Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๑-๕ หน้า ๑๙๖ - ๒๔๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑-๕ สุตตันตปิฎกที่ ๐๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค



พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๗. ลักขณสูตร]
๓๑-๓๒. ลักษณะพระทนต์เรียบเสมอกันและพระเขี้ยวแก้วขาวงาม
ผู้มีพระลักษณะเช่นว่านั้น
ย่อมจะเป็นใหญ่ในทิศทั้งหลาย
คือทั้งทิศใหญ่และทิศเฉียง ในโลกนี้”
๓๑-๓๒. ลักษณะพระทนต์เรียบเสมอกันและพระเขี้ยวแก้วขาวงาม๑
[๒๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์ละมิจฉาอาชีวะแล้ว ดำรงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ คือ เว้นขาดจากการโกง
ด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม การโกงด้วยเครื่องตวงวัด การรับสินบน การ
ล่อลวง การตลบตะแลง การตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว
การปล้น และการขู่กรรโชก เพราะตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูน ทำให้กรรมนั้น
ไพบูลย์แล้ว หลังจากตายแล้ว ตถาคตจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ครอบงำเทพ
เหล่าอื่นในเทวโลกนั้น ด้วยฐานะ ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์
ยศทิพย์ ความเป็นใหญ่ทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพะทิพย์
จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ได้ลักษณะมหาบุรุษ ๒ ประการนี้
คือ (๑) มีพระทนต์เรียบเสมอกัน (๒) มีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม
มหาบุรุษนั้นทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๒ ประการนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรม ครองราชย์โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
มีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วย
แก้ว ๗ ประการ คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว
(๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว และมีพระราชโอรสมากกว่า
๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้
พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้
มีสาครเป็นขอบเขต ไม่มีเสาเขื่อน ไม่มีเขตหมาย ไม่มีรั้วหนาม มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์
ปลอดภัยสงบ ไร้เสี้ยนหนาม เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระราชา
จะทรงมีบริวารสะอาด บริวารที่สะอาดของพระองค์ คือ พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม
ชาวชนบท โหราจารย์และมหาอำมาตย์ แม่ทัพนายกอง ราชองครักษ์ อำมาตย์

เชิงอรรถ :
๑ เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ ๒๔,๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๗. ลักขณสูตร]
๓๑-๓๒. ลักษณะพระทนต์เรียบเสมอกันและพระเขี้ยวแก้วขาวงาม
บริษัท ราชา เศรษฐี กุมาร เมื่อเป็นพระราชาจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้ อนึ่ง
ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มี
กิเลสในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงมี
บริวารสะอาด บริวารที่สะอาดของพระองค์ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะทรงได้สิ่งดังกล่าวมานี้
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้ไว้แล้ว
[๒๔๑] พระโบราณกเถระทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในเรื่องลักษณะ
มหาบุรุษนั้นว่า
“มหาบุรุษนั้นทรงละมิจฉาอาชีวะ
ดำรงพระชนม์อยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ
อันสะอาดเป็นธรรม ทรงกำจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ทรงประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นสุขแก่คนหมู่มาก
เสวยสิ่งที่มีผลเป็นสุข
ที่สัตบุรุษผู้มีปัญญาละเอียด ผู้ฉลาดสรรเสริญแล้ว
เป็นผู้เสมอกับเทพผู้ประเสริฐในเมืองไตรทิพย์
เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความยินดีและความเพลิดเพลิน
อภิรมย์อยู่ในสวรรค์
ครั้นจุติจากสวรรค์นั้น ได้ภพที่เป็นมนุษย์
ทรงได้รับผลวิบากแห่งกรรมที่ทรงทำดีแล้ว
คือ มีพระทนต์เรียบ เสมอ สะอาด ขาวผ่อง
ด้วยวิบากแห่งกรรมที่เหลือ
พวกมนุษย์ผู้ทำนายลักษณะ
ที่ยอมรับกันว่าเป็นผู้ละเอียดรอบคอบจำนวนมาก
ประชุมกันแล้วทำนายมหาบุรุษนั้นว่า
‘พระกุมารนี้ จะมีหมู่ชนที่สะอาดเป็นบริวาร
มีพระทนต์ที่เกิดทั้ง ๒ ครั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๑๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๗. ลักขณสูตร]
๓๑-๓๒. ลักษณะพระทนต์เรียบเสมอกันและพระเขี้ยวแก้วขาวงาม
สม่ำเสมอ ขาว สะอาด งดงาม
เมื่อพระองค์ทรงเป็นพระราชาปกครองแผ่นดินใหญ่
จะทรงมีคนหมู่มากเป็นบริวารที่สะอาด
และไม่มีการข่มขี่ให้เดือดร้อนในราชอาณาจักร
คนทั้งหลายต่างประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
และเป็นความสุขแก่คนหมู่มาก
ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นสมณะ
จะปราศจากบาปธรรม
มีกิเลสเพียงดังธุลีระงับไป เป็นผู้ไม่มีกิเลส
ปราศจากความกระวนกระวายและความลำบาก
จะทรงเห็นโลกนี้และโลกอื่น
คฤหัสถ์จำนวนมากและพวกบรรพชิต
ผู้ที่ทำตามโอวาทของพระองค์
จะกำจัดบาปธรรมที่ไม่สะอาดอันบัณฑิตติเตียนแล้ว
มีบริวารที่สะอาด
กำจัดสนิมตะปู๑ โทษและกิเลสเสียได้แวดล้อมพระองค์”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
ลักขณสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] ว่าด้วยสิงคาลกมาณพ

๘. สิงคาลกสูตร
ว่าด้วยสิงคาลกมาณพ
[๒๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น สิงคาลกะ คหบดีบุตร ลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์
มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลีไหว้ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า(ทิศ
ตะวันออก) ทิศเบื้องขวา(ทิศใต้) ทิศเบื้องหลัง(ทิศตะวันตก) ทิศเบื้องซ้าย(ทิศเหนือ)
ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน
[๒๔๓] ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวรเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกะ คหบดีบุตร
ผู้ลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลี
ไหว้ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องหลัง ทิศ
เบื้องล่าง ทิศเบื้องบนแล้ว ได้ตรัสถามสิงคาลกะ คหบดีบุตรดังนี้ว่า “คหบดีบุตร
เธอลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลี
ไหว้ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องหลัง ทิซเบื้องซ้าย
ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่ เพราะเหตุไร”
สิงคาลกะ คหบดีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บิดาของข้าพระองค์
ก่อนจะตาย ได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า ‘นี่แน่ะลูก เจ้าพึงไหว้ทิศทั้งหลาย’ ข้าพระองค์
สักการะ เคารพ นับถือ บูชาคำของบิดา จึงลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์
มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลี ไหว้ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศ
เบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๑๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] กรรมกิเลส ๔

ทิศ ๖
[๒๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร ในอริยวินัย(ธรรมเนียมแบบ
แผนของพระอริยะ) เขาไม่ไหว้ทิศ ๖ กันอย่างนี้”
สิงคาลกะ คหบดีบุตรทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในอริยวินัย เขาไหว้
ทิศ ๖ กันอย่างไร ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม
แก่ข้าพระองค์ ตามวิธีการไหว้ทิศ ๖ ในอริยวินัยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
สิงคาลกะ คหบดีบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร อริยสาวกละกรรมกิเลส(กรรมเครื่อง
เศร้าหมอง) ๔ ประการได้แล้ว ไม่ทำบาปกรรมโดยเหตุ ๔ ประการ และไม่ข้องแวะ
อบายมุข(ทางเสื่อม) ๖ ประการ แห่งโภคะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นเป็นผู้ปราศจาก
บาปกรรม ๑๔ ประการนี้แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ปิดป้องทิศ๑ ๖ ปฏิบัติเพื่อครองโลก
ทั้งสอง ทำให้เกิดความยินดีทั้งโลกนี้และโลกหน้า หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์
กรรมกิเลส ๔
[๒๔๕] กรรมกิเลส ๔ ประการที่อริยสาวกละได้แล้ว อะไรบ้าง คือ
๑. กรรมกิเลสคือปาณาติบาต
๒. กรรมกิเลสคืออทินนาทาน
๓. กรรมกิเลสคือกาเมสุมิจฉาจาร
๔. กรรมกิเลสคือมุสาวาท
กรรมกิเลส ๔ ประการนี้ ที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว”

เชิงอรรถ :
๑ ปิดป้องทิศ ในที่นี้หมายถึงปกปิดช่องว่างระหว่างตนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรียกว่าทิศ ๖ (ที.ปา.ฏีกา
๒๔๔/๑๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] เหตุ ๔ ประการ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์
การล่วงละเมิดภรรยาผู้อื่น และการพูดเท็จ
เรียกว่า เป็นกรรมกิเลส
บัณฑิตทั้งหลายไม่สรรเสริญ”
เหตุ ๔ ประการ
[๒๔๖] อริยสาวกไม่ทำบาปกรรมโดยเหตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ปุถุชน
๑. ย่อมถึงฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรัก) ทำบาปกรรม
๒. ย่อมถึงโทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง) ทำบาปกรรม
๓. ย่อมถึงโมหาคติ (ลำเอียงเพราะเขลา) ทำบาปกรรม
๔. ย่อมถึงภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว) ทำบาปกรรม
ส่วนอริยสาวก
๑. ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ
๒. ย่อมไม่ถึงโทสาคติ
๓. ย่อมไม่ถึงโมหาคติ
๔. ย่อมไม่ถึงภยาคติ
อริยสาวกย่อมไม่ทำบาปกรรม โดยเหตุ ๔ ประการนี้
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] โทษแห่งสุราเมรัย ๖ ประการ
เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น
บุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
ยศของบุคคลนั้นย่อมเจริญ
เหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น”๑
อบายมุข ๖ ประการ
[๒๔๗] อริยสาวกไม่ข้องแวะอบายมุข ๖ ประการ แห่งโภคะทั้งหลาย อะไรบ้าง
คือ
๑. การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
๒. การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลากลางคืน เป็น
อบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
๓. การเที่ยวดูมหรสพ เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
๔. การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็น
อบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
๕. การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
๖. การหมกมุ่นในความเกียจคร้าน เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
โทษแห่งสุราเมรัย ๖ ประการ
[๒๔๘] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นเหตุแห่งความประมาทมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ
๑. เสียทรัพย์ทันตาเห็น
๒. ก่อการทะเลาะวิวาท

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๑๗-๑๙/๒๙-๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร]
โทษแห่งการเที่ยวดูมหรสพ ๖ ประการ
๓. เป็นบ่อเกิดแห่งโรค
๔. เป็นเหตุให้เสียชื่อเสียง
๕. เป็นเหตุให้ไม่รู้จักอาย
๖. เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาทมีโทษ ๖ ประการนี้แล
โทษแห่งการเที่ยวกลางคืน ๖ ประการ
[๒๔๙] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลา
กลางคืนมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ
๑. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตน
๒. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาบุตรภรรยา
๓. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาทรัพย์สมบัติ
๔. เป็นที่สงสัย๑ของคนอื่นด้วยเหตุต่าง ๆ
๕. มักถูกใส่ร้ายด้วยเรื่องไม่เป็นจริง
๖. ทำให้เกิดความลำบากมากหลายอย่าง
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลากลางคืน
มีโทษ ๖ ประการนี้แล
โทษแห่งการเที่ยวดูมหรสพ ๖ ประการ
[๒๕๐] คหบดีบุตร การเที่ยวดูมหรสพมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ
๑. มีการรำที่ไหน (ไปที่นั่น)
๒. มีการขับร้องที่ไหน (ไปที่นั่น)
๓. มีการประโคมที่ไหน (ไปที่นั่น)

เชิงอรรถ :
๑ เป็นที่สงสัยในที่นี้หมายถึงถูกสงสัยว่าเป็นผู้ทำกรรมชั่วทั้งที่ไม่มีส่วนในกรรมชั่วนั้น (ที.ปา.อ. ๒๔๙/๑๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร]
โทษแห่งการคบคนชั่วเป็นมิตร ๖ ประการ
๔. มีเสภาที่ไหน (ไปที่นั่น)
๕. มีการบรรเลงที่ไหน (ไปที่นั่น)
๖. มีเถิดเทิงที่ไหน (ไปที่นั่น)
คหบดีบุตร การเที่ยวดูมหรสพมีโทษ ๖ ประการนี้แล
โทษแห่งการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ๖ ประการ
[๒๕๑] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ
๑. ผู้ชนะย่อมก่อเวร
๒. ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป
๓. เสียทรัพย์ทันตาเห็น
๔. ถ้อยคำที่เป็นพยานในศาล ก็เชื่อถือไม่ได้
๕. ถูกมิตรอำมาตย์๑ดูหมิ่น
๖. ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่าชายผู้นี้เป็นนักเลง
การพนันไม่สามารถจะเลี้ยงดูภรรยาได้
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีโทษ
๖ ประการนี้แล
โทษแห่งการคบคนชั่วเป็นมิตร ๖ ประการ
[๒๕๒] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ
๑. เขามีนักเลงการพนันเป็นมิตรสหาย
๒. เขามีนักเลงเจ้าชู้เป็นมิตรสหาย
๓. เขามีนักเลงเหล้าเป็นมิตรสหาย

เชิงอรรถ :
๑ มิตรอำมาตย์ แยกอธิบายได้ดังนี้ มิตร ในที่นี้หมายถึงคนที่สามารถใช้สอยสิ่งของในบ้านเรือนของกัน
และกันได้ อำมาตย์ ในที่นี้หมายถึงเพื่อนร่วมงาน (สํ.ม.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร]
โทษแห่งความเกียจคร้าน ๖ ประการ
๔. เขามีคนหลอกลวงเป็นมิตรสหาย
๕. เขามีคนโกงเป็นมิตรสหาย
๖. เขามีโจรเป็นมิตรสหาย
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษ ๖ ประการนี้แล
โทษแห่งความเกียจคร้าน ๖ ประการ
[๒๕๓] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในความเกียจคร้านมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ
๑. มักอ้างว่า ‘หนาวเกินไป’ แล้วไม่ทำการงาน
๒. มักอ้างว่า ‘ร้อนเกินไป’ แล้วไม่ทำการงาน
๓. มักอ้างว่า ‘เวลาเย็นเกินไป’ แล้วไม่ทำการงาน
๔. มักอ้างว่า ‘เวลายังเช้าเกินไป’ แล้วไม่ทำการงาน
๕. มักอ้างว่า ‘หิวเกินไป’ แล้วไม่ทำการงาน
๖. มักอ้างว่า ‘กระหายเกินไป’ แล้วไม่ทำการงาน
เมื่อเขามากไปด้วยการอ้างเลศ ผัดเพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ โภคะที่ยังไม่เกิด
ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความเสื่อมสิ้นไป
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในความเกียจคร้านมีโทษ ๖ ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“เพื่อนในโรงสุราก็มี
เพื่อนดีแต่พูดก็มี
เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้น ผู้ใดเป็นเพื่อนได้
ผู้นั้นจัดว่าเป็นเพื่อนแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร]
โทษแห่งความเกียจคร้าน ๖ ประการ
เหตุ ๖ ประการนี้ คือ
(๑) การนอนตื่นสาย (๒) การเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น
(๓) การผูกเวร (๔) ความเป็นผู้ก่อแต่เรื่องเสียหาย
(๕) การมีมิตรชั่ว (๖) ความตระหนี่จัด
ย่อมทำลายบุรุษให้พินาศ
คนมีมิตรชั่ว มีเพื่อนชั่ว
มีมารยาทและความประพฤติชั่ว
ย่อมเสื่อมจากโลกทั้งสอง คือ
จากโลกนี้และจากโลกหน้า
เหตุ ๖ ประการนี้ คือ
(๑) นักเลงการพนันและนักเลงหญิง
(๒) นักเลงสุรา (๓) ฟ้อนรำขับร้อง
(๔) นอนหลับในกลางวัน เที่ยวกลางคืน
(๕) การมีมิตรชั่ว (๖) ความตระหนี่จัด
ย่อมทำลายบุรุษให้พินาศ
ผู้ใดเล่นการพนัน ดื่มสุรา
ล่วงละเมิดหญิงผู้เป็นที่รักเสมอด้วยชีวิตของผู้อื่น
คบแต่คนเลว และไม่คบหาคนเจริญ
ผู้นั้นย่อมเสื่อมดุจดวงจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น
ผู้ใดดื่มสุรา ไร้ทรัพย์
ไม่ทำงานเลี้ยงชีพ เป็นคนขี้เมาหัวทิ่มบ่อ
ผู้นั้นจักจมลงสู่หนี้เหมือนก้อนหินจมน้ำ
จักทำความมัวหมองให้แก่ตนทันที

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] มิตรเทียม
คนชอบนอนหลับในกลางวัน
ไม่ลุกขึ้นในกลางคืน เป็นนักเลงขี้เมาประจำ
ไม่สามารถครองเรือนได้
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลย
หนุ่มสาวที่ละทิ้งการงาน
โดยอ้างว่า ‘เวลานี้หนาวเกินไป
เวลานี้ร้อนเกินไป เวลานี้เย็นเกินไป’ เป็นต้น
ส่วนผู้ใดทำหน้าที่ของบุรุษ
ไม่ใส่ใจความหนาว ความร้อน ยิ่งไปกว่าหญ้า
ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากความสุข
มิตรเทียม
[๒๕๔] คหบดีบุตร คน ๔ จำพวกนี้ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
มิตรเทียม คือ
๑. คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว พึงทราบว่า ไม่ใช่
มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
๒. คนดีแต่พูด พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
๓. คนพูดประจบ พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
๔. คนที่เป็นเพื่อนชักนำในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
มิตรเทียม
[๒๕๕] คหบดีบุตร คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว เธอพึงทราบว่า
ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
(๑) เป็นผู้ถือเอาประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว
(๒) เสียน้อย ปรารถนาจะได้มาก
(๓) เมื่อตัวเองมีภัยจึงทำกิจของเพื่อน
(๔) คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] มิตรเทียม
คหบดีบุตร คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อ่านฝ่ายเดียว เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่
มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการนี้แล
[๒๕๖] คหบดีบุตร คนดีแต่พูด เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
๑. กล่าวต้อนรับด้วยเรื่องที่เป็นอดีตไปแล้ว
๒. กล่าวต้อนรับด้วยเรื่องที่ยังมาไม่ถึง
๓. สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้
๔. เมื่อมีกิจเกิดขึ้นเฉพาะหน้าก็แสดงความขัดข้อง
คหบดีบุตร คนดีแต่พูด เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดย
เหตุ ๔ ประการนี้แล
[๒๕๗] คหบดีบุตร คนพูดประจบ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
มิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
๑. เพื่อนทำชั่ว ก็คล้อยตาม
๒. เพื่อนทำดี ก็คล้อยตาม
๓. สรรเสริญต่อหน้า
๔. นินทาลับหลัง
คหบดีบุตร คนพูดประจบ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
โดยเหตุ ๔ ประการนี้แล
[๒๕๘] คหบดีบุตร คนที่เป็นเพื่อนชักชวนไปในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่
มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
๑. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] มิตรมีใจดี
๒. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอยในเวลา
กลางคืน
๓. เป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
๔. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
คหบดีบุตร คนที่เป็นเพื่อนชักชวนไปในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
มิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการนี้แล”
[๒๕๙] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึง
ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“บุคคลที่ไม่ใช่มิตรแท้ ๔ จำพวกนี้ คือ
(๑) มิตรที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นอย่างเดียว
(๒) มิตรดีแต่พูด (๓) มิตรพูดประจบ
(๔) มิตรชักนำในทางเสื่อม
บัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล
เหมือนคนเว้นทางมีภัยเฉพาะหน้าเสียฉะนั้น”
มิตรมีใจดี
[๒๖๐] คหบดีบุตร คน ๔ จำพวกนี้ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี(มิตรแท้)
คือ
๑. มิตรมีอุปการะ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
๓. มิตรแนะนำประโยชน์ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
๔. มิตรมีความรักใคร่ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] มิตรมีใจดี
[๒๖๑] คหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดย
เหตุ ๔ ประการ คือ
๑. ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
๒. ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
๓. เมื่อมีภัยก็เป็นที่พึ่งพำนักได้
๔. เมื่อมีกิจที่จำเป็นเกิดขึ้น ก็ช่วยโภคทรัพย์ให้ ๒ เท่าของทรัพย์ที่
ต้องการในกิจนั้น
คหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔
ประการนี้แล
[๒๖๒] คหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
๑. บอกความลับแก่เพื่อน
๒. ปิดความลับของเพื่อน
๓. ไม่ละทิ้งในยามอันตราย
๔. แม้ชีวิตก็อาจจะสละเพื่อประโยชน์ของเพื่อนได้
คหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ
๔ ประการนี้แล
[๒๖๓] คหบดีบุตร มิตรแนะนำประโยชน์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
๑. ห้ามมิให้ทำความชั่ว
๒. แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๔. บอกทางสวรรค์ให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] มิตรมีใจดี
คหบดีบุตร มิตรแนะนำประโยชน์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔
ประการนี้แล
[๒๖๔] คหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดย
เหตุ ๔ ประการ คือ
๑. ไม่พอใจความเสื่อมของเพื่อน
๒. พอใจความเจริญของเพื่อน
๓. ห้ามปรามคนที่นินทาเพื่อน
๔. สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน
คหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔
ประการนี้แล”
[๒๖๕] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้
ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“บุคคลที่เป็นมิตรมีใจดี ๔ จำพวกนี้ คือ
(๑) มิตรมีอุปการะ (๒) มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
(๓) มิตรแนะนำประโยชน์ (๔) มิตรมีความรักใคร่
บัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว
พึงเข้าไปคบหาโดยความจริงใจ
เหมือนมารดาคบหาบุตรผู้เกิดแต่อกฉะนั้น
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมสว่างโชติช่วงดังดวงไฟ
เมื่อบุคคลสะสมโภคทรัพย์อยู่ดังตัวผึ้งสร้างรัง
โภคทรัพย์ของเขาก็ย่อมเพิ่มพูนขึ้น
ดุจจอมปลวกที่ตัวปลวกก่อขึ้นฉะนั้น
คฤหัสถ์ในตระกูล ผู้สามารถ
ครั้นรวบรวมโภคทรัพย์ได้อย่างนี้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] ฉทิสาปฏิจฉาทนกัณฑ์
พึงแบ่งโภคทรัพย์ออกเป็น ๔ ส่วน
คือส่วนหนึ่งใช้สอย ๒ ส่วนใช้ประกอบการงาน
ส่วนที่ ๔ เก็บไว้ด้วยหมายใจว่าจะใช้ในยามมีอันตราย
จึงผูกมิตรไว้ได้”
ฉทิสาปฏิจฉาทนกัณฑ์
ว่าด้วยการปิดป้องทิศ ๖
[๒๖๖] อริยสาวกเป็นผู้ปิดป้องทิศ ๖ เป็นอย่างไร
คหบดีบุตร เธอพึงทราบทิศ ๖ นี้ คือ พึงทราบว่า มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า
พึงทราบว่า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา พึงทราบว่า บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง
พึงทราบว่า มิตรสหายเป็นทิศเบื้องซ้าย พึงทราบว่า ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง
พึงทราบว่า สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน
[๒๖๗] คหบดีบุตร บุตรพึงบำรุงมารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้าโดยหน้าที่
๕ ประการ คือ
๑. ท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ
๒. จักทำกิจของท่าน
๓. จักดำรงวงศ์ตระกูล
๔. จักประพฤติตนให้เหมาะสมที่จะเป็นทายาท
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน
มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า บุตรบำรุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้แล ย่อม
อนุเคราะห์บุตรโดยหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] ฉทิสาปฏิจฉาทนกัณฑ์
๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔. หาภรรยา(สามี) ที่สมควรให้
๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาอันสมควร
คหบดีบุตร มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า บุตรบำรุงโดยหน้าที่ ๕ ประการ
นี้แล ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องหน้านั้นเป็นอันชื่อว่า
กุลบุตรได้ปิดป้อง ทำให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วยประการฉะนี้
[๒๖๘] คหบดีบุตร ศิษย์พึงบำรุงอาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา โดยหน้าที่ ๕
ประการ คือ
๑. ลุกขึ้นยืนรับ
๒. เข้าไปคอยรับใช้
๓. เชื่อฟัง
๔. ดูแลปรนนิบัติ
๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา ศิษย์บำรุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้แล ย่อม
อนุเคราะห์ศิษย์ด้วยหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. แนะนำให้เป็นคนดี
๒. ให้เรียนดี
๓. บอกความรู้ในศิลปวิทยาทุกอย่างด้วยดี
๔. ยกย่องให้ปรากฏในมิตรสหาย
๕. ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย
คหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา ศิษย์บำรุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้แล
ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องขวานั้นเป็นอันชื่อว่าศิษย์ได้
ปิดป้อง ทำให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] ฉทิสาปฏิจฉาทนกัณฑ์
[๒๖๙] คหบดีบุตร สามีพึงบำรุงภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังโดยหน้าที่ ๕
ประการ คือ
๑. ให้เกียรติยกย่อง
๒. ไม่ดูหมิ่น
๓. ไม่ประพฤตินอกใจ
๔. มอบความเป็นใหญ่ให้
๕. ให้เครื่องแต่งตัว
ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง สามีบำรุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้แล ย่อมอนุเคราะห์
สามีด้วยหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. จัดการงานดี
๒. สงเคราะห์คนข้างเคียงดี
๓. ไม่ประพฤตินอกใจ
๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
๕. ขยันไม่เกียจคร้านในกิจทั้งปวง
คหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง สามีบำรุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้แล
ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องหลังนั้นเป็นอันชื่อว่าสามีได้
ปิดป้อง ทำให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วยประการฉะนี้
[๒๗๐] คหบดีบุตร กุลบุตรพึงบำรุงมิตรสหายผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายโดยหน้าที่
๕ ประการ คือ
๑. การให้ (การแบ่งปันสิ่งของให้)
๒. กล่าววาจาเป็นที่รัก
๓. ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์
๔. วางตนสม่ำเสมอ
๕. ไม่พูดจาหลอกลวงกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] ฉทิสาปฏิจฉาทนกัณฑ์
มิตรสหายผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย กุลบุตรบำรุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้แล ย่อม
อนุเคราะห์กุลบุตรด้วยหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. ป้องกันมิตรผู้ประมาทแล้ว
๒. ป้องกันทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว
๓. เมื่อมีภัยก็เป็นที่พึ่งพำนักได้
๔. ไม่ละทิ้งในยามอันตราย
๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ตระกูลของมิตร
คหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย กุลบุตรบำรุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้แล
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องซ้ายนั้นเป็นอันชื่อว่ากุลบุตร
ได้ปิดป้อง ทำให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วยประการฉะนี้
[๒๗๑] คหบดีบุตร นายพึงบำรุงทาสกรรมกร ผู้เป็นทิศเบื้องต่ำโดยหน้าที่
๕ ประการ คือ
๑. จัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง
๒. ให้อาหารและค่าจ้าง
๓. ดูแลรักษายามเจ็บป่วย
๔. ให้อาหารมีรสแปลก
๕. ให้หยุดงานตามโอกาส
ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ นายบำรุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้แล ย่อม
อนุเคราะห์นายด้วยหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. ตื่นขึ้นทำงานก่อนนาย
๒. เลิกงานเข้านอนทีหลังนาย
๓. ถือเอาแต่ของที่นายให้
๔. ทำงานให้ดีขึ้น
๕. นำคุณของนายไปสรรเสริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] ฉทิสาปฏิจฉาทนกัณฑ์
คหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ นายบำรุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการ
นี้แล ย่อมอนุเคราะห์นายโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องต่ำนั้นเป็นอันชื่อว่า
นายได้ปิดป้อง ทำให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วยประการฉะนี้
[๒๗๒] คหบดีบุตร กุลบุตรพึงบำรุงสมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน โดยหน้าที่
๕ ประการ คือ
๑. จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
๒. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
๔. เปิดประตูต้อนรับ
๕. ถวายปัจจัยเครื่องยังชีพ
สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน กุลบุตรบำรุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้แล
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยหน้าที่ ๖ ประการ คือ
๑. ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันดีงาม
๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๕. อธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๖. บอกทางสวรรค์ให้
คหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน กุลบุตรบำรุงโดยหน้าที่ ๕
ประการนี้แล ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรโดยหน้าที่ ๖ ประการนี้ ทิศเบื้องบนนั้น
เป็นอันชื่อว่ากุลบุตรได้ปิดป้อง ทำให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วยประการฉะนี้”
[๒๗๓] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] ฉทิสาปฏิจฉาทนกัณฑ์
“มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า
อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา
บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง
มิตรสหายเป็นทิศเบื้องซ้าย
ทาสกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง
สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน
คฤหัสถ์ในตระกูลผู้มีความสามารถ๑ พึงไหว้ทิศเหล่านี้
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เป็นคนละเอียดและมีไหวพริบ๒
มีความประพฤติเจียมตน
ไม่แข็งกระด้าง เช่นนั้น ย่อมได้ยศ
คนขยัน ไม่เกียจคร้าน
ย่อมไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย
คนมีความประพฤติไม่ขาดตอน๓
มีปัญญาเช่นนั้น ย่อมได้ยศ
คนชอบสงเคราะห์
ชอบสร้างไมตรี รู้เรื่องที่เขาบอก๔
ปราศจากความตระหนี่ เป็นผู้ชอบแนะนำ
ชี้แจงแสดงเหตุผล เช่นนั้น ย่อมได้ยศ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้มีความสามารถ ในที่นี้หมายถึงผู้มีความสามารถที่จะครองเรือน คือเลี้ยงดูบุตรและภรรยาให้เป็นสุขได้
(ที.ปา.อ. ๒๗๓/๑๕๐)
๒ มีไหวพริบ ในที่นี้หมายถึงมีความเฉลียวฉลาดในการไหว้ทิศ คือเข้าใจความหมายของการไหว้อย่างถูกต้อง
(ที.ปา.อ. ๒๗๓/๑๕๐)
๓ ประพฤติไม่ขาดตอน ในที่นี้หมายถึงประพฤติต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย (ที.ปา.อ. ๒๗๓/๑๕๐)
๔ รู้เรื่องที่เขาบอก ในที่นี้หมายถึงรู้เรื่องที่บุพการีสั่งไว้ แล้วปฏิบัติตามนั้น (ที.ปา.อ. ๒๗๓/๑๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๘. สิงคาลกสูตร] ฉทิสาปฏิจฉาทนกัณฑ์
ทาน(การให้) เปยยวัชชะ(วาจาเป็นที่รัก)
อัตถจริยา(การประพฤติประโยชน์) ในโลกนี้
และสมานัตตตา(การวางตนสม่ำเสมอ)
ในธรรมนั้น ๆ ตามสมควร
สังคหธรรมเหล่านี้แลช่วยอุ้มชูโลก
เหมือนลิ่มสลักเพลาคุมรถที่แล่นไปไว้ได้ฉะนั้น
ถ้าไม่มีสังคหธรรมเหล่านี้
มารดาหรือบิดาก็ไม่พึงได้การนับถือ
หรือการบูชาเพราะบุตรเป็นเหตุ
แต่เพราะบัณฑิตเล็งเห็นความสำคัญของสังคหธรรมเหล่านี้
ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านี้จึงถึงความเป็นใหญ่และเป็นผู้น่าสรรเสริญ”
[๒๗๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สิงคาลกะ คหบดีบุตร ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบ
เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป
ในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค
พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระ
องค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
สิงคาลกสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๑

๙. อาฏานาฏิยสูตร
ว่าด้วยมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ
ภาณวารที่ ๑
[๒๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์วางยามรักษาการณ์ไว้ทั้ง ๔ ทิศ วางกองกำลังไว้
ทั้ง ๔ ทิศ วางหน่วยป้องกันไว้ทั้ง ๔ ทิศ ด้วยกองทัพยักษ์หมู่ใหญ่ ด้วยกองทัพ
คนธรรพ์หมู่ใหญ่ ด้วยกองทัพกุมภัณฑ์หมู่ใหญ่ และด้วยกองทัพนาคหมู่ใหญ่
เมื่อราตรีผ่านไป๑ มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไสวทั่วภูเขาคิชฌกูฏ
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ฝ่ายยักษ์เหล่านั้น บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วนั่ง
ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและตระกูลแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกนั่งนิ่งเฉย
ณ ที่สมควร
[๒๗๖] ท้าวเวสวัณมหาราชประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงที่ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาค
ก็มี ที่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นกลางที่ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี
ที่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นต่ำที่ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ที่เลื่อมใส
พระผู้มีพระภาคก็มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยมาก ยักษ์ไม่เลื่อมใสพระผู้มี
พระภาคเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้น
จากการฆ่าสัตว์ ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้
ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้น
จากการพูดเท็จ ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย

เชิงอรรถ :
๑ เมื่อราตรีผ่านไป หมายถึงปฐมยาม คือยามที่หนึ่งผ่านไป (ในคืนหนึ่ง แบ่งเป็น ๓ ยาม ยามละ ๔ ชั่วโมง
เรียกปฐมยาม มัชฌิมยามและปัจฉิมยาม ตามลำดับ) (ที.ม.อ. ๒๙๓/๒๕๙, ที.ปา.อ. ๒๗๕/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๑
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท แต่โดยมาก พวกยักษ์ไม่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ไม่งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ไม่งดเว้นจากการประพฤติผิด
ในกาม ไม่งดเว้นจากการพูดเท็จ ไม่งดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท การที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่อการงดเว้น
นั้นจึงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของยักษ์เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสาวก
ของพระผู้มีพระภาคที่อาศัยเสนาสนะเป็นป่าละเมาะ และป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย
มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับ
ของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น พวกยักษ์ชั้นสูงผู้อาศัยอยู่ในป่านั้นที่ไม่เลื่อมใสใน
พระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคนี้ก็มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค
ทรงเรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ เพื่อให้ยักษ์เหล่านั้นเลื่อมใส เพื่อคุ้มครอง
เพื่อรักษา เพื่อไม่ถูกเบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี
ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช ทรงทราบพระอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับ
แล้วจึงได้กราบทูลมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ในเวลานั้นว่า
[๒๗๗] “ขอนอบน้อมพระวิปัสสีพุทธเจ้า
ผู้มีพระจักษุ มีพระสิริ
ขอนอบน้อมพระสิขีพุทธเจ้า
ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั่วหน้า
ขอนอบน้อมพระเวสสภูพุทธเจ้า
ผู้ทรงชำระกิเลส มีความเพียร
ขอนอบน้อมพระกกุสันธพุทธเจ้า
ผู้ทรงย่ำยีมารและกองทัพมาร
ขอนอบน้อมพระโกนาคมนพุทธเจ้า
ผู้มีบาปอันลอยแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๑
ขอนอบน้อมพระกัสสปพุทธเจ้า
ผู้หลุดพ้นในที่ทั้งปวง
ขอนอบน้อมพระอังคีรสพุทธเจ้าผู้ศากยบุตร
ผู้มีพระสิริ ผู้ทรงแสดงธรรมนี้
อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง
อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่าใดเป็นผู้ดับกิเลสแล้วในโลก
ทรงเห็นแจ้งแล้วตามความเป็นจริง
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด
เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมพระพุทธเจ้า
ผู้โคตมโคตรพระองค์ใด
ทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม
[๒๗๘] พระสุริยะ คือพระอาทิตย์
มีมณฑลใหญ่ ขึ้นทางทิศใด
เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น กลางคืนก็หายไป
และเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นเรียกกันว่ากลางวัน
ในที่ที่พระอาทิตย์ขึ้นนั้นมีห้วงน้ำลึก
คือ มหาสมุทรที่เต็มด้วยน้ำ
ชนทั้งหลายรู้จักห้วงน้ำนั้นว่าสมุทรที่เต็มด้วยน้ำ
คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศตะวันออกจากภูเขาสิเนรุนี้ไป
ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้มียศองค์นั้นอภิบาลอยู่
ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าธตรฐ
ทรงเป็นหัวหน้าของพวกคนธรรพ์ มีคนธรรพ์แวดล้อม
ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๑
ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า
‘แม้โอรสของท้าวธตรฐจะมีมากก็มีพระนามเดียวกัน
คือทั้ง ๙๑ องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’
ท้าวธตรฐและพระโอรสเหล่านั้น
เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากครามครั่นคร้าม แต่ที่ไกล
ข้าแต่พระผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด
แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ก็ได้สดับเรื่องนี้มาเนือง ๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเคยถามพวกอมนุษย์ว่า
‘พวกท่าน ถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’
พวกอมนุษย์ตอบว่า
‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม
ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๑
[๒๗๙] ชนทั้งหลายผู้ส่อเสียด
ผู้นินทาคนลับหลัง เป็นผู้ฆ่าสัตว์
เป็นนายพราน เป็นโจร เป็นคนตลบตะแลง
ตายแล้ว เขาบอกให้นำออกไปทางที่ใด
คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศใต้จากภูเขาสิเนรุนี้ไป
ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้มียศองค์นั้นอภิบาลอยู่
ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าวิรุฬหะ
ทรงเป็นหัวหน้าของพวกกุมภัณฑ์ มีกุมภัณฑ์แวดล้อม
ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง
ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า
‘แม้โอรสของท้าววิรุฬหะจะมีมากก็มีพระนามเดียวกัน
คือทั้ง ๙๑ องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’
ท้าววิรุฬหะและพระโอรสเหล่านั้น
เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ยิ่ง ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด
แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ก็ได้สดับเรื่องนั้นมาเนือง ๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๑
ข้าพระองค์ทั้งหลายถามพวกอมนุษย์ว่า
‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’
พวกอมนุษย์ตอบว่า
‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม
ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
[๒๘๐] พระสุริยะ คือพระอาทิตย์
มีมณฑลใหญ่ ตกทางทิศใด
เมื่อพระอาทิตย์ตก กลางวันก็หายไป
และเมื่อพระอาทิตย์ตกเรียกกันว่ากลางคืน
ในที่ที่พระอาทิตย์ตกนั้น มีห้วงน้ำลึก
คือมหาสมุทรที่เต็มด้วยน้ำ
ชนทั้งหลายรู้จักห้วงน้ำนั้นว่า สมุทรที่เต็มด้วยน้ำ
คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศตะวันตกจากภูเขาสิเนรุนี้ไป
ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้มียศองค์นั้นอภิบาลอยู่
ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าวิรูปักษ์
ทรงเป็นหัวหน้าของพวกนาค มีนาคแวดล้อม
ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง
ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า
‘แม้โอรสของท้าววิรูปักษ์จะมีมาก ก็มีพระนามเดียวกัน
คือทั้ง ๙๑ องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’
ท้าววิรูปักษ์ และโอรสเหล่านั้น
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๑
พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด
แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ก็ได้สดับเรื่องนี้มาเนือง ๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถามพวกอมนุษย์ว่า
‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’
พวกอมนุษย์ตอบว่า
‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม
ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
[๒๘๑] อุตตรกุรุทวีปเป็นรมณียสถาน
มีภูเขาหลวงชื่อสิเนรุ แลดูงดงาม ตั้งอยู่ทางทิศใด
พวกมนุษย์ซึ่งเกิดในอุตตรกุรุทวีปนั้น
ไม่ยึดถือสิ่งใดว่าเป็นของตน ไม่ถือครอง
มนุษย์เหล่านั้น ไม่ต้องหว่านพืช
ไม่ต้องนำไถออกไถ
หมู่มนุษย์บริโภคข้าวสาลี
อันผลิผลในที่ที่ไม่ต้องไถ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๑
พวกเขาหุงข้าวสาลีอันไม่มีรำ ไม่มีแกลบ
บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร
บนเตาอันปราศจากควันและถ่าน๑
แล้วบริโภคโภชนะจากที่นั้น
พวกเขาใช้แม่โคแทนม้ากีบเดี่ยว
แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่
ใช้สัตว์เลี้ยงแทนม้ากีบเดี่ยว แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่
ใช้หญิงเป็นพาหนะ๒ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่
ใช้ชายเป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่
ใช้เด็กหญิงเป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่
ใช้เด็กชายเป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่
พระสนมทั้งหลายของท้าวมหาราชนั้น
ก็ขึ้นสู่ยานเหล่านั้น ตามห้อมล้อมไปทุกทิศ
ยานช้าง ยานม้า ยานทิพย์ ปราสาท และวอ
บังเกิดแก่ท้าวมหาราชผู้มียศ
ท้าวเธอทรงมีเมืองหลายเมืองที่สร้างในอากาศ
คือ เมืองอาฏานาฏา เมืองกุสินาฏา
เมืองปรกุสินาฏา เมืองนาฏปริยา เมืองปรกุสิฏนาฏา

เชิงอรรถ :
๑ เตาอันปราศจากควันและถ่าน ในที่นี้หมายถึงเตาที่ใช้หินซึ่งมีความร้อนในตัวเอง ๓ ก้อนวางเป็นสามเส้า
แล้วนำหม้อข้าวที่บรรจุข้าวสารวางไว้บนก้อนเส้านั้น แล้วข้าวก็จะสุกด้วยความร้อนที่เกิดจากก้อนเส้านั้น
(ที.ปา.อ. ๒๘๑/๑๕๗)
๒ ใช้หญิงเป็นพาหนะในที่นี้หมายถึงจับผู้หญิงท้องมาเทียมยานให้ลากไปเหมือนม้ากีบเดี่ยว(ที.ปา.อ.
๒๘๑/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๑
ทางทิศเหนือ มีเมืองกปีวันตะ
และมีอีกเมืองหนึ่งชื่อชโนฆะ
อีกเมืองหนึ่งชื่อนวนวติยะ
และมีอีกเมืองหนึ่งชื่ออัมพรอัมพรวติยะ
มีราชธานีชื่ออาฬกมันทา
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ท้าวกุเวรมหาราช
มีราชธานีชื่อวิสาณา
ฉะนั้น มหาชนจึงเรียกท้าวกุเวรมหาราชว่า ‘ท้าวเวสวัณ’
ยักษ์ชื่อตโตลา ชื่อตัตตลา
ชื่อตโตตลา ชื่อโอชสี ชื่อเตชสี ชื่อตโตชสี
ชื่อสุระ ชื่อราชา ชื่อสูโรราชา
ชื่ออริฏฐะ ชื่อเนมิ ชื่ออริฏฐเนมิ
ต่างทำหน้าที่หาข่าวและประกาศให้ทราบ๑
ในวิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำชื่อธรณี
ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดเมฆ เกิดฝนตก
ในวิสาณาราชธานีนั้น มีสภาชื่อภคลวดี
เป็นที่ประชุมของพวกยักษ์
มีต้นไม้ทั้งหลาย ผลิผลเป็นนิจ
ดารดาษด้วยหมู่นกชนิดต่าง ๆ
มีเสียงร้องของนกยูง นกกะเรียน
และเสียงขับกล่อมจากนกดุเหว่า เป็นต้น

เชิงอรรถ :
๑ ต่างทำหน้าที่หาข่าวและประกาศให้ทราบ หมายถึงยักษ์ผู้ครองเมืองแต่ละตน แยกกันทำหน้าที่ดูแล
รักษาผลประโยชน์ของเมืองนั้นและแจ้งข่าวแก่ยักษ์ผู้เฝ้าประตูในทิศต่าง ๆ ๑๒ ทิศ ของวิสาณาราชธานี
เพื่อให้นำไปถวายแก่ท้าวเวสวัณ (ที.ปา.อ. ๒๘๑/๑๕๙, ที.ปา.ฏีกา ๒๘๑/๑๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๑
ในวิสาณาราชธานีนั้น มีเสียงร้องของนกชีวัญชีวกะ
และนกโอฏฐวจิตตกะ มีไก่ป่า
ในสระบัวมีปูทอง และนกชื่อโปกขรสาตกะ
ในวิสาณาราชธานีนั้น มีเสียงนกแก้ว
นกสาลิกา และหมู่นกทัณฑมาณวะ๑
สระบัวของท้าวกุเวรนั้น จึงงามตลอดกาลทุกเมื่อ
คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศเหนือจากภูเขาสิเนรุนี้ไป
ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศองค์นั้นอภิบาลอยู่
ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าท้าวกุเวร
ทรงเป็นหัวหน้าของพวกยักษ์ มียักษ์แวดล้อม
ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง
ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า
‘แม้โอรสของท้าวกุเวรจะมีมาก แต่มีพระนามเดียวกัน
คือ ทั้ง ๙๑ องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’
ท้าวกุเวรและโอรสเหล่านั้น
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด

เชิงอรรถ :
๑ นกฑัณฑมาณวะ หมายถึงนกที่มีหน้าเหมือนคนซึ่งชอบนำท่อนไม้สีทองมาวางไว้บนใบบัว (ที.ปา.อ. ๒๘๑/๑๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๑
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด
แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ได้สดับเรื่องนั้นมาเนือง ๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถามพวกอมนุษย์ว่า
‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’
พวกอมนุษย์ตอบว่า
‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม
ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้แหละ คือ มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนั้น
เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่ถูกเบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย
[๒๘๒] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ผู้ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
หรืออุบาสิกา ผู้เรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้จนจบครบบริบูรณ์แล้ว
หากว่าอมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ ยักษิณี บุตรยักษ์ ธิดายักษ์ มหาอำมาตย์
ของยักษ์ บริวารของยักษ์ ผู้รับใช้ของยักษ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนธรรพ์ นางคนธรรพ์
บุตรคนธรรพ์ ธิดาคนธรรพ์ มหาอำมาตย์ของคนธรรพ์ บริวารของคนธรรพ์ ผู้รับใช้
ของคนธรรพ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกุมภัณฑ์ นางกุมภัณฑ์ บุตรกุมภัณฑ์ ธิดากุมภัณฑ์
มหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ บริวารของกุมภัณฑ์ ผู้รับใช้ของกุมภัณฑ์ก็ตาม ไม่ว่า
จะเป็นนาค นางนาค บุตรนาค ธิดานาค มหาอำมาตย์ของนาค บริวารของนาค
ผู้รับใช้ของนาคก็ตาม มีจิตประทุษร้าย เดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๑
ผู้กำลังเดินไป ยืนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ นั่งใกล้ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ หรือนอนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ
อุบาสิกา ผู้นอนอยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้นไม่พึงได้สักการะ หรือความเคารพ ในหมู่
บ้านหรือในนิคมของข้าพระพุทธเจ้า ไม่พึงได้พื้นที่บ้าน หรือที่อยู่ในราชธานีชื่อว่า
อาฬกมันทาของข้าพระพุทธเจ้า ไม่อาจเข้าสมาคมของพวกยักษ์ของข้าพระพุทธเจ้า
อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายไม่พึงทำอาวาหมงคลหรือวิวาหมงคลกับ
อมนุษย์นั้น
อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายด่าอมนุษย์นั้นด้วยคำด่าที่ตรงตัวเต็มปาก
เต็มคำ๑
อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงเอาบาตรเปล่าครอบศีรษะอมนุษย์นั้น
อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงผ่าศีรษะอมนุษย์นั้นออกเป็น ๗ เสี่ยง
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ มีอมนุษย์ทั้งหลาย ที่ดุร้าย โหดเหี้ยม ทำเกินเหตุ
อมนุษย์เหล่านั้นไม่เชื่อฟังท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟังเสนาบดีของท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟัง
ผู้ช่วยเสนาบดีของท้าวมหาราช ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้น เรียกว่า
เป็นศัตรูของท้าวมหาราช เหมือนมหาโจรทั้งหลายในแว่นแคว้นของพระราชาผู้ครอง
แคว้นมคธ มหาโจรเหล่านั้นไม่เชื่อฟังพระราชาผู้ครองแคว้นมคธ ไม่เชื่อฟังเสนาบดี
ของพระราชาผู้ครองแคว้นมคธ ไม่เชื่อฟังผู้ช่วยเสนาบดีของพระราชาผู้ครองแคว้น
มคธ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ มหาโจรเหล่านั้น เรียกว่า เป็นศัตรูของพระราชา
ผู้ครองแคว้นมคธ ฉันใด มีอมนุษย์ทั้งหลาย ที่ดุร้าย โหดเหี้ยม ทำเกินเหตุ อมนุษย์
เหล่านั้น ไม่เชื่อฟังท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟังเสนาบดีของท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟังผู้ช่วย
เสนาบดีของท้าวมหาราช ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้น เรียกว่า เป็น
ศัตรูของท้าวมหาราช ฉันนั้นเหมือนกัน

เชิงอรรถ :
๑ คำด่าที่ตรงตัวเต็มปากเต็มคำ ในที่นี้หมายถึงคำด่ากระทบถึงอวัยวะส่วนตัวของผู้ถูกด่า ที่ชัดถ้อยชัดคำ
ไม่อ้อมค้อม เช่น ไอ้ตาเข ไอ้ฟันเหยิน (ที.ปา.อ. ๒๘๒/๑๖๐-๑๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๑
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ ยักษิณี บุตรยักษ์
ธิดายักษ์ มหาอำมาตย์ของยักษ์ บริวารของยักษ์ ผู้รับใช้ของยักษ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น
คนธรรพ์ นางคนธรรพ์ บุตรคนธรรพ์ ธิดาคนธรรพ์ มหาอำมาตย์ของคนธรรพ์
บริวารของคนธรรพ์ ผู้รับใช้ของคนธรรพ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกุมภัณฑ์ นางกุมภัณฑ์
บุตรกุมภัณฑ์ ธิดากุมภัณฑ์ มหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ บริวารของกุมภัณฑ์ ผู้รับ
ใช้ของกุมภัณฑ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นนาค นางนาค บุตรนาค ธิดานาค มหาอำมาตย์
ของนาค บริวารของนาค ผู้รับใช้ของนาคก็ตาม มีจิตประทุษร้าย เดินตามภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้กำลังเดินอยู่ ยืนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ
อุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ นั่งใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ หรือนอนใกล้
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นอนอยู่ พึงกล่าวโทษ ร้องทุกข์ ร้องเรียน
ต่อยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดียักษ์ มหาเสนาบดียักษ์เหล่านี้ว่า ‘ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้
เข้าสิง ยักษ์นี้ระราน ยักษ์นี้รุกราน ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้บีบคั้น ยักษ์นี้ไม่
ยอมปล่อย’
[๒๘๓] ยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดียักษ์ มหาเสนาบดียักษ์ คือใคร
คือ อินทะ ๑ โสมะ ๑ วรุณะ ๑
ภารทวาชะ ๑ ปชาบดี ๑ จันทนะ ๑ กามเสฏฐะ ๑
กินนุฆัณฑุ ๑ นิฆัณฑุ ๑ ปนาทะ ๑
โอปมัญญะ ๑ เทวสูตะ ๑ มาตลิ ๑
จิตตเสนะ ๑ คันธัพพะ ๑ นโฬราชา ๑
ชโนสภะ ๑ สาตาคิระ ๑ เหมวตะ ๑
ปุณณกะ ๑ กรติยะ ๑ คุฬะ ๑
สิวกะ ๑ มุจลินทะ ๑ เวสสามิตตะ ๑
ยุคันธระ ๑ โคปาละ ๑ สุปปเคธะ ๑ หิริ ๑
เนตติ ๑ มันทิยะ ๑ ปัญจาลจันทะ ๑
อาฬวกะ ๑ ปชุนนะ ๑ สุมนะ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๑
สุมุขะ ๑ ทธิมุขะ ๑ มณิ ๑
มานิจระ ๑ ทีฆะ ๑ รวมทั้งเสรีสกะด้วย
พุทธบริษัท พึงกล่าวโทษ ร้องทุกข์ ร้องเรียนต่อยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดียักษ์
มหาเสนาบดียักษ์เหล่านี้ว่า ‘ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้เข้าสิง ยักษ์นี้ระราน ยักษ์นี้รุกราน
ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้บีบคั้น ยักษ์นี้ไม่ยอมปล่อย’
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้แหละ คือ มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ เพื่อ
คุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกาทั้งหลาย
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอทูลลากลับ เพราะ
มีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำมาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาราชทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงกำหนดเวลา
ที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
[๒๘๔] ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ลุกจากที่ประทับถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาค กระทำประทักษิณแล้วอันตรธาน(หายตัว)ไป ณ ที่นั้นเอง แม้พวกยักษ์
เหล่านั้นก็ลุกจากที่นั่ง บางพวกก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ
แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็น
ที่ระลึกถึงกันกับพระผู้มีพระภาคแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประนมมือ
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประกาศ
ชื่อและโคตรแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกอันตรธานไปเสียเฉย ๆ ณ ที่
นั้นเอง
ภาณวารที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๒

ภาณวารที่ ๒
[๒๘๕] เมื่อราตรีนั้นล่วงไป พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตลอดราตรีนี้ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์วางยามรักษาการณ์ไว้
ทั้ง ๔ ทิศ วางกองกำลังไว้ทั้ง ๔ ทิศ วางหน่วยป้องกันไว้ทั้ง ๔ ทิศ ด้วยกองทัพ
ยักษ์หมู่ใหญ่ ด้วยกองทัพคนธรรพ์หมู่ใหญ่ ด้วยกองทัพกุมภัณฑ์หมู่ใหญ่ และด้วย
กองทัพนาคหมู่ใหญ่ เมื่อราตรีนั้นผ่านไป มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้
สว่างไสวทั่วภูเขาคิชฌกูฏแล้ว เข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ยักษ์เหล่านั้น บางพวกไหว้เราแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกสนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับเราแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ประนมมือมาทางที่เราอยู่ นั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและโคตรแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร บางพวกนั่งนิ่งเฉย ณ ที่สมควร
[๒๘๖] ภิกษุทั้งหลาย ท้าวเวสวัณมหาราชประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว
ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงที่ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาค
ก็มี ที่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นกลางที่ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี
ที่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นต่ำที่ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคก็มี ที่เลื่อมใส
พระผู้มีพระภาคก็มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยมาก ยักษ์ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาค
เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ทรงแสดง
ธรรมเพื่องดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการ
พูดเท็จ ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น
เหตุแห่งความประมาท แต่โดยมาก พวกยักษ์ไม่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ไม่งดเว้น
จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ไม่งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ไม่งดเว้น
จากการพูดเท็จ ไม่งดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท การที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่อการงดเว้นนั้นจึงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบใจของยักษ์เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสาวกของพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๒
ที่อาศัยเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะและป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึก
น้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์
ควรแก่การหลีกเร้น พวกยักษ์ชั้นสูงผู้อาศัยอยู่ในป่านั้นที่ไม่เลื่อมใสในพระธรรม-
วินัยของพระผู้มีพระภาคนี้ก็มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงเรียน
มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะ เพื่อให้ยักษ์เหล่านั้นเลื่อมใส เพื่อคุ้มครอง เพื่อ
รักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า’ ภิกษุทั้งหลาย เรารับนิมนต์ด้วยอาการดุษณี
ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช ทราบอาการที่เรารับแล้วจึงได้กล่าวมนต์เครื่อง
รักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้ ในเวลานั้นว่า
[๒๘๗] “๑ขอนอบน้อมพระวิปัสสีพุทธเจ้า
ผู้มีพระจักษุ มีพระสิริ
ขอนอบน้อมพระสิขีพุทธเจ้า
ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั่วหน้า
ขอนอบน้อมพระเวสสภูพุทธเจ้า
ผู้ทรงชำระกิเลส มีความเพียร
ขอนอบน้อมพระกกุสันธพุทธเจ้า
ผู้ทรงย่ำยีมารและกองทัพมาร
ขอนอบน้อมพระโกนาคมนพุทธเจ้า
ผู้มีบาปอันลอยแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
ขอนอบน้อมพระกัสสปพุทธเจ้า
ผู้หลุดพ้นในที่ทั้งปวง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ข้อ ๒๗๗-๒๘๒ หน้า ๒๒๐-๒๓๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๒
ขอนอบน้อมพระอังคีรสพุทธเจ้าผู้ศากยบุตร
ผู้มีพระสิริ ผู้ทรงแสดงธรรมนี้
อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง
อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่าใดเป็นผู้ดับกิเลสแล้วในโลก
ทรงเห็นแจ้งแล้วตามความเป็นจริง
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด
เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมพระพุทธเจ้า
ผู้โคตมโคตรพระองค์ใด
ทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม
[๒๘๘] พระสุริยะ คือพระอาทิตย์
มีมณฑลใหญ่ ขึ้นทางทิศใด
เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น กลางคืนก็หายไป
และเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นเรียกกันว่ากลางวัน
ในที่ที่พระอาทิตย์ขึ้นนั้นมีห้วงน้ำลึก
คือ มหาสมุทรที่เต็มด้วยน้ำ
ชนทั้งหลายรู้จักห้วงน้ำนั้นว่าสมุทรที่เต็มด้วยน้ำ
คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศตะวันออกจากภูเขาสิเนรุนี้ไป
ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้มียศองค์นั้นอภิบาลอยู่
ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าธตรฐ
ทรงเป็นหัวหน้าของพวกคนธรรพ์ มีคนธรรพ์แวดล้อม
ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๒
ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า
‘แม้โอรสของท้าวธตรฐจะมีมากก็มีพระนามเดียวกัน
คือ ทั้ง ๙๑ องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’
ท้าวธตรฐและพระโอรสเหล่านั้น
เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล
ข้าแต่พระผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด
แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ก็ได้สดับเรื่องนี้มาเนือง ๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเคยถามพวกอมนุษย์ว่า
‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’
พวกอมนุษย์ตอบว่า
‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม
ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๒
[๒๘๙] ชนทั้งหลายผู้ส่อเสียด
ผู้นินทาคนลับหลัง เป็นผู้ฆ่าสัตว์
เป็นนายพราน เป็นโจร เป็นคนตลบตะแลง
ตายแล้ว เขาบอกให้นำออกไปทางทิศใด
คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศใต้จากภูเขาสิเนรุนี้ไป
ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้มียศองค์นั้นอภิบาลอยู่
ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าวิรุฬหะ
ทรงเป็นหัวหน้าพวกกุมภัณฑ์ มีกุมภัณฑ์แวดล้อม
ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง
ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า
‘แม้โอรสของท้าววิรุฬหะจะมีมากก็มีพระนามเดียวกัน
คือ ทั้ง ๙๑ องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’
ท้าววิรุฬหะและพระโอรสเหล่านั้น
เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ยิ่ง ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด
แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ก็ได้สดับเรื่องนั้นมาเนือง ๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๒
ข้าพระองค์ทั้งหลายถามพวกอมนุษย์ว่า
‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’
พวกอมนุษย์ตอบว่า
‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม
ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
[๒๙๐] พระสุริยะ คือพระอาทิตย์
มีมณฑลใหญ่ ตกทางทิศใด
เมื่อพระอาทิตย์ตก กลางวันก็หายไป
และเมื่อพระอาทิตย์ตกเรียกกันว่ากลางคืน
ในที่ที่พระอาทิตย์ตกนั้น มีห้วงน้ำลึก
คือมหาสมุทรที่เต็มด้วยน้ำ
ชนทั้งหลายรู้จักห้วงน้ำนั้นว่า สมุทรที่เต็มด้วยน้ำ
คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศตะวันตกจากภูเขาสิเนรุนี้ไป
ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้มียศองค์นั้นอภิบาลอยู่
ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าวิรูปักษ์
ทรงเป็นหัวหน้าของพวกนาค มีนาคแวดล้อม
ทรงโปรดปรานการร่ายรำและการขับร้อง
ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า
‘แม้โอรสของท้าววิรูปักษ์จะมีมาก ก็มีพระนามเดียวกัน
คือ ทั้ง ๙๑ องค์ มีพระนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’
ท้าววิรูปักษ์ และโอรสเหล่านั้น
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๒
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด
แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ก็ได้สดับเรื่องนี้มาเนือง ๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถามพวกอมนุษย์ว่า
‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’
พวกอมนุษย์ตอบว่า
‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม
ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
[๒๙๑] อุตตรกุรุทวีปเป็นรมณียสถาน
มีภูเขาหลวงชื่อสิเนรุ แลดูงดงาม ตั้งอยู่ทางทิศใด
พวกมนุษย์ซึ่งเกิดในอุตตรกุรุทวีปนั้น
ไม่ยึดถือสิ่งใดว่าเป็นของตน ไม่ถือครอง
มนุษย์เหล่านั้น ไม่ต้องหว่านพืช
ไม่ต้องนำไถออกไถ
หมู่มนุษย์บริโภคข้าวสาลี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๒
อันผลิผลในที่ที่ไม่ต้องไถ
พวกเขาหุงข้าวสาลีอันไม่มีรำ ไม่มีแกลบ
บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร
บนเตาอันปราศจากควันและถ่าน
แล้วบริโภคโภชนะจากที่นั้น
พวกเขาใช้แม่โคแทนม้ากีบเดี่ยว
แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่
ใช้สัตว์เลี้ยงแทนม้ากีบเดี่ยว แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่
ใช้หญิงเป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่
ใช้ชายเป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่
ใช้เด็กหญิงเป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่
ใช้เด็กชายเป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่
พระสนมทั้งหลายของท้าวมหาราชนั้น
ก็ขึ้นสู่ยานเหล่านั้น ตามห้อมล้อมไปทุกทิศ
ยานช้าง ยานม้า ยานทิพย์ ปราสาท และวอ
บังเกิดแก่ท้าวมหาราชผู้มียศ
ท้าวเธอทรงมีเมืองหลายเมืองที่สร้างในอากาศ
คือ เมืองอาฏานาฏา เมืองกุสินาฏา
เมืองปรกุสินาฏา เมืองนาฏปริยา เมืองปรกุสิฏนาฏา
ทางทิศเหนือ มีเมืองกปีวันตะ
และมีอีกเมืองหนึ่งชื่อชโนฆะ
อีกเมืองหนึ่งชื่อนวนวติยะ
และมีอีกเมืองหนึ่งชื่ออัมพรอัมพรวติยะ
มีราชธานีชื่ออาฬกมันทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๒
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ท้าวกุเวรมหาราช
มีราชธานีชื่อวิสาณา
ฉะนั้น มหาชนจึงเรียกท้าวกุเวรมหาราชว่า ‘ท้าวเวสวัณ’
ยักษ์ชื่อตโตลา ชื่อตัตตลา
ชื่อตโตตลา ชื่อโอชสี ชื่อเตชสี ชื่อตโตชสี
ชื่อสุระ ชื่อราชา ชื่อสูโรราชา
ชื่ออริฏฐะ ชื่อเนมิ ชื่ออริฏฐเนมิ
ต่างทำหน้าที่หาข่าวและประกาศให้ทราบ
ในวิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำชื่อธรณี
ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดเมฆ เกิดฝนตก
ในวิสาณาราชธานีนั้น มีสภาชื่อภคลวดี
เป็นที่ประชุมของพวกยักษ์
มีต้นไม้ทั้งหลาย ผลิผลเป็นนิจ
ดารดาษด้วยหมู่นกชนิดต่าง ๆ
มีเสียงร้องของนกยูง นกกะเรียน
และเสียงขับกล่อมจากนกดุเหว่า เป็นต้น
ในวิสาณาราชธานีนั้น มีเสียงร้องของนกชีวัญชีวกะ
และนกโอฏฐวจิตตกะ มีไก่ป่า
ในสระบัวมีปูทองและนกชื่อโปกขรสาตกะ
ในวิสาณาราชธานีนั้น มีเสียงนกแก้ว
นกสาลิกาและหมู่นกทัณฑมาณวะ
สระบัวของท้าวกุเวรนั้น จึงงามตลอดกาลทุกเมื่อ
คนเรียกทิศนั้นว่า ทิศนั้นเป็นทิศเหนือจากภูเขาสิเนรุนี้ไป
ซึ่งเป็นทิศที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศองค์นั้นอภิบาลอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๒
ท้าวมหาราชนั้นมีพระนามว่าท้าวกุเวร
เป็นหัวหน้าของพวกยักษ์ มียักษ์แวดล้อม
ทรงโปรดปรานด้วยการร่ายรำและการขับร้อง
ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า
‘แม้โอรสของท้าวกุเวรจะมีมาก แต่มีพระนามเดียวกัน
คือ ทั้ง ๙๑ องค์ มีนามว่าอินทะ ต่างมีพลังมาก’
ท้าวกุเวรและโอรสเหล่านั้น
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
พากันถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกล
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมพระองค์
ขอพระองค์โปรดตรวจดูด้วยพระญาณอันฉลาดเถิด
แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายอภิวาทพระองค์
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ก็ได้สดับเรื่องนั้นมาเนือง ๆ ฉะนั้น จึงกราบทูลเช่นนี้
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถามพวกอมนุษย์ว่า
‘พวกท่านถวายอภิวาทพระชินโคดมหรือ’
พวกอมนุษย์ตอบว่า
‘พวกเราถวายอภิวาทพระชินโคดม’
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอถวายอภิวาทพระพุทธโคดม
ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๒
[๒๙๒] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้แหละ คือ มนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏา-
นาฏิยะนั้น เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่ถูกเบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญของภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ผู้ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ
อุบาสิกา ผู้เรียนมนต์เครื่องรักษาชื่ออาฏานาฏิยะนี้จนจบครบบริบูรณ์แล้ว หากว่า
อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ ยักษิณี บุตรยักษ์ ธิดายักษ์ มหาอำมาตย์ของยักษ์
บริวารของยักษ์ ผู้รับใช้ของยักษ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนธรรพ์ นางคนธรรพ์ บุตร
คนธรรพ์ ธิดาคนธรรพ์ มหาอำมาตย์ของคนธรรพ์ บริวารของคนธรรพ์ ผู้รับใช้ของ
คนธรรพ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกุมภัณฑ์ นางกุมภัณฑ์ บุตรกุมภัณฑ์ ธิดากุมภัณฑ์
มหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ บริวารของกุมภัณฑ์ ผู้รับใช้ของกุมภัณฑ์ก็ตาม ไม่ว่า
จะเป็นนาค นางนาค บุตรนาค ธิดานาค มหาอำมาตย์ของนาค บริวารของนาค
ผู้รับใช้ของนาคก็ตาม มีจิตประทุษร้าย เดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา
ผู้กำลังเดินไป ยืนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ นั่งใกล้ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ หรือนอนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ
อุบาสิกา ผู้นอนอยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้นไม่พึงได้สักการะ หรือความเคารพ ในหมู่
บ้านหรือในนิคมของข้าพระพุทธเจ้า ไม่พึงได้พื้นที่บ้าน หรือที่อยู่ในราชธานีชื่อว่า
อาฬกมันทาของข้าพระพุทธเจ้า ไม่อาจเข้าสมาคมของพวกยักษ์ของข้าพระพุทธเจ้า
อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายไม่พึงทำอาวาหมงคลและวิวาหมงคลกับ
อมนุษย์นั้น
อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายด่าอมนุษย์นั้นด้วยคำด่าที่ตรงตัวเต็มปาก
เต็มคำ
อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงเอาบาตรเปล่าครอบศีรษะอมนุษย์นั้น
อีกประการหนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงผ่าศีรษะอมนุษย์นั้นออกเป็น ๗ เสี่ยง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๙. อาฎานาฎิยสูตร] ภาณวารที่ ๒
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ มีอมนุษย์ทั้งหลาย ที่ดุร้าย โหดเหี้ยม ทำเกินเหตุ
อมนุษย์เหล่านั้นไม่เชื่อฟังท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟังเสนาบดีของท้าวมหาราช
ไม่เชื่อฟังผู้ช่วยเสนาบดีของท้าวมหาราช ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้น
เรียกว่า เป็นศัตรูของท้าวมหาราช เหมือนมหาโจรทั้งหลายในแว่นแคว้นของพระราชา
ผู้ครองแคว้นมคธ มหาโจรเหล่านั้นไม่เชื่อฟังพระราชาผู้ครองแคว้นมคธ ไม่เชื่อฟัง
เสนาบดีของพระราชาผู้ครองแคว้นมคธ ไม่เชื่อฟังผู้ช่วยเสนาบดีของพระราชา
ผู้ครองแคว้นมคธ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ มหาโจรเหล่านั้น เรียกว่า เป็นศัตรูของ
พระราชาผู้ครองแคว้นมคธ ฉันใด มีอมนุษย์ทั้งหลาย ที่ดุร้าย โหดเหี้ยม ทำเกินเหตุ
อมนุษย์เหล่านั้น ไม่เชื่อฟังท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟังเสนาบดีของท้าวมหาราช ไม่เชื่อฟัง
ผู้ช่วยเสนาบดีของท้าวมหาราช ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้น เรียกว่า
เป็นศัตรูของท้าวมหาราช ฉันนั้นเหมือนกัน
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งไม่ว่าจะเป็นยักษ์ ยักษิณี บุตรยักษ์
ธิดายักษ์ มหาอำมาตย์ของยักษ์ บริวารของยักษ์ ผู้รับใช้ของยักษ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น
คนธรรพ์ นางคนธรรพ์ บุตรคนธรรพ์ ธิดาคนธรรพ์ มหาอำมาตย์ของคนธรรพ์
บริวารของคนธรรพ์ ผู้รับใช้ของคนธรรพ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกุมภัณฑ์ นางกุมภัณฑ์
บุตรกุมภัณฑ์ ธิดากุมภัณฑ์ มหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ บริวารของกุมภัณฑ์
ผู้รับใช้ของกุมภัณฑ์ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นนาค นางนาค บุตรนาค ธิดานาค
มหาอำมาตย์ของนาค บริวารของนาค ผู้รับใช้ของนาคก็ตาม มีจิตประทุษร้าย
เดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้กำลังเดินอยู่ ยืนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ นั่งใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นั่งอยู่
หรือนอนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นอนอยู่ พึงกล่าวโทษ ร้องทุกข์
ร้องเรียนต่อยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดียักษ์ มหาเสนาบดียักษ์เหล่านี้ว่า ‘ยักษ์นี้สิง
ยักษ์นี้เข้าสิง ยักษ์นี้ระราน ยักษ์นี้รุกราน ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้บีบคั้น ยักษ์นี้
ไม่ยอมปล่อย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๔๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น