Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๘-๙ หน้า ๔๘๑ - ๕๔๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘-๙ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร



พระวินัยปิฎก
ปริวาร
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ว่าด้วยการงดปาติโมกข์
การงดพระปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๖ อย่าง การงดพระปาติโมกข์ชอบธรรม
มี ๖ อย่าง
ฉักกวาร จบ
หัวข้อประจำวาร
อคารวะ คารวะ วินีตวัตถุ สามีจิกรรม สมุฏฐานแห่งอาบัติ
อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรม อาการที่ต้องอาบัติ
อานิสงส์การทรงวินัย สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง
ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร ๖ ราตรี จีวร น้ำย้อม
อาบัติเกิดทางกายกับจิต ทางวาจากับจิต ทางกายวาจากับจิต
กรรม มูลเหตุแห่งวิวาท มูลเหตุแห่งการโจท ผ้าอาบน้ำฝนยาว จีวรกว้าง
นิสัยระงับ อนุบัญญัติในการอาบน้ำ ถือเอาจีวรที่ทำค้างหลีกไป
เก็บเอาจีวรที่ทำค้างหลีกไป ประกอบด้วยสีลขันธ์เป็นอเสขะ
ชักชวนผู้อื่นให้สมาทานในสีลขันธ์เป็นอเสขะ มีศรัทธา
ผู้มีสีลวิบัติในอธิศีล ภิกษุผู้สามารถพยาบาล ฝึกปรือในอภิสมาจาร
รู้อาบัติ การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม การงดปาติโมกข์ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๗. สัตตกวาร
๗. สัตตกวาร
ว่าด้วยหมวด ๗
[๓๒๗] อาบัติมี ๗ กองอาบัติมี ๗ วินีตวัตถุมี ๗ สามีจิกรรมมี ๗ ทำตาม
ปฏิญญาไม่ชอบธรรมมี ๗ ทำตามปฏิญญาชอบธรรมมี ๗ บุคคล ๗ จำพวก
ภิกษุไปด้วยสัตตาหกรณียะไม่ต้องอาบัติ ทรงวินัยมีอานิสงส์ ๗ สิกขาบทที่ว่าด้วย
อย่างยิ่งมี ๗ เพราะอรุณขึ้นไปสิ่งของเป็นนิสสัคคีย์มี ๗ สมถะมี ๗ กรรมมี ๗
ข้าวเปลือกดิบมี ๗ สร้างกุฎีด้านกว้างภายใน ๗ คืบ คณโภชนะมีอนุบัญญัติ ๗
ภิกษุรับประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุถือเอาจีวรที่ทำเสร็จ
แล้วหลบหนีไป เก็บจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลบหนีไป ภิกษุไม่เห็นอาบัติ ภิกษุเห็นอาบัติ
ภิกษุทำคืนอาบัติ การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๗ การงดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๗
ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร๑
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ เป็นพระวินัยธรได้ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๗๕-๘๒/๑๗๑-๑๗๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๗. สัตตกวาร
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก เป็นพระวินัยธรได้ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีการสั่งสมสุตะ เธอได้สดับมาก ทรงจำได้
แม่นยำ คล่องปาก ขึ้นใจ รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก เป็นพระวินัยธรได้ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก เป็นพระวินัยธรได้ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติ
บ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๗. สัตตกวาร
ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐
ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปบ้าง ตลอดวิวัฏฏ
กัปบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปวิวัฏฏกัปบ้าง หลายกัปบ้าง ว่าในภพโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูลอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนั้น ๆ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ มีกำหนดอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นไปเกิดในภพ
โน้น มีชื่อ มีโคตร มีผิว มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ มีกำหนดอายุ
อย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นมาเกิดในภพนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อน
ได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะและชีวประวัติด้วยประการฉะนี้
๖. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ ทั้งชั้นต่ำทั้งชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่ง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ที่ประกอบด้วยกายทุจริต วจี
ทุจริต มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิดและชักชวน
ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด สัตว์เหล่านั้นหลังจากตายแล้วไป
บังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบด้วย
กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็น
ชอบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ สัตว์เหล่านั้นหลังจาก
ตายแล้วไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ
กำลังอุบัติ ทั้งชั้นต่ำทั้งชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดี ด้วย
ตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมด้วยประการฉะนี้
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ ย่อมงาม คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๗. สัตตกวาร
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก ย่อมงาม คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. เป็นพหูสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก ย่อมงาม คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก ย่อมงาม คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๘. อัฏฐกวาร
๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ ฯลฯ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลัง
อุบัติ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดีด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ว่าด้วยอสัทธรรมและสัทธรรม
อสัทธรรมมี ๗ ประการ คือ

๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ(ความละอายบาป)
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. ได้ยินได้ฟังมาน้อย
(ความเกรงกลัวบาป)
๕. เกียจคร้าน ๖. หลงลืมสติ
๗. มีปัญญาเขลา

สัทธรรมมี ๗ ประการ คือ

๑. มีศรัทธา ๒. มีหิริ
๓. มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต(ได้ยินได้ฟังมามาก)
๕. ปรารภความเพียร ๖. มีสติตั้งมั่น
๗. มีปัญญา

สัตตกวาร จบ
หัวข้อประจำวาร
อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ สามีจิกรรม
ทำตามปฏิญญาไม่ชอบธรรม ทำตามปฏิญญาชอบธรรม
ไปด้วยสัตตาหกรณียะไม่ต้องอาบัติ อานิสงส์การทรงวินัย
สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง อรุณขึ้น สิ่งของเป็นนิสสัคคีย์
สมถะ กรรม ข้าวเปลือกดิบ สร้างกุฎีด้านกว้าง
คณโภชนะ เก็บเภสัชไว้ได้เจ็ดวันเป็นอย่างยิ่ง
ภิกษุถือเอาจีวรไป เก็บจีวรแล้วหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๘. อัฏฐกวาร
ภิกษุไม่เห็นอาบัติ เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ การงดปาติโมกข์
ไม่ชอบธรรม การงดปาติโมกข์ชอบธรรม องค์ของวินัยธร ๔ หมวด
พระวินัยธรงาม ๔ หมวด อสัทธรรม ๗ อย่าง
สัทธรรม ๗ อย่าง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วแล
๘. อัฏฐกวาร
ว่าด้วยหมวด ๘
[๓๒๘] ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นอานิสงส์ ๘ ไม่พึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้น
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นอานิสงส์ ๘ พึงแสดงอาบัตินั้น
เพราะเชื่อผู้อื่น อาบัติสังฆาทิเสส เป็นยาวตติยกะมี ๘ ประจบตระกูลด้วยอาการ ๘
จีวรเกิดขึ้นมีมาติกา ๘ กฐินเดาะมีมาติกา ๘ น้ำปานะมี ๘ ชนิด พระเทวทัตมีจิต
ถูกอสัทธรรม ๘ อย่างครอบงำย่ำยี จึงไปเกิดในอบาย ตกนรกชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
โลกธรรมมี ๘ ครุธรรมมี ๘ อาบัติปาฏิเทสนียะมี ๘ มุสาวาทมี ๘ องค์อุโบสถมี
๘ องค์แห่งทูตมี ๘ วัตรแห่งเดียรถีย์มี ๘ อัจฉริยอัพภูตธรรมในมหาสมุทรมี ๘
อัจฉริยอัพภูตธรรมในพระธรรมวินัยนี้มี ๘ ภัตตาหารที่ไม่เป็นเดนมี ๘ ภัตตาหารที่
เป็นเดนมี ๘ เภสัชเป็นนิสสัคคีย์เมื่อรุ่งอรุณมี ๘ ปาราชิกมี ๘ ภิกษุณีทำวัตถุ
ครบทั้ง ๘ สงฆ์พึงให้นาสนะเสีย ภิกษุณีทำวัตถุครบทั้ง ๘ แม้แสดงอาบัติแล้วก็ไม่
เป็นอันแสดง อุปสมบทมีวาจา ๘ พึงลุกรับภิกษุณี ๘ จำพวก พึงให้อาสนะแก่ภิกษุณี
๘ จำพวก อุบาสิกาขอพร ๘ ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้
สอนภิกษุณี การทรงวินัยมีอานิสงส์ ๘ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๘ ภิกษุผู้ถูก
ลงตัสสปาปิยสิกากรรม พึงประพฤติชอบในธรรม ๘ ประการ การงดปาติโมกข์ไม่
ชอบธรรมมี ๘ การงดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๘
อัฏฐกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๙. นวกวาร
หัวข้อประจำวาร
เมื่อเห็นอานิสงส์ไม่ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้น
พึงแสดงอาบัติเพราะเชื่อผู้อื่น อาบัติสังฆาทิเสสเป็นยาวตติยกะ
การประจบตระกูล มาติกา กฐินเดาะ น้ำปานะ อสัทธรรมครอบงำ
โลกธรรม ครุธรรม อาบัติปาฏิเทสนียะ มุสาวาท อุโบสถ องค์แห่งทูต
วัตรแห่งเดียรถีย์ มหาสมุทร อัพภูตธรรมในพระธรรมวินัย
ภัตตาหารไม่เป็นเดน ภัตตาหารเป็นเดน เภสัชเป็นนิสสัคคีย์
ปาราชิก ภิกษุณีทำวัตถุครบทั้ง ๘ แสดงอาบัติแล้วไม่เป็นอันแสดง
อุปสมบท ลุกรับ ให้อาสนะ พร สมมติให้เป็นผู้สอน
อานิสงส์การทรงวินัย สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง
ประพฤติชอบในธรรม ๘ การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
หมวด ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้ดีแล้ว
๙. นวกวาร
ว่าด้วยหมวด ๙
[๓๒๙] อาฆาตวัตถุมี ๙ อุบายกำจัดอาฆาตวัตถุมี ๙ วินีตวัตถุมี ๙ อาบัติ
สังฆาทิเสสเป็นปฐมาปัตติกะมี ๙ สงฆ์แตกกันเพราะภิกษุ ๙ รูป โภชนะอันประณีต
มี ๙ เป็นทุกกฏเพราะมังสะ ๙ ชนิด ปาติโมกขุทเทสมี ๙ สิกขาบทว่าด้วยอย่างยิ่ง
มี ๙ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลมี ๙ มานะมี ๙ จีวรที่ควรอธิษฐานมี ๙ จีวรที่ไม่ควร
วิกัปมี ๙ จีวรขนาดพระสุคตยาว ๙ คืบ การให้ไม่ชอบธรรมมี ๙ การรับไม่ชอบ
ธรรมมี ๙ การบริโภคไม่ชอบธรรมมี ๙ การให้ที่ชอบธรรมมี ๙ การรับที่ชอบธรรม
มี ๙ การบริโภคที่ชอบธรรมมี ๙ ข้อตกลงที่ไม่ชอบธรรมมี ๙ ข้อตกลงที่ชอบธรรม
มี ๙ หลักธรรมหมวด ๙ ในกรรมที่ไม่ชอบธรรมมี ๒ หมวด หลักธรรมหมวด ๙
ในกรรมที่ชอบธรรมมี ๒ หมวด การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๙ การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๙
นวกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๐. ทสกวาร
หัวข้อประจำวาร
อาฆาตวัตถุ อุบายกำจัด วินีตวัตถุ อาบัติเป็นปฐมาปัตติกะ
สงฆ์แตกกัน โภชนะอันประณีต มังสะ อุทเทส
สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง ตัณหา มานะ อธิษฐาน วิกัป
จีวรขนาดพระสุคต การให้ไม่ชอบธรรม การรับไม่ชอบธรรม
การบริโภคไม่ชอบธรรม การให้รับและบริโภคที่ชอบธรรมอย่างละ ๓
ข้อตกลงที่ไม่ชอบธรรม ข้อตกลงที่ชอบธรรม ๓
ธรรม ๙ หมวด กรรมที่ไม่ชอบธรรม ๒ หมวด
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม การงดปาฏิโมกข์ชอบธรรม
๑๐. ทสกวาร
ว่าด้วยหมวด ๑๐
[๓๓๐] อาฆาตวัตถุมี ๑๐ อุบายกำจัดอาฆาตวัตถุมี ๑๐ วินีตวัตถุมี ๑๐
มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ สัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมี ๑๐ มิจฉัตตะ
มี ๑๐ สัมมัตตะมี ๑๐ อกุศลกรรมบถมี ๑๐ กุศลกรรมบถมี ๑๐ จับสลาก
ไม่ชอบธรรมมี ๑๐ จับสลากชอบธรรมมี ๑๐ สิกขาบทสำหรับสามเณรมี ๑๐
สามเณรประกอบด้วงองค์ ๑๐ พึงให้นาสนะ
ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๒. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น
๓. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๔. ปรับอาบัติโดยไม่ชอบธรรม
ทั้งไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำ
ของผู้อื่นแล้วปรับอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๐. ทสกวาร

๕. ปรับอาบัติไม่ตามปฏิญญา ๖. ไม่รู้อาบัติ
๗. ไม่รู้มูลของอาบัติ ๘. ไม่รู้เหตุเกิดอาบัติ
๙. ไม่รู้การระงับอาบัติ ๑๐. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับ
อาบัติ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๒. กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น
๓. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๔. ปรับอาบัติตามธรรม
ทั้งกำหนดที่สุดถ้อยคำ
ของผู้อื่น แล้วปรับอาบัติ
๕. ปรับอาบัติตามปฏิญญา ๖. รู้อาบัติ
๗. รู้มูลของอาบัติ ๘. รู้เหตุเกิดอาบัติ
๙. รู้การระงับอาบัติ ๑๐. รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับ
อาบัติ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ แม้อีกอย่าง ก็นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้มูลของอธิกรณ์
๓. ไม่รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้การระงับอธิกรณ์
๕. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึง ๖. ไม่รู้วัตถุ
การระงับอธิกรณ์
๗. ไม่รู้เหตุเค้ามูล ๘. ไม่รู้บัญญัติ
๙. ไม่รู้อนุบัญญัติ ๑๐. ไม่รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้มูลของอธิกรณ์
๓. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. รู้การระงับอธิกรณ์
๕. รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึง ๖. รู้วัตถุ
การระงับอธิกรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๐. ทสกวาร
๗. รู้เหตุเค้ามูล ๘. รู้บัญญัติ
๙. รู้อนุบัญญัติ ๑๐. รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ ก็นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้ญัตติ ๒. ไม่รู้การตั้งญัตติ
๓. ไม่ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ไม่ฉลาดในเบื้องปลาย
๕. ไม่รู้กาล ๖. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๗. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ
ไม่มีส่วนเหลือ
๙. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ ๑๐. ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจ ไม่ใคร่ครวญ
ไม่ชั่วหยาบ ถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์.
ด้วยดี

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้ญัตติ ๒. รู้การตั้งญัตติ
๓. ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ฉลาดในเบื้องปลาย
๕. รู้กาล ๖. รู้อาบัติและอนาบัติ
๗. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ
ไม่มีส่วนเหลือ
๙. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ ๑๐. ยึดถือ ใส่ใจ ใคร่ครวญถ้อย
ไม่ชั่วหยาบ คำที่สืบต่อจากอาจารย์ด้วยดี

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ ก็นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ
อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ไม่ชั่วหยาบ
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ๖. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
โดยพิสดารไม่ดี จำแนกไม่ดี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๐. ทสกวาร

ไม่คล่องแคล่ว วินิจฉัยโดยสุตตะ
โดยอนุพยัญชนะไม่ดี
๗. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ
ไม่มีส่วนเหลือ
๙. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบ ๑๐. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
และอาบัติไม่ชั่วหยาบ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือ ๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ
และอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ไม่ชั่วหยาบ
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ๖. รู้อาบัติและอนาบัติ
โดยพิสดารได้ จำแนกได้ดี
คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะ
โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๗. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ
ไม่มีส่วนเหลือ
๙. รู้อาบัติชั่วหยาบ ๑๐. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
และอาบัติไม่ชั่วหยาบ

ว่าด้วยอุพพาหิกาสมมติ๑เป็นต้น
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๑๐ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกาวิธี พระตถาคตทรง
อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลาย
การเข้าไปสู่ภายในพระราชฐานมีโทษ ๑๐ ทานวัตถุมี ๑๐ รัตนะมี ๑๐ ภิกษุสงฆ์มี

เชิงอรรถ :
๑ วิธีระงับวิวาทาธิกรณ์ในกรณีที่ประชุมสงฆ์มีความไม่สะดวก สงฆ์จึงเลือกภิกษุบางรูปในที่ประชุมนั้น ตั้งเป็น
คณะแล้วมอบเรื่องให้นำเอาไปวินิจฉัย (ทำนองตั้งคณะกรรมการพิเศษ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
พวก ๑๐ คณะสงฆ์มีพวก ๑๐ พึงให้อุปสมบท ผ้าบังสุกุลมี ๑๐ จีวรสำหรับใช้สอย
มี ๑๐ ทรงอติเรกจีวร ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง น้ำอสุจิมี ๑๐ สตรีมี ๑๐ ภรรยามี ๑๐
ภิกษุในพระนครเวสาลีแสดงวัตถุ ๑๐ บุคคลไม่ควรไหว้มี ๑๐ เรื่องสำหรับด่ามี ๑๐
ส่อเสียดด้วยอาการ ๑๐ เสนาสนะมี ๑๐ ขอพร ๑๐ ประการ งดปาติโมกข์ไม่ชอบ
ธรรมมี ๑๐ งดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๑๐ ยาคูมีอานิสงส์ ๑๐ เนื้อที่ไม่ควรมี ๑๐
สิกขาบทว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๑๐ ภิกษุมีพรรษาสิบ ฉลาด สามารถ ควรให้บรรพชา
อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรใช้สามเณรอุปัฏฐาก ภิกษุณีมีพรรษาสิบ ฉลาด สามารถ
ควรให้บรรพชา อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรใช้สามเณรีอุปัฏฐาก ภิกษุณีมีพรรษาสิบ
ฉลาด สามารถ พึงยินดีการสมมติการให้บวช ภิกษุณีมีพรรษาสิบ ควรให้สิกขาแก่
สตรีที่มีครอบครัว
ทสกวาร จบ
หัวข้อประจำวาร
อาฆาตวัตถุ อุบายกำจัด วินีตวัตถุ มิจฉาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ มิจฉัตตะ สัมมัตตะ
อกุศลกรรมบถ กุศลกรรมบถ จับสลากชอบธรรม
จับสลากไม่ชอบธรรม สิกขาบทของสามเณร
สามเณรที่พึงให้นาสนะ ถ้อยคำ อธิกรณ์ ญัตติ อาบัติเบา
อาบัติเบาอีก อาบัติหนัก จงรู้ฝ่ายดำฝ่ายขาวเหล่านี้ไว้
อุพพาหิกสมมติ สิกขาบทว่าด้วยการเข้าไปภายในพระราชฐาน
ทานวัตถุ รัตนะ คณะสงฆ์มีพวก ๑๐ คณะสงฆ์มีพวก ๑๐
ให้อุปสมบท ผ้าบังสุกุล จีวรสำหรับใช้สอย
ทรงอติเรก ๑๐ วัน น้ำอสุจิ สตรี ภรรยา วัตถุ ๑๐
บุคคลไม่ควรไหว้ เรื่องสำหรับด่า การส่อเสียด เสนาสนะ ขอพร
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม การงดปาติโมกข์ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๑. เอกาทสกวาร
ยาคู มังสะ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง ภิกษุ ภิกษุณี
ให้อุปสมบทสตรีที่มีครอบครัว
หมวดสิบ พระผู้มีพระภาคทรงประกาศไว้ดีแล้วแล
๑๑. เอกาทสกวาร
ว่าด้วยหมวด ๑๑
[๓๓๑] บุคคลที่ยังไม่ได้อุปสมบทไม่พึงให้อุปสมบทมี ๑๑ จำพวก ที่อุปสมบท
แล้วพึงให้สึกเสีย เขียงเท้าไม่ควรมี ๑๑ ชนิด บาตรไม่สมควรมี ๑๑ ชนิด จีวรไม่
สมควรมี ๑๑ ชนิด สิกขาบทเป็นยาวตติยกะมี ๑๑ พึงถามอันตรายิกธรรม ๑๑
อย่างของภิกษุณี จีวรควรอธิษฐานมี ๑๑ จีวรไม่ควรวิกัปมี ๑๑ จีวร ๑๑ ชนิด เป็น
นิสสัคคีย์เมื่ออรุณขึ้น ลูกดุมที่สมควรมี ๑๑ ชนิด ลูกถวินที่สมควรมี ๑๑ ชนิด
ดินไม่สมควรมี ๑๑ ดินที่สมควรมี ๑๑ การระงับนิสัยมี ๑๑ บุคคลไม่ควรไหว้มี ๑๑
สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๑๑ ขอพร ๑๑ ประการ สีมามีโทษ ๑๑ อย่าง บุคคล
ผู้ด่าบริภาษต้องได้รับโทษ ๑๑ อย่าง
เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยานพาหนะแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ

๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันร้าย ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา ๘. จิตตั้งมั่นได้เร็ว
กล้ำกรายบุคคลนั้นไม่ได้
๙. สีหน้าสดใส ๑๐. ไม่หลงลืมสติตาย

๑๑. เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษ อันยิ่งขึ้นไป ย่อมเข้าถึงพรหมโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อลำดับหมวด
เมื่อเมตตาเจโตวิมุติที่บุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยานพาหนะแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้แล๑
เอกาทสกวาร จบ
หัวข้อประจำวาร
ผู้ที่อุปสมบทแล้วพึงให้สึก เขียงเท้า บาตร จีวร
สิกขาบทเป็นยาวตติยกะ พึงถามอันตรายิกธรรม จีวรควรอธิษฐาน
จีวรไม่ควรวิกัป เป็นนิสสัคคีย์เมื่ออรุณขึ้น
ลูกดุม ลูกถวิน ดินไม่สมควร ดินสมควร การระงับนิสัย
บุคคลไม่ควรไหว้ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง พร สีมามีโทษ
บุคคลผู้ด่า อานิสงส์เมตตา จัดเป็นหมวด ๑๑
เอกกุตริกะ จบ
หัวข้อลำดับหมวด
หมวดเอกกุตริกะ ไม่มีมลทิน คือ หมวด ๑
หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๔ หมวด ๕ หมวด ๖
หมวด ๗ หมวด ๘ หมวด ๙ หมวด ๑๐
หมวด ๑๑ อันพระผู้มีพระภาคผู้มหาวีระ
มีพระธรรมอันปรากฏแล้ว ผู้คงที่ ทรงแสดงไว้แล้ว
เพื่อความเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์แล
เอกกุตริกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๕/๔๒๕, ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๒๒/๔๖๐-๔๖๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตปุจฉนะ
อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา
คำถาม - คำตอบเรื่องอุโบสถ เป็นต้น
อาทิมัชฌันตปุจฉนะ
ว่าด้วยคำถามถึงเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
[๓๓๒] ถาม : อุโบสถกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด ปวารณา มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ตัชชนีย
กรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด นิยสกรรม มีอะไร
เป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ปัพพาชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น
มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ปฏิสารณียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไร
เป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด อุกเขปนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด การให้ปริวาส มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด การชักเข้าหาอาบัติเดิม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด การให้มานัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด อัพภาน
มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด อุปสัมปทากรรม มีอะไร
เป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับตัชชนียกรรม มีอะไร
เป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับนิยสกรรม มีอะไรเป็น
เบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับปัพพาชนียกรรม มีอะไร
เป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับปฏิสารณียกรรม มี
อะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับอุกเขปนียกรรม มี
อะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด สติวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น
มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด อมูฬหวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น
ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ตัสสปาปิยสิกา มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ที่สุด การสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี
อะไรเป็นที่สุด การสมมติไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น
ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การสมมติสันถัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด การสมมติทิ้งรูปิยะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี
อะไรเป็นที่สุด การสมมติให้รับผ้าสาฎก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี
อะไรเป็นที่สุด การสมมติให้รับบาตร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี
อะไรเป็นที่สุด การสมมติไม้เท้า มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
การสมมติสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การ
สมมติไม้เท้าและสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ว่าด้วยคำตอบถึงเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
[๓๓๓] ถาม : อุโบสถกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : อุโบสถกรรม มีสามัคคีเป็นเบื้องต้น มีการกระทำเป็นท่ามกลาง
มีความสำเร็จเป็นที่สุด
ถาม : ปวารณา มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : ปวารณา มีสามัคคีเป็นเบื้องต้น มีการกระทำเป็นท่ามกลาง มีความ
สำเร็จเป็นที่สุด
ถาม : ตัชชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : ตัชชนียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : นิยสกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : นิยสกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ถาม : ปัพพาชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : ปัพพาชนียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : ปฏิสารณียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : ปฏิสารณียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : อุกเขปนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด
ตอบ : อุกเขปนียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การให้ปริวาส มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การให้ปริวาส มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การชักเข้าหาอาบัติเดิม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การชักเข้าหาอาบัติเดิม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การให้มานัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การให้มานัต มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : อัพภาน มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : อัพภาน มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรม
วาจาเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ถาม : อุปสัมปทากรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : อุปสัมปทากรรม มีบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรม
วาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับตัชชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การระงับตัชชนียกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับนิยสกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การระงับนิยสกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับปัพพาชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การระงับปัพพาชนียกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับปฏิสารณียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การระงับปฏิสารณียกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลางมีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับอุกเขปนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การระงับอุกเขปนียกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : สติวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ตอบ : สติวินัย มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรม
วาจาเป็นที่สุด
ถาม : อมูฬหวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : อมูฬหวินัย มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : ตัสสปาปิยสิกา มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด
ตอบ : ตัสสปาปิยสิกา มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด
ตอบ : ติณวัตถารกะ มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น
ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น
ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น
มีญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติสันถัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติสันถัต มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ถาม : การสมมติทิ้งรูปิยะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติทิ้งรูปิยะ มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติให้รับผ้าสาฎก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติให้รับผ้าสาฎก มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติให้รับบาตร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติให้รับบาตร มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติไม้เท้า มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติไม้เท้า มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติสาแหรก มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติไม้เท้าและสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติไม้เท้าและสาแหรก มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถวสปกรณ์] ว่าด้วยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
อัตถวสปกรณ์
ว่าด้วยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
[๓๓๔] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลาย โดย
อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งใด
เป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก สิ่งใดเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
สิ่งนั้นเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งใดเพื่อความอยู่ผาสุกแห่ง
เหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งนั้นเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใด
เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งนั้นเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลาย
อันจะบังเกิดในอนาคต สิ่งใดเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต สิ่งนั้น
เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส สิ่งใดเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่
เลื่อมใส สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งใดเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งนั้นเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม สิ่งใด
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม สิ่งนั้นเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถวสปกรณ์] ว่าด้วยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งใดเป็น
ความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดี
แห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งใดเป็นความยอม
รับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใดเป็น
ความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่
เลื่อมใสแล้ว สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ
สัทธรรม สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งใดเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก สิ่งใดเป็นความ
ผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งใดเป็นความ
ผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใดเป็น
ความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต สิ่งใด
เป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส สิ่งใดเป็น
ความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งใด
เป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม สิ่งใดเป็นความ
ผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งใดเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ฯลฯ สิ่งใดเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มี
ศีลดีงาม ฯลฯ สิ่งใดเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ฯลฯ สิ่งใด
เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ฯลฯ สิ่งใดเพื่อความเลื่อมใสของ
คนที่ยังไม่เลื่อมใส ฯลฯ สิ่งใดเพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว ฯลฯ
สิ่งใดเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ฯลฯ สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเป็น
ความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถวสปกรณ์] ว่าด้วยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
สิ่งนั้นเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งนั้นเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งนั้นเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเพื่อ
ความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
อรรถหนึ่งร้อย ธรรมหนึ่งร้อย นิรุตติสองร้อย
ญาณสี่ร้อย มีในอัตถวสปกรณ์
อัตถวสปกรณ์ จบ
มหาวรรค จบ
ห้อข้อประจำเรื่อง
หมวดธรรมเหล่านี้ของภิกษุ ๑๖ ของภิกษุณี ๑๖ คือ
หมวด ๑ ถึงหมวด ๘ ในการถามและปัจจัย และหมวด ๑
ถึงหมวด ๘ ในคำถามและปัจจัยอีก เปยยาล อันตราเภท
และเอกุตตริกะ ปวารณา อัตถวสปกรณ์ สงเคราะห์เข้ามหาวรรค
อัตถวสปกรณ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
คาถาสังคณิกะ
ว่าด้วยกลุ่มคาถา
๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
ว่าด้วยสิกขาบทที่ทรงบัญญัติใน ๗ พระนคร
พระอุบาลีเข้าเฝ้าทูลถามปัญหา
[๓๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
“เธอห่มผ้าเฉวียงบ่า ประณมมือ ดูเหมือนมีความมุ่งหวัง
มา ณ สถานที่นี้เพื่อประโยชน์อะไร”
ท่านพระอุบาลีกราบทูลว่า
“สิกขาบทที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในวินัยทั้งสอง
มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถนั้นมีเท่าไร ทรงบัญญัติ ณ พระนครกี่นคร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ปัญญาของเธอดี เธอสอบถามอย่างแยบคาย
เพราะฉะนั้น เราจักบอกเธอ สมกับที่เธอฉลาดถาม
สิกขาบทที่บัญญัติไว้ในวินัยทั้งสองมาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถนั้น
มี ๓๕๐ สิกขาบท เราบัญญัติ ณ พระนคร ๗ นคร”
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ณ พระนคร ๗ นคร
พระนครไหนบ้าง ขอพระองค์ได้โปรดชี้แจงพระนคร ๗ นครนั้น
แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังถ้อยพระดำรัส
ของพระองค์แล้วจะปฏิบัติ
ข้อนั้นจะพึงมีเพื่อความเกื้อกูลแก่ข้าพระพุทธเจ้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“สิกขาบทเหล่านั้น เราบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี ณ กรุงราชคฤห์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
ณ กรุงสาวัตถี ณ เมืองอาฬวี ณ กรุงโกสัมพี
ณ แคว้นสักกะ ณ ภัคคชนบท”
สิกขาบทบัญญัติ
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลีมีเท่าไร
ณ กรุงราชคฤห์มีเท่าไร ณ กรุงสาวัตถีมีเท่าไร
ณ เมืองอาฬวีมีเท่าไร ณ กรุงโกสัมพีมีเท่าไร
ณ แคว้นสักกะมีเท่าไร ณ ภัคคชนบทมีเท่าไร
พระองค์อันข้าพระพุทธเจ้าทูลถามแล้ว ขอได้โปรดตอบข้อนั้น
แก่ข้าพระพุทธเจ้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“สิกขาบทที่บัญญัติ ณ กรุงเวสาลีมี ๑๐ สิกขาบท
ณ กรุงราชคฤห์มี ๒๑ สิกขาบท ณ กรุงสาวัตถี
รวมทั้งหมดมี ๒๙๔ สิกขาบท ณ เมืองอาฬวีมี ๖ สิกขาบท
ณ กรุงโกสัมพีมี ๘ สิกขาบท ณ แคว้นสักกะมี ๘ สิกขาบท
ณ ภัคคชนบทมี ๓ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ ณ กรุงเวสาลี ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม สิกขาบทว่าด้วยการพรากกายมนุษย์
สิกขาบทว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริง
สิกขาบทว่าด้วยทรงอติเรกจีวร
สิกขาบทว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน
สิกขาบทว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง
สิกขาบทว่าด้วยการฉันปรัมปรโภชนะ
สิกขาบทว่าด้วยการรับประเคนอาหารนอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน
สิกขาบทว่าด้วยการให้ของเคี้ยวของฉันแก่อเจลก
ในหมู่ภิกษุณี สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีด่า บริภาษภิกษุ
รวมสิกขาบทที่บัญญัติ ณ กรุงเวสาลี ๑๐ สิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ในกรุงราชคฤห์
สิกขาบทว่าด้วยใส่ความภิกษุ ๒ สิกขาบท
สิกขาบทว่าด้วยทำลายสงฆ์และประพฤติตาม ๒ สิกขาบท
สิกขาบทว่าด้วยการรับอันตรวาสก(จีวร)
สิกขาบทว่าด้วยแลกเปลี่ยนรูปิยะ
สิกขาบทว่าด้วยการออกปากขอด้าย
สิกขาบทว่าด้วยการกล่าวให้เพ่งโทษ
สิกขาบทว่าด้วยฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม
สิกขาบทว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม
สิกขาบทว่าด้วยการฉันคณโภชนะ
สิกขาบทว่าด้วยการฉันโภชนะในเวลาวิกาล
สิกขาบทว่าด้วยการเที่ยวสัญจรไป
สิกขาบทว่าด้วยการสรงน้ำนอกสมัย
สิกขาบทว่าด้วยการอุปสมบทให้บุคคลมีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี
สิกขาบทว่าด้วยการให้จีวร
สิกขาบทว่าด้วยการไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ
สิกขาบทว่าด้วยการเที่ยวดูมหรสพบนยอดเขา
สิกขาบทว่าด้วยการไม่หลีกจาริกไป(๒ สิกขาบท)
สิกขาบทว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาโดยให้ปริวาสิกฉันทะ
สิกขาบทเหล่านี้บัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
รวม ๒๑ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๖ อนิยต ๒
นิสสัคคีย์ ๒๔ สิกขาบทที่เรียกว่าขุททกสิกขาบทมี ๑๕๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
สิกขาบทว่าด้วยการกระทำที่น่าตำหนิ ๑๐ สิกขาบท๑
เสขิยวัตร ๗๒ สิกขาบท
รวมสิกขาบททั้งหมดที่เราบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ๒๙๔ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการก่อสร้างกุฎี
สิกขาบทว่าด้วยการทำสันถัตผสมใยไหม
สิกขาบทว่าด้วยนอนร่วมกับอนุปสัมบัน
สิกขาบทว่าด้วยการขุดดิน
สิกขาบทว่าด้วยการพรากภูตคาม
สิกขาบทว่าด้วยการเอาน้ำมีสิ่งมีชีวิตรดหญ้าหรือดิน
รวมสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี ๖ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่
สิกขาบทว่าด้วยภิกษุเป็นคนว่ายากสอนยาก
สิกขาบทว่าด้วยการกล่าวกลบเกลื่อน
สิกขาบทว่าด้วยการติดตั้งบานประตู
สิกขาบทว่าด้วยการดื่มสุราและเมรัย
สิกขาบทว่าด้วยไม่เอื้อเฟื้อ ต่อคำตักเตือน
สิกขาบทว่าด้วยกล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม
สิกขาบทว่าด้วยการฉันน้ำนมเสียงดังซู้ด ๆ รวม ๘ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
(๘ สิกขาบท)ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการให้ซักขนเจียม
สิกขาบทว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อม ๕ แห่ง
สิกขาบทว่าด้วยเข้าไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่อยู่
สิกขาบทว่าด้วยขอเภสัช

เชิงอรรถ :
๑ สิกขาบทว่าด้วยการกระทำที่น่าตำหนิ หมายถึงปาฏิเทสนียะ ๑๐ สิกขาบท คือ ปาฏิเทสนียะ สิกขาบท
ที่ ๑ ที่ ๓ ของภิกษุ (วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๕๒/๖๒๗,๕๖๒/๖๓๕) และปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑-๘
ของภิกษุณี (วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๒๒๘/๓๘๕,๑๒๓๔/๓๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๒. จตุวิบัติ
สิกขาบทว่าด้วยการทำกล่องเข็ม
สิกขาบทว่าด้วยการอยู่ในเสนาสนะป่า
สิกขาบทว่าด้วยการใช้น้ำชำระ
สิกขาบทว่าด้วยการไม่ไปรับโอวาท เรากล่าวไว้ในหมู่ภิกษุณี
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ ภัคคชนบท ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยก่อไฟผิง
สิกขาบทว่าด้วยการจับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอามิส
สิกขาบทว่าด้วยการเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวสุกในละแวกบ้าน
สิกขาบททั้งหลาย คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๗
นิสสัคคีย์ ๘ ขุททกะ ๓๒ สิกขาบทที่น่าตำหนิ(ปาฏิเทสนียะ) ๒
เสขิยวัตร ๓ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์
บัญญัติ ณ ๖ พระนคร รวม ๕๖ สิกขาบท
พระโคดมผู้มีพระยศทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
รวมทั้งหมด ๒๙๔ สิกขาบท”
๒. จตุวิบัติ
ว่าด้วยวิบัติ ๔
ทรงพยากรณ์อาบัติหนัก และอาบัติเบา เป็นต้น
[๓๓๖] พระอุบาลีกราบทูลว่า
“ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทูลถามปัญหาข้อใดกับพระองค์
พระองค์ได้ตรัสแก้ปัญหาข้อนั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทูลถามเรื่องใด ๆ พระองค์ก็ได้ทรงแก้เฉพาะเรื่องนั้น ๆ
โดยมิได้ทรงแก้โดยประการอื่น
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอทูลถามปัญหาข้ออื่นกับพระองค์
ขอพระองค์โปรดตอบปัญหาข้อนั้นต่อไป
คือ อาบัติหนัก อาบัติเบา อาบัติที่มีส่วนเหลือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๒. จตุวิบัติ
อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ อาบัติชั่วหยาบ อาบัติที่ไม่ชั่วหยาบ
สิกขาบทเป็นยาวตติยกะ สิกขาบททั่วไป สิกขาบทไม่ทั่วไป
สิกขาบทที่จำแนกไว้ระงับด้วยสมถะ ๑
ขอพระองค์ได้โปรดชี้แจงเรื่องนั้นแม้ทั้งหมดเถิด
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะฟังพระดำรัสของพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“อาบัติหนักมี ๓๑ ในอาบัติหนักเหล่านั้น
อาบัติไม่มีส่วนเหลือมี ๘ อาบัติหนักจัดเป็นอาบัติชั่วหยาบ
อาบัติชั่วหยาบจัดเป็นสีลวิบัติ
สีลวิบัติ และอาจารวิบัติ
ปาราชิก สังฆาทิเสส เรียกว่า สีลวิบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์
ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต คือ ด่าด้วยประสงค์จะล้อเล่น
อาบัตินี้นั้น รวมเรียกว่า อาจารวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ
บุคคลมีปัญญาเขลาทั้งหลาย ถูกโมหะครอบงำ
ถูกอสัทธรรมรุมล้อม ยึดถือความเห็นวิปริต
กล่าวตู่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้นั้น รวมเรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ
อาชีววิบัติ
ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง เพราะเหตุแห่งอาชีวะ๑ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุทำหน้าที่
ชักสื่อ เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุรูปใด

เชิงอรรถ :
๑ เพราะเหตุแห่งอาชีวะ คือมุ่งเลี้ยงชีวิต (วิสุทฺธิ.มหา.ฏีกา ๑/๑๑๖/๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๓. เฉทนกาทิ
อยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้น เป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะ
การณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน เพราะเหตุ
แห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุณีออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตน
แล้วฉัน เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุไม่อาพาธออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาเพื่อตน
แล้วฉัน เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะนี้นั้น รวมเรียกว่า อาชีววิบัติ
ยาวตติยกสิกขาบท
ยาวตติยกะ ๑๑ สิกขาบทนั้น
เธอจงฟังตามลำดับต่อไป อุกขิตตานุวัตติกาสิกขาบท๑
ยาวตติยกสังฆาทิเสส ๘ สิกขาบท๒
อริฏฐสิกขาบท จัณฑกาลีสิกขาบท๓
สิกขาบทเหล่านี้นั้น ชื่อว่า ยาวตติยกสิกขาบท”
๓. เฉทนกาทิ
ว่าด้วยเฉทนกสิกขาบท เป็นต้น
ทรงพยากรณ์เฉทนกสิกขาบท และเภทนกสิกขาบท เป็นต้น
[๓๓๗] พระอุบาลีกราบทูลว่า
“สิกขาบทว่าด้วยการตัดมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการทำลายมีเท่าไร สิกขาบท
ว่าด้วยการรื้อมีเท่าไร สิกขาบทในปาจิตตีย์ว่าด้วยไม่มีอะไรอื่นมีเท่าไร สิกขาบทว่า
ด้วยการสมมติภิกษุมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการทำที่สมควรมีเท่าไร สิกขาบทที่ว่า
ด้วยอย่างยิ่งมีเท่าไร สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์
ทรงบัญญัติว่า ‘รู้อยู่’ มีเท่าไร”

เชิงอรรถ :
๑ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๖๖๘/๑๔
๒ สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐-๑๑-๑๒-๑๓ ของภิกษุและสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗-๘-๙-๑๐ ของภิกษุณี
๓ สิกขาบทที่ ๖ แห่งตุวัฏฏวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๙๕๕/๒๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๔. อสาธารณาทิ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“สิกขาบทว่าด้วยการตัดมี ๖ สิกขาบทว่าด้วยการทำลายมี ๑ สิกขาบทว่า
ด้วยการรื้อมี ๑ สิกขาบทในปาจิตตีย์ว่าด้วยไม่มีอะไรอื่นมี ๔ สิกขาบทว่าด้วยการ
สมมติภิกษุมี ๔ สิกขาบทว่าด้วยการกระทำที่สมควรมี ๗ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่าง
ยิ่งมี ๑๔ สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ทรงบัญญัติว่า
‘รู้อยู่’ มี ๑๖ สิกขาบท”
๔. อสาธารณาทิ
ว่าด้วยอสาธารณสิกขาบท เป็นต้น
จำนวนสิกขาบทของภิกษุ เป็นต้น
[๓๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“สิกขาบทของภิกษุมาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ(ยกขึ้นสวดทุกวันอุโบสถ)
รวม ๒๒๐ สิกขาบท ของภิกษุณีมาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
รวม ๓๐๔ สิกขาบท
สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔๖ สิกขาบท
สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๑๓๐ สิกขาบท
สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ทั่วไป มี ๑๗๖ สิกขาบท
สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน มี ๑๗๔ สิกขาบท๑
ประเภทสิกขาบทของภิกษุ
สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป

เชิงอรรถ :
๑ พระผู้มีพระภาคทรงวิสัชนาปัญหาที่พระอุบาลีทูลถามในข้อ ๓๓๖ (สาธารณํ อสาธารณํ : สิกขาบททั่วไป
สิกขาบทที่ไม่ทั่วไป วิ.อ. ๓/๓๓๘/๔๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๔. อสาธารณาทิ
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคีย์ ๓๐
ขุททกะ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕
สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ สิกขาบทเหล่านี้
มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
ประเภทสิกขาบทของภิกษุณี
สิกขาบทของภิกษุณี ๓๐๔ สิกขาบท มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๘ สังฆาทิเสส ๑๗ นิสสัคคีย์ ๓๐
ขุททกะ ๑๖๖ ปาฏิเทสนียะ ๘ เสขิยะ ๗๕
สิกขาบทของภิกษุณี ๓๐๔ สิกขาบทเหล่านี้
มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
อสาธารณสิกขาบทของภิกษุ
สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔๖ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
สังฆาทิเสส ๖ รวมกับอนิยต ๒ สิกขาบท เป็น ๘
นิสสัคคีย์ ๑๒ รวมกันเป็น ๒๐ ขุททกะ ๒๒
ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณีนี้
รวม ๔๖ สิกขาบท๑

เชิงอรรถ :
๑ คือ สังฆาทิเสส ๖ สิกขาบท คือสิกขาบทที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๖ ที่ ๗ อนิยต ๒ สิกขาบท
นิสสัคคีย์ ๑๒ สิกขาบท คือ สิกขาบทที่ ๔ ที่ ๕ แห่งจีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔
ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ แห่งโกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๔ ที่ ๙ แห่งปัตตวรรค ปาจิตตีย์ ๒๒ คือ โอวาทวรรค
๑๐ สิกขาบท สิกขาบทที่ ๓ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๙ แห่งโภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑ แห่งอเจลกวรรค สิกขาบท
ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๗ แห่งสัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๗ ที่ ๙ แห่งรตนวรรค และ ปาฏิเทสนียะ
๔ สิกขาบท (วิ.อ. ๓/๓๓๘/๔๘๑-๔๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๔. อสาธารณาทิ
อสาธารณสิกขาบทของภิกษุณี
สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๑๓๐ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสสที่ทำให้ถูกขับออกจากหมู่ ๑๐
นิสสัคคีย์ ๑๒ ขุททกะ ๙๖ ปาฏิเทสนียะ ๘
สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุนี้ รวม ๑๓๐ สิกขาบท
สิกขาบทที่ไม่ทั่วไปแก่สองฝ่าย
สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่ทั่วไป มี ๑๗๖ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๖ อนิยต ๒ นิสสัคคีย์ ๒๔
ขุททกะ ๑๑๘ ปาฏิเทสนียะ ๑๒
สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่ทั่วไปนี้ รวม ๑๗๖ สิกขาบท
สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน
สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน มี ๑๗๔ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๗ นิสสัคคีย์ ๑๘
ขุททกะ ๗๐ ถ้วน เสขิยะ ๗๕
สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ศึกษาร่วมกันนี้ รวม ๑๗๔ สิกขาบท
อาบัติที่ระงับไม่ได้
บุคคลผู้เป็นปาราชิก ๘ จำพวก เข้าใกล้ได้ยาก
เปรียบเหมือนต้นตาลเหลือแต่พื้นที่ บุคคลผู้เป็นปาราชิกเหล่านั้น
ย่อมเป็นผู้ไม่งอกงาม เปรียบเหมือนใบไม้เหี่ยวเหลือง แผ่นศิลาหนา
คนถูกตัดศีรษะ ต้นตาลยอดด้วน ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
อาบัติที่ระงับได้
สังฆาทิเสส ๒๓ อนิยต ๒ นิสสัคคีย์ ๔๒
ปาจิตตีย์ ๑๘๘ ปาฏิเทสนียะ ๑๒
เสขิยะ ๗๕ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
(๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
ส่วนที่ทรงจำแนก
อุโบสถ ๒ ปวารณา ๒ กรรม ๔
อันพระชินเจ้าทรงแสดงแล้ว
อุทเทส ๕ และอุทเทส ๔
ย่อมไม่มีโดยประการอื่น และกองอาบัติ มี ๗
อธิกรณ์
อธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ ระงับด้วยสมถะ ๒
สมถะ ๔ สมถะ ๓ แต่กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๑”
๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติปาราชิก เป็นต้น
วิเคราะห์ปาราชิก
[๓๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาราชิก ตามลำดับ
บุคคลเป็นผู้เคลื่อน ผิด พลาด และเหินห่างจากสัทธรรมทั้งหลาย
อนึ่ง แม้สังวาสก็ไม่มีในบุคคลนั้น
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า อาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
วิเคราะห์สังฆาทิเสส
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าสังฆาทิเสส ตามลำดับ
สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า อาบัติสังฆาทิเสส
วิเคราะห์อนิยต
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าอนิยต ตามลำดับ
กองอาบัติชื่อว่าอนิยต เพราะไม่แน่
ข้อที่เราบัญญัติไว้แล้วโดยมิใช่ส่วนเดียว
ในฐานะทั้ง ๓ ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า อนิยต
วิเคราะห์ถุลลัจจัย
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าถุลลัจจัย ตามลำดับ
ภิกษุใดแสดงในภิกษุรูปเดียว
และภิกษุรูปใดรับโทษนั้น โทษเสมอด้วยโทษนั้นไม่มี
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย
วิเคราะห์นิสสัคคีย์
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่านิสสัคคีย์ ตามลำดับ
ภิกษุยอมสละและแสดงข้อละเมิดใดพร้อมกันในท่ามกลางสงฆ์
ท่ามกลางคณะ และในสำนักภิกษุหนึ่ง
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อละเมิดนั้นว่า นิสสัคคีย์
วิเคราะห์ปาจิตตีย์
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาจิตตีย์ ตามลำดับ
ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตกไป ทำอริยมรรคให้เสียไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
เป็นเหตุทำให้จิตลุ่มหลง
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกความละเมิดนั้นว่า ปาจิตตีย์
วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาฏิเทสนียะ ตามลำดับ
ภิกษุไม่มีญาติ หาโภชนะมาได้ยาก
รับมาเองแล้วฉัน เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ ภิกษุณีบงการอยู่ในสถานที่นิมนต์นั้น
ตามความพอใจ ภิกษุไม่ห้ามแต่กลับฉันอยู่ในที่นั้น
เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุไม่อาพาธ ไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์น้อย
ผู้ไม่ร่ำรวยแล้วฉันในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุอยู่ในป่าที่น่าหวาดระแวงมีภัยน่ากลัว ฉันอาหารที่เขา
ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อน ในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุณีไม่มีญาติ ขอโภชนะที่ผู้อื่นยึดถือว่าเป็นของเรา คือ
เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด และนมเปรี้ยว
ด้วยตนเอง ชื่อว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียนในศาสนาของพระสุคต
วิเคราะห์ทุกกฏ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าทุกกฏ ตามลำดับ
กรรมที่ผิด พลั้งพลาด จัดเป็นกรรมที่ทำไม่ดี
คนทำความชั่วอันใดไว้ในที่แจ้งหรือในที่ลับ
บัณฑิตทั้งหลายย่อมประกาศความชั่วนั้นว่า ทำชั่ว
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า ทุกกฏ
วิเคราะห์ทุพภาสิต
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าทุพภาสิต ตามลำดับ
บทใดอันภิกษุกล่าวไม่ดี พูดไม่ดี และเสื่อมเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
ทั้งวิญญูชนทั้งหลายย่อมติเตียนบทใด
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อนั้นว่า ทุพภาสิต
วิเคราะห์เสขิยะ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าเสขิยะ ตามลำดับ
ข้อนั้นเป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทาง
และเป็นข้อสังวรระวังของพระเสขะ ผู้กำลังศึกษา
ผู้ดำเนินไปสู่เส้นทางตรง สิกขาทั้งหลายเช่นนี้ไม่มี
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อนั้นว่า เสขิยะ
อุปมาอาบัติ และอนาบัติ
ยิ่งปิดยิ่งรั่ว เปิดแล้วไม่รั่ว
เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปิด
เมื่อเป็นดังนี้ สิ่งที่เปิดนั้นก็จะไม่รั่ว๑
ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค อากาศเป็นทางไปของหมู่ปักษี
ความเสื่อมเป็นคติของธรรมทั้งหลาย๒
พระนิพพานเป็นภูมิที่ไปของพระอรหันต์
คาถาสังคณิกะ จบ
หัวข้อประจำวาร
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ณ ๗ พระนคร วิบัติ ๔ อย่าง
สิกขาบทของภิกษุและภิกษุณีที่ทั่วไป ที่ไม่ทั่วไป
นี้เป็นถ้อยคำที่ประมวลไว้ด้วยคาถา เพื่ออนุเคราะห์พระศาสนา”
คาถาสังคณิกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๘๕/๒๘๕, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๔๕/๒๖๘, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๔๔๗/๔๑๕
๒ หมายถึงสังขตธรรมทั้งหลายมีความเสื่อมความพินาศ (วิ.อ. ๓/๓๓๙/๔๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑. อุกโกฏนเภทาทิ
อธิกรณเภท
ว่าด้วยประเภทแห่งอธิกรณ์
๑. อุกโกฏนเภทาทิ
ว่าด้วยประเภทการรื้อฟื้น เป็นต้น
[๓๔๐] อธิกรณ์มี ๔ อย่าง คือ
๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์มี ๔ อย่างเหล่านี้
ถาม : การรื้อฟื้นอธิกรณ์ ๔ อย่างนี้ มีเท่าไร
ตอบ : การรื้อฟื้นอธิกรณ์ ๔ อย่างนี้ มี ๑๐ อย่าง คือ รื้อฟื้นวิวาทาธิกรณ์
มี ๒ รื้อฟื้นอนุวาทาธิกรณ์มี ๔ รื้อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์มี ๓ รื้อฟื้นกิจจาธิกรณ์มี ๑
การรื้อฟื้นอธิกรณ์ ๔ อย่างนี้ มี ๑๐ อย่างเหล่านี้
ถาม : เมื่อรื้อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อรื้อฟื้นอนุวาทาธิกรณ์
ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อรื้อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อ
รื้อฟื้นกิจจาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร
ตอบ : เมื่อรื้อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะ ๒ อย่าง เมื่อรื้อฟื้น
อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะ ๔ อย่าง เมื่อรื้อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้น
สมถะ ๓ อย่าง เมื่อรื้อฟื้นกิจจาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะอย่างเดียว
ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ เป็นต้น
[๓๔๑] ถาม : การรื้อฟื้นมีเท่าไร ด้วยอาการเท่าไร จึงนับว่ารื้อฟื้น บุคคล
ประกอบด้วยองค์เท่าไร จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ บุคคลกี่จำพวก เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์
ย่อมต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑. อุกโกฏนเภทาทิ
ตอบ : การรื้อฟื้นมี ๑๒ อย่าง ด้วยอาการ ๑๐ จึงนับว่ารื้อฟื้น บุคคล
ประกอบด้วยองค์ ๔ จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ บุคคล ๔ จำพวก เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์
ย่อมต้องอาบัติ
การรื้อฟื้นมี ๑๒ อย่าง คือ

๑. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำ ๒. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ทำไม่ดี
๓. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ควรทำใหม่ ๔. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ยังทำไม่เสร็จ
๕. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ทำเสร็จแล้วไม่ดี ๖. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ควรทำอีก
๗. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ยังไม่ได้วินิจฉัย ๘. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์วินิจฉัยไม่ถูกต้อง
๙. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ควรวินิจฉัยใหม่ ๑๐. รื้อฟื้นกรรมที่ยังไม่ระงับ
๑๑. รื้อฟื้นกรรมที่ระงับแล้วไม่ดี ๑๒. รื้อฟื้นกรรมที่ควรระงับใหม่
การรื้อฟื้นมี ๑๒ อย่างเหล่านี้

ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง จึงนับว่ารื้อฟื้น คือ

๑. รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่เกิดในที่นั้น ๒. รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่เกิดในที่นั้นแต่
ระงับแล้ว
๓. รื้อฟื้นอธิกรณ์ในระหว่างทาง ๔. รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ระงับแล้วในระหว่างทาง
๕. รื้อฟื้นอธิกรณ์อันไปแล้วในที่นั้น ๖. รื้อฟื้นอธิกรณ์อันไปแล้วแต่ระงับแล้ว
๗. รื้อฟื้นสติวินัย ๘. รื้อฟื้นอมูฬหวินัย
๙. รื้อฟื้นตัสสปาปิยสิกา ๑๐. รื้อฟื้นติณวัตถารกะ

ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้ จึงนับว่ารื้อฟื้น
บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้
๒. ลำเอียงเพราะชังจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๒. อธิกรณนิทานาทิ
๓. ลำเอียงเพราะหลงจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้
๔. ลำเอียงเพราะกลัวจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้
บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ นี้ จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้
บุคคล ๔ จำพวก เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์ ย่อมต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุผู้อุปสมบทในวันนั้นแล้วรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่
รื้อฟื้น
๒. ภิกษุเป็นอาคันตุกะรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น
๓. ภิกษุผู้กระทำรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น
๔. ภิกษุผู้ให้ฉันทะรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น
บุคคล ๔ จำพวกนี้ เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์ ย่อมต้องอาบัติ
๒. อธิกรณนิทานาทิ
ว่าด้วยนิทานแห่งอธิกรณ์ เป็นต้น
[๓๔๒] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น
ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีวิวาทเป็นนิทาน มีวิวาทเป็นสมุทัย มีวิวาทเป็นชาติ
มีวิวาทเป็นแดนเกิดก่อน มีวิวาทเป็นองค์ มีวิวาทเป็นสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๓. อธิกรณมูลาทิ
อนุวาทาธิกรณ์ มีอนุวาทเป็นนิทาน มีอนุวาทเป็นสมุทัย มีอนุวาทเป็นชาติ
มีอนุวาทเป็นแดนเกิดก่อน มีอนุวาทเป็นองค์ มีอนุวาทเป็นสมุฏฐาน
อาปัตตาธิกรณ์ มีอาบัติเป็นนิทาน มีอาบัติเป็นสมุทัย มีอาบัติเป็นชาติ
มีอาบัติเป็นแดนเกิดก่อน มีอาบัติเป็นองค์ มีอาบัติเป็นสมุฏฐาน
กิจจาธิกรณ์ มีกิจเป็นนิทาน มีกิจเป็นสมุทัย มีกิจเป็นชาติ มีกิจเป็นแดน
เกิดก่อน มีกิจเป็นองค์ มีกิจเป็นสมุฏฐาน
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ
มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ
มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ
๓. อธิกรณมูลาทิ
ว่าด้วยมูลเหตุอธิกรณ์ เป็นต้น
[๓๔๓] ถาม : อธิกรณ์ ๔ มีมูลเหตุเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : อธิกรณ์ ๔ มีมูลเหตุ ๓๓ มีสมุฏฐาน ๓๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
ถาม : อธิกรณ์ ๔ มีมูลเหตุ ๓๓ อย่างไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีมูลเหตุ ๑๒ อนุวาทาธิกรณ์ มีมูลเหตุ ๑๔
อาปัตตาธิกรณ์ มีมูลเหตุ ๖ กิจจาธิกรณ์ มีมูลเหตุเดียวคือสงฆ์ รวมอธิกรณ์ ๔
มีมูลเหตุ ๓๓ นี้
ถาม : อธิกรณ์ ๔ มีสมุฏฐาน ๓๓ อย่างไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีเรื่องทำความแตกกัน ๑๘ เรื่อง เป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ มีวิบัติ ๔ เป็นสมุฏฐาน อาปัตตาธิกรณ์ มีอาบัติ ๗ กอง เป็น
สมุฏฐาน กิจจาธิกรณ์ มีกรรม ๔ เป็นสมุฏฐาน รวมอธิกรณ์ ๔ มีสมุฏฐาน ๓๓ นี้
๔. อธิกรณปัจจยาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติมีอธิกรณ์เป็นปัจจัย
[๓๔๔] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ
ถาม : ก็เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติหรือ
ตอบ : ถูกแล้ว เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ
ถาม : เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ด่าอุปสัมบันต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ด่าอนุปสัมบันต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๒ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติอย่างไหน บรรดา
อธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
อาบัติไหน บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐานเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ระงับ
ด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ
อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง
จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๒) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ระงับด้วย
อธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ
สำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
(๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
ว่าด้วยอนุวาทาธิกรณ์เป็นอาบัติหรืออนาบัติ เป็นต้น
[๓๔๕] ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ
ถาม : ก็เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติหรือ
ตอบ : ถูกแล้ว เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ
ถาม : เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒. ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาจิตตีย์ที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๓ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาอธิกรณ์
๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐานเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร
ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่างจัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา
กองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติสังฆาทิเสส
(๒) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๓) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน อาบัติหนักระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ
กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๑ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
(๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ อาบัติเบาระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ
กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ ในสำนัก
บุคคล ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
(๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
ว่าด้วยอาปัตตาธิกรณ์เป็นอาบัติหรืออนาบัติ เป็นต้น
[๓๔๖] ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ
ถาม : ก็เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติหรือ
ตอบ : ถูกแล้ว เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติ
ถาม : เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณี รู้อยู่ ปกปิดภิกษุณีผู้ต้องอาบัติปาราชิก ต้องอาบัติปาราชิก
๒. สงสัยปกปิดไว้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. ปกปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติ ๔ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดา
อธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากอง
อาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา
กองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้าอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติทุกกฏ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทาง
กายวาจากับจิต อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือระงับด้วยอธิกรณ์ไหนไม่ได้ ระงับในฐานะไหน
ไม่ได้ ระงับด้วยสมถะไหนไม่ได้ อาบัติเบาระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับ
ใน ๓ ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ ในสำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ
๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
ว่าด้วยกิจจาธิกรณ์เป็นอาบัติหรืออนาบัติ เป็นต้น
[๓๔๗] ถาม : กิจจาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ
ตอบ : กิจจาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ
ถาม : ก็เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติหรือ
ตอบ : ถูกแล้ว เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ
ถาม : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ไม่ยอมสละ
กรรมจนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง จบญัตติต้องอาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้งต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้ายต้องอาบัติปาราชิก
๔. ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง
สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุไม่ละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๕ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดา
อธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้า
กองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐานเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา
กองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ระงับด้วยอธิกรณ์ไหน
ไม่ได้ ระงับในฐานะไหนไม่ได้ ระงับด้วยสมถะไหนไม่ได้ อาบัติหนักระงับด้วย
อธิกรณ์เดียว คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับในฐานะเดียว คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับ
ด้วยสมถะ ๒ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ อาบัติเบาระงับด้วย
อธิกรณ์เดียว คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์
ในท่ามกลางคณะ ในสำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๕. อธิกรณาธิปปายะ
๕. อธิกรณาธิปปายะ
ว่าด้วยอธิบายอธิกรณ์
วิวาทาธิกรณ์
[๓๔๘] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ เป็นอนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาปัตตาธิกรณ์
เป็นกิจจาธิกรณ์หรือ
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ ไม่เป็นอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์
แต่เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์
ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้วิวาทกันว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นอธรรม ฯลฯ
นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น
นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในเพราะวิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์
เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อมต้องอาบัติ จัดเป็น
อาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะวิวาทาธิกรณ์
เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้
อนุวาทาธิกรณ์
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ เป็นกิจจาธิกรณ์ เป็นวิวาทาธิ-
กรณ์หรือ
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ ไม่เป็นอาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ แต่
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ ย่อม
มีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วย
สีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๕. อธิกรณาธิปปายะ
การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความพยายามโจท การให้กำลัง
สนับสนุนในเรื่องนั้น นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในเพราะอนุวาทาธิกรณ์
จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อม
ต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ ย่อมมี
อย่างนี้
อาปัตตาธิกรณ์
ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ เป็นกิจจาธิกรณ์ เป็นวิวาทาธิกรณ์ เป็นอนุวาทา-
ธิกรณ์หรือ
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์ ไม่เป็นกิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์
แต่เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์
ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนอาบัติทั้ง ๕ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์
อาบัติทั้ง ๗ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่าอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันใน
เพราะอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็น
อนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรม
ตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย กิจจาธิกรณ์
วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้
กิจจาธิกรณ์
ถาม : กิจจาธิกรณ์ เป็นวิวาทาธิกรณ์ เป็นอนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาปัตตา-
ธิกรณ์หรือ
ตอบ : กิจจาธิกรณ์ ไม่เป็นวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
แต่เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนความมีแห่งกิจ ความมีกิจอันจะพึงทำ
ของสงฆ์ คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า
กิจจาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในเพราะอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน
ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๗. วิสัชชนาวาร
สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย
วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ย่อมมีอย่างนี้
๖. ปุจฉาวาร
ว่าด้วยวาระแห่งการถาม
อธิบายสมถะ
[๓๔๙] สติวินัยมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด สติวินัยมี
ในที่นั้น อมูฬหวินัยมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด อมูฬห-
วินัยมีในที่นั้น ปฏิญญาตกรณะมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด
ปฏิญญาตกรณะมีในที่นั้น เยภุยยสิกามีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัย
มีในที่ใด เยภุยยสิกามีในที่นั้น ตัสสปาปิยสิกามีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น
สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ตัสสปาปิยสิกามีในที่นั้น ติณวัตถารกะมีในที่ใด สัมมุขาวินัย
มีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ติณวัตถารกะมีในที่นั้น
๗. วิสัชชนาวาร
ว่าด้วยวาระแห่งการตอบ
อธิกรณ์ระงับ
[๓๕๐] สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและสติวินัย สมัยนั้น สติวินัยมี
ในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด สติวินัยมีในที่นั้น แต่ในที่นั้นไม่
มีอมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและอมูฬหวินัย ฯลฯ
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๘. สังสัฏฐวาร
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา ฯลฯ
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ สมัยนั้น ติณวัตถารกะ
มีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ติณวัตถารกะมีในที่นั้น แต่ไม่มี
สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา และตัสสปาปิยสิกา
๘. สังสัฏฐวาร
ว่าด้วยวาระที่ว่าด้วยการรวมกัน
[๓๕๑] ถาม : ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี รวมกันหรือแยกกัน
ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันได้หรือ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี รวมกันหรือแยกกัน
ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันได้หรือ
ตอบ : ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี รวมกันไม่แยกจากกัน
ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันไม่ได้
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๙. สัตตสมถนิทาน
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี รวมกัน ไม่แยกจากกัน
ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันไม่ได้
๙. สัตตสมถนิทาน
ว่าด้วยนิทานแห่งสมถะ ๗
[๓๕๒] ถาม : สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : สัมมุขาวินัยมีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็นชาติ
มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็นชาติ มีนิทาน
เป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน
ถาม : สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๙. สัตตสมถนิทาน
ตอบ : สัมมุขาวินัย มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุ
เป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดน
เกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
ถาม : สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : สัมมุขาวินัย มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ
มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัย
เป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน
ว่าด้วยมูลเหตุ และสมุฏฐานแห่งสมถะ
[๓๕๓] ถาม : สมถะ ๗ มีมูลเหตุเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สมถะ ๗ มีมูลเหตุ ๒๖ มีสมุฏฐาน ๓๖
ถาม : สมถะ ๗ มีมูลเหตุ ๒๖ อะไรบ้าง
ตอบ : สัมมุขาวินัย มีมูลเหตุ ๔ คือ ความพร้อมหน้าสงฆ์ ๑ ความพร้อม
หน้าธรรม ๑ ความพร้อมหน้าวินัย ๑ ความพร้อมหน้าบุคคล ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
สติวินัย มีมูลเหตุ ๔ อมูฬหวินัย มีมูลเหตุ ๔ ปฏิญญาตกรณะ มีมูลเหตุ ๒
คือ (๑) ผู้แสดง (๒) ผู้รับ เยภุยยสิกา มีมูลเหตุ ๔ ตัสสปาปิยสิกา มีมูลเหตุ ๔
ติณวัตถารกะ มีมูลเหตุ ๔ คือ (๑) ความพร้อมหน้าสงฆ์ (๒) ความพร้อมหน้าธรรม
(๓) ความพร้อมหน้าวินัย (๔) ความพร้อมหน้าบุคคล
สมถะ ๗ มีมูลเหตุ ๒๖ นี้
ถาม : สมถะ ๗ มีสมุฏฐาน ๓๖ อะไรบ้าง
ตอบ : การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่
คัดค้าน กรรม คือ สติวินัย
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ อมูฬหวินัย
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ ปฏิญญาตกรณะ
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ เยภุยยสิกา
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ ตัสสปาปิยสิกา
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ ติณวัตถารกะ
สมถะ ๗ มีสมุฏฐาน ๓๖ นี้
๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
ว่าด้วยสมถะ ๗ มีอรรถต่างกัน เป็นต้น
[๓๕๔] ถาม : ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี มีอรรถต่างกัน มี
พยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน
ตอบ : ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี ก็มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน
วิวาทาธิกรณ์
[๓๕๕] วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท เป็น
อธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ก็มี วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์
ไม่เป็นวิวาทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วยก็มี
ในข้อนั้น วิวาทอย่างไรเป็นวิวาทาธิกรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้วิวาทกันว่า นี้เป็น
ธรรม นี้ไม่เป็นธรรม ฯลฯ
นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น วิวาท
นี้เป็นวิวาทาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
ในข้อนั้น วิวาทอย่างไรไม่จัดเป็นอธิกรณ์ มารดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตร
ทะเลาะกับมารดาบ้าง บิดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตรทะเลาะกับบิดาบ้าง พี่ชายทะเลาะ
กับน้องชายบ้าง น้องชายทะเลาะกับพี่สาวบ้าง พี่สาวทะเลาะกับน้องสาวบ้าง เพื่อน
ทะเลาะกับเพื่อนบ้าง วิวาทนี้ไม่เป็นอธิกรณ์
ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหนไม่เป็นวิวาท อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
กิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็นวิวาท
ในข้อนั้น อย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย วิวาทาธิกรณ์
เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย
อนุวาทาธิกรณ์
[๓๕๖] การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ การโจทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็น
การโจท เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ก็มี การโจท
ไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นการโจทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วยก็มี
ในข้อนั้น การโจทอย่างไรเป็นอนุวาทาธิกรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมโจทภิกษุ
ด้วยสีลวิบัติหรืออาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติหรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา
การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความพยายามโจท
การให้กำลังสนับสนุนในเรื่องนั้น การโจทนี้เป็นอนุวาทาธิกรณ์
ในข้อนั้น การโจทอย่างไรไม่เป็นอธิกรณ์ มารดาฟ้องบุตรบ้าง บุตรฟ้องมารดาบ้าง
บิดาฟ้องบุตรบ้าง บุตรฟ้องบิดาบ้าง พี่ชายฟ้องน้องชายบ้าง น้องชายฟ้องพี่สาวบ้าง
พี่สาวฟ้องน้องชายบ้าง เพื่อนฟ้องเพื่อนบ้าง การโจทนี้ไม่เป็นอธิกรณ์
ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหนไม่เป็นการโจท อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์
วิวาทาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็นการโจท
ในข้อนั้น อย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย อนุวาทาธิกรณ์ เป็น
อธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
อาปัตตาธิกรณ์
[๓๕๗] อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ
เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ก็มี อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี
อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วยก็มี
ในข้อนั้น อาบัติอย่างไหนเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๕ กอง เป็นอาปัตตา-
ธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๗ กอง เป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัตินี้เป็นอาปัตตาธิกรณ์
ในข้อนั้น อาบัติอย่างไหนไม่เป็นอธิกรณ์
โสดาบัติ สมาบัติ อาบัตินี้ไม่เป็นอธิกรณ์
ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหนไม่เป็นอาบัติ
กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็น
อาบัติ
ในข้อนั้น อย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย อาปัตตาธิกรณ์เป็น
อธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย
กิจจาธิกรณ์
[๓๕๘] กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ กิจไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ เป็นอธิกรณ์ด้วย
เป็นกิจด้วย กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ก็มี กิจไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นกิจก็มี เป็น
อธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วยก็มี
ในข้อนั้น กิจอย่างไหนเป็นกิจจาธิกรณ์
ความที่สงฆ์มีกิจ ความที่สงฆ์มีกิจอันจะพึงทำ คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม
ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม กิจนี้เป็นกิจจาธิกรณ์
ในข้อนั้น กิจอย่างไหนไม่เป็นอธิกรณ์
กิจที่พึงทำแก่พระอาจารย์ กิจที่พึงทำแก่พระอุปัชฌาย์ กิจที่พึงทำแก่ภิกษุ
ปูนอุปัชฌาย์ กิจที่พึงทำแก่ภิกษุปูนอาจารย์ กิจนี้ไม่เป็นอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] หัวข้อประจำเรื่อง
ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหน ไม่เป็นกิจ
วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็นกิจ
ในข้อนั้น กิจอย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย
กิจจาธิกรณ์เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย
อธิกรณเภท จบ
หัวข้อประจำเรื่อง
การรื้อฟื้น อธิกรณ์ รื้อฟื้นด้วยอาการเท่าไร
บุคคลรื้อฟื้น มีอะไรเป็นนิทาน
เหตุ ปัจจัย มูล สมุฏฐาน เป็นอาบัติ
มีอธิกรณ์ ในที่ใด แยกจากกัน มีนิทาน เหตุ ปัจจัย
มูล สมุฏฐาน มีพยัญชนะ วิวาท อธิกรณ์
ดังที่กล่าวมานี้ จัดลงในประเภทอธิกรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ] ๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
อปรคาถาสังคณิกะ
ว่าด้วยกลุ่มคาถาอีกกลุ่มหนึ่ง
๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
ว่าด้วยคำถาม และคำตอบการโจท เป็นต้น
[๓๕๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า
“การโจทเพื่อประโยชน์อะไร การสอบสวนเพื่อเหตุอะไร
สงฆ์เพื่อประโยชน์อะไร ส่วนการลงมติเพื่อเหตุอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“การโจทเพื่อประโยชน์ให้ระลึก การสอบสวนเพื่อประโยชน์จะข่ม
สงฆ์เพื่อประโยชน์จะช่วยกันพิจารณา
ส่วนการลงมติเพื่อช่วยกันวินิจฉัยแต่ละเรื่อง
ถ้าเธอเป็นผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ อย่าด่วนพูด
อย่าพูดด้วยความเกรี้ยวกราด
อย่ายั่วความโกรธ อย่าพูดโดยผลุนผลัน
อย่ากล่าวถ้อยคำชวนวิวาทไม่ประกอบด้วยประโยชน์
วัตรคือการซักถามอันอนุโลมแก่สิกขาบท
ที่พระพุทธเจ้าผู้เฉียบแหลมมีพระปัญญาทรงวางไว้
ตรัสไว้ดีแล้วในพระสูตร ในพระวินัย
ในอนุโลม ในพระบัญญัติ และอนุโลมิกะ๑
เธอจงพิจารณาวัตรคือการซักถามนั้น
อย่าให้เสียคติที่เป็นไปในสัมปรายภพ เป็นผู้ไฝ่หาประโยชน์
จงซักถามถ้อยคำที่ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาล

เชิงอรรถ :
๑ พระสูตร คืออุภโตวิภังค์ พระวินัย คือขันธกะ อนุโลม คือปริวาร พระบัญญัติ คือพระวินัยปิฎก
อนุโลมิกะ คือมหาปเทส (วิ.อ. ๓/๓๕๙/๔๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ] ๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
สำนวนที่กล่าวโดยผลุนผลันของจำเลยและโจทก์
เธออย่าเชื่อถือ โจทก็ฟ้องว่าต้องอาบัติ
แต่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ต้องอาบัติ เธอต้องสอบสวนทั้งสองฝ่าย
พึงปรับตามคำรับสารภาพ และถ้อยคำสำนวน
คำรับสารภาพ เรากล่าวไว้ในหมู่ลัชชี
แต่ข้อนั้น ไม่มีในหมู่อลัชชี อนึ่ง ภิกษุอลัชชีพูดมาก
เธอพึงปรับตามถ้อยคำสำนวนดังกล่าวแล้ว”
อลัชชีบุคคล
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“อลัชชี เป็นคนเช่นไร คำรับสารภาพของผู้ใดฟังไม่ขึ้น
ข้าพระพุทธเจ้าทูลถามพระองค์ถึงข้อนั้น
คนเช่นไร พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า อลัชชีบุคคล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ผู้ที่จงใจต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ และถึงความลำเอียง
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า อลัชชีบุคคล”
ลัชชีบุคคล
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้เป็นอลัชชีบุคคล
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า ลัชชีบุคคล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ผู้ที่ไม่จงใจต้องอาบัติ ไม่ปกปิดอาบัติ ไม่ถึงความลำเอียง
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ลัชชีบุคคล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น