Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๑-๖ หน้า ๒๗๐ - ๓๒๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๑-๖ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

ปิฏฐิจักร
หมุนไปข้างหลัง
[๒๕๒] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหลืองให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
เขียวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน
ฯลฯ จงใจจะทำน้ำอสุจิสีขาวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ฯลฯ
จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ฯลฯ
จงใจจะทำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ฯลฯ
จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ฯลฯ
จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมสดให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ฯลฯ
จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน ฯลฯ
จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเขียวเคลื่อน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พระบาลีรอบที่ ๑ แห่งปิฏฐิจักร จบ
[๒๕๓] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
เหลืองเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีขาว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียง...น้ำอสุจิสีเหมือน
น้ำท่า...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมัน...น้ำอสุจิสีเหมือนนมสด...น้ำอสุจิสีเหมือนนม
ส้ม...น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใส...ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่
แต่น้ำอสุจิสีเหลืองเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พระบาลีรอบที่ ๒ แห่งปิฏฐิจักร จบ
[๒๕๔] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีขาวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
แดงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเปรียง ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่า...น้ำอสุจิ
สีเหมือนน้ำมัน...น้ำอสุจิสีเหมือนนมสด...น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม...น้ำอสุจิสีเหมือน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์
เนยใส...น้ำอสุจิสีเขียว...จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหลืองให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำ
อสุจิสีแดงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พระบาลีรอบที่ ๓ แห่งปิฏฐิจักร จบ
[๒๕๕] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่
น้ำอสุจิสีขาวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่า ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมัน...น้ำอสุจิ
สีเหมือนนมสด...น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม...น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใส...น้ำอสุจิสี
เขียว...น้ำอสุจิสีเหลือง...จงใจจะทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
ขาวเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พระบาลีรอบที่ ๔ แห่งปิฏฐิจักร จบ
[๒๕๖] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำ
อสุจิสีเหมือนเปรียงเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมัน ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมสด...น้ำ
อสุจิสีเหมือนนมส้ม...น้ำอสุจิสีเหมือนเนยใส...น้ำอสุจิสีเขียว...น้ำอสุจิสีเหลือง...น้ำ
อสุจิสีแดง...จงใจจะทำน้ำอสุจิสีขาวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียง
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พระบาลีรอบที่ ๕ แห่งปิฏฐิจักร จบ
[๒๕๗] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่
น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมสด ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม...น้ำ
อสุจิสีเหมือนเนยใส...น้ำอสุจิสีเขียว...น้ำอสุจิสีเหลือง...น้ำอสุจิสีแดง...น้ำอสุจิสี
ขาว...จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
น้ำท่าเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พระบาลีรอบที่ ๖ แห่งปิฏฐิจักร จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์
[๒๕๘] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมสดให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่
น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมส้ม ฯลฯ สีเหมือนเนยใส...สีเขียว...สี
เหลือง...สีแดง...สีขาว สีเหมือนเปรียง...สีเหมือนน้ำท่าให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่
น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พระบาลีรอบที่ ๗ แห่งปิฏฐิจักร จบ
[๒๕๙] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่
น้ำอสุจิสีเหมือนนมสดเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเนยใส ฯลฯ น้ำอสุจิสีเขียว...น้ำอสุจิสี
เหลือง...น้ำอสุจิสีแดง...น้ำอสุจิสีขาว...น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียง...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำ
ท่า...จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือน
นมสดเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พระบาลีรอบที่ ๘ แห่งปิฏฐิจักร จบ
[๒๖๐] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนเนยใสให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่
น้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียว ฯลฯ น้ำอสุจิสีเหลือง...น้ำอสุจิสีแดง...น้ำอสุจิ
สีขาว...น้ำอสุจิสีเหมือนเปรียง...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่า...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมัน...
จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมสดให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสีเหมือนนม
ส้มเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พระบาลีรอบที่ ๙ แห่งปิฏฐิจักร จบ
[๒๖๑] ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
เหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุจงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหลือง ฯลฯ น้ำอสุจิสีแดง...น้ำอสุจิสีขาว...น้ำอสุจิ
สีเหมือนเปรียง...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่า...น้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมัน...น้ำอสุจิสีเหมือน
นมสด...จงใจจะทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มให้เคลื่อน พยายามอยู่ แต่น้ำอสุจิสี
เหมือนเนยใสเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ปิฏฐิจักรรอบที่ ๑๐ จบ
ปิฏฐิจักร จบ
[๒๖๒] ภิกษุจงใจ พยายาม น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจ พยายาม น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุจงใจ ไม่พยายาม น้ำอสุจิเคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุจงใจ ไม่พยายาม น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุไม่จงใจ พยายาม น้ำอสุจิเคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุไม่จงใจ พยายาม น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุไม่จงใจ ไม่พยายาม น้ำอสุจิเคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุไม่จงใจ ไม่พยายาม น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุที่มีน้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน
๒. ภิกษุไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน
๕. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๗๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว
เรื่องภิกษุฝัน ๑ เรื่อง___เรื่องภิกษุถ่ายอุจจาระ ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุถ่ายปัสสาวะ ๑ เรื่อง___เรื่องภิกษุตรึกถึงกาม ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุอาบน้ำร้อน ๓ เรื่อง___เรื่องภิกษุทายา ๓ เรื่อง
เรื่องภิกษุเกาอัณฑะ ๓ เรื่อง___เรื่องภิกษุเดินทาง ๓ เรื่อง
เรื่องภิกษุบีบหนังหุ้มปลายองคชาต ๓ เรื่อง___เรื่องเรือนไฟ ๖ เรื่อง
เรื่องภิกษุใช้องคชาตเสียดสีขาอ่อน ๓ เรื่อง___เรื่องใช้สามเณร ๑ เรื่อง
เรื่องสามเณรนอนหลับ ๑ เรื่อง___เรื่องภิกษุใช้ขาหนีบองคชาต ๒ เรื่อง
เรื่องภิกษุใช้มือบีบองคชาต ๒ เรื่อง___เรื่องภิกษุส่ายสะเอวในอากาศ ๒ เรื่อง
เรื่องภิกษุบิดกาย ๓ เรื่อง___เรื่องภิกษุเพ่งองค์กำเนิด ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุสอดองคชาตเข้าช่องดาล ๒ เรื่อง___เรื่องภิกษุเสียดสีองคชาตกับไม้ ๒ เรื่อง
เรื่องภิกษุอาบน้ำทวนกระแส ๓ เรื่อง___เรื่องภิกษุเล่นน้ำโคลน ๓ เรื่อง
เรื่องภิกษุเดินลุยน้ำ ๓ เรื่อง___เรื่องภิกษุเล่นไถลก้น ๓ เรื่อง
เรื่องภิกษุเดินลุยสระบัว ๓ เรื่อง___เรื่องภิกษุสอดองคชาตเข้าในทราย ๒ เรื่อง
เรื่องภิกษุสอดองคชาตเข้าในตม ๒ เรื่อง___เรื่องภิกษุตักน้ำรดองคชาต ๓ เรื่อง
เรื่องภิกษุเสียดสีองคชาตบนที่นอน ๒ เรื่อง
เรื่องภิกษุเสียดสีองคชาตกับนิ้วหัวแม่มือ ๒ เรื่อง
วินีตวัตถุ
เรื่องภิกษุฝัน ๑ เรื่อง
[๒๖๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งน้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะความฝัน ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๗๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องภิกษุถ่ายอุจจาระ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังถ่ายอุจจาระ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความ
ประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒)
เรื่องภิกษุถ่ายปัสสาวะ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังถ่ายปัสสาวะ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความ
ประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓)
เรื่องภิกษุตรึกถึงกาม ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังครุ่นคิดถึงกามารมณ์ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอครุ่นคิดถึงกามารมณ์ ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๔)
เรื่องภิกษุอาบน้ำร้อน ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังอาบน้ำร้อน น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความ
ประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน กำลังอาบน้ำร้อน
น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำให้อสุจิเคลื่อน กำลังอาบน้ำร้อน
แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗)
เรื่องภิกษุทายา ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นแผลที่องคชาต กำลังทายา น้ำอสุจิเคลื่อน ท่าน
เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระ
พุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่
มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นแผลที่องคชาต ท่านมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน กำลังทายา น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นแผลที่องคชาต ท่านมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน กำลังทายา น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ
ให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๐)
เรื่องภิกษุเกาอัณฑะ ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังเกาลูกอัณฑะ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความ
ประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน กำลังเกาลูก
อัณฑะ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๑๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน กำลังเกาลูก
อัณฑะ น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอ
คิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๓)
เรื่องภิกษุเดินทาง ๓ เรื่อง
[๒๖๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังเดินทาง น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ไม่
มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๔)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน กำลังเดินทาง
น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๑๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน กำลังเดินทาง
น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๖)
เรื่องภิกษุบีบหนังหุ้มปลายองคชาต ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังถ่ายปัสสาวะ บีบหนังหุ้มปลายองคชาต น้ำอสุจิ
เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ
เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน กำลังถ่าย
ปัสสาวะ บีบหนังหุ้มปลายองคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำ
น้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๑๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน กำลังถ่าย
ปัสสาวะ บีบหนังหุ้มปลายองคชาต น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ
น้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๙)
เรื่องเรือนไฟ ๖ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอบหน้าท้องอยู่ในเรือนไฟ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า
ไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๐)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน อบหน้าท้อง
อยู่ในเรือนไฟ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๒๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน อบหน้าท้อง
อยู่ในเรือนไฟ น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๒๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนวดหลังให้พระอุปัชฌาย์ในเรือนไฟ น้ำอสุจิเคลื่อน
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้า
พระพุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอ
ไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน นวดหลังให้
พระอุปัชฌาย์ในเรือนไฟ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๒๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน นวดหลังให้พระ
อุปัชฌาย์ในเรือนไฟ น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำ
อสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๒๕)
เรื่องภิกษุใช้องคชาตเสียดสีขาอ่อน ๓ เรื่อง
[๒๖๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งใช้องคชาตเสียดสีขาอ่อน น้ำอสุจิเคลื่อน ท่าน
เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า
ไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๒๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงใช้องคชาต
เสียดสีขาอ่อน น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๒๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงใช้องคชาต
เสียดสีขาอ่อน น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอ คิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่อง ที่ ๒๘)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องใช้สามเณร ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ได้กล่าวกับ
สามเณรว่า “สามเณรมานี่ จงจับองคชาตของเรา” สามเณรจึงจับองคชาตของภิกษุ
นั้น ท่านน้ำอสุจิเคลื่อนแล้วเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๒๙)
เรื่องสามเณรนอนหลับ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจับองคชาตของสามเณรซึ่งนอนหลับ แล้วท่านน้ำอสุจิ
เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓๐)
เรื่องภิกษุใช้ขาหนีบองคชาต ๒ เรื่อง
[สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งใช้ขาหนีบองคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่
ต้องอาบัติ”]๑
[๒๖๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงใช้
ขาหนีบองคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๓๑)

เชิงอรรถ :
๑ [ ] ไม่มีเลขบอกลำดับเรื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงใช้ขาหนีบ
องคชาตแต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธ
เจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๓๒)
เรื่องภิกษุใช้มือบีบองคชาต ๒ เรื่อง
[สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งใช้มือบีบองคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่
ต้องอาบัติ”]๑
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงใช้มือบีบองค
ชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส ” (เรื่องที่ ๓๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงใช้มือบีบองค
ชาต แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระ
พุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๓๔)
เรื่องภิกษุส่ายสะเอวในอากาศ ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงส่ายสะเอวใน
อากาศ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ

เชิงอรรถ :
๑ [ ] ไม่มีเลขบอกลำดับเรื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๓๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงส่ายสะเอวใน
อากาศแต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๓๖)
เรื่องภิกษุบิดกาย ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบิดกาย น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๓๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน บิดกาย น้ำอสุจิ
เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส ” (เรื่องที่ ๓๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน บิดกาย แต่น้ำ
อสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๓๙)


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องภิกษุเพ่งองค์กำเนิด ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด เพ่งดูองค์กำเนิดมาตุคาม น้ำอสุจิเคลื่อน
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเพ่งดูองค์กำเนิดมาตุคาม ภิกษุใดเพ่งดู ภิกษุนั้น ต้อง
อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๔๐)
เรื่องภิกษุสอดองคชาตเข้าช่องดาล ๒ เรื่อง
[๒๖๗] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึง
สอดองคชาตเข้าช่องดาล๑ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๔๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงสอดองคชาต
เข้าช่องดาล แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๔๒)
เรื่องภิกษุเสียดสีองคชาตกับไม้ ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเอาไม้มา
เสียดสีองคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส

เชิงอรรถ :
๑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕, (กรุงเทพฯ : รพ.อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๓๖) หน้า
๒๙๘ “ช่องดาล” คือ รูสำหรับเขี่ยลูกดาล ช่องสำหรับไขดาล ส่วนเหล็กสำหรับไขดาลมีรูปเป็นมุมฉาก ๒
ทบอย่างคันฉัตรหลังพระพุทธรูป เรียกว่า “ลูกดาล” คำว่า “ดาล” เป็นชื่อกลอนประตูที่ทำด้วยไม้สำหรับขัด
บานประตู เช่น ประตูโบสถ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๔๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเอาไม้มา
เสียดสีองคชาต แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๔๔)
เรื่องภิกษุอาบน้ำทวนกระแส ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลงอาบน้ำทวนกระแส น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้
เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงอาบน้ำทวน
กระแส น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๔๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงอาบน้ำทวน
กระแส แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๔๗)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องภิกษุเล่นน้ำโคลน ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลงเล่นน้ำโคลน น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจ
ว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๔๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงลงเล่นน้ำโคลน
น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๔๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงลงเล่นน้ำ
โคลนแต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๕๐)
เรื่องภิกษุเดินลุยน้ำ ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินลุยน้ำ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๕๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเดินลุยน้ำ
น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๒)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเดินลุยน้ำ
แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอ
คิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๓)
เรื่องภิกษุเล่นไถลก้น ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเล่นไถลก้น น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๕๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเล่นไถลก้น
น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเล่นไถลก้น
แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอ
คิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน พระพุทธเจ้า
ข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๖)
เรื่องภิกษุเดินลุยสระบัว ๓ เรื่อง
[๒๖๘] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินลุยในสระบัว น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้
เคลื่อน ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๗)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเดินลุย
ในสระบัว น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๕๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเดินลุย
ในสระบัว แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๕๙)
เรื่องภิกษุสอดองคชาตเข้าในทราย ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงสอดองคชาต
เข้าในทราย น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส ” (เรื่องที่ ๖๐)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงสอดองคชาต
เข้าในทรายแต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๖๑)
เรื่องภิกษุสอดองคชาตเข้าในตม ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงสอดองคชาต
เข้าในตม น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงสอดองคชาต
เข้าในตม แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๖๓)
เรื่องภิกษุเอาน้ำรดองคชาต ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเอาน้ำรดองคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ไม่
ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๖๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเอาน้ำรด
องคชาต น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเอาน้ำรด
องคชาต แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๘๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องภิกษุเสียดสีองคชาตบนที่นอน ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเสียดสี
องคชาตบนที่นอน น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเสียดสี
องคชาตบนที่นอน แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๖๘)
เรื่องภิกษุเสียดสีองชาตกับนิ้วหัวแม่มือ ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเสียดสี
องคชาตกับนิ้วหัวแม่มือ น้ำอสุจิเคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๖๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงเสียดสี
องคชาตกับนิ้วหัวแม่มือ แต่น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗๐)
สุกกวิสัฏฐิสิกขาบทที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. กายสังสัคคสิกขาบท
ว่าด้วยการถูกต้องกายกับมาตุคาม
เรื่องพระอุทายี
[๒๖๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีอยู่ในป่า วิหารของ
ท่านสวยงาม น่าดู น่าชม ห้องกลางมีระเบียงรอบด้าน จัดเตียง ตั่ง ฟูก หมอนไว้
เรียบร้อย ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้พร้อม บริเวณวิหารเตียนสะอาด ชาวบ้านจำนวนมากพา
กันมาชม วิหารของท่าน พราหมณ์คนหนึ่งกับภรรยาเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่
กราบเรียนว่า “พวกข้าพเจ้าอยากชมวิหารของพระคุณเจ้า” ท่านพระอุทายีตอบว่า
“พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นเชิญชมเถิด” แล้วถือลูกกุญแจไขลิ่มผลักบานประตูเข้าไปยังวิหาร
พราหมณ์เดินตามหลังท่านพระอุทายีเข้าไป ส่วนภรรยาก็เดินตามหลัง
พราหมณ์เข้าไป
ขณะนั้นท่านพระอุทายีเดินไปเปิดปิดหน้าต่างบางตอน เวียนรอบห้องแล้ว
ย้อนมาข้างหลัง ได้จับต้องอวัยวะน้อยใหญ่ของนางพราหมณี
ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นได้ชื่นชมยินดีกับท่านพระอุทายีแล้วกลับไป เมื่อกลับไป
แล้ว พราหมณ์ได้เปล่งวาจาออกมาด้วยความดีใจว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
ที่อยู่ในป่าเช่นนี้มีอัธยาศัยกว้างขวาง แม้พระอุทายีผู้เจริญที่อยู่ในป่าเช่นนี้ก็มี
อัธยาศัยกว้างขวาง”
เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้ นางพราหมณีจึงบอกกับพราหมณ์ว่า “พระอุทายี
นั้นจะมีอัธยาศัยกว้างขวางที่ไหนกัน พระสมณอุทายีจับต้องอวัยวะน้อยใหญ่ของ
ดิฉันเหมือนที่ท่านจับนั่นแหละ”
พอได้ทราบเช่นนั้น พราหมณ์จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ ไม่มียางอาย ทุศีล ชอบกล่าวเท็จ แต่ก็ปฏิญญาว่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท นิทานวัตถุ
ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ พูดจริง มีศีล มีกัลยาณธรรม
พวกเธอไม่มีความเป็นสมณะ ไม่มีความเป็นพราหมณ์ ความเป็นสมณะความเป็น
พราหมณ์ของพวกเธอเสื่อมสิ้นไปแล้ว พวกเธอจะเป็นสมณะเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร
พวกเธอปราศจากความเป็นสมณะ ปราศจากความเป็นพราหมณ์ ไฉนพระสมณ
อุทายี จับต้องอวัยวะน้อยใหญ่ของภรรยาเราเล่า ต่อไปหญิงผู้มีตระกูล ลูกสาวผู้มีตระกูล
หญิงสาวผู้มีตระกูล หญิงสะใภ้ผู้มีตระกูล สาวใช้ประจำตระกูลจะไม่กล้าไปอาราม
หรือวิหารเป็นแน่ เพราะถ้าพวกเธอไปก็จะต้องถูกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
ประทุษร้ายเอา”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพราหมณ์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มัก
น้อยสันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา จึงตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงถูกต้องกายกับมาตุคามเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิพระอุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้ว
ทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่าเธอถูกต้องกายกับมาตุคามจริงหรือ”
ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า
“โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของ
สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงถูกต้องกายกับมาตุคามเล่า เราแสดงธรรม
โดยประการต่าง ๆ เพื่อคลายความกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัด ฯลฯ เราบอก
การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกามไว้โดยประการต่าง ๆ มิใช่หรือ การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น ได้เลย
ที่จริง กลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวก
ก็จะกลายเป็นอื่นไป” ตรัสโทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ คุณแห่งการปรารภ
ความเพียร แล้วทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายให้เหมาะสมกับเรื่องนั้นแล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๙๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๒๗๐] ก็ภิกษุใดถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตแปรปรวน ถูกต้องกายกับ
มาตุคาม คือ จับมือ จับช้องผมหรือลูบคลำอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นสังฆาทิเสส
เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๗๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ถูกราคะครอบงำแล้ว คือ มีความยินดี เพ่งเล็ง มีจิตรักใคร่
คำว่า แปรปรวน ความว่า จิตกำหนัดแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตโกรธแล้ว
ชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตหลงแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง แต่จิตกำหนัดแล้ว พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์ว่า แปรปรวน ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย หญิงมนุษย์นั้นโดยที่สุดกระทั่งเด็กหญิงซึ่งเกิดในวันนั้น หญิงโตกว่า
นี้ไม่ต้องกล่าวถึง
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า ถูกต้อง คือ ท่านกล่าวถึงความประพฤติล่วงเกิน
ที่ชื่อว่า มือ หมายเอาตั้งแต่ข้อศอกถึงปลายเล็บ
ที่ชื่อว่า ช้องผม ได้แก่ เส้นผมล้วนๆ หรือแซมด้าย แซมดอกไม้ แซมเงิน
แซมทอง แซมแก้วมุกดา หรือแซมแก้วมณี
ที่ชื่อว่า อวัยวะ คือ ยกเว้นมือและช้องผม นอกนั้นชื่อว่าอวัยวะ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

บทภาชนีย์
มาติกา
[๒๗๒] จับต้อง ลูบคลำ ลูบลง ลูบขึ้น จับกดลง จับให้เงยขึ้น ฉุดมา ผลักไป
นวด บีบ จับ ต้อง
ที่ชื่อว่า จับต้อง คือ กิริยาเพียงแต่ลูบคลำ
ที่ชื่อว่า ลูบคลำ คือ ลูบคลำไปทางโน้นทางนี้
ที่ชื่อว่า ลูบลง คือ ลูบลงเบื้องล่าง
ที่ชื่อว่า ลูบขึ้น คือ ลูบขึ้นเบื้องบน
ที่ชื่อว่า จับกดลง คือ จับโน้มลงข้างล่าง
ที่ชื่อว่า จับให้เงยขึ้น คือ จับให้เงยขึ้นข้างบน
ที่ชื่อว่า ฉุดมา คือ รั้งมา
ที่ชื่อว่า ผลักไป คือ ผลักออกไป
ที่ชื่อว่า นวด คือ จับอวัยวะแล้วบีบนวด
ที่ชื่อว่า บีบ คือ บีบรัดกับผ้าหรืออาภรณ์บางอย่าง
ที่ชื่อว่า จับ คือ ลักษณะเพียงแต่จับ
ที่ชื่อว่า ต้อง คือ ลักษณะเพียงสัมผัส
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและเรียกเข้าหมู่ คณะก็ทำไม่ได้ ภิกษุรูปเดียวก็ทำไม่ได้
ฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นสังฆาทิเสส
คำว่า “เป็นสังฆาทิเสส” นี้ เป็นการขนานนาม เป็นชื่อของหมวดอาบัตินั้น
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

ภิกขุเปยยาล
หญิง
[๒๗๓] (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ลูบลง ลูบขึ้น จับกดลง จับให้เงยขึ้น ฉุดมา ผลักไป
นวด บีบ จับ ต้องกายของหญิง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ
ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ
ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ
ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

ชาย
(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของชาย ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ
ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของชาย ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของชาย ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของชาย ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ
ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของชาย ต้องอาบัติทุกกฏ
สัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความ
กำหนั์ด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของสัตว์ดิรัจฉาน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
เอกมูลกนัย จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

หญิง ๒ คน
[๒๗๔] (๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิงทั้ง ๒ คน
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิงทั้ง ๒ คน ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิงทั้ง ๒ คน
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๒ คน
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของบัณเฑาะก์ ๒
คน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำฯลฯ จับ ต้องกายของบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

ชาย ๒ คน
(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัดจัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของชายทั้ง ๒ คน ต้อง
อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของชายทั้ง ๒ คน ต้อง
อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ตัว
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของสัตว์
ดิรัจฉานทั้ง ๒ ตัว ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ตัว
ฯลฯ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ ตัวและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้ง ๒ ตัว ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

หญิงและบัณเฑาะก์
[๒๗๕] (๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คน
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและบัณเฑาะก์
ทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของ
คนทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ คน
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
หญิงและชาย
(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คน และมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒ คน ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและชายทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์
(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
หญิงและสัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ และมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒ ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและสัตว์
ดิรัจฉานทั้ง ๒ และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ
ต้องกายของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ และ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒ ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ และมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒ ต้องอาบัติ
ทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จ้บต้องกายของทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

บัณเฑาะก์และชาย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับต้องกายของคนทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และชายทั้ง ๒
คน ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ คน
ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒ คน
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และ
สัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้ง ๒ ฯลฯ
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ และ
มีความกำหนัด(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๐๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

ชายและสัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ และมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว
(๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้ง ๒ ฯลฯ
(๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ฯลฯ
(๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ ฯลฯ
(๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ และมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของทั้ง ๒ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว
ทุมูลกนัย จบ

ของที่เนื่องด้วยกายของหญิง
[๒๗๖] (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกายของหญิง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกายของหญิงทั้ง ๒ คน
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกาย
ของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องกายของหญิง
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของหญิงทั้ง ๒
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกาย
ของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของหญิง
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกายของหญิง ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกาย
ของหญิงทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่
เนื่องด้วยกายของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
ของที่โยนไปถูกต้องกายของหญิง
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
ของโยนไปถูกต้องกายของหญิง ต้องอาบัติทุกกฎ ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องกายของหญิงทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องกายของคนทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒
ตัว ฯลฯ
ของที่โยนไปถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของหญิง
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของหญิง ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒
ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของทั้ง ๒ คน ต้อง
อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้
ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมาของหญิง ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมาของหญิงทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒
ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
ภิกขุเปยยาล จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

อิตถีเปยยาล
หญิงถูกต้องกายของภิกษุ
[๒๗๗] (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) หญิงใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ลูบลง ลูบขึ้น จับกดลง จับให้เงยขึ้น ฉุดมา ผลักไป
นวด บีบ จับ ต้องกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้
สัมผัส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) หญิงทั้ง ๒ ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ลูบลง ลูบขึ้น จับกดลง จับให้เงยขึ้น ฉุดมา
ผลักไป นวด บีบ จับ ต้องกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย
รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ทั้ง ๒ ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของภิกษุ ภิกษุมี
ความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องทุกกฏกับอาบัติสังฆาทิเสส
ฯลฯ
หญิงถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของภิกษุ
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) หญิงใช้
กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกายของภิกษุ ภิกษุมีความ
ประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) หญิงทั้ง ๒ ใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกายของภิกษุ
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ทั้ง ๒ คนใช้กายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วย
กายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับผู้สัมผัส ต้องอาบัติ
ทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

หญิงใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องกายของภิกษุ
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) หญิงใช้
ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของภิกษุ ภิกษุมีความ
ประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) หญิงทั้ง ๒ คนใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกายของภิกษุ
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ทั้ง ๒ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องกาย
ของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติ
ทุกกฏกับอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
[๒๗๘] (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) หญิงใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วยกาย
ของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ
ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) หญิงทั้ง ๒ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่เนื่องด้วย
กายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ทั้ง ๒ ใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้อง ลูบคลำ ฯลฯ จับ ต้องของที่
เนื่องด้วยกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท บทภาชนีย์

หญิงใช้ของที่โยนถูกต้องกายของภิกษุ
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) หญิงใช้
ของโยนมาถูกต้องกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับ
รู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) หญิงทั้ง ๒ ใช้ของโยนมาถูกต้องกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ
พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ทั้ง ๒ ใช้ของโยนมาถูกต้องกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์
จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
หญิงใช้ของที่โยนถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของภิกษุ
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) หญิงใช้
ของโยนมาถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ
พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ทั้ง ๒ เอาของโยนมาถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของภิกษุ ภิกษุมีความประสงค์
จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ทั้ง ๒ เอาของโยนมาถูกต้องของที่เนื่องด้วยกายของภิกษุ ภิกษุมี
ความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
หญิงใช้ของที่โยนถูกต้องของที่โยนของภิกษุ
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) หญิงใช้
ของโยนมาถูกต้องของที่ภิกษุโยนไป ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย
แต่ไม่รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท อนาปัตติวาร
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัด (๓) ทั้ง ๒ ใช้ของโยนมาถูกต้องของที่ภิกษุโยนไป ภิกษุมีความประสงค์
จะเสพ พยายามด้วยกาย แต่ไม่รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ทั้ง ๒ ใช้ของโยนมาถูกต้องของที่ภิกษุโยนไป ภิกษุมีความ
ประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย แต่ไม่รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ฯลฯ
อิตถีเปยยาล จบ
[๒๗๙] ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย แต่ไม่รับรู้สัมผัส ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ แต่ไม่พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ ไม่พยายามด้วยกาย และไม่รับรู้สัมผัส ไม่ต้อง
อาบัติ
ภิกษุมีความประสงค์จะให้พ้น พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุมีความประสงค์จะให้พ้น พยายามด้วยกาย แต่ไม่รับรู้สัมผัส ไม่ต้อง
อาบัติ
ภิกษุมีความประสงค์จะให้พ้น แต่ไม่พยายามด้วยกาย รับรู้สัมผัส ไม่ต้อง
อาบัติ
ภิกษุมีความประสงค์จะให้พ้น ไม่พยายามด้วยกาย และไม่รับรู้สัมผัส ไม่
ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๐๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท วินีตวัตถุ
[๒๘๐] ๑. ภิกษุไม่จงใจ
๒. ภิกษุถูกต้องเพราะไม่มีสติ
๓. ภิกษุไม่รู้
๔. ภิกษุไม่ยินดี
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน
๗. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว
เรื่องมารดา ๑ เรื่อง___เรื่องธิดา ๑ เรื่อง
เรื่องน้องสาว ๑ เรื่อง___เรื่องอดีตภรรยา ๑ เรื่อง
เรื่องนางยักษ์ ๑ เรื่อง___เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงนอนหลับ ๑ เรื่อง___เรื่องหญิงที่ตายแล้ว ๑ เรื่อง
เรื่องสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ๑ เรื่อง___เรื่องตุ๊กตาไม้ ๑ เรื่อง
เรื่องหญิงร่วมกันฉุด ๑ เรื่อง___เรื่องสะพาน ๑ เรื่อง
เรื่องหนทาง ๑ เรื่อง___เรื่องต้นไม้ ๑ เรื่อง
เรื่องเรือ ๑ เรื่อง___เรื่องเชือก ๑ เรื่อง
เรื่องท่อนไม้ ๑ เรื่อง___เรื่องใช้บาตรดัน ๑ เรื่อง
เรื่องไหว้ ๑ เรื่อง___เรื่องพยายามแต่มิได้จับต้อง ๑ เรื่อง
วินีตวัตถุ
เรื่องมารดา ๑ เรื่อง
[๒๘๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องมารดาด้วยความรักฉันแม่ลูก ท่าน
เกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๐๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท วินีตวัตถุ
ผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่
ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑)
เรื่องธิดา ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องธิดาด้วยความรักฉันพ่อลูก ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ”
(เรื่องที่ ๒)
เรื่องน้องสาว ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องน้องสาวด้วยความรักฉันน้องสาว ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓)
เรื่องอดีตภรรยา ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกต้องกายกับอดีตภรรยา ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๔)
เรื่องนางยักษ์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกต้องกายกับนางยักษ์ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๑๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องบัณเฑาะก์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกต้องกายกับบัณเฑาะก์ ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่งนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๖)
เรื่องหญิงนอนหลับ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกต้องกายกับหญิงนอนหลับ ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่องที่ ๗)
เรื่องหญิงที่ตายแล้ว ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกต้องกายกับหญิงที่ตายแล้ว ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง
ที่ ๘)
เรื่องสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกต้องกายกับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ทุกกฏ” (เรื่องที่ ๙)
เรื่องตุ๊กตาไม้ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกต้องกายกับตุ๊กตาไม้ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เรา
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๐)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องหญิงร่วมกันฉุด ๑ เรื่อง
[๒๘๒] สมัยนั้น หญิงจำนวนมากจับแขนต่อ ๆ กันโอบภิกษุรูปหนึ่งพาไป
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอยินดีหรือ” “ไม่ยินดี
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๑)
เรื่องสะพาน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด จึงเขย่าสะพานไม้ที่หญิงเดินขึ้นไป
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๒)
เรื่องหนทาง ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพบหญิงเดินสวนทางมา มีความกำหนัดจึงกระทบไหล่
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส”
(เรื่องที่ ๑๓)
เรื่องต้นไม้ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด จึงเขย่าต้นไม้ที่หญิงขึ้นไป ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๔)
เรื่องเรือ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด จึงโคลงเรือที่หญิงนั่ง ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๒. กายสังสัคคสิกขาบท วินีตวัตถุ
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้อง
อาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๕)
เรื่องเชือก ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด จึงดึงเชือกที่หญิงจับไว้ ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๖)
เรื่องท่อนไม้ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด จึงฉุดท่อนไม้ที่หญิงถือไว้ ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๗)
เรื่องใช้บาตรดัน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ใช้บาตรดันหญิง ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๑๘)
เรื่องไหว้ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ยกเท้าถูกหญิงผู้กำลังไหว้ ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส” (เรื่อง
ที่ ๑๙)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท วินีตวัตถุ

เรื่องพยายามแต่มิได้จับต้อง ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพยายามจะจับหญิงแต่ไม่ได้ถูกตัว ท่านเกิดความกังวล
ใจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฏ”
(เรื่องที่ ๒๐)
กายสังสัคคสิกขาบทที่ ๒ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท
ว่าด้วยการพูดเกี้ยวหญิง
เรื่องพระอุทายี
[๒๘๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีอยู่ในป่า วิหารของ
ท่านสวยงาม น่าดู น่าชม หญิงจำนวนมากพากันไปที่วัดเพื่อชมวิหาร พากันเข้าไป
หาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว กล่าวว่า “พวกดิฉันต้องการชมวิหาร
ของพระคุณเจ้า เจ้าค่ะ”
ท่านพระอุทายีพาหญิงเหล่านั้นชมวิหาร พูดชมบ้าง พูดติบ้าง ขอบ้าง
อ้อนวอนบ้าง ถามบ้าง ถามซ้ำบ้าง บอกบ้าง สอนบ้าง ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก
ทวารเบาของหญิงเหล่านั้น
พวกหญิงที่ไม่กลัวบาป ใจถึง ไม่มียางอาย บ้างก็ยิ้มพราย บ้างก็พูดยั่ว บ้าง
ก็กระซิกกระซี้ บ้างก็กระเซ้ากับท่านพระอุทายี ส่วนพวกหญิงที่มีความละอายใจ
ก็เลี่ยงออกไปแล้วฟ้องภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านเจ้าข้า คำเช่นนี้ไม่เหมาะ ไม่ควร สามี
พูดเช่นนี้พวกเราก็ยังไม่ชอบ นี่พระคุณเจ้าอุทายีมาพูดได้อย่างไร”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายี จึงพูดเกี้ยวมาตุคาม
ด้วยวาจาชั่วหยาบเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่ว
หยาบจริงหรือ” ท่านทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า
“โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบเล่า โมฆบุรุษ เรา
แสดงธรรมโดยประการต่าง ๆ เพื่อคลายความกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัด ฯลฯ
เราบอกการระงับความกลัดกลุ้มเพราะกามไว้โดยประการต่าง ๆ มิใช่หรือ โมฆบุรุษ
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้ว จึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๒๘๔] ก็ภิกษุใดถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตแปรปรวน พูดเกี้ยวมาตุคาม
ด้วยวาจาชั่วหยาบ พาดพิงเมถุน เหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว เป็น
สังฆาทิเสส
เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๘๕] คำว่า ก็...ใด คือผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ถูกราคะครอบงำแล้ว คือ มีความยินดี เพ่งเล็ง มีจิตรักใคร่
คำว่า แปรปรวน ความว่า จิตกำหนัดแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตโกรธแล้ว
ชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตหลงแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง แต่จิตกำหนัดแล้ว พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์ว่า แปรปรวน ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิต ทุพภาษิต คำ
หยาบและคำสุภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๓๑๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์
วาจาที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ ถ้อยคำที่พาดพิงเมถุนธรรมทางทวารหนัก
ทวารเบา
คำว่า พูดเกี้ยว นี้ ท่านเรียกความประพฤติล่วงเกิน
คำว่า เหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว ได้แก่ หนุ่มพูดเกี้ยวสาว ชายวัย
รุ่นพูดเกี้ยวหญิงวัยรุ่น คือ ชายผู้บริโภคกามพูดเกี้ยวหญิงผู้บริโภคกาม
คำว่า พาดพิงเมถุน ได้แก่ ถ้อยคำเกี่ยวกับเมถุนธรรม
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินี้ สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
บทภาชนีย์
มาติกา
ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ขอบ้าง อ้อนวอนบ้าง ถามบ้าง ถามซ้ำบ้าง บอกบ้าง
สอนบ้าง ด่าบ้าง พาดพิงทวารทั้งสอง
ที่ชื่อว่า พูดชม คือ พูดชมเชย พรรณนา พูดสรรเสริญทวารทั้งสอง
ที่ชื่อว่า พูดติ คือ พูดข่ม พูดเสียดสี พูดติเตียนทวารทั้งสอง
ที่ชื่อว่า ขอ คือ พูดว่า “จงให้แก่เรา ควรให้แก่เรา”
ที่ชื่อว่า อ้อนวอน คือ พูดว่า “เมื่อไรมารดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรบิดา
ของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรเทวดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรเธอจะมีขณะดี มีลยะดี มี
ครู่ดี เมื่อไรเราจะได้เสพเมถุนธรรมกับเธอ”
ที่ชื่อว่า ถาม คือ ถามว่า “เธอให้แก่สามีอย่างไรหรือให้แก่ชายชู้อย่างไร”
ที่ชื่อว่า ถามซ้ำ คือ สอบถามว่า “ทราบว่า เธอให้แก่สามีอย่างนี้ ให้แก่ชายชู้
อย่างนี้หรือ”
ที่ชื่อว่า บอก คือ พอถูกถามจึงบอกว่า “เธอจงให้อย่างนี้ เมื่อให้อย่างนี้
จะเป็นที่รักใคร่พอใจของสามี”

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า สอน คือ เขาไม่ถามก็สอนว่า “เธอจงให้อย่างนี้ เมื่อให้อย่างนี้
จะเป็นที่รักใคร่พอใจของสามี”
ที่ชื่อว่า ด่า คือ ด่าว่า “เธอไม่มีเครื่องหมายเพศ เธอสักแต่ว่ามีเครื่องหมาย
เพศ เธอไม่มีประจำเดือน เธอมีประจำเดือนไม่หยุด เธอใช้ผ้าซับเสมอ เธอเป็นคน
ไหลซึม เธอมีเดือย เธอเป็นบัณเฑาะก์หญิง เธอมีลักษณะคล้ายชาย เธอมีทวาร
หนักทวารเบาติดกัน เธอมีสองเพศ”
หญิง
[๒๘๖] (๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ขอบ้าง อ้อนวอนบ้าง ถามบ้าง ถามซ้ำบ้าง บอกบ้าง
สอนบ้าง ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของหญิง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุไม่แน่ใจหญิงว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็น
บัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบา
ของหญิง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของ
บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็น
ชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของ
บัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

ชาย
(๑) เป็นชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ ไม่แน่ใจว่าเป็นชาย ฯลฯ
สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก
ทวารเบาของชาย ต้องอาบัติทุกกฏ
สัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ ไม่แน่ใจว่า
เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ
สำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง
พาดพิงทวารหนักทวารเบาของสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ
หญิง ๒ คน
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของหญิงทั้ง ๒
คน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คน ฯลฯ สำคัญว่า
เป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบา
ของหญิงทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๒ คน
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญก์ว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวาร
เบาของบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์
(๑) เป็นบัณเฑาะก์ ๒ คน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน
ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก
ทวารเบาของบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ชาย ๒ คน
(๑) เป็นชาย ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ ไม่แน่ใจว่า
เป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่า
เป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง
พาดพิงทวารหนักทวารเบาของชายทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ตัว ฯลฯ
ไม่แน่ใจว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์
ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชายและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่า
บ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ตัว ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
หญิงและบัณเฑาะก์
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวาร
เบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและบัณเฑาะก์ (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและบัณเฑาะก์
ทั้ง ๒ คน ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย
ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง
ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับ
ถุลลัจจัย

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

หญิงและชาย
(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความ
กำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของ
ทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและชายทั้ง ๒ คน ฯลฯ
สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก
ทวารเบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย
หญิงและสัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ และมี
ความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวาร
เบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
(๑) เป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นหญิงและสัตว์ดิรัจฉาน
ทั้ง ๒ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็น
สัตว์ดิรัจฉานและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิง
ทวารหนักทวารเบาของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์และชาย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒ คนและ
มีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวาร
เบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และชาย (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และชายทั้ง ๒
คน ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญว่าเป็น
หญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวาร
หนักทวารเบาของทั้ง ๒ คน ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์] ๓. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

บัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้ง ๒
และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนัก
ทวารเบาของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏกับถุลลัจจัย
(๑) เป็นบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุไม่แน่ใจว่าเป็นบัณเฑาะก์และ
สัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นชาย ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ
สำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง
พาดพิงทวารหนักทวารเบาของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ชายและสัตว์ดิรัจฉาน
(๑) เป็นชายและสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นชายทั้ง ๒ ฯลฯ ไม่แน่
ใจว่าเป็นชายและสัตว์ดิรัจฉานทั้ง ๒ ฯลฯ สำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ สำคัญ
ว่าเป็นหญิง ฯลฯ สำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์และมีความกำหนัด (๓) ภิกษุพูดชมบ้าง
พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงทวารหนักทวารเบาของทั้ง ๒ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒ ตัว
ใต้รากขวัญและเหนือเข่า
(๑) เป็นหญิง (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงและมีความกำหนัด (๓) ภิกษุ
พูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา
อวัยวะเบื้องต่ำเหนือเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนักและทวารเบาของหญิง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ฯลฯ
(๑) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิง ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
(๑) เป็นหญิง ๒ คน (๒) ภิกษุสำคัญว่าเป็นหญิงทั้ง ๒ คนและมีความกำหนัด
(๓) ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ฯลฯ ด่าบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา
อวัยวะเบื้องต่ำเหนือเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนักและทวารเบาของหญิงทั้ง ๒ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ๒ ตัว ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น