Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๔-๑๐ หน้า ๓๘๓ - ๔๒๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔-๑๐ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร
ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวตอบว่า “ท่านกัจจานะ เป็นความจริงที่พระผู้มี
พระภาคทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ
มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม
เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่เราทั้งหลาย
จะทูลถามเนื้อความนี้กับพระองค์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด
เราทั้งหลายจะพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น อนึ่ง ท่านมหากัจจานะเป็นผู้ที่
พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน
มหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ขอท่านมหากัจจานะไม่ต้องหนักใจ ชี้แจงเถิด”
ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่าน
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี กระผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว
ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงอุทเทสโดยย่อไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่เมื่อ
พิจารณาอยู่ วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน
ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่
ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ
และทุกข์ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากอาสนะเสด็จ
เข้าไปยังที่ประทับ กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงไว้โดยพิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้
[๓๑๖] วิญญาณที่เรียกว่า ‘ฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว มีวิญญาณซ่านไปตามนิมิต
คือรูป พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ถูกความยินดีในนิมิตคือรูปตรึงไว้ ถูก
ความยินดีในนิมิตคือรูปผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในนิมิตคือรูปว่า
‘ฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว มีวิญญาณซ่านไปตามนิมิตคือธรรมารมณ์ พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ถูกความยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ตรึงไว้ ที่ถูกความ
ยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในนิมิต
คือธรรมารมณ์ว่า ‘ฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก’
วิญญาณที่เรียกว่า ‘ฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก’ เป็นอย่างนี้
[๓๑๗] วิญญาณที่เรียกว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว มีวิญญาณไม่ซ่านไปตาม
นิมิตคือรูป พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ไม่ถูกความยินดีในนิมิตคือรูปตรึงไว้
ที่ไม่ถูกความยินดีในนิมิตคือรูปผูกมัดไว้ ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีใน
นิมิตคือรูปว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก’
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว มีวิญญาณไม่ซ่านไปตามนิมิตคือธรรมารมณ์ พระผู้
มีพระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ไม่ถูกความยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ตรึงไว้ ที่ไม่
ถูกความยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความ
ยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก’
วิญญาณที่เรียกว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก’ เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร
[๓๑๘] จิตที่เรียกว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณ
ซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ถูกความ
ยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกตรึงไว้ ที่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวกผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกว่า
‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิตรึงไว้
ที่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือ
ความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ ภิกษุนั้นมีวิญญาณซ่านไปตามอุเบกขา พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
เรียกจิตที่ถูกความยินดีในสุขอันเกิดจากอุเบกขาตรึงไว้ ที่ถูกความยินดีในสุขอัน
เกิดจากอุเบกขาผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในสุขอันเกิดจาก
อุเบกขาว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ภิกษุนั้นมี
วิญญาณซ่านไปในอทุกขมสุข พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ถูกความยินดีใน
อทุกขมสุขตรึงไว้ ที่ถูกความยินดีในอทุกขมสุขผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์
คือความยินดีในอทุกขมสุขว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
จิตที่เรียกว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’ เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร
[๓๑๙] จิตที่เรียกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวก พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
ตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย
สังโยชน์คือความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความ
ยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความ
ยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไป
ตามอุเบกขา พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในสุขอันเกิดจาก
อุเบกขาตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีในสุขอันเกิดจากอุเบกขาผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยสังโยชน์คือความยินดีในสุขอันเกิดจากอุเบกขาว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามอทุกขมสุข พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในอทุกขมสุขตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีใน
อทุกขมสุขผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในอทุกขมสุขว่า ‘ไม่
ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
จิตที่เรียกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’ เป็นอย่างนี้
[๓๒๐] ความสะดุ้งเพราะตามยึดมั่น๑ เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชน๒ในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร
ธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง รูปนั้นของเขาย่อมแปรผันเป็นอย่างอื่นได้ เพราะ
ความที่รูปแปรผันเป็นอย่างอื่น เขาจึงมีวิญญาณคล้อยตามความแปรผันของรูป๑
ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรม๒ อันเกิดจากการคล้อยตามความแปรผัน
ของรูป ย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ เขาจึงเป็นผู้มีความ
หวาดหวั่น คับแค้น ห่วงใย และเพราะตามยึดมั่น เขาจึงสะดุ้ง
พิจารณาเห็นเวทนา ...
พิจารณาเห็นสัญญา ...
พิจารณาเห็นสังขาร ...
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
บ้าง วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรผันเป็นอย่างอื่นได้ เพราะความที่วิญญาณแปร
ผันเป็นอย่างอื่น เขาจึงมีวิญญาณคล้อยตามความแปรผันของวิญญาณ ความสะดุ้ง
และความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันเกิดจากการคล้อยตามความแปรผันของวิญญาณ
ย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ เขาจึงเป็นผู้มีความหวาดหวั่น
คับแค้น ห่วงใย และเพราะตามยึดมั่น เขาจึงสะดุ้ง
ความสะดุ้งเพราะตามยึดมั่น เป็นอย่างนี้แล
[๓๒๑] ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร
ในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา
บ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง รูปนั้นของเขาย่อมแปรผันเป็นอย่างอื่นได้
เพราะความที่รูปแปรผันเป็นอย่างอื่น เขาจึงไม่มีวิญญาณคล้อยตามความแปรผัน
ของรูป ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันเกิดจากการคล้อยตามความ
แปรผันของรูป ย่อมไม่ครอบงำจิตเขาตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ เขาจึงเป็น
ผู้ไม่มีความหวาดหวั่น ไม่คับแค้น ไม่ห่วงใย และเพราะไม่ยึดมั่น เขาจึงไม่สะดุ้ง
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ...
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ...
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรผันเป็นอย่างอื่นได้ เพราะความที่
วิญญาณแปรผันเป็นอย่างอื่น เขาจึงไม่มีวิญญาณคล้อยตามความแปรผันของวิญญาณ
ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันเกิดจากการคล้อยตามความแปรผันของ
วิญญาณ ย่อมไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ เขาจึงเป็น
ผู้ไม่มีความหวาดหวั่น ไม่คับแค้น ไม่ห่วงใย และเพราะความไม่ยึดมั่น เขาจึงไม่
สะดุ้ง
ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เป็นอย่างนี้แล
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อไว้ว่า ‘ภิกษุพึง
พิจารณาโดยประการที่เมื่อพิจารณาอยู่ วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก
ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปใน
ภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดน
เกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร
ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร
โดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้
แต่ท่านทั้งหลายเมื่อหวัง พึงเข้าไปเฝ้าแล้วสอบถามเนื้อความนั้นเถิด พระผู้มี
พระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้
อย่างนั้นเถิด”
[๓๒๒] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่านพระมหา
กัจจานะแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลายว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่เมื่อพิจารณาอยู่
วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะ
ไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่
สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์
ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยัง
ที่ประทับ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ข้าพระองค์
ทั้งหลายนั้นได้มีความสงสัยว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
อุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่
เมื่อพิจารณาอยู่ วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน
ไม่สะดุ้ง เพราะไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่น
อยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา
มรณะ และทุกข์ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์
เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ใครเล่าหนอจะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้นเกิดความคิดขึ้นว่า ‘ท่านพระ
มหากัจจานะนี้ เป็นผู้ที่พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็
สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร
โดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร โดยพิสดารได้
ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วพึงสอบถาม
เนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ’
ลำดับนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้ว
สอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระมหากัจจานะได้ชี้แจง
เนื้อความแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายแล้วโดยอาการเหล่านี้ โดยบทเหล่านี้ โดย
พยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะ เป็นบัณฑิต มี
ปัญญามาก แม้ถ้าเธอทั้งหลายพึงสอบถามเนื้อความนั้นกับเรา ถึงเราก็พึงตอบ
อย่างเดียวกับที่มหากัจจานะตอบแล้วเหมือนกัน ก็เนื้อความแห่งอุทเทสนั้นเป็นอย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อุทเทสวิภังคสูตรที่ ๘ จบ

๙. อรณวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกธรรมที่ไม่มีกิเลส
[๓๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอรณวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟังอรณวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม เป็น
ของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และ
ไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค(การประกอบความลำบากเดือดร้อน
แก่ตน)อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้นที่ตถาคตได้
ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน๑ พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ
ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น พึงรู้การตัดสินความสุข
ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขในภายใน ไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึง
กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า เมื่อไม่รีบร้อน จึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด ไม่พึงยึด
ภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ๒ นี้เป็นอุทเทสแห่งอรณวิภังค์
[๓๒๔] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม
อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อ
ปฏิบัติผิด
ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มีความอันเกิดจาก
กาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก
ธรรมคืออัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ นี้มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นข้อปฏิบัติผิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร
ธรรมเป็นเหตุไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มี
ความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
อริยมรรคมีองค์ ๘
[๓๒๕] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน‘๑ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
[๓๒๖] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว
ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร
การยกย่อง การตำหนิ และการไม่แสดงธรรม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของ
บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มี
ความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าตำหนิ
ชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคล
ผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มี
ความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่า
ยกย่องชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึง
มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อ
ว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
จึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้
ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละภวสังโยชน์๑ไม่ได้ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละภวสังโยชน์ได้แล้ว ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย การยกย่อง การตำหนิ และการไม่แสดงธรรม เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร
[๓๒๗] การไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ และการแสดงธรรม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของ
บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มี
ความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ เขาเมื่อ
กล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ นี้แล มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มี
ความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของ
บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’
เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ นี้แล ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก’ ชื่อว่าแสดง
ธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
จึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’
เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ นี้แล มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
จึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้
ปฏิบัติถูก’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ นี้แล ไม่มีทุกข์
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก’
ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ แม้ภพ
ก็เป็นอันละไม่ได้‘ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ละภวสังโยชน์ได้แล้ว ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ก็เมื่อบุคคลละภวสังโยชน์ได้แล้ว
แม้ภพก็เป็นอันละได้แล้ว’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ และการแสดงธรรม เป็นอย่างนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึง
ยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
กามคุณ ๕ ประการ
[๓๒๘] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึง
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขในภายใน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการ นี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร
สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า สุขอันเกิดจาก
กาม เป็นสุขที่เกิดแต่เมถุนธรรม๑ เป็นสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะ
เรากล่าวว่า ‘ภิกษุไม่พึงเสพ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้มาก พึงกลัวสุขชนิดนี้’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
แล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะ
วิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิต
เป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ... บรรลุ
ตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... สุขนี้เราเรียกว่า เนกขัมมสุข เป็นสุขอันเกิด
จากความสงัด เป็นสุขเกิดจากความสงบ เป็นสุขเกิดจากการตรัสรู้ เรากล่าวว่า
‘ภิกษุพึงเสพ พึงเจริญ พึงทำให้มาก ไม่พึงกลัวสุขชนิดนี้’
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งความสุขในภายใน’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๒๙] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกิน
ต่อหน้า’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ภิกษุรู้ความลับอันใด ที่ไม่เป็นความจริง ไม่เป็น
ความแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวความลับนั้นเป็นอันขาด แม้รู้ว่า
ความลับอันใดที่เป็นความจริง เป็นความแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึง
สำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าวความลับนั้น และพึงรู้ความลับอันใดเป็นความจริง เป็น
ความแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ภิกษุพึงรู้กาลเพื่อจะกล่าวความลับนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ภิกษุรู้คำล่วงเกินต่อหน้าอันใด ที่ไม่เป็นคำจริง
ไม่เป็นคำแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้นเป็น
อันขาด แม้รู้ว่าคำล่วงเกินต่อหน้าอันใด ที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ แต่ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น และพึงรู้คำ
ล่วงเกินต่อหน้าอันใดที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น
ภิกษุพึงรู้กาลเพื่อจะกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๓๐] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุเมื่อไม่รีบร้อนจึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น เมื่อภิกษุรีบร้อนพูด แม้กายก็ลำบาก จิตก็แกว่ง
เสียงก็พร่า คอก็แห้ง แม้คำพูดที่ภิกษุรีบร้อนพูดก็ไม่สละสลวย ฟังไม่เข้าใจ
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น เมื่อภิกษุไม่รีบร้อนพูด กายก็ไม่ลำบาก จิตก็
ไม่แกว่ง เสียงก็ไม่พร่า คอก็ไม่แห้ง แม้คำพูดที่ภิกษุผู้ไม่รีบร้อนพูด ก็สละสลวย
ฟังเข้าใจ
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุเมื่อไม่รีบร้อนจึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๓๑] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูด
สามัญ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
การยึดภาษาท้องถิ่น และการละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างไร
คือ ภาชนะชนิดเดียวกันนั่นแหละในโลกนี้ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปาติ’
บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปัตตะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิฏฐะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า
‘สราวะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘หโรสะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘โปณะ’ บางท้อง
ถิ่นรู้จักกันว่า ‘หนะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิปิละ’ ภิกษุพูดด้วยความยึดมั่น
ถือมั่นโดยวิธีที่ชนทั้งหลายในท้องถิ่นนั้น ๆ จะรู้จักภาชนะนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
การยึดภาษาท้องถิ่น และการละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างนี้
[๓๓๒] การไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างไร
คือ ภาชนะชนิดเดียวกันนั่นแหละในโลกนี้ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปาติ’
บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปัตตะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิฏฐะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า
‘สราวะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘หโรสะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘โปณะ’ บางท้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร
ถิ่นรู้จักกันว่า ‘หนะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิปิละ’ ภิกษุพูดอย่างไม่ถือมั่นโดย
วิธีที่ชนทั้งหลายในท้องถิ่นนั้น ๆ จะรู้จักภาชนะนั้นได้ว่า ‘ได้ยินว่า ท่านผู้มีอายุ
เหล่านี้พูดหมายถึงภาชนะนี้’
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญ เป็น
อย่างนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ’ นั่น
เพราะอาศัยคำนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
โสมนัสของบุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของ
ปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มี
ความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของ
พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มี
ความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๔] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคืออัตตกิลมถานุโยค อันเป็น
ทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อัน
เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร
[๓๓๕] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือมัชฌิมาปฏิปทา ที่
ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๖] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการยกย่อง การตำหนิ
และการไม่แสดงธรรมนี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ การแสดงธรรมเท่านั้นนี้
ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อ
ปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือสุขอันเกิดจากกาม สุขอัน
เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ สุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะนี้ มีทุกข์ มีความ
เบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือเนกขัมมสุข สุขเกิดจากความสงัด สุขเกิดจากความ
สงบ สุขเกิดจากการตรัสรู้นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น
ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือความลับที่ไม่เป็นความจริง
ไม่เป็นความแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความ
คับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็น
ธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือความลับที่เป็นความจริง เป็นความแท้ แต่ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือความลับที่เป็นความจริง เป็นความแท้ ประกอบ
ด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือคำล่วงเกินต่อหน้า ที่ไม่
เป็นคำจริง ไม่เป็นคำแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือคำล่วงเกินต่อหน้า ที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ แต่ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือคำล่วงเกินต่อหน้า ที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้
ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มี
ความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือคำที่บุคคลผู้รีบร้อนพูดนี้
มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด
เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือคำที่บุคคลผู้ไม่รีบร้อนพูดนี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๔๑] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการยึดภาษาท้องถิ่น และ
การละเลยคำพูดสามัญนี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญนี้
ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อ
ปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาในอรณวิภังค์นี้อย่างนี้แลว่า
‘เราทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีกิเลส และรู้ธรรมที่ไม่มีกิเลสแล้ว จักปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ
เพื่อไม่มีกิเลส’ กุลบุตรผู้มีนามว่าสุภูติ ได้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติเพื่อไม่มีกิเลสแล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อรณวิภังคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกธาตุ
[๓๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ ถึงกรุงราชคฤห์แล้ว
เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะถึงที่อยู่ แล้วได้ตรัสว่า “ภัคควะ ถ้าท่านไม่
หนักใจ เราขอพักในศาลาสักคืนหนึ่ง”
นายภัคควะกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมไม่หนักใจเลย แต่ในศาลานี้
มีบรรพชิตเข้าไปพักอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตรูปนั้นอนุญาต ก็ขอเชิญท่านพักตาม
สบายเถิด”
ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา
อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาค ปุกกุสาติกุลบุตรนั้น เข้าไปพักอยู่ในศาลาของนายช่าง
หม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่านปุกกุสาติถึงที่อยู่แล้ว
ได้ตรัสว่า “ภิกษุ ถ้าเธอไม่หนักใจ เราขอพักในศาลาสักคืนหนึ่ง”
ท่านปุกกุสาติตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ศาลาของนายช่างหม้อกว้างขวาง เชิญ
ท่านพักตามสบายเถิด”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังศาลาของนายช่างหม้อ ทรงลาด
สันถัดหญ้า ณ ส่วนข้างหนึ่ง แล้วประทับนั่งขัดสมาธิ ตั้งพระวรกายตรง ดำรง
พระสติไว้เฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งจนล่วงเลยราตรีไปมาก แม้ท่านปุกกุสาติ
ก็นั่งจนล่วงเลยราตรีไปมากเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ
ทางที่ดี เราควรจะถามดู” จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติว่า “ภิกษุ ท่านบวชอุทิศใคร
ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร”
ท่านปุกกุสาติตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ศากยบุตร เสด็จ
ออกจากศากยราชตระกูลทรงผนวชแล้ว ก็พระสมณโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น มี
พระกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ข้าพเจ้าบวช
อุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดาของ
ข้าพเจ้า และข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น”
“ภิกษุ ก็บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับ
อยู่ ณ ที่ไหน”
“ท่านผู้มีอายุ บัดนี้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถี ในอุตตรชนบท”
“ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่านเห็นแล้วจะรู้จักหรือ”
“ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย และเห็น
แล้วก็ไม่รู้จัก”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “กุลบุตรนี้บวชอุทิศเรา ทางที่ดี เรา
พึงแสดงธรรมแก่เขา” ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านปุกกุสาติมา
ตรัสว่า “ภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่เธอ เธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”
ท่านปุกกุสาติทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
[๓๔๓] “ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ ๖๑ มีผัสสายตนะ(แดนเกิดแห่งผัสสะ) ๖ มี
มโนปวิจาร(ความนึกหน่วงทางใจ) ๑๘ มีอธิษฐานธรรม(ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ) ๔
เมื่อความกำหนดหมาย ซึมซาบไม่ถึงบุรุษผู้คงอยู่ในอธิษฐานธรรม บัณฑิต
จึงเรียกบุรุษนั้นว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา๒ พึงตามรักษา
สัจจะ๓ พึงเพิ่มพูนจาคะ๔ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ นี้เป็นอุทเทสแห่งธาตุวิภังค์
๖ ประการ
[๓๔๔] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ ๖ ประการ’ เพราะ
อาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุ ธาตุ ๖ ประการ นี้ คือ

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
๕. อากาสธาตุ (ธาตุคืออากาศ) ๖. วิญญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ)

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ ๖ ประการ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
[๓๔๕] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีผัสสายตนะ ๖ ประการ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
๑. ผัสสายตนะคือจักขุ ๒. ผัสสายตนะคือโสตะ
๓. ผัสสายตนะคือฆานะ ๔. ผัสสายตนะคือชิวหา
๕. ผัสสายตนะคือกาย ๖. ผัสสายตนะคือมโน
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีผัสสายตนะ ๖ ประการ’ นั่น เพราะ
อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๔๖] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีมโนปวิจาร ๑๘’ เพราะอาศัย
เหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อม
นึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ความนึกหน่วงโสมนัส ๖ ความนึกหน่วงโทมนัส ๖ ความนึกหน่วงอุเบกขา ๖
ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีมโนปวิจาร ๑๘’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
[๓๔๗] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีอธิษฐานธรรม ๔ ประการ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ
๑. อธิษฐานธรรมคือปัญญา ๒. อธิษฐานธรรมคือสัจจะ
๓. อธิษฐานธรรมคือจาคะ ๔. อธิษฐานธรรมคืออุปสมะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีอธิษฐานธรรม ๔ ประการ’ นั่น เพราะ
อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
ธาตุ ๖ ประการ
[๓๔๘] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ
พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าว
ไว้เช่นนั้น
บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ธาตุ ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ
๕. อากาสธาตุ ๖. วิญญาณธาตุ
[๓๔๙] ปฐวีธาตุ เป็นอย่างไร
คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ปฐวีธาตุภายนอกก็มี
ปฐวีธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูป๑ภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็น
ของหยาบ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือ
อุปาทินนกรูปภายในอื่นใดที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ
นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
ปฐวีธาตุภายใน และปฐวีธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นปฐวีธาตุนั่นเอง บัณฑิตควร
เห็นปฐวีธาตุนั้น ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัด
จากปฐวีธาตุ
[๓๕๐] อาโปธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อาโปธาตุภายในก็มี อาโปธาตุภายนอกก็มี
อาโปธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความ
เอิบอาบ ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ น้ำตา มันข้น เปลวมัน น้ำลาย
น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรืออุปาทินนกรูปภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็น
ของเอิบอาบ มีความเอิบอาบ
นี้เรียกว่าอาโปธาตุภายใน
อาโปธาตุภายในและอาโปธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นอาโปธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง
เห็นอาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ และทำจิตให้คลาย
กำหนัดจากอาโปธาตุ
[๓๕๑] เตโชธาตุ เป็นอย่างไร
คือ เตโชธาตุภายในก็มี เตโชธาตุภายนอกก็มี
เตโชธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน
ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้อบอุ่น ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
ให้ทรุดโทรม ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้เร่าร้อน ธรรมชาติที่เป็นเครื่อง
ย่อยสิ่งที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และลิ้มรสแล้ว หรืออุปาทินนกรูปภายในอื่นใด
ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน
นี้เรียกว่าเตโชธาตุภายใน
เตโชธาตุภายในและเตโชธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นเตโชธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง
เห็นเตโชธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นเตโชธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัด
จากเตโชธาตุ
[๓๕๒] วาโยธาตุ เป็นอย่างไร
คือ วาโยธาตุภายในก็มี วาโยธาตุภายนอกก็มี
วาโยธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความ
พัดไปมา ได้แก่ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้
ลมที่แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรืออุปาทินนกรูป
ภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความพัดไปมา
นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน
วาโยธาตุภายในและวาโยธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นวาโยธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง
เห็นวาโยธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นวาโยธาตุนั้นตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ และทำจิตให้คลาย
กำหนัดจากวาโยธาตุ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
[๓๕๓] อากาสธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อากาสธาตุภายในก็มี อากาสธาตุภายนอกก็มี
อากาสธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นสภาวะว่างเปล่า มีความ
ว่างเปล่า ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกิน ของดื่ม
ของเคี้ยว ของลิ้มรส ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม และ
ช่องสำหรับของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม ไหลลงเบื้องต่ำ หรืออุปาทินนกรูป
ภายในอื่นใดที่เป็นของเฉพาะตน เป็นสภาวะว่างเปล่า มีความว่างเปล่า
นี้เรียกว่าอากาสธาตุภายใน๑
อากาสธาตุภายในและอากาสธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นอากาสธาตุนั่นเอง บัณฑิต
พึงเห็นอากาสธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอากาสธาตุนั้นตามความ
เป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอากาสธาตุ และทำจิต
ให้คลายความกำหนัดจากอากาสธาตุ
[๓๕๔] ทีนั้น วิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหลืออยู่ บุคคลย่อมรู้เรื่องอะไร ๆ
ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือรู้ว่า ‘สุข’ บ้าง รู้ว่า ‘ทุกข์’ บ้าง รู้ว่า ‘อทุกขมสุข’ บ้าง
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวย
สุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยสุขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ สุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’
[๓๕๕] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยทุกขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า
‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแลดับ ทุกขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
[๓๕๖] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
จึงเกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยอทุกขม-
สุขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ที่เสวย
อยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’
[๓๕๗] ภิกษุ เปรียบเหมือนไม้ ๒ อัน เสียดสีกัน จึงเกิดความร้อน ไฟลุกขึ้น
เพราะแยกไม้ทั้งสองนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีนั้นจึงดับ
ระงับไป แม้ฉันใด บุคคลก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวย
สุขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ สุขเวทนา
ที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับคือสงบไป’
[๓๕๘] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยทุกขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า
‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแลดับ ทุกขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’
[๓๕๙] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึง
เกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
อยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ อทุกขม-
สุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ที่เสวยอยู่อัน
เกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’๑
[๓๖๐] ทีนั้น อุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน และ
ผ่องใส เหลืออยู่ เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองผู้ชำนาญ ตระเตรียม
เบ้าแล้วสุมปากเบ้า เอาคีมคีบทองใส่ลงที่ปากเบ้า แล้วสูบลมตามสมควรแก่เวลา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา เพ่งดูตามสมควรแก่เวลา ทองนั้นเป็นทองที่
ถูกไล่ขี้เขม่าหมดแล้ว จึงเป็นทองอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง และ
ช่างทองหรือลูกมือของช่างทองมุ่งหมายจะทำเครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ แผ่นทอง
ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง ทองนั้นย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ แม้ฉันใด๑
อุเบกขาอื่นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นอุเบกขาบริสุทธิ์ผุดผ่อง อ่อน เหมาะแก่
การใช้งาน และผ่องใสเหลืออยู่
[๓๖๑] บุคคลนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้
เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควร๒แก่ธรรมนั้น๓ เมื่อ
เป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้ก็จะเป็นอุเบกขาที่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น
ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น คงอยู่ตลอดกาลนาน
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้ก็จะ
เป็นอุเบกขาที่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น
คงอยู่ตลอดกาลนาน
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้
ก็จะเป็นอุเบกขาที่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌานนั้น
คงอยู่ตลอดกาลนาน
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตน
ฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้
ก็จะเป็นอุเบกขาที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ยึดเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานนั้น คงอยู่ตลอดกาลนาน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
[๓๖๒] ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้
เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็
จะเป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็จะเป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตน
ฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็จะเป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
แล้ว
ภิกษุนั้นจะไม่ปรุงแต่ง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เธอเมื่อไม่
ปรุงแต่ง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดหวั่น
เมื่อไม่หวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสได้เฉพาะตนเท่านั้น รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
[๓๖๓] ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา จึงรู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน‘๑
ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา จึงรู้ชัดว่า ‘ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา จึงรู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
[๓๖๔] ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา จึงเป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวยสุขเวทนานั้น
ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา จึงเป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวยทุกขเวทนานั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา จึงเป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนา
นั้น เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด จึงรู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด จึงรู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ รู้ชัดว่า
‘หลังจากตายไป เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’
[๓๖๕] ภิกษุ เปรียบเหมือนตะเกียงน้ำมันติดอยู่ได้ เพราะอาศัยน้ำมันและไส้
ตะเกียงน้ำมันนั้นย่อมหมดเชื้อดับไป เพราะหมดน้ำมันและไส้ และเพราะไม่เติมน้ำ
มันและไส้ใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
จึงรู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด จึงรู้ชัดว่า
‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ รู้ชัดว่า ‘หลังจากตายไป เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน
จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’๑ เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้๒ ชื่อว่าเป็น
ผู้ประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญาอันยอดเยี่ยมนี้ เพราะว่าปัญญาอันประเสริฐ
ยอดเยี่ยมนี้ คือความรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง๓
[๓๖๖] ความหลุดพ้นของภิกษุนั้น เป็นอันตั้งอยู่ ไม่กำเริบในสัจจะ เพราะ
ว่าสิ่งใดมีความเลอะเลือนเป็นธรรมดา สิ่งนั้นเป็นของเท็จ สิ่งใดไม่มีความ
เลอะเลือนเป็นธรรมดา สิ่งนั้นเป็นของจริงคือนิพพาน เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้
เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะอัน
ยอดเยี่ยมนี้ เพราะสัจจะนี้เป็นบรมอริยสัจคือนิพพานอันไม่มีความเลอะเลือนเป็น
ธรรมดา
[๓๖๗] อนึ่ง อุปธิทั้งหลาย๔ของภิกษุผู้ไม่รู้แจ้งในกาลก่อนนั้นนั่นแล เป็น
อันเธอสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เธอละอุปธิเหล่านั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอธิษฐาน
ธรรมคือจาคะอันยอดเยี่ยมนี้ เพราะว่าจาคะอันประเสริฐ ยอดเยี่ยมนี้ คือความ
สละคืนอุปธิทั้งปวง
[๓๖๘] อนึ่ง อภิชฌา คือ ความพอใจ ความกำหนัดยินดีของภิกษุผู้ไม่รู้
แจ้งในกาลก่อนนั้นนั่นแลมีอยู่ เธอละอภิชฌา คือ ความพอใจ ความกำหนัด
ยินดีได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ความอาฆาต คือ ความพยาบาท ความคิดประทุษร้ายของภิกษุผู้ไม่รู้แจ้งใน
กาลก่อนนั้นนั่นแลมีอยู่ เธอละความอาฆาต คือ ความพยาบาท ความคิด
ประทุษร้ายนั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
อวิชชา คือ ความหลง งมงายของภิกษุผู้ไม่รู้แจ้งในกาลก่อนนั้นนั่นแลมีอยู่
เธอละอภิชฌา คือความหลง งมงายนั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น
ภิกษุผู้เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอธิษฐานธรรม คือ
อุปสมะอันยอดเยี่ยมนี้ ความสงบระงับราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นความสงบระงับ
อันประเสริฐยอดเยี่ยม
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูน
จาคะ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๖๙] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘เมื่อความกำหนดหมาย๑ซึมซาบไม่ถึงบุรุษผู้คง
อยู่ในอธิษฐานธรรม บัณฑิตจึงเรียกบุรุษนั้นว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
ภิกษุ ความกำหนดหมายว่า “เรามี” ความกำหนดหมายว่า “เราไม่มี”
ความกำหนดหมายว่า “เราจักมี” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มี” ความ
กำหนดหมายว่า “เราจักมีรูป” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มีรูป” ความ
กำหนดหมายว่า “เราจักมีสัญญา” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มีสัญญา”
ความกำหนดหมายว่า “เราจักมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่”
ความกำหนดหมายเป็นดุจโรค ความกำหนดหมายเป็นดุจหัวฝี ความ
กำหนดหมายเป็นดุจลูกศร๑ แต่เราเรียกภิกษุว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ เพราะก้าวล่วง
ความกำหนดหมายทั้งปวง เพราะว่ามุนีผู้สงบแล้ว ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่ต้องเกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้
อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ
จักทะเยอทะยานได้อย่างไร
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘เมื่อความกำหนดหมาย ซึมซาบไม่ถึงบุรุษผู้คงอยู่ใน
อธิษฐานธรรม บัณฑิตจึงเรียกบุรุษนั้นว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
ภิกษุ เธอจงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ของเราไว้”
[๓๗๐] ครั้งนั้นแล ท่านปุกกุสาติรู้ว่า “ได้ยินว่า พระศาสดาของเราเสด็จมา
ถึงแล้ว ได้ยินว่า พระสุคตของเราเสด็จมาถึงแล้ว ได้ยินว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ของเราเสด็จมาถึงแล้ว” จึงลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า หมอบลงแทบ
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ผู้โง่ เขลา เบาปัญญา มีความผิดที่ข้าพระองค์
ได้สำคัญพระผู้มีพระภาคว่าควรเรียกด้วยวาทะว่าผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาค จง
ให้อภัยโทษแก่ข้าพระองค์ เพื่อสำรวมต่อไป”๒
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เอาเถอะ เธอผู้โง่ เขลา เบาปัญญา มีความผิดที่
ได้สำคัญเราว่าควรร้องเรียกด้วยวาทะว่าผู้มีอายุ แต่เธอเห็นความผิดโดยเป็นความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
ผิดแล้วกระทำคืนตามธรรม เราก็ยกโทษให้เธอ ภิกษุ ก็การที่บุคคลเห็นความผิด
โดยเป็นความผิด แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นี้เป็นความ
เจริญในอริยวินัย”
ท่านปุกกุสาติกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้
อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด”
“เธอมีบาตรและจีวรครบแล้วหรือ”
“ไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ตถาคตทั้งหลายจะไม่ให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรไม่ครบอุปสมบท”
ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกขึ้น
จากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไปแสวงหา
บาตรและจีวร
ทันใดนั้นเอง แม่โคได้ขวิดท่านปุกกุสาติผู้กำลังเที่ยวแสวงหาบาตรและจีวร
เสียชีวิต ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “กุลบุตรชื่อ
ปุกกุสาติที่พระผู้มีพระภาคทรงโอวาทด้วยพระโอวาทโดยย่อนั้น ตายเสียแล้ว เขา
มีคติเป็นอย่างไร มีสัมปรายภพเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้
บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว และเธอไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ปุกกุสาติกุลบุตร จึงเป็นโอปปาติกะ๑ จะ
นิพพานในโลกนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ธาตุวิภังคสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

๑๑. สัจจวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกสัจจะ
[๓๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ
พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้ คือ
การบอก๑ การแสดง๒ การบัญญัติ๓ การกำหนด๔ การเปิดเผย๕ การจำแนก๖
การทำให้ง่าย๗ ซึ่งอริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขอริยสัจ
๒. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขสมุทยอริยสัจ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร
๓. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขนิโรธอริยสัจ
๔. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศแล้ว
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้ คือ การบอก การแสดง
การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย การจำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ นี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะ เธอทั้งหลาย
จงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นภิกษุฉลาด
เป็นผู้อนุเคราะห์๑เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย สารีบุตรเปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด
โมคคัลลานะเปรียบเหมือนผู้บำรุงเลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำใน
โสดาปัตติผล โมคคัลลานะย่อมแนะนำในประโยชน์ที่สูงสุด สารีบุตรสามารถที่จะ
บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ได้โดย
พิสดาร”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงทรงลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
[๓๗๒] ขณะนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปแล้วไม่นาน ท่านพระ
สารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้น
รับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระตถาคตผู้เป็นอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้
คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย การจำแนก
การทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขอริยสัจ
๒. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย การจำแนก
การทำให้ง่ายซึ่งทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขนิโรธอริยสัจ
๔. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
[๓๗๓] ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์) เป็นอย่างไร
คือ ชาติ เป็นทุกข์ ชรา เป็นทุกข์ มรณะ เป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เป็นทุกข์ โดยย่อ
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์๑
ชาติ เป็นอย่างไร
คือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ
ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า ชาติ๒
ชรา เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมี
หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า ชรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร
มรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความจุติ ความเคลื่อนไป จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ความทำลายไป ความหายไป
ความตายกล่าวคือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย
ความขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
นี้เรียกว่า มรณะ๑
โสกะ เป็นอย่างไร
คือ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)
ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ
นี้เรียกว่า โสกะ๒
ปริเทวะ เป็นอย่างไร
คือ ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะ
ที่ร้องไห้ ภาวะที่คร่ำครวญ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)
ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ
นี้เรียกว่า ปริเทวะ๓
ทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกข์๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร
โทมนัส เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัส๑
อุปายาส เป็นอย่างไร
คือ ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่คับแค้น ของผู้ที่
ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด
อย่างหนึ่งกระทบ
นี้เรียกว่า อุปายาส
การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ หมู่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ เราทั้งหลายจึงจักไม่มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือความเกิดไม่พึงมาถึง
เราทั้งหลาย แต่ความปรารถนานี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา
นี้เรียกว่าการไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เป็นทุกข์
หมู่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ....
หมู่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา ...
หมู่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ...
หมู่สัตว์ผู้มีความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ
และความคับแค้นเป็นธรรมดา ต่างก็เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
เราทั้งหลายจึงจักไม่มีความเศร้าโศรก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ
และความคับแค้นเป็นธรรมดา ขอความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย
ความทุกข์ใจ และความคับแค้นไม่พึงมาถึงเราทั้งหลาย’ แต่ความปรารถนานี้ไม่
พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา
นี้เรียกว่าการไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เป็นทุกข์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นอย่างไร คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
เหล่านี้เรียกโดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
[๓๗๔] ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์) เป็นอย่างไร
คือ ตัณหานี้เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เป็นเหตุ
เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา๑
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์) เป็นอย่างไร
คือ ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความสละคืน
ความพ้น ความไม่ติดอยู่
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ
อริยมรรคมีองค์ ๘
[๓๗๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
ทุกข์) เป็นอย่างไร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นแล ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ๑

สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ในทุกข์(ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย(เหตุเกิดแห่งทุกข์)
ความรู้ในทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับทุกข์)
นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริ
ในการไม่เบียดเบียน
นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดส่อเสียด
เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการลักทรัพย์
เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร
สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้ว เลี้ยงชีพด้วย
สัมมาอาชีวะ
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ยัง
ฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศล
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ยังฉันทะให้เกิด พยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ
ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร
ระงับไป ภิกษุนั้นจึงบรรลุทุติยฌาน ที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ... บรรลุตติยฌาน
... บรรลุจตุตถฌานอยู่
นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ๑
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระตถาคตผู้เป็นอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประกาศไว้แล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้
หมุนกลับไม่ได้๒ คือ ทรงบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรงกำหนด ทรงเปิดเผย
ทรงจำแนก ทรงทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ นี้”
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิต
ของท่านพระสารีบุตร ดังนี้แล
สัจจวิภังคสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกทักษิณาทาน
[๓๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงถือผ้าใหม่คู่หนึ่ง เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉัน
กรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศถวายพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรง
อาศัยความอนุเคราะห์ รับผ้าใหม่คู่นั้นของหม่อมฉันเถิด”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร
เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
“โคตมี ขอพระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันบูชา
อาตมภาพและสงฆ์”
แม้ครั้งที่ ๒ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศ
ถวายพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับผ้าใหม่คู่
นี้ของหม่อมฉันเถิด”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีว่า
“โคตมี ขอพระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันบูชา
อาตมภาพและสงฆ์”
แม้ครั้งที่ ๓ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศ
ถวายพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับผ้าใหม่คู่นี้
ของหม่อมฉันเถิด”
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีว่า
“โคตมี ขอพระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันบูชา
อาตมภาพและสงฆ์”
[๓๗๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของพระนาง
มหาปชาบดีโคตมีเถิด พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงมีอุปการะมาก เป็นพระ
มาตุจฉาของพระผู้มีพระภาค ทรงทะนุถนอมเลี้ยงดูให้พระผู้มีพระภาคเสวย
น้ำนม ในเมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีอุปการะมากแก่
พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค
แล้ว จึงได้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ทรงเป็นผู้เว้นขาดจาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๒๕ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น