Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๔๓-๙ หน้า ๔๓๒ - ๔๘๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓-๙ อภิธรรมปิฎกที่ ๑๐ ปัฏฐาน ภาค ๔



พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมานุโลม ทุกปัฏฐาน
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๔. ภาวนายปหาตัพพทุกะ ๗. ปัญหาวาร
[๔๓] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่ใช่มรรคเบื้องบน ๓ พึงประหาณโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง
คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้
เกิดขึ้น ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะที่ไม่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ
ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ ฆ่าสัตว์
ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ
ราคะที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ ทิฏฐิ
ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ มรรค
และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ
อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว มีมานะ ฯลฯ อาศัยศีล ฯลฯ
ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย
ฯลฯ เสนาสนะแล้ว มีมานะ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ราคะที่มรรค
เบื้องบน ๓ พึงประหาณ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ความปรารถนา
โดยอุปนิสสยปัจจัย (๒)
ปุเรชาตปัจจัย
[๔๔] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง
คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๔. ภาวนายปหาตัพพทุกะ ๗. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ
เป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น โทมนัสที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ โดยปุเรชาตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ
อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ โดยปุเรชาตปัจจัย (๒)
[๔๕] ... เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ เป็นปัจจัยโดย
อาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่ต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่
เป็นมูล)
เจตนาที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยกัมมปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
เจตนาที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๔. ภาวนายปหาตัพพทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ
และนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่ต้องประหาณมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ
... เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย (ปัจจัยทั้งหมด เหมือนกับทัสสเนน-
ปหาตัพพทุกะ ภาวนาไม่มีข้อแตกต่างกัน)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย

[๔๖] เหตุปัจจัย มี ๔ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ
สมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ
นิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ
ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

กัมมปัจจัย มี ๔ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๔ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๔ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๔ วาระ
มัคคปัจจัย มี ๔ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
อัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๔ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ

(พึงจําแนกปัจจนียวิภังค์ ให้เหมือนกับทัสสเนนปหาตัพพทุกะ แม้การนับ
ทั้ง ๓ วาระ ก็พึงนับอย่างนี้)
ภาวนายปหาตัพพทุกะ จบ
๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ
๑. ปฏิจจวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๔๗] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัยสภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓
อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัย
ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัยสภาวธรรมที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัยสภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิด
ขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓)
[๔๘] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัย
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยโมหะที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความจนถึง
มหาภูตรูปภายใน) (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัยสภาวธรรมที่มีเหตุ
ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์
อาศัยโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัยสภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยโมหะที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาเกิดขึ้น (๓)
[๔๙] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัยสภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
และอาศัยโมหะเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัยสภาวธรรมที่มี
เหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคและอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอาศัยโมหะเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัยสภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมี
เหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓
และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตต้วยวิจิกิจฉาและอาศัยโมหะเกิดขึ้น
ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓)
อารัมมณปัจจัย
[๕๐] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัยสภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัยสภาวธรรมที่มี
เหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ โมหะที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาอาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัยสภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิด
ขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และโมหะอาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคต ด้วย
วิจิกิจฉาเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓)
[๕๑] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัย
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้น
ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัยสภาวธรรมที่มีเหตุ
ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตต-
ขันธ์อาศัยโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัยสภาวธรรมที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
เกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
และอาศัยโมหะเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑) (ย่อ)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร

[๕๒] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๖ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๖ วาระ
สมนันตรปัจจัย มี ๖ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ
นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๖ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี ๖ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๖ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๙ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๙ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๙ วาระ
มัคคปัจจัย มี ๙ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

สัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ
อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๖ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๖ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ

๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[๕๓] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัย
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาอาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคอาศัยสภาวธรรม
ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่มีเหตุซึ่งมีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้น ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความจนถึงอสัญญสัตตพรหม)
โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะอาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น (๑)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร

[๕๔] นเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
นสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ
โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ

๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ

[๕๕] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” มี ๙ วาระ ฯลฯ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๗ วาระ ฯลฯ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๔ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ

๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม

[๕๖] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี ๒ วาระ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๓. ปัจจยวาร

วิปากปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ
มัคคปัจจัย ” มี ๒ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” มี ๒ วาระ

(สหชาตวารเหมือนกับปฏิจจวาร)
๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ
๓. ปัจจยวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๕๗] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มีเหตุ
ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อ
ความจนถึงมหาภูตรูปภายใน) ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มีเหตุไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มี
เหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น สัมปยุตตขันธ์
ทำโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปทำโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
[๕๘] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มี
เหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ
ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป
ทำขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและทำโมหะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมี
เหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและทำหทัยวัตถุให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๓ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและทำโมหะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๓. ปัจจยวาร
อารัมมณปัจจัย
[๕๙] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มี
เหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย มี ๓
วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มีเหตุ
ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำหทัย
วัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มีเหตุไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
สัมปยุตตขันธ์ทำโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์และโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
[๖๐] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มี
เหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์
๒ ฯลฯ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและทำโมหะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาทำขันธ์
ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มี
เหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและทำหทัยวัตถุให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๓ และโมหะทำขันธ์ ๑ ที่สหรคต
ด้วยวิจิกิจฉาและทำทหัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร

[๖๑] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ)

วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ

๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[๖๒] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาทำขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มีเหตุ
ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ...
ทำขันธ์ที่ไม่มีเหตุซึ่งมีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อ
ความจนถึงอสัญญสัตตพรหม) จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะทำขันธ์ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะและทำหทัยวัตถุให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคทำสภาวธรรมที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาทำขันธ์ที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (ย่อ) (๑)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร

[๖๓] นเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
นสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาร
นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๕. สังสัฏฐวาร

นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ
โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ

(การนับ ๒ อย่างนอกนี้และนิสสยวารพึงทําอย่างนี้)
๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ
๕. สังสัฏฐวาร
ปัจจยจตุกกนัย
เหตุปัจจัย
[๖๔] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดระคนกับ
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓
เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ เกิดระคน
กับขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดระคนกับสภาวธรรม
ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิด
ระคนกับขันธ์ ๑ ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ เกิดระคนกับ
ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดระคนกับสภาวธรรม
ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์
เกิดระคนกับโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๕. สังสัฏฐวาร
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดระคนกับสภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่สหรคต
ด้วยวิจิกิจฉาและโมหะ ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)
อารัมมณปัจจัย
[๖๕] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดระคนกับ
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเพราะอารัมมณปัจจัย
มี ๓ วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดระคนกับ
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ
เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดระคนกับสภาวธรรม
ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเพราะอารัมมณปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร)
(๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดระคนกับสภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคเพราะอารัมมณปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร ย่อ) (๑)

[๖๖] เหตุปัจจัย มี ๔ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๖ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๖ วาระ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๖ วาระ)

วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี ๖ วาระ

อนุโลม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๕. สังสัฏฐวาร
[๖๗] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดระคน กับ
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาเกิดระคนกับขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเกิดระคนกับ
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่ไม่มีเหตุซึ่งมีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ โมหะที่
สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดระคนกับขันธ์ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ (๑)

นเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๖ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๖ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๖ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๖ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๖ วาระ
นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ

ปัจจนียะ จบ
เหตุทุกนัย

นอธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๔ วาระ ฯลฯ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๔ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
นเหตุทุกนัย

อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี ๒ วาระ ฯลฯ
วิปากปัจจัย ” มี ๑ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” มี ๒ วาระ

(สัมปยุตตวาร เหมือนกับสังสัฏฐวาร)
๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ
๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๖๘] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (พึง
เพิ่มบทที่เป็นมูล) เหตุที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เหตุที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓)
[๖๙] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุ
ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
รูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) โมหะที่สหรคต
ด้วยวิจิกิจฉาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
เหตุปัจจัย (๓)
อารัมมณปัจจัย
[๗๐] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่
เพราะปรารภขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ขันธ์ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มี
เหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณโสดาปัตติมรรค
พึงประหาณและโมหะจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะจึงเกิดขึ้น
(๓)
[๗๑] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น บุคคลพิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจาก
ฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่
อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณากิเลสที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว ฯลฯ รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น
เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและ
โมหะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
เพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น
อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ อาวัชชนจิต และ
โมหะโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน
ฯลฯ พิจารณาฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่มีเหตุ
ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและโมหะ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลิน
จักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ
วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัสที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่มี
เหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและโมหะ ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและ
โมหะจึงเกิดขึ้น (๓)
[๗๒] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉาและโมหะ ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น (พึง
เพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะ ขันธ์ที่มีเหตุ
ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและโมหะจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
เพราะปรารภขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะ ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและ
โมหะจึงเกิดขึ้น (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
อธิปติปัจจัย
[๗๓] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง
คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิด
ขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็น
ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓)
[๗๔] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัย แก่
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง
คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทําความ
ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุไม่ต้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น บุคคลพิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ
หทัยวัตถุ และขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว
คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ (๒)
อนันตรปัจจัย
[๗๕] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มี
เหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉาซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
[๗๖] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
ซึ่งเกิดก่อน ๆ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) โมหะที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉาซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและ
โมหะโดยอนันตรปัจจัย (๓)
[๗๗] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะซึ่ง
เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
(พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็น
ปัจจัยแก่โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่
เป็นมูล) ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓)

... เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ
... เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
... เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ
... เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
อุปนิสสยปัจจัย
[๗๘] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง
คือ อารัมมณูนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย วาระทั้ง ๒
ที่เหลือ มีทั้งอนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ(พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคและโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะ
โดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)
[๗๙] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัย แก่
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓
อย่าง คือ อารัมมณูนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้
เกิดขึ้น มีมานะ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรค ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ความปรารถนา ... สุขทางกาย
... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ และเสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ
ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ ความปรารถนาและ
ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ
อารัมมณูนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา
... ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ
... ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ราคะที่มีเหตุ
ต้องประหาณ ด้วยโสดาปัตติมรรค ... โทสะ ... โมหะ ... ทิฏฐิ และความปรารถนา
โดยอุปนิสสยปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคโดยอุปนิสสปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประ
หาณด้วยโสดาปัตติมรรค ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ความปรารถนา ...
สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะโดย
อุปนิสสยปัจจัย (๓)
[๘๐] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคและโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะโดย
อุปนิสสยปัจจัย (๓)
ปุเรชาตปัจจัย
[๘๑] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง
คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ
เป็นต้นนั้น ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะ
ฯลฯ โทมนัสที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูป
ด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ (ย่อ วัตถุปุเรชาตะ ย่อ) (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง
คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัสที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคจึงเกิดขึ้น (วัตถุปุเรชาตะ ย่อ) (๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและโมหะจึงเกิดขึ้น (วัตถุปุเรชาตะ ย่อ) (๓)
ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[๘๒] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ)
... เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย
กัมมปัจจัยเป็นต้น
[๘๓] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนา
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย
(พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ
และนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
... เป็นปัจจัยโดยวิปากปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ
... เป็นปัจจัยโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ
อัตถิปัจจัยเป็นต้น
[๘๔] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ
ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (ย่อ)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ
และปุเรชาตะ (ย่อ)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ (ย่อ) (๓)
[๘๕] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและหทัย
วัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๑ ที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และโมหะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และที่มีเหตุไม่ต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคโดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ
อาหาระ และอินทรียะ (ย่อ)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ
สหชาตะและปุเรชาตะ (ย่อ) (๓)
... เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร

[๘๖] เหตุปัจจัย มี ๖ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ
สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ
นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๔ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อาหารปัจจัย มี ๔ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๔ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๔ วาระ
มัคคปัจจัย มี ๔ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ
อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ

๒. ปัจจนียุทธาร
[๘๗] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย
และอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย
อุปนิสสยปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และกัมมปัจจัย
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๓)
[๘๘] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอารัมมณปัจจัย สหชาต-
ปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย
และอินทรียปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย
อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๓)
[๘๙] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรรคและที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย
และอุปนิสสยปัจจัย (๓)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร

[๙๐] นเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ)

โนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ

[๙๑] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๖ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” มี ๖ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” มี ๖ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” มี ๖ วาระ
นอัญมัญญปัจจัย ” มี ๒ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๖ วาระ ฯลฯ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๒ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๖ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๖ วาระ

๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม

[๙๒] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
อธิปติปัจจัย “ มี ๕ วาระ

(พึงขยายบทอนุโลมมาติกาให้พิสดาร) ฯลฯ

อวิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ

ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ จบ
๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ
๑. ปฏิจจวาร
[๙๓] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ อาศัย
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เกิดขึ้น
ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ
(โดยนัยนี้ ปฏิจจวาร สหชาตวาร ปัจจยวาร นิสสยวาร สังสัฏฐวาร และ
สัมปยุตตวารเหมือนกับทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ
พึงตั้งไว้ในฐานะแห่งโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา)
๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ
๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๙๔] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุมรรคเบื้องบน ๓ พึงประหาณโดยเหตุปัจจัย
มี ๖ วาระ ฯลฯ (เหมือนกับทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ)
อารัมมณปัจจัย
[๙๕] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอารัมมณปัจจัย
มี ๓ วาระ (พึงเพิ่มคําว่า เพราะปรารภเหมือนกับทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ)
[๙๖] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น ยินดี
เพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะที่มีเหตุไม่ต้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัสที่
มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น บุคคลพิจารณากุศลที่เคย
สั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ เป็น
ปัจจัยแก่ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณากิเลสที่มีเหตุ
ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ซึ่งละได้แล้ว ฯลฯ รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ
บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน
๓ และโมหะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความ
ยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ โทมนัสที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้อง
๓ จึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ
อาวัชชนจิตและโมหะโดยอารัมมณปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ พิจารณฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ
หทัยวัตถุ ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ และโมหะ เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน
๓ จึงเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ และที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ และโมหะ ขันธ์ที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะและโมหะจึงเกิดขึ้น (พึงทำอารัมมณฆฏนาให้เป็น ๓ วาระ) (๓)
อธิปติปัจจัยเป็นต้น
[๙๗] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง
คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลิน
ราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน
๓ จึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอธิปติปัจจัย มี ๒
อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลิน
ราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้อง
บน ๓ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ และที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิบดีธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓)
[๙๘] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทําความ
ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุไม่ต้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ บุคคลพิจารณากุศลที่เคย
สั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ เป็น
ปัจจัยแก่ผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และ
ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทําความยินดีเพลิด เพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว
คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดี
เพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน
๓ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ จึง
เกิดขึ้น (๒)
(ในอนันตรปัจจัย ไม่พึงเพิ่มโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา เพราะเหตุแห่ง
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ แต่พึงเพิ่มโมหะที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะ)

... เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
... เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ
... เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

อุปนิสสยปัจจัย
[๙๙] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอุปนิสสยปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอุปนิสสยปัจจัย (พึง
เพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ และโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย
ความยินดีด้วยอำนาจความพอใจในสิ่งของของตนเป็นปัจจัยแก่ความยินดีด้วย
อำนาจความพอใจในสิ่งของของคนอื่นโดยอุปนิสสยปัจจัย ความยินดีด้วยอำนาจ
ความพอใจในสิ่งหวงแหนของตนเป็นปัจจัยแก่ความยินดีด้วยอำนาจความพอใจ
ในสิ่งหวงแหนของคนอื่นโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะและโมหะ
โดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)
[๑๐๐] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอุปนิสสยปัจจัย มี
๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้
เกิดขึ้น ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา
... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ
ทําลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ
ราคะที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ... โทสะ ... โมหะ ... ทิฏฐิ ...
ความปรารถนา ... สุขทางกาย ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยอุปนิสสยปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว มีมานะ ฯลฯ ศรัทธา ฯลฯ
เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ราคะที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ... โทสะ ...
โมหะ ... มานะ และความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ และที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
มรรคเบื้องบน ๓ โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ
เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะและโมหะโดยอุปนิสสยปัจจัย
(แม้อุปนิสสยฆฏนา ก็พึงทําเป็น ๓ วาระ) (๓)
ปุเรชาตปัจจัยเป็นต้น
[๑๐๑] สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ โดยปุเรชาตปัจจัย
มี ๓ วาระ
... เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
... เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ
... เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย
(นานาขณิกะ มีได้ในเหตุแห่งการจำแนกสภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓) ฯลฯ
... เป็นปัจจัยโดยโนวิคตปัจจัย
(ย่อ ปัจจัยในภาวนายตัพพเหตุกทุกะ ปัจจนียะ วิภาค และการนับ
เหมือนกับทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ไม่มีข้อแตกต่างกัน)
สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
เหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ
(ยิ่งกว่านั้น พึงเพิ่มความยินดีด้วยอำนาจความพอใจในสิ่งของของตนด้วย)
สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ฯลฯ
(ยิ่งกว่านั้น พึงเพิ่มความยินดีด้วยอำนาจความพอใจในสิ่งของของตนด้วย)
ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
๘๗. สวิตักกทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๐๒] สภาวธรรมที่มีวิตกอาศัยสภาวธรรมที่มีวิตกเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีวิตกเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกอาศัยสภาวธรรมที่มีวิตกเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
วิตกและจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่มีวิตกเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกอาศัยสภาวธรรมที่มีวิตกเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ วิตกและจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่มีวิตกเกิดขึ้น ฯลฯ ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓)
[๑๐๓] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก อาศัยสภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่มีวิตกเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยวิตกเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓
และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่มีวิตกเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ กฏัตตารูป
อาศัยวิตกเกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น หทัยวัตถุ
อาศัยวิตกเกิดขึ้น วิตกอาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น ... อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีวิตกอาศัยสภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
สัมปยุตตขันธ์อาศัยวิตกเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ สัมปยุตตขันธ์อาศัยวิตกเกิดขึ้น
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่มีวิตกอาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกอาศัยสภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยวิตกเกิดขึ้น ขันธ์ที่มี
วิตกอาศัยวิตกเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ
สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปอาศัยวิตกเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่มีวิตกอาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
วิตกเกิดขึ้น กฏัตตารูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่มีวิตก
อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น กฏัตตารูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ วิตก
และสัมปยุตตขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น (๓)
[๑๐๔] สภาวธรรมที่มีวิตกอาศัยสภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและอาศัยวิตกเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและอาศัย
วิตกเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑
ที่มีวิตกและอาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกอาศัยสภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่มีวิตกและอาศัยวิตก และมหาภูตรูป
เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ที่มีวิตก วิตก และมหาภูตรูปเกิดขึ้น
ในปฏิสนธิขณะ วิตกอาศัยขันธ์ที่มีวิตกและอาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกอาศัยสภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและ
อาศัยวิตกเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีวิตก
และอาศัยวิตกเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์
ที่มีวิตกและอาศัยวิตกและมหาภูตรูปเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และ
กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและอาศัยวิตกเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและอาศัยวิตกเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัย
ขันธ์ ๒ ฯลฯ กฏัตตารูป อาศัยขันธ์ที่มีวิตก วิตก และมหาภูตรูปเกิดขึ้น ใน
ปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และวิตกอาศัยขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและอาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓) (ย่อ)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร

[๑๐๕] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี ๖ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๖ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๙ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๙ วาระ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ)

อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ

๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[๑๐๖] สภาวธรรมที่มีวิตกอาศัยสภาวธรรมที่มีวิตกเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่มีเหตุซึ่งมีวิตกเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะอาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น (พึง
เพิ่ม ๒ วาระที่เหลือซึ่งมีสภาวธรรมที่มีวิตกเป็นมูลทั้ง ๒ วาระ เป็นอเหตุกะ
ไม่มีข้อแตกต่างกัน) (๓)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกอาศัยสภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่มีเหตุซึ่งไม่มีวิตกเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒
ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยวิตกที่ไม่มีเหตุเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ
กฏัตตารูปอาศัยวิตกเกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยวิตกเกิดขึ้น วิตกอาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น
... อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีวิตกอาศัยสภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย
ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์อาศัยวิตกที่ไม่มีเหตุเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ
สัมปยุตตขันธ์อาศัยวิตกเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่ไม่มีเหตุซึ่งมีวิตกอาศัย
หทัยวัตถุเกิดขึ้น โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะอาศัย
วิตกเกิดขึ้น (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกอาศัยสภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย (ย่อ เหมือนกับเหตุปัจจัย พึงกําหนดว่า เป็นอเหตุกะ) (๓)
สภาวธรรมที่มีวิตกอาศัยสภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่มีเหตุซึ่งมีวิตกและอาศัยวิตกเกิดขึ้น
ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑
ที่มีวิตกและอาศัยวิตกเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็น
อเหตุกะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและอาศัยหทัยวัตถุและวิตกเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะอาศัย
ขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาที่สหรคตด้วยอุทธัจจะและอาศัยวิตกเกิดขึ้น (๒ วาระที่
เหลือเหมือนกับเหตุปัจจัย ไม่มีข้อแตกต่างกัน พึงกําหนดว่าเป็นอเหตุกะ) (๓)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร

[๑๐๗] นเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

นสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ
โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ

๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ

[๑๐๘] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ ฯลฯ
นกัมมปัจจัย ” มี ๔ วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๖ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ

๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม

[๑๐๙] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
อนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ ฯลฯ
ปุเรชาตปัจจัย ” มี ๖ วาระ
อาเสวนปัจจัย ” มี ๕ วาระ
กัมมปัจจัย ” มี ๙ วาระ ฯลฯ
มัคคปัจจัย ” มี ๓ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๙ วาระ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ)
(สหชาตวารเหมือนกับปฏิจจวาร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๓. ปัจจยวาร
๘๗. สวิตักกทุกะ ๓. ปัจจยวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๑๐] สภาวธรรมที่มีวิตกทำสภาวธรรมที่มีวิตกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกทำสภาวธรรมที่ไม่มีวิตกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่ไม่มีวิตกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปทำวิตกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์
๓ และกฏัตตารูปทำขันธ์ ๑ ที่ไม่มีวิตกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูปทำวิตกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น หทัยวัตถุทำขันธ์ให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น หทัยวัตถุทำวิตกให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น วิตกทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ ทำมหาภูตรูป ๑
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น วิตก
ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
สภาวธรรมที่มีวิตก ทำสภาวธรรมที่ไม่มีวิตกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์ทำวิตกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่มีวิตกทำหทัยวัตถุให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น (แม้ในปฏิสนธิ ก็มี ๒ วาระ)
สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกทำสภาวธรรมที่ไม่มีวิตกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปทำวิตกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
สัมปยุตตขันธ์ทำวิตกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำมหาภูตรูปให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่มีวิตกทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำ
มหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น วิตกและสัมปยุตตขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (แม้ในปฏิสนธิกาล ก็เหมือนกับปวัตติกาลนั่นเอง) (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๓. ปัจจยวาร
[๑๑๑] สภาวธรรมที่มีวิตกทำสภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและทำวิตกให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและทำ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ (ในปฏิสนธิขณะ พึงเพิ่ม
เป็น ๒ วาระ) (๑)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกทำสภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่มีวิตกและทำวิตกให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่มีวิตกและทำวิตกและมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิด
ขึ้น วิตกทำขันธ์ที่มีวิตกและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
(มี ๓ วาระแม้ในปฏิสนธิ) (๒)
สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกทำสภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่
มีวิตกและทำวิตกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑
ที่มีวิตก วิตก และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตต-
สมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่มีวิตกและทำวิตกและมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๓
และวิตกทำขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒
ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร

[๑๑๒] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ)

อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๓. ปัจจยวาร
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
[๑๑๓] สภาวธรรมที่มีวิตกทำสภาวธรรมที่มีวิตกให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น เพราะ
นเหตุปัจจัย (พึงเพิ่มเป็น ๙ วาระ พึงกําหนดว่าเป็นอเหตุกะ มีเพียง ๓ วาระเท่านั้น
พึงยกโมหะขึ้นแสดง วาระก็เหมือนกับเหตุปัจจัย ในปฏิจจวารนั่นเอง ปัญจวิญญาณ
เป็นสภาวธรรมพิเศษ โมหะ และวิตกก็พึงยกขึ้นแสดง)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร

[๑๑๔] นเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ
โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ

(การนับ ๒ อย่างนอกนี้และนิสสยวาร พึงทําอย่างนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๕. สังสัฏฐวาร
๘๗. สวิตักกทุกะ ๕. สังสัฏฐวาร
๑. ปัจจยานุโลมเป็นต้น
เหตุปัจจัย
[๑๑๕] สภาวธรรมที่มีวิตกเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีวิตกเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่มีวิตก ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีวิตกเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
วิตกเกิดระคนกับขันธ์ที่มีวิตก ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีวิตกเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ และวิตกเกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่มีวิตก ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒
ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่ไม่มีวิตก ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่มีวิตกเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
สัมปยุตตขันธ์เกิดระคนกับวิตก ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒)
สภาวธรรมที่มีวิตกเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและระคนกับวิตก ฯลฯ เกิดระคนกับ
ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) (ย่อ)

เหตุปัจจัย มี ๖ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๖ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๖ วาระ

(ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๖ วาระ)

อวิคตปัจจัย มี ๖ วาระ

อนุโลม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีวิตกเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีวิตกเพราะนเหตุปัจจัย (พึงเพิ่ม
เป็น ๖ วาระอย่างนี้ เหมือนกับอนุโลม พึงกําหนดว่าเป็นอเหตุกะ มีเพียง ๓ วาระ
เท่านั้น พึงยกโมหะขึ้นแสดง)

นเหตุปัจจัย มี ๖ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๖ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๖ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๖ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๖ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๖ วาระ
นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๖ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ

ปัจจนียะ จบ
(การนับ ๒ อย่างนอกนี้และสัมปยุตตวาร พึงทําอย่างนี้)
๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๑๖] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่วิตกและจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
(พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เหตุที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ วิตกและจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยเหตุปัจจัย ได้แก่
เหตุที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
อารัมมณปัจจัย
[๑๑๗] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตก ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตก ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล)
เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตก ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้น (๓)
[๑๑๘] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่มีวิตกแล้วพิจารณาฌานที่ไม่มี
วิตกออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค ออกจากผลแล้ว พิจารณาผล พิจารณา
นิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคที่ไม่มีวิตก ผลและวิตกโดยอารัมมณปัจจัย
บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น วิตกจึง
เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มี
ความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่มีวิตกด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และวิตกโดย
อารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก
จึงเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่มีวิตก ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ ออกจาก
ผลแล้วพิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน
มรรคที่มีวิตก ผลและอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส
จึงเกิดขึ้นเพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่มีวิตก ฯลฯ ออกจากมรรค
แล้วพิจารณามรรค ออกจากผลแล้ว พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพาน
เป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรคที่มีวิตก ผล อาวัชชนจิตและวิตกโดย
อารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้นเพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มี
วิตกและวิตก ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้น (๓)
[๑๑๙] สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตกและวิตก ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น
(พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตกและวิตก ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก
จึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตกและวิตก ขันธ์ที่มีวิตก
และวิตกจึงเกิดขึ้น (๓)
อธิปติปัจจัย
[๑๒๐] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่างคือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําขันธ์ที่มีวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
อธิปติปัจจัย (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยอธิปติปัจจัย มี ๒
อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําขันธ์ที่มีวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
วิตกจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่วิตกและจิตตสมุฏฐาน-
รูปโดยอธิปติปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดยอธิปติปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําขันธ์ที่มีวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ วิตก
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓)
[๑๒๑] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก โดย
อธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่มีวิตก ฯลฯ ออกจาก
มรรคแล้ว พิจารณามรรค ฯลฯ ออกจากผลแล้วพิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่
มรรคที่ไม่มีวิตก ผลและวิตกโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ
หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความ
ยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น วิตกจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย เพราะทําขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น วิตกจึงเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอธิปติปัจจัย มี
อย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่มีวิตกแล้ว
พิจารณาฌาน ฯลฯ ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค ออกจากผลแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรคที่มีวิตก และผลโดยอธิปติ-
ปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นเพราะทําขันธ์ที่ไม่มีวิตกและ
วิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดย
อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่
ไม่มีวิตก ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ ออกจากผลแล้วพิจารณาผลให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัย
แก่โคตรภู โวทาน มรรคที่มีวิตก ผลและวิตกโดยอธิปติปัจจัย บุคคลทําจักษุ ฯลฯ
หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น เพราะทําขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตก เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําขันธ์ที่มีวิตกและวิตกให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะทํา
ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น วิตกจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่
เป็นมูล) เพราะทําขันธ์ที่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีวิตก
และวิตกจึงเกิดขึ้น (๓)
อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๑๒๒] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีวิตกซึ่งเกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย จุติจิตที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย
อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ๕ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่
วุฏฐานะที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย บริกรรมทุติยฌานเป็นปัจจัยแก่ทุติยฌานโดย
อนันตรปัจจัย บริกรรมตติยฌาน ฯลฯ บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น
ปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ บริกรรมทิพพจักขุ ฯลฯ บริกรรม
ทิพพโสตธาตุ ฯลฯ บริกรรมอิทธิวิธญาณ ฯลฯ เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพ-
นิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ บริกรรมยถากัมมูปคญาณเป็นปัจจัยแก่ยถากัมมูปคญาณ
ฯลฯ บริกรรมอนาคตังสญาณเป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณโดยอนันตรปัจจัย
โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรคที่ไม่มีวิตก โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคที่ไม่มีวิตก อนุโลม
เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓)
[๑๒๓] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ วิตกที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่วิตกที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
ขันธ์ที่ไม่มีวิตกซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีวิตกซึ่งเกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย มรรคที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่ผลที่ไม่มีวิตก ฯลฯ ผลที่ไม่มีวิตก
เป็นปัจจัยแก่ผลที่ไม่มีวิตก ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจาก
นิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย
ได้แก่ (ขันธ์ที่ไม่มีวิตก)ซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดหลัง ๆ
โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่มีวิตก ภวังคจิตที่ไม่มี
วิตกเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต ขันธ์ที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีวิตกโดย
อนันตรปัจจัย (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] ๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ วิตกที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกซึ่งเกิดหลัง ๆ
โดยอนันตรปัจจัย (๓)
[๑๒๔] สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มี
วิตกซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่วิตกที่เกิดหลัง ๆ
โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่มีวิตกและวิตกเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่มีวิตก ฯลฯ
อาวัชชนจิตและวิตกเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ๕ ฯลฯ ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกเป็น
ปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย บริกรรมทุติยฌานและวิตก ฯลฯ
(ข้อความที่เขียนไว้ในเบื้องต้น ก็พึงทราบโดยเหตุนี้) อนุโลมและวิตกเป็นปัจจัยแก่
ผลสมาบัติที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มี
วิตกและวิตกซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓)
... เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ
... เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
... เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ
... เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย
[๑๒๕] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า :๔๘๕ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น