Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๒-๑๒ หน้า ๕๐๙ - ๕๕๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒-๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๕. จูฬธัมมสมาทานสูตร
การสมาทานธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
๒. การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
๓. การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากในอนาคต
๔. การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต
การสมาทานธรรมที่มีสุขแต่มีทุกข์เป็นวิบาก
[๔๖๙] การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
เป็นอย่างไร
คือ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โทษ
ในกามทั้งหลายไม่มี’ สมณพราหมณ์พวกนั้นย่อมถึงความเป็นผู้ดื่มด่ำในกาม
ทั้งหลาย บำเรอกับพวกนางปริพาชิกาที่เกล้ามวยผมและกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ทำไม
ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้นเมื่อเห็นอนาคตภัยในกามทั้งหลาย จึงกล่าวถึงการละ
กามทั้งหลาย บัญญัติการกำหนดรู้กามทั้งหลาย (อันที่จริง) การได้สัมผัสแขนอัน
มีขนอ่อนนุ่มของนางปริพาชิกานี้เป็นความสุข’ แล้วก็ถึงความเป็นผู้ดื่มด่ำในกาม
ทั้งหลาย ครั้นถึงความเป็นผู้ดื่มด่ำในกามทั้งหลาย หลังจากตายแล้ว ไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าเผ็ดร้อน ในที่ที่ตนเกิดนั้น และ
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้นเมื่อเห็นอนาคตภัยในกามทั้งหลายนี้แล
จึงกล่าวถึงการละกามทั้งหลาย บัญญัติการกำหนดรู้กามทั้งหลาย อันที่จริงพวก
เรานี้ย่อมเสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าเผ็ดร้อน เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกาม
เป็นต้นเหตุ’
เปรียบเหมือนผลสุกของเถาย่านทราย จะพึงแตกในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน
พืชแห่งเถาย่านทรายนั้นจะพึงตกลงที่โคนต้นสาละต้นใดต้นหนึ่ง เทวดาที่สิงอยู่ที่
ต้นสาละนั้นกลัว หวาดเสียว และถึงความสะดุ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๕. จูฬธัมมสมาทานสูตร
พวกอารามเทวดา๑ วนเทวดา๒ รุกขเทวดา๓ และพวกเทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้
อันเป็นโอสถหญ้าและต้นไม้เจ้าป่า ผู้เป็นมิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต๔ ของเทวดาที่
สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้นต่างก็พากันมาปลอบโยนอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อย่ากลัวเลย
ท่านผู้เจริญ อย่ากลัวเลย เมล็ดพืชแห่งเถาย่านทรายนั้น บางทีนกยูงอาจกลืนกิน
บ้าง เนื้ออาจเคี้ยวกินบ้าง ไฟป่าอาจไหม้บ้าง พวกคนทำงานในป่าอาจถอนบ้าง
ปลวกอาจกัดกินบ้าง หรือไม่งอกขึ้น’
แต่เมล็ดพืชแห่งเถาย่านทรายนั้นนกยูงก็ไม่กลืนกิน เนื้อก็ไม่เคี้ยวกิน ไฟป่า
ก็ไม่ไหม้ พวกคนทำงานในป่าก็ไม่ถอน ปลวกก็ไม่กัดกิน ยังคงเป็นพืชต่อไป ถูก
เมฆฝนตกรดแล้ว ก็งอกขึ้นด้วยดี เป็นเถาย่านทรายเล็กและอ่อนมีย่านห้อยย้อย
เข้าไปอาศัยต้นสาละ’
เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้นจึงกล่าวว่า ‘ทำไมพวกท่านอารามเทวดา วนเทวดา
รุกขเทวดา และเทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้อันเป็นโอสถหญ้าและต้นไม้เจ้าป่า ผู้เป็นมิตร
อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเมื่อเห็นอนาคตภัยในเมล็ดพืชแห่งเถาย่านทรายจึงพากันมา
ปลอบโยนอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อย่ากลัวเลย ท่านผู้เจริญ อย่ากลัวเลย เมล็ด
พืชแห่งเถาย่านทรายนั้น บางทีนกยูงอาจกลืนกินบ้าง เนื้ออาจเคี้ยวกินบ้าง ไฟป่า
อาจไหม้บ้าง พวกคนทำงานในป่าอาจถอนบ้าง ปลวกอาจกัดกินบ้าง หรือไม่
งอกขึ้น’ เถาย่านทรายนี้ เล็กและอ่อนมีย่านห้อยย้อยอยู่ มีสัมผัสอันนำความสุข
มาให้ เถาย่านทรายนั้น เลื้อยพันต้นสาละนั้น ครั้นเลื้อยพันแล้ว ตั้งอยู่ข้างบน
เหมือนร่ม แตกเถาอยู่ข้างล่าง ทำลายลำต้นใหญ่ ๆ ของต้นสาละนั้นเสีย
เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านอารามเทวดา วนเทวดา
รุกขเทวดา และพวกเทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้อันเป็นโอสถหญ้าและต้นไม้เจ้าป่า ผู้เป็น
มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เมื่อเห็นอนาคตภัย ในเมล็ดพืชแห่งเถาย่านทรายนี้

เชิงอรรถ :
๑ อารามเทวดา หมายถึงเทวดาผู้สถิตอยู่ในสวนไม้ดอกและไม้ผล (ม.มู.อ. ๒/๔๖๙/๒๗๙)
๒ วนเทวดา หมายถึงเทวดาผู้สถิตอยู่ในป่าอันธวันและป่าสุภควันเป็นต้น (ม.มู.อ. ๒/๔๖๙/๒๗๙)
๓ รุกขเทวดา หมายถึงเทวดาผู้สถิตอยู่ที่ต้นสะเดาเป็นต้น ซึ่งเขารักษาไว้อย่างดี (ม.มู.อ. ๒/๔๖๙/๒๗๙)
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๖๕ (อากังเขยยสูตร) หน้า ๕๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๕. จูฬธัมมสมาทานสูตร
จึงพากันมาปลอบโยนอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อย่ากลัวเลย ท่านผู้เจริญ อย่า
กลัวเลย พืชแห่งเถาย่านทรายนั้น บางทีนกยูงอาจกลืนกินบ้าง เนื้ออาจเคี้ยวกินบ้าง
ไฟป่าอาจไหม้บ้าง พวกคนทำงานในป่าอาจถอนบ้าง ปลวกอาจกัดกินบ้าง หรือ
ไม่งอกขึ้น’ เรานั้นเสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน เพราะพืชแห่งเถาย่าน
ทรายเป็นเหตุ’ แม้ฉันใด
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โทษในกามทั้ง
หลายไม่มี’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมถึงความเป็นผู้ดื่มด่ำในกาม
ทั้งหลาย บำเรอกับพวกนางปริพาชิกาที่เกล้ามวยผมและกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ทำไม
ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้น เมื่อเห็นอนาคตภัยในกามทั้งหลาย จึงกล่าวถึงการ
ละกามทั้งหลาย บัญญัติการกำหนดรู้ในกามทั้งหลาย (อันที่จริง) การสัมผัสแขน
อันมีขนอ่อนนุ่มของนางปริพาชิกานี้ เป็นความสุข’ ย่อมถึงความเป็นผู้ดื่มด่ำใน
กามทั้งหลาย ครั้นถึงความเป็นผู้ดื่มด่ำในกามทั้งหลาย หลังจากตายแล้ว จะไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าเผ็ดร้อนในที่ที่ตน
เกิดนั้น และกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้นเมื่อเห็นอนาคตภัยใน
กามทั้งหลายนี้แล จึงกล่าวถึงการละกามทั้งหลาย บัญญัติความกำหนดรู้กาม
ทั้งหลาย อันที่จริงพวกเรานี้ ย่อมเสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าเผ็ดร้อนเพราะกาม
เป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ’
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรมนี้เรากล่าวว่า มีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์เป็น
วิบากในอนาคต
การสมาทานธรรมที่มีทุกข์และมีทุกข์เป็นวิบาก
[๔๗๐] การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
เป็นอย่างไร
คือ ปริพาชกบางคนในโลกนี้เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) เป็นผู้ไม่มีมารยาท
เลียมือ เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับ
อาหารที่เขาแบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๕. จูฬธัมมสมาทานสูตร
อาหารจากปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่
รับอาหารคร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารของคน ๒ คนที่
กำลังบริโภค ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงที่กำลังให้บุตรดื่ม
นม ไม่รับอาหารของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับอาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับ
อาหารในที่เลี้ยงสุนัข ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา
ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เขารับอาหารในเรือนหลังเดียว
ยังชีพด้วยข้าวคำเดียว รับอาหารในเรือน ๒ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๒ คำ ฯลฯ
รับอาหารในเรือน ๗ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๗ คำ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๑
ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๒ ใบ ฯลฯ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๗ ใบ
กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๑ วัน กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๒ วัน ฯลฯ กิน
อาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๗ วัน ถือการบริโภคอาหารตามวาระ ๑๕ วันต่อมื้อเช่นนี้
อยู่ด้วยประการอย่างนี้
ปริพาชกนั้นเป็นผู้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือย
เป็นอาหาร กินกากข้าวเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กินรำเป็นอาหาร กิน
ข้าวตังเป็นอาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กินมูลโคเป็นอาหาร
กินเหง้าและผลไม้ป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพอยู่ ปริพาชกนั้นนุ่งห่มผ้า
ป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้
นุ่งห่มหนังเสือ นุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ นุ่งห่มผ้าคากรอง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้กรอง
นุ่งห่มผ้าผลไม้กรอง นุ่งห่มผ้ากัมพลผมมนุษย์ นุ่งห่มผ้ากัมพลขนสัตว์ นุ่งห่มผ้า
ขนปีกนกเค้า เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือถือการถอนผมและหนวด ยืนอย่างเดียว
ไม่ยอมนั่ง เดินกระโหย่งคือถือการเดินกระโหย่ง ถือการนอนบนหนามคือนอนบน
ที่นอนที่ทำด้วยหนาม ถือการลงอาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง๑ ถือการย่างและการอบกาย
หลายรูปแบบเช่นนี้อยู่ ด้วยประการอย่างนี้ หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรมนี้เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์
เป็นวิบากในอนาคต

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๑๕๕ (มหาสีหนาทสูตร) หน้า ๑๕๘-๑๕๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๕. จูฬธัมมสมาทานสูตร

การสมาทานธรรมที่มีทุกข์แต่มีสุขเป็นวิบาก
[๔๗๑] การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากในอนาคต
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้าโดยปกติ เสวยทุกข์โทมนัสอัน
เกิดจากราคะเนือง ๆ เป็นผู้มีโทสะกล้าโดยปกติ เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดจากโทสะ
เนือง ๆ เป็นผู้มีโมหะกล้าโดยปกติ เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดจากโมหะเนือง ๆ
บุคคลนั้นมีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง เป็นผู้มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่
ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ หลังจากตายแล้ว เขาไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรมนี้เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็น
วิบากในอนาคต
การสมาทานธรรมที่มีสุขและมีสุขเป็นวิบาก
[๔๗๒] การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีราคะกล้าโดยปกติ ไม่เสวยทุกข์โทมนัส
อันเกิดจากราคะเนือง ๆ เป็นผู้ไม่มีโทสะกล้าโดยปกติ ไม่เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิด
จากโทสะเนือง ๆ เป็นผู้ไม่มีโมหะกล้าโดยปกติ ไม่เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดจาก
โมหะเนือง ๆ บุคคลนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุ
ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ... บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... อยู่
หลังจากตายแล้ว เขาไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๖. มหาธัมมสมาทานสูตร
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรมนี้เรากล่าวว่า มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็น
วิบากในอนาคต
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรม ๔ ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬธัมมสมาทานสูตรที่ ๕ จบ

๖. มหาธัมมสมาทานสูตร
ว่าด้วยการสมาทานธรรม สูตรใหญ่
เหตุที่สิ่งทั้งหลายไม่เป็นไปตามความปรารถนา
[๔๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย โดยมากสัตว์ทั้งหลายมีความปรารถนา มีความพอใจ
มีความประสงค์อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่
น่าพอใจ จะพึงเสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ จะพึงเจริญยิ่งขึ้น’
เมื่อสัตว์เหล่านั้นมีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ ธรรมที่
ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ย่อมเจริญยิ่งขึ้น ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ย่อมเสื่อมไป ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเหตุในข้อนั้นอย่างไร”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอธิบายเนื้อความแห่ง
พระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๖. มหาธัมมสมาทานสูตร
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๔๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ผู้ยังไม่ได้สดับ ไม่ได้พบพระอริยะ
ทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้พบสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพ๑ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ควร
คบ๒ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ เมื่อไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ
ไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ ก็เสพ๓ธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่เสพ
ธรรมที่ควรเสพ คบธรรมที่ไม่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ควรคบ เมื่อเสพธรรมที่ไม่
ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ควรเสพ คบธรรมที่ไม่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ควรคบ
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เจริญยิ่งขึ้น ธรรมที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เสื่อมไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปุถุชนรู้ไม่ถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้พบพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ พบสัตบุรุษ
ทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
รู้จักธรรมที่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ควรคบ รู้จักธรรมที่ไม่
ควรคบ เมื่อรู้จักธรรมที่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ รู้จักธรรมที่ควรคบ รู้จัก
ธรรมที่ไม่ควรคบ ก็ไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ เสพธรรมที่ควรเสพ ไม่คบธรรมที่
ไม่ควรคบ คบธรรมที่ควรคบ เมื่อไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ เสพธรรมที่ควรเสพ
ไม่คบธรรมที่ไม่ควรคบ คบธรรมที่ควรคบ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่
น่าพอใจ ก็เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เจริญยิ่งขึ้น ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะอริยสาวกรู้ถูกต้อง

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่ควรเสพ ในที่นี้หมายถึงธรรมที่ควรให้เกิดขึ้นในสันดานของตน ได้แก่ การคบสัตบุรุษ การฟัง
สัทธรรมและการพิจารณาโดยแยบคาย (ม.มู.อ. ๒/๔๗๔/๒๘๓, ม.มู.ฏีกา ๒/๔๗๔/๓๕๘)
๒ ธรรมที่ควรคบ ในที่นี้หมายถึงธรรมที่บำเพ็ญมีทานเป็นต้น (ม.มู.อ. ๒/๔๗๔/๒๘๓, ม.มู.ฏีกา ๒/๔๗๔/
๓๕๘)
๓ เสพ ในที่นี้หมายถึงการประพฤติ การเจริญให้เกิดขึ้น (ขุ.จู.อ. ๑๖๑/๑๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๖. มหาธัมมสมาทานสูตร

การสมาทานธรรม ๔ ประการ
[๔๗๕] ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรม ๔ ประการนี้
การสมาทานธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
๒. การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
๓. การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากในอนาคต
๔. การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต
[๔๗๖] ภิกษุทั้งหลาย
๑. บรรดาการสมาทานธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้ไม่รู้จักการสมาทานธรรม
ที่มีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต ตกอยู่ในอวิชชา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘การสมาทานธรรมนี้มีทุกข์ในปัจจุบัน
และมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต’ เมื่อไม่รู้จักการสมาทานธรรมเหล่านั้น
ตกอยู่ในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพการสมาทานธรรมนั้น
ไม่ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น เมื่อเสพการสมาทานธรรมนั้น ไม่
ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ ก็เจริญยิ่งขึ้น ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ย่อมเสื่อมไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นรู้ไม่ถูกต้อง
๒. บุคคลผู้ไม่รู้จักการสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์เป็นวิบาก
ในอนาคต ตกอยู่ในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘การ
สมาทานธรรมนี้มีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต’ เมื่อไม่
รู้จักการสมาทานธรรมนั้นแล้วตกอยู่ในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริง จึงเสพการสมาทานธรรมนั้น ไม่ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น
เมื่อเสพการสมาทานธรรมนั้น ไม่ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น
ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เจริญยิ่งขึ้น ธรรม
ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ย่อมเสื่อมไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลนั้นรู้ไม่ถูกต้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๖. มหาธัมมสมาทานสูตร
๓. บุคคลผู้ไม่รู้จักการสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็น
วิบากในอนาคต ตกอยู่ในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘การสมาทานธรรมนี้มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบากในอนาคต’
เมื่อไม่รู้จักการสมาทานธรรมนั้น ตกอยู่ในอวิชชา ไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริง ไม่เสพการสมาทานธรรมนั้น ละเว้นการสมาทาน
ธรรมนั้น เมื่อไม่เสพการสมาทานธรรมนั้น ละเว้นการสมาทาน
ธรรมนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เจริญยิ่งขึ้น
ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ย่อมเสื่อมไป ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นรู้ไม่ถูกต้อง
๔. บุคคลผู้ไม่รู้จักการสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็น
วิบากในอนาคต ตกอยู่ในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘การสมาทานธรรมนี้มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นวิบากในอนาคต’ เมื่อ
ไม่รู้จักการสมาทานธรรมนั้น ตกอยู่ในอวิชชา ไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริง ไม่เสพการสมาทานธรรมนั้น ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น
เมื่อไม่เสพการสมาทานธรรมนั้น ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น ธรรม
ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เจริญยิ่งขึ้น ธรรมที่
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ย่อมเสื่อมไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลนั้นรู้ไม่ถูกต้อง
[๔๗๗] ภิกษุทั้งหลาย
๑. บรรดาการสมาทานธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้รู้จักการสมาทานธรรม
ที่มีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต มีวิชชา รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘การสมาทานธรรมนี้มีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์
เป็นวิบากในอนาคต’ เมื่อรู้จักการสมาทานธรรมนั้น มีวิชชา รู้ชัด
ตามความเป็นจริง จึงไม่เสพการสมาทานธรรมนั้น ละเว้นการ
สมาทานธรรมนั้น เมื่อไม่เสพการสมาทานธรรมนั้น ละเว้นการ
สมาทานธรรมนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
ก็เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ย่อมเจริญยิ่งขึ้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นรู้ถูกต้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๖. มหาธัมมสมาทานสูตร
๒. บุคคลผู้รู้จักการสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์เป็น
วิบากในอนาคต มีวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘การสมาทาน
ธรรมนี้มีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต’ เมื่อรู้จักการ
สมาทานธรรมนั้น มีวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงไม่เสพการ
สมาทานธรรมนั้น ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น เมื่อไม่เสพการ
สมาทานธรรมนั้น ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ย่อมเจริญยิ่งขึ้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นรู้
ถูกต้อง
๓. บุคคลผู้รู้จักการสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็น
วิบากในอนาคต มีวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘การสมาทาน
ธรรมนี้ มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบากในอนาคต’ เมื่อรู้จักการ
สมาทานธรรมนั้น มีวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพการ
สมาทานธรรมนั้น ไม่ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น เมื่อเสพการ
สมาทานธรรมนั้น ไม่ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น ธรรมที่ไม่น่า
ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ย่อมเจริญยิ่งขึ้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
บุคคลนั้นรู้ถูกต้อง
๔. บุคคลผู้รู้จักการสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็น
วิบากในอนาคต มีวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘การสมาทาน
ธรรมนี้มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นวิบากในอนาคต’ เมื่อรู้จักการ
สมาทานธรรมนั้น มีวิชชา รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเสพการ
สมาทานธรรมนั้น ไม่ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น เมื่อเสพการ
สมาทานธรรมนั้น ไม่ละเว้นการสมาทานธรรมนั้น ธรรมที่ไม่น่า
ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ย่อมเจริญยิ่งขึ้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะ
บุคคลนั้นรู้ถูกต้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๖. มหาธัมมสมาทานสูตร

การสมาทานธรรมที่มีทุกข์และมีทุกข์เป็นวิบาก
[๔๗๘] การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนฆ่าสัตว์ และ
เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนลักทรัพย์ และเพราะการลักทรัพย์เป็น
ปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนประพฤติผิดในกาม และเพราะการ
ประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนพูดเท็จ และเพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย
เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนพูดส่อเสียด และเพราะการพูดส่อเสียด
เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนพูดคำหยาบ และเพราะการพูด
คำหยาบเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนพูดเพ้อเจ้อ และเพราะการพูดเพ้อเจ้อ
เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่นมาก
และเพราะการเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่นมากเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนมีจิตปองร้ายผู้อื่น และเพราะการมีจิต
ปองร้ายผู้อื่นเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนมีความเห็นผิด และเพราะความเห็นผิด
เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๖. มหาธัมมสมาทานสูตร
หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรมนี้เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์
เป็นวิบากในอนาคต (๑)
การสมาทานธรรมที่มีสุขแต่มีทุกข์เป็นวิบาก
[๔๗๙] การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนฆ่าสัตว์ และ
เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนลักทรัพย์ และเพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย
เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนประพฤติผิดในกาม และเพราะการ
ประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนพูดเท็จ และเพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย
เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนพูดส่อเสียด และเพราะการพูดส่อเสียด
เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนพูดคำหยาบ และเพราะการพูดคำหยาบ
เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนพูดเพ้อเจ้อ และเพราะการพูดเพ้อเจ้อ
เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่นมาก และ
เพราะการเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่นมากเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนมีจิตปองร้ายผู้อื่น และเพราะการมีจิต
ปองร้ายผู้อื่นเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๖. มหาธัมมสมาทานสูตร
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนมีความเห็นผิด และเพราะความเห็นผิด
เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรมนี้เรากล่าวว่า มีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์เป็น
วิบากในอนาคต (๒)
การสมาทานธรรมที่มีทุกข์แต่มีสุขเป็นวิบาก
[๔๘๐] การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากในอนาคต
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจาก
การฆ่าสัตว์ และเพราะการเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากการลักทรัพย์ และเพราะ
การเว้นขาดจากการลักทรัพย์เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
และเพราะการเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากการพูดเท็จ และเพราะการ
เว้นขาดจากการพูดเท็จเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากพูดส่อเสียด และเพราะการ
เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากพูดคำหยาบ และเพราะการ
เว้นขาดจากการพูดคำหยาบเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ และเพราะ
การเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนไม่มีความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
และเพราะการไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่นเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๖. มหาธัมมสมาทานสูตร
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนมีจิตไม่ปองร้ายผู้อื่น และเพราะการมี
จิตไม่ปองร้ายผู้อื่นเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
มีทุกข์บ้าง มีโทมนัสบ้าง จึงเป็นคนมีความเห็นชอบ และเพราะมีความเห็น
ชอบเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยทุกข์โทมนัส
หลังจากตายแล้วเขาย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรมนี้เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็น
วิบากในอนาคต (๓)
การสมาทานธรรมที่มีสุขและมีสุขเป็นวิบาก
[๔๘๑] การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจาก
การฆ่าสัตว์ และเพราะการเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากการลักทรัพย์ และเพราะการ
เว้นขาดจากการลักทรัพย์เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม และ
เพราะการเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากการพูดเท็จ และเพราะการ
เว้นขาดจากการพูดเท็จเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากวาจาส่อเสียด และเพราะการ
เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ และเพราะ
การเว้นขาดจากการพูดคำหยาบเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๖. มหาธัมมสมาทานสูตร
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ และเพราะการ
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนไม่มีความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของ
ผู้อื่นมาก และเพราะการเว้นขาดจากการไม่มีความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนมีจิตไม่ปองร้ายผู้อื่น และเพราะการมีจิต
ไม่ปองร้ายผู้อื่นเป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
มีสุขบ้าง มีโสมนัสบ้าง จึงเป็นคนมีความเห็นชอบ และเพราะมีความเห็นชอบ
เป็นปัจจัย เขาจึงเสวยสุขโสมนัส
หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรมนี้เรากล่าวว่า มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็น
วิบากในอนาคต (๔)
ภิกษุทั้งหลาย การสมาทานธรรม ๔ ประการนี้แล
อุปมาของการสมาทานธรรม ๔ ประการ
[๔๘๒] ภิกษุทั้งหลาย
๑. เปรียบเหมือนน้ำเต้าขมผสมด้วยยาพิษ บุรุษที่รักชีวิต ยังไม่อยาก
ตาย รักสุขเกลียดทุกข์ มาถึง พวกชาวบ้านบอกเขาว่า ‘บุรุษผู้เจริญ
น้ำเต้าขมนี้ผสมด้วยยาพิษ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด น้ำเต้าขม
นั้น จักไม่ทำให้ท่านผู้ดื่มพอใจ ทั้งสี กลิ่น และรส ครั้นท่านดื่ม
เข้าไปแล้วก็จักถึงตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย’ บุรุษนั้น ไม่พิจารณา
น้ำเต้าขมนั้นดื่มมิได้วาง น้ำเต้าขมนั้นก็ไม่ทำให้เขาผู้ดื่มพอใจทั้งสี
กลิ่น และรส ครั้นดื่มแล้วพึงถึงตายหรือได้รับทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด
เรากล่าวว่า การสมาทานธรรมนี้ที่มีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์เป็น
วิบาก ในอนาคต มีอุปมาฉันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๖. มหาธัมมสมาทานสูตร
[๔๘๓] ภิกษุทั้งหลาย
๒. เปรียบเหมือนน้ำหวาน ๑ ภาชนะ น่าดื่ม ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น
และรส แต่ผสมด้วยยาพิษ บุรุษที่รักชีวิต ยังไม่อยากตาย รักสุข
เกลียดทุกข์ มาถึง พวกชาวบ้านก็บอกเขาว่า ‘ท่านผู้เจริญ น้ำหวาน
๑ ภาชนะ น่าดื่ม ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่นและรส แต่ผสมด้วยยาพิษ
ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด น้ำหวาน ๑ ภาชนะนั้นจักทำให้ท่าน
ผู้ดื่มพอใจ ทั้งสี กลิ่น และรส ครั้นท่านดื่มเข้าไปแล้วก็จักถึงตาย
หรือจักได้รับทุกข์ปางตาย’ บุรุษนั้นไม่พิจารณาน้ำหวาน ๑ ภาชนะนั้น
แล้วดื่มมิได้วาง น้ำหวาน ๑ ภาชนะนั้นก็ทำให้เขาผู้ดื่มพอใจ ทั้งสี
กลิ่น และรส ครั้นดื่มแล้ว พึงถึงตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย
แม้ฉันใด เรากล่าวว่า การสมาทานธรรมนี้ที่มีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์
เป็นวิบากใน อนาคต มีอุปมาฉันนั้น
[๔๘๔] ภิกษุทั้งหลาย
๓. เปรียบเหมือนน้ำมูตรเน่าที่ผสมด้วยยาต่าง ๆ บุรุษที่เป็นโรคผอม
เหลือง มาถึง พวกชาวบ้านบอกเขาว่า ‘บุรุษผู้เจริญ น้ำมูตรเน่า
ผสมด้วยยาต่าง ๆ นี้ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด น้ำมูตรเน่านั้น
จักไม่ทำให้ท่านผู้ดื่มพอใจ ทั้งสี กลิ่น และรส ครั้นท่านดื่มเข้าไปแล้ว
ก็จักมีสุข’ บุรุษนั้น พิจารณาแล้วดื่มมิได้วาง น้ำมูตรเน่านั้นก็ไม่ทำ
ให้เขาผู้ดื่มพอใจ ทั้งสี กลิ่น และรส ครั้นดื่มแล้วก็มีสุข แม้ฉันใด
เรากล่าวว่า การสมาทานธรรมนี้ที่มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็น
วิบาก ในอนาคต มีอุปมาฉันนั้น
[๔๘๕] ภิกษุทั้งหลาย
๔. เปรียบเหมือนนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อย ที่ผสมเข้าด้วยกัน
บุรุษผู้เป็นโรคลงแดง มาถึง พวกชาวบ้านบอกเขาว่า ‘บุรุษผู้เจริญ
นมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อยนี้ เขาผสมเข้าด้วยกัน ถ้าท่าน
หวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด ยานั้นจักทำให้ท่านผู้ดื่มพอใจ ทั้งสี กลิ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๗. วีมังสกสูตร
และรส ครั้นท่านดื่มเข้าไปแล้วจักมีสุข’ บุรุษนั้น พิจารณายานั้น
แล้วดื่มมิได้วาง ยานั้นก็ทำให้เขาผู้ดื่มพอใจทั้งสี กลิ่น และรส ครั้นดื่ม
แล้วก็มีความสุข แม้ฉันใด เรากล่าวว่าการสมาทานธรรมนี้ที่มีสุขใน
ปัจจุบันและมีสุขเป็นวิบากในอนาคต มีอุปมาฉันนั้น
[๔๘๖] ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนในสารทกาลซึ่งเป็นเดือนท้ายแห่งฤดูฝน
อากาศโปร่งปราศจากเมฆฝน ดวงอาทิตย์ลอยอยู่ในท้องฟ้า กำจัดความมืดในอากาศ
ทั้งสิ้น ย่อมส่องแสงสว่างเจิดจ้า แม้ฉันใด การสมาทานธรรมนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นวิบากในอนาคต กำจัดคำติเตียนของผู้อื่นคือสมณพราหมณ์
เป็นอันมากเหล่าอื่น ย่อมส่องแสงสว่างเจิดจ้า”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหาธัมมสมาทานสูตรที่ ๖ จบ

๗. วีมังสกสูตร
ว่าด้วยผู้ตรวจสอบ๑
[๔๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ตรวจสอบ มี ๓ จำพวก คือ (๑) อัตถวีมังสกะ หมายถึงผู้พิจารณาประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น
(๒) สังขารวีมังสกะ หมายถึงผู้พิจารณาสังขารธรรม โดยลักษณะของธรรมนั่น โดยสามัญญลักษณะ และ
โดยวิภาคธรรม (๓) สัตถุวีมังสกะ หมายถึงผู้พิจารณาตรวจสอบพระศาสดา เช่น พิจารณาว่า ขึ้นชื่อว่า
ศาสดาต้องมีคุณเช่นนี้ ๆ ในสูตรนี้ หมายเอาสัตถุวีมังสกะ (ม.มู.อ. ๒/๔๘๗/๒๘๖, ม.มู.ฏีกา ๒/๔๘๗/๓๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๗. วีมังสกสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ตรวจสอบ เมื่อไม่รู้วาระจิตของผู้อื่น พึงทำการพิจารณา
ตรวจสอบตถาคตเพื่อทราบว่า ‘ตถาคตเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอธิบายเนื้อความแห่ง
พระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
การตรวจสอบธรรมของพระตถาคต
[๔๘๘] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ตรวจสอบ เมื่อไม่รู้วาระจิตของผู้อื่น พึง
พิจารณาตรวจสอบตถาคตในธรรม ๒ ประการ คือ (๑) ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งทางตา
(๒) ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งทางหูว่า ‘ตถาคตมีธรรมที่จะพึงรู้แจ้งทางตาและทางหูอัน
เศร้าหมองหรือไม่’ เมื่อพิจารณาตรวจสอบตถาคตนั้นอยู่ก็จะรู้อย่างนี้ว่า ‘ตถาคต
มิได้มีธรรมที่จะพึงรู้แจ้งทางตาและทางหูอันเศร้าหมอง’
เมื่อพิจารณาตรวจสอบตถาคตอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘ตถาคตมิได้มีธรรมที่จะพึง
รู้แจ้งทางตาและทางหูอันเศร้าหมอง’ จากนั้น ก็พิจารณาตรวจสอบตถาคตให้ยิ่งขึ้นไปว่า
‘ตถาคต มีธรรมที่จะพึงรู้แจ้งทางตาและทางหูอันเจือกัน๑หรือไม่’ เมื่อพิจารณา
ตรวจสอบตถาคตนั้นอยู่ก็จะรู้อย่างนี้ว่า ‘ตถาคตมิได้มีธรรมที่จะพึงรู้แจ้งทางตาและ
ทางหูอันเจือกัน’
เมื่อพิจารณาตรวจสอบตถาคตอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘ตถาคตมิได้มีธรรมที่จะพึงรู้
แจ้งทางตาและทางหูอันเจือกัน’ จากนั้น ก็พิจารณาตรวจสอบตถาคตให้ยิ่งขึ้นไปว่า
‘ตถาคตมีธรรมที่จะพึงรู้ทางตาและทางหูอันผ่องแผ้วหรือไม่’ เมื่อพิจารณาตรวจสอบ
ตถาคตนั้นอยู่ก็จะรู้อย่างนี้ว่า ‘ตถาคตมีธรรมที่จะพึงรู้แจ้งทางตาและทางหูอันผ่องแผ้ว’

เชิงอรรถ :
๑ เจือกัน หมายถึงเป็นสิ่งผสมกัน กล่าวคือบางครั้งเป็นธรรมดำ บางคราวเป็นธรรมขาว (ม.มู.อ. ๒/๔๘๘/๒๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๗. วีมังสกสูตร
เมื่อพิจารณาตรวจสอบตถาคตอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘ตถาคตมีธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง
ทางตาและทางหูอันผ่องแผ้ว’ จากนั้น ก็พิจารณาตรวจสอบตถาคตให้ยิ่งขึ้นไปว่า
‘ท่านผู้นี้มีกุศลธรรมนี้สิ้นกาลช้านาน หรือมีชั่วกาลนิดหน่อย’ เมื่อตรวจสอบตถาคต
นั้นอยู่ก็จะรู้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้มีกุศลธรรมนี้สิ้นกาลช้านาน มิใช่ว่ามีชั่วกาลนิดหน่อย’
เมื่อพิจารณาตรวจสอบตถาคตอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้มีกุศลธรรมนี้สิ้นกาล
ช้านาน มิใช่ว่ามีชั่วกาลนิดหน่อย’ จากนั้น ก็พิจารณาตรวจสอบตถาคตให้ยิ่งขึ้นไปว่า
‘ท่านภิกษุนี้มีชื่อเสียง มียศ ท่านมีโทษบางอย่างในโลกนี้บ้างหรือไม่’ เพราะภิกษุ
ยังไม่มีโทษบางอย่างในโลกนี้ชั่วเวลาที่ตนยังไม่มีชื่อเสียง ยังไม่มียศ แต่เมื่อมี
ชื่อเสียง มียศแล้ว ก็จะมีโทษบางอย่างในโลกนี้ ภิกษุผู้ตรวจสอบ เมื่อพิจารณา
ตรวจสอบตถาคตนั้นอยู่ก็จะรู้อย่างนี้ว่า ‘ท่านภิกษุนี้มีชื่อเสียง มียศแล้ว (แต่)มิได้
มีโทษบางอย่างในโลกนี้’
เมื่อพิจารณาตรวจสอบตถาคตอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘ท่านภิกษุนี้มีชื่อเสียง มียศแล้ว
(แต่)มิได้มีโทษบางอย่างในโลกนี้’ จากนั้น ก็พิจารณาตรวจสอบตถาคตให้ยิ่งขึ้นว่า
‘ท่านผู้นี้ไม่มีภัย มิใช่ผู้มีภัย ไม่เสพกามเพราะปราศจากราคะแล้ว เนื่องจาก
สิ้นราคะ’ เมื่อพิจารณาตรวจสอบตถาคตนั้นอยู่ก็จะรู้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีภัย
มิใช่ผู้มีภัย ไม่เสพกามเพราะปราศจากราคะแล้ว เนื่องจากสิ้นราคะ’
หากชนเหล่าอื่นจะพึงถามภิกษุนั้นว่า ‘ท่านมีอะไรเป็นเครื่องบ่งชี้ที่เป็นเหตุให้
ท่านกล่าวว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีภัย มิใช่ผู้มีภัย ไม่เสพกามเพราะปราศจากราคะแล้ว
เนื่องจากสิ้นราคะ’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะตอบอย่างถูกต้องควรตอบอย่างนี้ว่า ‘จริงอย่างนั้น
ท่านผู้นี้อยู่ในหมู่หรืออยู่ผู้เดียว จะไม่ดูหมิ่นหมู่ชนในที่นั้น ผู้ดำเนินไปดี ดำเนิน
ไปชั่ว สั่งสอนคณะ บางพวกติดอยู่ในอามิสในโลกนี้ และบางพวกไม่ติดอยู่ในอามิส
ในโลกนี้ เราได้สดับรับความข้อนี้มาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘เราเป็น
ผู้ไม่มีภัย มิใช่เป็นผู้มีภัย เพราะปราศจากราคะแล้ว ไม่เสพกามเพราะปราศจาก
ราคะแล้ว เนื่องจากสิ้นราคะ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๗. วีมังสกสูตร

ทรงเปิดโอกาสให้สอบถามยิ่งขึ้น
[๔๘๙] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้พิจารณาเหล่านั้น ภิกษุผู้พิจารณา
รูปหนึ่ง ควรสอบถามตถาคตต่อไปว่า ‘ตถาคตมีธรรมที่จะพึงรู้แจ้งทางตาและทางหู
อันเศร้าหมองหรือไม่’ ตถาคตเมื่อตอบก็จะพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ตถาคตมิได้มีธรรม
ที่จะพึงรู้แจ้งทางตาและทางหูอันเศร้าหมอง’
ควรสอบถามตถาคตให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘ตถาคตมีธรรมที่จะพึงรู้แจ้งทางตาและ
ทางหูอันเจือกันหรือไม่’ ตถาคตเมื่อตอบก็จะพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ตถาคตมิได้มีธรรม
ที่จะพึงรู้แจ้งทางตาและทางหูอันเจือกัน’
ควรสอบถามตถาคตให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘ตถาคตมีธรรมที่จะพึงรู้แจ้งทางตาและ
ทางหูอันผ่องแผ้วหรือไม่’ ตถาคตเมื่อตอบก็จะพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ตถาคตมีธรรมที่
จะพึงรู้แจ้งทางตาและทางหูอันผ่องแผ้ว’ เราเป็นผู้มีธรรมที่ผ่องแผ้วนั้นเป็นทาง
เป็นที่โคจร เพราะเหตุนั้นเราจึงเป็นผู้ไม่มีตัณหา’
สาวกควรจะเข้าไปหาศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้เพื่อฟังธรรม ศาสดาก็จะแสดง
ธรรมที่สูงยิ่งขึ้นและประณีตยิ่งขึ้น ทั้งที่เป็นส่วนดำและส่วนขาวแก่สาวกนั้น
ศาสดาก็แสดงธรรมที่สูงยิ่งขึ้นและประณีตยิ่งขึ้น ทั้งที่เป็นส่วนดำและส่วนขาว
แก่ภิกษุโดยประการใด ภิกษุนั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้นโดยประการนั้น
ถึงความตกลงใจในธรรมทั้งหลาย ก็จะเลื่อมใสในศาสดาว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้
ปฏิบัติดีแล้ว’
หากชนเหล่าอื่นพึงสอบถามภิกษุนั้นอีกอย่างนี้ว่า ‘ท่านมีอะไรเป็นเครื่องบ่งชี้
ที่เป็นเหตุให้ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นเมื่อจะตอบอย่างถูกต้องก็ควรตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับเพื่อฟังธรรม พระผู้มี
พระภาคก็ทรงแสดงธรรมที่สูงยิ่งขึ้นและประณีตยิ่งขึ้นทั้งที่เป็นส่วนดำ และส่วนขาว
แก่เรานั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่สูงยิ่งขึ้นและประณีตยิ่งขึ้นทั้งที่เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๘. โกสัมพิยสูตร
ส่วนดำและส่วนขาวแก่เราโดยประการใด เราก็รู้ยิ่งซึ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้น
โดยประการนั้น ถึงความตกลงใจในธรรมทั้งหลาย ก็จะเลื่อมใสในพระศาสดาว่า
‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีไว้แล้ว
พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๔๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาของบุคคลใดบุคคลหนึ่งตั้งมั่นแล้วในตถาคต
มีมูล มีที่อาศัย ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ ศรัทธานี้เรากล่าวว่ามีเหตุ
มีทัสสนะเป็นมูล๑ มั่นคง ซึ่งสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ
ในโลกไม่พึงให้หวั่นไหวได้
ภิกษุทั้งหลาย การตรวจสอบธรรมในตถาคต ย่อมมีอย่างนี้ ตถาคตเป็นผู้ที่
ภิกษุพิจารณาตรวจสอบดีแล้วโดยธรรม อย่างนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
วีมังสกสูตรที่ ๗ จบ

๘. โกสัมพิยสูตร
ว่าด้วยภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีวิวาทกัน
[๔๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
พวกภิกษุในกรุงโกสัมพีต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปาก
ทิ่มแทงกันอยู่ ไม่ทำความเข้าใจกัน ไม่ปรารถนาปรับความเข้าใจกัน ไม่ทำความ
ปรองดองกัน ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน

เชิงอรรถ :
๑ มีทัสสนะเป็นมูล ในที่นี้หมายถึงมีโสดาปัตติมรรคเป็นมูลเหตุ (ม.มู.อ. ๒/๔๙๐/๒๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๘. โกสัมพิยสูตร
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ภิกษุทั้งหลายในกรุงโกสัมพีต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปาก
ทิ่มแทงกันอยู่ ไม่ทำความเข้าใจกัน ไม่ปรารถนาปรับความเข้าใจกัน ไม่ทำความ
ปรองดองกัน ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “มาเถิด ภิกษุ
เธอจงเรียกภิกษุเหล่านั้นมาตามคำของเราว่า ‘พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
ภิกษุรูปนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ แล้วได้
กล่าวว่า “พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำภิกษุนั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เธอ
ทั้งหลายต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ไม่ทำ
ความเข้าใจกัน ไม่ปรารถนาปรับความเข้าใจกัน ไม่ทำความปรองดองกัน ไม่
ปรารถนาความปรองดองกัน จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร สมัยใด เธอทั้งหลายต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปาก
ทิ่มแทงกันอยู่ สมัยนั้น เธอทั้งหลายตั้งมั่นเมตตากายกรรม ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม
และตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังบ้าง
หรือไม่”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้อนี้ไม่เป็นดังนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า สมัยใด เธอทั้งหลายต่าง
บาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ สมัยนั้น เธอ
ทั้งหลายก็ไม่ตั้งมั่นเมตตากายกรรม ไม่ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม และไม่ตั้งมั่นเมตตา
มโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๘. โกสัมพิยสูตร
โมฆบุรุษทั้งหลาย เมื่อเป็นดังนี้ เธอทั้งหลายรู้อะไร เห็นอะไร จึงต่าง
บาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ไม่ทำความเข้าใจกัน
ไม่ปรารถนาปรับความเข้าใจกัน ไม่ทำความปรองดองกัน ไม่ปรารถนาความ
ปรองดองกันอยู่
โมฆบุรุษทั้งหลาย ข้อนั้นนั่นแลจักมีเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์
แก่เธอทั้งหลายตลอดกาลนาน”
สาราณียธรรม ๖ ประการ
[๔๙๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย สาราณียธรรม(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก
ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน๑
สาราณียธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๒ ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

เชิงอรรถ :
๑ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน หมายถึงความเป็นเอกภาพ ไม่ก่อความแตกแยก (ม.มู.อ. ๒/๔๙๒/๓๐๒,
องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๒/๑๐๔)
๒ เมตตากายกรรม หมายถึงกายกรรมที่พึงทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา และเมตตาวจีกรรม เมตตา-
มโนกรรม ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกันนี้ (ม.มู.อ. ๒/๔๙๒/๓๐๒, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๘. โกสัมพิยสูตร
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก๑ ลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มา
โดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหม-
จารีทั้งหลายผู้มีศีลทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้
เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อ
ความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. เป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้
ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. เป็นผู้มีทิฏฐิโดยทิฏฐิอันประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม๒ เพื่อ
ความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก
ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความ
ไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อ
ความเป็นอันเดียวกัน ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสที่เป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรมนำ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่แบ่งแยก หมายถึงไม่แบ่งแยกอามิสโดยคิดว่า “จะให้เท่านี้ ๆ” และไม่แบ่งแยกบุคคลโดยคิดว่า “จะให้
แก่คนนั้น ไม่ให้แก่คนนี้” (ม.มู.อ. ๒/๔๙๒/๓๐๓, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๙)
๒ นิยยานิกธรรม หมายถึงธรรมที่ตัดมูลรากแห่งวัฏฏะ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วนำสัตว์ออกจากวัฏฏะ
(อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๘. โกสัมพิยสูตร
บุคคลผู้ทำตามนั้นออกไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมชั้นยอดที่ยึดคุม
สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ไว้
ภิกษุทั้งหลาย ยอดอันเป็นส่วนสูงสุดเป็นที่ยึดคุมเรือนยอด แม้ฉันใด ทิฏฐิ
อันไกลจากกิเลสที่เป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรมนำบุคคลผู้ทำตามนั้นออกไป เพื่อ
ความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นธรรมชั้นยอดที่ยึดคุมสาราณียธรรม
๖ ประการนี้ไว้
ทิฏฐิคือญาณของอริยสาวก ๗ ประการ
[๔๙๓] ทิฏฐิอันประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตามเสมอกัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลส(กิเลสเป็นเครื่องครอบงำ)
ใดครอบงำแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง ปริยุฏฐานกิเลสนั้นที่เรายังละไม่ได้
ในภายในมีอยู่หรือ’
ถ้าภิกษุมีจิตถูกกามราคะครอบงำ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว
มีจิตถูกพยาบาทครอบงำ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีจิตถูก
ถีนมิทธะครอบงำ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีจิตถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีจิตถูกวิจิกิจฉาครอบงำ
ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีความขวนขวายในการคิดเรื่องโลกนี้
ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว มีความขวนขวายในการคิดเรื่องโลกหน้า
ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทง
กันอยู่ ก็ชื่อว่ามีจิตถูกปริยุฏฐานกิเลสครอบงำแล้ว เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เรามีจิต
ถูกปริยุฏฐานกิเลสใดครอบงำแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง ปริยุฏฐานกิเลส
นั้นที่เรายังละไม่ได้ในภายใน มิได้มีเลย เราตั้งจิตไว้ดีแล้ว เพื่อตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๘. โกสัมพิยสูตร
นี้คือญาณที่ ๑ ที่เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่ง
ภิกษุนั้นบรรลุแล้ว
[๔๙๔] อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้
ก็ได้ความสงบเฉพาะตน ก็ได้ความดับกิเลสเฉพาะตนหรือ’ อริยสาวกนั้น ก็รู้ชัด
อย่างนี้ว่า ‘เรา เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ก็ได้ความสงบเฉพาะตน ก็ได้
ความดับกิเลสเฉพาะตน’
นี้คือญาณที่ ๒ ที่เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่ง
อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
[๔๙๕] อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เรามีทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือ
พราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ผู้มีทิฏฐิเช่นนั้นมีอยู่หรือ’ อริยสาวกนั้น ก็รู้ชัดอย่างนี้
ว่า ‘เรามีทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ ผู้มีทิฏฐิเช่นนั้น
มิได้มี’
นี้คือญาณที่ ๓ ที่เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่ง
อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
[๔๙๖] อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีสภาพเช่นใด
ถึงเราก็มีสภาพเช่นนั้น’
บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีสภาพอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีสภาพอย่างนี้ คือ การออกจากอาบัติ
เช่นใดย่อมปรากฏ อริยสาวกต้องอาบัติเช่นนั้นก็รีบแสดง เปิดเผย ทำให้ชัดเจน
อาบัตินั้นในสำนักศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ครั้นแสดง
เปิดเผย ทำให้ชัดเจนแล้วก็สำรวมระวังต่อไป เด็กอ่อนที่นอนหงาย มือหรือเท้า
ถูกถ่านไฟแล้วก็ชักมือหรือเท้ากลับทันที แม้ฉันใด บุคคลผู้มีทิฏฐิก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้มีสภาพอย่างนี้ คือการออกจากอาบัติเช่นใดย่อมปรากฏ อริยสาวกต้องอาบัติ
เช่นนั้น ก็รีบแสดง เปิดเผย ทำให้ชัดเจนอาบัตินั้นในสำนักศาสดา หรือเพื่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๘. โกสัมพิยสูตร
พรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ครั้นแสดง เปิดเผย ทำให้ชัดเจนแล้วก็สำรวม
ระวังต่อไป อริยสาวกนั้น ก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีสภาพเช่นใด
ถึงเราก็มีสภาพเช่นนั้น’
นี้คือญาณที่ ๔ ที่เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่ง
อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
[๔๙๗] อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีสภาพเช่นใด
ถึงเราก็มีสภาพเช่นนั้น’
บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีสภาพอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีสภาพอย่างนี้ คือ อริยสาวกมีความ
ขวนขวายในกิจอะไร ทั้งน้อยใหญ่ที่ควรทำของเพื่อนพรหมจารีโดยแท้ ถึงอย่างนั้น
ความปรารถนาอันแรงกล้าในอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
ของอริยสาวกนั้นมีอยู่ โคแม่ลูกอ่อน เล็มหญ้าพลางชำเลืองดูลูกไปพลาง แม้ฉันใด
บุคคลผู้มีทิฏฐิก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีสภาพอย่างนี้ คือ อริยสาวกมีความ
ขวนขวายในกิจอะไร ทั้งน้อยใหญ่ที่ควรทำของเพื่อนพรหมจารีโดยแท้ ถึงอย่างนั้น
ความปรารถนาอันแรงกล้าในอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
ของอริยสาวกนั้นมีอยู่ อริยสาวกนั้น ก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีสภาพ
เช่นใด ถึงเราก็มีสภาพเช่นนั้น’
นี้คือญาณที่ ๕ ที่เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่ง
อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
[๔๙๘] อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีพละเช่นใด
ถึงเราก็มีพละเช่นนั้น’
บุคคลผู้มีทิฏฐินั้น เป็นผู้มีพละอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีพละอย่างนี้ คือ เมื่อบัณฑิตแสดง
ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อริยสาวกนั้น สนใจ ใส่ใจ กำหนดด้วยจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๘. โกสัมพิยสูตร
ทั้งปวงแล้วเงี่ยโสตฟังธรรม อริยสาวกนั้นก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มี
ทิฏฐิ เป็นผู้มีพละเช่นใด ถึงเราก็มีพละเช่นนั้น’’
นี้คือญาณที่ ๖ ที่เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่ง
อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
[๔๙๙] อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีพละเช่นใด
ถึงเราก็มีพละเช่นนั้น’
บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีพละอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีทิฏฐิ เป็นผู้มีพละอย่างนี้ คือ เมื่อบัณฑิตแสดง
ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อริยสาวกนั้น ได้ความรู้แจ้งอรรถ ได้ความรู้แจ้ง
ธรรม และได้ความปราโมทย์ในธรรม อริยสาวกนั้นก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มี
ทิฏฐิ เป็นผู้มีพละเช่นใด ถึงเราก็มีพละเช่นนั้น’
นี้คือญาณที่ ๗ ที่เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่ง
อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
[๕๐๐] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้
ตรวจสอบสภาวธรรมดีแล้ว ด้วยการทำให้แจ้งโสดาปัตติผลอย่างนี้ อริยสาวกผู้
ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยโสดาปัตติผลแล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
โกสัมพิยสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๙. พรหมนิมันตนิกสูตร

๙. พรหมนิมันตนิกสูตร
ว่าด้วยการเชื้อเชิญของพรหม
[๕๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระ
ภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคนต้นสาละใหญ่ในสุภควัน ใกล้เมือง
อุกกัฏฐา ในสมัยนั้น พกพรหมมีทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นว่า ‘พรหมสถาน๑นี้เที่ยง
ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนไปเป็นธรรมดา พรหมสถานนี้ ไม่เกิด
ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แลเหตุเครื่องสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่ง นอก
จากพรหมสถานนี้ไม่มี’ ครั้งนั้น เรารู้ความคิดคำนึงของพกพรหมด้วยใจแล้ว จึง
อันตรธานจากโคนต้นสาละใหญ่ในสุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐา ไปปรากฏในพรหมโลกนั้น
เปรียบเหมือนคนแข็งแรงเหยียดแขนออก หรือคู้แขนเข้าฉะนั้น พกพรหมได้เห็น
เราผู้มาแต่ไกล แล้วได้กล่าวกับเราว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ เชิญเสด็จมาเถิด ขอรับเสด็จ
ท่านได้พูดว่า ‘จะมาที่นี้นานมาแล้ว ท่านผู้นิรทุกข์ พรหมสถานนี้ เที่ยง ยั่งยืน
มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนไปเป็นธรรมดา พรหมสถานนี้ ไม่เกิด ไม่แก่
ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แลการสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่ง นอกจากพรหม-
สถานนี้ไม่มี’

เชิงอรรถ :
๑ พรหมสถาน หมายถึงพกพรหมมีความเห็นว่า พรหมสถานพร้อมทั้งร่างกายเป็นภาวะที่เที่ยง (ม.มู.อ.
๒/๕๐๑/๓๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๙. พรหมนิมันตนิกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกับพกพรหมว่า
‘พกพรหมผู้เจริญตกอยู่ในอำนาจอวิชชาแล้วหนอ พกพรหมผู้เจริญตกอยู่ใน
อำนาจอวิชชาแล้วหนอ เพราะว่าพกพรหมกล่าวสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า ‘เที่ยง’ กล่าวสิ่ง
ที่ไม่ยั่งยืนว่า ‘ยั่งยืน’ กล่าวสิ่งที่ไม่มั่นคงว่า ‘มั่นคง’ กล่าวสิ่งที่ไม่แข็งแรงว่า
‘แข็งแรง’ กล่าวสิ่งที่มีความเคลื่อนไปเป็นธรรมดาว่า ‘มีความไม่เคลื่อนไปเป็นธรรมดา’
ก็แลสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ และอุบัติอยู่ในพรหมสถานใด พกพรหมกล่าว
พรหมสถานนั้นว่า ‘พรหมสถานนี้ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และ
กล่าวการสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นซึ่งมีอยู่ว่า ‘การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่ง
อื่นไม่มี’
มารเข้าสิงกายพรหม
[๕๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มารใจบาปเข้าสิงกายพรหมปาริสัชชะผู้หนึ่ง
แล้วกล่าวกับเราว่า ‘ภิกษุ ภิกษุ อย่ารุกรานพกพรหมนี้เลย อย่ารุกรานพกพรหม
นี้เลย เพราะว่าพรหมผู้นี้เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ คณะพรหมฝ่าฝืนไม่ได้ โดยที่แท้
เป็นผู้รู้ทั่วไป ยังสรรพสัตว์ให้เป็นไปในอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้างโลก นิรมิตโลก
เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้แต่งสัตว์ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้ว
และที่กำลังจะเกิด สมณพราหมณ์พวกก่อนท่าน เป็นผู้ติเตียนดิน เกลียดดิน เป็นผู้
ติเตียนน้ำ เกลียดน้ำ เป็นผู้ติเตียนไฟ เกลียดไฟ เป็นผู้ติเตียนลม เกลียดลม
เป็นผู้ติเตียนสัตว์ เกลียดสัตว์ เป็นผู้ติเตียนเทวดา เกลียดเทวดา เป็นผู้ติเตียน
ปชาบดี เกลียดปชาบดี เป็นผู้ติเตียนพรหม เกลียดพรหมในโลก หลังจากตายแล้ว
สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะไปเกิดในพวกที่เลว
ส่วนสมณพราหมณ์พวกก่อนท่าน เป็นผู้สรรเสริญดิน ชมเชยดิน เป็นผู้
สรรเสริญน้ำ ชมเชยน้ำ เป็นผู้สรรเสริญไฟ ชมเชยไฟ เป็นผู้สรรเสริญลม ชมเชยลม
เป็นผู้สรรเสริญสัตว์ ชมเชยสัตว์ เป็นผู้สรรเสริญเทวดา ชมเชยเทวดา เป็นผู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๙. พรหมนิมันตนิกสูตร
สรรเสริญปชาบดี ชมเชยปชาบดี เป็นผู้สรรเสริญพรหม ชมเชยพรหม หลังจาก
ตายแล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้น จะไปเกิดในพวกที่ดี
เพราะเหตุนั้น เราจึงบอกกับท่านว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ เชิญเถิด ท่านจงทำ
ตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น ท่านจงอย่าฝ่าฝืนคำของพรหมเลย ถ้าท่านจัก
ฝ่าฝืนคำของพรหม โทษจักมีแก่ท่าน เปรียบเหมือนบุรุษเอาท่อนไม้ไล่ตีสิริที่มาหา
หรือเปรียบเหมือนบุรุษผู้ตกเหวลึก ชักมือ และเท้าให้ห่างแผ่นดินเสียฉะนั้น ท่าน
ผู้นิรทุกข์ เชิญเถิด ท่านจงทำตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น ท่านจงอย่าฝ่า
ฝืนคำของพรหมเลย ภิกษุ ท่านเห็นพรหมบริษัทประชุมกันแล้วมิใช่หรือ’ มารใจ
บาปเปรียบเรากับพรหมบริษัทนี้ ดังนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกับมารผู้ใจบาปนั้นว่า
‘มารผู้ใจบาป เรารู้จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่า ‘พระสมณะไม่รู้จักเรา’ ท่านเป็นมาร
พรหมก็ดี พรหมบริษัทก็ดี พรหมปาริสัชชะก็ดี ทั้งหมดนั้นอยู่ในมือของท่าน
ตกอยู่ในอำนาจของท่าน และท่านก็มีความดำริว่า ‘แม้พระสมณะก็ต้องอยู่ในมือ
ของเรา ต้องอยู่ในอำนาจของเรา’ แต่ว่า เราไม่ได้อยู่ในมือของท่าน ไม่ได้ตกอยู่
ในอำนาจของท่านเลย’
พกพรหมหายไปจากพระผู้มีพระภาค
[๕๐๓] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พกพรหมได้กล่าวว่า
‘ท่านผู้นิรทุกข์ เรากล่าวสิ่งที่เที่ยงว่า ‘เที่ยง’ กล่าวสิ่งที่มั่นคงว่า ‘มั่นคง’ กล่าว
สิ่งที่ยั่งยืนว่า ‘ยั่งยืน’ กล่าวสิ่งที่แข็งแรงว่า ‘แข็งแรง’ กล่าวสิ่งที่ไม่มีความเคลื่อน
เป็นธรรมดาว่า ‘ไม่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดา’ ก็แลสัตว์ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่จุติ ไม่อุบัติในพรหมสถานใด เรากล่าวถึงพรหมสถานนั้นว่า ‘พรหมสถานนี้
ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และกล่าวการสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่ง
อื่นซึ่งไม่มีว่า ‘การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นไม่มี’ สมณพราหมณ์พวกก่อนท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๙. พรหมนิมันตนิกสูตร
ได้มีแล้วในโลก อายุของท่านทั้งสิ้นมีประมาณเท่าใด กรรมที่ทำด้วยตบะของสมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นก็มีประมาณเท่านั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น จะพึงรู้การสลัด
ออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นซึ่งมีว่า ‘การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นมี’ หรือจะพึงรู้
การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นซึ่งไม่มีว่า ‘การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นไม่มี’
เพราะเหตุนั้นเราจึงกล่าวกับท่านอย่างนี้ว่า ‘ท่านจักไม่เห็นการสลัดออกจากทุกข์
อย่างยิ่งอื่นเลย แม้ว่าท่านจักเป็นผู้มีความลำบากและความคับแค้นใจก็ตาม ภิกษุ
ถ้าท่านจักกลืนกินแผ่นดิน ท่านก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนในที่อยู่ของเรา
เราพึงทำได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้ ถ้าท่านกลืนกินน้ำ ... ถ้าท่านกลืนกินไฟ ...
ถ้าท่านกลืนกินลม ... ถ้าท่านกลืนกินเหล่าสัตว์ ... ถ้าท่านกลืนกินเทวดา ... ถ้าท่าน
กลืนกินปชาบดี ... ถ้าท่านกลืนกินพรหม ท่านก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนใน
ที่อยู่ของเรา เราพึงทำได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้’
เรากล่าวว่า ‘พรหม แม้เราก็รู้อย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราจักกลืนกินแผ่นดิน เราก็จัก
ชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้ท่าน นอนในที่อยู่ของท่าน ท่านพึงทำได้ตามประสงค์ ท่านพึง
ห้ามได้ และถ้าเราจักกลืนกินน้ำ ... ถ้าเราจักกลืนกินไฟ ... ถ้าเราจักกลืนกินลม ...
ถ้าเราจักกลืนกินเหล่าสัตว์ ... ถ้าเราจักกลืนกินเทวดา ... ถ้าเราจักกลืนกินปชาบดี ...
ถ้าเราจักกลืนกินพรหม เราก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้ท่าน นอนในที่อยู่ของท่าน
ท่านพึงทำได้ตามประสงค์ ท่านพึงห้ามได้ ใช่แต่เท่านั้น เรารู้คติ และรู้ความ
รุ่งเรืองของท่านว่า ‘พกพรหมมีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้
พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้’ พกพรหมถามเราว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านรู้คติและรู้
ความรุ่งเรืองของเราว่า ‘พกพรหมมีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมาก
อย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้ได้อย่างไร’ เรากล่าวว่า
‘ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
ย่อมโคจรส่องทิศให้สว่างอยู่เท่าใด
อำนาจของท่านย่อมเป็นไปใน ๑,๐๐๐ จักรวาลเท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๙. พรหมนิมันตนิกสูตร
ท่านย่อมรู้จักสัตว์ที่เลวและสัตว์ที่ประณีต
รู้จักสัตว์ที่มีราคะและสัตว์ที่ไม่มีราคะ
รู้จักจักรวาลนี้และจักรวาลอื่น
และรู้จักการมาและการไปของสัตว์ทั้งหลาย’
พรหม เรารู้คติและรู้ความรุ่งเรืองของท่านอย่างนี้ว่า ‘พกพรหมมีฤทธิ์มาก
อย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้’
[๕๐๔] พรหม หมู่พรหมอื่นมีอยู่ ท่านไม่รู้ ไม่เห็นหมู่พรหมนั้น (แต่)เรารู้
เห็นหมู่พรหมนั้น หมู่พรหมชื่ออาภัสสรามีอยู่ ท่านเคลื่อนแล้วจากที่ใด มาอุบัติ
แล้วในที่นี้ ท่านมีสติหลงลืมไปเพราะอยู่อาศัยนานนัก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่รู้
ไม่เห็นหมู่พรหมนั้น (แต่)เรารู้ เห็นหมู่พรหมนั้น เรากับท่านเทียบกันไม่ได้ด้วย
ปัญญาอันรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้ เรา
เท่านั้นเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน
หมู่พรหมชื่อสุภกิณหา มีอยู่ ...
หมู่พรหมชื่อเวหัปผลา มีอยู่ ...
หมู่พรหมชื่ออภิภู มีอยู่ ท่านไม่รู้ ไม่เห็นหมู่พรหมนั้น (แต่)เรารู้ เห็นหมู่
พรหมนั้น เรากับท่านเทียบกันไม่ได้ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้
ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้เราเท่านั้นเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน
พรหม เรารู้จักดินโดยความเป็นดิน รู้จักนิพพานที่สัตว์เสวยไม่ได้๑ โดยความ
ที่ดินเป็นดิน แล้วไม่เป็นดิน๒ ไม่ได้มีแล้วในดิน ไม่ได้มีแล้วจากดิน ไม่ได้มีแล้วว่า
ดินเป็นของเรา ไม่ได้กล่าวเฉพาะดิน เราเทียบไม่ได้กับท่านด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งแม้
อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้ เราเท่านั้นเป็นผู้สูงยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ ที่สัตว์เสวยไม่ได้ หมายถึงที่สัตว์ครอบครองไม่ได้ บรรลุไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน (ม.มู.อ.
๒/๕๐๔/๓๒๐)
๒แล้วไม่เป็นดิน หมายถึงไม่ยึดถือดินด้วยอำนาจตัณหา ทิฏฐิ และมานะ (ม.มู.อ. ๒/๕๐๔/๓๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๙. พรหมนิมันตนิกสูตร
กว่าท่าน เรารู้จักน้ำ ... เรารู้จักไฟ ... เรารู้จักลม ... เรารู้จักเหล่าสัตว์ ... เรา
รู้จักเทวดา ... เรารู้จักปชาบดี ... เรารู้จักพรหม ... เรารู้จักอาภัสสรพรหม ...
เรารู้จักสุภกิณหพรหม ... เรารู้จักเวหัปผลพรหม ... เรารู้จักอภิภูพรหม ...
เรารู้จักสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นสิ่งทั้งปวง รู้จักนิพพานที่สัตว์เสวยไม่ได้โดย
ความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวงแล้วไม่เป็นสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีในสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มี
จากสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของเรา ไม่ได้กล่าวเฉพาะสิ่งทั้งปวง
พรหม เราเทียบกับท่านไม่ได้ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้
ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้ เราเท่านั้นเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน พกพรหม
กล่าวกับเราว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเพราะท่านรู้นิพพานที่สัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่
สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง ถ้อยคำของท่าน อย่าได้ว่าง อย่าได้เปล่าเสียเลย’
นิพพานที่ผู้บรรลุจะพึงรู้แจ้งได้ เป็นอนิทัสสนะ๑ เป็นอนันตะ๒(ไม่สิ้นสุด) มี
รัศมีกว่าสิ่งทั้งปวง สัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน โดยความที่น้ำเป็นน้ำ
โดยความที่ไฟเป็นไฟ โดยความที่ลมเป็นลม โดยความที่เหล่าสัตว์เป็นเหล่าสัตว์
โดยความที่เทวดาเป็นเทวดา โดยความที่ปชาบดีเป็นปชาบดี โดยความที่พรหม
เป็นพรหม โดยความที่อาภัสสรพรหมเป็นอาภัสสรพรหม โดยความที่สุภกิณห-
พรหมเป็นสุภกิณหพรหม โดยความที่เวหัปผลพรหมเป็นเวหัปผลพรหม โดย
ความที่อภิภูพรหมเป็นอภิภูพรหม โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง
พกพรหมกล่าวกับเราว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านจงดู บัดนี้ เราจะอันตรธาน
ไปจากท่าน’ เรากล่าวว่า ‘พรหม หากท่านสามารถ บัดนี้ ก็จงอันตรธานไปจาก
เราเถิด’ ครั้งนั้น พกพรหมกล่าวว่า ‘เราจักอันตรธานไปจากพระสมณโคดม เรา
จักอันตรธานไปจากพระสมณโคดม’ แต่ก็ไม่อาจอันตรธานไปจากเราได้เลย

เชิงอรรถ :
๑ อนิทัสสนะ หมายถึงสภาวะที่มองไม่เห็นเพราะอยู่เหนือจักขุวิญญาณ (ม.มู.อ. ๒/๕๐๔/๓๒๑)
๒ อนันตะ หมายถึงไม่มีที่สุด เพราะไม่มีการเกิดขึ้นและการดับไป (ม.มู.อ. ๒/๕๐๔/๓๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๙. พรหมนิมันตนิกสูตร
เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกับพกพรหมว่า ‘พรหม ท่านจงดู
บัดนี้ เราจะอันตรธานไปจากท่าน’ พกพรหมกล่าวว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ หากท่าน
สามารถ บัดนี้ ก็จงอันตรธานไปจากเราเถิด’ ลำดับนั้นเราบันดาลอิทธาภิสังขาร๑
เช่นนั้น ด้วยคิดว่า ‘ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พรหมก็ดี พรหมบริษัทก็ดี พรหม-
ปาริสัชชะก็ดี ย่อมได้ยินเสียงเรา แต่มิได้เห็นตัวเรา’ เราอันตรธานไปแล้ว ได้
กล่าวคาถานี้ว่า
‘เราเห็นภัยในภพและเห็นภพของสัตว์
ผู้แสวงหาความปราศจากภพแล้ว
ไม่กล่าวยกย่องภพอะไรเลย
ทั้งไม่ยึดมั่นนันทิ๒ ด้วย’
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พรหมก็ดี พรหมบริษัทก็ดี พรหมปาริสัชชะก็ดี ได้
เกิดความแปลกประหลาดมหัศจรรย์จิตว่า ‘ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก่อนแต่นี้ เราทั้งหลายไม่ได้เห็น
ไม่ได้ยินสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เหมือนพระสมณโคดม
นี้ ผู้ออกผนวชจากศากยตระกูล ถอนภพพร้อมทั้งรากของหมู่สัตว์ผู้รื่นรมย์ในภพ
ยินดีในภพ เพลิดเพลินในภพ’
มารเข้าสิงกายพรหม
[๕๐๕] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มารใจบาป เข้าสิงกายพรหมปาริสัชชะ
ผู้หนึ่ง แล้วกล่าวกับเราว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าท่านรู้อย่างนี้ ตรัสรู้อย่างนี้ ก็อย่า
แนะนำ อย่าแสดงธรรม อย่าทำความยินดีกับพวกสาวกและพวกบรรพชิตเลย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๙๓ (จูฬตัณหาสังขยสูตร) หน้า ๔๒๔ ในเล่มนี้
๒ นันทิ ในที่นี้หมายถึงภวตัณหา (ม.มู.อ. ๒/๕๐๔/๓๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๙. พรหมนิมันตนิกสูตร
ภิกษุ ได้มีสมณพราหมณ์พวกก่อนท่านผู้ปฏิญญาว่า เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าในโลก สมณพราหมณ์เหล่านั้นแนะนำ แสดงธรรม ทำความยินดีกับ
พวกสาวกและพวกบรรพชิต หลังจากตายแล้วก็ไปเกิดในพวกที่เลว สมณ-
พราหมณ์พวกก่อนท่านผู้ปฏิญญาว่า เป็นพระอรหันตสัมมาพุทธเจ้าในโลก
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่แนะนำ ไม่แสดงธรรม ไม่ทำความยินดีกับพวกสาวก
และพวกบรรพชิต หลังจากตายแล้วก็ไปเกิดในพวกที่ดี เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าว
กับท่านว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ขอท่านอย่ากังวลไปเลย จงหมั่นประกอบธรรมเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอยู่เถิด เพราะการไม่พูดเป็นความดี ท่านอย่าสั่งสอน
สัตว์อื่น ๆ เลย’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราจึงกล่าวว่า ‘มาร เรารู้จักท่าน
ท่านอย่าเข้าใจว่า ‘พระสมณะไม่รู้จักเรา’ ท่านเป็นมาร ท่านหามีความอนุเคราะห์
ด้วยจิตเกื้อกูลไม่ จึงกล่าวกับเราอย่างนี้ ท่านไม่มีความอนุเคราะห์ด้วยจิตเกื้อกูล
จึงกล่าวกับเราอย่างนี้ ท่านมีความดำริว่า ‘พระสมณโคดม จักแสดงธรรมแก่ชน
เหล่าใด ชนเหล่านั้น จักล่วงวิสัยของเราไป’ สมณพราหมณ์เหล่านั้น มิได้เป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิญญาว่า ‘เราทั้งหลาย เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า’ เรา
เป็นสัมมาสัมพุทธะ ย่อมปฏิญญาว่า ‘เราเป็นสัมมาสัมพุทธะ’
มาร ตถาคตแม้เมื่อแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย ก็เป็นเช่นนั้น แม้เมื่อไม่
แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ตถาคตแม้เมื่อแนะนำสาวก ก็เป็นเช่นนั้น
แม้เมื่อไม่ได้แนะนำสาวกก็เป็นเช่นนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคตละอาสวะ
อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มี
ชาติ ชรา มรณะต่อไปได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอน
โคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ต้นตาลที่ถูกตัดยอดแล้ว
ไม่อาจงอกขึ้นอีกได้ แม้ฉันใด ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ละอาสวะทั้งหลายอัน
ทำให้เศร้าหมองให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑๐. มารตัชชนียสูตร
ชรา มรณะต่อไปได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”
เวยยากรณภาษิตนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยมารมิได้เรียกร้อง และ
โดยที่พรหมเชื้อเชิญดังนี้ เพราะเหตุนั้น เวยยากรณภาษิตนี้ จึงมีชื่อว่า พรหม-
นิมันตนิกสูตร ดังนี้แล
พรหมนิมันตนิกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. มารตัชชนียสูตร
ว่าด้วยการคุกคามของมาร
[๕๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ เภสกฬาวันสถานที่ให้อภัยแก่
หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ ในแคว้นภัคคะ สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเดิน
จงกรมอยู่ในที่แจ้ง ถูกมารใจบาปเข้าสิงในท้องในไส้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
“ท้องเราเป็นเหมือนว่ามีก้อนหินหนัก ๆ และเป็นเช่นกระสอบที่บรรจุถั่วเหลืองเต็ม
เพราะเหตุไรหนอ” จึงลงจากที่จงกรมแล้วเข้าไปสู่วิหาร นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ได้มนสิการโดยแยบคายเฉพาะตน
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เห็นมารใจบาป เข้าสิงในท้องในไส้ แล้วจึงได้กล่าว
กับมารใจบาปว่า “มาร ท่านจงออกมา ท่านจงออกมา ท่านอย่าเบียดเบียนพระ-
ตถาคตและสาวกของพระตถาคตเลย การเบียดเบียนนั้นอย่าได้มีเพื่อสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่ท่านตลอดกาลนาน”
ลำดับนั้น มารใจบาปมีความดำริอย่างนี้ว่า “สมณะนี้ไม่รู้ ไม่เห็นเรา จึง
กล่าวว่า ‘มาร ท่านจงออกมา ท่านจงออกมา ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคต
และสาวกของพระตถาคตเลย การเบียดเบียนนั้น อย่าได้มีเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑๐. มารตัชชนียสูตร
เพื่อความทุกข์แก่ท่านตลอดกาลนาน’ แล้วจึงดำริว่า ‘แม้สมณะที่เป็นศาสดายังไม่
รู้จักเราได้เร็วไว ไฉนสมณะที่เป็นสาวกจักรู้จักเราได้”
ในขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า “มาร เรารู้จักท่านแม้ด้วย
เหตุนี้ ท่านอย่าเข้าใจว่า ‘สมณะนี้ไม่รู้จักเรา’ ท่านเป็นมาร ท่านมีความดำริว่า
‘สมณะนี้ไม่รู้ ไม่เห็นเรา จึงกล่าวว่า ‘มาร ท่านจงออกมา ท่านจงออกมา ท่าน
อย่าเบียดเบียนพระตถาคตและสาวกของพระตถาคตเลย การเบียดเบียนนั้นอย่าได้มี
เพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่ท่านสิ้นกาลนาน’ แล้วจึงดำริว่า ‘แม้
สมณะที่เป็นศาสดายังไม่รู้จักเราได้เร็วไว ไฉนสมณะที่เป็นสาวกจักรู้จักเราได้”
ลำดับนั้น มารใจบาปมีความดำริว่า “สมณะนี้รู้จักและเห็นเราจึงกล่าวอย่าง
นี้ว่า ‘มาร ท่านจงออกมา ท่านจงออกมา ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตและ
สาวกของพระตถาคตเลย การเบียดเบียนนั้น อย่าได้มีเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
เพื่อความทุกข์แก่ท่านตลอดกาลนาน” จึงออกจากปากของท่านพระมหาโมคคัลลานะ
แล้วยืนอยู่ข้างบานประตู
[๕๐๗] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เห็นมารใจบาปยืนอยู่ข้างบานประตู
แล้วจึงถามว่า “มาร เราเห็นท่านแม้ที่ข้างบานประตูนั้น ท่านอย่าเข้าใจว่า ‘สมณะ
นี้ไม่เห็นเรา’ ท่านนั้นยืนอยู่แล้วที่ข้างบานประตู
เรื่องเคยมีมาแล้ว เราเป็นมารชื่อทูสี มีน้องสาวชื่อกาลี ท่านเป็นบุตรของ
น้องสาวเรา ท่านเป็นหลานชายของเรา ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงมีคู่
พระอัครสาวกชื่อว่าวิธุระและสัญชีวะ ในบรรดาพระสาวกของพระกกุสันธะผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่าที่มีอยู่ ไม่มีสาวกองค์ใดที่จะเสมอด้วยท่าน
พระวิธุระในการแสดงธรรม ด้วยเหตุนี้ ท่านพระวิธุระจึงมีชื่อว่า ‘วิธุระ วิธุระ’
ส่วนท่านพระสัญชีวะอยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี
ย่อมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติด้วยความลำบากเล็กน้อย เรื่องเคยมีมาแล้ว
ท่านพระสัญชีวะนั่งเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง พวกคนเลี้ยงโค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑๐. มารตัชชนียสูตร
พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกคนไถนา และพวกคนเดินทาง ได้เห็นท่านพระสัญชีวะนั่ง
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง แล้วได้ปรึกษากันว่า ‘ท่านผู้เจริญ น่า
อัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระสมณะนี้นั่งมรณภาพแล้ว เอาละ พวกเราช่วย
กันเผาท่านเถิด’ ครั้งนั้น คนเหล่านั้นจึงหาหญ้า ไม้ และมูลโคมากองสุมกาย
ท่านพระสัญชีวะ จุดไฟเผาแล้วจากไป เมื่อราตรีนั้นผ่านพ้นไปแล้ว ท่าน
พระสัญชีวะออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ก็สลัดจีวร เวลาเช้า ครองอันตรวาสกแล้ว
ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์
พวกคนไถนา และพวกคนเดินทาง ได้เห็นท่านพระสัญชีวะเที่ยวบิณฑบาตแล้ว
ได้ปรึกษากันว่า ‘ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระสมณะนี้
นั่งมรณภาพแล้ว กลับฟื้นชีพคืนได้’ ด้วยเหตุนี้ ท่านพระสัญชีวะจึงมีชื่อว่า ‘สัญชีวะ
สัญชีวะ’
[๕๐๘] มาร ครั้งนั้น ทูสีมารมีความดำริว่า ‘เราไม่รู้จักการมาและการไป
ของภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านี้ ทางที่ดี เราควรดลใจพวกพราหมณ์และ
คหบดีว่า ‘มาเถิด พวกท่านจงด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนพวกภิกษุผู้มีศีล
มีกัลยาณธรรม ทำอย่างไร ภิกษุเหล่านั้น ผู้ถูกพวกท่านด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด
เบียดเบียนอยู่ จะพึงมีจิตเป็นอย่างอื่นทำให้ทูสีมารพึงได้โอกาส’
ครั้งนั้น ทูสีมารก็ดลใจพวกพราหมณ์และคหบดีว่า ‘มาเถิด พวกท่านจงด่า
บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนพวกภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ทำอย่างไร
ภิกษุเหล่านั้น ผู้ถูกพวกท่านด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนอยู่ จะพึงมีจิต
เป็นอย่างอื่นทำให้ทูสีมารพึงได้โอกาส’ พวกพราหมณ์และคหบดีถูกทูสีมารดลใจ
แล้วก็ด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนพวกภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมว่า
‘ภิกษุพวกนี้เป็นสมณะหัวโล้น เป็นคหบดี เป็นค่าง เป็นผู้เกิดจากหลังเท้าของพรหม
พูดว่า ‘พวกเราเจริญฌาน พวกเราเจริญฌาน’ เป็นผู้คอตก ก้มหน้า เกียจคร้าน
ย่อมรำพึง ซบเซา เหงาหงอย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑๐. มารตัชชนียสูตร
เปรียบเหมือนนกเค้าแมวจ้องหาหนูที่กิ่งต้นไม้ รำพึง ซบเซา เหงาหงอยอยู่
สุนัขจิ้งจอกจ้องหาปลาใกล้ฝั่งน้ำรำพึง ซบเซา เหงาหงอยอยู่ แมวที่จ้องหา
หนูที่รางน้ำ ท่อน้ำครำและกองหยากเยื่อ รำพึง ซบเซา เหงาหงอยอยู่ และลาที่
ปลดต่างแล้ว ก็รำพึง ซบเซา เหงาหงอยอยู่ แม้ฉันใด ภิกษุพวกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นสมณะหัวโล้น เป็นคหบดี เป็นค่าง เป็นผู้เกิดจากหลังเท้าของพรหมพูดว่า
‘พวกเราเจริญฌาน พวกเราเจริญฌาน’ เป็นผู้คอตก ก้มหน้า เกียจคร้าน ย่อมรำพึง
ซบเซา เหงาหงอย’
มาร สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายที่ตายไป ก็จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
และนรกโดยมาก
[๕๐๙] มาร ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย พวกพราหมณ์
และคหบดีถูกทูสีมารดลใจชักชวนว่า ‘มาเถิด พวกท่านจงด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด
เบียดเบียนพวกภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ทำอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นถูกพวกท่าน
ด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนอยู่ จะพึงมีจิตเป็นอย่างอื่นทำให้ทูสีมารพึง
ได้โอกาส’ ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด พวกเธอจงมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอด
โลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ... มีมุทิตาจิต ... มีอุเบกขาจิตแผ่ไป
ตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง
แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้ที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสั่งสอน ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑๐. มารตัชชนียสูตร
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ... มีมุทิตาจิต ... มีอุเบกขาจิตแผ่ไป
ตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง
แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
[๕๑๐] มาร ครั้งนั้น ทูสีมารมีความดำริว่า ‘เราทำอยู่แม้ถึงอย่างนี้ ก็มิ
ได้รู้ถึงการมาและการไปของภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านี้เลย ทางที่ดี เรา
ควรชักชวนพราหมณ์และคหบดีว่า ‘เชิญท่านทั้งหลายมาสักการะ เคารพ นับถือ
บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมกันเถิด ทำอย่างไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นผู้ซึ่ง
ท่านทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ จะพึงมีจิตเป็นอย่างอื่นทำให้ทูสีมาร
พึงได้โอกาส’ ลำดับนั้น ทูสีมารชักชวนพราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นว่า ‘เชิญท่าน
ทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือบูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมกันเถิด
ทำอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นผู้ซึ่งท่านทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ จะพึง
มีจิตเป็นอย่างอื่นทำให้ทูสีมารพึงได้โอกาส’
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้น ถูกทูสีมารชักชวนแล้ว พากันสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม
มาร สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายที่ตายไป ก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์โดยมาก
[๕๑๑] มาร ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็นพระ-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย พวก
พราหมณ์และคหบดี ถูกทูสีมารชักชวนว่า ‘เชิญท่านทั้งหลายมาสักการะ เคารพ
นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมกันเถิด ทำอย่างไร เมื่อภิกษุเหล่านั้น
ผู้ซึ่งท่านสักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ จะพึงมีจิตเป็นอย่างอื่นทำให้ทูสีมารพึง
ได้โอกาส’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมา จงพิจารณาเห็นกายว่าไม่งาม มีความ
สำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณา
เห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยงอยู่เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑๐. มารตัชชนียสูตร
มาร ภิกษุเหล่านั้นผู้ที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสั่งสอน ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี
อยู่ในเรือนว่างก็ดี ก็พิจารณาเห็นกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของ
ปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็น
ของไม่เที่ยงอยู่
[๕๑๒] มาร ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร มีท่านพระ-
วิธุระเป็นปัจฉาสมณะ(ผู้ติดตาม) เสด็จเข้าสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต
ครั้งนั้น ทูสีมารได้เข้าสิงเด็กคนหนึ่งแล้วเอาก้อนหินขว้างที่ศีรษะของท่าน
พระวิธุระแตก ท่านพระวิธุระมีศีรษะแตกเลือดไหลอาบอยู่ เดินตามเสด็จพระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากกุสันธะไปข้างหลัง ๆ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงชำเลืองดูเหมือนช้างชำเลืองดู แล้วตรัสว่า ‘ทูสีมารนี้ไม่รู้จักประมาณเลย’ ก็แล
ทูสีมารเคลื่อนแล้วจากที่นั้น ได้ไปเกิดในมหานรก พร้อมกับพระกิริยาที่ทรงชำเลืองดู
มาร มหานรกนั้นมี ๓ ชื่อ คือ (๑) ฉผัสสายตนิกนรก๑ (๒) สังกุสมาหตนรก๒
(๓) ปัจจัตตเวทนียนรก๓ ครั้งนั้น พวกนายนิรยบาลเข้ามาหาเรา(ผู้เป็นทูสีมาร)
แล้วบอกว่า ‘เมื่อใดหลาวเหล็กกับหลาวเหล็กมารวมกันที่กลางหทัยของท่าน เมื่อ
นั้น ท่านจะพึงรู้ว่า ‘เราไหม้อยู่ในนรกพันปีแล้ว เรานั้น หมกไหม้อยู่ในมหานรก
หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี และหมกไหม้อยู่ในอุสสทนรกซึ่งเป็นบริวารแห่ง
มหานรกนั้น เสวยทุกขเวทนาหนักกว่าก่อนอีกหนึ่งหมื่นปี เรานั้นมีร่างกายเหมือน
มนุษย์ มีศีรษะเป็นปลา’

เชิงอรรถ :
๑ ฉผัสสายตนิกนรก หมายถึงนรกที่มีผัสสายตนะ ๖ เป็นเหตุเกิดทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อน (ม.มู.อ.
๒/๕๑๒/๓๒๙)
๒ สังกุสมาหตนรก หมายถึงนรกที่สัตว์นรกต้องถูกแทงด้วยขอเหล็ก (ม.มู.อ. ๒/๕๑๒/๓๒๙)
๓ ปัจจัตตเวทนียนรก หมายถึงนรกที่สัตว์นรกก่อทุกขเวทนาให้เกิดแก่ตนเอง (ม.มู.อ. ๒/๕๑๒/๓๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑๐. มารตัชชนียสูตร

อวสานคาถา
[๕๑๓] ทูสีมารประทุษร้ายพระสาวกชื่อว่าวิธุระ
และพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐพระนามว่ากกุสันธะ
แล้วไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร
ทูสีมารประทุษร้ายพระสาวกนามว่าวิธุระ
และพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐพระนามว่ากกุสันธะ
แล้วไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้
คือมีหลาวเหล็ก ๑๐๐ เล่ม ล้วนก่อให้เกิดทุกขเวทนา
ภิกษุรูปใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมรู้จักนรกนั้น
มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก
วิมานทั้งหลายตั้งอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทรตลอดกัป
มีสีเหมือนแก้วไพฑูรย์ มีความรุ่งเรือง
มีรัศมีโชติช่วง เป็นประภัสสร
มีเหล่านางอัปสรมีผิวพรรณต่าง ๆ เป็นอันมากฟ้อนรำอยู่
ภิกษุรูปใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักวิมานนั้น
มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น
ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก
ภิกษุรูปใด ผู้ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตักเตือนแล้ว
เมื่อภิกษุสงฆ์เห็นอยู่ ทำปราสาทของมิคารมาตา
ให้ไหวด้วยปลายนิ้วหัวแม่เท้า
ภิกษุรูปใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักเหตุนั้น
มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น
ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๑๐. มารตัชชนียสูตร
ภิกษุรูปใดมีกำลังเข้มแข็งด้วยกำลังฤทธิ์
ทำเวชยันตปราสาทให้ไหวด้วยปลายนิ้วหัวแม่เท้า
และทำเหล่าเทวดาให้สังเวช
ภิกษุรูปใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักเหตุนั้น
มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น
ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก
ภิกษุรูปใดทูลสอบถามท้าวสักกะในเวชยันตปราสาทว่า
‘ท่านวาสวะ ท่านย่อมรู้ความน้อมจิตไปในธรรมเป็นที่สิ้นไป
แห่งตัณหาบ้างไหม’
ท้าวสักกะถูกถามปัญหาแล้ว
จึงตอบแก่ภิกษุนั้นตามควรแก่กถา
ภิกษุรูปใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักเหตุนั้น
มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น
ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก
ภิกษุรูปใดสอบถามพรหม ณ ที่ใกล้สุธัมมสภาว่า
‘ท่านเห็นทิฏฐิของท่านในวันนี้
และทิฏฐิของท่านที่มีในวันก่อน
ท่านเห็นทิฏฐินั้นล่วงไปแล้ว
และรัศมีเป็นประภัสสรในพรหมโลกบ้างหรือ’
พรหมตอบแก่ภิกษุนั้น ตามลำดับโดยควรแก่กถาว่า
‘ท่านผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าไม่มีทิฏฐินั้นและทิฏฐิในวันก่อน
ข้าพเจ้าเห็นทิฏฐินั้นล่วงไปแล้ว
และเห็นรัศมีเป็นประภัสสรในพรหมโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๕๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
รวมวรรคที่มีในมูลปัณณาสก์
(ฉะนั้น) วันนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวว่า
‘เราเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน ได้อย่างไร’
ภิกษุรูปใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักเหตุนั้น
มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น
ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก
ภิกษุรูปใด ได้สัมผัสยอดภูเขาใหญ่ชื่อสิเนรุ
ชมพูทวีป ปุพพวิเทหทวีป
อมรโคยานทวีป และอุตตรกุรุทวีปด้วยวิโมกข์
ภิกษุรูปใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้เหตุนั้น
มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น
ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก
คนพาลมาเข้ากองไฟที่กำลังลุกโชน ย่อมเดือดร้อนอยู่ว่า
‘ไฟย่อมไม่คิดจะเผาเรา แต่เราเผาตนผู้เป็นคนพาลเอง’
มาร ท่านเบียดเบียนพระตถาคตแล้ว จักเผาตัวเอง
ดังคนพาลที่ถูกไฟเผาฉะนั้น
มาร ท่านเบียดเบียนพระตถาคตแล้ว ต้องประสบบาป
ท่านเข้าใจหรือว่า ‘บาปไม่ให้ผลแก่เรา’
ผู้ที่สั่งสมบาป ย่อมโอดครวญตลอดกาลนาน
มาร ท่านเบื่อหน่ายพระพุทธเจ้า
อย่าหวังที่จะทำให้ภิกษุทั้งหลายพินาศเลย
ภิกษุได้คุกคามมารในเภสกฬาวัน ด้วยประการฉะนี้”
ลำดับนั้น มารนั้นเสียใจ ได้อันตรธานไปจากที่นั้น ดังนี้แล
มารตัชชนียสูตรที่ ๑๐ จบ
จูฬยมกวรรคที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] รวมวรรคที่มีในมูลปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สาเลยยกสูตร ๒. เวรัญชกสูตร
๓. มหาเวทัลลสูตร ๔. จูฬเวทัลลสูตร
๕. จูฬธัมมสมาทานสูตร ๖. มหาธัมมสมาทานสูตร
๗. วีมังสกสูตร ๘. โกสัมพิยสูตร
๙. พรหมนิมันตนิกสูตร ๑๐. มารตัชชนียสูตร

รวมวรรคที่มีในมูลปัณณาสก์นี้ คือ

๑. มูลปริยายวรรค ๒. สีหนาทวรรค
๓. โอปัมมวรรค ๔. มหายมกวรรค
๕. จูฬยมกวรรค

มูลปัณณาสก์ จบ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น