Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๘-๒ หน้า ๖๑ - ๑๒๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘-๒ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร



พระวินัยปิฎก
ปริวาร
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี
ในสังวิธานสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย
มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
(๓) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๔) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท
[๘๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน
ในนาวาภิรูหนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ
๙. ปริปาจิตสิกขาบท
[๘๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำ
ให้จัดเตรียม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในโอวาทวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเทวทัต
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเทวทัตรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม
ในปริปาจิตสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท
[๘๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง
ในรโหนิสัชชสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
โอวาทวรรคที่ ๓ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในโอวาทวรรค
๑. โอวาทสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณี
๒. อัตถังคตสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีในเวลาที่ดวงอาทิตย์
อัสดงแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค

๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท ว่าด้วยการไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่สำนัก
๔. อามิสสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส
๕. จีวรทานสิกขาบท ว่าด้วยการถวายจีวร
๖. จีวรสิพพนสิกขาบท ว่าด้วยการเย็บจีวรให้ภิกษุณี
๗. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางร่วมกัน
๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท ว่าด้วยการโดยสารเรือลำเดียวกัน
๙. ปริปาจิตสิกขาบท ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัด
เตรียม
๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ

๔. โภชนวรรค
๑. อาวสถปิณฑสิกขาบท
[๘๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้อยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่าหนึ่งมื้อ ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์อยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำ
ในอาวสถปิณฑสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลม
สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค
๒. คณโภชนสิกขาบท
[๘๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเทวทัต
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเทวทัตพร้อมด้วยบริษัทพากันออกปากขอภัตตาหารใน
ตระกูลทั้งหลายมาฉัน
ในคณโภชนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๗ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลม
สมุฏฐาน ฯลฯ
๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท
[๘๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ เพราะฉันปรัมปรโภชนะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับนิมนต์ไว้ในที่หนึ่งแล้วไปฉันในที่อีกแห่งหนึ่ง
ในปรัมปรโภชนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๔ พระอนุบัญญัติ๑ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน
ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ บาลีเป็น ๓ พระอนุบัญญัติ ในที่นี้แปลตามบาลีเก่าว่า “๔ พระอนุบัญญัติ” (วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๒๖/๓๘๔
และดู สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๒๖/๗๐, วิมติ.ฏีกา ๒/๒๒๑/๓๘, กงฺขา.ฏีกา ๔๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค
๔. กาณมาตุสิกขาบท
[๘๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับขนมเต็ม ๒-๓ บาตรแล้วรับ
เกินกว่านั้น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับโดยไม่รู้ประมาณ
ในกาณมาตุสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท
[๘๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว
ฉันของเคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว ไปฉันที่อื่นอีก
ในปฐมปวารณาสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน
ฯลฯ
๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท
[๘๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นำของเคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดน
ไปปวารณาภิกษุผู้ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้ว ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งนำของฉันที่ไม่เป็นเดนไปปวารณาภิกษุผู้ฉันแล้ว
บอกห้ามภัตตาหารแล้ว(ให้ฉันอีก)
ในทุติยปวารณาสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๗. วิกาลโภชนสิกขาบท
[๙๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ฉันของเคี้ยวหรือของฉันในเวลา
วิกาล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ฉันภัตตาหารในเวลาวิกาล
ในวิกาลโภชนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
๘. สันนิธิการกสิกขาบท
[๙๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ฉันของเคี้ยวหรือของฉันที่เก็บ
สะสมไว้ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระเวลัฏฐสีสะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระเวลัฏฐสีสะฉันโภชนะที่เก็บสะสมไว้
ในสันนิธิการกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
๙. ปณีตโภชนสิกขาบท
[๙๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ออกปากขอโภชนะอันประณีตมา
เพื่อตนแล้วฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตน
แล้วฉัน
ในปณีตโภชนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ
๑๐. ทันตโปนสิกขาบท
[๙๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้กลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วง
ลำคอ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งกลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวาย ให้ล่วงลำคอ
ในทันตโปนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลม
สมุฏฐาน ฯลฯ
โภชนวรรคที่ ๔ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในโภชนวรรค

๑. อาวสถปิณฑสิกขาบท ว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม
๒. คณโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันคณโภชนะ
๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันปรัมปรโภชนะ
๔. กาณมาตุสิกขาบท ว่าด้วยมารดาของนางกาณา
๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ ๑
๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ ๒
๗. วิกาลโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันโภชนะในเวลาวิกาล
๘. สันนิธิการกสิกขาบท ว่าด้วยการสะสมโภชนะ
๙. ปณีตโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอโภชนะอันประณีต
๑๐. ทันตโปนสิกขาบท ว่าด้วยการรับประเคนอาหารนอกจากน้ำและ
ไม้ชำระฟัน

๕. อเจลกวรรค
๑. อเจลกสิกขาบท
[๙๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ของเคี้ยวหรือของฉันแก่อเจลกปริพาชกหรือ
ปริพาชิกาด้วยมือตน ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอานนท์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอานนท์แจกขนมให้ปริพาชิกาคนหนึ่ง ๒ ชิ้นด้วย
สำคัญว่าเป็นชิ้นเดียว
ในอเจลกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
๒. อุยโยชนสิกขาบท
[๙๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้กล่าวชักชวนภิกษุว่า “ท่านจงมา
เถิด พวกเราจะเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านหรือในนิคม” แล้วให้ทายกถวายหรือไม่ให้
ทายกถวายแก่ภิกษุนั้นแล้วนิมนต์กลับ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวชักชวนภิกษุว่า “ท่านจง
มาเถิด พวกเราจะเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านหรือในนิคม” แล้วไม่ให้ทายกถวายแก่
ภิกษุนั้น แล้วนิมนต์กลับ
ในอุยโยชนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๓. สโภชนสิกขาบท
[๙๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เข้าไปนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน
๒ คน ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรเข้าไปนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มี
คน ๒ คน
ในสโภชนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
๔. รโหปฏิจฉันนสิกขาบท
[๙๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับ
มาตุคาม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับ
มาตุคาม
ในรโหปฏิจฉันนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทาง
วาจา ฯลฯ
๕. รโหนิสัชชสิกขาบท
[๙๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นั่งในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนั่งในที่ลับกับมาตุคามสองต่อ
สอง
ในรโหนิสัชชสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
๖. จาริตตสิกขาบท
[๙๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว
ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ เที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หรือ
หลังเวลาฉันภัตตาหาร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหาร
อยู่แล้ว ยังเที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หลังเวลาฉัน
ภัตตาหาร
ในจาริตตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๔ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
๗. มหานามสิกขาบท
[๑๐๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ออกปากขอเภสัชเกินกว่ากำหนดนั้น
ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเจ้ามหานามศากยะขอร้องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “พระ
คุณเจ้าทั้งหลาย วันนี้ พระคุณเจ้าโปรดรอก่อน” ก็รอไม่ได้
ในมหานามสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท
[๑๐๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไปดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนรบ
ในอุยยุตตเสนาสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลม
สมุฏฐาน ฯลฯ
๙. เสนาวาสสิกขาบท
[๑๐๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้อยู่พักแรมในกองทัพเกินกว่า ๓ คืน
ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในอเจลกวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์อยู่พักแรมในกองทัพเกินกว่า ๓ คืน
ในเสนาวาสสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท
[๑๐๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไปสู่สนามรบ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปสู่สนามรบ
ในอุยโยธิกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
อเจลกวรรคที่ ๕ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในอเจลกวรรค

๑. อเจลกสิกขาบท ว่าด้วยนักบวชเปลือย
๒. อุยโยชนสิกขาบท ว่าด้วยการส่งกลับ
๓. สโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซงในที่ที่มีคน ๒ คน
๔. รโหปฏิจฉันนสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับที่มีสิ่งกำบัง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. สุราปานวรรค

๕. รโหนิสัชชสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ
๖. จาริตตสิกขาบท ว่าด้วยการเที่ยวสัญจรไป
๗. มหานามสิกขาบท ว่าด้วยพระเจ้ามหานามศากยะ
๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท ว่าด้วยกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ
๙. เสนาวาสสิกขาบท ว่าด้วยการพักอยู่ในกองทัพ
๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท ว่าด้วยการไปสู่สนามรบ

๖. สุราปานวรรค
๑. สุราปานสิกขาบท
[๑๐๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะดื่มสุราและเมรัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระสาคตะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระสาคตะดื่มน้ำเมา
ในสุราปานสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
๒. อังคุลิปโตทกสิกขาบท
[๑๐๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะใช้นิ้วมือจี้ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. สุราปานวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้นิ้วมือจี้ภิกษุให้หัวเราะ
ในอังคุลิปโตทกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
๓. หัสสธัมมสิกขาบท
[๑๐๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะเล่นน้ำ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เล่นน้ำในแม่น้ำอจิรวดี
ในหัสสธัมมสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
๔. อนาทริยสิกขาบท
[๑๐๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะไม่เอื้อเฟื้อ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะทำความไม่เอื้อเฟื้อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. สุราปานวรรค
ในอนาทริยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๕. ภิงสาปนสิกขาบท
[๑๐๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ทำให้ภิกษุตกใจ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำให้ภิกษุตกใจ
ในภิงสาปนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๖. โชติกสิกขาบท
[๑๐๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ก่อไฟผิง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ ภัคคชนบท
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปช่วยกันก่อไฟผิง
ในโชติกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๒ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๗. นหานสิกขาบท
[๑๑๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เมื่อยังไม่ถึงครึ่งเดือน อาบน้ำ ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. สุราปานวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูป แม้เห็นพระราชาแล้วก็ยังอาบน้ำไม่รู้ความ
พอดี
ในนหานสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๖ พระอนุบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีปเทสบัญญัติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็น
เอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท
[๑๑๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ได้จีวรใหม่แล้ว ไม่ใช้วัตถุที่ทำ
ให้เสียสี ๓ ชนิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปจำจีวรของตนไม่ได้
ในทุพพัณณกรณสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
๙. วิกัปปนสิกขาบท
[๑๑๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้วิกัปจีวรด้วยตนเองให้แก่ภิกษุ
หรือแก่ภิกษุณี หรือแก่สิกขมานา หรือแก่สามเณร หรือแก่สามเณรี แล้วใช้สอยจีวร
ที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์ ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมสิกขาที่มีในสุราปานวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุแล้ว
ใช้สอยจีวรที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์
ในวิกัปปนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
๑๐. จีวรอปนิธานสิกขาบท
[๑๑๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เอาบาตร หรือจีวร ผ้าปูนั่ง กล่อง
เข็ม หรือประคดเอวของภิกษุไปซ่อน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เอาบาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง
กล่องเข็มบ้าง ประคดเอวบ้างของภิกษุไปซ่อน
ในจีวรอปนิธานสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สุราเมรยวรรคที่ ๖ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในสุราปานวรรค
๑. สุราปานสิกขาบท ว่าด้วยการดื่มสุราและเมรัย
๒. อังคุลิปโตทกสิกขาบท ว่าด้วยการใช้นิ้วมือจี้กันและกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค

๓. หัสสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยการเล่นน้ำ
๔. อนาทริยสิกขาบท ว่าด้วยการไม่เอื้อเฟื้อต่อคำตักเตือน
๕. ภิงสาปนสิกขาบท ว่าด้วยการทำให้ตกใจ
๖. โชติกสิกขาบท ว่าด้วยการก่อไฟผิง
๗. นหานสิกขาบท ว่าด้วยการสรงน้ำนอกสมัย
๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท ว่าด้วยการทำจีวรใหม่ให้เสียสี
๙. วิกัปปนสิกขาบท ว่าด้วยการวิกัปจีวร
๑๐. จีวรอปนิธานสิกขาบท ว่าด้วยการซ่อนจีวร

๗. สัปปาณกวรรค
๑. สัญจิจจสิกขาบท
[๑๑๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้จงใจปลงชีวิตสัตว์ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีจงใจปลงชีวิตสัตว์
ในสัญจิจจสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๒. สัปปาณกสิกขาบท
[๑๑๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ว่าน้ำมีสัตว์มีชีวิต ก็ยัง
บริโภค ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ว่าน้ำมีสัตว์มีชีวิต ยังบริโภค
ในสัปปาณกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๓. อุกโกฏนสิกขาบท
[๑๑๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินไป
แล้วอย่างถูกต้อง เพื่อพิจารณาใหม่ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถอบ : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินไปแล้วอย่าง
ถูกต้อง เพื่อพิจารณาใหม่
ในอุกโกฏนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท
[๑๑๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ ปกปิดอาบัติชั่วหยาบ ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งรู้อยู่ ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ
ในทุฏฐุลลสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท
[๑๑๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ อุปสมบทให้บุคคลผู้มีอายุ
หย่อนกว่า ๒๐ ปี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรู้อยู่ อุปสมบทให้บุคคลผู้มีอายุหย่อนกว่า
๒๐ ปี
ในอูนวีสติวัสสสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๖. เถยยสัตถสิกขาบท
[๑๑๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ ชักชวนกันเดินทางไกลร่วม
กับกลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งรู้อยู่ ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับกลุ่ม
พ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร
ในเถยยสัตถสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๗. สังวิธานสิกขาบท
[๑๒๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับ
มาตุคาม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับมาตุคาม
ในสังวิธานสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ
๘. อริฏฐสิกขาบท
[๑๒๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่สละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์
สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุชื่ออริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุชื่ออริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งไม่สละทิฏฐิบาป
จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค
ในอริฏฐสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท
[๑๒๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ก็ยังคบหากับภิกษุผู้กล่าวตู่
อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำธรรมอันสมควร ผู้ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ก็ยังคบหากับภิกษุอริฏฐะผู้กล่าวตู่
อย่างนั้นผู้ที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำธรรมอันสมควร ผู้ยังไม่สละทิฏฐินั้น
ในอุกขิตตสัมโภคสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๑๐. กัณฏกสิกขาบท
[๑๒๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ก็ยังปลอบโยนสมณุทเทสผู้
ถูกสงฆ์นาสนะแล้วอย่างนั้น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ก็ยังปลอบโยนสมณุทเทสชื่อกัณฏกะ
ผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้วอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
ในกัณฏกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สัปปาณกวรรคที่ ๗ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในสัปปาณกวรรค

๑. สัญจิจจสิกขาบท ว่าด้วยความจงใจปลงชีวิตสัตว์
๒. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยการบริโภคน้ำที่มีสัตว์มีชีวิต
๓. อุกโกฏนสิกขาบท ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ขึ้นมาพิจารณาใหม่
๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท ว่าด้วยการปกปิดอาบัติชั่วหยาบ
๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท ว่าด้วยการอุปสมบทให้บุคคลมีอายุหย่อนกว่า
๒๐ ปี
๖. เถยยสัตถสิกขาบท ว่าด้วยการเดินทางไกลร่วมกับพ่อค้าเกวียนผู้
เป็นโจร
๗. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางไกลร่วมกับมาตุคาม
๘. อริฏฐสิกขาบท ว่าด้วยพระอริฏฐะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
๙. อุกขิตตสัมโภค- ว่าด้วยการคบหาภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
สิกขาบท
๑๐. กัณฏกสิกขาบท ว่าด้วยสมณุทเทสชื่อกัณฏกะถูกสงฆ์นาสนะ

๘. สหธัมมิกวรรค
๑. สหธัมมิกสิกขาบท
[๑๒๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่โดยชอบ
ธรรม กลับกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้
สอบถามภิกษุรูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นวินัยธร” ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะผู้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่โดย
ชอบธรรมกลับกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้
สอบถามภิกษุรูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นวินัยธร”
ในสหธัมมิกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๒. วิเลขนสิกขาบท
[๑๒๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ดูหมิ่นพระวินัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ดูหมิ่นพระวินัย
ในวิเลขนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๓. โมหนสิกขาบท
[๑๒๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะแสร้งทำผู้อื่นให้หลง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสร้งทำผู้อื่นให้หลง
ในโมหนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๔. ปหารสิกขาบท
[๑๒๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ ทำร้ายภิกษุ ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่พอใจ ทำร้ายภิกษุ
ในปหารสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
๕. ตลสัตติกสิกขาบท
[๑๒๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือ
ให้ภิกษุ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
ในตลสัตติกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
๖. อมูลกสิกขาบท
[๑๒๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสส
ที่ไม่มีมูล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่
ไม่มีมูล
ในอมูลกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๗. สัญจิจจสิกขาบท
[๑๓๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้จงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุ
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุ
ในสัญจิจจสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
๘. อุปัสสุติสิกขาบท
[๑๓๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ยืนแอบฟังภิกษุทั้งหลายผู้บาด-
หมาง ทะเลาะ วิวาทกัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยืนแอบฟังภิกษุทั้งหลายผู้บาดหมาง
ทะเลาะวิวาทกัน
ในอุปัสสุติสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท
[๑๓๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้ว
กลับติเตียนในภายหลัง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้ว
กลับติเตียนในภายหลัง
ในกัมมปฏิพาหนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท
[๑๓๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ใน
สงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์ ไม่ให้
ฉันทะแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป
ในฉันทอทัตวาคมนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
ฯลฯ
๑๑. ทัพพสิกขาบท
[๑๓๔] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้
จีวรไปแล้วกลับติเตียนในภายหลัง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวร
ไปแล้วกลับติเตียนในภายหลัง
ในทัพพสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในสหธัมมิกวรรค
๑๒. ปริณามนสิกขาบท
[๑๓๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็น
ของจะถวายสงฆ์ ไปเพื่อบุคคล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของที่
จะถวายสงฆ์ ไปเพื่อบุคคล
ในปริณามนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สหธัมมิกวรรคที่ ๘ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในสหธัมมิกวรรค

๑. สหธัมมิกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวตักเตือนผู้ร่วมประพฤติธรรม
โดยชอบธรรม
๒. วิเลขนสิกขาบท ว่าด้วยความยุ่งยากแห่งสิกขาบท
๓. โมหนสิกขาบท ว่าด้วยการทำให้ผู้อื่นหลง
๔. ปหารสิกขาบท ว่าด้วยการทำร้ายเพื่อนภิกษุ
๕. ตลสัตติกสิกขาบท ว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นทำทีว่าจะทำร้าย
๖. อมูลกสิกขาบท ว่าด้วยการใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่
ไม่มีมูล
๗. สัญจิจจสิกขาบท ว่าด้วยการจงใจก่อความรำคาญ
๘. อุปัสสุติสิกขาบท ว่าด้วยการแอบฟังภิกษุทะเลาะกัน
๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท ว่าด้วยการคัดค้านกรรมที่ถูกต้อง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ราชวรรค

๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ให้ฉันทะแล้วไปเสีย
๑๑. ทัพพสิกขาบท ว่าด้วยการถวายจีวรแก่พระทัพพมัลลบุตร
๑๒. ปริณามนสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภสงฆ์ไปเพื่อบุคคล

๙. ราชวรรค(รตนวรรค)
๑. อันเตปุรสิกขาบท
[๑๓๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า เข้าไปพระราชฐานชั้นใน
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอานนท์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอานนท์ยังไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า เข้าไปพระราชฐาน
ชั้นใน
ในอันเตปุรสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
๒. รตนสิกขาบท
[๑๓๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เก็บรัตนะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ราชวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งเก็บรัตนะ
ในรตนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๒ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท
[๑๓๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว เข้าหมู่
บ้านในเวลาวิกาล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว เข้าหมู่บ้าน
ในเวลาวิกาล
ในวิกาลคามปเวสนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๓ พระอนุบัญญัติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็น
กฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
๔. สูจิฆรสิกขาบท
[๑๓๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ทำกล่องเข็มด้วยกระดูก ด้วยงา
หรือด้วยเขา ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ราชวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปไม่รู้จักประมาณออกปากขอกล่องเข็มเป็น
จำนวนมาก
ในสูจิฆรสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๕. มัญจปีฐสิกขาบท
[๑๔๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ทำเตียงหรือตั่งเกินขนาด ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนอนบนเตียงสูง
ในมัญจปีฐสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๖. ตูโลนัทธสิกขาบท
[๑๔๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ทำเตียงหรือตั่งหุ้มด้วยนุ่น
ในตูโลนัทธสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ราชวรรค
๗. นิสีทนสิกขาบท
[๑๔๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ทำผ้ารองนั่งเกินขนาด ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้ารองนั่งไม่ได้ขนาด
ในนิสีทนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๘. กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท
[๑๔๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ทำผ้าปิดฝีเกินขนาด ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าปิดฝีไม่ได้ขนาด
ในกัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๙. วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท
[๑๔๔] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำฝนเกินขนาด ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในราชวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่ได้ขนาด
ในวัสสิกสาฏิกาสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๑๐. นันทสิกขาบท
[๑๔๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ทำจีวรมีขนาดเท่ากับสุคตจีวร
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระนันทะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระนันทะห่มจีวรมีขนาดเท่ากับสุคตจีวร
ในนันทสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
ราชวรรคที่ ๙ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในราชวรรค

๑. อันเตปุรสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าเขตพระราชฐานชั้นใน
๒. รตนสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บรัตนะที่เจ้าของลืมไว้
๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าบ้านในเวลาวิกาล
๔. สูจิฆรสิกขาบท ว่าด้วยการทำกล่องเข็มด้วยกระดูกเป็นต้น
๕. มัญจปีฐสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงและตั่ง
๖. ตูโลนัทธสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงและตั่งหุ้มนุ่น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์

๗. นิสีทนสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้ารองนั่ง
๘. กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าปิดฝี
๙. วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าอาบน้ำฝน
๑๐. นันทสิกขาบท ว่าด้วยท่านพระนันทะ

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จบ
ขุททกสิกขาบท จบบริบูรณ์
รวมวรรคที่มีในปาจิตติยกัณฑ์

๑. มุสาวาทวรรค หมวดว่าด้วยการกล่าวเท็จ
๒. ภูตคามวรรค หมวดว่าด้วยภูตคาม
๓. โอวาทวรรค หมวดว่าด้วยโอวาท
๔. โภชนวรรค หมวดว่าด้วยโภชนะ
๕. อเจลกวรรค หมวดว่าด้วยนักบวชเปลือย
๖. สุราปานวรรค หมวดว่าด้วยการดื่มสุรา
๗. สัปปาณกวรรค หมวดว่าด้วยสัตว์มีชีวิต
๘. สหธัมมิกวรรค หมวดว่าด้วยผู้ร่วมประพฤติธรรม
๙. ราชวรรค หมวดว่าด้วยพระราชา

๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในปาฏิเทสนียกัณฑ์
๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท
[๑๔๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุผู้รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนจากมือ
ของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติผู้เข้าไปในละแวกบ้านแล้วฉัน ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งรับอามิสจากมือ ของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติผู้เข้าไป
สู่ละแวกบ้าน
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
[๑๔๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุผู้ไม่ห้ามภิกษุณีมายืนบงการ
(ทายก)ฉันอยู่ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ห้ามภิกษุณีผู้มายืนบงการ
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่
เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๓. ตติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
[๑๔๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุผู้รับของเคี้ยวหรือของฉันใน
ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ด้วยมือตนเองแล้วฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับภัตตาหารโดยไม่รู้จักประมาณ
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๒ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทาง
กาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท
[๑๔๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุผู้รับของเคี้ยวหรือของฉันที่
ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนด้วยมือตนเองในอารามในเสนาสนะป่าแล้วฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปไม่บอกว่าโจรอาศัยอยู่ในอาราม
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทาง
กายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท จบ
รวมสิกขาบทที่มีในปาฏิเทสนียกัณฑ์

๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากมือ
ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ
๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๑. ปริมันฑลวรรค

๓. ตติยปาฏิเทสนียสิกขาบท ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันในที่ที่ไม่ได้รับ
นิมนต์ไว้ก่อน
๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากทายก
ที่ไม่ได้แจ้งไว้ก่อน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในเสขิยกัณฑ์
๑. ปริมัณฑลวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๐] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้าง
หลังบ้าง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้าง
หลังบ้าง
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ครองอุตตราสงค์ย้อยข้างหน้าบ้าง
ข้างหลังบ้าง ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๑. ปริมันฑลวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครองอุตตราสงค์ย้อยข้างหน้าบ้าง ข้าง
หลังบ้าง
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเปิดกายในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งเปิดกายในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินคะนองมือบ้าง คะนองเท้า
บ้าง ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เดินคะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง
ไปในละแวกบ้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๑. ปริมันฑลวรรค
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง
นั่งในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง นั่งใน
ละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินมองดูในที่นั้น ๆ ไปในละแวก
บ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินมองดูที่นั้น ๆ ไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งมองดูที่นั้น ๆ ในละแวกบ้าน
ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ นั่งมองดูที่นั้น ๆ ในละแวกบ้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๒. อุชชัคฆิกวรรค
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เดินเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ นั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
ปริมัณฑลวรรคที่ ๑ จบ
๒. อุชชัคฆิกวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๑] ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินหัวเราะดัง ไปในละแวก
บ้าน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๒. อุชชัคฆิกวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เดินหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน ณ
ที่ไหน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ นั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินตะโกนเสียงดังไปในละแวก
บ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เดินตะโกนเสียงดัง ไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งตะโกนเสียงดังในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ นั่งตะโกนเสียงดังในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๒. อุชชัคฆิกวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อเดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งแกว่งแขนในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ นั่งแกว่งแขนในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะ ไปในละแวกบ้าน
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๓. ขัมภกตวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อนั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งโคลงศีรษะทำคอพับในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
อุชชัคฆิกวรรคที่ ๒ จบ
๓. ขัมภกตวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อเดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้าน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๓. ขัมภกตวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อนั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อนั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน ณ ที่
ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อรับบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อรับบิณฑบาตมองดูที่นั้น ๆ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๔. ปิณฑปาตวรรค
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อเลือกรับเฉพาะแกงมาก ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อรับบิณฑบาตล้นขอบปากบาตร ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
ขัมภกตวรรคที่ ๓ จบ
๔. ปิณฑปาตวรรค(สักกัจจวรรค)
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๓] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตมองดูไปที่นั้น ๆ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๔. ปิณฑปาตวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้น ๆ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อฉันเฉพาะแกงมาก ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ออกปากขอแกงหรือ
ข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุฉัพพัคคีย์ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้างมาฉันส่วนตัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๕. กพฟวรรค
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุ
เหล่าอื่น ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ยาว ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
ปิณฑปาตวรรคที่ ๔ จบ
๕. กพฬวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๕. กพฟวรรค
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ขณะกำลังฉัน สอดมือทั้งหมด
เข้าไปในปาก๑ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ พูดคุยขณะที่ในปากมีคำข้าว ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโยนคำข้าว ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันกัดคำข้าว ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ สอดมือทั้งหมด เป็นสมุทายโวหาร คือกล่าวรวม ๆ มือทั้งหมดหมายถึงนิ้วมือแต่ละนิ้ว (สารตฺถ.ฏีกา
๓/๖๑๘/๑๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๕. กพฟวรรค
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันภัตตาหารทำกระพุ้งแก้มให้
ตุ่ย ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันสลัดมือ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโปรยเมล็ดข้าว ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแลบลิ้น ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
กพฬวรรคที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๖. สุรุสุรุวรรค
๖. สุรุสุรุวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๕] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังซู๊ด ๆ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปดื่มน้ำนมเสียงดังซู๊ด ๆ
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียมือ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุที่ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันขอดบาตร ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียริมฝีปาก ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๖. สุรุสุรุวรรค
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ จับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อน
อาหาร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ ภัคคชนบท
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปจับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวก
บ้าน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ ภัคคชนบท
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่ม ณ
ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๖. สุรุสุรุวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่ม
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนถือไม้พลอง ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนถือศัสตรา ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้ถืออาวุธ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สุรุสุรุวรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค
๗. ปาทุกวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้สวมเขียงเท้า ณ
ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนสวมรองเท้า ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนอยู่ในยาน
พาหนะ ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้อยู่บนที่นอน
ณ ที่ไหน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่นั่งรัดเข่า
ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้โพกศีรษะ
ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้คลุมศีรษะ
ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่บนพื้นดิน แสดงธรรมแก่
คนผู้นั่งบนอาสนะ ณ ที่ไหน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา
กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่บนอาสนะต่ำ แสดงธรรม
แก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา
กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ยืนแสดงธรรมแก่คนผู้นั่งอยู่ ณ
ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา
กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๑
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่ข้างหลัง แสดงธรรมแก่
คนผู้เดินไปข้างหน้า ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา
กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่นอกทาง แสดงธรรม
แก่คนผู้เดินไปในทาง ณ ที่ไหน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค
ในสิกขาบทที่ ๑๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา
กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ยืนถ่ายอุจจาระหรือถ่ายปัสสาวะ
ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ
หรือบ้วนน้ำลายลงบนของเขียว ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ
หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง
บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในเสขิยกัณฑ์
มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับทางจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
ปาทุกวรรคที่ ๗ จบ
เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท จบ
รวมสิกขาบทที่มีในเสขิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๑-๒ ว่าด้วยการครองอันตรวาสกและอุตตราสงค์เรียบร้อย
สิกขาบทที่ ๓-๔ ว่าด้วยการปกปิดกายดีไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๕-๖ ว่าด้วยการสำรวมดีไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๗-๘ ว่าด้วยการมีจักษุทอดลงไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๙-๑๐ ว่าด้วยการไม่เวิกผ้าไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๑-๑๒ ว่าด้วยการไม่หัวเราะดังไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๓-๑๔ ว่าด้วยการพูดเสียงเบาไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๕-๑๖ ว่าด้วยการไม่เดินโคลงกายไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๗-๑๘ ว่าด้วยการไม่เดินแกว่งแขนไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๙-๒๐ ว่าด้วยการไม่เดินโคลงศีรษะไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๑-๒๒ ว่าด้วยการไม่เดินเท้าสะเอวไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๓-๒๔ ว่าด้วยการไม่เดินคลุมศีรษะไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๕ ว่าด้วยการไม่เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๖ ว่าด้วยการไม่นั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๗ ว่าด้วยการรับบิณฑบาตโดยเคารพ
สิกขาบทที่ ๒๘ ว่าด้วยการให้ความสำคัญในบาตรขณะรับบิณฑบาต
สิกขาบทที่ ๒๙ ว่าด้วยการรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง
สิกขาบทที่ ๓๐ ว่าด้วยการรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร
สิกขาบทที่ ๓๑ ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตโดยเคารพ
สิกขาบทที่ ๓๒ ว่าด้วยการให้ความสำคัญในบาตรขณะฉันบิณฑบาต
สิกขาบทที่ ๓๓ ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในเสขิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๓๔ ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง
สิกขาบทที่ ๓๕ ว่าด้วยการไม่ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด
สิกขาบทที่ ๓๖ ว่าด้วยการไม่ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว
สิกขาบทที่ ๓๗ ว่าด้วยการไม่ออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว
สิกขาบทที่ ๓๘ ว่าด้วยการไม่มุ่งตำหนิมองดูบาตรของภิกษุอื่น
สิกขาบทที่ ๓๙ ว่าด้วยการไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน
สิกขาบทที่ ๔๐ ว่าด้วยการทำคำข้าวให้กลม
สิกขาบทที่ ๔๑ ว่าด้วยการไม่อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก
สิกขาบทที่ ๔๒ ว่าด้วยการไม่สอดมือทั้งหมดเข้าในปาก
สิกขาบทที่ ๔๓ ว่าด้วยการไม่พูดคุยขณะที่ในปากมีคำข้าว
สิกขาบทที่ ๔๔ ว่าด้วยการไม่ฉันโยนคำข้าว
สิกขาบทที่ ๔๕ ว่าด้วยการไม่ฉันกัดคำข้าว
สิกขาบทที่ ๔๖ ว่าด้วยการไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
สิกขาบทที่ ๔๗ ว่าด้วยการไม่ฉันสลัดมือ
สิกขาบทที่ ๔๘ ว่าด้วยการไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
สิกขาบทที่ ๔๙ ว่าด้วยการไม่ฉันแลบลิ้น
สิกขาบทที่ ๕๐ ว่าด้วยการไม่ฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ
สิกขาบทที่ ๕๑ ว่าด้วยการไม่ฉันทำเสียงดังซู้ด ๆ
สิกขาบทที่ ๕๒ ว่าด้วยการไม่ฉันเลียมือ
สิกขาบทที่ ๕๓ ว่าด้วยการไม่ฉันขอดบาตร
สิกขาบทที่ ๕๔ ว่าด้วยการไม่ฉันเลียริมฝีปาก
สิกขาบทที่ ๕๕ ว่าด้วยการไม่จับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
สิกขาบทที่ ๕๖ ว่าด้วยการไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๕๗ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้กั้นร่ม๑
สิกขาบทที่ ๕๘ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้ถือไม้พลอง
สิกขาบทที่ ๕๙ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้ถือศัสตรา

เชิงอรรถ :
๑ บาลีใช้คำว่าพระตถาคตจะไม่ทรงแสดงพระสัทธรรมแก่คนเหล่านี้ (น เทเสนฺติ ตถาคตา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น