Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๔-๒ หน้า ๔๓ - ๘๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๓. กินติสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ก็สันติวรบท(บทอันประเสริฐสงบ) ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคต
รู้แล้วนี้ คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
จากผัสสายตนะ ๖๑ ตามความเป็นจริง แล้วจึงหลุดพ้นได้เพราะไม่ถือมั่น
สันติวรบทที่ตถาคตรู้แล้วนี้นั้น คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และ
อุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง แล้วจึงหลุดพ้นได้
เพราะไม่ถือมั่น‘๒
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ปัญจัตตยสูตรที่ ๒ จบ

๓. กินติสูตร
ว่าด้วยภิกษุคิดอย่างไรในพระพุทธเจ้า
[๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าชัฏ อันเป็นสถานที่บวงสรวง
พลีกรรม เขตกรุงกุสินารา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๓. กินติสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความคิดอย่างไรในเราบ้างหรือว่า ‘พระสมณ
โคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือพระสมณโคดมแสดงธรรม
เพราะเหตุแห่งภพน้อยและภพใหญ่ ด้วยอาการอย่างนี้”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่มี
ความคิดในพระผู้มีพระภาค อย่างนี้เลยว่า ‘พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุ
แห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต พระสมณโคดม
แสดงธรรมเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือพระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่ง
ภพน้อยและภพใหญ่ ด้วยอาการอย่างนี้”
“ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าเธอทั้งหลายไม่มีความคิดในเราอย่างนี้เลยว่า ‘พระ
สมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่ง
บิณฑบาต พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือพระสมณโคดม
แสดงธรรมเพราะเหตุแห่งภพน้อยและภพใหญ่ ด้วยอาการอย่างนี้’ ถ้าเช่นนั้น
เธอทั้งหลายมีความคิดอย่างไรในเราเล่า”
“ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความคิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาค
ทรงมีความเอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความอนุเคราะห์จึงทรงแสดงธรรม’
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าเธอทั้งหลายมีความคิดอย่างนี้ในเราว่า ‘พระผู้มี
พระภาคทรงมีความเอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความอนุเคราะห์จึงทรง
แสดงธรรม’
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายในที่นี้ด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เธอทั้งหมดพึงเป็นผู้
สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ตั้งใจศึกษาในธรรมเหล่านั้น แต่เมื่อเธอ
ทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุ ๒ พวก
ที่มีวาทะต่างกันในอภิธรรม๑บ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๓. กินติสูตร
ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรม(ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งธรรม
เครื่องตรัสรู้) เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านเหล่านี้มีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมี
ความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ‘๑ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุ
รูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ขอ
ท่านทั้งหลายจงทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า ‘เป็นความขัดแย้งกันโดยอรรถและ
เป็นความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย’ ต่อจาก
นั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้
ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย
มีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจง
ทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า ‘เป็นความขัดแย้งกันโดยอรรถและเป็นความขัดแย้ง
กันโดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย’
เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือผิดโดยความยึดถือผิด ครั้นจำได้แล้ว
พึงกล่าวธรรมวินัย ด้วยอาการอย่างนี้
[๓๖] ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
เหล่านี้มีความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ’ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจ
บรรดาภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุ
รูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดย
พยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจงทราบความขัดแย้งกันและความลงกันนี้นั้นว่า ‘เป็น
ความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ ท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกัน
เลย’ ต่อจากนั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า ภิกษุ
รูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้โดยง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๓. กินติสูตร
‘ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลาย
จงทราบความขัดแย้งกันและความลงกันนี้นั้นว่า ‘เป็นความขัดแย้งกันโดยอรรถ
ลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย’
เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือผิดโดยความยึดถือผิด พึงจำข้อที่
ภิกษุเหล่านั้นยึดถือถูกโดยความยึดถือถูก ครั้นจำได้แล้ว พึงกล่าวธรรมวินัย
ด้วยอาการอย่างนี้
[๓๗] ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
เหล่านี้ลงกันได้โดยอรรถ มีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ’ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจ
บรรดาภิกษุเหล่านั้นว่าภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษูรูป
นั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายลงกันได้โดยอรรถ มีความขัดแย้งกันโดย
พยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจงทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า ‘ลงกันได้โดยอรรถ
มีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ท่านทั้งหลาย
อย่าถึงกับวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย’ ต่อจากนั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดา
ภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไป
หาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ลงกันได้โดยอรรถ มีความ
ขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจงทราบความลงกันและความขัดแย้งกันนี้
นั้นว่า ‘ลงกันโดยอรรถ มีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็น
เรื่องเล็กน้อย ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย’
เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือถูกโดยความยึดถือถูก พึงจำข้อที่
ภิกษุเหล่านั้นยึดถือผิดโดยความยึดถือผิด ครั้นจำได้แล้ว พึงกล่าวธรรมวินัย
ด้วยอาการอย่างนี้
[๓๘] ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
เหล่านี้ลงกันได้โดยอรรถและลงกันได้โดยพยัญชนะ’ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดา
ภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายลงกันได้โดยอรรถและลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอ
ท่านทั้งหลายจงทราบความลงกันนี้นั้นว่า ‘ลงกันโดยอรรถและลงกันโดยพยัญชนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๓. กินติสูตร
ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย' ต่อจากนั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดา
ภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้โดยง่ายกว่า ควร
เข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า 'ท่านทั้งหลายลงกันได้โดยอรรถและลงกัน
ได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจงทราบความลงกันนี้นั้นว่า 'ลงกันโดยอรรถและ
ลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย'
เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือถูกโดยความยึดถือถูก ครั้นจำได้แล้ว
พึงกล่าวธรรมวินัย ด้วยอาการอย่างนี้
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อเธอทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน
ศึกษา๑อยู่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งพึงต้องอาบัติ ล่วงละเมิดบัญญัติ เธอทั้งหลายไม่
ควรกล่าวหาภิกษุรูปนั้นด้วยข้อกล่าวหาในเรื่องนั้น พึงใคร่ครวญบุคคลก่อนว่า
'ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่น
เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ดื้อรั้น สละคืนได้ง่าย และเราสามารถจะให้เขาออก
จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ด้วยอาการอย่างนี้' ถ้าเธอทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
อนึ่ง ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า 'ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และ
ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ดื้อรั้น สละ
คืนได้ง่าย และเราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่อง
ความขัดใจของบุคคลอื่นนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราสามารถจะให้เขาออก
จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลนั้น เป็นเรื่องใหญ่กว่า' ถ้าเธอทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
อนึ่ง ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า 'ความลำบากจักมีแก่เรา และ
ความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ดื้อรั้น
สละคืนได้ยาก และเราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็
เรื่องความลำบากของเรานี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราสามารถจะให้เขาออก
จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้นั้น เป็นเรื่องใหญ่กว่า' ถ้าเธอทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๓. กินติสูตร
อนึ่ง ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความลำบากจักมีแก่เราด้วย
ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่นด้วย เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ดื้อรั้น
สละคืนได้ยาก และเราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็
เรื่องความลำบากของเราและความขัดใจของบุคคลอื่นนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่อง
ที่เราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้นั้น เป็นเรื่องใหญ่กว่า’
ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
ภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความลำบากจักมี
แก่เราด้วย ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่นด้วย เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธ
ผูกโกรธ ดื้อรั้น สละคืนได้ยาก และเราก็ไม่สามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้ว
ให้ดำรงอยู่ในกุศลได้’ เธอทั้งหลายก็อย่าพึงดูหมิ่นความวางเฉยในบุคคลเช่นนี้
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อเธอทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่
วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ
ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันได้ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกัน
ในที่นั้นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราสามัคคีกัน ร่วม
ใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน
ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิไหม’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อ
ทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่
พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่
ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิได้’ ก็ภิกษุอื่นพึงถามเธอว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่
ละธรรม๑นี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ’ ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึง
ชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว พึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๓. กินติสูตร
ต่อจากนั้น เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า
ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน
ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ
ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิไหม’ ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึง
ชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลาย
สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความ
เห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิได้’ ก็
ภิกษุอื่นจะพึงถามเธอว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพาน
ให้แจ้งได้หรือ’ ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย
ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว พึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นพึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
ภิกษุเหล่านี้ของเราทั้งหลายอันท่านให้ออกจากอกุศล ให้ดำรงอยู่ในกุศลแล้วหรือ’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ในเรื่องนี้กระผม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม๑แก่
กระผม กระผมฟังธรรมของพระองค์แล้วได้บอกแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นฟัง
ธรรมนั้นแล้ว ออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้แล้ว’ ภิกษุเมื่อชี้แจงอย่างนี้
ชื่อว่าไม่ยกตน ไม่ข่มบุคคลอื่น และชื่อว่าชี้แจงอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีเลยที่คำ
กล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
กินติสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร

๔. สามคามสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านสามคาม
[๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านสามคาม แคว้นสักกะ
สมัยนั้นแล นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นาน ที่กรุงปาวา เพราะการถึง
แก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น นิครนถ์ทั้งหลายได้แตกกันเป็น ๒ ฝ่าย ต่าง
บาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า
“ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้
อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด แต่ผมปฏิบัติถูก คำพูดของผมมีประโยชน์ แต่คำพูดของ
ท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อนท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง
ท่านกลับพูดเสียก่อน เรื่องที่ท่านเคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ผมจับผิดคำพูดของท่าน
ได้แล้ว ผมข่มท่านได้แล้ว ถ้าท่านมีความสามารถก็จงหาทางแก้คำพูดหรือเปลื้อง
ตนให้พ้นผิดเถิด”๑
นิครนถ์เหล่านั้นทะเลาะกันแล้ว เห็นจะมีแต่การฆ่ากันอย่างเดียวเท่านั้นที่จะ
ลุกลามไปในหมู่ศิษย์ของนิครนถ์ นาฏบุตร แม้พวกสาวกของนิครนถ์ นาฏบุตรผู้
เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยใน
หมู่ศิษย์ของนิครนถ์ นาฏบุตร ทั้งนี้ เพราะธรรมวินัยที่นิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวไว้
ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนัก
ถูกทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย
[๔๒] ครั้งนั้น พระจุนทสมณุทเทส๒จำพรรษาอยู่ในกรุงปาวาได้เข้าไปหา
ท่านพระอานนท์ถึงหมู่บ้านสามคาม กราบแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับ
ท่านพระอานนท์ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร
“ท่านผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นานที่กรุงปาวา เพราะการ
ถึงแก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น นิครนถ์ทั้งหลายได้แตกกันเป็น ๒ ฝ่าย ฯลฯ
เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนักถูกทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย”
เมื่อพระจุนทสมณุทเทสกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า “คุณ
จุนทะ เรื่องนี้มีเค้าพอจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ มาเถิดคุณจุนทะ เราทั้งสอง
จักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค”
พระจุนทสมณุทเทสรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์และพระจุนทสมณุทเทสเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระ
อานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระจุนทสมณุทเทสนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นิครนถ์
นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นานที่กรุงปาวา เพราะการถึงแก่กรรมของนิครนถ์
นาฏบุตรนั้น นิครนถ์ทั้งหลายได้แตกกันเป็น ๒ ฝ่าย ต่างบาดหมางกัน ทะเลาะ
วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้
ทั่วถึง ฯลฯ เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนักถูกทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่
พึ่งอาศัย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า ‘สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาค
เสด็จล่วงลับไป ความวิวาทอย่าได้เกิดขึ้นในสงฆ์เลย เพราะความวิวาทนั้น เป็นไป
เพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่
คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
[๔๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ธรรมทั้งหลาย คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วย
ความรู้ยิ่ง เธอเห็นภิกษุของเราแม้ ๒ รูป มีวาทะต่างกันในธรรมเหล่านี้บ้างไหม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย คือ
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วย
ความรู้ยิ่ง ข้าพระองค์ยังไม่เห็นภิกษุแม้ ๒ รูปมีวาทะต่างกันในธรรมเหล่านี้เลย
แต่มีบุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป
พึงก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ในเพราะอาชีวะอันเคร่งครัด๑หรือปาติโมกข์อัน
เคร่งครัด๒การวิวาทนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คน
หมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ การวิวาทที่เกิดเพราะอาชีวะอันเคร่งครัด หรือปาติโมกข์อัน
เคร่งครัดนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย ความจริง การวิวาทใดเมื่อเกิดในสงฆ์พึงเกิดเพราะ
มรรคหรือปฏิปทา๓ การวิวาทนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร
สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
มูลเหตุแห่งการวิวาท
[๔๔] อานนท์ มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการนี้
มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้
ภิกษุนั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระศาสดา ไม่
มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระธรรม ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ และไม่ทำสิกขา๑ให้บริบูรณ์
อานนท์ ภิกษุใดไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา
... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์
ภิกษุนั้นย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่ใช่
เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการ
วิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละ
มูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้น ถ้าเธอ
ทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ
ภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็น
บาปนั้นไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้น
ย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อ
ต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร
[๔๕] ๒. เป็นผู้ลบหลู่ เป็นผู้ตีเสมอ...
๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่...
๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา...
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ...
๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก
อานนท์ ภิกษุใดเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่
ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความ
ยำเกรงแม้ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้
ในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่
และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ อานนท์ ภิกษุใดไม่มีความเคารพ ไม่
มีความยำเกรงในพระศาสดา... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ และ
ไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้นย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์
ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อานนท์ ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็น
มูลเหตุแห่งการวิวาทเช่นนี้ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลาย
พึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลทั้งภายใน
หรือภายนอกนั้น ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการ
วิวาทเช่นนี้ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้
มูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูล
เหตุแห่งการวิวาท ที่เป็นบาปนั้นแลย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการ
วิวาท ที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้
อานนท์ มูลเหตุแห่งการวิวาทมี ๖ ประการนี้แล๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร

อธิกรณ์และวิธีระงับอธิกรณ์
[๔๖] อานนท์ อธิกรณ์๑ ๔ ประการนี้
อธิกรณ์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์

อธิกรณ์มี ๔ ประการนี้แล
อธิกรณสมถะ ๗ ประการนี้ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. เยภุยยสิกา ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ

อันสงฆ์พึงให้ เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
[๔๗] สัมมุขาวินัย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ย่อมวิวาทกันว่า ‘นี่เป็นธรรมบ้าง นี่ไม่เป็น
ธรรมบ้าง นี่เป็นวินัยบ้าง นี่ไม่เป็นวินัยบ้าง’ ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึง
พร้อมเพรียงกันประชุม ครั้นประชุมแล้ว พึงพิจารณาธรรมเนติ ครั้นพิจารณา
แล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องในธรรมเนตินั้นลงกันได้
อานนท์ สัมมุขาวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้
ย่อมมีได้ด้วยสัมมุขาวินัยอย่างนี้
[๔๘] เยภุยยสิกา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ จึงพากันไปยังอาวาส
ที่มีภิกษุมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุมในอาวาสนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร
ครั้นประชุมแล้ว พึงพิจารณาธรรมเนติ ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับ
โดยอาการที่เรื่องในธรรมเนตินั้นลงกันได้
อานนท์ เยภุยยสิกา เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้
ย่อมมีได้ด้วยเยภุยยสิกาอย่างนี้
[๔๙] สติวินัย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าวหาภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้
คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ‘ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือว่า ‘ท่านต้อง
อาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ‘ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น
อานนท์ สติวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้
ย่อมมีได้ด้วยสติวินัยอย่างนี้
[๕๐] อมูฬหวินัย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าวหาภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้
คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ‘ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือว่า ‘ท่านต้อง
อาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้า
ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ ภิกษุผู้เป็นโจทก์
นั้นพึงปลอบโยนเธอผู้กล่าวแก้ตัวว่า ‘เอาเถอะ ท่านจงตรองดูให้ดี ถ้าท่านระลึก
ได้ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นบ้า ใจฟุ้งซ่านแล้ว
ข้าพเจ้าระลึกถึงกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมากที่ข้าพเจ้าผู้เป็นบ้าได้
ประพฤติล่วงละเมิด ได้พูดพล่ามไปแล้วนั้นไม่ได้เลย ข้าพเจ้าลืมสติ ได้ทำกรรมนี้
แล้ว’ เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร
อานนท์ อมูฬหวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้
ย่อมมีได้ด้วยอมูฬหวินัยอย่างนี้
[๕๑] ปฏิญญาตกรณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ถูกกล่าวหาก็ตาม ไม่ถูกกล่าวหาก็ตาม ย่อมระลึก
เปิดเผย ทำอาบัตินั้นให้ชัดเจนได้ ภิกษุนั้นจึงเข้าไปหาภิกษุผู้แก่กว่า ห่มจีวรเฉวียงบ่า
กราบเท้า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอแสดงคืนอาบัตินั้น’ ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวว่า
‘ท่านเห็นหรือ’ เธอกล่าวว่า ‘ขอรับ ข้าพเจ้าเห็น’ ภิกษุผู้แก่กว่านั้นจึงกล่าวว่า
‘ท่านพึงสำรวมต่อไป’ เธอกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจักสำรวม’
อานนท์ ปฏิญญาตกรณะ เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรม
วินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยปฏิญญาตกรณะอย่างนี้
[๕๒] ตัสสปาปิยสิกา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าวหาภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้
คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ‘ท่านระลึกได้หรือว่า ‘ท่านต้องอาบัติ
หนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’
ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ‘ข้าพเจ้า
ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’
ภิกษุผู้กล่าวหานั้นพึงปลอบโยนเธอผู้กล่าวแก้ตัวว่า ‘เอาเถอะ ท่านจงตรอง
ดูให้ดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ‘ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้
เคียงปาราชิก’
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ‘ข้าพเจ้า
ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ แต่ข้าพเจ้าระลึก
ได้ว่า ‘ข้าพเจ้าต้องอาบัติเพียงเล็กน้อยเห็นปานนี้’ ภิกษุผู้กล่าวหานั้นปลอบโยนเธอ
ผู้กล่าวแก้ตัวว่า ‘เอาเถอะ ท่านจงตรองดูให้ดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ‘ท่านต้องอาบัติ
หนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ความจริงข้าพเจ้าต้องอาบัติเพียงเล็ก
น้อยนี้ แม้ไม่ถูกใครถามยังรับสารภาพ ทำไมต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก ถูกถามแล้วจักไม่รับสารภาพเล่า’
ภิกษุผู้กล่าวหานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ก็ท่านต้องอาบัติเพียงเล็กน้อยนี้ ยังไม่
ถูกถามจึงไม่รับสารภาพ ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียง
ปาราชิก ไม่ถูกถามแล้ว จักรับสารภาพทำไม เอาเถอะ ท่านจงตรองดูให้ดี ถ้า
ท่านระลึกได้ว่า ‘ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียง
ปาราชิก’
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ากำลังระลึกได้ว่า ‘ข้าพเจ้า
ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว’ คำที่ว่า
ข้าพเจ้าระลึกถึงอาบัตินั้นไม่ได้ว่า ‘ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก
หรือใกล้เคียงปาราชิก’ นี้ ข้าพเจ้าพูดเล่นพูดพลั้งไป’
อานนท์ ตัสสปาปิยสิกา เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้
ย่อมมีได้ด้วยตัสสปาปิยสิกาอย่างนี้
[๕๓] ติณวัตถารกวินัย เป็นอย่างไร
คือ กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมากที่ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
ผู้เกิดการบาดหมาง เกิดการทะเลาะ ถึงการวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงละเมิด
ได้พูดล่วงเกินแล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุม ภิกษุผู้ฉลาด
กว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นฝ่ายเดียวกันพึงลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประคอง
อัญชลีแล้วประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ‘ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก เราทั้งหลายในที่นี้ผู้เกิดการบาดหมาง
เกิดการทะเลาะ ถึงการวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงละเมิด ได้พูดล่วงเกินแล้ว
ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และ
ของตน ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่มีความพัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วย
ติณวัตถารกวินัยในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์
แก่ตน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร
ลำดับนั้น ภิกษุผู้ฉลาดกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นฝ่ายเดียวกันกับภิกษุอีก
ฝ่ายหนึ่ง พึงลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีแล้วประกาศให้
สงฆ์ทราบว่า ‘ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กรรมอันไม่สมควรแก่
สมณะเป็นอันมาก ที่เราทั้งหลายในที่นี้ผู้เกิดการบาดหมาง เกิดการทะเลาะ ถึงการ
วิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงละเมิด ได้พูดล่วงเกินแล้ว ถ้าความพรั่งพร้อมของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และของตน ยกเว้นอาบัติที่มี
โทษหยาบและอาบัติที่มีความพัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยติณวัตถารกวินัยในท่ามกลาง
สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน’
อานนท์ ติณวัตถารกวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรม
วินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยติณวัตถารกวินัยอย่างนี้
ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน
[๕๔] อานนท์ สาราณียธรรม(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการนี้
ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน๑
สาราณียธรรม ๖ ประการ๒ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๓ ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคามสูตร
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก๑ลาภทั้งหลายที่ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต ก็บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้มีศีล ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก
ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. เป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้
สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอ
กันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณีย-
ธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อ
ความเป็นอันเดียวกัน
๖. เป็นผู้มีทิฏฐิโดยทิฏฐิอันประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม๒เพื่อความ
สิ้นทุกข์โดยเสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร
อานนท์ สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อ
ความเป็นอันเดียวกัน ถ้าเธอทั้งหลายพึงสมาทานสาราณียธรรม ๖ ประการนี้
ประพฤติอยู่ เธอทั้งหลายจะเห็นแนวทางว่ากล่าวกันได้ น้อยบ้าง มากบ้าง ที่เธอ
ทั้งหลายพึงอดกลั้นไว้ไม่ได้บ้างไหม”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสมาทาน
สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ แล้วประพฤติเถิด การประพฤตินั้นจักเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่เธอทั้งหลายตลอดกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
สามคามสูตรที่ ๔ จบ

๕. สุนักขัตตสูตร
ว่าด้วยเจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร
[๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นจำนวนมากได้พยากรณ์อรหัตตผลในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑
เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรได้ฟังว่า “ภิกษุจำนวนมากได้พยากรณ์อรหัตตผล
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังว่า ‘ภิกษุจำนวนมากได้พยากรณ์
อรหัตตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ ภิกษุทั้งหลายผู้พยากรณ์อรหัตตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้า
พระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ
แล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหล่านั้น ได้พยากรณ์อรหัตตผล
โดยชอบ หรือว่ามีภิกษุบางพวกได้พยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญตนว่าได้
บรรลุ พระพุทธเจ้าข้า”
[๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุนักขัตตะ ภิกษุเหล่านั้นผู้พยากรณ์
อรหัตตผลในสำนักของเราว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
มีภิกษุบางพวกในศาสนานี้ได้พยากรณ์อรหัตตผลโดยถูกต้องทีเดียว แต่มีภิกษุ
บางพวกในศาสนานี้ ได้พยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญตนว่าได้บรรลุ
สุนักขัตตะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายผู้พยากรณ์อรหัตตผลโดย
ชอบเหล่านั้น ย่อมมีอรหัตตผลจริงทีเดียว ส่วนบรรดาภิกษุผู้พยากรณ์อรหัตตผล
ด้วยความสำคัญตนว่าได้บรรลุเหล่านั้น ตถาคตมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักแสดง
ธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น’
สุนักขัตตะ ในเรื่องนี้ ตถาคตมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักแสดงธรรมแก่
ภิกษุเหล่านั้น‘แต่ถ้าในธรรมวินัยนี้ มีโมฆบุรุษบางพวกแต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต
ข้อที่ตถาคตมีความคิดในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘เราจักแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น’
ก็จะเป็นอย่างอื่นไป”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร
เจ้าสุนักขัตตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควร
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลสมควร ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรม ภิกษุ
ทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุนักขัตตะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๕๗] “สุนักขัตตะ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ๑ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
สุนักขัตตะ กามคุณมี ๕ ประการนี้แล
[๕๘] สุนักขัตตะ เป็นไปได้๒ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจ
ไปในโลกามิส๓ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส สนทนาแต่เรื่องที่เหมาะแก่
โลกามิสนั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่โลกามิสนั้น คบแต่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร
คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยว
กับเรื่องอาเนญชสมาบัติ๑ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคน
ประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น เปรียบเหมือนคนที่จากบ้าน
หรือนิคมของตนไปนาน พบบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้จากบ้านหรือนิคมไปไม่นาน พึง
ถามบุรุษนั้นถึงเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความสุขสบาย ทำมาหากินดี และมี
อาพาธน้อย บุรุษนั้นพึงบอกเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความสุขสบาย ทำมาหากินดี
และมีอาพาธน้อยแก่เขา
สุนักขัตตะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ คนนั้นพึงสนใจฟังบุรุษนั้น
เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจรับรู้ คบบุรุษนั้น และถึงความปลื้มใจกับบุรุษนั้นใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ เป็นไปได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้พึง
เป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส สนทนาแต่เรื่องที่
เหมาะแก่โลกามิสนั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่โลกามิสนั้น คบแต่
คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเกี่ยวกับ
เรื่องอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคน
ประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น บุรุษบุคคลนั้น บัณฑิตพึง
ทราบว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากการเกี่ยวข้องกับอาเนญชสมาบัติ มีแต่น้อม
ใจไปในโลกามิส
[๕๙] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจ
ไปในอาเนญชสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ สนทนาแต่เรื่องที่
เหมาะแก่อาเนญชสมาบัตินั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่อาเนญช-
สมาบัตินั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมี
ใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องโลกามิส ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้
ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร
เปรียบเหมือนใบไม้เหลืองหลุดจากขั้วแล้ว ไม่กลับเขียวสดขึ้นมาได้ แม้ฉันใด
ความเกี่ยวข้องในโลกามิสของบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติก็หลุดไป ฉันนั้น
เหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความ
เกี่ยวข้องกับโลกามิส มีแต่น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ’
[๖๐] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไป
ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
สนทนาแต่เรื่องที่เหมาะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรอง
ธรรมอันสมควรแก่อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึง
ความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องอาเนญชสมาบัติ
ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึง
ความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น
ก้อนศิลาแตกออกเป็น ๒ เสี่ยงแล้ว ย่อมเป็นของเชื่อมกันให้สนิท
ไม่ได้ แม้ฉันใด ความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติของบุคคลผู้มีใจน้อมไปใน
อากิญจัญญายตนสมาบัติก็แตกไป ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้น บัณฑิตพึง
ทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับอาเนญชสมาบัติ มีแต่
น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ’
[๖๑] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไปใน
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตน
สมาบัติ สนทนาแต่เรื่องที่เหมาะแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้นเท่านั้น
ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น คบแต่คน
ประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับ
เรื่องอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้
ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น เปรียบเหมือนคน
บริโภคโภชนะที่ถูกใจจนอิ่มหนำแล้วพึงหยุดเสีย
สุนักขัตตะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ คนนั้นพึงมีความปรารถนา
ในภัตนั้นบ้างไหม”
“ไม่ปรารถนา พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะว่าภัตนั้นตนเองรู้สึกว่าเป็นของไม่น่ากินเสียแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ ความเกี่ยวข้องในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ก็ถูกบุรุษบุคคล
ผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติคายได้แล้ว อย่างนั้นเหมือนกัน
บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ มีแต่น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ’
[๖๒] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไป
ในนิพพานโดยชอบ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ สนทนาแต่เรื่องที่
เหมาะแก่นิพพานโดยชอบนั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่นิพพาน
โดยชอบนั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่
เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง
ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคน
ประเภทนั้น
เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกงามได้อีก แม้ฉันใด ความเกี่ยวข้อง
ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ถูกบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ
ถอนขึ้นได้ ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า
‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
มีแต่น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ’
[๖๓] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความคิดอย่าง
นี้ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อม
งอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษ
อันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’ เรื่องต่อไปนี้
มีเนื้อความดังนี้ ภิกษุนั้นพึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะ๑แห่งใจ
อันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ พึงประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร
เนือง ๆ พึงประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ พึงประกอบ
การดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ พึงประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็น
สัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ พึงประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทาง
กายเนือง ๆ พึงประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ
เมื่อภิกษุนั้นประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ ประกอบการฟัง
เสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทาง
จมูกเนือง ๆ ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ ประกอบการ
ถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์
อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ แล้ว ราคะพึงครอบงำจิตได้ เธอมีจิตถูกราคะ
ครอบงำแล้ว พึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
เปรียบเหมือนคนถูกยิงด้วยลูกศรที่อาบยาพิษอย่างร้ายแรง มิตร อำมาตย์
ญาติสาโลหิตของเขาจึงหาหมอผ่าตัดมารักษา หมอผ่าตัดนั้นใช้มีดผ่าปากแผล
แล้วใช้เครื่องตรวจหาลูกศร ตรวจพบลูกศรแล้วจึงถอนออก พึงกำจัดโทษคือพิษที่
ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่า ‘ไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่’ หมอผ่าตัดนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘พ่อมหาจำเริญ เราถอนลูกศรให้ท่านแล้ว โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มีเชื้อหลง
เหลือแล้ว ท่านพ้นขีดอันตรายแล้ว แต่ต้องรับประทานอาหารที่ไม่แสลง เมื่อท่าน
จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่แสลง ก็อย่าถึงกับให้แผลต้องกำเริบ และท่านต้อง
ล้างแผลตามเวลา ทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อท่านล้างแผลและทายาสมาน
แผลตามเวลา ก็อย่าให้น้ำเหลืองและเลือดปิดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยวตาก
ลมตากแดดเนือง ๆ เมื่อท่านเที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ ก็อย่าให้ละอองหรือ
สิ่งโสโครกถูกปากแผลได้ ท่านต้องรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะสมานกันดี’
บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘หมอถอนลูกศรให้เราแล้ว โทษคือพิษหมอก็
กำจัดจนไม่มีเชื้อหลงเหลือแล้ว เราพ้นขีดอันตรายแล้ว’ เขาจึงรับประทานอาหาร
ที่แสลง เมื่อเขารับประทานอาหารที่แสลง แผลก็กำเริบ เขาไม่ล้างแผลตามเวลา
และไม่ทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อเขาไม่ล้างแผลและไม่ทายาสมานแผล
ตามเวลา น้ำเหลืองและเลือดก็ปิดปากแผล เขาเที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ
เมื่อเขาเที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ ละอองและสิ่งโสโครกจึงถูกปากแผล เขาไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร
คอยรักษาแผลอยู่ แผลจึงไม่สมานกัน เพราะการกระทำไม่ถูกต้องนี้ แผลจึง
อักเสบได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ (๑) ไม่กำจัดโทษคือพิษอันเกิดจากความไม่
สะอาด (๒) ไม่กำจัดโทษคือพิษอันยังมีเชื้อหลงเหลืออยู่ไป เขามีแผลอักเสบ พึงถึง
ความตายหรือทุกข์ปางตายได้ แม้ฉันใด
สุนักขัตตะ เป็นไปได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคือ
อวิชชา ย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว
กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’
เรื่องต่อไปนี้มีเนื้อความดังนี้ ภิกษุนั้นประกอบเนือง ๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะ
แห่งใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ พึงประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะ
ทางตาเนือง ๆ พึงประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ พึง
ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ พึงประกอบการลิ้มรสอัน
ไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ พึงประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะ
ทางกายเนือง ๆ พึงประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ
เมื่อภิกษุนั้นเห็นรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ ประกอบการฟังเสียงอันไม่
เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ
ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ ประกอบการถูกต้อง
โผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่
เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ แล้ว ราคะพึงครอบงำจิตได้ เธอมีจิตถูกราคะครอบงำแล้ว
พึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
สุนักขัตตะ นั่นเป็นความตายของภิกษุผู้บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ใน
อริยวินัย ส่วนทุกข์นี้เป็นทุกข์ปางตายของภิกษุ ผู้ต้องอาบัติเศร้าหมองข้อใดข้อหนึ่ง
[๖๔] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดอย่างนี้
ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาย่อมงอก
งามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษอัน
เป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’ เมื่อภิกษุนั้นมีใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร
น้อมไปในนิพพานโดยชอบอยู่นั่นแล เธอจึงไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่
เป็นสัปปายะแห่งใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ไม่ประกอบการดูรูปอันไม่เป็น
สัปปายะทางตาเนือง ๆ ไม่ประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ
ไม่ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ ไม่ประกอบการลิ้มรส
อันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ ไม่ประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็น
สัปปายะทางกายเนือง ๆ ไม่ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจ
เนือง ๆ เมื่อเธอไม่ประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ ไม่
ประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ ไม่ประกอบการดมกลิ่นอัน
ไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ ไม่ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้น
เนือง ๆ ไม่ประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ไม่
ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ แล้ว ราคะก็
ครอบงำจิตไม่ได้ เธอมีจิตไม่ถูกราคะครอบงำแล้ว จึงไม่พึงถึงความตายหรือทุกข์
ปางตาย
เปรียบเหมือนคนถูกยิงด้วยลูกศรที่อาบยาพิษอย่างร้ายแรง มิตร อำมาตย์
ญาติสาโลหิตของเขาจึงหาหมอผ่าตัดมารักษา หมอผ่าตัดนั้นใช้มีดผ่าปากแผล
แล้วใช้เครื่องตรวจหาลูกศร ตรวจพบลูกศรแล้วจึงถอนออก พึงกำจัดโทษคือพิษที่
ยังมีเชื้อเหลืออยู่ จนรู้ว่า ‘ไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่’ หมอผ่าตัดนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘พ่อมหาจำเริญ เราถอนลูกศรให้ท่านแล้ว โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มีเชื้อหลง
เหลือแล้ว ท่านพ้นขีดอันตรายแล้ว แต่ต้องรับประทานอาหารที่ไม่แสลง เมื่อท่าน
จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่แสลง ก็อย่าถึงกับให้แผลต้องกำเริบ และท่านต้อง
ล้างแผลตามเวลา ทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อท่านล้างแผลและทายาสมาน
แผลตามเวลา ก็อย่าให้น้ำเหลืองและเลือดปิดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยวตาก
ลมตากแดดเนือง ๆ เมื่อท่านเที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ ก็อย่าให้ละอองหรือ
สิ่งโสโครกถูกปากแผลได้ ท่านต้องรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะสมานกันดี’
บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘หมอถอนลูกศรให้เราแล้ว โทษคือพิษหมอก็
กำจัดจนไม่มีเชื้อหลงเหลือแล้ว เราพ้นขีดอันตรายแล้ว’ เขาจึงรับประทานอาหารที่
ไม่แสลง เมื่อเขารับประทานอาหารที่ไม่แสลง แผลก็ไม่อักเสบ เขาล้างแผลตาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร
เวลา และทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อเขาล้างแผลและทายาสมานแผลตาม
เวลา น้ำเหลืองและเลือดก็ไม่ปิดปากแผล เขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ
เมื่อเขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ ละอองและสิ่งโสโครกจึงไม่ถูกปากแผล
เขาคอยรักษาแผลอยู่จนปากแผลสมานหายสนิท เพราะการกระทำอย่างถูกต้องนี้
แผลจึงหายได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ (๑) กำจัดโทษคือพิษอันเกิดจากความ
ไม่สะอาด (๒) กำจัดโทษคือพิษจนไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่ เพราะแผลหายแล้วเขา
จึงมีผิวพรรณเรียบสนิท จึงไม่พึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด
สุนักขัตตะ เป็นไปได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคือ
อวิชชาย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว
กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’
เมื่อภิกษุนั้นมีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบอยู่นั่นแล เธอจึงไม่ประกอบเนือง ๆ
ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะแห่งใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ไม่ประกอบการ
ดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ ไม่ประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะ
ทางหูเนือง ๆ ไม่ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ ไม่ประกอบ
การลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ ไม่ประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่
เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ไม่ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะ
ทางใจเนือง ๆ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ
ไม่ประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ ไม่ประกอบการดมกลิ่นอัน
ไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ ไม่ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้น
เนือง ๆ ไม่ประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ไม่
ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ แล้ว ราคะก็
ครอบงำจิตไม่ได้ เธอมีจิตไม่ถูกราคะครอบงำแล้ว จึงไม่พึงถึงความตายหรือ
ทุกข์ปางตาย
[๖๕] สุนักขัตตะ เพื่อให้รู้เนื้อความ เราจึงทำอุปมานี้ไว้ ในอุปมานี้มีเนื้อ
ความดังต่อไปนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร
คำว่า ‘แผล’ นี้ เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖
คำว่า ‘โทษคือพิษ’ นี้ เป็นชื่อของอวิชชา
คำว่า ‘ลูกศร’ นี้ เป็นชื่อของตัณหา
คำว่า ‘เครื่องตรวจ’ นี้ เป็นชื่อของสติ
คำว่า ‘มีดผ่าตัด’ นี้ เป็นชื่อของอริยปัญญา๑
คำว่า ‘หมอผ่าตัด’ นี้ เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
สุนักขัตตะ เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในผัสสายตนะ ๖ จึงรู้ดังนี้ว่า
‘อุปธิ๒เป็นรากเง่าแห่งทุกข์” จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ หลุดพ้นแล้วในธรรมเป็นที่สิ้น
ไปแห่งอุปธิ๓ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ๔
เปรียบเหมือนภาชนะมีน้ำดื่มเต็มเปี่ยม สมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น
สมบูรณ์ด้วยรส แต่เจือด้วยยาพิษ ต่อมาบุรุษผู้รักชีวิตยังไม่อยากตาย รักสุข
เกลียดทุกข์มาพบเข้า
สุนักขัตตะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นจะพึงดื่มน้ำที่เต็ม
เปี่ยมภาชนะนั้น ทั้งที่รู้ว่า ‘ดื่มแล้วจะต้องตายหรือทุกข์ปางตาย’ บ้างไหม”
“ไม่ดื่ม พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ เป็นไปไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมใน
ผัสสายตนะ ๖ รู้ดังนี้ว่า ‘อุปธิเป็นรากเง่าแห่งทุกข์ ฯลฯ’
เปรียบเหมือน ต่อมาบุรุษผู้รักชีวิตยังไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ มา
พบอสรพิษมีพิษร้ายแรงเข้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๖. อาเนญชสัปปายสูตร
สุนักขัตตะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือ
หัวแม่มือให้แก่อสรพิษตัวมีพิษร้ายแรงนั้น ทั้งที่รู้ว่า ‘ถูกอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงกัด
แล้วจะต้องตายหรือทุกข์ปางตาย’ บ้างไหม”
“ไม่ยื่น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ เป็นไปไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมใน
ผัสสายตนะ ๖ รู้ดังนี้ว่า ‘อุปธิเป็นรากเง่าแห่งทุกข์’ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ
หลุดพ้นแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรมีใจยินดีชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
สุนักขัตตสูตรที่ ๕ จบ

๖. อาเนญชสัปปายสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ
[๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุชื่อกัมมาสธัมมะ
แคว้นกุรุ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย กาม๑ไม่เที่ยง เป็นของว่างเปล่า๒ เท็จ มีความเลือนหายไป
เป็นธรรมดา ลักษณะของกามนี้ เป็นความล่อลวง เป็นที่บ่นถึงของคนพาล กาม
ที่มีในภพนี้ และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญา(ความกำหนดหมายในกาม) ที่มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๖. อาเนญชสัปปายสูตร
ในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒ ประการนั้น เป็นบ่วงแห่งมาร
เป็นวิสัยแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นโคจรแห่งมาร ในกามนี้มีบาปอกุศล
ทางใจเหล่านี้ คือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะ(ความแข่งดี)บ้าง กาม
เหล่านั้นนั่นเอง ย่อมก่ออันตรายให้แก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นในเรื่องกามนั้นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้ และ
กามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒
ประการนั้น เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นวิสัยแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นโคจรแห่ง
มาร ในกามนี้มีบาปอกุศลทางใจเหล่านี้ คือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะ
บ้าง กามเหล่านั้นนั่นเอง ย่อมก่ออันตรายให้แก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรม
วินัยนี้ ทางที่ดี เราพึงอยู่ด้วยจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ๑ อธิษฐานใจครอบงำโลก
เพราะเมื่อเราอยู่ด้วยมหัคคตจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ อธิษฐานใจครอบงำโลกอยู่
บาปอกุศลที่เกิดทางใจ คือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เหล่านั้น
จักไม่มี เพราะละอกุศลเหล่านั้นได้แล้ว จิตของเราก็จักเป็นจิตไม่เล็กน้อย๒ หา
ประมาณมิได้๓และเป็นจิตที่อบรมดีแล้ว’
เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อม
ผ่องใสในอายตนะ๔ เมื่อมีความผ่องใส๕ อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ
หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็น
ไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ
ประการที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๖. อาเนญชสัปปายสูตร
[๖๗] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้
และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูป
บางชนิด และรูปทั้งหมด คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ก็มีอยู่
เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส
ในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือ
น้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็นไป
ในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ
ประการที่ ๒
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้ และกามที่
มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูปที่มีในภพนี้
และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒
ประการ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นไม่ควรยินดี ไม่ควรพูดชม ไม่ควร
ติดใจ’ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อม
ผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ
หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็น
ไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ
ประการที่ ๓
[๖๘] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้
และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า
รูปที่มีในภพนี้ และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีใน
ภพหน้า และอาเนญชสัญญา สัญญาทั้งหมดนี้ย่อมดับไม่เหลือในฌานใด ฌาน
นั้นคืออากิญจัญญายตนฌาน เป็นฌานอันสงบ ประณีต’ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติ
อย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความ
ผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาใน
ปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายไปแล้ว วิญญาณที่เป็นไปในภพนั้น ๆ
พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงอากิญจัญญายตนภูมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๖. อาเนญชสัปปายสูตร
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตน
สมาบัติ ประการที่ ๑
[๖๙] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง
ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘สิ่งนี้ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา’ เมื่อ
อริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสใน
อายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ
หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็น
ไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงอากิญจัญญายตนภูมิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตน
สมาบัติ ประการที่ ๒
[๗๐] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราไม่มีในที่ไหน ๆ
สิ่งน้อยหนึ่งของใคร ๆ ก็ไม่มีในเรานั้น และสิ่งน้อยหนึ่งของเราก็ไม่มีในที่ไหน ๆ
ในใคร ๆ ก็ไม่มีสิ่งน้อยหนึ่งเลย’ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มาก
ด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้น
ย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไป
ได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็นไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึง
อากิญจัญญายตนภูมิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตน
สมาบัติ ประการที่ ๓
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้ และ
กามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูปที่มี
ในภพนี้ และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีในภพหน้า
อาเนญชสัญญา และอากิญจัญญายตนสัญญา สัญญาทั้งหมดนี้ย่อมดับไม่เหลือใน
ฌานใด ฌานนั้นคือเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นสมาบัติอันสงบ ประณีต’
เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๖. อาเนญชสัปปายสูตร
ในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตน
สมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว
วิญญาณที่เป็นไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่เนวสัญนาสัญญายตน
สมาบัติ”
[๗๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ปฏิบัติอย่างนี้
แล้ว ย่อมได้อุเบกขาอย่างนี้ว่า ‘สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา หากจักไม่มีก็จักไม่มี
แก่เรา เพราะเราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่และมีมาแล้วนั้นไป’ ภิกษุนั้นพึงปรินิพพาน
หรือไม่พึงปรินิพพาน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ภิกษุบางรูปพึงปรินิพพานในอัตภาพนี้
บางรูปไม่พึงปรินิพพานในอัตภาพนี้”
“อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุบางรูปปรินิพพานในอัตภาพนี้ บางรูป
ไม่ปรินิพพานในอัตภาพนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ย่อมได้อุเบกขาอย่างนี้ว่า ‘สิ่งที่ไม่มีก็
ไม่พึงมีแก่เรา หากจักไม่มีก็จักไม่มีแก่เรา เพราะเราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่และมีมา
แล้วนั้นไป’ ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ชื่นชม ยึดติดอุเบกขานั้น เมื่อเธอเพลิดเพลิน
ชื่นชม ยึดติดอุเบกขานั้นอยู่ วิญญาณย่อมเป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น ยึดมั่น
อุเบกขานั้น อานนท์ ภิกษุผู้มีความยึดมั่นย่อมปรินิพพานไม่ได้”
“ก็ภิกษุนั้นเมื่อยึดมั่น จะยึดมั่นในธรรมข้อไหน พระพุทธเจ้าข้า”
“ย่อมยึดมั่นเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเมื่อยึดมั่น ย่อมยึดมั่นอุปาทาน
ส่วนที่สำคัญที่สุดหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ภิกษุนั้นเมื่อยึดมั่น ย่อมยึดมั่นอุปาทานส่วนที่สำคัญที่สุด ก็
อุปาทานส่วนที่สำคัญที่สุดนี้ คือเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๖. อาเนญชสัปปายสูตร
[๗๒] อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ย่อมได้อุเบกขา
อย่างนี้ว่า ‘สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา หากจักไม่มีก็จักไม่มีแก่เรา เพราะเราจะละ
สิ่งที่กำลังมีอยู่และมีมาแล้วนั้นไป’ ภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่ชื่นชม ไม่ยึดติด
อุเบกขานั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่ชื่นชม ไม่ยึดติดอุเบกขานั้นอยู่
วิญญาณก็อาศัยอุเบกขานั้น และยึดมั่นอุเบกขานั้นไม่ได้ อานนท์ ภิกษุผู้ไม่มี
ความยึดมั่นย่อมปรินิพพานได้”
[๗๓] ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
พระพุทธเจ้าข้า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเหตุนี้จึงตรัสบอกปฏิปทา
เครื่องข้ามพ้นโอฆะแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
วิโมกข์อันเป็นของพระอริยะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้
และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูป
ที่มีในภพนี้ และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีในภพหน้า
อาเนญชสัญญา อากิญจัญญายตนสัญญา และเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
สักกายะ๑มีอยู่เท่าใด นี้เป็นสักกายะ วิโมกข์(ความหลุดพ้น) แห่งจิตเพราะไม่ยึดมั่น
นั่น คืออมตะ’ อานนท์ เราแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติไว้แล้ว
แสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติไว้แล้ว แสดงปฏิปทาที่
เป็นสัปปายะแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติไว้แล้ว เราอาศัยเหตุนี้แสดง
ปฏิปทาเครื่องข้ามโอฆะไว้แล้ว แสดงวิโมกข์อันเป็นของพระอริยะไว้แล้ว ด้วยประการ
อย่างนี้ กิจที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความ
อนุเคราะห์แล้วพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย เราก็ได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อาเนญชสัปปายสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๗. คณกโมคคัลลานสูตร

๗. คณกโมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อคณกโมคคัลลานะ
[๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล คณกโมคคัลลานพราหมณ์เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ปราสาทของมิคารมาตาหลังนี้มีการศึกษาโดย
ลำดับ มีการกระทำโดยลำดับ มีการปฏิบัติโดยลำดับ คือโครงสร้างบันไดชั้นล่าง
ย่อมปรากฏ แม้พราหมณ์เหล่านี้ก็มีการศึกษาโดยลำดับ มีการกระทำโดยลำดับ
มีการปฏิบัติโดยลำดับ ย่อมปรากฏด้วยการเล่าเรียน แม้นักรบเหล่านี้ก็มีการ
ศึกษาโดยลำดับ มีการกระทำโดยลำดับ มีการปฏิบัติโดยลำดับ ย่อมปรากฏใน
เรื่องการใช้อาวุธ แม้แต่ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้เป็นนักคำนวณก็มีการศึกษาโดยลำดับ
มีการกระทำโดยลำดับ มีการปฏิบัติโดยลำดับ ย่อมปรากฏในเรื่องการนับจำนวน
เพราะข้าพเจ้าทั้งหลายได้ศิษย์แล้ว เบื้องต้นให้เขานับอย่างนี้ว่า ‘หนึ่ง หมวดหนึ่ง
สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้า หก หมวดหก เจ็ด
หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ หมวดสิบ’ ย่อมให้นับไปถึง
จำนวนร้อย ให้นับไปเกินจำนวนร้อย แม้ฉันใด
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์สามารถเพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในพระธรรมวินัยแม้นี้ฉันนั้นบ้างไหม”
การศึกษาและการปฏิบัติเป็นขั้นตอน
[๗๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราสามารถเพื่อจะบัญญัติการ
ศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้
เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ชำนาญ ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เบื้องต้นทีเดียว ย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๗. คณกโมคคัลลานสูตร
ฝึกให้คุ้นกับการบังคับในบังเหียน ต่อมาจึงฝึกให้คุ้นยิ่งขึ้นไป แม้ฉันใด ตถาคตก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บุรุษที่ควรฝึกแล้ว เบื้องต้นทีเดียว ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจร๑อยู่ จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด’
พราหมณ์ ในกาลใดภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา
ในสิกขาบททั้งหลาย ในกาลนั้น ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘มาเถิด ภิกษุ
เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย’
คือ เธอเห็นรูปทางตาแล้ว อย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม
จักขุนทรีย์(อินทรีย์คือจักขุ) ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา) และโทมนัส(ความทุกข์ใจ)
ครอบงำได้ เธอจงรักษาจักขุนทรีย์ จงถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
เธอฟังเสียงทางหูแล้ว ...
เธอดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
เธอลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
เธอถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
เธอรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว อย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติ
เพื่อสำรวมมนินทรีย์(อินทรีย์คือมโน) ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้ถูกบาป
อกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอจงรักษามนินทรีย์ จงถึงความ
สำรวมในมนินทรีย์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๗. คณกโมคคัลลานสูตร
พราหมณ์ ในกาลใดภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายแล้ว ในกาล
นั้น ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้รู้ประมาณ
ในการบริโภคอาหาร คือ เธอพึงพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่ฉันอาหารเพียงเพื่อความ
ดำรงอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่อ
อนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนา
ใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และการอยู่ผาสุข จักมีแก่เรา’
พราหมณ์ ในกาลใดภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ในกาลนั้น
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้ประกอบความ
เพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง คือ เธอจงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็น
เครื่องขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
ธรรมทั้งหลายที่เป็นเครื่องขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยาม
แห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ
กำหนดใจพร้อมจะลุกขึ้นตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากธรรมทั้งหลายที่เป็นเครื่องขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอด
ปัจฉิมยามแห่งราตรี’
พราหมณ์ ในกาลใดภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
ในกาลนั้น ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้
ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การ
แลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร
การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน
การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง’
พราหมณ์ ในกาลใดภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ในกาลนั้น
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เธอจงพักอยู่ ณ เสนาสนะ
อันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
ภิกษุนั้นพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๗. คณกโมคคัลลานสูตร
ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ภิกษุนั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นละอภิชฌาในโลก มีใจ
ปราศจากอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา) ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ(ความ
หดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ)
เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละ
วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ จึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้’
[๗๖] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ นี้ที่ทำให้จิตเศร้าหมองบั่นทอนกำลังปัญญา
สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว เข้าปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุข
อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เข้าทุติยฌาน ... อยู่ เพราะปีติ
จางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เข้า
ตติยฌาน ... อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
เข้าจตุตถฌาน ... อยู่
พราหมณ์ ในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเสขะ ผู้ยังไม่บรรลุอรหัต ยัง
ปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยมอยู่เหล่านั้น เรามีคำพร่ำสอนเช่นนี้
แต่สำหรับภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว๑ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๒
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบเหล่านั้น ธรรมเหล่านี้จึงจะเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุข
ในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะแก่เธอทั้งหลาย”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๗. คณกโมคคัลลานสูตร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว คณกโมคคัลลานพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “สาวกของท่านพระโคดมที่ท่านพระโคดมสั่งสอนอยู่อย่างนี้
พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ สำเร็จนิพพานอันถึงที่สุดโดยส่วนเดียวทุกพวกทีเดียวหรือ
หรือว่าบางพวกก็ไม่สำเร็จ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ สาวกของเราที่เราสั่งสอนอยู่อย่างนี้
พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึงที่สุดโดยส่วนเดียว บางพวกไม่
สำเร็จ”
“อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เป็นเหตุให้นิพพานก็มีอยู่ ทางให้ถึงนิพพาน
ก็มีอยู่ ท่านพระโคดมผู้ชักชวนก็มีพระชนม์อยู่ แต่สาวกของท่านพระโคดมที่ท่าน
พระโคดมสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึงที่สุด
โดยส่วนเดียว บางพวกกลับไม่สำเร็จ”
[๗๗] “พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักถามท่าน ในเรื่องนี้ ท่านชอบใจอย่างไร
พึงพยากรณ์อย่างนั้น
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือท่านชำนาญทางไปกรุงราชคฤห์มิใช่หรือ”
“ใช่ ท่านพระโคดม”
“พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษผู้ปรารถนาจะไป
กรุงราชคฤห์พึงมาในที่นี้ บุรุษนั้นเข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปกรุงราชคฤห์ ขอท่านจงบอกทางไปกรุงราชคฤห์นั้นให้
ข้าพเจ้าด้วยเถิด’ ท่านพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า ‘พ่อคุณ มาเถิด ทางนี้ไปกรุงราชคฤห์
ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นหมู่บ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่
หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์
ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภาคพื้นที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของกรุงราชคฤห์’
บุรุษนั้นที่ท่านสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ จำทางผิดเดินไปเสีย
ทางตรงกันข้าม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๗. คณกโมคคัลลานสูตร
ต่อมาบุรุษคนที่สองปรารถนาจะไปกรุงราชคฤห์ พึงเดินมา บุรุษนั้นเข้ามา
หาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปกรุงราชคฤห์ ขอ
ท่านจงบอกทางไปกรุงราชคฤห์นั้นให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด’ ท่านพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า
‘พ่อคุณ มาเถิด ทางนี้ไปกรุงราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จัก
เห็นหมู่บ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทาง
นั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภาคพื้นที่น่ารื่นรมย์
สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของกรุงราชคฤห์’
บุรุษนั้นที่ท่านสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงกรุงราชคฤห์
โดยสวัสดี
พราหมณ์ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กรุงราชคฤห์ก็มีอยู่ ทางไปกรุง
ราชคฤห์ก็มีอยู่ ท่านผู้บอกก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่บุรุษที่ท่านสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำ
สอนอยู่อย่างนี้ คนหนึ่งจำทางผิด เดินไปเสียทางตรงกันข้าม คนหนึ่งเดินทางไป
ถึงกรุงราชคฤห์โดยสวัสดี”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้
ข้าพเจ้าเป็นแต่ผู้บอกทาง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกัน นิพพานก็มีอยู่
ทางไปนิพพานก็มีอยู่ เรา(ตถาคต)ผู้ชักชวนก็มีอยู่ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สาวกทั้งหลาย
ของเราที่เราสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึง
ที่สุดโดยส่วนเดียว บางพวกไม่สำเร็จ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตก็
เป็นแต่ผู้บอกทาง”
[๗๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว คณกโมคคัลลานพราหมณ์ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล กลับกลอก
ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในการ
บริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง ไม่นำพาในความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๗. คณกโมคคัลลานสูตร
เป็นสมณะ ไม่มีความเคารพอย่างจริงใจในสิกขา มักมาก ย่อหย่อนไป เป็นผู้นำ
ในโอกกมนธรรม๑ทอดธุระในปวิเวก(ความสงัด)เกียจคร้าน ละเลยความเพียร
หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง มีปัญญาทึบ เป็นดัง
คนหนวกและคนใบ้ ท่านพระโคดมย่อมอยู่ร่วมกับคนเหล่านั้นไม่ได้
ส่วนกุลบุตรผู้มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้ไม่โอ้อวด
ไม่มีมายา ไม่เจ้าเล่ห์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ประกอบความ
เพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง นำพาในความเป็นสมณะ มีความเคารพอย่างจริงใจ
ในสิกขา ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก
ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจ มีสติมั่นคง มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิต
แน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดังคนหนวกและคนใบ้ ท่านพระโคดมผู้เจริญย่อมอยู่ร่วม
กับกุลบุตรเหล่านั้นได้
บรรดารากไม้หอม บัณฑิตยกย่องกฤษณาว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม
บัณฑิตยกย่องแก่นจันทน์แดงว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีดอกหอม บัณฑิตยกย่อง
ดอกมะลิว่าเป็นเลิศ แม้ฉันใด คำสั่งสอนของท่านพระโคดม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จัดว่ายอดเยี่ยมกว่าอัชชธรรม๒ทั้งหลาย
ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม
พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้ง
โดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง
แก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจะเห็นรูปได้’ ข้า
พระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ
ท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล
คณกโมคคัลลานสูตรที่ ๗ จบ

1 ความคิดเห็น :