Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๘-๑๐ หน้า ๕๔๑ - ๖๐๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘-๑๐ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร



พระวินัยปิฎก
ปริวาร
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ] ๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
บุคคลผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ลัชชีบุคคล
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ภิกษุโจทโดยกาลไม่ควร โจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง โจทด้วยคำหยาบ
โจทด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มุ่งร้ายโจท ไม่มีเมตตาจิตโจท
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม”
บุคคลผู้โจทก์เป็นธรรม
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ภิกษุโจทโดยกาล โจทด้วยเรื่องจริง โจทด้วยคำสุภาพ
โจทด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ มีเมตตาจิต ไม่มุ่งร้ายโจท
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม”
คนโจทก์ผู้โง่เขลา
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้โง่เขลา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ] ๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“บุคคลไม่รู้คำต้นและคำหลัง ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
ไม่รู้ทางแห่งถ้อยคำสำนวน ไม่ฉลาดในถ้อยคำสำนวน
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า โจทก์ผู้โง่เขลา”
คนโจทก์ผู้ฉลาด
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้เขลา
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“บุคคลรู้คำต้นและคำหลัง ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
รู้ทางแห่งถ้อยคำสำนวน ฉลาดในถ้อยคำสำนวน
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด”
การโจท
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
กิริยาเช่นไร พระองค์ตรัสเรียกว่า การโจท”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“กิริยาที่ถูกโจทด้วยสีลวิบัติ ด้วยอาจารวิบัติ ด้วยทิฏฐิวิบัติ
และแม้ด้วยอาชีววิบัติ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า การโจท”
อปรคาถาสังคณิกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๑. อนุวิชชกอนุโยค
โจทนากัณฑ์
ว่าด้วยหมวดการโจท
๑. อนุวิชชกอนุโยค
ว่าด้วยข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[๓๖๐] ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงถามโจทก์ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุ
รูปนี้นั้น โจทเพราะเรื่องอะไร ท่านโจทด้วยสีลวิบัติ โจทด้วยอาจารวิบัติ หรือโจท
ด้วยทิฏฐิวิบัติ ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าโจทด้วยสีลวิบัติ โจทด้วย
อาจารวิบัติ หรือโจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์
อย่างนี้ว่า ท่านรู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติหรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ารู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ก็ สีลวิบัติเป็นไฉน
อาจารวิบัติเป็นไฉน ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้จัดเป็นสีลวิบัติ
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้จัดเป็นอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ
อันตคาหิกทิฏฐิ นี้จัดเป็นทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุ
รูปนี้นั้น ท่านโจทด้วยเรื่องที่ได้เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน หรือด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน หรือ
ด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุ
รูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้เห็นนั้น ท่านเห็นอะไร เห็นอย่างไร เห็นเมื่อไร เห็นที่ไหน ท่าน
เห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๑. อนุวิชชกอนุโยค
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิตหรือ อนึ่ง ท่านอยู่ที่ไหน และ
ภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ามิได้โจทภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้เห็น
แต่ข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่ได้ยิน
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุรูปนี้
ด้วยเรื่องที่ได้ยินนั้น ท่านได้ยินอะไร ได้ยินอย่างไร ได้ยินเมื่อไร ได้ยินที่ไหน
ท่านได้ยินว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านได้ยินว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือท่านได้ยินจาก
ภิกษุ หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา
พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ หรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ามิได้โจทภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้ยิน
แต่ว่าโจทด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุรูปนี้
ด้วยเรื่องที่นึกสงสัยนั้น ท่านนึกสงสัยอะไร นึกสงสัยอย่างไร นึกสงสัยเมื่อไร
นึกสงสัยที่ไหน ท่านนึกสงสัยว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านนึกสงสัยว่า
ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต
หรือท่านได้ยินจากภิกษุแล้วนึกสงสัย หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร
สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์
แล้วนึกสงสัยหรือ
เปรียบเทียบอธิกรณ์
[๓๖๑] เรื่องที่ได้เห็นสมด้วยเรื่องที่ได้เห็น
เรื่องที่ได้เห็นเทียบกันได้กับเรื่องที่ได้เห็น
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการเห็น
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๑. อนุวิชชกอนุโยค
เรื่องที่ได้ยินสมด้วยเรื่องที่ได้ยิน
เรื่องที่ได้ยินเทียบกันได้กับเรื่องที่ได้ยิน
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ยิน
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้น
เรื่องที่ได้ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ
เรื่องที่ได้ทราบเทียบกันได้กับเรื่องที่ได้ทราบ
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ทราบ
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้นเถิด
ข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[๓๖๒] ถาม : การโจทมีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การโจทมีโอกาสเป็นเบื้องต้น มีการทำเป็นท่ามกลาง มีการระงับเป็นที่สุด
ถาม : การโจทมีมูลเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร โจทด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : การโจทมีมูล ๒ มีวัตถุ ๓ มีภูมิ ๕ โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง
ถาม : การโจทมีมูล ๒ เป็นไฉน
ตอบ : การโจทมีมูล การโจทไม่มีมูล นี้การโจทมีมูล ๒
ถาม : การโจทมีวัตถุ ๓ เป็นไฉน
ตอบ : เรื่องที่ได้เห็น เรื่องที่ได้ยิน เรื่องที่นึกสงสัย นี้การโจทมีวัตถุ ๓
ถาม : การโจทมีภูมิ ๕ เป็นไฉน
ตอบ : ๑. จักโจทโดยกาลที่สมควร จักไม่โจทโดยกาลไม่ควร
๒. จักโจทด้วยเรื่องจริง จักไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง
๓. จักโจทด้วยคำสุภาพ จักไม่โจทด้วยคำหยาบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๒. โจทกาทิปฏิปัตติ
๔. จักโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ จักไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์
๕. จักมีเมตตาจิตโจท จักไม่มุ่งร้ายโจท
นี้การโจทมีภูมิ ๕
ถาม : โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง เป็นไฉน
ตอบ : โจทด้วยกาย โจทด้วยวาจา นี้โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง
๒. โจทกาทิปฏิปัตติ
ว่าด้วยข้อปฏิบัติของโจทก์ เป็นต้น
[๓๖๓] โจทก์พึงปฏิบัติอย่างไร จำเลยพึงปฏิบัติอย่างไร สงฆ์พึงปฏิบัติ
อย่างไร ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงปฏิบัติอย่างไร
ถาม : โจทก์พึงปฏิบัติอย่างไร
ตอบ : โจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ อย่าง แล้วจึงโจทผู้อื่น คือ
๑. จักโจทโดยกาลที่สมควร จักไม่โจทโดยกาลไม่ควร
๒. จักโจทด้วยเรื่องจริง จักไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง
๓. จักโจทด้วยคำสุภาพ จักไม่โจทด้วยคำหยาบ
๔. จักโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ จักไม่โจด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์
๕. จักมีเมตตาจิตโจท จักไม่มุ่งร้ายโจท
โจทก์พึงปฏิบัติอย่างนี้
ถาม : จำเลยพึงปฏิบัติอย่างไร
ตอบ : จำเลยพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ
๑. ในความสัตย์ ๒. ในความไม่ขุ่นเคือง
จำเลยพึงปฏิบัติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๒. โจทกาทิปฏิปัตติ
ถาม : สงฆ์พึงปฏิบัติอย่างไร
ตอบ : สงฆ์พึงรู้คำที่เข้าประเด็นและไม่เข้าประเด็น สงฆ์พึงปฏิบัติอย่างนี้
ถาม : ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบ : ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงระงับอธิกรณ์นั้น โดยประการที่อธิกรณ์นั้นจะ
ระงับโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงปฏิบัติอย่างนี้
ว่าด้วยอุโบสถ เป็นต้น
[๓๖๔] ถาม : อุโบสถเพื่อประโยชน์อะไร ปวารณาเพื่อเหตุอะไร
ปริวาสเพื่อประโยชน์อะไร การชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่อเหตุอะไร
มานัตเพื่อประโยชน์อะไร อัพภานเพื่อเหตุอะไร
ตอบ : อุโบสถเพื่อประโยชน์แก่ความพร้อมเพรียง
ปวารณาเพื่อประโยชน์แก่ความหมดจด
ปริวาสเพื่อประโยชน์แก่มานัต
การชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่อประโยชน์แก่นิคคหะ
มานัตเพื่อประโยชน์แก่อัพภาน
อัพภานเพื่อประโยชน์แก่ความหมดจด
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์มีปัญญาทราม
โง่เขลา และไม่มีความเคารพในสิกขาบริภาษพระเถระ
ลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียงเพราะชัง
ลำเอียงเพราะกลัว ลำเอียงเพราะหลง
เป็นผู้ขุดตนกำจัดอินทรีย์แล้ว เพราะกายแตกย่อมเข้านรก
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ไม่พึงเห็นแก่อามิส
และไม่พึงเห็นแก่บุคคล ควรเว้นสองอย่างนั้นแล้ว
ทำตามที่เป็นธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๓. โจทกัสสอัตตฌาปนะ
๓. โจทกัสสอัตตฌาปนะ
ว่าด้วยการเผาตนของภิกษุผู้เป็นโจทก์
โจทก์เป็นผู้มักโกรธ มักถือโกรธ ดุร้าย มักกล่าวบริภาษ
ย่อมปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์กระซิบใกล้หูคอยจับผิด ทำให้บกพร่อง
เสพทางผิด ย่อมปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ
โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์โจทโดยกาลอันไม่ควร โจทด้วยคำไม่จริง
โจทด้วยคำหยาบ โจทด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์
มุ่งร้ายโจทไม่มีเมตตาจิตโจท ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ
โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้ธรรมและอธรรม ไม่ฉลาดในธรรมและอธรรม
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้วินัยและมิใช่วินัย ไม่ฉลาดในวินัยและมิใช่วินัย
ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระตถาคตภาษิตไว้และมิได้ภาษิตไว้
ไม่ฉลาดในสิ่งที่พระตถาคตภาษิตไว้และมิได้ภาษิตไว้
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาและมิได้ทรงประพฤติมา
ไม่ฉลาดในสิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาและมิได้ทรงประพฤติมา
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้และมิได้ทรงบัญญัติไว้
ไม่ฉลาดในสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้และมิได้ทรงบัญญัติไว้
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] หัวข้อประจำกัณฑ์
โจทก์ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ไม่ฉลาดในอาบัติและอนาบัติ
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
ไม่ฉลาดในอาบัติเบาและอาบัติหนัก
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนหลือ
ไม่ฉลาดในอาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนหลือ
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ไม่ฉลาดในอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้คำต้นและคำหลัง ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้ทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน
ไม่ฉลาดต่อทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน แล
โจทนากัณฑ์ จบ
หัวข้อประจำกัณฑ์
การโจท ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ เป็นเบื้องต้น มีมูล
อุโบสถ คติ เป็นคำสั่งสอนที่คงอยู่ในโจทนากัณฑ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] ๑. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
จูฬสงคราม
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าสู่จูฬสงคราม
๑. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
ว่าด้วยข้อปฏิบัติของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[๓๖๕] อันภิกษุผู้เข้าสงครามเมื่อเข้าหาสงฆ์พึงเป็นผู้มีจิตยำเกรง มีจิตเสมอด้วย
ผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์ พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง รู้จักการนั่งไม่เบียดภิกษุผู้เถระ ไม่เบียด
อาสนะภิกษุผู้อ่อนกว่า พึงนั่งอาสนะตามสมควร ไม่พึงพูดเรื่องต่าง ๆ ไม่พึงพูดเรื่อง
ดิรัจฉานกถา พึงกล่าวธรรมเอง หรือเชื้อเชิญภิกษุรูปอื่น ไม่พึงดูหมิ่นอริยดุษณีภาพ
อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ที่สงฆ์อนุมัติแล้ว มีประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์ ไม่พึง
ถามถึงอุปัชฌาย์ ไม่พึงถามถึงอาจารย์ ไม่พึงถามถึงสัทธิวิหาริก ไม่พึงถามถึงอันเตวาสิก
ไม่พึงถามถึงภิกษุปูนอุปัชฌาย์ ไม่พึงถามถึงภิกษุปูนอาจารย์ ไม่พึงถามถึงชาติ
ไม่พึงถามถึงชื่อ ไม่พึงถามถึงโคตร ไม่พึงถามถึงอาคม ไม่พึงถามถึงชั้นแห่งตระกูล
ไม่พึงถามถึงชาติภูมิ เพราะเหตุไร เพราะความรักหรือความชังจะพึงมีในบุคคลนั้น
เมื่อมีความรักหรือความชัง พึงลำเอียงเพราะความชอบบ้าง พึงลำเอียงเพราะความ
ชังบ้าง พึงลำเอียงเพราะความหลงบ้าง พึงลำเอียงเพราะความกลัวบ้าง
อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ที่สงฆ์อนุมัติแล้ว มีประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์ พึงเป็น
ผู้หนักในสงฆ์ ไม่พึงเป็นผู้หนักในบุคคล พึงเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่พึงเป็นผู้
หนักในอามิส พึงเป็นผู้ไปตามอำนาจแห่งคดี ไม่พึงเป็นผู้เห็นแก่บริษัท พึงวินิจฉัย
โดยกาลอันควร ไม่พึงวินิจฉัยโดยกาลไม่ควร พึงวินิจฉัยด้วยคำจริง ไม่พึงวินิจฉัยด้วย
คำไม่จริง พึงวินิจฉัยด้วยคำสุภาพ ไม่พึงวินิจฉัยด้วยคำหยาบ พึงวินิจฉัยด้วยคำ
ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงวินิจฉัยด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พึงเป็นผู้มี
เมตตาจิตวินิจฉัย ไม่พึงเป็นผู้มุ่งร้ายวินิจฉัย ไม่พึงเป็นผู้กระซิบที่หู ไม่พึงคอยจับผิด
ไม่พึงขยิบตา ไม่พึงเลิกคิ้ว ไม่พึงชะเง้อศีรษะ ไม่พึงทำวิการแห่งมือ ไม่พึงใช้มือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] ๑. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
แสดงท่าทาง พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง พึงเป็นผู้รู้จักการนั่ง พึงนั่งบนอาสนะของตน
ทอดตาชั่วแอก เพ่งเนื้อความและไม่ลุกจากอาสนะไปข้างไหน ไม่พึงยังการวินิจฉัย
ให้บกพร่อง ไม่พึงเสพทางผิด ไม่พึงพูดสัดส่าย พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วน ไม่ผลุนผลัน
ไม่ดุดัน เป็นผู้อดทนได้ต่อถ้อยคำ พึงเป็นผู้มีเมตตาจิต คิดเอ็นดูเพื่อประโยชน์ พึงเป็น
ผู้มีกรุณาขวนขวาย เพื่อประโยชน์ พึงเป็นผู้ไม่พูดพล่อย เป็นผู้พูดมีที่สุด พึงเป็นผู้
ไม่ผูกเวร ไม่ขัดเคือง พึงรู้จักตน พึงรู้จักผู้อื่น พึงสังเกตโจทก์ พึงสังเกตจำเลย
พึงกำหนดรู้ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม พึงกำหนดรู้ผู้ถูกโจทไม่เป็นธรรม พึงกำหนดรู้ผู้โจทก์
เป็นธรรม พึงกำหนดรู้ผู้ถูกโจทเป็นธรรม พึงกำหนดข้อความพึงเปิดเผยผู้ไม่สะอาด ที่
๒ ฝ่ายกล่าวมิให้ตกหล่น ไม่แซมข้อความอันเขาไม่ได้กล่าว พึงจำบทพยัญชนะอัน
เข้าประเด็นไว้เป็นอย่างดีสอบสวนจำเลย แล้วพึงปรับตามคำรับสารภาพ โจทก์หรือ
จำเลยประหม่าพึงพูดเอาใจ เป็นผู้ฉลาด พึงพูดปลอบ พึงเป็นผู้ดุห้ามเสีย พึงเป็นผู้
ตรงกับผู้ประพฤติอ่อนโยน ไม่พึงลำเอียงเพราะชอบ ไม่พึงลำเอียงเพราะชัง ไม่พึง
ลำเอียงเพราะหลง ไม่พึงลำเอียงเพราะกลัว พึงวางตนเป็นกลาง ทั้งในธรรม ทั้งใน
บุคคล
ก็แล ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ เมื่อวินิจฉัยอธิกรณ์ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้
ทำตามคำสอนของพระศาสดา เป็นที่รักที่ชอบใจที่เคารพ ที่สรรเสริญแห่งสพรหมจารี
ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู
ว่าด้วยประโยชน์แห่งสูตร เป็นต้น
[๓๖๖] สูตรเพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง ข้ออุปมาเพื่อประโยชน์แก่การชี้แจง
เนื้อความเพื่อประโยชน์ที่จะให้เขาเข้าใจ การย้อนถามเพื่อประโยชน์แก่ความดำรงอยู่
การขอโอกาสเพื่อประโยชน์แก่การโจท การโจทเพื่อประโยชน์แก่การให้จำเลยระลึก
การให้ระลึกเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นผู้มีถ้อยคำอันจะพึงกล่าว ความเป็นผู้มี
ถ้อยคำอันจะพึงกล่าวเพื่อประโยชน์แก่ปลิโพธ ปลิโพธเพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัย
การวินิจฉัยเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา การพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่การรู้ฐานะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] ๑. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
และมิใช่ฐานะ การรู้ฐานะและมิใช่ฐานะเพื่อประโยชน์แก่การข่มบุคคลผู้เก้อยาก
เพื่อประโยชน์แก่การยกย่องเหล่าภิกษุมีศีลดีงาม สงฆ์เพื่อประโยชน์แก่การสอดส่อง
และรับรอง บุคคลที่สงฆ์อนุมัติแล้ว ตั้งอยู่ในตำแหน่งเฉพาะ ตั้งอยู่ในตำแหน่งผู้ไม่
กล่าวให้คลาดเคลื่อน
ประโยชน์แห่งวินัย เป็นต้น
วินัยเพื่อประโยชน์แก่ความสำรวม ความสำรวมเพื่อประโยชน์แก่ความไม่
เดือดร้อน ความไม่เดือดร้อนเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์ ความปราโมทย์เพื่อ
ประโยชน์แก่ความปีติ ความปีติ เพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ ปัสสัทธิเพื่อประโยชน์แก่
ความสุข ความสุขเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ สมาธิเพื่อประโยชน์แก่ความรู้เห็นตาม
เป็นจริง ความรู้เห็นตามเป็นจริงเพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อหน่าย ความเบื่อหน่าย
เพื่อประโยชน์แก่ความคลายกำหนัด ความคลายกำหนัด เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ
วิมุตติเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ วิมุตติญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่
อนุปาทาปรินิพพาน การกล่าวมีอนุปาทานิพพานนั้นเป็นประโยชน์ การปรึกษามี
อนุปาทานิพพานนั้นเป็นประโยชน์ ความเป็นปัจจัยกันมีอนุปาทานิพพานนั้น
เป็นประโยชน์ ความเงี่ยโสตสดับมีอนุปาทานิพพานนั้นเป็นประโยชน์ คือ ความพ้น
วิเศษแห่งจิตเพราะไม่ยึดมั่น
อนุโยควัตร(วัตรในการซักถาม)
[๓๖๗] เธอจงพิจารณาวัตร ในการซักถาม อนุโลมแก่สิกขาบท
อันพระพุทธเจ้า ผู้ฉลาด มีพระปัญญาทรงวางไว้
ตรัสไว้ดีแล้ว อย่าให้เสียคติที่เป็นไปในสัมปรายภพ
ภิกษุใดไม่รู้วัตถุ วิบัติ อาบัติ นิทาน คำต้น คำหลัง
สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ โดยเสมอ และเป็นผู้ไม่เข้าใจอาการ
ภิกษุผู้เช่นนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าไม่ควรเลือก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] หัวข้อประจำเรื่อง
อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้กรรม อธิกรณ์ และไม่เข้าใจสมถะ
เป็นผู้กำหนัดขัดเคือง และหลง ย่อมลำเอียงเพราะกลัว
เพราะหลง ไม่ฉลาดในสัญญัติ ไม่ฉลาดในการพินิจ
เป็นผู้ได้พรรคพวก ไม่มีความละอาย มีกรรมดำ ไม่เอื้อเฟื้อ
ภิกษุผู้เช่นนั้น ๆ แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าไม่ควรเลือก
ภิกษุใดรู้วัตถุ วิบัติ อาบัติ นิทาน คำต้น คำหลัง
สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำโดยเสมอ และเป็นผู้เข้าใจอาการ
ภิกษุผู้เช่นนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าควรเลือก
อนึ่ง ภิกษุใดรู้กรรม อธิกรณ์ และเข้าใจสมถะ เป็นผู้ไม่กำหนัด
ไม่ขัดเคืองและไม่หลง ไม่ลำเอียงเพราะกลัว เพราะหลง
ฉลาดในสัญญัติ ฉลาดในการพินิจ เป็นผู้ได้พรรคพวก
มีความละอาย มีกรรมขาว มีความเคารพ
ภิกษุผู้เช่นนั้น ๆ แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าควรเลือก
จูฬสงคราม จบ
หัวข้อประจำเรื่อง
ภิกษุผู้เข้าสงครามพึงมีจิตยำเกรงถาม หนักในสงฆ์
ไม่หนักในบุคคล สูตรเพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง
วินัยเพื่ออนุเคราะห์ หัวข้อตามที่กล่าวนี้มีอุทเทสอย่างเดียวกัน
ท่านจัดไว้ในจูฬสงครามแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
มหาสงคราม
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าสู่มหาสงคราม
๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
ว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ภิกษุผู้กล่าวพึงรู้ เป็นต้น
[๓๖๘] อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อกล่าวในสงฆ์พึงรู้วัตถุ พึงรู้วิบัติ พึงรู้อาบัติ
พึงรู้นิทาน พึงรู้อาการ พึงรู้คำต้นและคำหลัง พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ พึงรู้กรรม
พึงรู้อธิกรณ์ พึงรู้สมถะ ไม่พึงลำเอียงเพราะชอบ ไม่พึงลำเอียงเพราะชัง ไม่พึง
ลำเอียงเพราะหลง ไม่พึงลำเอียงเพราะกลัว พึงชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง พึงพิจารณา
ในฐานะที่ควรพิจารณา พึงเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง พึงเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ไม่พึงดูหมิ่นฝ่ายอื่นด้วยเข้าใจว่าเราได้พวกแล้ว ไม่พึงดูหมิ่นผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจว่า
เรามีสุตะมาก ไม่พึงดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่าเราเป็นผู้แก่กว่า ไม่พึงพูดเรื่อง
ที่ยังมาไม่ถึง ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วเสื่อมไปจากพระธรรมวินัย อธิกรณ์นั้นจะระงับ
ด้วยธรรมใด ด้วยวินัยใด ด้วยสัตถุศาสน์ใด พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับด้วยวิธีนั้น
ว่าด้วยการรู้วัตถุ
[๓๖๙] คำว่า พึงรู้วัตถุ นั้น คือ พึงรู้วัตถุแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุ
แห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งนิสสัคคีย์
๔๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ
๑๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งทุกกฏ พึงรู้วัตถุแห่งทุพภาสิต
ว่าด้วยการรู้วิบัติ
[๓๗๐] คำว่า พึงรู้วิบัติ นั้น คือ พึงรู้สีลวิบัติ พึงรู้อาจารวิบัติ พึงรู้ทิฏฐิวิบัติ
พึงรู้อาชีววิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
ว่าด้วยการรู้อาบัติ
[๓๗๑] คำว่า พึงรู้อาบัติ นั้น คือ พึงรู้อาบัติปาราชิก พึงรู้อาบัติสังฆาทิเสส
พึงรู้อาบัติถุลลัจจัย พึงรู้อาบัติปาจิตตีย์ พึงรู้อาบัติปาฏิเทสนียะ พึงรู้อาบัติทุกกฏ
พึงรู้อาบัติทุพภาสิต
ว่าด้วยการรู้นิทาน
[๓๗๒] คำว่า พึงรู้นิทาน นั้น คือ พึงรู้นิทานแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท
พึงรู้นิทานแห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้
นิทานแห่งนิสสัคคีย์ ๔๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้
นิทานแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งทุกกฏ พึงรู้นิทานแห่ง
ทุพภาสิต
ว่าด้วยการรู้อาการ
[๓๗๓] คำว่า พึงรู้อาการ นั้น คือ พึงรู้สงฆ์โดยอาการ พึงรู้คณะโดยอาการ
พึงรู้บุคคลโดยอาการ พึงรู้โจทก์โดยอาการ พึงรู้จำเลยโดยอาการ
ข้อว่า พึงรู้สงฆ์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้สงฆ์โดยอาการอย่างนี้ว่า สงฆ์หมู่นี้
จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้คณะโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้คณะโดยอาการอย่างนี้ว่า คณะนี้จะ
สามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้บุคคลโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้บุคคลโดยอาการอย่างนี้ว่า
บุคคลนี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้โจทก์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้โจทก์โดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้
จะตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ แล้วโจทผู้อื่น หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้จำเลยโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จำเลยโดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จะ
ตั้งอยู่ในธรรม ๒ ข้อ คือ ให้การตามจริงและไม่โกรธ หรือไม่หนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
ว่าด้วยการรู้คำต้นและคำหลัง
[๓๗๔] คำว่า พึงรู้คำต้นและคำหลัง นั้น คือ พึงรู้คำต้นและคำหลังอย่างนี้ว่า
ท่านผู้นี้ย้ายวัตถุจากวัตถุ ย้ายวิบัติจากวิบัติ ย้ายอาบัติจากอาบัติ ปฏิเสธแล้วกลับ
ปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วกลับปฏิเสธ หรือสับเรื่องอื่นด้วยเรื่องอื่น หรือไม่หนอ
ว่าด้วยการรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ
[๓๗๕] คำว่า พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ นั้น คือ พึงรู้เมถุนธรรม พึง
รู้ข้ออนุโลมแก่เมถุนธรรม พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม
ข้อว่า พึงรู้เมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้กิจที่กระทำกันสองต่อสอง
ข้อว่า พึงรู้ข้ออนุโลมแก่เมถุนธรรม นั้น คือ (พึงรู้เรื่อง)ภิกษุอมองคชาตของ
ภิกษุอื่นด้วยปากของตน
ข้อว่า พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้สีมิใช่สี๑ การถูกต้องกาย
วาจาชั่วหยาบ การบำเรอความใคร่ของตน การใช้คำชักชวน๒
ว่าด้วยการรู้กรรม
[๓๗๖] คำว่า พึงรู้กรรม นั้น คือ พึงรู้กรรม ๑๖ อย่าง คือ อปโลกนกรรม
๔ ญัตติกรรม ๔ ญัตติทุติยกรรม ๔ ญัตติจตุตถกรรม ๔
ว่าด้วยการรู้อธิกรณ์
[๓๗๗] คำว่า พึงรู้อธิกรณ์ นั้น คือ พึงรู้อธิกรณ์ ๔ คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์
(๒) อนุวาทาธิกรณ์ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ (๔) กิจจาธิกรณ์

เชิงอรรถ :
๑ พึงรู้สี คือพึงรู้สีของอสุจิ มิใช่สี คือพึงรู้ว่าไม่เกี่ยวกับสีอสุจิ แต่ภิกษุพยายามเพื่อความหายโรค น้ำอสุจิ
เคลื่อน (วิ.อ. ๓/๓๗๕/๕๐๗, สารตฺถ.ฏีกา. ๓/๓๗๕/๕๘๐. ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๒๔๐/๒๕๕-๒๕๖ ประกอบ)
๒ การใช้คำชักชวน หมายถึงการทำหน้าที่ชักสื่อ (วิ.อ. ๓/๓๗๕/๕๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๒. อคติอคันตัพพะ
ว่าด้วยการรู้สมถะ
[๓๗๘] คำว่า พึงรู้สมถะ นั้น คือ พึงรู้สมถะ ๗ คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) เยภุยยสิกา (๓) สติวินัย (๔) อมูฬหวินัย (๕) ปฏิญญาตกรณะ
(๖) ตัสสปาปิยสิกา (๗) ติณวัตถารกะ
๒. อคติอคันตัพพะ
ว่าด้วยภิกษุไม่พึงลำเอียง
ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
[๓๗๙] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะชอบ นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชอบ
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะชอบ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ คิดว่า ท่านผู้นี้เป็น
อุปัชฌาย์ เป็นอาจารย์ เป็นสัทธิวิหาริก เป็นอันเตวาสิก เป็นผู้ร่วมอุปัชฌาย์
เป็นผู้ร่วมอาจารย์ เป็นผู้เคยเห็นกันมา เป็นผู้เคยร่วมคบกันมา หรือเป็นญาติ
สาโลหิตของเรา ดังนี้แล้ว เพื่ออนุเคราะห์ผู้นั้น เพื่อตามอารักขาท่านผู้นั้น จึง
๑. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า เป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่า เป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตได้
ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้
๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้
มิได้ตรัสไว้
๗. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตได้
ทรงประพฤติมา
๘. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตไม่ได้
ทรงประพฤติมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๒. อคติอคันตัพพะ
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตได้ทรงบัญญัติ
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ทรง
บัญญัติไว้
๑๑. แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
๑๕. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชอบด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่
ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อ
ความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะ
ชอบด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบ
ด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงตำหนิ และย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุผู้
ลำเอียงเพราะชอบ ย่อมลำเอียงเพราะชอบอย่างนี้
ว่าด้วยไม่ลำเอียงเพราะชัง๑
[๓๘๐] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะชัง นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชัง
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะชัง ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ผูกอาฆาตว่า
๑. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๒. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๓. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๔๐/๓๕๒, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๒๙/๔๙๑, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๙/๑๗๗, อภิ.วิ.
(แปล) ๓๕/๙๖๗/๖๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๒. อคติอคันตัพพะ
๔. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๕. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๖. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๗. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๘. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอ
ของเรา
๙. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
ภิกษุอาฆาต ปองร้าย ขุ่นเคือง ถูกความโกรธครอบงำด้วยวัตถุอาฆาต ๙ อย่างนี้
ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบ
ว่าต้องอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าต้องอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชังด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชน
หมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ
ไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชังด้วย
วัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ
อันวิญญูชนพึงตำหนิ และย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชัง
ย่อมลำเอียงเพราะชังอย่างนี้
ไม่ลำเอียงเพราะหลง
[๓๘๑] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะหลง นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะหลง
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะหลง ภิกษุเป็นผู้กำหนัดย่อมลำเอียงด้วยอำนาจความ
กำหนัด เป็นผู้ขุ่นเคืองย่อมลำเอียงด้วยอำนาจความขุ่นเคือง เป็นผู้หลงย่อมลำเอียง
ด้วยอำนาจความหลง เป็นผู้ถูกทิฏฐิลูบคลำย่อมลำเอียงด้วยอำนาจทิฏฐิ ภิกษุเป็นผู้
หลงงมงาย อันความหลงครอบงำ ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็น
อธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุผู้ลำเอียง เพราะหลงด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๒. อคติอคันตัพพะ
เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชน
หมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะหลงด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด
ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงตำหนิ และย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญ
เป็นอันมาก ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะหลง ย่อมลำเอียงเพราะหลงอย่างนี้
ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
[๓๘๒] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะกลัว นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัว
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ คิดว่า ผู้นี้อาศัยความ
ประพฤติไม่เรียบร้อย อาศัยความยึดถือ อาศัยพรรคพวกมีกำลัง เป็นผู้ร้ายกาจ
หยาบคาย จักทำอันตรายแก่ชีวิต หรืออันตรายแก่พรหมจรรย์ ดังนี้ จึงกลัวภัยจาก
ผู้นั้น ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่ว
หยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัวด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชน
หมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ
ไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัวด้วย
วัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ
อันวิญญูชนพึงตำหนิและย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัว
ย่อมลำเอียงเพราะกลัวอย่างนี้
นิคมคาถา
ผู้ใดประพฤติล่วงธรรมเพราะชอบ เพราะชัง
เพราะกลัว เพราะหลง ยศของผู้นั้น ย่อมเสื่อม
เหมือนดวงจันทร์ในวันข้างแรม ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๓. อคติอคมนะ
๓. อคติอคมนะ
ว่าด้วยการไม่ลำเอียง
ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
[๓๘๓] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งมิใช่วินัยว่ามิใช่วินัย ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงวินัยว่าเป็นวินัย ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้
ไม่ได้ตรัสไว้ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้
ตรัสไว้ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติว่า พระตถาคตไม่ได้ทรง
ประพฤติมา ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตได้ทรงประพฤติว่า พระตถาคตได้ทรงประพฤติมา
ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้
ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติเบา ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
แสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติหนัก ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๓. อคติอคมนะ
เมื่อแสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ชื่อว่าไม่ลำเอียง
เพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ ด้วยอาการอย่างนี้
ไม่ลำเอียงเพราะชัง
[๓๘๔] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะชัง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง ด้วยอาการอย่างนี้
ไม่ลำเอียงเพราะหลง
[๓๘๕] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะหลง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง ด้วยอาการอย่างนี้
ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
[๓๘๕] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะกลัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๔. สัญญาปนียาทิ
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว ด้วยอาการอย่างนี้
นิคมคาถา
ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรมเพราะชอบ เพราะชัง
เพราะกลัว เพราะหลง ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยม
เหมือนดวงจันทร์ในวันข้างขึ้น ฉะนั้น
๔. สัญญาปนียาทิ
ว่าด้วยการชี้แจง เป็นต้น
[๓๘๗] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
ภิกษุชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง ด้วยอาการอย่างนี้
ว่าด้วยการพิจารณา
[๓๘๘] ถาม : อย่างไรชื่อว่า พิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๔. สัญญาปนียาทิ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่
ควรพิจารณา
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา ด้วยอาการอย่างนี้
ว่าด้วยการเพ่งเล็ง
[๓๘๙] ถาม : อย่างไรชื่อว่า เพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควร
เพ่งเล็ง
ภิกษุชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง ด้วยอาการอย่างนี้
ว่าด้วยการเลื่อมใส
[๓๙๐] ถาม : อย่างไรชื่อว่า เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควร
เลื่อมใส
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควร
เลื่อมใส
ภิกษุชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๕. ปรปักขาทิอวชานนะ
๕. ปรปักขาทิอวชานนะ
ว่าด้วยการดูหมิ่นฝ่ายอื่น เป็นต้น
[๓๙๑] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ดูหมิ่นฝ่ายอื่นด้วยเข้าใจว่า เราได้พวกแล้ว
ตอบ : ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ได้พวก ได้บริวารแล้ว มีพวก มีญาติ
จึงคิดว่า ผู้นี้ไม่ได้พวก ไม่ได้บริวาร ไม่มีพวก ไม่มีญาติ ดังนี้ จึงดูหมิ่นภิกษุนั้น
ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบ
ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นฝ่ายอื่นด้วยเข้าใจว่า เราได้พวกแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้
ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุมีสุตะน้อย
[๓๙๒] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ดูหมิ่นผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก
ตอบ : ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ
ดูหมิ่นภิกษุนั้นว่า ท่านผู้นี้มีสุตะน้อย มีอาคมน้อย ทรงจำไว้ได้น้อย ย่อมแสดง
อธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติ
ไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก ด้วยอาการอย่างนี้
ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า
[๓๙๓] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่า เราเป็นผู้แก่กว่า
ตอบ : ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นเถระรู้ราตรี บวชนาน ดูหมิ่นภิกษุ
นั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้อ่อนกว่า ไม่มีชื่อเสียง มีสุตะน้อย ไม่รู้สิ่งที่ทำไปแล้ว ถ้อยคำ
ของผู้นี้จักเป็นถ้อยคำที่ทำไม่ได้ ดังนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่า
เป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่ว
หยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่า เราเป็นผู้แก่กว่า ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๖. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ
ว่าด้วยไม่พึงพูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง
[๓๙๔] คำว่า ไม่พึงพูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง นั้น คือ ไม่นำคำพูดที่ไม่เข้า
ประเด็นมา
คำว่า ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วเสื่อมไปจากพระธรรมวินัย นั้น คือ ไม่พึง
ทำประโยชน์ที่สงฆ์ประชุมกันแล้วให้เสื่อมไปจากพระธรรม จากพระวินัย
ว่าด้วยธรรมวินัยสัตถุศาสน์
[๓๙๕] คำว่า ด้วยธรรมใด คือ ด้วยเรื่องจริง
คำว่า ด้วยวินัยใด คือ โจทแล้วให้จำเลยให้การ
คำว่า ด้วยสัตถุศาสน์ใด คือ ด้วยญัตติสัมปทา ด้วยอนุสาวนสัมปทา
อธิกรณ์นั้น ย่อมระงับด้วยธรรมใด ด้วยวินัยใด ด้วยสัตถุศาสน์ใด พึงให้
อธิกรณ์นั้นระงับด้วยวิธีนั้น
๖. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ
ว่าด้วยข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[๓๙๖] อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงถามโจทก์ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา
แก่ภิกษุรูปนี้นั้น ท่านงดเพราะเรื่องอะไร ท่านงดด้วยสีลวิบัติ ท่านงดด้วยอาจารวิบัติ
หรือท่านงดด้วยทิฏฐิวิบัติ
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดด้วยสีลวิบัติ งดด้วยอาจารวิบัติ หรืองด
ด้วยทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์นั้น พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ท่านรู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ
รู้ทิฏฐิวิบัติหรือ
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ารู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ก็สีลวิบัติเป็นไฉน
อาจารวิบัติเป็นไฉน ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๖. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้จัดเป็นสีลวิบัติ
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้จัดเป็นอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ
อันตคาหิกทิฏฐิ นี้จัดเป็นทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา
แก่ภิกษุรูปนี้นั้น ท่านงดด้วยเรื่องที่ได้เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน หรือด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดด้วยเรื่องที่ได้เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน
หรือด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา
แก่ภิกษุรูปนี้ ท่านงดด้วยเรื่องที่ได้เห็นนั้น ท่านเห็นอะไร ท่านเห็นอย่างไร เห็นเมื่อไร
เห็นที่ไหน ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ อนึ่ง ท่านอยู่ที่ไหน และ
ภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่
ได้เห็น แต่ข้าพเจ้างดปวารณาด้วยเรื่องที่ได้ยิน
ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่
ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้ยินนั้น ท่านได้ยินอะไร ได้ยินอย่างไร ได้ยินเมื่อไร ได้ยินที่ไหน
ท่านได้ยินว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านได้ยินว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือท่านได้ยินจาก
ภิกษุ หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา
พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์หรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้าไม่ได้งดปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่อง
ที่ได้ยิน แต่ข้าพเจ้างดปวารณาด้วยเรื่องที่นึกสงสัยต่างหาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๗. ปุจฉาวิภาค
ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่ภิกษุ
รูปนี้ด้วยเรื่องที่นึกสงสัยนั้น ท่านนึกสงสัยอะไร นึกสงสัยอย่างไร นึกสงสัยเมื่อไร
นึกสงสัยที่ไหน ท่านนึกสงสัยว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านนึกสงสัยว่า
ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต
หรือท่านได้ยินจากภิกษุ หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก
อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์แล้วนึกสงสัยหรือ
เปรียบเทียบอธิกรณ์
[๓๙๗] เรื่องที่ได้เห็นสมด้วยเรื่องที่ได้เห็น
เรื่องที่ได้เห็นเทียบกับเรื่องที่ได้เห็น
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยเรื่องที่ได้เห็น
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำปวารณากับบุคคลนั้น
เรื่องที่ได้ยินสมด้วยเรื่องที่ได้ยิน เรื่องที่ได้ยินเทียบกับเรื่องที่ได้ยิน
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ยิน
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำปวารณากับบุคคลนั้น
เรื่องที่ได้ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ
เรื่องที่ได้ทราบเทียบกับเรื่องที่ได้ทราบ
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ทราบ
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์
พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา พึงทำปวารณากับบุคคลนั้น
๗. ปุจฉาวิภาค
ว่าด้วยการจำแนกคำถาม
[๓๙๘] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ถามถึงอะไร
คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ถามถึงอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๗. ปุจฉาวิภาค
คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น ถามถึงอะไร
คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น ถามถึงอะไร
[๓๙๙] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ได้แก่ ถามถึงวัตถุ ถามถึงวิบัติ ถามถึงอาบัติ
ถามถึงอัชฌาจาร
คำว่า ถามถึงวัตถุ นั้น ได้แก่ ถามถึงวัตถุแห่งปาราชิก ๘ ถามถึงวัตถุแห่ง
สังฆาทิเสส ๒๓ ถามถึงวัตถุแห่งอนิยต ๒ ถามถึงวัตถุแห่งนิสสัคคีย์ ๔๒ ถามถึง
วัตถุแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ ถามถึงวัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ ถามถึงวัตถุแห่งทุกกฏ
ถามถึงวัตถุแห่งทุพภาสิต
คำว่า ถามถึงวิบัติ นั้น ได้แก่ ถามถึงสีลวิบัติ ถามถึงอาจารวิบัติ ถามถึง
ทิฏฐิวิบัติ ถามถึงอาชีววิบัติ
คำว่า ถามถึงอาบัติ นั้น ได้แก่ ถามถึงอาบัติปาราชิก ถามถึงอาบัติสังฆาทิเสส
ถามถึงอาบัติถุลลัจจัย ถามถึงอาบัติปาจิตตีย์ ถามถึงอาบัติปาฏิเทสนียะ ถามถึง
อาบัติทุกกฏ ถามถึงอาบัติทุพพภาสิต
คำว่า ถามถึงอัชฌาจาร นั้น ได้แก่ ถามถึงกิจที่ทำกันสองต่อสอง
[๔๐๐] คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ได้แก่ ถามถึงเพศ ถามถึงอิริยาบถ
ถามถึงอาการ ถามถึงประการอันแปลก
คำว่า ถามถึงเพศ นั้น หมายถึง สูงหรือเตี้ย ดำหรือขาว
คำว่า ถามถึงอิริยาบถ นั้น หมายถึง เดินหรือยืน นั่งหรือนอน
คำว่า ถามอาการ นั้น หมายถึง เพศคฤหัสถ์ เพศเดียรถีย์ หรือเพศบรรพชิต
คำว่า ถามประการอันแปลก นั้น หมายถึง เดินหรือยืน นั่งหรือนอน
[๔๐๑] คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น ได้แก่ ถามถึงกาล ถามถึงสมัย ถามถึงวัน
ถามถึงฤดู
คำว่า ถามถึงกาล นั้น หมายถึง เวลาเช้า เวลาเที่ยง หรือเวลาเย็น
คำว่า ถามถึงสมัย นั้น หมายถึง สมัยเช้า สมัยเที่ยง หรือสมัยเย็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] หัวข้อประจำเรื่อง
คำว่า ถามถึงวัน นั้น หมายถึง ก่อนอาหารหรือหลังอาหาร กลางคืนหรือ
กลางวัน ข้างแรมหรือข้างขึ้น
คำว่า ถามถึงฤดู นั้น หมายถึง ฤดูหนาว ฤดูร้อน หรือฤดูฝน
[๔๐๒] คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น ได้แก่ ถามถึงสถานที่ ถามถึงพื้นที่ ถาม
ถึงโอกาส ถามถึงประเทศ
คำว่า ถามถึงสถานที่ นั้น หมายถึง พื้นที่หรือแผ่นดิน ธรณีหรือทางเดิน
คำว่า ถามถึงพื้นที่ นั้น หมายถึง พื้นที่ แผ่นดิน ภูเขา หิน หรือปราสาท
คำว่า ถามถึงโอกาส นั้น หมายถึง โอกาสด้านตะวันออกหรือโอกาสด้านตะวันตก
โอกาสด้านเหนือหรือโอกาสด้านใต้
คำว่า ถามถึงประเทศ นั้น หมายถึง ประเทศด้านตะวันออกหรือประเทศด้าน
ตะวันตก ประเทศด้านเหนือหรือประเทศด้านใต้
มหาสงคราม จบ
หัวข้อประจำเรื่อง
วัตถุ นิทาน อาการ คำต้นและคำหลัง
สิ่งที่ทำแล้วและสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ กรรม อธิกรณ์ สมถะ
ลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียงเพราะหลง
ลำเอียงเพราะกลัว ชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
พิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา เพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ได้พรรคพวกแล้วดูหมิ่นฝ่ายอื่น มีสุตะแล้วดูหมิ่นฝ่ายอื่น
แก่กว่าแล้วดูหมิ่นฝ่ายอื่น
ไม่พูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วเสื่อม
อธิกรณ์ระงับด้วยธรรม ด้วยวินัย ด้วยสัตถุศาสน์
เรื่องมหาสงคราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๑. กฐินอัตถตาทิ
กฐินเภท
ว่าด้วยประเภทแห่งกฐิน
๑. กฐินอัตถตาทิ
ว่าด้วยกรานกฐิน เป็นต้น
[๔๐๓] ใครไม่ได้กรานกฐิน ใครได้กรานกฐิน อย่างไรกฐินไม่เป็นอันกราน
อย่างไรกฐินเป็นอันกราน
ไม่ได้กรานกฐิน
คำว่า ใครไม่ได้กรานกฐิน นั้น คือ บุคคล ๒ พวก ได้แก่ ภิกษุผู้ไม่ได้กราน
ภิกษุผู้ไม่ได้อนุโมทนา ไม่ได้กรานกฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ ไม่ได้กรานกฐิน
ได้กรานกฐิน
คำว่า ใครได้กรานกฐิน นั้น คือ บุคคล ๒ พวก ได้แก่ ภิกษุผู้กราน ภิกษุ
ผู้อนุโมทนา ได้กรานกฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ ได้กรานกฐิน
เหตุกฐินไม่เป็นอันกราน
คำว่า อย่างไรกฐินไม่เป็นอันกราน นั้น ได้แก่ กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการ
๒๔ อย่าง คือ
๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงมีรอยขีด
๒. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงซักผ้า
๓. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงกะผ้า
๔. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงตัดผ้า
๕. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงเนาผ้า
๖. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงเย็บผ้า
๗. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงทำลูกดุม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๑. กฐินอัตถตาทิ
๘. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงทำรังดุม
๙. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงติดผ้าอนุวาต
๑๐. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงติดผ้าอนุวาตด้านหน้า
๑๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงดามผ้า
๑๒. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงย้อมผ้าเป็นสีหม่น
๑๓. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ทำนิมิตได้มา
๑๔. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา
๑๕. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ยืมเขามา
๑๖. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน
๑๗. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์
๑๘. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำกัปปพินทุ
๑๙. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าเว้นจากสังฆาฏิ
๒๐. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าเว้นจากอุตตราสงค์
๒๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าเว้นจากอันตรวาสก
๒๒. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ๕ ซึ่งตัด
ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น
๒๓. กฐินไม่เป็นอันกรานเพราะเว้นจากบุคคลกราน
๒๔. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนากฐินนั้น
กฐินไม่เป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้
อธิบายเหตุที่ไม่เป็นอันกรานบางข้อ
ที่ชื่อว่า ทำนิมิต คือ ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้
ที่ชื่อว่า พูดเลียบเคียง คือ ภิกษุพูดเลียบเคียงด้วยคิดว่า เราจักให้ผ้ากฐิน
เกิดด้วยการพูดเลียบเคียงนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๑. กฐินอัตถตาทิ
ผ้าที่ไม่ได้ยกให้ เรียกว่า ผ้ายืมเขามา
ที่ชื่อว่า ผ้าเก็บไว้ค้างคืน มี ๒ อย่าง คือ
๑. ผ้าทำค้างคืน ๒. ผ้าเก็บไว้ค้างคืน
ที่ชื่อว่า ผ้าเป็นนิสสัคคีย์ คือ เมื่อภิกษุกำลังทำอยู่ อรุณขึ้นมา
กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการ ๒๔ อย่างนี้
เหตุกฐินเป็นอันกราน
คำว่า อย่างไรกฐินเป็นอันกราน นั้น ได้แก่ กฐินเป็นอันกรานด้วยอาการ
๑๗ อย่าง คือ
๑. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าใหม่
๒. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าเทียมใหม่
๓. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าเก่า
๔. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าบังสุกุล
๕. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าตกตามร้าน
๖. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา
๗. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา
๘. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา
๙. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน
๑๐. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่เป็นนิสสัคคีย์
๑๑. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ทำกัปปพินทุ
๑๒. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าสังฆาฏิ
๑๓. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าอุตตราสงค์
๑๔. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าอันตรวาสก
๑๕. กฐินเป็นอันกรานด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ๕ ที่ตัดดีแล้ว
ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๒. กฐินอนันตรปัจจยาทิ
๑๖. กฐินเป็นอันกราน เพราะมีบุคคลกราน
๑๗. กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนากฐินนั้น
กฐินเป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้ กฐินเป็นอันกราน ด้วยอาการ ๑๗
อย่างนี้
ธรรมที่เกิดพร้อมกัน
ถาม : ธรรมเท่าไร ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน
ตอบ : ธรรม ๑๕ อย่าง ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน คือ มาติกา ๘
ปลิโพธ ๒ อานิสงส์ ๕
ธรรม ๑๕ อย่างนี้ ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน
๒. กฐินอนันตรปัจจยาทิ
ว่าด้วยอนันตรปัจจัยแห่งกฐิน เป็นต้น
[๔๐๔] ประโยคมีธรรมเหล่าไหน เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตร
ปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย โดยปุเรชาตปัจจัย โดยปัจฉาชาต
ปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ
วัตถุมีธรรมเหล่าไหน เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย โดยนิสสย
ปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย โดยปุเรชาตปัจจัย โดยปัจฉาชาตปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย
บุพพกรณ์เป็นปัจจัย
ประโยคมีบุพพกรณ์เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย โดยนิสสย
ปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย บุพพกรณ์มีประโยคเป็นปัจจัย โดยปุเรชาตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๒. กฐินอนันตรปัจจยาทิ
ประโยคมีบุพพกรณ์เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่างเป็นปัจจัย
โดยสหชาตปัจจัย
การถอนผ้าเป็นปัจจัย
บุพพกรณ์มีการถอนผ้าเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย โดย
นิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย การถอนผ้ามีบุพพกรณ์เป็นปัจจัย โดยปุเรชาต
ปัจจัย บุพพกรณ์มีการถอนผ้าเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่างเป็น
ปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย
การอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัย
การถอนผ้ามีการอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย
โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย การอธิษฐานผ้ามีการถอนผ้าเป็นปัจจัย โดย
ปุเรชาตปัจจัย การถอนผ้ามีการอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม
๑๕ อย่างเป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย
การกรานผ้าเป็นปัจจัย
การอธิษฐานผ้ามีการกรานเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย
โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย การกรานมีการอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัย โดย
ปุเรชาตปัจจัย การอธิษฐานผ้ามีการกรานเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕
อย่างเป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย
มาติกาและปลิโพธเป็นปัจจัย
การกรานมีมาติกาและปลิโพธเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย
โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย มาติกาและปลิโพธ มีการกรานเป็นปัจจัย โดย
ปุเรชาตปัจจัย การกรานมีมาติกาและปลิโพธเป็นปัจจัย โดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม
๑๕ อย่างเป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย
วัตถุมีความหวังและสิ้นหวังเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย
โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย ความหวังและสิ้นหวังมีวัตถุเป็นปัจจัย โดย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
ปุเรชาตปัจจัย วัตถุมีความหวังและสิ้นหวังเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕
อย่างเป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย
๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
ว่าด้วยการจำแนกนิทานแห่งบุพพกรณ์ เป็นต้น
[๔๐๕] ถาม : บุพพกรณ์มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
การถอนผ้ามีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดน
เกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
การอธิษฐานผ้ามีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
การกรานมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดน
เกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
มาติกาและปลิโพธมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ความหวังและความสิ้นหวังมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : บุพพกรณ์มีประโยคเป็นนิทาน มีประโยคเป็นสมุทัย มีประโยคเป็นชาติ
มีประโยคเป็นแดนเกิดก่อน มีประโยคเป็นองค์ มีประโยคเป็นสมุฏฐาน
การถอนผ้ามีบุพพกรณ์เป็นนิทาน มีบุพพกรณ์เป็นสมุทัย มีบุพพกรณ์เป็นชาติ
มีบุพพกรณ์เป็นแดนเกิดก่อน มีบุพพกรณ์เป็นองค์ มีบุพพกรณ์เป็นสมุฏฐาน
การอธิษฐานผ้ามีการถอนผ้าเป็นนิทาน มีการถอนผ้าเป็นสมุทัย มีการถอนผ้า
เป็นชาติ มีการถอนผ้าเป็นแดนเกิดก่อน มีการถอนผ้าเป็นองค์ มีการถอนผ้าเป็น
สมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
การกรานมีการอธิษฐานผ้าเป็นนิทาน มีการอธิษฐานผ้าเป็นสมุทัย มีการ
อธิษฐานผ้าเป็นชาติ มีการอธิษฐานผ้าเป็นแดนเกิดก่อน มีการอธิษฐานผ้าเป็นองค์
มีการอธิษฐานผ้าเป็นสมุฏฐาน
มาติกาและปลิโพธมีการกรานเป็นนิทาน มีการกรานเป็นสมุทัย มีการกราน
เป็นชาติ มีการกรานเป็นแดนเกิดก่อน มีการกรานเป็นองค์ มีการกรานเป็นสมุฏฐาน
ความหวังและความสิ้นหวังมีวัตถุเป็นนิทาน มีวัตถุเป็นสมุทัย มีวัตถุเป็นชาติ
มีวัตถุเป็นแดนเกิดก่อน มีวัตถุเป็นองค์ มีวัตถุเป็นสมุฏฐาน
[๔๐๖] ถาม : ประโยคมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ
ความหวังและความสิ้นหวังมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : ประโยคมีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็น
แดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ
ความหวังและความสิ้นหวังมีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ
มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
[๔๐๗] ถาม : ประโยคมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ
ความหวังและความสิ้นหวังมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
ตอบ : ประโยคมีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัย
เป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ
ความหวังและความสิ้นหวังมีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น
ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน
สงเคราะห์ธรรม
[๔๐๘] ถาม : บุพพกรณ์สงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร
ตอบ : บุพพกรณ์สงเคราะห์ด้วยธรรม ๗ อย่าง คือ

๑. ซักผ้า ๒. กะผ้า
๓. ตัดผ้า ๔. ผูกผ้า
๕. เย็บผ้า ๖. ย้อมผ้า
๗. ทำกัปปพินทุ

บุพพกรณ์สงเคราะห์ด้วยธรรม ๗ อย่างนี้
ถาม : การถอนผ้าจัดเข้าธรรมเท่าไร
ตอบ : การถอนผ้าจัดเข้าธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ผ้าสังฆาฏิ ๒. ผ้าอุตตราสงค์
๓. ผ้าอันตรวาสก
ถาม : การอธิษฐานผ้าสงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร
ตอบ : การอธิษฐานผ้าสงเคราะห์ด้วยธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ผ้าสังฆาฏิ ๒. ผ้าอุตตราสงค์
๓. ผ้าอันตรวาสก
ถาม : การกรานสงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร
ตอบ : การกรานสงเคราะห์ด้วยธรรมอย่างเดียว คือ เปล่งวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
มูลเหตุแห่งกฐิน เป็นต้น
ถาม : กฐินมีมูลเหตุเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร
ตอบ : กฐินมีมูลเหตุอย่างเดียว คือ สงฆ์ มีวัตถุ ๓ คือ
๑. ผ้าสังฆาฏิ ๒. ผ้าอุตตราสงค์
๓. ผ้าอันตรวาสก
มีภูมิ ๖ คือ

๑. ผ้าทำด้วยเปลือกไม้ ๒. ผ้าทำด้วยฝ้าย
๓. ผ้าทำด้วยไหม ๔. ผ้าทำด้วยขนสัตว์
๕. ผ้าทำด้วยป่าน ๖. ผ้าทำด้วยสัมภาระเจือกัน

เบื้องต้นแห่งกฐิน
ถาม : กฐินมีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : กฐินมีบุพพกรณ์เป็นเบื้องต้น มีการกระทำเป็นท่ามกลาง มีการกราน
เป็นที่สุด
องค์ของภิกษุผู้กรานกฐิน
[๔๐๙] ถาม : ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรไม่ควรกรานกฐิน ภิกษุประกอบ
ด้วยองค์เท่าไรควรกรานกฐิน
ตอบ : ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ ไม่ควรกรานกฐิน ภิกษุประกอบด้วยองค์
๘ ควรกรานกฐิน
ถาม : ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ไม่ควรกรานกฐิน
ตอบ :

๑. ภิกษุไม่รู้บุพพกรณ์ ๒. ไม่รู้การถอนผ้า
๓. ไม่รู้การอธิษฐาน ๔. ไม่รู้การกราน
๕. ไม่รู้มาติกา ๖. ไม่รู้ปลิโพธ
๗. ไม่รู้การเดาะกฐิน ๘. ไม่รู้อานิสงส์

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ไม่ควรกรานกฐิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
ถาม : ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ควรกรานกฐิน
ตอบ :

๑. ภิกษุรู้บุพพกรณ์ ๒. รู้การถอนผ้า
๓. รู้การอธิษฐาน ๔. รู้การกราน
๕. รู้มาติกา ๖. รู้ปลิโพธ
๗. รู้การเดาะกฐิน ๘. รู้อานิสงส์

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ควรกรานกฐิน
การกรานกฐิน
[๔๑๐] ถาม : ภิกษุพวกไหนกรานกฐินไม่ขึ้น ภิกษุพวกไหนกรานกฐินขึ้น
ตอบ : ภิกษุ ๓ พวกกรานกฐินไม่ขึ้น ภิกษุ ๓ พวกกรานกฐินขึ้น
ถาม : ภิกษุ ๓ พวกไหนกรานกฐินไม่ขึ้น
ตอบ :
๑. ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนา
๒. เมื่ออนุโมทนากลับไม่เปล่งวาจา
๓. เมื่อเปล่งวาจากลับไม่ยอมให้ผู้อื่นรู้
ภิกษุ ๓ พวกนี้กรานกฐินไม่ขึ้น
ถาม : ภิกษุ ๓ พวกไหนกรานกฐินขึ้น
ตอบ :
๑. ภิกษุผู้อยู่ในสีมาอนุโมทนา
๒. เมื่ออนุโมทนาก็เปล่งวาจา
๓. เมื่อเปล่งวาจาก็ให้ผู้อื่นรู้
ภิกษุ ๓ พวกนี้กรานกฐินขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๔. กฐินาทิชานิตัพพวิภาค
วัตถุวิบัติ เป็นต้น
[๔๑๑] ถาม : การกรานกฐินเท่าไรไม่ขึ้น การกรานกฐินเท่าไรขึ้น
ตอบ : การกรานกฐิน ๓ อย่าง ไม่ขึ้น การกรานกฐิน ๓ อย่าง ขึ้น
ถาม : การกรานกฐิน ๓ อย่างไหน ไม่ขึ้น
ตอบ :
๑. ผ้าวิบัติโดยวัตถุ ๒. วิบัติโดยกาล
๓. วิบัติโดยการกระทำ
การกรานกฐิน ๓ อย่างนี้ ไม่ขึ้น
ถาม : การกรานกฐิน ๓ อย่างไหน ขึ้น
ตอบ :
๑. ผ้าถึงพร้อมด้วยวัตถุ ๒. ผ้าถึงพร้อมด้วยกาล
๓. ผ้าถึงพร้อมด้วยการกระทำ
การกรานกฐิน ๓ อย่างนี้ ขึ้น
๔. กฐินาทิชานิตัพพวิภาค
ว่าด้วยการจำแนกข้อควรรู้มีกฐิน เป็นต้น
[๔๑๒] พึงรู้กฐิน พึงรู้การกรานกฐิน พึงรู้เดือนที่กรานกฐิน พึงรู้วิบัติแห่งการ
กรานกฐิน พึงรู้สมบัติแห่งการกรานกฐิน พึงรู้การทำนิมิต พึงรู้การพูดเลียบเคียง
พึงรู้ผ้าที่ยืมเขามา พึงรู้ผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน พึงรู้ผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์
ควรรู้กฐิน เป็นต้น
คำว่า พึงรู้กฐิน นั้น คือ การรวบรวม การประชุม ชื่อ การตั้งชื่อ การเรียกชื่อ
ภาษา พยัญชนะ การกล่าวธรรมเหล่านั้นแล รวมเรียกว่า กฐิน
คำว่า พึงรู้เดือนที่กรานกฐิน นั้น คือ รู้จักเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๔. กฐินาทิชานิตัพพวิภาค
คำว่า พึงรู้วิบัติแห่งการกรานกฐิน ได้แก่ พึงรู้จักวิบัติแห่งการกรานกฐินด้วย
อาการ ๒๔ อย่าง
คำว่า พึงรู้สมบัติแห่งการกรานกฐิน ได้แก่ พึงรู้จักสมบัติแห่งการกรานกฐิน
ด้วยอาการ ๑๗ อย่าง
คำว่า พึงรู้การทำนิมิต คือ ทำนิมิตว่า เราจักกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้
คำว่า พึงรู้การพูดเลียบเคียง คือ ทำการพูดเลียบเคียงด้วยคิดว่า เราจักให้
ผ้ากฐินเกิดด้วยการพูดเลียบเคียงนี้
คำว่า พึงรู้ผ้าที่ยืมเขามา คือ รู้ผ้าที่ไม่ได้ยกให้
คำว่า พึงรู้ผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน คือ พึงรู้ผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน ๒ อย่าง คือ
๑. ทำค้างคืน ๒. เก็บไว้ค้างคืน
คำว่า พึงรู้ผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์ คือ เมื่อภิกษุกำลังตัดเย็บผ้าอยู่ อรุณขึ้นมา
คำว่า พึงรู้การกรานกฐิน ความว่า ถ้าผ้ากฐินเกิดขึ้นแก่สงฆ์ สงฆ์ควรปฏิบัติ
อย่างไร ภิกษุผู้กรานควรปฏิบัติอย่างไร ภิกษุผู้อนุโมทนาควรปฏิบัติอย่างไร
อธิบายการกรานกฐิน
[๔๑๓] สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินแก่ภิกษุผู้กรานกฐิน ด้วยญัตติทุติยกรรม
ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น ควรซักขยี้ให้สะอาดแล้วกะ ตัด เย็บ ย้อม ทำกัปปะ
พินทุ แล้วกรานกฐินในวันนั้นเลย ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิ ควรถอน
ผ้าสังฆาฏิผืนเก่าเสีย ควรอธิษฐานผ้าสังฆาฏิผืนใหม่ เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าจะกราน
กฐินด้วยผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้าอุตตราสงค์ ควรถอนผ้า
อุตตราสงค์ผืนเก่าเสีย ควรอธิษฐานผ้าอุตตราสงค์ผืนใหม่ เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้า
จะกรานกฐินด้วยผ้าอุตตราสงค์ผืนนี้ ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้าอันตรวาสก
ควรถอน ผ้าอันตรวาสกผืนเก่าเสีย ควรอธิษฐานผ้าอันตรวาสกผืนใหม่ เปล่งวาจาว่า
ข้าพเจ้าจะกรานกฐินด้วยผ้าอันตรวาสกผืนนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๕. ปุคคลัสเสวกฐินัตถาร
ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การกรานกฐิน
เป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด
ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านั้น ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี แล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม เรา
ทั้งหลายอนุโมทนา
ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า
ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การ
กรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด
ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านั้น ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี แล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม เรา
ทั้งหลายอนุโมทนา
ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า
ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การ
กรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านอนุโมทนาเถิด
ภิกษุผู้อนุโมทนานั้น ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้
ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าอนุโมทนา
๕. ปุคคลัสเสวกฐินัตถาร
ว่าด้วยบุคคลกรานกฐินเท่านั้น
[๔๑๔] ถาม : สงฆ์กรานกฐิน คณะกรานกฐิน บุคคลกรานกฐิน หรือ
ตอบ : สงฆ์หาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคลกรานกฐิน
หากสงฆ์หาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคลกรานกฐิน จึงชื่อว่า
สงฆ์ไม่ได้กรานกฐิน คณะไม่ได้กรานกฐิน แต่บุคคลกรานกฐิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
ถาม : สงฆ์สวดปาติโมกข์ คณะสวดปาติโมกข์ บุคคลสวดปาติโมกข์ หรือ
ตอบ : สงฆ์หาได้สวดปาติโมกข์ไม่ คณะหาได้สวดปาติโมกข์ไม่ แต่บุคคลสวด
ปาติโมกข์ หากสงฆ์หาได้สวดปาติโมกข์ไม่ คณะหาได้สวดปาติโมกข์ไม่ แต่บุคคล
สวดปาติโมกข์ จึงชื่อว่า สงฆ์ไม่ได้สวดปาติโมกข์ คณะไม่สวดปาติโมกข์ แต่บุคคล
สวดปาติโมกข์ เพราะความสามัคคีแห่งสงฆ์ เพราะความสามัคคีแห่งคณะ เพราะ
บุคคลสวด จึงชื่อว่า สงฆ์สวดปาติโมกข์ คณะสวดปาติโมกข์ บุคคลสวดปาติโมกข์
สงฆ์จึงหาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคลกรานกฐิน ด้วยอาการ
อย่างนี้แล เพราะสงฆ์อนุโมทนา เพราะคณะอนุโมทนา เพราะบุคคลกราน จึงชื่อว่า
สงฆ์กรานกฐิน คณะกรานกฐิน บุคคลกรานกฐิน
๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
ว่าด้วยการแก้ปัญหาปลิโพธ
[๔๑๕] ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยการหลีกไป
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยการหลีกไป
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในจีวรขาดก่อน ปลิโพธในอาวาสขาดพร้อมกับภิกษุนั้น
ไปนอกสีมา” (๑)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในอาวาสขาดก่อน เมื่อทำจีวรสำเร็จ ปลิโพธในจีวรขาด” (๒)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยการตกลงใจ
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยตกลงใจ
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธทั้ง ๒ ขาดพร้อมกัน” (๓)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยผ้าเสียหาย
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยผ้าเสียหาย
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในอาวาสขาดก่อน ปลิโพธในจีวรขาดเมื่อผ้าเสียหาย” (๔)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยได้ทราบข่าว
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยได้ทราบข่าว
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในจีวรขาดก่อน
ปลิโพธในอาวาสขาดพร้อมกับการได้ทราบข่าวของภิกษุนั้น” (๕)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยสิ้นหวัง
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยสิ้นหวัง
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในอาวาสขาดก่อน ปลิโพธในจีวรขาดต่อเมื่อสิ้นหวังในผ้านั้น” (๖)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยล่วงเขต
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยล่วงเขต
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในจีวรขาดก่อน ปลิโพธในอาวาสขาดเมื่อภิกษุนั้นไปนอกสีมา” (๗)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธทั้ง ๒ อย่าง ขาดพร้อมกัน” (๘)
การเดาะกฐิน
[๔๑๖] ถาม : การเดาะกฐินที่สงฆ์เป็นใหญ่มีเท่าไร การเดาะกฐินที่บุคคลเป็น
ใหญ่มีเท่าไร การเดาะกฐินที่สงฆ์ไม่เป็นใหญ่ บุคคลไม่เป็นใหญ่มีเท่าไร
ตอบ : การเดาะกฐินที่สงฆ์เป็นใหญ่มีอย่างเดียว คือ การเดาะในระหว่าง
การเดาะกฐินที่บุคคลเป็นใหญ่มี ๔ อย่าง คือ การเดาะกฐินกำหนดด้วยการ
หลีกไป การเดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ การเดาะกฐินกำหนดด้วยตกลงใจ
การเดาะกฐินกำหนดด้วยล่วงเขต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
การเดาะกฐินที่สงฆ์ไม่เป็นใหญ่ บุคคลไม่เป็นใหญ่มี ๔ อย่าง คือ การเดาะ
กฐินกำหนดด้วยผ้าเสียหาย การเดาะกฐินกำหนดด้วยทราบข่าว การเดาะกฐิน
กำหนดด้วยสิ้นหวัง การเดาะกฐินกำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
การเดาะกฐินภายในสีมา เป็นต้น
ถาม : การเดาะกฐินเท่าไร เดาะภายในสีมา การเดาะกฐินเท่าไร เดาะภาย
นอกสีมา การเดาะกฐินมีเท่าไร เดาะภายในสีมาก็มี เดาะภายนอกสีมาก็มี
ตอบ : การเดาะกฐิน ๒ อย่าง เดาะภายในสีมา คือ
๑. เดาะในระหว่าง ๒. เดาะพร้อมกัน
การเดาะกฐิน ๓ อย่าง เดาะภายนอกสีมา คือ
๑. เดาะกฐินกำหนดด้วยหลีกไป ๒. กำหนดด้วยได้ทราบข่าว
๓. กำหนดด้วยล่วงเขต
การเดาะกฐิน ๔ อย่าง เดาะภายในสีมาก็มี เดาะภายนอกสีมาก็มี คือ
๑. เดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
๒. กำหนดด้วยตกลงใจเป็นที่สุด
๓. เดาะกฐินกำหนดด้วยจีวรเสียหาย
๔. กำหนดด้วยสิ้นหวัง
การเดาะกฐินเกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นต้น
ถาม : การเดาะกฐินเท่าไร เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน การเดาะกฐินเท่าไร
เกิดด้วยกัน ดับต่างกัน
ตอบ : การเดาะกฐิน ๒ อย่าง เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน คือ
๑. เดาะในระหว่าง ๒. เดาะพร้อมกัน
การเดาะกฐินนอกนั้น เกิดด้วยกัน ดับต่างกัน
กฐินเภท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] หัวข้อประจำเรื่อง
หัวข้อประจำเรื่อง
ใครไม่ได้กรานกฐิน ได้กรานกฐิน อย่างไรกฐินไม่เป็นอันกราน
ธรรม ๑๕ อย่าง เกิดพร้อมกับการกรานกฐิน
บุพพกรณ์มีอะไรเป็นนิทาน ประโยคมีเหตุเป็นนิทาน
มีปัจจัยเป็นนิทาน บุพพกรณ์สงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร
กฐินมีมูลเท่าไร กฐินมีอะไรเป็นเบื้องต้น
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ควรกรานกฐินและไม่ควรกรานกฐิน
ภิกษุ ๓ จำพวกกรานกฐินไม่ขึ้นและกรานกฐินขึ้น
การกรานกฐิน ๓ อย่างไม่ขึ้น
พึงรู้การกรานกฐินกับการสวด พึงรู้ปลิโพธ
พึงรู้การเดาะกฐินที่มีสงฆ์เป็นใหญ่
พึงรู้การเดาะกฐินภายในสีมา
พึงรู้การเดาะกฐินที่เกิดขึ้นด้วยกันที่ดับด้วยกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
อุปาลิปัญจกะ
ว่าด้วยเรื่องพระอุบาลี ๕ หมวด
๑. อนิสสิตวรรค
หมวดว่าด้วยการไม่ถือนิสัย
[๔๑๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ
ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไร
หนอแล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ จะพึงอยู่โดยไม่ถือ
นิสัยตลอดชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อุโบสถ ๒. ไม่รู้อุโบสถกรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้
องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อุโบสถ ๒. รู้อุโบสถกรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัยอีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอด
ชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ

๑. ไม่รู้ปวารณา ๒. ไม่รู้ปวารณากรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้
องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้
องค์ ๕ คือ

๑. รู้ปวารณา ๒. รู้ปวารณากรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้
องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัยอีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอด
ชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ
อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้ องค์
๕ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้”
ภิกษุที่ไม่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น
[๔๑๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่พึง
ให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ คือ
๑. ไม่สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือ
สัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้
๒. ไม่สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน
๓. ไม่สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่
เกิดขึ้นโดยธรรม
๔. ไม่สามารถแนะนำในอภิธรรม
๕. ไม่สามารถแนะนำในอภิวินัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
ภิกษุที่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
องค์ ๕ คือ
๑. สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิ-
วิหาริกผู้เป็นไข้
๒. สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน
๓. สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายอัน
เกิดขึ้นโดยธรรม
๔. สามารถแนะนำในอภิธรรม
๕. สามารถแนะนำในอภิวินัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก
ภิกษุที่ไม่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ คือ
๑. ไม่สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา
๒. ไม่สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริยกาสิกขา
๓. ไม่สามารถแนะนำในอธิศีล
๔. ไม่สามารถแนะนำในอธิจิต
๕. ไม่สามารถแนะนำในอธิปัญญา
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
ภิกษุที่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ คือ
๑. สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา
๒. สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริยกาสิกขา
๓. สามารถแนะนำในอธิศีล
๔. สามารถแนะนำในอธิจิต
๕. สามารถแนะนำในอธิปัญญา
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก
องค์ ๕ ของภิกษุผู้ถูกลงโทษ
[๔๑๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิศีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. เล่นคะนองกาย ๒. เล่นคะนองวาจา
๓. เล่นคะนองทั้งกายและวาจา ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย ๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา
๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งกาย ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
และทางวาจา
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. ทำลายพระบัญญัติทางกาย ๒. ทำลายพระบัญญัติทางวาจา
๓. ทำลายพระบัญญัติทั้งทางกาย ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
และทางวาจา
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. ประกอบมิจฉาชีพทางกาย ๒. ประกอบมิจฉาชีพทางวาจา
๓. ประกอบมิจฉาชีพทางกาย ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
และทางวาจา
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ
๑. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ ๒. ให้นิสัย
แต่ยังให้อุปสมบท
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุ ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
ให้ถูกสงฆ์ลงโทษ
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธ ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
อนิสสิตวรรคที่ ๑ จบ
หัวข้อประจำวรรค
ไม่รู้อุโบสถ ไม่รู้ปวารณา ไม่รู้อาบัติ
ไม่สามารถพยาบาลภิกษุไข้ ไม่สามารถฝึกในอภิสมาจาร
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้เป็นอลัชชี มีสีลวิบัติในอธิศีล เล่นคะนอง
ประพฤติไม่สมควร ทำลายพระบัญญัติ เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกลงโทษ ตำหนิพระพุทธเจ้า
รวมเป็นวรรคที่ ๑ แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
หมวดว่าด้วยการไม่ระงับกรรม
[๔๒๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์ไม่
ควรระงับกรรม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่ควรระงับ
กรรม องค์ ๕ คือ

๑. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ ๒. ให้นิสัย
แต่ยังให้อุปสมบท
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์ ๕
คือ

๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุ ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
ให้ถูกสงฆ์ลงโทษ
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์ ๕
คือ

๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์
๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. ทำการย่ำยีข้อปฏิบัติ
๕. ไม่ทำข้อวัตรและสิกขาให้บริบูรณ์

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม”
คุณสมบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม
[๔๒๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้ง
ธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้งธรรม
๕ ประการไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ ธรรม ๕ ประการ คือ
ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์
๑. พึงมีจิตยำเกรง มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์
๒. พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง รู้จักการนั่ง
๓. ไม่เบียดภิกษุผู้เถระ ไม่ห้ามภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยอาสนะ พึงนั่ง
อาสนะตามสมควร
๔. ไม่พึงพูดเรื่องต่าง ๆ ไม่พึงพูดดิรัจฉานกถา
๕. พึงกล่าวธรรมเองหรือเชื้อเชิญภิกษุรูปอื่น ไม่พึงดูหมิ่นอริยดุษณีภาพ
อุบาลี ถ้าสงฆ์ทำกรรมที่ควรพร้อมเพรียงกันทำ หากภิกษุไม่ชอบใจในกรรมนั้น
จะทำความคิดเห็นขัดแย้งกันก็ได้ แต่ควรควบคุมความสามัคคีไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเธอคิดว่า เราไม่ควรแตกต่างจากสงฆ์เลย
อุบาลี ภิกษุผู้เข้าสู่สงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์ พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตน
แล้วเข้าหาสงฆ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์
[๔๒๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เมื่อ
พูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์
ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕
คือ

๑. เป็นผู้มีความคิดมืดมน ๒. กล่าวอ้างผู้อื่น
๓. ไม่ฉลาดในถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน ๔. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและ
วินัยอันสมควร

๕. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ
และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ

๑. ไม่เป็นผู้มีความคิดมืดมน ๒. ไม่กล่าวอ้างผู้อื่น
๓. ฉลาดในถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน ๔. โจทตามอาบัติในธรรมและ
วินัยอันสมควร

๕. ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา
เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค

๑. เป็นผู้อวดอ้าง ๒. เป็นผู้รุกราน
๓. ยึดถืออธรรม ๔. ค้านธรรม

๕. กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มากมาย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ
และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ

๑. ไม่เป็นผู้อวดอ้าง ๒. ไม่เป็นผู้รุกราน
๓. ยึดถือธรรม ๔. ค้านอธรรม

๕. ไม่กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มากมาย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา
เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่
ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ

๑. กล่าวข่มขู่ ๒. กล่าวไม่ให้โอกาสผู้อื่น
๓. ไม่โจทตามอาบัติ ในธรรม ๔. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและ
และวินัยอันสมควร วินัยอันสมควร
๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ
และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ
๑. ไม่กล่าวข่มขู่ ๒. กล่าวให้โอกาสผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
๓. โจทตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๔. ปรับตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๕. ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา
เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก”
อานิสงส์ในการเรียนวินัย
[๔๒๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์เท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้ คือ
๑. เป็นอันคุ้มครองรักษากองศีลของตนไว้ดีแล้ว
๒. ผู้ที่ถูกความรังเกียจครอบงำย่อมหวนระลึกได้
๓. กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
๔. ข่มด้วยดีซึ่งข้าศึกโดยสหธรรม
๕. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
อุบาลี ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล”
นัปปฏิปัสสัมภนวรรคที่ ๒ จบ
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกลงโทษกล่าวตำหนิกรรม
สงฆ์ไม่ควรระงับกรรมภิกษุผู้เป็นอลัชชี
ภิกษุผู้เข้าสงคราม ภิกษุผู้มีความคิดมืดมน
เป็นผู้อวดอ้าง กล่าวข่มขู่ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
อานิสงส์การเรียนวินัย
พระบัญญัติคู่ที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น