Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๓-๓ หน้า ๑๓๕ - ๒๐๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๓-๓ วินัยปิฎกที่ ๐๓ ภิกขุนีวิภังค์



พระวินัยปิฎก
ภิกขุนีวิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการใช้ท่อนยาง
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๘๐๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อดีตนางสนมของพระราชาไปบวช
อยู่ในสำนักภิกษุณี ภิกษุณีรูปหนึ่งถูกความไม่ยินดียิ่งบีบคั้น จึงเข้าไปหาภิกษุณี(ผู้
เคยเป็นนางสนม)นั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว ได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า
พระราชาเสด็จไปหาท่านนาน ๆ ครั้ง ท่านทนอยู่ได้อย่างไร”
ภิกษุณีนั้นตอบว่า “แม่เจ้า ดิฉันใช้ท่อนยาง”
ภิกษุณีนั้นถามว่า “แม่เจ้า ท่อนยางนี่เป็นอย่างไร”
ลำดับนั้น ภิกษุณีผู้เคยเป็นนางสนมบอกท่อนยางแก่ภิกษุณีนั้น ต่อมา
ภิกษุณีนั้นใช้ท่อนยางแล้วลืมล้างวางทิ้งไว้ในที่แห่งหนึ่ง ภิกษุณีทั้งหลายเห็นท่อน
ยางมีแมลงวันตอมจึงถามว่า “นี่เป็นการกระทำของใคร”
ภิกษุณีนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “นี้เป็นการกระทำของดิฉันเอง”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีจึงใช้ท่อนยางเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีใช้ท่อนยาง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๓๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร
ว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงใช้ท่อนยางเล่า ภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๐๗] ภิกษุณีต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะใช้ท่อนยาง
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๐๘] ที่ชื่อว่า ท่อนยาง ได้แก่ สิ่งที่ทำด้วยยาง ท่อนยางที่ทำด้วยไม้
ท่อนยางที่ทำด้วยแป้ง ท่อนยางที่ทำด้วยดิน ภิกษุณียินดีการสัมผัสโดยที่สุดแม้
สอดกลีบอุบลเข้าองค์กำเนิด ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๐๙] ๑. ภิกษุณีใช้ท่อนยางเพราะอาพาธเป็นเหตุ
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๓๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ
๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการใช้น้ำชำระ
เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี
[๘๑๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาทแล้วยืนในที่ใต้ลม กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค มาตุคามกลิ่นไม่ดี”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุณีทั้งหลายจงใช้น้ำชำระทำความสะอาด”
ทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น พระนาง
มหาปชาบดีโคตมีผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ถวาย
อภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีใช้น้ำชำระทำความสะอาดได้”
เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี จบ
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตน้ำชำระทำ
ความสะอาด” จึงใช้น้ำชำระทำความสะอาดลึกเกินไป ทำให้เกิดแผลขึ้นที่องค์กำเนิด
ครั้งนั้น เธอบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีใช้น้ำชำระทำความสะอาดลึกเกิน
ไปเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวก
ภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๓๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๕ สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนั้นเป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีใช้น้ำชำระทำ
ความสะอาดลึกเกินไป จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงใช้น้ำ
ชำระทำความสะอาดลึกเกินไปเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๑๑] ก็ภิกษุณีผู้จะใช้น้ำชำระทำความสะอาด พึงใช้น้ำชำระทำความ
สะอาดลึกเพียง ๒ ข้อองคุลีเป็นอย่างมาก ให้เกินกำหนดนั้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๑๒] ที่ชื่อว่า น้ำชำระทำความสะอาด พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงน้ำ
ชำระบริเวณองค์กำเนิด
คำว่า ผู้จะใช้ คือ ผู้ชะล้าง
คำว่า พึงใช้น้ำชำระทำความสะอาดลึกเพียง ๒ ข้อองคุลีเป็นอย่างมาก
คือใช้น้ำชำระลึกเพียง ๒ ข้อใน ๒ องคุลีเป็นอย่างมาก
คำว่า ให้เกินกำหนดนั้น ความว่า ภิกษุณียินดีการสัมผัสให้ล่วงเลยเข้าไป
โดยที่สุดเพียงปลายเส้นผม ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๓๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๘๑๓] เกิน ๒ ข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ชำระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เกิน ๒ ข้อองคุลี ภิกษุณีไม่แน่ใจ ชำระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เกิน ๒ ข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อนกว่า ชำระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
หย่อนกว่า ๒ ข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๒ ข้อองคุลี ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๒ ข้อองคุลี ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๑๔] ๑. ภิกษุณีชำระลึกเพียง ๒ ข้อองคุลีเป็นอย่างมาก
๒. ภิกษุณีชำระลึกไม่ถึง ๒ ข้อองคุลี
๓. ภิกษุณีชำระลึกเกินเพราะอาพาธเป็นเหตุ
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๓๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ
๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๖
ว่าด้วยการปรนนิบัติ
เรื่องภิกษุณีอดีตภรรยามหาอมาตย์
[๘๑๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น มหาอมาตย์ชื่ออาโรหันตะบวช
ในสำนักภิกษุ อดีตภรรยาของท่านบวชในสำนักภิกษุณี ต่อมา ภิกษุนั้นร่วมฉัน
ภัตตาหารในสำนักของภิกษุณีนั้น ขณะที่ท่านกำลังฉัน ภิกษุณีนั้นเข้าไปยืน
ปรนนิบัติอยู่ใกล้ ๆ ด้วยน้ำฉันและการพัดวี พูดเกี่ยวกับเรื่องครอบครัว พูดมาก
เกินไป ลำดับนั้น ภิกษุนั้นจึงต่อว่าภิกษุณีนั้นว่า “น้องหญิงอย่าได้ทำอย่างนี้
เรื่องนี้ไม่สมควร”
ภิกษุณีนั้นกล่าวว่า “เมื่อก่อนท่านทำอย่างนี้ ๆ กับดิฉัน บัดนี้ เพียงเท่านี้
ก็ทนไม่ได้” จึงครอบขันน้ำลงบนศีรษะแล้วใช้พัดตี
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีจึงตีภิกษุเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย
ให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีตีภิกษุ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงตีภิกษุเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่าง
นี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๔๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖ บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๘๑๖] ก็ภิกษุณีใดปรนนิบัติภิกษุผู้กำลังฉันอยู่ด้วยน้ำดื่มหรือด้วยการพัดวี
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องอดีตภรรยาของมหาอมาตย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๑๗] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ ภิกษุณีนี้พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ คือ อุปสัมบัน
คำว่า ผู้กำลังฉันอยู่ คือ ผู้กำลังฉันโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ชื่อว่า น้ำดื่ม ได้แก่ น้ำดื่มชนิดใดชนิดหนึ่ง
ที่ชื่อว่า การพัดวี ได้แก่ พัดชนิดใดชนิดหนึ่ง
คำว่า ปรนนิบัติอยู่ ความว่า ยืนอยู่ในระยะหัตถบาส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๘๑๘] อุปสัมบัน๑ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ปรนนิบัติอยู่ด้วยน้ำดื่ม
หรือการพัดวี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ปรนนิบัติอยู่ด้วยน้ำดื่มหรือการพัดวี ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ “อุปสัมบัน” ในที่นี้หมายถึงภิกษุที่ภิกษุณีนั้นปรนนิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๔๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ปรนนิบัติอยู่ด้วยน้ำดื่มหรือการ
พัดวี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุณีปรนนิบัติอยู่นอกหัตถบาส ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุกำลังเคี้ยวของเคี้ยว ภิกษุณีเข้าไปปรนนิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีเข้าไปปรนนิบัติอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๑๙] ๑. ภิกษุณีถวาย
๒. ภิกษุณีให้คนอื่นถวาย
๓. ภิกษุณีสั่งอนุปสัมบันให้ปรนนิบัติ
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๔๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ
๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการขอข้าวเปลือกดิบ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๘๒๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ในฤดูเก็บเกี่ยว พวกภิกษุณี
ออกปากขอข้าวเปลือกดิบ นำไปในเมือง พอถึงประตูเมือง พวกคนเฝ้าประตูกักตัว
ไว้โดยกล่าวว่า “แม่เจ้า ท่านทั้งหลายโปรดให้ส่วนแบ่งบ้าง” แล้วปล่อยไป ครั้น
กลับถึงสำนักได้บอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีจึงออกปากขอข้าวเปลือกดิบเล่า”
ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึง
ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีออกปากขอข้าว
เปลือกดิบจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงออกปากขอข้าว
เปลือกดิบ ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณี
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๒๑] ก็ภิกษุณีใดออกปากขอหรือใช้ให้ออกปากขอ คั่วหรือใช้ให้คั่ว
ตำหรือใช้ให้ตำ หุงหรือใช้ให้หุงข้าวเปลือกดิบแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๔๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๘๒๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ข้าวเปลือกดิบ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวละมาน
ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้๑
คำว่า ออกปากขอ คือ ออกปากขอเอง
คำว่า ใช้ให้ออกปากขอ คือ ใช้ผู้อื่นให้ออกปากขอ
คำว่า คั่ว คือ คั่วเอง
คำว่า ใช้ให้คั่ว คือ ใช้ผู้อื่นให้คั่ว
คำว่า ตำ คือ ตำเอง
คำว่า ใช้ให้ตำ คือ ใช้ผู้อื่นให้ตำ
คำว่า หุง คือ หุงเอง
คำว่า ใช้ให้หุง คือ ใช้ผู้อื่นให้หุง
ภิกษุณีรับประเคน ด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

เชิงอรรถ :
๑ เรียกว่า “บุพพัณชาติ” (วิ.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๘, สารตฺถ.ฏีกา ๒/๑๐๔/๑๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๔๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร
[๘๒๓] ๑. ภิกษุณีออกปากขอเขามาฉันเพราะเหตุผลคืออาพาธ
๒. ภิกษุณีออกปากขออปรัณชาติ๑
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อปรัณชาติ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วราชมาส งา พืชผักที่กินหลังอาหาร (วิ.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๘, สารตฺถ.ฏีกา
๒/๑๐๔/๑๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๔๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘ นิทานวัตถุ
๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการทิ้งอุจจาระเป็นต้นภายนอกฝา
เรื่องพราหมณ์คนหนึ่ง
[๘๒๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งได้รับแต่งตั้ง
ให้เป็นผู้เก็บส่วยส่งหลวง๑ คิดว่า “เราจักทูลขอตำแหน่งนายด่านนั้น”๒ จึงสนาน
เกล้าแล้วเดินไปราชสำนักผ่านที่อยู่ภิกษุณี ภิกษุณีรูปหนึ่งถ่ายอุจจาระลงในหม้อ
แล้วเททิ้งภายนอกฝาราดลงบนศีรษะของพราหมณ์นั้นพอดี พราหมณ์นั้นตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “หญิงชั่วหัวโล้นพวกนี้ไม่ใช่สมณะหญิง ไฉนจึงเทหม้อคูถ
ลงที่ศีรษะของเรา เราจักเผาสำนักพวกนาง” ถือคบเพลิงเข้าไปสำนักภิกษุณี
อุบาสกคนหนึ่งกำลังออกจากสำนักภิกษุณี ได้เห็นพราหมณ์นั้นถือคบเพลิง
เดินเข้าไปสู่สำนัก จึงได้กล่าวกับพราหมณ์นั้นดังนี้ว่า “เหตุไรท่านจึงถือคบเพลิงไป
สำนักภิกษุณีเล่า”
พราหมณ์นั้นกล่าวว่า “หญิงชั่วหัวโล้นพวกนี้เทหม้อคูถลงที่ศีรษะของเรา เรา
จักเผาสำนักพวกนาง”
อุบาสกกล่าวว่า “กลับเถิด พราหมณ์ผู้เจริญ เหตุการณ์นี้จัดว่าเป็นมงคล
ท่านจะได้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ และจะได้ตำแหน่งนายด่านนั้น”
พราหมณ์นั้นสนานเกล้าแล้วไปราชสำนัก ได้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ และได้ตำแหน่ง
นายด่านนั้น

เชิงอรรถ :
๑ พราหมณ์ผู้นี้ เป็นคนทำหน้าที่เก็บส่วยส่งพระราชาแล้วได้รับตำแหน่งหน้าที่ผู้หนึ่ง และได้รับรายได้จาก
ตำแหน่งนั้น ต่อมาอยากได้ตำแหน่งนายด่าน จึงนำส่วยไปส่งพระราชาเพื่อจะทูลขอตำแหน่งนายด่าน
(วิ.อ. ๒/๘๒๔/๔๙๓, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๒๔/๑๕๒)
๒ จะส่งส่วยพระราชาแล้วทูลขอตำแหน่งนายด่าน (วิ.อ. ๒/๘๒๔/๔๙๓, สารตฺถ.ฏีกา. ๓/๘๒๔/๑๕๒) ใน
วชิรพุทธิฎีกาว่า จะไปขอค่าบำเหน็จ (วชิร.ฏีกา ๘๒๔/๔๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๔๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘ สิกขาบทวิภังค์
ครั้งนั้น อุบาสกนั้นกลับเข้าไปสำนัก แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายแล้ว
บริภาษ๑
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงเทอุจจาระภายนอกฝาเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่อง
นี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีเทอุจจาระภาย
นอกฝา จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงเทอุจจาระภายนอก
ฝาเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือ
ทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๒๕] ก็ภิกษุณีใดเทหรือใช้ให้เทอุจจาระหรือปัสสาวะ หยากเยื่อหรือ
ของเป็นเดนภายนอกฝาหรือภายนอกกำแพง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพราหมณ์คนหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๒๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด

เชิงอรรถ :
๑ คือปรามพวกภิกษุณีว่า “อย่ากระทำอย่างนี้อีก” (วิ.อ. ๒/๘๒๔/๔๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๔๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘ อนาปัตติวาร
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อุจจาระ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงคูถ
ที่ชื่อว่า ปัสสาวะ ตรัสหมายถึงมูตร
ที่ชื่อว่า หยากเยื่อ ตรัสหมายถึงขยะมูลฝอย
ที่ชื่อว่า ของเป็นเดน ตรัสหมายถึงอามิสที่เป็นเดน กระดูกเป็นเดน หรือ
น้ำเป็นเดน
ที่ชื่อว่า ฝา ได้แก่ ฝา ๓ ชนิด คือ (๑) ฝาอิฐ (๒) ฝาแผ่นศิลา (๓) ฝาไม้
ที่ชื่อว่า กำแพง ได้แก่ กำแพง ๓ ชนิด คือ (๑) กำแพงอิฐ (๒) กำแพงศิลา
(๓) กำแพงไม้
คำว่า ภายนอกฝา คือ อีกด้านหนึ่งของฝา
คำว่า ภายนอกกำแพง คือ อีกด้านหนึ่งของกำแพง
คำว่า เท คือ เทเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้เท คือ ใช้ผู้อื่นให้เท ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่
เทหลายครั้ง ภิกษุณีผู้สั่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีดังต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๒๗] ๑. ภิกษุณีมองดูก่อนแล้วจึงเท
๒. ภิกษุณีเทในที่ที่เขาไม่ใช้สัญจร
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๔๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ
๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๙
ว่าด้วยการทิ้งอุจจาระเป็นต้นภายนอกกำแพง
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๘๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งมีนาข้าวเหนียว
แปลงหนึ่งอยู่ติดกับสำนักภิกษุณี พวกภิกษุณีเทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง หยาก
เยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง ทิ้งลงในนาข้าวเหนียว(ของพราหมณ์นั้น) พราหมณ์ตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงทำนาข้าวเหนียวของเราให้เสียหายเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพราหมณ์นั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีเท
อุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง ลงบนของเขียวเล่า”
ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีเทอุจจาระบ้าง
ปัสสาวะบ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง ลงบนของเขียว จริงหรือ” ภิกษุ
ทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงเทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง หยากเยื่อบ้าง
ของเป็นเดนบ้าง ลงบนของเขียว ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๔๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙ สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๘๒๙] ก็ภิกษุณีใดเทหรือใช้ให้เทอุจจาระหรือปัสสาวะ หยากเยื่อหรือ
ของเป็นเดนลงบนของเขียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๓๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อ อุจจาระ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงคูถ
ที่ชื่อว่า ปัสสาวะ ตรัสหมายถึงมูตร
ที่ชื่อว่า หยากเยื่อ ตรัสหมายถึงขยะมูลฝอย
ที่ชื่อว่า ของเป็นเดน ตรัสหมายถึงอามิสที่เป็นเดน กระดูกเป็นเดน หรือ
น้ำเป็นเดน
ที่ชื่อว่า ของเขียว ได้แก่ บุพพัณชาติ อปรัณชาติ๑ที่เขาปลูกไว้สำหรับ
อุปโภคบริโภค
คำว่า เท คือ เทเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้เท คือ ใช้ผู้อื่นให้เท ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่
เทหลายครั้ง ภิกษุณีผู้สั่งต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ บุพพัณชาติ อปรัณชาติ ดูข้อ ๘๒๒-๘๒๓ หน้า ๑๔๔-๑๔๕ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๕๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๘๓๑] ของเขียว ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของเขียว เทหรือใช้ให้เท ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ของเขียว ภิกษุณีไม่แน่ใจ เทหรือใช้ให้เท ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ของเขียว ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของเขียว เทหรือใช้ให้เท ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ของเขียว ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของเขียว เทหรือใช้ให้เท ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของเขียว ภิกษุณีไม่แน่ใจ เทหรือใช้ให้เท ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของเขียว ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของเขียว เทหรือใช้ให้เท ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๓๒] ๑. ภิกษุณีมองดูก่อนแล้วจึงเท
๒. ภิกษุณีเทบนคันนา
๓. ภิกษุณีบอกเจ้าของก่อนแล้วจึงเท
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๕๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ
๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการดูการขับร้องฟ้อนรำ
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๘๓๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน
ที่ให้เหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น มีงานมหรสพบนยอดเขา พวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์พากันไปดูมหรสพบนยอดเขา พวกชาวบ้านจึงตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การประโคม
ดนตรีบ้าง เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงไป
ดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การประโคมดนตรีบ้าง เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกามเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้พระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไปดู
การฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การประโคมดนตรีบ้าง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูล
รับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุ
ทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การประโคมดนตรี
บ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณี
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๕๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๘๓๔] ก็ภิกษุณีใดไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง หรือการประโคมดนตรี
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๓๕] คำว่า ก็ ... ใด คือผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะว่าเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า การฟ้อนรำ ได้แก่ การฟ้อนรำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ชื่อว่า การขับร้อง ได้แก่ การขับร้องอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ชื่อว่า การประโคมดนตรี ได้แก่ การประโคมดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่ง
บทภาชนีย์
[๘๓๖] ภิกษุณีเดินไปเพื่อที่จะดู ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนอยู่ในที่ที่พอจะมอง
เห็นหรือได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พ้นสายตาไปแล้วกลับแลดูหรือฟังอีก ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีเดินไปเพื่อจะดูมหรสพแต่ละอย่าง ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนดูอยู่ในที่ที่พอ
จะมองเห็นหรือได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พ้นสายตาไปแล้วกลับแลดูหรือฟังอีก
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๕๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๓๗] ๑. ภิกษุณียืนในอาราม เห็นหรือได้ยิน ๑
๒. ภิกษุณียืน นั่งหรือนอนอยู่ เขาฟ้อนรำ ขับร้อง หรือประโคน
ผ่านมายังที่นั้น ๆ
๓. ภิกษุณีเดินสวนทางไปเห็นหรือได้ยิน
๔. ภิกษุณีมีธุระจำเป็นเดินผ่านไปเห็นหรือได้ยิน
๕. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๖. ภิกษุณีวิกลจริต
๗. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ลสุณวรรคที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ยืนอยู่ภายในอาราม เห็นหรือได้ยินการฟ้อนรำเป็นต้นภายในอารามหรือภายนอกอาราม (วิ.อ. ๒/๘๗๗/
๔๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๕๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๒. อันธการวรรค
หมวดว่าด้วยความมืด
สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการสนทนากับชายในที่มืด
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสีนีของพระภัททกาปิลานี
[๘๓๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ชายผู้เป็นญาติของภิกษุณีผู้เป็น
อันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานีเดินทางจากหมู่บ้านไปกรุงสาวัตถีด้วยธุระบางอย่าง
ครั้งนั้น ภิกษุณีนั้นยืนเคียงคู่กันบ้าง สนทนากันบ้าง๑สองต่อสองกับชายนั้นในเวลา
ค่ำคืน ไม่มีประทีป๒
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีจึงยืนเคียงคู่กันบ้าง สนทนากันบ้างสองต่อสองกับชายในเวลาค่ำคืน ไม่มี
ประทีปเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณียืนเคียงคู่กันบ้าง
สนทนากันบ้างสองต่อสองกับชายในเวลาค่ำคืน ไม่มีประทีป จริงหรือ” ภิกษุ
ทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงยืนเคียงคู่กันบ้าง สนทนากันบ้างสองต่อสอง

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงสนทนากันในเรื่องเกี่ยวกับการครองเรือน (วิ.อ. ๒/๘๓๙/๔๙๕)
๒ คำว่า “ไม่มีประทีป” หมายถึงไม่มีแสงสว่างอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาแสงตะเกียง แสงจันทร์ แสง
อาทิตย์ และแสงไฟ (วิ.อ. ๒/๘๓๙/๔๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๕๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์
กับชาย ในเวลาค่ำคืนไม่มีประทีปเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน
ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๓๙] ก็ภิกษุณีใดยืนเคียงคู่กันหรือสนทนากันสองต่อสองกับชายใน
เวลาค่ำคืน ไม่มีประทีป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๔๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ในเวลาค่ำคืน ได้แก่ เมื่อดวงอาทิตย์ตกแล้ว
คำว่า ไม่มีประทีป คือ ไม่มีแสงสว่าง
ที่ชื่อว่า ชาย ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้
แต่เป็นมนุษย์ผู้ชายที่รู้เดียงสา สามารถยืนเคียงคู่กัน สนทนากันได้
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง คือ ชาย และภิกษุณี
คำว่า ยืนเคียงคู่กัน คือ ยืนอยู่ในช่วงแขนชาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า หรือสนทนากัน คือ ยืนเจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนชาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๕๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากันพ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ
ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากันกับยักษ์ เปรต บัณเฑาะก์หรือสัตว์ดิรัจฉาน
ตัวผู้ที่มีร่างคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๔๑] ๑. ภิกษุณีมีสตรีคนใดคนหนึ่งที่รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน
๒. ภิกษุณีผู้ไม่ประสงค์จะอยู่ในที่ลับ ยืนเคียงคู่กันหรือสนทนากัน
๓. ภิกษุณีที่ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากันแต่คิดในเรื่องอื่น
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๕๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
๒. อันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการยืนกับชายในที่กำบัง
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานี
[๘๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ชายผู้เป็นญาติของภิกษุณีผู้เป็น
อันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานีเดินทางจากหมู่บ้านไปกรุงสาวัตถีด้วยธุระบางอย่าง
ลำดับนั้น ภิกษุณีนั้นคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามยืนเคียงคู่กัน สนทนากัน
สองต่อสองกับชายในเวลาค่ำมืด ไม่มีประทีป” จึงยืนเคียงคู่กันบ้าง สนทนากัน
บ้างในโอกาสที่กำบัง
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีจึงยืนเคียงคู่กันบ้าง สนทนากันบ้างสองต่อสองกับชายในโอกาสที่กำบังเล่า”
ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึง
ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณียืนเคียงคู่กันบ้าง
สนทนากันบ้างสองต่อสองกับชายในโอกาสที่กำบัง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุ
ทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงยืนเคียงคู่กันบ้าง สนทนากันบ้างสองต่อสองกับชายใน
โอกาสที่กำบังเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๕๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๘๔๓] ก็ภิกษุณีใดยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากันสองต่อสองกับชายใน
โอกาสที่กำบัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๔๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะว่าเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
โอกาสชื่อว่า ที่กำบัง ได้แก่ ที่กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่าน
ต้นไม้ เสา หรือพ้อม๑ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ชื่อว่า ชาย ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉาน
ตัวผู้ แต่เป็นมนุษย์ผู้ชายที่รู้เดียงสา สามารถจะยืนเคียงคู่สนทนากันได้
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง คือ ชาย และภิกษุณี
คำว่า ยืนเคียงคู่กัน คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนชาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า หรือสนทนากัน คือ สนทนาอยู่ในระยะช่วงแขนผู้ชาย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากันพ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ
ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากันกับยักษ์ เปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉาน
ตัวผู้ที่มีร่างคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ “พ้อม” คือภาชนะสานขนาดใหญ่สำหรับบรรจุข้าวเปลือก บางทีเรียกว่า กระพ้อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๕๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๔๕] ๑. ภิกษุณีมีสตรีคนใดคนหนึ่งที่รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน
๒. ภิกษุณีผู้ไม่ประสงค์ที่จะอยู่ในที่ลับ ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากัน
๓. ภิกษุณีที่ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากันแต่คิดในเรื่องอื่น
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๖๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
๒. อันธการวรค
สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการสนทนากับชายในที่แจ้ง
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานี
[๘๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ชายผู้เป็นญาติของภิกษุณีผู้เป็น
อันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานีเดินทางจากหมู่บ้านไปกรุงสาวัตถีด้วยธุระบางอย่าง
ลำดับนั้น ภิกษุณีนั้นคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามยืนเคียงคู่กัน สนทนากัน
สองต่อสองกับชายในโอกาสที่กำบัง” จึงยืนเคียงคู่กันบ้าง สนทนากันบ้างสองต่อ
สองกับชายในที่แจ้ง
ภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนนางภิกษุณีจึง
ยืนเคียงคู่กันบ้าง สนทนากันบ้างสองต่อสองกับชายในที่แจ้งเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณี
เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณียืนเคียงคู่กันบ้าง
สนทนากันบ้างสองต่อสองกับชายในที่แจ้ง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
ไฉนภิกษุณีจึงยืนเคียงคู่กันบ้าง สนทนากันบ้างสองต่อสองกับชายในที่แจ้งเล่า ภิกษุ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๖๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๘๔๗] ก็ภิกษุณีใดยืนเคียงคู่กันหรือสนทนากันสองต่อสองกับชายในที่แจ้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๔๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ที่แจ้ง ได้แก่ สถานที่มิได้กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่าน
ต้นไม้ เสา หรือพ้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ชื่อว่า ชาย ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้
แต่เป็นมนุษย์ผู้ชายที่รู้เดียงสา สามารถยืนเคียงคู่สนทนากันได้
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง คือ ชาย และภิกษุณี
คำว่า ยืนเคียงคู่กัน คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนชาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า หรือสนทนากัน คือ สนทนาอยู่ในระยะช่วงแขนชาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากันพ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ
ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากันกับยักษ์ เปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉาน
ตัวผู้ที่มีร่างคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๖๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๔๙] ๑. ภิกษุณีมีสตรีคนใดคนหนึ่งที่รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน
๒. ภิกษุณีผู้ไม่ประสงค์ที่จะอยู่ในที่ลับ ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากัน
๓. ภิกษุณีที่ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากันแต่คิดในเรื่องอื่น
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๖๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
๒. อันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการส่งเพื่อนภิกษุณีกลับ
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๘๕๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทายืนเคียงคู่กันบ้าง
สนทนากันบ้าง พูดกระซิบข้างหูบ้างสองต่อสองกับชายในถนนบ้าง ตรอกตันบ้าง
ทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปก่อนบ้าง
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทายืนเคียงคู่กันบ้าง สนทนากันบ้าง พูดกระซิบข้างหูบ้างสองต่อ
สองกับชายในถนนบ้าง ตรอกตันบ้าง ทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับ
ไปก่อนบ้างเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทายืนเคียงคู่กัน
บ้าง สนทนากันบ้าง พูดกระซิบข้างหูบ้างสองต่อสองกับชายในถนนบ้าง ตรอกตัน
บ้าง ทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปก่อนบ้าง จริงหรือ” ภิกษุ
ทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทายืนเคียงคู่กันบ้าง สนทนากันบ้าง พูด
กระซิบข้างหูบ้างสองต่อสองกับชายในถนนบ้าง ตรอกตันบ้าง ทางสามแพร่งบ้าง
ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปก่อนบ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๖๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๘๕๑] ก็ภิกษุณีใดยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากัน หรือพูดกระซิบข้างหู
สองต่อสองกับชายในถนน หรือตรอกตัน หรือทางสามแพร่ง หรือส่งภิกษุณีผู้
เป็นเพื่อนกลับไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๕๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ถนน ได้แก่ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงทางเดิน
ที่ชื่อว่า ตรอกตัน ได้แก่ คนเข้าไปทางใดต้องเดินออกทางนั้น
ที่ชื่อว่า ทางสามแพร่ง ได้แก่ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงทางแยก
ที่ชื่อว่า ชาย ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉาน
ตัวผู้ แต่เป็นมนุษย์ผู้ชายที่รู้เดียงสา สามารถยืนร่วมกัน สนทนากันได้
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง คือ ชาย และภิกษุณี
คำว่า ยืนเคียงคู่กัน คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนชาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า หรือสนทนากัน คือ สนทนากันอยู่ในระยะช่วงแขนชาย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
คำว่า หรือพูดกระซิบข้างหู คือ บอกเนื้อความใกล้หูชาย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๖๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร
คำว่า หรือส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไป คือ ประสงค์จะประพฤติไม่สมควร
จึงส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนพ้น
ระยะที่จะมองเห็น หรือระยะที่จะได้ยิน ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อภิกษุณีผู้เป็นเพื่อน
พ้นไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากันกับชายพ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ
ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากันกับยักษ์ เปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉาน
ตัวผู้ที่มีร่างคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๕๓] ๑. ภิกษุณีมีสตรีคนใดคนหนึ่งที่รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน
๒. ภิกษุณีผู้ไม่ประสงค์ที่จะอยู่ในที่ลับยืนเคียงคู่กันหรือสนทนากัน
๓. ภิกษุณีที่ยืนเคียงคู่กันหรือสนทนากันแต่คิดในเรื่องอื่น
๔. ภิกษุณีส่งเพื่อนภิกษุณีกลับเมื่อมีเหตุจำเป็น
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๖๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ
๒. อันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการจากไปโดยไม่บอกเจ้าของ
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๘๕๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นภิกษุณีประจำ
ตระกูลหนึ่ง รับภัตตาหารประจำ ครั้นเวลาเช้า ภิกษุณีนั้นครองอันตรวาสก ถือ
บาตรและจีวร๑เข้าไปถึงที่ตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้ว นั่งบนอาสนะแล้วจากไปโดยไม่
บอกเจ้าของบ้าน หญิงรับใช้ตระกูลนั้นกวาดเรือนได้เก็บอาสนะนั้นไว้ระหว่างภาชนะ
คนในบ้านไม่เห็นอาสนะ ได้ไปถามภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า อาสนะอยู่ที่ไหน”
ภิกษุณีนั้นกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ดิฉันก็ไม่เห็นอาสนะนั้น”
คนเหล่านั้นพูดว่า “แม่เจ้า โปรดให้อาสนะนั้นเถิด” บริภาษแล้วเลิกถวาย
ภัตตาหารประจำ ต่อมาคนเหล่านั้นทำความสะอาดบ้านหลังนั้นพบอาสนะซ่อนอยู่
ระหว่างภาชนะ จึงขอขมาภิกษุณีนั้นแล้วได้เริ่ม(ถวาย)ภัตตาหารประจำ
ครั้งนั้น ภิกษุณีนั้นบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุณีผู้มัก
น้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีจึงเข้าไปสู่ตระกูล
ในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร นั่งบนอาสนะแล้วจากไปโดยไม่บอกเจ้าของ(บ้าน)เล่า”
ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีเข้าสู่ตระกูลในเวลา

เชิงอรรถ :
๑ ครองอันตรวาสกถือบาตรจีวร ดู วินัยปิฎกแปล เล่ม ๑ ข้อ ๒๒ หน้า ๑๔ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๖๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕ สิกขาบทวิภังค์
ก่อนฉันภัตตาหาร นั่งบนอาสนะแล้วจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน จริงหรือ” ภิกษุ
ทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีเข้าสู่ตระกูลในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร นั่งบน
อาสนะแล้วจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้านเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๕๕] ก็ภิกษุณีใดเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร นั่งบนอาสนะ
แล้วจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๕๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า เวลาก่อนฉันภัตตาหาร คือ ตั้งแต่เวลาอรุณขึ้นจนถึงเที่ยงวัน
ที่ชื่อว่า ตระกูล หมายถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร
คำว่า เข้าไป คือ ไปในตระกูลนั้น
ที่ชื่อว่า อาสนะ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงที่สำหรับนั่งขัดสมาธิ
คำว่า นั่ง คือ นั่งบนอาสนะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๖๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร
คำว่า จากไปโดยมิได้บอกเจ้าของบ้าน ความว่า ไม่บอกคนใดคนหนึ่งใน
ตระกูลนั้นผู้รู้เดียงสา ก้าวพ้นชายคา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินล่วงเขตบ้านในที่แจ้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๘๕๗] ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก จากไป ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีไม่แน่ใจ จากไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว จากไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ที่ไม่ใช่ที่สำหรับนั่งขัดสมาธิ ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๕๘] ๑. ภิกษุณีไปโดยบอกแล้ว
๒. ภิกษุณีผู้นั่งบนอาสนะที่เคลื่อนย้ายไม่ได้
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๖๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ
๒. อันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๖
ว่าด้วยการนั่งนอนบนอาสนะโดยไม่บอกเจ้าของ
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๘๕๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเข้าไปสู่ตระกูล
ทั้งหลายภายหลังฉันภัตตาหาร นั่งบ้าง นอนบ้างบนอาสนะโดยไม่บอกเจ้าของ(บ้าน)
คนในบ้านเกรงใจภิกษุณีถุลลนันทา จึงไม่กล้านั่งหรือนอนบนอาสนะ คนทั้งหลายพา
กันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงเข้าไปสู่ตระกูลภายหลัง
ฉันภัตตาหาร นั่งบ้าง นอนบ้างบนอาสนะโดยไม่บอกเจ้าของ(บ้าน)เล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึง
เข้าไปสู่ตระกูลภายหลังฉันภัตตาหาร นั่งบ้าง นอนบ้างบนอาสนะโดยไม่บอกเจ้า
ของ(บ้าน)เล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาเข้าไปสู่ตระกูล
ภายหลังฉันภัตตาหาร นั่งบ้าง นอนบ้างบนอาสนะโดยไม่บอกเจ้าของ(บ้าน) จริง
หรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง
ตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงเข้าไปสู่ตระกูลภายหลังฉัน
ภัตตาหาร นั่งบ้าง นอนบ้างบนอาสนะโดยไม่บอกเจ้าของ(บ้าน)เล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่
แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๗๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๖ สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๘๖๐] ก็ภิกษุณีใดเข้าไปสู่ตระกูลภายหลังฉันภัตตาหาร นั่งหรือนอนบน
อาสนะ๑โดยไม่บอกเจ้าของบ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๖๑] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ภายหลังฉันภัตตาหาร ได้แก่ ตั้งแต่เวลาเที่ยงวันไปจนถึงดวงอาทิตย์
ตก
ที่ชื่อว่า ตระกูล หมายถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร
คำว่า เข้าไป คือ ไปในตระกูลนั้น
คำว่า โดยไม่บอกเจ้าของบ้าน คือ ไม่ขออนุญาตเจ้าของบ้านผู้รับผิดชอบใน
ตระกูลนั้น
ที่ชื่อว่า อาสนะ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงที่สำหรับนั่งขัดสมาธิ
คำว่า นั่ง คือ นั่งบนอาสนะนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า หรือนอน คือ นอนบนอาสนะนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ นั่งแล้วไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ตัวเดียว ไม่นั่งแต่นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ตัวเดียว นั่งแล้วนอน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ๒ ตัว (วิ.อ. ๒/๘๖๐/๔๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๗๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๘๖๒] ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก นั่งหรือนอนบนอาสนะ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีไม่แน่ใจ นั่งหรือนอนบนอาสนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว นั่งหรือนอนบนอาสนะ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ไม่ใช่ที่สำหรับนั่งขัดสมาธิ ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๖๓] ๑. ภิกษุณีบอกแล้วนั่งหรือนอนบนอาสนะ
๒. ภิกษุณีนั่งหรือนอนบนอาสนะที่เขาปูไว้ประจำ
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๗๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ
๒. อันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการปูลาดโดยไม่บอก
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๘๖๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีหลายรูปเดินทางไปกรุง
สาวัตถี แคว้นโกศล ถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเวลาเย็น เข้าไปสู่ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลหนึ่งขอโอกาส ลำดับนั้น พราหมณีได้กล่าวกับภิกษุณีเหล่านั้น ดังนี้ว่า
“แม่เจ้าทั้งหลายโปรดรอจนกว่าพราหมณ์จะมา”
พวกภิกษุณีกล่าวว่า “พวกเราจะรอจนกว่าพราหมณ์จะมา” ได้ปูที่นอน
บางพวกนั่ง บางพวกนอน
ครั้นในตอนกลางคืน พราหมณ์กลับมาพบเห็นได้กล่าวกับพราหมณีดังนี้ว่า
“สตรีเหล่านี้เป็นใคร”
พราหมณีกล่าวว่า “พ่อเจ้า สตรีเหล่านี้เป็นภิกษุณี”
พราหมณ์กล่าวว่า “พวกท่านจงขับไล่หญิงชั่วหัวโล้นพวกนี้ออกไป” แล้วให้
ขับไล่ออกจากเรือน
ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นไปถึงกรุงสาวัตถี เล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาวิกาล ปูหรือใช้ให้ปูที่นอนโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน
แล้วนั่งบ้าง นอนบ้างเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีเข้าไปสู่ตระกูลในเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๗๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ สิกขาบทวิภังค์
วิกาล ปูหรือใช้ให้ปูที่นอนโดยไม่บอกเจ้าของบ้านแล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาวิกาล ปูหรือใช้ให้ปู
ที่นอนโดยไม่บอกเจ้าของบ้านแล้วนั่งบ้าง นอนบ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อม
ใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๖๕] ก็ภิกษุณีใดเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาวิกาล ปูหรือใช้ให้ปูที่นอนโดย
ไม่บอกเจ้าของบ้านแล้วนั่งหรือนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๖๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เวลาดวงอาทิตย์ตกไปจนถึงอรุณขึ้น
ที่ชื่อว่า ตระกูล หมายถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร
คำว่า เข้าไป คือ ไปในตระกูลนั้น
คำว่า โดยไม่บอกเจ้าของบ้าน คือ ไม่ขออนุญาตเจ้าของบ้านผู้รับผิดชอบ
ในตระกูลนั้น
ที่ชื่อว่า ที่นอน โดยที่สุดแม้เครื่องปูลาดที่ทำด้วยใบไม้
คำว่า ปู คือ ปูเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๗๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร
คำว่า ใช้ให้ปู คือ ใช้ผู้อื่นให้ปู
คำว่า นั่ง คือ นั่งบนที่นอนนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า หรือนอน คือ นอนบนที่นอนนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
[๘๖๗] ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก ปูหรือใช้ผู้อื่นให้ปูที่นอน
แล้วนั่งหรือนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีไม่แน่ใจ ปูหรือใช้ผู้อื่นให้ปูที่นอนแล้วนั่งหรือนอน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว ปูหรือใช้ผู้อื่นให้ปูที่นอนแล้วนั่งหรือ
นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๖๘] ๑. ภิกษุณีบอกเจ้าของ ปูเองหรือใช้ผู้อื่นให้ปูที่นอน นั่งหรือนอน
๒. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๗๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๘ นิทานวัตถุ
๒. อันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการให้ผู้อื่นโพนทะนา
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานี
[๘๖๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีอันเตวาสินีของพระ
ภัททกาปิลานีอุปัฏฐากพระภัททกาปิลานีโดยเคารพ พระภัททกาปิลานีได้กล่าวกับ
ภิกษุณีทั้งหลายดังนี้ว่า “แม่เจ้า ภิกษุณีนี้อุปัฏฐากเราโดยเคารพ เราจะให้จีวรเธอ”
แต่ภิกษุณีนั้นเพราะความเข้าใจผิด เพราะใคร่ครวญผิด ให้ผู้อื่นโพนทะนาว่า “แม่เจ้า
เขาว่าดิฉันไม่ได้อุปัฏฐากแม่เจ้าโดยเคารพ แม่เจ้าจะไม่ให้จีวรแก่ดิฉัน”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีจึงให้ผู้อื่นโพนทะนาเพราะเข้าใจผิด เพราะใคร่ครวญผิดเล่า” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีให้ผู้อื่นโพนทะนา
เพราะเข้าใจผิดเพราะใคร่ครวญผิด จริงหรือภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงให้ผู้อื่นโพนทะนาเพราะเข้าใจผิด เพราะใคร่ครวญผิดเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่
แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๗๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๘ บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๘๗๐] ก็ภิกษุณีใดเพราะเข้าใจผิด เพราะใคร่ครวญผิด ให้ผู้อื่นโพนทะนา
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๗๑] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า เพราะเข้าใจผิด คือ เพราะเข้าใจเป็นอย่างอื่น
คำว่า เพราะใคร่ครวญผิด คือ เพราะใคร่ครวญเป็นอย่างอื่น
คำว่า ผู้อื่น ได้แก่ ให้อุปสัมบันโพนทะนา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๘๗๒] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้โพนทะนา ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ให้โพนทะนา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้โพนทะนา ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๗๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๘ อนาปัตติวาร
ทุกกฏ
ภิกษุณีให้อนุปสัมบันโพนทะนา ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๗๓] ๑. ภิกษุณีวิกลจริต
๒. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๗๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ
๒. อันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๙
ว่าด้วยการสาปแช่งตนเองและผู้อื่น
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๘๗๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่เห็นสิ่งของของ
ตนได้กล่าวกับภิกษุณีจัณฑกาลีดังนี้ว่า “แม่เจ้า ท่านเห็นสิ่งของของพวกเราบ้างไหม”
ภิกษุณีจัณฑกาลีตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ดิฉันนี่แหละที่เป็นขโมย
ดิฉันนี่แหละไม่มีความละอาย พวกแม่เจ้าที่ไม่เห็นสิ่งของของตนต่างพากันกล่าวกับ
ดิฉันอย่างนี้ว่า ‘เห็นสิ่งของของพวกเราบ้างไหม’ แม่เจ้า ถ้าดิฉันเอาสิ่งของของ
พวกท่านไป ดิฉันก็จงเป็นผู้ไม่ใช่สมณะหญิง จงเคลื่อนจากพรหมจรรย์ จงบังเกิดใน
นรก ส่วนผู้ที่กล่าวหาดิฉันด้วยเรื่องที่ไม่จริงก็จงไม่เป็นสมณะหญิง จงเคลื่อนจาก
พรหมจรรย์ จงบังเกิดในนรก”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าจัณฑกาลีจึงสาปแช่งตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง ด้วยนรกบ้าง ด้วยพรหมจรรย์๑ บ้าง
เล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุ
ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีสาปแช่งตนเอง

เชิงอรรถ :
๑ สาปแช่งด้วยนรกด้วยพรหมจรรย์ในที่นี้ คือด่าโดยนัยเป็นต้นว่า ขอให้ดิฉันจงบังเกิดในนรกอเวจี หรือ
ขอให้ผู้อื่นจงบังเกิดในนรกอเวจี ขอให้ดิฉันเป็นคฤหัสถ์ กลับไปนุ่งผ้าขาว เป็นปริพาชิกา หรือขอให้ผู้อื่น
จงเป็นอย่างที่ดิฉันเป็นนี้ คือสาปแช่งตนและผู้อื่นให้ตกนรก สาปแช่งตนและผู้อื่นให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์
(วิ.อ. ๒/๘๗๕/๔๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๗๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙ บทภาชนีย์
บ้าง ผู้อื่นบ้าง ด้วยนรกบ้าง ด้วยพรหมจรรย์บ้าง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุ
ทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจัณฑกาลีจึงสาปแช่งตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง ด้วยนรกบ้าง
ด้วยพรหมจรรย์บ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๗๕] ก็ภิกษุณีใดสาปแช่งตนเองหรือผู้อื่นด้วยนรกหรือด้วยพรหมจรรย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๗๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ตนเอง คือ เฉพาะตัวเอง
คำว่า ผู้อื่น ได้แก่ อุปสัมบัน ภิกษุณีสาปแช่ง(อุปสัมบัน)ด้วยนรกหรือด้วย
พรหมจรรย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๘๗๗] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สาปแช่งด้วยนรกหรือ
ด้วยพรหมจรรย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๘๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ สาปแช่งด้วยนรกหรือด้วยพรหมจรรย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สาปแช่งด้วยนรกหรือด้วย
พรหมจรรย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุณีสาปแช่งด้วย(คำที่บ่งถึง)กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรตวิสัย หรือคน
โชคร้าย๑ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีสาปแช่งอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๗๘] ๑. ภิกษุณีมุ่งอรรถ๒
๒. ภิกษุณีมุ่งธรรม๓
๓. ภิกษุณีมุ่งสั่งสอน
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คือสาปแช่งให้เป็นคนมีรูปร่างแปลกประหลาดว่า “ขอให้เราตาบอด เป็นง่อย หรือให้คนอื่นเป็นอย่างนี้ ๆ”
(กงฺขา.ฏีกา ๔๙๗)
๒ “มุ่งอรรถ” ในที่นี้หมายถึงกล่าวอรรถกถา (วิ.อ. ๒/๘๗๘/๔๙๘)
๓ “มุ่งธรรม” ในที่นี้หมายถึงบอกบาลี (วิ.อ. ๒/๘๗๘/๔๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๘๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ
๒. อันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการร้องไห้ทุบตีตนเอง
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๘๗๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีจัณฑกาลีทะเลาะกับ
ภิกษุณีทั้งหลายแล้วร้องไห้ทุบตีตนเอง
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าจัณฑกาลีจึงร้องไห้ทุบตีตนเองเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้
ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีร้องไห้ทุบตี
ตนเอง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจัณฑกาลีจึงร้องไห้ทุบตี
ตนเองเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณี
ทั้งหลาย ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๘๐] ก็ภิกษุณีใดร้องไห้ทุบตีตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๘๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๘๘๑] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ตนเอง คือ เฉพาะตนเอง
ภิกษุณีร้องไห้ทุบตีตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุบตี(ตนเอง)แต่ไม่ร้องไห้
ต้องอาบัติทุกกฏ ร้องไห้แต่ไม่ทุบตี(ตนเอง) ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๘๒] ๑. ภิกษุณีถูกความเสื่อมญาติ เสื่อมโภคะหรือโรครุมเร้า ร้องไห้แต่
ไม่ทุบตีตนเอง
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อันธการวรรคที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๘๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๓. นัคควรรค
หมวดว่าด้วยการเปลือยกาย
สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการเปลือยกายอาบน้ำ
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๘๘๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีหลายรูปเปลือยกาย
อาบน้ำในแม่น้ำอจิรวดีท่าเดียวกับหญิงแพศยา พวกหญิงแพศยาเย้ยหยันภิกษุณี
เหล่านั้นว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่านยังเป็นสาว จะประพฤติพรหมจรรย์ไปทำไม
กัน ธรรมดามนุษย์ควรบริโภคกามมิใช่หรือ ต่อเมื่อชราพวกท่านจึงค่อยประพฤติ
พรหมจรรย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ชื่อว่าได้หยิบฉวยเอาประโยชน์ทั้งสองแล้ว” พวก
ภิกษุณีถูกพวกหญิงแพศยาเย้ยหยันต่างเก้อเขิน ครั้นกลับไปสำนักแล้วจึงบอกเรื่อง
นั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ พวกภิกษุณีได้บอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ พวก
ภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
ฯลฯ
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย๑
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูความพิสดารข้อ ๖๕๖ หน้า ๔-๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๘๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๘๘๔] ก็ภิกษุณีใดเปลือยกายอาบน้ำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๘๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า เปลือยกายอาบน้ำ คือ ไม่นุ่งผ้าหรือไม่ห่มผ้าอาบน้ำ ต้องอาบัติ
ทุกกฏในขณะที่อาบ อาบเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๘๖] ๑. ภิกษุณีถูกโจรลักจีวรหรือจีวรหาย
๒. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๘๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
๓. นัคควรรค
สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการใช้ผ้าอาบน้ำไม่ได้ขนาด
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๘๘๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้
ภิกษุณีใช้ผ้าอาบน้ำ พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์คิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้า
อาบน้ำแล้ว” พากันใช้ผ้าอาบน้ำไม่ได้ขนาด เดินเที่ยวย้อยข้างหน้าบ้าง ย้อยข้าง
หลังบ้าง
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงใช้ผ้าอาบน้ำไม่ได้ขนาดเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้
นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าอาบ
น้ำไม่ได้ขนาด จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึง
ใช้ผ้าอาบน้ำไม่ได้ขนาดเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๘๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๘๘๘] ก็ภิกษุณีผู้จะให้ทำผ้าอาบน้ำ พึงทำให้ได้ขนาด ขนาดในข้อนั้น
คือ ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ โดยคืบสุคต๑ ทำให้เกินขนาดนั้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ที่ชื่อว่าเฉทนกะ๒
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๘๙] ที่ชื่อว่า ผ้าอาบน้ำ ได้แก่ ผ้าที่ใช้นุ่งอาบน้ำ
คำว่า ผู้จะให้ทำ อธิบายว่า ภิกษุณีทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ พึงทำให้ได้ขนาด
ขนาดในข้อนั้น คือ ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ โดยคืบสุคต ภิกษุณีทำเอง
หรือใช้ผู้อื่นให้ทำเกินขนาดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ทำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะได้มา ต้องตัดของนั้นเสียก่อนแล้วแสดงอาบัติ
บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๘๙๐] ภิกษุณีทำผ้าอาบน้ำที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุณีใช้ผู้อื่นให้ทำผ้าอาบน้ำที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีทำผ้าอาบน้ำที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุณีใช้ผู้อื่นให้ทำผ้าอาบน้ำที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ ชื่อมาตราวัด ๑ คืบสุคต เท่ากับ ๓ คืบ ของคนสัณฐานปานกลาง เท่ากับ ๑ ศอกครึ่ง โดยศอกช่างไม้
แต่ในปัจจุบันให้ถือตามไม้เมตร คือเท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร (วิ.อ ๒/๓๔๘-๓๔๙/๖๑)
๒ คำว่า “เฉทนกะ” เป็นชื่อเฉพาะของสิกขาบทนี้ หมายถึงอาบัติที่เมื่อต้องเข้าแล้วจำเป็นต้องตัดหรือเฉือน
ผ้าอาบน้ำที่เกินขนาดออกเสียก่อนจึงจะสามารถแสดงอาบัติตกไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๘๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
ภิกษุณีทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีได้ผ้าอาบน้ำที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๙๑] ๑. ภิกษุณีทำผ้าอาบน้ำได้ขนาด
๒. ภิกษุณีทำผ้าอาบน้ำหย่อนกว่าขนาด
๓. ภิกษุณีได้ผ้าอาบน้ำที่ผู้อื่นทำไว้เกินขนาดมาตัดให้ได้ขนาดแล้ว
ใช้สอย
๔. ภิกษุณีทำเป็นเพดาน ผ้าปูพื้น ผ้าม่าน ผ้าเปลือกฟูกหรือหมอน
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๘๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
๓. นัคควรรค
สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการเลาะจีวรแล้วไม่เย็บ
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๘๙๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งทำจีวรไม่ดี เย็บ
ไม่ดีทั้งที่ใช้ผ้าสำหรับทำจีวรราคาแพง ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้
ว่า “แม่เจ้า ผ้าสำหรับทำจีวรของท่านดีจริง แต่กลับทำจีวรไม่ดี เย็บไม่ดี”
ภิกษุณีนั้นกล่าวว่า “แม่เจ้า ดิฉันจะเลาะออก ท่านจะเย็บให้หรือ”
ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวว่า “แม่เจ้า ดิฉันจะเย็บให้”
ครั้นแล้ว ภิกษุณีนั้นจึงเลาะจีวรแล้วมอบให้ภิกษุณีถุลลนันทา ภิกษุณีถุลลนันทา
กล่าวว่า “ดิฉันจะเย็บให้ ดิฉันจะเย็บให้” แต่ไม่เย็บให้ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ
ภิกษุณีนั้นจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาจึงให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้วไม่เย็บให้ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้
เย็บเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้เลาะจีวร
ของภิกษุณีแล้วไม่เย็บให้ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลาย
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้วไม่เย็บให้ ทั้งไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๘๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์
ขวนขวายใช้ผู้อื่นเย็บเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๙๓] ก็ภิกษุณีใดเลาะหรือใช้ให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้ว ภายหลัง
ภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย๑ ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายใชผู้อื่นให้เย็บ พ้น ๔-๕ วัน๒
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๙๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ของภิกษุณี ได้แก่ ภิกษุณีรูปอื่น
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า เลาะ คือ เลาะด้วยตนเอง
คำว่า ใช้ให้เลาะ คือ ใช้ผู้อื่นให้เลาะ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงไม่ตกอยู่ในอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตราย ๑๐ อย่าง คือ (๑) พระราชาเสด็จมา
(๒) โจรมาปล้น (๓) ไฟไหม้ (๔) น้ำหลากมา (๕) คนมามาก (๖) ผีเข้าภิกษุ (๗) สัตว์ร้ายเข้ามาในวัด
(๘) งูเลื้อยเข้ามา (๙) ภิกษุเป็นโรคร้าย (๑๐) เกิดอันตรายแก่พรมหจรรย์ เช่นมีคนมาจับภิกษุณีสึก
(วิ.อ. ๒/๘๙๓-๔/๕๐๐, ดู วิ. ม. ๔/๑๕๐/๑๕๙)
๒ “พ้น ๔-๕ วัน” หมายถึงล่วงเลย ๕ วัน นับจากวันที่เลาะจีวรนั้น (สารตฺถ.ฏีกา. ๓/๘๙๓/๑๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๙๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์
คำว่า ภายหลัง ภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย คือ เมื่อไม่มีอันตราย
คำว่า ไม่เย็บ คือ ไม่เย็บด้วยตนเอง
คำว่า ไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ คือ ไม่สั่งผู้อื่น
คำว่า พ้น ๔-๕ วัน คือ เก็บไว้ได้ ๔-๕ วัน พอทอดธุระว่า “เราจักไม่เย็บ
จักไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๘๙๕] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน เลาะหรือใช้ให้เลาะจีวร
ภายหลังภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย ไม่เย็บ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ พ้น ๔-๕
วัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ เลาะหรือใช้ให้เลาะจีวร ภายหลังภิกษุณีนั้นผู้ไม่มี
อันตราย ไม่เย็บ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ พ้น ๔-๕ วัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน เลาะหรือใช้ให้เลาะจีวร ภายหลัง
ภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย ไม่เย็บ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ พ้น ๔-๕ วัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุณีเลาะหรือใช้ให้เลาะบริขารอย่างอื่น ภายหลังภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย
ไม่เย็บ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ พ้น ๔-๕ วัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีเลาะหรือใช้ให้เลาะจีวรหรือบริขารอย่างอื่นของอนุปสัมบัน ภายหลัง
ภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย ไม่เย็บ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ พ้น ๔-๕ วัน
ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๙๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๙๖] ๑. ภิกษุณีไม่เย็บในเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหาแล้วไม่ได้
๓. ภิกษุณีกำลังทำการเย็บ พ้น ๔-๕ วัน
๔. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๖. ภิกษุณีวิกลจริต
๗. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๙๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
๓. นัคควรรค
สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการไม่ผลัดเปลี่ยนสังฆาฏิตามกำหนด
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๘๙๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายฝากจีวรไว้กับ
พวกภิกษุณี มีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสกหลีกจาริกไปสู่ชนบท จีวรนั้นเก็บไว้
นานจึงขึ้นรา พวกภิกษุณี(ที่รับฝาก)จึงนำออกผึ่งแดด ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวกับ
ภิกษุณี(ที่รับฝาก)เหล่านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย จีวรที่ขึ้นราเหล่านี้เป็นของใคร”
ลำดับนั้น พวกภิกษุณี(ที่รับฝาก)จึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงฝากจีวรไว้กับพวกภิกษุณีแล้วมีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสก
จาริกไปสู่ชนบทเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย
ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีทั้งหลายฝากจีวรไว้
กับพวกภิกษุณีแล้วมีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสกจาริกไปสู่ชนบท จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงฝากจีวรไว้กับภิกษุณีแล้วมีเพียงอุตตราสงค์
กับอันตรวาสกจาริกไปสู่ชนบทเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๙๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๘๙๘] ก็ภิกษุณีใดให้วาระผลัดเปลี่ยนสังฆาฏิ๑ ที่มีกำหนดระยะเวลา ๕
วันล่วงเลยไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๙๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ให้วาระผลัดเปลี่ยนสังฆาฏิที่มีกำหนดระยะเวลา ๕ วันล่วงเลยไป
อธิบายว่า ไม่นุ่ง ไม่ห่ม ไม่ผึ่งจีวร ๕ ผืน สิ้นวันที่ ๕ คือให้ล่วงเลยไปเป็นวันที่
๕ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๙๐๐] ล่วงเลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่าล่วงเลย ๕ วันแล้ว ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ล่วงเลย ๕ วัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ล่วงเลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ล่วงเลย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “สังฆาฏิ” ในที่นี้หมายถึงจีวร ๕ ผืนของภิกษุณี คือ (๑) สังฆาฏิ (๒) อุตตราสงค์ (๓) อันตรวาสก
(๔) ผ้าอาบน้ำ (๕) ผ้ารัดถัน ภิกษุณีต้องนำผ้า ๕ ผืนนี้ออกมาใช้สอยหรือผึ่งแดด ห้ามเก็บไว้เกิน ๕ วัน
ถ้าเก็บผืนใดผืนหนึ่งไว้เกิน ๕ วัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ : เก็บไว้ ๑ ผืน ต้องอาบัติ ๑ ตัว เก็บไว้ ๕ ผืน
ต้องอาบัติ ๕ ตัว (วิ.อ. ๒ /๓๙๘-๙/๕๐๐-๕๐๑, กงฺขา.อ. ๓๗๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๙๘/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๙๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
ยังไม่ล่วงเลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่าล่วงเลยแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
ยังไม่ล่วงเลย ๕ วัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ยังไม่ล่วงเลย ๕ วัน ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ล่วงเลย ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๐๑] ๑. ภิกษุณี นุ่ง ห่มจีวร ๕ ผืน หรือนำออกผึ่งแดดในวันที่ ๕
๒. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง๑
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ จีวรมีค่ามาก จึงไม่สามารถใช้สอยในคราวมีภัยอันเกิดจากโจรผู้ร้ายเป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ ชื่อว่า มีเหตุ
ขัดข้อง (วิ.อ. ๒/๙๐๑/๕๐๑, กงฺขา.อ. ๓๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๙๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ
๓. นัคควรรค
สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการห่มจีวรสับเปลี่ยนกัน
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๙๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาต
แล้วผึ่งจีวรที่เปียกชุ่ม แล้วเข้าวิหาร ภิกษุณีอีกรูปหนึ่งห่มจีวรผืนนั้นเข้าไป
บิณฑบาตในหมู่บ้าน ภิกษุณี(เจ้าของจีวร)นั้นออกมาถามภิกษุณีทั้งหลายว่า “แม่เจ้า
ทั้งหลายเห็นจีวรของดิฉันบ้างไหม” ภิกษุณีทั้งหลายบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีนั้นทราบ
ลำดับนั้น ภิกษุณีนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีจึงห่มจีวรของ
ดิฉันโดยไม่บอกเล่า” แล้วบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีจึงห่มจีวรของภิกษุณีอื่นโดยไม่บอกเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่อง
นี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีห่มจีวรของภิกษุณีอื่น
โดยไม่บอก จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงห่มจีวรของ
ภิกษุณีอื่นโดยไม่บอกเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๙๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๕ บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๙๐๓] ก็ภิกษุณีใดห่มจีวรสับเปลี่ยนกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๙๐๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า จีวรสับเปลี่ยนกัน ได้แก่ จีวร ๕ ผืน๑ อย่างใดอย่างหนึ่งของ
อุปสัมบัน
ภิกษุณีนุ่งหรือห่มจีวรนั้นที่เจ้าของไม่ได้ให้ หรือโดยไม่ได้บอกกล่าว ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๙๐๕] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ห่มจีวรสับเปลี่ยนกัน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ห่มจีวรสับเปลี่ยนกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ห่มจีวรสับเปลี่ยนกัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ จีวร ๕ ผืน ดู เชิงอรรถข้อ ๘๙๘ หน้า ๑๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๙๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร
ทุกกฏ
ภิกษุณีห่มจีวรสับเปลี่ยนกันกับอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๐๖] ๑. ภิกษุณีนุ่งหรือห่มจีวรที่เจ้าของให้ หรือภิกษุณีนุ่งหรือห่มจีวรนั้น
โดยบอกเจ้าของก่อน
๒. ภิกษุณีมีจีวรถูกชิงไป
๓. ภิกษุณีมีจีวรสูญหาย
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๙๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ
๓. นัคควรรค
สิกขาบทที่ ๖
ว่าด้วยการทำอันตรายแก่จีวรลาภของคณะ
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๙๐๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของภิกษุณี
ถุลลนันทาได้กล่าวกับภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า “แม่เจ้า พวกเราจะถวายจีวรแก่
ภิกษุณีสงฆ์”
ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวว่า “พวกท่านมีกิจมาก มีสิ่งที่ต้องทำมาก” ได้ทำ
อันตราย(แก่ลาภของคณะ) ต่อมา เรือนตระกูลนั้นถูกไฟไหม้ พวกเขาตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงทำอันตรายไทยธรรมของพวกเรา
เล่า พวกเราต้องคลาดจากสมบัติทั้งสอง คือ โภคสมบัติและบุญสมบัติ”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดา
ภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา
จึงทำอันตรายแก่จีวรที่คณะจะพึงได้เล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไป
บอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาทำอันตราย
แก่จีวรที่คณะจะพึงได้ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา
จึงทำอันตรายแก่จีวรที่คณะจะพึงได้เล่า ภิกษุทั้งหลาย การทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๙๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๙๐๘] ก็ภิกษุณีใดทำอันตรายแก่จีวรที่คณะจะพึงได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๙๐๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า คณะ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงภิกษุณีสงฆ์
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะวิกัป
ได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า ทำอันตราย คือ ทำอันตรายด้วยกล่าวว่า “ชนทั้งหลายจะพึงถวาย
จีวรนี้ได้อย่างไรกัน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทำอันตรายบริขารอย่างอื่น ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ทำอันตรายจีวรหรือบริขารอย่างอื่นของภิกษุณีหลายรูป ภิกษุณีรูปเดียว
หรือของอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๑๐] ๑. ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้วกล่าวห้าม
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๐๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น