Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๖-๕ หน้า ๒๔๗ - ๓๐๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๖-๕ วินัยปิฎกที่ ๐๖ จุลวรรค ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๑
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
[๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติ ๑ ตัวแน่ใจแต่ปิดไว้ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้โดยไม่แน่ใจ
ภิกษุนั้นขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือนเพื่ออาบัติเหล่านั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อ
ภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส ภิกษุอื่นผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง
ใฝ่การศึกษา มาถึง กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติอะไร ภิกษุนี้
อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติอะไร’ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติ ๑ ตัวแน่ใจแต่ปิดไว้ อาบัติ ๑ ตัว
ปิดไว้โดยไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือน
กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือนแก่เภิกษุ
นั้นแล้ว ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติเหล่านั้น ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น’
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย การให้ปริวาสเพื่ออาบัติที่แน่ใจแต่ปิดไว้
ชอบธรรม ความชอบธรรมย่อมฟังขึ้น ส่วนการให้ปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดไว้โดยไม่แน่ใจ
ไม่ชอบธรรม ความไม่ชอบธรรม ย่อมฟังไม่ขึ้น ท่านทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ควรแก่
มานัตเพื่ออาบัติ ๑ ตัว’
สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน
[๑๔๗] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน
ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน
ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัวที่ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’
ภิกษุนั้นขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัวที่ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลัง
อยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน เรา
นั้นคิดว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๔๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
ปริวาส ๑ เดือนเพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ เรานั้นจึงขอปริวาส ๑
เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือนเพื่ออาบัติ
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่เรา เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘ไฉนหนอ
เราพึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’
ภิกษุนั้นบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ‘ท่านทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน กระผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ กระผมนั้นขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้
๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่
กระผม เมื่อกระผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน เรานั้นคิดว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒
เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’
เรานั้นขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่เราแล้ว เมื่อเรานั้นกำลังอยู่
ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ กระผมจะปฏิบัติอย่างไร’
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้ปริวาสสำหรับ
เดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน แก่ภิกษุนั้น”
วิธีให้ปริวาสสำหรับเดือนนอกนี้และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสอย่างนี้ คือ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่ม
อุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือน กระผมนั้นคิดว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๔๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’
กระผมนั้นขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่กระผมแล้ว เมื่อกระผมนั้น
กำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน
เรานั้นคิดว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอ
ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ เรานั้นจึงขอปริวาส ๑
เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือนเพื่ออาบัติ
๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนแก่เรา เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘ไฉนหนอ
เราพึงขอปริวาส สำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’
ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้เพื่ออาบัติ ๒ ตัวปิดไว้ ๒
เดือนกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๔๘] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒
ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้
๒ เดือนกับสงฆ์’ ภิกษุนั้นจึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัวที่ปิดไว้ ๒ เดือน
กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว
เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้
๒ เดือน เรานั้นคิดว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ
เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ เรานั้นจึงขอ
ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑
เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่เราแล้ว เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส คิด
ละอายใจว่า ‘ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๔๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ ภิกษุนั้นขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้ปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้
เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน แก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือน ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิด
ไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒
เดือนกับสงฆ์’ ภิกษุนั้นจึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัวที่ปิดไว้ ๒ เดือนกับ
สงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว
เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้
๒ เดือน เรานั้นคิดว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ
เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ เรานั้นจึงขอ
ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัวที่ ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑
เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่เราแล้ว เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส คิด
ละอายใจว่า ‘ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ ภิกษุนั้นจึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒
ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ปริวาสสำหรับเดือน
แม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูป
ใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน สงฆ์ให้แล้ว
แก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติ
อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงอยู่ปริวาส ๒ เดือน นับต่อจากเดือนก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๕๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
อยู่ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน
[๑๔๙] “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้
๒ เดือน ภิกษุนั้นมีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒
เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’
ภิกษุชื่อนี้จึงขอปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัวที่ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อภิกษุนั้น
กำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือน
เรานั้นคิดว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอ
ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ เรานั้นจึงขอปริวาส ๑
เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัวที่ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ เดือน เพื่ออาบัติ
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่เราแล้ว เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘ไฉนหนอ
เราพึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’
ภิกษุนั้นจึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุ
นั้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงอยู่ปริวาส ๒ เดือน นับต่อจากเดือนก่อน
[๑๕๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือน คือ เดือนหนึ่งรู้ เดือนหนึ่งไม่รู้ ภิกษุนั้นขอปริวาสสำหรับเดือนที่รู้
เพื่ออาบัติ ๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสสำหรับเดือนที่รู้ เพื่อ
อาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส รู้เดือน
แม้นอกนี้ ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัวปิดไว้ ๒
เดือน คือ เดือนหนึ่งรู้ เดือนหนึ่งไม่รู้ เรานั้นขอปริวาสสำหรับเดือนที่รู้ เพื่ออาบัติ ๒
ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสเดือนที่รู้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๕๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
เดือนแก่เราแล้ว เรานั้นกำลังอยู่ปริวาส รู้เดือนแม้นอกนี้ว่า ‘ไฉนหนอ เราพึงขอ
ปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้เพื่ออาบัติ ๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ ภิกษุนั้นจึง
ขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้ปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงอยู่ปริวาส ๒ เดือน นับต่อจากเดือนก่อน
[๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิด
ไว้ ๒ เดือน เดือนหนึ่งระลึกได้ เดือนหนึ่งระลึกไม่ได้ ภิกษุนั้นขอปริวาสสำหรับ
เดือนที่ระลึกได้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสสำหรับ
เดือนที่ระลึกได้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อภิกษุนั้นกำลัง
อยู่ปริวาสระลึกเดือนแม้นอกนี้ได้ ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน เดือนหนึ่งระลึกได้ เดือนหนึ่งระลึกไม่ได้ เรานั้นขอปริวาส
สำหรับเดือนที่ระลึกได้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส
สำหรับเดือนที่ระลึกได้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่เราแล้ว เมื่อเรานั้น
กำลังอยู่ปริวาส ระลึกเดือนแม้นอกนี้ได้ว่า ‘ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาสสำหรับเดือน
แม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ ภิกษุนั้นจึงขอปริวาสสำหรับ
เดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสสำหรับ
เดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงอยู่ปริวาส ๒ เดือน นับต่อจากเดือนก่อน
[๑๕๒] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือน คือ เดือนหนึ่งแน่ใจ เดือนหนึ่งไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นขอปริวาสสำหรับ
เดือนที่แน่ใจ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสสำหรับเดือน
ที่แน่ใจ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส
แน่ใจเดือนแม้นอกนี้ ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือน เดือนหนึ่งแน่ใจ เดือนหนึ่ง ไม่แน่ใจ เรานั้นขอปริวาสสำหรับเดือนที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๕๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
แน่ใจ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสสำหรับเดือนที่
แน่ใจ เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่เราแล้ว เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส แน่
ใจเดือนแม้นอกนี้ว่า ‘ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ ภิกษุนั้นจึงขอปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสสำหรับเดือนแม้นอกนี้ เพื่ออาบัติ
๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงอยู่ปริวาส ๒ เดือน นับต่อจากเดือนก่อน
ภิกษุผู้ควรแก่มานัต
อยู่ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน
[๑๕๓] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้
๒ เดือน เดือนหนึ่งรู้แต่ปิดไว้ เดือนหนึ่งปิดไว้โดยไม่รู้ ภิกษุนั้นขอปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒
ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส ภิกษุรูปอื่นผู้เป็น
พหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด
มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา มาถึง กล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติอะไร ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติอะไร’ ภิกษุเหล่านั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน
เดือนหนึ่งรู้แต่ปิดไว้ เดือนหนึ่งปิดไว้โดยที่ไม่รู้ ภิกษุนั้นขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้
๒ เดือนแก่ภิกษุนั้น ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติเหล่านั้น ภิกษุนี้อยู่ปริวาส เพื่ออาบัติ
เหล่านั้น’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย การให้ปริวาสสำหรับเดือนที่รู้แต่
ปิดไว้ ชอบธรรม ความชอบธรรมย่อมฟังขึ้น ส่วนการให้ปริวาสสำหรับเดือนที่ปิด
ไว้โดยไม่รู้ ไม่ชอบธรรม ความไม่ชอบธรรมย่อมฟังไม่ขึ้น ท่านทั้งหลาย ภิกษุเป็น
ผู้ควรแก่มานัตเดือนหนึ่ง’
.

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๕๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
[๑๕๔] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือน คือ เดือนหนึ่งระลึกได้แต่ปิดไว้ เดือนหนึ่งปิดไว้โดยระลึกไม่ได้ ภิกษุนั้น
ขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส
๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่
ปริวาส ภิกษุรูปอื่นผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
มาถึง กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติอะไร ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่อ
อาบัติอะไร’ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒
ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน เดือนหนึ่งระลึกได้แต่ปิดไว้ เดือนหนึ่งปิดไว้โดยระลึกไม่ได้
ภิกษุนั้นขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้น ท่าน ภิกษุนี้ต้อง
อาบัติเหล่านั้น ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
ทั้งหลาย การให้ปริวาสสำหรับเดือนที่ระลึกได้แต่ปิดไว้ ชอบธรรม ความชอบธรรม
ย่อมฟังขึ้น ส่วนการให้ปริวาสสำหรับเดือนที่ปิดไว้โดยระลึกไม่ได้ ไม่ชอบธรรม ความ
ไม่ชอบธรรมย่อมฟังไม่ขึ้น ท่านทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ควรแก่มานัตเดือนหนึ่ง’
[๑๕๕] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิด
ไว้ ๒ เดือน คือ เดือนหนึ่งแน่ใจแต่ปิดไว้ เดือนหนึ่งปิดไว้โดยไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นขอ
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส
ภิกษุรูปอื่นผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต
เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา มาถึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติอะไร ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติ
อะไร’ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้
๒ เดือน คือ เดือนหนึ่งแน่ใจแต่ปิดไว้ เดือนหนึ่งปิดไว้โดยไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นขอ
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๕๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
เพื่ออาบัติ ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติเหล่านั้น
ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย การให้
ปริวาสสำหรับเดือนที่แน่ใจแต่ปิดไว้ ชอบธรรม ความชอบธรรมย่อมฟังขึ้น ส่วน
การให้ปริวาสสำหรับเดือนที่ปิดไว้โดยไม่แน่ใจ ไม่ชอบธรรม ความไม่ชอบธรรมย่อม
ฟังไม่ขึ้น ท่านทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ควรแก่มานัตเดือนหนึ่ง”
สุทธันตปริวาส
ปริวาสสำหรับอาบัติหลายตัว ปิดไว้หลายคราว
[๑๕๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ภิกษุนั้นไม่รู้
ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้ ไม่แน่ใจ
ในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี จึงบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย
กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว กระผมไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึก
ที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้ ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี
กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้สุทธันตปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้น แก่ภิกษุนั้น”
วิธีให้สุทธันตปริวาสและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาสอย่างนี้ คือ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
กระผมไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้
ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นขอสุทธันตปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๕๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๕๗] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัว ภิกษุนั้นไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุด
ราตรีไม่ได้ ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี ภิกษุนั้นขอสุทธันตปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติ
เหล่านั้น แก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
ภิกษุนั้นไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้
ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี ภิกษุนั้นขอสุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติ
เหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการให้สุทธันตปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้น
พึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
สุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
วิธีให้สุทธันตปริวาส
[๑๕๘] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาสอย่างนี้แล สงฆ์พึงให้ปริวาส
อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาสอย่างไรเล่า ภิกษุไม่รู้ที่สุดอาบัติไม่รู้
ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้ ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติไม่แน่
ใจในที่สุดราตรี สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๕๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
ภิกษุรู้ที่สุดอาบัติ แต่ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติได้ แต่ระลึกที่สุดราตรีไม่
ได้ แน่ใจในที่สุดอาบัติ แต่ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาส
ภิกษุรู้ที่สุดอาบัติบางส่วน ไม่รู้บางส่วน ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติบาง
ส่วนได้ ระลึกบางส่วนไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้ ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติบางส่วนแน่
ใจในที่สุดอาบัติบางส่วน ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาส
ภิกษุไม่รู้ที่สุดอาบัติ รู้ที่สุดราตรีบางส่วน ไม่รู้บางส่วน ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้
ระลึกที่สุดราตรีบางส่วนได้ ระลึกบางส่วนไม่ได้ ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจใน
ที่สุดราตรีบางส่วน แน่ใจในบางส่วน สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาส
ภิกษุรู้ที่สุดอาบัติ รู้ที่สุดราตรีบางส่วน ไม่รู้บางส่วน ระลึกที่สุดอาบัติได้ ระลึก
ที่สุดราตรีบางส่วนได้ ระลึกบางส่วนไม่ได้ แน่ใจในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี
บางส่วน แน่ใจในบางส่วน สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาส
ภิกษุรู้ที่สุดอาบัติบางส่วน ไม่รู้บางส่วน รู้ที่สุดราตรีบางส่วน ไม่รู้บางส่วน
ระลึกที่สุดอาบัติบางส่วนได้ ระลึกบางส่วนไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีบางส่วนได้ ระลึก
บางส่วนไม่ได้ ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติบางส่วน แน่ใจในบางส่วน ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี
บางส่วน แน่ใจในบางส่วน สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาส
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาสอย่างนี้แล
วิธีให้ปริวาส
[๑๕๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสอย่างไร ภิกษุรู้ที่สุดอาบัติ รู้ที่สุดราตรี
ระลึกที่สุดอาบัติได้ ระลึกที่สุดราตรีได้ แน่ใจในที่สุดอาบัติ แน่ใจในที่สุดราตรี สงฆ์
พึงให้ปริวาส
ภิกษุไม่รู้ที่สุดอาบัติ รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีได้
ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติ แน่ใจในที่สุดราตรี สงฆ์พึงให้ปริวาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๕๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๓. จัตตาฬีสกะ
ภิกษุรู้ที่สุดอาบัติบางส่วน ไม่รู้บางส่วน รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติบางส่วน
ได้ ระลึกบางส่วนไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีได้ ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติบางส่วน แน่ใจใน
บางส่วน แน่ใจในที่สุดราตรี สงฆ์พึงให้ปริวาส
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสอย่างนี้แล
ปริวาส จบ
๓. จัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยกรณีตัวอย่าง ๔๐ กรณี
ภิกษุอยู่ปริวาสสึก
[๑๖๐] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังอยู่ปริวาส สึกไป ภิกษุนั้นกลับมาขอ
อุปสมบทกับภิกษุทั้งหลายอีก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส
สึกไป ปริวาสของผู้สึกย่อมใช้ไม่ได้ ถ้าภิกษุนั้นอุปสมบทใหม่ ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละ
แก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว ปริวาสที่อยู่แล้วเป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงอยู่
ปริวาสที่เหลือต่อไป (๑)
ภิกษุอยู่ปริวาสลดฐานะเป็นสามเณร
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ลดฐานะเป็นสามเณร
ปริวาสของสามเณรใช้ไม่ได้ ถ้าภิกษุนั้นอุปสมบทใหม่ ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่ภิกษุ
นั้น ปริวาสที่ให้แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว ปริวาสที่อยู่แล้วเป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงอยู่ปริวาส
ที่เหลือต่อไป (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๕๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๓. จัตตาฬีสกะ
ภิกษุอยู่ปริวาสวิกลจริต
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส เกิดวิกลจริต ปริวาส
ของภิกษุนั้นผู้วิกลจริตใช้ไม่ได้ ถ้าภิกษุนั้นหายวิกลจริต ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละ
แก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว ปริวาสที่อยู่แล้วเป็นอันอยู่ดีแล้ว พึง
อยู่ปริวาสที่เหลือต่อไป (๓)
ภิกษุอยู่ปริวาสมีจิตฟุ้งซ่าน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส มีจิตฟุ้งซ่าน ปริวาส
ของภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่านนั้นใช้ไม่ได้ ถ้าภิกษุนั้นมีจิตไม่ฟุ้งซ่านอีก ให้ปริวาสเดิมนั้น
แหละแก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว ปริวาสที่อยู่แล้วเป็นอันอยู่ดีแล้ว
พึงอยู่ปริวาสที่เหลือต่อไป (๔)
ภิกษุอยู่ปริวาสกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส เป็นผู้กระสับกระส่าย
เพราะเวทนา ปริวาสของภิษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนานั้นใช้ไม่ได้ ถ้าภิกษุนั้น
ไม่กระสับกระส่ายเพราะเวทนาอีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้
แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว ปริวาสที่อยู่แล้วเป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงอยู่ปริวาสที่เหลือต่อไป (๕)
ภิกษุอยู่ปริวาสถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ปริวาสของภิกษุนั้นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมนั้นใช้ไม่ได้ ถ้า
ภิกษุนั้นถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้แล้วเป็น
อันให้ดีแล้ว ปริวาสที่อยู่แล้วเป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงอยู่ปริวาสที่เหลือต่อไป (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๕๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๓. จัตตาฬีสกะ
ภิกษุอยู่ปริวาสถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปริวาสของภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมนั้นใช้ไม่ได้ ถ้าภิกษุ
นั้นถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้แล้วเป็นอันให้ดี
แล้ว ปริวาสที่อยู่แล้วเป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงอยู่ปริวาสที่เหลือต่อไป (๗)
ภิกษุอยู่ปริวาสถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป ปริวาสของภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมนั้นใช้ไม่ได้ ถ้า
ภิกษุนั้นถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้แล้วเป็น
อันให้ดีแล้ว ปริวาสที่อยู่แล้วเป็นอันอยู่ดีแล้ว พึงอยู่ปริวาสที่เหลือต่อไป (๘)
ภิกษุควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิมสึก
[๑๖๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม
สึกเสีย การชักภิกษุผู้สึกแล้วเข้าหาอาบัติเดิมนั้นใช้ไม่ได้ ถ้าภิกษุนั้นอุปสมบทใหม่
ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว ปริวาสที่อยู่แล้ว
เป็นอันอยู่ดีแล้ว สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม (๙)
ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมลดฐานะเป็นสามเณรเป็นต้น
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม ลดฐานะ
เป็นสามเณร ฯลฯ เกิดวิกลจริต ฯลฯ มีจิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ กระสับกระส่ายเพราะ
เวทนา ฯลฯ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ฯลฯ ถูกสงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ฯลฯ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๖๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๓. จัตตาฬีสกะ
สละทิฏฐิบาป การชักภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมนั้นเข้าหาอาบัติเดิมใช้ไม่ได้
ถ้าภิกษุนั้นถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้แล้ว
เป็นอันให้ดีแล้ว ปริวาสที่อยู่แล้วเป็นอันอยู่ดีแล้ว สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม
(๑๐-๑๖)
ภิกษุผู้ควรแก่มานัตสึก
[๑๖๒] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่มานัตสึกเสีย การให้
มานัตแก่ภิกษุนั้นผู้สึกแล้วใช้ไม่ได้ ถ้าภิกษูนั้นอุปสมบทใหม่ ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละ
แก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว ปริวาสที่อยู่แล้วเป็นอันอยู่ดีแล้ว สงฆ์
พึงให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๑๗)
ภิกษุผู้ควรแก่มานัตลดฐานะเป็นสามเณรเป็นต้น
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่มานัต ลดฐานะเป็นสามเณร ฯลฯ
เกิดวิกลจริต ฯลฯ มีจิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ฯลฯ ถูกสงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ฯลฯ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่ทำคืนอาบัติ ฯลฯ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป การให้มานัต
แก่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมนั้นใช้ไม่ได้ ถ้าภิกษุนั้นถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้
ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว ปริวาสที่อยู่แล้วเป็น
อันอยู่ดีแล้ว สงฆ์พึงให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๑๘-๒๔)
ภิกษุผู้ประพฤติมานัตสึก
[๑๖๓] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังประพฤติมานัตสึกเสีย
การประพฤติมานัตของภิกษุผู้สึกแล้วใช้ไม่ได้ ถ้าภิกษุนั้นอุปสมบทใหม่ ให้
ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว ปริวาสที่อยู่แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๖๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๓. จัตตาฬีสกะ
เป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัตที่ให้แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว มานัตที่ประพฤติแล้วเป็นอัน
ประพฤติดีแล้ว พึงประพฤติมานัตที่เหลือต่อไป (๒๕)
ภิกษุผู้ปประพฤติมานัตลดฐานะเป็นสามเณรเป็นต้น
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้กำลังประพฤติมานัต ลดฐานะเป็น
สามเณร ฯลฯ เกิดวิกลจริต ฯลฯ มีจิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ กระสับกระส่วยเพราะเวทนา
ฯลฯถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ฯลฯ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติ ฯลฯ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
การประพฤติมานัตของภิกษุนั้นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมใช้ไม่ได้ ถ้าภิกษุนั้นถูก
เรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละแก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้แล้ว เป็นอันให้ดีแล้ว
ปริวาสที่อยู่แล้วเป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัตที่ให้แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว มานัตที่ประพฤติ
แล้วเป็นอันประพฤติดีแล้ว พึงประพฤติมานัตที่เหลือต่อไป (๒๖-๓๒)
ภิกษุผู้ควรแก่อัพภานสึก
[๑๖๔] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภานสึกเสีย การ
อัพภาน ภิกษุนั้นผู้สึกแล้วใช้ไม่ได้ ถ้าภิกษุนั้นอุปสมบทใหม่ ให้ปริวาสเดิมนั้นแหละ
แก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้แล้วป็นอันให้ดีแล้ว ปริวาสที่อยู่แล้วเป็นอันอยู่ดีแล้ว มานัต
ที่ให้แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว มานัตที่ประพฤติแล้วเป็นอันประพฤติดีแล้ว สงฆ์พึงอัพภาน
ภิกษุนั้น (๓๓)
ภิกษุผู้ควรแก่อัพภานลดฐานะเป็นสามเณรเป็นต้น
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ลดฐานะเป็นสามเณร ฯลฯ
เกิดวิกลจริต ฯลฯ มีจิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ฯลฯ ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ฯลฯ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่
ทำคืนอาบัติ ฯลฯ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป การอัพภาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๖๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๔. ฉัตติงสกะ
ภิกษุนั้นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมใช้ไม่ได้ ถ้าภิกษุนั้นถูกเรียกเข้าหมู่อีก ให้ปริวาส
เดิมนั้นแหละแก่ภิกษุนั้น ปริวาสที่ให้แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว ปริวาสที่อยู่แล้วเป็นอันอยู่
ดีแล้ว มานัตที่ให้แล้วเป็นอันให้ดีแล้ว มานัตที่ประพฤติแล้วเป็นอันประพฤติดีแล้ว
สงฆ์พึงอัพภานภิกษุนั้น (๓๔-๔๐)
จัตตาฬีสกะ จบ
๔. ฉัตติงสกะ
ว่าด้วยกรณีตัวอย่าง ๓๖ กรณี
ภิกษุกำลังอยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสส
[๑๖๕] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้ ไม่ได้ปิดไว้ สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหา
อาบัติเดิม (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัว ในระหว่าง มีจำนวนนับได้ ปิดไว้ สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และ
พึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้ ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้น
เข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิด
ไว้แก่ภิกษุนั้น (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับไม่ได้ ไม่ได้ปิดไว้ สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติ
เดิม (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๖๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๔. ฉัตติงสกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับไม่ได้ ปิดไว้ สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม
และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๕)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับไม่ได้ ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้น
เข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิด
ไว้แก่ภิกษุนั้น (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้ สงฆ์พึงชัก
ภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม (๗)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้ สงฆ์พึงชักภิกษุ
นั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่
ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๘)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้
บ้าง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน
บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๙)
ภิกษุผู้ควรแก่มานัตต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่มานัต ฯลฯ (๑๐-๑๘)
ภิกษุผู้ประพฤติมานัตต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ประพฤติมานัต ฯลฯ (๑๙-๒๗) (พึง
อธิบายให้พิสดารเหมือนการอยู่ปริวาส)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๖๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๔. ฉัตติงสกะ
ภิกษุผู้ควรแก่อัพภานต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้ ไม่ได้ปิดไว้ สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม
(๒๘)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้ ปิดไว้ สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิมและ
พึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๒๙)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้ ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้น
เข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิด
ไว้แก่ภิกษุนั้น (๓๐)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับไม่ได้ ไม่ได้ปิดไว้ สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม
(๓๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับไม่ได้ ปิดไว้ สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิมและ
พึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๓๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับไม่ได้ ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้น
เข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิด
ไว้แก่ภิกษุนั้น (๓๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้ สงฆ์พึง
ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม (๓๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๖๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๕. มานัตตสตะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้ สงฆ์พึงชัก
ภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติ
ตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๓๕)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้
บ้าง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน
บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๓๖)
ฉัตติงสกะ จบ
๕. มานัตตสตะ
ว่าด้วยกรณีตัวอย่างการให้มานัต ๑๐๐ กรณี
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสสึกอุปสมบทใหม่
[๑๖๖] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่ได้
ปิดไว้แล้วสึก ถ้าภิกษุนั้นอุปสมบทใหม่ ไม่ปิดอาบัติเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึง
ให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดไว้
แล้วสึก ภิกษุนั้นอุปสมบทใหม่ ปิดอาบัติเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาส
ในกองอาบัติครั้งหลังตามที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวปิดไว้แล้วสึก
ภิกษุนั้นอุปสมบทใหม่ ไม่ปิดอาบัติเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกอง
อาบัติครั้งก่อนตามที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๖๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๕. มานัตตสตะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ปิดไว้แล้วสึก
ภิกษุนั้นอุปสมบทใหม่ ปิดอาบัติเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกอง
อาบัติครั้งก่อนและครั้งหลังตามที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๔)
[๑๖๗] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดไว้
เมื่อก่อน ไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน ไม่ปิด
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อนตาม
ที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๕)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ปิดไว้บ้าง
ไม่ได้ปิดไว้บ้าง ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดไว้เมื่อก่อน
ไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน ปิดอาบัติเหล่านั้น
ในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อนและหลัง ตามที่ปิด
ไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ปิดไว้บ้าง
ไม่ได้ปิดไว้บ้าง ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดไว้เมื่อก่อน ปิด
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดอาบัติเหล่านั้น
ในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อนและหลังตามที่ปิดไว้
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๗)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ปิดไว้บ้าง
ไม่ได้ปิดไว้บ้าง ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดได้ปิดไว้เมื่อก่อน ปิด
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน ปิดอาบัติเหล่านั้นในภาย
หลัง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อนและครั้งหลังตามที่ปิดไว้
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๖๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๕. มานัตตสตะ
[๑๖๘] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
อาบัติบางอย่างภิกษุนั้นรู้ อาบัติบางอย่างไม่รู้ ปิดอาบัติที่รู้ ไม่ปิดอาบัติที่ไม่รู้
ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดภิกษุนั้นรู้แล้วได้ปิดไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติ
เหล่านั้นแล้วไม่ปิดในภายหลัง อาบัติเหล่าใดภิกษุนั้นไม่รู้ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติ
เหล่านั้นแล้วไม่ปิดในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อน
ตามที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๙)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบาง
อย่างภิกษุนั้นรู้ อาบัติบางอย่างไม่รู้ ปิดอาบัติที่รู้ ไม่ปิดอาบัติที่ไม่รู้ ภิกษุนั้นสึกแล้ว
อุปสมบใหม่ อาบัติเหล่าใดภิกษุนั้นรู้แล้วได้ปิดไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วไม่
ปิดในภายหลัง อาบัติเหล่าใดภิกษุนั้นไม่รู้ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิด
ไว้ในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อนและหลังตาม
ที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๑๐)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบาง
อย่างภิกษุนั้นรู้ อาบัติบางอย่างไม่รู้ ปิดอาบัติที่รู้ ไม่ปิดอาบัติที่ไม่รู้ ภิกษุนั้นสึกแล้ว
อุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดไว้ในภาย
หลัง อาบัติเหล่าใดภิกษุนั้นไม่รู้ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วไม่ปิดในภาย
หลัง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อนและครั้งหลังตามที่ปิดไว้
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๑๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติบาง
อย่างภิกษุนั้นรู้ อาบัติบางอย่างไม่รู้ ปิดอาบัติที่รู้ ไม่ปิดอาบัติที่ไม่รู้ ภิกษุนั้นสึกแล้ว
อุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดไว้ในภาย
หลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดไว้ในภายหลัง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อนและครั้งหลังตามที่ปิดไว้ แล้ว
ให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๖๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๕. มานัตตสตะ
[๑๖๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
อาบัติบางอย่างภิกษุนั้นระลึกได้ อาบัติบางอย่างระลึกไม่ได้ ปิดอาบัติที่ระลึกได้
ไม่ปิดอาบัติที่ระลึกไม่ได้ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้ว
ได้ปิดไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ไม่ปิดไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึก
ไม่ได้ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วไม่ปิดในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย
สงฆ์พึงให้ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อนตามที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๑๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติ
บางอย่างระลึกได้ อาบัติบางอย่างระลึกไม่ได้ ปิดอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดอาบัติที่
ระลึกไม่ได้ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้ปิดไว้เมื่อก่อน
ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้ว ไม่ปิดในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ไม่ได้ปิดไว้เมื่อ
ก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ ปิดในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกอง
อาบัติครั้งก่อนและครั้งหลังตามที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๑๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติ
บางอย่างภิกษุนั้นระลึกได้ อาบัติบางอย่างระลึกไม่ได้ ปิดอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิด
อาบัติที่ระลึกไม่ได้ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้ว ได้ปิด
ไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ปิดไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้
ปิดไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ไม่ปิดในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้
ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อนและครั้งหลังตามที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๑๕)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว อาบัติ
บางอย่างภิกษุนั้นระลึกได้ อาบัติบางอย่างระลึกไม่ได้ ปิดอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิด
อาบัติที่ระลึกไม่ได้ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดระลึกได้แล้วได้
ปิดไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ปิดไว้ในภายหลัง อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่
ได้ปิดไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ปิดในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้
ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อนและครั้งหลังตามที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๖๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๕. มานัตตสตะ
[๑๗๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
ภิกษุนั้นแน่ใจในอาบัติบางอย่าง ไม่แน่ใจในอาบัติบางอย่าง ปิดอาบัติที่แน่ใจ ไม่ปิด
อาบัติที่ไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดแน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน
แน่ใจไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจ
ไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อน
ตามที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๑๗)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ภิกษุนั้น
แน่ใจในอาบัติบางอย่าง ไม่แน่ใจในอาบัติบางอย่าง ปิดอาบัติที่แน่ใจ ไม่ปิดอาบัติที่ไม่
แน่ใจ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดแน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่
ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิด
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อนและ
ครั้งหลังตามที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๑๘)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ภิกษุนั้น
แน่ใจในอาบัติบางอย่าง ไม่แน่ใจในอาบัติบางอย่าง ปิดอาบัติที่แน่ใจ ไม่ปิด
อาบัติที่ไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดแน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน
แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจ
ไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกองอาบัติครั้ง
ก่อนและครั้งหลังตามที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๑๙)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ภิกษุนั้น
แน่ใจในอาบัติบางอย่าง ไม่แน่ใจในอาบัติบางอย่าง ปิดอาบัติที่แน่ใจ ไม่ปิดอาบัติ
ที่ไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดแน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน
แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจ
ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อน
และครั้งหลังตามที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น (๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๗๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๕. มานัตตสตะ
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสลดฐานะเป็นสามเณรเป็นต้น
[๑๗๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
ไม่ได้ปิดไว้แล้วลดฐานะเป็นสามเณร ฯลฯ เกิดวิกลจริต ฯลฯ มีจิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ
(พึง ให้พิสดารเหมือนในตอนต้น) เกิดกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ฯลฯ
อาบัติสังฆาทิเสสของภิกษุนั้นหลายตัว ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง ฯลฯ อาบัติ
บางอย่างภิกษุนั้นรู้ อาบัติบางอย่างไม่รู้ ฯลฯ อาบัติบางอย่างภิกษุนั้นระลึกได้
อาบัติบางอย่างระลึกไม่ได้ ฯลฯ
อาบัติบางอย่างแน่ใจ อาบัติบางอย่างไม่แน่ใจ ปิดอาบัติที่แน่ใจ ไม่ปิดอาบัติ
ที่ไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ครั้นหายแล้ว อาบัติเหล่าใด แน่
ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่แน่ใจ
ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง ฯลฯ
อาบัติเหล่าใดแน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดไม่แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง ฯลฯ
อาบัติเหล่าใดแน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดไม่แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง ฯลฯ
อาบัติเหล่าใดแน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดไม่แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง ภิกษุทั้งหลาย
สงฆ์พึงให้ปริวาสในกองอาบัติครั้งก่อนและครั้งหลังตามที่ปิดไว้ แล้วให้มานัตแก่ภิกษุ
นั้น (๒๑-๑๐๐)
มานัตตสตะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๗๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๖. สมูลายสโมธานปริวาสจตุสตะ
๖. สมูลายสโมธานปริวาสจตุสตะ
ว่าด้วยสโมธานปริวาสกับการชักเข้าหาอาบัติเดิม ๔๐๐ กรณี
ภิกษุกำลังอยู่ปริวาสสึกอุปสมบทใหม่
[๑๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ก็ ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้แล้วสึกเสีย ภิกษุนั้นอุปสมบทใหม่ ไม่ปิดอาบัติ
เหล่านั้น สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้แล้วสึก ภิกษุนั้นอุปสมบทใหม่ ปิดอาบัติเหล่านั้น
สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน
บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๒)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง ปิดไว้แล้วสึก ภิกษุนั้นอุปสมบทใหม่ ไม่ปิดอาบัติเหล่านั้น
สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน
บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง ปิดไว้แล้วสึก ภิกษุนั้นอุปสมบทใหม่ ปิดอาบัติเหล่านั้น สงฆ์
พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดา
อาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๔)
[๑๗๓] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบท
ใหม่ อาบัติเหล่าใด ได้ปิดไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใด
ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติ
เดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุ
นั้น (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๗๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๖. สมูลายสโมธานปริวาสจตุสตะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่
อาบัติเหล่าใดได้ปิดไว้เมื่อก่อน ไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้
ปิดไว้เมื่อก่อน ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม
และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติ
เหล่าใดได้ปิดไว้เมื่อก่อน ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดไว้เมื่อ
ก่อน ไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้
สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๗)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติ
เหล่าใดได้ปิดไว้เมื่อก่อน ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่ได้ปิดไว้เมื่อ
ก่อน ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้
สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๘)
[๑๗๔] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างภิกษุนั้นรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดอาบัติที่รู้
ไม่ปิดอาบัติที่ไม่รู้ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดไว้เมื่อก่อน
รู้อาบัติเหล่านั้นไม่ปิดในภายหลัง อาบัติเหล่าใด ไม่รู้ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติ
เหล่านั้น ไม่ปิดไว้ในภายหลัง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้
สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๙)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างภิกษุนั้นรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดอาบัติที่รู้ ไม่ปิด
อาบัติที่ไม่รู้ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดไว้เมื่อก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๗๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๖. สมูลายสโมธานปริวาสจตุสตะ
รู้อาบัติเหล่านั้นไม่ปิดในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติเหล่า
นั้นแล้วปิดในภายหลัง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาส
เพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่เธอ (๑๐)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างภิกษุนั้นรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดอาบัติที่รู้ ไม่ปิด
อาบัติที่ไม่รู้ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดไว้เมื่อก่อน
รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติ
เหล่านั้นไม่ปิดในภายหลัง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธาน-
ปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๑๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างภิกษุนั้นรู้ บางอย่างไม่รู้ ปิดอาบัติที่รู้ ไม่ปิด
อาบัติที่ไม่รู้ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดรู้แล้วได้ปิดไว้เมื่อก่อน
รู้อาบัติเหล่านั้นแล้วปิดในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่รู้ ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน รู้อาบัติ
เหล่านั้นแล้วปิดในภายหลัง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธาน-
ปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๑๒)
[๑๗๕] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างภิกษุนั้นระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้
ปิดอาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดอาบัติที่ระลึกไม่ได้ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติ
เหล่าใดระลึกได้แล้วได้ปิดไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วไม่ปิดในภายหลัง
อาบัติเหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ ไม่ปิดในภาย
หลัง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน
บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๑๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างภิกษุนั้นระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ปิดอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๗๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๖. สมูลายสโมธานปริวาสจตุสตะ
ที่ระลึกได้ ไม่ปิดอาบัติที่ระลึกไม่ได้ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใด
ระลึกได้แล้วได้ปิดไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ไม่ปิดในภายหลัง อาบัติเหล่าใด
ระลึกไม่ได้ ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วปิดในภายหลัง สงฆ์พึงชัก
ภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติ
ตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๑๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างภิกษุนั้นระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ปิดอาบัติ
ที่ระลึกได้ ไม่ปิดอาบัติที่ระลึกไม่ได้ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใด
ระลึกได้แล้วได้ปิดไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วปิดในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วไม่ปิดในภายหลัง
สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน
บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๑๕)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง อาบัติบางอย่างภิกษุนั้นระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ปิด
อาบัติที่ระลึกได้ ไม่ปิดอาบัติที่ระลึกไม่ได้ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่า
ใดระลึกได้แล้วได้ปิดไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้แล้วปิดในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดระลึกไม่ได้ ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน ระลึกอาบัติเหล่านั้นได้ปิดในภายหลัง
สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน
บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๑๖)
[๑๗๖] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง แน่ใจในอาบัติบางอย่าง ไม่แน่ใจในอาบัติบางอย่าง
ปิดอาบัติที่แน่ใจ ไม่ปิดอาบัติที่ไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติ
เหล่าใดแน่ใจ ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใด
ไม่แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง สงฆ์พึงชักภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๗๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๖. สมูลายสโมธานปริวาสจตุสตะ
นั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่
ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๑๗)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง แน่ใจในอาบัติบางอย่าง ไม่แน่ใจในอาบัติบางอย่าง ปิดอาบัติ
ที่แน่ใจ ไม่ปิดอาบัติที่ไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใด
แน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่แน่ใจ
ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้า
หาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้
แก่ภิกษุนั้น (๑๘)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง แน่ใจในอาบัติบางอย่าง ไม่แน่ใจในอาบัติบางอย่าง ปิดอาบัติ
ที่แน่ใจ ไม่ปิดอาบัติที่ไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใดแน่ใจ
ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่แน่ใจไม่ได้ปิด
ไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติ
เดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุ
นั้น (๑๙)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง แน่ใจในอาบัติบางอย่าง ไม่แน่ใจในอาบัติบางอย่าง ปิดอาบัติ
ที่แน่ใจ ไม่ปิดอาบัติที่ไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นสึกแล้วอุปสมบทใหม่ อาบัติเหล่าใด
แน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่แน่ใจ
ไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง สงฆ์พึงชักภิกษุนั้นเข้าหา
อาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติตามที่ปิดไว้แก่
ภิกษุนั้น (๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๗๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๖. สมูลายสโมธานปริวาสจตุสตะ
ภิกษุกำลังอยู่ปริวาสลดฐานะเป็นสามเณรเป็นต้น
[๑๗๗] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้แล้วกลับเป็นสามเณร ฯลฯ เกิดวิกลจริต
ฯลฯ เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ฯลฯ อาบัติของภิกษุ
นั้นปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง ฯลฯ (พึงให้พิสดาร เหมือนที่ให้พิสดารแล้วในตอนต้น)
อาบัติบางอย่างภิกษุนั้นรู้ อาบัติบางอย่างไม่รู้ ฯลฯ อาบัติบางอย่างภิกษุนั้น
ระลึกได้ อาบัติบางอย่างระลึกไม่ได้ ฯลฯ อาบัติบางอย่างแน่ใจ อาบัติบางอย่าง
ไม่แน่ใจ ปิดอาบัติที่แน่ใจ ไม่ปิดอาบัติที่ไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นกระสับกระส่ายเพราะ
เวทนา ครั้นหายจากกระสับกระส่ายเพราะเวทนาแล้ว อาบัติเหล่าใดภิกษุนั้นแน่ใจ
ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใด ภิกษุนั้นไม่
แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง ฯลฯ
อาบัติเหล่าใดแน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดไม่แน่ใจไม่ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจได้ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง ฯลฯ
อาบัติเหล่าใดแน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดไม่แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง ฯลฯ
อาบัติเหล่าใดแน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดไม่แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง สงฆ์พึงชัก
ภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติ
ตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๒๑-๑๐๐)
ภิกษุผู้ควรแก่มานัตเป็นต้น ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
[๑๗๘] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่มานัต ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุกำลังประพฤติมานัต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๗๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๖. สมูลายสโมธานปริวาสจตุสตะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้แล้วสึก ฯลฯ
(ภิกษุผู้ควรแก่มานัต ภิกษุผู้ประพฤติมานัต และภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน พึงให้
พิสดารเหมือนปริวาส ฉะนั้น) (๑๐๑-๓๒๐)
ภิกษุผู้ควรแก่อัพภานลดฐานะเป็นสามเณรเป็นต้น
[๑๗๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง ไม่ปิดไว้แล้ว ลดฐานะเป็นสามเณร ฯลฯ เกิดวิกลจริต
ฯลฯ มีจิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ฯลฯ
อาบัติของภิกษุนั้นปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง ฯลฯ อาบัติบางอย่างภิกษุนั้นรู้
อาบัติบางอย่างไม่รู้ ฯลฯ อาบัติบางอย่างภิกษุนั้นระลึกได้ อาบัติบางอย่างระลึกไม่ได้
ฯลฯ
อาบัติบางอย่างแน่ใจ อาบัติบางอย่างไม่แน่ใจ ปิดอาบัติที่แน่ใจ ไม่ปิด
อาบัติที่ไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ครั้นหายจากระสับกระส่าย
เพราะเวทนาแล้ว อาบัติเหล่าใด ภิกษุนั้นแน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดไม่แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติ
เหล่านั้นในภายหลัง ฯลฯ
อาบัติเหล่าใดแน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง
อาบัติเหล่าใดไม่แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง ฯลฯ
อาบัติเหล่าใดแน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดไม่แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจไม่ปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง ฯลฯ
อาบัติเหล่าใดแน่ใจได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติ
เหล่าใดไม่แน่ใจไม่ได้ปิดไว้เมื่อก่อน แน่ใจปิดอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง สงฆ์พึงชัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๗๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๘. เทฺวภิกขุวารเอกาทสกะ
ภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อน บรรดาอาบัติ
ตามที่ปิดไว้แก่ภิกษุนั้น (๓๒๑-๔๐๐)
สมูลายสโมธานปริวาสจตุสตะ จบ
๗. ปริมาณาทิวารอัฏฐกะ
ว่าด้วยวาระอาบัติมีจำนวนนับได้เป็นต้น ๘ กรณี
[๑๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ก็ ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มี
จำนวนนับได้ ไม่ได้ปิดไว้แล้วสึก ฯลฯ
มีจำนวนนับไม่ได้ ไม่ได้ปิดไว้แล้วสึก ฯลฯ
อาบัติมีชื่ออย่างเดียวกัน ไม่ได้ปิดไว้แล้วสึก ฯลฯ
อาบัติมีชื่อต่าง ๆ กัน ไม่ได้ปิดไว้แล้วสึก ฯลฯ
อาบัติเป็นสภาคกัน ไม่ได้ปิดไว้แล้วสึก ฯลฯ
อาบัติไม่เป็นสภาคกัน ไม่ได้ปิดไว้แล้วสึก ฯลฯ
อาบัติกำหนดได้ ไม่ได้ปิดไว้แล้วสึก ฯลฯ
กระจายไป ไม่ได้ปิดไว้แล้วสึก ฯลฯ (พึงให้พิสดารเหมือนในตอนต้น)
ปริมาณาทิวารอัฏฐกะ จบ
๘. เทฺวภิกขุวารเอกาทสกะ
ว่าด้วยวาระการให้มานัตแก่ภิกษุ ๒ รูป ๑๑ กรณี
[๑๘๑] ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นในอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส รูปหนึ่งปิดไว้ รูปหนึ่งไม่ปิดไว้ รูปใดปิดไว้ สงฆ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๗๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๘. เทฺวภิกขุวารเอกาทสกะ
พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏและพึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดไว้แก่รูปที่ปิดนั้น
แล้วให้มานัตแก่ภิกษุทั้ง ๒ รูป (๑)
ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุเหล่านั้นไม่แน่ใจในอาบัติสังฆาทิเสส
รูปหนึ่งปิดไว้ รูปหนึ่งไม่ได้ปิดไว้ รูปใดปิดไว้ สงฆ์พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ
และพึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดไว้แก่รูปที่ปิดนั้น แล้วให้มานัตแก่ภิกษุทั้ง
๒ รูป (๒)
ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นในอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติเจือกัน รูปหนึ่งปิดไว้ รูปหนึ่งไม่ได้ปิดไว้ รูปใดปิดไว้
สงฆ์พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ และพึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดไว้แก่รูปที่
ปิดนั้น แล้วให้มานัตแก่ภิกษุทั้ง ๒ รูป (๓)
ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติเจือกัน๑ ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นในอาบัติเจือกันว่า
เป็นอาบัติสังฆาทิเสส รูปหนึ่งปิดไว้ รูปหนึ่งไม่ได้ปิดไว้ รูปใดปิดไว้ สงฆ์พึงให้รูปนั้น
แสดงอาบัติทุกกฏ และพึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดไว้แก่รูปที่ปิดนั้น แล้วให้
มานัตแก่ภิกษุทั้ง ๒ รูป (๔)
ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติเจือกัน ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นในอาบัติเจือกันว่า
เป็นอาบัติเจือกัน รูปหนึ่งปิดไว้ รูปหนึ่งไม่ได้ปิดไว้ รูปใดปิดไว้ สงฆ์พึงให้รูปนั้น
แสดงอาบัติทุกกฏ และพึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดไว้แก่รูปที่ปิดนั้น แล้วให้
มานัตแก่ภิกษุทั้ง ๒ รูป (๕)
ภิกษุ ๒ รูป ต้องลหุกาบัติ(อาบัติเบา)ล้วน ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นใน
ลหุกาบัติล้วนว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส รูปหนึ่งปิดไว้ รูปหนึ่งไม่ได้ปิดไว้ รูปใดปิดไว้
สงฆ์พึงให้รูปนั้น แสดงอาบัติทุกกฏ พึงปรับภิกษุทั้ง ๒ รูปตามธรรม (๖)

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติเจือกัน หมายถึงอาบัติสังฆาทิเสสและอาบัติเบา ๆ อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๘๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๘. เทฺวภิกขุวารเอกาทสกะ
ภิกษุ ๒ รูป ต้องลหุกาบัติล้วน ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นในลหุกาบัติล้วน
ว่าเป็นลหุกาบัติล้วน รูปหนึ่งปิดไว้ รูปหนึ่งไม่ได้ปิดไว้ รูปใดปิดไว้ สงฆ์พึงให้รูปนั้น
แสดงอาบัติทุกกฏ พึงปรับภิกษุทั้ง ๒ รูปตามธรรม (๗)
ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นในอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส รูปหนึ่งคิดว่า “จักบอก” รูปหนึ่งคิดว่า “จักไม่บอก”
ภิกษุนั้นปิดไว้ถึงยามที่หนึ่งบ้าง ปิดไว้ถึงยามที่สองบ้าง ปิดไว้ถึงยามที่สามบ้าง เมื่อ
อรุณขึ้นแล้วเป็นอันปิดอาบัติ รูปใดปิดไว้ สงฆ์พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ และ
พึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดไว้แก่รูปที่ปิดนั้น แล้วให้มานัตแก่ภิกษุทั้ง ๒ รูป
(๘)
ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นในอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส จึงไปด้วยคิดว่า “จักบอก” ในระหว่างทาง รูป
หนึ่งเกิดความคิดลบหลู่ว่า “จักไม่บอก” ภิกษุนั้นปิดไว้ถึงยามที่หนึ่งบ้าง ปิดไว้ถึง
ยามที่สองบ้าง ปิดไว้ถึงยามที่สามบ้าง เมื่ออรุณขึ้นแล้วเป็นอันปิดอาบัติ รูปใดปิดไว้
สงฆ์พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ และพึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดไว้แก่รูปที่
ปิดนั้น แล้วให้มานัตแก่ภิกษุทั้ง ๒ รูป (๙)
ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นในอาบัติ
สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส แล้วเกิดวิกลจริต ภายหลังหายวิกลจริตแล้ว
รูปหนึ่งปิดไว้ รูปหนึ่งไม่ได้ปิดไว้ รูปใดปิดไว้ สงฆ์พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏและ
พึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดไว้แก่รูปที่ปิดนั้น แล้วให้มานัตแก่ภิกษุทั้ง ๒ รูป
(๑๐)
ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อภิกษุกำลังยกพระปาติโมกข์ขึ้น
แสดงอยู่ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าทั้งหลายทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ‘ได้ยิน
ว่า ธรรมแม้นี้มาในสูตร นับเนื่องในสูตร มาสู่อุทเทสทุกกึ่งเดือน” ภิกษุเหล่านั้นมี
ความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส รูปหนึ่งปิดไว้ รูปหนึ่งไม่ได้ปิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๘๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๙. มูลายอวิสุทธินวกะ
ไว้ รูปใดปิดไว้ สงฆ์พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ และพึงให้ปริวาสในกองอาบัติ
ตามที่ปิดไว้แก่รูปที่ปิดนั้น แล้วให้มานัตแก่ภิกษุทั้ง ๒ รูป (๑๑)
เทฺวภิกขุวารเอกาทสกะ จบ
๙. มูลายอวิสุทธินวกะ
ว่าด้วยความไม่หมดจดจากอาบัติเดิม ๙ กรณี
[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง
เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้นขอ
สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น
แก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มี
จำนวนนับได้ ไม่ได้ปิดไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติในระหว่างกับสงฆ์
สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัตโดยไม่ชอบธรรม อัพภาน
โดยไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยังไม่หมดจดจากอาบัติเหล่านั้น (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็น
สภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้นขอ
สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น
แก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง
มีจำนวนนับได้ ปิดไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกับสงฆ์
สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัตโดยไม่ชอบธรรม อัพภาน
โดยไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยังไม่หมดจดจากอาบัติเหล่านั้น (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๘๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๙. มูลายอวิสุทธินวกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มี
จำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง
เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้น
ขอสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติ
เหล่านั้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวใน
ระหว่าง มีจำนวนนับได้ ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติในระหว่างกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง
ด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม
ให้มานัตโดยไม่ชอบธรรม อัพภานโดยไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยังไม่
หมดจดจากอาบัติเหล่านั้น (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาค
กันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้นขอสโมธาน-
ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุ
นั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีจำนวน
นับไม่ได้ ไม่ได้ปิดไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกับสงฆ์
สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัตโดยไม่ชอบธรรม อัพภาน
โดยไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยังไม่หมดจดจากอาบัติเหล่านั้น (๔)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มี
จำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง
เป็นสภาคกันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้น
ขอสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติ
เหล่านั้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๘๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๙. มูลายอวิสุทธินวกะ
ในระหว่าง มีจำนวนนับไม่ได้ ปิดไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติใน
ระหว่างกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างด้วยกรรมที่
ชอบธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัตโดยไม่
ชอบธรรม อัพภานโดยไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยังไม่หมดจดจากอาบัติ
เหล่านั้น (๕)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาค
กันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง เธอขอสโมธานปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุนั้น
เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับไม่
ได้ ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกับ
สงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมที่ชอบธรรม
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัตโดยไม่ชอบธรรม
อัพภานโดยไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยังไม่หมดจดจากอาบัติเหล่านั้น (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาค
กันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้นขอสโมธาน-
ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุ
นั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติในระหว่างกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วย
กรรมที่ชอบธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัต
โดยไม่ชอบธรรม อัพภานโดยไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยังไม่หมดจดจาก
อาบัติเหล่านั้น (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๘๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๙. มูลายอวิสุทธินวกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาค
กันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้นขอสโมธาน-
ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุ
นั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติใน
ระหว่างกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมที่
ชอบธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัตโดยไม่
ชอบธรรม อัพภานโดยไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยังไม่หมดจดจากอาบัติ
เหล่านั้น (๘)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาค
กันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้นขอสโมธาน-
ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุ
นั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหาอาบัติ
เดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติในระหว่าง
ด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้
มานัตโดยไม่ชอบธรรม อัพภานโดยไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นยังไม่หมด
จดจากอาบัติเหล่านั้น (๙)
มูลายอวิสุทธินวกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๘๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑๐. มูลายวิสุทธินวกะ
๑๐. มูลายวิสุทธินวกะ
ว่าด้วยความหมดจดจากอาบัติเดิม ๙ กรณี
[๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มี
จำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ฯลฯ กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุ
นั้นขอสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ
เหล่านั้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวใน
ระหว่าง มีจำนวนนับได้ ไม่ได้ปิดไว้ ฯลฯ มีจำนวนนับได้ ปิดไว้ ฯลฯ มีจำนวน
นับได้ ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง
กับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมที่ชอบธรรม
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัตโดยชอบธรรม
อัพภานโดยชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น (๑-๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ฯลฯ กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้นขอ
สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น
แก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาสต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มี
จำนวนนับไม่ได้ ไม่ได้ปิดไว้ ฯลฯ มีจำนวนนับไม่ได้ ปิดไว้ ฯลฯ มีจำนวนนับไม่ได้
ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกับสงฆ์
สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัตโดยชอบธรรม อัพภานโดย
ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น (๖)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง ฯลฯ กำหนดได้บ้าง
กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้นขอสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้
สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๘๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑๑. ตติยนวกะ
สังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ไม่ได้ปิด
ไว้ ฯลฯ มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้ ฯลฯ มีจำนวนนับได้
บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติในระหว่างกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติในระหว่าง
ด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้
มานัตโดยชอบธรรม อัพภานโดยชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจาก
อาบัติเหล่านั้น (๗-๙)
มูลายวิสุทธินวกะ จบ
๑๑. ตติยนวกะ
ว่าด้วยความหมดจดจากอาบัติโดยขั้นตอนที่ ๓ รวม ๙ กรณี
[๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ฯลฯ กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง
ภิกษุนั้นขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่อ
อาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้ ไม่ได้ปิดไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติในระหว่างกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติในระหว่างด้วย
กรรมอันไม่ชอบธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยไม่ชอบธรรม
ภิกษุนั้นสำคัญว่า “เรากำลังอยู่ปริวาส” ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง
มีจำนวนนับได้ ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในภูมินั้น ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดา
อาบัติตัวก่อนได้ ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลังได้
ภิกษุนั้นคิดอย่างนี้ว่า “เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวนนับได้บ้าง
มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ฯลฯ กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง เรานั้นขอสโมธานปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เรานั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๘๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑๑. ตติยนวกะ
เรานั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้ ไม่
ได้ปิดไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกับสงฆ์ สงฆ์ชักเรานั้น
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันไม่ชอบธรรม กำเริบ ไม่ควร
แก่ฐานะ ได้ให้สโมธานปริวาสโดยไม่ชอบธรรม เรานั้นสำคัญว่า ‘เราอยู่ปริวาส’
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้ ไม่ได้ปิดไว้ เรานั้นตั้งอยู่ใน
ภูมินั้น ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อนได้ ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดา
อาบัติตัวหลังได้ ไฉนหนอ เราพึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติในระหว่าง
บรรดาอาบัติตัวก่อนและเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมที่ชอบ
ธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ พึงขอปริวาสโดยชอบธรรม พึงขอมานัตโดยชอบธรรม
พึงขออัพภานโดยชอบธรรมกับสงฆ์”
ภิกษุนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อน
และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะ ขอสโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ขอมานัตโดยชอบธรรม ขออัพภาน
โดยชอบธรรมกับสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง บรรดา
อาบัติตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมที่ชอบธรรม
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัตโดยชอบธรรม
อัพภานโดยชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น (๑)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ฯลฯ กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้น
ขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ
เหล่านั้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวใน
ระหว่าง มีจำนวนนับได้ ปิดไว้ ภิกษุนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติใน
ระหว่างกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรม
อันไม่ชอบธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยไม่ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๘๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑๑. ตติยนวกะ
ภิกษุนั้นสำคัญว่า “เรากำลังอยู่ปริวาส” ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง
มีจำนวนนับได้ ปิดไว้ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในภูมินั้น ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัว
ก่อนได้ ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลังได้
ภิกษุนั้นคิดอย่างนี้ว่า “เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวนนับ
ได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ฯลฯ กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง เรานั้นได้ขอ
สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ
เหล่านั้นแก่เรานั้น เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวใน
ระหว่าง มีจำนวนนับได้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกับสงฆ์
สงฆ์ชักเรานั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันไม่ชอบธรรม
กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ได้ให้สโมธานปริวาสโดยไม่ชอบธรรม เรานั้นสำคัญว่า
‘เรากำลังอยู่ปริวาส’ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้ ปิดไว้
เรานั้นตั้งอยู่ในภูมินั้น ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อนได้ ระลึกอาบัติใน
ระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลังได้ ไฉนหนอ เราพึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง
ด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ พึงขอสโมธานปริวาสโดยชอบธรรม
พึงขอมานัตโดยชอบธรรม พึงขออัพภานโดยชอบธรรมกับสงฆ์”
ภิกษุนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อน
และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะ ขอสโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ขอมานัตโดยชอบธรรม ขออัพภาน
โดยชอบธรรมกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง
บรรดาอาบัติตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรม
ที่ชอบธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัต
โดยชอบธรรม อัพภานโดยชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติ
เหล่านั้น (๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๘๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑๑. ตติยนวกะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาค
กันบ้าง ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้นขอสโมธาน-
ปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่
ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มี
จำนวนนับได้ ได้ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ในระหว่างกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรม
อันไม่ชอบธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยไม่ชอบธรรม ภิกษุนั้น
สำคัญว่า “เรากำลังอยู่ปริวาส” ฯลฯ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัต
โดยชอบธรรม อัพภานโดยชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติ
เหล่านั้น (๓)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ฯลฯ กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้น
ขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ
เหล่านั้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
ในระหว่าง มีจำนวนนับไม่ได้ ไม่ได้ปิดไว้ ฯลฯ มีจำนวนนับไม่ได้ ปิดไว้ ฯลฯ
มีจำนวนนับไม่ได้ ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง ฯลฯ มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวน
นับไม่ได้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้ จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกับสงฆ์
สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันไม่ชอบธรรม
กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยไม่ชอบธรรม ภิกษุนั้นสำคัญว่า “เรา
กำลังอยู่ปริวาส” ฯลฯ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัตโดยชอบธรรม
อัพภานโดยชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น
(๔-๗)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ฯลฯ กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้นขอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๙๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑๑. ตติยนวกะ
สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ
เหล่านั้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวใน
ระหว่าง มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้ จึงขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
ในระหว่าง ด้วยกรรมอันไม่ชอบธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดย
ไม่ชอบธรรม
ภิกษุนั้นสำคัญว่า “เรากำลังอยู่ปริวาส” ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง
มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในภูมินั้น ระลึกอาบัติ
ในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อนได้ ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลังได้
ภิกษุนั้นคิดอย่างนี้ว่า “เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวนนับได้บ้าง
มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง ฯลฯ กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง
เรานั้นได้ขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้สโมธานปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เรานั้น เรานั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
ในระหว่าง มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้ จึงขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกับสงฆ์ สงฆ์ชักเรานั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติใน
ระหว่าง ด้วยกรรมอันไม่ชอบธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ได้ให้สโมธานปริวาสโดย
ไม่ชอบธรรม เรานั้นสำคัญว่า ‘เรากำลังอยู่ปริวาส’ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวใน
ระหว่าง มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้ เรานั้นตั้งอยู่ในภูมินั้น
ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อนได้ ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัว
หลังได้ ไฉนหนอ เราพึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างบรรดา
อาบัติตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมที่ชอบธรรม
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ พึงขอสโมธานปริวาสโดยชอบธรรม พึงขอมานัตโดยชอบ
ธรรม พึงขออัพภานโดยชอบธรรมกับสงฆ์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๙๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑๑. ตติยนวกะ
ภิกษุนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อน
และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่กำเริบ ควร
แก่ฐานะ ขอสโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ขอมานัตโดยชอบธรรม ขออัพภานโดย
ชอบธรรมกับสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติ
ตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมที่ชอบธรรม
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัตโดยชอบธรรม
อัพภานโดยชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติเหล่านั้น (๘)
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวน
นับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ฯลฯ กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง ภิกษุนั้นขอ
สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ
เหล่านั้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวใน
ระหว่าง มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง จึงขอ
การชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติในระหว่าง ด้วยกรรมอันไม่ชอบธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ให้สโมธาน-
ปริวาสโดยไม่ชอบธรรม
ภิกษุนั้นสำคัญว่า “เรากำลังอยู่ปริวาส” ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง
มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง ภิกษุนั้นตั้งอยู่
ในภูมินั้น ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อนได้ ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดา
อาบัติตัวหลังได้
ภิกษุนั้นคิดอย่างนี้ว่า “เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีจำนวนนับได้บ้าง
มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง มีชื่ออย่างเดียวกันบ้าง มีชื่อต่างกันบ้าง เป็นสภาคกันบ้าง
ไม่เป็นสภาคกันบ้าง กำหนดได้บ้าง กระจายไปบ้าง เรานั้นได้ขอสโมธานปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่เรานั้น
เรานั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง มีจำนวนนับได้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๙๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในสมุจจยขันธกะ
มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติในระหว่างกับสงฆ์ สงฆ์ชักเรานั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง
ด้วยกรรมอันไม่ชอบธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ได้ให้สโมธานปริวาสโดยไม่ชอบ
ธรรม เรานั้นสำคัญว่า ‘เรากำลังอยู่ปริวาส’ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวในระหว่าง
มีจำนวนนับได้บ้าง มีจำนวนนับไม่ได้บ้าง ปิดไว้บ้าง ไม่ได้ปิดไว้บ้าง เรานั้นตั้งอยู่ใน
ภูมินั้น ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวก่อนได้ ระลึกอาบัติในระหว่างบรรดา
อาบัติตัวหลังได้ ไฉนหนอ เราพึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง
บรรดาอาบัติตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมที่ชอบ
ธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ พึงขอสโมธานปริวาสโดยชอบธรรม พึงขอมานัตโดย
ชอบธรรม พึงขออัพภานโดยชอบธรรมกับสงฆ์”
ภิกษุนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติ
ตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรมที่ชอบธรรม
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ขอสโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ขอมานัตโดยชอบธรรม
ขออัพภานโดยชอบธรรมกับสงฆ์ สงฆ์ชักเธอเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติในระหว่าง
บรรดาอาบัติตัวก่อน และเพื่ออาบัติในระหว่างบรรดาอาบัติตัวหลัง ด้วยกรรม
ที่ชอบธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ให้สโมธานปริวาสโดยชอบธรรม ให้มานัตโดย
ชอบธรรม อัพภานโดยชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหมดจดแล้วจากอาบัติ
เหล่านั้น (๙)
ตติยนวกะ จบ
สมุจจยขันธกะที่ ๓ จบ
รวมเรื่องที่มีในสมุจจยขันธกะ
หมวดว่าด้วยอาบัติไม่ได้ปิดไว้ อาบัติปิดไว้ ๑ วัน
อาบัติปิดไว้ ๒ วัน อาบัติปิดไว้ ๓ วัน อาบัติปิดไว้ ๔ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๙๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในสมุจจยขันธกะ
อาบัติปิดไว้ ๕ วัน อาบัติปิดไว้ ๑๐ วันเป็นต้น อาบัติปิดไว้
หลายเดือน มหาสุทธันตปริวาสเพื่ออาบัติทั้งหลาย ภิกษุสึก
อาบัติมีจำนวนนับได้ ภิกษุ ๒ รูป มีความสงสัย มีความเห็น
ว่าเจือกัน มีความเห็นว่าเจือและไม่เจือ มีความเห็นในกอง
อาบัติไม่ล้วนเทียว และมีความเห็นว่าเช่นนั้นเหมือนกัน
รูปหนึ่งปิด รูปหนึ่งไม่ปิด ภิกษุหลีกไป วิกลจริต กำลัง
แสดงพระปาติโมกข์ ความหมดจดและไม่หมดจด
ในการชักเข้าหาอาบัติเดิม ๑๘ อย่าง นี้เป็นนิพนธ์ของ
พวกอาจารย์ผู้อยู่ในมหาวิหาร ผู้จำแนกบท ผู้ยังชาวเกาะ
ตามพปัณณิให้เสื่อมใสแต่งไว้ เพื่อความมั่นคงแห่ง
พระสัทธรรม
สมุจจยขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๙๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๑. สัมมุขาวินัย
๔. สมถขันธกะ
๑. สัมมุขาวินัย
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ลงตัชชนีย
กรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนีย
กรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มิได้อยู่ต่อหน้า
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงได้ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง
ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มิได้อยู่ต่อหน้าเล่า”
แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ทราบว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรม
บ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มิได้อยู่ต่อหน้า
จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ
เหล่านั้น ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควร
ทำเลย ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๙๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๑. สัมมุขาวินัย
ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้มิได้อยู่ต่อหน้าเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมก็ดี นิยสกรรมก็ดี ปัพพาชนีย-
กรรมก็ดี ปฏิสารณียกรรมก็ดี อุกเขปนียกรรมก็ดี ภิกษุไม่พึงลงแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้มิได้อยู่ต่อหน้า รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ”
ธรรมวาทีและอธรรมวาที
[๑๘๖] อธรรมวาทีบุคคล อธรรมวาทีภิกษุมากรูป อธรรมวาทีสงฆ์ ธรรม
วาทีบุคคล ธรรมวาทีภิกษุมากรูป ธรรมวาทีสงฆ์
กัณหปักขนวกะ
ว่าด้วยธรรมฝ่ายดำ ๙ อย่าง
สัมมุขาวินัยปฏิรูป
[๑๘๗] อธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้
ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือเอา
ข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็น
สัมมุขาวินัยปฏิรูป (๑)
อธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้
ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่าจง
ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม
เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๒)
อธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ
ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๙๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๑. สัมมุขาวินัย
ข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
ปฏิรูป (๓)
อธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้
ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ
เอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม
เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๔)
อธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง
ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่าน
จงถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม
เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๕)
อธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้
ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง
ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม
เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๖)
อธรรมวาทีสงฆ์ ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ
ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจ
ข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
ปฏิรูป (๗)
อธรรมวาทีสงฆ์ ยังธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้
ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง
ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม
เป็นสัมมุขาวินัยปฏิรูป (๘)
อธรรมวาทีสงฆ์ ยังอธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ
ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือเอาข้อนี้ จงพอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๙๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๑. สัมมุขาวินัย
ข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
ปฏิรูป (๙)
กัณหปักขนวกะ จบ
สุกกปักขนวกะ
ว่าด้วยธรรมฝ่ายขาว ๙ อย่าง
สัมมุขาวินัยโดยธรรม
[๑๘๘] ธรรมวาทีบุคคล ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้
ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ
เอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น
สัมมุขาวินัย (๑)
ธรรมวาทีบุคคล ยังอธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้
ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง
ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น
สัมมุขาวินัย (๒)
ธรรมวาทีบุคคล ยังอธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ
ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถือเอาข้อนี้
จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย (๓)
ธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้
ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง
ถือเอา ข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น
สัมมุขาวินัย (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๙๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๑. สัมมุขาวินัย
ธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังอธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง
ให้ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง
ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น
สัมมุขาวินัย (๕)
ธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังอธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้
ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง
ถือเอา ข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น
สัมมุขาวินัย (๖)
ธรรมวาทีสงฆ์ ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ
ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถือเอาข้อนี้
จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย (๗)
ธรรมวาทีสงฆ์ ยังอธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้
ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง
ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น
สัมมุขาวินัย (๘)
ธรรมวาทีสงฆ์ ยังอธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ
ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถือเอาข้อนี้
จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย (๙)
สุกกปักขนวกะ จบ
สัมมุขาวินัย จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๙๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๒. สติวินัย
๒. สติวินัย
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยประกาศสมมติให้ว่าเป็นผู้มีสติสมบูรณ์
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร๑
[๑๘๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน
ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระทัพพมัลลบุตร ได้บรรลุ
พระอรหัตตผล เมื่ออายุ ๗ ขวบ นับแต่เกิด คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระสาวก
จะพึงบรรลุ ท่านก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด อนึ่ง ท่านไม่มีกิจอะไร ๆ ที่จะพึงทำยิ่งกว่านี้
หรือกิจที่ทำเสร็จแล้ว ซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี
ต่อมา ท่านพระทัพพมัลลบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงอย่าง
นี้ว่า “เราได้บรรลุอรหัตตผลเมื่ออายุ ๗ ขวบ นับแต่เกิด คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่พระสาวกพึงบรรลุ เราก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด ไม่มีกิจอะไร ๆ ที่จะพึงทำยิ่งกว่านี้
หรือกิจที่ทำเสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี เราควรช่วยอะไรสงฆ์ได้บ้าง”
ลำดับนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรตกลงใจว่า “ถ้ากระไร เราควรจัดแจเสนาสนะ
และแจกภัตตาหารแก่สงฆ์” ครั้นออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ ที่
สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า
หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้บรรลุอรหัตตผลเมื่ออายุ ๗ ขวบ
นับแต่เกิด คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง เราก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด ไม่มีกิจอะไร ๆ ที่
จะพึงทำยิ่งไปกว่านี้ หรือกิจที่ทำเสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี เราควรช่วยอะไร
สงฆ์ได้บ้าง’ พระพุทธเจ้าข้า ถ้ากระไร ข้าพระพุทธเจ้าพึงจัดแจงเสนาสนะและแจก
ภัตตาหารแก่สงฆ์ ข้าพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะจัดแจงเสนาสนะและแจกภัตตาหาร
แก่สงฆ์”

เชิงอรรถ :
๑ วิ.มหา. (แปล) ๑/๓๘๐/๔๑๒-๔๑๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๐๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๒. สติวินัย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ดีแล้ว ทัพพะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงจัดแจงเสนาสนะ
และแจกภัตตาหารแก่สงฆ์” พระทัพพมัลลบุตรทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว
แต่งตั้งเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงแต่งตั้งทัพพมัลลบุตร
ให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจาแต่งตั้ง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอให้ทัพพมัลลบุตรรับ
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๙๐] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง
ท่านพระทัพพมัลลบุตร ให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งพระทัพพมัลลบุตรให้เป็น
เสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งท่านพระ
ทัพพมัลลบุตร ให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ท่านพระทัพพมัลลบุตร สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุท-
เทสกะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติ
อย่างนี้”
[๑๙๑] เมื่อท่านพระทัพพมัลลบุตร ไดัรับแต่งตั้งแล้ว ย่อมจัดแจงเสนาสนะ
สำหรับหมู่ภิกษุผู้มีคุณสมบัติเสมอกันไว้ที่เดียวกัน ดังนี้ คือ จัดแจงเสนาสนะสำหรับ
ภิกษุผู้ทรงพระสูตรรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุเหล่านั้นจักซักซ้อมพระ
สูตรกัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๐๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๒. สติวินัย
จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ทรงพระวินัยรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า
“ภิกษุเหล่านั้นจักวินิจฉัยพระวินัยกัน”
จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า
“ภิกษุเหล่านั้นจักสนทนาพระอภิธรรมกัน”
จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ได้ฌานรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุ
เหล่านั้นจักไม่รบกวนกัน”
จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ชอบกล่าวติรัจฉานกถา ผู้มากไปด้วยการบำรุง
ร่างกายรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุเหล่านี้ จะอยู่ตามความพอใจ”
ท่านพระทัพพมัลลบุตรนั้นเข้าเตโชกสิณแล้วจัดแจงเสนาสนะด้วยแสงสว่างนั้น
สำหรับภิกษุที่มาในเวลาค่ำคืน
ภิกษุทั้งหลายจงใจมาในเวลาค่ำคืน ด้วยประสงค์ว่า “พวกเราจะชมอิทธิ-
ปาฏิหาริย์ของท่านพระทัพพมัลลบุตร” ก็มี ภิกษุเหล่านั้นพากันเข้าไปหาท่านพระ
ทัพพมัลลบุตรกล่าวว่า “ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผม”
ท่านพระทัพพมัลลบุตรกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายต้องการพักที่ไหนเล่า ข้าพเจ้า
จะจัดแจงในที่ไหน”
ภิกษุเหล่านั้นจงใจอ้างที่ไกล ๆ ว่า “ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่
ภูเขาคิชฌกูฏ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่เหวสำหรับทิ้งโจร ท่านจง
จัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่กาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้
พวกกระผมที่ถ้ำสัตตบรรณคูหาข้างภูเขาเวภาระ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวก
กระผมที่เงื้อมสัปปโสณฑิกะใกล้สีตวัน ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่
ซอกเขาโคตมกะ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่ซอกเขาติณฑุกะ ท่าน
จงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่ซอกเขากโปตะ ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวก
กระผมที่ตโปทาราม ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่ชีวกัมพวัน ท่านจง
จัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่มัททกุจฉิมฤคทายวัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๐๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๒. สติวินัย
ท่านพระทัพพมัลลบุตรเข้าเตโชกสิณ ใช้องคุลีส่องแสงสว่างเดินนำหน้าภิกษุ
เหล่านั้น ท่านเหล่านั้นเดินตามท่านพระทัพพมัลลบุตรไปด้วยแสงสว่างนั้น ท่านได้
จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุเหล่านั้น ชี้แจงว่า “นี่เตียง นี่ตั่ง นี่ฟูก นี่หมอน นี่ที่
ถ่ายอุจจาระ นี่ที่ถ่ายปัสสาวะ นี่น้ำฉัน นี่น้ำใช้ นี่ไม้เท้า นี่ระเบียบกติกาสงฆ์ ควร
เข้าเวลานี้ ควรออกเวลานี้” ครั้นจัดแจงเสร็จแล้ว กลับมาพระเวฬุวันวิหารตามเดิม
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ๑
[๑๙๒] สมัยนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เป็นพระบวชใหม่และมีบุญ น้อย
เสนาสนะของสงฆ์ชั้นเลว อาหารก็ชั้นเลวตกถึงท่านทั้งสอง ชาวกรุงราชคฤห์ต้องการ
จะถวายบิณฑบาตแก่พระเถระทั้งหลายก็ถวายเนยใสบ้าง น้ำมันบ้าง แกงอ่อมบ้าง
ที่จัดปรุงพิเศษ แต่พวกเขาถวายอาหารธรรมดาแก่พระเมตติยะและพระภุมมชกะตาม
แต่จะหาได้ คือ ปลายข้าวกับน้ำผักดอง
วันหนึ่ง ท่านทั้งสองกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จแล้ว เที่ยวถามภิกษุ
ผู้เถระทั้งหลายว่า “มีอาหารอะไรบ้าง ในโรงฉันสำหรับพวกท่าน”
พระเถระบางพวกตอบว่า “คุณทั้งสอง พวกเรามีเนยใส น้ำมัน แกงอ่อม”
พระเมตติยะและพระภุมมชกะกล่าวว่า “พวกกระผมไม่มีอะไรเลย ขอรับ มีแต่
อาหารธรรมดา ตามแต่จะหาได้ คือ ปลายข้าวกับน้ำผักดอง”
สมัยต่อมา คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดี ถวายอาหารแก่สงฆ์วันละ ๔ ที่
เป็นนิตยภัต คหบดีพร้อมบุตรภรรยาอังคาสอยู่ใกล้ ๆ ในโรงฉัน คนอื่น ๆ ถามถึง
ความต้องการข้าวสุก ถามถึงความต้องการกับข้าว ถามถึงความต้องการน้ำมัน ถาม
ถึงความต้องการแกงอ่อม

เชิงอรรถ :
๑ วิ.มหา. (แปล) ๑/๓๘๓/๔๑๕ - ๔๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๐๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๒. สติวินัย
วันต่อมา ท่านพระทัพพมัลลบุตรผู้เป็นภัตตุทเทสกะนิมนต์พระเมตติยะและพระ
ภุมมชกะไปฉันภัตตาหารของคหบดีในวันรุ่งขึ้น วันเดียวกันนั้น คหบดีเดินทางไป
อารามด้วยธุระบางอย่าง ได้เข้าไปหาท่านพระทัพพมัลลบุตรถึงสำนัก ครั้นถึงแล้ว
ได้ไหว้ท่านพระทัพพมัลลบุตรแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร ท่านพระทัพพมัลลบุตรชี้แจง
คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดีให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นแล้ว คหบดีผู้ชอถวาย
อาหารอย่างดีถามว่า “ภัตตาหารที่จะถวายในวันพรุ่งนี้ที่เรือนของข้าพเจ้า ท่านนิมนต์
ภิกษุรูปไหนไปฉันขอรับ”
ท่านพระทัพพมัลลบุตรตอบว่า “อาตมาจัดให้พระเมตติยะและพระภุมมชกะไป
ฉัน”
เขาไม่พอใจว่า “ทำไมจึงนิมนต์ภิกษุชั่วไปฉันภัตตาหารในบ้านเราเล่า” กลับไป
บ้านแล้วสั่งหญิงรับใช้ว่า “แม่สาวใช้ พรุ่งนี้ เจ้าจงจัดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตูแล้วเอา
ปลายข้าวกับน้ำผักดองถวายภิกษุผู้มาฉันภัตตาหารนะ”
หญิงรับใช้รับคำว่า “ได้เจ้าค่ะ”
วันเดียวกันนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะกล่าวกันว่า “คุณ เมื่อวานนี้
เราได้รับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารในเรือนคหบดี พรุ่งนี้ คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดี
พร้อมด้วยบุตรภรรยา ก็จักมายืนอังคาสเราอยู่ใกล้ ๆ คนอื่นถามถึงความต้องการ
ข้าวสุก ถามถึงความต้องการกับข้าว ถามถึงความต้องการน้ำมัน ถามถึงความ
ต้องการแกงอ่อม” เพราะความดีใจนั้น พอตกกลางคืน ท่านทั้งสองจึงจำวัดหลับไม่
เต็มที่ ครั้นเวลาเช้า ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเดินไปถึงนิเวศน์ของคหบดี
หญิงรับใช้มองเห็นพระเมตติยะและพระภุมมชกะเดินมาแต่ไกล จึงจัดอาสนะไว้
ที่ซุ้มประตูกล่าวนิมนต์ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์นั่งเถิด เจ้าค่ะ”
พระเมตติยะและพระภุมมชกะคิดว่า “เขาคงนิมนต์ให้พวกเรานั่งรอที่ซุ้มประตู
จนกว่าภัตตาหารจะเสร็จ” ขณะนั้นหญิงรับใช้นำปลายข้าวกับน้ำผักดองไปถวายกล่าวว่า
“พระคุณเจ้า นิมนต์ฉันเถิด เจ้าค่ะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๐๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๒. สติวินัย
ท่านทั้งสองกล่าวว่า “น้องหญิง พวกอาตมารับนิมนต์มาฉันนิตยภัต”
หญิงรับใช้ตอบว่า “ทราบเจ้าค่ะว่าท่านเป็นพระรับนิมนต์มาฉันนิตยภัต แต่เมื่อ
วานนี้ คหบดีสั่งไว้ว่า ‘แม่สาวใช้ พรุ่งนี้ เจ้าจงจัดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตูแล้วเอาปลาย
ข้าวกับน้ำผักดองถวายภิกษุผู้มาฉันภัตตาหารนะ’ นิมนต์ฉันเถิด เจ้าค่ะ”
พระเมตติยะและพระภุมมชกะปรึกษากันว่า “เมื่อวานนี้เอง คหบดีผู้ชอบถวาย
อาหารอย่างดีไปหาพระทัพพมัลลบุตรถึงอาราม สงสัยพวกเราคงถูกพระทัพพมัลล
บุตรทำลายต่อหน้าคหบดีเป็นแน่” เพราะความเสียใจ ท่านทั้งสองจึงฉันภัตตาหาร
ไม่ได้สมใจ ครั้นกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จแล้ว ถึงอาราม เก็บบาตรและ
จีวรแล้วใช้ผ้าสังฆาฏิรัดเข่า นั่งภายนอกซุ้มประตูอาราม นิ่งอั้น เก้อเขิน คอตก
ก้มหน้า ซบเซา ไม่พูดจา
ภิกษุณีเมตติยาใส่ความพระทัพพมัลลบุตร
ครั้งนั้น ภิกษุณีเมตติยาเข้าไปหาพระเมตติยะและพระภุมมชกะถึงที่พัก ครั้น
ถึงแล้วได้กล่าวกับพระเมตติยะและพระภุมมชกะดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันไหว้
เจ้าค่ะ”
เมื่อเธอกล่าวอย่างนั้น พระเมตติยะและภุมมชกะก็ไม่พูดด้วย
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุณีเมตติยากล่าวกับพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า “ดิฉัน
ไหว้ เจ้าค่ะ”
แม้ครั้งที่ ๓ พระเมตติยะและพระภุมมชกะก็ไม่ยอมพูดด้วย
ภิกษุณีเมตติยากล่าวต่อไปว่า “ดิฉันทำผิดอย่างไรต่อพระคุณเจ้า ทำไม พระ
คุณเจ้าจึงไม่ยอมพูดกับดิฉัน”
ภิกษุทั้งสองตอบว่า “จริงอย่างนั้นแหละ น้องหญิง พวกเราถูกพระทัพพมัลล-
บุตรเบียดเบียน เธอยังเพิกเฉยอยู่ได้”
ภิกษุณีเมตติยาถามว่า “ดิฉันจะช่วยได้อย่างไร เจ้าค่ะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๐๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๒. สติวินัย
ภิกษุทั้งสองตอบว่า “ถ้าเธอเต็มใจช่วย วันนี้แหละพระผู้มีพระภาคต้องให้พระ
ทัพพมัลลบุตรสึก”
ภิกษุณีเมตติยาถามว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันจะทำอย่างไร จะช่วยได้ด้วยวิธีไหน”
ภิกษุทั้งสองตอบว่า “มาเถิด น้องหญิง เธอจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นถึงแล้ว จงกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า เรื่องนี้
ไม่สมควร ไม่เหมาะสม ทิศที่เคยปลอดภัยก็กลับมีภัย ทิศที่ไม่เคยมีเสนียดจัญไรก็
กลับมีเสนียดจัญไร ทิศที่ไม่เคยมีอุปัททวะก็กลับมีอุปัททวะ ในที่ที่ไม่เคยมีลมก็กลับ
มีลมแรง น้ำก็ดูเป็นเหมือนน้ำร้อนขึ้นมา หม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรข่มขืน”
ภิกษุณีเมตติยารับคำของพระเมตติยะและพระภุมมชกะแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่
สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “เรื่องนี้ไม่สมควร ไม่เหมาะสม ทิศที่
เคยปลอดภัยก็กลับมีภัย ที่ที่ไม่เคยมีเสนียดจัญไรก็กลับมีเสนียดจัญไร ทิศที่ไม่เคย
มีอุปัททวะก็กลับมีอุปัททวะ ในที่ที่ไม่เคยมีลมก็กลับมีลมแรง น้ำก็ดูเป็นเหมือนน้ำ
ร้อนขึ้นมา หม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรข่มขืน”
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
[๑๙๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุณี
นี่กล่าวหา”
ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคย่อมทรง
ทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ
เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุณีนี่กล่าวหา” พระทัพพมัลลบุตรก็กราบทูลว่า “พระ
พุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๐๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๒. สติวินัย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่แก้คำกล่าวหาอย่างนี้ ถ้า
เธอทำก็จงบอกว่าทำ ถ้าเธอไม่ได้ทำ ก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ”
พระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่เกิดมา ข้าพระ-
พุทธเจ้าไม่รู้จักการเสพเมถุนธรรมแม้ในความฝัน ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อตอนตื่นอยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึก จงสอบถามภิกษุเหล่านี้” แล้ว
เสด็จจากที่ประทับเข้าพระวิหาร
หลังจากนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึก แต่พระเมตติยะและ
พระภุมมชกะได้แจ้งภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลายอย่าให้นางภิกษุณีเมตติยาสึกเลย
นางไม่มีความผิด พวกกระผมโกรธ ไม่พอใจ ต้องการให้พระทัพพมัลลบุตรพ้นจาก
พรหมจรรย์ จึงชักจูงนาง”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านใส่ความพระทัพพมัลลบุตร
ด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูลหรือ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเมตติยะ
และพระภุมมชกะจึงใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูลเล่า” แล้ว
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุ
เมตติยะและภิกษุภุมมชกะใส่ความทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้สติวินัยแก่ทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่ง
สติแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๐๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ] ๒. สติวินัย
วิธีให้สติวินัยและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สติวินัยอย่างนี้ คือ ภิกษุทัพพมัลลบุตรนั้น พึงเข้า
ไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่ง
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะ
เหล่านี้ ใส่ความกระผมด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล กระผมนั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว
ขอสติวินัยกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะเหล่านี้ใส่
ความกระผมด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล กระผมนั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัย
กับสงฆ์”
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๙๔] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะ
เหล่านี้ใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตร
เป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้
สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะเหล่านี้
ใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้
ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพ-
มัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สติวินัยแก่ท่าน
พระทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็น
ด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
เมตติยะและภิกษุภุมมชกะเหล่านี้ ใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๐๘ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น