Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๖-๖ หน้า ๒๘๕ - ๓๔๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖-๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๕. อจิรปักกันตสูตร

๕. อจิรปักกันตสูตร
ว่าด้วยการหลีกไปไม่นาน
[๑๘๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ เมื่อพระเทวทัตหลีกไปไม่นาน ณ ที่นั้น พระผู้พระภาคทรงปรารภพระเทวทัต
ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
เพื่อความเสื่อม
ต้นกล้วยเผล็ดผลเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและ
ความสรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้น
ต้นไผ่ออกขุยเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและความ
สรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้น
ต้นอ้อออกดอกเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและความ
สรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้น
แม่ม้าอัสดรตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและ
ความสรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่
ดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่ม้า ฉันใด
สักการะย่อมฆ่าคนชั่ว ฉันนั้น”๑
อจิรปักกันตสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๖. ปัญจรถสูตร

๖. ปัญจรถสตสูตร
ว่าด้วยราชรถ ๕๐๐
[๑๘๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อชาตศัตรูราชกุมารเสด็จโดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุง
พระเทวทัตทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และรับสั่งให้นำภัตตาหารที่สมควรไปพระราชทาน
๕๐๐ สำรับ ครั้งนั้น ภิกษุเป็นจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อชาตศัตรูราชกุมารเสด็จโดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุง
พระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และรับสั่งให้นำภัตตาหารที่สมควรไปพระราชทาน
๕๐๐ สำรับ”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ายินดีลาภสักการะและความสรรเสริญของ
เทวทัตเลย แม้อชาตศัตรูราชกุมารจักเสด็จโดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุงเทวทัต
ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และจักรับสั่งให้นำภัตตาหารที่สมควรไปพระราชทาน ๕๐๐ สำรับ
เพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเพียงนั้น หวังความเจริญ
ไม่ได้
เปรียบเหมือนสุนัขดุที่เขาขยี้ดี (ดีหมีดีปลา) ใส่ในจมูก เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็ยิ่ง
ดุร้ายกว่าเดิมหลายเท่า อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น อชาตศัตรูราชกุมารจักเสด็จ
โดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุงเทวทัตทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และจักรับสั่งให้นำภัตตาหาร
ที่สมควรไปพระราชทาน ๕๐๐ สำรับ เพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรม
ทั้งหลายเพียงนั้น หวังความเจริญไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
ปัญจรถสตสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๘-๑๓. ปิตุสุตตาทิฉักกะ

๗. มาตุสูตร
ว่าด้วยมารดา
[๑๘๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุแห่งมารดา
ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ’ ต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญ
ครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เพราะเหตุ
นั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและความ
สรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จักไม่ครอบงำจิต
ของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
มาตุสูตรที่ ๗ จบ

๘-๑๓. ปิตุสุตตาทิฉักกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๖ สูตรมีปิตุสูตรเป็นต้น
[๑๘๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุแห่ง
บิดา’ ฯลฯ
สูตรที่ ๘ จบ
๙. “แม้เพราะเหตุแห่งพี่ชายน้องชาย” ...
สูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. “แม้เพราะเหตุแห่งพี่สาวน้องสาว” ...
สูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. “แม้เพราะเหตุแห่งบุตร” ...
สูตรที่ ๑๑ จบ
๑๒. “แม้เพราะเหตุแห่งธิดา” ...
สูตรที่ ๑๒ จบ
๑๓. “เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะ
เหตุแห่งปชาบดี ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ’ ต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภสักการะและ
ความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและ
ความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
ปชาปติสูตรที่ ๑๓ จบ
จตุตถวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภินทิสูตร ๒. กุสลมูลสูตร
๓. กุสลธัมมสูตร ๔. สุกกธัมมสูตร
๕. อจิรปักกันตสูตร ๖. ปัญจรถสตสูตร
๗. มาตุสูต ๘. ปิตุสูตร
๙. ภาตุสูตร ๑๐. ภคินิสูตร
๑๑. ปุตตสูต ๑๒. ธีตุสูตร
๑๓. ปชาปติสูตร

ลาภสักการสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗.ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. จักขุสูตร

๗. ราหุลสังยุต

๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักษุ
[๑๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุ(ตา) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ(หู)เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“ฆานะ(จมูก)เที่ยงหรือไม่เที่ยง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗.ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. จักขุสูตร
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“ชิวหา(ลิ้น)เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“มโน(ใจ)เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น เพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
[พึงย่อพระสูตรทั้ง ๑๐ เช่นนี้]
จักขุสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๓. วิญญาณสูตร

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป
[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเสียง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่ายย่อม
คลายกำหนัด ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...
รูปสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ
[๑๙๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์
ทางตา) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู) ... ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทาง
จมูก) ... ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น) ... กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์
ทางกาย) ... มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. สัมผัสสสูตร
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานวิญญาณ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...
วิญญาณสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส
[๑๙๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตสัมผัส ... ฆานสัมผัส ... ชิวหาสัมผัส ... กายสัมผัส ... มโนสัมผัส
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานสัมผัส ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...
สัมผัสสสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๖. สัญญาสูตร

๕. เวทนาสูตร
ว่าด้วยเวทนา
[๑๙๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิด
แต่จักขุสัมผัส) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส) ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา
(เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส) ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส) ...
กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส) ... มโนสัมผัสสชาเวทนา
(เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัสสชา-
เวทนา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตสัมผัสสชาเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ... ย่อมเบื่อ
หน่ายแม้ในกายสัมผัสสชาเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัสสชาเวทนา
ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...
เวทนาสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา
[๑๙๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) เที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง) ... คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น) ...
รสสัญญา (ความหมายรู้รส) ... โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้โผฏฐัพพะ) ...
ธัมมสัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗.สัญเจตนาสูตร
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปสัญญา ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรสสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
ธัมมสัญญา ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...
สัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัญเจตนาสูตร
ว่าด้วยสัญเจตนา
[๑๙๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) เที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ... คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ...
รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ... โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ...
ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปสัญเจตนา
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททสัญเจตนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธสัญเจตนา ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสสัญเจตนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธัมมสัญเจตนา ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...
สัญเจตนาสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๙. ธาตุสูตร

๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา
[๑๙๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปตัณหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สัททตัณหา ... คันธตัณหา ... รสตัณหา ... โผฏฐัพพตัณหา ... ธัมมตัณหา
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปตัณหา
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททตัณหา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธตัณหา ... ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในรสตัณหา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพตัณหา ... ย่อมเบื่อ
หน่ายแม้ในธัมมตัณหา ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...
ตัณหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ
[๑๙๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ปฐวีธาตุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“อาโปธาตุ ... เตโชธาตุ ... วาโยธาตุ ... อากาสธาตุ ... วิญญาณธาตุ เที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในปฐวีธาตุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในอาโปธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเตโชธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในวาโยธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในอากาสธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ-
ธาตุ ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...
ธาตุสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค  ๑๐. ขันธสูตร

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์
[๑๙๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“เวทนา ... สัญญา ... สังขารทั้งหลาย ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ฯลฯ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
สังขารทั้งหลาย ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสูตร
๕. เวทนาสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. สัญเจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๑. จักขุสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักษุ
[๑๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระราหุลได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่าน
พระราหุลดังนี้ว่า
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ ฯลฯ ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒-๑๐.รูปาทิสุตตนวกะ
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา
... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
[พึงย่อพระสูตรทั้ง ๑๐ เช่นนี้]

จักขุสูตรที่ ๑ จบ

๒-๑๐. รูปาทิสุตตนวกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๙ สูตรมีรูปสูตรเป็นต้น
[๑๙๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์” ...
สูตรที่ ๒ จบ
“จักขุวิญญาณ ฯลฯ โสตวิญญาณ ... ฆานวิญญาณ ... ชิวหาวิญญาณ ...
กายวิญญาณ ... มโนวิญญาณ” ...
สูตรที่ ๓ จบ
“จักขุสัมผัส ฯลฯ โสตสัมผัส... ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส...
มโนสัมผัส” ...
สูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒-๑๐.รูปาทิสุตตนวกะ
“จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ โสตสัมผัสสชาเวทนา ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา ...
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ... กายสัมผัสสชาเวทนา... มโนสัมผัสสชาเวทนา” ...
สูตรที่ ๕ จบ
“รูปสัญญา ฯลฯ สัททสัญญา... คันธสัญญา... รสสัญญา... โผฏฐัพพสัญญา ...
ธัมมสัญญา” ...
สูตรที่ ๖ จบ
“รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ฯลฯ สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ...
คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ... รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ... โผฏฐัพพ-
สัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ... ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์) ” ...
สูตรที่ ๗ จบ
“รูปตัณหา ฯลฯ สัททตัณหา... คันธตัณหา... รสตัณหา... โผฏฐัพพตัณหา...
ธัมมตัณหา” ...
สูตรที่ ๘ จบ
“ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ... เตโชธาตุ ... วาโยธาตุ ... อากาสธาตุ ...
วิญญาณธาตุ” ...
สูตรที่ ๙ จบ
“ราหุล รูป ฯลฯ เวทนา ... สัญญา ... สังขารทั้งหลาย ... วิญญาณเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ รู้ชัดว่า ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๑. อนุสยสูตร

๑๑. อนุสยสูตร
ว่าด้วยอนุสัย
[๒๐๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างไร อหังการ๑ มมังการ๒ และ
มานานุสัย๓ จึงไม่มีในกายที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก”
“ราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน
หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้ รูป
ทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน
หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้ วิญญาณ
ทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๒. อปคตสูตร
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
ราหุล เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้ อหังการ มมังการและมานานุสัย จึงไม่มีในกาย
ที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก”
อนุสยสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. อปคตสูตร
ว่าด้วยปราศจากอหังการ มมังการและมานะ
[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างไร ใจจึงปราศจากอหังการ มมังการ
และมานะ ในกายที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงส่วนแห่ง
มานะ สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”
“ราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน
หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้ รูป
ทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไป
ภายใน หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้
วิญญาณทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่
ยึดมั่นถือมั่น
ราหุล เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้ ใจจึงปราศจากอหังการ มมังการ และมานะ
ในกายที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงส่วนแห่งมานะ
สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”
อปคตสูตรที่ ๑๒ จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสสูตร
๕. เวทนาสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. สัญเจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร
๑๑. อนุสยสูตร ๑๒. อปคตสูตร

ราหุลสังยุต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. อัฏฐิสูตร

๘. ลักขณสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

๑. อัฏฐิสูตร
ว่าด้วยเปรตมีแต่โครงกระดูก๑
[๒๐๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่บน
ภูเขาคิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปหาท่านพระลักขณะถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า ‘ท่านพระลักขณะมาเถิด พวกเราจะ
เข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ด้วยกัน’ ท่านพระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏถึงสถานที่แห่งหนึ่ง
ได้แสดงอาการแย้ม
ลำดับนั้น ท่านพระลักขณะถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ‘ท่านโมคคัลลานะ
อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม’
“ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลาตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคจึงถาม
ปัญหานี้เถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะและท่านพระมหาโมคคัลลานะ เที่ยวบิณฑบาตใน
กรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วท่านพระลักขณะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๒. เปสิสูตร
ได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจาก
ภูเขาคิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรต (เปรต
มีแต่โครงกระดูก) ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเนื้อที่ติดอยู่ตามระหว่างซี่โครงสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผม
มีความรู้สึกว่า ‘อัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีการ
ได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุมีญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็ได้เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรตนั้น แต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์๑นั้น จะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูล ซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่าโคในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น
จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพ
เช่นนี้ เพราะเศษกรรมนั้นที่ยังเหลือ”
[พระสูตรทุกสูตรที่ละไว้มีความเต็มเหมือนสูตรนี้]

อัฏฐิสูตรที่ ๑ จบ

๒. เปสิสูตร
ว่าด้วยเปรตมีแต่ร่างชิ้นเนื้อ๒
[๒๐๓] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นมังสเปสิเปรต(เปรต
มีแต่ร่างชิ้นเนื้อ)ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่าโคในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ
เปสิสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. อสิโลมสูตร

๓. ปิณฑสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างก้อนเนื้อ๑
[๒๐๔] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นมังสปิณฑเปรต
(เปรต ร่างก้อนเนื้อ) ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่านกในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ
ปิณฑสูตรที่ ๓ จบ

๔. นิจฉวิสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างไม่มีผิวหนังเพศชาย๒
[๒๐๕] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นนิจฉวิเปรต(เปรตร่าง
ไม่มีผิวหนัง)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่
ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่าแกะในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ
นิจฉวิสูตรที่ ๔ จบ

๕. อสิโลมสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างมีขนเป็นดาบเพศชาย๓
[๒๐๖] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอสิโลมเปรต(เปรตร่าง
มีขนเป็นดาบ)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ (ขน)ดาบเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไป
แล้วกลับตกลงที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่าหมูในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ
อสิโลมสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๘. สูจิโลมสูตร

๖. สัตติสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างมีขนเป็นหอกเพศชาย๑
[๒๐๗] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสัตติโลมเปรต(เปรตมี
ขนเป็นหอก)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ (ขน)หอกเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้น
ไปแล้วกลับตกลงมาที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นพรานล่าเนื้อในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ
สัตติสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุสุโลมสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างมีขนเป็นลูกศรเพศชาย๒
[๒๐๘] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอุสุโลมเปรต(เปรตร่าง
มีขนเป็นลูกศร)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ (ขน)ลูกศรเหล่านั้นของมันหลุดลอย
ขึ้นไปแล้วกลับตกลงมาที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นเพชฌฆาตในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ
อุสุโลมสูตรที่ ๗ จบ

๘. สูจิโลมสูตร
ว่าด้วยเปรตมีร่างถูกเข็มทิ่มแทงเพศชาย๓
[๒๐๙] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสูจิโลมเปรต(เปรตร่าง
มีขนเป็นเข็ม)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ (ขน)เข็มเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้น
ไปแล้วกลับตกลงมาที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นนายสารถีในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ
สูจิโลมสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. กุมภัณฑสูตร

๙. ทุติยสูจิโลมสูตร
ว่าด้วยเปรตมีร่างถูกเข็มทิ่มแทงเพศชาย สูตรที่ ๒ (๑)
[๒๑๐] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสูจิเปรต(เปรตร่างถูก
เข็มทิ่มแทง)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ เข็มเหล่านั้นแทงเข้าไปในศีรษะของมันทะลุ
ออกทางปาก แทงเข้าไปในปากทะลุออกทางอก แทงเข้าไปในอกทะลุออกทางท้อง
แทงเข้าไปในท้องทะลุออกทางขาอ่อนทั้ง ๒ แทงเข้าไปในขาอ่อนทะลุออกทางแข้ง
ทั้ง ๒ แทงเข้าไปในแข้งทะลุออกทางเท้าทั้ง ๒ จนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนพูดส่อเสียดในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ
ทุติยสูจิโลมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. กุมภัณฑสูตร
ว่าด้วยเปรตมีอัณฑะโตเท่าหม้อ๒
[๒๑๑] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นกุมภัณฑเปรต(เปรต
อัณฑะโตเท่าหม้อ)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ เมื่อเปรตนั้นเดินไปก็ยกอัณฑะ
เหล่านั้นขึ้นพาดไว้บนบ่า เมื่อนั่งก็นั่งทับอัณฑะเหล่านั้น ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยว
พากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นผู้พิพากษาโกงชาวบ้านในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ
กุมภัณฑสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัฏฐิสูตร ๒. เปสิสูตร
๓. ปิณฑสูตร ๔. นิจฉวิสูตร
๕. อสิโลมสูตร ๖. สัตติสูตร
๗. อุสุโลมสูตร ๘. สูจิโลมสูตร
๙. ทุติยสูจิโลมสูตร ๑๐. กุมภัณฑสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. คูถขาทสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. สสีสกสูตร
ว่าด้วยเปรตจมหลุมคูถท่วมศีรษะเพศชาย๑
[๒๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นเปรตจมหลุมคูถ
จนท่วมศีรษะเพศชาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่นในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ
สสีสกสูตรที่ ๑ จบ

๒. คูถขาทสูตร
ว่าด้วยเปรตกินคูถเพศชาย๒
[๒๑๓] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นเปรตผู้จมหลุมคูถ
ท่วมศีรษะ กำลังใช้มือทั้ง ๒ กอบคูถกินเพศชาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นพราหมณ์ในกรุงราชคฤห์ พราหมณ์นั้นนิมนต์
พระภิกษุสงฆ์ในพระศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ฉันภัตตาหารแล้ว เทคูถ
ลงใส่รางจนเต็ม สั่งให้คนบอกเวลาอาหารว่า ‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงฉันอาหาร
และนำไปให้พอแก่ความต้องการเถิด” ฯลฯ
คูถขาทสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. มังคุลิตถีสูตร

๓. นิจฉวิตถีสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างไม่มีผิวหนังเพศหญิง๑
[๒๑๔] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นนิจฉวิเปรตเพศหญิง
ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่ง
เปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตนนั้นเคยประพฤตินอกใจสามีในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ
นิจฉวิตถีสูตรที่ ๓ จบ

๔. มังคุลิตถีสูตร
ว่าด้วยเปรตรูปร่างน่าเกลียดเพศหญิง๒
[๒๑๕] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นมังคุลิเปรตกลิ่นเหม็น
เพศหญิงลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้ง
ยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตนนั้นเคยเป็นแม่มดในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ
มังคุลิตถีสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. ปาปภิกขุสูตร

๕. โอกิลินีสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างถูกไฟลวกเพศหญิง๑
[๒๑๖] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นโอกิลินีเปรตเพศหญิง
ถูกถ่านเพลิงเผารอบตัวจนสุกเยิ้ม หยาดน้ำไหลหยดลง ลอยขึ้นสู่กลางอากาศจน
มันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตนนั้นเคยเป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้ากาลิงคะ นางขี้หึง
เอากระทะมีถ่านไฟคลอกหญิงร่วมสามี” ฯลฯ
โอกิลินีสูตรที่ ๕ จบ

๖. อสีสกสูตร
ว่าด้วยเปรตศีรษะขาด๒
[๒๑๗] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอสีสกพันธเปรตลอย
ขึ้นสู่กลางอากาศ ตาและปากของมันอยู่ที่อก ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่
ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นเพชฌฆาตฆ่าโจรชื่อหาริกะในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ
อสีสกสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปาปภิกขุสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นภิกษุชั่ว๓
[๒๑๘] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นภิกษุเปรตลอยขึ้นสู่
กลางอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชนจนมัน
ร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นภิกษุชั่วในพระศาสนาของพระกัสสปสัมมา-
สัมพุทธเจ้า” ฯลฯ
ปาปภิกขุสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. ปาปสามเณรสูตร

๘. ปาปภิกขุนีสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นภิกษุณีชั่ว๑
[๒๑๙] “ได้เห็นภิกษุณีเปรตลอยขึ้นสู่กลางอากาศ สังฆาฏิของมันถูกไฟติด
ลุกโชน” ฯลฯ
ปาปภิกขุนีสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปาปสิกขมานาสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นสิกขมานาชั่ว๒
[๒๒๐] “ได้เห็นสิกขมานาเปรตลอยขึ้นสู่กลางอากาศ สังฆาฏิของมันถูกไฟติด
ลุกโชน จนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นสิกขมานาชั่ว” ฯลฯ
ปาปสิกขมานาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปาปสามเณรสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นสามเณรชั่ว๓
[๒๒๑] “ได้เห็นสามเณรเปรตลอยขึ้นสู่กลางอากาศ สังฆาฏิของมันถูกไฟติด
ลุกโชน จนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นสามเณรชั่ว” ฯลฯ
ปาปสามเณรสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. ปาปสามเณรีสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นสามเณรีชั่ว๑
[๒๒๒] “ท่าน เมื่อกระผมลงมาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสามเณรีเปรตลอย
ขึ้นสู่กลางอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชนจน
มันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์
เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่’ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายที่มีจักษุมีญาณก็ยัง
มีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อนเราก็เห็นสามเณรีเปรตนั้น แต่ไม่
พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้น จะไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน
แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นสามเณรีชั่วในพระศาสนาของพระกัสสปสัมมา-
สัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้น สามเณรีนั้นจึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายปี หลาย
ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้ว ได้รับอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมนั้น
ที่ยังเหลือ”
ปาปสามเณรีสูตรที่ ๑๑ จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สสีสกสูตร ๒. คูถขาทสูตร
๓. นิจฉวิตถีสูตร ๔. มังคุลิตถีสูตร
๕. โอกิลินีสูตร ๖. อสีสกสูตร
๗. ปาปภิกขุสูตร ๘. ปาปภิกขุนีสูตร
๙. ปาปสิกขมานาสูตร ๑๐. ปาปสามเณรสูตร
๑๑. ปาปสามเณรีสูตร

ลักขณสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙.โอปัมมสังยุต] ๑.กูฏสูตร ๒. นขสิขสูตร

๙. โอปัมมสังยุต
๑. กูฏสูตร
ว่าด้วยเรือนยอด
[๒๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย กลอนเรือนยอดอย่างใดอย่างหนึ่ง กลอนเรือนยอดเหล่านั้น
ทั้งหมดไปรวมที่ยอด เมื่อรื้อยอดเรือน กลอนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมถึงการรื้อด้วย
ฉันใด
อกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนมีอวิชชา
เป็นมูล มีอวิชชาเป็นแหล่งรวม เมื่ออวิชชาถูกถอน อกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมถึงการเพิกถอน ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
กูฏสูตรที่ ๑ จบ

๒. นขสิขสูตร
ว่าด้วยฝุ่นติดปลายเล็บ
[๒๒๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อยแล้วรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร คือ ฝุ่นเล็กน้อยที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมานี้ กับมหาปฐพีนี้ อย่างไหน
มากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีนี้นั้นแหละมีมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์
ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมานี้มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับมหาปฐพีแล้ว ฝุ่นที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๓. กุลสูตร
พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย นับไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้
ไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“เหล่าสัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย เหล่าสัตว์ที่ไปเกิดในกำเนิดอื่นนอกจาก
มนุษย์มีมากกว่า ก็ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
นขสิขสูตรที่ ๒ จบ

๓. กุลสูตร
ว่าด้วยตระกูล
[๒๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีสตรีมาก มีบุรุษน้อย ตระกูล
เหล่านั้นย่อมถูกพวกโจรผู้ใช้หม้อเป็นเครื่องมือปล้นได้ง่าย ฉันใด เมตตาเจโตวิมุตติ๑
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ภิกษุรูปนั้นย่อมถูกพวกอมนุษย์
กำจัดได้ง่าย ฉันนั้น
ตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีสตรีน้อย มีบุรุษมาก ตระกูลเหล่านั้นย่อมถูกพวก
โจรผู้ใช้หม้อเป็นเครื่องมือปล้นได้ยาก ฉันใด เมตตาเจโตวิมุตติที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ภิกษุรูปนั้นย่อมถูกพวกอมนุษย์กำจัดได้ยาก ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ จักทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้
ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดี’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
กุลสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๕. สัตติสูตร

๔. โอกขาสูตร
ว่าด้วยการให้ทาน
[๒๒๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเช้า
บุคคลใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเที่ยง บุคคลใดพึงให้ทาน
ประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเย็น บุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเช้าอย่างน้อย
เพียงขณะการหยดน้ำนมโค๑ บุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเที่ยงอย่างน้อยเพียง
ขณะการหยดน้ำนมโค หรือบุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเย็นอย่างน้อยเพียง
ขณะการหยดน้ำนมโค การเจริญเมตตาจิตนี้มีผลมากกว่าทานที่บุคคลให้แล้ว ๓ ครั้ง
ในวันหนึ่งนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจัก
เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ จักทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้ตั้งมั่น
สั่งสม ปรารภดี’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
โอกขาสูตรที่ ๔ จบ

๕. สัตติสูตร
ว่าด้วยหอก
[๒๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย หอกที่มีใบคม ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า ‘เราจักเอาฝ่ามือหรือ
กำมือ งอ พับ ม้วน หอกที่มีใบคม’ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
บุรุษนั้นผู้สามารถจะเอาฝ่ามือหรือกำมือ งอ พับ ม้วน หอกที่มีใบคมโน้นได้หรือ”
“เป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๖. ธนุคคหสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่าการที่จะเอาฝ่ามือหรือกำมือ งอ พับ ม้วน
หอกที่มีใบคมโน้น ทำไม่ได้ง่าย และบุรุษนั้นพึงได้รับความเหน็ดเหนื่อยลำบากถ่ายเดียว
ฉันใด”
“ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มาก ทำให้
เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดี ถ้าอมนุษย์จะพึงบันดาลจิต
ของภิกษุนั้นให้ฟุ้งซ่าน อมนุษย์นั้นแหละพึงได้รับความเหน็ดเหนื่อย ลำบาก ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจัก
เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ จักทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้ตั้งมั่น
สั่งสม ปรารภดี’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
สัตติสูตรที่ ๕ จบ

๖. ธนุคคหสูตร
ว่าด้วยการจับลูกธนู
[๒๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู ๔ คน ผู้ยิงธนูแม่นยำศึกษามาดีแล้ว
ผู้ชำนาญช่ำชองฝึกซ้อมมาดียืนอยู่ในทิศทั้ง ๔ ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า ‘เราจักจับ
ลูกธนูที่นายขมังธนู ๔ คน ผู้ยิงธนูแม่นยำศึกษามาดีแล้ว ผู้ชำนาญช่ำชองฝึกซ้อม
มาดียิงมาจากทิศทั้ง ๔ ไม่ให้ตกถึงพื้นดินนำมา’ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้น
ว่าอย่างไร ควรจะกล่าวได้ไหมว่า ‘บุรุษผู้มีความเร็ว ประกอบด้วยความเร็วอย่าง
ยอดเยี่ยม”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพียงแต่บุรุษจับลูกธนูที่นายขมังธนูคนเดียวผู้ยิงธนู
แม่นยำศึกษามาดีแล้ว ผู้ชำนาญช่ำชองฝึกซ้อมมาดียิงมา ไม่ให้ตกถึงพื้นดิน นำมา
เท่านั้น ก็ควรกล่าวได้ว่า ‘บุรุษผู้มีความเร็ว ประกอบด้วยความเร็วอย่างยอดเยี่ยม’
ไม่จำต้องกล่าวถึงนายขมังธนูทั้ง ๔ คนผู้ยิงธนูแม่นยำศึกษามาดีแล้ว ผู้ชำนาญ
ช่ำชองฝึกซ้อมมาดีเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๗. อาณิสูตร
“เปรียบเหมือนความเร็วของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เร็วกว่าความเร็วของ
บุรุษนั้น ความเร็วของเทวดาที่ไปข้างหน้าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เร็วกว่าความเร็ว
ของบุรุษและของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ฉะนั้น
เปรียบเหมือนอายุสังขารสิ้นไปเร็วยิ่งกว่าความเร็วของบุรุษ ความเร็วของดวง
จันทร์และดวงอาทิตย์ ความเร็วของเทวดาที่ไปข้างหน้าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
เหล่านั้น ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
ธนุคคหสูตรที่ ๖ จบ

๗. อาณิสูตร
ว่าด้วยลิ่ม
[๒๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มี
พระนามว่าทสารหะ เมื่อตะโพนแตก พวกกษัตริย์ทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป ต่อมา
ไม้โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไปเหลือแต่โครงลิ่ม ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ในอนาคต เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความ
ลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุทั้งหลายจักไม่ตั้งใจฟังให้ดี
ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่า ควรเรียน
ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ฉันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๘. คลิงครสูตร
แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญได้รจนาไว้ เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร
มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก๑ เป็นสาวกภาษิต๒ ภิกษุเหล่านั้นกลับตั้งใจฟังด้วยดี
เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และจักสำคัญธรรมว่า ควรเรียน ควรท่องจำ
ให้ขึ้นใจ๓ ฉันใด แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง
เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ก็จักอันตรธานไป ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เมื่อผู้อื่น
กล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วย
ความว่าง เราทั้งหลายจักตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้
ความสำคัญธรรมว่า ควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
อาณิสูตรที่ ๗ จบ

๘. กลิงครสูตร
ว่าด้วยหมอนท่อนไม้
[๒๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ในปัจจุบันพวกกษัตริย์ลิจฉวีทรงใช้พระเขนยไม้หนุนพระเศียร
และพระบาท เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรในการศึกษาศิลปะ พระเจ้าอชาตศัตรู
เวเทหิบุตร กษัตริย์แคว้นมคธ ไม่ทรงได้ช่อง ได้โอกาสของกษัตริย์ลิจฉวีเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๙. นาคสูตร
แต่ในอนาคตพวกกษัตริย์ลิจฉวีจักเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ มีฝ่าพระหัตถ์และ
พระบาทอ่อนนุ่ม บรรทมบนที่บรรทมมีพระเขนยหนาอ่อนนุ่ม จนดวงอาทิตย์ขึ้น
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร กษัตริย์แคว้นมคธจักทรงได้ช่อง ได้โอกาสของ
กษัตริย์ลิจฉวีเหล่านั้น
ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลายใช้หมอนไม้หนุนศีรษะและเท้า เป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ในการบำเพ็ญเพียรอยู่ มารผู้มีบาปจึงไม่ได้ช่องไม่ได้
โอกาสของภิกษุเหล่านั้น
แต่ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นสุขุมาลชาติ มีฝ่ามือและเท้าอ่อนนุ่ม
นอนบนที่นอนมีหมอนหนาอ่อนนุ่ม จนดวงอาทิตย์ขึ้น มารผู้มีบาปจักได้ช่อง
ได้โอกาสของเธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักใช้หมอนไม้หนุนศีรษะและเท้า เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
ในการบำเพ็ญเพียรอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
กลิงครสูตรที่ ๘ จบ

๙. นาคสูตร
ว่าด้วยช้าง
[๒๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุนวกะรูปหนึ่งเข้าไปสู่ตระกูลเกินเวลา ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘ท่านอย่าเข้าไปสู่ตระกูลเกินเวลาเลย’ เธอถูก
ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านี้จักสำคัญตน
ว่า ควรเข้าไปสู่ตระกูล ทำไมเราจักเข้าไปไม่ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๙. นาคสูตร
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนวกะรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ตระกูล
เกินเวลา เธอถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุผู้เป็นเถระ
เหล่านี้จักสำคัญตนว่า ควรเข้าไปสู่ตระกูล ทำไมเราจักเข้าไปไม่ได้”
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง ช้างทั้งหลาย
อาศัยสระนั้นอยู่ ช้างเหล่านั้นลงสู่สระนั้นแล้ว ใช้งวงถอนเหง้าและรากบัวขึ้น ล้างให้
ดีแล้ว เคี้ยวกินเหง้าและรากบัวที่ไม่มีโคลนตม อย่างเอร็ดอร่อย การกระทำอย่างนั้น
ย่อมมี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลังของช้างเหล่านั้น ช้างเหล่านั้นจึงไม่ถึงความ
ตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการกินนั้น ส่วนลูกช้างเล็ก ๆ ทำตามช้างใหญ่เหล่านั้น
เหมือนกัน พวกมันลงสู่สระนั้นแล้ว ใช้งวงถอนเหง้าและรากบัวขึ้น (แต่)ไม่ล้างให้ดี
ไม่เคี้ยวให้ละเอียด กลืนทั้งโคลนตม การกระทำอย่างนั้นย่อมไม่มี(ประโยชน์) ต่อ
ผิวพรรณและกำลังของลูกช้างเหล่านั้น ลูกช้างเหล่านั้นจึงถึงความตายหรือทุกข์
ปางตาย เพราะการกินนั้น
ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตร
และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม กล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้
เลื่อมใส ทำอาการของผู้เสื่อมใสแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่กำหนัด ไม่หมกมุ่น
ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคลาภนั้น การกระทำอย่างนั้น
ย่อมมี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลังของภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น เธอทั้งหลาย
จึงไม่ถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการบริโภคนั้น ส่วนภิกษุทั้งหลายผู้ทำ
ตามภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นเหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม กล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เลื่อมใส
ทำอาการของผู้เลื่อมใสแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายกำหนัด หมกมุ่น พัวพัน
มีปกติไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคลาภนั้น การกระทำอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๑๐. พิฬารสูตร
ย่อมไม่มี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลัง๑ของภิกษุนวกะเหล่านั้น เธอทั้งหลายจึง
ถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการบริโภคนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักไม่
กำหนัด ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค
ลาภนั้น’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
นาคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พิฬารสูตร
ว่าด้วยแมว
[๒๓๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวตักเตือน
เธอว่า ‘ท่านอย่าเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลาเลย’ เธอถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน
(แต่)ยังไม่เลิก ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้เที่ยวไปในตระกูลเกิน
เวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘ท่านอย่าเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลา’ เธอ
ถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนจึงไม่พอใจ”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๑๐. พิฬารสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีแมวยืนคอยจับลูกหนูอยู่ที่กองหยาก
เยื่อข้างทางระบายคูถจากบ้าน ระหว่างเรือนสองหลังต่อกัน ด้วยคิดว่า ‘ลูกหนูนี้จัก
ไปหาเหยื่อในที่ใด เราจักจับมันกินในที่นั้น’ ต่อมา ลูกหนูออกไปหาเหยื่อ แมวก็จับ
ลูกหนูนั้นแล้วรีบกัดกลืนลงไป ลูกหนูก็กัดทั้งไส้ใหญ่และไส้น้อยของแมวนั้น แมวนั้น
จึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการกินนั้น
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและ
จีวร ไม่รักษากายวาจาจิต ไม่ตั้งสติให้มั่นคง ไม่สำรวมอินทรีย์เข้าไปบิณฑบาตยัง
บ้านหรือนิคม เธอเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อยในที่นั้น ราคะก็รบกวนจิตของเธอ
เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อย เธอถูกราคะรบกวนจิต จึงถึงความตายหรือ
ทุกข์ปางตาย การที่เธอบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์นั้น จัดเป็นความตายใน
วินัยของพระอริยะ การที่เธอต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง (และ) การประพฤติ
วัตรเพื่อออกจากอาบัติตามที่ต้องนั้น จัดเป็นทุกข์ปางตาย
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักรักษากายวาจาจิต ตั้งสติให้มั่นคง สำรวมอินทรีย์ เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือ
นิคม’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
พิฬารสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๑๒. ทุติยสิคาคสูตร

๑๑. สิคาลสูตร
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอก
[๒๓๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเช้าตรู่ เธอทั้งหลายได้เห็นสุนัขจิ้งจอกแก่ที่มาอาศัยอยู่หรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนัขจิ้กจอกแก่นั้นเป็นโรคเรื้อน มันอยากจะไปทางไหนก็ไปทางนั้น อยากจะ
ยืนที่ไหน ๆ ก็ยืนที่นั่น ๆ อยากจะนั่งที่ไหน ๆ ก็นั่งที่นั่น ๆ อยากจะนอนที่ไหน ๆ
ก็นอนที่นั่น ๆ ลมเย็น ๆ ย่อมพัดโชยให้มัน
ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ผู้ปฏิญาณว่าเป็นศากยบุตร ได้อัตภาพเช่นนี้
เป็นการดียิ่งนัก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักไม่ประมาท’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
สิคาลสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ทุติยสิคาลสูตร
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอก สูตรที่ ๒
[๒๓๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเช้าตรู่ เธอทั้งหลายได้เห็นสุนัขจิ้งจอกแก่ที่มาอาศัยอยู่
หรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ความกตัญญูกตเวทีบางอย่างยังมีในสุนัขจิ้กจอกแก่นั้น แต่
ความกตัญญูกตเวทีบางอย่างไม่พึงมีในภิกษุบางรูปผู้ปฏิญาณว่าเป็นศากยบุตรใน
ธรรมวินัยนี้เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้กตัญญูกตเวที และอุปการะแม้เพียงเล็กน้อยที่บุคคลอื่นกระทำในเราทั้งหลาย
จักไม่เสื่อมสูญไป’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
ทุติยสิคาลสูตรที่ ๑๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. กูฏสูตร ๒. นขสิขสูตร
๓. กุลสูตร ๔. โอกขาสูตร
๕. สัตติสูตร ๖. ธนุคคหสูตร
๗. อาณิสูตร ๘. กลิงครสูตร
๙. นาคสูตร ๑๐. พิฬารสูตร
๑๑. สิคาลสูตร ๑๒. ทุติยสิคาลสูตร

โอปัมมสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑. โกลิตสูตร

๑๐. ภิกขุสังยุต

๑. โกลิตสูตร
ว่าด้วยพระโกลิตะ
[๒๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าว
ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลายรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านจึง
ได้กล่าวดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกระผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดแห่งนี้ ได้เกิดความคิด
ปริวิตกว่า ‘ที่เรียกว่า ‘ดุษณีภาพอันประเสริฐ ดุษณีภาพอันประเสริฐ’ ดุษณีภาพ
อันประเสริฐเป็นอย่างไร’ ผมได้มีความคิดว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็น
หนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ นี้เรียกว่า
‘ดุษณีภาพอันประเสริฐ’ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ผมนั้นบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ กระผมนั้นเมื่ออยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญาและมนสิการ
อันเกิดร่วมกับวิตกย่อมฟุ้งขึ้นได้
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาผมด้วยฤทธิ์ ได้ตรัสว่า ‘โมคคัลลานะ
โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ อย่าประมาทดุษณีภาพอันประเสริฐ เธอจงรวมจิตตั้งไว้
ในดุษณีภาพอันประเสริฐ ทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในดุษณีภาพอันประเสริฐ ตั้งจิต
มั่นไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ’ ต่อมา เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ผมนั้นบรรลุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๒. อุปติสสสูตร
ทุติยฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
ผู้มีอายุทั้งหลาย แท้จริงบุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนใดคนหนึ่งให้ถูกต้อง ควรกล่าว
ว่า ‘สาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้บรรลุความรู้อันยิ่งใหญ่’ บุคคลเมื่อจะกล่าว
ถึงผมให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘สาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์ได้บรรลุความรู้
อันยิ่งใหญ่๑”
โกลิตสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุปติสสสูตร
ว่าด้วยพระอุปติสสะ
[๒๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านจึงได้กล่าวดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกระผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดแห่งนี้ ได้เกิดความคิด
ปริวิตกว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสพึงเกิดขึ้นแก่เรา เพราะความ
แปรผันเป็นอย่างอื่นแห่งสัตว์หรือสังขารใด สัตว์หรือสังขารบางอย่างนั้นยังมีอยู่ใน
โลกหรือ’ ผมได้มีความคิดว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึง
บังเกิดขึ้นแก่เรา เพราะความแปรผันเป็นอย่างอื่นแห่งสัตว์หรือสังขารที่ไม่มีอยู่ในโลก
สัตว์หรือสังขารอย่างนั้นไม่มีอยู่ในโลก”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามท่านพระ-
สารีบุตรว่า ‘ท่านพระสารีบุตร โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึง
เกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะความแปรผันเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดาหรือ’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๓. ฆฏสูตร
“ท่านผู้มีอายุ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึงเกิดขึ้นแก่ผม
เพราะความแปรผันเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดา แต่ผมมีความคิดว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พระศาสดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ มีฤทธานุภาพมาก อันตรธานไปแล้ว ถ้าพระองค์พึงดำรง
อยู่ตลอดกาลนาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์
ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
“จริงอย่างนั้น ท่านพระสารีบุตรได้ถอนอหังการ๑ มมังการ๒ และมานานุสัย๓
หมดสิ้นมานานแล้ว เพราะฉะนั้น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงไม่
เกิดขึ้นแก่ท่านพระสารีบุตร เพราะความแปรผันเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดา”
อุปติสสสูตรที่ ๒ จบ

๓. ฆฏสูตร
ว่าด้วยหม้อ
[๒๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่
ในวิหารหลังเดียวกัน ในพระเวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นใน
เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึง
ที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่านพระมหา-
โมคคัลลานะแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“ท่านโมคคัลลานะ อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวหน้าของท่านบริสุทธิ์
ผุดผ่อง ชะรอยวันนี้ ท่านจะอยู่ด้วยวิหารธรรมอันละเอียด”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๓. ฆฏสูตร
“ท่านผู้มีอายุ วันนี้ผมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันหยาบ แต่ผมได้มีการสนทนาธรรม”
“ท่านได้สนทนาธรรมกับใคร”
“ผมได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาค”
“เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ไกลนัก ท่านไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์หรือ
หรือว่าพระองค์เสด็จมาหาท่านด้วยฤทธิ์”
“ผมไม่ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์ แม้พระองค์ก็ไม่ได้เสด็จมาหาผม
ด้วยฤทธิ์ แต่ผมมีตาทิพย์และหูทิพย์อันหมดจดเท่าพระผู้มีพระภาค๑ แม้พระผู้มี
พระภาคก็ทรงมีทิพพจักขุและทิพพโสตธาตุอันหมดจดเท่าผม”
“ท่านได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีภาคว่าอย่างไร”
“ผมได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า
‘ผู้ปรารภความเพียร ผู้ปรารภความเพียร’ ด้วยเหตุเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็น
ผู้ปรารภความเพียร’ เมื่อผมทูลถามอย่างนี้ แม้พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับผมว่า
‘โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ด้วยตั้งสัตยาธิษฐาน
ว่า ‘เนื้อและเลือดในร่างกายจงเหือดแห้งไปจะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตามทีเถิด
ผลอันใดพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความ
บากบั่นของบุรุษ (ถ้า)ไม่บรรลุผลนั้นแล้วก็จักไม่หยุดความเพียร ภิกษุชื่อว่าป็นผู้
ปรารภความเพียรเป็นอย่างนี้’ ผมได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาคอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๔. นวสูตร
เปรียบเหมือนก้อนหินเล็ก ๆ ที่บุคคลเอาไปวางเทียบกับขุนเขาหิมพานต์ ฉันใด
ผมเมื่อเปรียบเทียบกับท่านก็ฉันนั้น แท้จริง ท่านเป็นผู้มีฤทธานุภาพมาก เมื่อปรารถนา
พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปแล”
“ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนก้อนเกลือเล็ก ๆ ที่บุคคลเอาไปวางเทียบกับหม้อ
เกลือใหญ่ฉันใด ผมเมื่อเปรียบเทียบกับท่านก็ฉันนั้น แท้จริง ท่านเป็นผู้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงชมเชย สรรเสริญ ยกย่องโดยอเนกปริยายเป็นต้นว่า
“ภิกษุผู้ถึงฝั่งพระนิพพาน ผู้ยอดเยี่ยมด้วยปัญญา
ศีลและอุปสมะ คือสารีบุตร นี้แหละ”
พระมหาเถระผู้ประเสริฐทั้ง ๒ นั้น เพลิดเพลินคำสนทนาที่เป็นสุภาษิตของกัน
และกันด้วยประการฉะนี้
ฆฏสูตรที่ ๓ จบ

๔. นวสูตร
ว่าด้วยผู้ใหม่
[๒๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุนวกะรูปหนึ่งกลับจากบิณฑบาตหลัง
จากฉันเสร็จเข้าไปยังวิหาร มีความขวนขวายน้อยนิ่งเฉยอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุ
ทั้งหลายในเวลาทำจีวร ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนวกะรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้กลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันเสร็จเข้าไปยังวิหาร มีความขวนขวายน้อยนิ่งเฉยอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุ
ทั้งหลายในเวลาทำจีวร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๔. นวสูตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ‘ภิกษุ เธอจง
ไปบอกภิกษุนั้นตามคำของเราว่า ‘ผู้มีอายุ พระศาสดารับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า’ ภิกษุนั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาภิกษุนั้น ได้กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ พระศาสดารับสั่ง
ให้ท่านเข้าเฝ้า’ เธอรับคำภิกษุนั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุนั้นว่า ‘ภิกษุ ได้ยินว่า
เธอกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จเข้าไปยังวิหาร มีความขวนขวายน้อยนิ่งเฉยอยู่
ไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายในเวลาทำจีวรจริงหรือ’
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็ทำกิจของตน”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงรู้ความคิดปริวิตกทางจิตของภิกษุนั้น จึงรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าโทษภิกษุนี้เลย ภิกษุนี้
มีปกติได้ฌาน ๔ อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันที่อาศัยอธิจิตตามปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑ อันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“บุคคลปรารภความเพียรย่อหย่อน
กำลังน้อยไม่พึงบรรลุนิพพาน
อันเป็นเหตุปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๕. สุชาตสูตร
ส่วนภิกษุหนุ่มรูปนี้เป็นอุดมบุรุษ
ชนะมารพร้อมทั้งกองทัพได้แล้ว
ทรงไว้ซึ่งอัตภาพสุดท้าย”
นวสูตรที่ ๔ จบ

๕. สุชาตสูตร
ว่าด้วยพระสุชาต
[๒๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระสุชาตเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านกำลังเดินมาแต่ไกล แล้วรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรนี้ย่อมงามด้วยสมบัติ ๒ ประการ คือ
๑. มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก
๒. ได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่า
กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ภิกษุนี้งามด้วยใจที่ซื่อตรง
เป็นผู้หลุดพ้น พรากได้แล้ว ดับแล้ว
เพราะไม่ถือมั่น ชนะมารพร้อมทั้งกองทัพได้แล้ว
ทรงไว้ซึ่งอัตภาพสุดท้าย”
สุชาตสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๖. ลกุณฏกภัททิยสูตร

๖. ลกุณฏกภัททิยสูตร
ว่าด้วยพระลกุณฏภัททิยะ๑
[๒๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระลกุณฏกภัททิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านกำลังเดินมาแต่ไกล
แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภิกษุผู้มีผิวพรรณไม่งาม ไม่น่าดู เตี้ย เป็นผู้ถูก
ภิกษุทั้งหลายดูแคลน ที่กำลังเดินมานั้นหรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุนั้นมีฤทธานุภาพมาก อนึ่ง สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้า เธอก็เข้าได้โดยง่าย
และเธอได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตร
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“สัตว์ทั้งหลาย จำพวกหงส์ นกกระเรียน นกยูง
ช้าง เนื้อฟาน ทั้งหมด ย่อมกลัวราชสีห์
ความสมดุลกันทางกายไม่มี ฉันใด
บรรดาหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ถ้าคนหนุ่มมีปัญญา
เขาก็ย่อมเป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์นั้น
ไม่เหมือนคนพาล ซึ่งถือกายเป็นใหญ่”
ลกุณฏกภัททิยสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๗. วิสาขสูตร

๗. วิสาขสูตร
ว่าด้วยพระวิสาขะ
[๒๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขตกรุง
เวสาลี สมัยนั้น ท่านพระวิสาขปัญจาลบุตร ได้ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายในศาลาเป็น
ที่บำรุงเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ประกอบด้วยวาจาไพเราะ สละสลวยปราศจาก
โทษ นับเนื่องเข้าในวาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ๑ ไม่อิงอาศัย๒
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลา
เป็นที่บำรุง ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ใครหนอได้ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายในศาลาเป็นที่บำรุงเห็นชัด ชวนใจ
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ประกอบด้วยวาจาไพเราะ สละสลวยปราศจากโทษ นับเนื่องเข้าใน
วาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ ไม่อิงอาศัย’
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระวิสาขปัญจาลบุตร ได้ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย
ในศาลาเป็นที่บำรุงเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ประกอบด้วยวาจาไพเราะ
สละสลวยปราศจากโทษ นับเนื่องเข้าในวาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ ไม่อิงอาศัย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระวิสาขปัญจาลบุตรมาตรัสว่า
“ดีละ ดีละ วิสาขะ เธอได้ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ฯลฯ ด้วยธรรมีกถา นับเนื่อง
เข้าในวาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ ไม่อิงอาศัย ดีนักแล”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๘. นันทสูตร
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ชนทั้งหลายจะไม่รู้จักคนผู้ไม่พูด
ว่ามีเชื้อเป็นพาลหรือเป็นบัณฑิต
แต่ย่อมรู้จักคนผู้พูด ผู้แสดงอมตบท
บุคคลพึงกล่าวธรรม พึงยังธรรมให้โชติช่วง
ถือเอาธงชัยของฤาษี
ฤาษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธงชัย
ธรรมนั่นแหละเป็นธงชัยของฤาษี๑”
วิสาขสูตรที่ ๗ จบ

๘. นันทสูตร
ว่าด้วยพระนันทะ
[๒๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระนันทะผู้เป็นโอรสของพระมาตุจฉา๒
ของพระผู้มีพระภาค ห่มจีวรที่ทุบแล้วทุบอีก หยอดนัยน์ตา และถือบาตรมีสีกาววาว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสว่า
“นันทะ ข้อที่เธอห่มจีวรที่ทุบแล้วทุบอีก หยอดนัยน์ตาและถือบาตรมีสี
กาววาว ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรซึ่งออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา
ข้อที่เธอพึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร และไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายอยู่อย่างนี้ จึงสมควรแก่เธอผู้เป็น
กุลบุตรซึ่งออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๙. ติสสสูตร
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“เมื่อไร เราจะได้เห็นนันทะอยู่ป่าเป็นวัตร
นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโภชนะที่ระคนกัน๑
ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลาย”
ต่อมา ท่านพระนันทะได้เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายอยู่
นันทสูตรที่ ๘ จบ

๙. ติสสสูตร
ว่าด้วยพระติสสะ
[๒๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระติสสะผู้เป็นโอรสของพระ-
ปิตุจฉาของพระผู้มีพระภาค เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่งเป็นทุกข์เสียใจ หลั่งน้ำตาอยู่ ณ ที่สมควร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระติสสะดังนี้ว่า “ติสสะ ทำไม
เธอจึงนั่งเป็นทุกข์เสียใจ หลั่งน้ำตาอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จริงอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายได้รุมว่ากล่าวเสียดแทงข้า
พระองค์”
“จริงอย่างนั้น ติสสะ เธอเป็นผู้ว่ากล่าวเขาฝ่ายเดียว แต่เธอไม่อดทนต่อ
ถ้อยคำที่เขาว่ากล่าว ข้อที่เธอเป็นผู้ว่ากล่าวเขาฝ่ายเดียว แต่ไม่อดทนต่อถ้อยคำ
ที่เขาว่ากล่าวนั้น ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรซึ่งออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ด้วยศรัทธา ข้อที่เธอเป็นผู้ว่ากล่าวเขาด้วยและอดทนต่อถ้อยคำที่เขาว่ากล่าวได้ด้วย
นั่นแหละจึงสมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรซึ่งออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑๐. เถรนามกสูตร
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่ออีกไปว่า
“เธอจะโกรธทำไม อย่าโกรธเลย ติสสะ
ความไม่โกรธเป็นธรรมประเสริฐสำหรับเธอ
แท้จริง บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ก็เพื่อกำจัดความโกรธ ความถือตัว
และความลบหลู่คุณท่าน”
ติสสสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เถรนามกสูตร
ว่าด้วยพระเถรนามกะ
[๒๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระเถรนามกะมีปกติอยู่ผู้เดียว และมีปกติ
กล่าวสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว เธอเข้าหมู่บ้านบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับ
ผู้เดียว และอธิษฐานจงกรมผู้เดียว
ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระเถรนามกะรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ มีปกติอยู่ผู้เดียว และมีปกติกล่าว
สรรเสริญการอยู่ผู้เดียว’
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “มาเถิดภิกษุ
เธอจงไปเรียกพระเถรนามกะตามคำของเราว่า ‘ท่านเถระ พระศาสดารับสั่งให้ท่าน
เข้าเฝ้า’ ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไปหาท่าน
พระเถระถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ‘ท่านเถระ พระศาสดารับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า’
ท่านพระเถระรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑๐. เถรนามกสูตร
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านเถระดังนี้ว่า ‘เถระ ได้ยินว่า
เธอมีปกติอยู่ผู้เดียว และมีปกติกล่าวสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว จริงหรือ”
“จริง พระพุทธเจ้าข้า”
“ไฉนเธอจึงมีปกติอยู่ผู้เดียว และมีปกติกล่าวสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์เข้าหมู่บ้านบิณฑบาตผู้เดียว
กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ข้าพระองค์มีปกติอยู่ผู้เดียว
และมีปกติกล่าวสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว อย่างนี้”
“การอยู่ผู้เดียวนี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่การอยู่ผู้เดียวของเธอ เป็นอัน
บริบูรณ์โดยพิสดารกว่าด้วยประการใด เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีด้วยประการนั้น เรา
จักกล่าว” ท่านพระเถระทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
“การอยู่ผู้เดียวที่บริบูรณ์โดยพิสดารกว่า เป็นอย่างไร
เถระ ในเรื่องนี้ สิ่งใด๑ ที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละได้แล้ว สิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้น
ก็สละเสีย และความกำหนัดด้วยความพอใจในการได้อัตภาพในปัจจุบัน ก็ถูกกำจัด
ด้วยดีแล้ว การอยู่ผู้เดียวที่บริบูรณ์โดยพิสดารกว่า เป็นอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่ออีกไปว่า
“เราเรียกนรชนผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๒ ผู้รู้ทุกอย่าง
มีปัญญาดี ไม่แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๓
ละสิ่งทั้งปวงได้แล้ว หลุดพ้นแล้ว
ในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
ว่าเป็นผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว”
เถรนามกสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑๑. มหากัปปินสูตร

๑๑. มหากัปปินสูตร
ว่าด้วยพระมหากัปปินะ
[๒๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัปปินะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหากัปปินะกำลังเดินมา
แต่ไกล จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภิกษุผู้ขาวโปร่ง จมูกโด่ง กำลังเดินมานั่นหรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุนั่นมีฤทธานุภาพมาก อนึ่ง สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้า เธอก็เข้าได้โดยง่าย
เธอได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตร
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่ออีกไปว่า
“ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่
กษัตริย์จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์๑
ดวงอาทิตย์ส่องแสงเจิดจ้าในกลางวัน
ดวงจันทร์ส่องแสงเจิดจ้าในกลางคืน
กษัตริย์ผู้ทรงเครื่องรบย่อมสง่างาม
พราหมณ์ผู้เพ่งฌาน ย่อมรุ่งเรือง
ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งโรจน์ด้วยพระเดชานุภาพตลอดทั้งวันและ
คืน”
มหากัปปินสูตรที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑๒. สหายกสูตร

๑๒. สหายกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นเพื่อนกัน
[๒๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุผู้เป็นเพื่อนกัน ๒ รูป ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริก
ของท่านพระมหากัปปินะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาค
ได้ทอดพระเนตรเห็นเธอทั้งสองกำลังเดินมาแต่ไกล จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสถามว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภิกษุผู้เป็นเพื่อนกัน ๒ รูป ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริก
ของพระมหากัปปินะกำลังเดินมานั้นหรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ๒ รูปนั่นมีฤทธานุภาพมาก อนึ่ง สมาบัติที่เธอทั้งสองไม่เคยเข้า เธอ
ทั้งสองก็เข้าได้โดยง่าย เธอทั้งสองได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์อีกต่อไปว่า
“ภิกษุเหล่านี้เป็นเพื่อนกันมานาน และมีความรู้เสมอกัน
สัทธรรมของเธอทั้งหลายเทียบเคียงได้ในธรรมที่พระพุทธเจ้า
ประกาศแล้ว
เธอทั้งหลายอันกัปปินะแนะนำดีแล้วในธรรม
ที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว ชนะมารพร้อมทั้งกองทัพได้
ทรงไว้ซึ่งอัตภาพสุดท้าย”
สหายกสูตรที่ ๑๒ จบ
ภิกขุสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต รวมสังยุตที่มีในนิทานสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. โกลิตสูตร ๒. อุปติสสสูตร
๓. ฆฏสูต ๔. นวสูตร
๕. สุชาตสูตร ๖. ลกุณฏกภัททิยสูตร
๗. วิสาขสูตร ๘. นันทสูตร
๙. ติสสสูตร ๑๐. เถรนามกสูตร
๑๑. มหากัปปินสูตร ๑๒. สหายกสูตร

นิทานวรรคที่ ๒ จบ

รวมสังยุตที่มีในนิทานสังยุตนี้ คือ

๑. นิทานสังยุต ๒. อภิสมยสังยุต
๓. ธาตุสังยุต ๔. อนมตัคคสังยุต
๕. กัสสปสังยุต ๖. ลาภสักการสังยุต
๗. ราหุลสังยุต ๘. ลักขณสังยุต
๙. โอปัมมสังยุต ๑๐. ภิกขุสังยุต

รวมเรียกว่าวรรคที่ ๒
นิทานวรรคสังยุต จบบริบูรณ์

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น