Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๔๐-๑ หน้า ๑ - ๖๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐-๑ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๗ ปัฏฐาน ภาค ๑



พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] มาติกานิกเขปวาร ๑. ปัจจยุทเทส

พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมานุโลม ติกปัฏฐาน
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มาติกานิกเขปวาร
๑. ปัจจยุทเทส
๑. เหตุปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ
๒. อารมฺมณปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์
๓. อธิปติปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิบดี
๔. อนนฺตรปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น
๕. สมนนฺตรปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น
ด้วยดี
๖. สหชาตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อมกัน
๗. อญฺญมญฺญปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
๘. นิสฺสยปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัย
๙. อุปนิสฺสยปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลัง
๑๐. ปุเรชาตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อน
๑๑. ปจฺฉาชาตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดทีหลัง
๑๒. อาเสวนปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเสพบ่อย ๆ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส

๑๓. กมฺมปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นกรรม
๑๔. วิปากปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิบาก
๑๕. อาหารปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอาหาร
๑๖. อินฺทฺริยปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอินทรีย์
๑๗. ฌานปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นฌาน
๑๘. มคฺคปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นมรรค
๑๙. สมฺปยุตฺตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นการประกอบ
๒๐. วิปฺปยุตฺตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นการไม่ประกอบ
๒๑. อตฺถิปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นภาวะที่ยังมีอยู่
๒๒. นตฺถิปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นภาวะที่ไม่มีอยู่
๒๓. วิคตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความปราศจากไป
๒๔. อวิคตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความไม่ปราศจากไป

ปัจจยุทเทส จบ
ปัจจยวิภังควาร
๒. ปัจจยนิทเทส
[๑] เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุและ
รูปที่มีธรรมอันสัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐานโดยเหตุปัจจัย
[๒] อารัมมณปัจจัย ได้แก่ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
รสายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมทั้งปวงเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
มโนวิญญาณธาตุนั้นโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใด ๆ ปรารภสภาวธรรมใด ๆ เกิดขึ้น สภาว-
ธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ โดยอารัมมณปัจจัย
[๓] อธิปติปัจจัย ได้แก่ ฉันทาธิบดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยฉันทะและรูปที่มีธรรมอันสัมปยุตด้วยฉันทะนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยวิริยะและรูปที่มีธรรมอันสัมปยุต
ด้วยวิริยะนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
จิตตาธิบดี เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและรูปที่มีธรรมอัน
สัมปยุตด้วยจิตนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
วิมังสาธิบดี เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยวิมังสา และรูปที่มีธรรมอัน
สัมปยุตด้วยวิมังสานั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใด ๆ ทำสภาวธรรมใด ๆ ให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นเกิดขึ้น
สภาวธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ โดย
อธิปติปัจจัย
[๔] อนันตรปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุ
นั้นโดยอนันตรปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโสตวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยฆานวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ
และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
ชิวหาวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณธาตุนั้น เป็น
ปัจจัยแก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศล
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากฤตซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศล
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใด ๆ เกิดขึ้นในลำดับแห่งสภาวธรรมใด ๆ
สภาวธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ โดยอนันตร-
ปัจจัย
[๕] สมนันตรปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุ
นั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโสตวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยฆานวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
ชิวหาวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
ธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิด
หลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่ง
เกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากฤตซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศล
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศล
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยสมนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใด ๆ เกิดขึ้นในลำดับแห่งสภาวธรรมใด ๆ สภา
วธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้น ๆ โดยสมนันตรปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
[๖] สหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยสหชาตปัจจัยใน
ปฏิสนธิขณะ นามรูป เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยสหชาตปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป๑โดยสหชาต-
ปัจจัย มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปโดยสหชาตปัจจัย สภาวธรรมที่
เป็นรูป บางคราวเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปโดยสหชาตปัจจัย บางคราว
ไม่เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย
[๗] อัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญ-
ปัจจัย มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็น
ปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย
[๘] นิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกันโดย
นิสสยปัจจัย มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ
นามรูป เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยนิสสย-
ปัจจัย มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปโดยนิสสยปัจจัย
จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย จักขุ-
วิญญาณธาตุนั้นโดยนิสสยปัจจัย
โสตายตนะเป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยนิสสยปัจจัย
ฆานายตนะเป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยนิสสยปัจจัย

เชิงอรรถ :
๑ รูปที่เกิดจากจิตมี ๑๗ คือ วิญญัตติรูป ๒ วิการรูป ๓ อุปจยรูป ๑ สันตติรูป ๑ สัททรูป ๑ ปริจเฉทรูป
๑ และอวินิพโภครูป ๘ (อภิ.สงฺ. ๓๔/๗๖๒๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
ชิวหายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยนิสสยปัจจัย
กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยนิสสยปัจจัย
รูปที่มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไปเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ มโน-
วิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยธาตุทั้ง ๒ นั้นโดยนิสสยปัจจัย
[๙] อุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลบาง
เหล่าซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่ง
เกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลบาง
เหล่าซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยา-
กฤตซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากฤตซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศล
ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
แม้อุตุและโภชนะก็เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย แม้บุคคลก็เป็นปัจจัยโดย
อุปนิสสยปัจจัย แม้เสนาสนะก็เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
[๑๐] ปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
โสตายตนะเป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
ฆานายตนะเป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
ชิวหายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
คันธายตนะเป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยฆาน-
วิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
รสายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
รูปที่มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไปเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย บางคราวเป็นปัจจัยแก่
มโนวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย
บางคราวไม่เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
[๑๑] ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกซึ่งเกิดภายหลัง
เป็นปัจจัยแก่กายนี้ซึ่งเกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย
[๑๒] อาเสวนปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่ง
เกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากตกิริยาซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัพยากตกิริยาซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย
[๑๓] กัมมปัจจัย ได้แก่ กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
เจตนา เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตและรูปมีสภาวธรรมนั้นเป็นสมุฏฐาน
โดยกัมมปัจจัย
[๑๔] วิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบาก ซึ่งไม่เป็นรูป เป็นปัจจัยแก่
กันและกันโดยวิปากปัจจัย
[๑๕] อาหารปัจจัย ได้แก่ กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอาหาร-
ปัจจัย อาหารที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตและรูปซึ่งมีสภาวธรรม
นั้นเป็นสมุฏฐานโดยอาหารปัจจัย
[๑๖] อินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย
โสตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโสต-
วิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย
ฆานินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยฆาน-
วิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
ชิวหินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย
กายินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอินทรียปัจจัย
รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอินทรียปัจจัย
อินทรีย์ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุต และรูปซึ่งมีสภาวธรรม
นั้นเป็นสมุฏฐานโดยอินทรียปัจจัย
[๑๗] ฌานปัจจัย ได้แก่ องค์ฌานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฌานและรูปซึ่งมีสภาวธรรมนั้นเป็นสมุฏฐานโดยฌานปัจจัย
[๑๘] มัคคปัจจัย ได้แก่ องค์มรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
มรรคและรูปซึ่งมีสภาวธรรมนั้นเป็นสมุฏฐานโดยมัคคปัจจัย
[๑๙] สัมปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
โดยสัมปยุตตปัจจัย
[๒๐] วิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
[๒๑] อัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่ไม่เป็นรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกันโดย
อัตถิปัจจัย
มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามรูป
เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยอัตถิปัจจัย สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกเป็นปัจจัย
แก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปโดย
อัตถิปัจจัย
จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุ-
วิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัย
แก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอัตถิปัจจัย
รูปที่มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยธาตุทั้ง ๒ นั้นโดยอัตถิปัจจัย
[๒๒] นัตถิปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่ดับไปไม่มีระหว่าง
คั่นด้วยดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เป็นปัจจุบันโดยนัตถิปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปัจจยวิภังควาร ๒. ปัจจยนิทเทส
[๒๓] วิคตปัจจัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่ปราศจากไปไม่มี
ระหว่างคั่นด้วยดี เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เป็นปัจจุบันโดย
วิคตปัจจัย
[๒๔] อวิคตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๔ ที่ไม่เป็นรูป เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดย
อวิคตปัจจัย
มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยอวิคตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ
นามรูป เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยอวิคตปัจจัย สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิก
เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอวิคตปัจจัย
มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปโดยอวิคตปัจจัย
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จักขุวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
โสตวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ฆานวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ชิวหาวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
กายวิญญาณธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่มโนธาตุและสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นโดยอวิคตปัจจัย
รูปที่มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ และสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยธาตุทั้ง ๒ นั้นโดยอวิคตปัจจัย
ปัจจยนิทเทส จบ
ปุจฉาวาร
๑. ปัจจยานุโลม
เอกมูลกนัย ๑. กุสลบท
[๒๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึง
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล
พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
๒. อกุสลบท
[๒๖] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลพึงเกิด
ขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
อกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
๓. อัพยากตบท
[๒๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้บ้างไหม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตพึง
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
อัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
๔. กุสลาพยากตบท
[๒๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตพึง
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่
เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่
เป็นอัพยากฤต พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็น
อัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
กุศลและที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
๕. อกุสลาพยากตบท
[๒๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิด
ขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตพึง
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่
เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและ
ที่เป็นอัพยากฤต พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็น
อัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
อกุศลและที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
๖. กุสลากุสลบท
[๓๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลพึง
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลพึง
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่
เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่
เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็น
อกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
กุศลและที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
๗. กุสลากุสลาพยากตบท
[๓๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล และ
ที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล และที่เป็น
อัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล และที่
เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล ที่เป็น
อกุศล และที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล ที่
เป็นอกุศล และที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล
และที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล
ที่เป็นอกุศล และที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
เหตุปัจจยวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
[๓๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
(แม้อารัมมณปัจจัยก็พึงอธิบายให้พิสดารเหมือนเหตุปัจจัยตามแนวแห่งคำสอน)
[๓๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อธิปติปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย เพราะ
อัญญมัญญปัจจัย เพราะนิสสยปัจจัย เพราะอุปนิสสยปัจจัย เพราะปุเรชาตปัจจัย
เพราะปัจฉาชาตปัจจัย เพราะอาเสวนปัจจัย เพราะกัมมปัจจัย เพราะวิปากปัจจัย
เพราะอาหารปัจจัย เพราะอินทรียปัจจัย เพราะฌานปัจจัย เพราะมัคคปัจจัย
เพราะสัมปยุตตปัจจัย เพราะวิปปยุตตปัจจัย เพราะอัตถิปัจจัย เพราะนัตถิปัจจัย
เพราะวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
[๓๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อวิคตปัจจัยได้บ้างไหม ฯลฯ อาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศล ฯลฯ อาศัยสภาวธรรม
ที่เป็นอัพยากฤต ฯลฯ อาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต ฯลฯ
อาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต ฯลฯ อาศัยสภาวธรรมที่เป็น
กุศลและที่เป็นอกุศล ฯลฯ
สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล และที่เป็น
อัพยากฤตพึงเกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
ที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมที่
เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลพึงเกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่
เป็นอัพยากฤตพึงเกิดขึ้นเพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
(แม้อวิคตปัจจัยก็พึงอธิบายให้พิสดารเหมือนเหตุปัจจัยตามแนวแห่งคำสอน)
เอกมูลกนัย จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
ทุมูลกนัยเป็นต้น
เหตุมูลกนัย
[๓๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็น
อกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
พึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
[๓๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้บ้างไหม ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย
ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะ
อวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
ทุมูลกนัย จบ
[๓๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้บ้างไหม ฯลฯ เพราะ
เหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย
เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
ติมูลกนัย จบ
[๓๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัยได้บ้างไหม
ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย
ได้บ้างไหม
จตุมูลกนัย จบ
(ท่านได้ย่อปัญจมูลกนัยเป็นต้นไว้แล้ว ผู้รู้พึงอธิบายเอกมูลกนัย ทุมูลกนัย
ติมูลกนัย จตุมูลกนัย ปัญจมูลกนัย สัพพมูลกนัยของบทแต่ละบทให้พิสดาร)
เหตุมูลกนัย จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๑. ปัจจยานุโลม
อารัมมณมูลกนัยเป็นต้น
[๓๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อารัมมณปัจจัย เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติ-
ปัจจัย ฯลฯ เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย
ได้บ้างไหม เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย
เพราะอัญญมัญญปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย
เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะ
อวิคตปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
ทุมูลกนัย จบ
[๔๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม เพราะอวิคตปัจจัย
เพราะเหตุปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะ
อนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้
บ้างไหม
[๔๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้บ้างไหม
เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย
ฯลฯ เพราะวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
(ผู้รู้พึงอธิบายเอกมูลกนัย ทุมูลกนัย ติมูลกนัย จตุมูลกนัย ปัญจมูลกนัย
สัพพมูลกนัยของบทแต่ละบทให้พิสดาร)
อนุโลมมีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ คือ
๑. ติกปัฏฐาน ๒. ทุกปัฏฐาน
๓. ทุกติกปัฏฐาน ๔. ติกทุกปัฏฐาน
๕. ติกติกปัฏฐาน ๖. ทุกทุกปัฏฐาน
แต่ละปัฏฐานประเสริฐสูงสุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๒. ปัจจยปัจจนียะ
๒. ปัจจยปัจจนียะ
[๔๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย๑ ได้บ้างไหม
(พึงอธิบายนเหตุปัจจัยแม้ในปัจจนียะให้พิสดารเหมือนเหตุปัจจัยในอนุโลม)
[๔๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม เพราะนอธิปติปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะ
นสมนันตรปัจจัย เพราะนสหชาตปัจจัย เพราะนอัญญมัญญปัจจัย เพราะ
นนิสสยปัจจัย เพราะนอุปนิสสยปัจจัย เพราะนปุเรชาตปัจจัย เพราะนปัจฉาชาต-
ปัจจัย เพราะนอาเสวนปัจจัย เพราะนกัมมปัจจัย เพราะนวิปากปัจจัย เพราะ
นอาหารปัจจัย เพราะนอินทรียปัจจัย เพราะนฌานปัจจัย เพราะนมัคคปัจจัย
เพราะนสัมปยุตตปัจจัย เพราะนวิปปยุตตปัจจัย เพราะโนอัตถิปัจจัย เพราะ
โนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
[๔๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะนเหตุ-
ปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
(แม้ในปัจจนียะ ผู้รู้พึงอธิบายเอกมูลกนัย ทุมูลกนัย ติมูลกนัย จตุมูลกนัย
จนถึงเตวีสติมูลกนัยของบทแต่ละบทให้พิสดารเหมือนในอนุโลม)
ปัจจนียะมีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ คือ
๑. ติกปัฏฐาน ๒. ทุกปัฏฐาน
๓. ทุกติกปัฏฐาน ๔. ติกทุกปัฏฐาน
๕. ติกติกปัฏฐาน ๖. ทุกทุกปัฏฐาน
แต่ละปัฏฐานประเสริฐสูงสุด

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงปัจจัยอื่น ๆ ตามสมควรที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย แม้อารัมมณปัจจัยเป็นต้นก็พึงทราบโดยนัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
[๔๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
เพราะนอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
(แม้ในอนุโลมปัจจนียะ ผู้รู้พึงอธิบายบทให้พิสดารเหมือนกับเหตุปัจจัยใน
อนุโลม)
[๔๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย เพราะนอธิปติปัจจัยได้บ้างไหม เพราะเหตุปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย
ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
[๔๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะนอธิปติปัจจัยได้บ้างไหม เพราะเหตุปัจจัย
เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะ
อารัมมณปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะ
นอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย
เพราะโนอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตร-
ปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย
เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัย ฯลฯ
... เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะ
อนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย เพราะอัญญมัญญปัจจัย
เพราะนิสสยปัจจัย เพราะอุปนิสสยปัจจัย เพราะปุเรชาตปัจจัย เพราะ
ปัจฉาชาตปัจจัย เพราะอาเสวนปัจจัย เพราะกัมมปัจจัย เพราะวิปากปัจจัย
เพราะอาหารปัจจัย เพราะอินทรียปัจจัย เพราะฌานปัจจัย เพราะมัคคปัจจัย
เพราะสัมปยุตตปัจจัย เพราะวิปปยุตตปัจจัย เพราะอัตถิปัจจัย เพราะนัตถิปัจจัย
เพราะวิคตปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๔๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
อารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะ
นเหตุปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย
เพราะโนวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะ
อวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะ
นอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย
เพราะโนวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะ
อธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย ฯลฯ
เพราะโนวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
อนุโลมปัจจนียะมีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ คือ
๑. ติกปัฏฐาน ๒. ทุกปัฏฐาน
๓. ทุกติกปัฏฐาน ๔. ติกทุกปัฏฐาน
๕. ติกติกปัฏฐาน ๖. ทุกทุกปัฏฐาน
แต่ละปัฏฐานประเสริฐสูงสุด
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๔๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้บ้างไหม
สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย
เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะนเหตุปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ปุจฉาวาร ๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๕๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย
ได้บ้างไหม
... เพราะนเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะนอธิปติปัจจัย ฯลฯ
เพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม เพราะนเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะ
นอธิปติปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอัตถิ-
ปัจจัย เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
[๕๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นอารัมมณปัจจัย เพราะเหตุปัจจัยได้บ้างไหม
[๕๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลพึงเกิดขึ้นเพราะ
นอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะ
อวิคตปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัย
เพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ
เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้บ้างไหม
... เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะ
นอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะโนอัตถิปัจจัย เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย
ได้บ้างไหม
ปัจจนียานุโลมมีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ คือ
๑. ติกปัฏฐาน ๒. ทุกปัฏฐาน
๓. ทุกติกปัฏฐาน ๔. ติกทุกปัฏฐาน
๕. ติกติกปัฏฐาน ๖. ทุกทุกปัฏฐาน
แต่ละปัฏฐานประเสริฐสูงสุด
ปัณณัตติวาร จบ
ปัจจัย ๒๓ ในนิทเทสวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
อนุโลม เหตุปัจจัย
[๕๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะเหตุ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น
ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
และที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และ
กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูปอาศัย
ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัย
ขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น
จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
อารัมมณปัจจัย
[๕๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัย
ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็น
อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัย
ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
อธิปติปัจจัย
[๕๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอธิปติ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย
ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
เพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล
เกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะอธิปติ-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศล และที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศล
เกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
อกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
อธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
วิบากและอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิด
ขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัย
มหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป
๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูป
เกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย
[๕๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอนันตร-
ปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
(อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัยเหมือนกับอารัมมณปัจจัย)
สหชาตปัจจัย
[๕๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะสหชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะสหชาต-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
เพราะสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล
เกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะสหชาตปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะสหชาต-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอกุศล และที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศล
เกิดขึ้นเพราะสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
อกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
สหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
วิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ
ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และ
กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น
หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัย
มหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒
อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูป
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่เป็นภายนอกเกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒
เกิดขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑
ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัย
มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น อุปาทายรูป
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัย
มหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป
๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูป
เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะสหชาตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะสหชาตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
อัญญมัญญปัจจัย
[๕๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอัญญ-
มัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะอัญญมัญญ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
อัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็น
อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น
ขันธ์ ๑ และหทัยวัตถุอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุอาศัยขันธ์ ๒
เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป
๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็น
สมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป
๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น (๑)
นิสสยปัจจัย
[๕๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนิสสย-
ปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล (นิสสยปัจจัยเหมือนกับสหชาตปัจจัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
อุปนิสสยปัจจัย
[๖๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอุป-
นิสสยปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล (อุปนิสสยปัจจัยเหมือนกับ
อารัมมณปัจจัย)
ปุเรชาตปัจจัย
[๖๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะปุเรชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะ
ปุเรชาตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะปุเรชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะปุเรชาต-
ปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
ปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็น
อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น
ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะปุเรชาตปัจจัย (๑)
อาเสวนปัจจัย
[๖๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอาเสวน-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะอาเสวน-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑
อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
กัมมปัจจัย
[๖๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะกัมมปัจจัย
ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... มี ๓ วาระ

... อาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศล ... มี ๓ วาระ /l

สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
กัมมปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยา
ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ
จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น สำหรับ
เหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ
กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะกัมมปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะกัมมปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
วิปากปัจจัย
[๖๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้น
เพราะวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
อัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒
และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น
ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป
๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น
จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
อาหารปัจจัย
[๖๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอาหาร-
ปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะอาหาร-
ปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล ... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
อาหารปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยา
ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ
จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ... อาศัย
มหาภูตรูป ๑ ที่มีอาหารเป็นสมุฎฐาน ฯลฯ อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

... อาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต ฯลฯ (๑)

สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะอาหารปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
อินทรียปัจจัย
[๖๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอินทรีย-
ปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... มี ๓ วาระ

... อาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศล ... มี ๓ วาระ
... อาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ...

อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ (อินทรียปัจจัยเหมือนกับกัมมปัจจัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
ฌานปัจจัยและมัคคปัจจัย
[๖๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะฌานปัจจัย
... เพราะมัคคปัจจัย
(ฌานปัจจัยและมัคคปัจจัยเหมือนกับเหตุปัจจัย)
สัมปยุตตปัจจัย
[๖๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะสัมปยุตต-
ปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... (สัมปยุตตปัจจัยเหมือนกับ
อารัมมณปัจจัย)
วิปปยุตตปัจจัย
[๖๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัย
ขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
เพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
กุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัย
ขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิด
ขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
อกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตต-
ปัจจัย จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
วิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
วิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิด
ขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น
ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๒
เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย กฏัตตารูปอาศัยขันธ์เกิด
ขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น
ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้นเพราะ
วิปปยุตตปัจจัย มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัย
มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป
และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปและ
กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์เกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
อัตถิปัจจัย
[๗๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอัตถิปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (ย่อ) (อัตถิปัจจัยเหมือนกับ
สหชาตปัจจัย)
นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย
[๗๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนัตถิปัจจัย
เพราะวิคตปัจจัย (นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัยเหมือนกับอารัมมณปัจจัย)
อวิคตปัจจัย
[๗๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะอวิคตปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (อวิคตปัจจัยเหมือนกับสหชาตปัจจัย)
(ผู้สาธยายพึงขยายปัจจัย ๒๓ เหล่านี้ให้พิสดาร)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
คณนเหตุมูลกนัย

[๗๓] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๙ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๙ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๙ วาระ
มัคคปัจจัย มี ๙ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ
อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ

ทุกนัย

[๗๔] อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย ” มี ๙ วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย ” มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย ” มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

กัมมปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
วิปากปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย ” มี ๙ วาระ
อินทรียปัจจัย ” มี ๙ วาระ
ฌานปัจจัย ” มี ๙ วาระ
มัคคปัจจัย ” มี ๙ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
อัตถิปัจจัย ” มี ๙ วาระ
นัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ

ติกนัย

[๗๕] อธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัยและอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
อนันตรปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย ” " มี ๓ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
กัมมปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
วิปากปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
อินทรียปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

ฌานปัจจัย กับเหตุปัจจัยและอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
มัคคปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
อัตถิปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
นัตถิปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ ฯลฯ

ทวาทสกนัย
[๗๖] กัมมปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตรปัจจัย
สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย
ปุเรชาตปัจจัย และอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
อินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
ฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
มัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ ฯลฯ

พาวีสกนัย
[๗๗] อวิคตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ อาเสวนปัจจัย
กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทรียปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
เตรสกนัย
[๗๘] อาหารปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย
กัมมปัจจัย และวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

อินทรียปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
มัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

พาวีสกนัย
[๗๙] อวิคตปัจจัย กับเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย
กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทรียปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย
สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ
การนับวาระ มีเหตุปัจจัยเป็นมูล จบ
ทุกนัยมีอารัมมณปัจจัยเป็นต้น
(ปัจจัยทั้งปวงกับปัจจัยที่ตั้งอยู่ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ เท่านั้น)

[๘๐] เหตุปัจจัย กับอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย ” มี ๓ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

เหตุปัจจัย กับอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย ” มี ๓ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย ” ” มี ๓ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

อาเสวนทุกนัย

[๘๑] เหตุปัจจัย กับอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ
อารัมมณปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
กัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อาหารปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อินทรียปัจจัย ” มี ๓ วาระ
ฌานปัจจัย ” มี ๓ วาระ
มัคคปัจจัย ” มี ๓ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

วิปปยุตตปัจจัย กับอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ
อัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ

(ปัจจัยที่มีอาเสวนปัจจัยเป็นมูลไม่มีวิปากปัจจัย)
กัมมทุกนัย

[๘๒] เหตุปัจจัย กับกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ

วิปากทุกนัย

[๘๓] เหตุปัจจัย กับวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อารัมมณปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อธิปติปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ
สมนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ
สหชาตปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นิสสยปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๑ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย ” มี ๑ วาระ
กัมมปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อินทรียปัจจัย ” มี ๑ วาระ
ฌานปัจจัย ” มี ๑ วาระ
มัคคปัจจัย ” มี ๑ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

วิปปยุตตปัจจัย กับวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อัตถิปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นัตถิปัจจัย ” มี ๑ วาระ
วิคตปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๑ วาระ

(ปัจจัยที่มีวิปากปัจจัยเป็นมูลไม่มีอาเสวนปัจจัย)
ทุกนัยมีอาหารปัจจัยเป็นต้น

[๘๔] เหตุปัจจัย กับอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับอินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
เหตุปัจจัย กับวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

อวิคตทุกนัย

[๘๕] เหตุปัจจัย กับอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย " มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย " มี ๙ วาระ ฯลฯ
นัตถิปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๓ วาระ

(ผู้สาธยายพึงทำปัจจัยแต่ละอย่างให้เป็นมูลแล้วนับดูเถิด)
อนุโลม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
ปัจจนียะ นเหตุปัจจัย
[๘๖] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะอาศัยขันธ์
ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งเป็น
อัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัย
ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ
ที่เป็นอเหตุกะ๑ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น
ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปอาศัย
ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหา-
ภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็น
อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น... ที่เป็นภายนอก... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน...
ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหา-
ภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัย
มหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
นอารัมมณปัจจัย
[๘๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๑)

เชิงอรรถ :
๑ ได้แก่ อุเปกขาสันตีรณจิต ๒ ขณะทำหน้าที่ปฏิสนธิของทุคคติอเหตุกบุคคลและสุคติอเหตุกบุคคลใน
กามภูมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็น
อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบาก
เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น
จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ... ที่เป็น
ภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่า
อสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑
อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น กฏัตตารูป
ที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและ
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
นอธิปติปัจจัย
[๘๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนอธิปติ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนอธิปติ-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้น
เพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล
เกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตต-
สมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนอธิปติ-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศล
เกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่
เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
วิบาก และที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์
๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ
ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และ
กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น
หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหา-
ภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัย
มหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็น
สมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑
เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป
๒ เกิดขึ้น กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นอนันตรปัจจัยและนสมนันตรปัจจัย
[๘๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศล
เกิดขึ้น (นอนันตรปัจจัยและนสมนันตรปัจจัยเหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)
นอัญญมัญญปัจจัย
[๙๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่
เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากต-
วิบากเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิด
ขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปที่เป็นภายนอกเกิดขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูป
ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน
เกิดขึ้น สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหา-
ภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นอุปนิสสยปัจจัย
[๙๑] ภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นอุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (นอุปนิสสย-
ปัจจัยเหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)

นปุเรชาตปัจจัย
[๙๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนปุเร-
ชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑
อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนปุเรชาต-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย
ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัย
ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนปุเรชาต-
ปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก
และที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัย
ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็น
อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑
ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์
๒ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัย
หทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑
อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
จิตตสมุฏฐานรูป๑ และกฏัตตารูป๒ ที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ... ที่
เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่า
อสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑
อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น กฏัตตารูปที่
เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
นปัจฉาชาตปัจจัยและนอาเสวนปัจจัย
[๙๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนปัจฉา-
ชาตปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ฯลฯ
สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนอาเสวนปัจจัย
ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ฯลฯ (นปัจฉาชาตปัจจัยและนอาเสวนปัจจัย
เหมือนกับนอธิปติปัจจัย)
นกัมมปัจจัย
[๙๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนกัมม-
ปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นกุศลอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนกัมมปัจจัย
ได้แก่ เจตนาที่เป็นอกุศลอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น (๑)

เชิงอรรถ :
๑ ในที่นี้ได้แก่ จิตตชรูป ๑๓
๒ ในที่นี้ได้แก่ กัมมชรูป ๑๖ ที่เกิดพร้อมกับอุปาทขณะของปฏิสนธิวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัพยากตกิริยาอาศัยขันธ์ที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น
... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป
๑ ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหา-
ภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
นวิปากปัจจัย
[๙๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนวิปาก-
ปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนวิปากปัจจัย
... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
กิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และ
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิด
ขึ้น ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ... ที่เป็น
ภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่า
อสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูป
ที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนวิปากปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เกิดขึ้นเพราะนวิปากปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอกุศลและ
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นอาหารปัจจัย
[๙๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้น
เพราะนอาหารปัจจัย ได้แก่ ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับ
เหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ
กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
นอินทรียปัจจัย
[๙๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิด
ขึ้นเพราะนอินทรียปัจจัย ได้แก่ ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ...
มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น ฯลฯ อุปาทายรูป
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม รูปชีวิตินทรีย์อาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น
นฌานปัจจัย
[๙๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้น
เพราะนฌานปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยปัญจวิญญาณเกิด
ขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ... ที่เป็น
ภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่า
อสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูป
ที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
นมัคคปัจจัย
[๙๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้น
เพราะนมัคคปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะ
ซึ่งเป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
ปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
วิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป
อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็น
อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน
... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัย
มหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิด
ขึ้น (๑)
นสัมปยุตตปัจจัย
[๑๐๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
นสัมปยุตตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น (ปัจจัยนี้
เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)
นวิปปยุตตปัจจัย
[๑๐๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะนวิปป-
ยุตตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์
๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเพราะนวิปปยุตต-
ปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑
อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเกิดขึ้นเพราะ
นวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-
วิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒
อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็น
สมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑
เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
โนนัตถิปัจจัยและโนวิคตปัจจัย
[๑๐๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตอาศัยสภาวธรรมที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเพราะ
โนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นกุศล
เกิดขึ้น (สองปัจจัยนี้เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
คณนมูลกนัย

[๑๐๓] นเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นเหตุทุกนัย

[๑๐๔] นอารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” มี ๒ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๒ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี ๒ วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี ๒ วาระ
นอาหารปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๑ วาระ

ติกนัย

[๑๐๕] นอธิปติปัจจัย กับนเหตุปัจจัยและนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอุปนิสสยปัจจัย กับนเหตุปัจจัยและนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นกัมมปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอาหารปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ ฯลฯ

วีสกนัย
[๑๐๖] โนวิคตปัจจัย กับนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย
นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย นปุเร-
ชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย
นอาหารปัจจัย นอินทรียปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย
นวิปปยุตตปัจจัย และโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ
นเหตุมูลกนัย จบ
นอารัมมณทุกนัย

[๑๐๗] นเหตุปัจจัย กับนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” มี ๕ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นสมนันตรปัจจัย กับนอารัมมมณปัจจัย มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอาหารปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๕ วาระ ฯลฯ
จตุกกนัย
[๑๐๘] นอนันตรปัจจัย กับนอารัมมณปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอธิปติปัจจัย
มี ๑ วาระ ฯลฯ
โนนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ
นอธิปติทุกนัย
[๑๐๙] นเหตุปัจจัย กับนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย ” มี ๕ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอนันตรปัจจัย กับนอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๑๑๐] นอารัมมณปัจจัย กับนอธิปติปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอนันตรปัจจัย " ” มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " " มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นกัมมปัจจัย กับนอธิปติปัจจัยและนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นอาหารปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ

จตุกกนัย

[๑๑๑] นอนันตรปัจจัย กับนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ)

นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
โนนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ ฯลฯ

นอนันตรปัจจัยเป็นต้น

[๑๑๒] ... กับนอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย และ

นอุปนิสสยปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย)
นปุเรชาตทุกนัย

[๑๑๓] นเหตุปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” มี ๗ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑. กุสลติกะ ๑. ปฏิจจวาร

นอนันตรปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นอาหารปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๕ วาระ

ติกนัย

[๑๑๔] นอารัมมณปัจจัย กับนปุเรชาตปัจจัย และนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” ” มี ๒ วาระ
นกัมมปัจจัย ” ” มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๖๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น