Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๓-๒ หน้า ๖๘ - ๑๓๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๓-๒ วินัยปิฎกที่ ๐๓ ภิกขุนีวิภังค์



พระวินัยปิฎก
ภิกขุนีวิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการยุยงส่งเสริมให้ภิกษุณีประพฤติเลวทราม
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๒๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกับ
ภิกษุณีทั้งหลายผู้ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้วอย่างนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่าน
จงอยู่คลุกคลีกันเถิด อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณีเหล่าอื่นผู้มีความประพฤติอย่างนี้ มี
กิตติศัพท์อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกัน
และกันก็มีอยู่ในสงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นเลย สงฆ์ได้แต่ว่ากล่าวพวก
ท่านเท่านั้นด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม ด้วยความไม่พอใจ ด้วยการข่มขู่ เพราะ
พวกท่านอ่อนแออย่างนี้ว่า ‘น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติ
เลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์
ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์
ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงกล่าวกับภิกษุณีทั้งหลายผู้ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้วอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลี อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณีเหล่าอื่น ฯลฯ ก็มีอยู่ในสงฆ์
ฯลฯ น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยก
กันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น’ ดังนี้เล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่อง
นี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๖๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ ๑๐ พระบัญญัติ
ภิกษุณีทั้งหลายผู้ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้วอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลี
กัน อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณีเหล่าอื่นผู้มีความประพฤติอย่างนี้ มีกิตติศัพท์อย่างนี้
มีชื่อเสียงอย่างนี้ก็มีอยู่ในสงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นเลย สงฆ์ได้แต่ว่า
กล่าวพวกท่านเท่านั้นด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม ด้วยความไม่พอใจ ด้วยการ
ข่มขู่ เพราะพวกท่านอ่อนแอ อย่างนี้ว่า ‘น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความ
ประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนกัน
ภิกษุณีสงฆ์ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกันอยู่เถิด
สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น’ ดังนี้ จริงหรือ”
พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงบอกภิกษุณีทั้งหลายผู้ถูกสงฆ์สวด
สมนุภาสน์แล้วอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลี อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณี
เหล่าอื่น ฯลฯ ก็มีอยู่ในสงฆ์ ฯลฯ แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกันอยู่เถิด
สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้นดังนี้เล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่
แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๒๘] ก็ภิกษุณีใดกล่าวอย่างนี้ว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
จงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณีเหล่าอื่นผู้มีความประพฤติอย่างนี้ มี
กิตติศัพท์อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของ
กันและกันไว้ก็มีอยู่ในสงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวพวกเธอเลย สงฆ์ได้แต่ว่ากล่าว
พวกท่านเท่านั้นด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม ด้วยความไม่พอใจ ด้วยการข่มขู่
เพราะพวกท่านอ่อนแอ อย่างนี้ว่า “น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความ
ประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียน
ภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยก
กันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๖๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ ๑๐ สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “น้องหญิง ท่าน
อย่ากล่าวอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกัน อย่า
แยกกันอยู่ ภิกษุณีแม้เหล่าอื่นผู้มีความประพฤติอย่างนี้ มีกิตติศัพท์อย่างนี้
มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษกันไว้ก็มีอยู่ใน
สงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นเลย ได้แต่ว่ากล่าวพวกท่านเท่านั้น
ด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม ด้วยความไม่พอใจ ด้วยการข่มขู่ เพราะพวกท่าน
อ่อนแอ อย่างนี้ว่า ‘น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติเลวทราม
มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิด
โทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อม
สรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น” ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณี
ทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้ ก็ยังยืนยันอยู่อย่างนั้น ภิกษุณีนั้นอัน
ภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าเธอ
กำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้งสละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้า
ไม่สละ แม้ภิกษุณีนี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสสที่ชื่อว่ายาวตติยกะ นิสสารณียะ
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๒๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า กล่าวอย่างนี้ คือ กล่าวว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอยู่
คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณีเหล่าอื่นที่มีความประพฤติอย่างนี้ มีกิตติศัพท์
อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษกันไว้ก็มีอยู่
ในสงฆ์ สงฆ์ไม่ว่ากล่าวอะไร ๆ ภิกษุณีเหล่านั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๗๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ ๑๐ สิกขาบทวิภังค์
คำว่า สงฆ์ ... ว่ากล่าวพวกท่าน ... ด้วยความดูหมิ่น ได้แก่ ด้วยความดูถูก
คำว่า เหยียดหยาม ได้แก่ ความหยาบคาย
คำว่า ด้วยความไม่พอใจ ได้แก่ ด้วยความโกรธเคือง
คำว่า ด้วยการข่มขู่ ได้แก่ ด้วยการกำราบ
คำว่า เพราะพวกท่านอ่อนแอ คือ เพราะความไม่มีพวก
สงฆ์ว่ากล่าวอย่างนี้ว่า “น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติ
เลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์
ปกปิดโทษของกันและกัน ท่านทั้งหลายจงแยกกันอยู่ สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยก
กันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น”
คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้ชอบพูดเช่นนั้น
คำว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุณีพวกอื่น
ภิกษุณีทั้งหลายที่ได้เห็นได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า “แม่เจ้า ท่านอย่าพูด
อย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกัน ฯลฯ ท่านทั้งหลายจงแยกกัน
อยู่ สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลาย” พึงว่ากล่าวตักเตือน
เธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี
ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีทั้งหลายรู้แต่ไม่ตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงนำมาท่ามกลางสงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “แม่เจ้า
ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่านจงคลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่
ฯลฯ พวกท่านจงแยกกันอยู่ สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลาย
เท่านั้น” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓
ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอันสงฆ์พึง
สวดสมนุภาสน์
วิธีสวดสมนุภาสน์และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลาย ก็สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุณีผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๗๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ ๑๐ สิกขาบทวิภังค์
[๗๓๐] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟัง ภิกษุณีชื่อนี้กล่าวกับภิกษุณีทั้งหลายผู้ถูกสงฆ์
สวดสมนุภาสน์แล้วอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณี
เหล่าอื่นที่มีความประพฤติอย่างนี้ มีกิตติศัพท์อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียด
เบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษกันไว้ ก็มีอยู่ในสงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวภิกษุณี
เหล่านั้นเลย สงฆ์ได้แต่ว่ากล่าวพวกท่านเท่านั้นด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม
ด้วยความไม่พอใจ ด้วยการข่มขู่ เพราะพวกท่านอ่อนแอ อย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง
ทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มี
ชื่อเสียงในทางไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิง
ทั้งหลายพวกท่านพึงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิง
ทั้งหลายเท่านั้น” ภิกษุณีนั้นยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ก็พึงสวด
สมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีนี้กล่าวกับภิกษุณีทั้งหลายผู้ถูกสงฆ์สวด
สมนุภาสน์แล้วอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณี
เหล่าอื่นที่มีความประพฤติอย่างนี้ มีกิตติศัพท์อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียด
เบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษกันไว้ก็มีในสงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวพวกเธอเลย
สงฆ์ได้แต่ว่ากล่าวพวกท่านเท่านั้นด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม ด้วยความไม่พอใจ
ด้วยการข่มขู่ เพราะพวกท่านอ่อนแอ อย่างนี้ว่า “น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน
มีความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียด
เบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกัน
อยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น” ภิกษุณีนั้น
ยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปใด
เห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง
แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๓
ฯลฯ
ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๗๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ ๑๐ บทภาชนีย์
จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง)เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง)เพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง
ย่อมระงับไป
คำว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน ๆ
คำว่า ยาวตติยกะ คือ ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสน์จบ ๓ ครั้ง ไม่ใช่
ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุ
คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่
คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ชัก
เข้าหาอาบัติเดิม เรียกเข้าหมู่ ภิกษุณีหลายรูปก็ทำไม่ได้ ภิกษุณีรูปเดียวก็ทำไม่ได้
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส
คำว่า สังฆาทิเสส นี้เป็นการขนานนาม เป็นคำเรียกหมวดอาบัตินั้นนั่นเอง
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส
บทภาชนีย์
ติกสังฆาทิเสส
[๗๓๑] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๗๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์] บทสรูป
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๓๒] ๑. ภิกษุณียังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์
๒. ภิกษุณีผู้สละ
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
บทสรุป
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบท๑ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
คือ ๙ สิกขาบทแรก ต้องอาบัติในขณะที่ล่วงละเมิดทีเดียว ๘ สิกขาบทหลัง
ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ภิกษุณีต้องอาบัติข้อใดข้อหนึ่งแล้วต้อง
ประพฤติปักขมานัต๒ในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ภิกษุณีผู้ประพฤติมานัตแล้วถูกสงฆ์เรียกเข้า
หมู่ในสีมาที่มีภิกษุณีสงฆ์ ๒๐ รูป ถ้าภิกษุณีสงฆ์มีคณะ ๒๐ รูปขาดไปแม้เพียง
๑ รูป เรียกภิกษุณีนั้นเข้าหมู่ ภิกษุณีนั้นไม่เป็นอันสงฆ์เรียกเข้าหมู่ และภิกษุณี
เหล่านั้นควรถูกตำหนิ นี้เป็นการทำที่สมควรในกรรมนั้น

เชิงอรรถ :
๑ สังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบทของภิกษุณีสงฆ์นี้ปรากฏในที่นี้เพียง ๑๐ สิกขาบท เป็นอสาธารณบัญญัติ
คือ ภิกษุสงฆ์ไม่ต้องรักษา ที่เป็นสาธารณบัญญัติ คือ ภิกษุสงฆ์ต้องรักษาด้วย ๗ สิกขาบท คือ
(๑) สัญจริตตสิกขาบท ว่าด้วยการชักสื่อ (๒) ปฐมทุฏฐโทสะ ข้อที่ ๑ ว่าด้วยภิกษุณีขัดเคืองมีโทสะ
(๓) ทุติยทุฏฐโทสะ ว่าด้วยภิกษุณีขัดเคืองมีโทสะข้อที่ ๒ (๔) สังฆเภท ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน
(๕) สังฆเภทานุวัตตกะ ว่าด้วยภิกษุณีผู้ประพฤติตามกล่าวสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ (๖) ทุพพจะ ว่า
ด้วยภิกษุณีเป็นคนว่ายาก (๗) กุลทูสกะ ว่าด้วยภิกษุณีผู้ประทุษร้ายตระกูล (ดู วินัยปิฎก แปล ๑/๒๙๙/
๓๔๒,๓๐๑/๓๔๔,๓๘๕/๔๑๙,๓๙๒/๔๓๒,๔๑๑/๔๔๔-๔๔๕,๔๑๘/๔๕๐,๔๒๕/๔๕๕,๔๓๖/๔๖๖-๔๖๗)
๒ ปักขมานัต คือระเบียบปฏิบัติในการออกจากอาบัติหนักสำหรับภิกษุณี ใช้เวลา ๑๕ วัน (กงฺขา.อ.
๑๗๔-๑๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๗๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์] บทสรูป
ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบทเหล่านั้น
ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
แม่เจ้าทั้งหลายผู้บริสุทธิ์แล้วในธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบทนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
สังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบท จบ
สังฆาทิเสสกัณฑ์ในภิกขุนีวิภังค์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๗๕ }





หน้าว่าง




{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๗๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้มาสู่วาระ
ที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ
๑. ปัตตวรรค
หมวดว่าด้วยบาตร
สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการสะสมบาตร
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๗๓๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทำการ
สะสมบาตรไว้เป็นอันมาก พวกชาวบ้านเดินเที่ยวตามวิหารเห็นเข้าจึงตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงทำการสะสมบาตรไว้เป็นอันมาก จะขาย
บาตรหรือตั้งร้านขายภาชนะดินเผาหรือ”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
จึงทำการสะสมบาตรเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย
ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทำการ
สะสมบาตรจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๗๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์
การสะสมบาตรเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๓๔] ก็ภิกษุณีใดทำการสะสมบาตร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์๑
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๓๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า บาตร ได้แก่ บาตร ๒ ชนิด คือ (๑) บาตรเหล็ก (๒) บาตรดินเผา
บาตรมี ๓ ขนาด คือ (๑) บาตรขนาดใหญ่ (๒) บาตรขนาดกลาง (๓) บาตร
ขนาดเล็ก
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกจากข้าวสาร ๒ ทะนาน จุของเคี้ยวเศษ
หนึ่งส่วนสี่๒ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกจากข้าวสาร ๑ ทะนาน จุของเคี้ยว
เศษหนึ่งส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกจากข้าวสาร ครึ่งทะนาน จุของเคี้ยวเศษ
หนึ่งส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น

เชิงอรรถ :
๑ บาตรเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของที่ต้องสละให้ผู้อื่น ภิกษุณีผู้สะสมบาตร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒ คือเศษหนึ่งส่วนสี่ของข้าวสุก (วิ.อ. ๒/๖๐๒/๒๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๗๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์
บาตรที่มีขนาดใหญ่กว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ไม่ได้ บาตรมีขนาดเล็กกว่านั้นก็เป็น
บาตรที่ใช้ไม่ได้
คำว่า ทำการสะสม คือ บาตรที่ไม่ได้อธิษฐาน ไม่ได้วิกัป
คำว่า บาตรเป็นนิสสัคคีย์ ความว่า บาตรเป็นนิสสัคคีย์พร้อมกับอรุณขึ้น
คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุณีพึงสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า บาตรใบนี้
ของดิฉันเกินกำหนดราตรี เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนบาตรใบนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า
ทั้งหลาย บาตรใบนี้ของดิฉันเกินกำหนดราตรี เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละบาตรใบ
นี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“แม่เจ้าทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแล้ว
แก่แม่เจ้าทั้งหลาย ถ้าแม่เจ้าทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงคืนบาตรใบนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๗๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า บาตรใบนี้ของดิฉันเกินกำหนด
ราตรี เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละบาตรนี้แก่แม่เจ้า” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติ แล้วคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยการกล่าวว่า
“ดิฉันคืนบาตรนี้ให้แก่แม่เจ้า”
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๓๖] บาตรที่เกินกำหนดราตรี ภิกษุณีสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่เกินกำหนดราตรี ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่เกินกำหนดราตรี ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่เกิน ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุณีสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุณีสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ได้สละ ภิกษุณีสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ได้สูญหาย ภิกษุณีสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุณีสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่แตก ภิกษุณีสำคัญว่าแตกแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ถูกโจรชิงเอาไป ภิกษุณีสำคัญว่าถูกชิงเอาไปแล้ว ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๘๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
บาตรที่เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุณียังไม่สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
บาตรที่ยังไม่เกินกำหนดราตรี ภิกษุณีสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
บาตรที่ยังไม่เกินกำหนดราตรี ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
บาตรที่ยังไม่เกินกำหนดราตรี ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๓๗] ๑. ภิกษุณีผู้อธิษฐานภายในอรุณขึ้น
๒. ภิกษุณีผู้วิกัปไว้ภายในอรุณขึ้น
๓. ภิกษุณีผู้สละให้ไปภายในอรุณขึ้น
๔. ภิกษุณีผู้มีบาตรสูญหายภายในอรุณขึ้น
๕. ภิกษุณีผู้มีบาตรฉิบหายภายในอรุณขึ้น
๖. ภิกษุณีผู้มีบาตรแตกภายในอรุณขึ้น
๗. ภิกษุณีผู้มีบาตรถูกโจรชิงเอาไปภายในอรุณขึ้น
๘. ภิกษุณีผู้มีบาตรถูกถือวิสาสะเอาไปภายในอรุณขึ้น
๙. ภิกษุณีผู้วิกลจริต
๑๐. ภิกษุณีผู้ต้นบัญญัติ
เรื่องไม่ยอมคืนบาตรให้เจ้าของเดิม
สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไม่ยอมคืนบาตรที่มีผู้สละให้ ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
บาตรที่ภิกษุณีสละให้แล้วจะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุณีรูปใดไม่คืน ต้องอาบัติทุกกฏ”
สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๘๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการแจกอกาลจีวร
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๓๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีหลายรูปจำพรรษาใน
วัดใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีวัตรปฏิบัติสมบูรณ์ มีอิริยาบถงดงาม แต่มีผ้าไม่ดี มีแต่
จีวรเก่า ๆ ได้เดินทางไปกรุงสาวัตถี อุบาสกอุบาสิกาเห็นภิกษุณีเหล่านั้นแล้วคิดว่า
“ภิกษุณีเหล่านี้มีวัตรปฏิบัติสมบูรณ์ มีอิริยาบถงดงาม แต่มีผ้าไม่ดี มีแต่จีวรเก่า ๆ
คงถูกโจรชิงเอาไป” จึงพากันถวายอกาลจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์
ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวว่า “พวกเรากรานกฐินแล้ว ผ้านี้เป็นกาลจีวร” แล้ว
อธิษฐานให้แจกกัน
อุบาสกอุบาสิกาเห็นภิกษุณีเหล่านั้น ได้กล่าวดังนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายได้จีวร
บ้างไหม”
ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า “ยังไม่ได้จีวร แม่เจ้าถุลลนันทากล่าวว่า ‘พวกเรา
กรานกฐินแล้ว ผ้านี้เป็นกาลจีวร’ แล้วอธิษฐานให้แจกกัน”
อุบาสกอุบาสิกาตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึง
อธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกันเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุบาสิกาตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดา
ภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาจึงอธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกันเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณี
เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๘๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาอธิษฐาน
อกาลจีวรเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงอธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกันเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๓๙] ก็ภิกษุณีใดอธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๔๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อกาลจีวร๑ ได้แก่ (๑) ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด ๑๑ เดือนในเมื่อไม่ได้
กรานกฐิน (๒) ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด ๗ เดือนในเมื่อได้กรานกฐินแล้ว (๓) แม้ผ้า
ที่เขาถวายเจาะจงในกาล นี้ชื่อว่า อกาลจีวร

เชิงอรรถ :
๑ อกาลจีวร หมายถึงจีวรที่เกิดขึ้นนอกฤดูกาล คือ (๑) ในเมื่อไม่ได้กรานกฐิน จีวรที่เกิดขึ้นในระหว่างแรม
๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของปีถัดไป (ตามจันทรคติ) รวมเป็น ๑๑ เดือน ชื่อว่า
อกาลจีวร (๒) ในเมื่อได้กรานกฐินแล้ว จีวรที่เกิดขึ้นในระหว่างแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๑๑ ในปีเดียวกัน (ตามจันทรคติ) รวมเป็น ๗ เดือน ชื่อว่าอกาลจีวร (๓) ส่วนจีวรที่เกิดขึ้น
นอกเวลาทั้ง ๒ กรณีดังกล่าวนี้ ชื่อว่ากาลจีวร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๘๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุณีอธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน ต้องอาบัติทุกกฏในขณะ
ที่แจกจีวร เป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ
หรือแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า อกาลจีวร
ผืนนี้ดิฉันอธิษฐานเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละอกาลจีวร
ผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนอกาลจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า อกาลจีวรผืนนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสัคคีย์
เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนอกาลจีวรผืนนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย
ฯลฯ ดิฉันขอสละอกาลจีวรผืนนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
“ฯลฯ พึงคืนอกาลจีวรผืนนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละอกาลจีวร
ผืนนี้แก่แม่เจ้า” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ฯลฯ “ดิฉันคืนอกาลจีวรผืนนี้ให้แก่แม่เจ้า”๑

เชิงอรรถ :
๑ ความที่ย่อไว้ทุกสิกขาบทในนิสสัคคิยปาจิตตีย์ พึงเปรียบเทียบในปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิสสัคคียกัณฑ์
ข้อ ๗๓๕ หน้า ๗๙-๘๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๘๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๔๑] อกาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอกาลจีวร อธิษฐานเป็นกาลจีวร
แล้วให้แจกกัน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อกาลจีวร ภิกษุณีไม่แน่ใจ อธิษฐานเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
อกาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกาลจีวร อธิษฐานเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
กาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอกาลจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
กาลจีวร ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกาลจีวร ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๔๒] ๑. ภิกษุณีผู้ให้แจกอกาลจีวรด้วยสำคัญว่าเป็นกาลจีวร
๒. ภิกษุณีให้แจกกาลจีวรด้วยสำคัญว่าเป็นกาลจีวร
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๘๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนจีวร
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาแลกเปลี่ยน
จีวรกับภิกษุณีรูปหนึ่งใช้สอย ครั้งนั้น ภิกษุณีนั้นพับจีวรเก็บไว้ ภิกษุณีถุลลนันทา
ได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “จีวรที่เธอแลกเปลี่ยนกับดิฉันอยู่ที่ไหน” ภิกษุณีนั้น
จึงนำจีวรนั้นออกมาให้ภิกษุณีถุลลนันทาดู
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงกล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า จีวรของเธอ จงนำจีวร
ของดิฉันมา จีวรของเธอต้องเป็นของเธอ จีวรของดิฉันต้องเป็นของดิฉัน จงนำจีวร
ของดิฉันมา จงรับเอาจีวรของเธอคืนไปเถิด” แล้วชิงเอาคืน ลำดับนั้น ภิกษุณีนั้น
นำเรื่องไปบอกภิกษุณีทั้งหลาย
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาแลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณีแล้วจึงชิงเอาคืนเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณี
เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาแลกเปลี่ยน
จีวรกับภิกษุณีแล้วชิงเอาคืนจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา
จึงแลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณีแล้วชิงเอาคืนเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๘๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๔๔] ก็ภิกษุณีใดแลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณี ภายหลังภิกษุณีนั้นกล่าว
อย่างนี้ว่า “แม่เจ้า จีวรของเธอ จงนำจีวรของดิฉันมา จีวรของเธอต้องเป็น
ของเธอ จีวรของดิฉันต้องเป็นของดิฉัน จงนำจีวรของดิฉันมา จงรับเอาจีวร
ของเธอคืนไปเถิด” ชิงเอาคืนหรือใช้ให้ชิงเอาคืน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๔๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า กับภิกษุณี คือ กับภิกษุณีรูปอื่น
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด๑ อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า แลกเปลี่ยน คือ แลกเปลี่ยนจีวรเนื้อดีกับจีวรเนื้อไม่ดี หรือจีวรเนื้อ
ดีกับจีวรเนื้อไม่ดี
คำว่า ชิงเอาคืน คือ ชิงเอาคืนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ จีวร ๖ ชนิด คือ โขมะ(จีวรผ้าเปลือกไม้) กัปปาสิกะ(จีวรผ้าฝ้าย) โกเสยยะ(จีวรผ้าไหม) กัมพละ(จีวร
ผ้าขนสัตว์) สาณะ(จีวรผ้าป่าน) ภังคะ(จีวรผ้าผสม) (วิ.อ. ๒/๔๖๒-๔๖๓/๑๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๘๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ใช้ให้ชิงเอาคืน คือ ใช้ให้ผู้อื่นชิง ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้รับคำสั่งครั้ง
เดียวแต่ชิงเอาคืนหลายครั้ง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์
แก่คณะหรือแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า จีวรผืนนี้
ดิฉันแลกเปลี่ยนกับภิกษุณีแล้วชิงเอาคืน เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละจีวรผืนนี้แก่
สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนจีวรผืนนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย
ฯลฯ ดิฉันขอสละจีวรผืนนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
“ฯลฯ พึงคืนจีวรผืนนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละจีวรผืนนี้แก่แม่เจ้า”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ฯลฯ “ดิฉันคืนจีวรผืนนี้ให้แก่แม่เจ้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๘๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
[๗๔๖] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน แลกเปลี่ยนจีวรกันแล้ว
ชิงเอาคืนหรือใช้ผู้อื่นให้ชิงเอาคืน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ แลกเปลี่ยนจีวรกันแล้วชิงเอาคืนหรือใช้ผู้อื่นให้ชิง
เอาคืน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน แลกเปลี่ยนจีวรกันแล้วชิงเอาคืน
หรือใช้ผู้อื่นให้ชิงเอาคืน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุณีเปลี่ยนบริขารอย่างอื่นแล้วชิงเอาคืนหรือใช้ผู้อื่นให้ชิงเอาคืน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุณีเปลี่ยนจีวรหรือบริขารอย่างอื่นกับอนุปสัมบันแล้วชิงเอาคืนหรือใช้คน
อื่นให้ชิงเอาคืน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๔๗] ๑. ภิกษุณีผู้รับแลกเปลี่ยนคืนให้เอง หรือภิกษุณีผู้แลกเปลี่ยนถือ
เอาคืนโดยวิสาสะจากภิกษุณีผู้รับแลกเปลี่ยนแล้ว
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๘๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วออกปากขอของอย่างอื่น
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๔๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นไข้อยู่ อุบาสก
คนหนึ่งเข้าไปเยี่ยมถึงที่อยู่ถามว่า “แม่เจ้าไม่สบายหรือ จะให้ผมนำอะไรมาถวาย”
นางตอบว่า “ดิฉันต้องการเนยใส”
ครั้งนั้น อุบาสกนั้นนำเนยใสราคา ๑ กหาปณะมาจากบ้านของเจ้าของร้านค้า
คนหนึ่งถวายแก่ภิกษุณีถุลลนันทา
ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันไม่ต้องการเนยใส แต่ต้องการน้ำมัน”
ลำดับนั้น อุบาสกนั้นกลับไปหาเจ้าของร้านค้าคนนั้นถึงที่ร้าน ครั้นถึงแล้วได้
กล่าวกับเจ้าของร้านค้านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้าไม่ต้องการเนยใส แต่ต้องการน้ำมัน
โปรดรับเนยใสของท่านคืนไป โปรดให้น้ำมันแก่ผม”
เจ้าของร้านค้าจึงตอบว่า “นาย ถ้าเรารับของที่ขายไปกลับคืนอีก เมื่อไรเรา
จึงขายสินค้าได้ ท่านซื้อเนยใสตามราคาเนยใสไปแล้ว ท่านจะเอาน้ำมันก็จงนำเงิน
ค่าน้ำมันมา”
ครั้งนั้น อุบาสกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีถุลลนันทาออก
ปากขอของอย่างหนึ่งแล้ว ไฉนจึงออกปากขอของอย่างอื่นเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาออก
ปากขอของอย่างหนึ่งแล้วจึงขอของอย่างอื่นเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำ
เรื่องนั้นไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนั้นไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๙๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาออกปาก
ขอของอย่างหนึ่งแล้วออกปากขอของอีกอย่างหนึ่งจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วจึงออกปากขอของอย่างอื่นเล่า
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน
ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๔๙] ก็ภิกษุณีใดออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วออกปากขอของอย่างอื่น
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๕๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้ว คือ ออกปากขอสิ่งของอย่างใด
อย่างหนึ่งแล้ว
คำว่า ออกปากขอของอย่างอื่น ความว่า ออกปากขอสิ่งของอย่างอื่นนอก
จากที่ออกปากขอไว้ก่อนนั้น ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ขอ ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์
เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละของที่เป็นนิสสัคคีย์นั้นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๙๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
วิธีสละของที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ของนี้ดิฉัน
ออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วจึงออกปากขอมา เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละของนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ของนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์
ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย
ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
“ฯลฯ พึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้า”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ฯลฯ “ดิฉันคืนของนี้ให้แก่แม่เจ้า”
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๕๑] ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของอย่างอื่น ออกปากขอของ
อย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๙๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร
ของอย่างอื่น ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของอย่างอื่น ออกปากขอของอย่างอื่น
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของอย่างอื่น ออกปากขอของที่ไม่ใช่
ของอย่างอื่น(นั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอของที่ไม่ใช่ของอย่างอื่น(นั้น)
ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของอย่างอื่น ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๕๒] ๑. ภิกษุณีผู้ออกปากขอของนั้นเพิ่มและออกปากขอของคู่อย่างอื่น๑
๒. ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้วจึงค่อยออกปากขอ
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คือของที่ขอครั้งแรกนั้นไม่พอจึงขออีกและขอของที่พึงปรุงด้วยกัน เช่น ขอเนยใสก่อนแล้วขอน้ำมันอีก
เพื่อใช้ปรุงด้วยกัน (วิ.อ. ๒/๗๕๒/๔๘๓-๔๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๙๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ
๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วให้ซื้อของอย่างอื่น
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๕๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นไข้ ลำดับนั้น
อุบาสกคนหนึ่งเข้าไปเยี่ยมภิกษุณีถุลลนันทาถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับภิกษุณี
ถุลลนันทาดังนี้ว่า “แม่เจ้ายังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ”
นางตอบว่า “ท่าน ดิฉันไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ”
เขาปวารณาว่า “แม่เจ้า กระผมฝากกหาปณะไว้ที่บ้านของเจ้าของร้านค้าชื่อ
โน้น ท่านใช้ให้คนไปนำสิ่งที่ต้องการมาเถิด ขอรับ”
ภิกษุณีถุลลนันทาสั่งสิกขมานารูปหนึ่งว่า “สิกขมานา เธอจงไปนำน้ำมันราคา
๑ กหาปณะมาจากบ้านของเจ้าของร้านค้าชื่อโน้น” ลำดับนั้น สิกขมานานั้นไป
นำน้ำมันราคา ๑ กหาปณะมาจากบ้านของเจ้าของร้านค้านั้นแล้วได้ถวายแก่ภิกษุณี
ถุลลนันทา
ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวอย่างนี้ว่า “เราไม่ต้องการน้ำมัน แต่ต้องการเนยใส”
ลำดับนั้น สิกขมานานั้นกลับไปหาเจ้าของร้านค้าคนนั้นถึงที่ร้าน ครั้นถึงแล้ว
ได้กล่าวกับเจ้าของร้านค้านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้าไม่ต้องการน้ำมัน แต่ต้องการเนยใส
โปรดรับน้ำมันของท่านคืนไป โปรดให้เนยใสแก่ดิฉัน”
เจ้าของร้านค้าจึงตอบว่า “แม่เจ้า ถ้าเรารับของที่ขายไปกลับคืนอีก เมื่อไร
เราจึงจะขายสินค้าได้ ท่านซื้อน้ำมันตามราคาน้ำมันไปแล้ว ท่านจะเอาเนยใสก็จงนำ
เงินค่าเนยใสมา”
ครั้งนั้น สิกขมานานั้นได้ยืนร้องไห้ ภิกษุณีทั้งหลายจึงถามว่า “เธอร้องไห้
เพราะเหตุไร” เธอจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๙๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ สิกขาบทวิภังค์
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาจึงสั่งให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วให้ซื้อของอย่างอื่นเล่า” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาสั่งให้ซื้อของ
อย่างหนึ่งแล้วสั่งให้ซื้อของอย่างอื่น จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
ถุลลนันทาสั่งให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วสั่งให้ซื้ออย่างอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๕๔] ก็ภิกษุณีใดสั่งให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วสั่งให้ซื้อของอย่างอื่น
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๕๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า สั่งให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้ว คือ สั่งให้ซื้อของอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๙๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ สิกขาบทวิภังค์
คำว่า สั่งให้ซื้อของอย่างอื่น ความว่า สั่งให้ซื้อของอย่างอื่นนอกจากของที่
ให้สั่งให้ซื้อก่อนนั้น ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่สั่งให้ซื้อ ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์เพราะ
ได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละของที่เป็นนิสสัคคีย์นั้นอย่างนี้
วิธีสละของที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ของนี้
ดิฉันสั่งให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วจึงสั่งให้ซื้อมา เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละของนี้แก่
สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ของนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่
สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย
ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
“ฯลฯ พึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้า”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ฯลฯ “ดิฉันคืนของนี้ให้แก่แม่เจ้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๙๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๕๖] ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอย่างอื่น สั่งให้ซื้อของอย่างอื่น
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ของอย่างอื่น ภิกษุณีไม่แน่ใจ สั่งให้ซื้อของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของอย่างอื่น สั่งให้ซื้อของอย่างอื่น ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของอย่างอื่น สั่งให้ซื้อของที่ไม่ใช่อย่าง
อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีไม่แน่ใจ สั่งให้ซื้อของที่ไม่ใช่อย่างอื่น ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของอย่างอื่น ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๕๗] ๑. ภิกษุณีสั่งให้ซื้อของนั้นเพิ่มและสั่งให้ซื้อของคู่อย่างอื่น
๒. ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้วสั่งให้ซื้อ
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๙๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ
๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๖
ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายสงฆ์ข้อที่ ๑
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๗๕๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสกและอุบาสิการวบรวม
บริขาร๑ที่เขาให้ด้วยความพอใจเพื่อค่าจีวรถวายภิกษุณีสงฆ์แล้วฝากไว้ที่บ้านของคนขาย
ผ้าคนหนึ่งแล้วเข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย ได้กล่าวดังนี้ว่า “แม่เจ้า พวกเราฝาก
บริขารค่าจีวรไว้ที่บ้านของคนขายผ้าชื่อโน้น ท่านทั้งหลายโปรดให้ไวยาวัจกรไปนำ
จีวรจากบ้านนั้นมาแจกกันเถิด เจ้าข้า”
ภิกษุณีทั้งหลายให้เอาบริขารนั้นแลกเปลี่ยนเภสัชเองแล้วบริโภค
อุบาสกและอุบาสิกาทราบเข้า จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศ
ของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพวกอุบาสกและอุบาสิกาตำหนิ ประณาม โพนทะนา
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงให้เอาบริขาร ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศ
ของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า ฯลฯ” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ บริขาร หมายถึงกัปปิยภัณฑ์ คือของที่สมควรแก่ภิกษุณีสงฆ์ (กงฺขา.อ. ๓๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๙๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีให้เอาบริขารที่เขา
ถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาค
แก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
พวกภิกษุณีจึงให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย
อุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๕๙] ก็ภิกษุณีใดให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่าง
หนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนของ
อย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๖๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย
อุทิศของอย่างหนึ่ง คือ ของที่ทายกถวายเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง
คำว่า ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ คือ ที่เขาบริจาคเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ไม่ใช่แก่
คณะ ไม่ใช่แก่บุคคล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๙๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ให้ ... แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ความว่า ให้แลกเปลี่ยนเป็นปัจจัย
อย่างอื่นนอกจากที่เขาถวายเจาะจงไว้ ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ให้แลกเปลี่ยน
ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่
ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละของที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละของที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ของนี้ดิฉันให้
เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง
ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนมา เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละของนี้แก่สงฆ์”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เธอสละให้นั้นด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ของนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า
ทั้งหลาย ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
“ฯลฯ พึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้า”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ฯลฯ “ดิฉันคืนของนี้ให้แก่แม่เจ้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๐๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๖๑] ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็น
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ให้แลกเปลี่ยน
ของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของที่เขา
ถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีได้ของที่สละแล้วคืนมาพึงรวมกับปัจจัยที่เขาถวายไว้
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของ
ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๖๒] ๑. ภิกษุณีนำกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น
๒. ภิกษุณีขออนุญาตเจ้าของก่อนจึงนำไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๐๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ
๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายสงฆ์ข้อที่ ๒
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๗๖๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสกและอุบาสิการวบรวม
บริขารที่เขาให้ด้วยความพอใจเพื่อค่าจีวรถวายภิกษุณีสงฆ์แล้วฝากไว้ที่บ้านของคน
ขายผ้าคนหนึ่งแล้วเข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย ได้กล่าวดังนี้ว่า “แม่เจ้า พวกเราฝาก
บริขารค่าจีวรไว้ที่บ้านของคนขายผ้าชื่อโน้น ท่านทั้งหลายโปรดให้ไวยาวัจกรไปนำ
จีวรจากบ้านนั้นมาแจกกันเถิด เจ้าข้า”
ภิกษุณีทั้งหลายขอให้เอาบริขารนั้นแลกเปลี่ยนเภสัชเองแล้วบริโภค
พวกอุบาสกและอุบาสิกาทราบเข้า จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย
อุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกและอุบาสิกาตำหนิ ประณาม โพนทะนา
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณี
จึงให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของไว้
อย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า” ครั้น
แล้วภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนั้นไปบอกภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุได้นำเรื่องนั้นไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีให้เอาบริขารที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๐๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗ สิกขาบทวิภังค์
เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขา
บริจาคแก่สงฆ์ ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูล
รับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัย
อย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ ที่ขอมาเอง แลก
เปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลาย ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๖๔] ก็ภิกษุณีใดให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่าง
หนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ ที่ขอมาเอง แลก
เปลี่ยนของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๖๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย
อุทิศของอย่างหนึ่ง คือ ของที่ทายกถวายเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง
คำว่า ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ คือ ที่เขาบริจาคเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ไม่ใช่แก่
คณะ ไม่ใช่แก่บุคคล
คำว่า ที่ขอมาเอง คือ ขอมาแล้วเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๐๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗ สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ให้ ... แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ความว่า ให้แลกเปลี่ยนเป็นปัจจัย
อย่างอื่นนอกจากที่เขาถวายเจาะจงไว้ ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ให้แลกเปลี่ยนของ
นั้น เป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่
ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละของที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละของที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ของนี้ดิฉัน
ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่าง
หนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนมา เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอ
สละของนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ของนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า
ทั้งหลาย ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
“ฯลฯ พึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่
แม่เจ้า” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ฯลฯ “ดิฉันคืนของนี้ให้แก่แม่เจ้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๐๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๖๖] ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็น
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ให้แลกเปลี่ยน
ของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของที่
เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีได้ของที่สละแล้วคืนมาพึงรวมกับปัจจัยที่เขาถวายไว้
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของ
ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๖๗] ๑. ภิกษุณีนำกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น
๒. ภิกษุณีขออนุญาตเจ้าของก่อนจึงนำไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๐๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ นิทานวัตถุ
๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายคณะข้อที่ ๑
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๗๖๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอาศัยอยู่ใน
บริเวณของสมาคมแห่งหนึ่ง อัตคัดข้าวต้ม สมาคมนั้นจึงรวบรวมบริขารที่เขาให้
ด้วยความพอเพื่อค่าข้าวต้มถวายภิกษุณีทั้งหลายแล้วฝากไว้ที่บ้านของเจ้าของ
ร้านค้าคนหนึ่งแล้วเข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย ได้กล่าวดังนี้ว่า “แม่เจ้า พวกเราฝาก
บริขารค่าข้าวต้มไว้ที่บ้านของเจ้าของร้านค้าชื่อโน้น ท่านทั้งหลายโปรดให้ไวยาวัจกร
ไปนำข้าวสารจากบ้านนั้นมาหุงต้มฉันเถิด เจ้าข้า”
ภิกษุณีทั้งหลายให้เอาบริขารนั้นแลกเปลี่ยนเภสัชแล้วบริโภค
สมาคมนั้นทราบเข้า จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึง
ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่าง
หนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินสมาคมนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงให้เอา
บริขาร ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง
ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีให้เอาบริขารที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๐๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ สิกขาบทวิภังค์
เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขา
บริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมากแลกเปลี่ยนของอย่างอื่น จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูล
รับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุ
ทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่าง
หนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมากแลกเปลี่ยน
ของอย่างอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๖๙] ก็ภิกษุณีใดให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่าง
หนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก แลก
เปลี่ยนของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๗๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ นี้ที่พระผู้พระภาค
ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย
อุทิศของอย่างหนึ่ง คือ ของที่ทายกถวายเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง
คำว่า ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก คือ ที่เขาบริจาคเพื่อประโยชน์
แก่คณะ ไม่ใช่แก่สงฆ์ ไม่ใช่แก่บุคคล
คำว่า ให้ ... แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ความว่า ให้แลกเปลี่ยนเป็นปัจจัย
อย่างอื่นนอกจากที่เขาถวายเจาะจงไว้ ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ให้แลกเปลี่ยน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๐๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ สิกขาบทวิภังค์
ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่
ภิกษุณีรูปเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละของที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละของที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ของนี้
ดิฉันให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของ
อย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก แลกเปลี่ยนมา เป็นนิสสัคคีย์
ดิฉันขอสละของนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ของนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า
ทั้งหลาย ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
“ฯลฯ พึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้า”
ครั้นสละแล้วพึงแแสดงอาบัติ
ฯลฯ “ดิฉันคืนของนี้ให้แก่แม่เจ้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๐๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๗๑] ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็น
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ให้แลกเปลี่ยน
ของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของที่
เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีได้ของที่สละแล้วคืนมาพึงรวมกับปัจจัยที่เขาถวายไว้
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของ
ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของ
ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๗๒] ๑. ภิกษุณีนำกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น
๒. ภิกษุณีขออนุญาตเจ้าของก่อนจึงนำไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๐๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ
๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๙
ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายแก่คณะข้อที่ ๒
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๗๗๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่อาศัยอยู่ใน
บริเวณของสมาคมแห่งหนึ่ง อัตคัดข้าวต้ม สมาคมนั้นจึงรวบรวมบริขารที่เขาให้
ด้วยความพอใจเพื่อค่าข้าวต้มถวายภิกษุณีทั้งหลายแล้วฝากไว้ที่บ้านของเจ้าของ
ร้านค้าคนหนึ่งแล้วเข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย ได้กล่าวดังนี้ว่า “แม่เจ้า พวกเราฝาก
บริขารค่าข้าวต้มไว้ที่บ้านของเจ้าของร้านค้าชื่อโน้น ท่านทั้งหลายโปรดให้ไวยาวัจกร
ไปนำข้าวสารจากบ้านนั้นมาหุงต้มฉันเถิด เจ้าข้า”
ภิกษุณีทั้งหลายขอให้เอาบริขารนั้นแลกเปลี่ยนเภสัชเองแล้วบริโภค
สมาคมนั้นทราบเข้า จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงให้
เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง
ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินสมาคมนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงให้เอา
บริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง
ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า” ครั้น
แล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีให้เอาบริขารที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๑๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙ สิกขาบทวิภังค์
เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขา
บริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น จริงหรือ” ภิกษุ
ทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก
ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๗๔] ก็ภิกษุณีใดให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่าง
หนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก ที่ขอ
มาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๗๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย
อุทิศของอย่างหนึ่ง คือ ของที่ทายกถวายเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง
คำว่า ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก คือ ที่เขาบริจาคเพื่อประโยชน์
แก่คณะ ไม่ใช่แก่สงฆ์ ไม่ใช่แก่บุคคล
คำว่า ที่ขอมาเอง คือ ขอมาแล้วเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๑๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙ สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ให้ ... แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ความว่า ให้แลกเปลี่ยนเป็นปัจจัย
อย่างอื่นนอกจากที่เขาถวายเจาะจงไว้ ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ให้แลกเปลี่ยน
ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่
ภิกษุณีรูปเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละของที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละที่เป็นนิสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ของนี้ดิฉัน
ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่าง
หนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนมา เป็นนิสสัคคีย์
ดิฉันขอสละของนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ของนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า
ทั้งหลาย ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
“ฯลฯ พึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่
แม่เจ้า” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ฯลฯ “ดิฉันคืนของนี้ให้แก่แม่เจ้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๑๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๗๖] ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า
เป็นของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ให้แลก
เปลี่ยนของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของที่
เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีได้ของที่สละแล้วคืนมาพึงรวมกับปัจจัยที่เขาถวายไว้
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของ
ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของ
ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๗๗] ๑. ภิกษุณีนำกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น
๒. ภิกษุณีขออนุญาตเจ้าของก่อนจึงนำไปใช้เพื่อประโยช์อย่างอื่น
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๑๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ
๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายแก่บุคคล
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๗๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็น
นักพูด แกล้วกล้า สามารถกล่าวธรรมีกถา คนจำนวนมากเข้าไปหาภิกษุณีถุลล
นันทานั้น สมัยนั้น บริเวณที่อยู่ของภิกษุณีถุลลนันทาชำรุด ชาวบ้านได้กล่าวกับ
ภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า “แม่เจ้า เพราะเหตุไรบริเวณที่อยู่ของท่านจึงชำรุดเล่า”
นางตอบว่า “เพราะไม่มีทายก ผู้ก่อสร้างซ่อมแซมก็ไม่มี”
คนทั้งหลายจึงรวบรวมบริขารที่เขาให้ด้วยความพอใจเป็นค่าบูรณะบริเวณถวาย
ภิกษุณีถุลลนันทา แต่ภิกษุณีถุลลนันทาขอให้เอาบริขารนั้นแลกเปลี่ยนเภสัชเอง
แล้วบริโภค
พวกชาวบ้านทราบเรื่องเข้า จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาจึงให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย
อุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่บุคคล ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า”
ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้เอาบริขาร
ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขา
บริจาคแก่บุคคลที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๑๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ สิกขาบทวิภังค์
รับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุ
ทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัย
อย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่บุคคล ที่ขอมาเอง แลก
เปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อม
ใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๗๙] ก็ภิกษุณีใดให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่าง
หนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่บุคคล ที่ขอมาเอง แลก
เปลี่ยนของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๘๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย
อุทิศของอย่างหนึ่ง คือ ของที่ทายกถวายเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง
คำว่า ที่เขาบริจาคแก่บุคคล คือ ที่เขาบริจาคเพื่อประโยชน์แก่บุคคล ไม่
ใช่แก่สงฆ์ ไม่ใช่แก่คณะ
คำว่า ที่ขอมาเอง คือ ขอมาแล้วเอง
คำว่า ให้ ... แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ความว่า ให้แลกเปลี่ยนปัจจัยอย่าง
อื่นนอกจากที่เขาถวายเจาะจงไว้ ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ให้แลกเปลี่ยน ของนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๑๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ สิกขาบทวิภังค์
เป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่ภิกษุณี
รูปเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละของที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละของที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ของนี้
ดิฉันให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของ
อย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่บุคคลที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนมา เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉัน
ขอสละของนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ของนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า
ทั้งหลาย ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
“ฯลฯ พึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้า”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ฯลฯ “ดิฉันคืนของนี้ให้แก่แม่เจ้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๑๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๘๑] ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็น
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ให้แลกเปลี่ยน
ของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของที่เขา
ถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้แลกเปลี่ยนของอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุณีได้ของที่สละแล้วคืนมาพึงรวมกับปัจจัยที่เขาถวายไว้เดิม
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของ
ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๘๒] ๑. ภิกษุณีนำกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น
๒. ภิกษุณีขออนุญาตเจ้าของก่อนจึงนำไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๑๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ นิทานวัตถุ
๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๑๑
ว่าด้วยการขอผ้าห่มหนาในฤดูหนาว
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๘๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็น
นักพูด แกล้วกล้า สามารถกล่าวธรรมีกถา สมัยนั้นในฤดูหนาว พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงผ้ากัมพลราคาแพงเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง
ณ ที่สมควร ภิกษุณีถุลลนันทาชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควร
เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ซึ่งภิกษุณีถุลลนันทา
ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้ตรัสกับภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า “แม่เจ้า
ท่านต้องการสิ่งใดก็โปรดได้บอกเถิด”
ภิกษุณีถุลลนันทานั้นทูลว่า “ขอถวายพระพร ถ้าพระองค์มีพระราชประสงค์
จะพระราชทาน ก็ขอได้โปรดพระราชทานผ้ากัมพลผืนนี้เถิด”
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลถวายผ้ากัมพลผืนนั้นแก่ภิกษุณีถุลลนันทา เสด็จ
ลุกจากที่ประทับนั่งทรงอภิวาทภิกษุณีถุลลนันทาแล้วทำประทักษิณเสด็จจากไป
พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกภิกษุณีเป็นคนมักมาก
ไม่สันโดษ ไฉนจึงออกปากทูลขอผ้ากัมพลจากพระราชาเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงออกปาก
ทูลขอผ้ากัมพลจากพระราชาเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๑๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาออกปากทูล
ขอผ้ากัมพลจากพระราชา จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา
จึงออกปากทูลขอผ้ากัมพลจากพระราชาเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิ
ได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๘๔] ก็ภิกษุณีเมื่อจะขอผ้าห่มหนา พึงขอได้เพียงราคา ๔ กังสะ๑ เป็น
อย่างมาก ถ้าขอเกินกว่านั้น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์๒
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๘๕] ที่ชื่อว่า ผ้าห่มหนา ได้แก่ ผ้าห่มชนิดหนึ่งที่ใช้ห่มในฤดูหนาว๓
คำว่า เมื่อจะขอ คือ เมื่อจะออกปากขอ
คำว่า พึงขอได้เพียงราคา ๔ กังสะ คือ พึงขอผ้าที่มีราคา ๑๖ กหาปณะได้
คำว่า ถ้าขอเกินกว่านั้น ความว่า ภิกษุณีออกปากขอผ้าราคาเกินกว่านั้น
ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ขอ ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือ เป็นของจำต้อง
สละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่ภิกษุณีรูปเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ๑ กังสะ เท่ากับ ๔ กหาปณะ, ๔ กังสะ จึงเท่ากับ (๔x๔) ๑๖ กหาปณะ (กงฺขา.อ. ๓๖๒)
๒ หมายความว่า ภิกษุณีขอจากคนอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ แต่ถ้าขอจากสหธรรมิก ญาติและ
คนปวารณา แม้จะราคาเกิน ๔ กังสะ ก็ไม่ต้องอาบัติ (กงฺขา.อ. ๓๖๒)
๓ หมายถึงผ้าห่มเนื้อหนาสำหรับห่มในฤดูหนาว (สีตกาเล หิ มนุสฺสา ถูลปาวุรณํ ปารุปนฺติ -ปาจิตฺยาทิ-
โยชนา ๗๘๔/๑๕๘ ม.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๑๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ บทภาชนีย์
วิธีสละผ้าห่มที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ผ้าห่ม
หนาผืนนี้ราคาเกิน ๔ กังสะดิฉันขอมา เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละผ้าห่มหนาผืนนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนผ้าห่มหนาที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้าห่มหนาผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้ เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนผ้าห่มหนาผืนนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย
ฯลฯ ดิฉันขอสละผ้าห่มหนาผืนนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
“ฯลฯ พึงคืนผ้าห่มหนาผืนนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละผ้าห่มหนา
ผืนนี้แก่แม่เจ้า” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ฯลฯ “ดิฉันคืนผ้าห่มหนาผืนนี้ให้แก่แม่เจ้า”
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๘๖] ผ้าห่มหนาราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ขอ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๒๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ อนาปัตติวาร
ผ้าห่มหนาราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ขอ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ผ้าห่มหนาราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่ามีราคาหย่อนกว่า ขอ ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ผ้าห่มหนาราคาหย่อนกว่า ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
ผ้าห่มหนาราคาหย่อนกว่า ๔ กังสะ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ผ้าห่มหนาราคาหย่อนกว่า ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๘๗] ๑. ภิกษุณีขอผ้าห่มหนาราคา ๔ กังสะเป็นอย่างมาก
๒. ภิกษุณีขอผ้าห่มหนาราคาหย่อนกว่า ๔ กังสะ
๓. ภิกษุณีขอจากญาติ
๔. ภิกษุณีขอจากคนปวารณา
๕. ภิกษุณีขอเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
๖. ภิกษุณีซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๗. ภิกษุณีจ่ายผ้าราคาถูก แต่ทายกผู้ต้องการให้จ่ายผ้าราคาแพง
๘. ภิกษุณีวิกลจริต
๙. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๒๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ นิทานวัตถุ
๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๑๒
ว่าด้วยการขอผ้าห่มบางในฤดูร้อน
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๘๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็น
นักพูด แกล้วกล้า สามารถกล่าวธรรมีกถา สมัยนั้นในฤดูร้อน พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงผ้าเปลือกไม้ราคาแพง เข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุณีถุลลนันทาชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง
ณ ที่สมควรให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ซึ่งภิกษุณี
ถุลลนันทาชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้ตรัสกับภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า
“แม่เจ้า ท่านต้องการสิ่งใดก็โปรดได้บอกเถิด”
ภิกษุณีถุลลนันทานั้นทูลว่า “ขอถวายพระพร ถ้าพระองค์มีพระราชประสงค์
จะพระราชทาน ก็ขอได้โปรดพระราชทานผ้าเปลือกไม้ผืนนี้เถิด”
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลถวายผ้าเปลือกไม้ผืนนั้นแก่ภิกษุณีถุลลนันทา
เสด็จลุกจากที่ประทับนั่งแล้วทรงอภิวาทภิกษุณีถุลลนันทาแล้ว ทำประทักษิณเสด็จ
จากไป
พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกภิกษุณีเป็นคนมักมาก
ไม่สันโดษ ไฉนจึงออกปากทูลขอผ้าเปลือกไม้จากพระราชาเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๒๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ สิกขาบทวิภังค์
จึงออกปากทูลขอผ้าเปลือกไม้จากพระราชาเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำ
เรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาออกปาก
ทูลขอผ้าเปลือกไม้จากพระราชา จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงออกปากทูลขอผ้าเปลือกไม้จากพระราชาเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่
แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๘๙] ก็ภิกษุณีเมื่อจะขอผ้าห่มบาง พึงขอได้เพียงราคา ๒ กังสะครึ่ง
เป็นอย่างมาก ถ้าขอเกินกว่านั้น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๙๐] ที่ชื่อว่า ผ้าห่มบาง ได้แก่ ผ้าห่มชนิดหนึ่งที่ใช้ในฤดูร้อน๑
คำว่า เมื่อจะขอ คือ เมื่อจะออกปากขอ
คำว่า พึงขอได้เพียงราคา ๒ กังสะครึ่งเป็นอย่างมาก คือ พึงขอผ้ามีราคา
๑๐ กหาปณะได้

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงผ้าห่มเนื้อบางสำหรับห่มในฤดูร้อน (อุณฺหกาเล หิ มนุสฺสา สุขุมปาวุรณํ ปารุปนฺติ -ปาจิตฺยาทิ-
โยชนา ๗๘๙/๑๕๘ ม.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๒๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ถ้าขอเกินกว่านั้น ความว่า ภิกษุณีออกปากขอผ้าราคาเกินกว่านั้น
ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ขอ ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้อง
สละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่ภิกษุณีรูปเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละผ้าห่มบางที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละผ้าห่มที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ผ้าห่ม
บางผืนนี้ราคาเกิน ๒ กังสะครึ่ง ดิฉันขอมา เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละผ้าห่ม
บางผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนผ้าห่มบางที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้าห่มบางผืนนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนผ้าห่มบางผืนนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า
ทั้งหลาย ฯลฯ ดิฉันขอสละผ้าห่มบางผืนนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึง
แสดงอาบัติ
“ฯลฯ พึงคืนผ้าห่มบางผืนนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละผ้าห่มบาง
ผืนนี้แก่แม่เจ้า” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ฯลฯ “ดิฉันคืนผ้าห่มบางผืนนี้ให้แก่แม่เจ้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๒๔ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๙๑] ผ้าห่มบางราคาเกิน ๒ กังสะครึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ขอ ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ผ้าห่มบางราคาเกิน ๒ กังสะครึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ขอ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ผ้าห่มบางราคาเกิน ๒ กังสะครึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อนกว่า ขอ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ผ้าห่มบางราคาหย่อนกว่า ๒ กังสะครึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ผ้าห่มบางราคาหย่อนกว่า ๒ กังสะครึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ผ้าห่มบางราคาหย่อนกว่า ๒ กังสะครึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่
ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๙๒] ๑. ภิกษุณีขอผ้าห่มบางราคา ๒ กังสะครึ่งเป็นอย่างมาก
๒. ภิกษุณีขอผ้าห่มบางราคาหย่อนกว่า ๒ กังสะครึ่ง
๓. ภิกษุณีขอจากญาติ
๔. ภิกษุณีขอจากคนปวารณา
๕. ภิกษุณีขอเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
๖. ภิกษุณีซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๗. ภิกษุณีจ่ายผ้าราคาถูกต่อทายกผู้ต้องการให้จ่ายผ้าราคาแพง
๘. ภิกษุณีวิกลจริต
๙. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๒๕ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์] บทสรุป
บทสรุป
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท๑ ข้าพเจ้ายกขึ้น
แสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท
เหล่านั้นว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
นิสสัคคิยกัณฑ์ในภิกขุนีวิภังค์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ของภิกษุณีมี ๓๐ สิกขาบท ในภิกขุนีวิภังค์นี้แสดงเฉพาะอสาธารณสิกขาบท คือ
ภิกษุสงฆ์ไม่ต้องรักษาเพียง ๑๒ สิกขาบท ที่เหลือ ๑๘ สิกขาบท คือ
๑. ปฐมกฐินสิกขาบทที่ ๑ แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
๒. อุทโทสิตสิกขาบทที่ ๒ แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
๓. ตติยกฐินสิกขาบทที่ ๓ แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
๔. อัญญาตกวิญญัติสิกขาบทที่ ๖ แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
๕. ตตุตตริสิกขาบทที่ ๗ แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
๖. อุปักขฏสิกขาบทที่ ๘ แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
๗. ทุติยอุปักขฏสิกขาบทที่ ๙ แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
๘. ราชสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
๙. รูปิยสิกขาบทที่ ๘ แห่งโกสิยวรรคของภิกษุสงฆ์
๑๐. รูปิยสังโวหารสิกขาบทที่ ๙ แห่งโกสิยวรรคของภิกษุสงฆ์
๑๑. กยวิกกยสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งโกสิยวรรคของภิกษุสงฆ์
๑๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบทที่ ๒ แห่งปัตตวรรคของภิกษุสงฆ์
๑๓. เภสัชชสิกขาบทที่ ๓ แห่งปัตตวรรคของภิกษุสงฆ์
๑๔. จีวรอัจฉิทนสิกขาบทที่ ๕ แห่งปัตตวรรคของภิกษุสงฆ์
๑๕. สุตตวิญญัตติสิกขาบทที่ ๖ แห่งปัตตวรรคของภิกษุสงฆ์
๑๖. มหาเปสการสิกขาบทที่ ๗ แห่งปัตตวรรคของภิกษุสงฆ์
๑๗. อัจเจกจีวรสิกขาบทที่ ๘ แห่งปัตตวรรคของภิกษุสงฆ์
๑๘. ปริณตสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งปัตตวรรคของภิกษุสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๒๖ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๔. ปาจิตติยกัณฑ์
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบทเหล่านี้มาถึงวาระที่จะยก
ขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ
๑. ลสุณวรรค
หมวดว่าด้วยกระเทียม
สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการขอกระเทียม
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๙๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสกคนหนึ่งปวารณาด้วย
กระเทียมกับภิกษุณีสงฆ์ไว้ว่า “กระผมขอปวารณาแม่เจ้าทั้งหลายที่ต้องการกระเทียม
ด้วยกระเทียม” และสั่งคนเฝ้าไร่ว่า “ถ้าภิกษุณีทั้งหลายมาก็จงถวายเธอไปรูปละ
๒-๓ กำ”
ครั้งนั้นมีมหรสพในกรุงสาวัตถี กระเทียมที่เขานำมาเก็บไว้ได้หมดลง ภิกษุณี
ทั้งหลายเข้าไปหาอุบาสกนั้นได้กล่าวดังนี้ว่า “พวกเราต้องการกระเทียม”
อุบาสกนั้นกล่าวว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย กระเทียมไม่มี กระเทียมที่เขานำมาเก็บ
ไว้หมดแล้ว ท่านทั้งหลายโปรดไปที่ไร่”
ภิกษุณีถุลลนันทาไปที่ไร่แล้วให้นำกระเทียมไปเป็นจำนวนมากโดยไม่รู้จักประมาณ
คนเฝ้าไร่จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ๊ ไฉนพวกภิกษุณีจึงไปที่ไร่แล้วให้นำ
กระเทียมไปเป็นจำนวนมากโดยไม่รู้จักประมาณเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเฝ้าไร่ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๒๗ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
ให้นำกระเทียมไปเป็นจำนวนมากโดยไม่รู้จักประมาณเล่า” ครั้นแล้วภิกษุณีเหล่านั้น
ได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้นำ
กระเทียมไปเป็นจำนวนมากโดยไม่รู้จักประมาณ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงให้นำกระเทียมไปเป็นจำนวนมากโดยไม่รู้จักประมาณเล่า
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริงกลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใส
ไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป” ครั้นทรงตำหนิภิกษุณี
ถุลลนันทาโดยประการต่าง ๆ แล้ว ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายให้เหมาะ
สมให้คล้อยตามกับเรื่องนั้น รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาเคยเป็นภรรยาของพราหมณ์
คนหนึ่ง มีธิดา ๓ คน ชื่อนันทา นันทวดี สุนทรีนันทา ภิกษุทั้งหลาย ต่อมา
พราหมณ์นั้นตายไปเกิดเป็นหงส์ตัวหนึ่ง มีขนเป็นทองคำล้วน หงส์นั้นมาสลัดขน
ทองคำให้แก่ธิดาเหล่านั้นคนละขน ต่อมาภิกษุณีถุลลนันทาคิดว่า “หงส์ตัวนี้สลัด
ขนให้พวกเราคนละขนเท่านั้น” จึงจับพญาหงส์ถอนขนจนหมด แต่ขนที่งอกขึ้นใหม่
กลายเป็นสีขาว ในครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเสื่อมจากทองคำเพราะความโลภเกินไป
บัดนี้ก็เสื่อมจากกระเทียม
ได้สิ่งใด ควรพอใจสิ่งนั้น
ความโลภเกินไปเป็นความชั่วร้าย
(เหมือน)ถุลลนันทาจับพญาหงส์แล้วเสื่อมจากทอง”๑

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ชา. ๒๗/๑๓๖/๓๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๒๘ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์
ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุณีถุลลนันทาโดยประการต่าง ๆ แล้ว
รับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๙๔] ก็ภิกษุณีใดฉันกระเทียม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๙๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า กระเทียม พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงกระเทียมชื่อมาคธิกะ๑
ภิกษุณีรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุกๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๗๙๖] กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กระเทียม ภิกษุณีไม่แน่ใจ ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่กระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “มาคธิกะ” เป็นชื่อเฉพาะของกระเทียมพันธุ์นี้ เพราะเกิดในแคว้นมคธ กระเทียมชนิดนี้ หนึ่ง
ต้นจะมีหลายหัวติดกันเป็นพวง ไม่ใช่หัวเดียว (วิ.อ. ๒/๗๙๕/๔๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๒๙ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกระเทียม ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีไม่แน่ใจ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่กระเทียม ฉัน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๙๗] ๑. ภิกษุณีฉันกระเทียมเหลือง๑
๒. ภิกษุณีฉันกระเทียมแดง
๓. ภิกษุณีฉันกระเทียมเขียว
๔. ภิกษุณีฉันกระเทียมต้นเดี่ยว
๕. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในแกง
๖. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในเนื้อ
๗. ภิกษุณีฉันกระเทียมเจียวน้ำมัน
๘. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในยำผักสด
๙. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในแกงอ่อม
๑๐. ภิกษุณีวิกลจริต
๑๑. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กระเทียมชนิดอื่นๆ มีลักษณะต่างจากกระเทียมมาคธิกะ เฉพาะสีและเยื่อเท่านั้น (วิ.อ. ๒/๗๙๗/๔๘๘)
แต่พระวินัยปิฎก ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY กล่าวว่า คำว่า “กระเทียมเหลือง” หมายถึงหัวหอม
“กระเทียมแดง” หมายถึงหัวผักกาด “กระเทียมเขียว” หมายถึงสมอเหลือง (ดู The Book of the
Discipline Vol.III, PP ๒๔๕, PTS.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๓๐ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการถอนขนในที่แคบ
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๗๙๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ให้ถอนขน
ในที่แคบเปลือยกายอาบน้ำท่าเดียวกันกับพวกหญิงแพศยาในแม่น้ำอจิรวดี พวก
หญิงแพศยาตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงให้ถอนขนในที่
แคบเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพวกหญิงแพศยาตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดา
ภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงให้ถอนขนในที่แคบเล่า” ครั้นแล้วภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ให้ถอนขน
ในที่แคบ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงให้ถอนขน
ในที่แคบเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณี
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๙๙] ก็ภิกษุณีใดให้ถอนขนในที่แคบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๓๑ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๘๐๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ที่แคบ คือ รักแร้ทั้ง ๒ ข้าง บริเวณองค์กำเนิด
คำว่า ให้ถอน คือ ให้ถอนขนแม้เส้นเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ให้ถอน
ขนหลายเส้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๐๑] ๑. ภิกษุณีถอนขนเพราะอาพาธเป็นเหตุ๑
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คือเพราะเป็นหิด เพราะคัน (วิ.อ. ๒/๘๐๑/๔๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๓๒ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการสัมผัสองค์กำเนิด
เรื่องภิกษุณี ๒ รูป
[๘๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ๒ รูปถูกความไม่ยินดี
บีบคั้น จึงเข้าไปสู่ห้องชั้นในแล้วใช้ฝ่ามือตบองค์กำเนิดกัน ภิกษุณีทั้งหลายพากัน
วิ่งเข้าไปตามเสียงนั้นแล้ว ได้กล่าวกับภิกษุณีทั้ง ๒ รูปนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า ทำไม
พวกท่านจึงทำมิดีมิร้ายกับชายเล่า๑
ภิกษุณีทั้งสองตอบว่า “พวกดิฉันไม่ได้ทำมิดีมิร้ายกับชาย” แล้วเล่าเรื่องนั้น
ให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงใช้มือตบองค์กำเนิดกันเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่อง
นี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีทั้งหลายใช้ฝ่ามือตบ
องค์กำเนิดกัน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้
มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงใช้ฝ่า
มือตบองค์กำเนิดกันเล่า ภิกษุทั้งหลาย การทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงมีความสัมพันธ์กันในทางชู้สาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๓๓ }

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๐๓] ภิกษุณีต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะใช้ฝ่ามือตบองค์กำเนิด
เรื่องภิกษุณี ๒ รูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๐๔] ที่ชื่อว่า ใช้ฝ่ามือตบองค์กำเนิด คือ ภิกษุณียินดีการสัมผัส โดย
ที่สุดใช้กลีบบัวตีที่องค์กำเนิด ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๐๕] ๑. ภิกษุณีสัมผัสเพราะอาพาธเป็นเหตุ๑
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คือจะบีบฝีหรือแผล (วิ.อ. ๒/๘๐๕/๔๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๑๓๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น