Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๒-๑๑ หน้า ๕๘๘ - ๖๔๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒-๑๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
และอาสนะ ๑๐๐,๐๐๐ ที่
อันสมควรและไม่มีโทษเถิด
[๖๕] พระมหามุนีทรงพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
พระองค์ประสงค์จะช่วยเหลือข้าพเจ้า
ให้ข้ามพ้น(สงสารวัฏ) จึงทรงรับไว้
(ทานกถา)
[๖๖] ข้าพเจ้าได้ถวายบาตรแก่ภิกษุรูปละหนึ่งใบ
ภิกษุทั้งหลายสละบาตรที่ตนใช้สอยแล้ว ใช้บาตรเหล็ก
[๖๗] พระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่
ในมณฑปดอกไม้ตลอด ๗ วัน ๗ คืน
เมื่อจะทรงให้สัตว์จำนวนมากตรัสรู้
จึงทรงประกาศพระธรรมจักร
[๖๘] เมื่อทรงประกาศพระธรรมจักรภายใต้มณฑปดอกไม้
เทวดาและมนุษย์ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม
[๖๙] เมื่อถึงวันที่ ๗ พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ
ประทับนั่งอยู่ภายในใต้เงาร่ม
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
(พยากรณ์)
[๗๐] เราจักพยากรณ์มาณพผู้ที่ได้ถวายทานอย่างประเสริฐ
ไม่บกพร่องแก่เรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๗๑] กองทัพ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ
และพลเดินเท้าจักห้อมล้อมมาณพนั้นเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๗๒] ยานพาหนะคือช้าง
ยานพาหนะคือม้า คานหาม และวอ
จักบำรุงเขาเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง
[๗๓] รถ ๖,๐๐๐ คันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
จักแวดล้อมเขาเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง
[๗๔] เครื่องดนตรี ๖,๐๐๐ ชิ้น
กลองที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
จักขับกล่อมเขาเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง
[๗๕] สาวรุ่น ๘๖,๐๐๐ นาง
ผู้ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
สวมใส่ผ้าอาภรณ์อย่างงดงาม ห้อยตุ้มหูแก้วมณี
[๗๖] มีตากลมโต มีปกติร่าเริง รูปงาม เอวเล็กเอวบาง
จักห้อมล้อมเขาเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง
[๗๗] เขาจักรื่นรมย์ในเทวโลก ๓,๐๐๐ กัป
จักเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติ ๑,๐๐๐ ชาติ
[๗๘] และจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๗๙] เมื่อเขาอยู่ในเทวโลก
พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม
เทวดาจักกั้นฉัตรแก้วไว้ที่ขอบเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๘๐] เขาจักปรารถนาเมื่อใด
หลังคาผ้าและดอกไม้(ดังจะ)รู้ความคิดของเขา
จักกั้นอยู่เนืองนิตย์เมื่อนั้น
[๘๑] เขาถูกกุศลมูลตักเตือนจุติจากเทวโลก
แล้วประกอบด้วยบุญกรรม
จักเป็นบุตรของพราหมณ์
[๘๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๘๓] พระผู้มีพระภาคผู้โคดมศากยะผู้ประเสริฐ
ทรงทราบความนั้นทั้งหมดแล้ว
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุ
จักทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะ
[๘๔] เขาจักได้เป็นสาวกมีนามว่าปิลินทวัจฉะ ของพระศาสดา
จักเป็นผู้ที่เทวดา อสูร และคนธรรพ์ สักการะ
[๘๕] เขาจักเป็นที่รักของภิกษุ ภิกษุณี
และคฤหัสถ์ทั้งปวง อยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
(ว่าด้วยอานิสงส์ของทาน)
[๘๖] กรรมที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วใน ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพสุดท้ายนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว
ดุจความเร็วของลูกศรที่หลุดพ้นไปจากแล่ง
เผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว
[๘๗] น่าปลื้มใจ กรรมข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้ว
ในเนื้อนาบุญอย่างยอดเยี่ยม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
ซึ่งเป็นฐานะที่ข้าพเจ้าทำสักการะแล้ว
ได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว๑
[๘๘] ก็มาณพใดได้ให้ทานอย่างประเสริฐไม่บกพร่อง
มาณพนั้นได้เป็นหัวหน้าคนแรก
นี้เป็นผลแห่งทานนั้น
(๑. อานิสงส์ของการถวายร่ม)
[๘๙] ข้าพเจ้าได้ถวายร่มในพระสุคต
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๘ ประการ
[๙๐] คือข้าพเจ้าไม่รู้สึกหนาว ๑ ไม่รู้สึกร้อน ๑
ละอองและธุลีไม่แปดเปื้อน ๑ เป็นผู้ไม่มีอันตราย ๑
ไม่มีเสนียดจัญไร ๑ ชนทั้งหลายยำเกรงทุกเมื่อ ๑
[๙๑] เป็นผู้มีผิวพรรณละเอียด ๑ เป็นผู้มีใจใสสะอาด ๑
เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ
ฉัตร ๑๐๐,๐๐๐ คัน
[๙๒] ซึ่งประกอบด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง
กั้นอยู่เหนือศีรษะของข้าพเจ้า ยกเว้นชาตินี้
เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
[๙๓] เพราะฉะนั้น ในชาตินี้
การกั้นฉัตรจึงไม่มีแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้ากระทำกรรมทุกอย่าง
ก็เพื่อบรรลุฉัตรคือวิมุตติ

เชิงอรรถ :
๑ บทที่ไม่หวั่นไหว ได้แก่พระนิพพาน (ขุ.อป.อ. ๑/๒๖๖/๒๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๒. อานิสงส์ของการถวายผ้า)
[๙๔] ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าในพระสุคต
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๘ ประการ
[๙๕] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณดังทอง ๑
ปราศจากธุลี(ปราศจากไฝฝ้า) ๑
มีรัศมีผ่องใส ๑ มีตบะ ๑ มีร่างกายมีผิวเกลี้ยงเกลา ๑
เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ
[๙๖] ก็มีผ้าสีขาว ๑๐๐,๐๐๐ ผืน ๑
มีผ้าสีเหลือง ๑๐๐,๐๐๐ ผืน ๑
มีผ้าสีแดง ๑๐๐,๐๐๐ ผืน ๑
กั้นอยู่เหนือศีรษะของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้า
[๙๗] ข้าพเจ้าได้ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าป่าน
และผ้าฝ้ายในที่ทุกแห่ง เพราะผลกรรมเหล่านั้น
(๓. อานิสงส์ของการถวายบาตร)
[๙๘] ข้าพเจ้าได้ถวายบาตรในพระสุคต
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๑๐ ประการ
[๙๙] คือข้าพเจ้าบริโภคโภชนาหารในภาชนะทองคำ
ภาชนะแก้วมณี ภาชนะเงิน
และภาชนะที่ทำด้วยทับทิม ทุกครั้ง ๑
[๑๐๐] ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอันตราย ๑ ไม่มีเสนียดจัญไร ๑
ชนทั้งหลายยำเกรงทุกเมื่อ ๑
เป็นผู้ได้ข้าว น้ำ ผ้า และที่นอน เป็นปกติ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๑๐๑] โภคสมบัติของข้าพเจ้าไม่พินาศ ๑
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตมั่นคง ๑
เป็นผู้ใคร่ธรรมทุกเมื่อ ๑
เป็นผู้มีกิเลสน้อย ๑ ไม่มีอาสวะ ๑
[๑๐๒] คุณเหล่านี้ ติดตามข้าพเจ้าไปทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
ไม่ละข้าพเจ้าในที่ทุกแห่ง
เปรียบเหมือนเงาต้นไม้
(๔. อานิสงส์ของการถวายมีด)
[๑๐๓] ข้าพเจ้าได้ถวายมีดเล็กที่ทำอย่างสวยงาม
เนื่องด้วยเครื่องผูกอย่างวิจิตรจำนวนมาก
แก่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดและแก่สงฆ์แล้ว
[๑๐๔] ได้รับอานิสงส์ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๘ ประการ
คือข้าพเจ้าเป็นผู้กล้า ๑
เป็นผู้ไม่มีความเดือดร้อน ๑
ถึงความสำเร็จในเวสารัชชธรรม ๑
[๑๐๕] เป็นผู้มีปัญญาเครื่องทรงจำ ๑ มีความเพียร ๑
ประคองใจไว้ได้ทุกเมื่อ ๑
ได้ญาณอันสุขุมเป็นเครื่องตัดกิเลส ๑
ได้ความบริสุทธิ์ไม่มีอะไรเทียมเท่าในที่ทั้งปวง ๑
เพราะผลกรรมของข้าพเจ้านั้น
(๕. อานิสงส์ของการถวายมีดเล็ก)
[๑๐๖] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใสได้ถวายมีดเล็กอันราบเรียบ ไม่หยาบ
ขัดถูดีแล้ว จำนวนมากในพระพุทธเจ้าและในพระสงฆ์แล้ว
[๑๐๗] ได้รับอานิสงส์ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
คือข้าพเจ้าย่อมได้กัลยาณมิตร ๑ ความเพียร ๑
ขันติ ๑ ศัสตราคือไมตรี ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๑๐๘] เพราะตัดลูกศรคือตัณหา
จึงได้ศัสตราคือปัญญาอันยอดเยี่ยม
และญาณที่เสมอด้วยเพชร ๑
เพราะผลแห่งกรรมเหล่านั้น
(๖. อานิสงส์ของการถวายเข็ม)
[๑๐๙] ข้าพเจ้าได้ถวายเข็มในพระสุคต
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๑๐] คือเมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
เป็นผู้ที่มหาชนนอบน้อม ๑
ตัดความสงสัยได้ ๑
มีรูปร่างงดงาม ๑ มีโภคสมบัติ ๑
มีปัญญาฉลาดหลักแหลม ๑ ทุกเมื่อ
[๑๑๑] ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นอรรถ
ซึ่งเป็นฐานะละเอียดลึกซึ้งด้วยญาณ
ญาณของข้าพเจ้าเสมอด้วยยอดเพชร
เป็นเครื่องกำจัดความมืด
(๗. อานิสงส์ของการถวายมีดตัดเล็บ)
[๑๑๒] ข้าพเจ้าได้ถวายมีดตัดเล็บในพระสุคต
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๑๓] คือข้าพเจ้าย่อมได้ทาสชายหญิง ๑ โคและม้า ๑
ลูกจ้างที่เป็นนางฟ้อนรำ ๑ ช่างตัดผม ๑
พ่อครัวผู้ทำอาหารจำนวนมากในที่ทั้งปวง ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๘. อานิสงส์ของการถวายพัดใบตาล)
[๑๑๔] ข้าพเจ้าได้ถวายพัดใบตาลสวยงามในพระสุคตแล้ว
ได้รับอานิสงส์ ๘ ประการ
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า
[๑๑๕] คือข้าพเจ้าไม่รู้สึกหนาวร้อน ๑
ไม่มีความเร่าร้อน ๑
ไม่รู้สึกกระวนกระวาย ที่ทำจิตของข้าพเจ้าให้เร่าร้อน ๑
[๑๑๖] ไฟทั้งหมด คือ ไฟคือราคะ ๑ ไฟคือโทสะ ๑
ไฟคือโมหะ ๑ ไฟคือมานะ ๑
ไฟคือทิฏฐิ ๑ ข้าพเจ้าดับได้แล้ว
เพราะผลกรรมของข้าพเจ้านั้น
(๙. อานิสงส์ของการถวายพัดขนปีกนกยูงและแส้จามร)
[๑๑๗] ข้าพเจ้าได้ถวายพัดขนปีกนกยูงและแส้จามรในหมู่สงฆ์
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด
เป็นผู้มีกิเลสสงบระงับแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
(๑๐. อานิสงส์ของการถวายผ้ากรองน้ำคือธมกรก)
[๑๑๘] ข้าพเจ้าได้ถวายผ้ากรองน้ำคือธมกรกในพระสุคตแล้ว
ได้รับอานิสงส์ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๑๙] คือข้าพเจ้าล่วงพ้นอันตรายทั้งปวงได้ ๑ ได้อายุทิพย์ ๑
โจรหรือข้าศึกข่มไม่ได้ทุกเมื่อ ๑
[๑๒๐] ศัสตราหรือยาพิษไม่เบียดเบียนข้าพเจ้า ๑
ไม่มีความตายในระหว่าง(ไม่ตายก่อนอายุขัย) ๑
เพราะผลแห่งกรรมเหล่านั้นของข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๑๑. อานิสงส์ของการถวายภาชนะน้ำมัน)
[๑๒๑] ข้าพเจ้าได้ถวายภาชนะน้ำมันในพระสุคต
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๒๒] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีรูปร่างงดงาม ๑ มีความเจริญดี ๑
มีใจเบิกบานดี ๑ มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ๑
ได้รับการคุ้มครองโดยการอารักขาทั้งปวง ๑
(๑๒. อานิสงส์ของการถวายกล่องเข็ม)
[๑๒๓] ข้าพเจ้าได้ถวายกล่องเข็มในพระสุคต
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมข้าพเจ้า ๓ ประการ
[๑๒๔] คือข้าพเจ้าย่อมได้คุณเหล่านี้ คือ ความสุขใจ ๑
ความสุขกาย ๑ ความสุขเกิดแต่อิริยาบถ ๑
เพราะผลแห่งกรรมนั้น
(๑๓. อานิสงส์ของการถวายผ้าอังสะ)
[๑๒๕] ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าอังสะในพระชินเจ้า
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๓ ประการ
[๑๒๖] คือข้าพเจ้าย่อมได้ความมั่นคงในพระสัทธรรม ๑
ระลึกชาติได้ ๑ เป็นผู้มีผิวพรรณงดงามในที่ทุกแห่ง ๑
เพราะผลแห่งกรรมนั้น
(๑๔. อานิสงส์ของการถวายประคตเอว)
[๑๒๗] ข้าพเจ้าได้ถวายประคตเอวในพระชินเจ้า
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๖ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๑๒๘] คือข้าพเจ้าย่อมไม่หวั่นในสมาธิ(มีสมาธิแน่วแน่) ๑
เป็นผู้ชำนาญในสมาธิ ๑
มีบริวารไม่แตกแยกกัน ๑
มีถ้อยคำที่เชื่อถือได้ทุกเมื่อ ๑
[๑๒๙] มีสติตั้งมั่น ๑ ไม่มีความสะดุ้งกลัว ๑
คุณเหล่านี้ติดตามข้าพเจ้าไปทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
(๑๕. อานิสงส์ของการถวายเชิงรองบาตร)
[๑๓๐] ข้าพเจ้าได้ถวายเชิงรองบาตรในพระชินเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด
เป็นผู้ไม่มีภัยในเพราะวรรณะ ๕
และไม่หวั่นไหวด้วยอะไร ๆ
[๑๓๑] ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีสติ
และญาณเป็นเครื่องตรัสรู้ ข้าพเจ้าฟังแล้ว
ธรรมที่ข้าพเจ้าทรงจำไว้ย่อมไม่คลาดเคลื่อน
เป็นอันวินิจฉัยดีแล้ว
(๑๖. อานิสงส์ของการถวายภาชนะ)
[๑๓๒] ข้าพเจ้าได้ถวายภาชนะสำหรับใส่ของบริโภคในพระพุทธเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่สูงสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๓ ประการ
[๑๓๓] คือข้าพเจ้าย่อมได้ภาชนะทองคำ ภาชนะแก้วมณี
ภาชนะแก้วผลึก และภาชนะแก้วทับทิม ๑
[๑๓๔] ได้ภริยา ได้ทาสชายหญิง พลช้าง
พลม้า พลรถ พลเดินเท้า
และหญิงผู้เคารพนาย ๑
ได้เครื่องบริโภคทุกเวลา ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๑๓๕] วิชาในบทมนตร์ในอาคมต่าง ๆ
จำนวนมากและศิลปะทั้งปวง
ข้าพเจ้าย่อมใคร่ครวญให้เป็นที่ใช้สอยได้ทุกเวลา
(๑๗. อานิสงส์ของการถวายขัน)
[๑๓๖] ข้าพเจ้าได้ถวายขันในพระสุคต
และในหมู่สงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๓ ประการ
[๑๓๗] คือข้าพเจ้าย่อมได้ขันทองคำ ขันแก้วมณี
ขันแก้วผลึก และขันแก้วทับทิม ๑
[๑๓๘] ข้าพเจ้าได้ขันรูปต้นโพธิ์ รูปผลไม้
รูปใบบัว และสังข์สำหรับดื่มน้ำผึ้ง ๑
[๑๓๙] ข้าพเจ้าย่อมได้ข้อปฏิบัติในวัตรอันงาม
ในอาจาระและกิริยา ๑
ข้าพเจ้าได้คุณเหล่านี้
เพราะผลแห่งกรรมนั้น
(๑๘. อานิสงส์ของการถวายเภสัช)
[๑๔๐] ข้าพเจ้าได้ถวายเภสัชในพระสุคต
และในหมู่สงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๑๐ ประการ
[๑๔๑] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีอายุยืน ๑ มีกำลัง ๑
เป็นนักปราชญ์ ๑ มีวรรณะ ๑
มียศ ๑ มีสุข ๑ ไม่มีอันตราย ๑
ไม่มีเสนียดจัญไร ๑ ชนทั้งหลายยำเกรงทุกเมื่อ ๑
ไม่มีความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ๑
เพราะผลแห่งกรรมของข้าพเจ้านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๑๙. อานิสงส์ของการถวายรองเท้า)
[๑๔๒] ข้าพเจ้าได้ถวายรองเท้าในพระชินเจ้า
และในหมู่สงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๓ ประการ
[๑๔๓] คือยานคือช้าง ยานคือม้า
วอ และคานหาม ๑
รถ ๖๐,๐๐๐ คันแวดล้อมข้าพเจ้าทุกเมื่อ ๑
[๑๔๔] เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ รองเท้าแก้วมณี
รองเท้าทองแดง รองเท้าทองคำ
รองเท้าเงิน ผุดขึ้นรองรับทุกย่างเท้า ๑
[๑๔๕] บุญกรรมทั้งหลายย่อมช่วยชำระอาจารคุณให้สะอาดแน่นอน
ข้าพเจ้าได้คุณเหล่านี้เพราะผลแห่งกรรมนั้น
(๒๐. อานิสงส์ของการถวายเขียงเท้า)
[๑๔๖] ข้าพเจ้าได้ถวายเขียงเท้าในพระสุคต
และในหมู่สงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้สวมเขียงเท้า
ซึ่งสำเร็จด้วยฤทธิ์แล้วอยู่ได้ตามปรารถนา
(๒๑. อานิสงส์ของการถวายผ้าเช็ดน้ำ)
[๑๔๗] ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าเช็ดน้ำในพระสุคต
และในหมู่สงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๔๘] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณดุจทองคำปราศจากธุลี ๑
มีรัศมีผ่องใส ๑ มีตบะ ๑ ร่างกายมีผิวเกลี้ยงเกลา ๑
ฝุ่นละอองไม่ติดร่างกายข้าพเจ้า ๑
ข้าพเจ้าได้คุณเหล่านี้เพราะผลแห่งกรรมนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๒๒. อานิสงส์ของการถวายไม้เท้าคนแก่)
[๑๔๙] ข้าพเจ้าได้ถวายไม้เท้าคนแก่ในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๕๐] คือข้าพเจ้ามีบุตรมาก ๑ ไม่มีความสะดุ้งกลัว ๑
ได้รับการคุ้มครองโดยการอารักขาทั้งปวง
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ทุกเมื่อ ๑
ไม่รู้จักความพลั้งพลาด ๑ มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ๑
(๒๓. อานิสงส์ของการถวายยารักษาไข้และยาหยอดตา)
[๑๕๑] ข้าพเจ้าได้ถวายยารักษาไข้และยาหยอดตา(ในพระสุคต)
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๘ ประการ
[๑๕๒] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีนัยน์ตาโต ๑
มีนัยน์ตาสีขาว ๑ มีนัยน์ตาสีเหลือง ๑
มีนัยน์ตาสีแดง ๑ มีนัยน์ตาแจ่มใสไม่มัว ๑
ปราศจากโรคตาโดยประการทั้งปวง ๑
[๑๕๓] มีตาทิพย์ ๑ มีดวงตาคือปัญญาอย่างสูงสุด ๑
ข้าพเจ้าได้คุณเหล่านี้เพราะผลแห่งกรรมนั้น
(๒๔. อานิสงส์ของการถวายลูกกุญแจ)
[๑๕๔] ข้าพเจ้าได้ถวายลูกกุญแจในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้ว
ได้ลูกกุญแจคือญาณสำหรับเปิดประตูแห่งธรรม
(๒๕. อานิสงส์ของการถวายแม่กุญแจ)
[๑๕๕] ข้าพเจ้าได้ถวายแม่กุญแจ(ในพระสุคต)
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๒ ประการ
คือเมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ
เป็นคนมีความโกรธน้อย ๑ ไม่มีความคับแค้นใจ ๑
(๒๖. อานิสงส์ของการถวายสายโยก)
[๑๕๖] ข้าพเจ้าได้ถวายสายโยกในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๕๗] คือข้าพเจ้าย่อมไม่หวั่นไหวในสมาธิ ๑
เป็นผู้ชำนาญในสมาธิ ๑
มีบริวารไม่แตกแยกกัน ๑
มีถ้อยคำที่เชื่อถือได้ทุกเมื่อ ๑
โภคสมบัติย่อมเกิดเมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ ๑
(๒๗. อานิสงส์ของการถวายกระบอกเป่าควันไฟ)
[๑๕๘] ข้าพเจ้าได้ถวายกระบอกเป่าควันไฟในพระชินเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๓ ประการ
[๑๕๙] คือข้าพเจ้ามีสติตั้งมั่น ๑
เส้นเอ็นต่อเนื่องกันดี ๑
ได้ที่นอนทิพย์ ๑ เพราะผลแห่งกรรมนั้น
(๒๘. อานิสงส์ของการถวายตะเกียง)
[๑๖๐] ข้าพเจ้าได้ถวายตะเกียงในพระชินเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๓ ประการ
[๑๖๑] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีตระกูล ๑ มีอวัยวะสมบูรณ์ ๑
มีปัญญาที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญ ๑
ข้าพเจ้าได้คุณเหล่านี้เพราะผลแห่งกรรมของข้าพเจ้านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๒๙. อานิสงส์ของการถวายคนโทน้ำและผอบ)
[๑๖๒] ข้าพเจ้าได้ถวายคนโทน้ำและผอบในพระพุทธเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๑๐ ประการ
[๑๖๓] คือครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง ๑
พรั่งพร้อมด้วยความสุข ๑
มียศยิ่งใหญ่ ๑ มีการดำเนินชีวิตที่ดี ๑
มีร่างกายที่ได้สัดส่วน ๑
เป็นสุขุมาลชาติ ๑ ปราศจากเสนียดจัญไรทั้งปวง ๑
[๑๖๔] ได้คุณอันไพบูลย์ ๑
ได้รับการยกย่องนับถืออย่างมั่นคง
ปราศจากความหวาดเสียว ๑
[๑๖๕] ได้คนโทน้ำและผอบ ๔ สี และช้างแก้ว ม้าแก้ว ๑
คุณของข้าพเจ้าเหล่านั้นไม่พินาศ
นี้เป็นผลในการถวายคนโทน้ำและผอบ
(๓๐. อานิสงส์ของการถวายวัตถุขัดสนิม)
[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้ถวายแปรงมือในพระพุทธเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๖๗] คือข้าพเจ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยลักษณะทั้งปวง ๑
มีอายุยืน ๑ มีปัญญา ๑ มีจิตตั้งมั่น ๑
มีร่างกายพ้นจากความยากลำบาก
ทุกอย่างในกาลทุกเมื่อ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๓๑. อานิสงส์ของการถวายกรรไกร)
[๑๖๘] ข้าพเจ้าได้ถวายกรรไกรที่มีคมบางซึ่งลับไว้ดีในพระสงฆ์
แล้วได้ญาณเป็นเครื่องตัดกิเลส
ซึ่งบริสุทธิ์ไม่มีอะไรเปรียบปาน
(๓๒. อานิสงส์ของการถวายแหนบ)
[๑๖๙] ข้าพเจ้าได้ถวายแหนบในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด
ย่อมได้ญาณเป็นเครื่องถอนกิเลส
ซึ่งบริสุทธิ์ไม่มีอะไรเทียบเท่า
(๓๓. อานิสงส์ของการถวายยานัตถุ์)
[๑๗๐] ข้าพเจ้าได้ถวายยานัตถุ์ในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๘ ประการ
[๑๗๑] คือข้าพเจ้ามีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ มีหิริ ๑
มีโอตตัปปะ ๑ มีสุตะ ๑
มีจาคะ ๑ มีขันติ ๑ มีปัญญา ๑
(๓๔. อานิสงส์ของการถวายตั่ง)
[๑๗๒] ข้าพเจ้าได้ถวายตั่งในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๗๓] คือข้าพเจ้าย่อมเกิดในตระกูลสูง เป็นผู้มีโภคสมบัติมาก ๑
ชนทั้งปวงยำเกรงข้าพเจ้า ๑
ชื่อเสียงของข้าพเจ้าฟุ้งขจรไป ๑
[๑๗๔] บัลลังก์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมห้อมล้อมข้าพเจ้าเป็นนิตย์
ตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป ๑ ยินดีในการจำแนกทาน ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๓๕. อานิสงส์ของการถวายฟูก)
[๑๗๕] ข้าพเจ้าได้ถวายฟูกในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๖ ประการ
[๑๗๖] คือข้าพเจ้ามีร่างกายสมส่วนที่บุญกรรมก่อให้
เป็นผู้อ่อนโยน มีรูปงาม น่าดู ๑
ข้าพเจ้าย่อมได้ญาณอันประเสริฐ ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายฟูก
[๑๗๗] ข้าพเจ้าย่อมได้ฟูกที่ยัดด้วยนุ่น
อันวิจิตรด้วยรูปสัตว์ต่าง ๆ มีรูปราชสีห์
และเสือโคร่งเป็นต้น ด้วยผ้าไหม
แกมดิ้นที่ปักเพชรพลอย ๑
ผ้าป่านอย่างดี และผ้ากัมพลต่าง ๆ จำนวนมาก ๑
[๑๗๘] ได้ผ้าปาวารที่มีขนอ่อนนุ่ม
ผ้าทำด้วยขนสัตว์อ่อนนุ่มในที่ต่าง ๆ ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายฟูก
[๑๗๙] เมื่อใดข้าพเจ้าระลึกถึงตน
เมื่อใดข้าพเจ้าเป็นผู้รู้เดียงสา
เมื่อนั้นข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่เปล่า มีฌานเป็นเตียงนอน ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายฟูก
(๓๖. อานิสงส์ของการถวายหมอน)
[๑๘๐] ข้าพเจ้าได้ถวายหมอนในพระชินเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๖ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๑๘๑] คือข้าพเจ้าใช้หมอนที่ยัดด้วยขนสัตว์
หมอนที่ยัดด้วยเกสรบัวหลวง
และหมอนที่ยัดด้วยจุรณจันทน์แดง
หนุนศีรษะของข้าพเจ้าทุกเมื่อ ๑
[๑๘๒] ข้าพเจ้าทำญาณให้เกิดในอัฏฐังคิกมรรคอย่างประเสริฐ
และในสามัญผล ๔ เหล่านั้น อยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ๑
[๑๘๓] ข้าพเจ้าทำญาณให้เกิดในทาน
ทมะ สัญญมะ อัปปมัญญา
และรูปฌานเหล่านั้น อยู่ตลอดกาลทั้งปวง ๑
[๑๘๔] ข้าพเจ้าทำญาณให้เกิดในวัตร คุณ การปฏิบัติ
อาจาระและกิริยา อยู่ตลอดกาลทั้งปวง ๑
[๑๘๕] ข้าพเจ้าทำญาณให้เกิดในการจงกรม
ในความเพียรที่เป็นประธาน
และในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น อยู่ตามปรารถนา ๑
[๑๘๖] ข้าพเจ้าทำญาณให้เกิดในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
และในวิมุตติญาณทัสสนะเหล่านั้นแล้ว อยู่เป็นสุข ๑
(๓๗. อานิสงส์ของการถวายตั่งแผ่นกระดาน)
[๑๘๗] ข้าพเจ้าได้ถวายตั่งแผ่นกระดานในพระชินเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๒ ประการ
[๑๘๘] คือข้าพเจ้าได้บัลลังก์อย่างประเสริฐ
ทำด้วยทอง ทำด้วยแก้วมณี ๑
และทำด้วยงาช้างจำนวนมาก ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งแผ่นกระดาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๓๘. อานิสงส์ของการถวายตั่งวางเท้า)
[๑๘๙] ข้าพเจ้าได้ถวายตั่งวางเท้าในพระชินเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๒ ประการ
คือข้าพเจ้าย่อมได้ยานพาหนะจำนวนมาก ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งวางเท้า
[๑๙๐] ทาสหญิงชาย ภรรยา และคนผู้อาศัยเหล่าอื่น
บำรุงบำเรอข้าพเจ้าโดยชอบ ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งวางเท้า
(๓๙. อานิสงส์ของการถวายน้ำมันทาเท้า)
[๑๙๑] ข้าพเจ้าได้ถวายน้ำมันทาเท้า(ในพระชินเจ้า)
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๙๒] คือข้าพเจ้าไม่มีความเจ็บไข้ ๑ มีรูปงาม ๑
มีเส้นประสาทรับรสได้เร็ว ๑ ได้ข้าวและน้ำ ๑
มีอายุยืนเป็นคำรบ ๕
(๔๐. อานิสงส์ของการถวายเนยใสและน้ำมัน)
[๑๙๓] ข้าพเจ้าได้ถวายเนยใสและน้ำมัน(ในพระชินเจ้า)
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๙๔] คือข้าพเจ้าเป็นคนมีกำลังแข็งแรง ๑
มีร่างกายสมบูรณ์ ๑
เป็นคนร่าเริงทุกเมื่อ ๑ มีบุตรได้ทุกเมื่อ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
และเป็นคนไม่เจ็บไข้ทุกเมื่อ ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายเนยใสและน้ำมัน
(๔๑. อานิสงส์ของการถวายน้ำบ้วนปาก)
[๑๙๕] ข้าพเจ้าได้ถวายน้ำบ้วนปาก(ในพระชินเจ้า)
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๙๖] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีลำคอบริสุทธิ์ ๑ มีเสียงไพเราะ ๑
ปราศจากโรคไอ ๑ ปราศจากโรคหืด ๑
กลิ่นดอกอุบลฟุ้งออกจากปากของข้าพเจ้าทุกเมื่อ ๑
(๔๒. อานิสงส์ของการถวายนมส้ม)
[๑๙๗] ข้าพเจ้าได้ถวายนมส้มอย่างดีในพระพุทธเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด
ได้บริโภคอมตภัตคือกายคตาสติอันประเสริฐ
(๔๓. อานิสงส์ของการถวายน้ำผึ้ง)
[๑๙๘] ข้าพเจ้าได้ถวายน้ำผึ้งที่มีสีกลิ่นและรสในพระชินเจ้า
และในหมู่สงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว
ได้วิมุตติรสที่ไม่มีรสอื่นเปรียบปานได้ ไม่เป็นอย่างอื่น
(๔๔. อานิสงส์ของการถวายรส)
[๑๙๙] ข้าพเจ้าได้ถวายรสตามเป็นจริงในพระพุทธเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับผล ๔ ประการ
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า
(๔๕. อานิสงส์ของการถวายข้าวและน้ำ)
[๒๐๐] ข้าพเจ้าได้ถวายข้าวและน้ำในพระพุทธเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๑๐ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๒๐๑] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีอายุยืน ๑ มีกำลัง ๑
เป็นนักปราชญ์ ๑ มีวรรณะสวยงาม ๑
มียศ ๑ มีสุข ๑ เป็นผู้ได้ข้าว ๑ เป็นผู้ได้น้ำ ๑
เป็นคนกล้า ๑ เป็นผู้มีปัญญา ๑
ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ ได้คุณเหล่านี้
(๔๖. อานิสงส์ของการถวายธูป)
[๒๐๒] ข้าพเจ้าได้ถวายธูปในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๑๐ ประการ
[๒๐๓] คือเป็นผู้มีกลิ่นตัวหอมฟุ้ง ๑ มียศ ๑
มีปัญญาไว ๑ มีชื่อเสียง ๑
มีปัญญาเฉียบแหลม ๑ มีปัญญากว้างขวาง ๑
มีปัญญาร่าเริง ๑ มีปัญญาลึกซึ้ง ๑
[๒๐๔] มีปัญญาไพบูลย์ ๑ มีปัญญาแล่นไปเร็ว ๑
เพราะผลแห่งการถวายธูปนั้น
ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ได้บรรลุนิพพานซึ่งเป็นสันติสุข ในกาลบัดนี้
(อานิสงส์ทั่ว ๆ ไป)
[๒๐๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๐๖] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๐๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปิลินทวัจฉเถราปทานที่ ๑ จบ
๒. เสลเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเสลเถระ
(พระเสลเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๐๘] ข้าพเจ้าเป็นเจ้าของถนนอยู่ในกรุงหงสวดี
เรียกประชุมบรรดาญาติของตนแล้ว ได้กล่าวดังนี้ว่า
[๒๐๙] พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
พระองค์เป็นผู้สมควรรับเครื่องบูชาของชาวโลกทั้งปวง
[๒๑๐] กษัตริย์ก็ดี ชาวนิคมก็ดี พราหมณมหาศาลก็ดี
ล้วนมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมาก
[๒๑๑] พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า
ล้วนมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมาก
[๒๑๒] นายทหารระดับสูงก็ดี ราชบุตรก็ดี พ่อค้าก็ดี
พราหมณ์ก็ดี ล้วนมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๑๓] คนทำขนมก็ดี พ่อครัวก็ดี
คนจัดแจงเครื่องอาบน้ำก็ดี ช่างดอกไม้ก็ดี
ล้วนมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมาก
[๒๑๔] ช่างย้อมก็ดี ช่างหูกก็ดี ช่างเย็บผ้าก็ดี ช่างกัลบกหญิงก็ดี
ล้วนมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมาก
[๒๑๕] ช่างศรก็ดี ช่างกลึงก็ดี ช่างหนังก็ดี ช่างถากก็ดี
ล้วนมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมาก
[๒๑๖] ช่างเหล็กก็ดี ช่างทองก็ดี ช่างดีบุกก็ดี ช่างทองแดงก็ดี
ล้วนมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมาก
[๒๑๗] ลูกจ้างก็ดี คนเชิญธงก็ดี
ทาสก็ดี กรรมกรก็ดี จำนวนมาก
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมากตามกำลังของตน ๆ
[๒๑๘] คนตักน้ำขายก็ดี คนหาฟืนขายก็ดี
ชาวนาก็ดี คนขนหญ้าก็ดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมากตามกำลังของตน ๆ
[๒๑๙] คนขายดอกไม้ก็ดี คนขายพวงมาลัยก็ดี
คนขายใบไม้ก็ดี คนขายผลไม้ก็ดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมากตามกำลังของตน ๆ
[๒๒๐] หญิงแพศยาก็ดี นางกุมภทาสีก็ดี
คนขายขนมก็ดี คนขายปลาก็ดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมากตามกำลังของตน ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๒๑] พวกเราทั้งหมดนี้มาประชุม
รวมเป็นพวกเดียวกันแล้ว
จักทำบุญกุศลในพระพุทธเจ้าผู้เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
[๒๒๒] ญาติเหล่านั้นฟังคำของข้าพเจ้าแล้ว
รวมกันเป็นคณะในขณะนั้นกล่าวว่า
พวกเราควรให้สร้างโรงฉันที่สร้างอย่างสวยงามถวายแด่ภิกษุสงฆ์
[๒๒๓] ข้าพเจ้าจึงให้สร้างโรงฉันนั้นสำเร็จแล้ว
เป็นผู้เบิกบาน มีใจยินดี
มีญาติทั้งหมดนั้นห้อมล้อม
เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๒๒๔] ครั้นเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
ทรงองอาจกว่านรชน
กราบพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า
[๒๒๕] ข้าแต่พระมุนีวีรเจ้า บุรุษประมาณ ๓๐๐ คนนี้
รวมกันเป็นคณะ
ขอมอบถวายโรงฉันที่สร้างอย่างสวยงามแด่พระองค์
[๒๒๖] ขอพระองค์ผู้มีพระจักษุ
เป็นประธานหมู่ภิกษุ โปรดทรงรับเถิด
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้
ต่อหน้าบุรุษ ๓๐๐ คนว่า
[๒๒๗] บุรุษทั้ง ๓๐๐ คนและผู้เป็นหัวหน้า
ประพฤติตามเป็นหนึ่งเดียวกัน
ท่านทั้งปวงพากันทำแล้ว จักได้เสวยสมบัติ
[๒๒๘] เมื่อถึงภพสุดท้าย ท่านทั้งหลายจักเห็นนิพพาน
ซึ่งมีภาวะเย็นยอดเยี่ยม ไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๒๙] พระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมกว่าสมณะ
ทรงพยากรณ์อย่างนี้แล้ว
ข้าพเจ้าได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้ว ได้เสวยโสมนัส
[๒๓๐] ข้าพเจ้ารื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓๐,๐๐๐ กัป
เป็นใหญ่ในหมู่เทวดา ครองเทวสมบัติตลอด ๕๐๐ ชาติ
[๒๓๑] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๒๓๒] ในรัชสมบัติในมนุษยโลกนี้
มีพวกญาติเป็นบริวาร
ในภพสุดท้ายที่มาถึงนี้ มีพราหมณ์ชื่อวาเสฏฐะ
[๒๓๓] ข้าพเจ้าเป็นบุตรของพราหมณ์นั้น
สะสมสมบัติไว้ ๘๐ โกฏิ
ข้าพเจ้ามีนามว่าเสละถึงความสำเร็จในองค์ ๖๑
[๒๓๔] มีพวกศิษย์ของตนแวดล้อม
เดินเที่ยวพักผ่อนอิริยาบถ ดาบสชื่อเกนิยะ
ผู้เพียบพร้อมด้วยชฎาและบริขาร จัดแจงเครื่องบูชา
[๒๓๕] ข้าพเจ้าได้เห็นท่านแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า
ท่านจักทำอาวาหมงคลและวิวาหมงคล
หรือว่าท่านเชื้อเชิญพระราชา
[๒๓๖] ดาบสชื่อเกนิยะตอบว่า
ข้าพเจ้าใคร่จะใช้เครื่องบูชา

เชิงอรรถ :
๑ องค์ ๖ ในที่นี้หมายถึงมนตร์พรหมจินดา ๖ คือ (๑) กัปปศาสตร์ (๒) พยากรณ์ศาสตร์ (๓) นิรุตติ-
ศาสตร์ (๔) สิกขาศาสตร์ (๕) ฉันโทวิจิติศาสตร์ (๖) โชติสัตถศาสตร์ (ขุ.วิ.อ. ๙๙๖/๓๐๙, ที.สี.อ.
๒๕๖/๒๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
บูชาพราหมณ์ที่สมมติกันว่าประเสริฐ
ข้าพเจ้าไม่ได้เชื้อเชิญพระราชา ไม่มีการบวงสรวง
[๒๓๗] อาวาหมงคลและวิวาหมงคลของข้าพเจ้าก็ไม่มี
พระพุทธเจ้าผู้ให้เกิดความยินดีแก่ศากยะทั้งหลาย
ประเสริฐที่สุดในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
[๒๓๘] ทรงทำประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวง
นำสุขมาให้แก่สรรพสัตว์
วันนี้ ข้าพเจ้าทูลนิมนต์พระองค์
จึงจัดแจงเครื่องบูชานี้เพื่อพระองค์
[๒๓๙] พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีดุจสีมะพลับ
มีพระคุณหาประมาณมิได้
ไม่มีผู้เปรียบปาน ไม่มีใครเหมือนด้วยพระรูป
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้
[๒๔๐] พระองค์มีรัศมีเรืองรองดุจถ่านเพลิงไม้ตะเคียน
กระทบปากเบ้าทองคำ เปรียบด้วยสายฟ้า
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก เป็นที่พึ่ง
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๑] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นดุจไฟบนยอดภูเขา
ดุจดวงจันทร์ในวันเพ็ญ และดุจสีแห่งเปลวไฟไม้อ้อ
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๒] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่ทรงครั่นคร้าม
ทรงล่วงพ้นภัยแล้ว ทรงทำภพให้สิ้นไป
เป็นพระมุนีดุจราชสีห์ ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๔๓] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงฉลาดในพุทธธรรม
ไม่มีใครอื่นข่มได้ ดุจพญาช้างเชือกประเสริฐ
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๔] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงฉลาดในฝั่งคือพระสัทธรรม
เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ไม่มีใครเหมือน ดุจโคอุสภราช
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๕] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระคุณที่พรรณนาไม่สิ้นสุด
มีพระยศนับมิได้ มีพระลักษณะทั้งหมดงดงาม
ดุจท้าวสักกเทวราช
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๖] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีความชำนาญ
เป็นผู้นำหมู่ มีความเพียร มีเดช
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก ดุจพระพรหม
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๗] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระธรรมล้ำเลิศ
น่าบูชา เป็นพระทศพล
ทรงถึงความสำเร็จพลธรรมเหนือพลธรรม(ของคนทั่วไป)
เปรียบด้วยแผ่นดิน ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๘] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีศีลและปัญญาแผ่กระจาย
ทรงระบือไปด้วยการรู้แจ้งธรรม เปรียบด้วยท้องทะเล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๙] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
ใคร ๆ ไม่อาจจะข่มได้ ไม่ทรงหวั่นไหว
ทรงเลิศกว่าพรหม เปรียบดังภูเขาเนรุราช
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๕๐] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระญาณไม่มีที่สิ้นสุด
ไม่มีใครเสมอเหมือน ไม่มีใครเทียมเท่า
ทรงบรรลุถึงความเป็นยอด เปรียบดังท้องฟ้า
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
ภาณวารที่ ๑๕ จบ
[๒๕๑] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเป็นที่พึ่งของบรรดาผู้กลัวภัย
เป็นที่ต้านทานของบรรดาผู้ถึงสรณะ เป็นที่เบาใจ
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๕๒] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเป็นที่อาศัยแห่งท่านผู้มีความรู้
เป็นเนื้อนาบุญของผู้แสวงหาความสุข เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๕๓] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ปลอบโยนให้เบาใจ
เป็นผู้ทำให้เป็นเทพ เป็นผู้ประทานสามัญผล เปรียบดังเมฆ
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๕๔] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ที่เขายกย่องในโลก ทรงแกล้วกล้า
เป็นผู้บรรเทาความมืดทั้งปวง เปรียบดังดวงอาทิตย์
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๕๕] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงสภาวะในอารมณ์
และความหลุดพ้น เป็นพระมุนี เปรียบดังดวงจันทร์
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๕๖] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสรู้แล้ว
อันบัณฑิตยกย่องในโลก
ทรงประดับด้วยพระลักษณะทั้งหลาย
ใคร ๆ ประมาณมิได้
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๕๗] พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระญาณหาประมาณมิได้
ทรงมีศีลที่ไม่มีอะไรเปรียบได้
เครื่องทรงจำที่ไม่มีอะไรเหมือน
ทรงมีพลังซึ่งเป็นอจินไตย(ไม่ควรคิด)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
ทรงมีความบากบั่นอย่างยอดเยี่ยม
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๕๙] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงถอนพิษ
คือราคะ โทสะ โมหะได้หมดแล้ว ทรงเปรียบดังยา
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๖๐] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงบรรเทาพยาธิคือกิเลสและความทุกข์มาก
ดุจดังโอสถ เปรียบดังหมอ
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๖๑] เกนิยพราหมณ์ประกาศว่าพุทโธ
เสียงประกาศนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังแสนยาก
เพราะได้ฟังเสียงประกาศว่าพุทโธ
ข้าพเจ้าก็เกิดปีติซาบซ่าน
[๒๖๒] ข้าพเจ้ามิได้มีปีติอยู่เฉพาะภายใน
แต่แผ่ซ่านออกมาภายนอก
ข้าพเจ้ามีใจอิ่มเอิบ ได้กล่าวคำนี้ว่า
[๒๖๓] พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก
ทรงองอาจกว่านรชน เสด็จประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ
ข้าพเจ้าจักไปนอบน้อมพระองค์
ผู้ทรงประทานสามัญผล ณ ที่นั้น
[๒๖๔] ขอท่านผู้เกิดโสมนัสซึ่งประนมมืออยู่
โปรดยกมือข้างขวาขึ้นชี้บอกพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
ผู้ทรงเป็นพระธรรมราชา
ผู้ทรงบรรเทาลูกศรคือความเศร้าโศกให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด
[๒๖๕] (เกนิยพราหมณ์ กล่าวว่า)
ท่านคงเห็นป่าใหญ่ เขียว
ดุจดังก้อนมหาเมฆตั้งขึ้น
เปรียบด้วยดอกอัญชัน ซึ่งปรากฏดุจท้องทะเล
[๒๖๖] พระพุทธเจ้า ผู้ทรงฝึกฝนคนที่ยังมิได้รับการฝึกฝน
ทรงเป็นมุนี ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ให้ตรัสรู้โพธิปักขิยธรรม
พระองค์ทรงประทับอยู่ที่ป่านั้น
[๒๖๗] ข้าพเจ้าเที่ยวค้นหาพระชินเจ้า
เปรียบเหมือนคนกระหายน้ำแสวงหาน้ำดื่ม
เปรียบเหมือนคนหิวข้าวแสวงหาข้าวกิน
เปรียบเหมือนแม่โครักลูกโคเที่ยวค้นหาลูกโค
[๒๖๘] ข้าพเจ้ารู้จักอาจาระและอุปจาระ
สำรวมระวังเหมาะสมแก่เหตุ
ให้บรรดาศิษย์ของตนซึ่งจะไปยังสำนักพระชินเจ้า ศึกษาว่า
[๒๖๙] พระผู้มีพระภาคทั้งหลาย หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
เสด็จเที่ยวไปเพียงพระองค์เดียว ดุจดังราชสีห์
มาณพทั้งหลาย พวกท่านควรเข้าแถวกันมา
[๒๗๐] พระพุทธเจ้าทั้งหลายหาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
ดุจอสรพิษกล้า
ดุจพญาเนื้อไกรสรราชสีห์
ดุจช้างกุญชรตกมันที่ได้รับการฝึกแล้ว
[๒๗๑] มาณพทั้งหลาย พวกท่านจงอย่าไอ อย่าจาม
เดินเข้าแถวพากันเข้าไปยังสำนักของพระพุทธเจ้าเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๗๒] พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเป็นผู้หนักในการอยู่ในที่เร้น
ชอบสถานที่เงียบเสียง
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก ยากที่จะเข้าเฝ้า
ทรงเป็นครูในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก
[๒๗๓] ข้าพเจ้าทูลถามปัญหาข้อใด หรือได้ปราศรัยโต้ตอบอยู่
ขณะนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายจงเงียบเสียงนิ่งเฉยอยู่
[๒๗๔] พระองค์ทรงแสดงพระสัทธรรมใด
ซึ่งเป็นธรรมปลอดโปร่ง เพื่อบรรลุนิพพาน
ขอท่านทั้งหลายจงพิจารณาเนื้อความแห่งพระสัทธรรมนั้น
เพราะการฟังพระสัทธรรมเป็นเหตุนำสุขมาให้
[๒๗๕] ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ได้สนทนาปราศรัยกับพระมุนี
ให้การสนทนานั้นผ่านไปแล้วจึงตรวจดูพระลักษณะ
[๒๗๖] ข้าพเจ้าสงสัยพระลักษณะ ๒ ประการ
ได้เห็นเพียงพระลักษณะ ๓๐ ประการ
พระมุนีจึงได้ทรงแสดงพระคุยหฐาน
ซึ่งเร้นอยู่ในฝักให้ปรากฏด้วยฤทธิ์
[๒๗๗] อนึ่ง พระชินเจ้าได้ทรงแลบพระชิวหา
สอดเข้าในช่องพระกรรณและเข้าในช่องพระนาสิก
แล้วปกปิดไปถึงสุดพระนลาฏทั้งสิ้น
[๒๗๘] ข้าพเจ้าได้เห็นพระลักษณะของพระองค์
ครบถ้วนบริบูรณ์พร้อมทั้งพระอนุพยัญชนะ
จึงแน่ใจได้ว่าเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
ได้บวชพร้อมกับบรรดาศิษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๗๙] ข้าพเจ้าพร้อมด้วยบรรดาศิษย์ ๓๐๐ คน
ได้บวชเป็นบรรพชิต ยังไม่ทันถึงครึ่งเดือน
พวกเราทั้งหมดก็ได้บรรลุนิพพาน
[๒๘๐] ศิษย์ทั้งหลายร่วมกันทำกรรมในนาบุญที่ยอดเยี่ยม
ท่องเที่ยวไปร่วมกัน คลายกิเลสได้ร่วมกัน
[๒๘๑] ข้าพเจ้าได้ถวายไม้กลอนทั้งหลาย
จึงได้อยู่ในธรรมเป็นอันมาก
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
ข้าพเจ้าย่อมได้เหตุ ๘ ประการ
[๒๘๒] คือข้าพเจ้าเป็นผู้ที่เขาบูชาในทิศทั้งหลาย ๑
มีโภคสมบัตินับไม่ถ้วน ๑
เป็นที่พึ่งของคนทั้งปวง ๑ ไม่มีความสะดุ้งกลัว ๑
[๒๘๓] ข้าพเจ้าไม่มีความเจ็บไข้ ๑ รักษาอายุได้ยืนยาว
มีผิวพรรณละเอียดอ่อน ๑ อยู่ในที่อยู่ที่ปรารถนาได้ ๑
[๒๘๔] เพราะได้ถวายไม้กลอน ๘ อัน
ข้าพเจ้าจึงได้อยู่ในธรรมเป็นอันมาก
ความเป็นพระอรหันต์ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
เป็นข้อที่ ๘ อีกข้อหนึ่งของข้าพเจ้า
[๒๘๕] ข้าแต่พระมหามุนี
ข้าพระองค์มีธรรมเครื่องอยู่ทั้งปวงอยู่จบหมดแล้ว
ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ มีชื่อว่าอัฏฐโคปานสี
เป็นบุตรของพระองค์
[๒๘๖] เพราะได้ถวายเสา ๕ ต้น
ข้าพเจ้าจึงได้อยู่ในธรรมเป็นอันมาก
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้เหตุ ๕ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๘๗] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีเมตตาไม่หวั่นไหว ๑
มีโภคสมบัติไม่รู้จักพร่อง ๑
มีถ้อยคำที่ควรเชื่อถือได้ โดยที่ข้าพเจ้าไม่พูดกำจัด ๑
[๒๘๘] ข้าพเจ้ามีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ๑
ไม่เป็นเสี้ยนหนามต่อใคร ๆ ๑
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ปราศจากมลทินในศาสนา
[๒๘๙] ข้าแต่พระมุนีผู้มีความเพียรมาก
ภิกษุสาวกของพระองค์มีความเคารพ
มีความยำเกรง ได้ทำกิจเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ ขอกราบไหว้พระองค์
[๒๙๐] ข้าพเจ้าได้ทำบัลลังก์ที่ทำอย่างสวยงามแล้วจัดตั้งไว้ในศาลา
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้เหตุ ๕ ประการ
[๒๙๑] คือเกิดในตระกูลสูง ๑ มีโภคะมาก ๑
มีสมบัติทุกอย่าง ๑ ไม่มีความตระหนี่ ๑
[๒๙๒] เมื่อข้าพเจ้าปรารถนาจะไป บัลลังก์ก็ตั้งขึ้น
ข้าพเจ้าย่อมไปพร้อมกับบัลลังก์อันประเสริฐ
ตามที่ข้าพเจ้าปรารถนา ๑
[๒๙๓] เพราะการถวายบัลลังก์นั้น
ข้าพเจ้ากำจัดความมืดทั้งหมดได้แล้ว
ข้าแต่พระมหามุนี
พระเถระผู้บรรลุอภิญญาและพลธรรมทั้งปวง
ขอกราบไหว้พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๙๔] ข้าพเจ้าทำกิจทั้งปวงทั้งที่เป็นกิจ
ของผู้อื่นและกิจของตนสำเร็จแล้ว
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้เข้าไปยังบุรีที่ไม่มีภัย
[๒๙๕] ข้าพเจ้าได้ถวายเครื่องบริโภคในศาลาที่สร้างสำเร็จแล้ว
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้บรรลุความเป็นผู้ประเสริฐ
[๒๙๖] ผู้ฝึกเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลก
ผู้ฝึกเหล่านั้นย่อมฝึกช้างและม้า
พวกเขาให้ทำเหตุต่าง ๆ แล้วฝึกอย่างหนัก
[๒๙๗] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
พระองค์หาทรงฝึกเหล่าชายหญิงเช่นนั้นไม่
พระองค์ทรงฝึกในวิธีฝึกอย่างสูงสุด
โดยไม่ต้องใช้อาชญาไม่ต้องใช้ศัสตรา
[๒๙๘] พระมุนีทรงฉลาดในเทศนา ทรงสรรเสริญคุณแห่งทาน
และตรัสปัญหาข้อเดียว
ก็ให้เวไนยสัตว์ ๓๐๐ ตรัสรู้ได้
[๒๙๙] ข้าพระองค์ทั้งหลาย อันพระองค์ผู้เป็นสารถีฝึกแล้ว
จึงพ้นวิเศษด้วยดี ไม่มีอาสวะ
บรรลุอภิญญาและพลธรรมทั้งปวง
ดับแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ
[๓๐๐] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
ภัยทั้งปวงล่วงพ้นไปแล้ว
นี้เป็นผลแห่งการถวายศาลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๓. สัพพกิตติกเถราปทาน
[๓๐๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าเผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๐๒] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเสลเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เสลเถราปทานที่ ๒ จบ
๓. สัพพกิตติกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัพพกิตติกเถระ
(พระสัพพกิตติกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๐๔] พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรุ่งเรืองดุจดอกกรรณิการ์
ทรงโชติช่วงดุจต้นพฤกษาประทีป
ทรงรุ่งโรจน์ดุจดาวประกายพรึก
ดุจสายฟ้าในท้องฟ้า
[๓๐๕] ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะดุ้งกลัว
ดุจพญาเนื้อ ทรงประกาศแสงสว่างคือญาณ
ทรงย่ำยีหมู่เดียรถีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๓. สัพพกิตติกเถราปทาน
[๓๐๖] ทรงช่วยโลกนี้ คลายความสงสัยทั้งปวงได้ไม่ครั่นคร้าม
ดุจพญาราชสีห์ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว
[๓๐๗] ข้าพเจ้าทรงชฎาและหนังสัตว์
เป็นใหญ่ ซื่อตรง มีความเพียร
ถือเอาผ้าเปลือกปอไปปูลาดที่แทบพระบาท
[๓๐๘] ข้าพเจ้านำกระลำพักมาชโลมทาพระตถาคต
ครั้นชโลมทาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ได้ชมเชยพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า
[๓๐๙] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ทรงข้ามโอฆกิเลสได้แล้ว
ทรงช่วยเหลือสัตว์โลกนี้ ทรงโชติช่วง
ด้วยแสงสว่างแห่งพระญาณ
พระญาณ(ของพระองค์)ประเสริฐสุด
[๓๑๐] พระองค์ทรงประกาศธรรมจักร ย่ำยีเดียรถีย์อื่น
เป็นผู้องอาจ ชนะสงครามแล้ว
ทำแผ่นดินให้หวั่นไหว
[๓๑๑] ทิฏฐิทั้งปวงย่อมแตกทำลายไปเพราะพระญาณของพระองค์
ดุจคลื่นในมหาสมุทรย่อมแตกขจายไปเพราะริมฝั่ง
[๓๑๒] แหตาเล็ก ๆ ที่เขาเหวี่ยงลงไปในสระแล้ว
สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ภายในแห
ย่อมถูกบีบคั้นในขณะนั้นฉันใด
[๓๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
พวกเดียรถีย์ในโลกเป็นผู้หลงงมงาย
ไม่อิงอาศัยสัจจะ ย่อมเป็นไปภายในพระญาณ
อันประเสริฐของพระองค์ฉันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๓. สัพพกิตติกเถราปทาน
[๓๑๔] พระองค์เท่านั้นเป็นที่พึ่งของผู้ที่ถูกพัดพาไปในห้วงน้ำ
เป็นที่พึ่งของผู้ไม่มีญาติ เป็นสรณะของผู้ที่มีภัย
เป็นจุดมุ่งหมายของผู้ต้องการความหลุดพ้น
[๓๑๕] เสด็จเที่ยวไปผู้เดียว ไม่มีใครเหมือน
ทรงประกอบด้วยพระเมตตากรุณา
ทรงมีปัญญาประกอบด้วยจาคะ
ชำนาญ คงที่ เป็นที่อยู่แห่งคุณ
[๓๑๖] เป็นนักปราชญ์ ปราศจากความหลง
ไม่ทรงหวั่นไหว ไม่มีความสงสัย
เป็นผู้พอพระทัย ทรงคลายโทสะแล้ว
ไม่มีมลทิน ทรงสำรวม มีความบริสุทธิ์
[๓๑๗] ล่วงธรรมเครื่องข้อง ปราศจากความเมา
ได้วิชชา ๓ ถึงที่สุดภพ ทรงล่วงเขตแดน
เป็นผู้หนักในธรรม ถึงจุดมุ่งหมายแล้ว
ทรงหว่านประโยชน์เกื้อกูล
[๓๑๘] ทรงช่วยสัตว์ให้ข้ามพ้นเปรียบเหมือนเรือ(พาคนข้ามฟาก)
ทรงมีขุมทรัพย์ ทรงทำความเบาใจ
ไม่ทรงครั่นคร้ามเหมือนราชสีห์
ทรงฝึกแล้วเหมือนพญาคชสารที่ฝึกแล้ว
[๓๑๙] ครั้งนั้น ครั้นข้าพเจ้าสรรเสริญพระมหามุนี
พระนามว่าปทุมุตตระ ด้วยคาถา ๑๐ คาถา
กราบพระบาทของพระศาสดาแล้วได้ยืนนิ่งอยู่
[๓๒๐] พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ประทับยืนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๓. สัพพกิตติกเถราปทาน
[๓๒๑] เราจักพยากรณ์ผู้ที่สรรเสริญศีล
ปัญญา และธรรมของเรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๓๒๒] ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๖๐,๐๐๐ กัป
จักครองอิสริยยศปกครองเทวดาเหล่าอื่น
[๓๒๓] ภายหลังเขาบวชแล้ว ถูกกุศลมูลตักเตือน
จักบวชในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม
[๓๒๔] ครั้นบวชแล้ว เว้นบาปกรรมทางกาย
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ แล้วนิพพาน
[๓๒๕] เมฆคำรนกระหึ่ม ทำแผ่นดินนี้ให้ชุ่มฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
พระองค์ทรงให้ข้าพระองค์ชุ่มชื่นด้วยธรรมฉันนั้น
[๓๒๖] ครั้นข้าพเจ้าเชยชมศีล ปัญญา ธรรม
และพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกแล้ว
ได้บรรลุนิพพานซึ่งเป็นธรรมสงบอย่างยิ่ง เป็นบทไม่จุติ
[๓๒๗] โอหนอ พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุพระองค์นั้น
พึงดำรงอยู่นานแน่
ข้าพเจ้าก็พึงรู้แจ้งธรรมที่ยังไม่รู้แจ้ง พึงเห็นอมตบท
[๓๒๘] ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้ากำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๔. มธุทายกเถราปทาน
[๓๒๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ
[๓๓๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงเข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๓๓๑] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๓๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัพพกิตติกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สัพพกิตติกเถราปทานที่ ๓ จบ
๔. มธุทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมธุทายกเถระ
(พระมธุทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๓๓] ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรมอย่างสวยงามไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำสินธุ
สอนตำราประวัติศาสตร์พร้อมทั้งตำราทายลักษณะ
แก่พวกศิษย์ที่อาศรมนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๔. มธุทายกเถราปทาน
[๓๓๔] ศิษย์เหล่านั้นผู้ที่ข้าพเจ้าแนะนำแล้วเป็นผู้ใคร่ธรรม
ใคร่ฟังคำสั่งสอนดี
ถึงความสำเร็จในองค์ ๖๑ ประการ อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำสินธุ
[๓๓๕] เป็นผู้ฉลาดในเหตุที่มาแห่งอุปปาทะ(ความเกิด)
และในลักษณะทั้งหลาย
แสวงหาประโยชน์สูงสุดอยู่ในป่าใหญ่ในครั้งนั้น
[๓๓๖] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
พระองค์ทรงเป็นผู้นำโดยวิเศษ
เมื่อจะทรงอนุเคราะห์พวกข้าพเจ้า จึงเสด็จเข้ามา
[๓๓๗] ข้าพเจ้าได้เห็นพระมหาวีรเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จเข้ามา
จึงได้ลาดหญ้าถวายแด่พระองค์ผู้เจริญที่สุดในโลก
[๓๓๘] ข้าพเจ้าถือน้ำผึ้งจากป่าใหญ่มาถวาย
แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยแล้วได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
[๓๓๙] เราจักพยากรณ์ผู้ที่มีความเลื่อมใส
ซึ่งได้ถวายน้ำผึ้งแก่เราด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๓๔๐] ด้วยการถวายน้ำผึ้งและด้วยการลาดหญ้าถวายนี้
ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓๐,๐๐๐ กัป
[๓๔๑] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก

เชิงอรรถ :
๑ ดู เชิงอรรถ หน้า ๖๑๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๔. มธุทายกเถราปทาน
[๓๔๒] ผู้นั้นจักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๓๔๓] เมื่อข้าพเจ้าจากเทวโลกมาในมนุษยโลกนี้
ปฏิสนธิในครรภ์มารดา
ฝนน้ำผึ้งได้ตกปกปิดแผ่นดินด้วยน้ำผึ้ง
[๓๔๔] แม้ในขณะเมื่อข้าพเจ้าออกจากครรภ์อย่างปลอดภัยนั้น
ฝนน้ำผึ้งก็ตกเพื่อข้าพเจ้าตลอดกาลเป็นนิตย์
[๓๔๕] เมื่อข้าพเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว
ย่อมได้ข้าวและน้ำ
นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำผึ้ง
[๓๔๖] ข้าพเจ้าเกิดในหมู่เทวดาและมนุษย์
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งปวง
ได้บรรลุความสิ้นอาสวะ
เพราะการถวายน้ำผึ้งนั้นแล
[๓๔๗] เมื่อฝนตกแล้ว หญ้างอกยาว ๔ นิ้ว
เมื่อต้นไม้ในที่เพาะปลูกมีดอกบานสะพรั่ง
ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่เป็นสุขเนืองนิตย์
ที่เรือนว่าง ที่มณฑปและโคนต้นไม้
[๓๔๘] ภพที่ข้าพเจ้าก้าวล่วงมีในท่ามกลาง
ในวันนี้อาสวะทั้งหลายของข้าพเจ้าสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๓๔๙] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำผึ้ง
[๓๕๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๓๕๑] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๕๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมธุทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มธุทายกเถราปทานที่ ๔ จบ
๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปทุมกูฏาคาริกเถระ
(พระปทุมกูฏาคาริกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๕๓] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้เป็นพระสยัมภู ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ตรัสรู้แล้วด้วยพระองค์เอง
ทรงประสงค์วิเวก ฉลาดในสมาธิ เป็นมุนี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
[๓๕๔] พระมหามุนีพระนามว่าปิยทัสสี ผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด
เสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์
ทรงลาดผ้าบังสุกุลแล้วประทับนั่งอยู่
[๓๕๕] เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นพรานเนื้ออยู่ในป่าดงทึบ
เที่ยวแสวงหาเนื้อฟานอยู่ในครั้งนั้น
[๓๕๖] ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ข้ามโอฆกิเลสได้แล้ว
ไม่มีอาสวะเด่นอยู่ดุจต้นพญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง
และดุจดวงอาทิตย์อุทัย
[๓๕๗] ครั้นเห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ มีพระยศยิ่งใหญ่แล้ว
จึงลงไปยังชาติสระ นำดอกปทุมมาในขณะนั้น
[๓๕๘] ครั้นนำดอกปทุมร้อยกลีบซึ่งเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจมาแล้ว
จึงสร้างเรือนยอด(ปราสาท)แล้วมุงด้วยดอกปทุม
[๓๕๙] พระพุทธชินเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี ผู้มหามุนี
ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ประทับอยู่ในเรือนยอดตลอด ๗ วัน ๗ คืน
[๓๖๐] ข้าพเจ้านำดอกปทุมที่เก่า ๆ ทิ้งแล้ว
มุงด้วยดอกปทุมใหม่
ได้ยืนประคองอัญชลี ในขณะนั้น
[๓๖๑] พระมหามุนีพระนามว่าปิยทัสสี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จออกจากสมาธิแล้วประทับนั่งเหลียวดูทิศอยู่
[๓๖๒] ครั้งนั้น พระเถระผู้อุปัฏฐากนามว่าสุทัสสนะ มีฤทธิ์มาก
รู้พระดำริของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี ผู้ศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
[๓๖๓] มีภิกษุ ๘๐,๐๐๐ รูปแวดล้อมแล้ว
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ซึ่งประทับนั่งเป็นสุขอยู่ที่ชายป่า
[๓๖๔] และครั้งนั้น เทวดาที่สิงสถิตอยู่ในไพรสณฑ์
ทราบพระพุทธดำริแล้ว พากันมาประชุมทั้งหมด
[๓๖๕] เมื่อพวกยักษ์ กุมภัณฑ์ พร้อมทั้งผีเสื้อน้ำมาพร้อมกัน
และเมื่อภิกษุสงฆ์มาถึงพร้อมแล้ว
พระชินเจ้าได้ตรัสพระคาถาว่า
[๓๖๖] เราจักพยากรณ์ผู้ที่บูชาเราตลอด ๗ วัน
และได้สร้างอาวาสถวายเรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๓๖๗] เราจักพยากรณ์สิ่งที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก
ลึกซึ้งให้ปรากฏชัดด้วยญาณ
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๓๖๘] ผู้นั้นจักได้ครองเทวสมบัติตลอด ๑๔ กัป
เรือนยอดของผู้นั้นใหญ่ มุงด้วยดอกปทุม
[๓๖๙] เทวดาทั้งหลายทรงไว้ในอากาศ
นี้เป็นผลแห่งบุพกรรม
เขาจักเวียนว่ายตายเกิดสับสนใน ๑๑๔ กัป
[๓๗๐] ในกัปที่ ๑๑๔ นั้น
วิมานดอกไม้จักทรงอยู่ในอากาศ
น้ำไม่ติดอยู่บนใบบัวฉันใด
[๓๗๑] กิเลสทั้งหลายก็ไม่ติดอยู่ในญาณของผู้นี้ฉันนั้น
ผู้นี้จักปลดเปลื้องนิวรณ์ ๕ ออกจากใจได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
[๓๗๒] ให้ความคิดเกิดในเนกขัมมะแล้ว
จักออกจากเรือนบวช
ในครั้งนั้น วิมานดอกไม้ที่ยังทรงอยู่ก็จักออกไปด้วย
[๓๗๓] เมื่อผู้นั้นมีปัญญารักษาตน มีสติ อยู่ที่โคนต้นไม้
วิมานดอกไม้จักทรงอยู่เหนือศีรษะของผู้นั้นที่โคนต้นไม้นั้น
[๓๗๔] ผู้นั้นถวายจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจัย
ที่นอนและที่นั่งแก่ภิกษุสงฆ์แล้ว
จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๓๗๕] เมื่อเรือนยอดลอยไป ข้าพเจ้าออกบวชแล้ว
กรรมทรงเรือนยอดไว้เฉพาะข้าพเจ้าแม้อยู่ที่โคนต้นไม้
[๓๗๖] ข้าพเจ้าไม่มีความตั้งใจ(แสวงหา)จีวรและบิณฑบาต
ข้าพเจ้าประกอบด้วยบุญกรรม
จึงได้จีวรและบิณฑบาตที่สำเร็จแล้ว
[๓๗๗] พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผ่านพ้นข้าพเจ้าไปเปล่า ๆ ตั้งหลายพระองค์
ตลอดโกฏิกัปจำนวนมาก โดยนับประมาณมิได้
[๓๗๘] ในกัปที่ ๑๑๘ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้ทรงเป็นผู้นำโดยวิเศษ จึงมาเกิดยังกำเนิดนี้
[๓๗๙] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระนามว่าอโนมะ ผู้มีพระจักษุ
ครั้นเข้าเฝ้าพระองค์แล้ว ก็ได้บวชเป็นบรรพชิต
[๓๘๐] พระพุทธชินเจ้าผู้ทรงทำที่สุดทุกข์ได้
ทรงแสดงพระสัทธรรม
ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว
ได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
[๓๘๑] ข้าพเจ้าให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมศากยะ
ผู้ประเสริฐทรงพอพระทัย
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จึงอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๓๘๒] ในกัปที่ ๑๑๘ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๘๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๓๘๔] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๘๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปทุมกูฏาคาริกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ปทุมกูฏาคาริกเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๖. พักกุลเถราปทาน
๖. พักกุลเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระพักกุลเถระ
(พระพักกุลเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๘๖] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อโสภิตะ
พวกศิษย์ของข้าพเจ้า
ช่วยกันสร้างอาศรมอย่างสวยงามให้ข้าพเจ้า
[๓๘๗] ที่ใกล้อาศรมนั้น มีมณฑปจำนวนมาก
ต้นย่านทรายมีดอกบานสะพรั่ง
ต้นมะขวิด ต้นจำปา ต้นกากะทิง ต้นเกด มีจำนวนมาก
[๓๘๘] มีต้นคนทีสอ ต้นพุทรา และต้นมะขามป้อม
ต้นมะปราง น้ำเต้า และบัวขาว
มีดอกบานสะพรั่งจำนวนมาก
[๓๘๙] มีต้นรักขาว ต้นมะตูม ต้นกล้วย และต้นมะงั่ว (มะนาว)
ต้นกระท้อน ต้นรกฟ้าขาว และต้นประยงค์ มีอยู่มาก
[๓๙๐] มีต้นคำ ต้นช้างน้าว ต้นกระทุ่ม ต้นไทร และต้นมะขวิด
อาศรมของข้าพเจ้าเป็นเช่นนี้
ข้าพเจ้าพร้อมด้วยศิษย์อยู่ที่อาศรมนั้น
[๓๙๑] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอโนมทัสสี ผู้เป็นพระสยัมภู
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงแสวงหาที่เร้น
เสด็จเข้ามาใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
[๓๙๒] เมื่อพระมหาวีรเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่เสด็จเข้ามาใกล้แล้ว
โรคลมก็เกิดขึ้นแก่พระองค์
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกโดยฉับพลัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๖. พักกุลเถราปทาน
[๓๙๓] ข้าพเจ้าเที่ยวไปในป่า ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก มีพระจักษุ
มีพระยศยิ่งใหญ่ จึงได้เข้าเฝ้า
[๓๙๔] ครั้นได้เห็นพระอิริยาบถก็เข้าใจได้ในทันทีว่า
พระพุทธเจ้าทรงพระประชวรแน่นอน
[๓๙๕] ข้าพเจ้าจึงรีบกลับมายังอาศรม
ในสำนักของศิษย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า
ขณะนั้นข้าพเจ้าปรึกษาศิษย์ว่า เราต้องการปรุงยา
[๓๙๖] ศิษย์ทั้งหมดผู้มีความเคารพ
เชื่อฟังข้าพเจ้าแล้วร่วมประชุมกัน
เพราะเคารพข้าพเจ้าผู้เป็นครู
[๓๙๗] ข้าพเจ้ารีบขึ้นภูเขาไปเก็บยาทุกสิ่งมาปรุง
ได้ปรุงให้เป็นยาสำหรับดื่มถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
[๓๙๘] เมื่อพระมหาวีรเจ้าผู้สัพพัญญู
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกเสวยแล้ว
โรคลมของพระสุคตผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ก็สงบลงฉับพลัน
[๓๙๙] พระพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ทรงเห็นข้าพเจ้ามีความกระวนกระวายสงบแล้ว
ประทับนั่งบนอาสนะของพระองค์
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๔๐๐] เราจักพยากรณ์ผู้ที่ได้ถวายยา
แก่เราและระงับอาพาธของเราได้
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๔๐๑] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป
จักบันเทิงในเทวโลกนั้น ซึ่งมีดนตรีประโคมอยู่ทุกเมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๖. พักกุลเถราปทาน
[๔๐๒] อันกุศลมูลตักเตือนมา(เกิด)ยังมนุษยโลกแล้ว
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
[๔๐๓] ในกัปที่ ๕๕ (นับจากกัปนี้ไป)
จักได้เป็นกษัตริย์พระนามว่าอโนมิ
ทรงมีชัยชนะมีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
เป็นใหญ่ในชมพูทวีป
[๔๐๔] จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก
ลือกระฉ่อนไปจนถึงภพดาวดึงส์ ครองความเป็นใหญ่
[๔๐๕] เขา(เกิด)เป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
จักเป็นผู้มีอาพาธน้อย จักเว้นความเร่าร้อนแล้ว
ผ่านพ้นความเจ็บไข้ได้ในโลก
[๔๐๖] ในกัปที่นับมิได้ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๔๐๗] เขาจักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๔๐๘] เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ข้ามพ้นกระแสตัณหาได้
จักมีนามว่าพักกุละเป็นสาวกของพระศาสดา
[๔๐๙] พระโคดมศากยะผู้ประเสริฐ
ทรงทราบความนี้ทั้งหมดแล้ว
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุ
จักทรงตั้งเขาไว้ในเอตทัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๖. พักกุลเถราปทาน
[๔๑๐] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้เป็นพระสยัมภู ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงตรวจดูอาศรมของข้าพเจ้าว่าเป็นที่วิเวก
จึงเสด็จเข้าไป
[๔๑๑] ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใส ให้พระมหาวีรเจ้า
ผู้สัพพัญญูทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จมาถึง อิ่มเอิบด้วยโอสถทุกอย่างด้วยมือของตน
[๔๑๒] ข้าพเจ้านั้นได้ทำกรรมไว้ดีแล้ว
เพราะความถึงพร้อมด้วยพืชในเขตที่ดี
ข้าพเจ้าจึงไม่อาจจะให้กรรม
ที่ข้าพเจ้าทำแล้วสิ้นไปได้เลยในกาลนั้น
[๔๑๓] การที่ข้าพเจ้าได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นผู้นำนั้น
เป็นลาภที่ข้าพเจ้าได้ดีแล้ว
ด้วยกรรมที่เหลืออยู่นั้น
ข้าพเจ้าจึงได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
[๔๑๔] พระโคดมศากยะผู้ประเสริฐทรงทราบความนั้นทั้งหมดแล้ว
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว
ทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๔๑๕] ในกัปที่นับมิได้ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายยา
[๔๑๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้ามีอาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๗. คิริมานันทเถราปทาน
[๔๑๗] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๑๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระพักกุลเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
พักกุลเถราปทานที่ ๖ จบ
๗. คิริมานันทเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระคิริมานันทเถระ
(พระคิริมานันทเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๑๙] ภริยาของข้าพเจ้าถึงแก่กรรมแล้ว
บุตรของข้าพเจ้าก็ตกไปอยู่ป่าช้าแล้ว(ตาย)
บิดามารดาและพี่ชายของข้าพเจ้าก็ถูกเผาที่เชิงตะกอนเดียวกัน
[๔๒๐] เพราะความเศร้าโศกนั้น
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้รุ่มร้อน ผอมเหลือง
จิตของข้าพเจ้าฟุ้งซ่าน
คับแค้นใจด้วยความเศร้าโศกนั้น
[๔๒๑] ข้าพเจ้ามากไปด้วยลูกศรคือความเศร้าโศกจึงเข้าไปยังชายป่า
บริโภคผลไม้ที่หล่นเอง อาศัยอยู่ที่โคนต้นไม้
[๔๒๒] พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้กระทำที่สุดทุกข์
พระองค์ประสงค์จะช่วยเหลือข้าพเจ้า
จึงเสด็จมาใกล้ข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๗. คิริมานันทเถราปทาน
[๔๒๓] ข้าพเจ้าได้ยินเสียงพระบาทของพระพุทธเจ้า
พระนามว่าสุเมธะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
จึงแหงน(หน้า)มองดูพระมหามุนี
[๔๒๔] พระมหาวีรเจ้าเสด็จเข้ามา ปีติเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
ในครั้งนั้นข้าพเจ้าได้มีใจเบิกบาน
เพราะเห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๔๒๕] ข้าพเจ้าจึงได้สติ แล้วได้ถวายใบไม้กำมือหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุ
ประทับนั่งบนใบไม้นั้น ด้วยความอนุเคราะห์
[๔๒๖] พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ครั้นประทับนั่งบนใบไม้นั้นแล้ว
ทรงแสดงธรรมเครื่องบรรเทาลูกศร
คือความเศร้าโศกแก่ข้าพเจ้าว่า
[๔๒๗] ชนเหล่านั้น ไม่มีใครเชิญก็พากันมาจากปรโลกนั้นเอง
ไม่มีใครอนุญาตก็พากันไปจากมนุษยโลกนี้แล้ว
เขาก็พากันไปตามที่เขาจะไป
จะคร่ำครวญไปทำไมในการตายของพวกเขานั้น
[๔๒๘] เมื่อฝนตกลงมาคนเดินทางที่มีสิ่งของ
ก็หลบฝนจนกว่าฝนจะหาย
[๔๒๙] เมื่อฝนหายแล้ว พวกเขาก็ไปตามปรารถนาฉันใด
มารดาบิดาของท่านก็ฉันนั้น
จะคร่ำครวญไปทำไมในการตายของเขานั้น
[๔๓๐] แขกผู้จรมาผู้ทำเจ้าของบ้านให้หวั่นไหวสั่นสะท้านฉันใด
มารดาและบิดาของท่านก็ฉันนั้น
จะคร่ำครวญไปทำไมในการตายของเขานั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๗. คิริมานันทเถราปทาน
[๔๓๑] งูลอกคราบเก่าไปฉันใด
มารดาและบิดาของท่านก็ฉันนั้น
ย่อมละกายของตนในโลกนี้ไป
[๔๓๒] ข้าพเจ้าได้ทราบพระพุทธดำรัสแล้ว
จึงละลูกศรคือความเศร้าโศกได้
เกิดความปราโมทย์แล้ว ได้กราบไหว้
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๔๓๓] ครั้นแล้ว ใช้ช่อดอกกล้วยไม้ที่มีกลิ่นหอมทิพย์
บูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้เป็นพระมหานาค ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๔๓๔] ครั้นบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ประนมมือขึ้นเหนือศีรษะระลึกถึงคุณอันเลิศแล้ว
ได้สรรเสริญพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า
[๔๓๕] ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีความเพียรมาก
พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู เป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงข้ามพ้นแล้ว ยังทรงช่วยเหลือสรรพสัตว์ ด้วยพระญาณอีก
[๔๓๖] ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีพระจักษุ
พระองค์ตัดความเคลือบแคลงสงสัยของข้าพระองค์
และให้ข้าพระองค์บรรลุมรรคด้วยพระญาณของพระองค์
[๔๓๗] พระอรหันต์ผู้ถึงความสำเร็จ
ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก
เที่ยวไปในอากาศได้
เป็นนักปราชญ์ แวดล้อมอยู่ในขณะนั้น
[๔๓๘] พระเสขะผู้กำลังปฏิบัติ และผู้ตั้งอยู่ในผล
เป็นสาวกของพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๗. คิริมานันทเถราปทาน
สาวกทั้งหลายของพระองค์ย่อมเบ่งบาน
เหมือนดอกปทุมแย้มบานเมื่อดวงอาทิตย์อุทัย
[๔๓๙] มหาสมุทรประมาณมิได้ ไม่มีอะไรเทียมเท่า
ยากที่จะข้ามได้ ฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
พระองค์ก็ทรงสมบูรณ์ด้วยพระญาณนับประมาณมิได้ ฉันนั้น
[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้คุกเข่าน้อมไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงชนะโลก
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศยิ่งใหญ่ทุกทิศแล้วหลีกไป
[๔๔๑] ข้าพเจ้าจุติจากเทวโลกแล้ว
มีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า
เร่ร่อนอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ลงมาปฏิสนธิในครรภ์มารดา
[๔๔๒] ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้มีความเพียร
มีปัญญารักษาตน
มีปกติเข้าฌาน มีการหลีกเร้นเป็นอารมณ์
[๔๔๓] ตั้งความเพียร ให้พระมหามุนีทรงพอพระทัย
พ้นจากกิเลส ดังดวงจันทร์พ้นแล้วจากกลีบเมฆ อยู่ทุกเมื่อ
[๔๔๔] ข้าพเจ้าเป็นผู้ขวนขวายในวิเวก สงบระงับ ไม่มีอุปธิ
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๔๔๕] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๔๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๘. สลฬมัณฑปิยเถราปทาน
อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๔๔๗] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๔๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระคิริมานันทเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
คิริมานันทเถราปทานที่ ๗ จบ
๘. สลฬมัณฑปิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสลฬมัณฑปิยเถระ
(พระสลฬมัณฑปิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๔๙] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ
ทรงอยู่จบพรหมจรรย์ ปรินิพพานแล้ว
ข้าพเจ้าได้เก็บดอกช้างน้าวมาทำเป็นมณฑป
[๔๕๐] ข้าพเจ้าไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้วิมานชั้นสูงสุด
รุ่งเรืองเหนือเทวดาเหล่าอื่น
นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม
[๔๕๑] ข้าพเจ้าเดินและยืนอยู่ในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ตาม
ย่อมมีดอกช้างน้าวกำบังไว้
นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๙. สัพพทายกเถราปทาน
[๔๕๒] ในกัปนี้เอง ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๕๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๕๔] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๕๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสลฬมัณฑปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สลฬมัณฑปิยเถราปทานที่ ๘ จบ
๙. สัพพทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัพพทายกเถระ
(พระสัพพทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๕๖] ที่อยู่ของข้าพเจ้าซึ่งบุญกรรมเนรมิตไว้ดีแล้วจดถึงมหาสมุทร
สระโบกขรณีซึ่งบุญกรรมเนรมิตไว้ดีแล้ว
มีนกจักรพากส่งเสียงร้องอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๙. สัพพทายกเถราปทาน
[๔๕๗] ดารดาษด้วยบัวเผื่อนบัวหลวงและบัวขาบ
ในสระนั้นมีน้ำไหล มีท่าน้ำราบเรียบ เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ
[๔๕๘] มีปลาและเต่าชุกชุม ชุกชุมไปด้วยเนื้อต่าง ๆ
มีนกยูง นกกระเรียน และนกดุเหว่า เป็นต้น
ส่งเสียงร้องอย่างไพเราะ
[๔๕๙] นกเขา นกเป็ดน้ำ นกจักรพาก นกกาน้ำ นกต้อยตีวิด
นกสาลิกา นกช้อนหอย นกโพระดก
[๔๖๐] หงส์ นกกระเรียน นกแสก นกขมิ้น
ช่างน่าเพลิดเพลินอยู่มาก
สระโบกขรณีสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีทรายแก้วมณีและแก้วมุกดา
[๔๖๑] ต้นไม้ทั้งหลายเป็นสีทองทั้งหมด
มีกลิ่นหอมต่าง ๆ ฟุ้งขจรไป
ส่องที่อยู่ของข้าพเจ้าให้สว่างไสวตลอดกาลทั้งปวง
ทั้งกลางวันกลางคืน
[๔๖๒] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น
ประโคมอยู่ทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า
สตรีสาวล้วน ๖๐,๐๐๐ นาง แวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
[๔๖๓] ข้าพเจ้าออกจากที่อยู่แล้ว
ได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ไหว้พระองค์ ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
[๔๖๔] ถวายอภิวาทแล้วได้ทูลนิมนต์พระองค์พร้อมทั้งพระสาวก
พระพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์พระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงรับนิมนต์แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๙. สัพพทายกเถราปทาน
[๔๖๕] พระมหามุนีตรัสธรรมกถาแก่ข้าพเจ้าแล้วทรงส่งข้าพเจ้าไป
ข้าพเจ้าถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
กลับเข้าไปยังที่อยู่ของตน
[๔๖๖] ข้าพเจ้าเรียกบริวารชนมาบอกว่า ท่านทั้งหมดจงประชุมกัน
เวลาเช้าพระพุทธเจ้าจะเสด็จมายังที่อยู่ของเรา
[๔๖๗] การที่พวกเราจะได้อยู่ในสำนักของพระองค์
เป็นลาภที่พวกเราได้ดีแล้วหนอ
แม้พวกเราจักทำการบูชาพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุดผู้เป็นศาสดา
[๔๖๘] ข้าพเจ้าตระเตรียมข้าวและน้ำเสร็จแล้ว จึงกราบทูลภัตกาล
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จเข้ามาพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๒๐๐,๐๐๐ องค์
[๔๖๙] ข้าพเจ้าได้รับเสด็จด้วยดนตรีเครื่องห้า
พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด
ประทับนั่งบนตั่งทองคำล้วน
[๔๗๐] ในครั้งนั้น หลังคาเบื้องบนก็มุงด้วยทองคำล้วน
คนทั้งหลายโบกพัดถวายในระหว่างภิกษุสงฆ์
[๔๗๑] ข้าพเจ้าได้ถวายข้าวน้ำอย่างเพียงพอ
ให้ภิกษุสงฆ์ฉันจนอิ่มหนำแล้ว
ได้ถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์รูปละ ๑ คู่
[๔๗๒] พระพุทธเจ้าที่ผู้คนเรียกพระนามว่าสุเมธะ
ผู้สมควรรับเครื่องบูชาของโลก
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๖ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น