Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๘-๓ หน้า ๑๒๑ - ๑๘๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘-๓ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร



พระวินัยปิฎก
ปริวาร
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ รวมวรรคที่มีในเสขิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๖๐ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้ถืออาวุธ
สิกขาบทที่ ๖๑ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้สวมเขียงเท้า
สิกขาบทที่ ๖๒ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้สวมรองเท้า
สิกขาบทที่ ๖๓ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้อยู่ในยานพาหนะ
สิกขาบทที่ ๖๔ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้อยู่บนที่นอน
สิกขาบทที่ ๖๕ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งรัดเข่า
สิกขาบทที่ ๖๖ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้โพกศีรษะ
สิกขาบทที่ ๖๗ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้คลุมศีรษะ
สิกขาบทที่ ๖๘ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะ
สิกขาบทที่ ๖๙ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง
สิกขาบทที่ ๗๐ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งอยู่
สิกขาบทที่ ๗๑ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปข้างหน้า
สิกขาบทที่ ๗๒ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปในทางขณะที่
อยู่นอกทาง
สิกขาบทที่ ๗๓ ว่าด้วยการไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ
สิกขาบทที่ ๗๔ ว่าด้วยการไม่บ้วนน้ำลายบนของเขียว
สิกขาบทที่ ๗๕ ว่าด้วยการไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสาวะหรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ
รวมวรรคที่มีในเสขิยกัณฑ์

๑. ปริมัณฑลวรรค หมวดว่าด้วยการนุ่งห่มเป็นปริมณฑล
๒. อุชชัคฆิกวรรค หมวดว่าด้วยการหัวเราะ
๓. ขัมภกตวรรค หมวดว่าด้วยการเท้าสะเอว
๔. ปิณฑปาตวรรค หมวดว่าด้วยบิณฑบาต
๕. กพฬวรรค หมวดว่าด้วยคำข้าว
๖. สุรุสุรุวรรค หมวดว่าด้วยการฉันดังซู้ด ๆ
๗. ปาทุกาวรรค หมวดว่าด้วยเขียงเท้า

กัตถปัญญัตติวารในมหาวิภังค์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๒. กตาปัตติวาร
วาระว่าด้วยต้องอาบัติเท่าไร
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๕๗] ถาม : ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. เสพเมถุนธรรมในซากศพที่ยังไม่ถูกสัตว์กัดกิน ต้องอาบัติปาราชิก
๒. เสพเมถุนธรรมในซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินโดยมาก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. สอดองคชาตเข้าในปากที่อ้า แต่มิได้ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
[๑๕๘] ถาม : ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคา ๕
มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคาเกิน
กว่า ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคา ๑
มาสก หรือน้อยกว่า ๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
[๑๕๙] ถาม : ภิกษุจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ขุดหลุมพรางไว้เจาะจงมนุษย์ว่า “บุคคลชื่อนี้จะตกลงไปตาย” ต้อง
อาบัติทุกกฏ
๒. เมื่อบุคคลนั้นตกลงไปได้รับทุกขเวทนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
[๑๖๐] ถาม : ภิกษุกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติ
เท่าไร
ตอบ : ภิกษุกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติ ๓
อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริ -
มนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่านภิกษุรูปนั้นเป็นพระ
อรหันต์” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง
เหล่านี้
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในสังฆาทิเสสกัณฑ์
๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท
[๑๖๑] ถาม : ภิกษุพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จงใจ พยายาม น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒. จงใจ พยายาม น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ต้องอาบัติทุกกฏ๑ เพราะพยายาม
๒. กายสังสัคคสิกขาบท
ภิกษุถูกต้องกายกับมาตุคาม ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ใช้กายจับต้องกาย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒. ใช้กายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติทุกกฏในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทมีกล่าวในคัมภีร์มหาวิภังค์ ๒ แห่ง
๑. ภิกษุจับองคชาตของสามเณร ผู้หลับอยู่แล้ว น้ำอสุจิของภิกษุเคลื่อน ต้องอาบัติทุกกฏ (วิ.มหา.
(แปล) ๑/๒๖๕/๒๘๑)
๒. ภิกษุมีความกำหนัดเพ่งดูองค์กำเนิดของมาตุคาม ต้องอาบัติทุกกฏ (วิ.มหา. (แปล) ๑/๒๖๖/
๒๘๔)
ในอรรถกถากล่าวอาบัติทุกกฏไว้ ๒ แห่ง
๑. ภิกษุยินดีในเมถุนธรรม จับต้องมาตุคามด้วยความกำหนัดในเมถุน น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะ
พยายามจับต้อง แต่เพราะเป็นขั้นตอนแห่งเมถุนธรรม จึงต้องอาบัติทุกกฏ (วิ.อ. ๒/๒๔๐/๑๓)
๒. ภิกษุมีความกำหนัดพยายามเพ่งดูนิมิตของมาตุคามต้องอาบัติทุกกฏ (วิ.อ. ๒/๒๖๖/๑๘)
ต้องอาบัติทุกกฏ ขณะพยายาม ในคัมภีร์ปริวารนี้คงหมายถึงพยายามจับต้องมาตุคามด้วยประสงค์
จะเสพเมถุนธรรมแล้วน้ำอสุจิเคลื่อน หรือพยายามเพ่งดูอวัยวะของมาตุคามก็ได้ เพราะข้อความตอนนี้
ท่านอธิบายสุกกวิสัฏฐิสิกขาบท ในสิกขาบทวิภังค์ และปทภาชนีย์ ไม่มีกล่าวถึงอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท
ภิกษุพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
๒. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา อวัยวะ
เบื้องต่ำเหนือเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนัก ทวารเบา ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท
ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตน ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้ามาตุคาม ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
๒. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๓. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าสัตว์ดิรัจฉาน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
๕. สัญจริตตสิกขาบท
ภิกษุทำหน้าที่ชักสื่อ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. รับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒. รับคำ ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. รับคำ ไม่ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ
๖. กุฏิการสิกขาบท
ภิกษุสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
๑. กำลังใช้ให้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๗. วิหารการสิกขาบท
ภิกษุใช้ให้สร้างวิหารใหญ่ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหมจรรย์ จึงโจท
ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
๒. ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่า จึงโจท ต้องอาบัติเพราะกล่าว
เสียดสี๑
๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท
ภิกษุอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิก
ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหมจรรย์ จึงโจท
ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
๒. ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่า จึงโจท ต้องอาบัติเพราะกล่าว
เสียดสี

เชิงอรรถ :
๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสีตามสิกขาบทที่ ๒ แห่งมุสาวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ (วิ.มหา.
(แปล) ๒/๑๔/๒๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
๑๐. สังฆเภทสิกขาบท
ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งก็ยังไม่สละ(เรื่องนั้น)
ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท
ภิกษุทั้งหลายที่ประพฤติตามสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์
ครบ ๓ ครั้ง ก็ยังไม่สละ(เรื่องนั้น) ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๑๒. ทุพพจสิกขาบท
ภิกษุเป็นคนว่ายาก ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ก็ยังไม่สละ(เรื่องนั้น)
ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๑๓. กุลทูสกสิกขาบท
ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ก็ยังไม่สละ ต้อง
อาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ ๑. กฐินวรรค
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ
ฯเปฯ
๔. นิสสัคคิยกัณฑ์
จำนวนอาบัติในนิสสัคคิยกัณฑ์
๑. กฐินวรรค
๑. ปฐมกฐินสิกขาบท
[๑๖๒] ภิกษุทรงอติเรกจีวรไว้เกิน ๑๐ วัน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ นิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์
๒. อุทโทสิตสิกขาบท
ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรสิ้นราตรีหนึ่ง ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ นิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์
๓. ตติยกฐินสิกขาบท
ภิกษุรับผ้าที่เป็นอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกิน ๑ เดือน ต้องอาบัติ ๑ อย่างคือ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
๔. ปุราณจีวรสิกขาบท
ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซักจีวรเก่า ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ใช้ให้ซัก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม๑
๒. เมื่อให้ซักเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ ปโยเค เพราะพยายาม ทุกแห่ง หมายถึงในขณะพยายามทำ หรือใช้ให้ทำสิ่งนั้น ๆ ก่อนสำเร็จ (ดู วิ.อ.
๒/๓๕๓/๖๔-๖๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๑. กฐินวรรค
๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท
ภิกษุรับจีวรจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อรับจีวรแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท
ภิกษุออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชาย หรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. ออกปากขอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อออกปากขอได้มาแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๗. ตตุตตริสิกขาบท
ภิกษุออกปากขอจีวรเกินกว่านั้นจากคฤหัสถ์ชาย หรือคฤหัสถ์หญิง ผู้ไม่ใช่ญาติ
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ออกปากขอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อออกปากขอได้มาแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๘. อุปักขฏสิกขาบท
ภิกษุผู้ซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติแล้วกำหนดชนิด
จีวร ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำหนด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อกำหนดแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๙. ทุติยอุปักขฏสิกขาบท
ภิกษุผู้ซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วกำหนดจีวร
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๒. โกสิยวรรค
๑. กำหนด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อกำหนดแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๑๐. ราชสิกขาบท
ภิกษุให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ด้วยการทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. ให้เขาจัดสำเร็จ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อให้เขาจัดสำเร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
กฐินวรรคที่ ๑ จบ
๒. โกสิยวรรค
๑. โกสิยสิกขาบท
[๑๖๓] ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตผสมใยไหม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้ให้ทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๒. สุทธกาฬกสิกขาบท
ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้ให้ทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๓. เทฺวภาคสิกขาบท
ภิกษุไม่เอาขนเจียมขาว ๑ ส่วน ขนเจียมแดง ๑ ส่วน แล้วใช้ให้ทำสันถัตใหม่
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้ให้ทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๒. โกสิยวรรค
๔. ฉัพพัสสสิกขาบท
ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตทุกปี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้ให้ทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท
ภิกษุไม่เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน แล้วใช้ให้ทำสันถัตรองนั่งใหม่
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้ให้ทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๖. เอฬกโลมสิกขาบท
ภิกษุรับขนเจียมมาแล้ว เดินทางไปเกิน ๓ โยชน์ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ย่างเท้าที่ ๑ ผ่าน ๓ โยชน์ไป ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ย่างเท้าที่ ๒ ผ่านไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท
ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซักขนเจียม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้ซัก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้ให้ซักเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๘. รูปิยสิกขาบท
ภิกษุรับรูปิยะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังรับ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อรับแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค
๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท
ภิกษุทำการแลกเปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังแลกเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อแลกเปลี่ยนแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๑๐. กยวิกกยสิกขาบท
ภิกษุทำการซื้อขายมีประการต่าง ๆ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังซื้อขาย ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อซื้อขายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
โกสิยวรรคที่ ๒ จบ
๓. ปัตตวรรค
๑. ปัตตสิกขาบท
[๑๖๔] ภิกษุทรงอติเรกบาตรไว้เกิน ๑๐ วัน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง ขอบาตรใหม่ใบอื่น ต้องอาบัติ ๒
อย่าง คือ
๑. กำลังขอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อขอได้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๓. เภสัชชสิกขาบท
ภิกษุรับประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้ฉันเกิน ๗ วัน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค
๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท
ภิกษุแสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ต้อง
อาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังแสวงหา ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. แสวงหาได้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท
ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมา ต้องอาบัติ ๒ อย่าง
คือ
๑. กำลังชิงเอาคืนมา ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อชิงเอามาได้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท
ภิกษุออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวร ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้ทอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้ให้ทอเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๗. มหาเปสการสิกขาบท
ภิกษุผู้ซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกทั้งหลายของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่
ญาติ แล้วกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังกำหนด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อกำหนดเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท
ภิกษุรับอัจเจกจีวร แล้วเก็บไว้เกินสมัยจีวรกาล ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
๙. สาสังกสิกขาบท
ภิกษุเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านแล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน ต้อง
อาบัติ ๑ อย่างคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์
๑๐. ปริณตสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน ต้องอาบัติ ๒
อย่าง คือ
๑. กำลังน้อมมา ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อน้อมมาได้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ปัตตวรรคที่ ๓ จบ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท จบ
๕. ปาจิตติยกัณฑ์
จำนวนอาบัติในปาจิตติยกัณฑ์
๑. มุสาวาทวรรค
๑. มุสาวาทสิกขาบท
[๑๖๕] ถาม : ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริ-
มนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๓. ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่านภิกษุรูปนั้นเป็นพระ
อรหันต์” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
๔. เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
๕. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเท็จทั้งที่รู้
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้
๒. โอมสวาทสิกขาบท
ภิกษุกล่าวเสียดสี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กล่าวเสียดสีอุปสัมบัน(ภิกษุ) ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. กล่าวเสียดสีอนุปสัมบัน(ผู้มิใช่ภิกษุ) ต้องอาบัติทุกกฏ
๓. เปสุญญสิกขาบท
ภิกษุกล่าวส่อเสียด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กล่าวส่อเสียดอุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. กล่าวส่อเสียดอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๔. ปทโสธัมมสิกขาบท
ภิกษุสอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังสอนให้กล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ บท
๕. สหเสยยสิกขาบท
ภิกษุนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน เกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท
ภิกษุนอนร่วมกันกับมาตุคาม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
๑. กำลังนอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท
ภิกษุแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ บท
๘. ภูตาโรจนสิกขาบท
ภิกษุบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบอก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบอกแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท
ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบอก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบอกแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท
ภิกษุขุดดิน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังขุด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คราวที่ขุด
มุสาวาทวรรคที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค
๒. ภูตคามวรรค
๑. ภูตคามสิกขาบท
[๑๖๖] ภิกษุพรากภูตคาม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังพราก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คราวที่พราก
๒. อัญญวาทกสิกขาบท
ภิกษุนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. เมื่อสงฆ์ยังไม่ลงอัญญวาทกกรรม(กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้พูด
กลบเกลื่อน) นำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. เมื่อสงฆ์ลงอัญญวาทกกรรมแล้ว นำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. อุชฌาปนกสิกขาบท
ภิกษุกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังกล่าวให้เพ่งโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อกล่าวให้เพ่งโทษแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท
ภิกษุวางเตียง ตั่ง ฟูก หรือเก้าอี้ของสงฆ์ในที่กลางแจ้งแล้ว เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ
ไม่บอกมอบหมาย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. เดินล่วงเลฑฑุบาต๑ไป ๑ ก้าว ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. เดินล่วงเลฑฑุบาตไป ๒ ก้าว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ เลฑฑุบาต เท่ากับระยะโยนหรือขว้างก้อนดินไปตก(ดู วิสุทฺธิ. ๑/๓๑/๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค
๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท
ภิกษุปูที่นอนในวิหารของสงฆ์แล้ว เมื่อจะจากไปไม่เก็บ ไม่บอกมอบหมาย ต้อง
อาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. เดินล่วงเลยเครื่องล้อมไป ๑ ก้าว ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. เดินล่วงเลยเครื่องล้อมไป ๒ ก้าว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. อนุปขัชชสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ เข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เข้าไปอยู่ในวิหารของสงฆ์ก่อน ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท
ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังฉุดลาก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อฉุดลากออกไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท
ภิกษุนั่งบนเตียงหรือบนตั่งอันมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอยในวิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๙. มหัลลกวิหารสิกขาบท
ภิกษุดำเนินการมุงหลังคา(วิหาร) ๒-๓ ชั้น แล้วดำเนินการเกินกว่านั้น ต้อง
อาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค
๑. กำลังดำเนินการ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อดำเนินการแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๐. สัปปาณกสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต รดหญ้าหรือดิน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังรด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อรดแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภูตคามวรรคที่ ๒ จบ
๓. โอวาทวรรค
๑. โอวาทสิกขาบท
[๑๖๗] ภิกษุไม่ได้รับแต่งตั้ง สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังสั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อสั่งสอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. อัตถังคตสิกขาบท
ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายในเวลาที่ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังสั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อสั่งสอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท
ภิกษุเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังสั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อสั่งสอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค
๔. อามิสสิกขาบท
ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุ(ผู้เถระ)ทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเพราะเห็นแก่อามิส”
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อกล่าวแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. จีวรทานสิกขาบท
ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. จีวรสิพพนสิกขาบท
ภิกษุเย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเย็บ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในทุก ๆ รอยเข็ม
๗. สังวิธานสิกขาบท
ภิกษุชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเดินทางไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท
ภิกษุชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังโดยสาร ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อโดยสารไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค
๙. ปริปาจิตสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในทุก ๆ คำกลืน
๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท
ภิกษุนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
โอวาทวรรคที่ ๓ จบ
๔. โภชนวรรค
๑. อาวสถปิณฑสิกขาบท
[๑๖๘] ภิกษุฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่าหนึ่งมื้อ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน
๒. คณโภชนสิกขาบท
ภิกษุฉันคณโภชนะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน
๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท
ภิกษุฉันปรัมปรโภชนะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค
๔. กาณมาตุสิกขาบท
ภิกษุรับขนมเต็ม ๒-๓ บาตร แล้วรับเกินกว่านั้น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังรับ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อรับแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท
ภิกษุฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉันที่ไม่เป็นเดน
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน
๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท
ภิกษุนำของเคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดนไปปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จแล้ว บอก
ห้ามภัตตาหารแล้ว ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ภิกษุรับไว้ตามคำของภิกษุนั้นด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ภิกษุ
ผู้นำไปต้องอาบัติทุกกฏ
๒. เมื่อภิกษุผู้รับนั้นฉันเสร็จ ภิกษุผู้นำไปปวารณา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. วิกาลโภชนสิกขาบท
ภิกษุเคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉันในเวลาวิกาล ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน
๘. สันนิธิการกสิกขาบท
ภิกษุเคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉันที่เก็บสะสมไว้ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน
๙. ปณีตโภชนสิกขาบท
ภิกษุออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน
๑๐. ทันตโปนสิกขาบท
ภิกษุกลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน
โภชนวรรคที่ ๔ จบ
๕. อเจลกวรรค
๑. อเจลกสิกขาบท
[๑๖๙] ภิกษุให้ของเคี้ยวหรือของฉันแก่อเจลกปริพาชก หรือปริพาชิกาด้วย
มือตน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. อุยโยชนสิกขาบท
ภิกษุผู้กล่าวชักชวนภิกษุว่า “ท่านจงมาเถิด พวกเราจะเข้าไปบิณฑบาตในหมู่
บ้าน หรือในนิคม” แล้วให้ทายกถวายหรือไม่ให้ทายกถวายแก่ภิกษุนั้นแล้วนิมนต์กลับ
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค
๑. กำลังนิมนต์กลับ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนิมนต์กลับแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. สโภชนสิกขาบท
ภิกษุเข้าไปนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน ๒ คน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. รโหปฏิจฉันนสิกขาบท
ภิกษุนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับมาตุคาม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. รโหนิสัชชสิกขาบท
ภิกษุนั่งในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. จาริตตสิกขาบท
ภิกษุรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่เที่ยวสัญจรไป
ในตระกูลทั้งหลาย ก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หรือหลังเวลาฉันภัตตาหาร ต้องอาบัติ ๒
อย่าง คือ
๑. ก้าวเท้าที่ ๑ ล่วงธรณีประตู ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ก้าวเท้าที่ ๒ ล่วง(ธรณีประตู) ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. มหานามสิกขาบท
ภิกษุออกปากขอเภสัชเกินกว่ากำหนด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. สุราเมรยวรรค
๑. กำลังออกปากขอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อออกปากขอแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท
ภิกษุไปดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังไป ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๙. เสนาวาสสิกขาบท
ภิกษุพักแรมอยู่ในกองทัพเกินกว่า ๓ คืน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังพักแรมอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อพักแรมอยู่แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท
ภิกษุเที่ยวไปสู่สนามรบ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเที่ยวไป ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อเจลกวรรคที่ ๕ จบ
๖. สุราเมรยวรรค
๑. สุราปานสิกขาบท
[๑๗๐] ภิกษุดื่มน้ำเมา ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะดื่ม” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คราวที่ดื่มเข้าไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. สุราเมรยวรรค
๒. อังคุลิปโตทกสิกขาบท
ภิกษุใช้นิ้วมือจี้ภิกษุให้หัวเราะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังจี้ให้หัวเราะ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อให้หัวเราะแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. หัสสธัมมสิกขาบท
ภิกษุเล่นน้ำ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. เล่นในน้ำตื้นใต้ข้อเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. เล่นในน้ำลึกพอท่วมข้อเท้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. อนาทริยสิกขาบท
ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อไม่เอื้อเฟื้อแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. ภิงสาปนสิกขาบท
ภิกษุทำให้ภิกษุตกใจ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำให้ตกใจ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำให้ตกใจแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. โชติกสิกขาบท
ภิกษุก่อไฟผิง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังก่อ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อก่อเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. นหานสิกขาบท
ภิกษุยังไม่ถึงครึ่งเดือนอาบน้ำ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค
๑. กำลังอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่ออาบเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท
ภิกษุไม่ใช้วัตถุที่ทำให้สีเสีย ๓ ชนิดอย่างใดอย่างหนึ่งมาทำให้เสียสี แล้วใช้สอย
จีวรใหม่ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้สอยแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๙. วิกัปปนสิกขาบท
ภิกษุวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุ หรือแก่ภิกษุณี หรือแก่สิกขมานา หรือแก่
สามเณร หรือแก่สามเณรี แล้วใช้สอยจีวรที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้สอยแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๐. จีวรอปนิธานสิกขาบท
ภิกษุเอาบาตรหรือจีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม หรือประคดเอวของภิกษุไปซ่อน
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเอาไปซ่อน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเอาไปซ่อนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สุราเมรยวรรคที่ ๖ จบ
๗. สัปปาณกวรรค
๑. สัญจิจจสิกขาบท
[๑๗๑] ถาม : ภิกษุจงใจปลงชีวิตสัตว์ ต้องอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค
ตอบ : ภิกษุจงใจปลงชีวิตสัตว์ ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ขุดหลุมพรางไว้ไม่เจาะจงด้วยคิดว่า “ใครก็ได้จะตกลงไปตาย” ต้อง
อาบัติทุกกฏ
๒. มนุษย์ตกลงไปตายในหลุมนั้น ต้องอาบัติปาราชิก
๓. ยักษ์ เปรต หรือสัตว์ดิรัจฉานมีกายเป็นมนุษย์๑ ตกลงไปตายในหลุมนั้น
ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. สัตว์ดิรัจฉานตกลงไปตายในหลุมนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุจงใจปลงชีวิตสัตว์ ต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้
๒. สัปปาณกสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ว่าน้ำมีสัตว์มีชีวิต ก็ยังบริโภค ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบริโภคแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. อุกโกฏนสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินไปแล้วอย่างถูกต้อง เพื่อพิจารณาใหม่ ต้อง
อาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังรื้อฟื้น ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อรื้อฟื้นเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงสัตว์ดิรัจฉาน เช่น นาคและครุฑแปลงร่างเป็นมนุษย์ (สารตฺถ.ฏีกา ๒/๑๗๖/๓๒๖, กงฺขา.ฏีกา
๒๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค
๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ อุปสมบทให้บุคคลผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่ออุปสมบทเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. เถยยสัตถสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับกลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ต้อง
อาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเดินทางไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. สังวิธานสิกขาบท
ภิกษุชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับมาตุคาม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเดินทางไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๘. อริฏฐสิกขาบท
ภิกษุไม่สละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ยังคบหาภิกษุผู้กล่าวตู่อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำธรรมอันสมควร
ผู้ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังคบหา ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อคบหาแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
๑๐. กัณฏกสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ ปลอบโยนสมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้วอย่างนั้น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังปลอบโยน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อปลอบโยนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สัปปาณกวรรคที่ ๗ จบ
๘. สหธัมมิกวรรค
๑. สหธัมมิกสิกขาบท
[๑๗๒] ภิกษุผู้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่โดยชอบธรรม กลับกล่าว
ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้สอบถามภิกษุ
รูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นวินัยธร” ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อกล่าวแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. วิเลขนสิกขาบท
ภิกษุดูหมิ่นพระวินัย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังดูหมิ่น ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อดูหมิ่นแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. โมหนสิกขาบท
ภิกษุแสร้งทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับ ทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
๒. เมื่อสงฆ์ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับแล้ว ทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
๔. ปหารสิกขาบท
ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ ทำร้ายภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำร้าย ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำร้ายแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. ตลสัตติกสิกขาบท
ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเงื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเงื้อแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. อมูลกสิกขาบท
ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใส่ความ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใส่ความแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. สัญจิจจสิกขาบท
ภิกษุจงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังก่อ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อก่อแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๘. อุปัสสุติสิกขาบท
ภิกษุยืนแอบฟังพวกภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. เดินไปด้วยตั้งใจว่า “จะฟัง” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ยืนอยู่ในที่ที่จะได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท
ภิกษุให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้ว กลับติเตียนในภายหลัง ต้องอาบัติ ๒
อย่าง คือ
๑. กำลังติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อติเตียนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท
ภิกษุเมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. เมื่อกำลังจะละหัตถบาสที่ชุมนุมสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. เมื่อละหัตถบาสไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๑. ทัพพสิกขาบท
ภิกษุร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรไปแล้วกลับติเตียนในภายหลัง ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อติเตียนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๒. ปริณามนสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ไปเพื่อบุคคล ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังน้อมไป ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อน้อมไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สหธัมมิกวรรคที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ราชวรรค
๙. ราชวรรค
๑. อันเตปุรสิกขาบท
[๑๗๓] ภิกษุไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า เข้าเขตพระราชฐานชั้นใน ต้องอาบัติ ๒
อย่าง คือ
๑. ก้าวเท้าที่ ๑ ล่วงธรณีประตู ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ก้าวเท้าที่ ๒ ล่วงธรณีประตู ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. รตนสิกขาบท
ภิกษุเก็บรัตนะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเก็บ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเก็บแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท
ภิกษุไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว เข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล๑ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง
คือ
๑. ยกเท้าแรกก้าวเข้าเขตรั้วล้อม ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ยกเท้าที่ ๒ ก้าวเลยเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. สูจิฆรสิกขาบท
ภิกษุทำกล่องเข็มด้วยกระดูก ด้วยงา หรือด้วยเขา ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ เวลาวิกาล ในที่นี้ประสงค์เอาตั้งแต่เที่ยงวันจนถึงอรุณขึ้น (วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๑๓/๖๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ราชวรรค
๕. มัญจปีฐสิกขาบท
ภิกษุให้ทำเตียงหรือตั่งเกินขนาด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. ตูโลนัทธสิกขาบท
ภิกษุให้ทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗. นิสีทนสิกขาบท
ภิกษุให้ทำผ้ารองนั่งเกินขนาด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๘. กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท
ภิกษุให้ทำผ้าปิดฝีเกินขนาด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๙. วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท
ภิกษุให้ทำผ้าอาบน้ำฝนเกินขนาด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๑๐. นันทสิกขาบท
ถาม : ภิกษุให้ทำจีวรเท่ากับสุคตจีวร ต้องอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ตอบ : ภิกษุให้ทำจีวรเท่ากับสุคตจีวร ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุให้ทำจีวรเท่ากับสุคตจีวร ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้
ราชวรรคที่ ๙ จบ
ขุททกสิกขาบท จบ
๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในปาฏิเทสนียกัณฑ์
๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท
[๑๗๔] ถาม : ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนจากมือของภิกษุณีผู้ไม่
ใช่ญาติผู้เข้าไปในละแวกบ้านแล้วฉัน ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ
ผู้เข้าไปในละแวกบ้านแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน
ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติผู้เข้าไป
ในละแวกบ้านแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้
๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
ภิกษุไม่ห้ามภิกษุณีผู้บงการ(ทายก)อยู่ แล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๑. ปริมัณฑลวรรค
๓. ตติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติว่าเป็นเสขะด้วยมือตนเองแล้ว
ฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน
๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท
ถาม : ภิกษุผู้ที่ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองในอาราม
ในเสนาสนะป่าแล้วฉัน ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุผู้ที่ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองใน
อารามในเสนาสนะป่าแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน
ภิกษุผู้ที่ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองในอารามใน
เสนาสนะป่าแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้
ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท จบ
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในเสขิยกัณฑ์
๑. ปริมัณฑลวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๗๕] ถาม : ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง
ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง
ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๑. ปริมัณฑลวรรค
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ต้องอาบัติ
๑ อย่างนี้
สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ครองอุตตราสงค์ย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ต้องอาบัติ
๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเปิดกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินคะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้างไปในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ
๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินมองดูในที่นั้น ๆ ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งมองดูในที่นั้น ๆ ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๒. อุชชัคฆิกวรรค
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
ปริมัณฑลวรรคที่ ๑ จบ
๒. อุชชัคฆิกวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๗๖] ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินตะโกนเสียงดังไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งตะโกนเสียงดังในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๓. ขัมภกตวรรค
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินแกว่งแขน ห้อยแขนไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งแกว่งแขน ห้อยแขนในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
อุชชัคฆิกวรรคที่ ๒ จบ
๓. ขัมภกตวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๗๗] ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๓. ขัมภกตวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตมองดูในที่นั้น ๆ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เลือกรับเฉพาะแกงมาก ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตล้นขอบปากบาตร ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
ขัมภกตวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๔. ปิณฑปาตวรรค
๔. ปิณฑปาตวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๗๘] ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตมองดูที่นั้น ๆ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้น ๆ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเฉพาะแกงมาก ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ต้องอาบัติ
๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๕. กพฬวรรค
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวยาว ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
ปิณฑปาตวรรคที่ ๔ จบ
๕. กพฬวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๗๙] ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ขณะกำลังฉัน สอดมือทั้งหมดเข้าไปในปาก ต้องอาบัติ ๑
อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ พูดคุยขณะที่ในปากมีคำข้าว ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโยนคำข้าว ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันกัดคำข้าว ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันภัตตาหารทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๖. สุรุสุรุวรรค
สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันสะบัดมือ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโปรยเมล็ดข้าว ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแลบลิ้น ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
กพฬวรรคที่ ๕ จบ
๖. สุรุสุรุวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๘๐] ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังซู้ด ๆ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียมือ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันขอดบาตร ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียริมฝีปาก ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค
สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ จับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่ม ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนถือไม้พลอง ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนถือศัสตรา ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนถืออาวุธ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สุรุสุรุวรรคที่ ๖ จบ
๗. ปาทุกวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๘๑] ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้สวมเขียงเท้า ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนสวมรองเท้า ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนอยู่ในยานพาหนะ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้อยู่บนที่นอน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่นั่งรัดเข่า ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้โพกศีรษะ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติ ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้คลุมศีรษะ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่บนพื้นดิน แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติ
๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่บนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง ต้อง
อาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ยืนแสดงธรรมแก่คนผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๑
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่ข้างหลัง แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปข้างหน้า ต้อง
อาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่นอกทาง แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปในทาง ต้องอาบัติ
๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงบนของเขียว
ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้องอาบัติ
๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้องอาบัติ
๑ อย่างนี้
ปาทุกวรรคที่ ๗ จบ
เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท จบ
กตาปัตติวารที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๓. วิปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
๓. วิปัตติวาร
วาระว่าด้วยเป็นวิบัติ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบวิบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๒] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัด
เป็นวิบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง๑ จัดเป็นวิบัติ
๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
ฯลฯ
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบวิบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร

เชิงอรรถ :
๑ วิบัติ ในที่นี้หมายเอาวิบัติ ๔ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ (๓) ทิฏฐิวิบัติ (๔) อาชีววิบัติ
(ดูข้อ ๓๒๔ หน้า ๔๕๕ ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๔. สังคหิตวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ อาจารวิบัติ
วิปัตติวารที่ ๓ จบ
๔. สังคหิตวาร
วาระว่าด้วยจัดเข้ากองอาบัติ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจัดกองอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๓] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดากองอาบัติ ๗ กอง
จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากอง
อาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กอง
อาบัติทุกกฏ
ฯลฯ
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจัดกองอาบัติเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๕. สมุฏฐานวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๑ กอง คือ กองอาบัติทุกกฏ
สังคหิตวารที่ ๔ จบ
๕. สมุฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสมุฏฐาน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมุฏฐานอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๔] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมุฏฐานอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๖. อธิกรณวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
สมุฏฐานวารที่ ๕ จบ
๖. อธิกรณวาร
วาระว่าด้วยจัดเป็นอธิกรณ์
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบอธิกรณ์ในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๕] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง
จัดเป็นอธิกรณ์ไหน
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็น
อาปัตตาธิกรณ์
ฯลฯ
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบอธิกรณ์ในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๗. สมถวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลง
ในน้ำ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
อธิกรณวารที่ ๖ จบ
๗. สมถวาร
วาระว่าด้วยการระงับด้วยสมถะ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมถะในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๖] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาสมถะ ๗ อย่าง
ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วย
สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับ
ติณวัตถารกะ
ฯลฯ
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมถะในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
สมถวารที่ ๗ จบ
๘. สมุจจยวาร
วาระว่าด้วยการสรุปรวม
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสรุปรวมอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๗] ถาม : ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. เสพเมถุนธรรมในซากศพที่ยังไม่ถูกสัตว์กัดกิน ต้องอาบัติปาราชิก
๒. เสพเมถุนธรรมในซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินโดยมาก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. สอดองคชาตเข้าไปในปากที่อ้า แต่มิได้ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติ ๓ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง
อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกายและทางจิต มิใช่เกิดทางวาจา
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
ฯลฯ
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสรุปรวมอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้อง
อาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้อง
อาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้องอาบัติ
๑ อย่างนี้
ถาม : อาบัตินั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ
๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร รวมวาระแรกที่มีในภิกขุวิภังค์ ๘ วาระคือ
ด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗
อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัตินั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๑ กอง คือ กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
สมุจจยวารที่ ๘ จบ
๘ วาระนี้พระธรรมสังคีติกาจารย์เขียนไว้สำหรับสวดเท่านั้น
รวมวาระแรกที่มีในภิกขุวิภังค์ ๘ วาระ คือ

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. กตาปัญญัตติวาร
๓. วิปัตติวาร ๔. สังคหิตวาร
๕. สมุฏฐานวาร ๖. อธิกรณวาร
๗. สมถวาร ๘. สมุจจยวาร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๑. กัตถปัญญัตติวาร
วาระว่าด้วยบัญญัติ ณ ที่ไหน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบในปาราชิกกัณฑ์
[๑๘๘] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาราชิกเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร
เพราะเรื่องอะไร ฯลฯ ใครนำมา
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาราชิกเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระสุทินกลันทบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระสุทินกลันทบุตรเสพเมถุนธรรมกับอดีตภรรยา
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันน-
บัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๒ พระอนุบัญญัติ
ไม่มีอนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : มีสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอุภโตบัญญัติ
ถาม : บรรดาพระปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นี้
จัดเข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๒
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติ
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติปาราชิก
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา ฯลฯ
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้
คือ พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ๑ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความเหมือนในข้อ ๓ หน้า ๕-๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
[๑๘๙] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกเพราะการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้เป็นปัจจัย ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระธนิยกุมภการบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระธนิยกุมภการบุตรถือเอาไม้หลวงซึ่งยังไม่ได้รับพระ
ราชทาน
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
[๑๙๐] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกเพราะความจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตเป็นปัจจัย ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปฆ่ากันและกัน
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
[๑๙๑] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกเพราะการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมซึ่งไม่มีอยู่ไม่เป็นจริง
เป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
๒. สังฆาทิเสสกัณฑาทิ
คำถาม - คำตอบในสังฆาทิเสสกัณฑ์ เป็นต้น
[๑๙๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นปัจจัย ณ
ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร ฯลฯ ใครนำมา
๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะการพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระเสยยสกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระเสยยสกะพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
ถาม : ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันน-
บัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มี
อนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
ถาม : บรรดาพระปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส สุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนี้จัดเข้าใน
อุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๓
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติ
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสส
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ
พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ ฯลฯ
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น