Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๘-๑ หน้า ๑ - ๖๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘-๑ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร



พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

พระวินัยปิฎก
ปริวาร
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ภิกขุวิภังค์
โสฬสมหาวาร ตอน ๑
๑. กัตถปัญญัตติวาร
วาระว่าด้วยบัญญัติ ณ ที่ไหน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในปาราชิกกัณฑ์
[๑] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ
สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ
อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น จัดเข้าในอุทเทสไหน
นับเนื่องในอุทเทสไหน มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน
บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย อะไรเป็น
พระปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิปาติโมกข์ อะไรเป็นวิบัติ อะไรเป็นสมบัติ อะไรเป็นข้อ
ปฏิบัติ
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ โดยทรงอาศัยอำนาจประโยชน์
เท่าไร ใครศึกษาอยู่ ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร ใครทรง
เอาไว้ เป็นถ้อยคำของใคร ใครนำมา
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระสุทินกลันทบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระสุทินกลันทบุตรเสพเมถุนธรรมกับอดีตภรรยา
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันน
บัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๒ พระอนุบัญญัติ
ไม่มีอนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : มีสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอุภโตบัญญัติ
ถาม : บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น จัด
เข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถอบ : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสที่ ๒
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติ
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติปาราชิก
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทาง
วาจา
ถาม : บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
ตอบ : เป็นอาปัตตาธิกรณ์
ถาม : บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระวินัย การจำแนก๑เป็นอภิวินัย
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นพระปาติโมกข์ อะไรเป็น
อธิปาติโมกข์

เชิงอรรถ :
๑ การจำแนก หมายถึงบทภาชนีย์,สิกขาบทวิภังค์ (วิ.อ. ๓/๒/๔๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์
ถาม : อะไรเป็นวิบัติ
ตอบ : ความไม่สำรวมเป็นวิบัติ
ถาม : อะไรเป็นสมบัติ
ตอบ : ความสำรวมเป็นสมบัติ
ถาม : อะไรเป็นข้อปฏิบัติ
ตอบ : การที่ภิกษุสมาทานอาปาณโกฏิกศีล๑ตลอดชีวิตว่า “เราจะไม่ทำกรรม
อย่างนี้อีก” แล้วศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ
ถาม : พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ โดยทรงอาศัยอำนาจ
ประโยชน์เท่าไร
ตอบ : ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ โดยทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐
ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย

เชิงอรรถ :
๑ อาปาณโกฏิกศีล หมายถึงศีลที่สมาทานแล้วประพฤติตามนั้นจนตลอดชีวิต (วิสุทฺธิ. ๑/๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ถาม : ใครศึกษาอยู่
ตอบ : ภิกษุผู้เป็นพระเสขะและกัลยาณปุถุชนศึกษาอยู่
ถาม : ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ตอบ : พระอรหันต์เป็นผู้ศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ถาม : สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร
ตอบ : ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล(บุคคลผู้ใคร่ศึกษา)
ถาม : ใครทรงเอาไว้
ตอบ : พระเถระทั้งหลายผู้ทรงจำปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ได้ทรงเอาไว้
ถาม : เป็นถ้อยคำของใคร
ตอบ : เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
[๓] พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ
พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ
และพระภัททบัณฑิต เดินทางจากชมพูทวีปมาที่เกาะสิงหลนี้
ท่านเหล่านั้นสอนพระวินัยปิฎกที่เกาะตามพปัณณิ
สอนนิกาย ๕ และปกรณ์ ๗
จากนั้นพระอริฏฐะผู้มีปัญญา พระติสสทัตตบัณฑิต
พระกาฬสุมนะ ผู้เชี่ยวชาญ พระทีฆเถระ และพระทีฆสุมนบัณฑิต
ต่อมา พระกาฬสุมนะ พระนาคเถระ พระพุทธรักขิตะ
พระติสสเถระผู้มีปัญญา และพระเทวเถระผู้เป็นบัณฑิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระจูฬนาคะเป็นพหูสูต ดุจช้างซับมัน พระธัมมปาลิตะ
เป็นผู้อันสาธุชนในโรหนชนบทพากันบูชาเป็นอย่างดี
ศิษย์ของพระธัมมปาลิตะนั้น มีปัญญามากชื่อว่าเขมะ
ทรงจำพระไตรปิฎกได้รุ่งเรืองอยู่ในเกาะด้วยปัญญา
เหมือนดวงจันทร์รุ่งเรืองอยู่
พระอุปติสสะผู้มีปัญญา พระปุสสเทวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก
ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญา พระมหาปทุมะ๑ เป็นพหูสูต
พระมหาสีวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด
ต่อมา พระอุบาลีผู้มีปัญญา เชี่ยวชาญในพระวินัย
พระมหานาคะผู้มีปัญญามาก ฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม
ต่อมา พระอภยะผู้มีปัญญา ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด
พระติสสเถระผู้มีปัญญาเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระสุมนา๒มีปัญญามากผู้เป็นศิษย์ของพระติสสเถระนั้น เป็นพหูสูต
รักษาพระศาสนาต่อกันมาอยู่ในชมพูทวีป
พระจูฬาภยะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระติสสเถระผู้มีปัญญาฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม
พระจูฬเทวะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
และพระสิวเถระผู้มีปัญญา ฉลาดในพระวินัยทั้งหมด

เชิงอรรถ :
๑ พระมหาปทุมะ แปลมาจากคำว่า “ปุปฺผนาโม” ซึ่งตามตัวอักษรแปลว่า “พระเถระชื่อว่าบุปผา” ในที่นี้
พระธรรมสังคาหกาจารย์ท่านใช้คำปริศนาให้นึกเดา ปุปฺผ ดอกไม้ หมายถึงดอกปทุม คือเป็นคำแทนชื่อ
พระมหาปทุมะนั่นเอง (วชิร.ฏีกา ๓๕, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๑๘๖, วิมติ.ฏีกา ๑/๔๑)
๒ พระสุมนะ แปลมาจากคำว่า “ปุปฺผนาโม (ปุสฺสนาโม)” ท่านใช้คำปริศนาอีกเช่นกัน (สารตฺถ.ฏีกา
๑/๑๘๖, วิมติ.ฏีกา ๑/๔๑) ดุจคำว่า “ชลชุตฺตมนามโก” (ขุ.อป. ๓๒/๒๘/๘๐, ขุ.อป. ๓๓/๓๔/๑๐๖
,๑๐๕/๒๗๒) หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า “ปทุมุตตระ” (ขุ.อป.อ. ๒/๒๘/๗,๑๘๓/๓๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
[๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระธนิยกุมภการบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระธนิยกุมภการบุตร ถือเอาไม้ของหลวงที่ยังไม่ได้
พระราชทาน
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มี
อนุปปันนบัญญัติ
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่
เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจา
กับจิต ฯลฯ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
[๕] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูป ฆ่ากันและกัน
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มี
อนุปปันนบัญญัติ
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่
เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับ
จิต ฯลฯ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
[๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มี
อนุปปันนบัญญัติ
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
ฯลฯ
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการพรากกายมนุษย์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ปาราชิก ๔ สิกขาบทเหล่านี้เป็นมูลแห่งการตัดขาด
(ขาดจากความเป็นภิกษุ) อย่างไม่ต้องสงสัย
๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในสังฆาทิเสสกัณฑ์
[๗] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ณ ที่ไหน ทรงปรารภ
ใคร เพราะเรื่องอะไร
ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ
สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ
อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส สุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้นจัดเข้าในอุทเทสไหน
นับเนื่องในอุทเทสไหน มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน
บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย อะไรเป็น
พระปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิปาติโมกข์ อะไรเป็นวิบัติ อะไรเป็นสมบัติ อะไรเป็นข้อ
ปฏิบัติ
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
โดยทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร ใครศึกษาอยู่ ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร ใครทรงเอาไว้ เป็นถ้อยคำของใคร ใครนำมา
๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท
[๘] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระเสยยสกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระเสยยสกะพยายามใช้มือทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
ถาม : ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันน
บัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่
มีอนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ
ถาม : บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส สุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้นจัดเข้าใน
อุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสที่ ๓
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติ
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสส
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทาง
วาจา
ถาม : บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
ตอบ : เป็นอาปัตตาธิกรณ์
ถาม : บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
ถาม : ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย
ถาม : ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้น อะไรเป็นพระปาติโมกข์ อะไรเป็น
อธิปาติโมกข์
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์
ถาม : อะไรเป็นวิบัติ
ตอบ : ความไม่สำรวมเป็นวิบัติ
ถาม : อะไรเป็นสมบัติ
ตอบ : ความสำรวมเป็นสมบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ถาม : อะไรเป็นข้อปฏิบัติ
ตอบ : การที่ภิกษุสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า “เราจะไม่ทำกรรม
อย่างนี้อีก” แล้วศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ
ถาม : พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พยายามทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน โดยทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร
ตอบ : พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พยายามทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน โดยทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
ถาม : ใครศึกษาอยู่
ตอบ : พระเสขะและกัลยาณปุถุชนศึกษาอยู่
ถาม : ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ตอบ : พระอรหันต์เป็นผู้ศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ถาม : สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร
ตอบ : ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล
ถาม : ใครทรงเอาไว้
ตอบ : พระเถระทั้งหลายผู้ทรงจำสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทที่ ๑ ได้ทรงเอาไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ถาม : เป็นถ้อยคำของใคร
ตอบ : เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ
พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ
และพระภัททบัณฑิต เดินทางจากชมพูทวีปมาที่เกาะสิงหลนี้
ท่านเหล่านั้นสอนพระวินัยปิฎกที่เกาะตามพปัณณิ
สอนนิกาย ๕ และปกรณ์ ๗
จากนั้นพระอริฏฐะผู้มีปัญญา พระติสสทัตตบัณฑิต
พระกาฬสุมนะ ผู้เชี่ยวชาญ พระทีฆเถระ และพระทีฆสุมนบัณฑิต
ต่อมา พระกาฬสุมนะ พระนาคเถระ พระพุทธรักขิตะ
พระติสสเถระผู้มีปัญญา และพระเทวเถระผู้เป็นบัณฑิต
ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระจูฬนาคะเป็นพหูสูต ดุจช้างซับมัน พระธัมมปาลิตะ
เป็นผู้อันสาธุชนในโรหนชนบทพากันบูชาเป็นอย่างดี
ศิษย์ของพระธัมมปาลิตะนั้น มีปัญญามากชื่อว่าเขมะ
ทรงจำพระไตรปิฎกได้รุ่งเรืองอยู่ในเกาะด้วยปัญญา
เหมือนดวงจันทร์รุ่งเรืองอยู่
พระอุปติสสะผู้มีปัญญา พระปุสสเทวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก
ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญา พระมหาปทุมะเป็นพหูสูต
พระมหาสีวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ต่อมา พระอุบาลีผู้มีปัญญา เชี่ยวชาญในพระวินัย
พระมหานาคะผู้มีปัญญามาก ฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม
ต่อมา พระอภยะผู้มีปัญญา ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด
พระติสสเถระผู้มีปัญญาเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระสุมนะมีปัญญามาก ผู้เป็นศิษย์ของพระติสสเถระนั้น เป็นพหูสูต
รักษาพระศาสนาต่อกันมาอยู่ในชมพูทวีป
พระจูฬาภยะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระติสสเถระผู้มีปัญญาฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม
พระจูฬเทวะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัยและพระสิวเถระ
ผู้มีปัญญา ฉลาดในพระวินัยทั้งหมด
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ
๒. กายสังสัคคสิกขาบท
[๙] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ถูกต้องกายกับมาตุคาม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีถูกต้องกายกับมาตุคาม
ในกายสังสัคคสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท
[๑๐] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ
ในทุฏฐุลลวาจาสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
ฯลฯ
๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท
[๑๑] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้า
มาตุคาม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตน
ต่อหน้ามาตุคาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ในอัตตกามปาริจริยสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๕. สัญจริตตสิกขาบท
[๑๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ทำหน้าที่ชักสื่อ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีทำหน้าที่ชักสื่อ
ในสัญจริตตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่
เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต
(๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
(๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๖. กุฏิการสิกขาบท
[๑๓] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้สร้างกุฎีด้วยเครื่องอุปกรณ์ที่ขอมาเอง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีสร้างกุฎีด้วยเครื่องอุปกรณ์ที่ขอ
มาเอง
ในกุฏิการสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๗. วิหารการสิกขาบท
[๑๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ให้สร้างวิหารใหญ่ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะแผ้วถางพื้นที่สร้างวิหาร สั่งให้ตัดไม้รุกข เจดีย์
ต้นหนึ่ง
ในวิหารการสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
[๑๕] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเมตติยะและพระภุมมชกะใส่ความท่านพระทัพพมัลล
บุตรด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
ในปฐมทุฏฐโทสสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท
[๑๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้อ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่
ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเมตติยะและพระภุมมชกะอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์
เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
ในทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๑๐. สังฆเภทสิกขาบท
[๑๗] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ไม่สละกรรมจนกระทั่งสงฆ์
สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ตอบ : ทรงปรารภพระเทวทัต
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเทวทัตเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน
ในสังฆเภทสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท
[๑๘] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุที่ประพฤติตามกล่าวสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
ไม่สละกรรมจนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปประพฤติตามสนับสนุนพระเทวทัตผู้พยายาม
ทำลายสงฆ์
ในสังฆเภทานุวัตตกสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๑๒. ทุพพจสิกขาบท
[๑๙] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุเป็นคนว่ายาก ไม่สละกรรมจนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดยชอบ
ธรรม กลับทำตนให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้
ในทุพพจสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๑๓. กุลทูสกสิกขาบท
[๒๐] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล ไม่สละกรรมจนกระทั่งสงฆ์
สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรม
แล้วกลับกล่าวหาว่า พวกภิกษุลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียงเพราะหลง
ลำเอียงเพราะกลัว
ในกุลทูสกสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์
รวมสิกขาบทที่มีในสังฆาทิเสสกัณฑ์

๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท ว่าด้วยการจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
๒. กายสังสัคคสิกขาบท ว่าด้วยการถูกต้องกายกับมาตุคาม
๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท ว่าด้วยการพูดเกี้ยวมาตุคาม
๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท ว่าด้วยการให้บำเรอความใคร่ของตน
๕. สัญจริตตสิกขาบท ว่าด้วยการชักสื่อ
๖. กุฏิการสิกขาบท ว่าด้วยการก่อสร้างกุฎี
๗. วิหารการสิกขาบท ว่าด้วยการก่อสร้างวิหาร
๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะสิกขาบทที่ ๑
๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะสิกขาบทที่ ๒
๑๐. สังฆเภทสิกขาบท ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุประพฤติตามกล่าวสนับสนุน
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
๑๒. ทุพพจสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเป็นคนว่ายาก
๑๓. กุลทูสกสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล


๓. อนิยตกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในอนิยตกัณฑ์
[๒๑] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบท ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร
ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ
สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ
อุภโตบัญญัติอยู่หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์
บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ปฐมอนิยตสิกขาบทนั้นจัดเข้าในอุทเทสไหน
นับเนื่องในอุทเทสไหน มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน
บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย อะไรเป็นพระ
ปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิปาติโมกข์ อะไรเป็นวิบัติ อะไรเป็นสมบัติ อะไรเป็นข้อปฏิบัติ
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบท โดยอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร
ใครศึกษาอยู่ ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร ใครทรงเอาไว้
เป็นถ้อยคำของใคร ใครนำมา
๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท
[๒๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบท ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้
กับมาตุคามสองต่อสอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์
ถาม : ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันน
บัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ไม่มีพระอนุบัญญัติ และ
อนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ
ถาม : บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ปฐมอนิยตสิกขาบทนี้จัดเข้าใน
อุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๔
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติก็มี เป็นอาจารวิบัติก็มี
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติปาราชิกก็มี เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสสก็มี เป็นกองอาบัติ
ปาจิตตีย์ก็มี
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ถาม : บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
ตอบ : เป็นอาปัตตาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์
ถาม : บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
(๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
ถาม : ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย
ถาม : ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น อะไรเป็นพระปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิปาติโมกข์
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์
ถาม : อะไรเป็นวิบัติ
ตอบ : ความไม่สำรวมเป็นวิบัติ
ถาม : อะไรเป็นสมบัติ
ตอบ : ความสำรวมเป็นสมบัติ
ถาม : อะไรเป็นข้อปฏิบัติ
ตอบ : การที่ภิกษุสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า “เราจะไม่ทำอย่างนี้อีก”
แล้วศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ
ถาม : พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบทนี้ โดยทรงอาศัยอำนาจ
ประโยชน์เท่าไร
ตอบ : พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบทนี้ โดยทรงอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
ถาม : ใครศึกษาอยู่
ตอบ : พระเสขะและกัลยาณปุถุชนศึกษาอยู่
ถาม : ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ตอบ : พระอรหันต์เป็นผู้ศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ถาม : สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร
ตอบ : ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล
ถาม : ใครทรงเอาไว้
ตอบ : พระเถระทั้งหลายผู้ทรงจำปฐมอนิยตสิกขาบทได้ทรงเอาไว้
ถาม : เป็นถ้อยคำของใคร
ตอบ : เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ
พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ
และพระภัททบัณฑิต เดินทางจากชมพูทวีปมาที่เกาะสิงหลนี้
ท่านเหล่านั้นสอนพระวินัยปิฎกที่เกาะตามพปัณณิ
สอนนิกาย ๕ และปกรณ์ ๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์
จากนั้นพระอริฏฐะผู้มีปัญญา พระติสสทัตตบัณฑิต
พระกาฬสุมนะ ผู้เชี่ยวชาญ พระทีฆเถระ และพระทีฆสุมนบัณฑิต
ต่อมา พระกาฬสุมนะ พระนาคเถระ พระพุทธรักขิตะ
พระติสสเถระผู้มีปัญญา และพระเทวเถระผู้เป็นบัณฑิต
ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระจูฬนาคะเป็นพหูสูต ดุจช้างซับมัน พระธัมมปาลิตะ
เป็นผู้อันสาธุชนในโรหนชนบทพากันบูชาเป็นอย่างดี
ศิษย์ของพระธัมมปาลิตะนั้น มีปัญญามากชื่อว่าเขมะ
ทรงจำพระไตรปิฎกได้รุ่งเรืองอยู่ในเกาะด้วยปัญญา
เหมือนดวงจันทร์รุ่งเรืองอยู่
พระอุปติสสะผู้มีปัญญา พระปุสสเทวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก
ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญา พระมหาปทุมะเป็นพหูสูต
พระมหาสีวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด
ต่อมา พระอุบาลีผู้มีปัญญา เชี่ยวชาญในพระวินัย
พระมหานาคะผู้มีปัญญามาก ฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม
ต่อมา พระอภยะผู้มีปัญญา ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด
พระติสสเถระผู้มีปัญญาเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระสุมนะมีปัญญามาก ผู้เป็นศิษย์ของพระติสสเถระนั้น เป็นพหูสูต
รักษาพระศาสนาต่อกันมาอยู่ในชมพูทวีป
พระจูฬาภยะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระติสสเถระผู้มีปัญญาฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม
พระจูฬเทวะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
และพระสิวเถระผู้มีปัญญา ฉลาดในพระวินัยทั้งหมด
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์
๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท
[๒๓] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุติยอนิยตสิกขาบท ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีนั่งในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง
ถาม : ในทุติยอนิยตสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติและอนุปปันน
บัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในทุติยอนิยตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ไม่มีพระอนุบัญญัติ
และอนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ
ถาม : บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ทุติยอนิยตสิกขาบทนี้จัดเข้าใน
อุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร รวมสิกขาบทที่มีในอนิยตกัณฑ์
ตอบ : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสที่ ๔
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติก็มี เป็นอาจารวิบัติก็มี
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสสก็มี เป็นกองอาบัติปาจิตตีย์ก็มี
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่
เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจา
กับจิต
ถาม : บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
ตอบ : เป็นอาปัตตาธิกรณ์
ถาม : บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
(๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ฯลฯ
อนิยต ๒ สิกขาบท จบ
รวมสิกขาบทที่มีในอนิยตกัณฑ์
๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง
๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง
พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐและผู้มีความคงที่ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๑. กฐินวรรค
๔. นิสสัคคิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในนิสสัคคิยกัณฑ์
๑. กฐินวรรค(จีวรวรรค)
๑. ปฐมกฐินสิกขาบท
[๒๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ทรงอติเรกจีวรไว้เกิน ๑๐ วัน ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทรงอติเรกจีวร
ในปฐมกฐินสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย
กับวาจา มิใช่ทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๒. อุทโทสิตสิกขาบท
[๒๕] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้อยู่ปราศจากไตรจีวร สิ้น
ราตรีหนึ่ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๑. กฐินวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปฝากจีวรไว้กับพวกภิกษุ มีเพียงอุตตราสงค์
กับอันตรวาสก ออกจาริกไปสู่ชนบท
ในอุทโทสิตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับ
วาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๓. ตติยกฐินสิกขาบท
[๒๖] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับผ้าที่เป็นอกาลจีวรแล้ว
เก็บไว้เกิน ๑ เดือน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับผ้าที่เป็นอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกิน ๑ เดือน
ในตติยกฐินสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับ
วาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๔. ปุราณจีวรสิกขาบท
[๒๗] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้
ซักจีวรเก่า ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๑. กฐินวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซักจีวรเก่า
ในปุราณจีวรสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท
[๒๘] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับจีวรจากมือภิกษุณีผู้
ไม่ใช่ญาติ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ
ในจีวรปฏิคคหณสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท
[๒๙] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์
ชายหรือคฤหัสถ์หญิง ผู้ไม่ใช่ญาติ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๑. กฐินวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรออกปากขอจีวรจากบุตรเศรษฐี
ผู้ไม่ใช่ญาติ
ในอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๗. ตตุตตริสิกขาบท
[๓๐] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ออกปากขอจีวรเกินกว่านั้น
จากคฤหัสถ์ชาย หรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่รู้จักประมาณ ออกปากขอจีวรเป็น
จำนวนมาก
ในตตุตตริสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๘. อุปักขฏสิกขาบท
[๓๑] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ที่เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วกำหนดชนิดจีวร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๑. กฐินวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรที่เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อนเข้า
ไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วกำหนดชนิดจีวร
ในอุปักขฏสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๙. ทุติยอุปักขฏสิกขาบท
[๓๒] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ที่เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
เข้าไปหาพวกคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วกำหนดชนิดจีวร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรที่เขาไม่ได้ปวารณาเอาไว้ก่อน
เข้าไปหาพวกคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วกำหนดชนิดจีวร
ในทุติยอุปักขฏสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๑๐. ราชสิกขาบท
[๓๓] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ ด้วย
การทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในกฐินวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรอันอุบาสกบอกว่า “โปรดรอ
สักวันหนึ่งเถิด ขอรับ” ก็ไม่ยอมรอ
ในราชสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
กฐินวรรคที่ ๑ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในกฐินวรรค

๑. ปฐมกฐินสิกขาบท ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๑
๒. อุทโทสิตสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเก็บจีวรไว้ในโรงเก็บของ
(ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๒)
๓. ตติยกฐินสิกขาบท ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๓
๔. ปุราณจีวรสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักจีวรเก่า
๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท ว่าด้วยการรับจีวร
๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอคฤหัสถ์
ผู้ไม่ใช่ญาติ
๗. ตตุตตริสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอจีวรเกิน
๘. อุปักขฏสิกขาบท ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวร
๙. ทุติยอุปักขฏสิกขาบท ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวร
ข้อที่ ๒
๑๐. ราชสิกขาบท ว่าด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรที่พระราชา
เป็นต้นให้ทูตนำมาถวาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๒. โกสิยวรรค
๒. โกสิยวรรค
๑. โกสิยสิกขาบท
[๓๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตผสมใยไหม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวกช่างทอผ้าไหม กล่าวอย่าง
นี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมาก ให้แก่พวกอาตมาบ้าง
พวกอาตมาต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม”
ในโกสิยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๒. สุทธกาฬกสิกขาบท
[๓๕] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตขนเจียม
ดำล้วน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๒. โกสิยวรรค
ในสุทธกาฬกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๓. เทฺวภาคสิกขาบท
[๓๖] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่เอาขนเจียมดำล้วน ๒
ส่วน ขนเจียมขาว ๑ ส่วน ขนเจียมแดง ๑ ส่วนมาปนแล้วให้ทำสันถัตใหม่ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้นำขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชาย
สันถัต แล้วให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิม
ในเทฺวภาคสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๔. ฉัพพัสสสิกขาบท
[๓๗] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตทุกปี ณ ที่ ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปใช้ให้ทำสันถัตทุกปี
ในฉัพพัสสสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๒. โกสิยวรรค
๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท
[๓๘] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่เอาสันถัตเก่า ๑ คืบ
สุคตโดยรอบมาปน แล้วใช้ให้ทำสันถัตรองนั่งใหม่ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปทิ้งสันถัตแล้วพากันสมาทานอารัญญิกธุดงค์
ปิณฑปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์
ในนิสีทนสันถตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๖. เอฬกโลมสิกขาบท
[๓๙] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับขนเจียมมาแล้วเดิน
ทางไกลเกิน ๓ โยชน์ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งรับขนเจียมแล้วนำไปเกิน ๓ โยชน์
ในเอฬกโลมสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๒. โกสิยวรรค
๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท
[๔๐] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก
ขนเจียม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซักขนเจียม
ในเอฬกโลมโธวาปนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๘. รูปิยสิกขาบท
[๔๑] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับรูปิยะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรรับรูปิยะ
ในรูปิยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท
[๔๒] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ทำการแลกเปลี่ยนกัน
ด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในฏกสิยวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำการแลกเปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิด
ต่าง ๆ
ในรูปิยสังโวหารสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๑๐. กยวิกกยสิกขาบท
[๔๓] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ทำการซื้อขายมีประการ
ต่าง ๆ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทำการซื้อขายกับปริพาชก
ในกยวิกกยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
โกสิยวรรคที่ ๒ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในโกสิยวรรค
๑. โกสิยสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตผสมใยไหม
๒. สุทธกาฬกสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค

๓. เทฺวภาคสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน
๔. ฉัพพัสสสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บสันถัตไว้ ๖ ปี
๕. นิสีทนสันถัตสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตสำหรับรองนั่ง
๖. เอฬกโลมสิกขาบท ว่าด้วยการรับขนเจียม
๗. เอฬกโธวาปนสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักขนเจียม
๘. รูปิยสิกขาบท ว่าด้วยการรับรูปิยะ
๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนรูปิยะ
๑๐. กยวิกกยสิกขาบท ว่าด้วยการซื้อขาย


๓. ปัตตวรรค
๑. ปัตตสิกขาบท
[๔๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ทรงอติเรกบาตรไว้เกิน ๑๐ วัน ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทรงอติเรกบาตร
ในปัตตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับวาจา
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค
๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท
[๔๕] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้มีบาตรที่มีรอยซ่อม
หย่อนกว่า ๕ แห่ง ขอบาตรใหม่ใบอื่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีบาตรแตกเพียงเล็กน้อยบ้าง กะเทาะ
เพียงเล็กน้อยบ้าง มีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง ก็ออกปากขอบาตรใหม่เป็น
จำนวนมาก
ในอูนปัญจพันธนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๓. เภสัชชสิกขาบท
[๔๖] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับประเคนเภสัชแล้วเก็บ
ไว้เกิน ๗ วัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้เกิน ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค
ในเภสัชชสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน๑ ฯลฯ
๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท
[๔๗] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน
เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน เมื่อฤดู
ร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน
ในวัสสิกสาฏิกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ทางที่เกิดของอาบัติเรียกว่า “สมุฏฐาน” มี ๖ สมุฏฐาน คือ
๑. กาย ๒. วาจา
๓. กายกับวาจา ๔. กายกับจิต
๕. วาจากับจิต ๖. กายวาจากับจิต
อาบัติทั้งหมดที่เกิดในแต่ละสมุฏฐาน แบ่งเป็น ๑๓ กลุ่ม คือ
๑. ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ๒. อทินนาทานสมุฏฐาน
๓. สัญจริตตสมุฏฐาน ๔. สมนุภาสนสมุฏฐาน
๕. กฐินสมุฏฐาน ๖. เอฬกโลมสมุฏฐาน
๗. ปทโสธัมมสมุฏฐาน ๘. อัทธานสมุฏฐาน
๙. เถยยสัตถสมุฏฐาน ๑๐. ธัมมเทสนาสมุฏฐาน
๑๑. ภูตาโรจนสมุฏฐาน ๑๒. โจริวุฏฐานาปนสมุฏฐาน
๑๓. อนนุญญาตสมุฏฐาน
(ดูข้อ ๒๕๘-๒๗๐, วิ.อ. ๓/๒๕๘-๒๖๗/๔๒๓-๔๓๔, กงฺขา.อ. ๑๓๖-๑๓๗) สิกขาบทนี้เป็นกฐินสมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานที่ ๓ คือกายกับวาจาและสมุฏฐานที่ ๖ คือกายวาจากับจิต (กงฺขา.อ. ๑๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค
๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท
[๔๘] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้วโกรธ
ไม่พอใจชิงเอาคืนมา ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้วโกรธ
ไม่พอใจชิงเอาคืนมา
ในจีวรอัจฉินทนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท
[๔๙] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ออกปากขอด้ายมาเอง
แล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูก
ให้ทอจีวร
ในสุตตวิญญัตติสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค
๗. มหาเปสการสิกขาบท
[๕๐] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ที่เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
เข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติแล้วกำหนดชนิดจีวร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรที่เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
เข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติแล้วกำหนดชนิดจีวร
ในมหาเปสการสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท
[๕๑] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับอัจเจกจีวรแล้วเก็บไว้
เกินสมัยจีวรกาล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับอัจเจกจีวรแล้วเก็บไว้เกินสมัยจีวรกาล
ในอัจเจกจีวรสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค
๙. สาสังกสิกขาบท
[๕๒] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง
ไว้ในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้าน แล้ว
อยู่ปราศเกิน ๖ คืน
ในสาสังกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
๑๐. ปริณตสิกขาบท
[๕๓] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อม
ไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถอบ : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะ
ถวายสงฆ์มาเพื่อตน
ในปริณตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
ปัตตวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในปัตตวรรค

๑. ปัตตสิกขาบท ว่าด้วยบาตร
๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท ว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง
๓. เภสัชชสิกขาบท ว่าด้วยเภสัช
๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท ว่าด้วยผ้าอาบน้ำฝน
๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท ว่าด้วยการให้จีวรแล้วชิงเอาคืน
๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอด้าย
๗. มหาเปสการสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งช่างหูกทอจีวร
๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท ว่าด้วยอัจเจกจีวร
๙. สาสังกสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะป่าที่น่าหวาดระแวง
๑๐. ปริณตสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภ

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท จบ
๕. ปาจิตติยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในปาจิตติยกัณฑ์
๑. มุสาวาทวรรค
๑. มุสาวาทสิกขาบท
[๕๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะกล่าวเท็จทั้งที่รู้ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระหัตถกศากยบุตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระหัตถกศากยบุตรเจรจากับพวกเดียรถีย์ปฏิเสธแล้วรับ
รับแล้วปฏิเสธ
ในมุสาวาทสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
ฯลฯ
๒. โอมสวาทสิกขาบท
[๕๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะกล่าวเสียดสี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับภิกษุผู้มีศีลดีงามทั้งหลาย
กล่าวเสียดสีภิกษุผู้มีศีลดีงามทั้งหลาย
ในโอมสวาทสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๓. เปสุญญสิกขาบท
[๕๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะกล่าวส่อเสียดภิกษุ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ไปยุแหย่พวกภิกษุผู้บาดหมางกัน
ทะเลาะกัน วิวาทกัน
ในเปสุญญสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๔. ปทโสธัมมสิกขาบท
[๕๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้สอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมแข่งกัน
เป็นบท ๆ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สอนพวกอุบาสกให้กล่าวธรรมแข่ง
กันเป็นบท ๆ
ในปทโสธัมมสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
๕. สหเสยยสิกขาบท
[๕๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบันเกิน ๒-
๓ คืน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปนอนร่วมกับอนุปสัมบัน
ในสหเสยยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย
มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท
[๕๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับมาตุคาม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอนุรุทธะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอนุรุทธะนอนร่วมกับมาตุคาม
ในทุติยสหเสยยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท
[๖๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖
คำ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีแสดงธรรมแก่มาตุคาม
ในธัมมเทสนาสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๒ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นปทโสธัมม
สมุฏฐาน ฯลฯ
๘. ภูตาโรจนสิกขาบท
[๖๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้บอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่
อนุปสัมบัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทากล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟัง
ในภูตาโรจนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทาง
กายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต ฯลฯ
๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท
[๖๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่
อนุปสัมบัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีใรมุสาวาทวรรค
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน
ในทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน เป็นอทินนาทานสมุฏฐาน ฯลฯ
๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท
[๖๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ขุดดิน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีขุดดิน
ในปฐวีขณนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
มุสาวาทวรรคที่ ๑ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในมุสาวาทวรรค

๑. มุสาวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเท็จ
๒. โอมสวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเสียดสี
๓. เปสุญญสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวส่อเสียด
๔. ปทโสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยการสอนให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ
๕. สหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยการนอนร่วมกัน
๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยการนอนร่วมกันข้อที่ ๒


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค
๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท ว่าด้วยการแสดงธรรม
๘. ภูตาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง
๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอาบัติชั่วหยาบ
๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท ว่าด้วยการขุดดิน
๒. ภูตคามวรรค
๑. ภูตคามสิกขาบท
[๖๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะพรากภูตคาม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุชาวเมืองอาฬวี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุชาวเมืองอาฬวีตัดต้นไม้
ในภูตคามสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๒. อัญญวาทกสิกขาบท
[๖๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน เพราะ
ทำสงฆ์ให้ลำบาก ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์กลับนำเอา
เรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน
ในอัญญวาทกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๓. อุชฌาปนกสิกขาบท
[๖๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ เพราะบ่นว่า ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเมตติยะและพระภุมมชกะกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษ
ท่านพระทัพพมัลลบุตร
ในอุชฌาปนกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท
[๖๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้วางเตียง ตั่ง ฟูก หรือเก้าอี้ของ
สงฆ์ในที่กลางแจ้งแล้ว ไม่เก็บไม่บอกมอบหมายแล้วพากันจากไป ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปจัดตั้งเสนาสนะของสงฆ์ในที่กลางแจ้งแล้ว
ไม่เก็บ ไม่บอกมอบหมายแล้วพากันจากไป
ในปฐมเสนาสนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน
ฯลฯ
๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท
[๖๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ปูที่นอนในวิหารของสงฆ์แล้วไม่เก็บ
ไม่บอกมอบหมายแล้วจากไป ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ปูที่นอนในวิหารของสงฆ์แล้วไม่เก็บ
ไม่บอกมอบหมายแล้วพากันจากไป
ในทุติยเสนาสนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
๖. อนุปขัชชสิกขาบท
[๖๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ เข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้
เข้าไปอยู่ในวิหารของสงฆ์ก่อน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปนอนแทรกแซงพวกภิกษุผู้เถระ
ในอนุปขัชชสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท
[๗๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจฉุดลากภิกษุออกจาก
วิหารของสงฆ์ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุทั้งหลาย
ออกจากวิหารของสงฆ์
ในนิกกัฑฒนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท
[๗๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นั่งบนเตียง หรือบนตั่งอันมี
เท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอยในวิหารของสงฆ์ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งนั่งอย่างแรงบนเตียงที่มีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอย
ในวิหารของสงฆ์
ในเวหาสกุฏิสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
๙. มหัลลกวิหารสิกขาบท
[๗๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ดำเนินการมุงหลังคา(วิหาร) ๒-๓
ชั้น แล้วดำเนินการเกินกว่านั้น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะให้มุงให้ฉาบทาวิหารที่สร้างเสร็จแล้วหลาย ๆ
ครั้ง วิหารมีน้ำหนักมาก จึงพังลงมา
ในมหัลลกวิหารสิกขาบทนี้ มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๑๐. สัปปาณกสิกขาบท
[๗๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต รดหญ้าหรือ
ดิน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุชาวเมืองอาฬวี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุชาวเมืองอาฬวีรู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต รดหญ้าหรือดิน
ในสัปปาณกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
ภูตคามวรรคที่ ๒ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในภูตคามวรรค

๑. ภูตคามสิกขาบท ว่าด้วยการพรากภูตคาม
๒. อัญญวาทกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวกลบเกลื่อน
๓. อุชฌาปนกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวให้เพ่งโทษ
๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๑
๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๒
๖. อนุปขัชชสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซง
๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท ว่าด้วยการฉุดลากออก
๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท ว่าด้วยกุฎีชั้นลอย
๙. มหัลลกวิหารสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่
๑๐. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยสิ่งมีชีวิต

๓. โอวาทวรรค
๑. โอวาทสิกขาบท
[๗๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่ได้รับแต่งตั้ง สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ณ
ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ได้รับแต่งตั้งสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย
ถาม : ในโอวาทสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติและอนุปปันนบัญญัติ
อยู่หรือ
ตอบ : ในโอวาทสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มี
อนุปปันนบัญญัติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่
เกิดทางกาย ฯลฯ
๒. อัตถังคตสิกขาบท
[๗๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ยังสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระจูฬปันถก
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระจูฬปันถกเมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้วยังสั่งสอนภิกษุณี
ทั้งหลายอยู่
ในอัตถังคตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นปทโสธัมมสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค
๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท
[๗๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอน
ภิกษุณี ทั้งหลาย
ในภิกขุนูปัสสยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐิน
สมุฏฐาน ฯลฯ
๔. อามิสสิกขาบท
[๗๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้กล่าวว่า “ภิกษุ(ผู้เถระ)ทั้งหลาย
สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเพราะเห็นแก่อามิส ณ ที่ไหน”
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ภิกษุ(ผู้เถระ)ทั้งหลายสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลายเพราะเห็นแก่อามิส”
ในอามิสสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค
๕. จีวรทานสิกขาบท
[๗๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งได้ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ
ในจีวรทานสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๖. จีวรสิพพนสิกขาบท
[๗๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีเย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ
ในจีวรสิพพนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๗. สังวิธานสิกขาบท
[๘๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับ
ภิกษุณี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น