Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๑-๒ หน้า ๕๕ - ๑๐๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๑-๒ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑



พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปาราชิกกัณฑ์

พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓)
เรื่องเปลือยกาย ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เปลือยกายไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า อย่างนี้ เราจะ
ไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔)
เรื่องปลอมเป็นเดียรถีย์ ๗ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งคากรองไปเสพเมถุนธรรม ด้วยคิดว่า อย่างนี้ เรา
จะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งเปลือกไม้กรองไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า อย่างนี้
เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้
แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งผ้าแผ่นกระดานกรอง๑ ไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า
อย่างนี้ เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗)

เชิงอรรถ :
๑ ผ้ามีสัณฐานดังเสื้อเกราะ ผลกจีรํ นาม ผลกสณฺฐานานิ ผลกานิ สิพฺเพตฺวา กตจีรํ แปลว่า ผ้า
เปลือกไม้ที่ทำขึ้นโดยเย็บแผ่นไม้ให้มีรูปร่างเหมือนเกราะโล่ (วิ.อ. ๑/๖๗/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งผ้าทอด้วยผมคนไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า อย่างนี้
เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้
แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งผ้าทอด้วยขนจามรีไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า อย่างนี้
เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้
แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งผ้าทอด้วยขนปีกนกเค้าไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า
อย่างนี้ เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งหนังเสือไปเสพเมถุนธรรมด้วยคิดว่า อย่างนี้ เราจะ
ไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๑)
เรื่องเด็กหญิง ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาต เห็นเด็กหญิงนอนบนตั่ง เกิดความ
กำหนัดจึงสอดนิ้วหัวแม่มือเข้าในองค์กำเนิดเด็กหญิง เด็กหญิงนั้นตาย ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิก
หรือ หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๑๒)
เรื่องภิกษุณีอุบลวรรณา ๑ เรื่อง
[๖๘] สมัยนั้น ชายหนุ่มคนหนึ่งมีความรักใคร่ภิกษุณีอุบลวรรณา วันหนึ่ง
เมื่อภิกษุณีไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน จึงเข้าไปซ่อนอยู่ในกุฏิ ภิกษุณีอุบลวรรณากลับ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
จากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหาร ล้างเท้าแล้วเข้ากุฏิ นั่งบนเตียง ทันใดนั้นเขาจึง
ออกมาข่มขืนภิกษุณี ภิกษุณีไปบอกภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายจึงบอกเรื่องนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนั้นไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีอุบลวรรณานั้นไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่อง
ที่ ๑๓)
เรื่องเพศกลับ ๒ เรื่อง
[๖๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เพศกลับกลายเป็นหญิง ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ มีพระพุทธานุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ถืออุปัชฌาย์เดิม ให้ถืออุปสมบทเดิม นับพรรษาเดิม และให้อยู่ร่วม
กับภิกษุณีทั้งหลายได้ เราอนุญาตให้ปลงอาบัติของภิกษุทั้งหลายที่ทั่วไปกับภิกษุณี
ทั้งหลายในสำนักภิกษุณี เธอไม่ต้องอาบัติของภิกษุทั้งหลายที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี
ทั้งหลาย” (เรื่องที่ ๑๔)
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง เพศกลับกลายเป็นชาย ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ มีพระพุทธานุญาตว่า “เราอนุญาตให้ถือ
อุปัชฌาย์เดิม ให้ถืออุปสมบทเดิม นับพรรษาเดิมและให้อยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลายได้
เราอนุญาตให้ปลงอาบัติของภิกษุณีทั้งหลายที่ทั่วไปกับภิกษุในสำนักภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติของภิกษุณีทั้งหลายที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุทั้งหลาย” (เรื่องที่ ๑๕)
เรื่องมารดา ๑ เรื่อง
[๗๐] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เสพเมถุนธรรมกับมารดา ด้วยคิดว่า อย่างนี้
เราจะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้
แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๖)
เรื่องธิดา ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เสพเมถุนธรรมกับธิดา ด้วยคิดว่า อย่างนี้ เราจะไม่
ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เรา


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๗)
เรื่องน้องสาว ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เสพเมถุนธรรมกับน้องสาวด้วยคิดว่า อย่างนี้ เรา
จะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้
แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๘)
เรื่องอดีตภรรยา ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เสพเมถุนธรรมกับอดีตภรรยา ด้วยคิดว่า อย่างนี้ เรา
จะไม่ต้องอาบัติ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๙)
เรื่องภิกษุหลังอ่อน ๑ เรื่อง
[๗๑] สมัยนั้น ภิกษุหลังอ่อนรูปหนึ่ง มีความกำหนัดมาก ใช้ปากอมองคชาต
ของตน แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๐)
เรื่องภิกษุองคชาตยาว ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีองคชาตยาว มีความกำหนัดมาก สอดองคชาตเข้า
ทางทวารหนักของตนแล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๑)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

เรื่องบาดแผล ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบศพมีบาดแผลอยู่ใกล้องค์กำเนิด จึงสอดองคชาตเข้า
ในองค์กำเนิดศพแล้วถอนออกทางบาดแผลด้วยคิดว่า อย่างนี้เราจะไม่ต้องอาบัติ
แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบศพมีบาดแผลอยู่ใกล้องค์กำเนิด จึงสอดองคชาต
เข้าในบาดแผลแล้วถอนออกทางองค์กำเนิดศพด้วยคิดว่า อย่างนี้เราจะไม่ต้องอาบัติ
แล้วเกิดความความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๓)
เรื่องรูปปั้น ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ใช้องคชาตเสียดสีเครื่องหมายเพศ
รูปปั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๒๔)
เรื่องตุ๊กตาไม้ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ใช้องคชาตเสียดสีเครื่องหมายเพศ
ตุ๊กตาไม้ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๒๕)
เรื่องพระสุนทร ๑ เรื่อง
[๗๒] สมัยนั้น พระสุนทรเป็นชาวกรุงราชคฤห์ บวชด้วยศรัทธา เดินไปตาม
ถนน หญิงคนหนึ่งเห็นเข้า ได้กล่าวกับท่านว่า “ท่านนิมนต์รอสักครู่ ดิฉันจะไหว้”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
นางไหว้พลางเลิกอันตรวาสกขึ้น ใช้ปากอมองคชาต ท่านเกิดความกังวลใจว่า พระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอยินดีหรือ”
“ไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๖)
เรื่องหญิง ๔ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งพบภิกษุแล้วกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิด
เจ้าค่ะ” “อย่าเลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ ดิฉันจะทำเอง
ท่านไม่ต้องทำ ถ้าทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความ
กังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๗)
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งพบภิกษุ แล้วกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกัน
เถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์ท่านทำ
ดิฉันไม่ต้องทำ ถ้าทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความ
กังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๘)
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งพบภิกษุ แล้วกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกัน
เถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์
พยายามภายในแล้วหลั่งภายนอก ถ้าทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่าง
นั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๙)
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่ง พบภิกษุแล้วกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกัน
เถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
พยายามภายนอกแล้วหลั่งภายใน ถ้าทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่าง
นั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๐)
เรื่องป่าช้า ๕ เรื่อง
[๗๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า มองเห็นศพที่ยังไม่ถูกสัตว์กัดกิน ได้
เสพเมถุนธรรมในศพนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า มองเห็นศพยังไม่ถูกสัตว์กัดกินโดยมาก ได้
เสพเมถุนธรรมในศพนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า มองเห็นศพถูกสัตว์กัดกินโดยมาก ได้เสพ
เมถุนธรรมในศพนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๓๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า มองเห็นศพที่ศีรษะขาดจึงสอดองคชาตเข้าไป
กระทบภายในปากที่อ้า แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า มองเห็นศพที่ศีรษะขาดจึงสอดองคชาตเข้า
ภายในปากที่อ้าไม่ให้กระทบอะไรแล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓๕)
เรื่องกระดูก ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งหลงรักสตรีคนหนึ่ง ต่อมานางเสียชีวิต ถูกนำไปทิ้งไว้
ในป่าช้า กระดูกกระจัดกระจาย วันหนึ่งภิกษุรูปนั้นไปป่าช้า เก็บกระดูกรวมเป็นร่าง
จดองคชาตลงที่เครื่องหมายเพศ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรง
บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓๖)
เรื่องนางนาค ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมกับนางนาค แล้วเกิดความกังวลใจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๗)
เรื่องนางยักษิณี ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมกับนางยักษิณี แล้วเกิดความกังวลใจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๘)
เรื่องนางเปรต ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมกับนางเปรต แล้วเกิดความกังวลใจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๙)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมกับบัณเฑาะก์ แล้วเกิดความกังวลใจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๐)
เรื่องภิกษุผู้มีกายประสาทพิการ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุผู้มีกายประสาทพิการรูปหนึ่งคิดว่า “เราไม่รู้สึกสุขหรือทุกข์จึง
ไม่ต้องอาบัติ” จึงเสพเมถุนธรรม แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรง
บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้ง
หลายทราบ พวกภิกษุจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้นจะรู้สึกหรือไม่รู้สึกก็ตาม ก็ต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๔๑)
เรื่องจับต้อง ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งคิดจะเสพเมถุนธรรมกับหญิง แต่ครั้นพอจับต้อง
เท่านั้นก็เกิดความเดือดร้อนใจ แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ”๑ (เรื่องที่ ๔๒)
เรื่องพระอรหันต์ชาวเมืองภัททิยะหลับ ๑ เรื่อง
[๗๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในป่าชาติยาวัน เขตเมืองภัททิยะ
ขณะที่จำวัดหลับ อวัยวะทุกส่วนของท่านถูกลมรำเพยให้แข็งตัว หญิงคนหนึ่งพบเข้า

เชิงอรรถ :
๑ แก้เป็น “อาปตฺติ สงฺฆาทิเสสสฺส แปลว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” เป็นการแก้ความตามนัยบาลีเก่า
(วิ.อ. ๑/๗๓/๓๐๑, สารตฺถ.ฏีกา. ๒/๑๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
จึงนั่งคร่อมองคชาต ทำการจนพอใจแล้วจากไป ภิกษุทั้งหลายเห็นองคชาตเปรอะ
เปื้อนจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย องคชาตแข็งตัวได้ด้วยเหตุ ๕ อย่าง คือ กำหนัด ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
ถูกลมรำเพยพัด ถูกบุ้งขน องคชาตจะแข็งตัวเพราะเหตุ ๕ อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่องคชาตของภิกษุนั้นจะแข็งตัวเพราะความกำหนัดนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะภิกษุนั้น
เป็นพระอรหันต์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๓)
เรื่องภิกษุชาวกรุงสาวัตถี ๔ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง จำวัดกลางวันในป่าอันธวัน เขตกรุงสาวัตถี หญิง
เลี้ยงโคคนหนึ่งพบเข้าจึงนั่งคร่อมองคชาต ท่านยินดีขณะกำลังสอดเข้าไป ยินดีขณะ
สอดเข้าไปแล้ว ยินดีขณะหยุดอยู่ ยินดีขณะถอนออก แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในป่าอันธวัน เขตกรุงสาวัตถี หญิงเลี้ยง
แพะคนหนึ่ง พบเข้าจึงนั่งคร่อมองคชาต ท่านยินดีขณะกำลังสอดเข้าไป ยินดีขณะ
สอดเข้าไปแล้ว ยินดีขณะหยุดอยู่ ยินดีขณะถอนออก แล้วเกิดความกังวลใจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในป่าอันธวัน เขตกรุงสาวัตถี หญิงหา
ฟืนคนหนึ่ง พบเข้าจึงนั่งคร่อมองคชาต ท่านยินดีขณะกำลังสอดเข้าไป ยินดีขณะ
สอดเข้าไปแล้ว ยินดีขณะหยุดอยู่ ยินดีขณะถอนออก แล้วเกิดความกังวลใจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๖)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในป่าอันธวัน เขตกรุงสาวัตถี หญิงขน
โคมัยคนหนึ่ง พบเข้าจึงนั่งคร่อมองคชาต ท่านยินดีขณะกำลังสอดเข้าไป ยินดีขณะ
สอดเข้าไปแล้ว ยินดีขณะหยุดอยู่ ยินดีขณะถอนออก แล้วเกิดความกังวลใจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๔๗)
เรื่องภิกษุชาวมัลละกรุงเวสาลี ๓ เรื่อง
[๗๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี
หญิงคนหนึ่งพบเข้าจึงนั่งคร่อมองคชาต ทำการจนพอใจแล้วยืนหัวเราะอยู่ใกล้ๆ
ภิกษุนั้นตื่นขึ้นมา กล่าวกะหญิงนั้นว่า “นี่เป็นการกระทำของเธอหรือ” “ใช่แล้ว นี่เป็น
การกระทำของดิฉัน” ท่านเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอรู้หรือ” “ไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ
เธอไม่รู้ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๘)
[๗๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ขณะ
ที่จำวัดหลับพิงต้นไม้ หญิงคนหนึ่งพบเข้าจึงนั่งคร่อมองคชาต ท่านรีบลุกขึ้นทันที
แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอยินดีหรือ” “ไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ยินดี ไม่
ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ขณะที่จำวัด
หลับพิงต้นไม้ หญิงคนหนึ่งพบเข้าจึงนั่งคร่อมองคชาต ท่านผลักนางกลิ้งไป แล้วเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอยินดีหรือ” “ไม่ยินดี
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๐)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

เรื่องภิกษุเปิดประตูจำวัด ๑ เรื่อง
[๗๗] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำวัดกลางวันในกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี ขณะที่เปิดประตูจำวัดหลับ อวัยวะทุกส่วนของท่านถูกลมรำเพยให้แข็งตัว
ครั้งนั้นมีหญิงหลายคนถือของหอมและดอกไม้พากันไปอาราม มองไปที่วิหาร เห็น
ภิกษุ นั้น จึงไปนั่งคร่อมองคชาต ทำการจนพอใจแล้วกล่าวชมเชยภิกษุนั้นว่า “เป็น
ผู้ชายยอดเยี่ยมจริงๆ คนนี้” จากนั้นได้ยกของหอมและดอกไม้พากันจากไป ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นองคชาต (ของภิกษุผู้หลับ) เปรอะเปื้อน จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย องคชาตแข็งตัวได้ด้วยเหตุ ๕
อย่าง คือ กำหนัด ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ถูกลมรำเพยพัด ถูกบุ้งขน องคชาต
จะแข็งตัว เพราะเหตุ ๕ อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่องคชาตของภิกษุนั้นจะแข็งตัว
เพราะความกำหนัดนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะภิกษุนั้น เป็นพระอรหันต์ ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จะหลีกเร้นพักผ่อนกลางวัน
ปิดประตูแล้วจึงหลีกเร้นพักผ่อน” (เรื่องที่ ๕๑)
เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะฝัน ๑ เรื่อง
[๗๘] สมัยนั้น ภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะรูปหนึ่ง ฝันว่าได้เสพเมถุนธรรมกับ
อดีตภรรยา จึงคิดว่า เราไม่ใช่สมณะ จักสึก ขณะเดินไปเมืองภารุกัจฉะ ในระหว่าง
ทางพบพระอุบาลี จึงเรียนให้ท่านทราบ พระอุบาลีชี้แจงว่า “ท่าน เพียงความฝัน
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๒)
เรื่องอุบาสิกาชื่อสุปัพพา ๙ เรื่อง
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ
เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า
เลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ระหว่างขาอ่อน
ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๖๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๓)
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย
น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่สะดือ ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๔)
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย
น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่เกลียวท้อง ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๕)
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย
น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ซอกรักแร้ ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๖)
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย
น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่คอ ทำอย่างนี้ ท่าน
ไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรง
บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๗)
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย
น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ช่องหู ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๘)
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ
เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า
เลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่มวยผม ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๙)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย
น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ง่ามมือ ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๐)
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสุปัพพา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย
น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ ดิฉันจะใช้มือพยายามปล่อยอสุจิให้
ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๑)
เรื่องอุบาสิกาชื่อสัทธา ๙ เรื่อง
[๗๙] สมัยนั้น ในกรุงสาวัตถี มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใส
แบบงมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ
เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า
เลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ระหว่างขาอ่อน
ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้นแล้วเกิดความกังวลใจว่า พระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๒)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า
เลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่สะดือ ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้นแล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรง
บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๓)
สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย
น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่เกลียวท้อง ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๔)
สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย
น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ซอกรักแร้ ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๕)
สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเสื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า
เลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่คอ ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๖)
สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ
เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ”
“อย่าเลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ช่องหู ทำ
อย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๗)
สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ
เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ”
“อย่าเลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่มวยผม
ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๘)
สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ เมื่อ
นางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่าเลย
น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ นิมนต์เสียดสีที่ง่ามมือ ทำอย่างนี้
ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๙)
สมัยหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสัทธา มีความเลื่อมใสแบบ
งมงาย มีความเห็นอย่างนี้ว่า หญิงผู้ถวายเมถุนธรรม ชื่อว่าได้ถวายทานอันเลิศ
เมื่อนางพบภิกษุรูปหนึ่ง จึงกล่าวว่า “นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ” “อย่า
เลย น้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร” “นิมนต์เถิดเจ้าค่ะ ดิฉันจะใช้มือพยายามปล่อย
อสุจิให้ ทำอย่างนี้ ท่านไม่ต้องอาบัติ” ท่านได้ทำอย่างนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๗๐)
เรื่องภิกษุณี ๑ เรื่อง
[๘๐] สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุน
ธรรมกับภิกษุณี เธอทั้งสองยินดี พึงให้สึกเสียทั้งคู่ ทั้งสองไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ
(เรื่องที่ ๗๑)
เรื่องสิกขมานา ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุนธรรมกับ
สิกขมานา เธอทั้งสองยินดี พึงให้สึกเสียทั้งคู่ ทั้งสองไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๗๒)
เรื่องสามเณรี ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลาย จับภิกษุให้เสพเมถุนธรรมกับ
สามเณรี เธอทั้งสองยินดี พึงให้สึกเสียทั้งคู่ ทั้งสองไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๗๓)
เรื่องหญิงแพศยา ๑ เรื่อง
[๘๑] สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุน
ธรรมกับหญิงแพศยา ภิกษุยินดี พึงให้สึกเสีย ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๗๔)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ วินีตวัตถุ

เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุนธรรมกับ
บัณเฑาะก์ ภิกษุยินดี พึงให้สึกเสีย ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๗๕)
เรื่องหญิงคฤหัสถ์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุนธรรมกับ
หญิงคฤหัสถ์ ภิกษุยินดี พึงให้สึกเสีย ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๗๖)
เรื่องให้ภิกษุผลัดกัน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี เจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายจับภิกษุให้เสพเมถุนธรรมกับ
กันและกัน เธอทั้งสองยินดี พึงให้สึกเสียทั้งคู่ ถ้าไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ (เรื่องที่ ๗๗)
เรื่องพระขรัวตา ๑ เรื่อง
[๘๒] สมัยนั้น พระขรัวตารูปหนึ่งไปเยี่ยมอดีตภรรยา ถูกบังคับให้สึก ท่าน
ถอยหนีจนล้มหงาย นางขึ้นคร่อมองคชาต ท่านเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระ
ภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอยินดีหรือ”
“ไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๗๘)
เรื่องลูกเนื้อ ๑ เรื่อง
[๘๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า ลูกเนื้อมาที่ถ่ายปัสสาวะของท่านแล้ว
อมองคชาตพลางดื่มน้ำปัสสาวะ ท่านยินดี เกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก (เรื่อง
ที่ ๗๙)
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เรื่องพระธนิยกุมภการบุตร

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
เรื่องพระธนิยกุมภการบุตร
[๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขต
กรุงราชคฤห์ ภิกษุหลายรูปเป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกัน ช่วยกันทำกุฎีมุงหญ้า อยู่จำ
พรรษา ที่เชิงภูเขาอิสิคิลิ ท่านพระธนิยกุมภการบุตรก็ทำกุฎีมุงหญ้าอยู่จำพรรษาใน
ที่นั้น ต่อเมื่อล่วงไตรมาสไปแล้ว ภิกษุเหล่านั้นรื้อกุฏีมุงหญ้า เก็บหญ้าและตัวไม้ไว้
แล้วพากันหลีกจาริกไปในชนบท ส่วนพระธนิยกุมภการบุตร ยังพักอยู่ที่นั้นตลอด
ฤดูฝน ฤดูหนาวและฤดูร้อน วันหนึ่งเมื่อท่านไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน คนหาบหญ้า
คนหาฟืน รื้อกุฎีหญ้าของท่าน แล้วขนเอาหญ้าและไม้ไป ท่านพระธนิยกุมภการบุตร
ได้หาหญ้าและไม้มาทำกุฎีหญ้าเป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ เมื่อท่านไป
บิณฑบาตในหมู่บ้าน คนหาบหญ้า คนหาฟืน ได้รื้อกุฎีหญ้าของท่าน แล้วขนหญ้า
และไม้ไป เป็นครั้งที่ ๓
ท่านคิดว่า เมื่อเราไปบิณฑบาตในบ้าน คนหาบหญ้า คนหาฟืน รื้อกุฎีหญ้า
แล้วขนหญ้าและตัวไม้ไปถึง ๓ ครั้ง เรามีการศึกษาดี ไม่บกพร่อง สำเร็จศิลปะช่าง
หม้อเทียบเท่าอาจารย์ อย่ากระนั้นเลย เราพึงขยำโคลนทำกุฎีดินล้วนด้วยตัวเอง
ดังนั้น ท่านจึงขยำโคลนก่อกุฎีดินล้วน และรวบรวมหญ้า ไม้และขี้วัวแห้งมา
สุมไฟเผากุฎีนั้นจนสุก กุฎีนั้นงดงามน่าดูน่าชม มีสีแดงเหมือนสีแมลงค่อมทอง
(เวลาลมพัด)ส่งเสียงเหมือนเสียงกระดึง
[๘๕] ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏพร้อมกับภิกษุ
จำนวนมาก ทอดพระเนตรเห็นกุฎีอันงดงามน่าดู น่าชม ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย
นั่นอะไรน่าดูน่าชม สีเหมือนแมลงค่อมทอง” ครั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น
ให้ทรงทราบแล้ว พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
ของโมฆบุรุษนั่นไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้
ไม่ควรทำเลย ไฉนโมฆบุรุษจึงขยำโคลนก่อกุฎีดินล้วนเล่า โมฆบุรุษนั้นชื่อว่ามิได้มี

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เรื่องพระธนิยกุมภการบุตร
ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย พวกเธอจงไป
ทำลายกุฎีนั้นเสีย อย่าให้เพื่อนพรหมจารีในภายหลังได้เบียดเบียนหมู่สัตว์เลย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำกุฎีดินล้วน ภิกษุใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
ภิกษุเหล่านั้นรับพระพุทธฎีกาแล้วพากันไปที่กุฎี ช่วยกันทำลายกุฎีนั้น
ในขณะนั้น ท่านพระธนิยกุมภการบุตรมาถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ทำไม
พวกท่านจึงทำลายกุฎีของกระผม” “ท่าน พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ทำลาย” “ถ้า
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นธรรมสามีรับสั่งให้ทำลาย ก็ทำลายเถิด”
[๘๖] ต่อมา ท่านพระธนิยกุมภการบุตรคิดว่า เมื่อเราไปบิณฑบาตใน
หมู่บ้าน คนหาบหญ้า คนหาฟืนมารื้อกุฎีหญ้า ขนหญ้าและตัวไม้ไปถึง ๓ ครั้ง
แม้กุฎีดินล้วนที่ทำไว้พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งให้ทำลาย เรารู้จักพนักงานป่าไม้ที่ชอบ
พอกัน อย่ากระนั้นเลย เราควรขอไม้มาทำกุฎีไม้ แล้วไปหาเจ้าพนักงานป่าไม้ กล่าว
ว่า “เจริญพร เมื่ออาตมาไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน คนหาบหญ้า คนหาฟืนไปรื้อ
กุฎีหญ้า ขนหญ้าและตัวไม้ไปถึง ๓ ครั้ง แม้กุฎีดินล้วนที่ทำไว้ พระผู้มีพระภาคก็
รับสั่งให้ทำลาย ท่านจงให้ไม้แก่อาตมา อาตมาต้องการจะทำกุฎีไม้”
เจ้าพนักงานป่าไม้ตอบว่า “กระผมไม่มีไม้จะถวายพระคุณเจ้าได้ขอรับ จะมี
ก็แต่ไม้ของหลวงที่เก็บไว้ซ่อมแปลงเมืองในคราวจำเป็น ถ้าพระเจ้าแผ่นดินมีรับสั่ง
ให้พระราชทาน พระคุณเจ้าก็ให้คนไปขนเอาเถิด”
ท่านพระธนิยกุมภการบุตรกล่าวว่า “เจริญพร พระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทาน
ไม้นั้นแล้ว”
ลำดับนั้น เจ้าพนักงานป่าไม้คิดว่า “พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้
ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ พูดจริง มีศีล มีกัลยาณธรรม
แม้แต่พระเจ้าแผ่นดินยังทรงเลื่อมใสมาก พระธนิยะคงไม่กล้าพูดสิ่งที่พระเจ้าแผ่น
ดินยังไม่ได้พระราชทานว่า ได้พระราชทานแล้ว” ลำดับนั้น เจ้าพนักงานป่าไม้
จึงกล่าวกับท่านพระธนิยะดังนี้ว่า “นิมนต์ท่านให้คนขนไปเถิด ขอรับ”
ท่านพระธนิยะสั่งให้ตัดไม้เหล่านั้นเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่บรรทุกเกวียนไป
ทำกุฎีไม้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เรื่องพระธนิยกุมภการบุตร

วัสสการพราหมณ์ตรวจราชการ
[๘๗] เวลานั้น วัสสการพราหมณ์มหาอมาตย์มคธรัฐไปตรวจราชการ เข้า
ไปหาเจ้าพนักงานป่าไม้ถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับเจ้าพนักงานป่าไม้ดังนี้ว่า “นี่
แน่ะคุณ ไม้ของหลวงที่เก็บไว้ซ่อมแปลงเมืองในคราวจำเป็นอยู่ที่ไหน”
เจ้าหน้าที่ป่าไม้ตอบว่า “ใต้เท้าขอรับ พระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานไม้แก่
พระธนิยกุมภการบุตรไปแล้ว”
วัสสการพราหมณ์ไม่พอใจว่า “ทำไมพระเจ้าแผ่นดินจึงได้พระราชทานไม้ของ
หลวงที่เก็บไว้ซ่อมแปลงเมืองในคราวจำเป็นแก่พระธนิยกุมภการบุตรไปเล่า” จึง
เข้าไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธ ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลพระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธดังนี้ว่า “ได้ทราบเกล้าว่า พระองค์ได้พระราชทานไม้ของหลวง
ที่เก็บไว้ซ่อมแปลงเมืองในคราวจำเป็นแก่พระธนิยกุมภการบุตรไปแล้ว จริงหรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
“ใครกล่าวอย่างนั้น”
“เจ้าหน้าที่ป่าไม้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ถ้าเช่นนี้ จงไปเรียกเจ้าหน้าที่ป่าไม้มา”
วัสสการพราหมณ์สั่งให้เจ้าหน้าที่คุมตัวเจ้าหน้าที่ป่าไม้มาทันที
พระธนิยภุมภการบุตรเห็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ถูกควบคุมตัวไปจึงกล่าวว่า “เจริญพร
ท่านถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวด้วยเรื่องอะไร”
“เรื่องไม้นั่นแหละ ขอรับ”
“ท่านจงไปก่อนเถิด อาตมาจะตามไป”
เจ้าหน้าที่ป่าไม้กล่าวว่า “พระคุณเจ้าควรไปก่อนที่กระผมจะเดือดร้อนนะ ขอรับ”
[๘๘] พระธนิยกุมภการบุตร เข้าไปพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสารแล้ว
นั่งบนอาสนะ ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสารเสด็จเข้าไปหาพระธนิยกุมภการบุตร ทรง
ไหว้แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า ทราบว่าไม้ของหลวง
ที่เก็บไว้ซ่อมแปลงเมืองในคราวจำเป็น โยมถวายแก่พระคุณเจ้าจริงหรือ”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เรื่องพระธนิยกุมภการบุตร
“จริง มหาบพิตร”
“พระคุณเจ้า โยมเป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีกรณียกิจมากมาย ถึงจะถวายไป
แล้วก็จำไม่ได้ พระคุณเจ้าโปรดเตือนความจำให้โยมด้วย”
พระธนิยกุมภการบุตร ทูลว่า “ขอถวายพระพร พระองค์จำได้ไหม ครั้งที่
พระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ใหม่ๆ ทรงเปล่งพระวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายหญ้า ไม้
และน้ำแก่สมณพราหมณ์ ขอสมณพราหมณ์โปรดใช้สอยเถิด”
“พระคุณเจ้า โยมจำได้ ที่โยมพูดนั้นหมายถึงสมณพราหมณ์ผู้มีความละอาย
มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา มีความรังเกียจแม้ในโทษเล็กน้อย หญ้า ไม้และน้ำ
นั้นยังมิได้มีใครจับจอง อยู่ในป่า ท่านจงใจอ้างจะขนไม้ที่ไม่ให้ไป พระเจ้าแผ่นดิน
เช่นโยมจะฆ่า จองจำหรือเนรเทศสมณพราหมณ์อย่างไรได้ นิมนต์กลับไปเถิด ท่าน
รอดตัวเพราะขน๑ แต่อย่าได้ทำอย่างนี้อีก”
ประชาชนตำหนิ
ประชาชนพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
เหล่านี้ไม่มีความละอาย ทุศีล ชอบพูดเท็จ แต่ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติธรรม ประพฤติ
สงบ ประพฤติพรหมจรรย์ พูดจริง มีศีล มีกัลยาณธรรม พวกท่านไม่มีความเป็น
สมณะ ไม่มีความเป็นพราหมณ์ ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ของพวกท่าน
เสื่อมสิ้นไปแล้ว พวกท่านจะเป็นสมณะเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร พวกท่านปราศจาก
ความเป็นสมณะ ปราศจากความเป็นพราหมณ์ แม้พระเจ้าแผ่นดินก็ยังถูกสมณะ
เหล่านั้นหลอกลวงได้ ไฉนคนอื่นจักไม่ถูกหลอกลวงเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มัก
น้อยสันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา จึงตำหนิ ประณาม

เชิงอรรถ :
๑ โลเมน ตฺวํ มุตฺโตสีติ เอตฺถ โลมมิว โลมํ, กึ ปน ตํ ปพฺพชฺชาลิงฺคํ คำว่า “ขน” ในที่นี้ หมายถึงเพศบรรพชิต
คือผ้ากาสาวพัสตร์ที่ท่านพระธนิยะห่มอยู่ ท่านธนิยะทำความผิดลักไม้ของหลวง ควรถูกจับฆ่าหรือจองจำ
แต่ท่านนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ จึงรอดตัวจากการถูกฆ่าถูกจองจำ ท่านอุปมา
เหมือนแพะมีขนยาวที่จะถูกฆ่ากินเนื้อ พอดีมีบุรุษคนหนึ่งเห็นว่า แพะนี้ขนมีราคา จึงเอาแพะที่ขนสั้น ๒ ตัว
มาแลกไป แพะขนยาวจึงรอดตัวเพราะขน (วิ.อ. ๑/๘๘/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ พระบัญญัติ
โพนทะนาว่า “ไฉน ท่านพระธนิยกุมภการบุตรจึงขโมยไม้ของหลวงที่เขาไม่ได้ให้ไป
เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระธนิยกุมภการบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระธนิยกุมภการบุตรว่า “ธนิยะ ทราบว่าเธอขโมยไม้หลวงจริงหรือ”
ท่านทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ
การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้
ไม่ควรทำ โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใสหรือ
ทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง กลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็
ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสแล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป”
สมัยนั้น มีมหาอมาตย์เคยเป็นผู้พิพากษาคนหนึ่งบวชอยู่ในหมู่ภิกษุ นั่งอยู่
ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค พระองค์จึงรับสั่งถามภิกษุรูปนั้นว่า “พระเจ้าพิมพิสาร
จอมทัพมคธ จับโจรได้แล้วประหารบ้าง จองจำบ้าง เนรเทศบ้าง ด้วยอัตราโทษตาม
มูลค่าทรัพย์ที่โจรกรรมมาเท่าไร”
ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า “ด้วยมูลค่า ๑ บาทบ้าง ควรแก่ ๑ บาทบ้าง เกินกว่า
๑ บาทบ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ ทรัพย์ ๑ บาท เท่ากับ ๕ มาสก
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิท่านพระธนิยกุมภการบุตร โดยประการต่าง ๆ
แล้วได้ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ คุณแห่งการปรารภความเพียร
แล้วทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายให้เหมาะสมกับเรื่องนั้นแล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๙] ก็ ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก
มีมูลค่าเท่ากับอัตราโทษที่พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้วประหารบ้าง จองจำ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ พระบัญญัติ
บ้าง เนรเทศบ้าง บริภาษว่า “เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้า
เป็นขโมย” ดังนี้ เพราะถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้เช่นใด ภิกษุผู้ถือเอา
ทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้เช่นนั้น แม้ภิกษุนี้เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระธนิยกุมภการบุตร จบ

เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
[๙๐] ครั้นต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปลานตากผ้าของช่างย้อมผ้า แล้วพา
กันลักห่อผ้ากลับมาวัด แบ่งกัน
ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกท่านมีบุญมาก จีวรจึงเกิดขึ้นแก่พวก
ท่านมาก”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ตอบว่า “พวกผมจะมีบุญมาจากไหนกัน พวกผมไปลาน
ตากผ้าของช่างย้อมแล้ว ได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเดี๋ยวนี้เอง”
ภิกษุทั้งหลายจึงท้วงติงว่า “ท่าน พระผู้มีพระภาคได้ทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้แล้วมิใช่หรือ เหตุไร พวกท่านจึงลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเล่า”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวแย้งว่า “จริง ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคได้
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว แต่สิกขาบทนั้นใช้เฉพาะในบ้าน ไม่ใช่ในป่า”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “พระบัญญัตินั้นใช้ได้เหมือนกันทั้งในบ้านและในป่ามิ
ใช่หรือ การกระทำของท่านไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย ไฉน พวกท่านจึงลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเล่า การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง กลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่
แล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป”
ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๗๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทวิภังค์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอลักห่อผ้าของช่าง
ย้อม จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอไม่สมควร
ฯลฯ ไม่ควรทำเลย โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงลักห่อผ้าของช่างย้อมมาเล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ”
ครั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงตรัสโทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยง
ยาก ฯลฯ คุณแห่งการปรารภความเพียร แล้วทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย
ให้เหมาะสมกับเรื่องนั้นแล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๙๑] อนึ่ง ภิกษุใดถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้โดยส่วนแห่งจิตคิดจะ
ลัก จากหมู่บ้านก็ตาม จากป่าก็ตาม มีมูลค่าเท่ากับอัตราโทษที่พระราชาทั้ง
หลายจับโจรได้แล้ว ประหารบ้าง จองจำบ้าง เนรเทศบ้าง บริภาษว่า “เจ้าเป็นโจร
เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย” ดังนี้ เพราะถือเอาทรัพย์ที่
เจ้าของมิได้ให้เช่นใด ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้เช่นนั้น แม้ภิกษุนี้ก็
เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๒] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง... ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านมีกระท่อม ๑ หลังบ้าง หมู่บ้านมีกระท่อม ๒
หลังบ้าง หมู่บ้านมีกระท่อม ๓ หลังบ้าง หมู่บ้านมีกระท่อม ๔ หลังบ้าง หมู่บ้านมี

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทวิภังค์
คนอยู่บ้าง หมู่บ้านไม่มีคนอยู่บ้าง หมู่บ้านที่มีรั้วล้อมบ้าง หมู่บ้านไม่มีรั้วล้อมบ้าง
หมู่บ้านที่มีโรงเรือนเหมือนโรงพักโคบ้าง แม้สถานที่ที่มีหมู่เกวียนหรือโคต่างพักแรม
เกินกว่า ๔ เดือน ก็ตรัสเรียกว่า เป็นหมู่บ้าน
ที่ชื่อว่า อุปจารหมู่บ้าน ได้แก่ เขตที่ชายมีกำลังปานกลางยืนอยู่ที่เสาเขื่อน
ของหมู่บ้านที่มีรั้วล้อม ขว้างก้อนดินไปตกลง หรือ เขตที่ชายมีกำลังปานกลางยืนอยู่
ที่อุปจารเรือนของหมู่บ้านที่ไม่มีรั้วล้อม ขว้างก้อนดินไปตกลง
ที่ชื่อว่า ป่า ได้แก่ สถานที่ที่เว้นหมู่บ้านและอุปจารหมู่บ้าน นอกนั้นชื่อว่า ป่า
ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ได้แก่ ทรัพย์ที่เจ้าของไม่ให้ ไม่สละ ไม่
บริจาค ยังรักษาคุ้มครองอยู่ ถือกรรมสิทธิ์อยู่ เป็นทรัพย์ที่คนอื่นหวงแหน นั่นชื่อว่า
ทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้
คำว่า โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก คือ มีไถยจิต ได้แก่ คิดจะลัก
คำว่า ถือเอา ได้แก่ ตู่ ชิง ฉ้อ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ทำให้ทรัพย์เคลื่อนที่ ให้
ล่วงเขตที่หมาย
ที่ชื่อว่า เช่นใด คือ ๑ บาทบ้าง ควรแก่ ๑ บาทบ้าง เกินกว่า ๑ บาทบ้าง
ที่ชื่อว่า พระราชาทั้งหลาย ได้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน เจ้าผู้ปกครองประเทศ
ท่านผู้ปกครองมณฑล ท่านผู้ปกครองหมู่บ้านที่อยู่ในระหว่าง ท่านผู้ตัดสินคดี
มหาอมาตย์ หรือเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจสั่งประหารและจองจำได้ ท่านเหล่านี้ชื่อว่า
พระราชาทั้งหลาย
ที่ชื่อว่า โจร ได้แก่ ผู้ที่ลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้มีราคา ๕ มาสกบ้าง
เกินกว่า ๕ มาสกบ้าง โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก นี้ชื่อว่า โจร
คำว่า ประหารบ้าง ได้แก่ ประหารด้วยมือบ้าง ด้วยเท้าบ้าง ด้วยแส้บ้าง
ด้วยหวายบ้าง ด้วยกระบองบ้าง ด้วยการตัดบ้าง
คำว่า จองจำบ้าง ได้แก่ จองจำด้วยเครื่องจองจำคือเชือกบ้าง ขื่อคาบ้าง
โซ่ตรวนบ้าง ด้วยการกักขังในเรือนจำบ้าง กักบริเวณในเมืองบ้าง ในหมู่บ้านบ้าง ใน
ตำบลบ้าง ให้คนคอยควบคุมบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
คำว่า เนรเทศบ้าง ได้แก่ ขับไล่ออกไปจากหมู่บ้านบ้าง จากตำบลบ้าง จาก
เมืองบ้าง จากชนบทบ้าง จากประเทศบ้าง
คำว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย นี้เป็น
คำบริภาษ
ที่ชื่อว่า เช่นนั้น คือ ๑ บาทบ้าง ควรแก่ ๑ บาทบ้าง เกินกว่า ๑ บาทบ้าง
คำว่า ผู้ถือเอา ได้แก่ ผู้ตู่ ชิง ฉ้อ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ทำให้ทรัพย์เคลื่อนที่
ให้ล่วงเขตที่หมาย
คำว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุรูปก่อน
คำว่า เป็นปาราชิก อธิบายว่า ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ๑ บาทบ้าง
ควรแก่ ๑ บาทบ้าง เกินกว่า ๑ บาทบ้าง โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก ย่อมไม่เป็นสมณะ
ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร เปรียบเหมือนใบไม้เหี่ยวเหลืองหลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจ
เป็นของเขียวสดต่อไปได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า เป็นปาราชิก
คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน
อุทเทสที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับภิกษุ
รูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้
บทภาชนีย์
มาติกา
[๙๓] ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดิน ทรัพย์ที่อยู่บนบก ทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ
ทรัพย์ที่อยู่ในที่แจ้ง ทรัพย์ที่อยู่ในน้ำ ทรัพย์ที่อยู่ในเรือ ทรัพย์ที่อยู่ในยาน ทรัพย์
ที่นำติดตัวไปได้ ทรัพย์ที่อยู่ในสวน ทรัพย์ที่อยู่ในวัด ทรัพย์ที่อยู่ในนา ทรัพย์ที่
อยู่ในพื้นที่ ทรัพย์ที่อยู่ในหมู่บ้าน ทรัพย์ที่อยู่ในป่า น้ำ ไม้ชำระฟัน ต้นไม้เจ้าป่า
ทรัพย์ที่มีผู้นำไป ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ด่านภาษี สัตว์มีชีวิต สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์ ๒ เท้า
สัตว์ ๔ เท้า สัตว์มีเท้ามาก ภิกษุผู้สั่ง ภิกษุผู้รับของฝาก การชักชวนกันไปลัก
การนัดหมาย การทำนิมิต

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดิน
[๙๔] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดิน ได้แก่ ทรัพย์ที่ฝังกลบไว้ในแผ่นดิน
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดิน แล้วหาเพื่อนไปด้วย หาจอบ หาตะกร้า
หรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ ตัดไม้หรือเถาวัลย์ที่ขึ้นอยู่ที่นั้น ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ขุดคุ้ยหรือโกยดินร่วน ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้องหม้อทรัพย์ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต หย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้องทรัพย์มีราคา ๕ มาสกหรือ
เกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ทรัพย์เข้า
ไปอยู่ในภาชนะของตน หรือหยิบขาดจากกันขึ้นมาหนึ่งกำมือ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องทรัพย์ที่เขาร้อยด้วยด้าย สังวาล สร้อยคอ เข็มขัด
ผ้าสาฎก ผ้าโพก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ จับปลายยกขึ้น
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ดึงครูดออกไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้พ้นปากหม้อแม้เพียง
ปลายผม ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต ดื่มเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย มีราคา ๕ มาสก หรือเกิน
กว่า ๕ มาสก ด้วยการดื่มครั้งเดียว ต้องอาบัติปาราชิก ทำลาย ทำให้หก เผา
ทิ้ง หรือทำให้บริโภคไม่ได้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทรัพย์ที่อยู่บนบก
[๙๕] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่บนบก ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาวางไว้บนบก ภิกษุมี
ไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่บนบก หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติ
ทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่
ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ
[๙๖] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ ได้แก่ ทรัพย์ที่ไปในอากาศ คือนกยูง
นกคับแค นกกระทา นกกระจาบ ผ้าสาฎก ผ้าโพก หรือเงินทองที่ขาดหลุดตกลง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้อง
อาบัติทุกกฏ หยุดการไปของทรัพย์ ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในที่แจ้ง
[๙๗] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในที่แจ้ง ได้แก่ ทรัพย์ที่แขวนไว้ในที่แจ้ง เช่น
ทรัพย์ที่คล้องไว้บนเตียงหรือตั่ง ห้อยไว้บนราวจีวร สายระเดียง ที่เดือยฝา ที่เครื่อง
แขวนรูปงาช้างหรือที่ต้นไม้ โดยที่สุดแม้บนเชิงรองบาตร ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลัก
ทรัพย์ที่อยู่ในที่แจ้ง หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้อง
อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในน้ำ
[๙๘] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในน้ำ ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในน้ำ
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในน้ำ หาเพื่อนไปด้วย หรือไปแต่ผู้เดียว
ต้องอาบัติทุกกฏ ดำลงหรือโผล่ขึ้นในน้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก เหง้าบัว ปลาหรือเต่า
ที่เกิดในน้ำนั้น มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในเรือ
[๙๙] ที่ชื่อว่า เรือ ได้แก่ พาหนะสำหรับใช้ข้ามน้ำ
ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในเรือ ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในเรือ
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในเรือ หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว
ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้
เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักเรือ หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้องทุกกฏ จับ
ต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย แก้เครื่องผูก ต้องอาบัติทุกกฏ
แก้เครื่องผูกแล้ว จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เรือ
ลอยทวนน้ำ ลอยตามน้ำหรือลอยไปขวางลำน้ำ ให้เคลื่อนไปแม้เพียงปลายผม ต้อง
อาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในยาน
[๑๐๐] ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ วอ รถ เกวียน คานหาม
ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในยาน ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในยาน
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในยาน หาเพื่อนไปด้วย หรือไปแต่ผู้เดียว
ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้
เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักยาน หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ
จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่นำติดตัวไปได้
[๑๐๑] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่นำติดตัวไปได้ ได้แก่ ทรัพย์ที่ทูนไป แบกไป
กระเดียดไป หิ้วไป
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องทรัพย์ที่อยู่บนศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ลดทรัพย์ลงมาที่ไหล่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องทรัพย์ที่อยู่ระดับไหล่ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ลดทรัพย์ลงมาถึงระดับสะเอว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องทรัพย์ซึ่งอยู่ที่สะเอว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ใช้มือถือไป ต้องอาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๘๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
ภิกษุมีไถยจิต วางทรัพย์ในมือลงบนพื้น ต้องอาบัติปาราชิก ถือเอาจาก
พื้นไป ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในสวน
[๑๐๒] ที่ชื่อว่า สวน ได้แก่ สวนไม้ดอก สวนไม้ผล
ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในสวน ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในสวนโดยฐานะ ๔ คือ
ฝังอยู่ในแผ่นดิน ตั้งอยู่บนพื้นดิน ลอยอยู่ในอากาศ แขวนอยู่ในที่แจ้ง
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในสวน หาเพื่อนไปด้วย หรือไปแต่ผู้เดียว
ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้
เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องราก เปลือก ใบ ดอกหรือผลไม้ในสวนนั้น มีราคา ๕
มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำ
ให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวตู่เอาที่สวน ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เจ้าของเกิดความสงสัย ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย หากเจ้าของทอดธุระว่าจะไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุเมื่อดำเนินคดีชนะความเจ้าของ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อดำเนินคดี
แพ้ความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทรัพย์ที่อยู่ในวัด
[๑๐๓] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในวัด ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในวัดโดยฐานะ ๔
คือ ฝังอยู่ในแผ่นดิน ตั้งอยู่บนพื้นดิน ลอยอยู่ในอากาศ แขวนอยู่ในที่แจ้ง
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในวัด หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว
ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้
เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวตู่เอาที่วัด ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เจ้าของเกิดความสงสัย ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย หากเจ้าของทอดธุระว่า จะไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
ภิกษุเมื่อดำเนินคดี ชนะความเจ้าของ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อดำเนินคดีแพ้
ความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทรัพย์ที่อยู่ในนา
[๑๐๔] ที่ชื่อว่า นา ได้แก่ ที่ซึ่งมีบุพพัณชาติหรืออปรัณชาติ๑ เกิด
ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในนา ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในนาโดยฐานะ ๔ คือ ฝัง
อยู่ในแผ่นดิน ตั้งอยู่บนพื้นดิน ลอยอยู่ในอากาศ แขวนอยู่ในที่แจ้ง
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในนา หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว
ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้
เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องบุพพัณชาติหรืออปรัณชาติที่เกิดในนานั้น มีราคา ๕
มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวตู่เอาที่นา ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เจ้าของเกิดความสงสัย ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย หากเจ้าของทอดธุระว่า จะไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุเมื่อดำเนินคดี ชนะความเจ้าของ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อดำเนินคดีแพ้
ความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือถมคันนาให้รุกล้ำที่นา ต้องอาบัติทุกกฏ
เมื่อความพยายามรุกล้ำที่นาอีกครั้งเดียวจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อความ
พยายามครั้งสุดท้ายสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่
[๑๐๕] ที่ชื่อว่า พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่สวน พื้นที่วัด

เชิงอรรถ :
๑ บุพพัณชาติ ได้แก่ ธัญชาติ ๗ อย่าง คือ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า หญ้ากับแก้ ข้าวละมาน ลูกเดือย
ข้าวเหนียว และข้าวฟ่าง ส่วนอปรัณชาติ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วราชมาส งา พืชผักที่กินหลังอาหาร (วิ.อ. ๑/
๑๐๔/๓๖๘, สารตฺถ.ฏีกา ๒/๑๐๔/๑๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่ ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในพื้นที่ โดยฐานะ ๔
คือ ฝังอยู่ในแผ่นดิน ตั้งอยู่บนพื้นดิน ลอยอยู่ในอากาศ แขวนอยู่ในที่แจ้ง
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่ หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว
ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้
เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวตู่เอาพื้นที่ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เจ้าของเกิดความสงสัย ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย หากเจ้าของทอดธุระว่า จะไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุเมื่อดำเนินคดี ชนะความเจ้าของ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อดำเนินคดี
แพ้ความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้วหรือถมคันนาให้รุกล้ำพื้นที่ ต้องอาบัติทุกกฏ
เมื่อความพยายามรุกล้ำพื้นที่อีกครั้งเดียวจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อ
ความพยายามครั้งสุดท้ายสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในหมู่บ้าน
[๑๐๖] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในหมู่บ้าน ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในหมู่บ้าน
โดยฐานะ ๔ คือ ฝังอยู่ในแผ่นดิน ตั้งอยู่บนพื้นดิน ลอยอยู่ในอากาศ แขวนอยู่ในที่แจ้ง
ภิกษุมีไถยจิตจิตคิดจะลักทรัพย์ที่เก็บไว้ในหมู่บ้าน หาเพื่อนไปด้วยหรือไป
แต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในป่า
[๑๐๗] ที่ชื่อว่า ป่า ได้แก่ ป่าที่มนุษย์ครอบครอง
ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในป่า ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในป่า โดยฐานะ ๔ คือ ฝัง
อยู่ในแผ่นดิน ตั้งอยู่บนพื้นดิน ลอยอยู่ในอากาศ แขวนอยู่ในที่แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๘๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้
เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องไม้ เถาวัลย์ หญ้าที่เกิดในป่านั้น มีราคา ๕ มาสกหรือ
เกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่
ต้องอาบัติปาราชิก
น้ำ
[๑๐๘] ที่ชื่อว่า น้ำ ได้แก่ น้ำที่อยู่ในภาชนะ ขังอยู่ในสระโบกขรณี หรือในบ่อ
ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุมีไถยจิต หย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้องน้ำ มีราคา ๕ มาสกหรือ
เกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้น้ำไหล
เข้าไปในภาชนะของตน ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุทำลายคันนา ต้องอาบัติทุกกฏ ทำลายคันนาทำน้ำให้ไหลออกไป มีราคา
๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก ทำให้น้ำไหลออกไปมีราคาเกิน
กว่า ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้น้ำไหลออกไป มี
ราคา ๑ มาสกหรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม้ชำระฟัน
[๑๐๙] ที่ชื่อว่า ไม้ชำระฟัน ได้แก่ ไม้ชำระฟันที่ตัดแล้วหรือยังมิได้ตัด
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องไม้ชำระฟัน มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก
ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ต้นไม้เจ้าป่า
[๑๑๐] ที่ชื่อว่า ต้นไม้เจ้าป่า ได้แก่ ต้นไม้ที่คนทั้งหลายครอบครอง เป็น
ต้นไม้ใช้สอยได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๘๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
ภิกษุมีไถยจิต ตัด ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ ครั้งที่ฟันต้นไม้ เมื่อฟันอีกครั้ง
เดียว ต้นไม้จะขาด ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อฟันต้นไม้ขาด ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่มีผู้นำไป
[๑๑๑] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่มีผู้นำไป ได้แก่ สิ่งของที่ผู้อื่นนำไป
ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดว่า จะนำทรัพย์พร้อมกับผู้ถือทรัพย์เดินไป ให้ย่างเท้าที่ ๑ ไป ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ ๒ ไป ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุทำให้ทรัพย์ตกด้วยคิดว่า จะเก็บทรัพย์ที่ตก ต้องอาบัติทุกกฏ มีไถยจิต
จับต้องทรัพย์ที่ตก มีราคา ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้
ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่เขาฝากไว้
[๑๑๒] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ได้แก่ สิ่งของที่ผู้อื่นให้เก็บไว้
ภิกษุรับฝากของ เมื่อเจ้าของทวงว่า “จงคืนทรัพย์ให้แก่ข้าพเจ้า” ปฏิเสธว่า
“อาตมาไม่ได้รับไว้” ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เจ้าของเกิดความสงสัย ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย หากเจ้าของทอดธุระว่า จะไม่คืนให้เรา ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุเมื่อดำเนินคดี ชนะความเจ้าของ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อดำเนินคดี
แพ้ความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ด่านภาษี
[๑๑๓] ที่ชื่อว่า ด่านภาษี ได้แก่ ที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงกำหนดเขต
ที่ภูเขาขาดก็ดี ท่าน้ำก็ดี ประตูเข้าหมู่บ้านก็ดี ด้วยรับสั่งว่า “จงเก็บภาษีผู้ผ่าน
เข้าไปที่นั้น”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
ภิกษุเข้าไปที่ด่านภาษีนั้น มีไถยจิตจับต้องทรัพย์ที่ควรเสียภาษี มีราคา ๕
มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ย่างเท้าที่ ๑ ผ่านด่านภาษีไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าที่ ๒ ผ่านด่านภาษีไป
ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี โยนทรัพย์ให้ตกนอกด่านภาษี ต้องอาบัติ
ปาราชิก ภิกษุหลีกด่านภาษี๑ ต้องอาบัติทุกกฏ
สัตว์มีชีวิต
[๑๑๔] ที่ชื่อว่า สัตว์มีชีวิต หมายเอามนุษย์ที่มีชีวิต๒
ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าที่ ๑ ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ ๒
ไป ต้องอาบัติปาราชิก
สัตว์ไม่มีเท้า
ที่ชื่อว่า สัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ งู ปลา
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องสัตว์ไม่มีเท้า มีราคา ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก
ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
สัตว์ ๒ เท้า
[๑๑๕] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๒ เท้า ได้แก่ มนุษย์ นก

เชิงอรรถ :
๑ พระอรรถกถาจารย์แก้ความตามนัยแห่งมหาอรรถกถาว่า ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะเดินหลบด่านภาษี
ไปห่าง ๒ ช่วงก้อนดินตก (วิ.อ. ๑/๑๑๓/๓๙๒)
๒ มนุษย์ที่มีชีวิต หมายถึง ทาสเรือนเบี้ย ทาสน้ำเงิน ทาสเชลย (วิ.อ. ๑/๑๑๔/๓๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าที่ ๑ ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ ๒ ไป
ต้องอาบัติปาราชิก
สัตว์ ๔ เท้า
[๑๑๖] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๔ เท้า ได้แก่ ช้าง ม้า อูฐ โค ลา สัตว์เลี้ยง
ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าที่ ๑ ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ ๒ ไป
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ ๓ ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ ๔ ไป ต้อง
อาบัติปาราชิก
สัตว์มีเท้ามาก
[๑๑๗] ที่ชื่อว่า สัตว์มีเท้ามาก ได้แก่ สัตว์จำพวกแมลงป่อง ตะขาบ บุ้งขน
ภิกษุมีไถยจิต จับต้องสัตว์มีเท้ามาก ที่มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก
ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าก้าวไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุกๆ ก้าว ให้
ย่างเท้าหลังสุดก้าวไป ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุผู้สั่ง
[๑๑๘] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้สั่ง ได้แก่ ภิกษุสั่งกำหนดลักทรัพย์ว่า ท่านจงลัก
ทรัพย์อันนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุรับคำสั่งลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิก
ทั้ง ๒ รูป

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

ภิกษุผู้รับของฝาก
ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขานำมาฝากไว้ ภิกษุ
มีไถยจิต จับต้องทรัพย์มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
การชักชวนกันไปลัก
ที่ชื่อว่า การชักชวนกันไปลัก ได้แก่ ภิกษุหลายรูปชักชวนกันแล้ว รูปหนึ่ง
ลักทรัพย์มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป
การนัดหมาย
[๑๑๙] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย อธิบายว่า ภิกษุทำการนัดหมายว่า จงลัก
ทรัพย์ตามเวลานัดหมายนั้น คือ ในเวลาก่อนฉันอาหาร หรือในเวลาหลังหลังอาหาร
ในเวลากลางคืน หรือในเวลากลางวัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์ได้มา
ตามเวลานัดหมายนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์ได้มา
ก่อนหรือหลังเวลานัดหมายนั้น ภิกษุผู้นัดหมายไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติ
ปาราชิก
การทำนิมิต
[๑๒๐] ที่ชื่อว่า การทำนิมิต อธิบายว่า ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักขยิบตา ยักคิ้ว
หรือผงกศีรษะ ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามที่เราทำนิมิตนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ
ผู้ลัก ลักทรัพย์ได้มาตามการทำนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุผู้ลัก
ลักทรัพย์มาได้ก่อนหรือหลังการทำนิมิตนั้น ภิกษุผู้ทำนิมิตไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก
ต้องอาบัติปาราชิก
การสั่ง
[๑๒๑] ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ
ผู้รับคำสั่งสำคัญทรัพย์นั้นว่าเป็นทรัพย์นั้น ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิก
ทั้ง ๒ รูป

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง
สำคัญทรัพย์นั้นว่าเป็นทรัพย์นั้น ลักทรัพย์อื่นมา ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก
ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง
สำคัญทรัพย์นั้นว่าเป็นทรัพย์อื่น แต่ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “ท่านจงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง
สำคัญทรัพย์นั้นว่าเป็นทรัพย์อื่น ลักทรัพย์อื่นมาได้ ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้
ลักต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุ (ผู้เป็นอาจารย์) สั่งภิกษุ (ชื่อว่าพุทธรักขิต) ว่า “ท่านจงบอกภิกษุ
ชื่อ(ธัมมรักขิต)นี้ว่า จงบอกภิกษุชื่อ(สังฆรักขิต)นี้ว่า ‘จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปบอกภิกษุอีกรูปหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ๑ ภิกษุผู้ลักรับคำสั่ง
ภิกษุผู้สั่งครั้งแรกต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติ
ปาราชิกทุกรูป
ภิกษุ (ผู้เป็นอาจารย์) สั่งภิกษุ (ชื่อว่าพุทธรักขิต) ว่า “ท่านจงบอกภิกษุ
ชื่อ(ธัมมรักขิต)นี้ว่า จงบอกภิกษุชื่อ(สังฆรักขิต)นี้ว่า ‘จงลักทรัพย์นี้มา” ดังนี้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปบอกภิกษุรูปอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักรับคำสั่ง
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งครั้งแรก ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุผู้สั่งต่อและภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งไปแล้ว
กลับมาบอกว่า “กระผมไม่สามารถลักทรัพย์นั้นได้” ผู้สั่งจึงสั่งอีกว่า “จงลักทรัพย์

เชิงอรรถ :
๑ พระอรรถกถาจารย์ยกตัวอย่างไว้ชัดเจนว่า ในกรณีนี้มีภิกษุเกี่ยวข้องอยู่ ๔ รูป คือ อาจารย์ ๑ รูป
ภิกษุผู้เป็นศิษย์อีก ๓ รูป คือ พุทธรักขิต ธัมมรักขิต และสังฆรักขิต กรณีนี้มี ๓ ขั้นตอน คือ
๑. ขั้นออกคำสั่ง ทั้งอาจารย์และศิษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ขั้นรับคำสั่ง ทันทีที่พระสังฆรักขิตรับคำสั่ง ผู้เป็นอาจารย์ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ขั้นปฏิบัติการ ถ้าพระสังฆรักขิตลักทรัพย์นั้นมาได้ ทั้ง ๔ รูป ต้องอาบัติปาราชิก
(วิ.อ. ๑/๑๒๑/๔๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
นั้นในเวลาที่ท่านสามารถจะลักได้” ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งลักทรัพย์นั้นมา
ได้ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ
เดือดร้อนใจ แต่ไม่ได้กล่าวให้ผู้รับคำสั่งได้ยินว่า “อย่าลัก” ภิกษุผู้รับคำสั่งลักทรัพย์
นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ
เดือดร้อนใจ จึงกล่าวให้ได้ยินว่า “อย่าลัก” แต่ภิกษุผู้รับคำสั่งกล่าวว่า “ท่านสั่ง
ผมแล้ว” ลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุสั่งภิกษุว่า “จงลักทรัพย์นี้มา” ต้องอาบัติทุกกฏ เธอสั่งแล้วเกิดความ
เดือดร้อนใจ จึงกล่าวให้ผู้รับคำสั่งได้ยินว่า “อย่าลัก” ภิกษุผู้รับคำสั่งนั้นรับว่า “ดีละ”
จึงงดเว้น ไม่ต้องอาบัติทั้ง ๒ รูป
องค์แห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
[๑๒๒] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการ ๕
อย่าง คือ
๑. ทรัพย์มีผู้ครอบครอง
๒. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง
๓. ทรัพย์มีค่ามาก ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก
๔. มีไถยจิตปรากฏ
๕. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้
เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
[๑๒๓] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ด้วยอาการ ๕
อย่าง คือ
๑. ทรัพย์มีผู้ครอบครอง
๒. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง
๓. ทรัพย์มีค่าน้อย ราคาเกิน ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๕ มาสก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๙๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
๔. มีไถยจิตปรากฏ
๕. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฎ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เคลื่อนที่
ต้องอาบัติถุลลัจจัย
[๑๒๔] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ
๑. ทรัพย์มีผู้ครอบครอง
๒. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง
๓. ทรัพย์มีค่าน้อย ราคา ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๑ มาสก
๔. มีไถยจิตปรากฏ
๕. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เคลื่อนที่
ต้องอาบัติทุกกฏ
[๑๒๕] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ
๑. สำคัญว่าไม่ใช่ของของตน
๒. ไม่ใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ
๓. ไม่ใช่เป็นของขอยืม
๔. ทรัพย์มีค่ามาก ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก
๕. มีไถยจิตปรากฏ
๖. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่
ต้องอาบัติปาราชิก
[๑๒๖] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ด้วยอาการ ๖
อย่าง คือ
๑. สำคัญว่าไม่ใช่ของของตน
๒. ไม่ใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ
๓. ไม่ใช่เป็นของขอยืม
๔. ทรัพย์มีค่าน้อย ราคาเกิน ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๕ มาสก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๙๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
๕. มีไถยจิตปรากฏ
๖. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เคลื่อนที่
ต้องอาบัติถุลลัจจัย
[๑๒๗] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ
๑. สำคัญว่าไม่ใช่ของของตน
๒. ไม่ใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ
๓. ไม่ใช่เป็นของขอยืม
๔. ทรัพย์มีค่าน้อย ราคา ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๑ มาสก
๕. มีไถยจิตปรากฏ
๖. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เคลื่อนที่
ต้องอาบัติทุกกฏ
[๑๒๘] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ
๑. ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง
๒. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง
๓. ทรัพย์มีค่ามาก ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก
๔. มีไถยจิตปรากฏ
๕. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เคลื่อนที่
ต้องอาบัติทุกกฏ
[๑๒๙] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ
๑. ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง
๒. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง
๓. ทรัพย์มีค่าน้อย ราคาเกิน ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๕ มาสก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๙๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร
๔. มีไถยจิตปรากฏ
๕. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เคลื่อนที่
ต้องอาบัติทุกกฏ
[๑๓๐] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ
๑. ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง
๒. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง
๓. ทรัพย์มีค่าน้อย ราคา ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๑ มาสก
๔. มีไถยจิตปรากฏ
๕. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เคลื่อนที่
ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๓๑] ๑. ภิกษุสำคัญว่าเป็นของของตน
๒. ภิกษุถือเอาด้วยวิสาสะ
๓. ภิกษุถือเอาเป็นของขอยืม
๔. ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เปรตครอบครอง
๕. ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่สัตว์ดิรัจฉานครอบครอง
๖. ภิกษุสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน
๙. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปฐมภาณวาร ในอทินนาทานสิกขาบท จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ คาถารวมวินีตวัตถุ

คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว
เรื่องช่างย้อม ๕ เรื่อง___เรื่องผ้าปูเตียง ๔ เรื่อง
เรื่องกลางคืน ๕ เรื่อง___เรื่องทรัพย์ที่ภิกษุนำไปแต่ผู้เดียว ๑๑ เรื่อง
เรื่องตอบตามคำถามนำ ๕ เรื่อง___เรื่องลม ๒ เรื่อง
เรื่องศพที่ยังสด ๑ เรื่อง___เรื่องสับเปลี่ยนสลาก ๑ เรื่อง
เรื่องเรือนไฟ ๑ เรื่อง___เรื่องเนื้อเดนสัตว์ ๕ เรื่อง
เรื่องไม่มีมูล ๕ เรื่อง___ในสมัยข้าวยากหมากแพง มี ๕ เรื่อง คือ
เรื่องข้าวสุก ๑ เรื่อง___เรื่องเนื้อ ๑ เรื่อง
เรื่องขนม ๑ เรื่อง___เรื่องน้ำตาลกรวด ๑ เรื่อง
เรื่องขนมต้ม ๑ เรื่อง___เรื่องบริขาร ๕ เรื่อง
เรื่องถุง ๑ เรื่อง___เรื่องฟูก ๑ เรื่อง
เรื่องราวจีวร ๑ เรื่อง___เรื่องไม่ออกไป ๑ เรื่อง
เรื่องถือวิสาสะฉันของเคี้ยว ๑ เรื่อง ___เรื่องสำคัญว่าเป็นของของตน ๒ เรื่อง
เรื่องไม่ได้ลัก ๗ เรื่อง___เรื่องลัก ๗ เรื่อง
เรื่องลักของสงฆ์ ๗ เรื่อง___เรื่องลักดอกไม้ ๒ เรื่อง
เรื่องพูดตามคำบอก ๓ เรื่อง___เรื่องนำแก้วมณีผ่านด่านภาษี ๓ เรื่อง
เรื่องปล่อยสุกร ๒ เรื่อง___เรื่องปล่อยเนื้อ ๒ เรื่อง
เรื่องปล่อยปลา ๒ เรื่อง___เรื่องกลิ้งทรัพย์ในยาน ๑ เรื่อง
เรื่องชิ้นเนื้อ ๒ เรื่อง___เรื่องไม้ ๒ เรื่อง
เรื่องผ้าบังสุกุล ๑ เรื่อง___เรื่องข้ามน้ำ ๒ เรื่อง
เรื่องฉันทีละน้อย ๑ เรื่อง___เรื่องชักชวนกันไปลัก ๒ เรื่อง
เรื่องกำมือที่กรุงสาวัตถี ๔ เรื่อง___เรื่องเนื้อเป็นเดน ๒ เรื่อง
เรื่องหญ้า ๒ เรื่อง___เรื่องให้แบ่งของสงฆ์ ๗ เรื่อง
เรื่องไม่ใช่เจ้าของ ๗ เรื่อง___เรื่องยืมไม้ของสงฆ์ ๑ เรื่อง
เรื่องลักน้ำของสงฆ์ ๑ เรื่อง___เรื่องลักดินของสงฆ์ ๑ เรื่อง
เรื่องลักหญ้าของสงฆ์ ๒ เรื่อง___เรื่องลักเสนาสนะของสงฆ์ ๗ เรื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๙๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
เรื่องของมีเจ้าของไม่ควรนำไปใช้ ๑ เรื่อง___เรื่องของมีเจ้าของควรขอยืม ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุณีชาวกรุงจัมปา ๑ เรื่อง___เรื่องภิกษุณีชาวกรุงราชคฤห์ ๑ เรื่อง
เรื่องพระอัชชุกะชาวกรุงเวสาลี ๑ เรื่อง___เรื่องทารกชาวกรุงพาราณสี ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุชาวกรุงโกสัมพี ๑ เรื่อง
เรื่องสัทธิวิหาริกของพระทัฬหิกะกรุงสาคละ ๑ เรื่อง
วินีตวัตถุ
เรื่องช่างย้อม ๕ เรื่อง
[๑๓๒] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปที่ลานตากผ้าของช่างย้อม ได้ลักห่อ
ผ้าของช่างย้อม แล้วเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ลานตากผ้าของช่างย้อม พบผ้ามีราคามาก เกิด
ไถยจิตขึ้นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เพียงแต่คิด ไม่
ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ลานตากผ้าของช่างย้อม พบผ้ามีราคามาก มี
ไถยจิตจับผ้าผืนนั้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ลานตากผ้าของช่างย้อม พบผ้ามีราคามาก มี
ไถยจิต ทำให้ผ้าไหว แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุเธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ลานตากผ้าของช่างย้อม พบผ้ามีราคามาก มี
ไถยจิตทำให้ผ้าเคลื่อนที่ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๕)
เรื่องผ้าปูเตียง ๔ เรื่อง
[๑๓๓] สมัยนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งพบผ้าปูเตียงมีราคา
มาก เกิดไถยจิตขึ้นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เพียง
แต่คิดไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๖)
สมัยนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งพบผ้าปูเตียงมีราคามาก มี
ไถยจิตจับต้อง แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบผ้าปูเตียงมีราคามาก มีไถยจิต ทำให้ผ้าไหว แล้ว
เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบผ้าปูเตียงมีราคามาก มีไถยจิต ทำให้ผ้าเคลื่อนที่
แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่อง
ที่ ๙)
เรื่องกลางคืน ๕ เรื่อง
[๑๓๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบสิ่งของตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้
ด้วยตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญสิ่งของนั้นว่าเป็นสิ่งของนั้น จึงได้ลัก
ของนั้นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบสิ่งของตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้ ด้วย
ตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญสิ่งของนั้นว่าเป็นสิ่งของนั้น แต่ได้ลักสิ่งของ
อื่นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบสิ่งของตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้ ด้วย
ตั้งใจว่าจะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญสิ่งของนั้นว่าเป็นสิ่งของอื่น แต่ได้ลักสิ่งของ
นั้นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบสิ่งของตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้ด้วย
ตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญสิ่งของนั้นว่าเป็นสิ่งของอื่น ได้ลักสิ่งของ
อื่นมา แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๓ )
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบสิ่งของตอนกลางวัน ได้ทำเครื่องหมายไว้ด้วย
ตั้งใจว่า จะลักตอนกลางคืน ท่านสำคัญสิ่งของนั้นว่าเป็นสิ่งของนั้น แต่ได้ลักสิ่งของ
ของตนเอง แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๔)
เรื่องทรัพย์ที่ภิกษุนำไปแต่ผู้เดียว ๑๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต จับต้องสิ่งของที่อยู่บน
ศีรษะตนเอง แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๕)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต ทำสิ่งของที่อยู่บน
ศีรษะตนเองให้ไหว แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต ลดสิ่งของที่อยู่บน
ศีรษะตนเองลงมาที่ไหล่ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต จับต้องสิ่งของที่อยู่บน
ไหล่ แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต ทำสิ่งของที่อยู่ที่ไหล่
ตนเองให้ไหว แล้วเกิดความความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต ลดสิ่งของที่อยู่ที่ไหล่ลง
มาถึงระดับสะเอว แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๐)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต จับต้องสิ่งของที่อยู่ที่
สะเอว แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๐๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต ทำสิ่งของซึ่งอยู่ที่
สะเอวให้ไหว แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๒๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต เอามือหยิบสิ่งของซึ่ง
อยู่ที่สะเอวหิ้วไป แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิต เอาสิ่งของที่มือวางลงที่
พื้น แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๒๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง นำสิ่งของของผู้อื่นไป มีไถยจิตหยิบสิ่งของขึ้นจาก
พื้นดิน แล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๒๕)
เรื่องตอบตามคำถามนำ ๕ เรื่อง
[๑๓๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้กลางแจ้งแล้วเข้าไปวิหาร ภิกษุอีก
รูปหนึ่งเก็บจีวรนั้นด้วยหวังว่า จะไม่ให้จีวรหาย ภิกษุเจ้าของจีวรออกมา ถามภิกษุ
รูปที่เก็บไปนั้นว่า “ท่าน จีวรของผมใครลักไป” ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผมลักไป”
ภิกษุเจ้าของจีวรจับเอาภิกษุรูปที่นำจีวรไปกล่าวว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปที่นำ
จีวรไปเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้า
พระพุทธเจ้าตอบไปตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ ไม่ต้องอาบัติ เพราะ
ตอบตามคำถามนำ” (เรื่องที่ ๒๖)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพาดจีวรไว้บนตั่งแล้วเข้าไปวิหาร ภิกษุอีกรูปหนึ่งเก็บ
จีวรนั้นด้วยหวังว่าจะไม่ให้จีวรหาย ภิกษุเจ้าของจีวรออกมา ถามภิกษุรูปที่เก็บไป
นั้นว่า “ท่าน จีวรของผมใครลักไป” ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผมลักไป” ภิกษุเจ้าของ
จีวรจับเอาภิกษุรูปที่นำจีวรไปกล่าวว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปที่นำจีวรไปเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธ
เจ้าตอบไปตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ ไม่ต้องอาบัติ เพราะตอบตาม
คำถามนำ” (เรื่องที่ ๒๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพาดผ้าปูนั่งไว้บนตั่ง ภิกษุอีกรูปหนึ่งเก็บผ้าปูนั่งนั้น
ด้วยหวังว่า จะไม่ให้ผ้าปูนั่งหาย ภิกษุเจ้าของผ้าปูนั่งออกมา ถามภิกษุรูปที่เก็บไป
นั้นว่า “ท่าน ผ้าปูนั่งของผม ใครลักไป” ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผมลักไป” ภิกษุ
เจ้าของผ้าปูนั่งจับเอาภิกษุรูปที่นำผ้าปูนั่งไปกล่าวว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปที่นำ
ผ้าปูนั่งไปเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้า
พระพุทธเจ้าตอบไปตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ ไม่ต้องอาบัติ เพราะ
ตอบตามคำถามนำ” (เรื่องที่ ๒๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งวางบาตรไว้ใต้ตั่งแล้วเข้าไปวิหาร ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้
เก็บบาตรนั้นด้วยหวังว่า จะไม่ให้บาตรหาย ภิกษุเจ้าของบาตรออกมาถามภิกษุรูปที่
เก็บไปนั้นว่า “ท่าน บาตรของผม ใครลักไป” ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผมลักไป” ภิกษุ
เจ้าของบาตรจับเอาภิกษุรูปที่นำบาตรไปกล่าวว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ภิกษุรูปที่นำ
บาตรไปเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้าตอบไปตามคำถามนำ พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ ไม่ต้องอาบัติ
เพราะตอบตามคำถามนำ” (เรื่องที่ ๒๙)
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้ที่รั้วแล้วเข้าไปยังวิหาร ภิกษุณีอีกรูปหนึ่ง
เก็บจีวรนั้นด้วยหวังว่า จะไม่ให้จีวรหาย ภิกษุณีเจ้าของจีวรออกมาถามภิกษุณีรูปที่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
เก็บไปนั้นว่า “เธอ จีวรของฉันใครลักไป” ภิกษุณีรูปนั้นตอบว่า “ฉันลักไป” ภิกษุณี
เจ้าของจีวรจับเอาภิกษุณีรูปที่นำจีวรไปกล่าวว่า “เธอไม่เป็นพระ” ภิกษุณีรูปที่นำ
จีวรไปเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงบอกเรื่องนี้แก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายจึงบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติ
เพราะตอบตามคำถามนำ” (เรื่องที่ ๓๐)
เรื่องลม ๒ เรื่อง
[๑๓๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบผ้าสาฎกถูกลมบ้าหมูพัดมา จึงเก็บไว้ด้วย
ตั้งใจจะนำคืนเจ้าของ แต่พวกเจ้าของผ้ากล่าวหาท่านว่า “ท่านไม่เป็นพระ” ท่าน
เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า
ไม่มีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ ไม่มีไถยจิต ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ถือเอาผ้าโพกซึ่งถูกลมบ้าหมูพัดมา ด้วย
เกรงว่า เจ้าของผ้าจะเห็นเสียก่อน พวกเจ้าของผ้ากล่าวหาท่านว่า “ท่านไม่เป็น
พระ” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีไถยจิต พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๓๒)
เรื่องศพที่ยังสด ๑ เรื่อง
[๑๓๗] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้า ถือเอาผ้าบังสุกุลที่ซากศพยังสดซึ่งมี
เปรตสิงอยู่ในร่าง เปรตนั้นพูดกับภิกษุนั้นว่า “อย่าเอาผ้าของเราไป” ภิกษุไม่ใส่ใจ
ถือเอาไป ทันใดนั้น ร่างนั้นลุกขึ้นติดตามภิกษุไป ภิกษุรูปนั้นเข้าไปวิหารแล้วปิด
ประตูเสีย ร่างนั้นได้ล้มลงที่ประตูนั่นเอง ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถือเอา
ผ้าบังสุกุลในซากศพที่ยังสด ภิกษุใดถือเอา ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓๓)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ

เรื่องสับเปลี่ยนสลาก ๑ เรื่อง
[๑๓๘] สมัยนั้น เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกจีวรแก่สงฆ์ ภิกษุรูปหนึ่ง มี
ไถยจิตได้สับเปลี่ยนสลากรับจีวรไป ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๓๔)
เรื่องเรือนไฟ ๑ เรื่อง
[๑๓๙] สมัยนั้น พระอานนท์สำคัญว่าผ้าอันตรวาสกของภิกษุรูปหนึ่งในเรือน
ไฟเป็นของตนจึงนุ่ง ภิกษุรูปที่เป็นเจ้าของผ้าอันตรวาสกกล่าวกับท่านพระอานนท์
ว่า “ทำไมท่านจึงเอาผ้าอันตราสกของผมไปนุ่ง” “ท่าน ผมสำคัญว่าเป็นของผม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสำคัญว่าเป็นของตน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๕)
เรื่องเนื้อเดนสัตว์ ๕ เรื่อง
[๑๔๐] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเป็นเดนของราชสีห์
จึงใช้ให้อนุปสัมบันทำให้สุกแล้วฉัน พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันเนื้อเป็นเดนราชสีห์ ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๖)
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเป็นเดนเสือโคร่ง จึงใช้
ให้อนุปสัมบันทำให้สุกแล้วฉัน พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันเนื้อเป็นเดนเสือโคร่ง ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๗)
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเป็นเดนเสือเหลือง จึงใช้
ให้อนุปสัมบันทำให้สุกแล้วฉัน พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันเนื้อเป็นเดนเสือเหลือง ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๘)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเป็นเดนหมาใน จึงใช้ให้
อนุปสัมบันทำให้สุกแล้วฉัน พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัส
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันเนื้อที่เป็นเดนหมาใน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๙)
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พบเนื้อเป็นเดนหมาป่า จึงใช้ให้
อนุปสัมบันทำให้สุกแล้วฉัน พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันเนื้อที่สัตว์ดิรัจฉานครอบครอง ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่อง
ที่ ๔๐)
เรื่องไม่มีมูล ๕ เรื่อง
[๑๔๑] สมัยนั้น เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกอาหารแก่สงฆ์ ภิกษุรูปหนึ่ง
กล่าวคำไม่มีมูลว่า “จงให้เพื่อภิกษุอื่นอีกส่วนหนึ่ง” แล้วรับไป ท่านเกิดความกังวลใจ
ว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกล่าวเท็จทั้งที่รู้” (เรื่องที่ ๔๑)
สมัยนั้น เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกของเคี้ยวแก่สงฆ์ ภิกษุรูปหนึ่งกล่าว
คำไม่มีมูลว่า “จงให้เพื่อภิกษุอื่นอีกส่วนหนึ่ง” แล้วรับไป ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะ
กล่าวเท็จทั้งที่รู้” (เรื่องที่ ๔๒)
สมัยนั้น เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกขนมแก่สงฆ์ ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวคำไม่มี
มูลว่า “จงให้เพื่อภิกษุอื่นอีกส่วนหนึ่ง” แล้วรับไป ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าว
เท็จทั้งที่รู้” (เรื่องที่ ๔๓)
สมัยนั้น เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่กำลังแจกน้ำอ้อยแก่สงฆ์ ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวคำ
ไม่มีมูลว่า “จงให้เพื่อภิกษุอื่นอีกส่วนหนึ่ง” แล้วรับไป ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา

3 ความคิดเห็น :