Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๒-๖ หน้า ๒๓๒ - ๒๗๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒-๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘ผู้ชำนาญในวิถีทางแห่งวิตก เธอหวังวิตก
ใดก็จักตรึกถึงวิตกนั้นได้ ไม่หวังวิตกใดก็จักไม่ตรึกถึงวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว
คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
วิตักกสัณฐานสูตรที่ ๑๐ จบ
สีหนาทวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จูฬสีหนาทสูตร ๒. มหาสีหนาทสูตร
๓. มหาทุกขักขันธสูตร ๔. จูฬทุกขักขันธสูตร
๕. อนุมานสูตร ๖. เจโตขีลสูตร
๗. วนปัตถสูตร ๘. มธุปิณฑิกสูตร
๙. เทฺวธาวิตักกสูตร ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

๓. โอปัมมวรรค
หมวดว่าด้วยข้ออุปมา
๑. กกจูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเลื่อย
[๒๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับ
ภิกษุณีทั้งหลายเกินเวลา ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลาย
อย่างนี้ ถ้าภิกษุบางรูปติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าท่านพระโมลิยผัคคุนะ ท่าน
พระโมลิยผัคคุนะก็โกรธไม่พอใจภิกษุรูปนั้นถึงกับก่ออธิกรณ์๑ขึ้นก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุ
บางรูปติเตียนท่านพระโมลิยผัคคุนะต่อหน้าภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีเหล่านั้นก็พากัน
โกรธไม่พอใจภิกษุรูปนั้นถึงกับก่ออธิกรณ์ขึ้นก็มี ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับ
ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเกิน
เวลา ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีอย่างนี้ ถ้าภิกษุบางรูป
ติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าท่านพระโมลิยผัคคุนะ ท่านพระโมลิยผัคคุนะก็โกรธ

เชิงอรรถ :
๑ อธิกรณ์ หมายถึงเรื่องที่สงฆ์จะต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับ
พระธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (ละเมิดสิกขาบท) (๓) อาปัตตาธิกรณ์
การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่าง ๆ ที่สงฆ์จะ
ต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน แต่ในที่นี้หมายถึงอนุวาทาธิกรณ์ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๒, ม.มู.อ.
๒/๒๒๒/๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร
ไม่พอใจภิกษุรูปนั้นถึงกับก่ออธิกรณ์ขึ้นก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุบางรูปติเตียนท่านพระ-
โมลิยผัคคุนะต่อหน้าภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีเหล่านั้นก็พากันโกรธไม่พอใจภิกษุรูป
นั้นถึงกับก่ออธิกรณ์ขึ้นก็มี ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีอย่างนี้”
ทรงเตือนพระโมลิยผัคคุนะที่โกรธ
[๒๒๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า
“มาเถิด ภิกษุ เธอจงไปเรียกโมลิยผัคคุนภิกษุตามคำของเราว่า ‘ท่านผัคคุนะ
พระศาสดาตรัสเรียกท่าน”
ภิกษุรูปนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาท่านพระโมลิยผัคคุนะถึงที่อยู่แล้ว
ได้กล่าวกับท่านว่า “ท่านผัคคุนะ พระศาสดาตรัสเรียกท่าน”
ท่านพระโมลิยผัคคุนะรับคำภิกษุรูปนั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านโมลิยผัคคุนะว่า
“ผัคคุนะ จริงหรือที่เขาลือกันว่า เธออยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายเกินเวลา
เธออยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ ถ้าภิกษุบางรูปติเตียนภิกษุณีเหล่านั้น
ต่อหน้าเธอ เธอก็โกรธไม่พอใจภิกษุรูปนั้นถึงกับก่ออธิกรณ์ขึ้นก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุ
บางรูปติเตียนเธอต่อหน้าภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นก็พากันโกรธ ไม่พอใจ
ภิกษุรูปนั้นถึงกับก่ออธิกรณ์ขึ้นก็มี จริงหรือที่เธออยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้”
ท่านพระโมลิยผัคคุนะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามต่อไปว่า “เธอเป็นกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตด้วยศรัทธามิใช่หรือ”
ท่านพระโมลิยผัคคุนะทูลว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๒๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผัคคุนะ การที่เธออยู่คลุกคลีกับภิกษุณี
ทั้งหลายเกินเวลานี้ ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร
ด้วยศรัทธาเลย เพราะฉะนั้น แม้ถ้าภิกษุบางรูปจะพึงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อ
หน้าเธอ แม้ในข้อนั้น เธอก็ควรละฉันทะและวิตกอันอาศัยเรือน๑เสีย แม้ในข้อนั้น
เธอควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ
และจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะ’ ผัคคุนะ
เธอควรสำเหนียกอย่างนี้แล
เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆ จะพึงทำร้ายภิกษุณีเหล่านั้นด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน
ท่อนไม้ และศัสตราต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนั้น เธอก็ควรละฉันทะและวิตกอันอาศัย
เรือนเสีย เธอควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน เราจักไม่เปล่ง
วาจาชั่วหยาบ และจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มีเมตตาจิต ไม่มี
โทสะ’ เธอควรสำเหนียกอย่างนี้แล
เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆ ติเตียนต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนั้น เธอควรละฉันทะ
และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย เธอควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน
เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มี
เมตตาจิต ไม่มีโทสะ’ เธอควรสำเหนียกอย่างนี้แล
ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆ จะพึงทำร้ายเธอด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้
และศัสตรา แม้ในข้อนั้น เธอควรละฉันทะและวิตกอันอาศัยเรือนเสีย เธอควร
สำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และ
จักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะ’ ผัคคุนะ
เธอควรสำเหนียกอย่างนี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ อาศัยเรือน หมายถึงอาศัยกามคุณ ๕ (คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) (ม.มู.อ. ๒/๒๒๔/๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

ประโยชน์ของการฉันอาหารมื้อเดียว
[๒๒๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย สมัยหนึ่ง ภิกษุจำนวนมากได้ทำให้เรามีจิตยินดี เราได้เตือนภิกษุทั้งหลาย
ณ ที่นี้ว่า ‘เราฉันอาหารมื้อเดียว๑ เราเมื่อฉันอาหารมื้อเดียว ย่อมรู้สึกว่ามี
อาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อย มีความเบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก
มาเถิด แม้พวกเธอก็จงฉันอาหารมื้อเดียว แม้เธอทั้งหลายเมื่อฉันอาหารมื้อเดียว
จักรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อย มีความเบากาย มีกำลัง และ
อยู่อย่างผาสุก’ เราไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุเหล่านั้นอีก เพียงแต่ทำให้สติเกิดขึ้นใน
ภิกษุเหล่านั้นเท่านั้น รถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย ซึ่งฝึกมาดีแล้ว แล่นไปตาม
ทางใหญ่สี่แพร่ง บนพื้นราบเรียบโดยไม่ต้องใช้แส้ เพียงแต่นายสารถีผู้ฝึกหัดม้าที่
ฉลาดขึ้นรถแล้วจับสายบังเหียนด้วยมือซ้าย จับแส้ด้วยมือขวา เตือนม้าให้วิ่งตรงไป
หรือเลี้ยวกลับไปตามถนนที่ต้องการได้ตามความปรารถนา แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุเหล่านั้นอีก เพียงแต่ทำให้สติเกิดขึ้นในภิกษุ
เหล่านั้นเท่านั้น เพราะฉะนั้น แม้เธอทั้งหลายก็จงละอกุศลธรรม จงทำความ
พากเพียรในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เธอทั้งหลายก็จักถึงความเจริญ
งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย ป่าสาละอันกว้าง ใกล้บ้านหรือนิคม ป่านั้นรกไปด้วยต้นละหุ่ง
บุรุษบางคนหวังดี หวังประโยชน์ และหวังความเจริญเติบโตของต้นสาละนั้น เขา
จึงตัดหน่อต้นสาละที่คด ซึ่งคอยแย่งอาหารแล้วนำออกไปทิ้งที่ภายนอก แผ้วถาง
ภายในป่าให้สะอาดเรียบร้อย คอยบำรุงรักษาต้นสาละเล็ก ๆ ซึ่งตรง แข็งแรงดี
ไว้อย่างดี ด้วยการกระทำดังกล่าวมานี้ ต่อมา ป่าไม้สาละนั้นก็เจริญ งอกงาม
ไพบูลย์ขึ้นโดยลำดับ แม้ฉันใด แม้เธอทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงละอกุศลธรรม
จงทำความพากเพียรในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอทั้งหลายก็จักถึง
ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

เชิงอรรถ :
๑ ฉันอาหารมื้อเดียว หมายถึงการฉันอาหารในเวลาเช้า คือตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลาเที่ยงวัน แม้ภิกษุ
ฉันอาหาร ๑๐ ครั้ง ในช่วงเวลานี้ก็ประสงค์ว่า ฉันอาหารมื้อเดียว (ม.มู.อ. ๒/๒๒๕/๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

นางเวเทหิกาบันดาลโทสะ
[๒๒๖] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล ได้มีหญิงแม่
เรือนชื่อเวเทหิกา เธอมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘หญิงแม่เรือนชื่อ
เวเทหิกาเป็นคนเรียบร้อย เจียมตน ใจเย็น และเธอมีสาวใช้ชื่อกาลีเป็นคนขยัน
ไม่เกียจคร้าน จัดการงานดี’
ต่อมา สาวใช้ชื่อกาลีได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘กิตติศัพท์อันงามของนายหญิง
ของเราขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘หญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกาเป็นคนเรียบร้อย เจียมตน
ใจเย็น นายหญิงของเราไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏ หรือว่า
หล่อนไม่มีความโกรธอยู่เลย หรือนายหญิงของเราไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ใน
ภายในให้ปรากฏ เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่หล่อนไม่มีความ
โกรธ ทางที่ดี เราจะต้องทดลองนายหญิงดู’ วันรุ่งขึ้น นางกาลีก็แกล้งตื่นสาย
ฝ่ายหญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกาได้ตวาดสาวใช้ชื่อกาลีว่า ‘เฮ้ย นางกาลี’
นางกาลีขานรับว่า ‘อะไรเจ้าค่ะ นายหญิง’
นางเวเทหิกาถามว่า ‘เฮ้ย ทำไมจึงตื่นสาย’
นางกาลีตอบว่า ‘ไม่มีอะไรเจ้าค่ะ’
นางจึงกล่าวอีกว่า ‘เฮ้ย นางชาติชั่ว เมื่อไม่มีอะไร ทำไมจึงตื่นสาย’ แล้วโกรธ
ไม่พอใจ ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด
ลำดับนั้น นางกาลีได้คิดว่า‘นายหญิงของเราไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ใน
ภายในเท่านั้น ไม่ใช่หล่อนไม่มีความโกรธ ที่ไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ในภายใน
ให้ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่หล่อนไม่มีความโกรธ
ทางที่ดี เราจะต้องทดลองนายหญิงให้ยิ่งขึ้นไป’ ต่อมา นางกาลีก็ตื่นสายกว่าทุกวัน
ครั้งนั้น หญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกา ก็ร้องตวาดด่านางกาลีอีกว่า ‘เฮ้ย นางกาลี’
นางกาลีขานรับว่า ‘อะไรเจ้าค่ะ นายหญิง’
นางเวเทหิกาถามว่า ‘เฮ้ย ทำไมจึงตื่นสาย’
นางกาลีตอบว่า ‘ไม่มีอะไรเจ้าค่ะ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร
นางจึงกล่าวอีกว่า ‘เฮ้ย นางชาติชั่ว เมื่อไม่มีอะไร ทำไมจึงตื่นสายเล่า’
แล้วโกรธ ไม่พอใจ แผดเสียงด้วยความขุ่นเคือง
ลำดับนั้น นางกาลีได้คิดว่า ‘นายหญิงของเราไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ใน
ภายในเท่านั้น ไม่ใช่หล่อนไม่มีความโกรธ ที่ไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้
ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่หล่อนไม่มีความโกรธ ทาง
ที่ดี เราจะต้องทดลองให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก’ ต่อมา นางกาลีก็ตื่นสายยิ่งกว่าทุกวัน
ครั้งนั้น หญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกาก็ร้องตวาดด่านางกาลีว่า ‘เฮ้ย นางกาลี
ชาติชั่ว’
นางกาลีขานรับว่า ‘อะไรเจ้าค่ะ นายหญิง’
นางเวเทหิกาถามว่า ‘เฮ้ย ทำไมจึงตื่นสายนัก’
นางกาลีตอบว่า ‘ไม่มีอะไรเจ้าค่ะ’
นางจึงกล่าวอีกว่า ‘เฮ้ย นางชาติชั่ว เมื่อไม่มีอะไร ทำไมจึงตื่นสายเล่า’
แล้วโกรธจัด คว้าลิ่มประตูขว้างศีรษะ ปากก็ด่าว่า ‘ข้าจะตีหัวเอ็งให้แตก’
คราวนั้น นางกาลีหัวแตกมีเลือดไหลโชก เที่ยวโพนทะนาแก่คนบ้านใกล้
เรือนเคียงว่า ‘พ่อคุณแม่คุณทั้งหลาย ขอเชิญดูการกระทำของคนเรียบร้อย เจียมตน
ใจเย็นเถิด นางโกรธไม่พอใจว่าตื่นสาย จึงคว้าลิ่มประตูขว้างศีรษะของสาวใช้คนหนึ่ง
ปากก็ด่าว่า ‘ข้าจะตีหัวเอ็งให้แตก’
ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่นั้นมา กิตติศัพท์อันชั่วช้าของหญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกา
ก็ขจรไปอย่างนี้ว่า ‘หญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกา เป็นหญิงดุร้าย ไม่เจียมตน ใจร้อน’
แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เรียบร้อยนักเรียบร้อยหนา
เจียมตนนักเจียมตนหนา ใจเย็นนักใจเย็นหนา ก็เพียงชั่วเวลาที่ถ้อยคำอันไม่เป็นที่
พอใจไม่มากระทบเท่านั้น แต่เมื่อใด ถ้อยคำอันไม่เป็นที่พอใจมากระทบเธอเข้า เมื่อนั้น
ควรทราบว่า ‘เธอเป็นผู้เรียบร้อย เป็นผู้เจียมตน เป็นผู้ใจเย็นจริง‘๑ ภิกษุที่ทำตน

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความนี้มีความหมายว่า เมื่อใด ถ้อยคำที่ไม่น่าพอใจมากระทบโสตประสาทเธอเข้า แล้วเธอสามารถ
ดำรงอยู่ในอธิวาสนขันติ(ความอดทนคือความอดกลั้น)ได้ ไม่โกรธ พึงทราบว่า เธอเป็นผู้เรียบร้อย เจียมตน
และใจเย็น (ม.มู.อ. ๒/๒๒๖/๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร
เป็นคนว่าง่าย ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย เพราะเหตุแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๑ เราไม่เรียกว่า ‘เป็นผู้ว่าง่ายเลย’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเมื่อไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้น
ก็จะไม่เป็นผู้ว่าง่าย ไม่ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย แต่ภิกษุผู้สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
นอบน้อมธรรม เป็นผู้ว่าง่าย ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย เราเรียกว่า ‘เป็นผู้ว่าง่าย’
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา นอบน้อมธรรม จักเป็นผู้ว่าง่าย จักถึงความเป็นผู้ว่าง่าย’
อุบายระงับความโกรธ
[๒๒๗] ภิกษุทั้งหลาย วิธีพูดที่บุคคลอื่นจะใช้พูดกับเธอทั้งหลาย ๕ ประการนี้
คือ

๑. พูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
๒. พูดเรื่องที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริง
๓. พูดคำที่อ่อนหวานหรือหยาบคาย
๔. พูดคำที่มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์
๕. มีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด

บุคคลอื่นเมื่อพูด จะพึงพูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะพึงพูด
เรื่องที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ตาม จะพึงพูดคำที่อ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม
จะพึงพูดคำที่มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์ก็ตาม จะพึงมีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด
ก็ตาม ในข้อนั้น เธอทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน
เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มี
เมตตาจิต ไม่มีโทสะ เราจักแผ่เมตตาจิตไปให้บุคคลนั้นอยู่ และเราจักแผ่เมตตาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๒ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนไปยังสัตว์โลก
ทุกหมู่เหล่าอันเป็นอารมณ์ของเมตตาจิตนั้นอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรสำเหนียกด้วยอาการดังกล่าวมานี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๒๓ (สัพพาสวสูตร) หน้า ๒๓ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๘ (อากังเขยยสูตร) หน้า ๖๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

ทำใจให้หนักแน่นเหมือนแผ่นดิน
[๒๒๘] ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาจอบและตะกร้ามาแล้วพูด
อย่างนี้ว่า ‘เราจักทำแผ่นดินใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดิน’ เขาขุดลงตรงที่นั้น ๆ โกย
เศษดินทิ้งลงไปในที่นั้น ๆ บ้วนน้ำลายลงในที่นั้น ๆ ถ่ายปัสสาวะรดลงในที่นั้น ๆ
แล้วพูดสำทับว่า ‘เอ็งอย่าเป็นแผ่นดิน เอ็งอย่าเป็นแผ่นดิน’ เธอทั้งหลายเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นพึงทำแผ่นดินใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดินได้หรือไม่”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแผ่นดินใหญ่นี้ลึกหาประมาณมิได้ เขาจะทำ
แผ่นดินใหญ่นั้นไม่ให้เป็นแผ่นดินไม่ได้ง่าย บุรุษนั้นจะต้องได้รับความเหน็ดเหนื่อย
และความลำบากใจเป็นแน่แท้”
“ภิกษุทั้งหลาย วิธีพูดที่บุคคลอื่นจะใช้พูดกับเธอทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีอยู่ ๕ ประการนี้ คือ

๑. พูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
๒. พูดเรื่องที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริง
๓. พูดคำที่อ่อนหวานหรือหยาบคาย
๔. พูดคำที่มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์
๕. มีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด

บุคคลอื่นเมื่อพูด จะพึงพูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะพึงพูด
เรื่องที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ตาม จะพึงพูดคำที่อ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม
จะพึงพูดคำที่มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์ก็ตาม จะพึงมีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด
ก็ตาม ในข้อนั้น เธอทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน
เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มี
เมตตาจิต ไม่มีโทสะ เราจักแผ่เมตตาจิตไปให้บุคคลนั้นอยู่ และเราจักแผ่เมตตาจิต
อันไพบูลย์ เสมอด้วยแผ่นดิน เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียน ไปยังสัตว์โลกทุกหมู่เหล่าอันเป็นอารมณ์ของเมตตาจิตนั้นอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรสำเหนียกด้วยอาการดังกล่าวมานี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

ทำใจให้ว่างเหมือนอากาศ
[๒๒๙] ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาครั่งสีเหลือง สีเขียว หรือ
สีแดงเลือดนกมาแล้วพูดอย่างนี้ว่า ‘เราจักเขียนรูปในอากาศนี้ ทำให้เป็นรูปปรากฏ’
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะเขียนรูปในอากาศนี้ ทำให้เป็น
รูปปรากฏได้หรือไม่”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอากาศนี้ไม่มีรูปร่าง ชี้ให้เห็นไม่ได้ เขาจะ
เขียนรูปในอากาศนั้น ทำให้เป็นรูปปรากฏไม่ได้ง่ายเลย บุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อย
ลำบากใจเสียเปล่าเป็นแน่”
“ภิกษุทั้งหลาย วิธีพูดที่บุคคลอื่นจะใช้พูดกับเธอทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีอยู่ ๕ ประการนี้ คือ
๑. พูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
ฯลฯ
๕. มีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด
ฯลฯ และเราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ เสมอด้วยอากาศ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไปยังสัตว์โลกทุกหมู่เหล่าอันเป็น
อารมณ์ของเมตตาจิตนั้นอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรสำเหนียกด้วยอาการดังกล่าวมานี้
ทำใจให้เย็นเหมือนแม่น้ำ
[๒๓๐] ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถือคบหญ้าที่ลุกโพลงมาแล้วพูด
อย่างนี้ว่า ‘เราจักเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด เดือดเป็นควันพุ่งด้วยคบหญ้าที่ลุกโพลง
แล้วนี้’ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อน
จัด เดือดเป็นควันพุ่งด้วยคบหญ้าที่ลุกโพลงแล้วได้หรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำที่ลึกสุดประมาณ เขาจะ
ทำแม่น้ำคงคานั้นให้ร้อนจัด เดือดเป็นควันพุ่งด้วยคบหญ้าที่ลุกโพลงแล้วไม่ได้ง่ายเลย
บุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากใจเสียเปล่าเป็นแน่”
“ภิกษุทั้งหลาย วิธีพูดที่บุคคลอื่นจะใช้พูดกับเธอทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีอยู่ ๕ ประการนี้ คือ
๑. พูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
ฯลฯ
๕. มีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด
ฯลฯ และเราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ เสมอด้วยแม่น้ำ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนไปยังสัตว์โลกทุกหมู่เหล่าอันเป็นอารมณ์ของ
เมตตาจิตนั้นอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรสำเหนียกด้วยอาการดังกล่าวมานี้
ทำใจให้อ่อนโยนเหมือนกระสอบหนังแมว
[๒๓๑] ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกระสอบหนังแมวที่ฟอกแล้ว ฟอก
สะอาดแล้ว ฟอกเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่น ตีไม่มีเสียง ตีไม่ดัง ถ้ามีบุรุษ
ถือเอาไม้หรือกระเบื้องมาแล้วพูดอย่างนี้ว่า ‘เราจักทำกระสอบหนังแมวนี้ที่ฟอกแล้ว
ฟอกสะอาดแล้ว ฟอกเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่น ตีไม่มีเสียง ตีไม่ดัง ให้มี
เสียงดังก้องด้วยไม้หรือกระเบื้อง’ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้น
จะทำกระสอบหนังแมวนี้ที่ฟอกแล้ว ฟอกสะอาดแล้ว ฟอกเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่ม
ดังปุยนุ่น ตีไม่มีเสียง ตีไม่ดัง ให้กลับมีเสียงดังก้องขึ้นด้วยไม้หรือกระเบื้องได้
หรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะกระสอบหนังแมวนี้ที่เขาฟอกแล้ว ฟอกสะอาด
แล้ว ฟอกเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่น ตีไม่มีเสียง ตีไม่ดัง เขาจะทำกระสอบ
หนังแมวนั้นให้กลับมีเสียงดังก้องขึ้นด้วยไม้หรือกระเบื้องไม่ได้ง่ายเลย บุรุษนั้นจะ
ต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากใจเสียเปล่าเป็นแน่”
“ภิกษุทั้งหลาย วิธีพูดที่บุคคลอื่นจะใช้พูดกับพวกเธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีอยู่ ๕ ประการนี้ คือ

๑. พูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
๒. พูดเรื่องที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริง
๓. พูดคำที่อ่อนหวานหรือหยาบคาย
๔. พูดคำที่มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์
๕. มีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด

บุคคลอื่นเมื่อพูด จะพึงพูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะพึงพูด
เรื่องที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ตาม จะพึงพูดคำที่อ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม
จะพึงพูดคำที่มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์ก็ตาม จะพึงมีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด
ก็ตาม ในข้อนั้น เธอทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน
เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มี
เมตตาจิต ไม่มีโทสะ เราจักแผ่เมตตาจิตไปให้บุคคลนั้นอยู่ และเราจักแผ่เมตตาจิต
อันไพบูลย์ เสมอด้วยกระสอบหนังแมว เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่
มีความเบียดเบียนไปยังสัตว์โลกทุกหมู่เหล่าอันเป็นอารมณ์ของเมตตาจิตนั้นอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรสำเหนียกด้วยอาการดังกล่าวมานี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

โอวาทอุปมาด้วยเลื่อย
[๒๓๒] ภิกษุทั้งหลาย หากพวกโจรผู้ประพฤติต่ำทราม จะพึงใช้เลื่อยที่มี
ที่จับ ๒ ข้างเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ ผู้มีใจคิดร้ายแม้ในพวกโจรนั้น ก็ไม่ชื่อว่าทำ
ตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น แม้ในข้อนั้น เธอทั้งหลาย
ควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และ
จักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะ เราจักแผ่เมตตาจิต
ไปให้บุคคลนั้นอยู่ และเราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนไปยังสัตว์โลกทุกหมู่เหล่าอันเป็นอารมณ์ของเมตตาจิต
นั้นอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรสำเหนียกด้วยอาการดังกล่าวมานี้
[๒๓๓] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรมนสิการถึงโอวาทซึ่งมีอุปมาด้วยเลื่อย
นี้เนือง ๆ เถิด เธอทั้งหลายเห็นวิธีพูดที่มีโทษน้อยหรือมีโทษมาก ที่เธอทั้งหลาย
อดกลั้นไม่ได้หรือไม่”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงมนสิการ
ถึงโอวาทซึ่งมีอุปมาด้วยเลื่อยนี้เนือง ๆ เถิด ข้อนั้นจักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขแก่
เธอทั้งหลายสิ้นกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ-
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
กกจูปมสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

๒. อลคัททูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยอสรพิษ
[๒๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
๑สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นแก่ภิกษุชื่ออริฏฐะ
ผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง๒ว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย๓
ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”๔
ภิกษุหลายรูปได้ทราบข่าวว่า “ทิฏฐิชั่วเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่อริฏฐภิกษุผู้มี
บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย ก็หา

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๕๒๕-๕๒๘, วิ.จู. (แปล) ๖/๖๕/๑๓๑
๒ คทฺธาธิปุพฺโพ ผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง อรรถกถาอธิบายว่า คทฺเธ พาธยึสูติ คทฺธพาธิโน,
คทฺธพาธิโน ปุพฺพปุริสา อสฺสาติ คทฺธพาธิปุพฺโพ. ... คิชฺฌฆาฏกกุลปฺปสูตสฺส (พรานฆ่านกแร้งเป็นบรรพบุรุษ
ของเขา เหตุนั้น เขาจึงชื่อว่าเป็นผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง) หมายความว่า เป็นคนเกิดในตระกูล
พรานฆ่านกแร้ง (วิ.อ. ๒/๔๑๗/๔๑๘)
๓ ธรรมก่ออันตราย หมายถึงธรรมก่ออันตราย ๕ อย่าง คือ (๑) กรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ (๒) กิเลส
ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ (๓) วิบาก ได้แก่ การเกิดเป็นบัณเฑาะก์ สัตว์ดิรัจฉาน และสัตว์ ๒ เพศ
(๔)อริยุปวาท ได้แก่ การว่าร้ายพระอริยเจ้า (๕) อาณาวีติกกมะ ได้แก่ อาบัติ ๗ กองที่ภิกษุจงใจล่วงละเมิด
(ม.มู.อ. ๒/๒๓๔/๙)
๔ พระอริฏฐะ รูปนี้เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก รู้แต่อันตรายิกธรรมบางส่วน แต่ไม่รู้เรื่องอันตรายิกธรรมแห่ง
การล่วงละเมิดพระวินัยบัญญัติ เพราะเหตุที่ท่านไม่ฉลาดเรื่องวินัย ดังนั้น ท่านจึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า
“พวกคฤหัสถ์ที่ยุ่งเกี่ยวอยู่กับกามคุณ ที่เป็นโสดาบันก็มี เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี แม้พวก
ภิกษุก็ยังเห็นรูปที่น่าชอบใจที่จะพึงรู้ด้วยจักษุ ฯลฯ ยังถูกต้องสิ่งสัมผัสที่จะพึงรู้ด้วยกาย ยังใช้สอยผ้าปู
ผ้าห่มอ่อนนุ่ม สิ่งนั้นทั้งหมดยังถือว่าควร เพราะเหตุไร รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสของหญิงจึงจะไม่ควร
สิ่งเหล่านั้นต้องควรแน่นอน” ครั้นเกิดทิฏฐิชั่วขึ้นมาแล้ว ก็โต้แย้งพระสัพพัญญุตญาณคัดค้านเวสารัชช-
ญาณใส่ตอและหนามในอริยมรรคว่า “ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติปฐมปาราชิกอย่างกวดขัน
ประดุจกั้นมหาสมุทร ในข้อนี้ไม่มีโทษ” ประหารอาณาจักรของพระชินเจ้าด้วยกล่าวว่า “เมถุนธรรม ไม่มี
โทษ” (วิ.อ. ๒/๔๑๗/๔๑๘-๔๑๙, ม.มู.อ. ๒/๒๓๔/๙-๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่” ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหา
อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกับอริฏฐภิกษุผู้มี
บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งดังนี้ว่า “ท่านอริฏฐะ ได้ทราบว่า ทิฏฐิชั่วเช่นนี้ได้
เกิดขึ้นแก่ท่านว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่า
ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่อ
อันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ จริงหรือ”
อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งกล่าวว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น
ท่านทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้
ซ่องเสพได้จริงไม่”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็น
พรานฆ่านกแร้งจากทิฏฐิชั่วนี้ จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนด้วยคำพูดว่า “ท่านอริฏฐะ
ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการ
ต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
‘กามทั้งหลาย๑มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๕๒๖-๕๒๗, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๗๖/๑๓๔, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓/๗-๘,
ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๔๗/๔๖๙-๔๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ขอยืมมา ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น๑ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่”
อริฏฐภิกษุถูกภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้ แต่ก็ยังกล่าว
ด้วยความยึดมั่นถือมั่นทิฏฐิชั่วนั้นอยู่อย่างนั้นว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น ท่าน
ทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตาม
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่อง
เสพได้จริงไม่”
อริฏฐภิกษุคัดค้านพระธรรม
[๒๓๕] เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็น
พรานฆ่านกแร้งจากทิฏฐิชั่วนั้นได้ จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นแก่อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็น
พรานฆ่านกแร้งว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่า
ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตราย
แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังว่า ‘ได้ยินว่า ทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิด

เชิงอรรถ :
๑ ผลไม้คาต้น หมายถึงกามทั้งหลาย เปรียบเหมือนผลไม้มีพิษ เพราะบั่นทอนร่างกาย [วิสรุกฺขผลูปมา
สพฺพงฺคปจฺจงฺคปลิภญฺชนฏฺเ�น] (ม.มู.อ. ๒/๒๓๔/๑๐)
อีกนัยหนึ่ง คนที่ต้องการผลไม้ เที่ยวแสวงหาผลไม้ เมื่อพบต้นไม้ผลดกจึงปีนขึ้นไปเก็บกิน เก็บใส่ห่อ
อีกคนหนึ่งก็ต้องการผลไม้เช่นกัน เที่ยวแสวงหา พบเห็นต้นไม้ผลดกต้นเดียวกันนั้น แต่แทนที่จะปีนขึ้นไป
เก็บผลไม้กิน กลับเอาขวานตัดต้นไม้ผลดกนั้นในขณะที่คนแรกยังอยู่บนต้นไม้ อันตรายจึงเกิดขึ้นแก่เขา
(ดู. ม.ม. (แปล) ๑๓/๔๘/๔๕-๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
ขึ้นแก่อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่อ
อันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’
ลำดับนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปหาอริฏฐภิกษุแล้วได้ถามท่านว่า ‘ท่าน
อริฏฐะ ได้ทราบว่า ทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นแก่ท่านว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่อ
อันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ เมื่อข้าพระองค์
ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ อริฏฐภิกษุได้พูดกับข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ‘เหมือนจะเป็น
อย่างนั้น ท่านทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่ง
ว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตราย
แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’
ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายปรารถนาจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษ
เป็นพรานฆ่านกแร้งจากทิฏฐิชั่วนั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนด้วยคำพูดว่า ‘ท่านอริฏฐะ
ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมทั้งหลายที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้
โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษ
ยิ่งใหญ่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษ เป็นพรานฆ่านกแร้งถูกข้าพระองค์ทั้งหลายซักไซ้ ไล่เลียง
สอบสวนอยู่แม้อย่างนี้ ก็ยังกล่าวด้วยความยึดมั่นถือมั่นทิฏฐิชั่วนั้นอยู่อย่างนั้นว่า
‘เหมือนจะเป็นอย่างนั้นท่านทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถ
ก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายไม่สามารถจะปลดเปลื้อง
อริฏฐภิกษุจากทิฏฐิชั่วได้ จึงกราบทูลเนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า”
โทษของทิฏฐิชั่ว
[๒๓๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า
“มาเถิด ภิกษุ เธอจงไปเรียกอริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งมา
ตามคำของเราว่า ‘ท่านอริฏฐะ พระศาสดาตรัสเรียกท่าน”
ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาอริฏฐภิกษุถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับท่านว่า
“ท่านอริฏฐะ พระศาสดาตรัสเรียกท่าน”
อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า
“อริฏฐะ ได้ยินว่า ทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นแก่เธอว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย
ก็หาสามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ จริงหรือ”
อริฏฐภิกษุกราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
ธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษ เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้
แก่ใคร เรากล่าวธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายโดยประการต่าง ๆ
มิใช่หรือ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
เรากล่าวว่า ‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ขอยืมมา ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่’
โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ถือไว้ผิด ชื่อว่า
ทำลายตนเองและชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความไม่
เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่า
นกแร้งนี้จะกระทำญาณให้สูงส่งในธรรมวินัยนี้ได้หรือไม่ได้”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความสูงส่งแห่งญาณไร ๆ
ที่จะพึงมีนั้นจักมีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้แล้ว อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่า
นกแร้งก็นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นอริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง
นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงได้ตรัสกับเธอว่า
“โมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิชั่วของตนเองนี้ เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลาย
ในที่นี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
[๒๓๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ เหมือนที่อริฏฐภิกษุ
ผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งนี้กล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลาย
ตนเองและชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า เพราะว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมทั้งหลายที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลายโดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนท่อนกระดูก มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ ฯลฯ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ชอบแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ที่เธอทั้งหลายรู้ทั่ว
ถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้เหมือนที่เรากล่าวแล้วว่า ธรรมทั้งหลายเป็นธรรมก่อ
อันตรายแก่เธอทั้งหลายโดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตราย
แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง เรากล่าวว่า ‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนท่อนกระดูก มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ ฯลฯ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่’
เออก็ อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งนี้กล่าวตู่เรา ด้วยทิฏฐิที่ยึด
ถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเอง และชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นจัก
เป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่อริฏฐโมฆบุรุษนั้นตลอดกาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่อริฏฐภิกษุนั้นจะเสพกามโดยปราศจากกาม
ปราศจากกามสัญญา และปราศจากกามวิตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

การเล่าเรียนธรรมของโมฆบุรุษ
[๒๓๘] ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม
และเวทัลละ๑ พวกเขาเล่าเรียนธรรมนั้นแล้วไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น
ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นจึงไม่ประจักษ์ชัดแก่พวกเขา ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วย
ปัญญา โมฆบุรุษเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมมุ่งจะข่มขู่ผู้อื่น และมุ่งจะเปลื้องตนจากคำ
นินทาว่าร้าย ย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรมนั้น เหมือนที่เหล่ากุลบุตรเล่าเรียน
ธรรมได้รับ ธรรมเหล่านั้นที่พวกเขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์
เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะพวกเขาเรียนธรรมทั้งหลายมาไม่ดี
บุรุษผู้ต้องการงูพิษ เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพบงูพิษตัวใหญ่จึงจับมันที่
ขนดหางหรือที่หาง งูพิษนั้นจะพึงแว้งกัดเขาที่มือ ที่แขน หรือที่อวัยวะน้อยใหญ่
แห่งใดแห่งหนึ่ง เพราะการถูกกัดนั้นเขาก็จะตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย

เชิงอรรถ :
๑สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร มงคลสูตร รตนสูตร นาฬกสูตร ตุวัฏฏกสูตร ในสุตตนิบาต
และพุทธวจนะอื่น ๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ
เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะสคาถวรรคในสังยุตตนิกาย
เวยยากรณะ ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธพจน์อื่นที่ไม่
จัดเข้าในองค์ ๘ ที่เหลือ
คาถา ได้แก่ ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร
อุทาน ได้แก่ พระสูตร ๘๒ สูตรที่เกี่ยวด้วยคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระหฤทัยสหรคตด้วยโสมนัสญาณ
อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่ตรัสโดยนัยว่า วุตฺตมิทํ ภควตา เป็นต้น
ชาตกะ ได้แก่ ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น
อัพภูตธรรม ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ทั้งหมด ที่ตรัสโดยนัยว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ข้ออัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ อย่างนี้ หาได้ในอานนท์” ดังนี้เป็นต้น
เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถาม-ตอบ ซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้ และความพอใจ เช่น จูฬเวทัลลสูตร
มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร และมหาปุณณมสูตร (ม.มู.อ.
๒/๒๓๘/๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเขาจับงูพิษไม่ดี แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เล่าเรียน
ธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูต-
ธรรม และเวทัลละ พวกเขาเล่าเรียนธรรมนั้นแล้วไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรม
เหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นจึงไม่ประจักษ์ชัดแก่พวกเขาผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อ
ความด้วยปัญญา โมฆบุรุษเหล่านั้นเล่าเรียนธรรม มุ่งจะข่มขู่ผู้อื่น และมุ่งจะ
เปลื้องตนจากคำนินทาว่าร้าย ย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรมนั้น เหมือนที่เหล่า
กุลบุตรเล่าเรียนธรรมได้รับ ธรรมเหล่านั้นที่พวกเขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่ง
มิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะพวกเขาเรียนธรรมทั้งหลายมาไม่ดี
การเล่าเรียนธรรมของกุลบุตร
[๒๓๙] ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม๑
คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม
และเวทัลละ พวกเขาเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น
ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นจึงประจักษ์ชัด๒แก่พวกเขาผู้ไตร่ตรองเนื้อความด้วย

เชิงอรรถ :
๑ เล่าเรียนธรรม ในที่นี้หมายถึงเล่าเรียนนิตถรณปริยัติ แท้จริงปริยัติมี ๓ นัย คือ (๑) อลคัททูปริยัตติ
การเล่าเรียนเปรียบด้วยงูพิษ ได้แก่การเล่าเรียนมุ่งลาภสักการะด้วยคิดว่า ‘เราเล่าเรียนแล้วจักได้จีวร
หรือคนอื่นจะรู้จักเราในท่ามกลางบริษัท ๔’ (๒) นิตถรณปริยัตติ การเล่าเรียนมุ่งประโยชน์คือการออกจากวัฏฏะ
ได้แก่การเล่าเรียนด้วยตั้งใจว่า ‘เราเล่าเรียนพุทธพจน์แล้วจักบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ให้ได้สมาธิ เริ่มเจริญ
วิปัสสนาแล้ว จักอบรมมรรค จักทำผลให้แจ้ง’ (๓) ภัณฑาคาริกปริยัตติ การเล่าเรียนประดุจขุนคลัง ได้แก่
การเล่าเรียนของพระขีณาสพ เพราะท่านกำหนดรู้ขันธ์แล้วละกิเลสได้แล้ว อบรมมรรค ทำให้แจ้งผลแล้ว
เมื่อเล่าเรียนพุทธพจน์ เป็นผู้ทรงแบบแผน รักษาประเพณี ตามรักษาอริยวงศ์ ดังนั้นในที่นี้จึงหมายเอานัย
ที่ ๒ (ม.มู.อ. ๒/๒๓๙/๑๔)
๒ ประจักษ์ชัด (นิชฺฌานํ ขมนฺติ) หมายถึงมาปรากฏว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสศีลในสูตรนี้ ตรัสสมาธิ, วิปัสสนา,
มรรค, ผล, วัฏฏะ และวิวัฏฏะไว้ในสูตรนี้ ๆ’ ในอาคตสถานแห่งศีล เป็นต้น (ม.มู.อ. ๒/๒๓๙/๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
ปัญญา กุลบุตรเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมมิใช่มุ่งจะข่มขู่ผู้อื่น และมิใช่มุ่งจะเปลื้องตน
จากคำนินทาว่าร้าย ย่อมได้รับประโยชน์แห่งธรรมนั้น เหมือนที่เหล่ากุลบุตร
เล่าเรียนธรรมได้รับ ธรรมเหล่านั้นที่พวกเขาเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะพวกเขาเรียนธรรมทั้งหลายมาดีแล้ว
บุรุษผู้ต้องการงูพิษ เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพบงูพิษตัวใหญ่ จะพึงใช้ไม้
มีง่ามเหมือนขาแพะกดไว้แน่น ครั้นแล้วจึงจับที่คออย่างมั่นคง ถึงแม้งูพิษนั้นจะพึง
รัดมือ แขน หรือที่อวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้นด้วยขนดก็จริง ถึง
อย่างนั้น เพราะการรัดนั้น เขาก็ไม่ตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเขาจับงูพิษไว้มั่นแล้ว แม้ฉันใด กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ พวกเขาเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้น
แล้วไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นจึงประจักษ์ชัด
แก่พวกเขา ผู้ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมมิใช่
มุ่งจะข่มขู่ผู้อื่น และมิใช่มุ่งจะเปลื้องตนจากคำนินทาว่าร้าย ย่อมได้รับประโยชน์
แห่งธรรมนั้น เหมือนที่เหล่ากุลบุตรเล่าเรียนธรรมได้รับ ธรรมเหล่านั้นที่พวกเขา
เรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะพวกเขาเรียนธรรมทั้งหลายมาดีแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจะพึงรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตใด
ของเรา ควรทรงจำภาษิตนั้นไว้อย่างนั้นเถิด เธอทั้งหลาย(หาก)จะไม่พึงรู้ชัดเนื้อ
ความแห่งภาษิตใดของเรา ก็ควรสอบถามเรา หรือถามภิกษุผู้ฉลาดในภาษิตนั้นเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

ธรรมอุปมาด้วยแพ
[๒๔๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมซึ่งอุปมาด้วยแพแก่เธอทั้งหลาย
เพื่อการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อการยึดถือแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล พบห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งนี้น่า
ระแวง มีภัยเฉพาะหน้า ฝั่งโน้นเกษม ไม่มีภัยเฉพาะหน้า เรือหรือสะพานสำหรับ
ข้ามเพื่อจะไปฝั่งโน้นไม่มี เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่า ‘ห้วงน้ำนี้ใหญ่นัก ฝั่งนี้น่าระแวง
มีภัยเฉพาะหน้า ฝั่งโน้นเกษม ไม่มีภัยเฉพาะหน้า เรือหรือสะพานสำหรับข้ามไป
ฝั่งโน้นไม่มี ทางที่ดี เราควรรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ
แล้วอาศัยแพนั้นใช้มือและเท้าพุ้ยน้ำก็จะข้ามฝั่งได้โดยสวัสดี’ ต่อมา เขารวบรวม
หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้นใช้มือและเท้าพุ้ยน้ำข้าม
ฝั่งได้โดยสวัสดี เขาข้ามฝั่งได้แล้ว จะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘แพนี้มีประโยชน์แก่
เรามากนัก เราอาศัยแพนี้ใช้มือและเท้าพุ้ยน้ำข้ามฝั่งได้โดยสวัสดี ทางที่ดี เรา
ควรยกแพนี้ขึ้นเทินศีรษะ หรือยกขึ้นบ่าแบกไปตามความปรารถนา’ เธอทั้งหลาย
เข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่าทำหน้าที่ในแพนั้น
ถูกต้องหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้อนั้นชื่อว่าทำไม่ถูกต้อง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าทำ
หน้าที่ในแพนั้นถูกต้อง ในข้อนี้ บุรุษนั้นข้ามฝั่งแล้วจะพึงคิดอย่างนี้ว่า ‘แพนี้มี
ประโยชน์แก่เรามากนัก เราอาศัยแพนี้ใช้มือและเท้าพุ้ยน้ำข้ามฝั่งได้โดยสวัสดี ทางที่ดี
เราควรยกแพนี้ขึ้นวางไว้บนบก หรือให้ลอยอยู่ในน้ำ’ แล้วไปตามความปรารถนา
บุรุษนั้นผู้กระทำอย่างนี้ จึงจะชื่อว่าทำหน้าที่ในแพนั้นถูกต้อง แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน แสดงธรรมมีอุปมาด้วยแพเพื่อ
ต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการจะยึดถือแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึง
ธรรมซึ่งเปรียบดุจแพที่เราแสดงแล้ว ควรละแม้ธรรมทั้งหลาย๑ ไม่จำเป็นต้อง
กล่าวถึงอธรรมเลย
ความเห็นของปุถุชนและอริยสาวก
[๒๔๑] ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิฏฐาน๒ ๖ ประการนี้
ทิฏฐิฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง
คือ ปุถุชน๓ในโลกนี้ผู้ยังไม่ได้สดับ ไม่ได้พบพระอริยะ๔ทั้งหลาย ไม่ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่พบสัตบุรุษทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

๑. จึงพิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา๕’
๒. จึงพิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา’
๓. จึงพิจารณาเห็นสัญญาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา’
๔. จึงพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา’
๕. จึงพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว อารมณ์ที่ทราบแล้ว
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วย
ใจว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงสมถะและวิปัสสนา (ม.มู.อ. ๒/๒๔๐/๑๖)
๒ ทิฏฐิฏฐาน เป็นชื่อของทิฏฐิ เพราะเป็นเหตุแห่งสักกายทิฏฐิที่ยิ่งกว่าทิฏฐิเกิดขึ้นก่อน และเป็นเหตุแห่ง
สัสสตทิฏฐิบ้าง เป็นชื่อของอารมณ์ คือ ขันธ์ ๕ และรูปารมณ์เป็นต้นบ้าง เป็นชื่อของปัจจัย คือ อวิชชา
ผัสสะ สัญญา เป็นต้นบ้าง (ม.มู.อ. ๒/๒๔๑/๑๖, ม.มู.ฏีกา ๒/๒๔๑/๑๑๐)
๓-๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๒ ข้อ ๒ (มูลปริยายสูตร) หน้า ๒ ในเล่มนี้
๕ การเห็นว่า “นั่นของเรา” เป็นอาการของตัณหา, การเห็นว่า “เราเป็นนั่น” เป็นอาการของมานะ, การเห็นว่า
“นั่นเป็นอัตตาของเรา” เป็นอาการของทิฏฐิ (ม.มู.อ. ๒/๑๔๑/๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
๖. จึงพิจารณาเห็นทิฏฐิฏฐานที่เป็นไปว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้น
ตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา
จักดำรง อยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้นแลว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้พบพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ พบสัตบุรุษทั้งหลาย
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ

๑. จึงพิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
๒. จึงพิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
๓. จึงพิจารณาเห็นสัญญาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
๔. จึงพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
๕. จึงพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว อารมณ์ที่ทราบแล้ว
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วย
ใจว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
๖. จึงพิจารณาทิฏฐิฏฐานที่เป็นไปว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้นตายแล้ว
จักเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา จักดำรงอยู่
เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้นแล’ ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่สะดุ้งในเมื่อไม่มีเหตุน่าสะดุ้ง๑ คือ
ภัยและตัณหา”

เชิงอรรถ :
๑ เหตุน่าสะดุ้ง ในที่นี้หมายถึงภัยและตัณหา (ม.มู.อ. ๒/๒๔๑/๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

ความสะดุ้งและความไม่สะดุ้ง
[๒๔๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้
มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อไม่มีสิ่งภายนอก ความสะดุ้งจะพึงมีได้
หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พึงมีได้ ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราเคยมีสิ่งใด บัดนี้เราไม่มีสิ่งนั้น เราควรมีสิ่งใด เราก็ไม่ได้สิ่งนั้น’
บุคคลนั้นย่อมเศร้าโศก ละเหี่ยใจ พิไรรำพัน ร้องไห้สะอึกสะอื้น ถึงความมืดมน
เมื่อไม่มีสิ่งภายนอก ความสะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้”
“เมื่อไม่มีสิ่งภายนอก ความไม่สะดุ้งจะพึงมีได้หรือ พระพุทธเจ้าข้า”
“พึงมีได้ ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเคยมีสิ่งใด
บัดนี้เราไม่มีสิ่งนั้น เราควรมีสิ่งใด เราก็ไม่ได้สิ่งนั้น’ บุคคลนั้นย่อมไม่เศร้าโศก
ไม่ละเหี่ยใจ ไม่พิไรรำพัน ไม่ร้องไห้สะอึกสะอื้น ไม่ถึงความมืดมน เมื่อไม่มีสิ่ง
ภายนอก ความไม่สะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้”
“เมื่อไม่มีสิ่งภายใน ความสะดุ้งจะพึงมีได้หรือ พระพุทธเจ้าข้า”
“พึงมีได้ ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา
เรานั้นตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา จักดำรง
อยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้น’ ย่อมได้ยินตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรม
เพื่อถอนทิฏฐิ ทิฏฐิฏฐาน ความตั้งมั่นแห่งทิฏฐิ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ความยึดมั่น
และอนุสัยกิเลสทั้งปวง เพื่อระงับสังขารทั้งปวง เพื่อสลัดทิ้งอุปธิทั้งปวง เพื่อความ
สิ้นตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับสนิท และเพื่อนิพพาน เขามี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักขาดสูญแน่แท้ จักพินาศแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้’ บุคคล
นั้นย่อมเศร้าโศก ละเหี่ยใจ พิไรรำพัน ร้องไห้สะอึกสะอื้น ถึงความมืดมน เมื่อ
ไม่มีสิ่งภายใน ความสะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้”
ภิกษุนั้นทูลถามว่า “เมื่อไม่มีสิ่งภายใน ความไม่สะดุ้งจะพึงมีได้หรือ
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พึงมีได้ ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่มี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้นตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่
ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา จักดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้น’ ย่อมได้ยิน
ตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรม เพื่อถอนทิฏฐิ ทิฏฐิฏฐาน ความตั้งมั่น
แห่งทิฏฐิ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ความยึดมั่น และอนุสัยกิเลสทั้งปวง เพื่อระงับ
สังขารทั้งปวง เพื่อสลัดทิ้งอุปธิทั้งปวง เพื่อความสิ้นตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด
เพื่อความดับสนิท และเพื่อนิพพาน เขาไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักขาดสูญ
แน่แท้ จักพินาศแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้’ บุคคลนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ละเหี่ยใจ
ไม่พิไรรำพัน ไม่ร้องไห้สะอึกสะอื้น ไม่ถึงความมืดมน เมื่อไม่มีสิ่งภายใน ความไม่
สะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
[๒๔๓] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะพึงหวงแหนสิ่งที่ควรหวงแหนซึ่งเป็น
ของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา พึงดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่
อย่างนั้น เธอทั้งหลายเห็นสิ่งที่ควรหวงแหนซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มี
ความแปรผันเป็นธรรมดา พึงดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้นหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เห็นอย่างนั้นเลย
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ เราก็ยังไม่พิจารณาเห็นสิ่งที่ควรหวงแหนซึ่ง
เป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา พึงดำรงอยู่เทียบเท่า
สิ่งคงที่อย่างนั้น
เธอทั้งหลายจะพึงเข้าไปยึดถืออัตตวาทุปาทาน๑ซึ่งเมื่อบุคคลยึดมั่นอยู่ โสกะ
(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส
(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) จะไม่พึงเกิดขึ้น เธอทั้งหลายเห็น
อัตตวาทุปาทานซึ่งเมื่อบุคคลยึดมั่นอยู่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จะไม่พึงเกิดขึ้นหรือไม่”
“ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ อัตตวาทุปาทาน หมายถึงสักกายทิฏฐิ ๒๐ ประการ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๓/๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
“ดีละ ถึงเราก็ยังไม่พิจารณาเห็นอัตตวาทุปาทานซึ่งเมื่อบุคคลยึดมั่นอยู่ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะไม่พึงเกิดขึ้น
เธอทั้งหลายจะพึงอาศัยทิฏฐินิสสัย๑ซึ่งเมื่อบุคคลอาศัยอยู่ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะไม่พึงเกิดขึ้น เธอทั้งหลายเห็นทิฏฐินิสสัยซึ่งเมื่อ
บุคคลอาศัยอยู่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะไม่พึงเกิดขึ้นหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ดีละ แม้เราก็ยังไม่พิจารณาเห็น
ทิฏฐินิสสัยซึ่งเมื่อบุคคลอาศัยอยู่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จะไม่พึงเกิดขึ้น”
อนัตตลักษณะ
[๒๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัตตามีอยู่
ความยึดถือว่า ‘สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของเรา’ ก็จะพึงมีใช่ไหม”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เมื่อสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตามีอยู่ ความยึดถือว่า ‘อัตตาของเรา’ จะพึงมีใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เมื่อหาไม่พบอัตตาและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโดยความเป็นจริงโดยความแน่แท้
ทิฏฐิที่ว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้นตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มี
ความแปรผันเป็นธรรมดา จักดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้น’ นี้มิเป็นพาลธรรม
(ธรรมของคนโง่) สมบูรณ์แบบละหรือ”
“ทำไมจะไม่เป็นอย่างนั้น นั้นเป็นพาลธรรมสมบูรณ์แบบทีเดียว พระพุทธ-
เจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ ทิฏฐินิสสัย หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๓/๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
“เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
วิญญาณเที่ยง หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม เธอทั้งหลายควรเห็นรูปทั้งปวงตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม
เธอทั้งหลายควรเห็นวิญญาณทั้งปวงตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

การละสังโยชน์
[๒๔๕] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม
คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว๒ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป‘๓ ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถอนลิ่ม
ได้แล้วบ้าง เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้แล้วบ้าง เป็นผู้ถอนเสาระเนียดได้แล้วบ้าง
เป็นผู้ไม่มีบานประตูบ้าง เป็นผู้ประเสริฐ ลดธงคือมานะลงแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
ปราศจากสังโยชน์(กิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ)แล้วบ้าง
ภิกษุเป็นผู้ถอนลิ่มได้แล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอวิชชาได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ภิกษุเป็นผู้ถอนลิ่มได้แล้ว เป็นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้แล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละสังขารคือชาติ๔ ซึ่งก่อภพใหม่ได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้แล้ว เป็นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้ถอนเสาระเนียดได้แล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละตัณหาได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ภิกษุเป็นผู้ถอนเสาระเนียดได้แล้ว เป็นอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑-๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๓ ข้อ ๕๔ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๓ ในเล่มนี้
๔ สังขารคือชาติ หมายถึงกัมมาภิสังขาร อันเป็นปัจจัยแห่งขันธ์ที่เกิดในภพใหม่ เพราะเกิดและท่องเที่ยวไป
ในชาติต่าง ๆ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๕/๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
ภิกษุเป็นผู้ไม่มีบานประตู เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ๑ ได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่มีบานประตู เป็นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้ประเสริฐ ลดธงคือมานะลงแล้ว ปลงภาระได้แล้ว ปราศจาก
สังโยชน์แล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอัสมิมานะ(การถือตัว) ได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก
ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุเป็นผู้ประเสริฐ ลดธงคือมานะลงแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
ปราศจากสังโยชน์แล้ว เป็นอย่างนี้
การไม่ยึดถือ
[๒๔๖] ภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม และ
มารเสาะหาภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่พบว่า ‘วิญญาณของตถาคต๒
อาศัยสิ่งนี้’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวว่า ‘ในปัจจุบัน ใคร ๆ จะไม่พึง
พบตถาคต’ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวตู่เราผู้กล่าวอย่างนี้ ผู้บอกอย่างนี้ด้วย
คำเท็จซึ่งเลื่อนลอย ไม่มีจริง ไม่เป็นจริงว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัด ย่อมบัญญัติ

เชิงอรรถ :
๑ โอรัมภาคิยสังโยชน์ หมายถึงสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ [คือ (๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นอัตตา
(๒) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลและวัตร (๔) กามราคะ ความติดใจ
ในกามคุณ (๕) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ อันเป็นเหตุให้เกิดในกามภพ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๕/๒๒)
๒ คำว่า ตถาคต ในข้อนี้มีความหมาย ๒ นัย คือ นัยที่ ๑ ตถาคต ในคำว่า ‘วิญญาณของตถาคตอาศัยสิ่งนี้’
หมายถึงสัตว์ผู้สิ้นอาสวะ ทรงมุ่งใช้เพื่อตรัสเรียกแทนพระขีณาสพผู้ไม่มีปฏิสนธิปรินิพพานแล้ว นัยที่ ๒ ตถาคต
ในคำว่า ‘ถ้าบุคคลเหล่าอื่นด่าบริภาษ ... กระทบกระทั่งตถาคต ...’ หมายถึงพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ผู้สิ้นอาสวะ ทรงมุ่งใช้เพื่อตรัสเรียกแทนพระองค์เอง แต่เมื่อว่าโดยสภาวธรรมแล้ว ทั้ง ๒ นัย
นั้นมีความหมายเดียวกัน คือสภาวะที่สิ้นอาสวะ และปรินิพพาน จิตของผู้สิ้นอาสวะปรินิพพานแล้ว
เทวดา มาร พรหม ไม่สามารถจะค้นพบได้ ไม่สามารถจะรู้ได้ว่า ‘อาศัยอารมณ์อะไรเป็นไป’ (ม.มู.ฏีกา
๒/๒๔๖/๑๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
ความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีภพของสัตว์ผู้มีอยู่’ ถึงเราจะกล่าวหรือ
ไม่กล่าวก็ตาม สมณพราหมณ์เหล่านั้นก็ยังกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จซึ่งเลื่อนลอย
ไม่มีจริง ไม่เป็นจริงว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัด ย่อมบัญญัติความขาดสูญ
ความพินาศ ความไม่มีภพของสัตว์ผู้มีอยู่’ ทั้งในกาลก่อนและในกาลบัดนี้ เรา
บัญญัติทุกข์และความดับทุกข์ ถ้าบุคคลเหล่าอื่นด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด
เบียดเบียน และกระทบ กระทั่งตถาคตในเรื่องการประกาศสัจจะ ๔ ประการนั้น
ตถาคตก็ไม่มีความอาฆาต ไม่เสียใจ ไม่มีจิตคิดร้ายเพราะการด่าเป็นต้นนั้น
ถ้าบุคคลเหล่าอื่นสักการะ เคารพ นับถือ และบูชาตถาคตในเรื่องการประกาศ
สัจจะ ๔ ประการนั้น ตถาคตก็ไม่มีความยินดี ไม่เสียใจ ไม่มีความลำพองใจ
เพราะสักการะเป็นต้นนั้น
ถ้าบุคคลเหล่าอื่นสักการะ เคารพ นับถือ และบูชาตถาคตในเรื่องการประกาศ
สัจจะ ๔ ประการนั้น ตถาคตมีความดำริอย่างนี้เพราะสักการะเป็นต้นนั้นว่า ‘บุคคล
กระทำสักการะเห็นปานนี้ในขันธปัญจก(ขันธ์ ๕) ที่เรากำหนดรู้แล้วในกาลก่อน’
เพราะเหตุนั้น ถ้าบุคคลเหล่าอื่นจะพึงด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียน
และกระทบกระทั่งเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายก็ไม่ควรทำความอาฆาต ไม่ควรทำ
ความเสียใจ ไม่ควรทำจิตคิดร้ายเพราะการด่าเป็นต้นนั้น
เพราะเหตุนั้น ถ้าบุคคลเหล่าอื่นจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ และบูชาเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายก็ไม่ควรทำความยินดี ไม่ควรทำความดีใจ ไม่ควรทำความ
ลำพองใจเพราะสักการะเป็นต้นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลเหล่าอื่นจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ และบูชาเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรคิดอย่างนี้เพราะสักการะเป็นต้นนั้นว่า ‘บุคคลกระทำ
สักการะเห็นปานนี้ในขันธปัญจกที่เราทั้งหลายกำหนดรู้แล้วในกาลก่อน’
[๒๔๗] ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงละสิ่งนั้น สิ่งนั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข
สิ้นกาลนาน อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปนั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อ
ความสุขสิ้นกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร
เวทนาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละเวทนานั้น เวทนานั้นซึ่งเธอ
ทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
สัญญาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสัญญานั้น สัญญานั้นซึ่งเธอ
ทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
สังขารทั้งหลายไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสังขารเหล่านั้น สังขาร
เหล่านั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณนั้น
ซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ชนจะพึงนำหญ้า ไม้
กิ่งไม้ และใบไม้ในพระเชตวันนี้ไปเผาหรือกระทำตามความปรารถนา เธอทั้งหลาย
จะพึงคิดอย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า ‘ชนนำเราทั้งหลายไปเผาหรือกระทำตามความปรารถนา”
“ไม่เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะว่า นั่นไม่ใช่อัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของข้าพระองค์ทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าข้า”
“อย่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงละสิ่งนั้น สิ่งนั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้น
กาลนาน
อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูป
นั้น รูปนั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขารทั้งหลาย ฯลฯ
วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณนั้น
ซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

ลำดับพระอริยบุคคล
[๒๔๘] ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็นธรรมง่าย
เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว๑ ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มี
วัฏฏะเพื่อจะบัญญัติต่อไป ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็นธรรมง่าย
เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว ภิกษุเหล่าใดละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
ได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโอปปาติกะ๒ ปรินิพพานในพรหมโลกนั้น ไม่ต้อง
กลับมาจากโลกนั้นอีก ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็นธรรมง่าย เปิดเผย
ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสังโยชน์ ๓ ประการได้แล้ว มีราคะ
โทสะ และโมหะเบาบาง ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราว
เดียวเท่านั้น จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็น
ธรรมง่าย เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสังโยชน์ ๓ ประการ
ได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็นธรรมง่าย เปิดเผย
ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว ภิกษุเหล่าใดเป็นธัมมานุสารี๓ สัทธานุสารี๔ ภิกษุ
เหล่านั้นทั้งหมดจะตรัสรู้ในภายหน้า ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็น

เชิงอรรถ :
๑ แปลตามนัยอรรถกถา ม.มู.อ. ๒/๒๔๘/๒๖
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๖๗ (อากังเขยยสูตร) หน้า ๕๙ ในเล่มนี้
๓ ธัมมานุสารี ในที่นี้หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า
บรรลุผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๘/๒๖, องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)
๔ สัทธานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามศรัทธา ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้า บรรลุผล
แล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต (ม.มู.อ. ๒/๒๔๘/๒๖-๗, องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕,องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๓. วัมมิกสูตร
ธรรมง่าย เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว บุคคลเหล่าใดมีเพียงความเชื่อและ
ความรักในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดจะได้ไปสวรรค์ในภายหน้า”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อลคัททูปมสูตรที่ ๒ จบ

๓. วัมมิกสูตร
ว่าด้วยจอมปลวกปริศนา
[๒๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระกุมารกัสสปะพักอยู่ที่ป่าอันธวัน
ครั้งนั้น เมื่อราตรี๑ผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนักได้เปล่งรัศมี
ให้สว่างทั่วป่าอันธวัน เข้าไปหาท่านพระกุมารกัสสปะถึงที่อยู่ แล้วได้ยืนอยู่ ณ
ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระกุมารกัสสปะว่า
“พระคุณเจ้า จอมปลวกนี้ย่อมพ่นควันในเวลากลางคืน ย่อมลุกโพลงในเวลา
กลางวัน พราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงนำศัสตราไปขุดดู’
สุเมธใช้ศัสตราไปขุดก็ได้เห็นลิ่มสลัก จึงกล่าวว่า ‘ลิ่มสลัก ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกลิ่มสลักขึ้นแล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดลงไปก็ได้เห็นอึ่ง จึงกล่าวว่า ‘อึ่ง ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงนำอึ่งขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’

เชิงอรรถ :
๑ ราตรี ในที่นี้หมายถึงปฐมยาม ความนี้มีความหมายว่า เมื่อสิ้นปฐมยามกำลังอยู่ในช่วงมัชฌิมยาม เทวดา
ก็ปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๓. วัมมิกสูตร
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นทางสองแพร่ง จึงกล่าวว่า ‘ทางสองแพร่ง ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงถากทางสองแพร่งออกเสีย แล้วใช้
ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นหม้อกรองน้ำด่าง จึงกล่าวว่า ‘หม้อกรองน้ำด่าง
ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกหม้อกรองน้ำด่างขึ้นมา แล้วใช้
ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นเต่า จึงกล่าวว่า ‘เต่า ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงนำเต่าขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นเขียงหั่นเนื้อ จึงกล่าวว่า ‘เขียงหั่นเนื้อ ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกเขียงหั่นเนื้อขึ้นมา แล้วใช้ศัสตรา
ขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นชิ้นเนื้อ จึงกล่าวว่า ‘ชิ้นเนื้อ ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงหยิบชิ้นเนื้อขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุด
ต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นนาค จึงกล่าวว่า ‘นาค ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นาคจงดำรงอยู่เถิด เธออย่าเบียดเบียนนาคเลย
จงทำความนอบน้อมนาค’
พระคุณเจ้า ท่านควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อนี้
ท่านควรทรงจำคำเฉลยปัญหาเหล่านั้นตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเถิด ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์ ยกเว้นพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต หรือบุคคลผู้ฟังจากสำนัก
(ของข้าพเจ้า) นี้เสียแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่เห็นบุคคลผู้จะทำจิต(ของข้าพเจ้า) ให้ยินดี
ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ได้”
เทวดานั้นได้กล่าวคำนี้แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๓. วัมมิกสูตร

พระกุมารกัสสปะทูลถามปริศนาธรรม
[๒๕๐] ครั้นคืนนั้นผ่านไป ท่านพระกุมารกัสสปะก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วป่าอันธวัน เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ยืน ณ
ที่สมควรแล้วได้กล่าวกับข้าพระองค์ว่า
‘พระคุณเจ้า จอมปลวกนี้พ่นควันในเวลากลางคืน ลุกโพลงในเวลากลางวัน
พราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงนำศัสตราไปขุดดู’
สุเมธใช้ศัสตราขุดลงไปได้เห็นลิ่มสลัก จึงกล่าวว่า ‘ลิ่มสลัก ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกลิ่มสลักขึ้นแล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปก็ได้เห็นอึ่ง จึงกล่าวว่า ‘อึ่ง ขอรับ’ ฯลฯ ได้เห็นนาค
จึงกล่าวว่า ‘นาค ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นาคจงดำรงอยู่เถิด เธออย่าเบียดเบียนนาคเลย
จงทำความนอบน้อมนาค’
พระคุณเจ้า ท่านควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อนี้
ท่านควรทรงจำคำเฉลยปัญหาเหล่านั้นตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเถิด ในโลก
พร้อมทั้งเทวดาโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์ ยกเว้นพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต หรือบุคคลผู้ฟังจากสำนัก
(ของข้าพเจ้า)นี้เสียแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่เห็นบุคคลผู้จะทำจิต(ของข้าพเจ้า)ให้ยินดีด้วย
การตอบปัญหาเหล่านี้’
เทวดานั้นได้กล่าวคำนี้แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑. อะไรหนอ ชื่อว่าจอมปลวก
๒. อย่างไร ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๓. วัมมิกสูตร
๓. อย่างไร ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน
๔. ใคร ชื่อว่าพราหมณ์
๕. ใคร ชื่อว่าสุเมธ
๖. อะไร ชื่อว่าศัสตรา
๗. อย่างไร ชื่อว่าการขุด
๘. อะไร ชื่อว่าลิ่มสลัก
๙. อะไร ชื่อว่าอึ่ง
๑๐. อะไร ชื่อว่าทางสองแพร่ง
๑๑. อะไร ชื่อว่าหม้อกรองน้ำด่าง
๑๒. อะไร ชื่อว่าเต่า
๑๓. อะไร ชื่อว่าเขียงหั่นเนื้อ
๑๔. อะไร ชื่อว่าชิ้นเนื้อ
๑๕. อะไร ชื่อว่านาค”
พระผู้มีพระภาคทรงเฉลยปริศนาธรรม
[๒๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ
๑. คำว่า จอมปลวก นั้น เป็นชื่อของร่างกายนี้ ซึ่งประกอบด้วย
มหาภูตรูปทั้ง ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เติบโตด้วยข้าวสุก
และขนมกุมมาส ไม่เที่ยง ต้องบริหาร ต้องนวดฟั้น จะต้องแตก
สลาย และกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา
๒. คำว่า อย่างไร ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน นั้น ได้แก่
การที่บุคคลทำการงานในเวลากลางวัน แล้วตรึกตรองถึงในเวลา
กลางคืน นี้ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๓. วัมมิกสูตร
๓. คำว่า อย่างไร ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน นั้น ได้แก่
การที่บุคคลตรึกตรองถึงบ่อย ๆ ในเวลากลางคืน แล้วประกอบ
การงานในเวลากลางวัน ด้วยกายและวาจา นี้ชื่อว่าการลุกโพลงใน
เวลากลางวัน
๔. คำว่า พราหมณ์ นั้น เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๕. คำว่า สุเมธ นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นเสขะ
๖. คำว่า ศัสตรา นั้น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันประเสริฐ
๗. คำว่า จงขุด นั้น เป็นชื่อของการปรารภความเพียร
๘. คำว่า ลิ่มสลัก นั้น เป็นชื่อแห่งอวิชชา คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ
เธอจงใช้ศัสตรายกลิ่มสลักขึ้น คือ จงละอวิชชา จงขุดขึ้นมา’
๙. คำว่า อึ่ง นั้น เป็นชื่อของความคับแค้นใจเนื่องมาจากความโกรธ
คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรานำอึ่งขึ้นมา คือ จงละ
ความคับแค้นใจเนื่องมาจากความโกรธ จงขุดขึ้นมา’
๑๐. คำว่า ทางสองแพร่ง นั้น เป็นชื่อแห่งวิจิกิจฉา คำนั้นมีอธิบายว่า
‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราถากทางสองแพร่ง คือ จงละวิจิกิจฉา จง
ขุดขึ้นมา’
๑๑. คำว่า หม้อกรองน้ำด่าง นั้น เป็นชื่อแห่งนิวรณ์ ๕ ประการ คือ

กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความพอใจในกาม)
พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความขัดเคืองใจ)
ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความหดหู่และเซื่องซึม)
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความลังเลสงสัย)

คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกหม้อกรองน้ำด่างขึ้นมา คือ
จงละนิวรณ์ ๕ ประการ จงขุดขึ้นมา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๓. วัมมิกสูตร
๑๒. คำว่า เต่า นั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์๑ ๕ ประการ คือ

รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรานำเต่าขึ้นมา คือ จงละ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ จงขุดขึ้นมา’
๑๓. คำว่า เขียงหั่นเนื้อ นั้น เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ประการ คือ
รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกเขียงหั่นเนื้อขึ้นมา คือ
จงละกามคุณ ๕ ประการ จงขุดขึ้นมา’
๑๔. คำว่า ชิ้นเนื้อ นั้น เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ(ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความเพลิดเพลิน) คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราหยิบ
ชิ้นเนื้อขึ้นมา คือ จงละนันทิราคะ จงขุดขึ้นมา’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙๑ (สัมมาทิฏฐิสูตร) หน้า ๘๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร
๑๕. คำว่า นาค นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นขีณาสพ คำนั้นมีอธิบายว่า
‘นาคจงดำรงอยู่เถิด เธออย่าเบียดเบียนนาคเลย เธอจงทำความ
นอบน้อมนาค”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระกุมารกัสสปะมีใจยินดีชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
วัมมิกสูตรที่ ๓ จบ

๔. รถวินีตสูตร
ว่าด้วยราชรถ ๗ ผลัด

ภิกษุยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร
[๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๑
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุผู้มีถิ่นกำเนิดเดียวกันจำนวนมาก จำพรรษาในท้องถิ่น
(ของตน)แล้ว ได้มาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ
ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปไหนหนอที่ภิกษุเพื่อนพรหมจารีในท้องถิ่นยกย่อง
อย่างนี้ว่า
‘ตนเองเป็นผู้มักน้อย๒ และกล่าวอัปปิจฉกถา(เรื่องความมักน้อย)แก่ภิกษุทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ กลันทกนิวาปสถาน หมายถึงเป็นสถานที่สำหรับพระราชทานเหยื่อแก่กระแต (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๔๑-๔๒)
๒ เป็นผู้มักน้อย หมายถึงความมักน้อย ๔ ประการ คือ (๑) เป็นผู้มักน้อยในปัจจัย ๔ (๒) เป็นผู้มักน้อยใน
ธุดงค์ ได้แก่ ไม่ประสงค์ให้ผู้อื่นรู้ความที่ตนสมาทานธุดงค์ (๓) เป็นผู้มักน้อยในการเล่าเรียน ได้แก่
ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้ความที่ตนเป็นพหูสูต (๔) เป็นผู้มักน้อยในการบรรลุธรรม ได้แก่ ไม่ปรารถนาให้
ผู้อื่นรู้ความที่ตนเป็นพระโสดาบัน เป็นต้น (ม.มู.อ. ๒/๑๕๒/๔๗-๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร
ตนเองเป็นผู้สันโดษ๑ และกล่าวสันตุฏฐิกถา(เรื่องความสันโดษ)แก่ภิกษุทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้สงัด๒ และกล่าวปวิเวกกถา(เรื่องความสงัด)แก่ภิกษุทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี๓ และกล่าวอสังสัคคกถา(เรื่องความไม่คลุกคลี)แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร๔ และกล่าววิริยารัมภกถา(เรื่องการปรารภความ
เพียร)แก่ภิกษุทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล๕ และกล่าวสีลสัมปทากถา(เรื่องความสมบูรณ์
ด้วยศีล)แก่ภิกษุทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ๖ และกล่าวสมาธิสัมปทากถา(เรื่องความสมบูรณ์
ด้วยสมาธิ)แก่ภิกษุทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ เป็นผู้สันโดษ หมายถึงความสันโดษ ๓ ประการ คือ (๑) ยถาลาภสันโดษ เป็นผู้สันโดษตามมีตามได้
ทั้งดีและไม่ดี (๒) ยถาพลสันโดษ เป็นผู้สันโดษตามกำลังทั้งกำลังของตนและของทายก (๓) ยถาสารุปป-
สันโดษ เป็นผู้สันโดษตามสมควรแก่สมณภาวะ
สันโดษ ๓ ประการ ในปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงเป็น
สันโดษ ๑๒ (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๔๘-๕๐)
๒ เป็นผู้สงัด หมายถึงมีวิเวก ๓ ประการ คือ (๑) กายวิเวก สงัดกาย ได้แก่ อยู่ผู้เดียวทุกอิริยาบถ
(๒) จิตตวิเวก ได้แก่ ได้สมาบัติ ๘ (๓) อุปธิวิเวก ได้แก่ บรรลุนิพพาน (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๐)
๓ เป็นผู้ไม่คลุกคลี หมายถึงไม่คลุกคลีด้วยการคลุกคลี ๕ ประการ คือ (๑) การคลุกคลีด้วยการฟัง
(๒) การคลุกคลีด้วยการเห็น (๓) การคลุกคลีด้วยการสนทนาปราศรัย (๔) การคลุกคลีด้วยการอยู่ร่วมกัน
(๕) การคลุกคลีทางกาย (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๑)
๔ เป็นผู้ปรารภความเพียร หมายถึงการทำความเพียรทางกายและทางจิตให้บริบูรณ์ (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๔)
๕ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล คำว่า ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ [คือ (๑) ศีลคือการสังวรในพระ
ปาติโมกข์ (๒) ศีลคือการสำรวมอินทรีย์ ๖ (๓) ศีลคือการพิจารณาใช้สอยปัจจัย ๔ (๔) ศีลคือการเลี้ยง
ชีวิตด้วยความบริสุทธิ์] (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๔)
๖ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ คำว่า สมาธิ ในที่นี้หมายถึงสมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔
อันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และกล่าวปัญญาสัมปทากถา(เรื่องความสมบูรณ์
ด้วยปัญญา)แก่ภิกษุทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และกล่าววิมุตติสัมปทากถา(เรื่องความสมบูรณ์
ด้วยวิมุตติ)แก่ภิกษุทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าววิมุตติญานทัสสนสัมปทา-
กถา(เรื่องความสมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ)แก่ภิกษุทั้งหลาย
เป็นผู้ให้โอวาท แนะนำ ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง”
ภิกษุท้องถิ่นเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปุณณ-
มันตานีบุตรเป็นผู้ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจารีท้องถิ่นยกย่องอย่างนี้ว่า
ตนเองเป็นผู้มักน้อย และกล่าวอัปปิจฉกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้สันโดษ ...
ตนเองเป็นผู้สงัด ...
ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี ...
ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร ...
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ...
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ ...
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา ...
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ ...
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าววิมุตติญาณทัสสน-
สัมปทากถาแก่ภิกษุทั้งหลาย
เป็นผู้ให้โอวาท แนะนำ ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร
[๒๕๓] ขณะนั้น ท่านพระสารีบุตรได้นั่งเฝ้าพระผู้มีพระภาคอยู่ ณ ที่ใกล้
ได้มีความคิดว่า “เป็นลาภของท่านพระปุณณมันตานีบุตร ท่านพระปุณณมันตานี-
บุตรได้ดีแล้ว ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนเลือกเฟ้น กล่าวยกย่อง
พรรณนาคุณเฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดา และพระศาสดาก็ทรงอนุโมทนาการ
กระทำนั้น บางทีเราคงได้พบกับท่านพระปุณณมันตานีบุตรแล้ว สนทนาปราศรัย
กันสักครั้งหนึ่ง”
[๒๕๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย
แล้วจึงเสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ท่านพระปุณณมันตานีบุตรทราบข่าวว่า
“ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึงกรุงสาวัตถี แล้วประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี”
พระปุณณมันตานีบุตรเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
[๒๕๕] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณมันตานีบุตรจึงเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรและ
จีวรจาริกไปโดยลำดับตามทางที่จะไปยังกรุงสาวัตถีถึงพระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถีแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงทรงชี้แจงพระปุณณมันตานีบุตรให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น
ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้ว ได้ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ แล้วเข้าไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนในเวลากลางวัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร
[๒๕๖] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า
“ท่านพระสารีบุตร พระปุณณมันตานีบุตรที่ท่านสรรเสริญอยู่เนือง ๆ นั้น (บัดนี้)
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ท่านก็ชื่นชม ยินดีพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ แล้วหลีก
ไปสู่ป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนในเวลากลางวัน”
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรรีบถือผ้านิสีทนะ(ผ้ารองนั่ง) แล้วติดตามท่าน
พระปุณณมันตานีบุตรไปข้างหลัง ๆ พอที่จะแลเห็นศีรษะกัน ครั้งนั้น ท่านพระ
ปุณณมันตานีบุตร เข้าไปในป่าอันธวัน แล้วนั่งพักผ่อนในเวลากลางวันอยู่ที่โคนไม้
แห่งหนึ่ง แม้ท่านพระสารีบุตรเข้าไปสู่ป่าอันธวัน แล้วก็นั่งพักผ่อนในเวลากลางวัน
อยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งเหมือนกัน
เป้าหมายแห่งพรหมจรรย์ตามลำดับวิสุทธิ ๗
ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น๑ แล้วเข้าไปหาท่าน
พระปุณณมันตานีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระปุณณมันตานีบุตรว่า
[๒๕๗] “ท่านผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคของเราหรือ”
ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า “ขอรับ ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อสีลวิสุทธิ (ความหมดจด
แห่งศีล) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๘๑ (สัลเลขสูตร) หน้า ๗๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อจิตตวิสุทธิ (ความ
หมดจดแห่งจิต) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อทิฏฐิวิสุทธิ (ความ
หมดจดแห่งทิฏฐิ) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิ
(ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อมัคคามัคคญาณ-
ทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อปฏิปทาญาณทัสสน-
วิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นทางดำเนิน) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อญาณทัสสนวิสุทธิ
(ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อสีลวิสุทธิ
หรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อจิตต-
วิสุทธิหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อทิฏฐิ-
วิสุทธิหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๘ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น