Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๒-๒ หน้า ๖๒ - ๑๒๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒-๒ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๒
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๙.ทุติยอุปักขฏสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๓๖] ๑. ภิกษุขอจากคฤหัสถ์ที่เป็นญาติ
๒. ภิกษุขอจากคฤหัสถ์ที่ปวารณา
๓. ภิกษุขอเพื่อภิกษุรูปอื่น
๔. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๕. ภิกษุผู้เมื่อพวกคฤหัสถ์ต้องการซื้อจีวรราคาแพง ตนเองกลับให้
ซื้อจีวรราคาถูก
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทุติยอุปักขฏสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค
๑๐. ราชสิกขาบท
ว่าด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรที่พระราชาเป็นต้นให้ทูตนำมาถวาย
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๓๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น มหาอมาตย์อุปัฏฐากของท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรส่งทูตไปถวายทรัพย์เป็นค่าจีวร และสั่งว่า “เธอจงเอาทรัพย์ เป็น
ค่าจีวรนี้ซื้อจีวรแล้วนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครอง”
ต่อมา ทูตนั้นได้เข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้
กล่าวกับท่านว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็นค่าจีวรมาเจาะจงท่าน นิมนต์
ท่านรับทรัพย์เป็นค่าจีวรเถิด ขอรับ”
เมื่อทูตกล่าวอย่างนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวว่า “อาตมารับ
ทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควรตามกาล”
เมื่อท่านกล่าวอย่างนั้น ทูตถามว่า “มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านบ้างไหม”
ขณะนั้น อุบาสกคนหนึ่งมีธุระไปที่วัด ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงกล่าวกับ
ทูตว่า “อุบาสกนี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย”
ทูตนั้นจึงตกลงกับอุบาสกแล้วเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่กล่าวว่า
“ท่านผู้เจริญ กระผมตกลงกับอุบาสกที่ท่านแนะนำว่าเป็นไวยาวัจกรแล้ว ท่านจงไป
หาในเวลาอันสมควร เขาจักนิมนต์ท่านให้ครองจีวร”
ต่อมา มหาอมาตย์ส่งทูตให้ไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรให้กราบเรียนว่า
“ขอให้พระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรเถิด กระผมต้องการจะให้พระคุณเจ้าใช้จีวรนั้น”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไม่กล่าวอะไรกับอุบาสกนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท นิทานวัตถุ
แม้ครั้งที่ ๒ มหาอมาตย์ก็ส่งทูตให้ไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ให้กราบ
เรียนว่า “ขอให้พระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรเถิด กระผมต้องการจะให้พระคุณเจ้าใช้จีวรนั้น”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็ยังไม่กล่าวอะไรกับอุบาสกนั้น
แม้ครั้งที่ ๓ มหาอมาตย์ก็ส่งทูตไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ให้กราบ
เรียนว่า “ขอให้พระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรเถิด กระผมต้องการจะให้พระคุณเจ้าใช้สอย
จีวรนั้น”
สมัยนั้นเป็นคราวประชุมของชาวนิคม ก็ชาวนิคมได้ตั้งกติกาไว้ว่า ผู้มาประชุม
ล่าช้าต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ
ต่อมา ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไปหาอุบาสกถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวว่า
“อาตมาต้องการจีวร”
อุบาสกกล่าวว่า “โปรดรอสักวันหนึ่งเถิด ขอรับ วันนี้เป็นคราวประชุมของชาว
นิคม และชาวนิคมได้ตั้งกติกาว่า ผู้มาประชุมล่าช้าต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “จงถวายจีวรอาตมาวันนี้แหละ” แล้วยึด
ชายพกไว้
อุบาสกถูกท่านพระอุปนันทศากยบุตรรบเร้าจึงได้ซื้อจีวรถวายท่านพระอุปนันท
ศากยบุตรแล้วไปประชุมล่าช้า
ชาวบ้านถามว่า “เหตุไรท่านมาล่าช้า ท่านต้องเสียค่าปรับ ๕๐ กหาปณะ”
ทีนั้น อุบาสกจึงเล่าเรื่องนั้นให้ชาวบ้านเหล่านั้นทราบ พวกชาวบ้านพากัน
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้มักมาก
ไม่สันโดษ ยากที่ใคร ๆ จะให้ความช่วยเหลือสมณะเหล่านั้นได้ ไฉนท่านพระอุปนันท
ศากยบุตร เมื่ออุบาสกกล่าวว่า ‘โปรดรอสักวันหนึ่งเถิด ขอรับ’ ก็ไม่ยอมรอ”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านอุปนันทศากยบุตรผู้
ซึ่งอุบาสกขอร้องอยู่ว่า ‘ท่านผู้เจริญ โปรดรอสักวันหนึ่ง’ ก็ไม่ยอมรอ” ครั้นภิกษุ
เหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า อุบาสกกล่าวกับเธอ
ว่า ‘โปรดรอสักวันหนึ่งเถิดขอรับ’ เธอก็ไม่ยอมรอ จริงหรือ” ท่านพระอุปนันท
ศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอผู้ซึ่งอุบาสกกล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านจงรอสักวันหนึ่งเถิด
ขอรับ’ ก็ไม่ยอมรอเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๓๘] ก็ พระราชา ราชอมาตย์ พราหมณ์หรือคหบดีผู้ใดผู้หนึ่งส่งทูตมา
ถวายทรัพย์เป็นค่าจีวรเจาะจงภิกษุพร้อมกับสั่งว่า “ท่านจงเอาทรัพย์เป็นค่าจีวร
นี้ซื้อจีวร แล้วนิมนต์ภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร” ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าว
อย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้มาเจาะจงพระคุณเจ้า
พระคุณเจ้าจงรับทรัพย์เป็นค่าจีวรเถิด” ภิกษุนั้นพึงกล่าวกับทูตนั้นอย่างนี้ว่า
“พวกอาตมารับทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควรตามกาล” ถ้าทูต
นั้นพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ก็มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านบ้างไหม”
ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงคนวัดหรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรว่า “ผู้นี้เป็น
ไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย” ถ้าทูตตกลงกับไวยาวัจกรแล้วเข้าไปหาภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าตกลงกับคนที่ท่านแนะนำว่าเป็นไวยาวัจกรแล้ว ท่าน
จงไปหาในเวลาอันสมควร เขาจะนิมนต์ท่านให้ครองจีวร” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ต้องการจีวรพึงเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วทวงหรือเตือน ๒-๓ ครั้งว่า “อาตมา
ต้องการจีวร” เมื่อทวงหรือเตือน ๒-๓ ครั้ง ให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ นั่นเป็น
การดี ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปยืนแสดงตนนิ่ง ๆ ถึง ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง หรือ ๖ ครั้ง
เป็นอย่างมาก เมื่อยืนแสดงตนนิ่ง ๆ ถึง ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง หรือ ๖ ครั้งเป็นอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
มากแล้วให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ นั่นเป็นการดี ถ้าพยายามเกินกว่านั้น ให้เขาจัด
จีวรสำเร็จได้ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปเองหรือส่งทูตไป
ในสำนักที่เขาส่งทรัพย์เป็นค่าจีวรมา กล่าวว่า “ทรัพย์เป็นค่าจีวรที่ท่านส่งไป
เจาะจงภิกษุรูปใดไม่ได้อำนวยประโยชน์อะไรแก่ภิกษุรูปนั้นเลย ท่านจงทวง
ทรัพย์ของท่านคืนมา ทรัพย์ของท่านอย่าเสียหายเลย” นี้เป็นการทำที่สมควร
ในเรื่องนั้น
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๓๙] คำว่า ก็...เจาะจงภิกษุ ได้แก่ เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ มุ่ง
เฉพาะภิกษุ ปรารถนาจะให้ภิกษุครองจีวร
ที่ชื่อว่า พระราชา ได้แก่ ผู้ครองราชสมบัติ
ที่ชื่อว่า ราชอมาตย์ ได้แก่ ข้าราชการที่พระราชาทรงชุบเลี้ยง
ที่ชื่อว่า พราหมณ์ ได้แก่ พราหมณ์โดยกำเนิด
ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ คนที่เหลือ ยกเว้นพระราชา ราชอมาตย์ พราหมณ์
ชื่อว่าคหบดี
ที่ชื่อว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา (แก้วตาแมว
หรือแก้วผลึก)
คำว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า ซื้อ คือ แลกเปลี่ยน
คำว่า นิมนต์ให้ครอง คือ จงถวาย
ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นพึงกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็น
ค่าจีวรนี้มาเจาะจงท่าน ท่านจงรับทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้เถิด” ภิกษุนั้นพึงกล่าวกับทูต
นั้นอย่างนี้ว่า “พวกอาตมารับทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควร
ตามกาล” ถ้าทูตกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
บ้างไหม” ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงคนวัดหรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรว่า “ผู้นั้น
เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย” ไม่พึงกล่าวว่า “จงให้แก่ผู้นั้น” หรือว่า “ผู้นั้นจะ
เก็บไว้” หรือ “ผู้นั้นจะแลก” หรือ “ผู้นั้นจักซื้อ”
ถ้าทูตตกลงกับไวยาวัจกรแล้วพึงเข้าไปหาภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “กระผมตกลง
กับคนที่ท่านแนะว่าเป็นไวยาวัจกรแล้ว ท่านจงไปหาในเวลาอันสมควร เขาจะนิมนต์
ท่านให้ครองจีวร” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุต้องการจีวรพึงเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วทวง
หรือเตือน ๒-๓ ครั้งว่า “อาตมาต้องการจีวร” ไม่พึงกล่าวกับเขาว่า “ท่านจงให้
จีวรแก่อาตมา นำจีวรมาให้อาตมา แลกจีวรให้อาตมา หรือจงซื้อจีวรให้อาตมา”
แม้ครั้งที่ ๒ ก็พึงกล่าวกับเขา แม้ครั้งที่ ๓ ก็พึงกล่าวกับเขา ถ้าให้เขาจัดการ
สำเร็จได้ นั้นเป็นการดี ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปยืนแสดงตนนิ่ง ๆ ในที่นั้น ไม่พึงนั่งบน
อาสนะ ไม่พึงรับอามิส ไม่พึงกล่าวธรรม เมื่อเขาถามว่า “มาธุระอะไร” พึงกล่าว
กับเขาว่า “ท่านจงรู้เองเถิด” ถ้านั่งบนอาสนะ หรือรับอามิส หรือกล่าวธรรม ชื่อว่า
ตัดโอกาส๑ แม้ครั้งที่ ๒ ก็พึงยืน แม้ครั้งที่ ๓ ก็พึงยืน ทวง ๔ ครั้งพึงยืนได้ ๔ ครั้ง
ทวง ๕ ครั้งพึงยืนได้ ๒ ครั้ง ทวง ๖ ครั้งแล้วไม่พึงไปยืน๒ ถ้าเธอพยายามยิ่งกว่านั้น
ให้เขาจัดจีวรสำเร็จ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา
คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผมให้
เขาจัดสำเร็จด้วยอาการทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละ
จีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ ตัดโอกาส คือ ตัดเหตุแห่งการมา (อาคตการณํ ภ�ฺชติ วิ.อ. ๒/๕๓๘-๕๓๙/๑๘๑)
๒ ทวง ๑ ครั้งมีค่าเท่ากับยืน ๒ ครั้ง (วิ.อ. ๒/๕๓๘-๕๓๙/๑๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืน
นี้กระผมให้เขาจัดสำเร็จด้วยอาการทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมให้เขาจัดสำเร็จด้วยอาการ
ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
ถ้าทำไม่สำเร็จ พึงไปเองหรือส่งทูตไปในสำนักที่เขาส่งทรัพย์เป็นค่าจีวรมา
กล่าวว่า “ทรัพย์ที่ท่านส่งไปเจาะจงภิกษุรูปใด ไม่ได้อำนวยประโยชน์อะไรแก่ภิกษุ
รูปนั้นเลย ท่านจงทวงทรัพย์ของท่านคืนมา ทรัพย์ของท่านอย่าฉิบหายเลย”
คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๔๐] ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ให้เขาจัดจีวร
สำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุไม่แน่ใจ ให้เขาจัดจีวรสำเร็จ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ให้เขาจัดจีวรสำเร็จ
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่
ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔๑] ๑. ภิกษุทวง ๓ ครั้ง ยืน ๖ ครั้ง
๒. ภิกษุทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง
๓. ภิกษุไม่ได้ทวง ไวยาวัจกรจัดถวายเอง
๔. ภิกษุรับจีวรที่เจ้าของทวงมาถวาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท รวมสิกขาบทที่มีในจีวรวรรค
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
ราชสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
จีวรวรรคที่ ๑ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในจีวรวรรค
จีวรวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. ปฐมกฐินสิกขาบท ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๑
๒. อุทโทสิตสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเก็บจีวรไว้ในโรงเก็บของ
(ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๒)
๓. ตติยกฐินสิกขาบท ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๓
๔. ปุราณจีวรสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักจีวรเก่า
๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท ว่าด้วยการรับจีวร
๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ
๗. ตตุตตริสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอจีวรเกิน
๘. อุปักขฏสิกขาบท ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวร
๙. ทุติยอุปักขฏสิกขาบท ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวรข้อ
ที่ ๒
๑๐. ราชสิกขาบท ว่าด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรที่พระราชาเป็นต้น
ให้ทูตนำมาถวาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑.โกสิยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค
หมวดว่าด้วยสันถัตใยไหม
๑. โกสิยสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสันถัตใยไหม
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต
เมืองอาฬวี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวกช่างทอผ้าไหมแล้วกล่าวอย่าง
นี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้แก่พวกอาตมาบ้าง พวก
อาตมาต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม” พวกช่างทอผ้าไหมจึงพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเข้ามาหาพวกเราแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้แก่อาตมาบ้าง พวกอาตมา
ต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม’ ดังนี้เล่า อนึ่ง ไม่ใช่ลาภของพวกเรา พวกเราได้ไม่
ดีที่ต้องฆ่าสัตว์เล็กสัตว์น้อยเป็นจำนวนมาก เพราะการครองชีพ เพราะต้องเลี้ยงดู
บุตรภรรยา”
ภิกษุได้ยินพวกช่างทอผ้าไหมตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปหาช่าง
ทอผ้าไหมแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้
แก่พวกอาตมาบ้าง พวกอาตมาต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม’ ดังนี้เล่า” ครั้น
ภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประฃุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกเธอเข้าไปหาช่างทอผ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑.โกสิยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ไหมแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้แก่พวก
อาตมาบ้าง พวกอาตมาต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม’ ดังนี้ จริงหรือ” พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงเข้าไปหาช่างทอผ้าไหมแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้แก่พวกอาตมาบ้าง พวกอาตมา
ต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม’ ดังนี้ โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๔๓] ก็ ภิกษุใดใช้ให้ทำสันถัตผสมใยไหม ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๔๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ๑
คำว่า ใช้ให้ทำ ความว่า ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำ แซมด้วยเส้นไหมแม้เส้น
เดียว ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของ
จำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ วิธีหล่อสันถัต ใช้ยางเหนียวเช่นน้ำข้าวเทลงบนพื้นที่เรียบแล้วเอาขนโปรยลาดลงบนยางเหนียว (วิ.อ.
๒/๕๔๒/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑.โกสิยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตผสมใยไหม
ผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึง
แสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัต
ผสมใยไหมผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ
เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑.โกสิยสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๔๕] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔๖] ๑. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
โกสิยสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๒.สุทธกาฬกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค
๒. สุทธกาฬกสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๔๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วน๑
พวกชาวบ้านเที่ยวไปตามวิหารเห็นเข้าจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วนเหมือนคฤหัสถ์ที่ยัง
บริโภคกามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึง
ใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วนเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ให้ทำสันถัต
ขนเจียมดำล้วน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ให้ทำ
สันถัตขนเจียมดำล้วนเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ขนเจียม” ในที่นี้คือขนแพะหรือขนแกะ (เอฬกโลม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๒.สุทธกาฬกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๔๘] ก็ ภิกษุใดใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วน ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๔๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สีดำ มี ๒ ชนิด คือ ดำตามธรรมชาติ หรือดำเพราะย้อม
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ
คำว่า ใช้ให้ทำ ความว่า ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะ
พยายาม สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ
หรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตขนเจียม
ดำล้วนผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้ของภิกษุชื่อ
นี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตขนเจียมดำล้วน
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๒.สุทธกาฬกสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัต
ขนเจียมดำล้วนผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตขนเจียมดำ
ล้วนผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตขนเจียมดำล้วน
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้
กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้แก่ท่าน” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๕๐] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๒.สุทธกาฬกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๕๑] ๑. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
สุทธกาฬกสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๓.เทฺวภาคสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค
๓. เทฺวภาคสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระ
ผู้มีพระภาคทรงห้ามการทำสันถัตขนเจียมดำล้วน” จึงให้เอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่ง
ปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิมนั่นแหละ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงให้เอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัต
ขนเจียมดำล้วนอย่างเดิมเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอให้เอาขนเจียม
ขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิม จริงหรือ”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง
ตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงให้เอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปน
ไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิมเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๓.เทฺวภาคสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๕๓] ก็ ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตใหม่ พึงเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขน
เจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ถ้าเธอไม่เอาขนเจียมดำล้วน
๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ แล้วให้ทำสันถัต
ใหม่ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๕๔] ที่ชื่อว่า ใหม่ พระองค์ตรัสมุ่งเอาการกระทำ
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ
คำว่า ผู้ใช้ให้ทำ คือ ผู้ทำเองหรือใช้ให้ทำ
คำว่า เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ความว่า ชั่งแล้วเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง
คำว่า ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ คือ ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง
คำว่า ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ คือ ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง
คำว่า ถ้าเธอไม่เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขน
เจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ความว่า ไม่เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง
ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ทำเองหรือใช้ให้ทำสันถัตใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม
สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ
ผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตผืนนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๓.เทฺวภาคสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
กระผมไม่ได้เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ใช้ให้
ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัต
ผืนนี้กระผมไม่ได้เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง
ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้ว
พึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านขอรับ สันถัตผืนนี้กระผมไม่ได้เอาขนเจียมดำ
ล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๓.เทฺวภาคสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๕๕] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๕๖] ๑. ภิกษุเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ปนแล้วทำ
๒. ภิกษุเอาขนเจียมขาวมากกว่า ขนเจียมแดงมากกว่า ปนแล้วทำ
๓. ภิกษุเอาขนเจียมขาวล้วน ขนเจียมแดงล้วน ปนแล้วทำ
๔. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
เทฺวภาคสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค
๔. ฉัพพัสสสิกขาบท
ว่าด้วยการเก็บสันถัตไว้ ๖ ปี
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๕๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้ให้ทำสันถัตทุก ๆ
ปี ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มากไปด้วยการขอว่า “ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวก
อาตมาต้องการขนเจียม”
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงใช้ให้ทำสันถัตทุก ๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการ
ออกปากขอด้วยกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม’
ดังนี้เล่า สันถัตของพวกเราที่ทำครั้งเดียว ถูกเด็กถ่ายอุจจาระรดบ้าง ปัสสาวะรด
บ้าง หนูกัดเสียบ้าง ก็ยังใช้สอยได้ถึง ๕ ปีบ้าง ๖ ปีบ้าง แต่ภิกษุเหล่านี้ใช้ให้ทำ
สันถัตทุก ๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วยกล่าว
ว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงใช้ให้
ทำสันถัตทุก ๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วย
กล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม’ ดังนี้เล่า” ครั้น
ภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ให้ทำสันถัตทุก ๆ ปี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท พระบัญญัติ
เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วยกล่าวว่า ‘ท่าน
ทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม’ ดังนี้ จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงใช้ให้ทำสันถัตทุก ๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการ
ขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วยกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวก
อาตมาต้องการขนเจียม’ ดังนี้เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๕๘] ก็ ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตใหม่แล้วพึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี ถ้าต่ำกว่า
๖ ปี เธอจะสละหรือไม่สละสันถัตนั้นก็ตาม ใช้ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
เรื่องภิกษุเป็นไข้
[๕๕๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้อยู่กรุงโกสัมพี พวกญาติส่งทูตไปสำนัก
ของภิกษุนั้น ให้แจ้งข่าวว่า “นิมนต์พระคุณท่านมาเถิด พวกเราจักอุปัฏฐาก” ภิกษุ
ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ไปเถิด ท่าน พวกญาติจะอุปัฏฐากท่านเอง”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้ว่า ‘ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตใหม่แล้วพึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี’ กระผมก็เป็นไข้อยู่ ไม่
สามารถนำสันถัตไปได้ ถ้าขาดสันถัตเสียแล้วกระผมจะไม่ผาสุก กระผมจะไม่ไป”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ทรงอนุญาตให้สมมติสันถัต
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสันถัตเพื่อภิกษุผู้เป็นไข้
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สมมติสันถัตอย่างนี้”
วิธีสมมติสันถัต
ภิกษุผู้เป็นไข้รูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ กระผม
เป็นไข้ไม่สามารถนำสันถัตติดตัวไปได้ กระผมขอสมมติสันถัตกะสงฆ์’ พึงขอสมมติ
สันถัตแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอสมมติสันถัตแม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๕๖๐] ‘ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ไม่สามารถนำ
สันถัตติดตัวไปได้ ภิกษุนั้นขอสมมติสันถัตจากสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงให้
สมมติสันถัตแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ไม่สามารถนำสันถัตติดตัวไป
ได้ ภิกษุนั้นขอสมมติสันถัตจากสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุ
ชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
การสมมติสันถัตสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าจะขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๕๖๑] อนึ่ง ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตใหม่แล้วพึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี ถ้าต่ำกว่า
๖ ปี เธอจะสละหรือไม่สละสันถัตนั้นก็ตาม ใช้ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้สมมติ
เรื่องภิกษุเป็นไข้ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๒] ที่ชื่อว่า ใหม่ พระองค์ตรัสมุ่งเอาการกระทำ
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ
คำว่า ใช้ให้ทำแล้ว คือ ทำเองหรือใช้ให้ทำแล้ว
คำว่า พึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี คือ พึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปีเป็นอย่างน้อย
คำว่า ถ้าต่ำกว่า ๖ ปี คือ หย่อนกว่า ๖ ปี
คำว่า สละสันถัตนั้น คือ ให้แก่ผู้อื่น
คำว่า ไม่สละ คือ ยังไม่ให้แก่ผู้อื่น
คำว่า เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้สมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ
ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำสันถัตใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม สันถัต
เป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตผืนนี้ของ
กระผมใช้ให้ทำ หย่อนกว่า ๖ ปี เป็นนิสสัคคีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ กระผมสละ
สันถัตผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัต
ผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ หย่อนกว่า ๖ ปี เป็นนิสสัคคีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ กระผม
สละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ หย่อน
กว่า ๖ ปี เป็นนิสสัคคีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๖๓] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๖๔] ๑. ภิกษุทำใหม่ เมื่อใช้ครบ ๖ ปี
๒. ภิกษุทำใหม่ เมื่อใช้เกิน ๖ ปี
๓. ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
๔. ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย
๕. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๖. ภิกษุผู้ได้สมมติ
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
ฉัพพัสสสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค
๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสันถัตสำหรับรองนั่ง
เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร
[๕๖๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ผู้เดียวตลอดไตรมาส ใคร ๆ อย่าเข้าไปหาเรา
ยกเว้นภิกษุผู้นำภัตตาหารเข้าไปให้รูปเดียว”
ภิกษุทั้งหลายรับสนองพระพุทธดำรัสว่า “ได้ พระพุทธเจ้าข้า” ไม่มีใครเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย นอกจากภิกษุผู้นำภัตตาหารเข้าไปถวายเพียงรูปเดียว
สมัยนั้น สงฆ์ในกรุงสาวัตถีตั้งกติกากันว่า “พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์
เสด็จหลีกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใคร ๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ ยกเว้นภิกษุผู้นำ
ภัตตาหารเข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุรูปใดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พึงให้ภิกษุรูป
นั้นแสดงอาบัติปาจิตตีย์”
ต่อมา ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรพร้อมด้วยบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พุทธประเพณี
อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย
นั่นเป็นพุทธประเพณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า “อุปเสนะ
เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ เดินทางมาโดยไม่ลำบากหรือ”
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “สบายดี พระพุทธเจ้าข้า พอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท นิทานวัตถุ
ขณะนั้น ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรนั่งอยู่ไม่ห่าง พระ
ผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ผ้าบังสุกุลของเธอน่าพอใจหรือ”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “ผ้าบังสุกุลของข้าพระพุทธเจ้าไม่น่าพอใจ พระพุทธ
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ แล้วทำไมเธอทรงผ้าบังสุกุลเล่า”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “พระอุปัชฌาย์ของข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุล
แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ต้องเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลตาม พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า “อุปเสนะ
บริษัทนี้ของเธอน่าเลื่อมใส เธอแนะนำบริษัทอย่างไร”
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าบอกผู้มาขออุปสมบท
กับข้าพระพุทธเจ้าว่า ‘ฉันถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร ถ้าเธอจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร ฉันก็จะให้เธออุปสมบท’ ถ้าเขารับคำของข้าพระพุทธเจ้า ข้า
พระพุทธเจ้าก็ให้อุปสมบท ถ้าไม่รับคำ ก็จะไม่ให้อุปสมบท ข้าพระพุทธเจ้าบอก
ภิกษุที่มาขอนิสัยว่า ‘ฉันถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตรบ้าง ฉันก็จะให้นิสัยแก่ท่าน’ ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะให้นิสัย ถ้าไม่รับคำ ก็จะไม่ให้นิสัย ข้าพระพุทธเจ้าแนะนำบริษัท
อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุปเสนะ ดีแล้ว ๆ อุปเสนะ เธอแนะนำบริษัทดีแล้ว
เธอรู้กติกาสงฆ์ในกรุงสาวัตถีหรือ”
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้กติกาของสงฆ์ใน
กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สงฆ์ในกรุงสาวัตถีตั้งกติกากันว่า พระผู้มีพระภาคมี
พระประสงค์จะเสด็จหลีกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใคร ๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ ยก
เว้นภิกษุผู้นำภัตตาหารเข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุรูปใดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พึงให้ภิกษุรูปนั้นแสดงอาบัติปาจิตตีย์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท นิทานวัตถุ
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “สงฆ์ในกรุงสาวัตถีจะเปิดเผยตนเอง
ออกมาด้วยกติกาของตน ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่บัญญัติสิ่งที่พระองค์ไม่ได้ทรงบัญญัติ
ไว้ และไม่เพิกถอนสิ่งที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว จะสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่
ทรงบัญญัติไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุปเสนะ ดีแล้ว ๆ สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่เราไม่ได้บัญญัติ
และไม่พึงเพิกถอนสิ่งที่เราบัญญัติไว้ พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่เรา
บัญญัติไว้ อุปเสนะ เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร
ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้ามาเยี่ยมเราได้ตามสะดวก”
[๕๖๖] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปยืนรออยู่นอกซุ้มประตู เพราะตั้งใจว่า “พวก
เราจะให้ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรแสดงอาบัติปาจิตตีย์” ครั้นท่านพระอุปเสน
วังคันตบุตรพร้อมกับบริษัทลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประ
ทักษิณจากไป ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกับท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า “ท่านทราบ
กติกาของสงฆ์ในกรุงสาวัตถีหรือ” ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรตอบว่า “แม้พระผู้มี
พระภาคก็ตรัสเช่นนี้กับผมอย่างนี้เหมือนกันว่า ‘อุปเสนะ เธอรู้กติกาของสงฆ์ในกรุง
สาวัตถีหรือ’ ผมก็ทูลตอบว่า ‘ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบกติกาสงฆ์ในกรุงสาวัตถี
พระพุทธเจ้าข้า’ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อุปเสนะ ก็กติกาที่สงฆ์ในกรุงสาวัตถีทำไว้ว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์จะเสด็จหลีกเร้นอยู่พระองค์เดียวตลอดไตรมาส ใคร ๆ
อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ ยกเว้นภิกษุผู้นำภัตตาหารไปถวาย ภิกษุใดเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาค พึงให้ภิกษุรูปนั้นแสดงอาบัติปาจิตตีย์’ ผมก็กราบทูลว่า ‘พระสงฆ์ในกรุง
สาวัตถีจะเปิดเผยตนเองออกมาด้วยกติกาของตน ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่บัญญัติสิ่งที่
พระพุทธองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจะไม่ถอนสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว จะ
สมาทานประพฤติในสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว ดังนี้’ ท่านทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้แล้วว่า ‘ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็น
วัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเยี่ยมเราได้ตามสะดวก”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกล่าวจริง พระ
สงฆ์ไม่ควรบัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ ไม่ควรเพิกถอนสิ่งที่
พระองค์ทรงบัญญัติไว้ พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท นิทานวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายพอทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ถืออยู่
ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก”
จึงปรารถนาเข้าเฝ้า ได้ละทิ้งสันถัตพากันสมาทานอารัญญิกธุดงค์ ปิณฑปาติกธุดงค์
และบังสุกูลิกธุดงค์๑
ต่อมา พระผู้มีพระภาคพร้อมภิกษุจำนวนมากเสด็จประพาสตามเสนาสนะ
ทอดพระเนตรเห็นสันถัตถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย สันถัตที่ถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ เป็นของใคร” ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูล
เรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลายโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ “อารัญญิกธุดงค์” คือข้อปฏิบัติขัดเกลากิเลสของผู้ถืออยู่ในป่า ห่างจากหมู่บ้านอย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนู
คือประมาณ ๒๕ เส้น (ดูข้อ ๖๕๔ หน้า ๑๗๔) “บิณฑปาติกธุดงค์” ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่รับนิมนต์
“ปังสุกุลิกธุดงค์” ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ไม่รับถวายจีวร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๖๗] ก็ ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตรองนั่ง พึงเอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดย
รอบมาปนเพื่อทำให้เสียสี ถ้าไม่เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปนใช้ให้
ทำสันถัตรองนั่งใหม่ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๘] ที่ชื่อว่า รองนั่ง พระองค์ตรัสมุ่งเอาผ้ามีชาย
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ
คำว่า ผู้ใช้ให้ทำ คือ ทำเองหรือใช้ให้ทำ
ที่ชื่อว่า สันถัตเก่า คือ ที่ใช้ปูนั่งบ้าง ใช้ปูนอนบ้าง แม้คราวเดียว
คำว่า พึงเอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปนเพื่อทำให้เสียสี คือ ตัด
เป็นรูปทรงกลม หรือรูปสี่เหลี่ยม แล้วจึงลาดในส่วนหนึ่ง หรือสางออกแล้วจึงลาด
เพื่อความคงทน
คำว่า ถ้าไม่เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ความว่า ไม่ถือเอา
สันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบ ทำเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำสันถัตรองนั่งใหม่ ต้องอาบัติ
ทุกกฏเพราะพยายาม สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละ
แก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ
ผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตรองนั่งผืนนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
กระผมไม่ได้เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผม
สละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตรอง
นั่งผืนนี้กระผมไม่ได้เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตรองนั่งผืนนี้กระผมไม่ได้เอา
สันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้
แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๖๙] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๗๐] ๑. ภิกษุเอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาทำ
๒. ภิกษุหาสันถัตเก่าไม่ได้จึงเอาแต่น้อยมาทำ
๓. ภิกษุหาสันถัตเก่าไม่ได้เลยไม่เอามาทำ
๔. ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย
๕. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
นิสีทนสันถตสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค
๖. เอฬกโลมสิกขาบท
ว่าด้วยการรับขนเจียม๑
เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรับขนเจียมระหว่างทาง
[๕๗๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปกรุงสาวัตถี
ในชนบทแคว้นโกศล ระหว่างทาง ขนเจียมเกิดขึ้น เธอจึงใช้อุตตราสงค์ห่อขนเจียมไป
พวกชาวบ้านเห็นท่านจึงพูดสัพยอกว่า “ท่านซื้อขนเจียมมาราคาเท่าไร จะ
ขายมีกำไรเท่าไร”
ท่านถูกชาวบ้านพูดสัพยอกจึงเก้อเขิน ครั้นถึงกรุงสาวัตถี ได้โยนขนเจียม
เหล่านั้นทิ้งไป ทั้งที่ยืนอยู่นั่นแหละ
ภิกษุทั้งหลายกล่าวกับท่านอย่างนี้ว่า “ทำไมท่านจึงโยนขนเจียมเหล่านั้นทิ้ง
ทั้งที่ยืนอยู่เล่า”
ท่านตอบว่า “จริงอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย กระผมถูกพวกชาวบ้านพูดสัพยอก
เพราะขนเจียมเหล่านี้”
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านนำขนเจียมเหล่านี้มาไกลเท่าไร”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “เกิน ๓ โยชน์ ขอรับ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
จึงนำขนเจียมมาไกลเกิน ๓ โยชน์เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุรูปนั้นโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ขนเจียม คือ เอฬกโลม ขนแกะ ขนแพะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอนำขนเจียมมาไกลเกิน ๓ โยชน์ จริงหรือ”
ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนำขนเจียมมาไกลเกิน ๓ โยชน์เล่า โมฆบุรุษ การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๗๒] ก็ ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ภิกษุต้องการก็พึงรับได้
ครั้นรับแล้ว เมื่อไม่มีคนนำไปให้ พึงนำไปเองตลอดระยะ ๓ โยชน์เป็นอย่าง
มาก ถ้าเมื่อไม่มีคนนำไปให้ นำไปไกลกว่านั้น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรับขนเจียมระหว่างทาง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๗๓] คำว่า ก็...แก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ได้แก่ ภิกษุผู้เดินทาง
คำว่า ขนเจียมเกิดขึ้น คือ เกิดจากสงฆ์ จากคณะ จากญาติ จากมิตร
หรือที่เป็นของบังสุกุล หรือที่ได้มาด้วยทรัพย์ของตน
คำว่า ต้องการ คือ เมื่อต้องการก็รับไว้ได้
คำว่า ครั้นรับแล้ว... พึงนำไปเองตลอดระยะ ๓ โยชน์เป็นอย่างมาก คือ
นำไปเองได้ ๓ โยชน์
คำว่า เมื่อไม่มีคนนำไปให้ ความว่า ไม่มีคนอื่น คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิต คอยช่วยนำไป
คำว่า ถ้าเมื่อไม่มีคนนำไปให้ นำไปไกลกว่านั้น อธิบายว่า ภิกษุย่างเท้าที่ ๑
ผ่าน ๓ โยชน์ไป ต้องอาบัติทุกกฏ ย่างเท้าที่ ๒ ผ่านไป ขนเจียมทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุยืนอยู่ภายในระยะ ๓ โยชน์ โยนขนเจียมออกนอกระยะ ๓ โยชน์ ขนเจียม
ทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุซ่อนขนเจียมในยานพาหนะหรือในห่อของของผู้อื่นที่เขา
ไม่รู้ ย่างเท้าไปเกิน ๓ โยชน์ ขนเจียมทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้อง
สละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียมเหล่านี้
กระผมนำไปเกิน ๓ โยชน์ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียม
เหล่านี้ กระผมนำไปเกิน ๓ โยชน์ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่
ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ ขนเจียมเหล่านี้ กระผมนำไปเกิน
๓ โยชน์ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดง
อาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนขนเจียมเหล่านี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๗๔] เกินระยะ ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าเกิน นำไปเกิน ๓ โยชน์ ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เกินระยะ ๓ โยชน์ ภิกษุไม่แน่ใจ นำไปเกิน ๓ โยชน์ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เกินระยะ ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า นำไปเกิน ๓ โยชน์ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
หย่อนกว่า ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๓ โยชน์ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๗๕] ๑. ภิกษุนำไปเพียง ๓ โยชน์
๒. ภิกษุนำไปหย่อนกว่า ๓ โยชน์
๓. ภิกษุนำไปก็ดี นำกลับก็ดี เพียงระยะ ๓ โยชน์
๔. ภิกษุนำไปเพียงระยะ ๓ โยชน์ ประสงค์จะพักอาศัย แล้วนำไป
จากที่นั้น๑
๕. ภิกษุได้ขนเจียมที่ถูกชิงไปคืนมา แล้วนำไปอีก
๖. ภิกษุได้ขนเจียมที่สละไปคืนมา แล้วนำไปอีก
๗. ภิกษุใช้ให้ผู้อื่นช่วยนำไป
๘. ภิกษุนำขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของไป
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
เอฬกโลมสิกขาบทที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ประสงค์จะพักอาศัยอยู่ เพื่อศึกษาเล่าเรียน สอบถาม หรือเพื่อได้ปัจจัยเครื่องอาศัย แต่เพราะไม่ได้
สิ่งเหล่านั้น จึงจากที่นั้นไป (วิ.อ. ๒/๕๗๕/๑๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค
๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท
ว่าด้วยการให้ซักขนเจียม
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้พวกภิกษุณีให้ซักบ้าง
ให้ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียม พวกภิกษุณีซัก ย้อม สาง ซึ่งขนเจียม จึงละเลย
อุทเทส ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
สมัยนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วได้ถวายอภิวาท แล้วประทับยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้ยืนอยู่ว่า “โคตมี พวกภิกษุณีไม่ประมาท ยังมีความเพียร
มีความมุ่งมั่นอยู่หรือ”
พระนางกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุณีทั้งหลายจะมีความไม่ประมาท
แต่ที่ไหน พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้พวกภิกษุณีให้ซักบ้าง ให้ย้อมบ้าง ให้สางบ้าง ซึ่ง
ขนเจียม พวกภิกษุณีนั้นซัก ย้อม สาง ซึ่งขนเจียมอยู่ จึงละเลยอุทเทส ปริปุจฉา
อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา”
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอา
ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว
จากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ภิกษุณีให้ซัก
บ้าง ให้ย้อมบ้าง ให้สางบ้าง ซึ่งขนเจียม จริงหรือ” พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้น
เป็นญาติของพวกเธอหรือว่าไม่ใช่ญาติ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กราบทูลว่า “ไม่ใช่ญาติ
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ใช่
ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ความน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใส
ของบุคคลผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ภิกษุณีให้ซักบ้าง ให้ย้อม
บ้าง ให้สางบ้างซึ่งขนเจียมเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๗๗] ก็ ภิกษุใดใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก ให้ย้อม หรือให้สาง
ขนเจียม ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๗๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ภิกษุสั่งว่า “จงซัก” ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่ซักแล้ว เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุสั่งว่า “จงย้อม” ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่ย้อมแล้ว เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุสั่งว่า “จงสาง” ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่สางแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ คือ
เป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงรับสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียมเหล่านี้
กระผมใช้ให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุ
ชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียม
เหล่านี้กระผมใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้
แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่
ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ ขนเจียมเหล่านี้กระผมใช้
ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติ แล้วคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“กระผมคืนขนเจียมเหล่านี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๑
[๕๗๙] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซักขนเจียม ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อมขนเจียม ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้สางขนเจียม ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อม ใช้ให้สางขน
เจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๒
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อมขนเจียม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้สางขนเจียม
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ซักขนเจียม ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้สาง ใช้ให้ซักขน
เจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๓
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สางขนเจียม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สาง ใช้ให้ซักขนเจียม ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สาง ใช้ให้ย้อมขนเจียม
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สาง ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อมขนเจียม
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
[๕๘๐] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ฯลฯ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุ
สำคัญว่าเป็นญาติ ฯลฯ
ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักขนเจียมของภิกษุอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้อุปสมบทจากสงฆ์ฝ่ายเดียวให้ซัก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๘๑] ๑. ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้ โดยมีเพื่อนภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติคอยช่วยเหลือ
๒. ภิกษุเจ้าของขนเจียมที่ภิกษุณีอาสาซักให้
๓. ภิกษุใช้ให้ซักขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของซึ่งไม่ได้ใช้สอย
๔. ภิกษุใช้ให้สิกขมานาซัก
๕. ภิกษุใช้ให้สามเณรีซัก
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค
๘. รูปิยสิกขาบท
ว่าด้วยการรับรูปิยะ
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๘๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรเป็นพระประจำ
ตระกูลของตระกูลหนึ่ง รับภัตตาหารอยู่เป็นประจำ หากของเคี้ยวของฉันอันใดเกิด
ขึ้นในตระกูลนั้น เขาก็จะเก็บของเคี้ยวของฉันอันนั้นไว้เพื่อท่านส่วนหนึ่ง
สมัยนั้น ในเวลาเย็น เนื้อเกิดขึ้นในตระกูลนั้น เขาได้เก็บเนื้อนั้นไว้เพื่อท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรส่วนหนึ่ง เด็กในตระกูลนั้นตื่นเช้ามืด ร้องไห้อ้อนวอนว่า
“พวกท่านโปรดให้เนื้อแก่กระผม”
ทีนั้น สามีสั่งภรรยาว่า “เธอจงให้เนื้อส่วนของพระคุณเจ้าแก่เด็ก เราจะซื้อ
ของอื่นถวายท่าน”
ลำดับนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
ถึงตระกูลนั้น นั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ชายผู้นั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากย
บุตรถึงอาสนะ ครั้นถึงแล้วไหว้ท่านแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ
เมื่อวันวานในเวลาเย็น ได้มีเนื้อเกิดขึ้น พวกข้าพเจ้าได้เก็บเนื้อนั้นไว้เพื่อพระคุณเจ้า
ส่วนหนึ่ง เด็กคนนี้ตื่นเช้ามืด ร้องไห้อ้อนวอนว่า ‘พวกท่านโปรดให้เนื้อแก่กระผม’
พวกเราจึงให้ส่วนของพระคุณเจ้าแก่เด็ก พระคุณเจ้าจะให้กระผมนำกหาปณะไป
แลกอะไรมา ขอรับ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า “ท่านบริจาคทรัพย์ ๑
กหาปณะแก่อาตมาหรือ” เขาตอบว่า “ใช่ ขอรับ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
กล่าวว่า “ท่านจงถวายกหาปณะนั้นแก่อาตมาเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทีนั้น เขาถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรแล้วตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้รับรูปิยะ๑ เหมือนพวกเรา”
พวกภิกษุได้ยินบุรุษนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร จึงรับรูปิยะ
เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอรับรูปิยะจริงหรือ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงรับรูปิยะเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น
ได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๘๓] ก็ ภิกษุใดรับหรือใช้ให้ผู้อื่นรับทองและเงิน หรือยินดีทองและ
เงินที่เขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๘๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “รูปิยะ” หมายถึงทองและเงิน (วิ.อ. ๒/๕๘๖/๒๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ทอง พระองค์ตรัสหมายถึงวัตถุที่มีสีดุจพระฉวีของพระศาสดา
ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้
มาสกที่ทำด้วยครั่ง ที่ใช้เป็นอัตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน
คำว่า รับ คือ ภิกษุรับเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้ผู้อื่นรับ คือ ภิกษุให้คนอื่นรับแทน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คำว่า หรือยินดีทองและเงินที่เขาเก็บไว้ให้ ความว่า ภิกษุยินดีรูปิยะที่เขา
เก็บไว้ให้โดยบอกว่า “สิ่งนี้เป็นของท่าน” ดังนี้ รูปิยะนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของ
จำต้องสละในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละรูปิยะที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละรูปิยะที่เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมรับรูปิยะไว้
รูปิยะนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดง
อาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ
ถ้าคนงานวัดหรืออุบาสกผ่านมา พึงบอกเขาว่า “ท่านจงรู้สิ่งนี้” ถ้าเขากล่าวว่า
“จะให้กระผมนำสิ่งนี้ไปแลกอะไรมา” ไม่ควรบอกเขาว่า “จงนำของนี้ ๆ มา” ควร
บอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย
ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย ยกเว้นภิกษุผู้รับรูปิยะ
นอกนั้นทุกรูปฉันได้ ถ้าทำได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าทำไม่ได้ พึงบอกเขาว่า “ท่าน
โปรดทิ้งของนี้” ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ทิ้งให้ พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วย
คุณสมบัติ ๕ อย่างให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท บทภาชนีย์
คุณสมบัติของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ ๕ อย่าง
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้วิธีว่าเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้งรูปิยะ
วิธีแต่งตั้งภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ และคำแต่งตั้ง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้ว
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๕๘๕] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง
ภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นพึงทิ้งรูปิยะไป อย่ากำหนดที่ตก ถ้าทิ้งโดยกำหนดที่ตก
ต้องอาบัติทุกกฏ
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๘๖] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ รับรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ รับรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ รับรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุหยิบเองหรือใช้ให้คนอื่นหยิบรูปิยะตกในวัดหรือในที่อยู่ เก็บ
ไว้ด้วยตั้งใจว่า เจ้าของจะมาเอาไป
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
รูปิยสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค
๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท
ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนรูปิยะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำการแลก
เปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงทำการแลกเปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ เหมือน
พวกคฤหัสถ์ที่ยังบริโภคกามเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทำการแลกเปลี่ยน
กันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอทำการแลก
เปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงทำการแลกเปลี่ยนรูปิยะชนิดต่าง ๆ เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๘๘] ก็ ภิกษุใดทำการแลกเปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๘๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ชนิดต่าง ๆ คือ เป็นรูปพรรณบ้าง ไม่เป็นรูปพรรณบ้าง เป็นทั้ง
รูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณบ้าง
ที่ชื่อว่า เป็นรูปพรรณ ได้แก่ เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับคอ เครื่อง
ประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นรูปพรรณ พระองค์ตรัสถึงรูปิยะที่ทำเป็นแท่ง
ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณ ได้แก่ เครื่องประดับทั้ง ๒
ประเภทนั้น
ที่ชื่อว่า รูปิยะ ได้แก่ วัตถุที่มีสีดุจพระฉวีของพระศาสดา กหาปณะ มาสก
ที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง ที่ใช้เป็นอัตราสำหรับ
แลกเปลี่ยนซื้อขายกัน
คำว่า ทำการ คือ เอารูปิยะที่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นรูปพรรณ
เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
เอารูปิยะที่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็น
รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็น
รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นรูป
พรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่ไม่เป็น
รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นทั้ง
รูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละในท่ามกลาง
สงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละรูปิยะที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละรูปิยะที่เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมทำการแลกเปลี่ยน
รูปิยะชนิดต่าง ๆ รูปิยะนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ
ถ้าคนวัดหรืออุบาสกผ่านมา พึงบอกเขาว่า “ท่านจงรู้ของนี้” ถ้าเขาถามว่า
“จะให้กระผมนำสิ่งนี้ไปแลกอะไรมา” ไม่ควรบอกเขาว่า “จงนำของนี้หรือของนี้มา”
ควรบอกเฉพาะของที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย ยกเว้นภิกษุผู้แลกเปลี่ยน
รูปิยะ ภิกษุนอกนั้นทุกรูปฉันได้ ถ้าทำได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าทำไม่ได้
พึงบอกเขาว่า “โปรดทิ้งของนี้” ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ทิ้งให้ พึงแต่งตั้ง
ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่างให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ คือ
คุณสมบัติของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ ๕ อย่าง
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้วิธีว่าเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้ง
วิธีแต่งตั้งภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ และคำแต่งตั้ง
สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๕๙๐] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง
ภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นพึงทิ้งรูปิยะไป อย่ากำหนดที่ตก ถ้าทิ้งโดยกำหนดที่ตก
ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๙๑] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๙๒] ๑. ภิกษุวิกลจริต
๒. ภิกษุต้นบัญญัติ
รูปิยสังโวหารสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.กยวิกกยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค
๑๐. กยวิกกยสิกขาบท
ว่าด้วยการซื้อขาย
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๙๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรชำนาญ
การตัดเย็บจีวร ท่านได้เอาผ้าเก่า ๆ ทำสังฆาฏิแล้วย้อม จัดแต่งอย่างดีแล้วใช้ห่ม
สมัยนั้น ปริพาชกผู้หนึ่งห่มผ้าราคาแพงเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับท่านว่า “สังฆาฏิของท่านงามจริง ๆ แลกกับผ้าของ
เราเถิด”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ท่านจงรู้เองเถิด”
ปริพาชกตอบว่า “ข้าพเจ้ารู้ ขอรับ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรตกลงให้ไป ปริพาชกห่มสังฆาฏิผืนนั้นไปปริพาชการาม
ปริพาชกทั้งหลายถามปริพาชกนั้นว่า “สังฆาฏิของท่านงามจริง ๆ ท่านได้มาแต่ไหน”
เขาตอบว่า “ข้าพเจ้าเอาผ้านั้นแลกมา”
พวกปริพาชกกล่าวว่า “สังฆาฏิผืนนี้จะทนอยู่ได้สักกี่วัน ผ้าผืนนั้นดีกว่า”
สมัยนั้น ปริพาชกนั้นคิดว่า “ปริพาชกทั้งหลายกล่าวจริง สังฆาฏิผืนนี้จะทนอยู่
ได้สักกี่วัน ผ้าผืนนั้นดีกว่า” จึงกลับไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึง
แล้วได้กล่าวกับท่านว่า “เอาสังฆาฏิของท่านไป จงให้ผ้าของเราคืนมา”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “เรากล่าวกับท่านแล้วมิใช่หรือว่า ‘ท่าน
จงรู้เองเถิด’ เราจะไม่ให้”
ปริพาชกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “แม้พวกคฤหัสถ์ยังคืนของให้
คฤหัสถ์ผู้เดือดร้อน บรรพชิตไม่ยอมคืนของให้บรรพชิตด้วยกันหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.กยวิกกยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พวกภิกษุได้ยินปริพาชกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงทำ
การซื้อขายกับปริพาชกเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตร
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่าเธอทำการซื้อขายกับ
ปริพาชก จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงทำการซื้อขายกับ
ปริพาชกเล่า การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๙๔] ก็ ภิกษุใดทำการซื้อขายมีประการต่าง ๆ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๙๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มีประการต่าง ๆ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร โดยที่สุดกระทั่งก้อนจุรณ ไม้ชำระฟันหรือด้ายชายผ้า
คำว่า ทำการซื้อขาย คือ ภิกษุพูดเป็นเชิงบังคับว่า “ท่านจงให้ของสิ่งนี้
ด้วยของนี้ นำของสิ่งนี้มาด้วยของนี้ แลกเปลี่ยนของสิ่งนี้ด้วยของนี้ จ่ายของสิ่งนี้ด้วย
ของนี้” ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.กยวิกกยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ก็ต่อเมื่อสิ่งของของตนตกไปอยู่ในมือของคนอื่น และสิ่งของของคนอื่นตกมา
อยู่ในมือของตนจัดเป็นการซื้อขายกัน เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์
แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละของที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละของที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมได้ทำการ
ซื้อขายมีประการต่าง ๆ สิ่งของนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสิ่งของนี้แก่
สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ ครั้นรับอาบัติแล้ว พึงคืนสิ่งของที่เธอสละให้
ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิ่งของนี้ของภิกษุชื่อนี้
เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สิ่งของนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมทำการ
ซื้อขายมีประการต่าง ๆ สิ่งของนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสิ่งของนี้แก่
ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสิ่งของที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สิ่งของนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สิ่งของนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ กระผมทำการซื้อขายมีประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.กยวิกกยสิกขาบท อนาปัตติวาร
ต่าง ๆ สิ่งของนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสิ่งของนี้แก่ท่าน” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับพึงรับอาบัติแล้วคืนสิ่งของที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
สิ่งของนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๙๖] เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าเป็นการซื้อขาย ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เป็นการซื้อขาย ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้เป็นการซื้อขาย ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ไม่ได้เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าเป็นการซื้อขาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้เป็นการซื้อขาย ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้เป็นการซื้อขาย ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๙๗] ๑. ภิกษุถามราคา
๒. ภิกษุบอกกัปปิยการก
๓. ภิกษุกล่าวว่า “เรามีของนี้ แต่เราต้องการของนี้ และนี้”
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ
กยวิกกยสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
โกสิยวรรคที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค รวมสิกขาบทที่มีในโกสิยวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในโกสิยวรรค
โกสิยวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. โกสิยสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตใยไหม
๒. สุทธกาฬกสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน
๓. เทฺวภาคสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน
๔. ฉัพพัสสสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บสันถัตไว้ ๖ ปี
๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตสำหรับรองนั่ง
๖. เอฬกโลมสิกขาบท ว่าด้วยการรับขนเจียม
๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักขนเจียม
๘. รูปิยสิกขาบท ว่าด้วยการรับรูปิยะ
๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนรูปิยะ
๑๐. กยวิกกยสิกขาบท ว่าด้วยการซื้อขาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค
หมวดว่าด้วยบาตร
๑. ปัตตสิกขาบท
ว่าด้วยบาตร
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำการสะสม
บาตรไว้เป็นอันมาก พวกชาวบ้านเดินเที่ยวตามวิหารเห็นเข้าจึงตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงทำการสะสมบาตรไว้เป็นอันมาก
จะขายบาตรหรือตั้งร้านขายภาชนะดินเผาหรือ”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทรง
อติเรกบาตร๑ เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกเธอทรงอติเรกบาตร
จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงทรงอติเรกบาตรไว้เล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือ
ทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ อติเรกบาตร คือบาตรนอกจากบาตรอธิฏฐานที่ภิกษุตั้งไว้เป็นบริขารใช้บิณฑบาตเพียงใบเดียว (ดูข้อ๖๐๒
หน้า ๑๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๒ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น