตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้
เรียกว่า อัสมิมานะ (๖๖)
[๘๘๔] มิจฉามานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยหน้าที่การงาน
โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา โดยปฏิภาณ โดยศีล โดยพรต โดยศีล
และพรต หรือโดยทิฏฐิ๑ อันลามก ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่
จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มิจฉามานะ (๖๗)
[๘๘๕] ญาติวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๒ ปรารภ
หมู่ญาติ นี้เรียกว่า ญาติวิตักกะ (๖๘)
[๘๘๖] ชนปทวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๒ ปรารภ
ชนบท นี้เรียกว่า ชนปทวิตักกะ (๖๙)
[๘๘๗] อมรวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๒ ประกอบ
ด้วยทุกรกิริยา หรือประกอบด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า อมรวิตักกะ (๗๐)

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ ๖๒ (อภิ.วิ.อ. ๘๘๔/๕๓๐)
๒ คำว่า “อาศัยเรือน” ในอรรถกถาขยายว่า ได้แก่กามคุณ ๕ (อภิ.วิ.อ.๘๘๕/๔๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
[๘๘๘] ปรานุททยตาปฏิสังยุตตวิตักกะ เป็นไฉน
สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์มีความรื่นเริงร่วมกัน มี
ความโศกเศร้าร่วมกัน ถึงคราวเขาสุขก็พลอยสุขด้วย ถึงคราวเขาทุกข์ก็พลอยทุกข์
ด้วย เมื่อเขามีกิจที่จะพึงทำเกิดขึ้นก็พยายามช่วยทำด้วยตนเอง ความตรึก ความ
ตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๑ ในเพราะการอยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์
นั้น นี้เรียกว่า ปรานุททยตาปฏิสังยุตตวิตักกะ (๗๑)
[๘๘๙] ลาภสักการสิโลกปฏิสังยุตตวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๑ ปรารภ
ลาภสักการะและชื่อเสียง นี้เรียกว่า ลาภสักการสิโลกปฏิสังยุตตวิตักกะ (๗๒)
[๘๙๐] อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตักกะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รำพึงว่า คนเหล่าอื่นอย่าได้ดูหมิ่นเราโดยเหตุอย่างใด
อย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความ
เป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ
โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ ความตรึก ความตรึกโดยอาการ
ต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๑ ในเพราะความไม่อยากให้ใครดูหมิ่นนั้น นี้เรียก
ว่า อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตักกะ (๗๓)
เอกกนิทเทส จบ
๒. ทุกนิทเทส
[๘๙๑] บรรดามาติกาเหล่านั้น โกธะ เป็นไฉน
ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิด
ประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่
คิดปองร้าย ความยินร้าย ความยินร้ายตอบ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด
ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า โกธะ (๑)

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “เรือน” ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (อภิ.วิ.อ. ๘๙๐/๕๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
อุปนาหะ เป็นไฉน
ความโกรธครั้งแรกชื่อว่าความโกรธ ความโกรธในเวลาต่อมาชื่อว่าความผูก
โกรธ ความผูกโกรธ กิริยาที่ผูกโกรธ ภาวะที่ผูกโกรธ การไม่หยุดโกรธ การตั้งความ
โกรธไว้ การดำรงความโกรธไว้ การโผลงไปตามความโกรธ การตามไปผูกความโกรธ
ไว้ การทำความผูกโกรธไว้ให้มั่น มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อุปนาหะ (๑)
[๘๙๒] มักขะ เป็นไฉน
ความลบหลู่คุณท่าน กิริยาที่ลบหลู่คุณท่าน ภาวะที่ลบหลู่คุณท่าน ความดู
หมิ่น การทำความดูหมิ่น นี้เรียกว่า มักขะ
ปลาสะ เป็นไฉน
ความตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ ภาวะที่ตีเสมอ สภาวธรรมที่เป็นอาหารแห่ง
การตีเสมอโดยนำเอาความชนะของตนมาอ้าง เหตุแห่งความวิวาท ความแข่งดี
ความไม่ยอมสละ นี้เรียกว่า ปลาสะ (๒)
[๘๙๓] อิสสา เป็นไฉน
ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่ริษยา ความเกลียดชัง กิริยาที่เกลียดชัง
ภาวะที่เกลียดชัง ในเมื่อคนอื่นได้ลาภสักการะ ได้รับความเคารพ ความนับถือ
การกราบไหว้ และการบูชา นี้เรียกว่า อิสสา
มัจฉริยะ เป็นไฉน
มัจฉริยะ ๕ คือ

๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่)
๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ)
๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะหรือคุณความดี)
๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความ
เหนียวแน่น ความปกปิด ความมีจิตหวงแหน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
มัจฉริยะ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
[๘๙๔] มายา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา และใจแล้วตั้งความปรารถนา
ลามกไว้เพราะมีความต้องการจะปกปิดทุจริตนั้นเป็นเหตุ คือ ปรารถนาว่า ขอใคร
อย่าได้รู้ทันเรา ดำริว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา พูดว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา
ขวนขวายด้วยกายว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา ความเจ้าเล่ห์ ความเป็นคนเจ้าเล่ห์
กิริยาที่หลอกให้หลง ความลวง ความโกง ความกลบเกลื่อน ความหลีกเลี่ยง
ความซ่อน ความซ่อนบัง ความปกปิด ความปิดบัง การกระทำไม่ชัดเจน การไม่
ทำให้แจ้ง การปกปิดมิดชิด การกระทำที่ชั่ว มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มายา
สาเถยยะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้โอ้อวดจัด ความโอ้อวด กิริยาที่
โอ้อวด ภาวะที่โอ้อวด ความกระด้าง การพูดเป็นเหลี่ยมคู ภาวะที่กระด้างใน
บุคคลนั้น นี้เรียกว่า สาเถยยะ (๔)
[๘๙๕] อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
ภวตัณหา เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ความยินดีในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ความปรารถนา
ภพ ความเยื่อใยในภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความสยบในภพ ความหมกมุ่น
ในภพ นี้เรียกว่า ภวตัณหา (๕)
[๘๙๖] ภวทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ภวทิฏฐิ
วิภวทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักไม่มี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิภวทิฏฐิ (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
[๘๙๗] สัสสตทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ
อุจเฉททิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกขาดสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ
ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ (๗)
[๘๙๘] อันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกมีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อันตวาทิฏฐิ
อนันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ
ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อนันตวาทิฏฐิ (๘)
[๘๙๙] ปุพพันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน
ทิฏฐิ ธรรมชาติที่นับว่าทิฏฐิ ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส ปรารภส่วน
อดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ
อปรันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน
ทิฏฐิ ธรรมชาติที่นับว่าทิฏฐิ ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส ปรารภส่วน
อนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อปรันตานุทิฏฐิ (๙)
[๙๐๐] อหิริกะ เป็นไฉน
ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่ละอาย
ต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อหิริกะ
อโนตตัปปะ เป็นไฉน
ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว ความไม่
เกรงกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อโนตตัปปะ (๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
[๙๐๑] โทวจัสสตา เป็นไฉน
ความเป็นผู้ว่ายาก กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือ
ข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ
ความไม่เชื่อฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา
ปาปมิตตตา เป็นไฉน
บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่ มี
ปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี
ความภักดี ความจงรักภักดีต่อบุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้ร่วมพวกกับบุคคลเหล่า
นั้น นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา (๑๑)
[๙๐๒] อนัชชวะ เป็นไฉน
ความไม่ซื่อตรง ภาวะที่ไม่ซื่อตรง ความคด ความงอ ความโกง นี้เรียกว่า
อนัชชวะ
อมัททวะ เป็นไฉน
ความไม่อ่อนโยน ภาวะที่ไม่อ่อน ความกระด้าง ความหยาบคาย ภาวะที่
กระด้าง ความแข็งกระด้าง ความมีจิตแข็งกระด้าง ความไม่อ่อนโยน นี้เรียกว่า
อมัททวะ (๑๒)
[๙๐๓] อขันติ เป็นไฉน
ความไม่อดทน ภาวะที่ไม่อดทน ความไม่อดกลั้น ความดุร้าย ความ
เกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า อขันติ
อโสรัจจะ เป็นไฉน
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง
กายและทางวาจา นี้เรียกว่า ความไม่เสงี่ยม ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดเรียกว่า
อโสรัจจะ (๑๓)
[๙๐๔] อสาขัลยะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
วาจาใดเป็นปม หยาบคาย เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อ
ความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ บุคคลเป็นผู้พูดวาจาเช่นนั้น ความเป็นผู้มีวาจาไม่
อ่อนหวาน ความเป็นผู้มีวาจาไม่ละมุนละมัย ความเป็นผู้มีวาจาหยาบ ในลักษณะ
ดังกล่าวนั้น นี้เรียกว่า อสาขัลยะ
อัปปฏิสันถาร เป็นไฉน
ปฏิสันถาร ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร และธัมมปฏิสันถาร บุคคลบางคนใน
โลกนี้เป็นผู้ไม่ทำการปฏิสันถารด้วยอามิสปฏิสันถาร หรือด้วยธัมมปฏิสันถาร นี้
เรียกว่า อัปปฏิสันถาร (๑๔)
[๙๐๕] ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้วรวบถือ แยกถือ ซึ่งเมื่อไม่สำรวม
แล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมในจักขุนทรีย์ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง
ด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วรวบถือ แยกถือ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้
บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์
นั้น ไม่รักษามนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ความไม่คุ้มครอง กิริยาที่
ไม่คุ้มครอง ความไม่รักษา ความไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ นี้เรียกว่า ความ
เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่พิจารณาโดยแยบคายย่อมบริโภคอาหารเพื่อเล่น เพื่อ
ความมัวเมา เพื่อให้ผิวพรรณสวยงาม เพื่อความอ้วนพี ความไม่สันโดษ ความไม่
รู้จักประมาณ ความไม่พิจารณาในโภชนะนั้น นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ
ในการบริโภค (๑๕)
[๙๐๖] มุฏฐัสสัจจะ เป็นไฉน
ความระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความระลึกย้อนหลังไม่ได้ ความระลึก
ไม่ได้ ภาวะที่ระลึกไม่ได้ ภาวะที่ทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืมสติ
นี้เรียกว่า มุฏฐัสสัจจะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
อสัมปชัญญะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อสัมปชัญญะ (๑๖)
[๙๐๗] สีลวิบัติ เป็นไฉน
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง
กายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิบัติ ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดชื่อว่าสีลวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณ-
พราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย
ตนเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ความยึดถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดเรียกว่า
ทิฏฐิวิบัติ (๑๗)
[๙๐๘] อัชฌัตตสัญโญชนะ เป็นไฉน
สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ชื่อว่าอัชฌัตตสัญโญชนะ๑
(พหิทธสัญโญชนะ เป็นไฉน)
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ชื่อว่าพหิทธสัญโญชนะ๒ (๑๘)
ทุกนิทเทส จบ
๓. ติกนิทเทส
[๙๐๙] บรรดามาติกาเหล่านั้น อกุศลมูล ๓ เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ

เชิงอรรถ :
๑ คือสังโยชน์ในกามภพ (อภิ.วิ.อ. ๙๐๘/๕๓๕)
๒ คือสังโยชน์ในรูปภพและอรูปภพ (อภิ.วิ.อ. ๙๐๘/๕๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
บรรดาอกุศลมูล ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความ
เพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต
ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่
ความจมอยู่ ความหวั่นไหว ความหลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติ
ที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่ซ่านไป
ธรรมชาติที่ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ธรรมชาติที่เป็นกระแส ธรรมชาติที่แผ่ไป
ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็นเพื่อนใจ ธรรมชาติที่ตั้งความปรารถนา
ธรรมชาติที่นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนหมู่ไม้ที่ตั้งอยู่ในป่า ความ
เชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง
ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ
ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติที่อยากได้
ธรรมชาติที่อยากได้ทั่ว ธรรมชาติที่อยากได้ยิ่ง กิริยาที่อยากได้ ภาวะที่อยากได้
ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่เป็นเหตุซมซานไป ความ
ใคร่ในอารมณ์ที่ดี ความกำหนัดในฐานะที่ไม่ควร ความโลภเกินขนาด ความติดใจ
กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่ม ความปรารถนาจัด กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ (คือ
ราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ) รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์
เครื่องปิดบัง เครื่องผูกมัด อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐานะ ตัณหาเหมือนเถาวัลย์
ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่ง
ทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหา
เหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
นี้เรียกว่า โลภะ
โทสะ เป็นไฉน
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ผู้นี้กำลังทำความ
เสื่อมเสียแก่เรา ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบพอของเรา ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสีย
แก่คนผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบพอของเรา ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รัก
เป็นที่ชอบพอของเรา
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบ
พอของเรา ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ผู้นี้
จักทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิด
ขึ้นในฐานะที่ไม่สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบ ความแค้น ความ
เคือง ความพลุ้งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความ
ขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิด
ประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยา
ที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย ความ
เกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โทสะ
โมหะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความ
ไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในสภาวธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและ
กัน และอิงอาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล
คือโมหะมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โมหะ
เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลมูล ๓ (๑)
[๙๑๐] อกุศลวิตก ๓ เป็นไฉน
อกุศลวิตก ๓ คือ

๑. กามวิตก (ความตรึกเกี่ยวด้วยกาม)
๒. พยาปาทวิตก (ความตรึกเกี่ยวด้วยความพยาบาท)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกเกี่ยวด้วยความเบียดเบียน)

บรรดาวิตก ๓ นั้น กามวิตก เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยกาม นี้
เรียกว่า กามวิตก
พยาปาทวิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยความ
พยาบาท นี้เรียกว่า พยาปาทวิตก
วิหิงสาวิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยความ
เบียดเบียน นี้เรียกว่า วิหิงสาวิตก
เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลวิตก ๓ (๒)
[๙๑๑] อกุศลสัญญา ๓ เป็นไฉน
อกุศลสัญญา ๓ คือ
๑. กามสัญญา ๒. พยาปาทสัญญา
๓. วิหิงสาสัญญา
บรรดาสัญญา ๓ นั้น กามสัญญา เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ที่เกี่ยวด้วยกาม นี้เรียกว่า กาม-
สัญญา
พยาปาทสัญญา เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ที่เกี่ยวกับความพยาบาท นี้เรียกว่า
พยาปาทสัญญา
วิหิงสาสัญญา เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ที่เกี่ยวด้วยความเบียดบียน นี้เรียกว่า
วิหิงสาสัญญา
เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลสัญญา ๓ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๙๑๒] อกุศลธาตุ ๓ เป็นไฉน
อกุศลธาตุ ๓ คือ
๑. กามธาตุ ๒. พยาปาทธาตุ
๓. วิหิงสาธาตุ
บรรดาอกุศลธาตุ ๓ นั้น กามธาตุ เป็นไฉน
กามวิตกชื่อว่ากามธาตุ พยาปาทวิตกชื่อว่าพยาปาทธาตุ วิหิงสาวิตกชื่อว่า
วิหิงสาธาตุ
บรรดาวิตก ๓ นั้น กามวิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยกาม นี้
เรียกว่า กามวิตก
พยาปาทวิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยความ
พยาบาท นี้เรียกว่า พยาปาทวิตก
วิหิงสาวิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยความเบียด
เบียน นี้เรียกว่า วิหิงสาวิตก
เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลธาตุ ๓ (๔)
[๙๑๓] ทุจริต ๓ เป็นไฉน
ทุจริต ๓ คือ
๑. กายทุจริต ๒. วจีทุจริต
๓. มโนทุจริต
บรรดาทุจริต ๓ นั้น กายทุจริต เป็นไฉน
ปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร นี้เรียกว่า กายทุจริต
วจีทุจริต เป็นไฉน
มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ นี้เรียกว่า วจีทุจริต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
มโนทุจริต เป็นไฉน
อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ นี้เรียกว่า มโนทุจริต
กายทุจริต เป็นไฉน
กายกรรมที่เป็นอกุศลชื่อว่ากายทุจริต วจีกรรมที่เป็นอกุศลชื่อว่าวจีทุจริต
มโนกรรมที่เป็นอกุศลชื่อว่ามโนทุจริต
บรรดาทุจริต ๓ นั้น กายกรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
กายสัญเจตนาที่เป็นอกุศลชื่อว่ากายกรรมที่เป็นอกุศล วจีสัญเจตนาที่เป็นอกุศล
ชื่อว่าวจีกรรมที่เป็นอกุศล มโนสัญเจตนาที่เป็นอกุศลชื่อว่ามโนกรรมที่เป็นอกุศล
เหล่านี้ชื่อว่าทุจริต ๓ (๕)
[๙๑๔] อาสวะ ๓ เป็นไฉน
อาสวะ ๓ คือ

๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม)
๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)

บรรดาอาสวะ ๓ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ความ
อยากในกาม ความเยื่อใยในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความสยบในกาม
ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กามาสวะ
ภวาสวะ เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่า
ภวาสวะ
อวิชชาสวะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาสวะ
เหล่านี้ชื่อว่าอาสวะ ๓ (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๙๑๕] สังโยชน์ ๓ เป็นไฉน
สังโยชน์ ๓ คือ

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)

บรรดาสังโยชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตนหรือ
เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตนหรือเห็นตนในรูป ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ
เห็นสัญญาเป็นตน ฯลฯ เห็นสังขารเป็นตน ฯลฯ เห็นวิญญาณเป็นตนหรือ
พิจารณาเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตนหรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความ
เห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระธรรม
ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระสงฆ์ ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในสิกขา ย่อมเคลือบ
แคลงสงสัยในส่วนอดีต ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในส่วนอนาคต ย่อมเคลือบแคลง
สงสัยในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในสภาวธรรมที่เป็น
ปัจจัยของกันและกันและอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ความเคลือบแคลง กิริยาที่
เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะ
เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีล
ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส
เหล่านี้ชื่อว่าสังโยชน์ ๓ (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๙๑๖] ตัณหา ๓ เป็นไฉน
ตัณหา ๓ คือ

๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)

บรรดาตัณหา ๓ นั้น ภวตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่สหรคตด้วยภวทิฏฐิ
นี้เรียกว่า ภวตัณหา
วิภวตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่สหรคตด้วย
อุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา ตัณหาที่เหลือชื่อว่ากามตัณหา
บรรดาตัณหา ๓ นั้น กามตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยกามธาตุ
นี้เรียกว่า กามตัณหา
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวกับรูปธาตุและ
อรูปธาตุ นี้เรียกว่า ภวตัณหา
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่สหรคตด้วย
อุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา
เหล่านี้ชื่อว่าตัณหา ๓ (๘)
[๙๑๗] ตัณหา ๓ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ตัณหา ๓ คือ
๑. กามตัณหา ๒. รูปตัณหา
๓. อรูปตัณหา
บรรดาตัณหา ๓ นั้น กามตัณหา เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยกามธาตุ
นี้เรียกว่า กามตัณหา
รูปตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยรูปธาตุ
นี้เรียกว่า รูปตัณหา
อรูปตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยอรูปธาตุ
นี้เรียกว่า อรูปตัณหา
เหล่านี้ชื่อว่าตัณหา ๓ (๙)
[๙๑๘] ตัณหา ๓ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ตัณหา ๓ คือ
๑. รูปตัณหา ๒. อรูปตัณหา
๓. นิโรธตัณหา
บรรดาตัณหา ๓ นั้น รูปตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยรูปธาตุ
นี้เรียกว่า รูปตัณหา
อรูปตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยอรูปธาตุ
นี้เรียกว่า อรูปตัณหา
นิโรธตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่สหรคตด้วย
อุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า นิโรธตัณหา
เหล่านี้ชื่อว่าตัณหา ๓ (๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๙๑๙] เอสนา ๓ เป็นไฉน
เอสนา ๓ คือ
๑. กาเมสนา ๒. ภเวสนา
๓. พรหมจริเยสนา
บรรดาเอสนา ๓ นั้น กาเมสนา เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กาเมสนา
ภเวสนา เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ นี้เรียกว่า ภเวสนา
พรหมจริเยสนา เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิด
อีกก็ไม่ใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา
บรรดาเอสนา ๓ นั้น กาเมสนา เป็นไฉน
ความกำหนัดในกาม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เป็นอกุศลซึ่งตั้งอยู่
ในฐานเดียวกันกับความกำหนัดในกามนั้น นี้เรียกว่า กาเมสนา๑
ภเวสนา เป็นไฉน
ความกำหนัดในภพ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เป็นอกุศลซึ่งตั้งอยู่ใน
ฐานเดียวกันกับความกำหนัดในภพนั้น นี้เรียกว่า ภเวสนา
พรหมจริเยสนา เป็นไฉน
ความเห็นที่ถือว่า โลกมีที่สุด กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เป็นอกุศล ซึ่ง
ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับความเห็นที่ถือว่าโลกมีที่สุดนั้น นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา
เหล่านี้ชื่อว่าเอสนา ๓ (๑๑)

เชิงอรรถ :
๑ สสฺสโต โลโกติอาทินา นเยน วุตฺตา ทิฏฺฐิคติกสมฺมตสฺส พฺรหฺมอริยสฺส คเวสนา ทิฏฺฐิ พฺรหฺมจริเยสนาติ
เวทิตพฺพา (อภิ.วิ.อ. ๙๑๙/๕๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๕ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น