Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๔-๑๑ หน้า ๔๒๖ - ๔๖๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔-๑๑ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร
การฆ่าสัตว์ ทรงเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ทรงเป็นผู้เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม ทรงเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ทรงเป็นผู้เว้นขาดจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท๑ ทรงอาศัยพระผู้มี
พระภาคแล้ว จึงทรงมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า มีความเลื่อมใสแน่ว
แน่ในพระธรรม มีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระสงฆ์ มีศีลที่พระอริยะยินดี ทรง
อาศัยพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ หมดความสงสัยใน
ทุกขสมุทัย หมดความสงสัยในทุกขนิโรธ หมดความสงสัยในทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทา
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีพระอุปการะมากแก่พระนาง
มหาปชาบดีโคตมี”
[๓๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น อานนท์
เพราะว่า บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระ
ธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เราไม่กล่าวการกระทำนี้ คือ การกราบไหว้
การลุกรับ การทำอัญชลี การทำสามีจิกรรม ด้วยการบริจาคจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ว่าเป็นการทำตอบแทนกันของบุคคลนี้กับ
บุคคลนี้
บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท เราไม่กล่าวการกระทำนี้ คือ การกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี
การทำสามีจิกรรม ด้วยการบริจาคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ว่าเป็นการทำตอบแทนกันของบุคคลนี้กับบุคคลนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร
บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้มีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า มี
ความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระธรรม มีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระสงฆ์ มีศีลที่พระ
อริยะยินดี เราไม่กล่าวการกระทำนี้ คือ การกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี
การทำสามีจิกรรม ด้วยการบริจาคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ว่าเป็นการทำตอบแทนกันของบุคคลนี้กับบุคคลนี้
บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ หมดความสงสัยใน
ทุกขสมุทัย หมดความสงสัยในทุกขนิโรธ หมดความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ได้ เราไม่กล่าวการกระทำนี้ คือ การกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี การ
ทำสามีจิกรรม ด้วยการบริจาคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ว่าเป็นการทำตอบแทนกันของบุคคลนี้กับบุคคลนี้
การถวายทานเจาะจงบุคคล ๑๔ ประการ
[๓๗๙] อานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิก (การถวายทานเจาะจงบุคคล)นี้
มี ๑๔ ประการ
ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิก ๑๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลย่อมถวายทานในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑
๒. บุคคลย่อมถวายทานในพระปัจเจกพุทธะ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๒
๓. บุคคลย่อมถวายทานในพระสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓
๔. บุคคลย่อมถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔
๕. บุคคลย่อมถวายทานในพระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร
๖. บุคคลย่อมถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖
๗. บุคคลย่อมถวายทานในพระสกทาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๗
๘. บุคคลย่อมถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘
๙. บุคคลย่อมถวายทานในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๙
๑๐. บุคคลย่อมถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐
๑๑. บุคคลย่อมถวายทานในบุคคลภายนอกศาสนาผู้ปราศจากความ
กำหนัดในกามทั้งหลายแล้ว นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ
ที่ ๑๑
๑๒. บุคคลย่อมให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล๑ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๑๒
๑๓. บุคคลย่อมให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๑๓
๑๔. บุคคลย่อมให้ทานในสัตว์ดิรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๑๔
อานนท์ ในทักษิณาปาฏิปุคคลิก ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์
ดิรัจฉานแล้ว พึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์ ๑๐๐ อัตภาพ ให้ทานในปุถุชนผู้
ทุศีลแล้วพึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์ ๑,๐๐๐ อัตภาพ ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร
แล้วพึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์ ๑๐๐,๐๐๐ อัตภาพ ถวายทานในบุคคล
ภายนอกศาสนาผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลายแล้ว พึงหวังทักษิณาอันมี
อานิสงส์แสนโกฏิอัตภาพ ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลแล้ว
พึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการ
ถวายทานในพระโสดาบัน ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระสกทาคามี ไม่
จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ไม่
จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระอนาคามี ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวาย
ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทาน
ในพระสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทาน
ในพระปัจเจกสัมพุทธะ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย
การถวายทานในสงฆ์ ๗ ประการ
[๓๘๐] อานนท์ ก็ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ ๗ ประการนี้
ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลย่อมถวายทานในสงฆ์ ๒ ฝ่ายมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้
เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ประการที่ ๑
๒. เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้วบุคคลย่อมถวายทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ประการที่ ๒
๓. บุคคลย่อมถวายทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์
ประการที่ ๓
๔. บุคคลย่อมถวายทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์
ประการที่ ๔
๕. บุคคลเผดียงสงฆ์ว่า ‘ขอท่านจงให้ภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้
แก่ข้าพเจ้าเจาะจงจากสงฆ์’ แล้วถวายทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถวาย
ในสงฆ์ประการที่ ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร
๖. บุคคลเผดียงสงฆ์ว่า ‘ขอท่านจงให้ภิกษุจำนวนเท่านี้แก่ข้าพเจ้า
เจาะจงจากสงฆ์’ แล้วถวายทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ประการ
ที่ ๖
๗. บุคคลเผดียงสงฆ์ว่า ‘ขอท่านจงให้ภิกษุณีจำนวนเท่านี้แก่ข้าพเจ้า
เจาะจงจากสงฆ์’ แล้วถวายทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ประการ
ที่ ๗
อานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าโคตรภูภิกษุ มีผ้ากาสาวะพันคอ
เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ชนทั้งหลายจักถวายทานเจาะจงพระสงฆ์ได้ในภิกษุ
ผู้ทุศีลเหล่านั้น แม้ในเวลานั้น เราก็ยังกล่าวทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ว่า มีอานิสงส์
นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า มีผลมากกว่า
ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์โดยปริยายไร ๆ เลย
[๓๘๑] อานนท์ ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา(ของทำบุญ) ๔ ประการนี้
ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก(ผู้ให้) แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก(ผู้รับ)
๒. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓. ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
๔. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรม
เลวทราม
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล
มีกัลยาณธรรม
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร
ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม และปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล
มีธรรมเลวทราม
ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล
มีกัลยาณธรรม
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
อานนท์ ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการนี้”๑
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์อื่นอีกต่อไปว่า
[๓๘๒] “ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมอันโอฬาร ให้ทานในชนผู้ทุศีล
ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก
ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอันโอฬาร ให้ทานในชนผู้มีศีล
ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอันโอฬาร ให้ทานในชนผู้ทุศีล
เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่ามีผลไพบูลย์
ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลของกรรมอันโอฬาร ให้ทานในชนผู้มีศีล
เรากล่าวทานของผู้นั้นว่ามีผลไพบูลย์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม
มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอันโอฬาร
จึงให้ทานในท่านผู้ปราศจากราคะ
เรากล่าวทานของผู้นั้นนั่นแลว่า
“เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย” ดังนี้แล
ทักขิณาวิภังคสูตรที่ ๑๒ จบ
วิภังควรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรในวรรคนี้ คือ

๑ ภัทเทกรัตตสูตร ๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร ๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร
๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร ๖. มหากัมมวิภังคสูตร
๗. สฬายตนวิภังคสูตร ๘. อุทเทสวิภังคสูตร
๙. อรณวิภังคสูตร ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
๑๑. สัจจวิภังคสูตร ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

๕. สฬายตนวรรค
หมวดว่าด้วยอายตนะ ๖ ประการ
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาทแก่อนาถบิณฑิกคหบดี
[๓๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า
“มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เจ้าจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา แล้ว
กราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ท่านขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’
และจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ กราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้า
ตามคำของเรา จงเรียนอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า’ และ
จงเรียนอย่างนี้ว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์ เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถ
บิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด”
บุรุษนั้นรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน
อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอถวายบังคมพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า” และเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่าน
อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่าน
พระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าและฝากมาเรียนว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์
เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด”
ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
[๓๘๔] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร มีท่าน
พระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นั่งบน
อาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี ท่านยังสบายดี
หรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาของท่านทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการ
ทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”๑
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่
ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ
อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เหล็กแหลมคมทิ่มแทงศีรษะ แม้ฉันใด ลมอัน
แรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการ
ทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันที่ศีรษะ แม้ฉันใด ลมอัน
แรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการ
ทุเลาไม่ปรากฏ ขอรับ
เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง
แม้ฉันใด ลมอันแรงกล้าเสียดแทงท้องของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผม
ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย
อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง ๒ คน จับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้างย่างให้
ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด อาการเร่าร้อนในกายของกระผมก็มีมากอย่างยิ่ง
ฉันนั้นเหมือนกัน
ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผม
กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ”๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
[๓๘๕] ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียก
ในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นจักขุ(ตา) และวิญญาณที่อาศัยจักขุของเราก็จัก
ไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นโสตะ(หู)
และวิญญาณที่อาศัยโสตะของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นฆานะ
(จมูก) และวิญญาณที่อาศัยฆานะของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นชิวหา(ลิ้น)
และวิญญาณที่อาศัยชิวหาของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นกาย
(ร่างกาย) และวิญญาณที่อาศัยกายของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นมโน(ใจ)
และวิญญาณที่อาศัยมโนของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๑)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นรูป
และวิญญาณที่อาศัยรูปของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเสียง ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นกลิ่น ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นรส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
โผฏฐัพพะ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์
และวิญญาณที่อาศัยธรรมารมณ์ของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๒)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
จักขุวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยจักขุวิญญาณของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
โสตวิญญาณ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
ฆานวิญญาณ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
ชิวหาวิญญาณ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
กายวิญญาณ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
มโนวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยมโนวิญญาณของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้ (๓)
คหบดี เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจัก
ไม่ยึดมั่นจักขุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยจักขุสัมผัสของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึง
สำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
โสตสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
ฆานสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
ชิวหาสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
กายสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
มโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยมโนสัมผัสของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้ (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัสของเรา
ก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากโสตสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากฆานสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากชิวหาสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากกายสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากมโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัสของเราก็จักไม่มี’
ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๕)
[๓๘๖] คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจัก
ไม่ยึดมั่นปฐวีธาตุ และวิญญาณที่อาศัยปฐวีธาตุของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
อาโปธาตุ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเตโชธาตุ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
วาโยธาตุ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
อากาสธาตุ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
วิญญาณธาตุ และวิญญาณที่อาศัยวิญญาณธาตุของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้ (๖)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นรูป
และวิญญาณที่อาศัยรูปของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนา ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นสัญญา ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นสังขาร ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณ
และวิญญาณที่อาศัยวิญญาณของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๗)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
อากาสานัญจายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานของเราก็จัก
ไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
วิญญาณัญจายตนฌาน ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
อากิญจัญญายตนฌาน ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๘)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
โลกนี้ และวิญญาณที่อาศัยโลกนี้ของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นโลกหน้า
และวิญญาณที่อาศัยโลกหน้าของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘อารมณ์ใดที่
เราเห็น ฟัง ทราบ รู้แจ้ง แสวงหา ได้พิจารณาแล้วด้วยใจ เราจักไม่ยึดมั่น
อารมณ์แม้นั้น และวิญญาณที่อาศัยอารมณ์นั้นของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้” (๙)
[๓๘๗] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว อนาถบิณฑิกคหบดีได้ร้องไห้
น้ำตาไหล ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ ได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี
ท่านยังยึดติดอยู่หรือ”
อนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ กระผมมิได้ยึดติด แต่
กระผมได้นั่งใกล้พระศาสดาและหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมานานแล้ว กระผมไม่เคยได้
สดับธรรมีกถาเห็นปานนี้เลย”
“คหบดี ธรรมีกถาเห็นปานนี้ ไม่แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว แต่
แจ่มแจ้งแก่บรรพชิตทั้งหลาย”
“ท่านพระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้ จงแจ่มแจ้ง
แก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาวบ้างเถิด เพราะกุลบุตรผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย๑ก็มีอยู่
เพราะไม่ได้ฟังธรรม พวกเขาจึงเสื่อมและเป็นผู้ไม่รู้ธรรม”
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ได้โอวาทอนาถบิณฑิกคหบดี
ด้วยโอวาทนี้ ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป
เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์จากไปแล้วไม่นาน อนาถบิณฑิก
คหบดี ก็ได้ทำกาลกิริยาแล้วไปเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกเทพบุตร
มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เมื่อราตรีผ่านพ้นไป ทำพระเชตวันทั้งหมดให้สว่าง เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
“ก็พระเชตวันนี้ มีหมู่ฤาษีพำนักอยู่๑
พระผู้เป็นธรรมราชาก็ประทับอยู่
เป็นสถานที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
การงาน ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันสูงสุด๒ ๑
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรมนี้
หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือทรัพย์ไม่
เพราะเหตุนั้นแหละ คนฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ตน
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายเถิด
เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดในธรรมเหล่านั้น
พระสารีบุตรเท่านั้น เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ถึงฝั่ง
ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ”
อนาถบเณฑิกเทพบุตรได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น
อนาถบิณฑิกเทพบุตรรู้ว่า “พระศาสดาทรงพอพระทัย” จึงถวายอภิวาท กระทำ
ประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
[๓๘๘] ครั้งนั้น เมื่อราตรีนั้นล่วงไปแล้ว พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทพบุตรองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เมื่อ
ราตรีผ่านพ้นไป ทำพระเชตวันทั้งหมดให้สว่าง เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ไหว้เราแล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
“ก็พระเชตวันนี้ มีหมู่ฤาษีพำนักอยู่
พระผู้เป็นธรรมราชาก็ประทับอยู่
เป็นสถานที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
การงาน ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันสูงสุด ๑
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรมนี้
หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือทรัพย์ไม่
เพราะเหตุนั้นแหละ คนฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ตน
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายเถิด
เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดในธรรมเหล่านั้น
พระสารีบุตรเท่านั้น เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ถึงฝั่ง
ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ”
ภิกษุทั้งหลาย เทพบุตรนั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว รู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอ
พระทัยเรา’ จึงไหว้เรา ทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง”๑
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทพบุตรนั้น จักเป็นอนาถบิณฑิก
เทพบุตรแน่ เพราะอนาถบิณฑิกคหบดีเลื่อมใสแล้วในท่านพระสารีบุตร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ อานนท์ เรื่องที่เธอคาดคะเนนั้น เธอลำดับ
เรื่องถูกแล้ว เทพบุตรนั้นคืออนาถบิณฑิกเทพบุตร มิใช่ใครอื่น”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อนาถปิณฑิโกวาทสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันโนวาทสูตร

๒. ฉันโนวาทสูตร๑
ว่าด้วยการให้โอวาทแก่พระฉันนะ
[๓๘๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาจุนทะ และท่าน
พระฉันนะ๒อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ สมัยนั้น ท่านพระฉันนะอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้
หนัก ครั้นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น๓แล้วเข้าไปหาท่านพระ
มหาจุนทะถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับท่านพระมหาจุนทะดังนี้ว่า “มาเถิดท่านจุนทะ
พวกเราเข้าไปถามอาการอาพาธของท่านพระฉันนะกันเถิด” ท่านพระมหาจุนทะรับ
คำแล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะเข้าไปหาท่านพระฉันนะ
ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระฉันนะดังนี้ว่า “ท่านฉันนะ ท่านยัง
สบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาของท่านทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ
อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”๔
ท่านพระฉันนะตอบว่า “ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ
อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เหล็กแหลมคมทิ่มแทงศีรษะ แม้ฉันใด ลมอัน
แรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่
ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ
อาการทุเลาไม่ปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันโนวาทสูตร
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันที่ศีรษะ แม้ฉันใด ลมอัน
แรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการ
ทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง
แม้ฉันใด ลมอันแรงกล้าเสียดแทงท้องของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย
จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการ
กำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง ๒ คน จับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้างย่างให้
ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด อาการเร่าร้อนในกายของกระผมก็มีมากอย่างยิ่ง
ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของ
กระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
ท่านสารีบุตร กระผม จักนำศัสตรา๑มา กระผมไม่อยากมีชีวิตอยู่”
[๓๙๐] “ท่านฉันนะอย่านำศัสตรามา ท่านจงรักษาตัวให้อยู่ต่อไปเถิด พวก
เราต้องการให้ท่านรักษาตัวอยู่ต่อไป ถ้าท่านฉันนะไม่มีโภชนะที่เป็นสัปปายะ ผม
จักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีเภสัชที่เป็นสัปปายะ ผมก็จักแสวงหามาให้
ถ้าท่านฉันนะไม่มีพวกอุปัฏฐากผู้เหมาะสม ผมจักอุปัฏฐากเอง ท่านฉันนะอย่า
นำศัสตรามาเลย ขอท่านฉันนะจงรักษาตัวให้อยู่ต่อไปเถิด พวกเราต้องการให้ท่าน
ฉันนะรักษาตัวอยู่ต่อไป”
“ท่านสารีบุตร โภชนะที่เป็นสัปปายะของกระผมไม่ใช่ไม่มี เภสัชที่เป็น
สัปปายะของกระผมไม่ใช่ไม่มี อุปัฏฐากที่เหมาะสมของกระผมไม่ใช่ไม่มี อีก
ประการหนึ่ง กระผมก็ปรนนิบัติพระศาสดาด้วยความเต็มใจมาตลอดทีเดียว ไม่ใช่
ปรนนิบัติด้วยความไม่เต็มใจ ขอท่านสารีบุตรโปรดจำข้อความนี้ไว้อย่างนี้เถิดว่า
‘ข้อที่พระสาวกปรนนิบัติพระศาสดาด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่ปรนนิบัติด้วยความไม่เต็มใจ
นี้เป็นการสมควรแก่พระสาวก ฉันนภิกษุจักนำศัสตรามาจึงไม่ควรถูกติเตียน”๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันโนวาทสูตร
“พวกเราขอถามปัญหาบางข้อกับท่านฉันนะ ถ้าท่านฉันนะจะให้โอกาสตอบ
ปัญหา”
“ท่านสารีบุตร นิมนต์ถามมาเถิด ผมฟังแลัวจักตอบให้รู้”
[๓๙๑] “ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้
แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา๑ เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นโสตะ โสตวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า
‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ”
“ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นโสตะ โสตวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา๒ เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
[๓๙๒] “ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในจักขุ ในจักขุวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และ
ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันโนวาทสูตร
พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในโสตะ ในโสตวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในฆานะ ในฆานวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในกาย ในกายวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในมโน ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทาง
มโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
“ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในจักขุ ใน
จักขุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักขุ
จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่
เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในโสตะ ในโสตวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในฆานะ ในฆานวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในกาย ในกายวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในมโน ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึง
รู้แจ้งทางมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
[๓๙๓] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวกับ
ท่านพระฉันนะดังนี้ว่า
“ท่านฉันนะ เพราะเหตุนี้แล แม้การเห็นนี้ ก็เป็นคำสอนของพระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น ท่านพึงใส่ใจให้ดีตลอดกาลเป็นนิตย์ บุคคลผู้มีตัณหา มานะ
และทิฏฐิอาศัยอยู่ ย่อมมีความหวั่นไหว บุคคลผู้ไม่มีตัณหา มานะ และทิฏฐิอาศัยอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันนวาทสูตร
ย่อมไม่มีความหวั่นไหว เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็มีความสงบ๑ เมื่อมีความสงบ
ก็ไม่มีความน้อมไป๒ เมื่อไม่มีความน้อมไป การมาและการไป๓ก็ไม่มี เมื่อไม่มีการ
มาและการไป ความตายและความเกิดก็ไม่มี เมื่อไม่มีความตายและความเกิด
โลกนี้โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์”
ครั้นท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว
ก็ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะจากไป
ไม่นาน ท่านพระฉันนะก็ได้นำศัสตรามา๔
[๓๙๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ท่านฉันนะได้นำศัสตรามา ท่านมีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพ
เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร ฉันนภิกษุได้บอกว่าจะไม่ถูกติเตียน
ไว้ต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีหมู่บ้านชาววัชชีชื่อปุพพชิระ ในหมู่บ้านนั้น
ตระกูลที่เป็นมิตร ตระกูลที่เป็นสหาย เป็นตระกูลที่ท่านฉันนะเข้าไปอาศัยก็มีอยู่”
“สารีบุตร ตระกูลที่เป็นมิตรตระกูลที่เป็นสหายเหล่านั้น เป็นตระกูลที่
ฉันนภิกษุเข้าไปอาศัยมีอยู่ แต่เราไม่กล่าวว่า ‘ฉันนภิกษุมีตระกูลที่ตนพึงเข้าไป
อาศัยด้วยเหตุเพียงเท่านี้’ เธอจงจำข้อความนี้ไว้อย่างนี้เถิดว่า ‘เรากล่าวถึงภิกษุที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร
ละกายนี้เข้าถือกายอื่น ว่ามีตระกูลที่ตนพึงเข้าไปอาศัย’ ตระกูลนั้นไม่มีสำหรับ
ฉันนภิกษุ ฉันนภิกษุนำศัสตรามาจึงไม่ควรถูกติเตียน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ฉันโนวาทสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปุณโณวาทสูตร๑
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระปุณณะ
[๓๙๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเย็น ท่านพระปุณณะออกจากที่
หลีกเร้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
โอวาทข้าพระองค์ด้วยพระโอวาทโดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออก
ไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุณณะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”
ท่านพระปุณณะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุณณะ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม
ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อม
เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อม
เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับ เรากล่าวว่า
‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
ความเพลิดเพลินย่อมดับ เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’
ปุณณะ เราโอวาทเธอด้วยโอวาทโดยย่อนี้ เธอจักอยู่ในชนบทไหน”
ท่านพระปุณณะกราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค
โอวาทข้าพระองค์ด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว ข้าพระองค์จักอยู่ในชนบทชื่อ
สุนาปรันตะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร
[๓๙๖] “ปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเป็นคนดุร้ายนัก พวก
มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเป็นคนหยาบคายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทจักด่า บริภาษเธอ ในเรื่องนี้ เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า บริภาษ
ข้าพระองค์ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท
เหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเราด้วย
ฝ่ามือ’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต
ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยฝ่ามือ ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยฝ่ามือ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเรา
ด้วยก้อนดิน’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยก้อนดิน ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยก้อนดิน ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนา-
ปรันตชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่
ประหารเราด้วยท่อนไม้’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้
ข้าแต่พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยท่อนไม้ ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเรา
ด้วยศัสตรา’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยศัสตรา ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยศัสตรา ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ปลงชีวิต
เราด้วยศัสตราที่คม’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้
ข้าแต่พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงชีวิตเธอด้วยศัสตราที่คม
ในเรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงชีวิต
ข้าพระองค์ด้วยศัสตราที่คม ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสาวก
ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นอึดอัด ระอา รังเกียจอยู่ด้วยร่างกายและ
ชีวิต แสวงหาศัสตราเครื่องปลงชีวิตก็มีอยู่ เราได้ศัสตราเครื่องปลงชีวิตที่ไม่ได้
แสวงหาเลย’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ปุณณะ เธอประกอบด้วยความข่มใจและความสงบใจ๑นี้
จักสามารถอยู่ในสุนาปรันตชนบทได้ ปุณณะ เธอรู้เวลาอันสมควรในบัดนี้เถิด”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร
[๓๙๗] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ เก็บงำเสนาสนะเรียบร้อย
แล้วถือบาตรและจีวร หลีกจาริกไปทางสุนาปรันตชนบท เมื่อจาริกไปโดยลำดับ
ก็ถึงสุนาปรันตชนบท
ได้ยินว่า ท่านพระปุณณะอยู่ที่สุนาปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้น ระหว่างพรรษา
นั้นท่านให้ชาวสุนาปรันตชนบทแสดงตนเป็นอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน แสดงตน
เป็นอุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ คน ระหว่างพรรษานั้นเหมือนกัน ท่านปุณณะได้
บรรลุวิชชา๑ ๓ ลำดับนั้น โดยสมัยต่อมา ก็ได้ปรินิพพาน
ครั้งนั้นแล ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุณณะที่พระองค์ทรงโอวาทด้วยพระโอวาทโดยย่อนั้นมรณภาพ
แล้ว เขามีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อปุณณะเป็นบัณฑิต
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งไม่เบียดเบียนเราเพราะเหตุแห่งธรรม ภิกษุทั้งหลาย
กุลบุตรชื่อปุณณะปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ปุณโณวาทสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

๔. นันทโกวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาทของพระนันทกะ
[๓๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุณีมหาปชาบดีโคตมี พร้อม
ด้วยภิกษุณีประมาณ ๕๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระโอวาทสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลาย โปรดแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุณีทั้งหลายเถิด”
สมัยนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ย่อมโอวาทภิกษุณีทั้งหลายโดยเวียนกันไป
แต่ท่านพระนันทกะ ไม่ปรารถนาจะโอวาทภิกษุณีทั้งหลายโดยเวียนกันไป ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า “อานนท์ วันนี้ วาระ
ให้โอวาทภิกษุณีเวียนมาถึงใครหนอ”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วาระให้โอวาทภิกษุณี
ทั้งหลาย ภิกษุทุกรูปกระทำแล้วโดยเวียนกันไป แต่ท่านพระนันทกะรูปนี้ ไม่
ปรารถนาจะให้โอวาทภิกษุณีทั้งหลายโดยเวียนกันไป”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระนันทกะมาตรัสว่า “นันทกะ
เธอจงโอวาทสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย พราหมณ์ เธอจงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุณี
ทั้งหลายเถิด”
ท่านพระนันทกะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ในเวลาเช้าจึงครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว
กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ผู้เดียวเข้าไปยังราชการาม๑
ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นท่านพระนันทกะเดินมาแต่ไกล จึงช่วยกันปูลาดอาสนะและตั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
น้ำล้างเท้าไว้ ท่านพระนันทกะนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ล้างเท้า แม้ภิกษุณี
เหล่านั้นก็พากันกราบท่านพระนันทกะแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระนันทกะได้กล่าวกับภิกษุณีเหล่านั้นว่า “น้องหญิงทั้งหลาย การถาม
ตอบกันจักมีขึ้น ในการถามตอบกันนั้น น้องหญิงทั้งหลายเมื่อรู้ พึงตอบว่า
‘ดิฉันทั้งหลายรู้’ เมื่อไม่รู้พึงตอบว่า ‘ดิฉันทั้งหลายไม่รู้’ หรือน้องหญิงรูปใดมี
ความเคลือบแคลง หรือความสงสัย น้องหญิงรูปนั้นพึงถามอาตมภาพในเรื่องนั้น
ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เรื่องนี้เป็นอย่างไร เรื่องนี้มีเนื้อความอย่างไร”
ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันทั้งหลายมีใจยินดีชื่นชม
พระคุณเจ้านันทกะ ด้วยเหตุที่พระคุณเจ้านันทกะปวารณาแก่ดิฉันทั้งหลายเช่นนี้”
[๓๙๙] ท่านพระนันทกะถามว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า “ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”๑
“ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ โสตะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
“กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบ๑ว่า ‘อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
ท่านพระนันทกะกล่าวว่า “ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็น
ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้”
[๔๐๐] “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
“น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ เสียง
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กลิ่นเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“โผฏฐัพพะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘อายตนะภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
ท่านพระนันทกะกล่าวว่า “ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็น
ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล”
[๔๐๑] “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
จักขุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
โสตวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กายวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘หมวดวิญญาณ ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๐๒] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี
ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี แสงสว่างก็ดี ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ผู้ใด
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เมื่อประทีปน้ำมันโน้นถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี
ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา แต่ว่าแสงสว่างของประทีปน้ำมันนั้น เที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะเมื่อประทีปน้ำมันโน้นถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี ล้วน
ไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงแสงสว่างของประทีปน้ำ
มันนั้นซึ่งไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดาเลย เจ้าข้า”
“ฉันนั้นเหมือนกัน น้องหญิงทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อายตนะ
ภายใน ๖ ของเรานี้ ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายใน ๖ แล้ว ย่อมเสวย
เวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เวทนานั้น เที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะอาศัยปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ เวทนาที่เกิดจากอายตนะ
ภายในนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ ดับ เวทนา
ที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ จึงดับ”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
[๔๐๓] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น
มีราก ลำต้น กิ่งและใบ และเงา ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ผู้ใด
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น มีราก ลำต้น กิ่งและใบ
และเงา ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา แต่ว่าเงาของต้นไม้นั้นเที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น มีราก ลำต้น กิ่งและใบล้วนไม่เที่ยง
มีความแปรผันเป็นธรรมดา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเงาของต้นไม้นั้นซึ่งไม่เที่ยง มี
ความแปรผันเป็นธรรมดาเลย เจ้าข้า”
“ฉันนั้นเหมือนกัน น้องหญิงทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อายตนะ
ภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายนอก ๖ แล้ว ย่อม
เสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เวทนานั้นเที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะอาศัยปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ เวทนาที่เกิดจาก
อายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ
ดับ เวทนาที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงดับ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๐๔] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโค
ผู้ชำนาญ ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน
แยกส่วนหนังไว้ข้างนอก ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
เส้นเอ็นเล็กในภายใน ก็ใช้มีดแล่เนื้อที่คมตัดชำแหละเฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะ
ส่วนหนังไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้นนั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘แม่โคตัวนี้เราประกอบไว้ด้วยหนังผืนนี้เท่านั้น’ คนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคนั้น
เมื่อกล่าว ชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือไม่
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญโน้น ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่
เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน แยกส่วนหนังไว้ข้างนอก ในส่วน
เนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็กในภายใน ก็ใช้มีดแล่
เนื้อที่คมตัดชำแหละเฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะส่วนหนังไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้น
นั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่โคตัวนี้เราประกอบไว้ด้วยหนัง
ผืนนี้เท่านั้น’ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น แม่โคนั้นก็แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้นนั่นเอง
เจ้าข้า”
“น้องหญิงทั้งหลาย อาตมภาพทำอุปมานี้เพื่อให้เข้าใจเนื้อความชัดเจนขึ้น
เนื้อความในอุปมานั้นดังต่อไปนี้
คำว่า ส่วนเนื้อข้างใน นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖
คำว่า ส่วนหนังข้างนอก นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖
คำว่า เนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็ก นั้น เป็นชื่อของนันทิราคะ
คำว่า มีดแล่เนื้อที่คม นั้น เป็นชื่อของอริยปัญญาที่ตัด ชำแหละ เฉือน
กิเลสในภายใน สังโยชน์ในภายใน และเครื่องผูกในภายใน
โพชฌงค์ ๗ ประการ
[๔๐๕] น้องหญิงทั้งหลาย เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก(ความสงัด) อาศัยวิราคะ
(ความคลายกำหนัด) อาศัยนิโรธ(ความดับ) น้อมไปใน
โวสสัคคะ(ความสละคืน)
๒. ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
๓. ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
๔. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
๕. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
๖. ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...
๗. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ๑
เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
[๔๐๖] ครั้งนั้น ท่านพระนันทกะกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนี้แล้ว
จึงส่งไปด้วยคำว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว”
ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระนันทกะ แล้วลุก
ขึ้นจากอาสนะ กราบท่านพระนันทกะ กระทำประทักษิณ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสกับภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุณีทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปเถิด สมควร
แก่เวลาแล้ว”
ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ
แล้วจากไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นจากไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำนั้น ชนเป็นอันมากไม่
มีความเคลือบแคลงหรือความสงสัยเลยว่า ‘ดวงจันทร์ไม่เต็มดวงหรือเต็มดวงหนอ’
แต่ที่แท้ ดวงจันทร์ก็ยังไม่เต็มดวงนั่นเอง แม้ฉันใด ภิกษุณีเหล่านั้น ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้มีใจยินดีต่อธรรมเทศนาของนันทกะ ทั้งที่ยังมีความดำริไม่
บริบูรณ์”
[๔๐๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระนันทกะมาตรัสว่า
“นันทกะ ถ้าเช่นนั้น วันพรุ่งนี้ เธอพึงโอวาทภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนั้น
นั่นแหละ” ท่านพระนันทกะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
เมื่อล่วงราตรีนั้นไป ครั้นเวลาเช้า ท่านพระนันทกะครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว
กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ผู้เดียวเข้าไปยังราชการาม
ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นท่านพระนันทกะเดินมาแต่ไกล จึงช่วยกันปูลาดอาสนะและตั้ง
น้ำล้างเท้าไว้ ท่านพระนันทกะนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แล้วล้างเท้า แม้ภิกษุณี
เหล่านั้นกราบท่านพระนันทกะแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระนันทกะได้กล่าวกับ
ภิกษุณีเหล่านั้นว่า
“น้องหญิงทั้งหลาย การถามตอบกันจักมีขึ้น ในการถามตอบกันนั้น น้อง
หญิงทั้งหลายเมื่อรู้ พึงตอบว่า ‘ดิฉันทั้งหลายรู้’ เมื่อไม่รู้พึงตอบว่า ‘ดิฉัน
ทั้งหลายไม่รู้’ หรือน้องหญิงรูปใดมีความเคลือบแคลง หรือความสงสัย น้องหญิง
รูปนั้นพึงถามอาตมภาพในเรื่องนั้นว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เรื่องนี้เป็นอย่างไร เรื่องนี้
มีเนื้อความอย่างไร”
ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันทั้งหลายมีใจยินดีชื่นชม
พระคุณเจ้านันทกะ ด้วยเหตุที่พระคุณเจ้านันทกะปวารณาแก่ดิฉันทั้งหลายเช่นนี้”
[๔๐๘] “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ โสตะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
[๔๐๙] น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือรูป
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ เสียง
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กลิ่นเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“โผฏฐัพพะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘อายตนะภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลายพระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๑๐] น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
จักขุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบว่า
‘หมวดวิญญาณ ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
โสตวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
“ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กายวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘หมวดวิญญาณ ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๑๑] น้องหญิงทั้งหลาย เมื่อประทีปน้ำมันถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี
เปลวไฟก็ดี แสงสว่างก็ดี ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อประทีปน้ำมันโน้นถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี ล้วน
ไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา แต่ว่าแสงสว่างของประทีปน้ำมันนั้น เที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะเมื่อประทีปน้ำมันโน้นถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี ล้วน
ไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงแสงสว่างของประทีป
น้ำมันนั้นซึ่งไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดาเลย เจ้าข้า”
“ฉันนั้นเหมือนกัน น้องหญิงทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อายตนะ
ภายใน ๖ ของเรานี้ ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายใน ๖ แล้ว ย่อมเสวย
เวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เวทนานั้น เที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวนั้น ชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะอาศัยปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ เวทนาที่เกิดจากอายตนะ
ภายในนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ ดับ เวทนา
ที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ จึงดับ”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๑๒] น้องหญิงทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น มีราก ลำต้น
กิ่งและใบ และเงา ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘รากก็ดี ลำต้นก็ดี กิ่งและใบก็ดี เงาก็ดี ของต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้น มีแก่น
ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา แต่ว่าเงาของต้นไม้นั้นเที่ยง ยั่งยืน
เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าวชอบ
หรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น มีราก ลำต้น กิ่งและใบ ล้วนไม่เที่ยง
มีความแปรผันเป็นธรรมดา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเงาของต้นไม้นั้นซึ่งไม่เที่ยง มี
ความแปรผันเป็นธรรมดาเลย เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
“ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อายตนะภายนอก ๖ ของ
เรานี้ ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายนอก ๖ แล้ว ย่อมเสวยเวทนาใด เป็น
สุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เวทนานั้นเที่ยง ยั่งยืน
เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าวชอบ
หรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะอาศัยปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ เวทนาที่เกิดจาก
อายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ
ดับ เวทนาที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงดับ”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๑๓] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญ
ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน แยกส่วน
หนังไว้ข้างนอก ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็น
เล็กในภายใน ก็ใช้มีดแล่เนื้อที่คมตัด ชำแหละ เฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะส่วนหนัง
ไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้นนั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่โคตัวนี้
เราประกอบไว้ด้วยหนังผืนนี้เท่านั้น’ คนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคนั้นเมื่อกล่าว
ชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญโน้น ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่
เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน แยกส่วนหนังไว้ข้างนอก ในส่วน
เนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็กในภายใน ก็ใช้มีด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร
แล่เนื้อที่คมตัด ชำแหละ เฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะส่วนหนังไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้น
นั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่โคตัวนี้เราประกอบไว้ด้วยหนัง
ผืนนี้เท่านั้น’ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น แม่โคนั้นก็แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้นนั่นเอง”
“น้องหญิงทั้งหลาย อาตมภาพทำอุปมานี้เพื่อให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดเจนขึ้น
เนื้อความในอุปมานั้นดังต่อไปนี้
คำว่า ส่วนเนื้อข้างใน นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖
คำว่า ส่วนหนังข้างนอก นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖
คำว่า เนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็ก นั้น เป็นชื่อของนันทิราคะ
คำว่า มีดแล่เนื้อที่คม นั้น เป็นชื่อของอริยปัญญาที่ตัด ชำแหละ เฉือน
กิเลสในภายใน สังโยชน์ในภายใน และเครื่องผูกในภายใน
โพชฌงค์ ๗ ประการ
[๔๑๔] น้องหญิงทั้งหลาย เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
๒. ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
๓. ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
๔. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
๕. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
๖. ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๘ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น