Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๔-๗ หน้า ๒๖๓ - ๓๐๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๔-๗ วินัยปิฎกที่ ๐๔ มหาวรรค ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
มหาวรรค ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๕. อนาปัตติปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวน
น้อยกว่า ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวก
ภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง
ไม่ต้องอาบัติ (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่น
มาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้
ยกขึ้นแสดง ไม่ต้องอาบัติ (๗)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
พวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอัน
ยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงไม่ต้องอาบัติ (๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๕. อนาปัตติปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่น
มาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้น
แสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวก
ภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงไม่ต้องอาบัติ (๙)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่น
มาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้
ยกขึ้นแสดง ไม่ต้องอาบัติ (๑๐)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบ้างบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
พวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยก
ขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวก
ภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงไม่ต้องอาบัติ (๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๕. อนาปัตติปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบ้างบางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
พวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอัน
ยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงไม่ต้องอาบัติ (๑๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่น
มาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยก
ขึ้นแสดง ไม่ต้องอาบัติ (๑๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่น
มาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดง
ดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้
ยกขึ้นแสดงไม่ต้องอาบัติ (๑๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๖. วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้น ยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่น
มาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้น
แสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวก
ภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงไม่ต้องอาบัติ (๑๕)
อนาปัตติปัณณรสกะ จบ
๙๖. วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ
ว่าด้วยแบ่งพวกกันอยู่และสำคัญว่าแบ่งพวกกัน ๑๕ กรณี
[๑๗๓] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ยังไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย แบ่งพวกกันอยู่ และสำคัญว่า
เป็นผู้แบ่งพวกกัน ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า
ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย แบ่งพวกกันอยู่ และสำคัญ
ว่าเป็นผู้แบ่งพวกกัน ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๖. วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มา
ทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย แบ่งพวกกันอยู่ และสำคัญ
ว่าเป็นผู้แบ่งพวกกัน ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มา
ทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ยังไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย แบ่งพวกกันอยู่ และสำคัญ
ว่าเป็นผู้แบ่งพวกกัน ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า
ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ (๔)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
พวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยก
ขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงต้องอาบัติทุกกฏ (๕)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๗. เวมติกปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย แบ่งพวกกันอยู่ และสำคัญ
ว่าเป็นผู้แบ่งพวกกัน ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้น
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวก
อื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุ
ผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๗)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้น
แสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนัก
ของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๘)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๙)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงใหม่ ... (๑๐)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่
ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอก
ปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๑๑)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๒)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๓)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๔)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๕)
วัคคาวัคคสัญญิปัณณรสกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๗. เวมติกปัณณรสกะ
๙๗. เวมติกปัณณรสกะ
ว่าด้วยภิกษุไม่แน่ใจทำอุโบสถ ๑๕ กรณี
[๑๗๔] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเรา
ควรทำอุโบสถหรือไม่ควรทำ” ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้น
กำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวน
มากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดงต้อง
อาบัติทุกกฏ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเราควรทำอุโบสถ
หรือไม่ควรทำ” ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มา
ทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเราควรทำอุโบสถ
หรือไม่ควรทำ” ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มา
ทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๖๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๗. เวมติกปัณณรสกะ
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเราควรทำอุโบสถ
หรือไม่ควรทำ” ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุ
เหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๔)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาส
พวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยก
ขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๕)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่ไม่แน่ใจว่า “พวกเราควรทำอุโบสถ
หรือไม่ควรทำ” ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้น พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้น
แสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๗)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้น
แสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนัก
ของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๘)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๙)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๐)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๘. กุกกุจจปกตปัณณรสกะ
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๒)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๓)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๔)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๕)
เวมติกปัณณรสกะ จบ
๙๘. กุกกุจจปกตปัณณรสกะ
ว่าด้วยภิกษุกังวลใจทำอุโบสถ ๑๕ กรณี
[๑๗๕] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจทำ
อุโบสถยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงด้วยคิดว่า “พวกเราควรทำอุโบสถแท้ ไม่ใช่ไม่
ควรทำ” เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจทำ
อุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงด้วยคิดว่า “พวกเราควรทำอุโบสถแท้ ไม่ใช่ไม่
ควรทำ” เมื่อภิกษุเหล่านั้น กำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็น
อันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ พวกภิกษุผู้ยกขึ้น
แสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๘. กุกกุจจปกตปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจทำ
อุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงด้วยคิดว่า “พวกเราควรทำอุโบสถแท้ ไม่ใช่ไม่
ควรทำ” เมื่อภิกษุเหล่านั้น กำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว
เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ พวกภิกษุผู้ยก
ขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจทำ
อุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงด้วยคิดว่า “พวกเราควรทำอุโบสถแท้ ไม่ใช่ไม่
ควรทำ” พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๔)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว
เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุ
เหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๕)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่กังวลใจทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๘. กุกกุจจปกตปัณณรสกะ
อุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงด้วยคิดว่า “พวกเราควรทำอุโบสถแท้ ไม่ใช่ไม่
ควรทำ” พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๗)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้น
แสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิใน
สำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ (๘)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๙)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบางส่วน ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๐)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๑)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๒)
... พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ... (๑๓)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ... (๑๔)
... ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ... (๑๕)
กุกกุจจปกตปัณณรสกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๙. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
๙๙. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
ว่าด้วยมุ่งทำความแตกร้าวทำอุโบสถ ๑๕ กรณี
[๑๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น
มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้น
รู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า
“ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้น
แสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ขณะนั้น ภิกษุที่
อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้น
แสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงฟังอุทเทสที่เหลือ
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๙. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่
พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว
เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุ
เหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๕)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความ
แตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์
อะไร” ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงจบ ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์
ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลัง
พึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๙. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
ร้าวว่า “ภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร”
ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ
บริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า
ภิกษุเหล่านั้นพึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย (๗)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทัน
ลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่ภิกษุ
เหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอก
ปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๘)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทยังไม่ทัน
ลุกขึ้น ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่
ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึง
บอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย (๙)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๙. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
บางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุ
เหล่านั้น พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย (๑๐)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบ้าง
บางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่
ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอก
ปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นบ้าง
บางส่วน ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาที
หลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย (๑๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุที่
อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นรู้อยู่ว่า
“ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุ
เหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด
ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นพึงยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงใหม่ พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๙๙. เภทปุเรกขารปัณณรสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตก
ร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร”
ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ
บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้น ยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้
มาทีหลัง พึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง
ต้องอาบัติถุลลัจจัย (๑๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มี
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหลายรูป แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุ
เหล่านั้นรู้อยู่ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่” แต่มุ่งความแตก
ร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร”
ทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พอภิกษุเหล่านั้นยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงจบ เมื่อ
บริษัทลุกขึ้นทั้งหมด ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า
ปาติโมกข์ที่ภิกษุเหล่านั้นยกขึ้นแสดงแล้ว เป็นอันยกขึ้นแสดงดีแล้ว พวกภิกษุผู้
มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุผู้ยกขึ้นแสดง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย (๑๕)
เภทปุเรกขารปัณณรสกะ จบ
ปัญจวีสติติกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๐. สีโมกกันติกเปยยาล
๑๐๐. สีโมกกันติกเปยยาล
ว่าด้วยการละข้อความเกี่ยวกับภิกษุเข้าสู่สีมา
เปยยาลมุข ๗๐๐ ติกะ
[๑๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาสหลายรูป
๑. ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง
๒. ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า “มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นกำลังเข้ามาภาย
ในสีมา ...”
๓. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า “มีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นเข้ามาภายใน
สีมาแล้ว ...”
๔. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นกำลังเข้ามาภาย
ในสีมา ...
๕. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นเข้ามาภายในสีมา
แล้ว ...
๖. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้ยินว่า “ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นกำลังเข้ามา
ภายในสีมา ...”
๗. ... ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้ยินว่า “ภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นเข้ามาภาย
ในสีมาแล้ว ...”
โดยนัย ๑๗๕ ติกะ
๑. ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกับภิกษุที่อยู่ในอาวาส
๒. ภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุที่อยู่ในอาวาส
๓. ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกับภิกษุอาคันตุกะ
๔. ภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุอาคันตุกะ
รวมเป็น ๗๐๐ ติกะ โดยเปยยาลมุข๑

เชิงอรรถ :
๑ นำเลข ๗ คือ ภิกษุประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้างเป็นต้นไปคูณ ๒๕ ติกะ ในข้อ ๑๗๖ เท่ากับ
๑๗๕ ติกะ แล้วนำเลข ๔ คือ ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกับภิกษุที่อยู่ในอาวาสเป็นต้นไปคูณ ๑๗๕ ติกะ เท่ากับ
๗๐๐ ติกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๗๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๐. สีโมกกันติกเปยยาล
[๑๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ วันอุโบสถของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
เป็นวัน ๑๔ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงอนุวัตตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงอนุวัตตามพวก
ภิกษุอาคันตุกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันอุโบสถของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
เป็นวัน ๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๔ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตตามพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงอนุวัตตามพวก
ภิกษุอาคันตุกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันอุโบสถของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
เป็นวัน ๑ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสไม่ปรารถนา ก็ไม่พึงให้ความพร้อม
เพรียงแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุอาคันตุกะพึงไปนอกสีมาทำอุโบสถเถิด
ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสไม่ปรารถนาก็ไม่พึงให้ความพร้อม
เพรียงแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุอาคันตุกะพึงไปนอกสีมาทำอุโบสถเถิด
ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงให้ความพร้อม
เพรียงแก่พวกภิกษุอาคันตุกะหรือไปนอกสีมา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ วันอุโบสถของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
เป็นวัน ๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส
มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะ พึงให้ความพร้อมเพรียงแก่ภิกษุที่อยู่ใน
อาวาส หรือไปนอกสีมา ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงให้ความ
พร้อมเพรียงแก่ภิกษุที่อยู่ในอาวาสหรือไปนอกสีมา ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวน
มากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะไม่ปรารถนาก็ไม่พึงให้ความพร้อมเพรียงแก่พวกภิกษุ
ที่อยู่ในอาวาส พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสพึงไปนอกสีมาทำอุโบสถเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๑. ลิงคาทิทัสสนะ
๑๐๑. ลิงคาทิทัสสนะ
ว่าด้วยการเห็นลักษณะเป็นต้น
[๑๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะได้เห็นอาการของ
ภิกษุที่อยู่ในอาวาส๑ ลักษณะของภิกษุที่อยู่ในอาวาส๒ เครื่องหมายของภิกษุที่อยู่
ในอาวาส๓ สิ่งส่อแสดงภิกษุที่อยู่ในอาวาส๔ของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส เตียง ตั่ง
ฟูก หมอน น้ำฉัน น้ำใช้ จัดไว้ดี บริเวณกวาดสะอาด ครั้นแล้ว ไม่แน่ใจว่า
“มีพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสอยู่หรือไม่มีหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจแต่ไม่ค้นหา ทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะได้ยินอาการของภิกษุที่
อยู่ในอาวาส ลักษณะของภิกษุที่อยู่ในอาวาส เครื่องหมายของภิกษุที่อยู่ในอาวาส
สิ่งส่อแสดงภิกษุที่อยู่ในอาวาสของพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาส ได้ยินเสียงเท้าของพวก
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสกำลังจงกรม เสียงสาธยาย เสียงไอ เสียงจาม ครั้นแล้ว ไม่
แน่ใจว่า “มีพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสอยู่หรือไม่มีหนอ”

เชิงอรรถ :
๑ อาการ หมายถึงอาจารสัณฐาน คือมีอาจาระ ซึ่งทำให้รู้ว่ามีข้อวัตรมั่นคง เช่นจัดเครื่องเสนาสนะมีเตียง
ตั่งเป็นต้นไว้เรียบร้อยดี
๒ ลิงค์ หมายถึงเครื่องเสนาสนะมีเตียงตั่งเป็นต้นที่จัดไว้เรียบร้อยดี ซึ่งทำให้รู้ว่า มีภิกษุหลีกเร้นอยู่ แม้จะ
ไม่ปรากฏกายให้เห็นก็ตาม
๓ นิมิต หมายถึงเครื่องเสนาสนะมีเตียงตั่งเป็นต้นที่จัดไว้เรียบร้อยดี ซึ่งพอเห็นแล้วเป็นเหตุให้กำหนดรู้ได้ว่า
“มีภิกษุทั้งหลายอยู่”
๔ อุทเทส หมายถึงเครื่องเสนาสนะมีเตียงตั่งเป็นต้นที่จัดไว้เรียบร้อยดี ซึ่งเป็นเหตุให้อ้างได้ว่า “ภิกษุเหล่านั้น
มีบริขารอย่างนี้” (วิ.อ. ๓/๑๗๙/๑๔๒, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๗๙/๓๔๐, ปาจิตฺยาทิโยชนา ๑๗๙/๓๑๓ ม.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๑. ลิงคาทิทัสสนะ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจแต่ไม่ค้นหา ทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสได้เห็นอาการของ
พวกภิกษุอาคันตุกะ ลักษณะของพวกภิกษุอาคันตุกะ เครื่องหมายของพวกภิกษุ
อาคันตุกะ สิ่งส่อแสดงพวกภิกษุอาคันตุกะของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้เห็นบาตร
จีวร ผ้านิสีทนะ รอยน้ำล้างเท้าอันเป็นของภิกษุพวกอื่น ครั้นแล้ว ไม่แน่ใจว่า
“มีพวกภิกษุอาคันตุกะอยู่หรือไม่มีหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจแต่ไม่ค้นหา ทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสได้ยินอาการของ
พวกภิกษุอาคันตุกะ ลักษณะของพวกภิกษุอาคันตุกะ เครื่องหมายของพวกภิกษุ
อาคันตุกะ สิ่งส่อแสดงพวกภิกษุอาคันตุกะของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้ยินเสียงเท้า
ของพวกภิกษุอาคันตุกะกำลังเดินมา เสียงรองเท้ากระทบพื้น เสียงไอ เสียงจาม
ครั้นแล้ว ไม่แน่ใจว่า “มีพวกภิกษุอาคันตุกะอยู่หรือไม่มีหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจแต่ไม่ค้นหา ทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหา แต่ไม่พบ ทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๒. นานาสังวาสกาทิอุปสถกรณะ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจจึงค้นหาจนพบ มุ่งความแตกร้าวว่า “ขอภิกษุเหล่านั้น
จงเสื่อมสูญ จงพินาศ ภิกษุเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร” ทำอุโบสถ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
๑๐๒. นานาสังวาสกาทิอุโปสถกรณะ
ว่าด้วยภิกษุเป็นนานาสังวาสเป็นต้นทำอุโบสถ
[๑๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะเห็นพวกภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสผู้เป็นนานาสังวาส๑เข้าใจว่าเป็นสมานสังวาส ไม่ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วมกัน
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุอาคันตุกะเห็นพวกภิกษุที่อยู่ใน
อาวาสผู้เป็นสมานสังวาส เข้าใจว่าเป็นนานาสังวาส ไม่ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วมกัน
ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสเห็นพวกภิกษุอาคันตุกะ
ผู้เป็นนานาสังวาส เข้าใจว่าเป็นสมานสังวาส ไม่ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้อง
อาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุผู้เป็นนานาสังวาสคือมีสังวาสต่างกันหรือต่างพวกกัน มี ๒ กลุ่ม คือ เป็นนานาสังวาสเพราะลัทธิ
เช่นประพฤติตามภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมและเป็นนานาสังวาสเพราะกรรมเช่นถูกลงอุกเขปนียกรรม
เป็นต้น (วิ.อ. ๓/๔๒๙/๕๑๘, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๓๘๐/๔๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๓. นคันตัพพวาร
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ไม่ต้อง
อาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสเห็นพวกภิกษุ
อาคันตุกะผู้เป็นสมานสังวาส เข้าใจว่าเป็นนานาสังวาสไม่ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วม
กัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุที่อยู่ในอาวาสเหล่านั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ
๑๐๓. นคันตัพพวาร
ว่าด้วยสถานที่ไม่ควรไปในวันอุโบสถ
[๑๘๑] ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ๑ ไปสู่
อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์๒ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่
มิใช่อาวาส๓ซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย

เชิงอรรถ :
๑ อาวาสที่มีภิกษุ หมายถึงในอาวาสใด มีภิกษุพอที่จะทำอุโบสถอยู่ ไม่พึงออกจากอาวาสนั้นไปสู่อาวาส
ที่ไม่มีภิกษุพอที่จะทำอุโบสถ (วิ.อ. ๓/๑๘๑/๑๔๓)
๒ ไปกับสงฆ์ หมายถึงไปกับภิกษุทั้งหลายที่มีจำนวนครบองค์สงฆ์ คือ ไปกับภิกษุอื่น ๆ รวมกับตัวภิกษุ
นั้นเองเป็น ๔ รูปเป็นอย่างน้อย (วิ.อ. ๓/๑๘๑/๑๔๓)
๓ สถานที่มิใช่อาวาส หมายถึงสถานที่ไม่มีสิ่งก่อสร้างและศาลาเป็นต้น (วิ.อ. ๓/๑๘๑/๑๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๓. นคันตัพพวาร
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่
มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มี
ภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มี
อันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่
มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์
เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์
เว้นแต่มีอันตราย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๔. คันตัพพวาร
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็น
นานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ แต่เป็นที่อยู่ของพวกภิกษุ
ผู้เป็นนานาสังวาส เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
๑๐๔. คันตัพพวาร
ว่าด้วยสถานที่ควรไปในวันอุโบสถ
[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่
อาวาสที่มีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นสมานสังวาส ซึ่งตนเองรู้ว่า “เรา
สามารถไปถึงในวันนี้แหละ”
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่
อาวาสซึ่งมีภิกษุ ฯลฯ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่
ของพวกภิกษุผู้เป็นสมานสังวาส ซึ่งตนเองรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ”
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุไปสู่
อาวาสที่มีภิกษุ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๕. วัชชนียปุคคลสันทัสสนา
... ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ...
... ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้
เป็นสมานสังวาส ซึ่งตนเองรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ”
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถนั้น พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งมีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ...
... ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ...
... ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้
เป็นสมานสังวาส ซึ่งตนเองรู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนี้แหละ”
๑๐๕. วัชชนียปุคคลสันทัสสนา
ว่าด้วยการแสดงบุคคลที่ควรเว้นในอุโบสถกรรม
[๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีภิกษุณีนั่ง
อยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ
... ในบริษัทที่มีสิกขมานานั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีสามเณรนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีสามเณรีนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีภิกษุผู้บอกคืนสิกขานั่งอยู่ด้วย ...
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีภิกษุต้องอันติมวัตถุ๑
นั่งอยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นอาบัตินั่งอยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง พึงปรับอาบัติตามธรรม
... ในบริษัทที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัตินั่งอยู่ด้วย ...
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัททที่มีภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปนั่งอยู่ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง พึงปรับอาบัติตามธรรม

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุต้องอันติมวัตถุ หมายถึงภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๕. วัชชนียปุคคลสันทัสสนา
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีบัณเฑาะก์นั่งอยู่ด้วย
รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ
... ในบริษัทที่มีคนลักเพศนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์นั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีสัตว์ดิรัจฉานอยู่ด้วย๑ ...
... ในบริษัทที่มีคนฆ่ามารดานั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนฆ่าบิดานั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนฆ่าพระอรหันต์นั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนประทุษร้ายภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั่งอยู่ด้วย ...
... ในบริษัทที่มีคนทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิตนั่งอยู่ด้วย ...
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีอุภโตพยัญชนกนั่งอยู่
ด้วย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่องปาริวาสิกปาริสุทธิ
ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงทำอุโบสถด้วยการให้ปาริวาสิกปาริสุทธิ๒ เว้นแต่บริษัท
ยังไม่ลุกขึ้น ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ไม่พึงทำอุโบสถในวันมิใช่วันอุโบสถ เว้นแต่วันที่
สงฆ์สามัคคี
ภาณวารที่ ๓ จบ
อุโปสถขันธกะ ที่ ๒ จบ
ในขันธกะนี้ มี ๘๖ เรื่อง

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงสัตว์ดิรัจฉานที่พระผู้มีพระภาคทรงห้ามอุปสมบท (วิ.สงฺคห.๒๔๕, กงฺขา.อ. ๑๑๖)
๒ ปาริวาสิกปาริสุทธิ ให้ปาริสุทธิค้าง หมายถึงภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันด้วยประสงค์จะทำอุโบสถ ขณะ
นั้นเอง ได้มีภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า “วันนี้ ไม่ควรทำอุโบสถ เพราะฤกษ์ไม่ดี” ดังนี้เป็นต้น ภิกษุทั้งหลาย
จึงสละเลิกปาริสุทธิแล้วลุกขึ้น มีภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า “ประโยชน์ได้ล่วงเลยบุคคลผู้มัวแต่รอฤกษ์ ยามอยู่
พวกท่านจะได้ประโยชน์อะไรจากดวงดาว” ภิกษุทั้งหลายจึงตกลงจะทำสังฆกรรมต่อไป โดยไม่ต้อง นำ
ปาริสุทธิมาใหม่ อย่างนี้ไม่สมควร เพราะปาริสุทธิที่ให้ไว้ก่อน เป็น “ปาริวาสิกปาริสุทธิ” แปลว่า
ปาริสุทธิค้าง ปาริสุทธิที่ให้แล้วแต่งดไว้ก่อน (ดู กงฺขา.อ. ๔๐๓-๔๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๖. รวมเรื่องที่มีในอุโปสถขันธกะ
๑๐๖. รวมเรื่องที่มีในอุโปสถขันธกะ
เรื่องปริพาชกอัญเดียรถีย์ เรื่องพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
เรื่องภิกษุประชุมนั่งนิ่ง เรื่องทรงอนุญาตให้กล่าวธรรมในวันประชุม
เรื่องพระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
เรื่องยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงทุกวัน
เรื่องทรงอนุญาตให้ยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงปักษ์ละครั้ง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทเท่าที่มี
เรื่องทรงอนุญาตให้ยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุผู้พร้อมเพรียงกัน
เรื่องทรงอนุญาตความพร้อมเพรียงกำหนดเขตอาวาสเดียว
เรื่องมัททกุจฉิมฤคทายวัน เรื่องทรงอนุญาตให้สมมติสีมาและนิมิตสีมา
เรื่องสมมติสีมาใหญ่เกินขนาด เรื่องสมมตินทีปารสีมา
เรื่องยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงตามบริเวณวิหาร
เรื่องสมมติโรงอุโบสถ ๒ แห่งในอาวาสเดียวกัน
เรื่องสมมติโรงอุโบสถเล็กเกินไป
เรื่องภิกษุผู้นวกะลงประชุมก่อน เรื่องกรุงราชคฤห์
เรื่องสมมติแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร
เรื่องสมมติสมานสังวาสสีมาก่อน
เรื่องถอนสมานสังวาสสีมาภายหลัง
เรื่องคามสีมาที่ไม่ได้สมมติ เรื่องอุทกุกเขปสีมาในแม่น้ำ
เรื่องอุทกุกเขปสีมาในสมุทร เรื่องอุทกุกเขปสีมาในชาตสระ
เรื่องสีมาสังกระกัน เรื่องสมมติสีมาทับสีมา
เรื่องประเภทแห่งวันอุโบสถ เรื่องประเภทการทำอุโบสถ
เรื่องประเภทแห่งปาติโมกขุทเทส
เรื่องทรงอนุญาตให้ยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อเมื่อ
ชาวป่ามาพลุกพล่าน
เรื่องอันตราย ๑๐ ประการ
เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระแสดงธรรมโดยไม่ต้องได้รับอาราธนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๘๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๖. รวมเรื่องที่มีในอุโปสถขันธกะ
เรื่องถามพระวินัยท่ามกลางสงฆ์ต้องได้รับสมมติก่อน
เรื่องคุกคามจะฆ่า เรื่องพระฉัพพัคคีย์วิสัชนาพระวินัย
เรื่องโจทด้วยอาบัติ เรื่องขอโอกาสก่อนโจท
เรื่องทรงอนุญาตให้คัดค้านกรรมที่ไม่ชอบธรรม
เรื่องภิกษุ ๔-๕ รูปแสดงความเห็นแย้ง
เรื่องแกล้งยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงไม่ให้ได้ยิน
เรื่องพยายามยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดง
เรื่องยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีคฤหัสถ์
เรื่องยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยไม่ได้รับอาราธนา
เรื่องภิกษุชาวเมืองโจทนาวัตถุไม่รู้จักอุโบสถ
เรื่องภิกษุมากรูปไม่รู้จักอุโบสถ เรื่องส่งภิกษุไปเรียน
พระปาติโมกข์ยังอาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทันในวันนั้น
เรื่องภิกษุผู้นวกะไม่ยอมไปเรียนพระปาติโมกข์
เรื่องวิธีการนับปักษ์ เรื่องทรงอนุญาตให้นับภิกษุในวันอุโบสถ
เรื่องไปบิณฑบาตยังบ้านไกล เรื่องนึกไม่ได้
เรื่องบุพพกรณ์และบุพพกิจในโรงอุโบสถ
เรื่องปูอาสนะและตามประทีปเป็นต้น เรื่องภิกษุจะไปไหนต้องบอกลาก่อน
เรื่องควรสงเคราะห์ภิกษุผู้เป็นพหูสูต
เรื่องส่งภิกษุไปเรียนพระปาติโมกข์ยังอาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมา
ทันในวันนั้น เรื่องเข้าพรรษาในอาวาสที่มีภิกษุพอจะยก
พระปาติโมกข์ขึ้นแสดงได้
เรื่องการทำอุโบสถ
เรื่องมอบปาริสุทธิ เรื่องทำกรรมที่จะต้องทำ เรื่องพวกญาติ
เรื่องภิกษุคัคคะ เรื่องภิกษุ ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป และ ๑ รูป
ทำอุโบสถ ๓ อย่างตามลำดับ
เรื่องแสดงอาบัติก่อนทำอุโบสถ เรื่องแสดงสภาคาบัติ
เรื่องระลึกอาบัติได้เมื่อยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๒. อุโปสถขันธกะ] ๑๐๖. รวมเรื่องที่มีในอุโปสถขันธกะ
เรื่องสงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติและไม่แน่ใจ
เรื่องไม่รู้ชื่อและโคตรอาบัติ เรื่องภิกษุพหูสูต
เรื่องภิกษุมามากกว่า มาเท่ากัน และมาน้อยกว่า
เรื่องบริษัทยังไม่ทันลุกขึ้น
เรื่องบริษัทลุกขึ้นบางส่วน เรื่องบริษัทลุกขึ้นทั้งหมด
เรื่องภิกษุรู้ว่ายังมีพวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสที่ยังไม่มา
เรื่องภิกษุไม่แน่ใจว่าควรทำอุโบสถหรือไม่
เรื่องภิกษุกังวลใจทำอุโบสถ เรื่องภิกษุที่อยู่ในอาวาสรู้ เห็น
ได้ยินว่ายังมีภิกษุที่อยู่ในอาวาสพวกอื่นอยู่
เรื่องภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุที่อยู่ในอาวาสนับวันอุโบสถต่างกัน
เรื่องอาการของภิกษุที่อยู่ในอาวาสเป็นต้น
เรื่องภิกษุอาคันตุกะเข้าใจว่าภิกษุที่อยู่ในอาวาสมีสังวาสต่างกัน
เรื่องปาริวาสิกปาริสุทธิ เรื่องทำอุโบสถในวันมิใช่วันอุโบสถ
ยกเว้นแต่เป็นวันที่สงฆ์สามัคคี
หัวข้อที่จำแนกเหล่านี้เป็นหัวข้อที่บอกเรื่อง๑
อุโปสถขันธกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ชื่อเรื่องเหล่านี้ ในเนื้องเรื่อง มิได้ตั้งเป็นข้อไว้ทั้งหมด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๗. วัสสูปนายิกานุชานนา
๓. วัสสูปนายิกขันธกะ
๑๐๗. วัสสูปนายิกานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตการเข้าจำพรรษา
[๑๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน
สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระพุทธองค์ยังมิได้ทรงบัญญัติ
การเข้าจำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน
และฤดูฝน มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรจึงได้เที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ย่ำติณชาติ
อันเขียวสด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว เหยียบสัตว์เล็ก ๆ จำนวนมาก
ให้ถึงความวอดวายเล่า พวกอัญเดียรถีย์เหล่านี้ผู้สอนธรรมไม่ดียังพักอยู่ประจำที่
ตลอดฤดูฝน อีกทั้งฝูงนกเหล่านี้เล่าก็ยังทำรวงรังบนยอดไม้พักอยู่ประจำที่ในฤดูฝน
ส่วนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ เที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน และ
ฤดูฝน ย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว เหยียบสัตว์
เล็ก ๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวายไป”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินมนุษย์เหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา”
เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุเข้าจำพรรษาในฤดูฝน
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะพึงเข้าจำพรรษาเมื่อไร
หนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาในฤดูฝน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๘. วัสสานจาริกาปฏิกเขปาทิ
เรื่องประเภทแห่งวันเข้าพรรษา
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “วันเข้าพรรษามีเท่าไรหนอ” จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษานี้มี ๒ วัน๑ คือ วันเข้า
พรรษาต้น ๑ วันเข้าพรรษาหลัง ๑ เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไป
แล้ววันหนึ่ง พึงเข้าจำพรรษาต้น เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้ว
เดือนหนึ่ง พึงเข้าจำพรรษาหลัง ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษามี ๒ วันเหล่านี้แล”
๑๐๘. วัสสานจาริกาปฏิกเขปาทิ
ว่าด้วยทรงห้ามเที่ยวจาริกระหว่างพรรษาเป็นต้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์เที่ยวจาริกในระหว่างพรรษา
[๑๘๕] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าจำพรรษาแล้วก็ยังเที่ยวจาริกไป
ในระหว่างพรรษา มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงได้เที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน
ย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว เหยียบสัตว์เล็ก ๆ
จำนวนมากให้ถึงความวอดวายเล่า พวกอัญเดียรถีย์เหล่านี้ผู้สอนธรรมไม่ดียังพักอยู่
ประจำที่ตลอดฤดูฝน อีกทั้งฝูงนกเหล่านี้เล่าก็ยังทำรวงรังบนยอดไม้พักอยู่ประจำที่
ในฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้เที่ยวจาริกไปทั้งฤดูหนาว ฤดูร้อน
และฤดูฝน ย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว เหยียบ
สัตว์เล็ก ๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวาย”

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๐/๖๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๘. วัสสานจาริกาปฏิกเขปาทิ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินมนุษย์เหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุ
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
เข้าจำพรรษาแล้ว จึงได้เที่ยวจาริกไปในระหว่างพรรษาเล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเข้าจำพรรษาแล้วไม่อยู่จำให้ตลอด ๓ เดือน
พรรษาต้น หรือ ๓ เดือนพรรษาหลัง ไม่พึงหลีกจาริกไป รูปใดหลีกไปต้องอาบัติ
ทุกกฏ”
เรื่องปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เข้าพรรษา
[๑๘๖] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ต้องการจะเข้าจำพรรษา ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจะไม่เข้าจำพรรษาไม่ได้ รูปใด
ไม่เข้าจำพรรษา ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องจงใจเดินผ่านอาวาส
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ต้องการจะเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษานั้น จงใจ
เดินผ่านอาวาสไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ต้องการจะเข้าจำพรรษาใน
วันเข้าพรรษานั้น ไม่พึงจงใจเดินผ่านอาวาสไป รูปใดเดินผ่านไป ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องการเลื่อนกาลฝน
สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐมีพระราชประสงค์จะทรงเลื่อน
วันเข้าพรรษาออกไป จึงทรงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ถ้ากระไร ขอพระ
คุณเจ้าทั้งหลายพึงเข้าจำพรรษาในชุณหปักษ์๑ที่จะมาถึง”

เชิงอรรถ :
๑ ชุณหปักษ์ หมายถึงเดือนต่อไป (วิ.อ. ๓/๑๘๖/๑๔๖) ในที่นี้หมายถึงขึ้น ๑ ค่ำของอีกเดือนหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คล้อยตามพระราชา”๑
๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเมื่อเขาสร้างวิหารถวายเป็นต้น
เรื่องอุบาสกสร้างวิหารเป็นต้นถวาย
[๑๘๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย
แล้วได้เสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี ในกรุง
สาวัตถีนั้น
สมัยนั้น อุบาสกชื่ออุเทนได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ในแคว้นโกศลแล้วส่งทูต
ไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนา
จะถวายทาน ฟังธรรมและเห็นภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายตอบไปว่า “คุณโยม พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุเข้า
จำพรรษาแล้วไม่อยู่ให้ตลอด ๓ เดือนพรรษาต้น หรือ ๓ เดือนพรรษาหลัง ไม่พึง
หลีกจาริกไป ขอโยมอุเทนจงรอจนกว่าภิกษุอยู่จำพรรษาจนออกพรรษาแล้วจักมา
แต่ถ้าโยมมีธุระจำเป็นรีบด่วน ก็ขอให้ถวายวิหารไว้ในสำนักภิกษุที่อยู่ในอาวาส ใน
แคว้นโกศลนั่นแหละ”
อุบาสกอุเทนจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนเมื่อเราส่งทูตไปแล้ว
พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่มาเล่า เราก็เป็นทายก เป็นผู้สร้าง เป็นผู้บำรุงพระสงฆ์”

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงให้คล้อยตามบ้านเมือง แม้ในเรื่องอื่นที่ชอบธรรม ก็พึงคล้อยตาม แต่ไม่พึงคล้อยตามใคร ๆ
ในเรื่องที่ไม่ชอบธรรม (วิ.อ. ๓/๑๘๕-๖/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา
ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุเทนตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวกคือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา
สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วย
สัตตาหกรณียะ๑ได้ แต่เมื่อพวกเขาไม่ส่งทูตมา เราไม่อนุญาตให้ไป ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อบุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้
แต่เมื่อพวกเขาไม่ส่งทูตมา เราไม่อนุญาต (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน
๗ วัน”๒
[๑๘๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์
ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” เมื่อเขาส่งทูตมา
พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาห
กรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างเรือนมุงแถบเดียวถวายอุทิศสงฆ์
ฯลฯ

... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรือนโล้น ...
... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ...
... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ...
... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ...
... ได้สร้างวัจกุฎี ... ... ได้สร้างที่จงกรม ...
... ได้สร้างโรงจงกรม ... ... ได้สร้างบ่อน้ำ ...


เชิงอรรถ :
๑ สัตตาหกรณียะ แปลว่า ธุระที่จะพึงทำให้เสร็จได้ภายใน ๗ วัน หมายถึงธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจาก
วัดไปค้างแรมที่อื่นได้ในระหว่างพรรษา เป็นเวลา ๗ วัน (วิ.อ. ๓/๑๘๗/๑๔๖)
๒ พึงกลับใน ๗ วัน คือ ต้องกลับมารับอรุณที่ ๗ ในวัดที่ตนเข้าพรรษา จะไปพักแรมครบ ๗ วันแล้ว
กลับมารับอรุณที่ ๘ ไม่ได้ (วิ.อ. ๓/๑๘๗/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา

... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างเรือนไฟ ...
... ได้สร้างโรงเรืองไฟ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ...
... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ...
... ได้สร้างอารามวัตถุ๑

ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป(เมื่อไป
ด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างวิหารถวายอุทิศภิกษุมากรูป
ได้สร้างวิหารอุทิศภิกษุรูปหนึ่ง ...

... ได้สร้างเรืองมุงแถบเดียว ... ... ได้สร้างปราสาท ...
... ได้สร้างเรืองโล้น ... ... ได้สร้างถ้ำ ...
... ได้สร้างบริเวณ ... ... ได้สร้างซุ้ม ...
... ได้สร้างโรงฉัน ... ... ได้สร้างโรงไฟ ...
... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ... ... ได้สร้างวัจกุฎี ...
... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ...
... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ...
... ได้สร้างเรืองไฟ ... ... ได้สร้างโรงเรือนไฟ ...
... ได้สร้างสระโบกขรณี ... ... ได้สร้างมณฑป ...
... ได้สร้างอาราม ... ... ได้สร้างอารามวัตถุ

ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไป
ด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน

เชิงอรรถ :
๑ อารามวัตถุ หมายถึงพื้นที่ที่มิได้ปลูกพืชหรือไม้กอ แต่ปรับเป็นพื้นที่ไว้ อาจล้อมรั้วไว้หรือมิได้ล้อม
กำหนดไว้เป็นสถานที่สวนดอกไม้เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑๐๕/๓๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างวิหารถวายอุทิศภิกษุณีสงฆ์
ฯลฯ อุทิศภิกษุณีมากรูป ฯลฯ อุทิศภิกษุณีรูปเดียว ฯลฯ อุทิศสิกขมานามากรูป
ฯลฯ อุทิศสิกขมานารูปเดียว ฯลฯ อุทิศสามเณรมากรูป ฯลฯ อุทิศสามเณรรูปเดียว
ฯลฯ อุทิศสามเณรีมากรูป ฯลฯ อุทิศสามเณรีรูปเดียว ฯลฯ

... ได้สร้างเรืองมุงแถบเดียว ... ... ได้สร้างปราสาท ...
... ได้สร้างเรืองโล้น ... ... ได้สร้างถ้ำ ...
... ได้สร้างบริเวณ ... ... ได้สร้างซุ้ม ...
... ได้สร้างโรงฉัน ... ... ได้สร้างโรงไฟ ...
... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ... ... ได้สร้างวัจกุฎี ...
... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ...
... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ...
... ได้สร้างเรืองไฟ ... ... ได้สร้างโรงเรือนไฟ ...
... ได้สร้างสระโบกขรณี ... ... ได้สร้างมณฑป ...
... ได้สร้างอาราม ... ... ได้สร้างอารามวัตถุ

ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไป
ด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
[๑๘๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างที่อยู่อาศัยเพื่อ
ประโยชน์แก่ตน...

... ได้สร้างเรือนนอน ... ... ได้สร้างโรงเก็บของ ...
... ได้สร้างร้าน ... ... ได้สร้างโรงกลม ...
... ได้สร้างร้านค้า ... ... ได้สร้างโรงร้านค้า ...
... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรือนโล้น ...
... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ...
... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา

... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างโรงครัว ...
... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ...
... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ...
... ได้สร้างเรือนไฟ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ...
... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ...
... ได้สร้างอารามวัตถุ

เขามีงานมงคลสมรสของบุตรหรือธิดา เขาเป็นไข้หรือจะกล่าวพระสูตรซึ่ง
เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนา
พระคุณเจ้าทั้งหลายมา จะได้เล่าเรียนพระสูตรนี้ก่อนที่พระสูตรจะเลือนไป” ก็หรือว่า
เขามีกิจหรือธุระจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า
“ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม
และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้
แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
[๑๙๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสิกาได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์
ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” เมื่อนางส่งทูตมา
พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อนางไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาห
กรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสิกาได้สร้างเรือนมุงแถบเดียวถวายอุทิศ
สงฆ์ ฯลฯ

... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรือนโล้น ...
... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ...
... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ...
... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ...
... ได้สร้างวัจกุฎี ... ... ได้สร้างที่จงกรม ...
... ได้สร้างโรงจงกรม ... ... ได้สร้างบ่อน้ำ ...
... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างเรือนไฟ ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๒๙๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา

... ได้สร้างโรงเรือนไฟ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ...
... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ...
... ได้สร้างอารามวัตถุ

ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อนางไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป
(เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสิกาได้สร้างวิหารถวายอุทิศภิกษุมากรูป ...

... อุทิศภิกษุรูปเดียว... ... อุทิศภิกษุณีสงฆ์ ...
... อุทิศภิกษุณีมากรูป ... ... อุทิศภิกษุณีรูปเดียว ...
... อุทิศสิกขมานามากรูป ... ... อุทิศสิกขมานารูปเดียว ...
... อุทิศสามเณรมากรูป ... ... อุทิศสามเณรรูปเดียว...
... อุทิศสามเณรีมากรูป ... ... อุทิศสามเณรีรูปเดียว... ฯลฯ

[๑๙๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสิกาได้สร้างที่อยู่อาศัยเพื่อ
ประโยชน์แก่ตน...

... ได้สร้างเรือนนอน ... ... ได้สร้างโรงเก็บของ ...
... ได้สร้างร้าน ... ... ได้สร้างโรงกลม ...
... ได้สร้างร้านค้า ... ... ได้สร้างโรงร้านค้า ...
... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรือนโล้น ...
... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ...
... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ...
... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างโรงครัว ...
... ได้สร้างวัจกุฎี ... ... ได้สร้างที่จงกรม ...
... ได้สร้างโรงจงกรม ... ... ได้สร้างบ่อน้ำ ...
... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ...
... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ...
... ได้สร้างอารามวัตถุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๐๙. สัตตาหกรณียานุชานนา
นางมีงานมงคลสมรสของบุตรหรือธิดา นางเป็นไข้หรือจะกล่าวพระสูตร
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปก็ดี ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนา
พระคุณเจ้าทั้งหลายมา จะได้เล่าเรียนพระสูตรนี้ก่อนที่พระสูตรจะเลือนไป” ก็หรือ
ว่านางมีกิจหรือธุระจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรมและ
เห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้
แต่เมื่อนางไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
[๑๙๒] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สร้างวิหาร
ถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ ภิกษุณีได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ สิกขมานาได้สร้าง
วิหารถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ สามเณรได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ สามเณรี
ได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์ ฯลฯ

... อุทิศภิกษุมากรูป ... ... อุทิศภิกษุรูปเดียว ...
... อุทิศภิกษุณีสงฆ์ ... ... อุทิศภิกษุณีมากรูป ...
... อุทิศภิกษุณีรูปเดียว... ... อุทิศสิกขมานามากรูป ...
... อุทิศสิกขมานารูปเดียว... ... อุทิศสามเณรมากรูป ...
... อุทิศสามเณรรูปเดียว ... ... อุทิศสามเณรีมากรูป ...
... อุทิศสามเณรีรูปเดียว ...

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุ ฯลฯ สามเณรีได้สร้างวิหารเพื่อ
ประโยชน์แก่ตน ...

... ได้สร้างเรือนมุงแถบเดียว ... ... ได้สร้างปราสาท ...
... ได้สร้างเรือนโล้น ... ... ได้สร้างถ้ำ ...
... ได้สร้างบริเวณ ... ... ได้สร้างซุ้ม ...
... ได้สร้างโรงฉัน ... ... ได้สร้างโรงไฟ ...
... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ... ... ได้สร้างวัจกุฎี ...
... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ...
... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ...
... ได้สร้างสระโบกขรณี ... ... ได้สร้างมณฑป ...
... ได้สร้างอาราม ... ... ได้สร้างอารามวัตถุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
ถ้าภิกษุ ฯลฯ สามเณรีส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนา
พระคุณเจ้าทั้งหลายมา กระผม ฯลฯ ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และ
เห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ ฯลฯ สามเณรีส่งทูตมา พึงไปด้วย
สัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อภิกษุฯลฯ สามเณรีไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วย
สัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเมื่อสหธรรมิกทั้ง ๕ จะไม่ส่งทูตมา
เรื่องภิกษุเป็นไข้เป็นต้น
[๑๙๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า
“กระผมเป็นไข้ ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้ง
หลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม้สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ
ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี จะไม่ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วย
สัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสหธรรมิกทั้ง ๕ ส่งทูตมา ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสหธรรมิกทั้ง ๕ เหล่านี้ แม้มิได้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาห
กรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสหธรรมิกทั้ง ๕ ส่งทูตมา แต่พึงกลับใน ๗ วัน
สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยภิกษุ ๑๐ กรณี
๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นไข้ ถ้าภิกษุนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนัก
ภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นไข้ ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์
ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำ
ต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการหรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับ
ใน ๗ วัน
๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ถ้าภิกษุนั้น
จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่กระผมแล้ว
ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้น
จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา
พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักระงับความไม่ยินดีเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ
หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๓. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความรำคาญเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ถ้าภิกษุนั้น
จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความรำคาญเกิดขึ้นแก่กระผมแล้ว
ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้น
จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา
พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักบรรเทาความรำคาญเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา
หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๔. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ถ้าภิกษุนั้น
จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่กระผมแล้ว
ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้น
จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา
พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักเปลื้องความเห็นผิดเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่นให้ช่วยเปลื้อง
หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๕. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ต้องครุธรรม๑ ควรอยู่ปริวาส
ถ้าภิกษุนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมต้องครุธรรม ควรอยู่
ปริวาส ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุ
นั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา

เชิงอรรถ :
๑ ครุธรรม ในที่นี้หมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส (ดู องฺ.อฏฺฐก. อ. ๓/๕๑/๒๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้ปริวาส หรือจักช่วยสวดกรรมวาจา
หรือจักเป็นคณปูรกะ๑” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
ถ้าภิกษุนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นผู้ควรชักเข้าหา
อาบัติเดิม ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย
แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้น
ส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายชักเข้าหาอาบัติเดิม หรือ
จักช่วยสวดกรรมวาจา หรือจักเป็นคณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๗. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ควรมานัต ถ้าภิกษุนั้นจะพึง
ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นผู้ควรมานัต ขออาราธนาภิกษุ
ทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไป
ด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า
“เราจักทำความขวนขวายให้มานัต หรือจักช่วยสวดกรรมวาจา หรือจักเป็น
คณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๘. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ควรอัพภาน ถ้าภิกษุนั้นจะ
พึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นผู้ควรอัพภาน ขออาราธนาภิกษุ
ทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา
ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า
“เราจักทำความขวนขวายให้อัพภาน หรือจักช่วยสวดกรรมวาจา หรือจักเป็น
คณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๙. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม
นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุ
ถ้าภิกษุนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “สงฆ์เป็นผู้ต้องการจะทำกรรม
แก่กระผม ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ เข้าร่วมสังฆกรรมเพื่อให้ครบองค์สงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้น
ส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์จะไม่พึงทำกรรม หรือ
พึงเปลี่ยนไปเป็นโทษเบา” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๑๐. ก็หรือว่า ภิกษุนั้นถูกสงฆ์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม
ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว ถ้าภิกษุนั้น จะพึง
ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “สงฆ์ทำกรรมแก่กระผมแล้ว ขออาราธนาภิกษุ
ทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นจะไม่ส่งทูตมา
ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วย
ตั้งใจว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ภิกษุนั้นจะพึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง
พึงกลับตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยภิกษุณี ๙ กรณี
[๑๙๔] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุณีเป็นไข้ ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึง
ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา
ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วย
สัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า
“เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือ
จักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่ภิกษุณี ถ้า
ภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่ดิฉันแล้ว
ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้
ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณี
นั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักระงับความไม่ยินดีเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่น
ให้ช่วยระงับ หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๓. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความรำคาญเกิดขึ้นแก่ภิกษุณี ถ้า
ภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความรำคาญเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
แล้ว ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
แม้ภิกษุณีนั้น จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ
ภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักบรรเทาความรำคาญเอง หรือจักใช้
ภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๔. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่ภิกษุณี ถ้าภิกษุณี
นั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่ดิฉันแล้ว ขอ
อาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณี
นั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีส่งทูตมา
พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักเปลื้องความเห็นผิดเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่นให้ช่วยเปลื้อง
หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๕. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุณีเป็นผู้ต้องครุธรรม ควรแก่มานัต
ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเองต้องครุธรรม ควรแก่
มานัต ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย
แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ
ภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้มานัต” แต่พึง
กลับใน ๗ วัน
๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุณีเป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นผู้ควรชักเข้าหา
อาบัติเดิม ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย
แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณี
นั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายชักเข้าหาอาบัติเดิม” แต่พึง
กลับใน ๗ วัน
๗. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ควรอัพภาน
ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นผู้ควรอัพภาน ขอ
อาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณี
นั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีนั้นส่ง
ทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้อัพภาน” แต่พึงกลับใน ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๖ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น