Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๓-๑๒ หน้า ๕๖๓ - ๖๑๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓-๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร
ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือพระราชาของผู้นั้นจะพึงได้ข้อ
อ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้า
ทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
ท่านพระสารีบุตรถามว่า “ธนัญชานิท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคล
บางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุง
บำเรอกาย นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติ
อธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือว่า ‘ข้าพเจ้าประพฤติอธรรม
ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่า
ข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือชนเหล่าอื่นของผู้นั้นจะพึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้
ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย ขอนาย
นิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร ไม่ใช่ ที่แท้คนนั้นถึงจะ
คร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาลก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
[๔๔๘] ท่านพระสารีบุตรถามว่า “ธนัญชานิ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดากับบุคคล
ผู้ประพฤติธรรม๑ ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา บุคคลไหนจะประเสริฐ
กว่ากัน”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม
ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้
ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ประเสริฐกว่า
แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติ
อธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถเลี้ยงมารดา
บิดา ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติ
สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา ประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรม
และการประพฤติสม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่
สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถเลี้ยงบุตร
และภรรยา ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุ
แห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติ
สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ ประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติ
ธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรมและการประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถเลี้ยงทาส
กรรมกรและคนรับใช้ ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติ
สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติ
ธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรมและการประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่มิตรและอำมาตย์ ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งญาติสาโลหิต บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งญาติสาโลหิต ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิตประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติ
สม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่ญาติสาโลหิต ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งแขก กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุ
แห่งแขก บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งแขกไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอเพราะเหตุ
แห่งแขก ประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ
ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่แขก ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุรพเปตชน กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งบุรพเปตชน บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งบุรพเปตชน ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุรพเปตชนประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติ
สม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่บุรพเปตชน ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งเทวดา กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่ง
เทวดา บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งเทวดาไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งเทวดาประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ
ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่เทวดา ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งพระราชา กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุ
แห่งพระราชา บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งพระราชาไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งพระราชาประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติ
สม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่พระราชา ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม
ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคล
ผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย ประเสริฐกว่า
แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม
และการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ธนัญชานิ การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม
ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถบำรุงบำเรอกาย ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อ
ปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่”
ธนัญชานิพราหมณ์ป่วยหนัก
[๔๔๙] ครั้งนั้น ธนัญชานิพราหมณ์ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร
ลุกจากที่นั่งแล้วจากไป สมัยต่อมา ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมากล่าวว่า
“มานี่เถิดพ่อคุณ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ จงถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’ และจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ถึงที่อยู่ แล้วไหว้เท้าของพระคุณเจ้าพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า
‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอไหว้เท้าของ
พระคุณเจ้าสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า’ และจงกราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ
ขอโอกาส ขอพระคุณเจ้าสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์โปรดเข้าไปยังนิเวศน์ของ
ธนัญชานิพราหมณ์ด้วยเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร
บุรุษนั้นรับคำแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอ
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’ และได้เข้าไปหาท่าน
พระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบเรียนว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ
ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอไหว้เท้าของพระคุณเจ้าสารีบุตรด้วย
เศียรเกล้า และสั่งมาอย่างนี้ว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอโอกาส ขอพระคุณเจ้า
พระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์โปรดเข้าไปยังนิเวศน์ของธนัญชานิพราหมณ์
ด้วยเถิด”
ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยอาการดุษณีภาพ
พระสารีบุตรเข้าเยี่ยมธนัญชานิพราหมณ์
[๔๕๐] ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปยังนิเวศน์ของธนัญชานิพราหมณ์ นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ได้กล่าวกับ
ธนัญชานิพราหมณ์ว่า “ธนัญชานิ ท่านยังพอทนได้หรือ(สบายดีหรือ) พอจะยัง
อัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาค่อยลดลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการค่อย
คลายลง ไม่รุนแรงขึ้นหรือ”
ธนัญชานิพราหมณ์กราบเรียนว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร โยมแทบทนไม่ไหว
จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้แล้ว ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก มีแต่กำเริบ ไม่ลด
ลงเลย อาการมีแต่ยิ่งรุนแรงขึ้น ไม่คลายลงเลย คนที่แข็งแรงใช้เหล็กที่แหลมคมแทง
ที่ศีรษะ แม้ฉันใด โยมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกลมที่แรงกล้าเสียดแทงศีรษะเหลือกำลัง
โยมแทบทนไม่ไหว จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้แล้ว ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก
มีแต่กำเริบ ไม่ลดลงเลย อาการมีแต่ยิ่งรุนแรงขึ้น ไม่คลายลงเลย
คนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันที่ศีรษะ แม้ฉันใด โยมก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถูกเวทนาที่มีประมาณยิ่งบีบคั้นที่ศีรษะ โยมแทบทนไม่ไหว จะยังอัตภาพให้เป็นไป
ไม่ได้แล้ว ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก มีแต่กำเริบ ไม่ลดลงเลย อาการมีแต่ยิ่ง
รุนแรงขึ้น ไม่คลายลงเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร
คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง แม้ฉันใด
โยมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกลมที่มีประมาณยิ่งเสียดแทงท้องอยู่ โยมแทบทนไม่ไหว
จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้แล้ว ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก มีแต่กำเริบ ไม่คลาย
ลงเลย อาการมีแต่ยิ่งรุนแรงขึ้น ไม่คลายลงเลย
พระคุณเจ้าสารีบุตร คนที่แข็งแรง ๒ คนช่วยกันจับคนที่อ่อนแอกว่าที่แขน
คนละข้างย่างไว้ที่หลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด โยมก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีกายถูกความ
เร่าร้อนมีประมาณยิ่งเผาลนอยู่ โยมแทบทนไม่ไหว จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้แล้ว
ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก มีแต่กำเริบ ไม่ลดลงเลย อาการมีแต่ยิ่งรุนแรงขึ้น
ไม่คลายลงเลย”
ทุคติภูมิ-สุคติภูมิ
[๔๕๑] ท่านพระสารีบุตรถามว่า “ธนัญชานิ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
นรกกับกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานประเสริฐ
กว่านรก ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานกับเปรตวิสัย อย่างไหน
จะประเสริฐกว่ากัน”
“เปรตวิสัยประเสริฐกว่ากำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เปรตวิสัยกับมนุษย์ อย่างไหนจะประเสริฐ
กว่ากัน”
“มนุษย์ประเสริฐกว่าเปรตวิสัย ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร มนุษย์กับเทพชั้นจาตุมหาราช อย่างไหน
จะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นจาตุมหาราชประเสริฐกว่ามนุษย์ ขอรับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นจาตุมหาราชกับเทพชั้นดาวดึงส์
อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นดาวดึงส์ประเสริฐกว่ากว่าเทพชั้นจาตุมหาราช ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นดาวดึงส์กับเทพชั้นยามา อย่างไหน
จะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นยามาประเสริฐกว่าเทพชั้นดาวดึงส์ ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นยามากับเทพชั้นดุสิต อย่างไหนจะ
ประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นดุสิตประเสริฐกว่าเทพชั้นยามา ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นดุสิตกับเทพชั้นนิมมานรดี อย่างไหน
จะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นนิมมานรดีประเสริฐกว่าเทพชั้นดุสิต ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นนิมมานรดีกับเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีประเสริฐกว่าเทพชั้นนิมมานรดี ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีกับพรหมโลก
อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตรกล่าวว่า ‘พรหมโลก’
พระคุณเจ้าสารีบุตรกล่าวว่า ‘พรหมโลก”
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรมีความคิดว่า “พราหมณ์เหล่านี้น้อมใจไปใน
พรหมโลก ทางที่ดี เราควรแสดงทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมแก่
ธนัญชานิพราหมณ์” จึงกล่าวว่า “ธนัญชานิ เราจักแสดงทางเพื่อเข้าถึงความเป็น
ผู้อยู่ร่วมกับพรหม ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร
ธนัญชานิพราหมณ์รับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า “ธนัญชานิ
ทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ นี้เป็นทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม
[๔๕๒] ธนัญชานิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ
มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
นี้เป็นทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม”
ธนัญชานิพราหมณ์กล่าวว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณท่าน
จงถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ตามคำของโยมว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า”
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรทำให้ธนัญชานิพราหมณ์ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นต่ำ
ในเมื่อมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป ลุกจากอาสนะแล้วจากไป ลำดับนั้น เมื่อท่านพระ
สารีบุตรจากไปไม่นาน ธนัญชานิพราหมณ์ก็ตายไปบังเกิดในพรหมโลก
[๔๕๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย สารีบุตรนี้ทำให้ธนัญชานิพราหมณ์ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นต่ำ ในเมื่อ
มีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป ลุกจากอาสนะแล้วจากไป”
ต่อมา ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร ทำไม เธอจึงทำให้ธนัญชานิพราหมณ์
ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นต่ำในเมื่อมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป แล้วลุกจากอาสนะจากไป
เสียเล่า”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า
‘พราหมณ์เหล่านี้น้อมใจไปในพรหมโลก ทางที่ดี เราควรแสดงทางเพื่อเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร ธนัญชานิพราหมณ์ตายไปบังเกิดในพรหม-
โลกแล้ว” ดังนี้แล
ธนัญชานิสูตรที่ ๗ จบ

๘. วาเสฏฐสูตร
ว่าด้วยมาณพชื่อวาเสฏฐะ
[๔๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้าน
ชื่ออิจฉานังคละ สมัยนั้น ในหมู่บ้านอิจฉานังคละ มีพราหมณมหาศาลผู้มีชื่อเสียง
มาพักอยู่หลายคน คือ จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์
ชานุสโสณิพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์๑ และยังมีพราหมณมหาศาลผู้มีชื่อเสียงคน
อื่น ๆ อีก ครั้งนั้น เมื่อมาณพชื่อวาเสฏฐะกับมาณพชื่อภารทวาชะ เดินเที่ยวเล่นอยู่
ได้สนทนากันค้างไว้ อย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรบุคคลจึงจะชื่อว่า
เป็นพราหมณ์”
ภารทวาชมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีชาติกำเนิดมาดี
ทั้ง ๒ ฝ่าย คือทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอด ๗ ชั่ว
บรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร
วาเสฏฐมาณพกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีศีลและถึงพร้อมด้วยวัตร
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์”
ภารทวาชมาณพไม่อาจให้วาเสฏฐมาณพยินยอมได้ ถึงวาเสฏฐมาณพก็ไม่อาจ
ให้ภารทวาชมาณพยินยอมได้เหมือนกัน ลำดับนั้น วาเสฏฐมาณพได้เรียกภารทวาช-
มาณพมากล่าวว่า
“พระสมณโคดมผู้เป็นศากยบุตรนี้ เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล ประทับ
อยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านชื่ออิจฉานังคละ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมี
กิตติศัพท์อันงามขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ มาเถิด ท่าน
ภารทวาชะ เราทั้งหลายจักเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับแล้วทูลถามเนื้อความนี้
พระสมณโคดมจักตรัสตอบแก่เราทั้งหลายอย่างไร เราทั้งหลายจักทรงจำเนื้อความนั้น
ไว้อย่างนั้น”
ภารทวาชมาณพรับคำแล้ว
[๔๕๕] ลำดับนั้น วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร วาเสฏฐมาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
“ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ทรงไตรเพท๑
อันอาจารย์อนุญาตแล้ว
และปฏิญญาได้เองว่า ‘เป็นผู้ได้ศึกษาแล้ว’
ข้าพระองค์เป็นศิษย์ท่านโปกขรสาติพราหมณ์
มาณพผู้นี้เป็นศิษย์ท่านตารุกขพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร
ข้าพระองค์ทั้งสองรู้จบบท
ที่พราหมณ์ผู้ทรงไตรเพทบอกแล้ว
เป็นผู้มีข้อพยากรณ์แม่นยำตามบท
เช่นเดียวกันกับอาจารย์ในการกล่าวมนตร์
ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งสอง
โต้เถียงกันในการกล่าวถึงชาติกำเนิด
คือภารทวาชมาณพกล่าวว่า
‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด’
ส่วนข้าพระองค์กล่าวว่า
‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม๑’
พระองค์ผู้มีพระจักษุขอจงทรงทราบอย่างนี้
ข้าพระองค์ทั้งสองนั้น
ไม่อาจจะให้กันและกันยินยอมได้
จึงได้มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ปรากฏด้วยอาการอย่างนี้
ชนทั้งหลายเมื่อจะเข้าไปประนมมือถวายบังคม
ก็จักถวายอภิวาทพระโคดมได้ทั่วโลก
เหมือนดวงจันทร์เต็มดวงฉะนั้น
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระโคดม
ผู้เป็นดวงจักษุอุบัติขึ้นในโลกว่า
‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด
หรือบุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม’
ขอจงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ทั้งสองผู้ไม่ทราบ
โดยประการที่จะทราบถึงบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นเถิด”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

พราหมณ์ในพระพุทธศาสนา
[๔๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
“วาเสฏฐะ เราจะพยากรณ์ถึงความพิสดาร
แห่งชาติกำเนิดของสัตว์ทั้งหลายตามลำดับความเหมาะสมแก่เธอ
เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายมีชาติกำเนิดแตกต่างกันหลายเผ่าพันธุ์
เธอทั้งหลายรู้จักหญ้าและต้นไม้
แต่หญ้าและต้นไม้ก็ไม่ยอมรับว่าเป็นหญ้าเป็นต้นไม้
หญ้าและต้นไม้เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานสำเร็จมาแต่กำเนิด
เพราะธรรมชาติของพวกมันต่างกัน
ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักแมลงคือตั๊กแตน
ตลอดจนถึงพวกมดดำ มดแดง
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน
เธอทั้งหลายจงรู้จักสัตว์ ๔ เท้าทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน
เธอทั้งหลายจงรู้จักพวกสัตว์เลื้อยคลาน
ที่ใช้ท้องแทนเท้า มีสันหลังยาว
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน
ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักปลา และสัตว์น้ำ
ประเภทอื่นที่เกิดเที่ยวหากินอยู่ในน้ำ
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน
ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักสัตว์ปีกที่บินไปในอากาศ
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร
รูปร่างสัณฐานของพวกสัตว์เหล่านี้
ต่างกันตามกำเนิดมากมาย ฉันใด
แต่ในหมู่มนุษย์ ไม่มีรูปร่างสัณฐานแตกต่างกัน
ไปตามกำเนิดมากมาย ฉันนั้น
คือ ผมก็ไม่แตกต่างกัน
ศีรษะ ใบหู นัยน์ตา ใบหน้า จมูก ริมฝีปาก
คิ้ว คอ บ่า ท้อง หลัง สะโพก อก ซอกอวัยวะ
อวัยวะสืบพันธุ์ มือ เท้า นิ้วมือ เล็บ แข้ง ขาอ่อน
ผิวพรรณ หรือเสียงก็ไม่แตกต่างกัน
ในหมู่มนุษย์ จึงไม่มีรูปร่างสัณฐานตามกำเนิด
แตกต่างกันมากมายเหมือนในกำเนิดอื่น ๆ เลย
[๔๕๗] ในหมู่มนุษย์ ในสรีระของแต่ละคน
ไม่มีความแตกต่างกันเฉพาะตัว
การเรียกกันในหมู่มนุษย์ เขาเรียกตามบัญญัติ
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า ชาวนา ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยศิลปะหลายอย่าง
ผู้นั้นเรียกว่า ช่างศิลปะ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า พ่อค้า ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยการรับใช้คนอื่น
ผู้นั้นเรียกว่า คนรับใช้ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยทรัพย์ที่ลักเขามาเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า โจร ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยลูกศร และศัสตราเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า ทหารอาชีพ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยการเป็นปุโรหิต
ผู้นั้นเรียกว่า ผู้ประกอบพิธีกรรม ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามปกครองท้องถิ่นและแว่นแคว้น
ผู้นั้นเรียกว่า พระราชา ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
เราไม่เรียกบุคคลผู้ถือกำเนิด
เกิดในครรภ์มารดาว่า เป็นพราหมณ์
ถ้าเขายังเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวลอยู่
เขาเป็นเพียงผู้ชื่อว่าโภวาทีเท่านั้น
เราเรียกผู้หมดกิเลสเครื่องกังวล
หมดความยึดมั่นถือมั่นนั้นว่า เป็นพราหมณ์
[๔๕๘] เราเรียกผู้ตัดสังโยชน์๑ได้ทั้งหมด
ไม่หวาดสะดุ้ง พ้นจากกิเลสเครื่องข้อง
ปราศจากโยคะว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ตัดชะเนาะคือความโกรธ
ตัดเชือกคือตัณหา ตัดหัวเงื่อนคือทิฏฐิ ๖๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร
พร้อมทั้งสายโยงคืออนุสัยกิเลสได้
ถอดลิ่มสลักคืออวิชชา
ตรัสรู้อริยสัจแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นต่อคำด่า
การทุบตี และการจองจำ มีขันติธรรมเป็นพลัง
มีพลังใจเข้มแข็งว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ไม่โกรธ มีวัตรเคร่งครัด มีศีลบริสุทธิ์
ไม่มีตัณหาฟูใจขึ้นอีก ฝึกตนได้แล้ว
มีสรีระเป็นชาติสุดท้ายว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ไม่ติดใจในกามทั้งหลาย
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ไม่ติดอยู่บนปลายเหล็กแหลมนั้นว่า เป็นพราหมณ์
ในศาสนานี้ เราเรียกผู้ที่รู้ชัด
ถึงภาวะสิ้นกองทุกข์ของตน
ปลงขันธภาระลงได้แล้ว
ปราศจากกิเลสทั้งปวงว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์
ฉลาดในทางและมิใช่ทางบรรลุอรหัตตผล
ที่เป็นประโยชน์สูงสุดแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่คลุกคลีกับคฤหัสถ์
และบรรพชิตทั้ง ๒ ฝ่าย เที่ยวจาริกไป
ไร้กังวล มีความมักน้อยว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้งดเว้นจากการเบียดเบียน
ทำร้ายสัตว์ทุกจำพวก ทั้งที่สะดุ้ง และที่มั่นคง
ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่าว่า เป็นพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร
เราเรียกบุคคลผู้ไม่คิดร้าย
เมื่อบุคคลอื่นยังคิดร้าย
ผู้สงบระงับเมื่อบุคคลอื่นยังมีอาชญาในตน
ผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นเมื่อบุคคลอื่น
ยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ทำราคะ โทสะ โมหะ
มานะ และมักขะ ให้ตกไปจากจิตได้
เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดตกไป
จากปลายเหล็กแหลมว่า เป็นพราหมณ์
[๔๕๙] เราเรียกบุคคลผู้เปล่งถ้อยคำไม่หยาบ
ให้รู้ความกันได้เป็นคำจริง
ซึ่งไม่เป็นเหตุทำใคร ๆ ให้ข้องอยู่ว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่ถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ในโลกนี้
ไม่ว่าจะยาวหรือสั้น จะเล็กหรือใหญ่
จะสวยงามหรือไม่สวยงามก็ตามว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีความหวัง
อยากเป็นโน่นเป็นนี่ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
หมดความทะยานอยากโดยสิ้นเชิง
มีจิตหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีความอาลัยคือตัณหา
รู้แจ้งชัดจนหมดความสงสัย มีจิตน้อมไปสู่อมตธรรม
จนบรรลุได้ในที่สุดว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ละบุญและบาปทั้ง ๒ ได้
ล่วงพ้นกิเลสเครื่องข้องแล้ว หมดความเศร้าโศก
ปราศจากธุลีคือกิเลส เป็นผู้บริสุทธิ์ว่า เป็นพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร
เราเรียกบุคคลผู้หมดสิ้นตัณหา
ที่นำไปเกิดในภพทั้ง ๓ มีจิตไม่มัวหมอง
ผ่องใสบริสุทธิ์ดุจดวงจันทร์วันเพ็ญ
ที่ปราศจากเมฆหมอกว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ข้ามพ้นทางอ้อมคือราคะ
ทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อคือกิเลส สังสารวัฏฏ์ และโมหะได้แล้ว
เป็นผู้ข้ามโอฆะไปถึงฝั่ง มีจิตเพ่งพินิจอยู่เสมอ
ไม่หวั่นไหว หมดความสงสัยว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลในโลกนี้ ผู้ละกามทั้งหลาย
บวชเป็นบรรพชิต สิ้นภวตัณหาแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลในโลกนี้ ผู้ละตัณหาได้แล้ว
บวชเป็นบรรพชิต สิ้นกามและภพแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ละโยคะที่เป็นของมนุษย์แล้ว
ล่วงพ้นโยคะที่เป็นของทิพย์เสียได้
มีจิตหลุดพ้นจากโยคะทั้งหมดว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ละได้ทั้งความยินดี๑ และความยินร้าย๒
เป็นผู้สงบเยือกเย็น ปราศจากอุปธิกิเลส
ครอบงำโลกคือขันธ์ทั้งหมดได้ มีความเพียรว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้รู้ชัดการจุติและการเกิด
ของสัตว์ทั้งหลายโดยอาการทั้งปวง
เป็นผู้ไม่ติดข้องดำเนินไปด้วยดี
รู้แจ้งอริยสัจว่า เป็นพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร
เราเรียกบุคคลผู้ที่เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์
ผู้ไม่สามารถหยั่งรู้ถึงคติได้ สิ้นอาสวะแล้ว
เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน หมดความกังวล
ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้องอาจ ประเสริฐ
มีความเพียร แสวงหาคุณธรรมอันยิ่งใหญ่
ชนะมารได้แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องทำให้หวั่นไหว
ชำระล้างกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งอริยสัจว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ระลึกถึงอดีตชาติได้ เห็นสวรรค์และนรก
ถึงความสิ้นไปแห่งชาติแล้วว่า เป็นพราหมณ์
[๔๖๐] อันที่จริง นามและโคตรที่เขากำหนดให้กันนั้น
เป็นเพียงสมมติบัญญัติในโลก
นามและโคตรปรากฏอยู่ได้ เพราะรู้ตามกันมา
ญาติสาโลหิตกำหนดไว้ในการเกิดนั้น ๆ
นามและโคตรที่กำหนดเรียกกันนี้
เป็นความเห็นที่ฝังแน่นอยู่ในใจมานาน
ของพวกคนผู้ไม่รู้ความจริง
เมื่อไม่รู้จึงกล่าวบุคคลว่า เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติตระกูลก็หาไม่
หรือไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติตระกูลก็หาไม่
บุคคลเป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม
หรือไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร
บุคคลเป็นชาวนาก็เพราะกรรม
เป็นช่างศิลปะก็เพราะกรรม
เป็นพ่อค้าก็เพราะกรรม
เป็นผู้รับใช้ก็เพราะกรรม
บุคคลแม้เป็นโจรก็เพราะกรรม
เป็นทหารอาชีพก็เพราะกรรม
เป็นปุโรหิตก็เพราะกรรม
แม้เป็นพระราชา ก็เพราะกรรมทั้งนั้น
บัณฑิตทั้งหลายผู้มีปกติเห็นปฏิจจสมุปบาท
มีความรู้ความเข้าใจในกรรมและผลของกรรม
ย่อมพิจารณาเห็นกรรม ตามความเป็นจริงอย่างนี้
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
หมู่สัตว์เป็นไปตามกรรม
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน
เปรียบเหมือนรถมีหมุดเป็นเครื่องตรึงไว้แล่นไปอยู่
บุคคลเป็นพราหมณ์ได้ เพราะกรรมนี้
คือ ตบะ พรหมจรรย์ สัญญมะ ทมะ๑
นี้ เป็นคุณธรรมสูงสุดของพราหมณ์
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ สงบ สิ้นภพใหม่แล้ว
เป็นทั้งพรหม และท้าวสักกะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
[๔๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพและภารทวาช-
มาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ
ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมี
ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ทั้งสองว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล
วาเสฏฐสูตรที่ ๘ จบ

๙. สุภสูตร
ว่าด้วยมาณพชื่อสุภะ
[๔๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล มาณพชื่อสุภะผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์
อาศัยอยู่ในนิเวศน์ของคหบดีผู้หนึ่งในกรุงสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้น
สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ได้กล่าวกับคหบดีผู้ที่ตนอาศัยอยู่ในนิเวศน์ว่า
“ท่านคหบดี ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า ‘กรุงสาวัตถีไม่ว่างจากพระ-
อรหันต์เลย’ วันนี้ เราควรเข้าไปนั่งใกล้สมณะหรือพราหมณ์คนใดดีหนอ”
คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ท่านจงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นเถิด”
ลำดับนั้น สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์รับคำแล้ว เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
“ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า ‘คฤหัสถ์เป็นผู้ยัง
กุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ให้สำเร็จ บรรพชิตไม่ยังกุศลธรรมนั้นให้สำเร็จ ในเรื่องนี้
ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร”
[๔๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ในเรื่องนี้เราแยกกล่าว มิได้
รวมกล่าว เราไม่สรรเสริญการปฏิบัติผิดของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต จริงอยู่ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิตผู้ปฏิบัติผิด ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ยังกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ให้สำเร็จ
เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์คือการปฏิบัติผิด
มาณพ เรากล่าวสรรเสริญการปฏิบัติชอบของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต จริงอยู่
คฤหัสถ์หรือบรรพชิตผู้ปฏิบัติชอบ ชื่อว่าเป็นผู้ยังกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์
ให้สำเร็จ เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์คือการปฏิบัติชอบ”
ฐานะการงานของคฤหัสถ์และบรรพชิต
สุภมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า
‘ฐานะแห่งการงานของฆราวาสมีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ
เพียรมาก มีผลมาก (ส่วน)ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชิตมีความต้องการน้อย
มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย และมีผลน้อย ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมจะ
ตรัสว่าอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มาณพ แม้ในเรื่องนี้ เราก็แยกกล่าว มิได้
รวมกล่าว ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ
เพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก
มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก ฐานะแห่งการงานที่มีความ
ต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ฐานะ
แห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึง
พร้อมย่อมมีผลมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียร
มาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการไถ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก
มีความเพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ
เพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการไถนั่นแหละที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่อง
มาก มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความ
เพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่อง
น้อย มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย
มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแหละที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย
มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
[๔๖๔] มาณพ ฐานะแห่งการงานคือการไถ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก
มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงาน
ของฆราวาส ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ฐานะแห่งการงานคือการไถนั่นแหละ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก
มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานของ
ฆราวาส ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย
มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแหละที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่อง
น้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่าย
บรรพชิตที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก”
บัญญัติธรรม ๕ ประการ
สุภมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมไว้
๕ ประการ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มาณพ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรม
๕ ประการใดไว้เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ถ้าเธอไม่หนักใจ ดีละ เธอจง
กล่าวธรรม ๕ ประการนั้นในบริษัทนี้เถิด”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดมผู้เจริญ ณ ที่ที่พระองค์หรือบุคคลเช่น
กับพระองค์ประทับนั่งอยู่ ข้าพระองค์ไม่มีความหนักใจเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงกล่าวเถิด”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมข้อ
ที่ ๑ คือสัจจะ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ
บัญญัติธรรมข้อที่ ๒ คือตบะ ...
บัญญัติธรรมข้อที่ ๓ คือพรหมจรรย์ ...
บัญญัติธรรมข้อที่ ๔ คือการเรียนมนตร์ ...
บัญญัติธรรมข้อที่ ๕ คือการบริจาค เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรม ๕ ประการนี้ไว้ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม
ให้สำเร็จ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
[๔๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย
แม้พราหมณ์สักคนหนึ่งผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ มีอยู่หรือ”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
“แม้อาจารย์ท่านหนึ่ง แม้ปาจารย์ของอาจารย์ท่านหนึ่ง ตลอดขึ้นไป ๗ ชั่วอาจารย์
ของพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
“แม้ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลายคือ ฤาษีอัฏฐกะ
ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีเวสสามิตตะ ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษี
ภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนตร์ เป็นผู้บอกมนตร์ที่
พวกพราหมณ์ในปัจจุบันนี้ขับตาม บทมนตร์เก่าที่ท่านบุรพาจารย์พราหมณ์ขับไว้แล้ว
บอกไว้แล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกได้ถูกต้องตามที่
ท่านได้บอกไว้ แม้ท่านเหล่านั้นก็กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ มีอยู่หรือ”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ได้ทราบกันดังนี้ว่า บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย
ไม่มีพราหมณ์แม้สักคนหนึ่งผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ ไม่มีใครสักคนหนึ่งซึ่งเป็นอาจารย์ เป็น
ปาจารย์ของอาจารย์ตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า
‘เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ แม้ฤาษี
ทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลาย คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ
ฤาษีวามเทพ ฤาษีเวสสามิตตะ ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษี
วาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนตร์ เป็นผู้บอกมนตร์ ที่พราหมณ์
ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตามบทมนตร์เก่า ที่ท่านขับไว้แล้ว บอกไว้แล้ว รวบรวม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
ไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านได้กล่าวไว้ บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านได้บอกไว้แล้ว
แม้ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’
มาณพ คนตาบอดเข้าแถวเกาะหลังกัน คนอยู่หัวแถว คนอยู่กลางแถว
และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน แม้ฉันใด ภาษิตของพราหมณ์ทั้งหลาย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นจะเปรียบได้กับคนตาบอด เข้าแถวเกาะหลังกัน คนอยู่
หัวแถว คนอยู่กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน”
[๔๖๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยย-
พราหมณ์ผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเปรียบเหมือนคนตาบอดยืนเข้าแถว จึงโกรธ ไม่พอใจ
เมื่อจะข่มขู่ติเตียนว่ากล่าวพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระสมณโคดมจักได้รับความ
เสื่อมเสียแล้ว'’ จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่า
ชื่อสุภควันกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ‘อย่างนี้แล สมณพราหมณ์เหล่านี้ ย่อมยืนยัน
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ภาษิตนี้ของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเป็นภาษิตที่น่าหัวเราะ เลวทราม ว่าง และเปล่า
ถ้าเช่นนั้น ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่มนุษย์จักรู้ จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่
ประเสริฐ อันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ โอปมัญญโคตร
ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กำหนดรู้ใจของสมณพราหมณ์ทุกคนด้วยใจหรือ”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ โอปมัญญโคตร
ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กำหนดรู้ใจของนางทาสีชื่อปุณณิกาของตนด้วยใจของ
ตนเองยังไม่ได้ จักกำหนดรู้ใจของสมณพราหมณ์ทุกคนด้วยใจได้อย่างไรเล่า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กำเนิด
ไม่พึงเห็นรูปสีดำสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่พึงเห็นที่ที่
เสมอและขรุขระ ไม่พึงเห็นดวงดาว ไม่พึงเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เขาจะพึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ไม่มีรูปสีดำสีขาว ไม่มีคนเห็นรูปสีดำสีขาว ไม่มีรูปสีเขียว ไม่มีคน
เห็นรูปสีเขียว ไม่มีรูปสีเหลือง ไม่มีคนเห็นรูปสีเหลือง ไม่มีรูปสีแดง ไม่มีคนเห็น
รูปสีแดง ไม่มีรูปสีแสด ไม่มีคนเห็นรูปสีแสด ไม่มีที่ที่เสมอและขรุขระ ไม่มีคนเห็น
ที่ที่เสมอและขรุขระ ไม่มีดวงดาว ไม่มีคนเห็นดวงดาว ไม่มีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
ไม่มีคนเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งนั้น
จึงไม่มี’ ผู้ที่กล่าวอยู่นั้น ชื่อว่ากล่าวอย่างถูกต้องหรือ มาณพ”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม รูปสีดำสีขาวก็มี คนเห็น
รูปสีดำสีขาวก็มี รูปสีเขียวก็มี คนเห็นรูปสีเขียวก็มี รูปสีเหลืองก็มี คนเห็นรูป
สีเหลืองก็มี รูปสีแดงก็มี คนเห็นรูปสีแดงก็มี รูปสีแสดก็มี คนเห็นรูปสีแสดก็มี
ที่ที่เสมอและขรุขระก็มี คนเห็นที่ที่เสมอและขรุขระก็มี ดวงดาวก็มี คนเห็น
ดวงดาวก็มี ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็มี คนเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็มี
ผู้ที่กล่าวว่า ‘เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นจึงไม่มี’ ผู้ที่กล่าวอยู่นั้น
ชื่อว่ากล่าวอย่างไม่ถูกต้อง ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ อย่างนั้นเหมือนกัน พราหมณ์ชื่อโปกขร-
สาติ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน ชื่อว่าเป็นคนบอดไม่มีจักษุ เป็นไป
ไม่ได้เลยที่เขาจักรู้ จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ อันสามารถ
วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้”
[๔๖๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร พราหมณมหาศาลชาวเมืองโกศลคือพราหมณ์ชื่อจังกี พราหมณ์ชื่อ
ตารุกขะ พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ พราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิ หรือพราหมณ์ชื่อ
โตเทยยะ ผู้เป็นบิดาของท่าน วาจาที่พราหมณมหาศาลเหล่านั้นกล่าวตรงตาม
โวหารของชาวโลก หรือไม่ตรงตามโวหารของชาวโลก อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ผู้กล่าววาจาตรงตามโวหารของชาวโลกประเสริฐกว่า
ท่านพระโคดม”
“วาจาที่พราหมณมหาศาลเหล่านั้นรู้แล้วกล่าว หรือไม่รู้แล้วกล่าว อย่างไหน
ประเสริฐกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
“วาจาที่พราหมณ์เหล่านั้นรู้แล้วกล่าว ประเสริฐกว่า ท่านพระโคดม”
“วาจาที่พราหมณมหาศาลเหล่านั้นพิจารณาแล้วกล่าว หรือไม่พิจารณา
แล้วกล่าว อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”
“วาจาที่พราหมณ์เหล่านั้นพิจารณาแล้วกล่าว ประเสริฐกว่า ท่านพระโคดม”
“วาจาที่มีประโยชน์ หรือวาจาที่ไม่มีประโยชน์ซึ่งพราหมณมหาศาลเหล่านั้นกล่าว
อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”
“วาจาที่มีประโยชน์ ประเสริฐกว่า ท่านพระโคดม”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น โปกขรสาติพราหมณ์
โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กล่าววาจาตรงตามโวหารของชาวโลก
หรือไม่”
“ไม่ตรงตามโวหารของชาวโลก ท่านพระโคดม”
“เป็นวาจาที่รู้แล้วกล่าว หรือไม่รู้แล้วกล่าว”
“เป็นวาจาที่ไม่รู้แล้วกล่าว ท่านพระโคดม”
“เป็นวาจาที่พิจารณาแล้วกล่าวหรือไม่พิจารณาแล้วกล่าว”
“เป็นวาจาที่ไม่พิจารณาแล้วกล่าว ท่านพระโคดม”
“เป็นวาจาที่มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์”
“เป็นวาจาที่ไม่มีประโยชน์ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ นิวรณ์นี้มี ๕ ประการ
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความพอใจในกาม)
๒. พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความขัดเคืองใจ)
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความลังเลสงสัย)

นิวรณ์ ๕ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
มาณพ โปกขรสาติพราหมณ์ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน
ถูกนิวรณ์ ๕ ประการนี้หน่วงเหนี่ยว กางกั้น รัดรึง ตรึงตราไว้แล้ว เป็นไปไม่ได้เลย
ที่เขาจักรู้ จักเห็นหรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์
[๔๖๘] มาณพ กามคุณนี้มี ๕ ประการ
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้แล
โปกขรสาติพราหมณ์ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กำหนัดแล้ว
หมกมุ่นแล้ว ด้วยกามคุณ ๕ ประการนี้ ถูกกามคุณ ๕ ประการนี้ครอบงำแล้ว
ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องถอนออก บริโภคอยู่ เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักรู้
จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ อันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์
มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลจะพึงอาศัยหญ้าและไม้เป็น
เชื้อจุดไฟขึ้น หรือไม่อาศัยหญ้าและไม้เป็นเชื้อจุดไฟขึ้น ไฟอย่างไหนหนอจะมีเปลว
สี และแสงสว่าง”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม เป็นไปได้หรือ ถ้าการจุดไฟที่ไม่มีหญ้า
และไม้เป็นเชื้อ จะมีเปลว สี และแสงสว่าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงจุดไฟที่ไม่มี
หญ้าและไม้เป็นเชื้อขึ้นได้ นอกจากผู้ที่มีฤทธิ์ อุปมาเหมือนไฟอาศัยหญ้าและไม้เป็น
เชื้อจึงลุกโพลงขึ้นได้ แม้ฉันใด เรากล่าวปีติอันอาศัยกามคุณ ๕ ประการว่ามีอุปมา
ฉันนั้นเหมือนกัน อุปมาเหมือนไฟที่ไม่มีหญ้าและไม้เป็นเชื้อลุกโพลงขึ้นได้ แม้ฉันใด
เรากล่าวปีติที่เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายว่ามีอุปมาฉันนั้นเหมือนกัน
ปีติที่เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ปีตินี้เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย
มาณพ อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ อยู่ แม้ปีตินี้ก็เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย
[๔๖๙] มาณพ ในธรรม ๕ ประการที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ
เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จนี้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมข้อไหนว่ามีผลมากกว่า”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ในธรรม ๕ ประการที่พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จนี้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมคือจาคะ
ว่ามีผลมากกว่า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้
จะพึงมีมหายัญเกิดขึ้นแก่พราหมณ์คนหนึ่ง ครั้งนั้น พราหมณ์ ๒ คนพากันมาด้วย
หวังว่า ‘จักเสวยมหายัญของพราหมณ์ชื่อนี้’ ในพราหมณ์ ๒ คนนั้น คนหนึ่งมี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘โอ เราเท่านั้น ควรจะได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศ
ในโรงภัต พราหมณ์อื่นไม่ควรได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศในโรงภัตเลย’
เป็นไปได้ที่พราหมณ์คนอื่นจะพึงได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศในโรงภัต
ส่วนพราหมณ์ผู้ไม่ได้ย่อมโกรธไม่พอใจว่า ‘พราหมณ์อื่นได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ
และอาหารที่เลิศในโรงภัต ส่วนเรากลับไม่ได้’
มาณพ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติผลแห่งกรรมนี้ไว้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
สุภมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานด้วย
คิดอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์นั้นถูกพราหมณ์ผู้นี้ทำให้โกรธ ทำให้ไม่พอใจ’ ก็หามิได้
โดยที่แท้ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการอนุเคราะห์กันเท่านั้น”
“เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการอนุเคราะห์กันนี้
ก็เป็นบุญกิริยาวัตถุข้อที่ ๖ ของพราหมณ์ทั้งหลายหรือ”
“ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการ
อนุเคราะห์นี้ ก็จักเป็นบุญกิริยาวัตถุข้อที่ ๖ ของพราหมณ์ทั้งหลาย”
“ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม
ให้สำเร็จ ท่านพิจารณาเห็นมีมากในพวกไหน ในพวกคฤหัสถ์หรือพวกบรรพชิต”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นมีมากในบรรพชิต
มีน้อยในคฤหัสถ์ เพราะคฤหัสถ์มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ
เพียรมาก จะเป็นผู้พูดจริงเสมอตลอดไปไม่ได้ ส่วนบรรพชิตมีความต้องการน้อย
มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย จึงเป็นผู้พูดจริงเสมอไป เพราะคฤหัสถ์มี
ความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก จะเป็นผู้มีความเพียร
เสมอตลอดไปไม่ได้
... จะเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
... จะเป็นผู้มากด้วยการสาธยาย
... จะเป็นผู้มากด้วยการบริจาค ...
ส่วนบรรพชิตมีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย
จึงเป็นผู้มีความเพียรเสมอตลอดไปได้
... เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
... เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย
... เป็นผู้มากด้วยการบริจาค ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
ท่านพระโคดม ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ
เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นมีมากในบรรพชิต มีน้อยในคฤหัสถ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ธรรม ๕ ประการ ที่พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่อ
อบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้พูดจริง เธอรู้สึกว่า ‘เราพูดจริง’ จึงได้ความรู้อรรถ
ได้ความรู้ธรรม ได้ความปราโมทย์ ประกอบด้วยธรรม ความปราโมทย์อันประกอบ
ด้วยกุศลนี้ ที่เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความ
เบียดเบียน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียร
... เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
... เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย ...
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มากด้วยการบริจาค เธอรู้สึกว่า ‘เราเป็นผู้มากด้วย
การบริจาค’ จึงได้ความรู้อรรถ ได้ความรู้ธรรม ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วย
ธรรม ความปราโมทย์อันประกอบด้วยกุศลนี้ ที่เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน
ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม
ให้สำเร็จ เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความ
เบียดเบียน”
[๔๗๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยย-
พราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ยินเรื่องนี้มาว่า
‘พระสมณโคดมทรงรู้จักทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสย้อนถามว่า “มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
บ้านนฬการคามก็ใกล้แค่นี้ บ้านนฬการคามก็อยู่ไม่ไกลจากที่นี้เลย มิใช่หรือ”
“อย่างนั้น ท่านพระโคดม บ้านนฬการคามก็อยู่ใกล้แค่นี้ บ้านนฬการคามก็อยู่
ไม่ไกลจากที่นี้เลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้เจริญเติบโตในบ้านนฬการคามนี้
ออกจากบ้านนฬการคามไปในขณะนั้นถูกถามถึงทางไปบ้านนฬการคาม จะต้องมี
ความชักช้าหรืออึกอักไหม”
“ไม่ชักช้า ไม่อึกอักเลย ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษโน้น
เจริญเติบโตอยู่ในบ้านนฬการคามนั่นเอง ต้องรู้จักทางของบ้านนฬการคามทุกแห่ง
เป็นอย่างดี”
“การที่บุรุษเจริญเติบโตอยู่ในบ้านนฬการคามนั้น ถูกถามถึงทางไปบ้าน
นฬการคาม จะไม่ตอบชักช้าหรืออึกอัก เมื่อตถาคตถูกถามถึงพรหมโลกหรือ
ข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่ตอบชักช้าหรืออึกอักเช่นเดียวกัน เรารู้จักพรหมโลก
และข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลกของพราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งยังรู้วิธีที่คนปฏิบัติอย่างไร
จึงจะเข้าถึงพรหมโลกด้วย”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ยินเรื่องนี้มาว่า พระสมณ-
โคดมทรงแสดงทางเพื่อเป็นสหายกับพรหม ขอโอกาส ขอท่านพระโคดมโปรดทรง
แสดงทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ทางไปพรหมโลก
[๔๗๑] “มาณพ ทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบีบดเบียนอยู่ เมื่อภิกษุนั้นเจริญเมตตาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
เป็นประมาณ๑ที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น๒
คนแข็งแรงเป่าสังข์พึงให้คนรู้ตลอดทิศทั้ง ๔ ได้โดยไม่ยากเลย แม้ฉันใด เมื่อภิกษุ
นั้นเจริญเมตตาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้น
จักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน นี้เป็นทาง
เพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม
มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ
มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วย
อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว
กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น
มาณพ คนแข็งแรง เป่าสังข์พึงให้คนรู้ตลอดทิศทั้ง ๔ ได้โดยไม่ยาก แม้ฉันใด
เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว
กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
นี้เป็นทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม”
[๔๗๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของ
โตเทยยพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม
แจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก
ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร
ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่าน
พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น ข้าพระองค์ขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ มีหน้าที่
ที่จะต้องทำอีกมาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ท่านจงกำหนดเวลาอันสมควร ณ บัดนี้เถิด”
ครั้งนั้น สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ ชื่นชมยินดีพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว
จากไป
สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิออกจากกรุงสาวัตถีด้วยรถเทียมด้วยม้าขาว
ปลอดตั้งแต่ยังวัน ได้เห็นสุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์เดินมาแต่ไกล
จึงได้ถามว่า “ท่านภารทวาชะ ท่านมาจากไหนแต่ยังวันเทียว”
สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า
มาจากสำนักของพระสมณโคดม”
ชาณุสโสณิพราหมณ์ถามว่า “ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านภารทวาชะ
เห็นจะเป็นบัณฑิตรู้เท่าทันพระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดมเป็นแน่”
สุภมาณพตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร และเป็นอะไรเล่า จึงจักรู้เท่า
ทันพระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม ผู้ใดจะพึงรู้เท่าทันพระปัญญา
อันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม ผู้นั้นก็พึงเป็นเช่นพระสมณโคดมเป็นแน่”
ชาณุสโสณิพราหมณ์ถามว่า “ได้ฟังว่า ท่านภารทวาชะสรรเสริญพระสมณ-
โคดม ด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง”
สุภมาณพตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร เป็นอะไรเล่า จึงจักสรรเสริญ
พระสมณโคดม ท่านพระสมณโคดมประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายจึงสรรเสริญแล้วสรรเสริญอีก อนึ่ง ธรรม ๕ ประการนี้ที่
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ พระสมณโคดม
ตรัสว่า เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร
เมื่อสุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ชาณุสโสณิ-
พราหมณ์จึงลงจากรถอันเทียมด้วยม้าขาวปลอดแล้วห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางทิศ
ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วเปล่งอุทานว่า “เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดีแล้ว ที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่
ในแว่นแคว้นของพระองค์” ดังนี้แล
สุภสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สังคารวสูตร
ว่าด้วยมาณพชื่อสังคารวะ
[๔๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่
สมัยนั้น นางพราหมณีชื่อธนัญชานี อาศัยอยู่ในบ้านชื่อปัจจลกัปปะ เป็นผู้เลื่อมใส
อย่างยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ หากนางพลั้งพลาดแล้วจะเปล่ง
อุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
สมัยนั้น มาณพชื่อสังคารวะอาศัยอยู่ในบ้านปัจจลกัปปะ จบไตรเพทพร้อมทั้ง
นิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ พร้อมอักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบท
และไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ๑ เมื่อนางธนัญชานี-
พราหมณีกล่าววาจาอย่างนี้ เขาได้ฟังแล้วจึงกล่าวกับนางธนัญชานีพราหมณีว่า
“นางธนัญชานีพราหมณี ไม่เป็นมงคลเลย นางธนัญชานีพราหมณีเป็นคน
ฉิบหาย เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรงไตรเพทมีอยู่ เออ นางไพล่ไปกล่าวสรรเสริญคุณ
ของสมณะหัวโล้นทำไม”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร
นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวว่า “พ่อหน้ามน เธอยังไม่รู้จักศีลและปัญญา
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ถ้าเธอรู้จักศีลและปัญญาของพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นดี เธอจะไม่สำคัญพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นว่า ควรถูกด่า ควรถูก
บริภาษเลย”
สังคารวมาณพกล่าวว่า “นางผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น พระสมณะมาถึงบ้านปัจจลกัปปะ
เมื่อใด พึงบอกฉันเมื่อนั้น” นางธนัญชานีพราหมณีรับคำแล้ว
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลตามลำดับ เสด็จถึงบ้าน
ปัจจลกัปปะ ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในสวนมะม่วงของ
พราหมณ์ชาวบ้านโตเทยยะ ใกล้บ้านปัจจลกัปปะ นางธนัญชานีพราหมณีได้ฟังว่า
“ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค เสด็จมาถึงบ้านปัจจลกัปปะ ประทับอยู่ในสวนมะม่วงของ
พราหมณ์ชาวบ้านโตเทยยะใกล้บ้านปัจจลกัปปะ” ลำดับนั้น นางจึงเข้าไปหา
สังคารวมาณพถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า
“พ่อหน้ามน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสด็จมาถึงบ้านปัจจลกัปปะ ประทับ
อยู่ในสวนมะม่วงของพรามหณ์ชาวบ้านโตเทยยะ ใกล้บ้านปัจจลกัปปะ เธอจงกำหนด
เวลาอันสมควร ณ บัดนี้เถิด”
ความต่างกันแห่งสมณพราหมณ์
[๔๗๔] สังคารวมาณพรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้มีบารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่ง
ในปัจจุบันย่อมปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์๑ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์
เหล่าใดเป็นผู้มีบารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันย่อมปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ท่านพระโคดมจัดอยู่ในพวกไหน”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ เรากล่าวความต่างกันแห่งสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีบารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน แม้จะปฏิญญาอาทิ-
พรหมจรรย์ได้ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้ฟังตามกันมา เพราะการฟังตามกัน
มานั้นจึงเป็นผู้มีบารมีขั้นสุดท้าย เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์
เหมือนพราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรงไตรเพท อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้มี
บารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์เพราะเพียงแต่ความเชื่อ
อย่างเดียว เปรียบเหมือนพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นนักตรรกะ เป็นนักอภิปรัชญา๑
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเองในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟัง
มาก่อน มีบารมีขั้นสุดท้าย เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์
ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อน มีบารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน จึงปฏิญญา
อาทิพรหมจรรย์ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น เราก็คนหนึ่ง
ภารทวาชะ ข้อนี้พึงรู้ได้ด้วยบรรยายแม้นี้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์เหล่าใด
รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน มีบารมีขั้นสุดท้าย
เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน จึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เราก็คนหนึ่ง
พุทธประวัติตอนบำเพ็ญสมาบัติ
ในสำนักอาฬารดาบส
[๔๗๕] ภารทวาชะ ก่อนการตรัสรู้ เรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้
ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เป็นทางมาแห่งธุลี การ
บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่เราอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้
บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร
ในกาลต่อมา เรายังหนุ่มแน่นแข็งแรง มีเกศาดำสนิท อยู่ในปฐมวัย เมื่อ
พระราชมารดาและพระราชบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้ผนวช มีพระพักตร์นองด้วย
น้ำพระเนตรทรงกันแสงอยู่ จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวัง
บวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วก็แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทางอัน
ประเสริฐ คือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร
แล้วกล่าวว่า
‘ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงกล่าวกับเราว่า ‘เชิญท่าน
อยู่ก่อน ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ตามแบบอาจารย์ของตน เข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้นไม่นาน เราก็เรียนรู้
ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวญาณ-
วาทะ๑และเถรวาทะ๒ได้ ทั้งเราและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า ‘เรารู้ เราห็น’ เราจึงคิดว่า
‘อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศธรรมนี้ ด้วยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า
‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ก็หามิได้ แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร
ยังรู้ ยังเห็นธรรมนี้ด้วยอย่างแน่นอน’
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่านกาลามะ
ท่านประกาศธรรมนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร’
เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงประกาศอากิญจัญญายตน-
สมาบัติแก่เรา เราจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้นที่มีศรัทธา
แม้เราก็มีศรัทธา มีวิริยะ... มีสติ... มีสมาธิ... มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร
เท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญเพียร เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นานเราก็บรรลุธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่านกาลามะ
ท่านประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้หรือ’
อาฬารดาบสตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ เราประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล’
(เราจึงกล่าวว่า) ‘ท่านกาลามะ แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้’
(อาฬารดาบส กาลามโคตรกล่าวว่า) ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า
พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะข้าพเจ้าประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ข้าพเจ้าก็ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ข้าพเจ้าทราบธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด ข้าพเจ้าก็ทราบ
ธรรมนั้น เป็นอันว่าข้าพเจ้าเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด ข้าพเจ้า
ก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกันบริหารคณะนี้’
ภารทวาชะ อาฬารดาบส กาลามโคตร ทั้งที่เป็นอาจารย์ของเรา ก็ยกย่องเรา
ผู้เป็นศิษย์ให้เสมอกับตน และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างดี ด้วยประการอย่างนี้
แต่เราคิดว่า ‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบ
ระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตน-
สมาบัติเท่านั้น’ เราไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงลาจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

ในสำนักอุทกดาบส
[๔๗๖] ภารทวาชะ เรานั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทางอัน
ประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้ว
กล่าวว่า ‘ท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุทกดาบส รามบุตรจึงกล่าวกับเราว่า ‘เชิญท่านอยู่ก่อน
ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ตามแบบ
อาจารย์ของตนเข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้นไม่นาน เราก็เรียนรู้ธรรมนั้นได้
อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวญาณวาทะและเถร-
วาทะได้ ทั้งเราและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ เราจึงคิดว่า ‘อุทกดาบส
รามบุตรประกาศธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ก็หามิได้ แต่อุทกดาบส รามบุตรยังรู้ ยังเห็นธรรม
นี้ด้วยอย่างแน่นอน’
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ‘ท่านรามะ ท่านประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร’
เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว อุทกดาบส รามบุตรจึงประกาศเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติแก่เรา เราจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อุทกดาบส รามบุตรเท่านั้นที่มี
ศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา ... มีวิริยะ ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มิใช่แต่อุทกดาบส
รามบุตรเท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี เราควรเริ่มบำเพ็ญเพียรเพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่อุทกดาบส รามบุตรประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นานเราก็ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ‘ท่านรามะ ท่านประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร
อุทกดาบส รามบุตรตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้
แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล’
(เราจึงกล่าวว่า) ‘แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้’
(อุทกดาบส รามบุตรกล่าวว่า) ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า
พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะ(ข้าพเจ้า) รามะประกาศ
ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านก็ทำให้แจ้งธรรมนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
รามะก็ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ รามะ
ทราบธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด รามะก็ทราบธรรมนั้น
เป็นอันว่ารามะเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด รามะก็เป็นเช่นนั้นมาเถิด
บัดนี้ ท่านจงบริหารคณะนี้’
ภารทวาชะ อุทกดาบส รามบุตรทั้งที่เป็นเพื่อนพรหมจารีของเรา ก็ยกย่องเรา
ไว้ในฐานะอาจารย์ และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างดีด้วยประการอย่างนี้ แต่เราคิดว่า
‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
เท่านั้น เราไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงลาจากไป
ทรงบำเพ็ญเพียร
[๔๗๗] ภารทวาชะ เรานั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทาง
อันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า เมื่อเที่ยวจาริกไปในแคว้นมคธโดย
ลำดับ ได้ไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้เห็นภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์มีราวป่าน่า
เพลิดเพลินใจ มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคาม
อยู่โดยรอบ เราจึงคิดว่า ‘ภูมิประเทศเป็นที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่าน่าเพลิดเพลินใจ
มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคามอยู่โดยรอบ
เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ปรารถนาจะบำเพ็ญเพียร’ เราจึงนั่ง ณ ที่
นั้นด้วยคิดว่า ‘ที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

อุปมา ๓ ข้อ
ภารทวาชะ ครั้งนั้น อุปมา ๓ ข้อ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยิน
มาก่อน ได้ปรากฏแก่เรา คือ
๑. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่แช่อยู่ในน้ำ บุรุษนำไม้นั้นมาทำไม้สีไฟ
ด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ภารทวาชะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้สดที่มียางซึ่งแช่อยู่
ในน้ำมาทำไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้สดนั้นมียาง ทั้งยังแช่อยู่ในน้ำ บุรษนั้นก็มีแต่
ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า”
“ภารทวาชะ อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
มีกายและจิตยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหายและความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับ
อย่างเบ็ดเสร็จในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนาที่
กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้
การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ
เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการ
ตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๑ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยินมาก่อน ได้
ปรากฏแก่เรา
[๔๗๘] ๒. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่วางอยู่บนบกห่างจากน้ำ บุรุษนำไม้
นั้นมาทำไม้สีไฟด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ภารทวาชะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้สดที่มียางซึ่งวางอยู่
บนบกห่างจากน้ำมาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้ยังสดและมียาง แม้จะวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ
บุรุษนั้นก็มีแต่ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า”
“ภารทวาชะ อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งแม้
มีกายและจิตหลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับ
อย่างเด็ดขาดในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนาที่
กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้
การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ
เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการ
ตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๒ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยินมาก่อน
ได้ปรากฏแก่เรา
[๔๗๙] ๓. เปรียบเหมือนไม้ที่แห้งสนิทซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ บุรุษ
นำมาทำเป็นไม้สีไฟ ด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ภารทวาชะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้ที่แห้งสนิทซึ่งวางอยู่
บนบกห่างจากน้ำมาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้แห้งสนิท ทั้งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ”
“ภารทวาชะ อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกาย
และจิตหลีกออกจากกามแล้ว ทั้งละและระงับความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลายได้อย่างเด็ดขาดในภายในแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น แม้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร
แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร
ก็เป็นผู้ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๓ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยินมาก่อน
ได้ปรากฏแก่เรา
ภารทวาชะ นี้คือ อุปมาทั้ง ๓ ข้ออันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่งซึ่งเรายังไม่เคยได้ยิน
มาก่อนนี้แล ได้ปรากฏแก่เรา
ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา
[๔๘๐] ภารทวาชะ เรานั้นมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรกดฟันด้วยฟัน
ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน’ เรานั้นก็กดฟันด้วยฟัน
ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน เมื่อเราทำดังนั้น เหงื่อก็
ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง คนที่แข็งแรงจับคนที่อ่อนแอกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ
แล้วบีบคั้นรัดไว้ให้แน่น แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้น
ดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน เหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง
๒ ข้าง
เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
[๔๘๑] ภารทวาชะ เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌาน
อันไม่มีลมปราณเถิด’ เราก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออกทั้งทางปากและ
ทางจมูก เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากและทางจมูก
ลมก็ออกทางหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ ๆ ลมที่ช่างทองสูบอยู่มีเสียงดังอู้ ๆ แม้ฉันใด
เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากและทางจมูก ลมก็ออกทาง
หูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร
เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’ เราก็
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่อเรา
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมอัน
แรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ คนที่แข็งแรงใช้เหล็กที่แหลมคมแทงศีรษะ แม้ฉันใด
เมื่อเรากลั้นลมหลายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ ฉันนั้นเหมือนกัน
เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
เราก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
ก็มีทุกขเวทนาในศีรษะเป็นอันมาก คนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันศีรษะ
แม้ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ก็มีเวทนาในศีรษะอย่างแรงกล้า ฉันนั้นเหมือนกัน
เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’ เราก็
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่อเรา
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมอันแรง
กล้าก็บาดในช่องท้อง คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ใช้มีดแล่เนื้อที่คม
กรีดท้อง แม้ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทาง
จมูกและทางช่องหู ก็มีลมอันแรงกล้าบาดในช่องท้อง ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร
เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด' เราก็
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่อเรา
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความ
กระวนกระวายในร่างกายอย่างแรงกล้า คนที่แข็งแรง ๒ คนจับแขนคนที่อ่อนแอกว่า
คนละข้างย่างให้ร้อน บนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลม
หายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความกระวนกระวายในร่างกาย
อย่างแรงกล้า ฉันนั้นเหมือนกัน
เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เทวดาทั้งหลายเห็นเราแล้วก็พากันกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมสิ้นพระชนม์แล้ว’
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมยังมิได้สิ้นพระชนม์ แต่กำลังจะสิ้น
พระชนม์’ บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมยังไม่สิ้นพระชนม์ ทั้งจะไม่สิ้น
พระชนม์ พระสมณโคดมจะเป็นพระอรหันต์ การอยู่เช่นนี้นั้น เป็นวิหารธรรม๑ของ
ท่านผู้เป็นพระอรหันต์’
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง’
ขณะนั้น เทวดาทั้งหลายเข้ามาหาเราแล้วกล่าวว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าได้
ปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง ถ้าท่านจักปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง
พวกข้าพเจ้าจะแทรกโอชาอันเป็นทิพย์เข้าทางขุมขนของท่าน ท่านจะได้ยังอัตภาพ
ให้เป็นไปด้วยโอชานั้น’ เราจึงมีความดำริว่า ‘เราปฏิญญาว่า จะต้องอดอาหาร
ทุกอย่าง แต่เทวดาเหล่านี้จะแทรกโอชาอันเป็นทิพย์เข้าทางขุมขนของเรา เราจะยัง
อัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชานั้น การปฏิญญานั้นก็จะพึงเป็นมุสาแก่เราเอง’ เราจึง
กล่าวห้ามเทวดาเหล่านั้นว่า ‘อย่าเลย’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรกินอาหารให้น้อยลง ๆ เพียงครั้งละ ๑
ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ด
ถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง, เราจึงกินอาหารน้อยลง ๆ เพียงครั้งละ ๑
ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อใน
เมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง’ เมื่อเรากินอาหารน้อยลง ๆ เพียงครั้งละ
๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อใน
เมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายจึงซูบผอมมาก อวัยวะน้อยใหญ่
ของเราจึงเป็นเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากหรือเถาวัลย์ที่มีข้อดำ เนื้อสะโพกก็ลีบ
เหมือนกีบเท้าอูฐ กระดูกสันหลังก็ผุดเป็นหนามเหมือนเถาวัลย์ ซี่โครงทั้ง ๒ ข้าง
ขึ้นสะพรั่ง เหมือนกลอนศาลาเก่า ดวงตาทั้ง ๒ ก็ลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือน
ดวงดาวปรากฏอยู่ในบ่อน้ำลึก หนังบนศีรษะก็เหี่ยวหดเหมือนลูกน้ำเต้าที่เขาตัดมา
ขณะยังดิบต้องลมและแดดเข้าก็เหี่ยวหดไป เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยนั้น เราคิดว่า
‘จะลูบพื้นท้อง’ ก็จับถึงกระดูกสันหลัง คิดว่า ‘จะลูบกระดูกสันหลัง’ ก็จับถึง
พื้นท้อง เพราะพื้นท้องของเราแนบติดจนถึงกระดูกสันหลัง เราคิดว่า ‘จะถ่ายอุจจาระ
หรือถ่ายปัสสาวะ’ ก็ซวนเซล้มลง ณ ที่นั้น เมื่อจะให้กายสบายบ้าง จึงใช้ฝ่ามือ
ลูบตัว ขนทั้งหลายที่มีรากเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อย มนุษย์ทั้ง
หลายเห็นเราเข้าแล้ว ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมดำไป’ บางพวกก็กล่าวอย่าง
นี้ว่า ‘พระสมณโคดมไม่ดำเพียงแต่คล้ำไป’ บางพวกก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ไม่ดำ ไม่คล้ำ
เพียงแต่พร้อยไป’ เรามีผิวพรรณบริสุทธิ์ เปล่งปลั่ง เพียงแต่เสียผิวไป เพราะเป็นผู้มี
อาหารน้อยเท่านั้น
[๔๘๒] ภารทวาชะ เรานั้นจึงมีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ในอดีต ที่เสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะ
ความเพียร ทุกขเวทนานั้นอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตผู้เสวยทุกขเวทนา กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้น
เพราะความเพียร ทุกขเวทนานั้นอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันเสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร
ที่เกิดขึ้นเพราะความเพียร ทุกขเวทนานั้นอย่างยิ่งก็เพียงนี้ไม่เกินกว่านี้ไป แต่เราก็ยัง
มิได้บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วย
ทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางอื่นที่จะตรัสรู้บ้างไหม
เราจึงมีความดำริว่า ‘เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าวสักกาธิบดีซึ่งเป็น
พระราชบิดา เรานั่งอยู่ใต้ต้นหว้าอันร่มเย็น ได้สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ทางนั้น
พึงเป็นทางแห่งการตรัสรู้หรือหนอ’ เรามีความรู้แจ้งที่ตามระลึกด้วยสติว่า ‘ทางนั้น
เป็นทางแห่งการตรัสรู้’ เราจึงมีความดำริว่า ‘เรากลัวความสุขที่เว้นจากกามและ
อกุศลธรรมทั้งหลายหรือ’ เราก็ดำริว่า ‘เราไม่กลัวความสุขที่เว้นจากกามและ
อกุศลธรรมทั้งหลายเลย’
[๔๘๓] ภารทวาชะ เราจึงมีความดำริต่อไปว่า ‘เราผู้มีกายซูบผอมมาก
อย่างนี้ จะบรรลุความสุขนั้นไม่ใช่ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรกินอาหารหยาบ
คือข้าวสุกและขนมกุมมาส’ เราก็กินอาหารหยาบคือข้าวสุกและขนมกุมมาส ครั้งนั้น
ภิกษุปัญจวัคคีย์เฝ้าบำรุงเรา ด้วยหวังว่า ‘พระสมณโคดมบรรลุธรรมใด จักบอก
ธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย’ เมื่อใด เราฉันอาหารหยาบ คือข้าวสุกและขนมกุมมาส
เมื่อนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์นั้นก็เบื่อหน่าย จากไปด้วยเข้าใจว่า ‘พระสมณโคดม
มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว’
ฌาน ๔ และวิชชา ๓
ภารทวาชะ เราฉันอาหารหยาบให้ร่างกายมีกำลัง สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่๑
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นน้อมจิต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร
ไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้ ในปฐมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชา
ได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคล
ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
[๔๘๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้น
น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ในมัชฌิมยามแห่งราตรี
กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือน
บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นน้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา นี้อาสวะ ฯลฯ๑ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเรารู้เห็นอยู่อย่างนี้
จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เราบรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ ในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชา
ก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่๒”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร
[๔๘๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สังคารวมาณพได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนได้มีแล้วแก่ท่านพระโคดมหนอ
ความเพียรของสัตบุรุษได้มีแล้วแก่ท่านพระโคดมหนอ ท่านพระโคดมสมควรเป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านพระโคดม เทวดามีหรือหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้โดยฐานะ”
สังคารวมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า ‘เทวดา
มีหรือหนอ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘ภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้โดยฐานะ’
เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้อยคำของพระองค์เป็นถ้อยคำเปล่า เป็นมุสา มิใช่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภารทวาชะ ผู้ใดเมื่อถูกถามว่า ‘เทวดามีอยู่หรือ’
จะพึงตอบว่า ‘ข้อที่ว่าเทวดามีอยู่นั้น รู้กันได้โดยฐานะ’ ผู้นั้นก็เท่ากับกล่าวว่า
‘เรารู้จักเทวดา’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านผู้รู้ก็เข้าใจในเรื่องนี้ได้ว่า ‘เทวดามีอยู่’
โดยแน่แท้”
สังคารวมาณพทูลถามว่า “ทำไม ท่านพระโคดมจึงไม่ทรงตอบแก่ข้าพระองค์
เสียแต่แรกเล่า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีอยู่นั้น เขาสมมติกัน
ในโลก ด้วยคำศัพท์ที่สูง”
สังคารวมาณพแสดงตนเป็นอุบาสก
[๔๘๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สังคารวมาณพได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]
รวมพระสูตรที่มีในวรรค
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็น
รูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต” ดังนี้แล
สังคารวสูตรที่ ๑๐ จบ
พราหมณวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตร ที่มาในวรรคนี้ คือ

๑. พรหมายุสูตร ๒. เสลสูตร
๓. อัสสลายนสูตร ๔. โฆฏมุขสูตร
๕. จังกีสูตร ๖. เอสุการีสูตร
๗. ธนัญชานิสูตร ๘. วาเสฏฐสูตร
๙. สุภสูตร ๑๐. สังคารวสูตร

รวมวรรคที่มีในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์นี้มี ๕ วรรค คือ

๑. คหปติวรรค ๒. ภิกขุวรรค
๓. ปริพพาชกวรรค ๔. ราชวรรค
๕. พราหมณวรรค

มัชฌิมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น