Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๘-๖ หน้า ๒๗๖ - ๓๓๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘-๖ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๖. สัลลสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอริยสาวกผู้ได้สดับนั้นรู้ชัดเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนา เว้นจาก
กามสุข เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยในสุขเวทนา ย่อมไม่ไหลไปตาม
เธอรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนาเหล่านั้น
ตามความเป็นจริง เมื่อเธอรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนาย่อมไม่
ไหลไปตาม ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็ปราศจาก(กิเลส)เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอ
เสวยทุกขเวทนา ก็ปราศจาก(กิเลส)เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุข-
เวทนา ก็ปราศจาก(กิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับนี้เราเรียกว่า ‘เป็นผู้ปราศจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส’ เรากล่าวว่า ‘เป็นผู้ปราศ
จากทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุ
ทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
อริยสาวกนั้นมีปัญญา เป็นพหูสูต
ย่อมไม่เสวยทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา
นี้เป็นความแปลกกันระหว่างธีรชนผู้ฉลาดกับปุถุชน
ธรรมที่น่าปรารถนาย่อมไม่ย่ำยีจิต
ของอริยสาวกนั้นผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว
เป็นพหูสูตเห็นแจ้งโลกนี้และโลกหน้าอยู่
ท่านย่อมไม่ถึงความขัดเคืองเพราะอนิฏฐารมณ์
อนึ่ง ความยินดีหรือความยินร้ายถูกท่านกำจัดแล้ว
ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมไม่มี ท่านรู้บทที่ปราศจากธุลี
ไม่มีความเศร้าโศก รู้ชัดโดยชอบ ถึงฝั่งแห่งภพได้”
สัลลสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๗. ปฐมเคลัญญสุตร

๗. ปฐมเคลัญญสูตร
ว่าด้วยความเจ็บป่วย สูตรที่ ๑
[๒๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยัง
ศาลาคนไข้แล้ว ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับ
เธอทั้งหลายของเรา
ลักษณะของผู้มีสติสัมปชัญญะ
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ... ในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในจิต ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย๑อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู
การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร การฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับ
เธอทั้งหลายของเรา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๗. ปฐมเคลัญญสุตร

ผู้มีสติสัมปชัญญะย่อมรู้เวทนาชัด
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาเกิดขึ้น
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘สุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอาศัยกัน สุขเวทนา
นั้นจึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยกัน จึงไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัย
กายนี้เอง แต่กายนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น สุขเวทนา
เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายที่ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ที่ไหน
จักเที่ยงเล่า’
เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ
และความสละคืนในกายและในสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ และความสละคืนในกายและใน
สุขเวทนาอยู่อย่างนี้ ย่อมละราคานุสัยในกายและในสุขเวทนาได้
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาเกิดขึ้น
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ทุกขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอาศัยกัน ทุกขเวทนา
นั้นจึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยกัน จึงไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัยกาย
นี้เอง แต่กายนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ทุกขเวทนา
เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายที่ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ที่
ไหนจักเที่ยงเล่า’
เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ
และความสละคืนในกายและในทุกขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ฯลฯ และความสละคืนในกายและในทุกขเวทนาอยู่อย่างนี้ ย่อมละปฏิฆานุสัยใน
กายและในทุกขเวทนาได้
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๗. ปฐมเคลัญญสุตร
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอาศัยกัน
อทุกขมสุขเวทนานั้นจึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยกัน จึงไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอะไร
เพราะอาศัยกายนี้เอง แต่กายนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายที่ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและ
กันเกิดขึ้น ที่ไหนจักเที่ยงเล่า’
เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ
และความสละคืนในกายและในอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยง ฯลฯ และความสละคืนในกายและในอทุกขมสุขเวทนาอยู่อย่างนี้ ย่อมละ
อวิชชานุสัยในกายและในอทุกขมสุขเวทนาได้
ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ ถ้าเธอเสวย
อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าหมกมุ่น’
รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก (กิเลส) เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวย
ทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก (กิเลส) เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขม-
สุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก (กิเลส) เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ หลังจาก
ตายไป ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’
เปรียบเวทนากับตะเกียง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันจึงติดอยู่ได้ เพราะสิ้น
น้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันนั้นก็หมดเชื้อดับไปแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อเสวย
เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ หลังจากตายไป
ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว ๋
ปฐมเคลัญญสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๘. ทุติยเคลัญญสูตร

๘. ทุติยเคลัญญสูตร
ว่าด้วยความเจ็บป่วย สูตรที่ ๒
[๒๕๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเย็นพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยัง
ศาลาคนไข้แล้ว ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา นี้เป็นคำพร่ำสอน
สำหรับเธอทั้งหลายของเรา
ลักษณะของผู้มีสติสัมปชัญญะ
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ... ในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในจิต ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำความรู้สึกตัว ในการก้าวไป การถอยกลับ ฯลฯ
การพูด การนิ่ง
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับ
เธอทั้งหลายของเรา
ผู้มีสติสัมปชัญญะย่อมรู้เวทนาชัด
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๘. ทุติยเคลัญญสูตร
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘สุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอาศัยกัน สุขเวทนา
นั้นจึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยกัน จึงไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัย
ผัสสะนี้เอง แต่ผัสสะนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น
สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น ที่ไหนจักเที่ยงเล่า’
เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ
และความสละคืนในผัสสะและในสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ และความสละคืนในผัสสะและใน
สุขเวทนาอยู่อย่างนี้ ย่อมละราคานุสัยในผัสสะและในสุขเวทนาได้
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติ ฯลฯ อยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
เพราะอาศัยกัน อทุกขมสุขเวทนานั้นจึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยกัน จึงไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัยผัสสะนี้เอง แต่ผัสสะนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ฯลฯ (ควรขยายความให้พิสดารเหมือนสูตรแรก) หลังจาก
ตายไป ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’
เปรียบเวทนากับตะเกียง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันจึงติดอยู่ได้ เพราะ
สิ้นน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันนั้นก็หมดเชื้อดับไปแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อเสวย
เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ หลังจากตายไป
ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว ๋
ทุติยเคลัญญสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๑๐. ผัสสมูลกสูตร

๙. อนิจจสูตร
ว่าด้วยเวทนาไม่เที่ยง
[๒๕๗] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
มีความคลายไปเป็นธรรมดามีความดับไปเป็นธรรมดา
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกัน
และกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ
คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา”
อนิจจสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ผัสสมูลกสูตร
ว่าด้วยเวทนามีผัสสะเป็นมูล
[๒๕๘] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้เกิดจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล
มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ สุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่
ตั้งแห่งสุขเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด เพราะ
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแลดับ ทุกขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิด
เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิด
เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับคือสงบไป
เปรียบเวทนากับความร้อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้ ๒ อันเสียดสีกัน จึงเกิดความร้อน ไฟลุกขึ้น เพราะ
แยกไม้ทั้งสองนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีนั้นจึงดับ ระงับไป
แม้ฉันใด เวทนา ๓ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล
มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เพราะอาศัยผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้น เวทนา
ที่เกิดแต่ผัสสะนั้นจึงเกิด เพราะผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้นดับ เวทนาที่เกิดแต่ผัสสะ
นั้นจึงดับ”
ผัสสมูลกสูตรที่ ๑๐ จบ
สคาถวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมาธิสูตร ๒. สุขสูตร
๓. ปหานสูตร ๔. ปาตาลสูตร
๕. ทัฏฐัพพสูตร ๖. สัลลสูตร
๗. ปฐมเคลัญญสูตร ๘. ทุติยเคลัญญสูตร
๙. อนิจจสูตร ๑๐. ผัสสมูลกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๑. รโหคตสูตร

๒. รโหคตวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด
๑. รโหคตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด
[๒๕๙] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า
‘พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใด
อย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’
พระดำรัสที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ดีละ ดีละ ภิกษุ เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ ประการนี้
สมจริงดังคำที่เรากล่าวว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’
คำที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้นเรากล่าว
หมายถึงความที่สังขารทั้งหลายนั้นแลไม่เที่ยง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๑. รโหคตสูตร
คำที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้นเรากล่าว
หมายถึงความที่สังขารทั้งหลายนั้นแลมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความแตกไปเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความดับไปเป็น
ธรรมดา ฯลฯ
คำที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้นเรากล่าว
หมายถึงความที่สังขารทั้งหลายนั้นแลมีความแปรผันเป็นธรรมดา
ต่อมา เรากล่าวความดับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ดับไป
๒. เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารก็ดับไป
๓. เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติก็ดับไป
๔. เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็ดับไป
๕. เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน๑ รูปสัญญาก็ดับไป
๖. เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน๒ อากาสานัญจายตนสัญญาก็ดับไป
๗. เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน๓ วิญญาณัญจายตนสัญญาก็ดับไป
๘. เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาก็ดับไป
๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็ดับไป
๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมดับไป โทสะย่อมดับไป โมหะ
ย่อมดับไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๒. ปฐมอากาสสูตร
ต่อมา เรากล่าวความระงับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ระงับไป ฯลฯ
๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็ระงับไป
๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมระงับไป โทสะย่อมระงับไป โมหะ
ย่อมระงับไป
ภิกษุ ปัสสัทธิ ๖ ประการนี้ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็สงบ
๒. เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารก็สงบ
๓. เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติก็สงบ
๔. เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็สงบ
๕. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็สงบ
๖. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมสงบ โทสะย่อมสงบ โมหะย่อม
สงบ”
รโหคตสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมอากาสสูตร
ว่าด้วยอากาศ สูตรที่ ๑
[๒๖๐] “ภิกษุทั้งหลาย ลมชนิดต่าง ๆ พัดไปในอากาศ
คือ ลมมาจากทิศตะวันออกพัดไปบ้าง ลมมาจากทิศตะวันตกพัดไปบ้าง
ลมมาจากทิศเหนือพัดไปบ้าง ลมมาจากทิศใต้พัดไปบ้าง ลมเจือฝุ่นพัดไปบ้าง
ลมไม่เจือฝุ่นพัดไปบ้าง ลมหนาวพัดไปบ้าง ลมร้อนพัดไปบ้าง ลมอ่อน ๆ พัดไปบ้าง
ลมแรงพัดไปบ้าง แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาชนิดต่าง ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้
คือ สุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๓. ทุติยอากาสสูตร
ลมหลายชนิด พัดไปในอากาศ คือ
ลมมาจากทิศตะวันออกบ้าง ลมมาจากทิศตะวันตกบ้าง
ลมมาจากทิศเหนือบ้าง ลมมาจากทิศใต้บ้าง
ลมหลายชนิดพัดไป คือ
ลมเจือฝุ่นบ้าง ลมไม่เจือฝุ่นบ้าง
ลมหนาวบ้าง ลมร้อนบ้าง
บางคราวลมแรงบ้าง ลมอ่อน ๆ บ้าง แม้ฉันใด
เวทนาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ คือ
สุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง
เมื่อใดภิกษุมีความเพียร ไม่ละสัมปชัญญะ
เมื่อนั้นเธอเป็นบัณฑิต กำหนดรู้เวทนาทั้งปวงได้
เธอครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว
ไม่มีอาสวะในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในธรรม จบเวท
ตายไป ย่อมไม่เข้าถึงการบัญญัติ”
ปฐมอากาสสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยอากาสสูตร
ว่าด้วยอากาศ สูตรที่ ๒
[๒๖๑] “ภิกษุทั้งหลาย ลมชนิดต่าง ๆ พัดไปในอากาศ คือ ลมมาจากทิศ
ตะวันออกพัดไปบ้าง ฯลฯ ลมแรงพัดไปบ้าง แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาชนิดต่าง ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้
คือ สุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง”
ทุติยอากาสสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๕. ปฐมอานันทสูตร

๔. อคารสูตร
ว่าด้วยเรือนพัก
[๒๖๒] “ภิกษุทั้งหลาย มีเรือนพักคนเดินทางอยู่ คนทั้งหลายมาจากทิศ
ตะวันออกบ้าง มาจากทิศตะวันตกบ้าง มาจากทิศเหนือบ้าง มาจากทิศใต้บ้าง
เข้ามาพักในเรือนพักคนเดินทางนั้น คือ กษัตริย์มาพักบ้าง พราหมณ์มาพักบ้าง
แพศย์มาพักบ้าง ศูทรมาพักบ้าง แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาชนิดต่าง ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้
คือ สุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง
สุขเวทนาเจืออามิส๑เกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเจืออามิส๒เกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุข-
เวทนาเจืออามิส๓เกิดขึ้นบ้าง สุขเวทนาไม่เจืออามิส๔เกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาไม่เจือ
อามิส๕เกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุขเวทนาไม่เจืออามิส๖เกิดขึ้นบ้าง”
อคารสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๑
[๒๖๓] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๕. ปฐมอานันทสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจาก
เวทนา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เวทนามี ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา
เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘
นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งเวทนา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา
สภาพที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ
แห่งเวทนา
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากเวทนา
ต่อมาเรากล่าวความดับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ดับไป ฯลฯ
๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็ดับไป
๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมดับไป โทสะย่อมดับไป โมหะย่อม
ดับไป
ต่อมาเรากล่าวความระงับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ระงับไป ฯลฯ
๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็ระงับไป
๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมระงับไป โทสะย่อมระงับไป โมหะ
ย่อมระงับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๖. ทุติยอานันทสูตร
อานนท์ ต่อมา เรากล่าวความสงบแห่งสังขารตามลำดับ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็สงบ ฯลฯ
๕. เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาก็สงบ
๖. เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาก็สงบ
๗. เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาก็สงบ
๘. เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาก็สงบ
๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็สงบ
๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมสงบ โทสะย่อมสงบ โมหะย่อมสงบ”
ปฐมอานันทสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๒
[๒๖๔] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“อานนท์ เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ความดับแห่ง
เวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร อะไรเป็นคุณ
แห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
ที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระ
ผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๗. ปฐมสัมพหุลสูตร
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า “อานนท์
เวทนามี ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่าเวทนา ฯลฯ เพราะผัสสะเกิด ฯลฯ ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว
ราคะย่อมสงบ โทสะย่อมสงบ โมหะย่อมสงบ”
ทุติยอานันทสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมสัมพหุลสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป สูตรที่ ๑
[๒๖๕] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจาก
เวทนา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวทนามี ๓ ประการ คือ
๑. สุขเวทนา ๒ . ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา
เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘
นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๙. ทุติยสัมพหุลสูตร
สภาพที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่ง
เวทนา
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากเวทนา
ต่อมา เรากล่าวความดับแห่งสังขารตามลำดับ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ดับไป ฯลฯ
๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมดับไป โทสะย่อมดับไป โมหะ
ย่อมดับไป
ต่อมา เรากล่าวความระงับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ระงับไป ฯลฯ
๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมระงับไป โทสะย่อมระงับไป โมหะ
ย่อมระงับไป
ภิกษุทั้งหลาย ปัสสัทธิ ๖ ประการนี้ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็สงบ
๒. เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารก็สงบ
๓. เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติก็สงบ
๔. เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็สงบ
๕. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็สงบ
๖. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมสงบ โทสะย่อมสงบ โมหะย่อมสงบ”
ปฐมสัมพหุลสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยสัมพหุลสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป สูตรที่ ๒
[๒๖๖] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๙. ปัญจกังคสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ความดับ
แห่งเวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร อะไรเป็นคุณ
แห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เวทนามี ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา
เพราะผัสสะเกิดขึ้น ฯลฯ (ควรขยายความให้พิสดารเหมือนสูตรแรก)”
ทุติยสัมพหุลสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปัญจกังคสูตร
ว่าด้วยช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
[๒๖๗] ครั้งนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ๑เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ไหว้
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “ท่านอุทายี พระ
ผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้เท่าไร”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “ช่างไม้ พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๙. ปัญจกังคสูตร
เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะได้กล่าวกับท่าน
พระอุทายีดังนี้ว่า “ท่านอุทายี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ
แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะดังนี้ว่า “ช่างไม้
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓
ประการ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้”
แม้ครั้งที่ ๒ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “ท่าน
อุทายี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัส
เวทนาไว้ ๒ ประการ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะดังนี้ว่า “ช่างไม้
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓
ประการ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้”
แม้ครั้งที่ ๓ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “ท่าน
อุทายี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัส
เวทนาไว้ ๒ ประการ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๙. ปัญจกังคสูตร
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
ท่านพระอุทายีไม่สามารถให้ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะยินยอมได้ ช่างไม้ชื่อ
ปัญจกังคะก็ไม่สามารถให้ท่านพระอุทายียินยอมได้ ท่านพระอานนท์ได้ยินการ
สนทนาปราศรัยนี้ของท่านพระอุทายีกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลถึงการสนทนาปราศรัยของท่านพระอุทายีกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
ทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “อานนท์ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่คล้อยตาม
บรรยาย๑ที่มีอยู่ของอุทายีภิกษุ ส่วนอุทายีภิกษุก็ไม่คล้อยตามบรรยายที่มีอยู่ของ
ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
ประเภทแห่งเวทนา
อานนท์ เรากล่าวเวทนา ๒ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๓ ประการ
ไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๕ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๖ ประการ
ไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๘ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๓๖
ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๐๘ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักไม่สำคัญ ไม่รู้ ไม่ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้ว
แก่กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า จักบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่
ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงแล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักสำคัญ รู้ ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้วแก่
กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า จักพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๙. ปัญจกังคสูตร
กามสุข (สุขที่เกิดจากกามคุณ)
อานนท์ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้
สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้ เราเรียกว่า กามสุข
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่า
อานนท์ สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและจากอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ เพราะวิตกวิจารระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌานมีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๙. ปัญจกังคสูตร
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข’
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำนี้ของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า
“อากาศหาที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญา โดยประการทั้งปวง
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๙. ปัญจกังคสูตร
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้”
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร”
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๑๐. ภิกขุสูตร
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
เป็นไปได้ที่อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เป็นไปได้หรือ
เป็นไปได้อย่างไรที่พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธ และบัญญัติสัญญา-
เวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุข”
อานนท์ อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงค้านว่า
“ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายถึงสุขเวทนา บัญญัติสัญญา-
เวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุขเลย บุคคลย่อมประสบสุขในฐานะใด ๆ มีสุขในฐานะใด ๆ
พระตถาคตจึงทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ไว้ในสุข”
ปัญจกังคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ
[๒๖๘] “เรากล่าวเวทนา ๒ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๓
ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๕ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าว
เวทนา ๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๘ ประการไว้โดยบรรยาย
ก็มี กล่าวเวทนา ๓๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๐๘ ประการไว้
โดยบรรยายก็มี
ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักไม่สำคัญ ไม่รู้ ไม่ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดี
แล้วแก่กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า “จักบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ๋

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักสำคัญ รู้ ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้วแก่
กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า “จักพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
เหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่”
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ฯลฯ เป็นไปได้ที่อัญเดียรถีย์ปริพาชก
ทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เป็นไปได้หรือ เป็นไปได้อย่างไรที่พระสมณโคดม
กล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธและบัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุข”
ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ เธอทั้งหลาย
พึงค้านว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายถึงสุขเวทนา บัญญัติ
สัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุขเลย บุคคลย่อมประสบสุขในฐานะใด ๆ มีสุขในฐานะ
ใด ๆ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ไว้ในสุข”
ภิกขุสูตรที่ ๑๐ จบ
รโหคตวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. รโหคตสูตร ๒. ปฐมอากาสสูตร
๓. ทุติยอากาสสูตร ๔. อคารสูตร
๕. ปฐมอานันทสูตร ๖. ทุติยอานันทสูตร
๗. ปฐมสัมพหุลสูตร ๘. ทุติยสัมพหุลสูตร
๙. ปัญจกังคสูตร ๑๐. ภิกขุสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๑. สีวกสูตร

๓. อัฏฐสตปริยายวรรค
หมวดว่าด้วยบรรยาย ๑๐๘ ประการ
๑. สีวกสูตร
ว่าด้วยสีวกปริพาชก
[๒๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อโมฬิยสีวกะ๑เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่าง
นี้ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์ หรือ
อทุกขมสุขทั้งหมดนั้นมีเหตุที่ได้ทำไว้ในปางก่อน’ ก็ในข้อนี้พระโคดมผู้เจริญตรัสไว้อย่างไร”
พระผู้พระภาคตรัสตอบว่า “สีวกะ เวทนาบางอย่างมีดีเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น
ในกายนี้ก็มี การที่เวทนาบางอย่างซึ่งมีดีเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นในกายนี้ บุคคลพึงรู้ได้
เองนี้ก็มี การที่เวทนาบางอย่างซึ่งมีดีเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นในกายนี้ ชาวโลกสมมติ
ว่าเป็นความจริงก็มี ในข้อนั้นสมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่าง
นี้ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์
หรืออทุกขมสุขทั้งหมดนั้นมีเหตุที่ได้ทำไว้ในปางก่อน’ ย่อมแล่นไปหาสิ่งที่ตนเองรู้
และแล่นไปหาสิ่งที่ชาวโลกสมมติว่าเป็นความจริง เพราะฉะนั้นเราจึงกล่าวว่า ‘เป็น
ความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น’
... มีเสลดเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ มีลมเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ มีดี เสลดและลม
รวมกันเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ เกิดจากการเปลี่ยนฤดู ฯลฯ เกิดจากการบริหารกาย
ไม่สม่ำเสมอ ฯลฯ เกิดจากการถูกทำร้าย ฯลฯ เวทนาบางอย่างเกิดจาก
ผลกรรมเกิดขึ้นในกายนี้ก็มี การที่เวทนาบางอย่างซึ่งเกิดจากผลกรรมเกิดขึ้นใน
กายนี้บุคคลพึงรู้ได้เองก็มี การที่เวทนาบางอย่างซึ่งเกิดจากผลกรรมเกิดขึ้นในกายนี้
ชาวโลกสมมติว่าเป็นความจริงก็มี ในข้อนั้นสมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๒. อัฏฐสตสูตร
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง
สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งหมดนั้น มีเหตุที่ได้ทำไว้ในปางก่อน’ ย่อมแล่นไปหา
สิ่งที่ตนเองรู้ และแล่นไปหาสิ่งที่ชาวโลกสมมติว่าเป็นความจริง เพราะฉะนั้นเราจึง
กล่าวว่า ‘เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปริพาชกชื่อโมฬิยสีวกะได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ดี ๑ เสลด ๑ ลม ๑ ดี เสลด และลม รวมกัน ๑
ฤดู ๑ การบริหารกายไม่สม่ำเสมอ ๑ การถูกทำร้าย ๑
รวมกับผลกรรมอีก ๑ เป็น ๘
สีวกสูตรที่ ๑ จบ

๒. อัฏฐสตสูตร
ว่าด้วยเวทนา ๑๐๘ ประการ
[๒๗๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายซึ่งมีบรรยายถึง ๑๐๘
ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายซึ่งมีบรรยายถึง ๑๐๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวเวทนา ๒ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๓ ประการ
ไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๕ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๖
ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๘ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าว
เวทนา ๓๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๐๘ ประการไว้โดยบรรยาย
ก็มี
เวทนา ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๒ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๒. อัฏฐสตสูตร
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๓ ประการ
เวทนา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือสุขเวทนา)
๒. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือทุกขเวทนา)
๓. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโสมนัสสเวทนา)
๔. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโทมนัสสเวทนา)
๕. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขาเวทนา)
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๕ ประการ
เวทนา ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส ฯลฯ
๖. เวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัส
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๖ ประการ
เวทนา ๑๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เวทนาที่เกิดร่วมกับโสมนัส ๖ ประการ
๒. เวทนาที่เกิดร่วมกับโทมนัส ๖ ประการ
๓. เวทนาที่เกิดร่วมกับอุเบกขา ๖ ประการ
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๑๘ ประการ
เวทนา ๓๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เคหสิตโสมนัส (โสมนัสอิงเรือน) ๖ ประการ
๒. เนกขัมมสิตโสมนัส (โสมนัสอิงเนกขัมมะ) ๖ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๓. อัญญตรภิกขุสูตร
๓. เคหสิตโทมนัส (โทมนัสอิงเรือน) ๖ ประการ
๔. เนกขัมมสิตโทมนัส (โทมนัสอิงเนกขัมมะ) ๖ ประการ
๕. เคหสิตอุเบกขา (อุเบกขาอิงเรือน) ๖ ประการ
๖. เนกขัมมสิตอุเบกขา (อุเบกขาอิงเนกขัมมะ) ๖ ประการ
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๓๖ ประการ
เวทนา ๑๐๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เวทนาที่เป็นอดีต ๓๖ ประการ
๒. เวทนาที่เป็นอนาคต ๓๖ ประการ
๓. เวทนาที่เป็นปัจจุบัน ๓๖ ประการ
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๑๐๘ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายซึ่งมีบรรยายถึง ๑๐๘ ประการ เป็นอย่างนี้แล”
อัฏฐสตสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่ง
[๒๗๑] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
ปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไร
เป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๔. ปุพพสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เวทนามี ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา
เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด ตัณหาเป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิดแห่งเวทนา
เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แลเป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความ
ดับแห่งเวทนา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา
สภาพที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ
แห่งเวทนา
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากเวทนา”
อัญญตรภิกขุสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปุพพสูตร
ว่าด้วยพระดำริก่อนตรัสรู้
[๒๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิด
ดังนี้ว่า
‘เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิด
แห่งเวทนาเป็นอย่างไร ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งเวทนาเป็นอย่างไร อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็น
เครื่องสลัดออกจากเวทนา’
เรานั้นได้คิดต่อไปว่า ‘เวทนามี ๓ ประการนี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๕. ญาณสูตร
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา
เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด ตัณหาเป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิดแห่งเวทนา
ฯลฯ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากเวทนา”
ปุพพสูตรที่ ๔ จบ

๕. ญาณสูตร
ว่าด้วยญาณ
[๒๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้น
แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้เวทนา’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ความเกิดแห่งเวทนา’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมา
ก่อนว่า ‘นี้ปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิดแห่งเวทนา’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมา
ก่อนว่า ‘นี้ความดับแห่งเวทนา’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมา
ก่อนว่า ‘นี้ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา’
ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้คุณแห่งเวทนา’
ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้โทษแห่งเวทนา’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้เครื่อง
สลัดออกจากเวทนา”
ญาณสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๗. ปฐมสมณพราหมณสูตร

๖. สัมพหุลภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป
[๒๗๔] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
ปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ฯลฯ อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา
อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวทนามี ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา
เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด ตัณหาเป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิดแห่งเวทนา
เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ ฯลฯ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละ
ฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา”
สัมพหุลภิกขุสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑
[๒๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนา ๓ ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๙. ตติยสมณพราหมณสูตร
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็น
สมณะหรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากเวทนา ๓ ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้ง
ท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะและประโยชน์ของความเป็น
พราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒
[๒๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนา ๓ ประการนี้ตามความเป็นจริง ฯลฯ
ทำให้แจ้ง ... ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๓
[๒๗๗] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดเวทนา
ความเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ฯลฯ
รู้ชัดเวทนา ฯลฯ ทำให้แจ้ง ... ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ตติยสมณพราหมณสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๑๑. นิรามิสสูตร

๑๐. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยเวทนาล้วน ๆ
[๒๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เวทนา ๓ ประการนี้แล”
สุทธิกสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. นิรามิสสูตร
ว่าด้วยปีติและสุขที่มีอามิสและไม่มีอามิส
[๒๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย ปีติมีอามิสก็มี ปีติไม่มีอามิสก็มี ปีติไม่มีอามิสยิ่ง
กว่าปีติไม่มีอามิสก็มี
สุขมีอามิสก็มี สุขไม่มีอามิสก็มี สุขไม่มีอามิสยิ่งกว่าสุขไม่มีอามิสก็มี
อุเบกขามีอามิสก็มี อุเบกขาไม่มีอามิสก็มี อุเบกขาไม่มีอามิสยิ่งกว่าอุเบกขา
ไม่มีอามิสก็มี
วิโมกข์มีอามิสก็มี วิโมกข์ไม่มีอามิสก็มี วิโมกข์ไม่มีอามิสยิ่งกว่าวิโมกข์ไม่มี
อามิสก็มี
ปีติมีอามิส เป็นอย่างไร
คือ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง ได้แก่
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๑๑. นิรามิสสูตร
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ปีติที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่า ปีติมีอามิส
ปีติไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารระงับไป
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิส
ปีติไม่มีอามิสยิ่งกว่าปีติไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ ปีติที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากราคะ ผู้พิจารณา
จิตที่หลุดพ้นจากโทสะ ผู้ พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโมหะ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มี
อามิสยิ่งกว่าปีติไม่มีอามิส
สุขมีอามิส เป็นอย่างไร
คือ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง ได้แก่
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการ
นี้เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า สุขมีอามิส
สุขไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารระงับไป
เธอบรรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๑๑. นิรามิสสูตร
ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เธอมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ‘มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิส
สุขไม่มีอามิสยิ่งกว่าสุขไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากราคะ ผู้
พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโทสะ ผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโมหะ นี้เราเรียกว่า
สุขไม่มีอามิสยิ่งกว่าสุขไม่มีอามิส
อุเบกขามีอามิส เป็นอย่างไร
คือ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง ได้แก่
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ อุเบกขาที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการ
นี้เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า อุเบกขามีอามิส
อุเบกขาไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิส
อุเบกขาไม่มีอามิสยิ่งกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ อุเบกขาที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากราคะ ผู้
พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโทสะ ผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโมหะ นี้เราเรียกว่า
อุเบกขาไม่มีอามิสยิ่งกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
วิโมกข์มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์ที่ประกอบด้วยรูป ชื่อว่า วิโมกข์มีอามิส
วิโมกข์ไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์ที่ไม่ประกอบด้วยรูป ชื่อว่า วิโมกข์ไม่มีอามิส
ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ไม่มีอามิสยิ่งกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์ที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากราคะ ผู้
พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโทสะ ผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโมหะ นี้เราเรียกว่า
วิโมกข์ไม่มีอามิสยิ่งกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส”
นิรามิสสูตรที่ ๑๑ จบ
อัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีวกสูตร ๒. อัฏฐสตสูตร
๓. อัญญตรภิกขุสูตร ๔. ปุพพสูตร
๕. ญาณสูตร ๖. สัมพหุลภิกขุสูตร
๗. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๘. ทุติยสมณพราหมณสูตร
๙. ตติยสมณพราหมณสูตร ๑๐. สุทธิกสูตร
๑๑. นิรามิสสูตร

เวทนาสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๒. ปุริสสูตร

๓. มาตุคามสังยุต
๑. ปฐมเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยเปยยาล หมวดที่ ๑
๑. มาตุคามสูตร
ว่าด้วยมาตุคามที่ไม่น่าพอใจและน่าพอใจของบุรุษ
[๒๘๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย มาตุคาม (สตรี) ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ ย่อมไม่น่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับบุรุษ
องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปไม่สวย ๒. ไม่มีโภคสมบัติ
๓. ไม่มีศีล ๔. เกียจคร้าน
๕. ให้บุตรแก่เขาไม่ได้
มาตุคามประกอบด้วยองค์ ๕ นี้ย่อมไม่น่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับ บุรุษ

มาตุคามประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมน่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับบุรุษ
องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปสวย ๒. มีโภคสมบัติ
๓. มีศีล ๔. ไม่เกียจคร้าน
๕. ให้บุตรแก่เขาได้
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยองค์ ๕ นี้ย่อมน่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับบุรุษ”
มาตุคามสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปุริสสูตร
ว่าด้วยบุรุษที่ไม่น่าพอใจและน่าพอใจของมาตุคาม
[๒๘๑] “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมไม่น่าพอใจอย่างยิ่ง
สำหรับมาตุคาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๓. อาเวณิกทุกขสูตร
องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปไม่หล่อ ๒. ไม่มีโภคสมบัติ
๓. ไม่มีศีล ๔. เกียจคร้าน
๕. ให้บุตรแก่เธอไม่ได้
บุรุษผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้ ย่อมไม่น่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับมาตุคาม

บุรุษประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมน่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับมาตุคาม
องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปหล่อ ๒. มีโภคสมบัติ
๓. มีศีล ๔. ขยัน ไม่เกียจคร้าน
๕. ให้บุตรแก่เธอได้
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษประกอบด้วยองค์ ๕ นี้ย่อมน่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับ
มาตุคาม”
ปุริสสูตรที่ ๒ จบ

๓. อาเวณิกทุกขสูตร
ว่าด้วยความทุกข์ส่วนตัวของมาตุคาม
[๒๘๒] “ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ส่วนตัวของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ที่
มาตุคามจะได้รับ ยกเว้นบุรุษ
ความทุกข์ส่วนตัว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มาตุคามในโลกนี้ยังวัยรุ่นไปสู่ตระกูลสามีห่างจากหมู่ญาติ นี้เป็น
ความทุกข์ส่วนตัวของมาตุคามข้อที่ ๑ ที่มาตุคามจะได้รับ ยกเว้น
บุรุษ
๒. อีกอย่างหนึ่ง มาตุคามมีระดู นี้เป็นความทุกข์ส่วนตัวของ
มาตุคามข้อที่ ๒ ที่มาตุคามจะได้รับ ยกเว้นบุรุษ
๓. อีกอย่างหนึ่ง มาตุคามมีครรภ์ นี้เป็นความทุกข์ส่วนตัวของ
มาตุคามข้อที่ ๓ ที่มาตุคามจะได้รับ ยกเว้นบุรุษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๕. โกธนสูตร
๔. อีกอย่างหนึ่ง มาตุคามคลอดบุตร นี้เป็นความทุกข์ส่วนตัวของ
มาตุคามข้อที่ ๔ ที่มาตุคามจะได้รับ ยกเว้นบุรุษ
๕. อีกอย่างหนึ่ง มาตุคามบำเรอบุรุษ นี้เป็นความทุกข์ส่วนตัวของ
มาตุคามข้อที่ ๕ ที่มาตุคามจะได้รับ ยกเว้นบุรุษ
ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ส่วนตัวของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ที่มาตุคามจะ
ได้รับ ยกเว้นบุรุษ”
อาเวณิกทุกขสูตรที่ ๓ จบ

๔. ตีหิธัมเมหิสูตร
ว่าด้วยธรรม ๓ ประการ
[๒๘๓] “ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ โดยมาก
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ มาตุคามในโลกนี้
๑. ในเวลาเช้า ถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน
๒. ในเวลาเที่ยง ถูกความริษยากลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน
๓. ในเวลาเย็น ถูกกามราคะกลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล โดยมากหลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
ตีหิธัมเมหิสูตรที่ ๔ จบ

๕. โกธนสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มักโกรธ
[๒๘๔] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ข้าพระองค์เห็นแต่มาตุคาม
โดยมากหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๖. อุปนาหีสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ (ความละอายบาป)
๓. ไม่มีโอตตัปปะ (ความกลัวบาป)
๔. มักโกรธ ๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
โกธนสูตรที่ ๕ จบ

๖. อุปนาหีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มักผูกโกรธ
[๒๘๕] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มักผูกโกรธ
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
อุปนาหีสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๘. มัจฉรีสูตร

๗. อิสสุกีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มักริษยา
[๒๘๖] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มักริษยา
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
อิสสุกีสูตรที่ ๗ จบ

๘. มัจฉรีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มักตระหนี่
[๒๘๗] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มักตระหนี่
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฯลฯ จะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก”
มัจฉรีสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๑๐. ทุสสีลสูตร

๙. อติจารีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มักประพฤตินอกใจ
[๒๘๘] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มักประพฤตินอกใจ
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฯลฯ จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
อติจารีสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุสสีลสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ทุศีล
[๒๘๙] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. ทุศีล
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฯลฯ จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
ทุสสีลสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๑๒. กุสีตสูตร

๑๑. อัปปัสสุตสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มีการฟังน้อย
[๒๙๐] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มีการฟังน้อย
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฯลฯ จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
อัปปัสสุตสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. กุสีตสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้เกียจคร้าน
[๒๙๑] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เกียจคร้าน
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฯลฯ จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
กุสีตสูตรที่ ๑๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๑๔. ปัญจเวรสูตร

๑๓. มุฏฐัสสติสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มีสติหลงลืม
[๒๙๒] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มีสติหลงลืม
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฯลฯ จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
มุฏฐัสสติสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔. ปัญจเวรสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยเวร ๕ ประการ
[๒๙๓] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ฆ่าสัตว์ ๒. ลักทรัพย์
๓. ประพฤติผิดในกาม ๔. พูดเท็จ
๕. เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๑อันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตายแล้วจะไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
ปัญจเวรสูตรที่ ๑๔ จบ
ปฐมเปยยาลวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มาตุคามสูตร ๒. ปุริสสูตร
๓. อาเวณิกทุกขสูตร ๔. ตีหิธัมเมหิสูตร
๕. โกธนสูตร ๖. อุปนาหีสูตร
๗. อิสสุกีสูตร ๘. มัจฉรีสูตร
๙. อติจารีสูตร ๑๐. ทุสสีลสูตร
๑๑. อัปปัสสุตสูตร ๑๒. กุสีตสูตร
๑๓. มุฏฐัสสติสูตร ๑๔. ปัญจเวรสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๒. ทุติยเปยยาลวรรค ๒. อนุปนาหีสูตร

๒. ทุติยเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยเปยยาล หมวดที่ ๒
๑. อักโกธนสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ไม่โกรธ
[๒๙๔] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ข้าพระองค์เห็นแต่มาตุคาม
โดยมากหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคาม
ประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีศรัทธา ๒. มีหิริ
๓. มีโอตตัปปะ ๔. ไม่โกรธ
๕. มีปัญญา
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
อักโกธนสูตรที่ ๑ จบ

๒. อนุปนาหีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ไม่ผูกโกรธ
[๒๙๕] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๒. ทุติยเปยยาลวรรค ๔. อมัจฉรีสูตร
๑. มีศรัทธา ๒. มีหิริ
๓. มีโอตตัปปะ ๔. ไม่ผูกโกรธ
๕. มีปัญญา
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
อนุปนาหีสูตรที่ ๒ จบ

๓. อนิสสุกีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ไม่ริษยา
[๒๙๖] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีศรัทธา ๒. มีหิริ
๓. มีโอตตัปปะ ๔. ไม่ริษยา
๕. มีปัญญา ฯลฯ
อนิสสุกีสูตรที่ ๓ จบ

๔. อมัจฉรีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ไม่ตระหนี่
[๒๙๗] “...
๔. ไม่ตระหนี่ ๕. มีปัญญา ฯลฯ๑
อมัจฉรีสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๒. ทุติยเปยยาลวรรค๑๐. ปัญจสีลสูตร

๕. อนติจารีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ไม่ประพฤตินอกใจ
[๒๙๘] “...
๔. ไม่ประพฤตินอกใจ ๕. มีปัญญา ฯลฯ๑
อนติจารีสูตรที่ ๕ จบ

๖. สุสีลสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มีศีลดี
[๒๙๙] “...
๔. มีศีล ๕. มีปัญญา ฯลฯ๒
สุสีลสูตรที่ ๖ จบ

๗. พหุสสุตสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มีการฟังมาก
[๓๐๐] “...
๔. มีการฟังมาก ๕. มีปัญญา ฯลฯ๓
พหุสสุตสูตรที่ ๗ จบ

๘. อารัทธวีริยสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ปรารภความเพียร
[๓๐๑] “...
๔. ปรารภความเพียร ๕. มีปัญญา ฯลฯ๔
อารัทธวีริยสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๒. ทุติยเปยยาลวรรค๑๐. ปัญจสีลสูตร

๙. อุปัฏฐิตัสสติสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มีสติตั้งมั่น
[๓๐๒] “...
๔. มีสติตั้งมั่น ๕. มีปัญญา ฯลฯ๑
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
อุปัฏฐิตัสสติสูตรที่ ๙ จบ

ทั้ง ๘ สูตรนี้กล่าวไว้ย่อๆ

๑๐. ปัญจสีลสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มีศีล ๕
[๓๐๓] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ปัญจสีลสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยเปยยาลวรรค จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๒. ทุติยเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อักโกธนสูตร ๒. อนุปนาหีสูตร
๓. อนิสสุกีสูตร ๔. อมัจฉรีสูตร
๕. อนติจารีสูตร ๖. สุสีลสูตร
๗. พหุสสุตสูตร ๘. อารัทธวีริยสูตร
๙. อุปัฏฐิตัสสติสูตร ๑๐. ปัญจสีลสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๒. ปสัยหสูตร

๓. พลวรรค
หมวดว่าด้วยกำลัง
๑. วิสารทสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้แกล้วกล้า
[๓๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
กำลัง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำลังรูป ๒. กำลังทรัพย์
๓. กำลังญาติ ๔. กำลังบุตร
๕. กำลังศีล
กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยกำลัง ๕ ประการนี้แล ย่อมแกล้วกล้า
อยู่ครองเรือน”
วิสารทสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปสัยหสูตร
ว่าด้วยมาตุคามที่ครอบงำสามี
[๓๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
กำลัง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำลังรูป ๒. กำลังทรัพย์
๓. กำลังญาติ ๔. กำลังบุตร
๕. กำลังศีล
กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยกำลัง ๕ ประการนี้แล ย่อมครอบงำ
สามีอยู่ครองเรือน”
ปสัยหสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๕. อังคสูตร

๓. อภิภุยยสูตร
ว่าด้วยมาตุคามที่ครองใจสามี
[๓๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
กำลัง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำลังรูป ๒. กำลังทรัพย์
๓. กำลังญาติ ๔. กำลังบุตร
๕. กำลังศีล
กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยกำลัง ๕ ประการนี้แล ย่อมครองใจสามี”
อภิภุยยสูตรที่ ๓ จบ

๔. เอกสูตร
ว่าด้วยกำลังที่เป็นเอก
[๓๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษประกอบด้วยกำลังที่เป็นเอก ย่อมครองใจ
มาตุคามได้
กำลังที่เป็นเอก คืออะไร
คือ กำลังคือความเป็นใหญ่
มาตุคามถูกกำลังคือความเป็นใหญ่ครอบงำแล้ว กำลังรูปก็ต้านทานไม่ได้
กำลังทรัพย์ก็ต้านทานไม่ได้ กำลังญาติก็ต้านทานไม่ได้ กำลังบุตรก็ต้านทานไม่ได้
กำลังศีลก็ต้านทานไม่ได้”
เอกสูตรที่ ๔ จบ

๕. อังคสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมาตุคาม
[๓๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๕. อังคสูตร
กำลัง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำลังรูป ๒. กำลังทรัพย์
๓. กำลังญาติ ๔. กำลังบุตร
๕. กำลังศีล
มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังทรัพย์ มาตุคามนั้น
ชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้
แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังรูปและกำลังทรัพย์ มาตุคามนั้นชื่อว่าบริบูรณ์
ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้
มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูปและกำลังทรัพย์ แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังญาติ
มาตุคามนั้นชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้
แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์และกำลังญาติ มาตุคามนั้น
ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้ มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลัง
ทรัพย์ และกำลังญาติ แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังบุตร มาตุคามนั้นชื่อว่ายังไม่
บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้
แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ กำลังญาติ และกำลังบุตร
มาตุคามนั้นชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้
มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ กำลังญาติ และกำลังบุตร แต่
ไม่ประกอบด้วยกำลังศีล มาตุคามนั้นชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้น
อย่างนี้
แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ กำลังญาติ กำลังบุตร
และกำลังศีล มาตุคามนั้นชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล”
อังคสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๖. นาเสนติสูตร

๖. นาเสนติสูตร
ว่าด้วยมาตุคามที่จะถูกญาติทำให้พินาศ
[๓๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
กำลัง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำลังรูป ๒. กำลังทรัพย์
๓. กำลังญาติ ๔. กำลังบุตร
๕. กำลังศีล
มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังศีล พวกญาติย่อม
ให้มาตุคามนั้นพินาศไป คือ ไม่ให้อยู่ในตระกูล
มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูปและกำลังทรัพย์ แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังศีล
พวกญาติย่อมให้มาตุคามนั้นพินาศไป คือ ไม่ให้อยู่ในตระกูล
มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ และกำลังญาติ แต่ไม่ประกอบ
ด้วยกำลังศีล พวกญาติย่อมให้มาตุคามนั้นพินาศไป คือ ไม่ให้อยู่ในตระกูล
มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ กำลังญาติ และกำลังบุตร แต่
ไม่ประกอบด้วยกำลังศีล พวกญาติย่อมให้มาตุคามนั้นพินาศไป คือ ไม่ให้อยู่ใน
ตระกูล
ภิกษุทั้งหลาย แต่มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ กำลังญาติ
กำลังบุตร และกำลังศีล พวกญาติย่อมให้มาตุคามนั้นอยู่ในตระกูล คือ ไม่ให้
พินาศไป
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนมาตุคามประกอบด้วยกำลังศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังรูป
พวกญาติย่อมให้มาตุคามนั้นอยู่ในตระกูล คือ ไม่ให้พินาศไป
มาตุคามประกอบด้วยกำลังศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังทรัพย์ พวกญาติ
ย่อมให้มาตุคามนั้นอยู่ในตระกูล คือ ไม่ให้พินาศไป
มาตุคามประกอบด้วยกำลังศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังญาติ พวกญาติย่อม
ให้มาตุคามนั้นอยู่ในตระกูล คือ ไม่ให้พินาศไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น