Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๕-๒ หน้า ๔๓ - ๘๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕-๒ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
มหาวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๐. ปัญจเภสัชชกถา
๖. เภสัชชขันธกะ
๑๖๐. ปัญจเภสัชชกถา
ว่าด้วยทรงอนุญาตเภสัช ๕
เรื่องภิกษุอาพาธในฤดูสารท๑
[๒๖๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายป่วยด้วยอาพาธที่เกิดในฤดู
สารท แม้ข้าวต้มที่ดื่มเข้าไปก็กลับอาเจียนออกมา แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็กลับอาเจียน
ออกมา ภิกษุเหล่านั้นซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง เพราะโรคนั้น
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง
เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง จึงตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ ทำไมเวลานี้ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “เวลานี้ ภิกษุทั้งหลายป่วยด้วยอาพาธที่เกิดใน
ฤดูสารท แม้ข้าวต้มที่ดื่มเข้าไปก็กลับอาเจียนออกมา แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็กลับ
อาเจียนออกมา ภิกษุเหล่านั้นจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง
เพราะโรคนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงอนุญาตเภสัช ๕ ในกาล
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้น ประทับในที่สงัด ได้เกิดความดำริใน
พระทัยอย่างนี้ว่า “เวลานี้ ภิกษุทั้งหลายป่วยด้วยอาพาธที่เกิดในฤดูสารท แม้ข้าว

เชิงอรรถ :
๑ อาพาธในฤดูสารท คือ ไข้เหลือง (หรือโรคดีซ่าน) ที่เกิดขึ้นในฤดูสารท (ฤดูใบไม้ร่วง) เพราะในฤดูสารทนี้
ภิกษุทั้งหลายเปียกชุ่มด้วยน้ำฝนบ้าง เดินย่ำโคลนบ้าง แสงแดดแผดกล้าบ้าง ทำให้น้ำดีของภิกษุ
ทั้งหลายขังอยู่แต่ในถุงน้ำดี (วิ.อ. ๓/๒๖๐/๑๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๔๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๐. ปัญจเภสัชชกถา
ต้มที่ดื่มเข้าไปก็กลับอาเจียนออกมา แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็กลับอาเจียนออกมา
ภิกษุเหล่านั้นซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง เพราะโรคนั้น เราจะ
อนุญาตอะไรเป็นยาแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นทั้งตัวยาและชาวโลกถือกันว่าเป็นยา
ทั้งจะให้ประโยชน์ทางโภชนาหาร และไม่เป็นอาหารหยาบ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ทรงดำริดังนี้ว่า “เภสัช ๕ นี้ ได้แก่ เนยใส
เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นทั้งตัวยาและชาวโลกถือกันว่าเป็นยา
ทั้งให้ประโยชน์ทางโภชนาหาร และไม่เป็นอาหารหยาบ อย่ากระนั้นเลย เราพึง
อนุญาตเภสัช ๕ นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคนในกาลแล้วฉันในกาล”
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น ทรงแสดงธรรมีกถา
เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราหลีกเร้น
อยู่ในที่สงัด เกิดความคิดขึ้นในใจอย่างนี้ว่า ‘เวลานี้ ภิกษุทั้งหลายป่วยด้วย
อาพาธที่เกิดในฤดูสารท แม้ข้าวต้มที่ดื่มเข้าไปก็กลับอาเจียนออกมา แม้ข้าวสวย
ที่ฉันแล้วก็กลับอาเจียนออกมา ภิกษุเหล่านั้นซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้น
เอ็นขึ้นสะพรั่ง เพราะโรคนั้น เราจะอนุญาตอะไรเป็นยาแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็น
ทั้งตัวยา และชาวโลกถือกันว่าเป็นยา ทั้งจะให้ประโยชน์ทางโภชนาหาร และไม่
เป็นอาหารหยาบ ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เภสัช ๕ นี้ ได้แก่
เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นทั้งตัวยาและชาวโลกถือกันว่าเป็นยา
ทั้งให้ประโยชน์ทางโภชนาหาร และไม่เป็นอาหารหยาบ เราพึงอนุญาตเภสัช ๕
นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคนในกาลแล้วฉันในกาล’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ภิกษุทั้งหลายรับประเคนเภสัชทั้ง ๕ เหล่านั้นในกาลแล้วฉันในกาล”
เรื่องเภสัช ๕ ในเวลาวิกาล
[๒๖๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับประเคนเภสัช ๕ ในกาลแล้วฉันในกาล
โภชนาหารชนิดธรรมดาที่ฉันประจำวันของภิกษุเหล่านั้นยังไม่อาจย่อย ไม่จำต้องกล่าว
ถึงโภชนาหารชนิดที่มีไขมัน ภิกษุเหล่านั้นจึงป่วยด้วยอาพาธที่เกิดในฤดูสารท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๔๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๐. ปัญจเภสัชชกถา
และเบื่อภัตตาหาร เพราะเหตุ ๒ ประการนั้น จึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง
เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่งมากยิ่งขึ้น
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสถามท่านพระอานนท์
อีกว่า “อานนท์ ทำไมเวลานี้ ภิกษุทั้งหลายจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง
เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “เวลานี้ ภิกษุทั้งหลายรับประเคนเภสัช ๕ ใน
กาลแล้วฉันในกาล โภชนาหารชนิดธรรมดาที่ฉันประจำวันของภิกษุเหล่านั้นยังไม่
อาจย่อย ไม่จำต้องกล่าวถึงโภชนาหารชนิดที่มีไขมัน ภิกษุทั้งหลายจึงป่วยด้วยอาพาธ
ที่เกิดในฤดูสารท และเบื่อภัตตาหาร เพราะเหตุ ๒ ประการนั้น จึงซูบผอม หมองคล้ำ
ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่งมากยิ่งขึ้น พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเภสัช ๕ ฉันได้ทั้ง
ในกาลและในเวลาวิกาล”
เรื่องน้ำมันเหลวที่เป็นยา
[๒๖๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ต้องการมันเหลวที่เป็นยา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตมันเหลวที่เป็นยา คือ
มันเหลวหมี มันเหลวปลา มันเหลวปลาฉลาม๑ มันเหลวหมู มันเหลวลาที่รับ
ประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในกาลแล้วฉันอย่างน้ำมัน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนมันเหลวในเวลาวิกาล เจียวในเวลาวิกาล
กรองในเวลาวิกาลแล้ว ถ้าภิกษุฉันมันเหลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว

เชิงอรรถ :
๑ บางอาจารย์ว่า จระเข้ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๖๒/๓๖๗) ฉบับ PALI TEXT SOCIETY แปลว่า จระเข้ (Book
of the discipline past 4 P. 271) มหาวรรคฉบับภาษาพม่าแปลว่า “ปลาโลมา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๔๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนมันเหลวในกาล เจียวในเวลาวิกาล กรอง
ในเวลาวิกาลแล้ว ถ้าภิกษุฉันมันเหลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนมันเหลวในกาล เจียวในกาล กรองในเวลา
วิกาลแล้ว ถ้าภิกษุฉันมันเหลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ (๑ ตัว)
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนมันเหลวในกาล เจียวในกาล กรองในกาล
แล้ว ถ้าภิกษุฉันมันเหลวนั้น ไม่ต้องอาบัติ”
๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
ว่าด้วยทรงอนุญาตเครื่องยามีรากไม้เป็นต้น
เรื่องรากไม้ที่เป็นยา
[๒๖๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ ต้องการรากไม้ที่เป็นยา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรากไม้ที่เป็นยา คือ ขมิ้น
ขิงสด ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิต ข่า แฝก แห้วหมู หรือรากไม้ที่เป็นยาชนิด
อื่นที่มีอยู่ ซึ่งไม่ใช่ของเคี้ยวของฉัน รับประเคนแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ เมื่อมี
เหตุจำเป็น ภิกษุจึงฉันได้ เมื่อไม่มีเหตุจำเป็น ภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องรากไม้บดที่เป็นยา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ ต้องการรากไม้ที่บดเป็นยา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหินบด ลูกหินบด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๔๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
เรื่องน้ำฝาดที่เป็นยา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ ต้องการน้ำฝาดที่เป็นยา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำฝาดที่เป็นยา คือ น้ำ
ฝาดสะเดา น้ำฝาดโมกมัน น้ำฝาดขี้กา น้ำฝาดบอระเพ็ด น้ำฝาดกระถินพิมาน
หรือน้ำฝาดที่เป็นยาชนิดอื่นที่มีอยู่ ซึ่งไม่ใช่ของเคี้ยวของฉัน รับประเคนแล้วเก็บไว้
ได้จนตลอดชีพ เมื่อมีเหตุจำเป็น ภิกษุจึงฉันได้ เมื่อไม่มีเหตุจำเป็น ภิกษุฉัน ต้อง
อาบัติทุกกฏ”
เรื่องใบไม้ที่เป็นยา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ต้องการใบไม้ที่เป็นยา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตใบไม้ที่เป็นยา คือ ใบสะเดา
ใบโมกมัน ใบขี้กา ใบแมงลัก ใบฝ้าย หรือใบไม้ที่เป็นยาชนิดอื่นที่มีอยู่ ซึ่งไม่ใช่ของ
เคี้ยวของฉัน รับประเคนแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ เมื่อมีเหตุจำเป็น ภิกษุจึงฉันได้
เมื่อไม่มีเหตุจำเป็น ภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องผลไม้ที่เป็นยา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ต้องการผลไม้ที่เป็นยา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผลไม้ที่เป็นยา คือ ลูกพิลังคะ
ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลโกฐ หรือผลไม้ที่เป็นยาชนิดอื่น
ที่มีอยู่ ซึ่งไม่ใช่ของเคี้ยวของฉัน รับประเคนแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ เมื่อมีเหตุจำเป็น
ภิกษุจึงฉันได้ เมื่อไม่มีเหตุจำเป็น ภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๔๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
เรื่องยางไม้ที่เป็นยา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ ต้องการยางไม้ที่เป็นยา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยางไม้ที่เป็นยา คือ หิงคุ
ยางเคี่ยวจากหิงคุ ยางเคี่ยวจากเปลือกหิงคุ ยางจากยอดตันตกะ ยางจากใบ
ตันตกะ ยางเคี่ยวจากก้านตันตกะ กำยาน หรือยางที่เป็นยาชนิดอื่นที่มีอยู่ ซึ่งไม่
ใช่ของเคี้ยวของฉัน รับประเคนแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ เมื่อมีเหตุจำเป็น ภิกษุ
จึงฉันได้ เมื่อไม่มีเหตุจำเป็น ภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องเกลือที่เป็นยา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ ต้องการเกลือที่เป็นยา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเกลือที่เป็นยา คือ
เกลือสมุทร เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เกลือดินโป่ง เกลือหุงหรือเกลือที่เป็นยา
ชนิดอื่นที่มีอยู่ ซึ่งไม่ใช่ของเคี้ยวของฉัน รับประเคนแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ
เมื่อมีเหตุจำเป็น ภิกษุจึงฉันได้ เมื่อไม่มีเหตุจำเป็น ภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องมูลโค ดินเหนียว กากน้ำย้อมดับกลิ่นตัว
[๒๖๔] สมัยนั้น ท่านพระเพลัฏฐสีสะผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านพระอานนท์
เป็นโรคฝีดาษ จีวรติดกายเพราะน้ำเหลือง พวกภิกษุใช้น้ำชุบผ้าเหล่านั้นแล้ว
ค่อย ๆ ดึงออกมา
พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปตามเสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้น
กำลังใช้น้ำชุบผ้าแล้วค่อย ๆ ดึงออกมา จึงเสด็จเข้าไปหา ตรัสถามว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนี้เป็นโรคอะไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๔๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ภิกษุนี้เป็นโรคฝีดาษ จีวรติดกายเพราะน้ำเหลือง
พวกข้าพระองค์ใช้น้ำชุบผ้าแล้วค่อย ๆ ดึงออกมา พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาผงสำหรับภิกษุผู้เป็นหิด ตุ่ม
พุพอง ฝีดาษ หรือมีกลิ่นตัวแรง มูลโค ดินเหนียว กากน้ำย้อมสำหรับภิกษุผู้ไม่
เป็นไข้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตครกและสาก”
เรื่องยาผงและเครื่องร่อนยา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ ต้องการยาผงที่ร่อนแล้ว
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องร่อนยาผง”
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ต้องการยาผงละเอียด
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าร่อนยา”
เรื่องเนื้อดิบและเลือดสด
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้เพราะถูกอมนุษย์เข้าสิง อาจารย์และอุปัชฌาย์
ช่วยกันรักษาภิกษุนั้น แต่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ภิกษุนั้นเดินไปที่ร้านขายหมู
แล้วกินเนื้อดิบ ดื่มเลือดสด ๆ โรคอมนุษย์เข้าสิงของภิกษุนั้นจึงสงบ๑
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเนื้อดิบ เลือดสด ใน
เมื่อมีโรคอมนุษย์เข้าสิง”

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุผู้เป็นไข้นั้น ไม่ได้กินเนื้อดิบ ไม่ได้ดื่มเลือดสด แต่อมนุษย์ (ผี) ที่สิงอยู่ในร่างภิกษุนั้น กินและดื่ม
พอกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดแล้ว ก็ออกจากร่างภิกษุนั้นไป (วิ.อ. ๓/๒๖๔/๑๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๔๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
เรื่องยาหยอดตา
[๒๖๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคตา พวกภิกษุต้องพยุงภิกษุนั้น
ไปให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง
พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปตามเสนาสนะ ทอดพระเนตรเห็นพวกภิกษุกำลัง
พยุงภิกษุนั้นไปให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง จึงเสด็จเข้าไปหาแล้วตรัสถาม
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เป็นโรคอะไร”
พวกภิกษุกราบทูลว่า “ท่านรูปนี้อาพาธเป็นโรคตา พวกข้าพระองค์คอยพยุง
ท่านไปให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาหยอดตา อันได้แก่ยา
ทาตาที่ปรุงด้วยเครื่องปรุงหลายอย่าง ยาป้ายตาที่ทำด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ ยาทา
ตาที่เกิดในกระแสน้ำ หรดาลกลีบทอง เขม่าไฟ”
เรื่องเครื่องบดยาผสมยาตา
ภิกษุทั้งหลายต้องการเครื่องบดยาผสมยาตา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้จันทน์ กฤษณา
กะลัมพัก ใบเฉียง แห้วหมู”
เรื่องกลักยาตา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บยาตาชนิดผงไว้ในโอ่งบ้าง ในขันบ้าง ผงหญ้าบ้าง
ฝุ่นบ้างปลิวลงไป
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกลักยาตา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๕๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้กลักยาตาชนิดต่าง ๆ ทำด้วยทองคำ ทำ
ด้วยเงิน มนุษย์ทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กลักยาตาชนิดต่าง ๆ
รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกลักยาตาทำด้วยกระดูก
ทำด้วยงา ทำด้วยเขา ทำด้วยไม้อ้อ ทำด้วยไม้ไผ่ ทำด้วยไม้ ทำด้วยยางไม้
ทำด้วยผลไม้ ทำด้วยโลหะ ทำด้วยเปลือกสังข์”
กลักยาตาไม่มีฝาปิด ผงหญ้าบ้าง ฝุ่นบ้างปลิวลงไป
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด”
ฝาปิดตกจากกลักยาตา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ด้ายผูกพันไว้กับ
กลักยาตา”
กลักยาตาแตก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ด้ายถัก”
เรื่องไม้ป้ายยาตา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้นิ้วมือป้ายทาตา นัยน์ตาช้ำ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ป้ายยาตา”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ไม้ป้ายยาตาชนิดต่าง ๆ ทำด้วยทองคำ ทำด้วยเงิน
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๕๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ไม้ป้ายยาตาชนิดต่าง ๆ
รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ป้ายยาตาทำด้วยกระดูก
ทำด้วยงา ทำด้วยเขา ฯลฯ ทำด้วยเปลือกสังข์”
เรื่องที่เก็บไม้ป้ายยาตา
สมัยนั้น ไม้ป้ายยาตาตกที่พื้นจึงเปื้อน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภาชนะ สำหรับเก็บไม้
ป้ายยาตา”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้มือถือกลักยาตาบ้าง ไม้ป้ายยาตาบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงกลักยาตา”
ถุงกลักยาตาไม่มีหูสะพาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกผูกเป็นสายสะพาย”
เรื่องน้ำมันทาศีรษะ
[๒๖๖] สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะปวดร้อนที่ศีรษะ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันทาศีรษะ”
เรื่องนัตถุ์ยา
พระปิลันทวัจฉะยังไม่หายโรคปวดร้อนที่ศีรษะ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๕๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการนัตถุ์”๑
น้ำมันที่นัตถุ์ไหลออก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องยานัตถุ์”
เรื่องกล้องยานัตถุ์
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้กล้องยานัตถุ์ชนิดต่าง ๆ ทำด้วยทองคำ ทำ
ด้วยเงิน คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กล้องยานัตถุ์ชนิดต่าง ๆ
รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องยานัตถุ์ทำด้วยกระดูก
ฯลฯ ทำด้วยเปลือกสังข์”
พระปิลินทวัจฉะนัตถุ์ได้ไม่เท่ากัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้
มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องยานัตถุ์มีหลอดคู่”
เรื่องสูดควัน
พระปิลันทวัจฉะยังไม่หายโรคปวดศีรษะ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สูดควัน”

เชิงอรรถ :
๑ การนัตถุ์ หมายถึงการใช้น้ำมันที่ปรุงเป็นยาหยอดจมูก (ที.สี.อ. ๑/๙๑, ม.ม.อ. ๓/๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๕๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
เรื่องกล้องสูดควันและฝาปิดกล้องสูดควัน
ภิกษุทั้งหลายจุดเกลียวผ้าแล้วสูดควัน คอแสบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสูดควัน”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้กล้องสูดควันชนิดต่าง ๆ ทำด้วยทองคำ ทำ
ด้วยเงิน คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลายภิกษุไม่พึงใช้กล้องสูดควันชนิดต่าง ๆ
รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสูดควัน ทำด้วยกระดูก
ทำด้วยงา ทำด้วยเขา ทำด้วยไม้อ้อ ทำด้วยไม้ไผ่ ทำด้วยไม้ ทำด้วยยางไม้ ทำด้วย
ผลไม้ ทำด้วยโลหะ ทำด้วยเปลือกสังข์”
สมัยนั้น กล้องสูดควันไม่มีฝาปิด ตัวสัตว์เล็ก ๆ เข้าไปได้ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้มือถือกล้องสูดควัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงกล้องสูดควัน”
กล้องสูดควันอยู่รวมกันย่อมกระทบกัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงคู่”
ถุงคู่ไม่มีหูสะพาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกผูกเป็นสายสะพาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๕๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
พระปิลินทวัจฉะอาพาธเป็นโรคลม
เรื่องน้ำมันหุง
[๒๖๗] สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะอาพาธเป็นโรคลม พวกแพทย์กล่าว
อย่างนี้ว่า “ต้องหุงน้ำมันถวาย”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันที่หุง”
เรื่องน้ำเมาเจือในน้ำมันหุง
แพทย์ต้องเจือน้ำเมาในน้ำมันที่หุง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เจือน้ำเมาลงในน้ำ
มันที่หุงได้”
เรื่องน้ำมันเจือด้วยน้ำเมามากเกินไป
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์หุงน้ำมันเจือน้ำเมาลงไปเกินขนาด ดื่มน้ำมัน
นั้นแล้วเมา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงดื่มน้ำมันเจือน้ำเมาลง
ไปเกินขนาด รูปใดดื่ม พึงปรับอาบัติตามธรรม๑ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ดื่มน้ำมันเจือด้วยน้ำเมาชนิดที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสน้ำเมา”

เชิงอรรถ :
๑ พึงปรับอาบัติตามธรรม ในที่นี้ หมายถึง ปรับอาบัติปาจิตตีย์เพราะดื่มสุราและเมรัย ตามความใน
สิกขาบทที่ ๑ แห่งสุราปานวรรค (ดู วิ.มหา (แปล) ๒/๓๒๗-๓๒๘/๔๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๕๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
เรื่องทรงอนุญาตน้ำมันเจือน้ำเมามากใช้เป็นยาทา
สมัยนั้น น้ำมันที่ภิกษุหุงเจือน้ำเมาลงไปเกินขนาดมาก
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะปฏิบัติในน้ำมัน
เจือน้ำเมาลงไปเกินขนาดนี้ อย่างไร” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บไว้เป็นยาทา”
เรื่องลักจั่น
สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะหุงน้ำมันไว้มาก ไม่มีภาชนะบรรจุน้ำมัน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลักจั่น ๓ ชนิด คือ
ลักจั่นทำด้วยโลหะ ลักจั่นทำด้วยไม้ ลักจั่นทำด้วยผลไม้”
เรื่องการรมเหงื่อ
สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะอาพาธเป็นโรคลมตามอวัยวะ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการเข้ากระโจมรมเหงื่อ”
เรื่องการรมด้วยใบไม้
ท่านพระปิลันทวัจฉะก็ยังไม่หายโรคลม
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการรมด้วยใบไม้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๕๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
เรื่องรมใหญ่
ท่านพระปิลันทวัจฉะก็ยังไม่หายโรคลม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการรมใหญ่”๑
เรื่องรมด้วยใบไม้ต่าง ๆ
ท่านพระปิลันทวัจฉะก็ยังไม่หายโรคลม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำต้มใบไม้ชนิดต่าง ๆ”๒
เรื่องอ่างน้ำ
ท่านพระปิลันทวัจฉะก็ยังไม่หายโรคลม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอ่างน้ำ”
เรื่องใช้เขาสัตว์กอกระบายโลหิตออก
สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะอาพาธเป็นโรคลมขัดยอกตามข้อ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระบายโลหิตออก”

เชิงอรรถ :
๑ การรมใหญ่ หมายถึงเอาถ่านเพลิงใส่หลุมจนเต็ม เอาดินร่วนและทรายเป็นต้นปิดไว้ ลาดใบไม้นานา
ชนิดทับลงไป เอาน้ำมันทาตัวนอนบนหลุมนั้น รมร่างกายโดยการพลิกกลับไปมา (วิ.อ. ๓/๒๖๗/๑๗๔-
๑๗๕)
๒ น้ำต้มใบไม้ชนิดต่าง ๆ คือ น้ำต้มใบไม้นานาชนิดจนเดือดแล้ว ใช้ใบไม้และน้ำราดรม (วิ.อ. ๓/๒๖๗/๑๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๕๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
ท่านพระปิลินทวัจฉะก็ยังไม่หายโรคลมขัดยอกตามข้อ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้เขาสัตว์กอกระบาย
โลหิตออก”๑
เรื่องยาทาเท้า
สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะเท้าแตก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาทาเท้า”
เรื่องปรุงน้ำมันทาเท้า
ท่านพระปิลันทวัจฉะยังไม่หายโรคเท้าแตก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปรุงน้ำมันทาเท้า”
เรื่องภิกษุอาพาธเป็นฝี
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นฝี ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการผ่าตัด”
เรื่องน้ำฝาด
ภิกษุนั้นต้องการน้ำฝาด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำฝาด”

เชิงอรรถ :
๑ กอก คือการดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกาย หรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านม โดยใช้ถ้วย
กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด วิธีดูดให้กดปากถ้วย หรือกระบอกแนบครอบลงบนแผล หนองแล้วยกขึ้น
ทำบ่อย ๆ จนดูดเลือดที่เสีย หรือหนองออกหมด ในที่นี้ใช้เขาสัตว์กอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๕๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
เรื่องงาบด
ภิกษุนั้นต้องการงาบด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตงาบด”
เรื่องยาพอก
ภิกษุนั้นต้องการยาพอก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาพอก”
เรื่องผ้าพันแผล
ภิกษุนั้นต้องการผ้าพันแผล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าพันแผล”
เรื่องชะแผลด้วยน้ำแป้งเมล็ดผักกาด
แผลคัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ชะด้วยน้ำแป้งเมล็ด
ผักกาด”
เรื่องรมแผลด้วยควัน
แผลชื้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รมควัน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๕๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
เรื่องใช้ก้อนเกลือตัดเนื้องอก
เนื้องอกยื่นออกมา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดด้วยก้อนเกลือ”
เรื่องน้ำมันทาแผล
แผลไม่งอก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันทาแผล”
เรื่องผ้าปิดกันน้ำมันไหลเยิ้ม
น้ำมันไหลเยิ้ม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าเก่าสำหรับซับน้ำมัน
รักษาแผลทุกชนิด”
เรื่องยามหาวิกัฏ ๔ อย่าง
[๒๖๘] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ยามหาวิกัฏ ๔
อย่าง คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน”
เรื่องรับประเคน
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ยามหาวิกัฏไม่ต้องรับประเคน
หรือต้องรับประเคน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเมื่อมี
กัปปิยการก ถ้าไม่มีกัปปิยการก ให้หยิบเองได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๖๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
เรื่องน้ำดื่มเจือคูถ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งดื่มยาพิษเข้าไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำเจือคูถ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “คูถไม่ต้องรับประเคน หรือจะ
ต้องรับประเคน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคูถที่ภิกษุหยิบไว้ขณะ
กำลังถ่ายนั่นแหละเป็นอันประเคนแล้ว จึงไม่ต้องรับประเคนอีก”
เรื่องภิกษุโดนยาแฝดดื่มน้ำที่ละลายจากดินติดผาลไถ
[๒๖๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธโดนยาแฝด๑ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายดิน
รอยไถติดผาล”
เรื่องดื่มน้ำด่างดิบ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคท้องผูก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำด่างดิบ”

เชิงอรรถ :
๑ อาพาธโดนยาแฝด แปลมาจากบาลีว่า “ฆรทินฺนาพาโธ” หมายถึงโรคที่เกิดขึ้นเพราะน้ำหรือยาที่หญิง
แม่เรือนให้ ซึ่งดื่มกินเข้าไปแล้วจะตกอยู่ในอำนาจของหญิงนั้น (วิ.อ. ๓/๒๖๙/๑๗๕, สารตฺถ. ฏีกา ๓/๒๖๙
/๓๖๗, วิมติ.ฏีกา ๒/๒๖๙/๒๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๖๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
เรื่องดื่มน้ำสมอดองมูตรโค
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผอมเหลือง๑
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มยาผลสมอดอง
น้ำมูตร”๒
เรื่องไล้ทาของหอม
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผิวหนัง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลูบไล้ด้วยของหอม”
เรื่องดื่มยาถ่าย
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธมีผดผื่นขึ้นตามตัว
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มยาถ่าย”
เรื่องน้ำข้าวใส
ภิกษุนั้นต้องการน้ำข้าวใส ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำข้าวใส”

เชิงอรรถ :
๑ โรคผอมเหลือง คือ โรคดีซ่าน
๒ ดองด้วยมูตรโค (วิ.อ. ๓/๒๖๙/๑๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๖๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๒. ปิลินทวัจฉวัตถุ
เรื่องน้ำต้มถั่วเขียวไม่ข้น
ภิกษุนั้นต้องการน้ำต้มถั่วเขียวไม่ข้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำต้มถั่วเขียวไม่ข้น”
เรื่องน้ำต้มถั่วเขียวข้น
ภิกษุนั้นต้องการน้ำต้มถั่วเขียวข้นเล็กน้อย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำต้มถั่วเขียวข้นเล็ก
น้อย”
เรื่องน้ำต้มเนื้อ
ภิกษุนั้นต้องการน้ำต้มเนื้อ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำต้มเนื้อ”
๑๖๒. ปิลินทวัจฉวัตถุ
ว่าด้วยพระปิลินทวัจฉะ๑
เรื่องพระปิลินทวัจฉะจะทำความสะอาดเงื้อมเขา
และพระเจ้าพิมพิสารพระราชทานคนงานวัด
[๒๗๐] สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะประสงค์จะทำที่เร้น จึงให้ภิกษุทั้งหลาย
ทำความสะอาดเงื้อมเขาในกรุงราชคฤห์

เชิงอรรถ :
๑ วิ.มหา. (แปล) ๒/๖๑๘-๖๑๙/๑๓๙-๑๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๖๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๒. ปิลินทวัจฉวัตถุ
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเสด็จเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะ
ถึงที่พัก ครั้นถึงแล้ว ได้ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้าพิมพิสาร
จอมทัพมคธรัฐผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ตรัสกับท่านพระปิลินทวัจฉะดังนี้ว่า
“พระคุณเจ้าให้ภิกษุทั้งหลายทำอะไร”
ท่านพระปิลินทวัจฉะถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร อาตมภาพประสงค์
จะทำที่เร้น จึงให้ภิกษุทั้งหลายทำความสะอาดเงื้อมเขา”
พระเจ้าพิมพิสารตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า ต้องการคนวัด บ้างไหม”
ท่านพระปิลินทวัจฉะถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
อนุญาตให้มีคนวัด”
พระเจ้าพิมพิสารตรัสถามว่า “ถ้าเช่นนั้น พระคุณเจ้าพึงทูลถามพระผู้มีพระภาค
แล้วบอกโยมด้วย”
ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลสนองพระดำรัสแล้ว ชี้แจงให้ท้าวเธอเห็นชัด ชวนให้
อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐผู้ซึ่งท่านพระปิลินทวัจฉะชี้แจงให้
เห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ได้เสด็จลุกจากราชอาสน์ ทรงอภิวาทพระเถระ ทำประทักษิณ
แล้วเสด็จกลับไป
ต่อมา ท่านพระปิลินทวัจฉะส่งทูตไปยังสำนักพระผู้มีพระภาคให้กราบทูลว่า
“พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐมีพระราชประสงค์จะถวายคนวัด
ข้าพระองค์ จะพึงปฏิบัติอย่างไร”
ทรงอนุญาตคนงานวัด
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มีคนวัด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๖๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๒. ปิลินทวัจฉวัตถุ
แม้ครั้งที่ ๒ พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ เสด็จเข้าไปหาท่านพระ
ปิลินทวัจฉะถึงที่พัก ครั้นถึงแล้ว ได้ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้
ตรัสกับท่านพระปิลินทวัจฉะดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตคน
วัดแล้วหรือ”
ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลว่า “ขอถวายพระพร ทรงอนุญาตแล้ว”
พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า “ถ้าเช่นนั้น โยมจะถวายคนวัดแก่พระคุณเจ้า”
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ทรงรับที่จะถวายคนวัดแก่ท่าน
พระปิลินทวัจฉะแล้ว แต่ทรงลืม เมื่อเวลาผ่านไปนาน ทรงระลึกได้ จึงตรัสถาม
มหาอมาตย์ผู้สนองราชกิจคนหนึ่งว่า “เราถวายคนวัดที่ให้สัญญาไว้แก่พระคุณเจ้า
แล้วหรือ”
มหาอมาตย์กราบทูลว่า “ขอเดชะ ยังไม่ได้ถวายคนวัดแก่พระคุณเจ้าเลย”
พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า “ผ่านมากี่วันแล้ว”
มหาอมาตย์นับราตรีแล้วกราบทูลว่า “ขอเดชะ ผ่านมา ๕๐๐ ราตรี”
ท้าวเธอรับสั่งว่า “ถ้าอย่างนั้น จงถวายคนวัด ๕๐๐ คน แก่พระคุณเจ้า”
มหาอมาตย์กราบทูลรับสนองพระราชโองการแล้ว จัดคนวัดไปถวายท่านพระ
ปิลินทวัจฉะ จำนวน ๕๐๐ คน ตั้งหมู่บ้านขึ้นมาต่างหาก มีชื่อเรียกว่า อารามิกคาม
บ้าง ปิลินทวัจฉคามบ้าง
[๒๗๑] สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะเป็นพระประจำตระกูลในหมู่บ้านนั้น
เช้าวันหนึ่ง ท่านพระปิลินทวัจฉะครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต
ในหมู่บ้านปิลันทวัจฉคาม ครั้งนั้น ในหมู่บ้านนั้นกำลังมีมหรสพ พวกเด็ก ๆ
แต่งกายประดับ ดอกไม้เล่นอยู่ พอดีท่านพระปิลินทวัจฉะเที่ยวบิณฑบาตมาตามลำดับ
ในหมู่บ้านปิลินทวัจฉคาม มาถึงเรือนของคนวัดคนหนึ่งแล้วได้นั่งบนอาสนะที่เขาจัด
ถวาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๖๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๒. ปิลินทวัจฉวัตถุ
ขณะนั้น ธิดาของสตรีคนวัดเห็นพวกเด็กคนอื่นแต่งกายประดับดอกไม้ จึงร้อง
ไห้ขอว่า “พ่อแม่ โปรดให้ดอกไม้ โปรดให้เครื่องประดับแก่หนู”
พระเถระถามสตรีนั้นว่า “เด็กคนนี้อยากได้อะไร”
นางตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เด็กคนนี้เห็นพวกเด็กอื่นแต่งกายประดับดอกไม้
จึงร้องไห้ขอพวงดอกไม้และเครื่องประดับว่า “พ่อแม่โปรดให้ดอกไม้ โปรดให้เครื่อง
ประดับแก่หนู” เราคนจนจะได้ดอกไม้และเครื่องประดับจากไหนกัน”
ท่านพระปิลินทวัจฉะจึงหยิบเสวียนหญ้า๑อันหนึ่งส่งให้พลางกล่าวว่า “ท่านจง
สวมเสวียนหญ้าอันนี้ที่ศีรษะเด็กหญิงนั้น”
หญิงคนวัดหยิบเสวียนหญ้าสวมที่ศีรษะเด็กหญิง เสวียนหญ้ากลายเป็นพวง
ดอกไม้ทองคำงดงามน่าดูน่าชม พวงดอกไม้ทองคำอย่างนี้แม้ในพระราชฐานก็ยังไม่มี
พวกชาวบ้านกราบทูลพระเจ้าพิมพิสารว่า “ขอเดชะ ที่เรือนคนวัดโน้นมีพวง
ดอกไม้ทองคำงดงามน่าดูน่าชม พวงดอกไม้ทองคำอย่างนี้แม้ในพระราชฐานก็ยัง
ไม่มี เขาเป็นคนเข็ญใจจะได้มาจากไหน ชะรอยจะได้มาเพราะทำโจรกรรมเป็นแน่แท้”
พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้จองจำตระกูลคนวัดนั้น
ต่อมาเช้าวันที่ ๒ ท่านพระปิลินทวัจฉะครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
ไปบิณฑบาตที่ปิลินทวัจฉคามอีก เมื่อเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับในหมู่บ้าน
ปิลินทวัจฉคาม เดินผ่านไปทางที่อยู่คนวัดคนนั้นถามคนคุ้นเคยว่า “ครอบครัวคนวัด
นี้ไปไหน”
ชาวบ้านตอบว่า “ครอบครัวนี้ถูกจองจำเพราะเรื่องพวงดอกไม้ทองคำ เจ้าข้า”
ต่อจากนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะเข้าไปถึงพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร
จอมทัพมคธรัฐ ครั้นถึงแล้วได้นั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย

เชิงอรรถ :
๑ เสวียนหญ้า คือของเป็นวงกลมสำหรับรอบก้นหม้อ ทำด้วยหญ้าหรือหวายเป็นต้น ของที่ทำเป็น
วงกลมสำหรับรองหรือรับสิ่งต่าง ๆ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๖๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๒. ปิลินทวัจฉวัตถุ
ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ เสด็จเข้าไปหาพระเถระจนถึง
อาสนะ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลถามพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐว่า “ขอถวายพระพร
ครอบครัวคนวัดถูกจองจำเพราะเรื่องอะไร”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “ที่เรือนเขามีพวงดอกไม้ทองคำ
งดงามน่าดูน่าชม พวงดอกไม้ทองคำอย่างนี้แม้ในวังก็ยังไม่มี เขาเป็นคนเข็ญใจจะ
ได้มาจากไหน ชะรอยจะได้มาเพราะทำโจรกรรมเป็นแน่แท้”
ทีนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานให้ปราสาทของพระเจ้าพิมพิสารเป็นทองคำ
ปราสาทกลายเป็นทองคำไปทั้งหลัง แล้วท่านก็ถวายพระพรว่า “ทองคำมากมาย
มหาบพิตรได้มาจากไหน”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “โยมทราบแล้ว นี่เป็นฤทธานุภาพ
ของพระคุณเจ้า” แล้วรับสั่งให้ปล่อยครอบครัวนั้น
พวกชาวบ้านทราบข่าวว่า “พระคุณเจ้าปิลินทวัจฉะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อัน
เป็นอุตตริมนุสสธรรมในท่ามกลางราชบริษัท” พากันพอใจเลื่อมใสนำเภสัช ๕ คือ
เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยมาถวาย ตามปกติท่านพระปิลินทวัจฉะ
ก็ได้เภสัช ๕ อยู่เสมอ ท่านจึงแบ่งเภสัชให้บริษัทของท่าน แต่บริษัทของท่านมักมาก
บรรจุเภสัชที่ได้มาแล้วไว้ในตุ่มบ้าง ในหม้อน้ำบ้าง จนเต็มแล้วเก็บไว้ บรรจุลงใน
หม้อกรองน้ำบ้าง ในถุงย่ามบ้าง แล้วแขวนไว้ที่หน้าต่าง เภสัชเหล่านั้นซึมไหลเยิ้ม
จึงมีสัตว์จำพวกหนูชุกชุมทั่ววิหาร
พวกชาวบ้านเที่ยวไปตามวิหารพบเข้าจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้มีเรือนคลังเก็บของเหมือนพระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงคิดเพื่อความ
มักมากเช่นนี้เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้ว
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๖๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๓. คุฬาทิอนุชานนา
เรื่องฉันเภสัชที่เก็บไว้ ๗ วัน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุคิดเพื่อความมักมาก
อย่างนั้นจริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรับประเคนเภสัชที่ควรสำหรับภิกษุไข้ คือ เนยใส เนยข้น
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วัน เป็นอย่างมาก ให้เกินกำหนด
นั้นไปพึงปรับอาบัติตามธรรม”
เภสัชชานุญญาตภาณวาร ที่ ๑ จบ
๑๖๓. คุฬาทิอนุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตน้ำอ้อยงบเป็นต้น
เรื่องน้ำอ้อยงบ
[๒๗๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถีตามพระอัธยาศัย
แล้ว เสด็จไปกรุงราชคฤห์ ในระหว่างทาง ท่านพระกังขาเรวตะแวะเข้าโรงทำน้ำ
อ้อยงบ เห็นเขาผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในน้ำอ้อยงบ ยำเกรงอยู่ว่า “น้ำอ้อย
งบเจืออามิสเป็นของไม่ควรฉันในเวลาวิกาล” พร้อมด้วยบริษัทไม่ฉันน้ำอ้อยงบ
แม้ภิกษุทั้งหลายที่เชื่อฟังท่านก็พลอยไม่ฉันน้ำอ้อยงบไปด้วย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านผสม
แป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในน้ำอ้อยงบเพื่ออะไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๖๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๓. คุฬาทิอนุชานนา
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เพื่อให้เนื้อน้ำอ้อยเกาะกันแน่น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเขาผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้างลงในน้ำ
อ้อยงบ เพื่อให้เนื้อน้ำอ้อยเกาะกันแน่น น้ำอ้อยงบนั้นก็ยังคงเป็นน้ำอ้อยงบเหมือนเดิม
เราอนุญาตให้ฉันน้ำอ้อยงบได้ตามสบาย”
เรื่องถั่วเขียว
ท่านพระกังขาเรวตะเห็นถั่วเขียวงอกขึ้นในกองอุจจาระระหว่างทาง ยำเกรงอยู่
ว่า “ถั่วเขียวเป็นของไม่ควร ถึงต้มแล้วก็ยังงอกได้” พร้อมด้วยบริษัทไม่ฉันถั่วเขียว
แม้พวกภิกษุที่เชื่อฟังท่านก็พลอยไม่ฉันถั่วเขียวไปด้วย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าถั่วเขียวแม้ที่ต้มสุกแล้วแต่ยังงอกได้
เราอนุญาตให้ฉันได้ตามสบาย”
เรื่องยาดองโลณโสวีรกะ๑
[๒๗๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคลมในท้อง จึงดื่มยาดองโลณโสวีรกะ
โรคลมสงบลง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุไข้ฉันยาดองโลณ-
โสวีรกะได้ตามสบาย แต่ผู้ไม่เป็นไข้ต้องเจือน้ำฉันอย่างน้ำปานะ”

เชิงอรรถ :
๑ ยาดองโลณโสวีรกะ ได้แก่ ยาที่ปรุงด้วยส่วนประกอบนานาชนิด เช่น มะขามป้อมสด สมอพิเภก
ธัญชาติทุกชนิด ถั่วเขียว ข้าวสุก ผลกล้วย หน่อหวาย การเกด อินทผลัม หน่อไม้ ปลา เนื้อ น้ำผึ้ง
น้ำอ้อย เกลือ โดยใส่เครื่องยาเหล่านี้ในหม้อ ปิดฝามิดชิด เก็บดองไว้ ๑ วัน ๒ วัน หรือ ๓ วัน เมื่อยา
นี้สุกได้ที่แล้ว จะมีรสและสีเหมือนผลหว้า เป็นยาแก้โรคลม โรคไอ โรคเรื้อน โรคผอมเหลือง (ดีซ่าน)
โรคริดสีดวงเป็นต้น ในกาลภายหลังภัต คือเที่ยงวันไปก็ฉันได้ (วิ.อ. ๑/๑๙๒/๕๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๖๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๔. อันโตวุฏฐาทิปฏิกเขปกถา
๑๖๔. อันโตวุฏฐาทิปฏิกเขปกถา
ว่าด้วยทรงห้ามการหุงต้มภายในเป็นต้น
เรื่องอาหารที่หุงต้มเอง
[๒๗๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ
พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงประชวรโรคลมใน
พระอุทร
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ดำริว่า “เมื่อก่อน พระผู้มีพระภาคทรงประชวร
โรคลมในพระอุทร ก็ทรงพระสำราญได้ด้วยข้าวต้มปรุงด้วยของ ๓ อย่าง” จึงออก
ปากของาบ้าง ข้าวสารบ้าง ถั่วเขียวบ้าง ด้วยตนเองแล้วเก็บไว้ภายใน๑ ต้มเองแล้ว
น้อมเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคด้วยกราบทูลว่า “ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดื่มข้าวต้ม
ปรุงด้วยของ ๓ อย่างเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พุทธประเพณี
พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่อง ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบ
กาลอันควร ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ตรัสถามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ตรัส
ถามเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงขจัดเรื่องที่ไม่เป็น
ประโยชน์เสียด้วยอริยมรรคแล้ว
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยเหตุ ๒ ประการ
คือ จะทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกอย่างหนึ่ง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งถามว่า “เธอได้
ข้าวต้มนี้มาจากไหน อานนท์”

เชิงอรรถ :
๑ เก็บไว้ภายใน คือเก็บไว้ในอกัปปิยกุฎี (วิ.อ. ๓/๒๗๔/๑๗๖) ภายหลังพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตกัปปิย
กุฎี (ดูข้อ ๒๙๕ หน้า ๑๑๖ ในเล่มนี้) เพื่อให้ภิกษุภิกษุณี พ้นจากการเก็บของไว้ภายในและหุงต้มภายใน
(วิ.อ. ๓/๒๙๕/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๗๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๔. อันโตวุฏฐาทิปฏิกเขปกถา
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “อานนท์ การทำอย่างนี้ไม่สมควร
ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย ไฉนเธอ
จึงขวนขวายเพื่อความมักมากเช่นนี้เล่า อาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้มภายใน ที่
หุงต้มเอง จัดเป็นอกัปปิยะ๑ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ” ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่
พึงฉันอาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้มภายใน ที่หุงต้มเอง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายใน หุงต้มภายใน หุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉัน
อาหารนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายใน หุงต้มภายใน คนอื่นหุงต้มให้ ถ้า
ภิกษุฉันอาหารนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายใน แต่หุงต้มภายนอก หุงต้มเอง ถ้า
ภิกษุฉันอาหารนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายนอก แต่หุงต้มภายใน หุงต้มเอง ถ้าภิกษุ
ฉันอาหารนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายใน แต่หุงต้มภายนอก คนอื่นหุงต้มให้
ถ้าภิกษุฉันอาหารนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายนอก หุงต้มภายใน คนอื่นหุงต้มให้ ถ้าภิกษุ
ฉันอาหารนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายนอก หุงต้มภายนอก หุงต้มเอง ถ้าภิกษุ
ฉันอาหารนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายนอก หุงต้มภายนอก คนอื่นหุงต้มให้
ถ้าภิกษุฉันอาหารนั้น ไม่ต้องอาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ อกัปปิยะ คือ ของที่ภิกษุไม่สมควรจะบริโภค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๗๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๔. อันโตวุฏฐาทิปฏิกเขปกถา
เรื่องอุ่นภัตตาหาร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายสนทนาว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามภัตตาหารที่หุง
ต้มเอง” จึงยำเกรงโภชนาหารที่อุ่นใหม่
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุ่นภัตตาหารได้”
เรื่องให้เก็บอาหารภายในและหุงต้มเองเมื่อคราวจำเป็น
สมัยนั้น กรุงราชคฤห์เกิดข้าวยากหมากแพง คนทั้งหลายนำเกลือบ้าง น้ำมัน
บ้าง ข้าวสารบ้าง ของฉันบ้างมาที่อาราม ภิกษุทั้งหลายให้เก็บของเหล่านั้นไว้ภาย
นอก สัตว์ต่าง ๆ๑ คาบไปกินเสียบ้าง พวกโจรลักเอาไปบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้เก็บไว้ภายในได้”
พวกกัปปิยการกเก็บอาหารไว้ภายในแล้วหุงต้มภายนอก พวกคนกินเดนพากัน
ห้อมล้อม ภิกษุทั้งหลายฉันไม่สะดวก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุงต้มภายในได้”
ในคราวข้าวยากหมากแพง พวกกัปปิยการก๒นำเอาสิ่งของไปเป็นจำนวนมากกว่า
ถวายภิกษุทั้งหลายเพียงเล็กน้อย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุงต้มเอง ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตอาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้มภายใน ที่หุงต้มเอง”

เชิงอรรถ :
๑ สัตว์ต่าง ๆ แปลมาจากบาลีว่า “อุกฺกปิณฺฑกาปิ” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “vermin” แปลว่า สัตว์ที่
ทำลายพืชพันธุ์ เช่น เสือปลา หนู นก ไส้เดือน (วิ.อ. ๓/๒๘๑/๑๗๘)
๒ กัปปิยการก หมายถึงผู้ทำหน้าที่จัดของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภค, ผู้ปฏิบัติภิกษุ, ศิษย์พระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๗๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๕. อุคคหิตปฏิคคหณา
๑๖๕. อุคคหิตปฏิคคหณา
ว่าด้วยการรับประเคนของที่จับต้องแล้ว
เรื่องรับประเคนผลไม้ที่จับต้องแล้ว
[๒๗๕] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปอยู่จำตลอดพรรษาในแคว้นกาสีแล้ว เดินทาง
ไปกรุงราชคฤห์เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ระหว่างทาง ไม่ได้โภชนาหารธรรมดาหรือ
ที่ประณีตตามต้องการเลย แม้ว่าของเคี้ยวคือผลไม้จะมีมาก แต่ไม่มีกัปปิยการก
พากันลำบาก จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์ สถานที่
ให้เหยื่อกระแต ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร
การที่พระพุทธเจ้าทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ เดินทางมาไม่ลำบากหรือ และพวก
เธอมาจากที่ไหน”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ยังสบายดีพระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า ขอพระราชทานพระวโรกาส พวกข้าพระองค์จำพรรษาในแคว้น
กาสี เดินทางมากรุงราชคฤห์เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ระหว่างทางไม่ได้โภชนาหาร
ธรรมดาหรือที่ประณีตตามต้องการ แม้ของเคี้ยวคือผลไม้จะมีมาก แต่ก็หา
กัปปิยการกไม่ได้ ดังนั้นจึงเดินทางมาลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นของเคี้ยวคือผลไม้ที่ใด ถึงไม่มี
กัปปิยการก เราอนุญาตให้หยิบนำไปเอง พบกัปปิยการกแล้ววางไว้บนพื้นดินให้
เขาประเคนแล้วฉันได้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนสิ่งของที่จับต้องแล้ว”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๗๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๕. อุคคหิตปฏิคคหณา
เรื่องพราหมณ์ถวายงาและน้ำผึ้ง
[๒๗๖] สมัยนั้น พราหมณ์คนหนึ่งมีงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่ ครั้งนั้น พราหมณ์
นั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “อย่ากระนั้นเลย เราพึงถวายงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่แก่
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน” แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันและกันแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร พราหมณ์นั้นผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์โปรด
รับภัตตาหารของข้าพระองค์ เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้เถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้วจึงกลับไป
เมื่อผ่านราตรีนั้นไป พราหมณ์สั่งให้เตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีตแล้วให้คนไป
กราบทูลภัตกาลพระผู้มีพระภาคว่า “พระโคดมผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว ภัตตาหาร
เสร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จไปนิเวศน์ของพราหมณ์พร้อมภิกษุสงฆ์ ประทับนั่งบนพระพุทธอาสน์ที่จัด
ถวาย เขาได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประธานด้วยตนเอง กระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว
ละพระหัตถ์จากบาตร จึงได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พราหมณ์นั้นเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วทรงลุก
จากอาสนะเสด็จกลับ
เมื่อพระองค์เสด็จกลับไม่นาน พราหมณ์นั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราตั้งใจว่า
จะถวายงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่จึงได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แต่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๗๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๖. ปฏิคคหิตาทิอนุชานนา
กลับลืมเสีย เราพึงให้เขาจัดงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่บรรจุขวดและหม้อนำไปอาราม” แล้ว
ให้จัดงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่บรรจุขวดและหม้อนำไปอาราม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้
ว่า “พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ตั้งใจจะถวายงาใหม่และน้ำผึ้งใหม่จึงได้นิมนต์ภิกษุ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แต่ลืมถวาย ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดรับงาใหม่และ
น้ำผึ้งใหม่ของข้าพระองค์เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นท่านจงถวายภิกษุทั้งหลาย”
สมัยนั้น เป็นคราวข้าวยากหมากแพง ภิกษุทั้งหลายรับของเล็กน้อยแล้ว
ห้ามเสียบ้าง พิจารณาแล้วห้ามเสียบ้าง เป็นอันว่า พระสงฆ์ล้วนเป็นผู้บอกห้าม
ภัตตาหารแล้วทั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมรับประเคน
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรับประเคนฉันเถิด เรา
อนุญาตให้ภิกษุผู้ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้ว ฉันโภชนาหารที่ไม่เป็นเดนที่นำ
มาจากที่ฉันได้”
๑๖๖. ปฏิคคหิตาทิอนุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตให้ฉันของที่รับประเคนไว้เป็นต้น
เรื่องของฉันที่รับประเคนไว้ตอนเช้า
[๒๗๗] ๑สมัยนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตร ส่งของ
เคี้ยวไปถวายสงฆ์ด้วยแจ้งว่า “ขอมอบให้พระคุณเจ้าอุปนันทะเป็นผู้ถวายสงฆ์” ครั้งนั้น
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกำลังเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน

เชิงอรรถ :
๑ วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๙๕/๔๓๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๗๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๖. ปฏิคคหิตาทิอนุชานนา
พอดี คนทั้งหลายไปถึงอารามได้ถามภิกษุทั้งหลายว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย
พระคุณเจ้าอุปนันทะไปไหน”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “อุบาสกทั้งหลาย ท่านอุปนันทศากยบุตรองค์นั้นเข้า
ไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน”
คนเหล่านั้นกราบเรียนว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ของเคี้ยวนี้ขอมอบให้พระ
คุณเจ้าอุปนันทะเป็นผู้ถวายสงฆ์”
ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นพวกเธอจงรับประเคน
เก็บไว้จนกว่าอุปนันทะจะกลับมา”
ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรเข้าไปเยี่ยมตระกูลก่อนเวลาฉัน กลับมา
ถึงตอนกลางวัน เวลานั้นเป็นคราวข้าวยากหมากแพง ภิกษุทั้งหลายรับสิ่งของเล็ก
น้อยแล้วห้ามเสียบ้าง พิจารณาแล้วห้ามเสียบ้าง เป็นอันว่า พระสงฆ์ล้วนเป็นผู้
บอกห้ามภัตตาหารแล้วทั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมรับประเคน
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรับประเคนฉันเถิด เรา
อนุญาตให้ภิกษุฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้ว ฉันโภชนาหารที่ไม่เป็นเดนที่รับ
ประเคนไว้ก่อนเวลาฉันได้”
เรื่องพระสารีบุตรอาพาธร้อนในกาย
[๒๗๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระ
อัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถี
แล้วทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐีในกรุงสาวัตถีนั้น
สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอาพาธร้อนในกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๗๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๖. ปฏิคคหิตาทิอนุชานนา
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ถึงที่อยู่แล้ว
ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร เมื่อก่อนท่านอาพาธร้อนในกาย
กลับมีความสำราญด้วยยาอะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ผมมีความสำราญด้วยเหง้าบัวและ
รากบัว”
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายตัวจากพระเชตวันมาปรากฏที่ฝั่ง
สระโบกขรณีมันทากินีเร็วเหมือนคนมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า
ช้างตัวหนึ่งเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงได้กล่าวกับ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า “นิมนต์พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะมาเถิด พระ
คุณเจ้ามาดี ต้องการอะไร จะถวายอะไรดีเล่า”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “อาตมาต้องการเหง้าบัวกับรากบัว”
ช้างนั้นสั่งช้างอีกตัวหนึ่งว่า “ท่านจงถวายเหง้าบัวกับรากบัวตามต้องการแด่
พระคุณเจ้า”
ช้างตัวนั้นลงสระโบกขรณีมันทากินี ใช้งวงถอนเหง้าบัวและรากบัวล้างน้ำจน
สะอาด ม้วนเป็นห่อแล้วเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายตัวจากฝั่งสระโบกขรณีมันทากินี มา
ปรากฏตัวที่พระเชตวันวิหาร เหมือนคนมีกำลังเหยียดออกหรือคู้แขนเข้า แม้ช้าง
เชือกนั้นก็หายจากฝั่งสระโบกขรณีมันทากินี มาปรากฏตัวที่พระเชตวันวิหาร
ประเคนเหง้าบัวและรากบัวแก่ท่านพระมหาโมคคัลลานะ แล้วหายตัวไปจากพระ
เชตวันมาปรากฏที่ฝั่งสระโบกขรณีมันทากินี
ต่อมา ท่านพระมหาโมคคัลลานะน้อมเหง้าบัวและรากบัวเข้าไปถวายท่านพระ
สารีบุตร เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเหง้าบัวและรากบัว อาพาธร้อนในกายก็หาย
ทันที เหง้าบัวและรากบัวยังเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๗๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๗. สัตถกัมมปฏิกเขปกถา
สมัยนั้น เกิดข้าวยากหมากแพง ภิกษุทั้งหลายรับของเล็กน้อยแล้วห้ามเสียบ้าง
พิจารณาแล้วห้ามเสียบ้าง เป็นอันว่าพระสงฆ์ล้วนเป็นผู้ห้ามภัตตาหารแล้วทั้งนั้น
ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่ จึงไม่ยอมรับประเคน
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรับประเคนฉันเถิด เรา
อนุญาตให้ภิกษุฉันแล้วห้ามภัตตาหารแล้ว ฉันโภชนาหารที่ไม่เป็นเดน ที่เกิดในป่า
ที่เกิดในกอบัวได้”
เรื่องฉันผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออก
สมัยนั้น ของฉันคือผลไม้มีมากมายในกรุงสาวัตถี แต่ไม่มีกัปปิยการก ภิกษุ
ทั้งหลายยำเกรงอยู่จึงไม่ฉันผลไม้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ที่ใช้เพาะ
พันธุ์ไม่ได้๑ ผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้วยังไม่ทำกัปปะก็ฉันได้”
๑๖๗. สัตถกัมมปฏิกเขปกถา
ว่าด้วยการทรงห้ามทำสัตถกรรม๒
เรื่องริดสีดวงทวาร
[๒๗๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถีตามพระอัธยาศัย
แล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงราชคฤห์
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
ในกรุงราชคฤห์นั้น

เชิงอรรถ :
๑ ผลไม้ที่เพาะพันธุ์ไม่ได้ หมายถึงผลไม้ที่มีเมล็ดอ่อน ไม่สามารถให้เกิดหน่อได้ (วิ.อ. ๓/๒๗๙/๑๗๖)
๒ สัตถกรรม คือ การผ่าตัดด้วยศัสตรา การบ่งด้วยเข็มหรือหนาม การตัดด้วยกรรไกรหรือใช้เล็บหยิก
ในที่ลับ (วิ.อ. ๓/๒๗๙/๑๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๗๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๗. สัตถกัมมปฏิกเขปกถา
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นริดสีดวงทวาร นายแพทย์อากาสโคตรกำลัง
ทำการผ่าตัดด้วยศัสตรา
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปตามเสนาสนะ เสด็จเข้าไปทางที่อยู่ของ
ภิกษุนั้น นายแพทย์อากาสโคตรเห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระโคดมผู้เจริญโปรดเสด็จมาทอดพระเนตรวัจมรรค
ของภิกษุรูปนี้ เหมือนปากเหี้ย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า “โมฆบุรุษนี้เยาะเย้ยเรา” จึงเสด็จกลับ
จากที่นั้นแล้วรับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ในวิหารหลังโน้นมีภิกษุเป็นไข้หรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นอาพาธเป็นโรคอะไร”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ภิกษุนั้นเป็นริดสีดวงทวาร นายแพทย์อากาสโคตร
กำลังทำการผ่าตัดด้วยศัสตรา พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “การกระทำของโมฆบุรุษนั้นไม่สมควร
ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย ไฉน
โมฆบุรุษนั้นจึงให้ทำการผ่าตัดด้วยศัสตราในที่แคบเล่า ในที่แคบมีผิวเนื้ออ่อน แผล
หายยาก ผ่าตัดลำบาก ภิกษุทั้งหลาย การทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ผ่าตัดด้วยศัสตราในที่แคบ รูปใดให้ผ่าตัด ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
เรื่องทรงห้ามทำวัตถิกรรม๑
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามผ่าตัดด้วย
ศัสตรา” จึงเลี่ยงให้ทำการบีบหัวริดสีดวง

เชิงอรรถ :
๑ วัตถิกรรม คือ การใช้หนังหรือผ้าผูกรัดที่ทวารหนักเพื่อรัดหัวริดสีดวง (วิ.อ. ๓/๒๗๙/๑๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๗๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๘. มนุสสมังสปฏิกเขปกถา
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงให้ทำการบีบหัวริดสีดวงเล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ทำการบีบหัวริดสีดวง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริงพระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว
ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ผ่า
ตัดทวารหนักด้วยศัสตราหรือบีบหัวริดสีดวง ประมาณ ๒ นิ้วรอบ ๆ ที่แคบ
รูปใดให้ผ่าหรือให้บีบ ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
๑๖๘. มนุสสมังสปฏิกเขปกถา
ว่าด้วยทรงห้ามฉันเนื้อมนุษย์
เรื่องอุบาสิกาสุปปิยาเชือดเนื้อขาอ่อนถวาย
[๒๘๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระ
อัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงพาราณสี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุง
พาราณสี ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใน
กรุงพาราณสีนั้น
สมัยนั้น อุบาสกสุปปิยะและอุบาสิกาสุปปิยา ทั้ง ๒ คนมีศรัทธาทั้งเป็น
ทายก เป็นกัปปิยการก เป็นผู้บำรุงพระสงฆ์ในกรุงพาราณสี วันหนึ่งอุบาสิกา
สุปปิยาไปที่อาราม เดินเที่ยวไปตามวิหารและบริเวณทั่วทุกแห่งแล้วถามภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุรูปใดอาพาธ รูปใดจะให้ดิฉันนำอะไรมาถวาย เจ้าข้า”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งดื่มยาถ่าย ลำดับนั้น ท่านได้กล่าวกับอุบาสิกาสุปปิยา
ดังนี้ว่า “น้องหญิง อาตมาดื่มยาถ่าย อาตมาต้องการน้ำต้มเนื้อ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๘๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๘. มนุสสมังสปฏิกเขปกถา
อุบาสิกาสุปปิยากล่าวว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันจะนำมาถวายเป็นพิเศษ” แล้ว
กลับไปบ้านสั่งคนรับใช้ว่า “เจ้าจงไปหาซื้อเนื้อสัตว์ที่มีขายมา”๑
คนรับใช้รับคำแล้วไปเที่ยวหาซื้อเนื้อทั่วกรุงพาราณสีก็ไม่เห็นเนื้อสัตว์ที่มีขาย
ลำดับนั้น คนรับใช้นั้นจึงกลับเข้าไปหาอุบาสิกาสุปปิยาบอกว่า “แม่เจ้า ไม่มีเนื้อ
สัตว์ที่เขาขาย วันนี้เป็นวันห้ามฆ่าสัตว์”
ครั้งนั้น อุบาสิกาสุปปิยาได้มีความคิดดังนี้ว่า “ภิกษุเป็นไข้รูปนั้นเมื่อไม่ได้
ฉันน้ำต้มเนื้อ อาพาธจะกำเริบหรือถึงมรณภาพได้ การที่เรารับคำแล้วไม่จัดหาไป
ถวายไม่สมควรเลย” จึงได้หยิบมีดหั่นเนื้อมาเชือดเนื้อขาอ่อนตนส่งให้หญิงรับใช้สั่ง
ว่า “แม่สาวใช้ เธอจงต้มเนื้อนี้แล้วนำไปถวายภิกษุไข้ที่วิหารหลังโน้น และใครถาม
ถึงเราก็จงบอกว่าเราเป็นไข้” แล้วใช้ผ้าห่มพันขาเข้าห้องนอนบนเตียง
ลำดับนั้น อุบาสกสุปปิยะไปบ้านถามหญิงรับใช้ว่า “แม่สุปปิยาไปไหน”
หญิงรับใช้ตอบว่า “นายท่าน แม่เจ้าสุปปิยานั่นนอนอยู่ในห้อง”
อุบาสกสุปปิยะเข้าไปหาแล้วได้กล่าวกับอุบาสิกาสุปปิยาดังนี้ว่า “เธอนอนทำไม”
อุบาสิกาตอบว่า “ดิฉันเป็นไข้”
อุบาสกถามว่า “เธอเป็นโรคอะไร”
อุบาสิกาจึงเล่าเรื่องนั้นให้อุบาสกสุปปิยะทราบ
ครั้งนั้น อุบาสกสุปปิยะร่าเริง เบิกบานใจว่า “น่าอัศจรรย์จริง ท่านผู้เจริญ
ไม่เคยปรากฏ ท่านผู้เจริญ แม่สุปปิยามีศรัทธาถึงกับสละเนื้อตนเอง สิ่งใดอื่น
ทำไมนางจะให้ไม่ได้” แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระผู้มี
พระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญกุศลใน
วันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

เชิงอรรถ :
๑ เนื้อสัตว์ที่มีขาย หมายถึงเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว (วิ.อ. ๓/๒๘๐/๑๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๘๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๘. มนุสสมังสปฏิกเขปกถา
ครั้งนั้น อุบาสกสุปปิยะทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุก
จากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไป
เมื่อผ่านราตรีนั้นไป อุบาสกสุปปิยะสั่งให้จัดของเคี้ยวของฉันอันประณีตแล้ว
ให้คนไปกราบทูลภัตกาลพระผู้มีพระภาคว่า “ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหาร
เสร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จไปนิเวศน์ของอุบาสกสุปปิยะ ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดถวายพร้อมภิกษุสงฆ์
ลำดับนั้น อุบาสกสุปปิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วยืน ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอุบาสกสุปปิยะดังนี้ว่า “อุบาสิกาสุปปิยาอยู่ที่ไหน”
อุบาสกกราบทูลว่า “นางเป็นไข้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าเช่นนั้น ขอให้นางมาเถอะ”
อุบาสกกราบทูลว่า “นางไม่สามารถมาได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าเช่นนั้น เธอช่วยพยุงมาเถิด”
อุบาสกสุปปิยะพยุงภรรยามาเฝ้า ทันทีที่นางได้เห็นพระผู้มีพระภาค แผลใหญ่
กลับหายเป็นปกติ มีผิวพรรณเรียบสนิทเกิดโลมชาติ
ลำดับนั้น อุบาสกสุปปิยะและอุบาสิกาสุปปิยาร่าเริง เบิกบานใจว่า “น่า
อัศจรรย์จริง ท่านผู้เจริญ ไม่เคยปรากฏ ท่านผู้เจริญ พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมาก เพียงได้เห็นพระองค์เท่านั้น แผลใหญ่กลับหายเป็นปกติ มีผิว
พรรณเรียบสนิทเกิดโลมชาติ” แล้วนำของเคี้ยวของฉันอันประณีตมาประเคนภิกษุ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยตนเอง กระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้ว
ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ละพระหัตถ์จากบาตร จึงได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้อุบาสกสุปปิยะและอุบาสิกาสุปปิยาเห็นชัด ชวน
ให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากอาสนะแล้วเสด็จกลับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๘๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๙. หัตถิมังสาทิปฏิกเขปกถา
เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อมนุษย์
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบ
ถามพวกภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย ใครเล่าออกปากขอเนื้อกับอุบาสิกาสุปปิยา”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุรูปนั้นจึงกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้า
ได้ออกปากขอเนื้อกับอุบาสิกาสุปปิยา พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “เขานำมาถวายแล้วหรือ”
ภิกษุกราบทูลว่า “นำมาถวาย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “เธอฉันแล้วหรือ”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ฉันแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “เธอพิจารณาแล้วหรือ”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ไม่ได้พิจารณา พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอยังไม่ได้พิจารณาเลย
จึงฉันเนื้อเล่า เธอฉันเนื้อมนุษย์แล้ว โมฆบุรุษ การกระทำของเธอมิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายผู้มีศรัทธาเลื่อมใสมีอยู่ คนแม้เหล่านั้น
ได้สละเนื้อของตนถวาย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย อนึ่ง ภิกษุยังไม่ได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
๑๖๙. หัตถิมังสาทิปฏิกเขปกถา
ว่าด้วยทรงห้ามฉันเนื้อช้างเป็นต้น
เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อช้าง
[๒๘๑] สมัยนั้น ช้างหลวงล้ม ในคราวข้าวยากหมากแพง คนทั้งหลาย
พากันกินเนื้อช้าง ได้ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุจึงฉันเนื้อช้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๘๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ] ๑๖๙. หัตถิมังสาทิปฏิกเขปกถา
คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงฉันเนื้อช้างเล่า ช้างเป็นราชพาหนะ ถ้าพระราชาทรงทราบคงไม่พอ
พระทัยภิกษุทั้งหลายเป็นแน่”
ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อช้าง รูปใดฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อม้า
สมัยนั้น ม้าหลวงตาย ในคราวข้าวยากหมากแพง คนทั้งหลายพากันกิน
เนื้อม้า ได้ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุจึงฉันเนื้อม้า
คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงฉันเนื้อม้าเล่า ม้าเป็นราชพาหนะ ถ้าพระราชาทรงทราบคงไม่พอ
พระทัยภิกษุทั้งหลายเป็นแน่”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อม้า รูปใดฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อสุนัข
สมัยนั้น ในคราวข้าวยากหมากแพง คนทั้งหลายพากันกินเนื้อสุนัข ได้
ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุจึงฉันเนื้อสุนัข
คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงฉันเนื้อสุนัขเล่า สุนัขเป็นสัตว์น่าเกลียดสกปรก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๘๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น