Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๑-๗ หน้า ๓๐๕ - ๓๕๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๗ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามอวิชชาและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากปัญญินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้ปัญญินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
[๑๙๒] ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในส่วนเบื้องต้น
ด้วยอำนาจแห่งทุติยฌาน อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ในปฐมฌาน
ด้วยอำนาจแห่งตติยฌาน อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ในทุติยฌาน
ด้วยอำนาจแห่งจตุตถฌาน อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ในตติยฌาน
ด้วยอำนาจแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๕ ในจตุตถฌาน
ด้วยอำนาจแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์
๕ ในอากาสานัญจายตนสมาบัติ
ด้วยอำนาจแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์
๕ ในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ด้วยอำนาจแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๕ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ด้วยอำนาจแห่งอนิจจานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (๘)
ด้วยอำนาจแห่งทุกขานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ใน
อนิจจานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอนัตตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในทุกขานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งนิพพิทานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอนัตตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวิราคานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในนิพพิทานุปัสสนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งนิโรธานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในวิราคานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งปฏินิสสัคคานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในนิโรธานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งขยานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในปฏินิสสัคคานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวยานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ใน
ขยานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวิปริณามานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในวยานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอนิมิตตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในวิปริณามานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอนิมิตตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งสุญญตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอัปปณิหิตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในสุญญตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอาทีนวานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในยถาภูตญาณทัสสนะ
ด้วยอำนาจแห่งปฏิสังขานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอาทีนวานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในปฏิสังขานุปัสสนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งโสดาปัตติมรรค อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในวิวัฏฏนานุปัสสนา (๑๘-๒๖)
ด้วยอำนาจแห่งโสดาปัตติผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในโสดาปัตติมรรค
ด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรค อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในโสดาปัตติผล
ด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในสกทาคามิมรรค
ด้วยอำนาจแห่งอนาคามิมรรค อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในสกทาคามิผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจแห่งอนาคามิผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอนาคามิมรรค
ด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอนาคามิผล
ด้วยอำนาจแห่งอรหัตตผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอรหัตตมรรค
อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ สลัดออกจากกามฉันทะ
อินทรีย์ ๕ ในอพยาบาท สลัดออกจากพยาบาท
อินทรีย์ ๕ ในอาโลกสัญญา สลัดออกจากถีนมิทธะ
อินทรีย์ ๕ ในอวิกเขปะ สลัดออกจากอุทธัจจะ
อินทรีย์ ๕ ในธัมมววัตถาน สลัดออกจากวิจิกิจฉา
อินทรีย์ ๕ ในญาณ สลัดออกจากอวิชชา
อินทรีย์ ๕ ในปามุชชะ สลัดออกจากอรติ
[๑๙๓] อินทรีย์ ๕ ในปฐมฌาน สลัดออกจากนิวรณ์
อินทรีย์ ๕ ในทุติยฌาน สลัดออกจากวิตกวิจาร
อินทรีย์ ๕ ในตติยฌาน สลัดออกจากปีติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ ในจตุตถฌาน สลัดออกจากสุขและทุกข์
อินทรีย์ ๕ ในอากาสานัญจายตนสมาบัติ สลัดออกจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
นานัตตสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ สลัดออกจากอากาสานัญจายตน-
สัญญา
อินทรีย์ ๕ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ สลัดออกจากวิญญาณัญจายตน-
สัญญา
อินทรีย์ ๕ ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สลัดออกจากอากิญจัญญายตน-
สัญญา
อินทรีย์ ๕ ในอนิจจานุปัสสนา สลัดออกจากนิจจสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในทุกขานุปัสสนา สลัดออกจากสุขสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในอนัตตานุปัสสนา สลัดออกจากอัตตสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในนิพพิทานุปัสสนา สลัดออกจากนันทิ
อินทรีย์ ๕ ในวิราคานุปัสสนา สลัดออกจากราคะ
อินทรีย์ ๕ ในนิโรธานุปัสสนา สลัดออกจากสมุทัย
อินทรีย์ ๕ ในปฏินิสสัคคานุปัสสนา สลัดออกจากอาทานะ
อินทรีย์ ๕ ในขยานุปัสสนา สลัดออกจากฆนสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในวยานุปัสสนา สลัดออกจากอายุหนะ
อินทรีย์ ๕ ในวิปริณามานุปัสสนา สลัดออกจากธุวสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในอนิมิตตานุปัสสนา สลัดออกจากนิมิต
อินทรีย์ ๕ ในอัปปณิหิตานุปัสสนา สลัดออกจากปณิธิ
อินทรีย์ ๕ ในสุญญตานุปัสสนา สลัดออกจากอภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา สลัดออกจากสาราทานาภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในยถาภูตญาณทัสสนะ สลัดออกจากสัมโมหาภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในอาทีนวานุปัสสนา สลัดออกจากอาลยาภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในปฏิสังขานุปัสสนา สลัดออกจากอัปปฏิสังขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ ในวิวัฏฏนานุปัสสนา สลัดออกจากสัญโญคาภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในโสดาปัตติมรรค สลัดออกจากกิเลสซึ่งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ
อินทรีย์ ๕ ในสกทาคามิมรรค สลัดออกจากกิเลสอย่างหยาบ
อินทรีย์ ๕ ในอนาคามิมรรค สลัดออกจากกิเลสอย่างละเอียด
อินทรีย์ ๕ ในอรหัตตมรรค สลัดออกจากกิเลสทั้งปวง
อินทรีย์ ๕ ในธรรมนั้น ๆ อันพระขีณาสพทั้งปวงสลัดออกได้แล้ว สลัดออก
ดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
อินทรีย์ ๕ มีเครื่องสลัดออกด้วยอาการ ๑๘๐ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัด
ออกจากอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๘๐ อย่างนี้
สุตตันตนิทเทสที่ ๒ จบ
ปฐมภาณวาร จบ
๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๓
[๑๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในโสตาปัตติยังคะ๑ ๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นสตินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นสตินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในฌาน ๔ พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นปัญญินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นปัญญินทรีย์ได้ที่นี้
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
เท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
เท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
คือ ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง

เชิงอรรถ :
๑ โสตาปัตติยังคะ ได้แก่ (๑) คบหาสัตบุรุษ (๒) ฟังสัทธรรม (๓) มนสิการโดยอุบายแยบคาย (๔) ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม (ขุ.ป.อ. ๒/๑๙๔/๑๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
(๑) ปเภทคณนนิทเทส
แสดงอินทรีย์ตามหมวดธรรมต่าง ๆ
[๑๙๕] ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติ-
ยังคะคือการคบสัตบุรุษ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะ
มีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ
คือการฟังสัทธรรมของสัตบุรุษ ฯลฯ
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ
คือการมนสิการโดยอุบายแยบคาย ฯลฯ
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ
คือการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น
วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือการไม่ทำบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือการละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือการทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งกุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมไป
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือ
การพิจารณาเห็นกายในกาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์
เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ
พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็น
สมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
ประคองไว้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
๒๐ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่านในปฐมฌาน
(และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่านในตติยฌาน
ฯลฯ
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่านในจตุตถฌาน
(และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกข์
(และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกขสมุทัย
ฯลฯ
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกขนิโรธ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะ
มีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
อย่างนี้
(๒) จริยวาร
วาระว่าด้วยความประพฤติ
[๑๙๖] ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการเท่าไร
คือ ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความประพฤติ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความประพฤติ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการคบหาสัตบุรุษ (และ) ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการฟังธรรมของสัตบุรุษ ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการมนสิการโดยอุบายแยบคาย ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (และ) ด้วยอำนาจ
สัทธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการ
ประคองไว้ ในสัมมัปปธานคือการไม่ทำบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น (และ)
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์
เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้
ในสัมมัปปธานคือการละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้
ในสัมมัปปธานคือการทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้
ในสัมมัปปธานคือความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะน้อมใจเชื่อ
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย (และ) ด้วยอำนาจแห่ง
สตินทรีย์ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
ไม่ฟุ้งซ่านในปฐมฌาน (และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในทุติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในตติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในจตุตถฌาณ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการเห็น
อริยสัจคือทุกข์ (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขสมุทัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขนิโรธ ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมี
สภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
จารวิหารนิทเทส
แสดงความประพฤติและความเป็นอยู่
[๑๙๗] ความประพฤติและความเป็นอยู่ เป็นอันตรัสรู้แล้ว รู้แจ้งแล้ว
เหมือนอย่างสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง มั่นใจบุคคล ตามที่ประพฤติ ตามที่เป็นอยู่ในฐานะ
ที่ลึกซึ้งว่า “ท่านผู้นี้บรรลุแล้วหรือว่าจักบรรลุแน่”
คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ ๘ อย่าง ได้แก่
๑. ความประพฤติในอิริยาบถ
๒. ความประพฤติในอายตนะ
๓. ความประพฤติในสติ
๔. ความประพฤติในสมาธิ
๕. ความประพฤติในญาณ
๖. ความประพฤติในมรรค
๗. ความประพฤติในผล
๘. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก
คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
คำว่า ความประพฤติในอายตนะ ได้แก่ ความประพฤติในอายตนะภายในและ
อายตนะภายนอกอย่างละ ๖
คำว่า ความประพฤติในสติ ได้แก่ ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔
คำว่า ความประพฤติในสมาธิ ได้แก่ ความประพฤติในฌาน ๔
คำว่า ความประพฤติในญาณ ได้แก่ ความประพฤติในอริยสัจ ๔
คำว่า ความประพฤติในมรรค ได้แก่ ความประพฤติในอริยมรรค ๔
คำว่า ความประพฤติในผล ได้แก่ ความประพฤติในสามัญญผล ๔
คำว่า ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก ได้แก่ ความประพฤติในพระ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติในพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน
ความประพฤติในพระสาวกบางส่วน ความประพฤติในอิริยาบถมีแก่ผู้ตั้งตนไว้ชอบ
ความประพฤติในอายตนะมีแก่ผู้สำรวมอินทรีย์ ความประพฤติในสติมีแก่ผู้ที่อยู่ด้วย
ความไม่ประมาท ความประพฤติในสมาธิมีแก่ผู้ขวนขวายในอธิจิต ความประพฤติ
ในญาณมีแก่ผู้บรรลุปัญญาเครื่องตรัสรู้ ความประพฤติในมรรคมีแก่ผู้ปฏิบัติชอบ
ความประพฤติในผลมีแก่ผู้ได้บรรลุผล และความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลกมีแก่
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน พระสาวก
บางส่วน เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ
๑. เมื่อน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยศรัทธา
๒. เมื่อประคองใจ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิริยะ
๓. เมื่อตั้งจิตมั่น ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสติ
๔. เมื่อทำความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสมาธิ
๕. เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยปัญญา
๖. เมื่อรู้แจ้ง ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ๑

เชิงอรรถ :
๑ วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงอาวัชชนวิญญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๙๗/๑๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
๗. เมื่อมนสิการว่า “กุศลธรรมทั้งหลายย่อมดำเนินไปแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้”
ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยความประพฤติในอายตนะ
๘. เมื่อมนสิการว่า “ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมบรรลุคุณวิเศษ” ชื่อว่า
ย่อมประพฤติด้วยความประพฤติด้วยคุณวิเศษ
เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ
๑. ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา (ความประพฤติด้วย
ความเห็น)
๒. ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา (ความประพฤติ
ด้วยการปลูกฝังความดำริ)
๓. ความประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา (ความประพฤติด้วย
การกำหนดสำรวมวจี ๔ อย่าง )
๔. ความประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา (ความประพฤติ
ด้วยความหมั่น)
๕. ความประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา (ความประพฤติด้วย
ความผ่องแผ้ว)
๖. ความประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่าปัคคหจริยา (ความประพฤติ
ด้วยการประคองความเพียร)
๗. ความประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา (ความประพฤติด้วย
การเข้าไปตั้งสติ)
๘. ความประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา (ความประพฤติด้วย
ความไม่ฟุ้งซ่าน)
เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง๑
คำว่า ความเป็นอยู่ อธิบายว่า บุคคลผู้น้อมใจเชื่อย่อมอยู่ด้วยศรัทธา ผู้
ประคองไว้ย่อมอยู่ด้วยความเพียร ผู้ตั้งมั่นย่อมอยู่ด้วยสติ ผู้ทำความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมอยู่ด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัดย่อมอยู่ด้วยปัญญา

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๒๑/๓๙๙-๔๐๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
คำว่า ตรัสรู้แล้ว อธิบายว่า สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์เป็นอันตรัสรู้
แล้ว สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
สตินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว
สภาวะที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว
คำว่า รู้แจ้งแล้ว อธิบายว่า สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์เป็นอันรู้แจ้ง
แล้ว สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
สตินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว
สภาวะที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว
คำว่า ตามที่ประพฤติ อธิบายว่า ประพฤติด้วยศรัทธาอย่างนี้ ประพฤติด้วย
ความเพียรอย่างนี้ ประพฤติด้วยสติอย่างนี้ ประพฤติด้วยสมาธิอย่างนี้ ประพฤติด้วย
ปัญญาอย่างนี้
คำว่า ตามที่เป็นอยู่ อธิบายว่า เป็นอยู่ด้วยศรัทธาอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยความ
เพียรอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยสติอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยสมาธิอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยปัญญา
อย่างนี้
คำว่า ผู้รู้แจ้ง อธิบายว่า ผู้รู้แจ้ง ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาทำลายกิเลส
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้
คำว่า สพรหมจารี อธิบายว่า ผู้ที่มีกรรมอย่างเดียวกัน มีอุทเทสอย่างเดียวกัน
มีสิกขาเสมอกัน
คำว่า ในฐานะที่ลึกซึ้ง อธิบายว่า ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค
ผล อภิญญา และปฏิสัมภิทา ท่านกล่าวว่า เป็นฐานะที่ลึกซึ้ง
คำว่า มั่นใจ ได้แก่ พึงเชื่อ คือ พึงน้อมไป
คำว่า แน่ นี้เป็นคำกล่าวโดยนัยเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นคำกล่าว
โดยไม่เคลือบแคลง เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ นัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ อย่าง
เป็นคำกล่าวโดยรัดกุม เป็นคำกล่าวโดยไม่ผิด คำว่า แน่ นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้
แน่นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
คำว่า ท่าน นี้เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่านนี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า บรรลุแล้ว ได้แก่ ถึงแล้ว
คำว่า หรือว่าจักบรรลุ ได้แก่ หรือว่าจักถึง
สุตตันตนิทเทส ที่ ๓ จบ
๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๔
[๑๙๘] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น๑
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์
๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์
๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ นี้แล
อินทรีย์ ๕ ประการนี้พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ อินทรีย์ ๕ ประการนี้พึงเห็นด้วยอาการ ๖ อย่าง เพราะมีสภาวะอย่างนี้
คือ พึงเห็นเพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้น
ให้หมดจด เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่ง เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เพราะมีสภาวะ
ทำให้สิ้นไป เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่

เชิงอรรถ :
๑ สูตรข้างต้น ในที่นี้หมายถึงสูตรที่ ๑ (ข้อ ๑๘๔ หน้า ๒๙๐ ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
(๑) อาธิปเตยยัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะเป็นใหญ่
[๑๙๙] พึงเห็นอินทรีย์เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อแห่งบุคคล
ผู้ละความไม่มีศรัทธา (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการประคองไว้แห่งบุคคลผู้ละ
ความเกียจคร้าน (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
ตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมี
สภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความตั้งมั่นแห่งบุคคลผู้ละความ
ประมาท (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่านแห่งบุคคลผู้ละ
อุทธัจจะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นแห่งบุคคลผู้ละอวิชชา
(และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการประคองไว้ ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์
เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ
(และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความเห็น ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยอำนาจแห่ง
อพยาบาทของบุคคลผู้ละพยาบาท ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญาของบุคคลผู้
ละถีนมิทธะ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรคของบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง (และ)
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็น
สตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็น ด้วยอำนาจแห่ง
อรหัตตมรรคของบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ อย่างนี้ (๑)
(๒) อาทิวิโสธนัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นให้หมดจด
[๒๐๐] พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้อง
ต้นให้หมดจด เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
ระวังความไม่มีศรัทธา เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งสัทธินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
ระวังความเกียจคร้าน เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งวิริยินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวัง
ความประมาท เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งสตินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
ระวังอุทธัจจะ เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งสมาธินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวัง
อวิชชา เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งปัญญินทรีย์ให้หมดจด
อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังกามฉันทะ
เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ให้หมดจด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ ในอพยาบาท ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังพยาบาท
เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ให้หมดจด ฯลฯ
อินทรีย์ ๕ ในอรหัตตมรรค ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังกิเลสทั้งปวง
เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ให้หมดจด
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นให้หมดจด
อย่างนี้ (๒)
(๓) อธิมัตตัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะมีประมาณยิ่ง
[๒๐๑] พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ เพราะเจริญสัทธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึง
เกิดขึ้น ด้วยอำนาจปามุชชะ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปามุชชะ ปีติจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปีติ ด้วยอำนาจศรัทธา
สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ด้วยอำนาจศรัทธา
สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปัสสัทธิ สุขจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจสุข ด้วยอำนาจศรัทธา
สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจสุข โอภาสจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจโอภาส ด้วยอำนาจศรัทธา
สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจโอภาส ความสังเวชจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความสังเวช ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจสมาธิ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์
จึงมีประมาณยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
จิตตั้งมั่นอย่างนั้นแล้วย่อมประคองไว้ดี ด้วยอำนาจการประคองไว้ ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
จิตประคองไว้แล้วอย่างนั้นย่อมวางเฉยดี ด้วยอำนาจอุเบกขา ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจอุเบกขา จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสที่มีสภาวะต่าง ๆ ด้วยอำนาจ
ความหลุดพ้น ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะมี
ความหมายว่าธรรมทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจภาวนา ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงหลีกออกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรม
ที่ประณีตกว่า ด้วยอำนาจความหลีกออก ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมี
ประมาณยิ่ง
เพราะหลีกออกแล้ว ฉะนั้น บุคคลจึงสละ(กิเลสและขันธ์)ได้ ด้วยอำนาจ
ความสละ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะสละแล้ว ฉะนั้น กิเลสและขันธ์จึงดับ ด้วยอำนาจความดับ ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ความสละด้วยอำนาจความดับมี ๒ ประการ คือ
๑. ความสละด้วยการบริจาค
๒. ความสละด้วยความแล่นไป
ชื่อว่าความสละด้วยการบริจาค เพราะสละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่าความสละด้วย
ความแล่นไป เพราะจิตแล่นไปในนิพพานธาตุที่เป็นความดับ ความสละด้วยอำนาจ
ความดับมี ๒ ประการนี้
เพราะละความไม่มีศรัทธา ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะ
ความไม่มีศรัทธา ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฏฐิ ฉันทะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
จึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสส่วนที่หยาบ ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสส่วนที่ละเอียด
ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสทั้งปวง ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจศรัทธา
ด้วยอำนาจฉันทะ สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะเจริญวิริยินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละความเกียจคร้าน
ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เพราะเจริญสตินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละความประมาท
ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะความประมาท ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เพราะเจริญสมาธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละอุทธัจจะ ฉันทะจึง
เกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เพราะเจริญปัญญินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึงเกิดขึ้น
ด้วยอำนาจปามุชชะ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปามุชชะ ปีติจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปีติ ด้วยอำนาจปัญญา
ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ด้วยอำนาจปัญญา
ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปัสสัทธิ สุขจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจสุข ด้วยอำนาจปัญญา
ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจสุข โอภาสจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจโอภาส ด้วยอำนาจปัญญา
ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจโอภาส ความสังเวชจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความสังเวช ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจสมาธิ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์
จึงมีประมาณยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
จิตตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ย่อมประคองไว้ดี ด้วยอำนาจการประคองไว้ ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
จิตที่ประคองไว้แล้วอย่างนั้นย่อมวางเฉยดี ด้วยอำนาจอุเบกขา ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจอุเบกขา จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสที่มีสภาวะต่าง ๆ ด้วยอำนาจ
ความหลุดพ้น ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะมี
ความหมายว่าธรรมทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจภาวนา ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงหลีกออกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรม
ที่ประณีตกว่า ด้วยอำนาจความหลีกออก ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมี
ประมาณยิ่ง
เพราะหลีกออกแล้ว บุคคลจึงสละ(กิเลสและขันธ์)ได้ ด้วยอำนาจความสละ
ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะสละแล้ว ฉะนั้น กิเลสและขันธ์จึงดับ ด้วยอำนาจความดับ ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ความสละด้วยอำนาจความดับมี ๒ ประการ คือ
๑. ความสละด้วยการบริจาค
๒. ความสละด้วยความแล่นไป
ชื่อว่าความสละด้วยการบริจาค เพราะสละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่าความสละด้วย
ความแล่นไป เพราะจิตแล่นไปในนิพพานธาตุที่เป็นความดับ ความสละด้วยอำนาจ
ความดับมี ๒ ประการนี้
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่งอย่างนี้
ทุติยภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
(๔) อธิฏฐานัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะตั้งมั่น
[๒๐๒] พึงเห็นอินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็นอย่างไร
คือ เพราะเจริญสัทธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงตั้งมั่น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจ
ปามุชชะ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์ย่อมตั้งมั่น ฯลฯ๑
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นอย่างนี้
(๕) ปริยาทานัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะทำให้สิ้นไป
พึงเห็นอินทรีย์เพราะมีสภาวะทำให้สิ้นไป เป็นอย่างไร
คือ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์จึงทำความไม่มีศรัทธาให้สิ้นไป
ทำความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธาให้สิ้นไป
เพราะมีสภาวะประคองไว้ วิริยินทรีย์จึงทำความเกียจคร้านให้สิ้นไป ทำความ
เร่าร้อนเพราะความเกียจคร้านให้สิ้นไป
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น สตินทรีย์จึงทำความประมาทให้สิ้นไป ทำความเร่าร้อน
เพราะความประมาทให้สิ้นไป
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน สมาธินทรีย์จึงทำอุทธัจจะให้สิ้นไป ทำความเร่าร้อน
เพราะอุทธัจจะให้สิ้นไป
เพราะมีสภาวะเห็น ปัญญินทรีย์จึงทำอวิชชาให้สิ้นไป ทำความเร่าร้อน
เพราะอวิชชาให้สิ้นไป
อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ ทำกามฉันทะให้สิ้นไป

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มองค์ธรรมในข้อ ๒๐๑ หน้า ๓๒๖-๓๒๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ ในอพยาบาท ทำพยาบาทให้สิ้นไป
อินทรีย์ ๕ ในอาโลกสัญญา ทำถีนมิทธะให้สิ้นไป
อินทรีย์ ๕ ในอวิกเขปะ ทำอุทธัจจะให้สิ้นไป
ฯลฯ๑
อินทรีย์ ๕ ในอรหัตตมรรค ทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไป
พึงเห็นอินทรีย์ ๕ เพราะมีสภาวะทำให้สิ้นไปอย่างนี้
(๖) ปติฏฐาปกัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะให้ตั้งอยู่
[๒๐๓] พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ผู้มีศรัทธาให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์ของผู้มี
ศรัทธาให้ผู้มีศรัทธาตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ
ผู้มีความเพียรให้วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในการประคองไว้ วิริยินทรีย์ของผู้มีความ
เพียรให้ผู้มีความเพียรตั้งอยู่ในการประคองไว้
ผู้มีสติให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความตั้งมั่น สตินทรีย์ของผู้มีสติให้ผู้มีสติตั้งอยู่ใน
ความตั้งมั่น
ผู้มีจิตตั้งมั่นให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่ในอวิกเขปะ สมาธินทรีย์ของผู้มีจิตตั้งมั่นให้ผู้
มีจิตตั้งมั่นตั้งอยู่ในอวิกเขปะ
ผู้มีปัญญาให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในความเห็น ปัญญินทรีย์ของผู้มีปัญญาให้ผู้มี
ปัญญาตั้งอยู่ในความเห็น
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในเนกขัมมะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มองค์ธรรมในข้อ ๑๙๒-๑๙๓ หน้า ๓๐๗-๓๐๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอพยาบาท อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอพยาบาท
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอวิกเขปะ อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอวิกเขปะ ฯลฯ๑
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่อย่างนี้
สุตตันตนิทเทสที่ ๔ จบ
๕. อินทริยสโมธาน
ว่าด้วยการประชุมอินทรีย์
[๒๐๔] ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ท่านผู้
ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
คือ ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ อย่าง พระ
เสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ อย่าง ท่านผู้ปราศจาก
ราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ อย่าง
อะไรบ้าง
คือ เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ปุถุชน
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์
๒. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มองค์ธรรมในข้อ ๑๙๒-๑๙๓ หน้า ๓๐๗-๓๐๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต
๔. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอวิกเขปะ
๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส
๖. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสัมปหังสนะ
๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา
ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ อย่างนี้
พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ อย่าง
อะไรบ้าง
คือ เพราะน้อมนึกถึงแล้ว พระเสขะ
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์
๒. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต
๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต
๔. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอวิกเขปะ
๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส
๖. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสัมปหังสนะ
๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา
๘. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว
พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
๑๐ อย่าง อะไรบ้าง
คือ เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะ
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์
ฯลฯ
๘. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ
๑๐. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐
อย่างนี้
[๒๐๕] ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้
ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
เท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
คือ ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง
พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
๑๒ อย่าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง
ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง
อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง อะไรบ้าง
คือ ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เที่ยง
๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง
๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์
๔. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา
๖. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา
๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป
๘. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน
๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป
๑๐. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา
๑๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรผัน
๑๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยั่งยืน
๑๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยอนิมิต
๑๔. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยนิมิต
๑๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่มีปณิหิตะ (ที่ตั้ง)
๑๖. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยปณิธิ
๑๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยสุญญตะ (ความว่าง)
๑๘. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยอภินิเวส (ความยึดมั่น)
ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ เป็น
ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้
[๒๐๖] พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
๑๐ อย่าง อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง
คือ พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เที่ยง
๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง
ฯลฯ
๑๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยสุญญตะ
๑๘. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยอภินิเวส
๑๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ
๒๐. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย
อาการ ๑๒ อย่าง อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง
อะไรบ้าง
คือ ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เที่ยง
๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง
ฯลฯ
๑๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ
๒๐. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ
๒๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เกี่ยวข้อง
๒๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเกี่ยวข้อง
๒๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ
๒๔. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ในสังขาร
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
๑๒ อย่างนี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้
เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์ ฯลฯ๑ ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมีความ
สงบเป็นประโยชน์
คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ ให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๑๖๘ หน้า ๒๖๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้ซึ่งอวิกเขปะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
สัมปหังสนะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ฯลฯ ด้วย
อำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต
(ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง) ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย
ความไม่เที่ยง ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง ฯลฯ
ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้
โดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป
ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ฯลฯ ด้วย
อำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความตั้งไว้โดยความแปรผัน ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้
โดยความยั่งยืน ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยอนิมิต ฯลฯ
ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้
ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่มีปณิหิตะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความไม่ตั้งไว้โดยปณิธิ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยสุญญตะ
ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยอภินิเวส ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ความไม่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งความเกี่ยวข้อง
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
(ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง) ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ความดับ ภิกษุย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมี
ความสงบเป็นประโยชน์ (ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสังขาร)
[๒๐๗] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔
ชื่อว่าอาสวักขยญาณ๑
อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๒. อัญญินทรีย์
๓. อัญญาตาวินทรีย์
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ
เท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร
คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค
อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค
อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ อรหัตตผล
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมี
ความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์
ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร
มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร
มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความ
สืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๑๐๗ หน้า ๑๖๕ ในอาสวักขยญาณนิทเทสในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นกุศล ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นธรรมเครื่องนำออก ทั้งหมดเป็น
เครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพานเป็นอารมณ์
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้
ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่
อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบร่วมกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน
เกี่ยวข้องกัน ประกอบร่วมกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการและเป็นบริวารของ
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ฯลฯ
ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็น
บริวาร ฯลฯ มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งอรหัตตผล ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพาน
เป็นอารมณ์
ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาต
ธรรมเป็นบริวาร ธรรมเหล่านี้เป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญาตาวินทรีย์นั้น
อินทรีย์ ๘ รวม ๘ หมวดนี้ จึงเป็นอาการ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้
คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง
คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ
อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์
ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง
โสดาปัตติมรรคนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
[๒๐๘] สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ๑
คำว่า สมันตจักขุ อธิบายว่า ชื่อว่าสมันตจักขุ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ พระพุทธญาณ ๑๔ ประการ ได้แก่
๑. ญาณในทุกข์ ชื่อว่าพุทธญาณ
๒. ญาณในทุกขสมุทัย ชื่อว่าพุทธญาณ
ฯลฯ
๑๓. สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๔. อนาวรณญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๓๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๕/๓๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
พระพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้แล บรรดาพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้ ญาณ ๘
ประการเบื้องต้นเป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ส่วนญาณอีก ๖ ประการเบื้องปลาย
เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก
สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์พระตถาคตทรงทราบแล้วตลอดทั้งหมด ที่ไม่ทรง
ทราบไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุเป็น
ปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมีสภาวะ
ประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์พระตถาคตทรง
เห็นแล้ว ทรงทราบแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาตลอด
ทั้งหมด ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึง
ชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุเป็นปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะ
น้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมีสภาวะประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะ
ตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์
สภาวะที่เป็นเหตุแห่งสมุทัย ฯลฯ
สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ฯลฯ
สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่งอัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่งธัมมปฏิสัมภิทา ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯลฯ
ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ฯลฯ
ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ
ญาณในพระมหากรุณาสมาบัติ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อม
ทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงรู้แล้ว
ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาตลอดทั้งหมด ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้ว
ด้วยพระปัญญาไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุ
เป็นปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมี
สภาวะประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์เพราะมี
สภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์
บุคคลเมื่อเชื่อ ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่า
ตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าเชื่อ
เมื่อเชื่อ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าเชื่อ
บุคคลเมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่ารู้ชัด
เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าประคองไว้
บุคคลเมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น
ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งสติมั่น
เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งสติมั่น
บุคคลเมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าเชื่อ
เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งใจมั่น
เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าตั้งใจมั่น
บุคคลเมื่อรู้ชัด ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด
ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่ารู้ชัด
เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะ
ความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อ
จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะ
ความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงประคองไว้ เพราะความ
เป็นผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น
เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความ
เป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่น
จึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น
เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะ
ความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจ
มั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่น
จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น
เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้
ชัดจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้ง
สติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะ
ความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงรู้ชัด
พุทธจักขุชื่อว่าพุทธญาณ พุทธญาณชื่อว่าพุทธจักขุ เป็นเครื่องให้พระตถาคต
ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย
พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวก
มักไม่เห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัย
คำว่า มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก บุคคลผู้มีความเพียร ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
ปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีความเกียจคร้าน ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีสติหลงลืม ชื่อ
ว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน
ปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
บุคคลผู้มีปัญญาดี ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีปัญญาทราม
ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นผู้มี
อินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดี
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน
คำว่า มีอาการดี มีอาการทราม อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีอาการดี
บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้มีอาการทราม ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดี เป็นผู้มีอาการดี
บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้มีอาการทราม
คำว่า พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก อธิบายว่า บุคคลผู้มี
ศรัทธา เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
บุคคลผู้มีความเพียร เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้เกียจคร้าน เป็นผู้พึงสอน
ให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีสติหลงลืม
เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคล
ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีปัญญาดี เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้ง
ได้ง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
คำว่า บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็น
ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มักเห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดย
ความเป็นภัย ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก วิปัตติ-
สัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก
โลก ๑ คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑
โลก ๓ คือ เวทนา ๓
โลก ๔ คือ อาหาร ๔
โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕
โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖
โลก ๗ คือ วิญญาณัฏฐิติ ๗
โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘
โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙
โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐
โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒
โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘๑
คำว่า โทษ อธิบายว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ อภิสังขาร
ทั้งปวงเป็นโทษ กรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ สัญญาในโลกนี้และ
ในโทษนี้ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เหมือนสัญญาในศัตรู
ผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่า ปรากฏแล้ว ฉะนั้น๒ พระตถาคตทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบ
ทรงรู้แจ้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ อย่างนี้
ตติยภาณวาร จบ
อินทริยกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๐๔/๓๕๕-๓๕๖
๒ ดูเทียบข้อ ๑๑๒ หน้า ๑๗๒-๑๗๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา อุทเทส
๕. วิโมกขกถา
ว่าด้วยวิโมกข์
อุทเทส
[๒๐๙] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น๑
ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๓ ประการนี้
วิโมกข์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุญญตวิโมกข์
๒. อนิมิตตวิโมกข์
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์
ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๓ ประการนี้แล
อีกประการหนึ่ง วิโมกข์ ๖๘ ประการ๒ คือ

๑. สุญญตวิโมกข์ ๒. อนิมิตตวิโมกข์
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ ๔. อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์
มีการออกจากอารมณ์ภายใน)
๕. พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ ๖. ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มี
(วิโมกข์มีการออกจาก การออกจากอารมณ์ทั้งสอง)
อารมณ์ภายนอก)


เชิงอรรถ :
๑ สูตรข้างต้น ในที่นี้หมายถึงสูตรที่ ๑ (ข้อ ๑๘๔ หน้า ๒๙๐ ในเล่มนี้)
๒ วิโมกข์ ๖๘ ประการ ถ้าหากนับตามจำนวนเป็น ๗๕ ประการ แต่ท่านให้ตัดวิโมกข์ออกไป ๗ ประการ
คือวิโมกข์ข้อที่ ๑ ถึงข้อที่ ๖ และวิโมกข์ข้อที่ ๖๕ จึงเหลือเพียง ๖๘ ประการ (ตามนัย ขุ.ป.อ.
๒/๒๐๙/๑๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา อุทเทส
๗-๑๐. วิโมกข์ ๔ จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
๑๑-๑๔. วิโมกข์ ๔ จากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
๑๕-๑๘. วิโมกข์ ๔ จากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
๑๙-๒๒. วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
๒๓-๒๖. วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
๒๗-๓๐. วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
๓๑-๓๔. วิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
๓๕-๓๘. วิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
๓๙-๔๒. วิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
๔๓. ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูปทั้งหลาย
๔๔. ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ไม่มีความหมายรู้ว่ารูปภายในเห็นรูป
ภายนอก
๔๕. ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุเป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่างามเท่านั้น
๔๖. อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์
๔๗. วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์
๔๘. อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์
๔๙. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์
๕๐. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์ ๕๑. สมยวิโมกข์

๕๒. อสมยวิโมกข์ ๕๓. สามยิกวิโมกข์
๕๔. อสามยิกวิโมกข์ ๕๕. กุปปวิโมกข์
๕๖. อกุปปวิโมกข์ ๕๗. โลกียวิโมกข์
๕๘. โลกุตตรวิโมกข์ ๕๙. สาสววิโมกข์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส

๖๐. อนาสววิโมกข์ ๖๑. สามิสวิโมกข์
๖๒. นิรามิสวิโมกข์ ๖๓. นิรามิสานิรามิสตรวิโมกข์
๖๔. ปณิหิตวิโมกข์ ๖๕. อัปปณิหิตวิโมกข์
๖๖. ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ ๖๗. สัญญุตตวิโมกข์
๖๘. วิสัญญุตตวิโมกข์ ๖๙. เอกัตตวิโมกข์
๗๐. นานัตตวิโมกข์ ๗๑. สัญญาวิโมกข์
๗๒. ญาณวิโมกข์ ๗๓. สีติสิยาวิโมกข์
๗๔. ฌานวิโมกข์ ๗๕. อนุปาทาจิตตวิโมกข์

นิทเทส
[๒๑๐] สุญญตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำอภินิเวส
(ความยึดมั่น) ในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่เป็น
สุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำนิมิตใน
นามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำปณิธิ (ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ตั้งมั่น) ในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่ไม่มีปณิหิตะ
นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์
อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ นี้ชื่อว่าอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ นี้ชื่อว่าทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
วิโมกข์ ๔ จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ปฐมฌานออกจากนิวรณ์ ทุติยฌานออกจากวิตก วิจาร ตติยฌานออกจาก
ปีติ จตุตถฌานออกจากสุขและทุกข์ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (๔)
วิโมกข์ ๔ จากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อากาสานัญจายตนสมาบัติออกจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
วิญญาณัญจายตนสมาบัติออกจากอากาสานัญจายตนสัญญา
อากิญจัญญายตนสมาบัติออกจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติออกจากอากิญจัญญายตนสัญญา
นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ จากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๘)
วิโมกข์ ๔ จากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติมรรคออกจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส จาก
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัยออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
สกทาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ จาก
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามกามราค-
สังโยชน์เป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
อนาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ จาก
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามกามราค-
สังโยชน์เป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
อรหัตตมรรคออกจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย
ภวราคานุสัย (และ)อวิชชานุสัยออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามรูปราคะเป็นต้นนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ จาก
ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๑๒)
[๒๑๑] วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต(จิตที่มีอารมณ์เดียว) เพื่อประโยชน์
แก่การได้ปฐมฌาน ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การได้ทุติยฌาน ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การ
ได้ตติยฌาน วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้จตุตถฌาน
นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ อนุโลมตามอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๑๖)
วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยขน์แก่การได้อากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์แก่การได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต
เพื่อประโยขน์แก่การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ อนุโลม
ตามพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๒๐)
วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เพื่อประโยชน์แก่การได้
โสดาปัตติมรรค ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ เพื่อประโยชน์
แก่การได้อนาคามิมรรค อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เพื่อ
ประโยชน์แก่การได้อรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ อนุโลมตามทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
(๔-๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
วิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้ปฐมฌาน หรือวิบากแห่งปฐมฌาน การได้ทุติยฌาน หรือวิบากแห่ง
ทุติยฌาน การได้ตติยฌาน หรือวิบากแห่งตติยฌาน การได้จตุตถฌาน หรือวิบาก
แห่งจตุตถฌาน นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๒๘)
วิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งอากาสานัญจายตน-
สมาบัติ ฯลฯ การได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ การได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ ฯลฯ การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๓๒)
วิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค สกทาคามิผลแห่งสกทาคามิมรรค
อนาคามิผลแห่งอนาคามิมรรค อรหัตตผลแห่งอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔
ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๓๖)
[๒๑๒] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูปทั้งหลาย เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้มนสิการถึงนิมิตสีเขียวในภายใน ย่อมได้
นีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว
ครั้นแล้วน้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้นีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้น
ให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ เจริญ
ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “นิมิตสีเขียวทั้งสองทั้งภายในและภายนอกนี้
เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้มนสิการถึงนิมิตสีเหลือง ฯลฯ นิมิตสีแดง ฯลฯ
นิมิตสีขาวในภายใน ย่อมได้โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรง
จำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วน้อมจิตไปในนิมิตสีขาวในภายนอก ย่อมได้
โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ
เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “นิมิตสีขาวทั้งสองทั้งภายในและภายนอก
นี้เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อม
เห็นรูปทั้งหลายอย่างนี้ (๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ไม่มีความหมายรู้ว่ารูปภายในเห็นรูปภายนอก
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่มนสิการถึงนิมิตสีเขียวในภายใน จึงไม่ได้
นีลสัญญา น้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้นีลสัญญา เธอทำ
นิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ เจริญ
ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราไม่มีความหมายรู้ว่าเป็นรูปในภายใน นิมิต
สีเขียวภายนอกนี้เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่มนสิการถึงนิมิตสีเหลือง ฯลฯ นิมิตสีแดง ฯลฯ
นิมิตสีขาวในภายใน ย่อมไม่ได้โอทาตสัญญา น้อมจิตไปในนิมิตสีขาวในภายนอก
ย่อมได้โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว
กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “ไม่มี
รูปในภายใน นิมิตสีขาวในภายนอกนี้เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป ชื่อว่า
วิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ไม่มีความหมายรู้ว่ารูปภายในเห็นรูปภายนอกอย่างนี้ (๓๘)
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุเป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่างามเท่านั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ ทิศที่ ๒ ฯลฯ
ทิศที่ ๓ ฯลฯ ทิศที่ ๔ ฯลฯ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่
เกลียดชัง
มีกรุณาจิต ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญกรุณา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง
มีมุทิตาจิต ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญมุทิตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง
มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญอุเบกขา สัตว์ทั้งหลาย
ไม่เป็นที่เกลียดชัง
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุเป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่างามเท่านั้นอย่างนี้ (๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
[๒๑๓] อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่
มนสิการถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ด้วย
มนสิการว่า “อากาศไม่มีที่สุด” นี้ชื่อว่าอากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ (๔๐)
วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนสมาบัติโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด”
นี้ชื่อว่าวิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ (๔๑)
อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนสมาบัติได้โดยประการ
ทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี”
นี้ชื่อว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ (๔๒)
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนสมาบัติโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติวิโมกข์ (๔๓)
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติโดย
ประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ นี้ชื่อว่าสัญญาเวทยิตนิโรธ-
สมาบัติวิโมกข์ (๔๔)
สมยวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าสมยวิโมกข์ (๔๕)
อสมยวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอสมยวิโมกข์ (๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
สามยิกวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าสามยิกวิโมกข์ (๔๗)
อสามยิกวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอสามยิกวิโมกข์ (๔๘)
กุปปวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่ากุปปวิโมกข์ (๔๙)
อกุปปวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอกุปปวิโมกข์ (๕๐)
โลกียวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าโลกียวิโมกข์ (๕๑)
โลกุตตรวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าโลกุตตรวิโมกข์ (๕๒)
สาสววิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าสาสววิโมกข์ (๕๓)
อนาสววิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอนาสววิโมกข์ (๕๔)
สามิสวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์อันประกอบด้วยรูป นี้ชื่อว่าสามิสวิโมกข์ (๕๕)
นิรามิสวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์ที่ไม่ประกอบด้วยรูป นี้ชื่อว่านิรามิสวิโมกข์ (๕๖)
นิรามิสานิรามิสตรวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่านิรามิสานิรามิสตร-
วิโมกข์ (๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าปณิหิตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ (๕๘)
ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้ปฐมฌานหรือวิบากแห่งปฐมฌาน ฯลฯ การได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่า
ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ (๕๙)
สัญญุตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าสัญญุตตวิโมกข์ (๖๐)
วิสัญญุตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าวิสัญญุตตวิโมกข์ (๖๑)
เอกัตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าเอกัตตวิโมกข์ (๖๒)
นานัตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่านานัตตวิโมกข์ (๖๓)
[๒๑๔] สัญญาวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญา-
วิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ๑ (และ) ด้วยปริยาย๒

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ ด้วยอำนาจวัตถุ หมายถึงเป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ ด้วยอำนาจ
วัตถุ ๑๐ มีนิจจสัญญาเป็นต้น (ขุ.ป.อ.๒/๒๑๔/๑๘๓-๔)
๒ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยปริยาย หมายถึงเป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยการพ้นจาก
สัญญานั้น (ขุ.ป.อ.๒/๒๑๔/๑๘๓-๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๕ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น