Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๔-๔ หน้า ๑๓๐ - ๑๗๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔-๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๑ ธัมมสังคนี



พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมสังคณี
_________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
วิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖๒] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความ
ที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๔๖๓] อุเบกขา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเบกขาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖๔] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖๕] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖๖] อุเปกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖๗] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์ แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้นใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยโสมนัส
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[๔๖๘] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่
ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต
มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก จบ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยโสมนัส
[๔๖๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร
กุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
ปีติ สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๔๗๐] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ที่เกิดขึ้นในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๗๑] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย
อารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยโสมนัส
[๔๗๒] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๗๓] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๗๔] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๔๗๕] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่น
ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าวิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๗๖] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๔๗๗] ปีติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
ปีติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๗๘] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยโสมนัส
[๔๗๙] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘๐] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘๑] โสมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘๒] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์ แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
ในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป
ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[๔๘๓] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยโสมนัส จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยอุเบกขา
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยอุเบกขา
[๔๘๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร
กุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต
[๔๘๕] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ที่เกิดขึ้นในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘๖] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่ง
มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘๗] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘๘] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘๙] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยอุเบกขา
[๔๙๐] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
วิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๙๑] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ควมเข้าไปพิจารณา ความ
ที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๔๙๒] อุเบกขา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเบกขาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๙๓] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๙๔] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๙๕] อุเปกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๙๖] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์ แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
ในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท มหาวิปากจิต ๘
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[๔๙๗] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็น
รูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณ
ขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยอุเบกขา จบ
มหาวิปากจิต ๘
[๔๙๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก
สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ
เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคต
ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต
ด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง
สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจาก
ญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ อัพยากตมูลคืออโลภะ ฯลฯ
อัพยากตมูลคืออโทสะ ฯลฯ อัพยากตมูลคืออโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อ
ว่าเป็นอัพยากฤต
มหาวิปากจิต ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อรูปาวจรวิปากจิต
รูปาวจรวิปากจิต
[๔๙๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๕๐๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลบรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรม
นั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
รูปาวจรวิปากจิต จบ
อรูปาวจรวิปากจิต
[๕๐๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา จึงบรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข
และทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อรูปาวจรวิปากจิต
โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆ-
สัญญาดับไป เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
อากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๐๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญ-
จายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตน-
สัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงอากาสานัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละ
สุขและทุกข์ได้ ฯลฯ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรม
นั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๐๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญ-
จายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากิญจัญญายตน-
สัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข
และทุกข์ได้ ฯลฯ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๐๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต สุทธิกปฏิปทา
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญ-
ญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานา-
สัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้น
นั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
อรูปาวจรวิปากจิต จบ
โลกุตตรวิปากจิต
สุทธิกปฏิปทา
[๕๐๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๐๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต สุทธิกปฏิปทา
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอนิมิตตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๐๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศล
นั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๐๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็น
สุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็น
อัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต สุทธิกสุญญตะ
[๕๐๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็น
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นสุขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็น
อนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
สุทธิกปฏิปทา จบ
สุทธิกสุญญตะ
[๕๑๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๕๑๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต สุทธิกสุญญตะ
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอนิมิตตะ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๕๑๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๕๑๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจาร สงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ
ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอนิมิตตะ ชื่อว่า
เป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่า
เป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
สุทธิกสุญญตะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต สุญญตปฎิปทา
สุญญตปฏิปทา
[๕๑๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ ซึ่งเป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๑๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอนิมิตตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๑๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต สุญญตปฎิปทา
กุศลนั้นนั่นและ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๑๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
อยู่ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็น
วิบาก ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่
เป็นอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๑๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ เป็น
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่า
เป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ
ที่เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอนิมิตตะ
เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ เป็น
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
สุญญตปฏิปทา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต สุทธิกอัปปณิหิตะ
สุทธิกอัปปณิหิตะ
[๕๑๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๒๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอนิมิตตะ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๒๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๒๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต อัปปณิหิตปฏิปทา
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
ทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อ
ว่าเป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอนิมิตตะ ชื่อว่า
เป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็น
วิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
สุทธิกอัปปณิหิตะ จบ
อัปปณิหิตปฏิปทา
[๕๒๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๒๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต อัปปณิหิตปฏิปทา
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอนิมิตตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๒๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นสุญญตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๒๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่า
เป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็น
วิบาก ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล
ฯลฯ ที่เป็นอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็น
อัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๒๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต มหานัย ๒๐
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็น
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็น
วิบาก ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ที่เป็นอนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็น
อัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ
เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
อัปปณิหิตปฏิปทา จบ
มหานัย ๒๐
[๕๒๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญพละที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญโพชฌงค์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัจจะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสมถะที่
เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญวิปัสสนาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญขันธ์ที่เป็นโลกุตตระ
ฯลฯ เจริญอายตนะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธาตุที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญ
อาหารที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญผัสสะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเวทนาที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัญญาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเจตนาที่โลกุตตระ ฯลฯ
เจริญจิตที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ
เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต ฉันทาธิปไตย สุทธิกปฏิปทา
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ ฯลฯ
เป็นอนิมิตตะ ฯลฯ เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก
เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
มหานัย ๒๐ จบ
ฉันทาธิปไตย สุทธิกปฏิปทา
[๕๒๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิปไตย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
สุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นสุญญตะ ฯลฯ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะ
ได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๓๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตยอยู่ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌาน
ที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต ฉันทาธิปไตย สุทธิกปฏิปทา
[๕๓๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่
เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๓๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ จึง
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่า
เป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ชื่อว่า เป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่า
เป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่า
เป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๓๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุขา-
ปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต ฉันทาธิปไตย สุทธิกสุญญตะ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ
ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ชื่อว่า เป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่า
เป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่า
เป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล
ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่า
เป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ฉันทาธิปไตย สุทธิกปฏิปทา จบ
ฉันทาธิปไตย สุทธิกสุญญตะ
[๕๓๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
สุญญตะ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๓๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต ฉันทาธิปไตย สุทธิกสุญญตะ
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อนิมิตตะ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๓๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อัปปณิหิตะ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๓๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ
ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอนิมิตตะ ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ
ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ฉันทาธิปไตย สุทธิกสุญญตะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑
วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑
[๕๓๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
สุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌาน
ที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๓๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก ฯลฯ เพราะได้ทำได้เจริญ
ฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑
ที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานเป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็น
ฉันทาธิปไตยอยู่ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
เป็นฉันทาธิปไตยอยู่ ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา-
ภิญญา เป็นฉันทาธิปไตย ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิปไตย ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นสุญญตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิปไตย ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นอัปปณิหิตะ
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิปไตย ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๕๔๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ
เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นอนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑
เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อัปปณิหิตะซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อนิมิตตะ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย เป็น
สุญญตะ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่าเป็นกุศล
ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอนิมิตตะ ชื่อว่า
เป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌาน
ที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌาน
ที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย เป็น
สุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌาน
ที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๕๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอนิมิตตะ
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑
[๕๕๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปัญจมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็น
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ เป็น
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๕๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญพละที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญโพชฌงค์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัจจะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสมถะที่
เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญวิปัสสนาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญขันธ์ที่เป็นโลกุตตระ
ฯลฯ เจริญอายตนะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธาตุที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญ
อาหารที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญผัสสะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเวทนาที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัญญาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเจตนาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญจิตที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ
เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๒ เป็นต้น
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นอนิมิตตะ ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อัปปณิหิตะ ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย
ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑ จบ
วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๒ เป็นต้น
[๕๕๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อทำกามราคะและพยาบาทให้เบาบาง เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒ ฯลฯ เพื่อละ
กามราคะและพยาบาทโดยสิ้นเชิง เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ ฯลฯ เพื่อละรูปราคะ
อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาโดยสิ้นเชิง เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานซึ่งเป็นสุญญตะ อันเป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่น
ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๕๔] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๕๕๕] อัญญาตาวินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด
ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด การใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน
แผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญาปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญา
เหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรคที่เกิดขึ้น ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อัญญาตาวินทรีย์๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๒ เป็นต้น จบ
โลกุตตรวิปากจิต จบ
อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก
ปัญจวิญญาณที่เป็นอกุศลวิบาก
[๕๕๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ
ได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิต ทุกข์ เอกัคคตา มนินทรีย์ ทุกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก
[๕๕๗] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๕๕๘] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกาย
วิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๕๕๙] ทุกข์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๕๖๐] ทุกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าทุกขินทรีย์๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
กายวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[๕๖๑] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นแม้
อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ปัญจวิญญาณที่เป็นอกุศลวิบาก จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก
มโนธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก
[๕๖๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะ
เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรม ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา
มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[๕๖๓] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่
เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต
มโนธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก จบ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก
[๕๖๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรม
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา
เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่
เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอเหตุกกิริยา
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[๕๖๕] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่
เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก จบ
อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก จบ

อัพยากฤตที่เป็นอเหตุกกิริยา
มโนธาตุที่เป็นกิริยา
[๕๖๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากของกรรม
ที่สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภ
อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต
วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนธาตุ
๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอเหตุกกิริยา
[๕๖๗] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่
เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต
มโนธาตุที่เป็นกิริยา จบ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาสหรคตด้วยโสมนัส
[๕๖๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากของ
กรรม สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภ
อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก
วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่น
ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๖๙] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๕๗๐] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
เอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๕๗๑] วิริยินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอเหตุกกิริยา
อย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ
วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๕๗๒] สมาธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่นอยู่ ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิด
ขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[๕๗๓] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ และ
ชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาสหรคตด้วยโสมนัส จบ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาสหรคตด้วยอุเบกขา
[๕๗๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากของ
กรรม ที่สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือ
ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกัน
เกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรกิริยาจิตที่เป็นสเหตุกะ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[๕๗๕] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ และชีวิตินทรีย์
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาสหรคตด้วยอุเบกขา จบ
อัพยากฤตที่เป็นอเหตุกกิริยา จบ
กามาวจรกิริยาจิตที่เป็นสเหตุกะ
[๕๗๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากของ
กรรม สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุต
ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ
สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภ
อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
อัพยากตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโทสะ ฯลฯ อัพยากตมูล
คือ อโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
กามาวจรกิริยาจิตที่เป็นสเหตุกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อรูปาวจรกิริยาจิต
รูปาวจรกิริยาจิต
[๕๗๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญฌานที่เป็นรูปาวจร เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่
เป็นวิบากของกรรม แต่เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๗๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญฌานที่เป็นรูปาวจร เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรมแต่เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็น
อารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
รูปาวจรกิริยาจิต จบ
อรูปาวจรกิริยาจิต
[๕๗๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญฌานที่เป็นอรูปาวจร เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม แต่เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะ
ก้าวล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่มนสิการ
ถึงนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๘๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญฌานที่เป็นอรูปาวจร เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากกรรมแต่เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะก้าวล่วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อรูปาวจรกิริยาจิต
อากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
วิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัย
ใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๕๘๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญฌานที่เป็นอรูปาวจร เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากกรรม แต่เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะก้าว
ล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
อากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัย
ใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๕๘๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญฌานที่เป็นอรูปาวจร เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม แต่เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะก้าว
ล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
อัพยากตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโทสะ ฯลฯ อัพยากตมูล
คือ อโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
อรูปาวจรกิริยาจิต จบ
อัพยากตบท จบ
จิตตุปปาทกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] เอกกมาติกา
๒. รูปกัณฑ์
อุทเทส
[๕๘๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร และไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
และวิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่าใดเป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบาก
แห่งกรรม รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
เอกกมาติกา
[๕๘๔] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเหล่านั้น รูปทั้งหมด เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปทั้งหมด
รูปทั้งหมดไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็น
อารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็น
อัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่เป็นเจตสิก วิปปยุตจากจิต ไม่เป็นวิบากและไม่เป็น
เหตุให้เกิดวิบาก กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและ
วิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคต
ด้วยสุข ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้อง
บน ๓ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่เป็นเหตุ
ให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็นปริตตะ
เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร ไม่เป็นอรูปาวจร นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ไม่ใช่ไม่นับเนื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ทุกมาติกา ปกิณณกทุกะ
ในวัฏฏทุกข์ เป็นของไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นธรรมที่เกิดขึ้น
อันวิญญาณ ๖ รู้ได้ เป็นของไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำ๑
รวมรูปหมวดละ ๑ อย่างนี้
เอกกมาติกา จบ
ทุกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๒
ปกิณณกทุกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปก็มี (๕๙๕-๖๔๕) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี (๖๔๖-
๖๕๑)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี (๖๕๒) รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี (๖๕๓)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
(๖๕๔) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี (๖๕๕)

รูปที่เห็นได้ก็มี (๖๕๖) รูปที่เห็นไม่ได้ก็มี (๖๕๗)
รูปที่กระทบได้ก็มี (๖๕๘) รูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๖๕๙)
รูปที่เป็นอินทรีย์ก็มี (๖๖๐) รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี (๖๖๑)
รูปที่เป็นมหาภูตรูปก็มี (๖๖๒) รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี (๖๖๓)
รูปที่เป็นวิญญัตติรูปก็มี (๖๖๔) รูปที่ไม่เป็นวิญญัตติรูปก็มี (๖๖๕)
รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี (๖๖๖) รูปที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี (๖๖๗)
รูปที่เกิดพร้อมกับจิตก็มี (๖๖๘) รูปที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตก็มี (๖๖๙)
รูปที่เป็นไปตามจิตก็มี (๖๗๐) รูปที่ไม่เป็นไปตามจิตก็มี (๖๗๑)


เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ทุกมาติกา อารัมมณทุกะ

รูปที่เป็นภายในก็มี (๖๗๒) รูปที่เป็นภายนอกก็มี (๖๗๓)
รูปที่หยาบก็มี (๖๗๔) รูปที่ละเอียดก็มี (๖๗๕)
รูปไกลก็มี (๖๗๖) รูปใกล้ก็มี (๖๗๗)

ปกิณณกทุกะ จบ
วัตถุทุกะ
รูปเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี (๖๗๘) รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส
ก็มี (๖๗๙)
รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของ
เจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณก็มี (๖๘๐) รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ
ก็มี (๖๘๑)
รูปเป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส
ฯลฯ ของกายสัมผัสก็มี (๖๘๒) รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัสก็มี (๖๘๓)
รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของ
เจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณก็มี (๖๘๔) รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ
ก็มี (๖๘๕)
วัตถุทุกะ จบ
อารัมมณทุกะ
รูปที่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัสก็มี (๖๘๖) รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส
ก็มี (๖๘๗)
รูปที่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของ
เจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณก็มี (๖๘๘) รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ
ก็มี (๖๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ทุกมาติกา ธาตุทุกะ
รูปที่เป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส
ฯลฯ ของกายสัมผัสก็มี (๖๙๐) รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัสก็มี (๖๙๑)
รูปที่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของ
เจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณก็มี (๖๙๒) รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ
ก็มี (๖๙๓)
อารัมมณทุกะ จบ
อายตนทุกะ

รูปที่เป็นจักขายตนะก็มี (๖๙๔) รูปที่ไม่เป็นจักขายตนะก็มี (๖๙๕)
รูปที่เป็นโสตายตนะก็มี (๖๙๖) รูปที่ไม่เป็นโสตายตนะก็มี (๖๙๗)

รูปที่เป็นฆานายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นชิวหายตนะ ฯลฯ

รูปที่เป็นกายายตนะก็มี (๖๙๖) รูปที่ไม่เป็นกายายตนะก็มี (๖๙๗)
รูปที่เป็นรูปายตนะก็มี (๖๙๘) รูปที่ไม่เป็นรูปายตนะก็มี (๖๙๙)

รูปที่เป็นสัททายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นคันธายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นรสายตนะ ฯลฯ

รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะก็มี (๗๐๐) รูปที่ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะก็มี (๗๐๑)

อายตนทุกะ จบ
ธาตุทุกะ

รูปที่เป็นจักขุธาตุก็มี (๗๐๒) รูปที่ไม่เป็นจักขุธาตุก็มี (๗๐๓)

รูปที่เป็นโสตธาตุก็มี ฯลฯ รูปที่เป็นฆานธาตุ ฯลฯ รูปที่เป็นชิวหาธาตุ ฯลฯ

รูปที่เป็นกายธาตุก็มี (๗๐๔) รูปที่ไม่เป็นกายธาตุก็มี (๗๐๕)
รูปที่เป็นรูปธาตุก็มี (๗๐๖) รูปที่ไม่เป็นรูปธาตุก็มี (๗๐๗)

รูปที่เป็นสัททธาตุก็มี ฯลฯ รูปที่เป็นคันธธาตุ ฯลฯ รูปที่เป็นรสธาตุ ฯลฯ

รูปที่เป็นโผฏฐัพพธาตุก็มี (๗๐๘) รูปที่ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุก็มี (๗๐๙)

ธาตุทุกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๗๒ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น