Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๒-๗ หน้า ๒๗๙ - ๓๒๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒-๗ สุตตันตปิฎกที่ ๐๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกังขา-
วิตรณวิสุทธิหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้หามิได้’
... เพื่อมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ’ ...
... เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ’ ...
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อญาณ-
ทัสสนวิสุทธิหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่ออะไรกันเล่า”
“ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่ออนุปาทา-
ปรินิพพาน๑”
“สีลวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“จิตตวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”

เชิงอรรถ :
๑ อนุปาทาปรินิพพาน หมายถึงปรินิพพานที่หาปัจจัยปรุงแต่งมิได้ แต่ในที่นี้ พระเถระหมายเอาสภาวะ
เป็นที่สุด เป็นเงื่อนปลาย เป็นที่จบการประพฤติพรหมจรรย์ของท่านผู้ถืออปัจจยปรินิพพาน (ม.มู.อ.
๒/๒๕๘/๖๓-๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร
“ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ”
พระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า “ข้อนี้ หามิได้ ท่านผู้มีอายุ”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ เมื่อผมถามท่านว่า ‘สีลวิสุทธิ
เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘จิตตวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ท่านก็ตอบ
ผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
... ‘ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ...
... ‘กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ...
... ‘มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ...
... ‘ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ...
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ท่าน
ก็ตอบว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’
ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
(เมื่อเป็นเช่นนี้) จะพึงเห็นเนื้อความของคำที่ท่านกล่าวแล้วนี้ได้อย่างไร”
[๒๕๘] ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ถ้าพระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติสีลวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติธรรมที่
ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติจิตตวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติธรรม
ที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร
ถ้าทรงบัญญัติทิฏฐิวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติธรรมที่
ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติกังขาวิตรณวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติ
ธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่า
พึงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่า
พึงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ถ้าทรงบัญญัติญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึง
บัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน
ท่านผู้มีอายุ ถ้าธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว
ปุถุชนก็จะพึงปรินิพพาน เพราะว่าปุถุชนเว้นจากธรรมเหล่านี้ ผมจะเปรียบเทียบ
ให้ท่านฟัง คนฉลาดบางพวกในโลกนี้ย่อมเข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ด้วย
อุปมาโวหาร
เปรียบเทียบวิสุทธิด้วยรถ ๗ ผลัด
[๒๕๙] ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศลกำลังประทับอยู่ที่
กรุงสาวัตถี มีพระราชกรณียกิจด่วนบางประการเกิดขึ้นที่เมืองสาเกต และใน
ระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้นจะต้องต่อรถถึงเจ็ดผลัด
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากกรุงสาวัตถี ทรงรถพระที่นั่งผลัด
ที่หนึ่ง ที่ประตูพระราชวัง เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง
จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง เสด็จไปถึงรถ
พระที่นั่งผลัดที่ ๓
จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สาม เสด็จไปถึงรถ
พระที่นั่งผลัดที่สี่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร
จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ เสด็จไปถึงรถ
พระที่นั่งผลัดที่ห้า
จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า เสด็จไปถึงรถ
พระที่นั่งผลัดที่หก
จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หก เสด็จไปถึงรถ
พระที่นั่งผลัดที่เจ็ด
จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่หก ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด เสด็จไปถึงประตู
เมืองสาเกตด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด
ถ้าพวกมิตรอำมาตย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์จะพึงทูลถามพระองค์ว่า ‘ขอเดชะ
มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จจากกรุงสาวัตถีถึงประตูเมืองสาเกตด้วยรถพระที่นั่งผลัด
นี้ผลัดเดียวหรือ’
ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะตรัสตอบอย่างไร จึงจะจัดว่าตรัสตอบ
อย่างถูกต้อง”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัส
ตอบอย่างนี้ จึงจัดว่าตรัสตอบอย่างถูกต้อง คือตรัสว่า ‘เมื่อฉันกำลังอยู่ใน
กรุงสาวัตถีนั้น มีกรณียกิจด่วนบางประการเกิดขึ้นในเมืองสาเกต ระหว่างกรุง
สาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึงเจ็ดผลัด
ครั้งนั้นแล ฉันออกจากกรุงสาวัตถีขึ้นรถผลัดที่หนึ่ง ที่ประตูวัง ไปถึงรถผลัด
ที่สอง สละรถผลัดที่หนึ่ง ขึ้นรถผลัดที่สอง ไปถึงรถผลัดที่สาม สละรถผลัดที่สอง
ขึ้นรถผลัดที่สาม ไปถึงรถผลัดที่สี่ สละรถผลัดที่สาม ขึ้นรถผลัดที่สี่ ไปถึงรถผลัด
ที่ห้า สละรถผลัดที่สี่ ขึ้นรถผลัดที่ห้า ไปถึงรถผลัดที่หก สละรถผลัดที่ห้า ขึ้นรถ
ผลัดที่หก ไปถึงรถผลัดที่เจ็ด สละรถผลัดที่หก ขึ้นรถผลัดที่เจ็ด ไปถึงประตูเมือง
สาเกตด้วยรถผลัดที่เจ็ด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร
ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัสตอบอย่างนี้แล จึงจัดว่าตรัสตอบ
อย่างถูกต้อง”
ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
สีลวิสุทธิมีจิตตวิสุทธิเป็นเป้าหมาย จิตตวิสุทธิมีทิฏฐิวิสุทธิเป็นเป้าหมาย ทิฏฐิวิสุทธิ
มีกังขาวิตรณวิสุทธิเป็นเป้าหมาย กังขาวิตรณวิสุทธิมีมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
เป็นเป้าหมาย มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิมีปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นเป้าหมาย
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิมีญาณทัสสนวิสุทธิเป็นเป้าหมาย ญาณทัสสนวิสุทธิมี
อนุปาทาปรินิพพานเป็นเป้าหมาย
ท่านผู้มีอายุ ผมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่ออนุปาทา-
ปรินิพพานโดยแท้”
พระเถระทั้ง ๒ รูปกล่าวสรรเสริญคุณของกันและกัน
[๒๖๐] เมื่อท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร
จึงถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจารีรู้จักท่านว่าอย่างไร”
ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ผมชื่อว่าปุณณะ แต่เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายรู้จักผมว่า มันตานีบุตร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏปัญหา
อันลึกซึ้งที่ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเลือกเฟ้น นำมากล่าวแก้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง
ตามเยี่ยงอย่างพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้
จะพึงกล่าวแก้ฉะนั้น เป็นลาภอย่างมากของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่ได้พบเห็น ได้นั่งใกล้ท่านปุณณมันตานีบุตร แม้หากเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายจะเทิดทูนท่านปุณณมันตานีบุตรไว้บนศีรษะเหมือนเทริดผ้า จึงจะ
ได้พบเห็น ได้นั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็นับว่าเป็นลาภมากของท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้น
ได้ดีแล้ว อนึ่ง นับว่าเป็นลาภอย่างมากของผมด้วย ผมได้ดีแล้วด้วย ที่ได้พบเห็น
ได้นั่งใกล้ท่านปุณณมันตานีบุตร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๕. นิวาปสูตร
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระปุณณมันตานีบุตรจึงถามว่า
“ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายรู้จักท่านว่าอย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ผมชื่อว่าอุปติสสะ แต่เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายรู้จักผมว่า ‘สารีบุตร”
ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ผมกำลังพูดอยู่กับท่าน
ผู้เป็นสาวก ผู้ทรงคุณคล้ายกับพระบรมศาสดา มิได้ทราบเลยว่า ‘ท่านชื่อว่า
สารีบุตร’ ถ้าผมทราบว่า ‘ท่านชื่อสารีบุตร’ คำเปรียบเทียบเท่านี้ คงไม่จำเป็น
สำหรับกระผม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ปัญหาอันลึกซึ้งที่ท่านสารีบุตร
เลือกเฟ้นมาถามแล้วด้วยปัญญาอันลึกซึ้งตามอย่างพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึง
คำสอนของพระบรมศาสดาโดยถ่องแท้จะพึงถามฉะนั้น เป็นลาภอย่างมากของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายได้ดีแล้วที่ได้พบเห็น ได้นั่งใกล้
ท่านพระสารีบุตร แม้หากเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะเทิดทูนท่านพระสารีบุตรไว้
บนศีรษะเหมือนเทริดผ้า จึงจะได้พบเห็น ได้นั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็เป็นลาภอย่างมาก
ของท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่ง นับว่าเป็นลาภอย่างมากของผมด้วย
ผมได้ดีแล้วด้วย ที่ได้พบเห็น ได้นั่งใกล้ท่านสารีบุตร”
พระมหานาคทั้ง ๒ รูปนั้นต่างชื่นชมภาษิตของกันและกัน ดังนี้แล
รถวินีตสูตรที่ ๔ จบ

๕. นิวาปสูตร
ว่าด้วยเหยื่อล่อเนื้อ
[๒๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย นายพรานเนื้อมิได้ปลูกหญ้าไว้สำหรับฝูงเนื้อด้วยคิดว่า ‘เมื่อ
ฝูงเนื้อกินหญ้าที่เราปลูกไว้นี้จะมีอายุยั่งยืน มีผิวพรรณดี มีชีวิตอยู่ยืนนาน’ ที่แท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๕. นิวาปสูตร
นายพรานเนื้อปลูกหญ้าไว้สำหรับฝูงเนื้อด้วยมีความประสงค์ว่า ‘ฝูงเนื้อที่เข้ามาสู่ทุ่งหญ้า
ที่เราปลูกไว้นี้แล้วจักลืมตัวกินหญ้า เมื่อเข้ามาแล้วลืมตัวกินหญ้าก็จักเผลอตัว เมื่อ
เผลอตัวก็จักเลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็จักถูกเราทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านี้’
ฝูงเนื้อที่ถูกนายพรานจับ
[๒๖๒] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาฝูงเนื้อเหล่านั้น เนื้อฝูงที่ ๑ เข้าไปสู่ทุ่งหญ้า
ที่นายพรานปลูกไว้แล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็เผลอตัว
เมื่อเผลอตัวก็เลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบใน
ทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ ๑ นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อ
ไปได้
[๒๖๓] ภิกษุทั้งหลาย เนื้อฝูงที่ ๒ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๑
ที่เข้าไปในทุ่งหญ้าของนายพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกิน
หญ้าอยู่ก็เผลอตัว เมื่อเผลอตัวก็เลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ
ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ ๑ ก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจ
ของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี เราควรงดกินหญ้าโดยสิ้นเชิง เมื่องดกินหญ้า
ที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า’ แล้วจึงงดกินหญ้าโดยสิ้นเชิง เมื่องดกิน
หญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็หลีกไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนซึ่งเป็น
เวลาที่หญ้าและน้ำหมดสิ้นแล้ว ฝูงเนื้อฝูงนั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกาย
ซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากันกลับมาสู่
ทุ่งหญ้าที่นายพรานนั้นปลูกไว้อีก เนื้อฝูงนั้นพากันเข้าไปในทุ่งหญ้านั้น ลืมตัวกินหญ้าอยู่
เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็เผลอตัว เมื่อเผลอตัวก็เลินเล่อ เมื่อเลินเล่อก็ถูก
นายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ ๒
ก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้
[๒๖๔] ภิกษุทั้งหลาย เนื้อฝูงที่ ๓ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๑
เข้าไปในทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ ๑ ก็ไม่รอด
พ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ และเนื้อฝูงที่ ๒ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๕. นิวาปสูตร
‘เนื้อฝูงที่ ๑ เข้าไปสู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ ๑
ก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรงดกินหญ้า
โดยสิ้นเชิง เมื่องดกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า’ จึงงดกินหญ้า
โดยสิ้นเชิง เมื่องดกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็หลีกไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึงเดือน
สุดท้ายแห่งฤดูร้อนซึ่งเป็นเวลาที่หญ้าและน้ำหมดสิ้น เนื้อฝูงนั้นมีร่างกายซูบผอม
เมื่อมีร่างกายซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากัน
กลับมาสู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้นอีก เนื้อฝูงนั้นพากันเข้าไปสู่ทุ่งหญ้านั้น
ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็เผลอตัว เมื่อเผลอตัวก็เลิ่นเล่อ
เมื่อเลินเล่อก็ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้
แม้เนื้อฝูงที่ ๒ นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานไปได้ ทางที่ดี พวกเรา
ควรซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ครั้นแล้วเราจะไม่เข้าไป
สู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น จักไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปแล้วไม่
ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็จักไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็จักไม่เลินเล่อ เมื่อไม่เลินเล่อก็
จักไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น’ แล้วจึงเข้าไปซุ่ม
อาศัยอยู่ใกล้ ๆ ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ทุ่งหญ้า
นั้นแล้วก็ไม่เข้าไปสู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่
เข้าไปในทุ่งหญ้านั้นไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็ไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็ไม่เลินเล่อ
เมื่อไม่เลินเล่อก็ไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น นายพรานเนื้อกับบริวารมีความคิดว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๓
นี้เป็นสัตว์ฉลาดเหมือนมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ เราไม่รู้
ทั้งทางมาและทางไปของพวกมัน ทางที่ดี พวกเราควรเอาไม้มาขัดเป็นตาข่ายล้อม
รอบทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้นี้ บางทีเราจะพบที่อยู่ของเนื้อฝูงที่ ๓ ในที่ซึ่งเราจะไปจับพวก
มันได้’ พวกเขาจึงช่วยกันเอาไม้มาขัดเป็นตาข่ายล้อมรอบทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้นั้น
นายพรานเนื้อกับบริวารก็ได้พบที่อยู่ของเนื้อฝูงที่ ๓ ในที่ซึ่งเขาไปจับพวกมันได้แล้ว
เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ ๓ นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๕. นิวาปสูตร

ฝูงเนื้อที่ถูรอดมือนายพราน
[๒๖๕] ภิกษุทั้งหลาย เนื้อฝูงที่ ๔ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่าเนื้อฝูงที่ ๑
ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้เนื้อฝูงที่ ๑ ก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้
และเนื้อฝูงที่ ๒ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูง
ที่ ๑ นั้นก็ไม่รอกพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรงด
กินหญ้า โดยสิ้นเชิง เมื่องดกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็หลีกไปอยู่ตามราวป่า’
แล้วจึงงดกินหญ้า โดยสินเชิง ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ ๒ นั้นก็ไม่รอด
พ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้
อนึ่ง เนื้อฝูงที่ ๓ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็น
เช่นนี้ ‘เนื้อฝูงที่ ๑ นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานไปได้ และเนื้อฝูงที่ ๒
คิดเห็นร่วมกกันอย่างนี้ว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ ๑ นั้นก็ไม่รอด
พ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี เราควรงดกินหญ้าโดยสิ้นเชิง เมื่อ
งดกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็หลีกไปอยู่ตามราวป่า’ แล้วจึงงดกินหญ้าโดยสิ้นเชิง ฯลฯ
เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ ๒ นั้นก็ไม่รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้
ทางที่ดี พวกเราควรซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ครั้นแล้ว
เราจะไม่เข้าไปยังทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น จะไม่ลืมตัวกินหญ้า เมื่อไม่เข้าไปแล้ว
ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็จักไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็จักไม่เลินเล่อ เมื่อไม่เลินเล่อ
ก็จักไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น’ แล้วจึงเข้าไปซุ่ม
อาศัยอยู่ใกล้ ๆ ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ทุ่งหญ้า
นั้นแล้วไม่เข้าไปสู่ทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่
เข้าไปยังทุ่งหญ้านั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็ไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็ไม่เลินเล่อ
เมื่อไม่เลินเล่อก็ไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น
ครั้งนั้น นายพรานเนื้อกับบริวารมีความคิดว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๓ นี้เป็นสัตว์ฉลาด
เหมือนมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา ฯลฯ นายพรานเนื้อกับบริวารก็ได้พบที่อยู่ของ
เนื้อฝูงที่ ๓ ในที่ซึ่งเขาจะไปจับพวกมันได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เนื้อฝูงที่ ๓ นั้นก็ไม่
รอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรอาศัยอยู่ในที่ซึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๕. นิวาปสูตร
นายพรานเนื้อกับบริวารไปไม่ถึง ครั้นแล้วไม่ควรเข้าไปยังทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อ
ปลูกไว้นั้น เมื่อไม่ลืมตัวกินหญ้าก็จักไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็จักไม่เลินเล่อ
เมื่อไม่เลินเล่อก็จักไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น’ แล้ว
จึงซุ่มอาศัยอยู่ในที่ซึ่งนายพรานเนื้อกับบริวารไปไม่ถึง ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว
ก็ไม่เข้าไปยังทุ่งหญ้าที่นายพรานเนื้อปลูกไว้นั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไป
ยังทุ่งหญ้านั้นไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็ไม่เผลอตัว เมื่อไม่เผลอตัวก็จักไม่เลินเล่อ เมื่อไม่
เลินเล่อก็จักไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในทุ่งหญ้านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พรานเนื้อกับบริวารคิดเห็นว่า ‘เนื้อฝูงที่ ๔ นี้เป็นสัตว์
ฉลาดเหมือนมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ อนึ่ง เราไม่ทราบ
ทางมาและทางไปของพวกมันเลย ทางที่ดี พวกเราควรเอาไม้มาขัดเป็นตาข่าย
ล้อมรอบทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้โดยรอบ บางทีเราจะพบที่อยู่ของเนื้อฝูงที่ ๔ ในที่ซึ่ง
เราจะไปจับพวกมันได้’ พวกเขาจึงเอาไม้มาขัดเป็นตาข่ายล้อมรอบทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้
นั้น แต่ก็ไม่พบที่อยู่ของเนื้อฝูงที่ ๔ ในที่ซึ่งตนจะไปจับเอา ครั้งนั้น นายพรานเนื้อ
กับบริวารจึงคิดตกลงใจว่า ‘ถ้าเราจักขืนรบกวนเนื้อฝูงที่ ๔ ให้ตกใจ เนื้อเหล่านั้น
ที่ถูกเราทำให้ตกใจแล้วก็จะพลอยทำให้เนื้อฝูงอื่น ๆ ตกใจไปด้วย ฝูงเนื้อทั้งหลายคง
จะไปจากทุ่งหญ้าที่ปลูกไว้จนหมดสิ้น ทางที่ดี พวกเราควรวางเฉยในเนื้อฝูงที่ ๔ เสีย
เถิด’ นายพรานเนื้อกับบริวารก็วางเฉยเนื้อฝูงที่ ๔ เสีย เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงที่ ๔
จึงรอดพ้นจากอำนาจของนายพรานเนื้อไปได้
[๒๖๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจะเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ในคำเปรียบเทียบนั้น มีคำอธิบายดังต่อไปนี้
คำว่า ทุ่งหญ้า นั้นเป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕
คำว่า นายพรานเนื้อ นั้นเป็นชื่อของมารผู้มีบาป
คำว่า บริวารของนายพรานเนื้อ นั้นเป็นชื่อของบริวารของมาร
คำว่า ฝูงเนื้อ นั้นเป็นชื่อของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๕. นิวาปสูตร

เปรียบเทียบนักบวชกับฝูงเนื้อ
[๒๖๗] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวก
ที่ ๑ เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิสแล้วลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕
เมื่อเข้าไปหากามคุณ ๕ นั้น ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท
เมื่อประมาทก็ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ ๕ นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้
สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่ ๑ ว่า เปรียบเหมือนเนื้อฝูง
ที่ ๑ นั้น
[๒๖๘] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่ ๒ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า
‘สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิสแล้ว
ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ เมื่อเข้าไปหากามคุณ ๕ นั้นแล้วลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕
ก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท เมื่อประมาทก็ถูกมารทำอะไร ๆ ตามใจชอบใน
กามคุณ ๕ นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ นั้นก็ไม่พ้นจาก
อำนาจของมารได้ ทางที่ดี พวกเราควรงดบริโภคกามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิสโดย
สิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ในราวป่า’ แล้วจึงงดบริโภค
กามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิสโดยสิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้วก็หลีกไปอยู่ตาม
ราวป่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีผักดองเป็นอาหารบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นอาหารบ้าง
มีลูกเดือยเป็นอาหารบ้าง มีกากข้าวเป็นอาหารบ้าง มีสาหร่ายเป็นอาหารบ้าง
มีรำเป็นอาหารบ้าง มีข้าวตังเป็นอาหารบ้าง มีกำยานเป็นอาหารบ้าง มีหญ้าเป็น
อาหารบ้าง มีมูลโคเป็นอาหารบ้าง มีเหง้าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง บริโภค
ผลไม้ที่หล่นเอง ดำรงอัตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนซึ่ง
เป็นเวลาที่อาหาร(ป่า)และน้ำหมดสิ้น เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๕. นิวาปสูตร
ซูบ ผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติ๑ก็เสื่อม
เมื่อเจโตวิมุตติเสื่อมแล้ว พวกเธอก็กลับหันหน้าเข้าหากามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิส
นั้นอีก เมื่อเข้าไปหาแล้วลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท
เมื่อประมาทก็ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ ๕ นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้
แม้สมณพราหมณ์พวกที่ ๒ นั้น ก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่ ๒ นี้เปรียบเหมือนเนื้อฝูงที่ ๒ นั้น
[๒๖๙] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่ ๓ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า
‘สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ นั้น ก็
ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ และสมณพราหมณ์พวกที่ ๒ คิดเห็นร่วมกันอย่าง
นี้ว่า ‘สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ นั้น
ก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรงดบริโภคกามคุณ ๕ อันเป็น
โลกามิสโดยสิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า’ แล้ว
จึงงดบริโภคกามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิสโดยสิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้วก็
หลีกไปอยู่ตามราวป่า เธอเหล่านั้นมีผักดองเป็นอาหารบ้าง ฯลฯ บริโภคผลไม้ที่
หล่นเองดำรงอัตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนซึ่งเป็นเวลา
ที่อาหารและน้ำหมดสิ้น เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม
กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุตติ
เสื่อมแล้ว พวกเธอก็กลับหันหน้าเข้าหากามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิสนั้นอีก เมื่อ
เข้าไปหาแล้วลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท เมื่อประมาท
ก็ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ ๕ นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณ-
พราหมณ์พวกที่ ๒ นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเรา ควรจะ
เข้าไปอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัยอยู่ใกล้ ๆ

เชิงอรรถ :
๑ เจโตวิมุตติ ในที่นี้หมายถึงเพียงอัธยาศัย คือ การสละทรัพย์ ละการครองเรือนแล้วออกมาอยู่ป่า (ม.มู.อ.
๒/๒๖๘/๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๕. นิวาปสูตร
แล้วก็ไม่เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕
เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็จะไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็จะไม่ประมาท เมื่อ
ไม่ประมาทก็จะไม่ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ ๕ นั้น’ จึงอาศัยอยู่ใกล้ ๆ
กามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กามคุณ ๕
แล้วไม่เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕
เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่
ประมาทก็ไม่ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณนั้น แต่สมณพราหมณ์
เหล่านั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด
ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตาย
แล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่’ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๓ นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจของ
มารไปได้
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสมณพราหมณ์พวกที่ ๓ นี้เปรียบเหมือนเนื้อฝูง
ที่ ๓ นั้น
[๒๗๐] ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่ ๔ มีความคิดเห็นร่วมกัน
อย่างนี้ว่า ‘สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๑
นั้น ก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ และสมณพราหมณ์พวกที่ ๒ มีความคิด
เห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณ-
พราหมณ์พวกที่ ๑ นั้น ก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเราควร
งดบริโภคกามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิสโดยสิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้ว
ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า เธอเหล่านั้นงดเว้นจากกามคุณ ๕ ที่เป็นโลกามิส
โดยสิ้นเชิง ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณพราหมณ์พวกที่ ๒ นั้นก็ไม่พ้นจาก
อำนาจของมารไปได้
อนึ่ง สมณพราหมณ์พวกที่ ๓ มีความคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ‘สมณพราหมณ์
พวกที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจ
ของมารไปได้ และสมณพราหมณ์พวกที่ ๒ มีความคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า
‘สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่ ๑ นั้นก็ไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๕. นิวาปสูตร
พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเราควรงดบริโภคกามคุณ ๕ อันเป็น
โลกามิสโดยสิ้นเชิง เมื่องดบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ควรหลีกไปอยู่ตามราวป่า เธอ
เหล่านั้นงดบริโภคกามคุณ ๕ อันเป็นโลกามิส ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้
สมณพราหมณ์พวกที่ ๒ นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเรา
ควรจะเข้าไปอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส ครั้นอาศัย
อยู่ใกล้ ๆ กามคุณ ๕ แล้วก็ไม่เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส
ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่
มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทก็ไม่ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ
๕ นั้น’ แล้วจึงอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัย
อยู่ใกล้ ๆ กามคุณ ๕ แล้วก็ไม่เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส
ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่
มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทก็ไม่ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ
๕ นั้น แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หรือหลัง
จากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้
สมณพราหมณ์พวกที่ ๓ นั้นก็ไม่พ้นจากอำนาจของมารไปได้ ทางที่ดี พวกเรา
ควรอาศัยอยู่ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้วก็ไม่
เข้าไปหากามคุณ ๕ ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิส ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ เมื่อ
ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่
ประมาทก็ไม่ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ ๕ นั้น’ แล้วจึงอาศัยอยู่
ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง ครั้นอาศัยในที่นั้นแล้วไม่เข้าไปหากามคุณ ๕
ที่มารล่อไว้ซึ่งเป็นโลกามิสนั้น ไม่ลืมตัวบริโภคกามคุณ ๕ เมื่อไม่ลืมตัวบริโภค
กามคุณ ๕ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทก็ไม่ถูกมารทำ
อะไร ๆ ได้ตามใจชอบในกามคุณ ๕ ซึ่งเป็นโลกามิสนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณ-
พราหมณ์พวกที่ ๔ นั้น จึงพ้นจากอำนาจของมารไปได้
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสมณพราหมณ์พวกที่ ๔ นี้เปรียบเหมือนเนื้อฝูงที่ ๔ นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๕. นิวาปสูตร

แดนที่มารตามไปไม่ถึง
[๒๗๑] ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ได้ทำมารให้
ตาบอด๑ คือ ทำลายดวงตาของมารเสียอย่างไม่มีร่องรอย ถึงการที่มารใจบาป
มองไม่เห็น’
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ฯลฯ ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ฯลฯ ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป
ก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายดวงตาของมารเสียอย่างไม่มี
ร่องรอย ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายดวงตา
ของมารเสียอย่างไม่มีร่องรอย ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’

เชิงอรรถ :
๑ ทำมารให้ตาบอด หมายถึงภิกษุนั้นมิได้ทำลายนัยน์ตาของมาร แต่จิตของภิกษุผู้เข้าถึงฌานที่เป็นบาทของ
วิปัสสนาอาศัยอารมณ์นี้เป็นไป (เกิดดับ) เหตุนั้น มารจึงไม่สามารถมองเห็น ทำลายดวงตาของมารเสีย
อย่างไม่มีร่องรอย หมายถึงทำลายโดยที่นัยน์ตาของมารไม่มีทาง หมดหนทาง ไม่มีที่พึ่ง ปราศจาก
อารมณ์โดยปริยายนี้ ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น หมายถึงโดยปริยายนั่นเอง มารจึงไม่สามารถมอง
เห็นร่างคือญาณของภิกษุผู้เข้าฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนานั้นด้วยมังสจักษุของตนได้ (ม.มู.อ. ๒/๒๗๑/๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ เราเรียกภิกษุนี้ว่า
‘ฯลฯ ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ
บรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ฯลฯ
ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ฯลฯ ถึงการที่มารใจ
บาปมองไม่เห็น’
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็เพราะเห็นด้วยปัญญา เธอ
ย่อมมีอาสวะสิ้นไป เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายดวงตา
ของมารเสียอย่างไม่มีร่องรอย ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น และข้ามพ้นตัณหา
อันเป็นเครื่องข้องอยู่ในโลกได้แล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
นิวาปสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปาสราสิสูตร
ว่าด้วยกองบ่วงดักสัตว์
[๒๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุเป็นจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับ
ท่านพระอานนท์ว่า “ท่านพระอานนท์ เป็นเวลานานมากแล้วที่พวกกระผมไม่ได้
สดับธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ขอโอกาสให้พวกกระผมได้สดับ
ธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงไปที่อาศรมของรัมมก-
พราหมณ์ ก็จักได้สดับธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เสด็จกลับจาก
บิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มา
ตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจะไปพักกลางวันที่ปราสาทของมิคารมาตาใน
บุพพาราม”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงเสด็จพร้อมกับ
ท่านพระอานนท์ไปพักกลางวันที่ปราสาทของมิคารมาตาในบุพพาราม ครั้นในเวลา
เย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้วตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า
“มาเถิด อานนท์ เราจักไปสรงน้ำที่ท่าบุพพโกฏฐกะ”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
มารยาทในการประชุม
[๒๗๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมกับท่านพระอานนท์ได้ไปสรงน้ำ
ที่ท่าบุพพโกฏฐกะแล้ว เสด็จขึ้น(จากท่า)ทรงครองจีวรผืนเดียวประทับยืนผึ่งพระ
วรกายอยู่ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อาศรมของรัมมกพราหมณ์อยู่ไม่ไกล ทั้งเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ และน่าเลื่อมใส
ขอพระผู้มีพระภาคเสด็จไปยังอาศรมของรัมมกพราหมณ์ เพื่อทรงอนุเคราะห์เถิด
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพแล้วได้เสด็จเข้าไปยังอาศรมของรัมมก-
พราหมณ์
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากนั่งสนทนาธรรมีกถาอยู่ในอาศรมของรัมมกพราหมณ์
พระผู้มีพระภาคประทับยืนนอกซุ้มประตู ทรงรอคอยให้ภิกษุสนทนากันจบ
เสียก่อน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าการสนทนาจบลงแล้ว จึงทรงกระแอม
แล้วเคาะบานประตู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
ภิกษุเหล่านั้นเปิดประตูรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอาศรมของรัมมกพราหมณ์แล้วประทับนั่งบน
พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วจึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวลานี้
เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร พูดเรื่องอะไรค้างไว้ อะไรที่เธอทั้งหลาย
สนทนากันค้างอยู่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ปรารภพระผู้มีพระภาคแล้วสนทนาธรรมีกถาค้างอยู่ พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จ
มาถึง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตร
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาประชุมสนทนาธรรมีกถากันนั้นเป็นเรื่อง
สมควร เธอทั้งหลายผู้มาประชุมกันมีกิจที่ควรทำ ๒ ประการ คือ (๑) การ
สนทนาธรรม (๒) การเป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ๑
การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ
[๒๗๔] ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหามี ๒ อย่าง คือ (๑) การแสวงหาที่
ประเสริฐ (๒) การแสวงหาที่ไม่ประสริฐ
การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ตนเองมีความเกิดเป็นธรรมดายังแสวงหาสิ่งที่มีความเกิด
เป็นธรรมดาอยู่อีก ตนเองมีความแก่เป็นธรรมดายังแสวงหาสิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดาอยู่อีก ตนเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็น
ธรรมดาอยู่อีก ตนเองมีความตายเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความตายเป็น
ธรรมดาอยู่อีก ตนเองมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความ

เชิงอรรถ :
๑ การสนทนาธรรม หมายถึงสนทนาเรื่องกถาวัตถุ ๑๐ ประการ การเป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ หมายถึง
การเข้าฌานสมาบัติ (ม.มู.อ. ๒/๒๗๓/๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
เศร้าโศกเป็นธรรมดาอยู่อีก ตนเองมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหา
สิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาอยู่อีก
ภิกษุทั้งหลาย หากเธอทั้งหลายถามว่า
อะไรเล่า เรียกว่าสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา
คือ บุตร ภรรยา ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน
เรียกว่าสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ๑
ผู้ที่ติดพันลุ่มหลงเกี่ยวข้องในอุปธิเหล่านั้น ชื่อว่าตนเองมีความเกิดเป็นธรรมดา ก็ยัง
แสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่อีก
อะไรเล่า เรียกว่าสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา
คือ บุตร ภรรยา ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา
ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาเหล่านั้น
เป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพันลุ่มหลงเกี่ยวข้องในอุปธิเหล่านั้น ชื่อว่าตนเองมีความแก่เป็น
ธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาอยู่อีก
อะไรเล่า เรียกว่าสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
คือ บุตร ภรรยา ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน
เรียกว่าสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาเหล่านั้น
เป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพันลุ่มหลงเกี่ยวข้องในอุปธิเหล่านั้น ชื่อว่าตนเองมีความเจ็บไข้เป็น
ธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่อีก
อะไรเล่า เรียกว่าสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา
คือ บุตร ภรรยา ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา
ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาเหล่านั้น
เป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพันลุ่มหลงเกี่ยวข้องในอุปธิเหล่านั้น ชื่อว่าตนเองมีความตายเป็น
ธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาอยู่อีก

เชิงอรรถ :
๑ อุปธิ ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕ ประการ (คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) (ม.มู.อ. ๒/๒๗๔/๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
อะไรเล่า เรียกว่าสิ่งที่มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา
คือ บุตร ภรรยา ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา
ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งที่มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความเศร้าโศกเป็น
ธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพันลุ่มหลงเกี่ยวข้องในอุปธิเหล่านั้น ชื่อว่าตนเอง
มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดาอยู่อีก
อะไรเล่า เรียกว่าสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
คือ บุตร ภรรยา ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา
ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็น
ธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพันลุ่มหลงเกี่ยวข้องในอุปธิเหล่านั้น ชื่อว่าตนเอง
มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาอยู่อีก
นี้คือการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ
การแสวงหาที่ประเสริฐ
[๒๗๕] การแสวงหาที่ประเสริฐ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ตนเองมีความเกิดเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษใน
สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเกิด ไม่มีธรรมอื่น
ยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ
ตนเองมีความแก่เป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา
ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่มีความแก่ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ
ตนเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเจ็บไข้ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ
ตนเองมีความตายเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา
ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่มีความตาย ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ
ตนเองมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเศร้าโศก
เป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และ
เกษมจากโยคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
ตนเองมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมอง
เป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเศร้าหมอง ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
และเกษมจากโยคะ
นี้คือการแสวงหาที่ประเสริฐ
[๒๗๖] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ตนเองมี
ความเกิดเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่นั่นแล ตนเองมี
ความแก่เป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาอยู่นั่นแล ตนเองมี
ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่นั่นแล ตนเอง
มีความตายเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาอยู่นั่นแล ตนเอง
มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดาอยู่นั่นแล
ตนเองมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็น
ธรรมดาอยู่นั่นแล
เราจึงคิดอย่างนี้ว่า ‘เรามีความเกิดเป็นธรรมดา ไฉนยังแสวงหาสิ่งที่มีความ
เกิดเป็นธรรมดาอยู่อีก’ เรามีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
... มีความตายเป็นธรรมดา ... มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ... มีความเศร้าหมอง
เป็นธรรมดา ไฉนยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาอยู่อีก’ ทางที่ดี
เราเองมีความเกิดเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาแล้ว
ควรแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเกิด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ
เราเองมีความแก่เป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแล้ว
ควรแสวงหานิพพานที่ไม่มีความแก่ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ
เราเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
แล้ว ควรแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเจ็บไข้ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ
เราเองมีความตายเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา
แล้ว ควรแสวงหานิพพานที่ไม่มีความตาย ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
เราเองมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเศร้าโศก
เป็นธรรมดาแล้ว ควรแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
และเกษมจากโยคะ
เราเองมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมอง
เป็นธรรมดาแล้ว ควรแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเศร้าหมอง ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
และเกษมจากโยคะ
พุทธประวัติตอนบำเพ็ญสมาบัติ
ในสำนักอาฬารดาบส๑
[๒๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ในกาลต่อมา เรายังหนุ่มแน่น แข็งแรง มีเกศา
ดำสนิท อยู่ในปฐมวัย เมื่อพระราชมารดาและพระราชบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้
ผนวช มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตรทรงกันแสงอยู่ จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่ม
ผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต เมื่อผนวชแล้วก็แสวงหาว่าอะไร
เป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทางอันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้
เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วกล่าวว่า ‘ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนา
จะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงกล่าวกับเราว่า ‘เชิญท่าน
อยู่ก่อน ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ตามแบบอาจารย์ของตน เข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้นไม่นาน เราก็เรียนรู้
ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวญาณ-
วาทะ๒และเถรวาทะ๓ได้ ทั้งเราและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ เราจึงคิดว่า
‘อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า
‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ก็หามิได้ แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร
ยังรู้ ยังเห็นธรรมนี้อย่างแน่นอน’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๒๗-๓๒๙/๓๙๕-๓๙๙,๔๗๕-๔๗๙/๖๐๐-๖๐๗ และดูข้อ ๓๗๑ หน้า ๔๕๕ ในเล่มนี้
๒ ญาณวาทะ หมายถึงลัทธิที่ว่า ข้าพเจ้ารู้ (ม.มู.อ. ๒/๒๗๗/๗๙)
๓ เถรวาทะ หมายถึงลัทธิที่ว่า ข้าพเจ้าเป็นใหญ่ (ม.มู.อ. ๒/๒๗๗/๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่านกาลามะ
ท่านประกาศธรรมนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร’
เมื่อเราถามอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงประกาศอากิญจัญญายตน-
สมาบัติแก่เรา เราจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้นที่มีศรัทธา
แม้เราก็มีศรัทธา มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้นที่มีวิริยะ แม้เราก็มีวิริยะ
มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้นที่มีสติ แม้เราก็มีสติ มิใช่แต่อาฬารดาบส
กาลามโคตรเท่านั้นที่มีสมาธิ แม้เราก็มีสมาธิ มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร
เท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญเพียร เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองเข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นาน เราก็ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่านกาลามะ
ท่านประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้หรือ’
อาฬารดาบส กาลามโคตรตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าประกาศด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้แล’
(เราจึงกล่าวว่า) ‘ท่านกาลามะ แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ด้วยเหตุเพียงเท่านี้’
(อาฬารดาบส กาลามโคตรกล่าวว่า) ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า
พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะข้าพเจ้าประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใด ท่านก็ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ข้าพเจ้าก็ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้า
ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ข้าพเจ้าทราบธรรมใด ท่านก็ทราบ
ธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด ข้าพเจ้าก็ทราบธรรมนั้น เป็นอันว่าข้าพเจ้าเป็นเช่นใด
ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด ข้าพเจ้าก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสอง
จะอยู่ร่วมกันบริหารคณะนี้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อาฬารดาบส กาลามโคตร ทั้งที่เป็นอาจารย์ของเรา ก็ยกย่อง
เราผู้เป็นศิษย์ให้เสมอกับตน และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างดี ด้วยประการอย่างนี้
แต่เราคิดว่า ‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึง
อากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น’ เราไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงลาจากไป
ในสำนักอุทกดาบส
[๒๗๘] ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทาง
อันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตร
แล้วกล่าวว่า ‘ท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ อุทกดาบส รามบุตรจึงกล่าวกับเราว่า ‘เชิญท่านอยู่ก่อน
ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกันกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ตามแบบอาจารย์ของตนเข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้นไม่นาน เราก็เรียนรู้
ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวญาณ-
วาทะและเถรวาทะได้ ทั้งเราและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ เราจึงคิดว่า
‘อุทกดาบส รามบุตรประกาศธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า ‘เราทำให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ก็หามิได้ แต่อุทกดาบส รามบุตรยังรู้ยังเห็น
ธรรมนี้ด้วยอย่างแน่นอน’
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ‘ท่านรามะ ท่าน
ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไร’
เมื่อเราถามอย่างนี้ อุทกดาบส รามบุตรจึงประกาศเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติแก่เรา เราจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อุทกดาบส รามบุตรเท่านั้นที่มีศรัทธา แม้เรา
ก็มีศรัทธา มิใช่แต่อุทกดาบส รามบุตรเท่านั้นที่มีวิริยะ แม้เราก็มีวิริยะ มิใช่แต่
อุทกดาบส รามบุตรเท่านั้นที่มีสติ แม้เราก็มีสติ มิใช่แต่อุทกดาบส รามบุตรเท่านั้น
ที่มีสมาธิ แม้เราก็มีสมาธิ มิใช่แต่อุทกดาบส รามบุตรเท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มี
ปัญญา ทางที่ดี เราควรเริ่มบำเพ็ญเพียรเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่อุทกดาบส รามบุตร
ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นาน เราก็
ได้ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ‘ท่านรามะ ท่าน
ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ’
อุทกดาบส รามบุตรตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าประกาศว่า ‘ข้าพเจ้า
ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล’
(เราจึงกล่าวว่า) ‘แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้’
(อุทกดาบส รามบุตรกล่าวว่า) ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า
พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะ(ข้าพเจ้า)รามะประกาศ
ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ท่านก็ทำให้แจ้งธรรม
นั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
รามะก็ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้น รามะทราบธรรมใด ท่านก็ทราบ
ธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด รามะก็ทราบธรรมนั้น เป็นอันว่ารามะเป็นเช่นใด ท่านก็
เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด รามะก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ ท่านจงบริหารคณะนี้’
ภิกษุทั้งหลาย อุทกดาบส รามบุตรทั้งที่เป็นเพื่อนพรหมจารีของเรา ก็ยกย่อง
เราไว้ในฐานะอาจารย์ และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างดี ด้วยประการอย่างนี้ แต่เรา
คิดว่า ‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบ
ระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติเท่านั้น’ เราไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงลาจากไป
ตรัสรู้สัจธรรม
[๒๗๙] ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทาง
อันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า เมื่อเที่ยวจาริกไปในแคว้นมคธโดย
ลำดับ ได้ไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้เห็นภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่า
น่าเพลิดเพลินใจ มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
อยู่โดยรอบ เราจึงคิดว่า ‘ภูมิประเทศเป็นที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่าน่าเพลิดเพลินใจ
มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคามอยู่โดยรอบ
เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ปรารถนาจะบำเพ็ญเพียร’ เราจึงนั่ง ณ ที่
นั้นด้วยคิดว่า ‘ที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร’
[๒๘๐] ภิกษุทั้งหลาย เราเองมีความเกิดเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษใน
สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาจนได้บรรลุนิพพานที่ไม่มีความเกิด ไม่มี
ธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ
เราเองมีความแก่เป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา
แล้วแสวงหาจนได้บรรลุนิพพานที่ไม่มีความแก่ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ
เราเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
แล้วแสวงหาจนได้บรรลุนิพพานที่ไม่มีความเจ็บไข้ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษม
จากโยคะ
เราเองมีความตายเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา
แล้วแสวงหาจนได้บรรลุนิพพานที่ไม่มีความตาย ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษม
จากโยคะ
เราเองมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเศร้าโศก
เป็นธรรมดาแล้วแสวงหาจนได้บรรลุนิพพานที่ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีธรรมอื่น
ยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ
เราเองมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความ
เศร้าหมองเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาจนได้บรรลุนิพพานที่ไม่มีความเศร้าหมอง
ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า และเกษมจากโยคะ
ทั้งญาณทัสสนะได้เกิดแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย
บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร

ทรงมีความขวนขวายน้อย
[๒๘๑] ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘ธรรม๑ที่เราได้บรรลุแล้วนี้
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด
บัณฑิต(เท่านั้น)จึงจะรู้ได้ ส่วนหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย๒ ยินดีในอาลัย
เพลิดเพลินในอาลัย ฐานะที่หมู่สัตว์ผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลิน
ในอาลัยนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท
ถึงแม้ฐานะอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก กล่าวคือความสงบแห่งสังขารทั้งปวง
ความสลัดทิ้งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึง
แสดงธรรม และผู้อื่นจะไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่า
แก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา’
อนึ่งเล่า คาถาอันน่าอัศจรรย์เหล่านี้ที่ไม่เคยสดับมาก่อน ได้ปรากฏแก่เราว่า
‘บัดนี้ เรายังไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุด้วยความลำบาก
เพราะธรรมนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ถูกราคะและโทสะครอบงำจะรู้ได้ง่าย
แต่เป็นสิ่งพาทวนกระแส๓ ละเอียด ลึกซึ้ง รู้เห็นได้ยาก ประณีต
ผู้กำหนัดด้วยราคะ ถูกกองโมหะหุ้มห่อไว้ จักรู้เห็นไม่ได้’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๗/๑๑, ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๓๗/๔๐๗
๒ อาลัย คือกามคุณ ๕ ที่สัตว์พัวพัน ยินดี เพลิดเพลิน (วิ.อ. ๓/๗/๑๓) เป็นชื่อเรียกกิเลส ๒ อย่าง คือ
กามคุณ ๕ และตัณหาวิจริต ๑๐๘ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๑/๘๒, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๗/๑๘๔) ดู อภิ.วิ. (แปล)
๓๕/๙๗๓-๙๗๖/๖๒๒-๖๓๓
๓ พาทวนกระแส ในที่นี้หมายถึง อนิจฺจํ(ไม่เที่ยง) ทุกฺขํ(เป็นทุกข์) อนตฺตา(เป็นอนัตตา) อสุภํ(ไม่งาม)
อันทวนกระแสแห่งธรรมมีความเที่ยง เป็นต้น ในพระวินัยปิฎกหมายถึงพาเข้าถึงนิพพาน (ม.มู.อ.
๒/๒๘๑/๘๔, วิ.อ. ๓/๗/๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร

สหัมบดีพรหมอาราธนาแสดงธรรม
[๒๘๒] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาดังนี้ จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวาย
น้อย มิได้น้อมไปเพื่อแสดงธรรม
ครั้งนั้น สหัมบดีพรหมทราบความดำริในใจของเราด้วยใจของตน จึงได้มี
ความรำพึงว่า ‘ท่านผู้เจริญ โลกจะฉิบหายหนอ โลกจะพินาศหนอ เพราะ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมพระทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย
มิได้น้อมพระทัยไปเพื่อทรงแสดงธรรม’
ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมอันตรธานจากพรหมโลกมาปรากฏ ณ เบื้องหน้าเรา
เปรียบเหมือนคนแข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น แล้วห่มอุตตราสงค์
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือมาทางที่เราอยู่ ได้กล่าวกับเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดแสดงธรรม ขอพระสุคตเจ้าได้โปรดแสดงธรรม
เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อย๑มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะไม่ได้
สดับธรรม สัตว์เหล่านั้นจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรม‘๒
สหัมบดีพรหมได้ทูลอาราธนาดังนี้ แล้วได้ทูลเป็นคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
พรหมนิคมคาถา
‘ในกาลก่อน ธรรมที่ไม่บริสุทธิ์
อันคนที่มีมลทิน๓คิดค้นไว้ ปรากฏในแคว้นมคธ
พระองค์โปรดเปิดประตูอมตธรรมนั้นเถิด
ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากมลทิน ได้ตรัสรู้แล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาดี มีพระสมันตจักษุ
บุรุษผู้ยืนอยู่บนยอดเขาศิลาล้วน
พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบ แม้ฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ ผู้มีธุลีในดวงตาน้อย หมายถึงมีธุลีคือราคะ โทสะ โมหะเบาบางคือเล็กน้อย ปิดบังดวงตาคือปัญญา
(ม.มู.อ. ๒/๒๘๒/๘๕, วิ.อ. ๓/๘-๙/๑๔-๑๕)
๒ เหตุการณ์นี้เป็นที่มาแห่งพิธีอาราธนาพระสงฆ์แสดงธรรม (ดู ขุ.พุทธ. ๓๓/๑/๔๓๕)
๓ คนที่มีมลทิน ในที่นี้หมายถึงครูทั้ง ๖ (วิ.อ. ๓/๘/๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
พระองค์ผู้หมดความเศร้าโศกแล้ว
โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม
จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก
และถูกชาติชราครอบงำได้ชัดเจน ฉันนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร
ผู้ชนะสงคราม๑ ผู้นำหมู่๒ ผู้ไม่มีหนี้๓
ขอพระองค์โปรดลุกขึ้นเสด็จจาริกไปในโลก
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดแสดงธรรม
เพราะสัตว์ทั้งหลายจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรม’
เวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว๔
[๒๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น เรารับคำทูลอาราธนาของพรหม และเพราะ
ความมีกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ๕ เมื่อตรวจดูโลกด้วยพุทธ-
จักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตา๖น้อย มีธุลีในดวงตามาก มีอินทรีย์
แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก
บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็น
สิ่งไม่น่ากลัว

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ชนะสงคราม หมายถึงชนะเทวบุตรมาร มัจจุมาร และกิเลสมาร (ม.มู.อ. ๒/๒๘๒/๘๗)
๒ ผู้นำหมู่ หมายถึงสามารถนำสัตว์ข้ามที่กันดารคือชาติ(ความเกิด) และสามารถเป็นผู้นำของหมู่สัตว์คือ
เวไนยสัตว์ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๒/๘๗)
๓ ผู้ไม่มีหนี้ หมายถึงไม่มีหนี้คือกามฉันทะ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๒/๘๗)
๔ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๖๙/๓๙-๔๐, วิ.ม. (แปล) ๔/๙/๑๔, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒, อภิ.ก.
๓๗/๘๕๖/๔๙๐
๕ พุทธจักษุ หมายถึง
(๑) อินทริยปโรปริยัตติญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้
ว่าสัตว์นั้น ๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีความ
พร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่
(๒) อาสยานุสยญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย สภาพจิตที่นอนเนื่องอยู่ (ม.มู.อ.
๒/๒๘๓/๘๗, วิ.อ. ๓/๙/๑๕) และดู ขุ.ป. ๓๑/๑๑๑-๑๑๕/๑๒๔-๑๒๘)
๖ ดวงตา ในที่นี้หมายถึงปัญญาจักษุ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๓/๘๗, วิ.อ. ๓/๙/๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
ในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอบุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก
บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำ และมีน้ำหล่อเลี้ยงไว้
ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่เสมอน้ำ
ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่พ้นน้ำ
ไม่แตะน้ำ แม้ฉันใด
เราเมื่อตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อย
มีธุลีในดวงตามาก มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม
สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว
บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งไม่น่ากลัว๑ ฉันนั้น
ลำดับนั้น เราจึงได้กล่าวคาถาตอบสหัมบดีพรหมว่า
‘พรหม สัตว์เหล่าใดมีโสตประสาท
จงปล่อยศรัทธามาเถิด
เรามิได้ปิดประตูอมตธรรมสำหรับสัตว์เหล่านั้น
แต่เรารู้สึกว่าเป็นการยากลำบาก
จึงไม่คิดจะแสดงธรรมอันประณีต
ที่เราคล่องแคล่ว ในหมู่มนุษย์’
ครั้งนั้น สหัมบดีพรหมทราบว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานโอกาสเพื่อจะ
แสดงธรรมแล้ว’ จึงถวายอภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้วได้หายไปจากที่นั้น

เชิงอรรถ :
๑ นอกจากบัวจมอยู่ในน้ำ บัวอยู่เสมอน้ำ บัวพ้นน้ำ ๓ เหล่านี้ อรรถกถาได้กล่าวถึงบัวเหล่าที่ ๔ คือ บัว
ที่มีโรคยังไม่พ้นน้ำเป็นอาหารของปลาและเต่า ซึ่งมิได้ยกขึ้นสู่บาลี แล้วแบ่งบุคคลเป็น ๔ เหล่า (ตามที่
ปรากฏ ใน องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๕/๑๔๒,๑๔๘-๑๕๑/๑๘๗) คือ (๑) อุคฆฏิตัญญู
(๒) วิปจิตัญญู (๓) เนยยะ (๔) ปทปรมะ แล้วเปรียบอุคฆฏิตัญญู เป็นเหมือนบัวพ้นน้ำที่พอต้องแสง
อาทิตย์แล้วก็บานในวันนี้ เปรียบวิปจิตัญญู เป็นเหมือนบัวอยู่เสมอน้ำที่จะบานในวันรุ่งขึ้น เปรียบเนยยะ
เป็นเหมือนบัวจมอยู่ในน้ำที่จะขึ้นมาบานในวันที่ ๓ ส่วนปทปรมะ เปรียบเหมือนบัวที่มีโรคยังไม่พ้นน้ำ ไม่
มีโอกาสขึ้นมาบาน เป็นอาหารของปลาและเต่า
พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุอันเป็นเหมือนกออุบลเป็นต้น ได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงว่า
หมู่ประชาผู้มีธุลีในดวงตาเบาบางมีประมาณเท่านี้ หมู่ประชาผู้มีธุลีในดวงตามากมีประมาณเท่านี้ และใน
หมู่ประชาทั้ง ๒ นั้น อุคฆฏิตัญญูบุคคลมีประมาณเท่านี้ (ที.ม.อ. ๖๙/๖๔-๖๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๙/๑๙๒-
๑๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร

ทรงรำพึงถึงผู้ควรรับธรรมเทศนา
[๒๘๔] ภิกษุทั้งหลาย เราดำริว่า ‘เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ
ใครจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’ แล้วดำริต่อไปว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้ เป็น
บัณฑิต ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา มีธุลีในดวงตาน้อยมานาน ทางที่ดี เราควร
แสดงธรรมแก่อาฬารดาบส กาลามโคตรก่อน เธอจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’
ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาเราแล้วกล่าวว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อาฬารดาบส กาลามโคตรทำกาละได้ ๗ วันแล้ว’
อนึ่ง เราก็ได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตร ทำกาละได้ ๗
วันแล้ว’ จึงดำริว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตร เป็นผู้มีความเสื่อมจากคุณอันยิ่ง
ใหญ่๑แล้วหนอ เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ได้ฉับพลัน’
เราจึงดำริว่า ‘เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้
ฉับพลัน’ จึงดำริต่อไปว่า ‘อุทกดาบส รามบุตรนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาดเฉียบแหลม
มีปัญญา มีธุลีในดวงตาน้อยมานาน ทางที่ดี เราควรแสดงธรรมแก่อุทกดาบส
รามบุตรก่อน เธอจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’
ลำดับนั้น เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาเราแล้วกล่าวว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อุทกดาบส รามบุตร ได้ทำกาละเมื่อวานนี้’
อนึ่ง เราก็ได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นว่า ‘อุทกดาบส รามบุตร ได้ทำกาละ
เมื่อวานนี้’ จึงดำริว่า ‘อุทกดาบส รามบุตร เป็นผู้มีความเสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่
แล้วหนอ เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ได้ฉับพลัน’
เราจึงดำริว่า ‘เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’
จึงดำริว่า ‘ภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามาก ที่ได้เฝ้าปรนนิบัติเราผู้มุ่งบำเพ็ญ

เชิงอรรถ :
๑ มีความเสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่ หมายถึงมีความเสื่อมมาก เพราะเสื่อมจากมรรคและผลที่จะพึงบรรลุ
เพราะเกิดในอักขณะ คือ อาฬารดาบส ตายไปเกิดในอากิญจัญญายตนภพ ส่วนอุทกดาบส ตายไปเกิดใน
เนวสัญญานาสัญญายตนภพ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๔/๙๔, วิ.อ. ๓/๑๐/๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
เพียร ทางที่ดี เราควรแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน’ แล้วดำริต่อไปว่า ‘บัดนี้
ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ’ ก็ได้เห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น เราพักอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาตามความต้องการแล้ว
จึงหลีกจาริกไปทางกรุงพาราณสี
ทรงพบอุปกาชีวก
[๒๘๕] ภิกษุทั้งหลาย อาชีวกชื่ออุปกะได้พบเราผู้กำลังเดินทางไกล ณ ระหว่าง
แม่น้ำคยากับต้นโพธิพฤกษ์ ได้ถามเราว่า ‘อาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก
ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน
หรือท่านชอบใจธรรมของใคร’
เมื่ออุปกาชีวกถามอย่างนี้แล้ว เราจึงได้กล่าวคาถาตอบอุปกาชีวกว่า
‘เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๑ รู้ธรรมทั้งปวง๒
มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๓ ละธรรมทั้งปวง๔ได้สิ้นเชิง
หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ตรัสรู้ยิ่งเอง
แล้วจะพึงกล่าวอ้างใครเล่า
เราไม่มีอาจารย๕ เราไม่มีผู้เสมอเหมือน
เราไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกกับทั้งเทวโลก
เพราะเราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม
เราผู้เดียวเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
เป็นผู้เยือกเย็น ดับกิเลสในโลกได้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๕/๙๗, วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖)
๒ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๕/๙๗, วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖)
๓ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๕/๙๗, วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖)
๔ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๕/๙๗, วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖)
๕ เราไม่มีอาจารย์ ในที่นี้หมายถึงไม่มีอาจารย์ในระดับโลกุตตรธรรม (ม.มู.อ. ๒/๒๘๕/๙๗, วิ.อ. ๓/๑๑/๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
เราจะไปเมืองหลวงของชาวกาสี ประกาศธรรมจักร
ตีกลองอมตธรรมไปในโลกอันมีความมืดมน‘๑
อุปกาชีวกกล่าวว่า ‘อาวุโส ท่านสมควรเป็นพระอนันตชินะตามที่ท่านประกาศ’
เราจึงกล่าวตอบเป็นคาถาว่า
‘ชนเหล่าใดได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
ชนเหล่านั้นย่อมเป็นพระชินะเช่นเรา
อุปกะ เราชนะความชั่วได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าพระชินะ’
เมื่อเรากล่าวอย่างนั้นแล้ว อุปกาชีวกจึงกล่าวว่า ‘อาวุโส ควรจะเป็นอย่างนั้น’
โคลงศีรษะแล้วเดินสวนทางหลีกไป
ทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุปัญจวัคคีย์
[๒๘๖] ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น เราจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าอิสิปตน-
มฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ได้เข้าไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ถึงที่อยู่ ภิกษุปัญจวัคคีย์
เห็นเราเดินมาแต่ไกล จึงนัดหมายกันและกันว่า ‘อาวุโส พระสมณโคดมนี้ เป็น
ผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก กำลังเสด็จมา
พวกเราไม่พึงกราบไหว้ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวรของพระองค์ แต่จะจัด
อาสนะไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนาก็จักประทับนั่ง’
เราเข้าไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ลืมข้อนัดหมายของตน บางพวก
ต้อนรับเราแล้วรับบาตรและจีวร บางพวกปูลาดอาสนะ บางพวกจัดหาน้ำล้างเท้า
แต่ภิกษุปัญจวัคคีย์เรียกเราโดยออกนามและใช้คำว่า ‘อาวุโส‘๒

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๑/๑๗, ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๔๑/๔๑๒, อภิ.ก. ๓๗/๔๐๕/๒๔๕-๒๔๖
๒ อาวุโส แปลว่า ผู้มีอายุ เดิมใช้เป็นคำเรียกกันเป็นสามัญ คือ ภิกษุผู้แก่กว่าเรียกภิกษุผู้อ่อนกว่าหรือ
ภิกษุผู้อ่อนกว่าเรียกภิกษุผู้แก่กว่าก็ได้ (ที.ม.อ. ๒/๒๑๖/๑๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว เราจึงห้ามภิกษุปัญญจวัคคีย์ว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าเรียกตถาคตโดยออกชื่อและใช้คำว่า ‘อาวุโส’ ตถาคต
เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เธอทั้งหลายจงเงี่ยโสตสดับ เราจะสั่งสอน
อมตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว จะแสดงธรรม เธอทั้งหลายเมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน
ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่า
กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันนี้แน่แท้’
เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวกับเราว่า ‘อาวุโสโคดม
แม้ด้วยจริยานั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังมิได้บรรลุ
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ บัดนี้ พระองค์
เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุ
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้เล่า’
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว เราจึงได้กล่าวกับภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก ไม่ได้คลายความเพียร ไม่ได้เวียนมา
เพื่อความเป็นคนมักมาก ตถาคตเป็นอรหันต์ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เธอทั้งหลาย
จงเงี่ยโสตสดับ เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว จะแสดงธรรม เธอทั้งหลาย
เมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็น
ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันนี้แน่แท้’
แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวกับเราว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๒ เราก็ได้กล่าวกับภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวกับเราว่า ‘อาวุโสโคดม แม้ด้วย
จริยานั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังมิได้บรรลุญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ บัดนี้ พระองค์เป็นผู้มักมาก
คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุญาณทัสสนะที่
ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้เล่า’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว เราได้กล่าวกับภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำได้หรือไม่ว่า ถ้อยคำเช่นนี้เราได้เคยกล่าวในกาลก่อนแต่นี้’
ภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวว่า ‘ถ้อยคำเช่นนี้ไม่เคยได้ฟังมาก่อน พระพุทธเจ้าข้า’
เราจึงกล่าวว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ
เธอทั้งหลายจงเงี่ยโสตสดับ เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว จะแสดงธรรม
เธอทั้งหลายเมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันนี้แน่แท้’
เราสามารถทำให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ยินยอมได้แล้ว เรากล่าวสอนภิกษุ ๒ รูป
ภิกษุ ๓ รูปก็เที่ยวบิณฑบาต เราทั้ง ๖ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุ ๓ รูปนำมา
เรากล่าวสอนภิกษุ ๓ รูป ภิกษุ ๒ รูปก็เที่ยวบิณฑบาต เราทั้ง ๖ ฉันบิณฑบาต
ที่ภิกษุ ๒ รูปนำมา๑
ต่อมา ภิกษุปัญจวัคคีย์ที่เราสั่งสอนและพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ เป็นผู้มีความเกิด
เป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาด้วยตนแล้ว จึงแสวงหา
นิพพานที่ไม่มีความเกิด อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ได้บรรลุนิพพาน
ที่ไม่มีความเกิด อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมแล้ว
เป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา
ด้วยตนแล้ว จึงแสวงหานิพพานที่ไม่มีความแก่ อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอด
เยี่ยม ได้บรรลุนิพพานที่ไม่มีความแก่ อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมแล้ว
เป็นผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา ฯลฯ
เป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ
เป็นผู้มีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๒๗-๓๔๒/๓๙๕-๔๑๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
เป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ทราบชัดถึงโทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมอง
เป็นธรรมดาด้วยตนแล้ว จึงแสวงหานิพพานที่ไม่มีความเศร้าหมอง อันเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ได้บรรลุนิพพานที่ไม่มีความเศร้าหมอง อันเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมแล้ว
อนึ่ง ภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้นได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นมาว่า ‘วิมุตติของพวกเรา
ไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป’
[๒๘๗] ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณมี ๕ ประการนี้
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งใฝ่ฝัน ลุ่มหลง ติดพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มี
ปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคกามคุณ ๕ ประการนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ‘สมณ-
พราหมณ์พวกนั้นเป็นผู้ถึงความเสื่อม ความพินาศ ถูกมารใจบาปทำอะไร ๆ ได้
ตามใจชอบ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร

เปรียบเทียบนักบวชกับฝูงเนื้อ
ภิกษุทั้งหลาย เนื้อป่าที่ติดบ่วง นอนทับบ่วง พึงทราบว่า ‘เป็นสัตว์ที่ถึง
ความเสื่อม ความพินาศ ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบ’ เมื่อนาย
พรานเนื้อเดินเข้ามา ก็หนีไปไม่ได้ตามปรารถนา แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์
พวกใดพวกหนึ่งก็ฉันนั้นเหมือนกัน ใฝ่ฝัน ลุ่มหลง ติดพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มี
ปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ ประการนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า
‘สมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นผู้ถึงความเสื่อม ความพินาศ ถูกมารใจบาปทำอะไร ๆ
ได้ตามใจชอบ’ แต่สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งไม่ใฝ่ฝัน ไม่ลุ่มหลง ไม่
ติดพัน เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ ประการนี้
บัณฑิตพึงทราบว่า ‘สมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นผู้ไม่ถึงความเสื่อม ความพินาศ
ไม่ถูกมารใจบาปทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบ’
เนื้อป่าที่ไม่ติดบ่วง นอนทับบ่วง พึงทราบว่า ‘เป็นสัตว์ไม่ถึงความเสื่อม
ไม่ถึงความพินาศ ไม่ถูกนายพรานเนื้อทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบ’ เมื่อนายพราน
เนื้อเดินเข้ามา ก็หนีไปได้ตามปรารถนา แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์พวกใด
พวกหนึ่งก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ใฝ่ฝัน ไม่ลุ่มหลง ไม่ติดพัน เห็นโทษ มีปัญญา
เครื่องสลัดออก๑ ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ ประการนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ‘สมณ-
พราหมณ์พวกนั้นเป็นผู้ไม่ถึงความเสื่อม ไม่ถึงความพินาศ ไม่ถูกมารใจบาป
ทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบ’
อนึ่ง เนื้อป่าเมื่อเที่ยวไปตามป่าใหญ่ ย่อมวางใจเดิน ยืน นั่ง นอน ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะไม่ได้พบกับนายพรานเนื้อ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและ
สุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ผู้ทำให้มารตาบอด คือทำลายดวงตาของ
มารอย่างไม่มีร่องรอย ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ในที่นี้หมายถึงปัจจเวกขณญาณ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๗/๑๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๖. ปาสราสิสูตร
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป
ก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ผู้ทำให้มารตาบอด คือ ทำลายดวงตาของมารอย่างไม่มีร่องรอย
ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ผู้ทำให้มารตาบอด คือ ทำลายดวงตาของมาร
อย่างไม่มีร่องรอย ถึงการที่มารใจบาปมองไม่เห็น’
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ
บรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็เพราะเห็นด้วยปัญญา เธอ
ย่อมมีอาสวะสิ้นไป เราเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
บาปมองไม่เห็นเพราะทำลายดวงตาของมารอย่างไม่มีร่องรอย’ เป็นผู้ข้ามพ้น
ตัณหาอันข้องอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกได้ ย่อมวางใจ เดิน ยืน นั่ง นอน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่ได้ดำเนินอยู่ในทางของมารใจบาป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ปาสราสิสูตรที่ ๖ จบ

๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
[๒๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิออกจาก
กรุงสาวัตถีด้วยรถคันใหญ่ที่เทียมด้วยลาซึ่งมีเครื่องประดับทุกอย่างล้วนเป็นสีขาว
ในเวลาเที่ยงวัน ชาณุสโสณิพราหมณ์ได้เห็นปริพาชกชื่อปิโลติกะเดินมาแต่ไกล
ครั้นเห็นแล้วได้กล่าวกับปิโลติกปริพาชกอย่างนี้ว่า “นี่แน่ะ ท่านวัจฉายนะผู้เจริญ
มาจากไหนแต่ยังวัน๑”
ปิโลติกปริพาชกตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาจากสำนักของพระสมณ-
โคดมนั่นแล”
“ท่านวัจฉายนะ เห็นจะเข้าใจความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมว่า
พระองค์เป็นบัณฑิต หรืออย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าเป็นใครเล่าจึงจักรู้ความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของ
พระสมณโคดมได้ แม้ผู้ที่จะรู้ความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมได้ ก็
พึงเป็นเช่นพระสมณโคดมโดยแน่แท้”

เชิงอรรถ :
๑ แต่ยังวัน ในที่นี้หมายถึงเวลาช่วงเช้า (ม.มู.อ. ๒/๒๘๘/๑๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
“ท่านวัจฉายนะสรรเสริญพระสมณโคดมด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง”
“ข้าพเจ้าจักไม่สรรเสริญพระสมณโคดมอย่างไรเล่า เพราะพระสมณโคดมผู้เจริญ
นั้น ใคร ๆ ก็สรรเสริญเยินยอแล้วทีเดียวว่า ‘เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย”
“ท่านวัจฉายนะเห็นอำนาจประโยชน์อะไรเล่า จึงเลื่อมใสอย่างยิ่งในพระสมณ-
โคดมถึงเพียงนี้”
ปิโลติกปริพาชกตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เหตุไฉนข้าพเจ้าจึงเป็นผู้เลื่อมใสอย่าง
ยิ่งในพระสมณโคดมถึงอย่างนี้ พรานช้างผู้ฉลาดจะพึงเข้าไปในป่าเป็นที่อยู่ของช้าง
และเห็นรอยเท้าช้างขนาดใหญ่ทั้งยาวและกว้าง ในป่าเป็นที่อยู่ของช้างนั้น เขา
ตัดสินใจได้ว่า ‘ช้างตัวนี้ใหญ่จริงหนอ’ แม้ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ
ได้เห็นรอย ๔ รอย ในพระสมณโคดมแล้ว ก็ตัดสินใจได้ว่า ‘พระผู้มีพระภาค
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
รอยของพระตถาคต
[๒๘๙] รอย ๔ รอย อะไรบ้าง คือ
๑. ข้าพเจ้าเห็นขัตติยบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ เป็นผู้ละเอียดอ่อน
โต้ตอบวาทะของผู้อื่นได้ประหนึ่งยิงขนเนื้อทราย ขัตติยบัณฑิต
เหล่านั้นดูเหมือนว่าเที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย(ของผู้อื่น)ด้วยปัญญา
(ของตน) พอได้สดับมาว่า ‘พระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปยังหมู่
บ้าน หรือนิคมชื่อโน้น’ ก็พากันคิดผูกปัญหาด้วยตั้งใจว่า ‘พวกเรา
จักเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้ หากพระสมณโคดมนั้น
ถูกพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักตอบอย่างนี้ พวกเราจักยกวาทะ๑
อย่างนี้ขึ้นแก่พระองค์ แม้หากพระสมณโคดมนั้นถูกพวกเราถาม

เชิงอรรถ :
๑ วาทะ ในที่นี้หมายถึงการกล่าวโทษ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๙/๑๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
แล้วอย่างนี้ จักตอบอย่างนี้ พวกเราก็จักยกวาทะอย่างนี้ขึ้นถาม
พระองค์’ ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้นได้สดับว่า ‘พระสมณโคดมเสด็จเที่ยว
ไปยังหมู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้นแล้ว’ ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระสมณ-
โคดมถึงที่ประทับ พระสมณโคดมก็ทรงชี้แจงให้ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้น
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้น
ผู้อันพระสมณโคดมทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้ว ก็ไม่ถามปัญหากับท่านพระสมณโคดมอีกเลย
แล้วจักยกวาทะขึ้นแก่พระสมณโคดมนั้นได้อย่างไรเล่า ที่แท้ย่อมพากัน
ยอมเป็นสาวก๑ของพระสมณโคดมนั่นแล
เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นรอยที่ ๑ นี้ในพระสมณโคดมแล้ว ข้าพเจ้าก็ตัดสินใจได้ว่า
‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
๒. ข้าพเจ้าเห็นพราหมณบัณฑิตบางพวก ฯลฯ
๓. ข้าพเจ้าเห็นคหบดีบัณฑิตบางพวก ฯลฯ
๔. ข้าพเจ้าเห็นสมณบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ เป็นผู้ละเอียดอ่อน
โต้ตอบวาทะของผู้อื่นได้ประหนึ่งว่ายิงขนเนื้อทราย สมณบัณฑิต
เหล่านั้นดูเหมือนว่าเที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย(ของผู้อื่น)ด้วยปัญญา
(ของตน) พอได้สดับว่า ‘พระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปยังหมู่บ้าน
หรือนิคมชื่อโน้น’ ก็พากันคิดผูกปัญหาด้วยตั้งใจว่า ‘พวกเราจัก
เข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้ หากพระสมณโคดมนั้น
ถูกพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักตอบอย่างนี้ พวกเราจักยกวาทะ
อย่างนี้ขึ้นแก่พระองค์ แม้หากพระสมณโคดมนั้นถูกพวกเราถามแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ เป็นสาวก ในที่นี้หมายถึงเป็นสาวกด้วยการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๙/๑๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
อย่างนี้ จักตอบอย่างนี้ พวกเราก็จักยกวาทะอย่างนี้ขึ้นแก่พระองค์’
สมณบัณฑิตเหล่านั้นได้สดับว่า ‘พระสมณโคดมเสด็จเที่ยวไปยัง
หมู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้นแล้ว’ ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม
ถึงที่ประทับ พระสมณโคดมก็ทรงชี้แจงให้สมณบัณฑิตเหล่านั้นเห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา สมณบัณฑิตเหล่านั้นผู้อัน
พระสมณโคดมทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้ว ก็ไม่ถามปัญหากับท่านพระสมณโคดมอีกเลย แล้ว
จักยกวาทะขึ้นแก่พระสมณโคดมนั้นได้อย่างไรเล่า ที่แท้ย่อมพากัน
ทูลขอโอกาสกับพระสมณโคดมนั้น เพื่อออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต พระสมณโคดมก็ทรงประทานบรรพชาแก่สมณบัณฑิต
เหล่านั้น สมณบัณฑิตเหล่านั้นผู้ได้รับบรรพชาจากพระสมณโคดม
ในอนาคาริยวินัยนั้นแล้ว หลีกออก(จากหมู่) ไม่ประมาท มีความ
เพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน สมณบัณฑิตเหล่านั้นจึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่สูญเสียเลยแม้แต่น้อย เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่
สูญเสียเลยแม้แต่น้อย เพราะว่าในกาลก่อน เราทั้งหลาย ทั้งที่ไม่
เป็นสมณะเลยก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพราหมณ์เลยก็
ปฏิญญาว่าเป็นพราหมณ์ ไม่เป็นพระอรหันต์เลยก็ปฏิญญาว่าเป็น
พระอรหันต์ บัดนี้ พวกเราเป็นสมณะแล้ว บัดนี้ พวกเราเป็น
พราหมณ์แล้ว บัดนี้ พวกเราเป็นพระอรหันต์แล้ว’
เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นรอยที่ ๔ นี้ในพระสมณโคดมแล้ว ข้าพเจ้าก็ตัดสินใจได้
ว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นธรรมที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
ท่านผู้เจริญ เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นรอยทั้ง ๔ เหล่านี้ในพระสมณโคดมแล้ว
ข้าพเจ้าก็ตัดสินใจได้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระ
ธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๒๙๐] เมื่อปิโลติกปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ชาณุสโสณิพราหมณ์ทำผ้าห่ม
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วเปล่งวาจา ๓
ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทำอย่างไรหนอ เราจะได้พบพระสมณโคดมนั้นสักครั้งหนึ่ง ทำอย่างไรจึงจะ
ได้สนทนาปราศรัย(กับพระสมณโคดม)บ้าง”
ครั้งนั้น ชาณุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลเล่าเรื่องที่สนทนากับปิโลติกปริพาชกตามที่กล่าวมาแล้วทั้งปวงแด่พระผู้มี
พระภาค
เมื่อชาณุสโสณิพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
ชาณุสโสณิพราหมณ์ว่า
“พราหมณ์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อความเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้างยังมิได้
บริบูรณ์โดยพิสดาร ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวข้อความเปรียบเทียบ
ด้วยรอยเท้าช้างที่บริบูรณ์โดยพิสดาร”
ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร

เกียรติคุณของพระตถาคตเปรียบกับรอยเท้าช้าง
[๒๙๑] “พราหมณ์ อุปมาเหมือนพรานช้างจะพึงเข้าไปสู่ป่าเป็นที่อยู่ของช้าง
และเห็นรอยเท้าช้างขนาดใหญ่ทั้งยาวและกว้างในป่าเป็นที่อยู่ของช้างนั้น พรานช้าง
ผู้ฉลาดย่อมไม่ด่วนตัดสินใจว่า ‘ช้างตัวนี้ใหญ่จริงหนอ’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังมีช้างพังทั้งหลายชื่อว่าวามนิกา(พังค่อม)ที่มีรอยเท้าใหญ่ ในป่าเป็นที่อยู่
ของช้าง รอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังเหล่านั้น
พรานช้างนั้นตามรอยเท้าช้างนั้นไป เมื่อตามรอยเท้าช้างนั้นไปก็เห็นรอยเท้า
ช้างขนาดใหญ่ทั้งยาวและกว้าง และที่ที่ถูกเสียดสีในที่สูงในป่าเป็นที่อยู่ของช้าง
พรานช้างผู้ฉลาดก็ยังไม่ด่วนตัดสินใจว่า ‘ช้างตัวนี้ใหญ่จริงหนอ’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังมีช้างพังทั้งหลายชื่อว่าอุจจากาฬาริกา(พังโย่งมีขนายดำแดง) ที่มีรอยเท้าใหญ่
ในป่าเป็นที่อยู่ของช้าง รอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังเหล่านั้น
พรานช้างนั้นตามรอยเท้าช้างนั้นไป เมื่อตามรอยเท้าช้างนั้นไปก็เห็นรอยเท้า
ช้างขนาดใหญ่ทั้งยาวและกว้าง ที่ที่ถูกเสียดสีในที่สูง และที่ที่งาแซะขาดในที่สูงใน
ป่าเป็นที่อยู่ของช้าง พรานช้างผู้ฉลาดก็ยังไม่ด่วนตัดสินใจว่า ‘ช้างตัวนี้ใหญ่จริงหนอ’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะช้างพังทั้งหลายชื่อว่าอุจจากเณรุกา(พังโย่งมีขนายตูม) ที่มี
รอยเท้าใหญ่ ในป่าเป็นที่อยู่ของช้าง รอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังเหล่านั้น
พรานช้างนั้นตามรอยเท้าช้างนั้นไป เมื่อตามรอยเท้านั้นไปก็เห็นรอยเท้าช้าง
ขนาดใหญ่ทั้งยาวและกว้าง ที่ที่ถูกเสียดสีในที่สูง ที่ที่งาแซะขาดในที่สูง และกิ่งไม้
หักในที่สูง และเห็นช้างนั้นที่โคนต้นไม้ ที่กลางแจ้ง เดินอยู่ ยืนอยู่ หมอบ หรือ
นอนอยู่ เขาจึงตัดสินใจว่า ‘ช้างตัวนี้เองเป็นช้างใหญ่ตัวนั้น’ แม้ฉันใด ข้ออุปไมยนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึก
ได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตนั้นรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยตนเองแล้วจึงประกาศ
ให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี บุตรคหบดี หรืออนุชน(คนผู้เกิดภายหลัง)ในตระกูลใด
ตระกูลหนึ่งย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นได้ฟังธรรมนั้นแล้วเกิดศรัทธาในตถาคต เมื่อมี
ศรัทธาย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เป็นทางแห่งธุลี การ
บวชเป็นทางปลอดโปร่ง การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ขัด มิใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด’ ต่อมา เขาละทิ้งกอง
โภคสมบัติน้อยใหญ่และเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาว-
พัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
สิกขาและสาชีพของภิกษุ
[๒๙๒] เขาเมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ๑
เสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย คือ
๑. ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของ
ที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
๓. ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์
เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๒อันเป็นกิจของชาวบ้าน
๔. ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์
มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
๕. ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไป
บอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มา
บอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคน

เชิงอรรถ :
๑ สิกขา หมายถึงไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา แต่ในที่นี้หมายเอาอธิสีลสิกขา
สาชีพ หมายถึงสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ร่วมกัน ผู้ดำเนินชีวิตร่วมกัน มี
ความประพฤติเสมอกัน (ม.มู.อ. ๒/๒๙๒/๑๑๓) และดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๕/๓๓, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๙๙/๒๓๕
๒ เมถุนธรรม หมายถึงการร่วมประเวณี การร่วมสังวาส กล่าวคือการเสพอสัทธรรมอันเป็นประเวณีของ
ชาวบ้านมีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจที่จะต้องทำในที่ลับ เป็นการกระทำของคนที่เป็นคู่ ๆ (วิ.มหา. ๑/๕๕/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
ที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่
ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
๖. ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
๗. ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง
พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน
มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์เหมาะแก่เวลา
[๒๙๓] ๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม๑และภูตคาม๒
๙. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลา
วิกาล๓
๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการ
ละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล
๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้
ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว
๑๒. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๔
๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี

เชิงอรรถ :
๑ พืชคาม หมายถึงพืชพันธุ์จำพวกที่ถูกพรากจากที่แล้ว ยังสามารถงอกขึ้นได้อีก (ม.มู.อ. ๒/๒๙๓/๑๑๖,
ที.สี.อ. ๑/๑๑/๗๘)
๒ ภูตคาม หมายถึงของเขียว หรือพืชพันธุ์อันเกิดอยู่กับที่มี ๕ ชนิด คือ ที่เกิดจากเหง้า เช่นกระชาย,
เกิดจากต้น เช่น โพ, เกิดจากตา เช่น อ้อย, เกิดจากยอด เช่น ผักชี, เกิดจากเมล็ด เช่น ข้าว (ม.มู.อ.
๒/๒๙๓/๑๑๖, ที.สี.อ. ๑/๑๑/๗๘)
๓ ฉันในเวลาวิกาล คือ เวลาที่ห้ามไว้เฉพาะแต่ละเรื่อง เวลาวิกาลในที่นี้หมายถึงผิดเวลาที่กำหนดไว้
คือตั้งแต่หลังเที่ยงวันจนถึงเวลาอรุณขึ้น (ม.มู.อ. ๒/๒๙๓/๑๑๖, ที.สี.อ. ๑/๑๐/๗๕)
๔ ธัญญาหารดิบ ในที่นี้หมายถึงธัญชาติ ๗ ชนิด คือ (๑) ข้าวสาลี (๒) ข้าวเปลือก (๓) ข้าวเหนียว
(๔) ข้าวละมาน (๕) ข้าวฟ่าง (๖) ลูกเดือย (๗) หญ้ากับแก้ (ม.มู.อ. ๒/๒๙๓/๑๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๒๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น