Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๔-๘ หน้า ๓๐๗ - ๓๕๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๔-๘ วินัยปิฎกที่ ๐๔ มหาวรรค ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
มหาวรรค ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
๘. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม
นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุณี
ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “สงฆ์เป็นผู้ต้องการจะทำกรรม
แก่ดิฉัน ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย
แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณี
นั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์จะไม่พึงทำกรรม
หรือพึงเปลี่ยนไปเป็นโทษเบา” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๙. ก็หรือว่า ภิกษุณีนั้นถูกสงฆ์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม
ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึง
ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “สงฆ์ทำกรรมแก่ดิฉันแล้ว ขออาราธนาพระผู้
เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา
ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้ง
ใจว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ภิกษุณีนั้นจะพึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง
พึงกลับตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสิกขมานา ๖ กรณี
[๑๙๕] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ สิกขมานาเป็นไข้ ถ้าสิกขมานานั้น
จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้า
ทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สิกขมานานั้นจะไม่ส่งทูตมา
ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสิกขมานานั้นส่งทูตมา พึงไปด้วย
ตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ
หรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่สิกขมานา...
๓. ความรำคาญเกิดขึ้นแก่สิกขมานา...
๔. ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่สิกขมานา..
๕. สิกขาของสิกขมานากำเริบ ถ้าสิกขมานานั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุ
ทั้งหลายว่า “สิกขาของดิฉันกำเริบแล้ว ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
ประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สิกขมานานั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาห
กรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสิกขมานานั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำ
ความขวนขวายให้สมาทานสิกขา” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สิกขมานาต้องการจะอุปสมบท
ถ้าสิกขมานานั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันต้องการจะอุปสมบท
ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สิกขมานา
นั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสิกขมานานั้น
ส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้อุปสมบท หรือจักช่วย
สวดกรรมวาจา หรือจักเป็นคณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสามเณร ๖ กรณี
[๑๙๖] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ สามเณรเป็นไข้ ถ้าสามเณรนั้นจะ
พึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเป็นไข้ ขออาราธนาพระคุณเจ้า
ทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรนั้นจะไม่ส่งทูตมา
ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วย
ตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ
หรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่สามเณร...
๓. ความรำคาญเกิดขึ้นแก่สามเณร...
๔. ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่สามเณร...
๕. สามเณรต้องการจะถามปี ถ้าสามเณรนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุ
ทั้งหลายว่า “กระผมเองต้องการจะถามปี ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผม
ประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาห
กรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจัก
ถามหรือจักบอก” แต่พึงกลับใน ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๐. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สามเณรต้องการจะอุปสมบท ถ้าสามเณร
นั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเองต้องการจะอุปสมบท ขอ
อาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรนั้น
จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรนั้นส่งทูต
มา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้อุปสมบท หรือจักช่วยสวด
กรรมวาจา หรือจักเป็นคณปูรกะ” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสามเณรี ๖ กรณี
[๑๙๗] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ สามเณรีเป็นไข้ ถ้าสามเณรีนั้นจะ
พึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา
ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วย
สัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า
“เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือ
จักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๒. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่สามเณรี ...
๓. ความรำคาญเกิดขึ้นแก่สามเณรี ...
๔. ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่สามเณรี ...
๕. สามเณรีต้องการจะถามปี ถ้าสามเณรีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ดิฉันต้องการจะถามปี ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉัน
ประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาห
กรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักถาม
หรือจักบอก” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๖. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สามเณรีต้องการจะสมาทานสิกขา
ถ้าสามเณรีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันต้องการจะสมาทาน
สิกขา ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย
แม้สามเณรีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ
สามเณรีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้สมาทานสิกขา”
แต่พึงกลับใน ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๐๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๑. สัตตอัปปหิตานุชานนา
๑๑๑. สัตตอัปปหิตานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเมื่อบุคคล ๗ จำพวกจะไม่ส่งทูตมา
เรื่องมารดาบิดาเป็นไข้
[๑๙๘] สมัยนั้น มารดาของภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ มารดานั้นส่งทูตไปในสำนัก
ภิกษุผู้เป็นบุตรว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขอบุตรของดิฉันจงมา ดิฉันประสงค์ให้มา”
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า เมื่อบุคคล ๗
จำพวกส่งทูตมา ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อไม่ส่งทูตมา จะไปไม่ได้ สำหรับ
สหธรรมิกทั้ง ๕ แม้ไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ
สหธรรมิกทั้ง ๕ นั้น ส่งทูตมา อนึ่ง มารดาของเรานี้เป็นไข้ แต่มารดานั้นไม่ได้เป็น
อุบาสิกา เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อบุคคล ๗ จำพวก คือ ภิกษุ
ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี มารดา และบิดา จะไม่ส่งทูตมา เราอนุญาต
ให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อบุคคล ๗ จำพวกนั้นส่งทูตมา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้ แม้มิได้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไป
ด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อบุคคล ๗ จำพวกนั้น ส่งทูตมา
แต่พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ มารดาของภิกษุเป็นไข้ ถ้ามารดานั้นจะพึงส่งทูตไป
ในสำนักของภิกษุผู้เป็นบุตรว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขอบุตรของดิฉันจงมา ดิฉันประสงค์
ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้มารดานั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำ
ต้องกล่าวถึงเมื่อมารดานั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต
คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับ
ใน ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๒. ปหิตานุชานนา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ บิดาของภิกษุเป็นไข้ ถ้าบิดานั้นจะพึงส่งทูตไป
ในสำนักของภิกษุผู้เป็นบุตรว่า “ผมเป็นไข้ ขอบุตรของผมจงมา ผมประสงค์ให้มา”
ภิกษุทั้งหลาย แม้บิดานั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าว
ถึงเมื่อบิดานั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต
หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับใน ๗ วัน
๑๑๒. ปหิตานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเมื่อพี่ชายน้องชายเป็นต้นส่งทูตมา
[๑๙๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ พี่ชายน้องชายของภิกษุเป็นไข้ ถ้าพี่ชาย
น้องชายนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุผู้เป็นพี่ชายน้องชายว่า “กระผมเป็นไข้ ขอพี่ชาย
น้องชายของกระผมจงมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพี่ชายน้องชาย
นั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อพี่ชายน้องชายนั้นไม่ส่งทูตมา
ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พี่สาวน้องสาวของภิกษุเป็นไข้ ถ้าพี่สาว
น้องสาวนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักของภิกษุผู้เป็นพี่ชายน้องชายว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขอพี่ชาย
น้องชายของดิฉันจงมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพี่สาวน้องสาวนั้น
ส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อพี่สาวน้องสาวนั้นไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป
(เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ญาติของภิกษุเป็นไข้ ถ้าญาตินั้นจะพึงส่งทูตไป
ในสำนักภิกษุว่า “กระผมเป็นไข้ ขอพระคุณเจ้าจงมา กระผมประสงค์ให้มา”
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อญาตินั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อญาตินั้น
ไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ บุรุษผู้อาศัยอยู่กับภิกษุเป็นไข้ ถ้าบุรุษนั้น
จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุว่า “กระผมเป็นไข้ ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร
กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุรุษนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาห
กรณียะได้ แต่เมื่อบุรุษนั้นไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับ
ใน ๗ วัน
ทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเฉพาะกิจของสงฆ์
สมัยนั้น วิหารของสงฆ์หักพัง อุบาสกคนหนึ่งได้ตัดเครื่องทัพพสัมภาระทิ้งไว้
ในป่า อุบาสกนั้นได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ถ้าพระคุณเจ้าทั้งหลาย
จะพึงขนเครื่องทัพพสัมภาระนั้นมาได้ กระผมขอถวายเครื่องทัพพสัมภาระนั้น”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้
แต่พึงกลับใน ๗ วัน”
๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร
ว่าด้วยการขาดพรรษาโดยไม่ต้องอาบัติในเมื่อมีอันตราย
เรื่องสัตว์ร้ายเบียดเบียน
[๒๐๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ณ อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล
ถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไว้บ้าง วิ่งไล่ไปรอบ ๆ บ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำ
พรรษาถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไว้บ้าง วิ่งไล่ไปรอบ ๆ บ้าง ภิกษุเหล่านั้น
พึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร
เรื่องงูเบียดเบียน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ถูกงูเบียดเบียน
มันขบกัดเอาบ้าง เลื้อยไล่ไปรอบ ๆ บ้าง ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า
“นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องพวกโจรเบียดเบียน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ถูกพวกโจร
เบียดเบียน มันปล้นบ้าง รุมตีบ้าง ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า
“นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องปีศาจรบกวน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ถูกพวกปีศาจ
รบกวน มันเข้าสิงบ้าง ฆ่าเอาบ้าง ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแล
อันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องหมู่บ้านถูกไฟไหม้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา หมู่บ้าน
ถูกไฟไหม้ ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า
“นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องเสนาสนะถูกไฟไหม้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา เสนาสนะถูก
ไฟไหม้ ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญ
ว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร
เรื่องหมู่บ้านถูกน้ำท่วม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา หมู่บ้าน
ถูกน้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วย
สำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องเสนาสนะถูกน้ำท่วม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา เสนาสนะ
ถูกน้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วย
สำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องชาวบ้านอพยพไปเพราะโจรภัย
[๒๐๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ชาวบ้าน
อพยพไปเพราะโจรภัย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามชาวบ้านไป”
เรื่องทรงอนุญาตให้ตามทายกมีจำนวนมากกว่า
ชาวบ้านแตกแยกเป็นสองพวก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามชาวบ้านที่มาก
กว่าไป”
ชาวบ้านที่มากกว่าไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามชาวบ้านที่มี
ศรัทธาเลื่อมใสไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร
เรื่องไม่ได้โภชนะธรรมดาหรือประณีตเป็นต้น
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ณ อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ไม่ได้
โภชนาหารธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้า
จำพรรษา ไม่ได้โภชนาหารธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ ภิกษุเหล่านั้น
พึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ได้โภชนาหาร
ธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ แต่ไม่ได้โภชนาหารที่สบาย ภิกษุเหล่านั้น
พึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ได้โภชนาหาร
ธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการและได้โภชนาหารที่สบาย แต่ไม่ได้เภสัช
ที่สบาย ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติ
เนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ได้โภชนาหาร
ธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ ได้โภชนาหารที่สบาย ได้เภสัชที่สบาย
แต่ไม่ได้อุปัฏฐากผู้สมควร ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย”
ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องสตรีนิมนต์
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สตรีนิมนต์ภิกษุผู้เข้าจำพรรษาว่า “ท่านจง
มาเถิดเจ้าข้า ดิฉันจะถวายเงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส ทาสีแก่ท่าน
หรือจะยกลูกสาวให้เป็นภรรยาของท่าน ดิฉันจะเป็นภรรยาของท่าน หรือจะนำสตรี
อื่นมาให้เป็นภรรยาของท่าน” ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า จิตกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้
พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๔. สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวาร
เรื่องหญิงแพศยานิมนต์
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ หญิงแพศยานิมนต์ภิกษุผู้เข้าจำพรรษา
... หญิงสาวเทื้อนิมนต์ ... ... บัณเฑาะก์นิมนต์...
... พวกญาตินิมนต์ ... ... พระราชาทั้งหลายนิมนต์...
... พวกโจรนิมนต์ ...
... พวกนักเลงนิมนต์ภิกษุผู้เข้าจำพรรษาว่า “ท่านจงมาเถิดขอรับ พวกผม
จะถวายเงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส ทาสีแก่ท่าน หรือจะยกลูกสาว
ให้เป็นภรรยาของท่าน หรือจะนำสตรีอื่นมาให้เป็นภรรยาของท่าน” ในเรื่องนั้น
ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะ
เป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องพบขุมทรัพย์
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษา พบขุมทรัพย์ไม่มีเจ้าของ
ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตกลับกลอกเร็วนัก
อีกหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ
เนื่องจากขาดพรรษา
๑๑๔. สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวาร
ว่าด้วยการขาดพรรษาโดยไม่ต้องอาบัติในเมื่อมีผู้พยายามทำลายสงฆ์
เรื่องทำลายสงฆ์ ๘ กรณี
[๒๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษา เห็นภิกษุมากรูป
กำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเรายังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตก
กันเลย” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๔. สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวาร
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า
ภิกษุมากรูปในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิด
อย่างนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเรายังอยู่
พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตกกันเลย” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป
ในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า
“ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าชอบใจ
การทำลายสงฆ์เลย ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต”
พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป
ในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า
“ภิกษุเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเรา แต่ภิกษุทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุเหล่านั้นเป็น
มิตรของเรา เราจักบอกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่ากล่าวภิกษุ
เหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก
พวกท่านอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของภิกษุเหล่านั้น
จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป
ในอาวาสโน้นจะทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุเหล่านั้นล้วน
เป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย
ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้อง
อาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป
ในอาวาสโน้นได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๔ สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวา
ไม่ใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุเหล่านั้นเป็นมิตรของเรา
เราจักบอกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นว่า
ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่าน
อย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของภิกษุเหล่านั้น
จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณีมากรูป
ในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า
“ภิกษุณีเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นว่า น้องหญิง
ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิง
อย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุณีเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง
จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณีมาก
รูปในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า
“ภิกษุณีเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเรา แต่ภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุณีเหล่านั้น
เป็นมิตรของเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่ากล่าว
ภิกษุณีที่เพียรพยายามทำลายสงฆ์เหล่านั้นว่า น้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย
ภิกษุณีเหล่านั้นจักทำตามคำของภิกษุณีเหล่านั้น จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีก
ไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณีมากรูป
ในอาวาสโน้นจะทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุณีเหล่านั้น
ล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นว่า น้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าชอบใจการทำลาย
สงฆ์เลย ภิกษุณีเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย
ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๕. วชาทิวัสสูปคมนะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณี
มากรูป ในอาวาสโน้นได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า
“ภิกษุณีเหล่านั้น ไม่ใช่มิตรของเรา แต่ภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุณีเหล่า
นั้นเป็นมิตรของเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่า
กล่าวภิกษุณีที่ทำลายสงฆ์เหล่านั้นว่า น้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย
ภิกษุณีเหล่านั้น จักทำตามคำของภิกษุณีเหล่านั้น จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีก
ไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
๑๑๕. วชาทิวัสสูปคมนะ
ว่าด้วยการเข้าจำพรรษาในคอกโคเป็นต้น
เรื่องเข้าจำพรรษาในคอกโค
[๒๐๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องการจะเข้าจำพรรษาในคอกโค๑
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาใน
คอกโคได้” คอกโคย้ายไป
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เดินทางไปกับคอกโคได้”
เรื่องเข้าจำพรรษาในหมู่เกวียน
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อใกล้วันเข้าพรรษาต้องการจะไปกับหมู่เกวียน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ คอกโค ในที่นี้หมายถึงสถานที่ซึ่งคนเลี้ยงโคพักอาศัย ในขณะที่ต้อนโคไปเลี้ยง ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง
ไม่ได้หมายถึงคอกโคที่ประจำอยู่ตามหมู่บ้าน (วิ.อ. ๓/๒๐๓/๑๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๑๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๖. วัสสานุปคันตัพพัฏฐาน
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาในหมู่
เกวียนได้”
เรื่องเข้าจำพรรษาในเรือ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อใกล้วันเข้าพรรษาต้องการจะเดินทางไปกับเรือ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาในเรือได้”

๑๑๖. วัสสานุปคันตัพพัฏฐาน
ว่าด้วยสถานที่ไม่ควรเข้าจำพรรษา
เรื่องเข้าจำพรรษาในโพรงไม้
[๒๐๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในโพรงไม้ มนุษย์ทั้งหลายพากัน
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนพวกปีศาจ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในโพรงไม้
รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องเข้าจำพรรษาบนค่าคบไม้
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาบนค่าคบไม้ มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนพวกพรานเนื้อ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาบนค่าคบไม้
รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๖. วัสสานุปคันตัพพัฏฐาน
เรื่องเข้าจำพรรษาในที่แจ้ง
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในที่แจ้ง เมื่อฝนตก พากันวิ่งเข้า
โคนไม้บ้าง ชายคาบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในที่แจ้ง
รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องภิกษุไม่มีเสนาสนะจำพรรษา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่มีเสนาสนะเป็นที่เข้าจำพรรษา เดือดร้อนเพราะ
ความหนาวบ้าง ความร้อนบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีเสนาสนะ ไม่พึงเข้าจำ
พรรษา รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องเข้าจำพรรษาในกระท่อมผี
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในกระท่อมผี๑ มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนพวกสัปเหร่อ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในกระท่อมผี
รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
๑ กระท่อมผี หมายถึงกระท่อมที่เขาสร้างไว้ในป่าช้าเป็นที่เก็บศพ (ปาจิตฺยาทิโยชนา ๓๒๑ ม.) หรือเตียง
ตั่งที่เขาตั้งไว้ในป่าช้าและเทวสถาน และเรือนที่สร้างก่อแผ่นศิลา ๔ ด้าน และวางแผ่นศิลาทับไว้ข้างบน
(โกดังเก็บศพ) ทรงห้ามเข้าจำพรรษาในสถานที่ดังกล่าวนี้ แต่จะสร้างกุฎีหรือกระท่อมอื่นในป่าช้าแล้ว
เข้าจำพรรษาได้ ไม่ทรงห้าม (วิ.อ. ๓/๒๐๔/๑๕๑-๑๕๒, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๐๔/๓๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๗. อธัมมิกกติกา
เรื่องเข้าจำพรรษาในร่ม
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในร่ม มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “เหมือนพวกคนเลี้ยงโค”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในร่ม
รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องเข้าจำพรรษาในตุ่ม
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในตุ่ม มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “เหมือนพวกเดียรถีย์”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในตุ่ม
รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
๑๑๗. อธัมมิกกติกา
ว่าด้วยการตั้งกติกาไม่ชอบธรรม
เรื่องตั้งกติกาไม่ชอบธรรม
[๒๐๕] สมัยนั้น พระสงฆ์ในกรุงสาวัตถีได้ตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่างพรรษา
ไม่พึงให้บรรพชา
หลานชายของนางวิสาขามิคารมาตาเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา
ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “คุณ พระสงฆ์ได้ตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่าง
พรรษา ไม่พึงให้บรรพชา คุณจงรอจนกว่าภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ออกพรรษา
แล้วจึงบวชได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาแล้ว ได้กล่าวกับหลานชายของนางวิสาขา
มิคารมาตาดังนี้ว่า “บัดนี้ คุณจงมาบวชเถิด”
หลานชายของนางวิสาขามิคารมาตานั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย
ถ้ากระผมพึงบรรพชาแล้วไซร้ ก็พึงยินดียิ่ง บัดนี้กระผมจักไม่บรรพชาละ ขอรับ”
นางวิสาขามิคารมาตาจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พระคุณเจ้า
ทั้งหลายจึงได้ตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่างพรรษา ไม่พึงให้บรรพชา กาลเช่นไรเล่า
ไม่พึงประพฤติธรรม”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินนางวิสาขามิคารมาตาตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่าง
พรรษา ไม่พึงให้บรรพชา สงฆ์หมู่ใดตั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ”
๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
ว่าด้วยการต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
เรื่องพระอุปนันทะเข้าจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่ง
[๒๐๖] สมัยนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้รับคำกับพระเจ้าปเสนทิโกศล
ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น ท่านกำลังไปอาวาสนั้น ระหว่างทางได้เห็น
อาวาส ๒ แห่ง มีจีวรมาก แล้วได้มีความคิดดังนี้ว่า “ถ้ากระไร เราพึงเข้า
จำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จีวรเป็นอันมากจักเกิดขึ้นแก่เรา”
จึงเข้าจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนั้น
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พระคุณเจ้า
อุปนันทศากยบุตรได้รับคำต่อเราว่าจะเข้าจำพรรษาแล้ว จึงได้ทำให้คลาดจากคำ
พูดเสียเล่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิการกล่าวเท็จ ทรงสรรเสริญการงดเว้นจาก
การกล่าวเท็จ โดยประการต่าง ๆ มิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพระเจ้าปเสนทิโกศลตำหนิ ประณาม โพนทะนาอยู่
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ท่านพระอุปนันท
ศากยบุตรได้รับคำกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่าจะเข้าจำพรรษา แล้วจึงได้ทำให้คลาด
จากคำพูดเสียเล่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิการกล่าวเท็จ ทรงสรรเสริญการงดเว้น
จากการกล่าวเท็จ โดยประการต่าง ๆ มิใช่หรือ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่าเธอได้ถวายปฏิญญา
ต่อพระเจ้าปเสนทิโกศลว่าจะเข้าจำพรรษา แล้วทำให้คลาดจากคำพูดเสีย จริงหรือ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอได้ถวายปฏิญญา
ต่อพระเจ้าปเสนทิโกศลว่าจะเข้าจำพรรษา แล้วทำให้คลาดจากคำพูดเสียเล่า
เราตำหนิการกล่าวเท็จ สรรเสริญการงดเว้นจากการกล่าวเท็จ โดยประการต่าง ๆ
มิใช่หรือ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรง
ตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[๒๐๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นกำลังไปอาวาสนั้น ระหว่างทางได้เห็นอาวาส ๒ แห่ง มีจีวรมาก
แล้วได้มีความคิดดังนี้ว่า “ถ้ากระไร เราพึงเข้าจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนี้
เมื่อเป็นเช่นนี้ จีวรเป็นอันมากจักเกิดขึ้นแก่เรา” แล้วเข้าจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่ง
ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะรับคำ๑
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติทุกกฏที่ต้องเพราะรับคำ เรียกว่า ปฏิสสวทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไป
ในวันนั้นทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น
ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ มีกิจจำต้องทำหลีกไปใน
วันนั้นทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น
ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำ
ต้องทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น
ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำต้อง
ทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น
ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วย
สัตตาหกรณียะ อยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของ
ภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วย
สัตตาหกรณียะ กลับมาภายใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุ
นั้นปรากฏและภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้า
วิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ อีก ๗ วัน จะถึงวันปวารณา
มีกิจจำต้องทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น จะกลับอาวาสนั้น หรือไม่กลับมา
ก็ตาม ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ
เพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไป
ในวันนั้นทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏและภิกษุ
นั้นต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นแล้วทำอุโบสถ ถึงวันแรม ๑ ค่ำจึงเข้าวิหาร
จัดอาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ มีกิจจำต้องทำหลีกไป ...
... พักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำต้องทำ หลีกไป...
... พักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำต้องทำหลีกไป ...
... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ อยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติ
ทุกกฏเพราะรับคำ
... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ กลับมาใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ
เพราะรับคำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรม ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร
จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ อีก ๗ วัน จะเป็นวันปวารณา มีกิจจำต้อง
ทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะกลับมาอาวาสนั้นหรือไม่กลับมาก็ตาม วันเข้า
พรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะรับคำ
เรื่องรับคำที่จะเข้าจำพรรษาหลัง
[๒๐๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ
จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไปในวัน
นั้นทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น
ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้า
วิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ มีกิจจำต้องทำหลีกไปในวันนั้น
ทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้อง
อาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึง
เข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจ
จำต้องทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และ
ภิกษุนั้นต้องอาบัติเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาหลัง ... พักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำต้องทำหลีกไป ... วันเข้าพรรษาหลัง
ของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษา
หลัง ... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ อยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติ
ทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึง
เข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วย
สัตตาหกรณียะ กลับมาภายใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของ
ภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษา
หลัง ... อีก ๗ วัน จะครบ ๔ เดือน อันเป็นวันที่ดอกโกมุทบานมีกิจจำต้องทำ
หลีกไป ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะกลับมาอาวาสนั้นหรือไม่กลับมาก็ตาม ภิกษุ
ทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะ
รับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรม ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร
จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไปในวันนั้นทีเดียว
ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติ
ทุกกฏเพราะรับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษา
หลัง ... มีกิจจำต้องทำหลีกไป ...
... พักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไป ...
... พักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำต้องทำหลีกไป ...
... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ อยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติเพราะ
รับคำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๙. รวมเรื่องที่มีในวัสสูปนายิกขันธกะ
... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ กลับมาภายใน ๗ วัน
ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะ
รับคำ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า
พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรม ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร
จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ อีก ๗ วัน จะครบ ๔ เดือน อันเป็นวัน
ที่ดอกโกมุทบาน มีกิจจำต้องทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะกลับมาอาวาสนั้น
หรือไม่กลับมาก็ตาม วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้อง
อาบัติเพราะรับคำ
วัสสูปนายิกขันธกะที่ ๓ จบ
๑๑๙. รวมเรื่องที่มีในวัสสูปนายิกขันธกะ
วัสสูปนายิกขันธกะ มี ๕๒ เรื่อง คือ
เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุเข้าจำพรรษา
เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุเข้าพรรษาในฤดูฝน
เรื่องประเภทแห่งวันเข้าพรรษา
เรื่องพระฉัพพัคคีย์เที่ยวจาริกในระหว่างพรรษา
เรื่องปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เข้าพรรษา
เรื่องจงใจเดินผ่านอาวาส เรื่องการเลื่อนกาลฝน
เรื่องอุบาสกสร้างวิหารเป็นต้นถวาย
เรื่องภิกษุเป็นไข้เป็นต้น เรื่องมารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย
พี่สาวน้องสาว ญาติ และบุรุษผู้อาศัยอยู่กับภิกษุเป็นไข้
เรื่องวิหารทรุดโทรม เรื่องสัตว์ร้ายเบียดเบียน เรื่องงูเบียดเบียน
เรื่องพวกโจรเบียดเบียน เรื่องปีศาจรบกวน
เรื่องหมู่บ้านถูกไฟไหม้ เรื่องเสนาสนะถูกไฟไหม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๒๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ] ๑๑๙. รวมเรื่องที่มีในวัสสูปนายิกขันธกะ
เรื่องหมู่บ้านถูกน้ำท่วม เรื่องเสนาสนะถูกน้ำท่วม
เรื่องชาวบ้านพากันอพยพไปเพราะโจรภัย
เรื่องทรงอนุญาตให้ตามทายกมีจำนวนมากกว่า
เรื่องไม่ได้โภชนาหารธรรมดาหรือประณีตเป็นต้น
เรื่องสตรีนิมนต์ เรื่องหญิงแพศยานิมนต์ เรื่องสาวเทื้อนิมนต์
เรื่องบัณเฑาะก์นิมนต์ เรื่องพวกญาตินิมนต์
เรื่องพระราชานิมนต์ เรื่องพวกโจรนิมนต์
เรื่องพวกนักเลงนิมนต์ เรื่องพบขุมทรัพย์
เรื่องทำลายสงฆ์ ๘ วิธี เรื่องเข้าจำพรรษาในคอกโค
เรื่องเข้าจำพรรษาในหมู่เกวียน เรื่องเข้าจำพรรษาในเรือ
เรื่องเข้าจำพรรษาในโพรงไม้ เรื่องเข้าจำพรรษาบนค่าคบไม้
เรื่องเข้าจำพรรษาในที่แจ้ง เรื่องภิกษุไม่มีเสนาสนะจำพรรษา
เรื่องเข้าจำพรรษาในกระท่อมผี เรื่องเข้าจำพรรษาในร่ม
เรื่องเข้าจำพรรษาในตุ่มน้ำ
เรื่องตั้งกติกาไม่เป็นธรรม เรื่องรับคำจะจำพรรษา
เรื่องทำอุโบสถนอกวิหาร เรื่องรับคำที่จะเข้าจำพรรษาต้น
เรื่องรับคำที่จะเข้าจำพรรษาหลัง
เรื่องไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไป เรื่องมีกิจจำต้องทำหลีกไป
เรื่องพักอยู่ ๒ - ๓ วันแล้วหลีกไปด้วยสัตตาหะกรณียะ
เรื่องอีก ๗ วันจะครบ ๔ เดือน เรื่องภิกษุกลับมาไม่กลับมา
พึงพิจารณาตามแนวทางตามลำดับหัวข้อเรื่อง
วัสสูปนายิกขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๐. อผาสุวิหาร
๔. ปวารณาขันธกะ
๑๒๐. อผาสุวิหาร
ว่าด้วยการอยู่จำพรรษาไม่ผาสุก
เรื่องภิกษุหลายรูปเข้าจำพรรษาในแคว้นโกศลมาเฝ้าพระศาสดา
[๒๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปซึ่งเคยเห็นเคยคบกัน
เข้าจำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียง ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา
อย่างผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต” แล้วปรึกษากันต่อไปว่า “ถ้าพวกเราจะไม่
ทักทายไม่ปราศรัยกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านก่อน รูปนั้นพึง
ปูอาสนะ จัดน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหาร
ที่เหลือ๑ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ รูปใดบิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านทีหลัง ถ้ามีอาหารที่รูป
ก่อนฉันเหลือ ถ้าต้องการพึงฉัน ถ้าไม่ต้องการ พึงเททิ้งยังที่อันปราศจากของ
เขียวสด หรือเทลงน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นพึงเก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ แล้วเก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดหอฉัน
รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อชำระว่างเปล่า รูปนั้นพึงตักใส่ ถ้าไม่สามารถ
พึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยยก ไม่พึงเอ่ยวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยอุบาย
อย่างนี้แล พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา
เป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต”
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นก็ไม่ทักทายไม่ปราศรัยกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับ
จากหมู่บ้านก่อน รูปนั้นก็ปูอาสนะ จัดน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า

เชิงอรรถ :
๑ ภาชนะสำหรับใส่อาหารส่วนที่เหลือซึ่งนำออกจากบาตร (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๖๖/๔๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๐. อผาสุวิหาร
ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ รูปใดบิณฑบาตกลับจากหมู่บ้าน
ทีหลัง ถ้ามีอาหารที่รูปก่อนฉันเหลือ ถ้าต้องการก็ฉัน หากไม่ต้องการ ก็เททิ้งยังที่
อันปราศจากของเขียวสด หรือเทลงน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นก็เก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ แล้วเก็บน้ำดื่มน้ำใช้
กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อชำระว่างเปล่า รูปนั้นก็ตักใส่
ถ้าไม่สามารถก็กวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยยก ย่อมไม่เอ่ยวาจาเพราะเหตุนั้นเลย
ภิกษุมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
มีประเพณีอยู่ว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาครบ ๓ เดือน แล้วจึงเก็บเสนาสนะถือบาตรและจีวร
หลีกไปทางกรุงสาวัตถี จาริกไปโดยลำดับ ถึงกรุงสาวัตถี ไปถึงพระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี โดยลำดับแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร
พุทธประเพณี
อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย
นั่นเป็นพุทธประเพณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายยังสบายดีอยู่หรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน
ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบากหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ยังสบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน
ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่องตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาล
อันควรตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ตรัสถามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ตรัสถามเรื่อง
ที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ทรงขจัดเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์
เสียด้วยอริยมรรคแล้ว พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงสอบถามภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๐. อผาสุวิหาร
ทั้งหลายด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ จะทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จะทรงบัญญัติ
สิกขาบทแก่พระสาวกอย่างหนึ่ง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทำ
อย่างไร พวกเธอจึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา
เป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายบรรดา
ที่นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่นี้ เป็นภิกษุที่เคยเห็นเคยคบกันมาจำนวนหลายรูป ได้เข้าจำพรรษา
อยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ได้ปรึกษากันว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก
และบิณฑบาตไม่ลำบาก แล้วปรึกษากันต่อไปว่า ถ้าพวกเราจะไม่ทักทายไม่ปราศรัยกัน
และกัน รูปใดบิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านก่อน รูปนั้นพึงปูอาสนะ จัดน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ รูปใด
บิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านทีหลัง ถ้ามีอาหารที่รูปก่อนฉันเหลือ ถ้าต้องการพึงฉัน
ถ้าไม่ต้องการ พึงเททิ้งยังที่อันปราศจากของเขียวสด หรือเทลงน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์
รูปนั้นพึงเก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่
อาหารที่เหลือ แล้วเก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้
หม้อชำระว่างเปล่า รูปนั้นพึงตักใส่ถ้าไม่สามารถพึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยยก
ไม่พึงเอ่ยวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยอุบายอย่างนี้แล พวกเราจะพึงเป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก
พระองค์ผู้เจริญ ต่อมา ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ไม่ทักทายไม่ปราศรัยกันและกัน รูปใด
บิณฑบาตกลับจากหมู่บ้านก่อน รูปนั้นก็ปูอาสนะ จัดน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ รูปใดบิณฑบาต
กลับจากหมู่บ้านทีหลัง ถ้ามีอาหารที่รูปก่อนฉันเหลือ ถ้าต้องการก็ฉัน ถ้าไม่
ต้องการ ก็เททิ้งยังที่อันปราศจากของเขียวสด หรือเทลงน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นก็
เก็บอาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างถาดสำหรับใส่อาหารที่เหลือ
แล้วเก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อชำระว่างเปล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๐. อผาสุวิหาร
รูปนั้นก็ตักใส่ ถ้าไม่สามารถก็กวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยยก ย่อมไม่เอ่ยวาจาเพราะ
เหตุนั้นเลย ด้วยอุบายอย่างนี้แล ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน
ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา เป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”
เรื่องเข้าจำพรรษาไม่ผาสุกดังปศุสัตว์อยู่ร่วมกัน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า
โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่ไม่ผาสุกเลย ยังยืนยันว่า อยู่เป็นผาสุก ทราบว่า โมฆบุรุษ
พวกนี้เป็นผู้อยู่ร่วมกันอย่างปศุสัตว์๑ ยังยืนยันว่า อยู่เป็นผาสุก ทราบว่า โมฆบุรุษ
พวกนี้เป็นผู้อยู่ร่วมกันอย่างแพะ ยังยืนยันว่า อยู่เป็นผาสุก ทราบว่า โมฆบุรุษ
พวกนี้เป็นผู้อยู่ร่วมกันอย่างศัตรู ยังยืนยันว่า อยู่เป็นผาสุก”
ทรงห้ามมูควัตรตามแบบอย่างเดียรถีย์
ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษพวกนี้จึงได้สมาทานมูควัตรที่พวกเดียรถีย์ถือ
ปฏิบัติกัน การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรง
ตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง
สมาทานมูควัตรที่พวกเดียรถีย์ถือปฏิบัติกัน รูปใดสมาทานปฏิบัติ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ”
เรื่องทรงอนุญาตพิธีปวารณาเพื่อว่ากล่าวซึ่งกันและกัน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณาด้วยเหตุ ๓ สถาน
คือ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยนึกสงสัย การปวารณานั้น จักเป็นวิธีที่เหมาะสม
เพื่อว่ากล่าวซึ่งกันและกัน เป็นวิธีออกจากอาบัติ เป็นวิธีเคารพพระวินัยของภิกษุ
เหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ อยู่ร่วมกันอย่างปศุสัตว์ หมายถึง อยู่ร่วมกันโดยไม่มีการถามสุขทุกข์ของกันและกัน เพราะปศุสัตว์ทั้งหลาย
ย่อมไม่บอกสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่ตนให้ใครทราบ และไม่ทำปฏิสันถารต่อกัน (วิ.อ. ๓/๒๐๙/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๐. อผาสุวิหาร
วิธีปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุเหล่านั้นพึงปวารณาอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
สัพพสังคาหิกาญัตติ
[๒๑๐] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าสงฆ์พร้อม
กันแล้ว สงฆ์พึงปวารณา
ภิกษุผู้เถระพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวกับ
สงฆ์อย่างนี้ว่า
เตวาจิกาปวารณา
ท่านทั้งหลาย กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี
ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อ
กระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป
ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
กระผม เมื่อกระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป
ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
กระผม เมื่อกระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป
ภิกษุผู้นวกะพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวกับ
สงฆ์อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี
ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อ
กระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๐. อผาสุวิหาร
ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย
ได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
กระผม เมื่อกระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป
ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย
ได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
กระผม เมื่อกระผมทราบจักได้แก้ไขต่อไป
เรื่องพระฉัพพัคคีย์นั่งราบบนอาสนะปวารณา
ทรงอนุญาตให้นั่งกระโหย่งปวารณา
[๒๑๑] สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณา พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์อยู่บนอาสนะ บรรดาพวกภิกษุผู้มีความมักน้อย ฯลฯ พาตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนเมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณา พวกภิกษุ ฉัพพัคคีย์
จึงอยู่บนอาสนะเล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า เมื่อภิกษุ
ผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณา ภิกษุฉัพพัคคีย์อยู่บนอาสนะ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนเมื่อภิกษุผู้เถระ
ทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณา โมฆบุรุษพวกนั้นจึงอยู่บนอาสนะเล่า การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดง
ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบรรดาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
นั่งกระโหย่งปวารณา ไม่พึงอยู่บนอาสนะ รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุทุกรูปนั่งกระโหย่งปวารณา”
สมัยต่อมา พระเถระรูปหนึ่งชราทุพพลภาพ นั่งกระโหย่งรอจนกว่าภิกษุทุกรูป
จะปวารณาเสร็จ ได้เป็นลมล้มลง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งกระโหย่งชั่วเวลา
ปวารณา และอนุญาตให้ภิกษุปวารณาเสร็จแล้วนั่งบนอาสนะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๑. ปวารณาเภท
๑๒๑. ปวารณาเภท
ว่าด้วยประเภทแห่งวันปวารณา
เรื่องวันปวารณามี ๒ วัน
[๒๑๒] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “วันปวารณามีเท่าไร
หนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย วันปวารณานี้มี ๒ วัน คือ วัน ๑๔
ค่ำ และวัน ๑๕ ค่ำ ภิกษุทั้งหลาย วันปวารณามี ๒ วันเหล่านี้แล”
เรื่องอาการที่ทำปวารณามี ๔ อย่าง
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “การทำปวารณามีเท่าไร
หนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย การทำปวารณามี ๔ อย่างเหล่านี้๑ คือ
๑. การทำปวารณาแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม
๒. การทำปวารณาพร้อมเพรียงโดยไม่ชอบธรรม

เชิงอรรถ :
๑ การทำปวารณาแต่ละอย่างมีคำอธิบายเพิ่มเติมดังนี้
๑. ถ้าในวัดหนึ่ง มีภิกษุอยู่ ๕ รูป ภิกษุ ๔ รูปนำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งคณญัตติแล้วปวารณา
หรือมีภิกษุอยู่ ๔ รูป ภิกษุ ๓ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา
หรือมีภิกษุ ๓ รูป ภิกษุ ๒ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมาตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา นี้ชื่อ
ว่าการทำปวารณาแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม
๒. ถ้าภิกษุทั้งหมด ๕ รูป ประชุมร่วมกัน ตั้งคณญัตติแล้วปวารณา ภิกษุ ๔ รูป ๓ รูป หรือ
๒ รูป อยู่ประชุมร่วมกันตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา นี้ชื่อว่าการทำปวารณาพร้อมเพรียงโดยไม่ชอบธรรม
๓. ถ้ามีภิกษุ ๕ รูป ภิกษุ ๔ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมาตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา
หรือมีภิกษุอยู่ ๔ รูป ภิกษุ ๓ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งคณบัญญัติแล้วปวารณา
หรือมีภิกษุอยู่ ๓ รูป ภิกษุ ๒ รูป นำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งคณบัญญัติแล้วปวารณา
นี้ชื่อว่าการทำปวารณาแบ่งพวกโดยชอบธรรม
๔. ถ้าภิกษุทั้งหมด ๕ รูป ประชุมร่วมกัน ตั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา ภิกษุ ๔ รูป หรือ ๓ รูป
ประชุมร่วมกันตั้งคณญัตติแล้วปวารณา หรือภิกษุ ๒ รูป ปวารณาต่อกัน ภิกษุ ๑ รูป ทำอธิษฐาน
ปวารณา นี้ชื่อว่า การทำปวารณาพร้อมเพรียงโดยชอบธรรม (วิ.อ. ๓/๒๑๒/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๒. ปวารณาทานานุชานนา
๓. การทำปวารณาแบ่งพวกโดยชอบธรรม
๔. การทำปวารณาพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในการทำปวารณา ๔ อย่างนั้น การทำปวารณาใดแบ่งพวก
โดย ไม่ชอบธรรม การทำปวารณาเช่นนั้น ไม่พึงทำ และเราไม่อนุญาตการทำ
ปวารณาเช่นนั้น
การทำปวารณาใดพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม การทำปวารณาเช่นนั้น
ไม่พึงทำ และเราไม่อนุญาตการทำปวารณาเช่นนั้น
การทำปวารณาใดแบ่งพวกโดยชอบธรรม การทำปวารณาเช่นนั้น ไม่พึงทำ
และเราไม่อนุญาตการทำปวารณาเช่นนั้น
การทำปวารณาใดพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม การทำปวารณาเช่นนั้น
พึงทำ และเราอนุญาตการทำปวารณาเช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงทำในใจว่า จักทำปวารณาชนิด
ที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม ดังนี้ พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล
๑๒๒. ปวารณาทานานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตให้ภิกษุเป็นไข้มอบปวารณา
เรื่องภิกษุเป็นไข้มอบปวารณา
[๒๑๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงประชุมกัน สงฆ์จักปวารณา”
เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “มี
ภิกษุเป็นไข้อยู่ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เป็นไข้นั้นมาไม่ได้”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้มอบปวารณา”
ภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุผู้เป็นไข้พึงมอบปวารณาอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๒. ปวารณาทานานุชานนา
ภิกษุผู้เป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระ
โหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าขอมอบปวารณา ท่านจงนำ
ปวารณาของข้าพเจ้าไป จงบอกปวารณาของข้าพเจ้า จงปวารณาแทนข้าพเจ้า”
ภิกษุผู้มอบปวารณา ให้ภิกษุผู้รับมอบปวารณารู้ด้วยกาย ให้รู้ด้วยวาจา หรือ
ให้รู้ด้วยกายและวาจา ปวารณาเป็นอันภิกษุไข้มอบให้แล้ว ภิกษุผู้รับมอบ ไม่ให้
ภิกษุผู้รับมอบปวารณารู้ด้วยกาย หรือไม่ให้รู้ด้วยวาจา ไม่ให้รู้ด้วยกายและวาจา
ปวารณาเป็นอันภิกษุไข้ยังมิได้มอบ ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย
พึงใช้เตียงหรือตั่งหามภิกษุไข้มาในท่ามกลางสงฆ์แล้วปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า ถ้าพวก
เราจักย้ายภิกษุไข้ อาการไข้จักกำเริบหนักขึ้นหรือภิกษุไข้จักถึงแก่มรณภาพ ไม่พึง
ย้ายภิกษุไข้ สงฆ์พึงไปปวารณาในสำนักภิกษุไข้นั้น แต่สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวกกันทำ
ปวารณา ถ้าแบ่งพวกปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาหลบไป
เสียจากที่นั้น ภิกษุไข้พึงมอบปวารณาแก่ภิกษุรูปอื่น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาสึกเสีย
ณ ที่นั้นแหละ ... มรณภาพ ... ปฏิญญาเป็นสามเณร ... ปฏิญญาเป็นผู้บอก
คืนสิกขา ... ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ ... ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริต ... ปฏิญญา
เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ... ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ... ปฏิญญาเป็นผู้
ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ ... ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ... ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป... ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ... ปฏิญญาเป็นไถยสังวาส...
ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ... ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ... ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่า
มารดา ... ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดา ... ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ... ปฏิญญาเป็นผู้
ประทุษร้ายภิกษุณี ... ปฏิญญาเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ... ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดา
จนห้อพระโลหิต ... ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก ภิกษุไข้พึงมอบปวารณาแก่ภิกษุรูปอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๓๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๒. ปวารณาทานานุชานนา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาหลบไป
เสียในระหว่างทาง ปวารณาเป็นอันยังมิได้นำมา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาสึกเสีย
ในระหว่างทาง ฯลฯ ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก ปวารณาเป็นอันยังมิได้นำมา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่
ประชุมสงฆ์แล้วหลบไปเสีย ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่
ประชุมสงฆ์แล้วสึกเสีย ฯลฯ ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก ปวารณาเป็นอันนำ
มาแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่
ประชุมสงฆ์แล้วหลับเสียมิได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำปวารณา
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่
ประชุมสงฆ์แล้วเผลอไปไม่ได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำปวารณา
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเป็นไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้า
ที่ประชุมสงฆ์แล้วเข้าสมาบัติไม่ได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำปวารณา
ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปวารณาแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปวารณาเข้าที่
ประชุมสงฆ์แล้วจงใจไม่บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว แต่ภิกษุผู้นำปวารณาต้อง
อาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณานั้น เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มอบปวารณามอบ
ฉันทะด้วย เมื่อสงฆ์มีกิจธุระจำเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๓. ญาตกาทิคหณกถา
๑๒๓. ญาตกาทิคหณกถา
ว่าด้วยหมู่ญาติเป็นต้นจับภิกษุ
เรื่องภิกษุถูกพวกญาติเป็นต้นจับไว้
[๒๑๔] สมัยนั้น ในวันปวารณานั้น หมู่ญาติได้จับภิกษุรูปหนึ่งไว้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น
หมู่ญาติจับภิกษุไว้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับหมู่ญาตินั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
กรุณาปล่อยภิกษุนี้ไว้สักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะมอบปวารณาเสร็จเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่น
เป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับญาติเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน
ทั้งหลายกรุณารอ ณ ที่อันควรสักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะมอบปวารณาเสร็จเถิด”
ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับญาติเหล่านั้น
อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายกรุณานำภิกษุนี้ไปไว้นอกสีมาสักครู่จนกว่าสงฆ์จะปวารณา
เสร็จเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวกปวารณา
ถ้าแบ่งพวกปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น พระราชาทั้งหลายทรงจับ
ภิกษุไว้... พวกโจรจับไว้... พวกนักเลงจับไว้... พวกภิกษุที่เป็นศัตรูกันจับไว้
ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับพวกภิกษุที่เป็นศัตรกันเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
กรุณาปล่อยภิกษุนี้ไว้สักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะมอบปวารณาเสร็จเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่น
เป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย พึงกล่าวกับพวกภิกษุผู้เป็นศัตรูนั้นอย่างนี้ว่า
“ท่านทั้งหลายกรุณารอ ณ ที่สมควรสักครู่จนกว่าภิกษุนี้จะมอบปวารณาเสร็จเถิด”
ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวกับพวกภิกษุผู้เป็น
ศัตรูนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กรุณานำภิกษุนี้ไปไว้นอกสีมาสักครู่จนกว่าสงฆ์
จะปวารณาเสร็จเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวก
กันปวารณา ถ้าแบ่งพวกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท
๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท
ว่าด้วยประเภทปวารณามีปวารณาเป็นการสงฆ์เป็นต้น
เรื่องภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์
[๒๑๕] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๕
รูป ภิกษุเหล่านั้นมีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า สงฆ์
พึงปวารณา ก็พวกเรามี ๕ รูป จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณา
เป็นการสงฆ์”
เรื่องภิกษุ ๔ รูปปวารณาเป็นการคณะ
[๒๑๖] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน
๔ รูป ภิกษุเหล่านั้นได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ
๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ก็พวกเรามีเพียง ๔ รูป จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ”
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณา
ต่อกัน”
วิธีทำปวารณาเป็นการคณะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุ ๔ รูปนั้นพึงปวารณาอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบว่า
ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าท่านทั้งหลายพร้อม
กันแล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณาต่อกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท
ภิกษุผู้เถระพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว
คำปวารณาต่อภิกษุ(ผู้นวกะ)เหล่านั้นอย่างนี้ว่า
คำปวารณาสำหรับภิกษุมีพรรษแก่กว่า
ท่านทั้งหลาย ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี
ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อผมทราบ
จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
ผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
ผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
คำปวารณาสำหรับภิกษุพรรษาอ่อนกว่า
ภิกษุผู้นวกะพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
กล่าวคำปวารณาต่อภิกษุ(ผู้เถระ)เหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
กระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย
ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์
ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย
ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์
ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท
เรื่องภิกษุ ๓ รูป ปวารณาเป็นการคณะ
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป
ภิกษุเหล่านั้นได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป
ปวารณาเป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน ก็พวกเรามีเพียง ๓ รูป
จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๓ รูป ปวารณา
ต่อกัน”
วิธีทำปวารณาเป็นการคณะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุ ๓ รูปนั้นพึงปวารณาอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบว่า
ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าท่านทั้งหลายพร้อม
กันแล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณาต่อกัน
ภิกษุผู้เถระพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
กล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
คำปวารณา
ท่านทั้งหลาย ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี
ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อ
ผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตัก
เตือนผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตัก
เตือนผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท
ภิกษุผู้นวกะพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
กล่าว คำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
คำปวารณา
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือน
กระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย
ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์
ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อท่านทั้งหลาย
ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้ช่วยอนุเคราะห์
ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
เรื่องภิกษุ ๒ รูป ปวารณาต่อกัน
[๒๑๗] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒
รูป ภิกษุเหล่านั้นได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ
๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๓
รูป ปวารณา ต่อกัน ก็พวกเรามีเพียง ๒ รูป จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ”
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๒ รูป ปวารณา
ต่อกัน”
วิธีทำปวารณาเป็นการคณะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุ ๒ รูปนั้นพึงปวารณาอย่างนี้
ภิกษุผู้เถระ พึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
กล่าวกับภิกษุนวกะอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๔. สังฆปวารณาทิปเภท
ท่าน ผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี
ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่าน แม้ครั้งที่ ๒ ผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี
ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อผมทราบ
จักได้แก้ไขต่อไป
ท่าน แม้ครั้งที่ ๓ ผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี
ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนผม เมื่อผมทราบ
จักได้แก้ไขต่อไป
ภิกษุผู้นวกะพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว
กับภิกษุผู้เถระอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ยินก็ดี
ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม เมื่อกระผมทราบ
จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๒ กระผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม
เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๓ กระผมขอปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี
ด้วยได้ยินก็ดี ด้วยนึกสงสัยก็ดี ขอท่านได้ช่วยอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผม
เมื่อกระผมทราบ จักได้แก้ไขต่อไป
เรื่องภิกษุรูปเดียวทำอธิษฐานปวารณา
[๒๑๘] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุอยู่รูปเดียว
ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณา
เป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๓ รูป ปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ
๒ รูป ปวารณาต่อกัน ก็เราอยู่เพียงรูปเดียว จะพึงปวารณาอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๕. อาปัตติปฏิกัมมวิธิ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น
มีภิกษุอยู่รูปเดียว ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่ที่ภิกษุทั้งหลายต้องกลับมา คือโรงฉัน
หรือมณฑป หรือโคนไม้ก็ตาม แล้วตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ปูอาสนะ ตามประทีปแล้วนั่งอยู่
ถ้ามีภิกษุเหล่าอื่นมา พึงปวารณากับภิกษุเหล่านั้น ถ้าไม่มีมา พึงอธิษฐานว่า วันนี้
เป็นวันปวารณาของเรา ถ้าไม่อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๕ รูป ไม่พึงนำปวารณาของภิกษุรูป
หนึ่งมาแล้ว อีก ๔ รูปปวารณาเป็นการสงฆ์ ถ้าปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๔ รูป ไม่พึงนำปวารณาของภิกษุรูป
หนึ่งมาแล้ว อีก ๓ รูปปวารณาต่อกัน ถ้าปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๓ รูป ไม่พึงนำปวารณาของภิกษุรูป
หนึ่งมาแล้ว อีก ๒ รูปปวารณาต่อกัน ถ้าปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ ๒ รูป ไม่พึงนำปวารณาของภิกษุรูป
หนึ่งมาแล้ว อีกรูปหนึ่งอธิษฐาน ถ้าอธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ”
๑๒๕. อาปัตติปฏิกัมมวิธิ
ว่าด้วยวิธีแก้ไขอาบัติ
เรื่องภิกษุต้องอาบัติในวันปวารณา
[๒๑๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติ ในวันปวารณานั้น ภิกษุนั้นได้มี
ความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงปวารณา
ดังนี้ ก็เราต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น
ภิกษุต้องอาบัติ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ขอแสดงคืนอาบัตินั้น ขอรับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๖. อาปัตติอาวิกรณวิธิ
ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า “ท่านเห็นหรือ”
ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า “ขอรับ ผมเห็น”
ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า “ท่านพึงสำรวมต่อไป”
เรื่องภิกษุไม่แน่ใจในอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุมีความไม่แน่ใจใน
อาบัติ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่ง ประนม มือกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมมีความไม่แน่ใจในอาบัติชื่อนี้ ขอรับ
เมื่อผมหมดความไม่แน่ใจ จักทำคืนอาบัตินั้น” แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำ
อันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
๑๒๖. อาปัตติอาวิกรณวิธิ
ว่าด้วยวิธีเปิดเผยอาบัติ
เรื่องภิกษุระลึกอาบัติได้
[๒๒๐] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังปวารณา ระลึกอาบัติได้ ภิกษุนั้นได้มี
ความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึง
ปวารณา ดังนี้ ก็เราต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุกำลัง
ปวารณา ระลึกอาบัติได้ ภิกษุนั้นพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า “ผมต้องอาบัติ
ชื่อนี้ ขอรับ ผมลุกจากที่นี่แล้วจักทำคืนอาบัตินั้น” แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำ
อันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๗. สภาคาปัตติปฏิกัมมวิธิ
กำลังปวารณาไม่แน่ใจในอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุกำลังปวารณา มีความไม่แน่ใจใน
อาบัติ ภิกษุนั้นพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า “ผมมีความไม่แน่ใจในอาบัติชื่อนี้
ขอรับ ผมเมื่อหมดความไม่แน่ใจจักทำคืนอาบัตินั้น” แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำ
อันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
๑๒๗. สภาคาปัตติปฏิกัมมวิธิ
ว่าด้วยวิธีแก้ไขสภาคาบัติ
เรื่องสงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ
[๒๒๑] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น สงฆ์ทั้งหมดต้อง
สภาคาบัติ๑ ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า
ภิกษุไม่พึงแสดงสภาคาบัติ ไม่พึงรับการแสดงสภาคาบัติ ก็สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้อง
สภาคาบัติแล้ว พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวัน
ปวารณานั้น สงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยัง
อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทันในวันนั้นด้วยสั่งว่า ท่าน ท่านจงไปทำคืนอาบัติ
นั้นมาเถิด พวกเราจักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักของท่าน ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็น
การดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๑๖๓ หน้า ๒๕๖ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๔๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ] ๑๒๘. อนาปัตติปัณณรสกะ
ญัตติกรรมวาจา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้องสภาคาบัติแล้ว เมื่อพบ
ภิกษุรูปอื่นผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ ก็จักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักของภิกษุรูปนั้น ดังนี้
แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำอันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
สงฆ์ทั้งหมดไม่แน่ใจในสภาคาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น สงฆ์
ทั้งหมดมีความไม่แน่ใจในสภาคาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบ
ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
ญัตติกรรมวาจา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้มีความไม่แน่ใจในสภาคาบัติ
เมื่อหมดความไม่แน่ใจ ก็จักทำคืนอาบัตินั้น ดังนี้ แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำ
อันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
ปฐมภาณวารที่ ๑ จบ
๑๒๘. อนาปัตติปัณณรสกะ
ว่าด้วยการปวารณาโดยไม่ต้องอาบัติ ๑๕ กรณี
[๒๒๒] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น มีภิกษุที่อยู่ในอาวาส
หลายรูป แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่า “ยังมีภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นที่ไม่ได้มาอยู่”
ภิกษุเหล่านั้นมีความสำคัญว่าเป็นธรรม เป็นวินัย ยังแบ่งพวกกันอยู่ แต่สำคัญ
ว่าเป็นผู้พร้อมเพรียง ปวารณา เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุที่อยู่
ในอาวาสพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๓๕๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น