Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๔-๓ หน้า ๑๐๑ - ๑๔๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
_______________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๖. สักกสูตร
“อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร
บุคคลนั้น เมื่อหาทรัพย์ได้วันละ ๑๐๐ กหาปณะ ๑,๐๐๐ กหาปณะ ก็เก็บทรัพย์ที่
ตนได้ไว้ เป็นผู้มีชีวิต ๑๐๐ ปี จะพึงได้โภคสมบัติกองใหญ่บ้างหรือไม่หนอ”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร
บุคคลนั้นจะพึงเสวยสุขอย่างเดียวอยู่ตลอดคืนหนึ่ง วันหนึ่ง ครึ่งคืนหรือครึ่งวันอันมี
โภคสมบัตินั้นเป็นเหตุ มีโภคสมบัตินั้นเป็นปัจจัย มีโภคสมบัตินั้นเป็นที่ตั้งได้บ้างหรือ
ไม่หนอ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะกามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ว่างเปล่า หลอกลวง๑ มีความฉิบหายไป
เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ส่วนสาวก
ของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจปฏิบัติตาม
ที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๑๐ ปี พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่นอนอยู่ตลอด ๑๐๐
ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล เป็นสกทาคามีก็มี
เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็นต้องพูดถึง ๑๐ ปี
สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๙ ปี ... ๘ ปี ... ๗ ปี ... ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ...
๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่นอนอยู่ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐
ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี
เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็นต้องพูดถึง ๑ ปี
สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๑๐ เดือน พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่นอน

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ไม่เที่ยง คือมีแล้วก็กลับกลายเป็นไม่มี ว่างเปล่า คือ ปราศจากสาระ หลอกลวง คือ แม้จะปรากฏ
เหมือนเป็นของเที่ยง สวยงาม และเป็นสุข แต่ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๖/๓๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๖. สักกสูตร
อยู่ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล
เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึง ๑๐ เดือน
สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๙ เดือน ... ๘ เดือน ... ๗ เดือน ... ๖ เดือน ...
๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... ครึ่งเดือน พึงเป็นผู้
เสวยความสุขอย่างแน่นอนอยู่ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี
และสาวกของเรานั้นแล เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติ
ผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็นต้องพูดถึงครึ่งเดือน
สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๑๐ คืน ๑๐ วัน พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่
นอนอยู่ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี ๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล
เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึง ๑๐ คืน ๑๐ วัน
สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๙ คืน ๙ วัน ... ๘ คืน ๘ วัน ... ๗ คืน ๗ วัน
... ๖ คืน ๖ วัน ... ๕ คืน ๕ วัน ... ๔ คืน ๔ วัน ... ๓ คืน ๓ วัน ... ๒ คืน ๒ วัน
... ๑ คืน ๑ วัน พึงเป็นผู้เสวยความสุขอย่างแน่นอนอยู่ตลอด ๑๐๐ ปีก็มี
๑๐,๐๐๐ ปีก็มี ๑๐๐,๐๐๐ ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล เป็นสกทาคามีก็มี
เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันไม่ปฏิบัติผิดพลาดก็มี อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะ
ทั้งหลาย ไม่ใช่ลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้ชั่วแล้ว ที่เมื่อชีวิตมีภัยเพราะ
ความโศก มีภัยเพราะความตายอย่างนี้ บางคราวท่านทั้งหลายพากันรักษาอุโบสถที่
ประกอบด้วยองค์ ๘ แต่บางคราวก็ไม่ได้พากันรักษา
อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เหล่านี้จักพากันรักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”
สักกสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๗. มหาลิสูตร
๗. มหาลิสูตร
ว่าด้วยเจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิ
[๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมชั่ว และให้
กรรมชั่วเป็นไป”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาลิ โลภะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมชั่ว
และให้กรรมชั่วเป็นไป โทสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมชั่ว และให้กรรมชั่วเป็นไป
โมหะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมชั่ว และให้กรรมชั่วเป็นไป อโยนิโสมนสิการ
(การมนสิการโดยไม่แยบคาย) เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมชั่ว และให้กรรมชั่วเป็นไป
มิจฉาปณิหิตจิต(จิตที่ตั้งไว้ผิด)แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมชั่ว และให้กรรมชั่ว
เป็นไป มหาลิ กิเลสมีโลภะเป็นต้นนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมชั่ว และให้
กรรมชั่วเป็นไป”
เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิทูลถามว่า “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมดี
และให้กรรมดีเป็นไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มหาลิ อโลภะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมดี
และให้กรรมดีเป็นไป อโทสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมดี และให้กรรมดีเป็นไป
อโมหะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมดี และให้กรรมดีเป็นไป โยนิโสมนสิการ(การ
มนสิการโดยแยบคาย) เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมดี และให้กรรมดีเป็นไป สัมมา-
ปณิหิตจิต(จิตที่ตั้งไว้ถูก)แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกรรมดี และให้กรรมดีเป็นไป
หากธรรม ๑๐ ประการนี้ ไม่พึงมีปรากฏอยู่ในโลก ความประพฤติไม่
สม่ำเสมอคือความประพฤติอธรรม๑ หรือความประพฤติสม่ำเสมอคือความ
ประพฤติธรรม๒ ก็จะไม่พึงมีปรากฏอยู่ในโลกนี้

เชิงอรรถ :
๑ อธรรม ในที่นี้หมายถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๗/๓๔๘)
๒ ธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๗/๓๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๘. ปัพพชิตอภิณหสูตร
มหาลิ เพราะธรรม ๑๐ ประการนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ฉะนั้น ความประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอคือความประพฤติอธรรม หรือความประพฤติสม่ำเสมอคือความ
ประพฤติธรรม จึงมีปรากฏอยู่ในโลกนี้
มหาลิสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปัพพชิตอภิณหสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า
๑. เราถึงความมีเพศต่างจากคฤหัสถ์
๒. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
๓. เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ
๔. เราติเตียนตนเองโดยศีลได้หรือไม่
๕. เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาแล้วติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่
๖. เราจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๗. เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรม
เป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดี
หรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
๘. วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
๙. เรายินดียิ่งในเรือนว่าง๑อยู่หรือไม่

เชิงอรรถ :
๑ ยินดียิ่งในเรือนว่าง ในที่นี้หมายถึงยินดีอยู่ผู้เดียวบำเพ็ญกายวิเวกให้บริบูรณ์ทุกอิริยาบถในที่สงัด(องฺ.ทสก.อ.
๓/๔๘/๓๔๙) หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึงความยินดีในเรือนว่างด้วยปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
และจตุตถฌาน ดูวินัยปิฎกแปล เล่มที่ ๑ ข้อ ๑๙๙ หน้า ๑๘๖ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๙. สรีรัฏฐธัมมสูตร
๑๐. ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๑อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์๒
ที่เราบรรลุแล้วซึ่งจักเป็นเหตุให้เราไม่เก้อเขินเมื่อเพื่อนพรหมจารีถามใน
ภายหลัง มีอยู่หรือไม่
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ
ปัพพชิตอภิณหสูตรที่ ๘ จบ
๙. สรีรัฏฐธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมประจำสรีระ
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมประจำสรีระ ๑๐ ประการนี้ บรรพชิตควร
พิจารณาเนือง ๆ
ธรรมประจำสรีระ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ความหนาว ๒. ความร้อน
๓. ความหิว ๔. ความกระหาย
๕. ความปวดอุจจาระ ๖. ความปวดปัสสาวะ
๗. ความสำรวมกาย ๘. ความสำรวมวาจา
๙. ความสำรวมอาชีพ ๑๐. ธรรมเป็นเครื่องปรุงแต่งภพ๓
เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมประจำสรีระ ๑๐ ประการนี้แล บรรพชิตควรพิจารณา
เนือง ๆ
สรีรัฏฐธัมมสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญาอันประเสริฐ บริสุทธิ์ สูงสุด
สามารถกำจัดกิเลสได้ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐)
๒ ธรรมของมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐)
๓ ธรรมเป็นเครื่องปรุงแต่งภพ หมายถึงกรรมที่เป็นเครื่องปรุงแต่งภพ คือกรรมดีแต่งให้เกิดภพใหม่ที่ดี
กรรมชั่วแต่งให้เกิดภพใหม่ที่ไม่ดี (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๙-๕๐/๓๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๑๐. ภัณฑนสูตร
๑๐. ภัณฑนสูตร
ว่าด้วยภิกษุเกิดความบาดหมางกัน
[๕๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นจำนวนมากกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกัน ณ หอฉัน เกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน
วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปยังหอฉัน
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเรื่องอะไรที่เธอทั้งหลาย
สนทนากันค้างไว้”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกัน ณ
หอฉัน เกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเกิดความบาดหมาง
กัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่นี้ ไม่สมควรแก่เธอทั้งหลาย
ผู้เป็นกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาเลย
ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๑๐ ประการนี้
ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน๒
สาราณียธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เชิงอรรถ :
๑ ที่หลีกเร้น ในที่นี้หมายถึงการอยู่ผู้เดียวด้วยผลสมาบัติ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๗/๑๐๖,องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๘/๒๐๓)
หรือทำนิพพานที่สงบเป็นสุขให้เป็นอารมณ์ เข้าผลสมาบัติในเวลาเช้า (ตามนัย วิ.อ. ๑/๒๒/๒๐๔)
๒ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน หมายถึงความเป็นเอกภาพ ไม่ก่อความแตกแยก (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๒/๑๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๑๐. ภัณฑนสูตร
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็น
ไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ แม้การที่
ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่
ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อ
ความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๓. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี
มีเพื่อนดี นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็น
ไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับ
ฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำ
พร่ำสอนโดยเคารพ นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูง และ
งานต่ำ๑ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๑๗ (ปฐมนาถสูตร) หน้า ๓๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๑๐. ภัณฑนสูตร
สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะ
ต้องช่วยกันทำทั้งงานสูง และงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกัน
ทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็น
ที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟัง และผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์
อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย๑ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม ฯลฯ นี้ก็
เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
๗. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มี
ความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศล
ธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล
ธรรมทั้งหลาย นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๘. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช-
บริขารตามแต่จะได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ นี้ก็เป็นสาราณีย-
ธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๙. เป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๒อย่างยิ่ง
ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๗,๘ ข้อ ๑๗ (ปฐมนาถสูตร) หน้า ๓๒ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๗ (ปฐมนาถสูตร) หน้า ๓๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
คำที่พูดแม้นานได้ นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคระห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๑๐. เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้ง
ความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดย
ชอบ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็น
ที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๑๐ ประการนี้แล ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ภัณฑนสูตรที่ ๑๐ จบ
อักโกสวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิวาทสูตร ๒. ปฐมวิวาทมูลสูตร
๓. ทุติยวิวาทมูลสูตร ๔. กุสินารสูตร
๕. ราชันเตปุรัปปเวสนสูตร ๖. สักกสูตร
๗. มหาลิสูตร ๘. ปัพพชิตอภิณหสูตร
๙. สรีรัฏฐธัมมสูตร ๑๐. ภัณฑนสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๑. สจิตตสูตร
๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. สจิตตวรรค
หมวดว่าด้วยวาระจิตของตน
๑. สจิตตสูตร
ว่าด้วยผู้ฉลาดในวาระจิตของตน
[๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกว่า “เราทั้งหลายจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน” ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุมีการพิจารณาที่เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายว่า “เราเป็นผู้
มีอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)อยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มีอภิชฌา เรา
เป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมีจิตไม่พยาบาท เราเป็นผู้มี
ถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)กลุ้มรุมอยู่โดยมากหรือหนอ หรือปราศจาก
ถีนมิทธะ เราเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มีจิตฟุ้งซ่าน เราเป็นผู้มี
ความสงสัยอยู่โดยมากหรือหนอ หรือข้ามพ้นความสงสัยแล้ว เราเป็นผู้มักโกรธอยู่
โดยมากหรือหนอ หรือไม่มักโกรธ เราเป็นผู้มีจิตเศร้าหมองอยู่โดยมากหรือหนอ
หรือมีจิตไม่เศร้าหมอง เราเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมี
กายไม่กระสับกระส่าย เราเป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือปรารภความเพียร
เราเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมีจิตตั้งมั่น” เปรียบเหมือนสตรี
หรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกเงาอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๑. สจิตตสูตร
บริสุทธิ์ผุดผ่อง หรือในภาชนะน้ำที่ใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้นก็พยายามขจัด
ธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย หากไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ดีใจ ภูมิใจด้วยเหตุนั้น
เองว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิต
พยาบาทอยู่โดยมาก เป็นผู้มีถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดย
มาก เป็นผู้มีความสงสัยอยู่โดยมาก เป็นผู้มักโกรธอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง
อยู่โดยมาก เป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายอยู่โดยมาก เป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมาก
เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมาก’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความ
อุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง
เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ พึงทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดย
มาก เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่โดยมาก เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่โดยมาก เป็นผู้
ไม่มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก เป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยแล้วอยู่โดยมาก เป็นผู้ไม่โกรธ
อยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตไม่เศร้าหมองอยู่โดยมาก เป็นผู้มีกายไม่กระสับกระส่ายอยู่
โดยมาก เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก’ ภิกษุนั้น
ควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง
หลายให้ยิ่งขึ้นไป
สจิตตสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๒. สารีปุตตสูตร
๒. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตร
[๕๒] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย หากภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น
ภิกษุนั้นพึงสำเหนียกว่า ‘เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน’ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุมีการพิจารณาที่เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายว่า ‘เราเป็นผู้
มีอภิชฌาอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มีอภิชฌา เราเป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดยมาก
หรือหนอ หรือมีจิตไม่พยาบาท เราเป็นผู้มีถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่โดยมากหรือหนอ
หรือปราศจากถีนมิทธะ เราเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มีจิตฟุ้งซ่าน
เราเป็นผู้มีความสงสัยอยู่โดยมากหรือหนอ หรือข้ามพ้นความสงสัยแล้ว เราเป็นผู้
มักโกรธอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มักโกรธ เราเป็นผู้มีจิตเศร้าหมองอยู่โดยมาก
หรือหนอ หรือมีจิตไม่เศร้าหมอง เราเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายอยู่โดยมากหรือหนอ
หรือมีกายไม่กระสับกระส่าย เราเป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือปรารภ
ความเพียร เราเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมีจิตตั้งมั่น’ เปรียบ
เหมือนสตรีหรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนใน
กระจกเงาอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง หรือในภาชนะน้ำที่ใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้นก็
พยายามขจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย หากไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ดีใจ ภูมิใจ
ด้วยเหตุนั้นเองว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมาก ฯลฯ เป็นผู้
มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมาก’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ
ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาป
อกุศลธรรมเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๓. ฐิติสูตร
ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่
โดยมาก ฯลฯ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก’ ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรม
เหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป
สารีปุตตสูตรที่ ๒ จบ
๓. ฐิติสูตร
ว่าด้วยความคงอยู่กับที่ในธรรม
[๕๓] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความคงอยู่กับที่ในกุศลธรรม
ทั้งหลาย ไฉนจะสรรเสริญความเสื่อมเล่า ภิกษุทั้งหลาย แต่เราสรรเสริญความเจริญ
ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความคงอยู่กับที่ ไม่ใช่ความเสื่อม
ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความคงอยู่กับที่ ไม่ใช่ความเจริญ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณอยู่
เท่าไร ธรรมเหล่านั้นของภิกษุนั้น ไม่คงอยู่กับที่ ไม่เจริญ เรากล่าวข้อนี้ว่าเป็น
ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความคงอยู่กับที่ ไม่ใช่ความเจริญ
ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความคงอยู่กับที่ ไม่ใช่ความเจริญ เป็น
อย่างนี้แล
ความคงอยู่กับที่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความเสื่อม ไม่ใช่ความเจริญ
เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรร ๓. ฐิติสูตร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณอยู่
เท่าไร ธรรมเหล่านั้นของภิกษุนั้น ไม่เสื่อม ไม่เจริญ เรากล่าวข้อนี้ว่าเป็นความคงอยู่
กับที่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความเสื่อม ไม่ใช่ความเจริญ
ความคงอยู่กับที่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความเสื่อม ไม่ใช่ความเจริญ
เป็นอย่างนี้แล
ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความคงอยู่กับที่ ไม่ใช่ความเสื่อม
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณอยู่
เท่าไร ธรรมเหล่านั้นของภิกษุนั้นไม่คงอยู่กับที่ ไม่เสื่อม เรากล่าวข้อนี้ว่าเป็นความ
เจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความคงอยู่กับที่ ไม่ใช่ความเสื่อม
ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความคงอยู่กับที่ ไม่ใช่ความเสื่อม เป็น
อย่างนี้แล
หากภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุพึงสำเหนียก
ว่า ‘เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุมีการพิจารณาที่เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายว่า ‘เราเป็นผู้
มีอภิชฌาอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มีอภิชฌา เราเป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดยมาก
หรือหนอ หรือมีจิตไม่พยาบาท เราเป็นผู้มีถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่โดยมากหรือหนอ
หรือปราศจากถีนมิทธะ เราเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มีจิต
ฟุ้งซ่าน เราเป็นผู้มีความสงสัยอยู่โดยมากหรือหนอ หรือข้ามพ้นความสงสัยแล้ว
เราเป็นผู้มักโกรธอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มักโกรธ เราเป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง
หรือหนอ หรือมีจิตไม่เศร้าหมอง เราเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายอยู่โดยมากหรือหนอ
หรือมีกายไม่กระสับกระส่าย เราเป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือปรารภ
ความเพียร เราเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมีจิตไม่ตั้งมั่น’ เปรียบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรร ๓. ฐิติสูตร
เหมือนสตรีหรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในกระจก
เงาอันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง หรือในภาชนะน้ำที่ใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็
พยายามขจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย หากไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ดีใจ ภูมิใจ
ด้วยเหตุนั้นเองว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิต
พยาบาทอยู่โดยมาก เป็นผู้มีถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดย
มาก เป็นผู้มีความสงสัยอยู่โดยมาก เป็นผู้มักโกรธอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง
อยู่โดยมาก เป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายอยู่โดยมาก เป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมาก
เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมาก’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความ
อุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง
เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดย
มากเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่โดยมาก เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่โดยมาก เป็นผู้
ไม่ฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก เป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยแล้วอยู่โดยมาก เป็นผู้ไม่มักโกรธอยู่
โดยมาก เป็นผู้มีจิตไม่เศร้าหมองอยู่โดยมาก เป็นผู้มีกายไม่กระสับกระส่ายอยู่โดย
มาก เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก’ ภิกษุนั้นควร
ตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ให้ยิ่งขึ้นไป
ฐิติสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๔. สมถสูตร
๔. สมถสูตร
ว่าด้วยความสงบแห่งจิต
[๕๔] ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุไม่ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น
ภิกษุพึงสำเหนียกว่า ‘เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้ง
หลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุฉลาดในวาระจิตของตน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุมีการพิจารณาที่เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายว่า ‘เราได้
ความสงบแห่งจิตภายในหรือไม่ได้หนอ เราได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
หรือไม่ได้หนอ’ เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว ส่องดู
เงาหน้าของตนในกระจกเงาอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง หรือในภาชนะน้ำที่ใส ถ้าเห็นธุลีหรือ
จุดดำที่หน้านั้น ก็พยายามขจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย หากไม่เห็นธุลีหรือจุดดำนั้น
ก็ดีใจ ภูมิใจ ด้วยเหตุนั้นเองว่า ‘เป็นลาภของเรา หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้
ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นในความสงบแห่งจิตภายใน
แล้วทำความเพียรเพื่อความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเถิด สมัยต่อมา ภิกษุนั้น
ได้ทั้งความสงบแห่งจิตภายใน และความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน’ ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นอยู่ในความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่งแล้วทำความเพียรเพื่อความสงบแห่งจิตภายในเถิด สมัยต่อมา ภิกษุ
นั้นได้ทั้งความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง และความสงบจิตภายใน
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน และความ
เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความ
อุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง
เพื่อได้กุศลธรรมเหล่านั้นเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๔. สมถสูตร
ภิกษุนั้นพึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมเหล่านั้น เปรียบ
เหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ทำความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้น ได้ทั้ง
ความสงบแห่งจิตภายใน และความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราได้ความสงบแห่งจิตภายใน ได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้ว ทำ
ความเพียร เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป
แม้จีวรเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือจีวรที่ควรใช้สอยและจีวรที่ไม่ควรใช้สอย
แม้บิณฑบาตเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือบิณฑบาตที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่
ควรฉัน แม้เสนาสนะเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือเสนาสนะที่ควรอยู่อาศัย และ
เสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้บ้านและนิคมเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือบ้านและ
นิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้ชนบทและประเทศเรา
ก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่
ไม่ควรอยู่อาศัย แม้บุคคลเราก็กล่าวว่ามี ๒ ประเภท คือบุคคลที่ควรคบ และบุคคล
ที่ไม่ควรคบ
จีวรที่ควรใช้สอย และที่ไม่ควรใช้สอย
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้จีวรเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือจีวรที่ควรใช้สอย
และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
บรรดาจีวร ๒ อย่างนั้น จีวรใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอยจีวรนี้แล อกุศลธรรม
ทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ จีวรนี้ไม่ควรใช้สอย จีวรใดภิกษุ
รู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอยจีวรนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ จีวรนี้ควร
ใช้สอย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้จีวรเราก็กล่าวว่า มี ๒ อย่าง คือจีวรที่
ควรใช้สอย และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๔. สมถสูตร
บิณฑบาตที่ควรฉัน และที่ไม่ควรฉัน
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้บิณฑบาตเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือ
บิณฑบาตที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้
เช่นนั้น
บรรดาบิณฑบาต ๒ อย่างนั้น บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราฉันบิณฑบาต
นี้แล อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ บิณฑบาตนี้ไม่ควรฉัน บิณฑบาต
ใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’
บิณฑบาตนี้ควรฉัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้บิณฑบาตเราก็กล่าวว่า
มี ๒ อย่าง คือบิณฑบาตที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เสนาสนะที่ควรอยู่อาศัย และที่ไม่ควรอยู่อาศัย
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้เสนาสนะเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือเสนาสนะที่
ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
บรรดาเสนาสนะ ๒ อย่างนั้น เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย
เสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ เสนาสนะนี้ไม่ควรอยู่
อาศัย เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป
กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ เสนาสนะนี้ควรอยู่อาศัย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้
เสนาสนะเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือเสนาสนะที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่
ควรอยู่อาศัย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
บ้านและนิคมที่ควรอยู่อาศัย และที่ไม่ควรอยู่อาศัย
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้บ้านและนิคมเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือบ้าน
และนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
บรรดาบ้านและนิคม ๒ อย่างนั้น บ้านและนิคมใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย
บ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ บ้านและนิคมนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๔. สมถสูตร
ไม่ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล
อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ บ้านและนิคมนี้ควรอยู่อาศัย เพราะ
อาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้บ้านและนิคมเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือบ้านและนิคม
ที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และที่ไม่ควรอยู่อาศัย
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้ชนบทและประเทศเราก็กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือ
ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะ
อาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
บรรดาชนบทและประเทศ ๒ อย่างนั้น ชนบทและประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเรา
อยู่อาศัยชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ ชนบท
และประเทศนี้ไม่ควรอยู่อาศัย ชนบทและประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย
ชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ ชนบทและ
ประเทศนี้ควรอยู่อาศัย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้ชนบทและประเทศเราก็
กล่าวว่ามี ๒ อย่าง คือชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่
ไม่ควรอยู่อาศัย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
บุคคลที่ควรคบ และที่ไม่ควรคบ
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้บุคคลเราก็กล่าวว่ามี ๒ ประเภท คือบุคคลที่
ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ’ เพราะอาศัยอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
บรรดาบุคคล ๒ ประเภทนั้น บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศล
ธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป’ บุคคลนี้ไม่ควรคบ บุคคลใด ภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเรา
คบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น’ บุคคลนี้ควรคบ เพราะ
อาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘แม้บุคคลเราก็กล่าวว่ามี ๒ ประเภท คือ บุคคลที่ควรคบ
และบุคคลที่ไม่ควรคบ’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
สมถสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๕. ปริหานสูตร
๕. ปริหานสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มีธรรมที่เสื่อมไป
[๕๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ภิกษุ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าว
เรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘บุคคลผู้มีธรรมที่เสื่อมไป บุคคลผู้
มีธรรมที่เสื่อมไป’ และตรัสว่า ‘บุคคลผู้มีธรรมที่ไม่เสื่อม บุคคลผู้มีธรรมที่ไม่เสื่อม’
ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมที่เสื่อมไป พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยเหตุเท่าไรหนอ
และบุคคลผู้มีธรรมที่ไม่เสื่อม พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยเหตุเท่าไร”
ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า “ผู้มีอายุ กระผมทั้งหลายมาแต่ที่ไกลเพื่อทราบเนื้อความ
แห่งภาษิตนี้ในสำนักของท่านสารีบุตร ดีละ เฉพาะท่านสารีบุตรเท่านั้นที่จะอธิบาย
เนื้อความแห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากท่านสารีบุตรแล้ว
จักทรงจำไว้”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าว
เรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมที่เสื่อมไป พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุ
เท่าไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ไม่ได้ฟังธรรมที่ยังไม่เคยฟัง
๒. ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยฟังแล้ว ถึงความเลอะเลือน
๓. ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยสัมผัสด้วยใจมาก่อน ไม่ปรากฏแก่เธอ
๔. ภิกษุนั้นย่อมไม่รู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้
บุคคลผู้มีธรรมที่เสื่อมไป พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่านี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๕. ปริหานสูตร
บุคคลผู้มีธรรมที่ไม่เสื่อม
บุคคลผู้มีธรรมที่ไม่เสื่อม พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่าไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ได้ฟังธรรมที่ยังไม่เคยฟัง
๒. ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยฟังแล้ว ไม่ถึงความเลอะเลือน
๓. ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยสัมผัสด้วยใจมาก่อน ปรากฏแก่เธอ
๔. ภิกษุนั้นย่อมรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้
บุคคลผู้มีธรรมที่ไม่เสื่อม พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่านี้แล
หากภิกษุไม่ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นพึงสำเหนียกว่า
“เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน”
ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุผู้ฉลาดในวาระจิตของตน
ภิกษุฉลาดในวาระจิตของตน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุมีการพิจารณาที่เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายว่า ‘เราไม่มี
อภิชฌาอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เรามีจิตไม่
พยาบาทอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เราปราศจาก
ถีนมิทธะอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เรามีจิตไม่
ฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เราข้ามพ้นความ
สงสัยแล้วอยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เราไม่มักโกรธ
อยู่โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เรามีจิตไม่เศร้าหมองอยู่
โดยมากหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เราได้ปราโมทย์ในธรรม
ภายในหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เราได้ความสงบแห่งจิตภายใน
หรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ เราได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่งหรือหนอ ธรรมนี้มีอยู่พร้อมแก่เราหรือไม่หนอ’ เปรียบเหมือนสตรี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๕. ปริหานสูตร
หรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาวมีปกติชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกเงาอันบริสุทธิ์
ผุดผ่อง หรือในภาชนะน้ำที่ใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็พยายามขจัดธุลี
หรือจุดดำนั้นเสีย หากไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ดีใจ ภูมิใจ ด้วยเหตุนั้นเอง
ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ไม่พิจารณาเห็นกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดในตน ภิกษุ
นั้นก็ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมด
ภิกษุนั้นก็ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมทั้งหลายเหล่านี้
เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ควรทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ พิจารณาเห็นกุศลธรรมบางเหล่าว่ามีในตน พิจารณาเห็น
กุศลธรรมบางเหล่าว่าไม่มีในตน ภิกษุนั้นก็ควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายที่
พิจารณาเห็นว่ามีในตนแล้ว ทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความ
ขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรม
ที่พิจารณาเห็นว่าไม่มีในตนเหล่านั้น
ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายที่พิจารณาเห็นในตนแล้ว ทำความ
พอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมทั้งหลายที่พิจารณาเห็นว่าไม่มีในตน
เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ พิจารณาเห็นกุศลธรรมเหล่านี้แม้
ทั้งหมดว่ามีในตน ภิกษุนั้นก็ควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเลยแล้วทำ
ความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป
ปริหานสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๖. ปฐมสัญญาสูตร
๖. ปฐมสัญญาสูตร๑
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๑
[๕๖] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๑๐ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ๒ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลก
ทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่ง
สังขาร)
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
๘. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๙. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
๑๐. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๑๐ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ปฐมสัญญาสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.สตฺตก. ๒๓/๔๘-๔๙/๔๐-๔๑
๒ อมตะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๗. ทุติยสัญญาสูตร
๗. ทุติยสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๒
[๕๗] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๑๐ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)
๓. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๕. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา(กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลก
ทั้งปวง)
๖. อัฏฐิกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือ
กระดูกท่อน)
๗. ปุฬุวกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด)
๘. วินีลกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละด้วยสีต่าง ๆ)
๙. วิจฉิททกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน)
๑๐. อุทธุมาตกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่เน่าพองขึ้นอืด)
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๑๐ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ทุติยสัญญาสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๘. มูลกสูตร
๘. มูลกสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งหลาย
[๕๘] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นต้นกำเนิด ธรรมทั้งปวง
มีอะไรเป็นเหตุเกิด ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นที่ชุมนุม ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นประมุข
ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นใหญ่ ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นยอดยิ่ง ธรรมทั้งปวงมีอะไร
เป็นแก่น ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นที่หยั่งลง ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นที่สุด’ ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จะตอบพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
อย่างไร
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
ที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจาก
พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
๑. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล
๒. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นต้นกำเนิด
๓. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นเหตุเกิด
๔. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นที่ชุมนุม
๕. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นประมุข
๖. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นใหญ่
๗. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นยอดยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๘. มูลกสูตร
๘. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแก่น
๙. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นที่หยั่งลง
๑๐. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นที่สุด’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว ควรตอบพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
๑. ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล
๒. ธรรมทั้งปวงมีมนสิการเป็นต้นกำเนิด
๓. ธรรมทั้งปวงมีผัสสะเป็นเหตุเกิด
๔. ธรรมทั้งปวงมีเวทนาเป็นที่ชุมนุม
๕. ธรรมทั้งปวงมีสมาธิเป็นประมุข
๖. ธรรมทั้งปวงมีสติเป็นใหญ่
๗. ธรรมทั้งปวงมีปัญญาเป็นยอดยิ่ง
๘. ธรรมทั้งปวงมีวิมุตติเป็นแก่น
๙. ธรรมทั้งปวงมีอมตะเป็นที่หยั่งลง
๑๐. ธรรมทั้งปวงมีนิพพานเป็นที่สุด’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว ควรตอบพวกอัญเดียรถีย์
ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้แล
มูลกสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๙. ปัพพัชชาสูตร
๙. ปัพพัชชาสูตร
ว่าด้วยจิตที่ได้รับการอบรมตามสมควรแก่บรรพชา
[๕๙] ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
‘จิตของเราจักได้รับการอบรมตามสมควรแก่บรรพชา และบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้ว จักไม่ครอบงำจิตอยู่ (คือ) จิตของเราจักได้รับการอบรมด้วยอนิจจสัญญา ๑
จิตของเราจักได้รับการอบรมด้วยอนัตตสัญญา ๑ จิตของเราจักได้รับการอบรมด้วย
อสุภสัญญา ๑ จิตของเราจักได้รับการอบรมด้วยอาทีนวสัญญา ๑ จิตของเราจักรู้
ความประพฤติชอบและไม่ชอบของสัตว์โลกแล้วได้รับการอบรมด้วยสัญญา ๑ จิต
ของเราจักรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตว์โลกแล้วได้รับการอบรมด้วยสัญญา ๑
จิตของเราจักรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้วได้รับการอบรมด้วยสัญญา ๑
จิตของเราจักได้รับการอบรมด้วยปหานสัญญา ๑ จิตของเราจักได้รับการอบรมด้วย
วิราคสัญญา ๑ จิตของเราจักได้รับการอบรมด้วยนิโรธสัญญา ๑’ ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อใด จิตของภิกษุได้รับการอบรมตามสมควรแก่บรรพชา และบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ครอบงำจิตอยู่ (คือ) จิตได้รับการอบรมด้วยอนิจจสัญญา ๑
จิตได้รับการอบรมด้วยอนัตตสัญญา ๑ จิตได้รับการอบรมด้วยอสุภสัญญา ๑ จิตได้
รับการอบรมด้วยอาทีนวสัญญา ๑ จิตนั้นรู้ความประพฤติชอบและไม่ชอบของสัตว์
โลกแล้วได้รับการอบรมด้วยสัญญา ๑ จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตว์โลก
แล้วได้รับการอบรมด้วยสัญญา ๑ จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้วได้
รับการอบรมด้วยสัญญา ๑ จิตได้รับการอบรมด้วยปหานสัญญา ๑ จิตได้รับการ
อบรมด้วยวิราคสัญญา ๑ จิตได้รับการอบรมด้วยนิโรธสัญญา ๑
เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
ปัพพัชชาสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๑๐. คิริมานันทสูตร
๑๐. คิริมานันทสูตร
ว่าด้วยการหายอาพาธของพระคิริมานนท์
[๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จไปเยี่ยมท่านพระ
คิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเธอเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา ๑๐
ประการแก่คิริมานนท์ภิกษุ เป็นไปได้ที่การอาพาธของคิริมานนท์ภิกษุจะสงบระงับ
โดยฉับพลันเพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้
สัญญา ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อนิจจสัญญา ๒. อนัตตสัญญา
๓. อสุภสัญญา ๔. อาทีนวสัญญา
๕. ปหานสัญญา ๖. วิราคสัญญา
๗. นิโรธสัญญา ๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา
๙. สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา ๑๐. อานาปานสติ

อนิจจสัญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ว่า ‘รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง’
เป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่อย่างนี้
นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๑๐. คิริมานันทสูตร
อนัตตสัญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
เห็นว่า ตาเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็น
อนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะ
เป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลายที่เป็นภายในและภายนอก ๖ ประการนี้อยู่อย่างนี้
นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา
อสุภสัญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายนี้เท่านั้น ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่
ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า
‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต๑ หัวใจ ตับ
พังผืด ม้าม๒ ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด
เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’ เป็นผู้พิจารณาเห็นโดย
ความเป็นของไม่งามในกายนี้อยู่อย่างนี้ นี้เรียกว่า อสุภสัญญา
อาทีนวสัญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
เห็นว่า ‘กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้
คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน
โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคท้อง โรคลมสลบ

เชิงอรรถ :
๑ ไต แปลจากคำว่า “วกฺก” (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ ก้อนเนื้อ ๒ ก้อน มีขั้วเดียวกัน รูปร่างคล้ายลูก
สะบ้าของเด็ก ๆ หรือคล้ายผลมะม่วง ๒ ผลที่ติดอยู่ในขั้วเดียวกัน มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัวใจ
แล้วแยกออกห้อยอยู่ทั้ง ๒ ข้าง (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๓) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ให้บท
นิยามของคำว่า “ไต” ว่า “อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของ
เสียออกมากับน้ำปัสสาวะ Buddhadatta Mahathera, A. Concise Pali-English Dictionary, 1985, (224);
และ Rhys Davids, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925,(591) ให้ความหมายคำว่า “วกฺก”
ตรงกับคำว่า “ไต” (Kidney)
๒ ม้าม แปลจากคำว่า “ปิหก” ตาม (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๕) (โบราณแปลว่า ไต); พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ.๒๕๒๕ ให้บทนิยามไว้ว่า “อวัยวะภายในร่างกาย ริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทำลายเม็ด
เลือดแดงสร้างเม็ดเลือดเหลืองและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๑๐. คิริมานันทสูตร
โรคลงแดง๑ โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลม
บ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรคละอองบวม โรค
อาเจียนเป็นเลือด โรคดี โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดี
เป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสลดเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้
สันนิบาตเป็นสมุฏฐาน อาพาธที่เกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธที่เกิดแต่การบริหารที่
ไม่สม่ำเสมอ อาพาธที่เกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธที่เกิดแต่วิบากของกรรม
ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ’
เป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้อยู่อย่างนี้ นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา
ปหานสัญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้
ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด
ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ไม่รับวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้
สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ไม่รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป นี้เรียกว่า
ปหานสัญญา
วิราคสัญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
เห็นว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนซึ่งอุปธิ
ทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด นิพพาน’ นี้เรียกว่า วิราคสัญญา
นิโรธสัญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
เห็นว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนซึ่งอุปธิ
ทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความดับ นิพพาน’ นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา
สัพพโลเก อนภิรตสัญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอุปาทานในโลกที่เป็นเหตุตั้งมั่น ยึดมั่น และเป็น
อนุสัยแห่งจิต งดเว้น ไม่ถือมั่น นี้เรียกว่า สัพพโลเก อนภิรตสัญญา

เชิงอรรถ :
๑ โรคลงแดง หมายถึงโรคที่ถ่ายอุจจาระท้องเดินเป็นเลือด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๑๐. คิริมานันทสูตร
สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจในสังขารทั้งปวง นี้เรียกว่า
สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา
อานาปานสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์๑ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๒ มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก๓
อานาปานสติ ๑๖ ขั้น๔
๑. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
๒. เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
๓. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจออก
๔. สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก
๕. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจออก

เชิงอรรถ :
๑ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้ง ๒ ข้าง เรียกว่านั่งขัดสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)
๒ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า หมายถึงตั้งสติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)
๓ ตามอรรถกถาพระสูตรนี้ อัสสาสะ หมายถึง หายใจเข้า ปัสสาสะ หมายถึงหายใจออก (อสฺสาโสติ อนฺโต-
ปวิสนนาสิกวาโต. ปสฺสาโสติ พหินิกฺขมนนาสิกวาโต. ม.ม.อ.๒/๓๐๕/๑๓๖) ส่วนตามอรรถกถาวินัยกลับกัน
คือ อัสสาสะ หมายถึงหายใจออก ปัสสาสะ หมายถึงหายใจเข้า (อสฺสาโสติ พหินิกฺขมนวาโต ปสฺสาโสติ
อนฺโตปวิสนวาโต. วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๖)
๔ ดู ม.ม. ๑๓/๑๔๑/๙๕-๖, ม.อุ. ๑๔/๑๔๗/๑๓๐-๑๓๑, สํ.ม. ๑๙/๙๗๗/๒๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค ๑๐. คิริมานันทสูตร
๖. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจออก
๗. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจออก
๘. สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก
๙. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจออก
๑๐. สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจออก
๑๑. สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจออก
๑๒. สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก
๑๓. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก
๑๔. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก
๑๕. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก
๑๖. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
นี้เรียกว่า อานาปานสติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. สจิตตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ถ้าเธอจะพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่คิริมานนท์ภิกษุ
เป็นไปได้ที่อาพาธของคิริมานนท์ภิกษุนั้นจะระงับไปโดยฉับพลันเพราะได้ฟัง
สัญญา ๑๐ ประการนี้
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาค เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ถึงที่อยู่ กล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่ท่าน
พระคิริมานนท์ ขณะนั้นเอง อาพาธของท่านพระคิริมานนท์สงบระงับลงโดย
ฉับพลันเพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ ท่านพระคิริมานนท์ได้หายขาดจาก
อาพาธนั้น
อาพาธนั้น เป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ละได้ อย่างนี้แล
คิริมานันทสูตรที่ ๑๐ จบ
สจิตตวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สจิตตสูตร ๒. สารีปุตตสูตร
๓. ฐิติสูตร ๔. สมถสูตร
๕. ปริหานสูตร ๖. ปฐมสัญญาสูตร
๗. ทุติยสัญญาสูตร ๘. มูลกสูตร
๙. ปัพพัชชาสูตร ๑๐. คิริมานันทสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๑. อวิชชาสูตร
๒. ยมกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมคู่กัน
๑. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา
[๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่
ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่มี ภายหลังจึงมี เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวคำนี้
อย่างนี้ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชาที่มีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ
แม้อวิชชา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร๑ มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็นอาหาร
ของอวิชชา ควรตอบว่า ‘นิวรณ์ ๕’
แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของนิวรณ์ ๕ ควรตอบว่า ‘ทุจริต ๓’
แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของทุจริต ๓ ควรตอบว่า ‘ความไม่สำรวมอินทรีย์’
แม้ความไม่สำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของความไม่สำรวมอินทรีย์ ควรตอบว่า ‘ความไม่มีสติ-
สัมปชัญญะ’
แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรตอบว่า ‘การมนสิการโดยไม่
แยบคาย’
แม้การมนสิการโดยไม่แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของการมนสิการโดยไม่แยบคาย ควรตอบว่า ‘ความไม่มีศรัทธา’
แม้ความไม่มีศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรตอบว่า ‘การไม่ฟังสัทธรรม’

เชิงอรรถ :
๑ อาหาร ในที่นี้หมายถึงปัจจัยหรือเหตุ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๖๑-๖๒/๓๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๑. อวิชชาสูตร
แม้การไม่ฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรตอบว่า ‘การไม่คบสัตบุรุษ’
การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การไม่ฟังสัทธรรมบริบูรณ์
การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความไม่มีศรัทธาบริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การมนสิการโดยไม่แยบคายบริบูรณ์
การมนสิการโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความไม่มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์
ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความไม่สำรวมอินทรีย์บริบูรณ์
ความไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ทุจริต ๓ บริบูรณ์
ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้นิวรณ์ ๕ บริบูรณ์
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้อวิชชาบริบูรณ์
อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมทำให้การไม่ฟังสัทธรรมบริบูรณ์
ฯลฯ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้อวิชชาบริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และ
บริบูรณ์อย่างนี้ เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดเขา เมื่อฝนตกลงหนัก ๆ
น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่มทำให้ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา ลำธาร
และห้วยเต็มเปี่ยมแล้วทำให้หนองเต็ม หนองเต็มแล้วทำให้บึงเต็ม บึงเต็มแล้วทำให้
แม่น้ำน้อยเต็ม แม่น้ำน้อยเต็มแล้วทำให้แม่น้ำใหญ่เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้วทำให้
มหาสมุทรสาครเต็ม มหาสมุทรสาครนี้มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้
ว่าด้วยวิชชาและวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย แม้วิชชาและวิมุตติ๑ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร อะไรเล่าเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรตอบว่า ‘โพชฌงค์ ๗’
แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรตอบว่า ‘สติปัฏฐาน ๔’

เชิงอรรถ :
๑ วิชชาและวิมุตติ ในที่นี้หมายถึงผลญาณ และสัมปยุตตธรรมที่เหลือ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๖๑-๖๒/๓๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๑. อวิชชาสูตร
แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรตอบว่า ‘สุจริต ๓’
แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของสุจริต ๓ ควรตอบว่า ‘ความสำรวมอินทรีย์’
แม้ความสำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไร
เล่าเป็นอาหารของความสำรวมอินทรีย์ ควรตอบว่า ‘สติสัมปชัญญะ’
แม้สติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรตอบว่า ‘การมนสิการโดยแยบคาย’
แม้การมนสิการโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของการมนสิการโดยแยบคาย ควรตอบว่า ‘ศรัทธา’
แม้ศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็นอาหาร
ของศรัทธา ควรตอบว่า ‘การฟังสัทธรรม’
แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรตอบว่า ‘การคบสัตบุรุษ’
การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การฟังสัทธรรมบริบูรณ์
การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ศรัทธาบริบูรณ์
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การมนสิการโดยแยบคายบริบูรณ์
การมนสิการโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สติสัมปชัญญะบริบูรณ์
สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์
ความสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สุจริต ๓ บริบูรณ์
สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๒. ตัณหาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การฟังสัทธรรมบริบูรณ์ ฯลฯ
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหาร
อย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดเขา เมื่อฝน
ตกลงหนักๆ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่มทำให้ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา
ลำธารและห้วยเต็มเปี่ยมแล้วทำให้หนองเต็ม หนองเต็มแล้วทำให้บึงเต็ม บึงเต็ม
แล้วทำให้แม่น้ำน้อยเต็ม แม่น้ำน้อยเต็มแล้วทำให้แม่น้ำใหญ่เต็ม แม่น้ำใหญ่
เต็มแล้วทำให้มหาสมุทรสาครเต็ม มหาสมุทรสาครนี้มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยม
อย่างนี้
อวิชชาสูตรที่ ๑ จบ
๒. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวตัณหา(ความทะยานอยากในภพ)
ย่อมไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้ ภวตัณหาไม่มี ภายหลังจึงมี เพราะฉะนั้น เราจึง
กล่าวคำนี้อย่างนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวตัณหาที่มีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ
แม้ภวตัณหา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของภวตัณหา ควรตอบว่า ‘อวิชชา’
แม้อวิชชา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็นอาหาร
ของอวิชชา ควรตอบว่า ‘นิวรณ์ ๕’
แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของนิวรณ์ ๕ ควรตอบว่า ‘ทุจริต ๓’
แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของทุจริต ๓ ควรตอบว่า ‘ความไม่สำรวมอินทรีย์’
แม้ความไม่สำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของความไม่สำรวมอินทรีย์ ควรตอบว่า ‘ความไม่มีสติสัมปชัญญะ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๒. ตัณหาสูตร
แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรตอบว่า ‘การมนสิการโดย
ไม่แยบคาย’
แม้การมนสิการโดยไม่แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของการมนสิการโดยไม่แยบคาย ควรตอบว่า ‘ความไม่มีศรัทธา’
แม้ความไม่มีศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรตอบว่า ‘การไม่ฟังสัทธรรม’
แม้การฟังอสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของการฟังอสัทธรรม ควรตอบว่า ‘การไม่คบสัตบุรุษ’
การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การไม่ฟังสัทธรรมบริบูรณ์
การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความไม่มีศรัทธาบริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การมนสิการโดยไม่แยบคายบริบูรณ์
การมนสิการโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความไม่มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์
ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความไม่สำรวมอินทรีย์บริบูรณ์
ความไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ทุจริต ๓ บริบูรณ์
ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้นิวรณ์ ๕ บริบูรณ์
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมให้อวิชชาบริบูรณ์
อวิชชาที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ภวตัณหาบริบูรณ์
ภวตัณหานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การไม่ฟังสัทธรรม
บริบูรณ์ ฯลฯ อวิชชาที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ภวตัณหาบริบูรณ์ ภวตัณหานี้มีอาหาร
อย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดเขา เมื่อฝน
ตกลงหนัก ๆ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่มทำให้ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา
ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยมแล้วทำหนองให้เต็ม หนองเต็มแล้วทำให้บึงเต็ม บึงเต็ม
แล้วทำให้แม่น้ำน้อยเต็ม แม่น้ำน้อยเต็มแล้วทำให้แม่น้ำใหญ่เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็ม
แล้วทำให้มหาสมุทรสาครเต็ม มหาสมุทรสาครนี้มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยม
อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๒. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยวิชชาและวิมุตติ
แม้วิชชาและวิมุตติ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรตอบว่า ‘โพชฌงค์ ๗’
แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรตอบว่า ‘สติปัฏฐาน ๔’
แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรตอบว่า ‘สุจริต ๓’
แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็น
อาหารของสุจริต ๓ ควรตอบว่า ‘ความสำรวมอินทรีย์’
แม้ความสำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไร
เล่าเป็นอาหารของความสำรวมอินทรีย์ ควรตอบว่า ‘สติสัมปชัญญะ’
แม้สติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรตอบว่า ‘การมนสิการโดยแยบคาย’
แม้การมนสิการโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
อะไรเล่าเป็นอาหารของการมนสิการโดยแยบคาย ควรตอบว่า ‘ศรัทธา’
แม้ศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่าเป็นอาหาร
ของศรัทธา ควรตอบว่า ‘การฟังสัทธรรม’
แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร อะไรเล่า
เป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรตอบว่า ‘การคบสัตบุรุษ’
การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การฟังสัทธรรมบริบูรณ์
การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ศรัทธาบริบูรณ์
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การมนสิการโดยแยบคายบริบูรณ์
การมนสิการโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สติสัมปชัญญะบริบูรณ์
สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ความสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์
ความสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สุจริต ๓ บริบูรณ์
สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๓. นิฏฐังคตสูตร
สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การฟังสัทธรรมบริบูรณ์ ฯลฯ
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหาร
อย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดเขา เมื่อฝน
ตกลงหนักๆ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่มทำให้ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา
ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยมแล้วทำให้หนองเต็ม หนองเต็มแล้วทำให้บึงเต็ม บึงเต็ม
แล้วทำให้แม่น้ำน้อยเต็ม แม่น้ำน้อยเต็มแล้วทำให้แม่น้ำใหญ่เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็ม
แล้วทำให้มหาสมุทรสาครเต็ม มหาสมุทรสาครนี้มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยม
อย่างนี้
ตัณหาสูตรที่ ๒ จบ
๓. นิฏฐังคตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เชื่อมั่นในตถาคต
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา บุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๑ บรรดาบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเหล่านั้น บุคคล ๕
จำพวกมีความสำเร็จ๒ ในโลกนี้ และบุคคล ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้ว จึงมีความ
สำเร็จ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันขึ้นไป ซึ่งมีชื่อว่า ‘ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ’
บ้าง ‘ผู้มาสู่พระสัทธรรม’ บ้าง ‘ผู้เห็นพระสัทธรรม’ บ้าง ‘ผู้ประกอบด้วยญาณของพระเสขะ’ บ้าง ‘ผู้
ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะ’ บ้าง ‘ผู้เข้าถึงกระแสธรรม’ บ้าง ‘ผู้มีปัญญาแทงตลอด’ บ้าง ‘ผู้ยืนจรด
ประตูอมตะ’ บ้าง (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒)
๒ มีความสำเร็จ ในที่นี้หมายถึงปรินิพพานในปัจจุบัน ละโลกนี้ไปแล้วจึงมีความสำเร็จ หมายถึงเข้าถึง
พรหมโลกชั้นสุทธาวาส แล้วจึงปรินิพพาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๖๓-๖๔/๓๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๓. นิฏฐังคตสูตร
บุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง มีความสำเร็จในโลกนี้ คือ
๑. พระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน๑
๒. พระโกลังโกลโสดาบัน๒
๓. พระเอกพีชีโสดาบัน๓
๔. พระสกทาคามี
๕. พระอรหันต์ในปัจจุบัน
บุคคล ๕ จำพวกนี้ มีความสำเร็จในโลกนี้
บุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง ละโลกนี้ไปแล้วจึงมีความสำเร็จ คือ
๑. พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี๔
๒. พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี๕

เชิงอรรถ :
๑ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน หมายถึงพระโสดาบันผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้แล้วเป็นผู้ไม่ตกไปใน
อบาย ๔ คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิคือมรรค ๓ เบื้องสูง
ได้แก่ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค ในวันข้างหน้า เมื่อเกิดในภพใหม่เป็นเทวดาหรือ
มนุษย์ก็เกิดได้ไม่เกิน ๗ ครั้ง (อภิ.ปุ. ๓๖/๓๑/๑๒๒, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓)
๒ โกลังโกลโสดาบัน หมายถึงพระโสดาบันผู้เมื่อจะเกิดในภพใหม่เป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็เกิดได้ ๒ หรือ
๓ ภพ และถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็ไม่เกิดในตระกูลต่ำ คือเกิดในตระกูลที่มีโภคสมบัติมากเท่านั้น (อภิ.ปุ.
๓๖/๓๑/๑๒๒-๓, องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๒, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕)
๓ เอกพีชีโสดาบัน หมายถึงผู้มีพืชคืออัตภาพเดียว คือเกิดอีกครั้งเดียวก็บรรลุพระอรหัตตผล (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๘/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๘/๒๓๗)
๔ อันตราปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือเกิดในสุทธาวาสชั้นใดชั้นหนึ่งแล้ว
อายุยังไม่ถึงกึ่งของอายุผู้เกิดในชั้นสุทธาวาสก็ปรินิพพานเสียในระหว่าง มี ๓ จำพวก คือ
พวกที่ ๑ เกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหาเป็นต้น ซึ่งมีอายุ ๑,๐๐๐ กัป ก็บรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิด ถ้าไม่
บรรลุในวันที่เกิดได้ก็บรรลุไม่เกินภายใน ๑๐๐ กัป
พวกที่ ๒ เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิดได้ก็บรรลุภายใน ๒๐๐ กัป
พวกที่ ๓ บรรลุพระอรหัตตผลไม่เกินภายใน ๔๐๐ กัป (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๕ อุปหัจจปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสชั้นใดชั้นหนึ่งแล้วจวนจะถึงปรินิพพาน คือ
อายุพ้นกึ่ง (พ้น ๕๐๐ กัป) แล้วจวนจะถึงสิ้นอายุจึงปรินิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๔. อเวจจัปปสันนสูตร
๓. พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี๑
๔. พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี๒
๕. พระอนาคามีผู้อุทธังโสตอกนิฏฐคามี๓
บุคคล ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงมีความสำเร็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บรรดาบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเหล่านั้น บุคคล ๕ จำพวก
แรกนี้ มีความสำเร็จในโลกนี้ และบุคคล ๕ จำพวกหลังนี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงมี
ความสำเร็จ
นิฏฐังคตสูตรที่ ๓ จบ
๔. อเวจจัปปสันนสูตร
ว่าด้วยผู้เลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหว
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโสดาบัน๔ บรรดาบุคคลผู้เป็นโสดาบันเหล่านั้น บุคคล ๕
จำพวก มีความสำเร็จในโลกนี้ และบุคคล ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้วจึงมีความสำเร็จ
บุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง มีความสำเร็จในโลกนี้ คือ
๑. พระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน
๒. พระโกลังโกลโสดาบัน

เชิงอรรถ :
๑ อสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้บรรลุพระอรหัตตผลปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก
(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๒ สสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสชั้นใดชั้นหนึ่งบรรลุพระอรหัตตผลปรินิพพาน
โดยต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๓ อุทธังโสตอกนิฏฐคามี หมายถึงพระอนาคามีผู้มีกระแสสูงขึ้นไปจนถึงชั้นอกนิฏฐภพคือเกิดในสุทธาวาส
ชั้นใดชั้นหนึ่งแล้วก็เกิดเลื่อนต่อไปจนถึงชั้นอกนิฏฐภพแล้วจึงปรินิพพานในชั้นอกนิฏฐภพนั้น (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๘/๒๔๒)
๔ โสดาบัน หมายถึงผู้เข้าถึงกระแสคืออริยมรรค (องฺ.ทสก.อ. ๓/๖๓-๖๔/๓๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๕. ปฐมสุขสูตร
๓. พระเอกพีชีโสดาบัน
๔. พระสกทาคามี
๕. พระอรหันต์ในปัจจุบัน
บุคคล ๕ จำพวกนี้ มีความสำเร็จในโลกนี้
บุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง ละโลกนี้ไปแล้วจึงมีความสำเร็จ คือ
๑. พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
๒. พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
๓. พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
๔. พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
๕. พระอนาคามีผู้อุทธังโสตอกนิฏฐคามี
บุคคล ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงมีความสำเร็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในเรา บุคคล
เหล่านั้นทั้งหมดเป็นโสดาบัน บรรดาบุคคลผู้เป็นโสดาบันเหล่านั้น บุคคล ๕ จำพวก
แรกนี้มีความสำเร็จในโลกนี้ และบุคคล ๕ จำพวกหลังนี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงมีความ
สำเร็จ
อเวจจัปปสันนสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมสุขสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดสุขและทุกข์ สูตรที่ ๑
[๖๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ นาลกคาม๑ แคว้นมคธ ครั้งนั้นแล
ปริพาชกชื่อว่าสามัณฑกานิเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิง
ใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านว่า “ท่านสารีบุตร
อะไรหนอ เป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์”

เชิงอรรถ :
๑ นาลกคาม เป็นชื่อหมู่บ้านซึ่งเป็นที่เกิดของท่านพระสารีบุตร ไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์ บางทีเรียก
นาลันทคาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๖. ทุติยสุจสูตร
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ การไม่เกิด
เป็นเหตุให้เกิดสุข เมื่อมีการเกิด ทุกข์นี้เป็นอันพึงหวังได้๑คือความหนาว ร้อน หิว
กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ สัมผัสไฟ ถูกตีด้วยไม้ ถูกทำร้ายด้วยศัสตรา
ทั้งญาติมิตรต่างก็พากันโกรธเคืองเขา
เมื่อมีการเกิด ทุกข์นี้เป็นอันพึงหวังได้ เมื่อไม่มีการเกิด สุขนี้เป็นอันพึงหวังได้
คือ ความไม่หนาว ไม่ร้อน ไม่หิว ไม่กระหาย ไม่ต้องปวดอุจจาระ ไม่ต้องปวด
ปัสสาวะ ไม่ต้องสัมผัสไฟ ไม่ถูกตีด้วยไม้ ไม่ถูกทำร้ายด้วยศัสตรา ทั้งญาติมิตร ก็
ไม่พากันโกรธเคืองเขา
ผู้มีอายุ เมื่อไม่มีการเกิด สุขนี้เป็นอันพึงหวังได้”
ปฐมสุขสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุติยสุขสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดสุขและทุกข์ สูตรที่ ๒
[๖๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ นาลกคาม แคว้นมคธ ครั้งนั้นแล
ปริพาชกชื่อว่าสามัณฑกานิเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านว่า “ท่านสารีบุตร ใน
ธรรมวินัยนี้ อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ในธรรมวินัยนี้ ความไม่ยินดีเป็นเหตุให้
เกิดทุกข์ ความยินดีเป็นเหตุให้เกิดสุข เมื่อไม่ยินดี ทุกข์นี้เป็นอันพึงหวังได้ คือ
บุคคลผู้ไม่ยินดี แม้เดินอยู่ก็ไม่ประสพความสุขสำราญ บุคคลผู้ไม่ยินดี แม้ยืนอยู่ ...
แม้นั่งอยู่ ... แม้นอนอยู่ ... แม้ไปสู่บ้าน ... แม้ไปสู่ป่า ... แม้ไปสู่โคนไม้ ... แม้ไปสู่
เรือนว่าง ... แม้ไปสู่ที่แจ้ง ... แม้ไปสู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ก็ไม่ประสพความสุขสำราญ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (เจโตขีลสูตร) หน้า ๒๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๗. ปฐมนฬกปานสูตร
ผู้มีอายุ เมื่อไม่ยินดี ทุกข์นี้เป็นอันพึงหวังได้ เมื่อมีความยินดี สุขนี้เป็นอันพึง
หวังได้ คือ บุคคลผู้มีความยินดี แม้เดินอยู่ ก็ประสพความสุขสำราญ แม้ยืนอยู่ ...
แม้นั่งอยู่ ... แม้นอนอยู่ ... แม้ไปสู่บ้าน ... แม้ไปสู่ป่า ... แม้ไปสู่โคนไม้ ... แม้ไปสู่
เรือนว่าง ... แม้ไปสู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ... ก็ประสพความสุขสำราญ
ผู้มีอายุ เมื่อมีความยินดี สุขนี้เป็นอันพึงหวังได้”
ทุติยสุขสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมนฬกปานสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่นฬกปานนิคม สูตรที่ ๑
[๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงนิคมของชาวโกศลชื่อว่านฬกปานะ ประทับอยู่ที่ปลาสวัน
ใกล้นฬกปานนิคมนั้น สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว ประทับ
นั่งในวันอุโบสถนั้น ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาสิ้นหลาย
ราตรีทีเดียว ทรงชำเลืองดูภิกษุสงฆ์ผู้นิ่งเงียบอยู่ ทรงเรียกท่านพระสารีบุตรมา
ตรัสว่า
“สารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)แล้ว เฉพาะ
เธอเท่านั้นที่จะอธิบายธรรมีกถาให้แจ่มแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายได้๑ เราเมื่อยหลัง จัก
เอนหลัง”
ท่านพระสารีบุตรได้ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาครับ
สั่งให้ปูลาดสังฆาฏิทบ ๔ ชั้น บรรทมสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงวาง

เชิงอรรถ :
๑ แปลจากประโยคบาลีว่า “ปติภาตุ ตํ สารีปุตฺต ภิกฺขูนํ ธมฺมีกถา” ซึ่งโครงสร้างประโยคเช่นนี้มีปรากฏใน
พระไตรปิฏกหลายเล่ม และแต่ละเล่มก็มีอยู่หลายที่ มีข้อสังเกตว่าประโยคนี้ เป็นประโยคธรรมเนียมมอบ
หมายงานให้แสดงธรรม โดยคำนึงถึง “ความถนัดส่วนบุคคล” เป็นหลัก ในที่นี้ทรงมอบหมายให้ท่านพระ
สารีบุตรแสดง เพราะท่านมีความถนัดในเรื่องนี้ หาใช่เพราะทรงประสงค์จะยกย่องท่านเป็นพิเศษไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๗. ปฐมนฬกปานสูตร
พระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงทำอุฏฐานสัญญา(ความกำหนด
หมายว่าจะลุกขึ้น) ไว้ในพระหทัย ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลาย
มากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีหิริ ... ไม่มี
โอตตัปปะ ... ไม่มีวิริยะ ... ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือ
กลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวังได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่มีความเจริญเลย
ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีหิริ ... ไม่มีโอตตัปปะ ... ไม่มี
วิริยะ ... ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้น
ผ่านไป เขาพึงหวังได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญ
เลย เปรียบเหมือนเมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในกาฬปักษ์(ข้างแรม)ผ่านไป
ดวงจันทร์นั้น ย่อมเสื่อมจากความงาม ย่อมเสื่อมจากรัศมี ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง
ย่อมเสื่อมจากด้านยาวและด้านกว้าง
ข้อที่ว่า ‘บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีปัญญา
ทราม มักโกรธ ผูกโกรธ ปรารถนาชั่ว มีมิตรชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ’ นี้เป็นความเสื่อม
ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ...
มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขา
พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริ ... มีโอตตัปปะ
... มีวิริยะ ... มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้น
ผ่านไป เขาพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อม
เลย เปรียบเหมือนเมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในชุณหปักษ์(ข้างขึ้น)
ผ่านไป ดวงจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยความงาม ย่อมเจริญด้วยรัศมี ย่อมเจริญด้วย
แสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยด้านยาวและด้านกว้าง
ข้อที่ว่า ‘บุคคลผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ ปรารภความเพียร มีปัญญา
ไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ มักน้อย มีมิตรดี เป็นสัมมาทิฏฐิ’ นี้ไม่เป็นความเสื่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๗. ปฐมนฬกปานสูตร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้วตรัสชมท่านพระสารีบุตรว่า ดีละ ดีละ
สารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีหิริ ... ไม่มีโอตตัปปะ ...
ไม่มีวิริยะ ... ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของ
ผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวังได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความ
เจริญเลย
สารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ไม่มีปัญญาในกุศล
ธรรมทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้น ฯลฯ ไม่มีความเจริญเลย เปรียบ
เหมือนเมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในกาฬปักษ์ผ่านไป ดวงจันทร์นั้น
ย่อมเสื่อมจากความงาม ย่อมเสื่อมจากรัศมี ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อม
จากด้านยาวและด้านกว้าง
ข้อที่ว่า ‘บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีปัญญา
ทราม มักโกรธ ผูกโกรธ ปรารถนาชั่ว มีมิตรชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ’ นี้เป็นความเสื่อม
ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ...
มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป ผู้นั้นพึง
หวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
สารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ...
มีวิริยะ ... มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป
เขาพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
เปรียบเหมือนเมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในชุณหปักษ์ผ่านไป ดวงจันทร์
นั้น ย่อมเจริญด้วยความงาม ย่อมเจริญด้วยรัศมี ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง ย่อม
เจริญด้วยด้านยาวและด้านกว้าง
สารีบุตร ข้อที่ว่า ‘บุคคลผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ ปรารภความเพียร
มีปัญญา ไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ มักน้อย มีมิตรดี เป็นสัมมาทิฏฐิ' นี้ไม่เป็น
ความเสื่อม
ปฐมนฬกปานสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๘. ทุติยนฬกปานสูตร
๘. ทุติยนฬกปานสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่นฬกปานนิคม สูตรที่ ๒
[๖๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ ปลาสวัน ใกล้นฬกปานนิคม
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่งในวันอุโบสถนั้น ทรง
ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาสิ้นหลายราตรีทีเดียว ทรงชำเลืองดูภิกษุ
สงฆ์ผู้นิ่งเงียบอยู่ ได้ทรงเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า
“สารีบุตร ภิกษุสงฆ์เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะแล้ว เฉพาะเธอเท่านั้นที่จะอธิบาย
ธรรมีกถาให้แจ่มแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายได้ เราเมื่อยหลัง จักเอนหลัง”
ท่านพระสารีบุตรได้ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค
รับสั่งให้ปูลาดสังฆาฏิทบ ๔ ชั้น บรรทมสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรง
วางพระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงทำอุฏฐานสัญญาไว้ใน
พระหทัย ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีหิริ ... ไม่มี
โอตตัปปะ ... ไม่มีวิริยะ ... ไม่มีปัญญา ... ไม่มีการเงี่ยโสตฟังธรรม ... ไม่มีการทรงจำ
ธรรม ... ไม่มีการพิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ... ไม่มีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่
ธรรม ... ไม่มีความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของ
ผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวังได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความ
เจริญเลย
ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีหิริ ... ไม่มีโอตตัปปะ ... ไม่มี
วิริยะ ... ไม่มีปัญญา ... ไม่มีการเงี่ยโสตฟังธรรม ... ไม่มีการทรงจำธรรม ... ไม่มี
การพิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ... ไม่มีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ... ไม่มี
ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๘. ทุติยนฬกปานสูตร
เขาพึงหวังได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย
เปรียบเหมือนเมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในกาฬปักษ์ผ่านไป ดวงจันทร์
นั้นย่อมเสื่อมจากความงาม ย่อมเสื่อมจากรัศมี ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อม
จากด้านยาวและด้านกว้าง
ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ...
มีปัญญา ... มีการเงี่ยโสตฟังธรรม ... มีการทรงจำธรรม... มีการพิจารณาเนื้อความ
แห่งธรรม ... มีการปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม ... มีความไม่ประมาทในกุศล
ธรรมทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวังได้แต่ความ
เจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริ ... มีโอตตัปปะ
... มีวิริยะ ... มีปัญญา ... มีการเงี่ยโสตฟังธรรม ... มีการทรงจำธรรม ... มีการ
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ... มีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ... มีความไม่
ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวัง
ได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย เปรียบ
เหมือนเมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในชุณหปักษ์ผ่านไป ดวงจันทร์นั้น
ย่อมเจริญด้วยความงาม ย่อมเจริญด้วยรัศมี ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง ย่อมเจริญ
ด้วยด้านยาวและด้านกว้าง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้วตรัสชมท่านพระสารีบุตรว่า ดีละ ดีละ
สารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีหิริ ... ไม่มีโอตตัปปะ ...
ไม่มีวิริยะ ... ไม่มีปัญญา ... ไม่มีการเงี่ยโสตฟังธรรม ... ไม่มีการทรงจำธรรม ... ไม่มี
การพิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ... ไม่มีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ... ไม่มี
ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป
เขาพึงหวังได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย
สารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ไม่มีความไม่
ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๔๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น