Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๗-๖ หน้า ๓๑๖ - ๓๗๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๖ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ



พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ว่าด้วยการบรรลุธรรมโดยลำดับ
[๓๓๙] สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลเจริญโสดาปัตติมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. บุคคลเจริญโสดาปัตติมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่๔
สก. บุคคลทำให้แจ้งโสดาปัตติผลได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๕ ฯลฯ
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเจริญสกทาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเจริญสกทาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ นิกายสัพพัตถิกวาท นิกายสมิติยะ และนิกายภัทรยานิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๓๙/๑๘๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า การบรรลุอรหัตตผลเกิดจากการละกิเลสได้โดยลำดับด้วยญาณ ๑๖ ประการ โดย
แบ่งเป็นมรรคละ ๔ ประการ เช่น ผู้บรรลุโสดาปัตติผลย่อมละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นทุกข์(ทุกขญาณ)
ละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นสมุทัย(สมุทยญาณ) ละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นนิโรธ(นิโรธญาณ) และ
ละกิเลสก็บางอย่างด้วยการเห็นมรรค(มัคคญาณ) การบรรลุสกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
ก็มีนัยเดียวกันนี้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับ เกรงจะมีผู้เข้าใจผิดว่า มรรคเดียวทำให้บรรลุผลหลายอย่าง (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๓๙/๑๘๖)
๔ เพราะมีความเห็นว่า โสดาปัตติมรรคประกอบด้วยญาณ ๔ ประการ คือ ทุกขญาณ สมุทยญาณ นิโรธญาณ
และมัคคญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖)
๕ เพราะมีความเห็นว่า เขาปรารถนาโสดาปัตติผลอย่างเดียวเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. บุคคลทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเจริญอนาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเจริญอนาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำให้แจ้งอนาคามิผลได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเจริญอรหัตตมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเจริญอรหัตตมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำให้แจ้งอรหัตตผลได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๐] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการ
เห็นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง
เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน๑
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเสสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกาย๒ อยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระ
โสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ประกอบ
ด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง
เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระ

เชิงอรรถ :
๑ ๑ ใน ๔ ส่วน หมายถึงกิเลส ๑ ส่วน ใน ๔ ส่วน ที่ละได้ด้วยญาณ หนึ่ง ในจำนวน ๔ ญาณของแต่ละมรรค
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๒๗๔ หน้า ๑๕๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
โสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ไม่
หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบ
ด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ประกอบด้วยศีลที่
พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๑] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละกามราคะ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกัน
กับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑
ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง
เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑
ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
[๓๔๒] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี
ผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ
ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็น
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขาร-
ปรินิพพายี ฯลฯ ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เมื่อละ
กิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
[๓๔๓] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นผู้ปราศจากราคะ
ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ
ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธง
คือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพ้น ชนะอย่างวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์
ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่
ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้ง เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ
ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นผู้ปราศจากราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์
ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ ถอดลิ่มสลัก
กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ
วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ ละ
สมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้ง เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๔] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึง
ยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ครั้นเห็นทุกข์แล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ครั้นเห็นนิโรธแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับ
ว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นมรรคแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นทุกข์แล้ว
ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นมรรคแล้ว
ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ”
ครั้นเห็นนิโรธแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึงยอม
รับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นทุกข์แล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นมรรคแล้ว
ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ”
ครั้นเห็นนิโรธสัจแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นมรรคแล้ว
ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึงยอม
รับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นทุกข์แล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเห็นทุกข์ ไม่มีประโยชน์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ”
ครั้นเห็นนิโรธแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเห็นนิโรธ ไม่มีประโยชน์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๕] ปร. ครั้นเห็นทุกข์แล้วก็เป็นอันเห็นสัจจะ ๔ ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ทุกขสัจเป็นสัจจะ ๔ ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นรูปขันธ์โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นขันธ์ ๕
โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปขันธ์เป็นขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นจักขายตนะโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นอายตนะ
๑๒ โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. จักขายตนะเป็นอายตนะ ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นจักขุธาตุโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นธาตุ ๑๘
โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุธาตุเป็นธาตุ ๑๘ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นจักขุนทรีย์โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็น
อินทรีย์ ๒๒ โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุนทรีย์เป็นอินทรีย์ ๒๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๔๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๘๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๘ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงญาณในอริยสัจ ๔ มีทุกขญาณ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)
๒ หมายถึงญาณในอริยสัจ ๔ และญาณในปฏิสัมภิทา ๔ ที่มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๑๒๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๔๔๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๔๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๗๗๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๗๗ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงญาณในปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีองค์ ๑๒ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)
๒ หมายถึงญาณที่ท่านกล่าวไว้ในนิทานวรรคอย่างนี้ว่า ญาณในชราและมรณะ ญาณในชรา มรณะ และ
สมุทัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)
๓ หมายถึงญาณที่ท่านกล่าวไว้ในนิทานวรรคอย่างนี้ว่า ชราและมรณะเป็นของไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยมีการ
ศึกษาไปโดยลำดับ๑ มีการบำเพ็ญไปโดยลำดับ๒ มีการปฏิบัติไปโดยลำดับ๓ ไม่ใช่
มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที เหมือนมหาสมุทรต่ำลงไปโดยลำดับ ลาดลงไป
โดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที”๔ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น จึงมีการบรรลุธรรมโดยลำดับ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ผู้มีปัญญาพึงกำจัดมลทินของตนทีละน้อย ๆ
ทุกขณะ โดยลำดับ เหมือนช่างทองกำจัดสนิมทอง”๕
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น จึงมีการบรรลุธรรมโดยลำดับ
สก. ท่านยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ การศึกษาไปโดยลำดับ หมายถึงการศึกษาสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๑๙/๒๔๔)
๒ การบำเพ็ญไปโดยลำดับ หมายถึงการบำเพ็ญธุดงค์ ๑๓ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔)
๓ การปฏิบัติไปโดยลำดับ หมายถึงอนุปัสสนา ๙ มหาวิปัสสนา ๑๘ อารัมมณวิภัตติ ๓๘ และ
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔)
๔ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๑๙-๒๐/๒๔๘-๒๕๕
๕ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๓๙/๑๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระควัมปติเถระกล่าวกับภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า ‘ผู้มี
อายุทั้งหลาย ผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง เห็นทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขสมุทัย ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง
เห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็น
ทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ”
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พร้อมกับการได้บรรลุโสดาปัตติมรรค
ฯลฯ และเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำอภิฐาน ๖” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ”
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรม-
จักษุที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๑๐๐/๖๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
ขึ้นแห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ”
อนุปุพพาภิสมยกถา จบ
๑๐. โวหารกถา (๑๙)
ว่าด้วยพระโวหาร
[๓๔๗] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกุตตระ
ไม่กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกุตตระ รับรู้ไม่ได้ด้วย
วิญญาณที่เป็นโลกิยะ พระอริยสาวกรับรู้ได้ แต่ปุถุชนรับรู้ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๗/๑๙๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า พระโวหารที่พระพุทธองค์ทรงใช้แสดงธรรมล้วนเป็นโลกุตตระ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๔๗/๑๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ารับรู้ได้ด้วยโลกิยวิญญาณมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ารับรู้ได้ด้วยโลกิยวิญญาณ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ปุถุชนก็รับรู้ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ปุถุชนก็รับรู้ได้ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
[๓๔๘] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค
สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล สติปัฏฐาน
สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนบางพวกที่จะฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรธรรมรับรู้ได้ด้วยโสตะ กระทบที่โสตะ มาสู่คลองแห่งโสตะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรธรรมรับรู้ไม่ได้ด้วยโสตะ ไม่กระทบที่โสตะ ไม่มาสู่คลองแห่ง
โสตะมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. หากโลกุตตรธรรมรู้ไม่ได้ด้วยโสตะ ไม่กระทบที่โสตะ ไม่มาสู่คลองแห่ง
โสตะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็น
โลกุตตระ”
[๓๔๙] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนบางพวกที่จะพึงยินดีในพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี เป็นที่ตั้งแห่ง
ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความเมา เป็นที่ตั้งแห่งความผูกมัด เป็นที่ตั้งแห่งความ
ลุ่มหลงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความใคร่ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเมา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความผูกมัด ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความลุ่มหลงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ไม่
เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเมา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความผูกมัด ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. คนบางพวกที่จะพึงขัดเคืองในพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง เป็นที่ตั้ง
แห่งความกระทบกระเทือนใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือนใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือนใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนบางพวกที่จะพึงหลงในพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรธรรมที่เป็นที่ตั้งของโมหะ ทำความไม่รู้ ทำให้เป็นผู้ไม่มีจักษุ
เป็นที่ปิดกั้นแห่งปัญญา เป็นฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานมิใช่หรือ
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่ทำความไม่รู้ ไม่ทำให้เป็นผู้ไม่มี
จักษุ เป็นที่เจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. หากโลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่ทำความไม่รู้ ไม่ทำให้เป็นผู้
ไม่มีจักษุ เป็นที่เจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
[๓๕๐] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พาลปุถุชนฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชื่อว่าเจริญ
มรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้ฆ่ามารดา ฯลฯ ฆ่าบิดา ฯลฯ ฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ ทำร้าย
พระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ฟังพระโวหารของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๕๑] ปร. กองข้าวเปลือกก็ดี กองทองก็ดี ใช้ไม้เท้าทองชี้บอกได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อย่างนั้นเหมือนกัน สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะก็ดี ที่เป็นโลกุตตระก็ดี
พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระโวหารที่เป็นโลกุตตระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. กองข้าวเปลือกก็ดี กองทองก็ดี ใช้ไม้เท้าต้นละหุ่งชี้บอกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อย่างนั้นเหมือนกัน สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะก็ดี ที่เป็นโลกุตตระก็ดี
พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระโวหารที่เป็นโลกิยะ
[๓๕๒] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็
เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อตรัสโลกิยธรรม พระโวหารนั้นกระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ เมื่อตรัส
โลกุตตรธรรม กระทบโสตะที่เป็นโลกุตตระ เมื่อตรัสโลกิยธรรม ชนทั้งหลายรับรู้ได้
ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็น
โลกุตตระ เมื่อตรัสโลกิยธรรม ปุถุชนรับรู้ได้ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม พระสาวก
รับรู้ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัส
โลกิยธรรมก็เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสทั้งโลกิยธรรมและโลกุตตรธรรมมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสทั้งโลกิยธรรมและโลกุตตรธรรม ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็
เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระ”
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็เป็น
โลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๑. นิโรธกถา (๒๐)
สก. เมื่อตรัสมรรคก็เป็นมรรค เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่มรรคก็เป็นสภาวธรรม
ที่มิใช่มรรค เมื่อตรัสผลก็เป็นผล เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่ผลก็เป็นสภาวธรรมที่
มิใช่ผล เมื่อตรัสนิพพานก็เป็นนิพพาน เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่นิพพานก็เป็น
สภาวธรรมที่มิใช่นิพพาน เมื่อตรัสสังขตธรรมก็เป็นสังขตธรรม เมื่อตรัสอสังขตธรรม
ก็เป็นอสังขตธรรม เมื่อตรัสรูปก็เป็นรูป เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่รูปก็เป็นสภาว-
ธรรมที่มิใช่รูป เมื่อตรัสเวทนาก็เป็นเวทนา เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่เวทนาก็เป็น
สภาวธรรมที่มิใช่เวทนา เมื่อตรัสสัญญาก็เป็นสัญญา เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่
สัญญาก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่สัญญา เมื่อตรัสสังขารก็เป็นสังขาร เมื่อตรัสสภาว-
ธรรมที่มิใช่สังขารก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่สังขาร เมื่อตรัสวิญญาณก็เป็นวิญญาณ
เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่วิญญาณก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
โวหารกถา จบ
๑๑. นิโรธกถา (๒๐)
ว่าด้วยนิโรธ
[๓๕๓] สก. นิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. ทุกขนิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะและนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๓/๑๘๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า นิโรธสัจมี ๒ คือ ปฏิสังขานิโรธ(ดับโดยพิจารณา) และอัปปฏิสังขานิโรธ(ดับโดย
ไม่ต้องพิจารณา) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๓/๑๘๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า การดับทุกข์มีอย่างเดียวเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๓/๑๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๑. นิโรธกถา (๒๐)
สก. ทุกขนิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทยสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มัคคสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ที่เร้นมี ๒ อย่าง ฯลฯ ที่ระลึกมี ๒ อย่าง
ฯลฯ จุดมุ่งหมายมี ๒ อย่าง ฯลฯ ที่มั่นมี ๒ อย่าง ฯลฯ อมตะมี ๒ อย่าง
ฯลฯ นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ทุกข์ดับได้ด้วยอาการ ๒ อย่าง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๓/๑๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๑. นิโรธกถา (๒๐)
สก. นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานทั้ง ๒ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต
ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลนำสังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณามาพิจารณาให้ดับได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลนำสังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณามาพิจารณาให้ดับได้ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “นิโรธมี ๒ อย่าง”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิโรธมี ๒ อย่าง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณาก็ดี ที่ดับโดยพิจารณาก็ดี ต่างก็ดับ
สนิทแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณาก็ดี ที่ดับโดยพิจารณาก็ดี ต่างก็
ดับสนิท ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “นิโรธมี ๒ อย่าง”
สก. นิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารแม้ที่ดับโดยพิจารณา ชื่อว่าดับ เพราะอาศัยอริยมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. สังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณา ชื่อว่าดับ เพราะอาศัยอริยมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารที่ดับโดยพิจารณา ไม่เกิดขึ้นอีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณา ก็ไม่เกิดขึ้นอีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “นิโรธมี ๒ อย่าง”
นิโรธกถา จบ
ทุติยวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปรูปหารกถา ๒. อัญญาณกถา
๓. กังขากถา ๔. ปรวิตารณกถา
๕. วจีเภทกถา ๖. ทุกขาหารกถา
๗. จิตตัฏฐิติกถา ๘. กุกกุฬกถา
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา ๑๐. โวหารกถา
๑๑. นิโรธกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
๓. ตติยวรรค
๑. พลกถา (๒๑)
ว่าด้วยกำลัง
[๓๕๔] สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. กำลังของพระตถาคตก็คือกำลังของพระสาวก กำลังของพระสาวกก็คือ
กำลังของพระตถาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตกับกำลังของพระสาวกเป็นอันเดียวกัน กำลังของ
พระสาวกกับกำลังของพระตถาคตก็เป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระสาวกก็เช่นเดียวกับกำลังของพระตถาคต กำลังของพระ
ตถาคตก็เช่นเดียวกับกำลังของพระสาวกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๔/๑๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ทสพลญาณ ๑๐ ก็มีได้ในสันดานของเหล่าพระสาวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๔/๑๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
สก. บุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การแสดงธรรมของพระสาวก
ก็เช่นเดียวกับบุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การแสดงธรรมของพระ
ตถาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตทรงเป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมม-
ปฏิสรณะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสาวกก็เป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมม-
ปฏิสรณะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นผู้ให้กำเนิดแก่มรรค
ที่ยังไม่มีใครให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้เข้าใจ
มรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสาวกก็เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นผู้ให้กำเนิดแก่มรรค
ที่ยังไม่มีใครให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้เข้าใจ
มรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงซึ่งความยิ่งและ
หย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ (อินทริยปโรปริยัตตญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
สก. พระสาวกเป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง เป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๕๕] ปร. พระสาวกรู้ฐานะและอฐานะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ฐานะและอฐานะได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงฐานะและอฐานะ(ฐานาฐาน-
ญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้วิบากแห่งกรรมสมาทานทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้วิบากแห่งกรรมสมาทานทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคต
คือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงวิบากแห่งกรรมสมาทาน(กรรมวิปากญาณ)
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวงได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวงได้ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึง
ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวง(สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ) มีได้ทั่วไป
แก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้โลกซึ่งมีธาตุหลายอย่างต่าง ๆ กันได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้โลกซึ่งมีธาตุหลายอย่างต่าง ๆ กันได้ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งมีธาตุ
หลายอย่างต่าง ๆ กัน (นานาธาตุญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
ปร. พระสาวกรู้ว่า “สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ว่า “สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันได้” ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความ
ที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน (นานาธิมุตติกญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือ
ปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน
วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ (ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้การระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้การระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนได้ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงการระลึก
ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายได้ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. อาสวะของพระตถาคตสิ้นไปแล้วและของพระสาวกก็สิ้นไปแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
ปร. เหตุอะไร ๆ ที่ทำให้ต่างกันระหว่างความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระตถาคต
กับความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระสาวก หรือระหว่างความหลุดพ้นของพระตถาคต
กับความหลุดพ้นของพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่มี
ปร. หากไม่มีเหตุอะไร ๆ ที่ทำให้ต่างกันระหว่างความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
พระตถาคตกับความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระสาวก หรือระหว่างความหลุดพ้นของ
พระตถาคตกับความหลุดพ้นของพระสาวก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลัง
ของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะ (อาสวัก-
ขยญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
[๓๕๖] ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้น
ไปแห่งอาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ิของสัตว์ทั้งหลาย มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลาย มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พลกถา จบ
๒. อริยันติกถา (๒๒)
ว่าด้วยความเป็นอริยะ
[๓๕๗] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและ
อฐานะเป็นอริยะใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. กำลังของพระตถาคต เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค
โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล
อรหัตตมรรค อรหัตตผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๗/๑๙๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ทสพลญาณเป็นโลกุตตระ ไม่ใช่โลกิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๗/๑๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะ๑ เป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และสุญญตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และสุญญตะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและ
อฐานะเป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตมีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตมีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ สุญญตะ ในที่นี้หมายถึงสุญญตะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัตตสุญญตะ ว่างจากสัตว์ หมายถึงเบญจขันธ์
(๒) สังขารสุญญตะ ว่างจากสังขารทั้งปวง หมายถึงนิพพาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๗/๑๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และอัปปณิหิตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และอัปปณิหิตะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๕๘] สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ เป็นอริยะ มี
สุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. โพชฌงค์เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๕๙] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและ
อฐานะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. สัมมัปปธาน โพชฌงค์เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะ
เป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๐] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและ
ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตเป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค
โสดาปัตติผล ฯลฯ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิของ
สัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และสุญญตะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และสุญญตะ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตมีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตมีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และอัปปณิหิตะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และ
อัปปณิหิตะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๑] สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิของ
สัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๒] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและ
ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มี
อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลาย แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ใช่ ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๓. วิมุตติกถา (๒๓)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิของ
สัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์ มีอนิมิตตะ
เป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อริยันติกถา จบ
๓. วิมุตติกถา (๒๓)
ว่าด้วยความหลุดพ้น
[๓๖๓] สก. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. จิตที่สหรคตด้วยราคะ เกิดพร้อมกับราคะ ระคนด้วยราคะ สัมปยุตด้วย
ราคะ มีพร้อมกับราคะ เป็นไปตามราคะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็น
อารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๓/๑๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จิตที่ปราศจากราคะแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องทำให้หลุดพ้นจากราคะ จิตที่มี
ราคะเท่านั้นจะต้องทำให้หลุดพ้นจากราคะเหมือนผ้าที่แปดเปื้อนเท่านั้นที่จะต้องซักให้สะอาด (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๖๓/๑๘๙)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะแห่งมรรค จิตหลุดพ้นไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๓/๑๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๓. วิมุตติกถา (๒๓)
สก. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา ฯลฯ มีสัญญา ฯลฯ มีเจตนา ฯลฯ มีปัญญาหลุดพ้นได้
ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะ มีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา มีราคะ ฯลฯ มีสัญญา มีราคะ ฯลฯ มีเจตนา มีราคะ ฯลฯ
มีปัญญา มีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๔] สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่สหรคตด้วยโทสะ เกิดพร้อมกับโทสะ ระคนด้วยโทสะ สัมปยุตด้วย
โทสะ มีพร้อมกับโทสะ เป็นไปตามโทสะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๓. วิมุตติกถา (๒๓)
สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา ฯลฯ มีสัญญา ฯลฯ มีเจตนา ฯลฯ มีปัญญาหลุดพ้นได้
ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะ มีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา มีโทสะ ฯลฯ มีสัญญา มีโทสะ ฯลฯ มีเจตนา มีโทสะ ฯลฯ
มีปัญญา มีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๕] สก. จิตมีโมหะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่สหรคตด้วยโมหะ เกิดพร้อมกับโมหะ ระคนด้วยโมหะ สัมปยุต
ด้วยโมหะ มีพร้อมกับโมหะ เป็นไปตามโมหะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็น
อารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๓. วิมุตติกถา (๒๓)
สก. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา ฯลฯ มีสัญญา ฯลฯ มีเจตนา ฯลฯ มีปัญญาหลุดพ้นได้
ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะ มีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา มีโมหะ ฯลฯ มีสัญญา มีโมหะ ฯลฯ มีเจตนา มีโมหะ ฯลฯ
มีปัญญา มีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ หมดกิเลสหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะหลุด
พ้นได้”
วิมุตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)
๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)
ว่าด้วยจิตกำลังหลุดพ้น
[๓๖๖] สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นพระโสดาบันส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระโสดาบัน
เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ
เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม
ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจส่วนหนึ่ง อีกส่วน
หนึ่งไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๓/๑๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า การหลุดพ้นของจิตมี ๒ ช่วงตามลำดับ ช่วงที่ ๑ หลุดพ้นด้วยวิกขัมภนวิมุตติในฌาน
ช่วงที่ ๒ หลุดพ้นด้วยสมุจเฉทวิมุตติในขณะแห่งมรรค ช่วงที่ ๑ ละกิเลสได้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือละ
ได้ในช่วงที่ ๒ คำว่า จิตที่หลุดพ้นแล้ว หมายถึงจิตที่หลุดพ้นในช่วงที่ ๑ ส่วนคำว่า กำลังหลุดพ้น หมายถึง
จิตในช่วงที่ ๒ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๖/๑๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)
สก. บุคคลเป็นพระสกทาคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี
เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นพระอนาคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี เป็น
ผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ... ผู้
อุปหัจจปรินิพพายี ... ผู้อสังขารปรินิพพายี ... ผู้สสังขารปรินิพพายี ... ผู้
อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโต-
อกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตหลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นพระอรหันต์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอรหันต์ เป็น
ผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง อีก
ส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตหลุดพ้นแล้วในขณะเกิด ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นในขณะดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)
[๓๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้น” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เมื่อบุคคลนั้นรู้เห็นอยู่อย่างนี้
จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะบ้าง จากภวาสวะบ้าง จากอวิชชาสวะบ้าง” ๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น จิตที่หลุดพ้นแล้วจึงชื่อว่ากำลังหลุดพ้น
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ
บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะ
แก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้น
อาสวะ”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้น”
สก. จิตที่กำลังหลุดพ้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่กำลังกำหนัด ขัดเคือง หลง เศร้าหมองมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๒๒๑/๒๔๕, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๑/๒๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. จิตที่กำหนัดและไม่กำหนัด ขัดเคืองและไม่ขัดเคือง หลงและไม่หลง
ขาดและไม่ขาด แตกดับและไม่แตกดับ ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตที่กำหนัดและไม่กำหนัด ขัดเคืองและไม่ขัดเคือง หลงและ
ไม่หลง ขาดและไม่ขาด แตกดับและไม่แตกดับ ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่กำลังหลุดพ้นมีอยู่”
วิมุจจมานกถา จบ
๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
ว่าด้วยบุคคลที่ ๘
[๓๖๘] สก. บุคคลที่ ๘๑ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่
สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลที่ ๘ หมายถึงพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๘/๑๙๕)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๘/๑๙๕)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ก่อนที่โสดาปัตติมรรคจิตจะเกิด อนุโลมญาณและโคตรภูญาณได้ละทิฏฐิและวิจิกิจฉา
ไปแล้ว ดังนั้น ในขณะโสดาปัตติมรรคจะบอกว่ากำลังละทิฏฐิและวิจิกิจฉาไม่ได้ แต่จะต้องบอกว่าได้ละ
ทิฏฐิและวิจิกิจฉาไปแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๘/๑๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ถึง ฯลฯ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วย
กายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐานุสัยได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัยได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐานุสัยไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐิปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐานุสัยไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐิปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละสีลัพพตปรามาสไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๙] สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เจริญมรรคเพื่อละทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์
เพื่อละทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. บุคคลที่ ๘ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละวิจิกิจฉาปริยุฏฐาน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่เจริญมรรคเพื่อละทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค เป็น
โลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ ไม่เจริญโพชฌงค์ เพื่อละ
ทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค เป็น
โลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่เจริญมรรค ฯลฯ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ ไม่เจริญ
โพชฌงค์ เพื่อละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค
เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๗๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
ปร. ทิฏฐิปริยุฏฐานจักเกิดขึ้นใช่ไหม
สก. จักไม่เกิดขึ้น
ปร. หากจักไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละ
ทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักเกิดขึ้นใช่ไหม
สก. จักไม่เกิดขึ้น
ปร. หากจักไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละ
วิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว”
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอม
รับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐานุสัยจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับว่า
“บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐานุสัยได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอม
รับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสจักไม่เกิด
ขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพต-
ปรามาสได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘”
จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉา ฯลฯ สีลัพพตปรามาส จักไม่เกิดขึ้นแก่
บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาส
ได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอม
รับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่โคตรภูบุคคล”
จึงยอมรับว่า “โคตรภูบุคคลละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘”
จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่โคตรภูบุคคล”
จึงยอมรับว่า “โคตรภูบุคคลละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อัฏฐมกกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
ว่าด้วยอินทรีย์ของบุคคลที่ ๘
[๓๗๑] สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีศรัทธาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีวิริยินทรีย์ ฯลฯ ไม่มีสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่มีสมาธินทรีย์
ฯลฯ ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีวิริยะ ฯลฯ มีสติ ฯลฯ มีสมาธิ ฯลฯ มีปัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๑/๑๙๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาที่มีอยู่ในโสดาปัตติมัคคัฏฐบุคคล ไม่เรียก
ว่าเป็นอินทรีย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๑/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน มีมนินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน มีมนินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีโสมนัส มีโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีชีวิต มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีวิริยะ ฯลฯ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน แต่ไม่มีมนินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. บุคคลที่ ๘ มีโสมนัส แต่ไม่มีโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต แต่ไม่มี
ชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน แต่ไม่มีมนินทรีย์ ฯลฯ มีโสมนัส แต่ไม่มี
โสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต แต่ไม่มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีศรัทธาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีวิริยินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสมาธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้ไม่มีสมาธิ มีจิตหวั่นไหวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้ด้อยปัญญา เป็นผู้หนวกใบ้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา และศรัทธานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลที่ ๘ มีศรัทธา และศรัทธานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์”
สก. บุคคลที่ ๘ มีความเพียร และความเพียรนั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ฯลฯ มีสติ และสตินั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ ฯลฯ มีสมาธิ และสมาธินั้นเป็น
เหตุนำออกจากทุกข์ ฯลฯ มีปัญญา และปัญญานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลที่ ๘ มีปัญญา และปัญญานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญินทรีย์”
[๓๗๒] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีศรัทธา มี
สัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ ฯลฯ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ ฯลฯ มีปัญญา แต่ไม่มี
ปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล มีปัญญา
แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีอินทรีย์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
๕ ประการอะไรบ้าง คือ (๑) สัทธินทรีย์ (๒) วิริยินทรีย์ (๓) สตินทรีย์ (๔)
สมาธินทรีย์ (๕) ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล บุคคล
เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น เป็นพระอนาคามี
เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลนั้น เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งอนาคามิผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น เป็นพระสกทาคามี
เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลนั้น เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งสกทาคามิผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น เป็นพระ
โสดาบัน เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลนั้น เป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบันนั้น ภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้ใดไม่มีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเราเรียกว่า
เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น บุคคลที่ ๘ จึงมีอินทรีย์ ๕
อัฏฐมกัสสอินทริยกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๔๘๘/๒๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
ว่าด้วยทิพยจักษุ
[๓๗๓] สก. มังสจักษุ(ตาเนื้อ)ที่ธรรม๑ อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุ(ตาทิพย์)
ได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. มังสจักษุคือทิพยจักษุ ทิพยจักษุก็คือมังสจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุมีสภาพอย่างไร ทิพยจักษุก็มีสภาพอย่างนั้น ทิพยจักษุมีสภาพ
อย่างไร มังสจักษุก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุกับทิพยจักษุเป็นอันเดียวกัน ทิพยจักษุกับมังสจักษุก็เป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงจตุตถฌาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ดวงตาปกติของบุคคลผู้เข้าถึงจตุตถฌาน ท่านเรียกว่า ทิพยจักษุ อันเป็นข้อ ๑ ใน
อภิญญา ๖ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิสัย อานุภาพ โคจรของมังสจักษุมีสภาพอย่างไร วิสัย อานุภาพ โคจร
ของทิพยจักษุก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุเป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือแล้ว
เป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุเป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือแล้ว
เป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุเป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุเป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุเป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุเป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุเป็นสภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์แล้วเป็นสภาวธรรมที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
[๓๗๔] สก. มังสจักษุที่ธรรม๑ อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นมังสจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรม๒ อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นปัญญาจักษุ(ตาปัญญา)ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นปัญญาจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๓ อย่าง คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ
และปัญญาจักษุ” มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงกามาวจรธรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๔/๑๙๗)
๒ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๔/๑๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
สก. หากจักษุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๓ อย่าง คือ (๑) มังสจักษุ
(๒) ทิพยจักษุ (๓) ปัญญาจักษุ” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น”
สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุนี้มี ๓ อย่าง
๓ อย่างอะไรบ้าง คือ (๑) มังสจักษุ (๒) ทิพยจักษุ (๓) ปัญญาจักษุ
จักษุมี ๓ อย่างนี้แล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้อุดมบุรุษ
ได้ตรัสจักษุ ๓ อย่าง คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ
และปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม
ความเกิดขึ้นแห่งมังสจักษุเป็นทางแห่งทิพยจักษุ
เมื่อใด ญาณคือปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยมเกิดขึ้น
เมื่อนั้น ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
เพราะได้ปัญญาจักษุ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น”
ทิพพจักขุกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.อิติ. (แปล) ๒๕/๖๑/๔๑๖-๔๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๘. ทิพพโสตกถา (๒๘)
๘. ทิพพโสตกถา (๒๘)
ว่าด้วยทิพยโสตะ
[๓๗๕] สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่
สก. มังสโสตะคือทิพยโสตะ ทิพยโสตะก็คือมังสโสตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะมีสภาพอย่างไร ทิพยโสตะก็มีสภาพอย่างนั้น ทิพยโสตะมี
สภาพอย่างไร มังสโสตะก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะกับทิพยโสตะเป็นอันเดียวกัน ทิพยโสตะกับมังสโสตะก็เป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิสัย อานุภาพ โคจรของมังสโสตะมีสภาพอย่างไร วิสัย อานุภาพ
โคจรของทิพยโสตะก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๘. ทิพพโสตกถา (๒๘)
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะเป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือแล้ว
เป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะเป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือแล้ว
เป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะเป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะเป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะเป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะเป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะเป็นสภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์แล้วเป็นสภาวธรรมที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๗๖] สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิพยโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นมังสโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๘ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น