Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๗-๑ หน้า ๑ - ๔๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗-๑ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒



พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ

พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๕. ขุททกวัตถุขันธกะ

ขุททกวัตถุ
ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสีกายกับต้นไม้
[๒๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน
ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์๑สรงน้ำขัดสีกาย
คือ ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับต้นไม้
คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงสรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับต้นไม้ เหมือน
พวกนักมวยปล้ำ เหมือนพวกลูกหลานชาวบ้านเล่า”๒

เชิงอรรถ :
๑ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ได้แก่ พวกภิกษุผู้ชอบประพฤติผิดมี ๖ รูป คือ พระปัณฑุกะ พระโลหิตกะ อยู่ในกรุง
สาวัตถี พระเมตติยะ พระภุมมชกะ อยู่ในกรุงราชคฤห์ พระอัสสชิ พระปุนัพพสุกะ เป็นคณาจารย์อยู่
ประจำในกีฏาคีรีชนบท แคว้นกาสี (ม.ม.อ. ๒/๑๗๕/๑๓๘)
๒ มลฺลมุฏฺ�ิกาติ มุฏฺ�ิกมลฺลา คำว่า มลฺลมุฏฺ�ิกา ได้แก่ พวกนักมวยปล้ำ คามปูฏวาติ ฉวิราคมณฺฑนา-
นุยุตฺตา นาคริกมนุสฺสา, คามโปตกาติ ปาโ�. คำว่า คามปูฏวา คือ พวกมนุษย์ชาวเมืองผู้หมกมุ่นอยู่กับ
การประดับ ย้อมผิว จะหมายถึงพวกลูกหลานชาวบ้านก็ได้ (วิ.อ.๓/๒๔๓/๓๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
สันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา จึงตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงสรงน้ำ ขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง
อกบ้าง หลังบ้างกับต้นไม้เล่า”๑
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสี
กาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับต้นไม้ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ
เหล่านั้นไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควร
ทำเลย ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงสรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง
อกบ้าง หลังบ้างกับต้นไม้เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริงกลับ
จะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลาย
เป็นอื่นไป”
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วได้
ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก มักมาก ไม่สันโดษ ความคลุกคลี
ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย สันโดษ

เชิงอรรถ :
๑ บาลีเป็นประโยคเปยยาล แปลเต็มตามนัยแห่งวินัยปิฏกมหาวิภังค์ ๑/๓๙/๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ความขัดเกลา ความกำจัดกิเลส อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียรโดยประการต่าง ๆ ทรงแสดงธรรมีกถาให้เหมาะสม ให้คล้อยตามกับเรื่อง
นั้นแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะสรงน้ำ ไม่พึงขัดสีกาย
กับต้นไม้ รูปใดขัดสี ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสีกายกับเสา
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง
หลังบ้างกับเสา คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรจึงสรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับเสา
เหมือนพวกนักมวยปล้ำ เหมือนพวกลูกหลานชาวบ้านเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ครั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสี
กาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับเสา จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงสรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับเสาเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะสรงน้ำ ไม่พึงขัดสีกายกับเสา รูปใดขัดสี
ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสีกายกับฝา
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง
หลังบ้างกับฝา คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรจึงสรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับฝา
เหมือนพวกนักมวยปล้ำ เหมือนพวกลูกหลานชาวบ้านเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ครั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุฉัพพัคคีย์สรงน้ำ ขัด
สีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับฝา จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษ
เหล่านั้นจึงสรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับฝาเล่า ภิกษุ
ทั้งหลาย การทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสหรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่
แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะสรงน้ำ ไม่พึงขัดสีกายกับฝา รูปใด
ขัดสี ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์สรงน้ำในที่ไม่สมควร
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อสรงน้ำ สรงน้ำในที่ไม่สมควร๑ คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ครั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สรงน้ำในที่ที่
ไม่สมควร จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงสรงน้ำในที่ที่ไม่สมควรเล่า ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะสรงน้ำ ไม่พึงสรงในที่ที่ไม่สมควร
รูปใดสรง ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้มือที่ทำด้วยไม้หอมถูกายสรงน้ำเป็นต้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ใช้มือที่ทำด้วยไม้หอมถูกายสรงน้ำ๒ ฯลฯ คน
ทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”

เชิงอรรถ :
๑ ที่ไม่สมควร ในที่นี้หมายถึงเสาถูตัวคือต้นไม้ที่เขาถากเรียบคล้ายแผ่นกระดาน สกัดเป็นรอยดังกระดาน
หมากรุก ปัก ฝังไว้ที่ท่าอาบน้ำ พวกชาวบ้านนำจุรณมาโรยที่เสาถูตัวนั้นแล้วถูกายที่เสานั้น (วิ.อ. ๓/๒๔๓/
๓๐๒, วิ.สงฺคห. ๒๑/๔๙๕)
๒ คนฺธพฺพหตฺถก คือ มือที่ทำด้วยไม้ ได้แก่ มือที่ทำด้วยไม้ซึ่งเขาวางไว้ที่ท่าอาบน้ำ คนทั้งหลายใช้มือนั้น
ตักจุรณขัดสีกาย (วิ.อ. ๓/๒๔๓/๓๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้มือที่ทำด้วยไม้หอมถู
กายสรงน้ำ รูปใดใช้สรง ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สรงน้ำโดยใช้เชือกชุบจุรณศิลาสีเหมือนพลอย
แดง(ถูตัว) คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์
ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสรงน้ำโดยใช้เชือกชุบจุรณ
ศิลาสีเหมือนพลอยแดง(ถูกาย) รูปใดใช้สรง ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ต่างทำบริกรรมให้แก่กันและกัน๑ คนทั้งหลายจึง
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำบริกรรมให้แก่กันและกัน
รูปใดถู ตัองอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ไม้บังเวียนจักเป็นฟันมังกรถูกายสรงน้ำ คน
ทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ไม้บังเวียนจักเป็นฟัน
มังกรถูกายสรงน้ำ รูปใดถู ต้องอาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
๑ ทำบริกรรมแก่กันและกันในน้ำ ในที่นี้หมายถึงการขัดถูร่างกายให้กัน (วิ.สงฺคห. ๑๘๓/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องภิกษุเป็นโรคหิด
[๒๔๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นโรคหิด ขาดไม้บังเวียนจักเป็นฟันมังกร ย่อม
ไม่มีความสบาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้บังเวียนที่ไม่จักเป็นฟัน
มังกรแก่ภิกษุผู้เป็นไข้”
เรื่องภิกษุทุพลภาพเพราะชรา
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งทุพลภาพเพราะชรา เมื่อสรงน้ำ ไม่สามารถจะถูกาย
ตนได้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเกลียวผ้า”
ทรงอนุญาตให้ใช้มือถูหลัง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยำเกรงที่จะถูหลัง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้มือถูหลัง”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ
[๒๔๕] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับหู ... ใช้สร้อยสังวาล ...
ใช้สร้อยคอ ... ใช้เครื่องประดับเอว ... ใช้วลัย ... ใช้สร้อยตาบ ... ใช้เครื่องประดับข้อ
มือ ... ใช้แหวนสวมนิ้วมือ คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ
เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ครั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับหู ... ใช้สร้อยสังวาล ... ใช้สร้อยคอ ... ใช้เครื่อง
ประดับเอว ... ใช้วลัย ... ใช้สร้อยตาบ .... ใช้เครื่องประดับข้อมือ ... ใช้แหวนสวม
นิ้วมือ จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้เครื่องประดับหู ... ไม่พึงใช้
สร้อยสังวาล ... ไม่พึงใช้สร้อยคอ ... ไม่พึงใช้เครื่องประดับเอว ... ไม่พึงใช้วลัย ... ไม่
พึงใช้สร้อยตาบ ... ไม่พึงใช้เครื่องประดับข้อมือ ... ไม่พึงใช้แหวนสวมนิ้วมือ รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ไว้ผมยาว
[๒๔๖] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไว้ผมยาว
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไว้ผมยาว รูปใดไว้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไว้ผมยาวได้ ๒ เดือน หรือยาวได้
๒ นิ้ว”๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้แปรงหวีผมเป็นต้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้แปรงหวีผม ... ใช้หวีหวีผม ... ใช้นิ้วมือต่าง
หวีเสยผม ... ใช้น้ำมันผสมกับขี้ผึ้งเสยผม ... ใช้น้ำมันผสมกับน้ำเสยผม

เชิงอรรถ :
๑ ถ้าภายใน ๒ เดือน ผมยาวถึง ๒ นิ้ว พึงตัดภายใน ๒ เดือน ไม่ควรปล่อยให้ยาวเกิน ๒ นิ้ว หรือ
แม้ผมจะยังไม่ยาวก็ไม่ควรปล่อยไว้เกิน ๒ เดือนไปแม้แต่วันเดียว (วิ.อ. ๓/๒๔๖/๓๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้แปรงหวีผม ... ไม่พึงใช้
หวีหวีผม ... ไม่พึงใช้นิ้วมือต่างหวีเสยผม ... ไม่พึงใช้น้ำมันผสมกับขี้ผึ้งเสยผม ... ไม่
พึงใช้น้ำมันผสมกับน้ำเสยผม รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ส่องดูเงาหน้า
[๒๔๗] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ส่องดูเงาหน้าที่คันฉ่องบ้าง ในภาชนะ
ใส่น้ำบ้าง คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงดูเงาหน้าที่คันฉ่องหรือใน
ภาชนะใส่น้ำ รูปใดดู ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องภิกษุเป็นแผลที่หน้า
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นแผลที่หน้า ถามภิกษุทั้งหลายว่า “แผลของกระผม
เป็นอย่างไรขอรับ” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “เป็นอย่างนี้ ๆ ขอรับ” ภิกษุนั้นไม่เชื่อ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาพาธเป็นปัจจัย เราอนุญาต
ให้ตรวจดูรอยตำหนิบนใบหน้าที่คันฉ่องหรือที่ภาชนะใส่น้ำได้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ทาหน้าเป็นต้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทาหน้า ... ถูหน้า ... ผัดหน้า ... เจิมหน้าด้วย
มโนศิลา๑... ย้อมตัว ... ย้อมหน้า ... ย้อมทั้งตัวและหน้า
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทาหน้า ... ไม่พึงถูหน้า
... ไม่พึงผัดหน้า ... ไม่พึงเจิมหน้าด้วยมโนศิลา ... ไม่พึงย้อมตัว ... ไม่พึงย้อมหน้า
... ไม่พึงย้อมทั้งตัวและหน้า รูปใดย้อม ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องภิกษุอาพาธเป็นโรคตา
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคตา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาพาธเป็นปัจจัย เราอนุญาต
ให้ทาหน้าได้ ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ดูมหรสพ
[๒๔๘] สมัยนั้น มีมหรสพบนยอดเขาในกรุงราชคฤห์ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไป
เที่ยวดูมหรสพ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การบรรเลงดนตรีบ้าง เหมือน
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า” ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ มโนศิลา คือหินอ่อนที่ย่อยให้ละเอียดประสมเป็นสีทาสิ่งอื่นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปดูการฟ้อนรำ การ
ขับร้อง หรือการบรรเลงดนตรี รูปใดไปดู ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์สวดธรรมด้วยเสียงขับยาว
[๒๔๙] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สวดธรรมด้วยเสียงขับยาวคล้ายเพลงขับ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงสวดธรรมด้วยเสียงขับยาว เหมือนพวกเราขับร้องเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยิน
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงสวดธรรมด้วยเสียงขับยาวเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สวด
ธรรมด้วยเสียงขับยาว จริงหรือ” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สวดธรรมด้วยเสียงขับยาวมีโทษ ๕
ประการนี้ โทษ ๕ ประการคือ
๑. แม้ตนเองก็กำหนัดในเสียงนั้น
๒. แม้ผู้อื่นก็กำหนัดในเสียงนั้น
๓. แม้คหบดีทั้งหลายก็ตำหนิ
๔. เมื่อภิกษุพอใจการทำเสียง ความเสื่อมแห่งสมาธิย่อมมี
๕. ภิกษุรุ่นหลังจะพากันตามอย่าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สวดธรรมด้วยเสียงขับยาว มีโทษ ๕ ประการนี้แล๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกล่าวธรรมด้วยเสียงขับยาว รูปใดสวด ต้องอาบัติ
ทุกกฏ”
เรื่องภิกษุสวดสรภัญญะ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงในการสวดสรภัญญะ
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการสวดเป็นทำนอง
สรภัญญะ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าห่มขนสัตว์
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าห่มขนสัตว์ให้ด้านที่มีขนอยู่ด้านนอก คน
ทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ผ้าห่มขนสัตว์ให้ด้าน
ที่มีขนอยู่ด้านนอก รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ฉันมะม่วง
[๒๕๐] สมัยนั้น มะม่วงที่พระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
กำลังออกผล พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐทรงอนุญาตว่า “ขอนิมนต์พระคุณเจ้า
ทั้งหลายฉันผลมะม่วงตามสบายเถิด”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สอยมะม่วงเลือกเอาเฉพาะผลอ่อน ๆ เท่านั้นมาฉัน

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๙/๓๕๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐมีพระราชประสงค์จะเสวยมะม่วง ลำดับนั้น
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ จึงรับสั่งเจ้าหน้าที่ทั้งหลายว่า “ท่านจงไปสวน
เก็บผลมะม่วงมา”
เจ้าหน้าที่เหล่านั้นรับพระราชดำรัสแล้วไปที่สวน บอกคนเฝ้าสวนว่า “นาย
พระราชามีพระราชประสงค์จะเสวยผลมะม่วง ท่านจงให้ผลมะม่วง”
คนเฝ้าสวนตอบว่า “มะม่วงไม่มี ภิกษุสอยผลอ่อน ๆ ไปฉันหมดแล้ว”
ครั้งนั้น เจ้าหน้าที่เหล่านั้นนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธ
รัฐให้ทรงทราบ
ท้าวเธอตรัสว่า “ภิกษุฉันมะม่วงหมดก็ดีแล้ว แต่พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญ
การรู้จักประมาณ”
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรไม่รู้จักประมาณ ฉันมะม่วงของพระราชาหมดเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันมะม่วง รูปใดฉัน ต้อง
อาบัติทุกกฏ”
เรื่องสมาคมถวายชิ้นมะม่วง
สมัยนั้น สมาคมหนึ่งถวายสังฆภัต ใส่ชิ้นผลมะม่วงในกับข้าว ภิกษุทั้งหลาย
ยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมรับประเคน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรับประเคนฉันเถิด ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตมะม่วงเป็นชิ้น ๆ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องผลไม้ที่สมควรแก่สมณะ
สมัยนั้น สมาคมหนึ่งถวายสังฆภัต พวกเขาไม่รู้จักทำมะม่วงเป็นชิ้น ๆ จึงนำ
เข้าไปในโรงอาหารทั้งผล ภิกษุทั้งหลาย ยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมรับประเคน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรับประเคนฉันได้ ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ที่สมควรแก่สมณะ ๕ อย่าง คือ
๑. ผลไม้ที่ลนไฟ ๒. ผลไม้ที่กรีดด้วยศัสตรา
๓. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ ๔. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
๕. ผลไม้ที่ปล้อนเอาเมล็ดออกแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ที่สมควรแก่สมณะ ๕ อย่างนี้แล”
เรื่องภิกษุถูกงูกัด ๑
[๒๕๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นคงจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตให้
ตระกูลพญางู ๔ ตระกูล เพราะถ้าภิกษุนั้นแผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูลนี้
ภิกษุนั้นก็จะไม่ถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพ
ตระกูลพญางูทั้ง ๔
ตระกูลพญางู ๔ ตระกูล คือ
๑. ตระกูลพญางูชื่อวิรูปักษ์ ๒. ตระกูลพญางูชื่อเอราปถะ
๓. ตระกูลพญางูชื่อฉัพยาบุตร ๔. ตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๗/๑๑๐-๑๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นคงจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูลนี้
เพราะถ้าภิกษุนั้นแผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูลนี้ ภิกษุนั้นจะไม่ถูกงูกัด
ถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูลนี้
เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน
วิธีแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงแผ่เมตตาอย่างนี้
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูวิรูปักษ์
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูเอราปถะ
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูฉัพยาบุตร
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูกัณหาโคตมกะ
เราขอมีเมตตาต่อเหล่าสัตว์ที่ไม่มีเท้า
เราขอมีเมตตาต่อเหล่าสัตว์สองเท้า
เราขอมีเมตตาต่อเหล่าสัตว์สี่เท้า
เราขอมีเมตตาต่อเหล่าสัตว์หลายเท้า
สัตว์ไม่มีเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์สองเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์สี่เท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์หลายเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
ขอสรรพสัตว์ที่มีลมหายใจ
ขอสรรพสัตว์ที่ยังมีชีวิตทั้งมวล จงประสบกับความเจริญ
ความเลวร้ายอย่าได้มาแผ้วพานสัตว์ใด ๆ เลย
พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ พระธรรมมีพระคุณหาประมาณมิได้
พระสงฆ์มีพระคุณหาประมาณมิได้ สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมงป่อง ตะขาบ
แมงมุม ตุ๊กแก หนู มีคุณพอประมาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เราทำการรักษาแล้ว ทำการป้องกันแล้ว ขอหมู่สัตว์ผู้มีชีวิตจงหลีกไป เรานั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาค ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์“๑
เรื่องภิกษุตัดองคชาต
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกความไม่ยินดีบีบคั้น ได้ตัดองคชาตของตน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้น เมื่อสิ่งอื่นที่ควรตัด
มีอยู่ กลับไปตัดอีกสิ่งหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงตัดองคชาตของตน รูปใดตัด
ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
เรื่องบาตรไม้จันทน์
[๒๕๒] สมัยนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์มีปุ่มแก่นจันทน์มีค่ามาก ครั้งนั้นแล
ท่านเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้มีความคิดดังนี้ว่า “ถ้ากระไร เราจะให้กลึงปุ่มไม้จันทน์
นี้เป็นบาตร ผงไม้จันทน์ที่เหลือจะเก็บไว้ใช้แล้วให้บาตรเป็นทาน”
ลำดับนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ให้กลึงปุ่มไม้จันทน์นั้นเป็นบาตร ใส่สาแหรก
แขวนไว้ที่ปลายไม้ไผ่โดยผูกต่อ ๆ กันขึ้นไปแล้วประกาศอย่างนี้ว่า “สมณะหรือพราหมณ์
รูปใดที่เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ จงเหาะขึ้นไปปลดบาตรที่เราให้แล้วนำไปเถิด”
ครั้งนั้น เจ้าลัทธิปูรณกัสสปะเข้าไปหาเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว
ได้กล่าวกับเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ดังนี้ว่า “คหบดี อาตมานี่แหละเป็นพระอรหันต์
และมีฤทธิ์ ท่านโปรดให้บาตรแก่อาตมาเถิด”
เศรษฐีตอบว่า “ถ้าท่านเป็นพระอรหันต์มีฤทธิ์ก็จงเหาะขึ้นไปปลดบาตรที่เราให้
แล้วเองเถิด”

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ชา.(แปล) ๒๗/๑๐๕-๑๐๖/๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ครั้งนั้น เจ้าลัทธิมักขลิโคสาล ... เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพล ... เจ้าลัทธิปกุธ-
กัจจายนะ ... เจ้าลัทธิสัญชัยเวลัฏฐบุตร ... เจ้าลัทธินิครนถ์นาฏบุตรเข้าไปหาเศรษฐี
ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกับเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ดังนี้ว่า “คหบดี อาตมานี่แหละ
เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ ท่านโปรดให้บาตรแก่อาตมาเถิด”
เศรษฐีตอบว่า “ถ้าท่านเป็นพระอรหันต์มีฤทธิ์ก็จงเหาะขึ้นไปปลดบาตรที่เราให้
แล้วเองเถิด”
ครั้นเช้าวันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะกับท่านพระปิณโฑลภารทวาชะครอง
อันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
แม้ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ แม้ท่านพระมหา
โมคคัลลานะก็เป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์เช่นกัน
ครั้งนั้น ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะกล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“ท่านโมคคัลลานะ ท่านเป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ ท่านจงไปปลดบาตรใบนั้นลงมาเถิด
นั่นคือบาตรของท่าน”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า “ท่านปิณโฑลภารทวาชะ ท่านเป็นพระอรหันต์
และเป็นผู้มีฤทธิ์ ท่านจงไปปลดบาตรใบนั้นลงมาเถิด นั่นบาตรของท่าน”
ลำดับนั้น ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะได้เหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าถือบาตรนั้นลอย
เวียนไปรอบกรุงราชคฤห์ ๓ รอบ ขณะนั้น เศรษฐีพร้อมกับบุตรภรรยายืนอยู่ในบ้าน
ของตนประนมมือไหว้พลางนิมนต์ว่า “ท่านภารทวาชะ ท่านโปรดแวะหยุดในบ้านของ
พวกเราเถิด”
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะแวะหยุดในบ้านของท่านเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์
ลำดับนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์รับบาตรจากมือท่านพระปิณโฑลภารทวาชะแล้ว
บรรจุของเคี้ยวมีค่ามากจนเต็มบาตรแล้วได้ถวายท่าน ครั้งนั้น ท่านพระปิณโฑล-
ภารทวาชะรับบาตรแล้วกลับไปอาราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
คนทั้งหลายได้ทราบว่า “พระคุณเจ้าปิณโฑลภารทวาชะปลดบาตรของท่านเศรษฐี
ชาวกรุงราชคฤห์ลงมาแล้ว” จึงพากันส่งเสียงอึกทึกกึกก้องพากันติดตามท่านพระ
ปิณโฑลภารทวาชะไป
พระผู้มีพระภาคทรงสดับเสียงอึกทึกกึกก้องนั้น จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์
มารับสั่งถามว่า “อานนท์ นั่นเสียงอึกทึกกึกก้องอะไร”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นไปปลด
บาตรของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ คนทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า ‘‘พระคุณเจ้าปิณโฑล-
ภารทวาชะปลดบาตรของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ลงมาแล้ว’ จึงพากันส่งเสียงอึกทึก
กึกก้อง พากันติดตามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะไป นี่คือเสียงอึกทึกกึกก้องนั้น
พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ตรัส
ถามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะว่า “ภารทวาชะ ทราบว่าเธอปลดบาตรของเศรษฐี
ชาวกรุงราชคฤห์ลงมา จริงหรือ”
พระปิณโฑลภารทวาชะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงห้ามใช้บาตรไม้
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภารทวาชะ การกระทำของเธอไม่สมควร
ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย ภารทวาชะ
ไฉนเธอจึงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นอุตตริมนุสสธรรม๑ แก่คนทั้งหลายเพราะเหตุ
แห่งบาตรไม้ไม่มีค่าเล่า การที่เธอแสดงปาฏิหาริย์เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ที่ไม่มีค่า

เชิงอรรถ :
๑ อุตตริมนุสสธรรม ดูรายละเอียดใน วิ.มหา. (แปล) ๑/๑๙๘/๑๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เปรียบเหมือนกับมาตุคามแสดงของที่ควรปกปิดเพราะเห็นแก่เงินตราเล็กน้อยฉะนั้น
ภารทวาชะ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้น
ทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นอุตตริมนุสสธรรมแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย รูปใด
แสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทำลายบาตรใบนั้น บดให้ละเอียด
แล้วใช้เป็นยาหยอดตาของภิกษุ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรไม้ รูปใดใช้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้บาตรชนิดต่าง ๆ
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้บาตรชนิดต่าง ๆ คือ บาตรทองคำ บาตรเงิน
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรทองคำ ... ไม่พึงใช้
บาตรเงิน ... ไม่พึงใช้บาตรแก้วมณี ... ไม่พึงใช้บาตรแก้วไพฑูรย์ ... ไม่พึงใช้บาตร
แก้วผลึก ... ไม่พึงใช้บาตรสัมฤทธิ์ ... ไม่พึงใช้บาตรกระจก ... ไม่พึงใช้บาตรดีบุก
... ไม่พึงใช้บาตรตะกั่ว ... ไม่พึงใช้บาตรทองแดง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตบาตร ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็ก บาตรดิน”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้เชิงบาตรชนิดต่าง ๆ
[๒๕๓] สมัยนั้น ก้นบาตรสึกหรอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชิงบาตร”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้เชิงบาตรชนิดต่าง ๆ คือ ทำด้วยทอง ทำด้วย
เงิน คนทั้งหลาย ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้เชิงบาตรชนิดต่าง ๆ
รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชิงบาตร ๒ ชนิด คือ ทำ
ด้วยดีบุก ทำด้วยตะกั่ว”
เชิงบาตรหนาไม่เหมาะกับก้นบาตร ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กลึงเชิงรองบาตร”
เชิงรองบาตรกลึงแล้วก็ยังไม่เรียบ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จักเป็นฟันมังกร”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้เชิงรองบาตรสวยงามตระการตา มีลวดลาย
เป็นรูปภาพ เที่ยวเดินอวดไปตามถนน คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้เชิงรองบาตรสวยงาม
ตระการตา มีลวดลายเป็นรูปภาพ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตเชิงรองบาตรชนิดธรรมดา”
เรื่องการเก็บรักษาบาตร
[๒๕๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรไว้ทั้งที่ยังไม่แห้ง บาตรเหม็นอับ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้ทั้งที่ยังไม่แห้ง
รูปใดเก็บไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เอาบาตรผึ่งแดดก่อน
แล้วจึงค่อยเก็บ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเอาบาตรผึ่งแดดไว้ทั้งที่ยังมีน้ำ บาตรมีกลิ่นเหม็น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเอาบาตรผึ่งแดดทั้งที่ยัง
มีน้ำ รูปใดเอาผึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เช็ดบาตรเสียก่อน
แล้วจึงค่อยผึ่งแดดเก็บไว้”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ในที่ร้อน ผิวบาตรเสีย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้ในที่ร้อน รูป
ใดวาง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เอาบาตรผึ่งแดดไว้ในที่ร้อน
สักชั่วครู่แล้วจึงค่อยเก็บ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายวางบาตรจำนวนมากที่ไม่มีเชิงรองไว้ในที่แจ้ง บาตรถูก
ลมพายุพัดกลิ้งตกแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่วางบาตร”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ที่ริมตั่งไม้๑ บาตรกลิ้งตกแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้ที่ริมตั่งไม้ รูปใด
วางไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ที่ริมตั่งไม้เล็กนอกฝา บาตร กลิ้งตกแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้ที่ริมตั่งไม้เล็ก
นอกฝา รูปใดวาง ต้องอาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
๑ มีรูปทรงคล้ายแท่นบูชาทำด้วยไม้หรือดินเหนียวเหมือนเตียง วางไว้อยู่ตามระเบียง (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๓๐๖,
วิมติ.ฏีกา ๒/๒๙๖/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายคว่ำบาตรไว้ที่พื้นดิน ขอบบาตรสึกหรอ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หญ้ารอง”
หญ้าที่รองถูกปลวกกัด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ท่อนผ้ารอง”
ท่อนผ้าถูกปลวกกัด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตชั้นวางบาตร”
บาตรกลิ้งตกจากชั้นวางแตก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หม้อปากกว้างเก็บ
บาตร”
บาตรครูดสีกับหม้อปากกว้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ถลกบาตร”
สายโยกไม่มี ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายแขวนบาตรไว้ที่ไม้เดือยข้างฝาบ้าง ที่งาช้างบ้าง บาตร
พลัดตกแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแขวนบาตรไว้ รูปใดแขวนไว้
ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรไว้บนเตียง เผลอสตินั่งทับบาตรแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้บนเตียง รูปใด
เก็บไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรไว้บนตั่ง เผลอสตินั่งทับบาตรแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้บนตั่ง รูปใด
เก็บไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรไว้บนตัก เผลอสติลุกขึ้น บาตรตกแตก ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้บนตัก รูปใดวางไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรไว้บนกลด กลดถูกลมพายุพัด บาตรตกแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้บนกลด รูปใดเก็บไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
[๒๕๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือบาตรอยู่ผลักบานประตูเข้าไป บาตรกระทบ
บานประตูแตก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ
รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถือบาตรผลักบานประตูเข้าไป รูปใดผลัก ต้อง
อาบัติทุกกฏ”
เรื่องการใช้วัตถุอื่นแทนบาตร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้กะโหลกน้ำเต้าเที่ยวบิณฑบาต คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนพวกเดียรถีย์”ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้
กะโหลกน้ำเต้าเที่ยวบิณฑบาต รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้หม้อกระเบื้องเที่ยวบิณฑบาต คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนพวกเดียรถีย์” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้
หม้อกระเบื้องเที่ยวบิณฑบาต รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถือของทุกอย่างเป็นของบังสุกุล๑ ท่านใช้บาตรกะโหลกผี
สตรีผู้หนึ่งเห็นแล้วกลัวส่งเสียงร้องว่า “ผู้นี้เป็นปีศาจแน่” คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงใช้บาตรกะโหลกผี เหมือน
พวกปีศาจเล่า” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรกะโหลกผี รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรมีของใช้ทุกอย่างเป็นของบังสุกุล รูปใดมี
ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้บาตรรองรับเศษอาหารบ้าง ก้างบ้าง น้ำบ้วนปากบ้าง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้
ฉันในภาชนะที่ตัวเองใช้เป็นกระโถน” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรรองรับเศษอาหาร
ก้างหรือน้ำบ้วนปาก รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้
กระโถน”

เชิงอรรถ :
๑ ถือของทุกอย่างเป็นของบังสุกุล หมายเอาเฉพาะเครื่องใช้สอย เช่น จีวร เตียง ตั่ง ไม่ได้หมายถึง
ของเคี้ยวของฉัน เพราะของเคี้ยวของฉันต้องเป็นของที่เขาถวายแล้วเท่านั้น จึงควรถือเอา (วิ.อ. ๓/๒๕๕/
๓๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องภิกษุใช้มือฉีกผ้าเย็บจีวรเป็นต้น
[๒๕๖] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้มือฉีกผ้าเย็บจีวร จีวรมีแนวไม่เสมอกัน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตมีดมีผ้าพัน”
สมัยนั้น มีดมีด้ามเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้มีดมีด้าม”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ด้ามมีดชนิดต่าง ๆ คือ ทำด้วยทอง ทำด้วยเงิน
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ด้ามมีดชนิดต่าง ๆ รูป
ใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ด้ามมีดทำด้วยกระดูก งา เขา
สัตว์ ไม้อ้อ ไม้ไผ่ ไม้ธรรมดา ครั่ง เมล็ดผลไม้ โลหะ กระดองสังข์”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้ขนไก่บ้าง ไม้กลัดบ้างเย็บจีวร จีวรที่เย็บแล้วไม่
เรียบร้อย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้เข็ม”
เข็มขึ้นสนิม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กล่องเข็ม”
แม้ในกล่องเข็มก็ยังขึ้นสนิม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เอาแป้งข้าวหมากโรย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
แม้ในแป้งข้าวหมากเข็มก็ยังขึ้นสนิม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เอาแป้งเจือขมิ้นผงโรย”
แม้ในแป้งเจือขมิ้นผง เข็มก็ยังขึ้นสนิม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ฝุ่นศิลา”
แม้ในฝุ่นศิลา เข็มก็ยังขึ้นสนิม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทาด้วยขี้ผึ้ง”
ฝุ่นศิลาแตก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้ามัดขี้ผึ้งพอกฝุ่น
ศิลา”
เรื่องไม้สะดึงเป็นต้น
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายตอกหลักลงในที่นั้น ๆ แล้วผูกขึงเย็บจีวร มุมจีวรเสีย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้สะดึง เชือกผูกไม้สะดึง
ให้ผูกลงในที่นั้น ๆ เย็บจีวร”
ภิกษุทั้งหลายขึงไม้สะดึงในที่ไม่เรียบ ไม้สะดึงหัก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขึงไม้สะดึงในที่ไม่เรียบ
รูปใดขึง ต้องอาบัติทุกกฏ”
ภิกษุทั้งหลายขึงไม้สะดึงบนพื้นดิน ไม้สะดึงเปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หญ้ารอง”
ขอบไม้สะดึงชำรุด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดามขอบเหมือนผ้า
อนุวาต”
ไม้สะดึงไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้สะดึงเล็ก ไม้ประกบ
ซี่ไม้สำหรับสอดเข้าระหว่างจีวร ๒ ชั้น เชือกรัดสะดึงในกับสะดึงนอก ด้ายผูกจีวร
กับสะดึงใน ครั้นขึงแล้วจึงเย็บจีวร”
ระยะแนวด้าย(ที่เย็บ)ไม่เสมอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำหมายระยะไว้”
แนวด้ายคด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเส้นบรรทัด”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ได้ล้างเท้าเหยียบไม้สะดึง ไม้สะดึงเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้เท้าเปื้อนเหยียบไม้สะดึง
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเท้าเปียกเหยียบไม้สะดึง ไม้สะดึงเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้เท้าเปียกเหยียบไม้สะดึง
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายสวมรองเท้าเหยียบไม้สะดึง ไม้สะดึงเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าเหยียบไม้สะดึง
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรใช้นิ้วมือรับเข็ม นิ้วมือเจ็บ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ปลอกสวมนิ้วมือ”
[๒๕๗] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ปลอกสวมนิ้วมือชนิดต่าง ๆ คือ ทำ
ด้วยทอง ทำด้วยเงิน คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือน
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ปลอกสวมนิ้วมือชนิด
ต่าง ๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ปลอกสวมนิ้วมือ
ทำด้วย กระดูก ฯลฯ กระดองสังข์”
สมัยนั้น เข็ม มีด ปลอกสวมนิ้วมือเสียหาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล่องเก็บเครื่องเย็บผ้า”
ภิกษุทั้งหลายมัวพะวงอยู่แต่ในกล่องเก็บเครื่องเย็บผ้า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงเก็บปลอกสวมนิ้วมือ”
สายโยกไม่มี ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องโรงสะดึงเป็นต้น
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรอยู่ในที่แจ้ง ลำบากเพราะความหนาวบ้าง เพราะ
ความร้อนบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงสะดึง ปะรำสะดึง”
โรงสะดึงมีพื้นต่ำ น้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓
ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันได
อิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
สมัยนั้น ผงหญ้าตกเกลื่อนในโรงสะดึง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบก
ฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวดลายดอกจอก ราวจีวร สาย
ระเดียง”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรเสร็จแล้ว ทิ้งไม้สะดึงไว้ที่นั้นแล้วจากไป หนูบ้าง
ปลวกบ้างกัดกิน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ม้วนไม้สะดึงเก็บไว้”
ไม้สะดึงหัก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอดท่อนไม้ม้วนไม้สะดึง
เข้าไป”
ไม้สะดึงคลี่ออกภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกผูก”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยกไม้สะดึงเก็บไว้ที่ฝาบ้าง ที่เสาบ้างแล้วจากไป ไม้
สะดึงพลัดตกเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แขวนไว้ที่เดือยข้างฝา
หรือที่ไม้ทำเป็นรูปงาช้าง”
[๒๕๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ตามพระ
อัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้บาตรใส่เข็มบ้าง
มีดบ้าง เครื่องยาบ้าง เดินทางไป
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงเก็บเครื่องยา”
สายโยกไม่มี ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งผูกรองเท้าไว้กับประคตเอวเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน อุบาสก
คนหนึ่งไหว้ภิกษุนั้น ศีรษะกระทบรองเท้า ภิกษุนั้นเก้อเขิน ครั้นกลับไปวัดจึงเล่า
เรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงเก็บรองเท้า”
สายโยกไม่มี ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก”
เรื่องผ้ากรองน้ำ
สมัยนั้น น้ำในระหว่างทางเป็นอกัปปิยะ๑ ผ้ากรองก็ไม่มี
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองน้ำ”
ท่อนผ้าไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองมีรูปคล้ายทัพพี”
ผ้าไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกระบอกกรองน้ำ”
[๒๕๙] สมัยนั้น ภิกษุ ๒ รูปเดินไปแคว้นโกศล รูปหนึ่งประพฤติไม่
สมควร ภิกษุรูปที่ ๒ จึงได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่านอย่าทำอย่างนั้น นั่นไม่
สมควร” ภิกษุนั้นกลับโกรธ

เชิงอรรถ :
๑ อกัปปิยะ หมายถึงไม่ควร น้ำเป็นอกัปปิยะในที่นี้คือน้ำขุ่นไม่ควรดื่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ครั้งนั้น ภิกษุ(รูปที่กล่าวเตือน)นั้นกระหายน้ำ อ้อนวอนรูปที่โกรธดังนี้ว่า “ท่าน
โปรดให้ผ้ากรองน้ำ ผมจักดื่มน้ำ” ภิกษุรูปที่โกรธไม่ยอมให้ ภิกษุรูป(ที่กล่าวเตือน)
นั้นกระหายน้ำจนถึงแก่มรณภาพ ครั้นภิกษุไปถึงวัดได้เล่าเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “เพื่อนอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำ ท่านไม่ให้หรือ”
ภิกษุผู้โกรธนั้นตอบว่า “อย่างนั้น ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุถูกขอผ้ากรอง
น้ำจึงไม่ให้เล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอถูกอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำก็ไม่ให้ จริงหรือ”
ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำของเธอไม่สมควร
ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย โมฆบุรุษ
ไฉนเธอเมื่อถูกอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำจึงไม่ให้เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เดินทางไกลเมื่อถูกเขาอ้อนวอน ขอผ้า
กรองน้ำจะไม่ให้ไม่ได้ รูปใดไม่ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีผ้า
กรองน้ำ ไม่พึงเดินทางไกล รูปใดเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าไม่มีผ้ากรองน้ำหรือ
กระบอกกรองน้ำ แม้มุมสังฆาฏิก็ควรอธิษฐานใช้กรองดื่มได้”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงเวสาลี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ในกรุงเวสาลีนั้น
สมัยนั้น ภิกษุทำนวกรรม(การก่อสร้าง) ผ้ากรองน้ำไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองน้ำมีขอบ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ผ้านั้นก็ไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดผ้าลงบนน้ำ”
เรื่องทรงอนุญาตกุฎีกันยุง
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถูกยุงรบกวน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกุฎีกันยุง”๑
เรื่องทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ
[๒๖๐] สมัยนั้น ทายกทายิกาในกรุงเวลาสีจัดตั้งภัตตาหารประณีตไว้ตาม
ลำดับ ภิกษุฉันภัตตาหารประณีต จนร่างกายอ้วนจึงมีอาพาธมาก
ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจมีธุระต้องเดินทางไปกรุงเวสาลี เห็นภิกษุทั้งหลาย
มีร่างกายอ้วน มีอาพาธมาก จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า เวลานี้ภิกษุมีร่างกายอ้วน มีอาพาธมาก ขอประทาน
พระวโรกาส พระองค์โปรดอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ ด้วยวิธีการอย่างนี้ ภิกษุ
ทั้งหลายจักได้มีอาพาธน้อย”
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้หมอชีวกโกมารภัจเห็นชัด ชวนให้อยากรับไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ลำดับนั้น หมอชีวกโกมารภัจผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวน
ให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว
ทูลลากลับ

เชิงอรรถ :
๑ กุฎีกันยุง คือกุฎีที่ทำด้วยจีวรเพื่อป้องกันยุง (วิ.อ. ๓/๒๕๙/๓๑๐, ปาจิตฺยาทิโยชนา ๒๕๙/๔๕๗ ม.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจงกรมในที่ขรุขระ เท้าเจ็บ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำที่จงกรมให้เรียบ”
สมัยนั้น ที่จงกรมมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจงกรมอยู่ในที่จงกรมพลัดตกลงมา ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรั้วรอบที่จงกรม”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจงกรมอยู่กลางแจ้ง ย่อมลำบากเพราะอากาศหนาวบ้าง
อากาศร้อนบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตศาลาจงกรม”
ผงหญ้าตกเกลื่อนในศาลาจงกรม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ
ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียน
ลวดลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สมัยนั้น เรือนไฟมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
เรือนไฟไม่มีบานประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง
กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก”
เชิงฝาเรือนไฟชำรุด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉาบรอบ ๆ”
เรือนไฟไม่มีช่องระบายควัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตช่องระบายควัน”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทำที่ตั้งเตาไว้กลางเรือนไฟขนาดเล็ก ไม่มีบริเวณ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำที่ตั้งเตาไฟไว้ด้าน
หนึ่งในเรือนไฟขนาดเล็ก ในเรือนไฟขนาดใหญ่ตั้งไว้ตรงกลางได้”
ไฟในเรือนไฟแผดเผาหน้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตดินสำหรับทาหน้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุใช้มือละเลงดิน ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
รางละลายดิน”
ดินมีกลิ่นเหม็น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้อบกลิ่น”
สมัยนั้น ไฟในเรือนไฟแผดเผากาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้นำน้ำเข้าไป”
ภิกษุทั้งหลายใช้ถาดบ้าง บาตรบ้างนำน้ำเข้าไป ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่ใส่น้ำ ขันน้ำ”
เรือนไฟที่มุงบังด้วยหญ้าไม่อบเหงื่อ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก”
เรือนไฟมีพื้นลื่น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ปูเครื่องลาด ๓ ชนิด คือ เครื่องลาดอิฐ เครื่องลาดศิลา เครื่องลาดไม้”
เรือนไฟก็ยังลื่นอยู่อย่างนั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ชำระล้าง”
น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบาย
น้ำ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งบนพื้นดินในเรือนไฟ คันตามเนื้อตัว ฯลฯ พระผู้มี
พระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งในเรือนไฟ”
สมัยนั้น เรือนไฟยังไม่ได้ล้อมรั้ว ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ ชนิด คือ รั้วอิฐ รั้วศิลา รั้วไม้”
เรือนไฟไม่มีซุ้ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้ม”
ซุ้มมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
ซุ้มยังไม่มีประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
บานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน
ลิ่ม ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก”
สมัยนั้น ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ซุ้ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้
มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวด
ลายดอกจอก”
บริเวณลื่น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรย
กรวดแร่”
กรวดแร่ยังไม่พอ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้วางศิลาเรียบ”
น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ”
เรื่องการเปลือยกาย
[๒๖๑] สมัยนั้น พวกภิกษุเปลือยกายไหว้ภิกษุเปลือยกาย๑ พวกภิกษุเปลือย
กายไหว้ภิกษุไม่เปลือยกาย พวกภิกษุเปลือยกายให้ภิกษุเปลือยกายไหว้ตน พวก

เชิงอรรถ :
๑ นคฺคา : เปลือยกาย ในที่นี้หมายถึงการเปลือยกายอย่างพวกอาชีวก ไม่มีผ้าติดกายเลย (ดู วิ.มหา. (แปล)
๒/๕๑๗/๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุเปลือยกายให้ภิกษุไม่เปลือยกายไหว้ตน พวกภิกษุเปลือยกายบีบนวดภิกษุ
เปลือยกาย พวกภิกษุเปลือยกายใช้ภิกษุเปลือยกายบีบนวด พวกภิกษุเปลือยกายให้
ของแก่ภิกษุเปลือยกาย พวกภิกษุเปลือยกายรับประเคน พวกภิกษุเปลือยกายเคี้ยว
พวกภิกษุเปลือยกายฉัน พวกภิกษุเปลือยกายลิ้มรส พวกภิกษุเปลือยกายดื่ม
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ พระผู้มี
พระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเปลือยกายไม่พึงไหว้ภิกษุเปลือยกาย ไม่พึง
เปลือยกายไหว้กัน รูปใดไหว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเปลือยกาย ไม่พึงให้ภิกษุ
เปลือยกายไหว้ ... ภิกษุเปลือยกายไม่พึงทำบริกรรมให้แก่ภิกษุเปลือยกาย ... ภิกษุ
เปลือยกาย ไม่พึงใช้ภิกษุเปลือยกายทำบริกรรม ... ภิกษุเปลือยกายไม่พึงให้ของแก่
ภิกษุเปลือยกาย ... ภิกษุไม่พึงเปลือยกายรับประเคน ... ภิกษุไม่พึงเปลือยกายเคี้ยว
... ภิกษุไม่พึงเปลือยกายฉัน .... ภิกษุไม่พึงเปลือยกายลิ้มรส ... ภิกษุไม่พึงเปลือย กาย
ดื่ม รูปใดดื่ม ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องศาลาเรือนไฟและบ่อน้ำ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายวางจีวรไว้บนพื้นดินที่ใกล้เรือนไฟ จีวรเปื้อนฝุ่น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียงในที่
ใกล้เรือนไฟ”
ครั้นฝนตกจีวรเปียกฝน ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตศาลาเรือนไฟ”
ศาลาเรือนไฟมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
สมัยนั้น ผงหญ้าตกเกลื่อนบนศาลาเรือนไฟ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก” ฯลฯ ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียง”
สมัยนั้น ภิกษุยำเกรงที่จะทำบริกรรมในเรือนไฟบ้าง ในน้ำบ้าง ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องกำบัง ๓ ชนิด คือ
ที่กำบังเรือนไฟ ที่กำบังน้ำ ที่กำบังผ้า”
สมัยนั้น ในเรือนไฟไม่มีน้ำ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบ่อน้ำ”
ขอบบ่อน้ำทรุด ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
บ่อน้ำมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
[๒๖๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้เถาวัลย์บ้าง ประคดเอวบ้างผูกภาชนะตักน้ำ
ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกสำหรับผูกภาชนะ
ตักน้ำ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
มือทั้ง ๒ เจ็บ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
คันโพงคล้ายคันชั่ง ระหัดมือ ระหัดจักร”
ภาชนะทั้งหลายแตกจำนวนมาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตถังตักน้ำ ๓ ชนิด คือ ถังโลหะ ถังไม้ ถังหนัง”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายตักน้ำในที่แจ้ง ย่อมลำบากเพราะความหนาวบ้าง เพราะ
ความร้อนบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตศาลาบ่อน้ำ”
ผงหญ้าตกเกลื่อนในศาลาบ่อน้ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้
มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวด
ลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง”
สมัยนั้น บ่อน้ำที่ไม่ปิดฝา ผงหญ้าบ้าง ฝุ่นบ้างปลิวลงไป ฯลฯ พระผู้มี
พระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด”
สมัยนั้น ไม่มีภาชนะใส่น้ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตรางน้ำ อ่างน้ำ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายสรงน้ำในที่นั้น ๆ ในอาราม อารามลื่น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำรางระบายน้ำ”
รางระบายน้ำโล่งแจ้งไป ภิกษุทั้งหลายอายไม่กล้าสรงน้ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาค
รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กั้นกำแพง ๓ ชนิด คือ กำแพงอิฐ กำแพง
ศิลา กำแพงไม้”
บ่อน้ำลื่น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
เครื่องลาด ๓ ชนิด คือ เครื่องลาดอิฐ เครื่องลาดศิลา เครื่องลาดไม้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบาย
น้ำ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีเนื้อตัวเปียกชุ่มเย็น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าเช็ดตัว”
เรื่องสระโบกขรณี
[๒๖๓] สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งประสงค์จะสร้างสระโบกขรณีถวายสงฆ์
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสระโบกขรณี”
ขอบสระโบกขรณีทรุด ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ก่อคันกั้นขอบสระโบกขรณีได้ ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วย
ศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตบันได ๓ อย่าง คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า
“ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
น้ำในสระโบกขรณีเก่า ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
รางระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จะสร้างเรือนไฟมีปั้นลมถวายสงฆ์
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเรือนไฟมีปั้นลม”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์อยู่ปราศจากผ้าปูนั่งถึง ๔ เดือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงอยู่ปราศจากผ้าปูนั่งถึง ๔
เดือน รูปใดอยู่ปราศจาก ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องทรงห้ามนอนบนที่นอนโรยดอกไม้
[๒๖๔] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นอนบนที่นอนโรยด้วยดอกไม้
คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมวิหารเห็นเข้าจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ
เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอนบนที่นอนโรยด้วยดอกไม้
รูปใดนอน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องทรงอนุญาตรับของหอม
สมัยนั้น คนทั้งหลายถือของหอมบ้าง ดอกไม้บ้างมาวัด ภิกษุทั้งหลายยำเกรง
อยู่จึงไม่ยอมรับประเคน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับของหอมแล้วเจิม
ไว้ที่บานประตูหน้าต่าง รับดอกไม้แล้ววางไว้ด้านหนึ่งในวิหาร”
สมัยนั้น สันถัตขนเจียม๑ เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสันถัตขนเจียม”

เชิงอรรถ :
๑ นมตกํ : สันถัตขนเจียม ทำด้วยขนแกะ ใช้อย่างแผ่นหนัง (วิ.อ. ๓/๒๖๔/๓๑๑) คล้ายสันถัต ใช้โดยไม่ต้อง
อธิษฐาน (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๖๔/๔๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังว่า “สันถัตขนเจียมต้องอธิษฐานหรือ
ต้อง วิกัป” ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “สันถัตขนเจียมไม่ต้องอธิษฐาน ไม่ต้อง
วิกัป”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันอาหารโตก คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุไม่พึงฉันอาหารโตก รูปใดฉัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ เมื่อจะฉันอาหารไม่สามารถจะใช้มือประคองบาตรได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชิงบาตร”
เรื่องห้ามฉันในภาชนะเดียวกันเป็นต้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ... ดื่มน้ำในขัน
เดียวกันบ้าง ... นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง ... นอนบนเตียงมีเครื่องลาดเดียวกันบ้าง
... นอนบนเตียงมีผ้าห่มผืนเดียวบ้าง ... นอนบนเตียงมีผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูและ
ผ้าห่มบ้าง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารในภาชนะเดียวกัน
... ไม่พึงดื่มน้ำในขันเดียวกัน ... ไม่พึงนอนบนเตียงเดียวกัน ... ไม่พึงนอนบนเตียง
มีเครื่องลาดเดียวกัน ... ไม่พึงนอนบนเตียงมีผ้าห่มผืนเดียวกัน ... ไม่พึงนอนบนเตียง
มีผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูและผ้าห่ม รูปใดนอน ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องเจ้าวัฑฒลิจฉวี
[๒๖๕] สมัยนั้น เจ้าวัฑฒลิจฉวีเป็นสหายของพระเมตติยะและพระภุมมชกะ๑
ครั้งนั้น เจ้าวัทฒลิจฉวีได้เข้าไปหาพระเมตติยะและพระภุมมชกะถึงที่พัก ครั้นถึงแล้ว
ได้กล่าวกับพระเมตติยะและพระภุมมชกะดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า โยมไหว้ขอรับ” เมื่อ
วัฑฒลิจฉวีกล่าวอย่างนี้ พระเมตติยะและพระภุมมชกะก็ไม่ยอมพูดด้วย
แม้ครั้งที่ ๒ เจ้าวัฑฒลิจฉวีก็กล่าวกับพระเมตติยะและพระภุมมชกะดังนี้ว่า “โยม
ไหว้ ขอรับ”
แม้ครั้งที่ ๒ พระเมตติยะและพระภุมมชกะก็ไม่ยอมพูดด้วย
แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าวัฑฒลิจฉวีก็กล่าวกับพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า “โยม
ไหว้ ขอรับ”
แม้ครั้งที่ ๓ พระเมตติยะและพระภุมมชกะก็ไม่ยอมพูดด้วย
เจ้าวัฑฒลิจฉวีกล่าวต่อไปว่า “โยมมีความผิดอะไรต่อพระคุณเจ้า ทำไม
พระคุณเจ้า จึงไม่ยอมพูดกับโยม”
ภิกษุทั้งสองตอบว่า “จริงอย่างนั้นแหละ วัฑฒะ พวกเราถูกพระทัพพมัลลบุตร
เบียดเบียน ท่านก็ยังทำเพิกเฉยอยู่ได้”
เจ้าวัฑฒลิจฉวีถามว่า “โยมจะช่วยได้อย่างไร ขอรับ”
ภิกษุทั้งสองตอบว่า “วัฑฒะ ถ้าท่านเต็มใจช่วย วันนี้แหละ พระผู้มีพระภาค
ต้องให้พระทัพพมัลลบุตรสึก”
เจ้าวัฑฒลิจฉวีถามว่า “พระคุณเจ้า โยมจะทำอย่างไร จะช่วยได้ด้วยวิธีไหน”
ภิกษุทั้งสองตอบว่า “มาเถิด วัฑฒะ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้ว จงกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้ ไม่สมควร
ไม่เหมาะสม ทิศที่เคยปลอดภัยก็กลับมีภัย ทิศที่ไม่เคยมีเสนียดจัญไรก็กลับมีเสนียด

เชิงอรรถ :
๑ พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เป็นพระในกลุ่มพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ข้อ ๒๔๓ หน้า ๑ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
จัญไร ทิศที่ไม่มีอุปัททวะก็กลับมีอุปัททวะ ในทิศที่ไม่เคยมีลมก็กลับมีลมแรง น้ำก็ดู
เป็นเหมือนน้ำร้อนขึ้นมา ปชาบดีของหม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรทำมิดีมิร้าย”
เจ้าวัฑฒลิจฉวีรับคำของพระเมตติยะและพระภุมมชกะแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลกับพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้ไม่สมควร ไม่
เหมาะสม ทิศที่เคยปลอดภัยก็กลับมีภัย ทิศที่ไม่เคยมีเสนียดจัญไรก็กลับมีเสนียด
จัญไร ทิศที่ไม่มีอุปัททวะก็กลับมีอุปัททวะ ในทิศที่ไม่เคยมีลมก็กลับมีลมแรง น้ำก็ดู
เป็นเหมือนน้ำร้อนขึ้นมา ปชาบดีของหม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรทำมิดีมิร้าย”
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบ
ถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่เจ้าวัฑฒะนี้กล่าวหา”
ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคย่อมทรง
ทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระทัพพมัลลบุตร ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ เธอ
จำได้ไหมว่าได้ทำตามที่เจ้าวัฑฒะนี้กล่าวหา”
พระทัพพมัลลบุตรก็กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคย่อมทรง
ทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร”
“ทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่แก้คำกล่าวหาอย่างนี้ ถ้าเธอทำก็จงบอกว่าทำ ถ้าเธอ
ไม่ได้ทำก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ”
“พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่เกิดมา ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้จักการเสพเมถุนธรรมแม้
ในความฝัน ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อตอนตื่นอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น
สงฆ์จงคว่ำบาตร๑เจ้าวัฑฒลิจฉวี คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์”
เหตุแห่งการคว่ำบาตร ๒
สงฆ์พึงคว่ำบาตรอุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
๖. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
๗. กล่าวติเตียนพระธรรม
๘. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คว่ำบาตรอุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้
วิธีคว่ำบาตรและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงคว่ำบาตรอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้
สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๒๖๖] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เจ้าวัฑฒลิจฉวีใส่ความท่านพระทัพพ
มัลลบุตร ด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคว่ำบาตรเจ้าวัฑฒลิจฉวี
ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี่เป็นญัตติ

เชิงอรรถ :
๑ คว่ำบาตร หมายถึงไม่พึงรับไทยธรรมในเรือนของอุบาสกผู้ถูกคว่ำบาตร และส่งข่าวไปในวัดอื่น ๆ ไม่ให้
ภิกษุทั้งหลายรับภิกษาในเรือนของอุบาสกนั้น (วิ.อ. ๓/๒๖๕/๓๑๑) คว่ำบาตรด้วยกรรมวาจาสวดประกาศ
ไม่ให้รับไทยธรรมที่อุบาสกนั้นถวาย มิใช่หมายความว่าคว่ำปากบาตรลง (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๖๕/๔๖๓)
๒ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๘๗/๔๑๕-๔๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เจ้าวัฑฒลิจฉวีใส่ความท่านพระทัพพมัลล
บุตร ด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล สงฆ์คว่ำบาตรเจ้าวัฑฒลิจฉวี ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการคว่ำบาตรเจ้าวัฑฒลิจฉวี ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
เจ้าวัฑฒลิจฉวีถูกสงฆ์คว่ำบาตร ห้ามสมโภคกับสงฆ์แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
พระอานนท์ไปแจ้งข่าวเจ้าวัฑฒลิจฉวี
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์
ของเจ้าวัฑฒลิจฉวี ได้กล่าวกับเจ้าวัฑฒลิจฉวีดังนี้ว่า “วัฑฒะ สงฆ์คว่ำบาตรท่าน
ห้ามสมโภคกับสงฆ์” ครั้นเจ้าวัฑฒลิจฉวีทราบข่าวว่า สงฆ์คว่ำบาตร ห้ามสมโภค
กับสงฆ์ จึงสลบล้มลงที่นั้นเอง
ขณะนั้น มิตรอมาตย์ญาติสาโลหิตของเจ้าวัฑฒลิจฉวี ได้กล่าวกับเจ้าวัฑฒ ลิจฉวี
ดังนี้ว่า “ท่านอย่าเศร้าโศก อย่าคร่ำครวญเลย พวกเราจะขอให้พระผู้มีพระภาคและ
ภิกษุสงฆ์ยกโทษให้”
ครั้งนั้นแล เจ้าวัฑฒลิจฉวีพร้อมกับโอรสและชายา มิตรอมาตย์ญาติสาโลหิต
มีผ้าเปียกผมเปียก๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ซบศีรษะ
ลงแทบพระยุคลบาทแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ หม่อม
ฉันได้กระทำความผิด เพราะความโง่เขลาเบาปัญญาที่ได้ใส่ความพระทัพพมัลลบุตร
ด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล ขอพระผู้มีพระภาคจงให้อภัยโทษแก่หม่อมฉัน เพื่อความสำรวม
ต่อไปเถิด”

เชิงอรรถ :
๑ การสรงน้ำดำเกล้า จนผ้าเปียกผมเปียกนี้ เป็นเครื่องแสดงความเศร้าโศกก่อนเข้าขอขมา เช่น พระเจ้าอุเทน
ไปขอขมานางสามาวดี พระองค์ทรงดำลงในน้ำจนพระพัสตร์และพระเกสาเปียกแล้วไปมอบแทบเท้าขอขมา
(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๑/๓๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๗ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น