Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๖-๕ หน้า ๒๒๘ - ๒๘๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖-๕ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. ภคินิสูตร

๕. ปิตุสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นบิดา
[๑๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นบิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
ปิตุสูตรที่ ๕ จบ

๖. ภาตุสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นพี่ชายน้องชาย
[๑๓๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นพี่ชายน้องชายโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
ภาตุสูตรที่ ๖ จบ

๗. ภคินิสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นพี่สาวน้องสาว
[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นพี่สาวน้องสาวโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
ภคินิสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๙. ธีตุสูตร

๘. ปุตตสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นบุตร
[๑๔๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นบุตรโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
ปุตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธีตุสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นธิดา
[๑๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุด
เบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่อง
เที่ยวไป สัตว์ผู้ไม่เคยเป็นธิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลาย
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
เธอทั้งหลายได้เสวยความทุกข์ เสวยความลำบาก ได้รับความพินาศ เต็มป่าช้า
เป็นเวลายาวนาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”
ธีตุสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. เวปุลลปัพพตสูตร

๑๐. เวปุลลปัพพตสูตร
ว่าด้วยภูเขาเวปุลละ
[๑๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป
เรื่องเคยมีมาแล้ว ภูเขาเวปุลละนี้ได้ชื่อว่าปาจีนวังสะ สมัยนั้นหมู่มนุษย์
ได้ชื่อว่าเผ่าติวรา มนุษย์เผ่าติวรามีอายุประมาณ ๔ หมื่นปี มนุษย์เผ่าติวรา
ขึ้นภูเขาปาจีนวังสะใช้เวลา ๔ วัน ลงก็ใช้เวลา ๔ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ มีพระสาวกคู่หนึ่งเป็นคู่เลิศ คู่เจริญ
ชื่อว่าวิธูระ และสัญชีวะ
เธอทั้งหลายจงดูเถิด ชื่อภูเขาลูกนี้แหละหายไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นก็ตาย
ไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ ไม่น่าชื่นใจ
อย่างนี้ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อหลุดพ้นจาก
สังขารทั้งปวง
เรื่องเคยมีมาแล้ว ภูเขาเวปุลละนี้ได้ชื่อว่าวงกต สมัยนั้นหมู่มนุษย์ได้ชื่อว่า
เผ่าโรหิตัสสะ มนุษย์เผ่าโรหิตัสสะมีอายุประมาณ ๓ หมื่นปี มนุษย์เผ่าโรหิตัสสะ
ขึ้นภูเขาวงกตใช้เวลา ๓ วัน ลงก็ใช้เวลา ๓ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ มีพระสาวกคู่หนึ่งเป็นคู่เลิศ คู่เจริญ ชื่อว่า
ภิยโยสะ และอุตตระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. เวปุลลปัพพตสูตร
เธอทั้งหลายจงดูเถิด ชื่อภูเขาลูกนี้แหละหายไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นก็ตาย
ไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น ...
เรื่องเคยมีมาแล้ว ภูเขาเวปุลละนี้ได้ชื่อว่าสุปัสสะ สมัยนั้น หมู่มนุษย์ได้ชื่อว่า
เผ่าสุปปิยา มนุษย์เผ่าสุปปิยามีอายุประมาณ ๒ หมื่นปี มนุษย์เผ่าสุปปิยาขึ้น
ภูเขาสุปัสสะใช้เวลา ๒ วัน ลงก็ใช้เวลา ๒ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ มีพระสาวกคู่หนึ่งเป็นคู่เลิศ คู่เจริญ ชื่อว่า
ติสสะ และภารทวาชะ
เธอทั้งหลายจงดูเถิด ชื่อภูเขาลูกนี้แหละหายไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นก็ตายไปแล้ว
และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ ฯลฯ ควรเพื่อ
หลุดพ้น ...
แต่ในบัดนี้ ภูเขาเวปุลละนี้ได้ชื่อว่าเวปุลละเหมือนเดิม ก็บัดนี้หมู่มนุษย์เหล่านี้
ได้ชื่อว่าเผ่ามาคธะ มนุษย์เผ่ามาคธะมีอายุน้อย นิดหน่อย ผู้ใดมีชีวิตอยู่นาน
ผู้นั้นมีอายุเพียง ๑๐๐ ปีเป็นเกณฑ์ จะต่ำกว่าหรือเกินกว่าก็มี มนุษย์เผ่ามาคธะ
ขึ้นภูเขาเวปุลละเพียงครู่เดียว ลงก็เพียงครู่เดียว และบัดนี้เราเป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก เรามีสาวกคู่หนึ่งเป็นคู่เลิศ คู่เจริญ ชื่อว่าสารีบุตรและ
โมคคัลลานะ
สมัยนั้น ภูเขานี้แหละจักหายไป มนุษย์เหล่านี้ก็จักตาย และเราก็จักปรินิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ ไม่น่าชื่นใจ
อย่างนี้ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อหลุดพ้นจาก
สังขารทั้งปวง”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
“ภูเขาปาจีนวังสะของหมู่มนุษย์เผ่าติวรา
ภูเขาวงกตของหมู่มนุษย์เผ่าโรหิตัสสะ
ภูเขาสุปัสสะของหมู่มนุษย์เผ่าสุปปิยา
และภูเขาเวปุลละของหมู่มนุษย์เผ่ามาคธะ
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความเข้าไปสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข”
เวปุลลปัพพตสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทุคคตสูตร ๒. สุขิตสูตร
๓. ติงสมัตตสูตร ๔. มาตุสูตร
๕. ปิตุสูตร ๖. ภาตุสูตร
๗. ภคินิสูตร ๘. ปุตตสูตร
๙. ธีตุสูตร ๑๐. เวปุลลปัพพตสูตร

อนมตัคคสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕.กัสสปสังยุต] ๑. สันตุฏฐสูตร

๕. กัสสปสังยุต

๑. สันตุฏฐสูตร
ว่าด้วยความสันโดษ
[๑๔๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย กัสสปะนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และกล่าว
สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร
เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวรก็ไม่กระวนกระวาย และได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง
ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่
กัสสปะนี้เป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความ
สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร
เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่กระวนกระวาย และได้บิณฑบาตแล้ว
ก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่
กัสสปะนี้เป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความ
สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร
เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่กระวนกระวาย และได้เสนาสนะแล้วก็
ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่
กัสสปะนี้เป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ และกล่าว
สรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการ
แสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้คิลานปัจจัย
เภสัชบริขารก็ไม่กระวนกระวาย และได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง
ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๒. อโนตตัปปีสูตร
ตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวรก็
ไม่กระวนกระวาย และได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญา
เครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่
[พึงทำอย่างนี้ทุกบท]
เราทั้งหลายจักเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ฯลฯ จักเป็นผู้สันโดษ
ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ฯลฯ จักเป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมี
ตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้
ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่กระวนกระวาย และได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
แล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก จักบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล เราจักกล่าวสอนเธอทั้งหลาย
ตามกัสสปะ หรือผู้ใดพึงเป็นผู้เช่นกัสสปะ เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น
และเธอทั้งหลายผู้ได้รับโอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นเช่นนั้น”
สันตุฏฐสูตรที่ ๑ จบ

๒. อโนตตัปปีสูตร
ว่าด้วยความไม่สะดุ้งกลัว
[๑๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะและท่านพระสารีบุตรอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหา
ท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็น
ที่ระลึกถึงกันและกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า
“ท่านกัสสปะ ผมกล่าวว่า ภิกษุผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ไม่มีความ
สะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
อย่างยอดเยี่ยม ส่วนภิกษุผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้
ควรเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๒. อโนตตัปปีสูตร
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียร
เครื่องเผากิเลส ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อนิพพาน
ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ด้วยเหตุเท่าไร และภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อตรัสรู้ เพื่อ
นิพพาน เพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ด้วยเหตุเท่าไร”
“ท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า
‘บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแก่เรา พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ไม่ทำ
ความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อเรายังละ
ไม่ได้ พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘กุศล-
ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่เกิดขึ้นแก่เรา พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ไม่ทำความ
เพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ พึงเป็นไป
เพื่อความพินาศ’
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นอย่างนี้
ภิกษุชื่อว่าไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า
‘บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น พึงเป็นไป
เพื่อความพินาศ’ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ
พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ภิกษุชื่อว่าไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอย่าง
ยอดเยี่ยม เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๒.อโนตตัปปีสูตร
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘บาป
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ทำความ
เพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อยังละไม่ได้
พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลสโดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่ยังไม่
เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ทำความเพียรเครื่องเผา
กิเลส โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นอย่างนี้
ภิกษุชื่อว่ามีความสะดุ้งกลัว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า
‘บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น พึงเป็นไป
เพื่อความพินาศ’ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ
พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ภิกษุชื่อว่ามีความสะดุ้งกลัว เป็นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อตรัสรู้
ควรเพื่อนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ๑ อย่างยอดเยี่ยมเป็นอย่างนี้
แล”
อโนตตัปปีสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๓. จันทูปมาสูตร

๓. จันทูปมาสูตร
ว่าด้วยการเปรียบเทียบภิกษุกับดวงจันทร์
[๑๔๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นเหมือนดวงจันทร์ จงพรากกาย๑ พรากจิต
ออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ๒ ไม่คะนอง๓ เข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลายเถิด
เปรียบเหมือนบุรุษพึงพรากกายพรากจิต แลดูบ่อน้ำซึ่งคร่ำคร่า ภูเขาที่ขรุขระ
หรือแม่น้ำที่ขาดเป็นห้วง ๆ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยนั้นก็ฉันนั้น เธอทั้งหลายก็จงเป็น
เหมือนดวงจันทร์จงพรากกายพรากจิตออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ ไม่คะนอง เข้าไปสู่
ตระกูลทั้งหลาย
กัสสปะเปรียบเหมือนดวงจันทร์ พรากกายพรากจิตออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ
ไม่คะนองเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุ
เช่นไรจึงสมควรเข้าไปสู่ตระกูล
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่ง
ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงโบกฝ่าพระหัตถ์ในอากาศ ตรัสว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย ฝ่ามือนี้ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในอากาศ ฉันใด จิตของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ผู้เข้าไปสู่ตระกูล ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในตระกูลทั้งหลาย โดยคิดว่า ‘ผู้ปรารถนาลาภ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๓.จันทูปมาสูตร
จงได้ลาภ ส่วนผู้ปรารถนาบุญ จงทำบุญ’ ฉันนั้น ภิกษุเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภ
อันเป็นของตน ฉันใด ก็จงเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภของชนเหล่าอื่น ฉันนั้น ภิกษุ
เช่นนี้จึงสมควรเข้าไปสู่ตระกูล
จิตของกัสสปะผู้เข้าไปสู่ตระกูล ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในตระกูลทั้งหลาย โดย
คิดว่า ‘ผู้ปรารถนาลาภ จงได้ลาภ ส่วนผู้ปรารถนาบุญ จงทำบุญ’ กัสสปะเป็นผู้
พอใจ ดีใจ ด้วยลาภอันเป็นของตน ฉันใด ภิกษุเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภของชน
เหล่าอื่น ฉันนั้น
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นไร ไม่บริสุทธิ์
ของภิกษุเช่นไรบริสุทธิ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่ง
ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
‘ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรม
ของเรา ครั้นฟังแล้ว พึงเลื่อมใสธรรม และผู้ที่เลื่อมใสแล้ว พึงทำอาการของผู้
ที่เลื่อมใสต่อเรา’ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นนี้ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ไฉนหนอ ชนทั้งหลาย
พึงฟังธรรมของเรา ครั้นฟังแล้ว พึงรู้ทั่วถึงธรรม และครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว พึงปฏิบัติ
เพื่อความเป็นอย่างนั้น’ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น เธออาศัยความที่ธรรมเป็น
ธรรมดีจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความกรุณาจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดูจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์จึงแสดงธรรม
แก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการฉะนี้
ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นนี้ชื่อว่าบริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๔. กุลูปกสูตร
กัสสปะมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว
ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ไฉนหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา
ครั้นฟังแล้ว พึงรู้ทั่วถึงธรรม และครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น’
จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น เธออาศัยความที่ธรรมเป็นธรรมดีจึงแสดงธรรมแก่ชน
เหล่าอื่น อาศัยความกรุณาจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความเอ็นดูจึงแสดง
ธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการ
ฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เราจักกล่าวสอนเธอทั้งหลายให้(ประพฤติ)ตามกัสสปะ หรือผู้
ใดพึงเป็นเช่นกัสสปะ เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น และเธอทั้งหลายผู้ได้รับ
โอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น”
จันทูปมาสูตรที่ ๓ จบ

๔. กุลูปกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล
[๑๔๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุเช่นไร
สมควรเข้าไปสู่ตระกูล ภิกษุเช่นไรไม่สมควรเข้าไปสู่ตระกูล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาค
เป็นหลัก” ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ขอชนทั้งหลายจงให้
เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ อย่าให้น้อย จงให้ของประณีตแก่เราเท่านั้น
อย่าให้ของเศร้าหมอง จงรีบให้เรา อย่าให้ช้า จงให้เราโดยเคารพ อย่าให้โดยไม่
เคารพ’ จึงเข้าไปสู่ตระกูล เมื่อภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้เข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลาย
ไม่ให้ ภิกษุจึงอึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลาย
ให้น้อย ไม่ให้มาก ฯลฯ ให้ของเศร้าหมอง ไม่ให้ของประณีต ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุจึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๔. กุลูปกสูตร
อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่
เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ ภิกษุจึงอึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัส
เพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุเช่นนี้ไม่สมควรเข้าไปสู่ตระกูล
ส่วนภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราพึงได้ปัจจัย ๔ ในตระกูล
อื่น ๆ แต่ที่ไหน ขอชนทั้งหลายจงให้เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ
อย่าให้น้อย จงให้ของประณีตแก่เราเท่านั้น อย่าให้ของเศร้าหมอง จงรีบให้เรา
อย่าให้ช้า จงให้เราโดยเคารพ อย่าให้โดยไม่เคารพ’ จึงเข้าไปสู่ตระกูล ถ้าเมื่อ
ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้เข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลายไม่ให้ ภิกษุไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก
ภิกษุจึงไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลาย
ให้ของเศร้าหมอง ไม่ให้ของประณีต ... ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ
ไม่ให้โดยเคารพ ภิกษุไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุเช่นนี้สมควรเข้าไปสู่ตระกูล
กัสสปะมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราพึงได้ปัจจัย ๔ ในตระกูลอื่น ๆ แต่ที่ไหน
ขอชนทั้งหลายจงให้เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ อย่าให้น้อย’ ฯลฯ
จึงเข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลายไม่ให้ กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวย
ทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก กัสสปะไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้ของเศร้าหมอง
ไม่ให้ของประณีต กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัส ชนทั้งหลาย
ให้ช้า ไม่ให้เร็ว กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะ
สาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ กัสสปะไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เราจักกล่าวสอนเธอทั้งหลายให้(ประพฤติ)ตามกัสสปะ หรือผู้
ใดพึงเป็นเช่นกัสสปะ เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น และเธอทั้งหลายผู้ได้รับ
โอวาทแล้วพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น”
กุลูปกสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๕. ชิณณสูตร

๕. ชิณณสูตร
ว่าด้วยความแก่
[๑๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ฯลฯ
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ บัดนี้เธอแก่แล้ว ผ้าป่านบังสุกุลเหล่านี้ของเธอหนัก ไม่น่านุ่งห่ม
เพราะฉะนั้น เธอจงใช้สอยคหบดีจีวร๑ จงบริโภคโภชนะที่เขานิมนต์ และจงอยู่ใน
สำนักของเราเถิด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรและกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความมัก
น้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และ
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
การปรารภความเพียร ตลอดกาลนาน”
“เธอพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์อะไรจึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดกาลนาน
[ข้อความที่ละไว้เป็นอย่างเดียวกัน]

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๕. ชิณณสูตร
เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้
ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ...
ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภ
ความเพียร”
“ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ...
เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ...
เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ตลอดกาลนาน
คือ พิจารณาเห็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน๑ และอนุเคราะห์หมู่ชนใน
ภายหลังว่า ทำอย่างไรหมู่ชนในภายหลังพึงถึงการประพฤติตามแบบอย่างว่า ได้ยินว่า
พระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวกที่ได้มีมาแล้ว ท่านเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดกาลนาน ฯลฯ เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้
มักน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภ
ความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร อย่างนี้
ท่านเหล่านั้นจักปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อปฏิบัติของท่านเหล่านั้นจัก
เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้
จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้
เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๖. โอวาทสูตร
เป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลี
ด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร
ตลอดกาลนาน”
“ดีละ ดีละ กัสสปะ ได้ยินว่า เธอปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เธอจงนุ่งห่มผ้าป่านบังสุกุล
ที่ใช้แล้ว๑ จงเที่ยวบิณฑบาต และจงอยู่ในป่าเถิด”
ชิณณสูตรที่ ๕ จบ

๖. โอวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาท
[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน ... เขตกรุงราชคฤห์ ...
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ เธอจงกล่าวสอนภิกษุ จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด
เราหรือเธอพึงกล่าวสอน พึงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรม
ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ ข้าพระองค์ได้เห็นภิกษุ
ชื่อภัณฑะ สัทธิวิหาริกของพระอานนท์ และภิกษุชื่ออาภิชชิกะ สัทธิวิหาริกของ
พระอนุรุทธะ ในพระธรรมวินัยนี้ กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะว่า ‘มาเถิดภิกษุ
ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน และใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๖. โอวาทสูตร
ครั้งนั้น พระผู้พระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ‘มาเถิดภิกษุ เธอจง
เรียกภิกษุภัณฑะ สัทธิวิหาริกของอานนท์ และภิกษุอาภิชชิกะ สัทธิวิหาริกของ
อนุรุทธะมาตามคำของเรา ว่า ‘พระศาสดารับสั่งให้ท่านทั้ง ๒ เข้าเฝ้า’ ภิกษุนั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้กล่าวว่า ‘พระศาสดา
รับสั่งให้ท่านทั้ง ๒ เข้าเฝ้า”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เธอทั้งหลายได้กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะว่า
‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้
นานกว่ากัน จริงหรือ”
“จริง พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้หรือ เธอทั้งหลายจึงกล่าว
ล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะอย่างนี้ว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน
ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ได้ยินว่า ถ้าเธอทั้งหลายไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แน่ะโมฆบุรุษ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอทั้งหลายรู้เห็นอะไร บวชอยู่ในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้
ยังกล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะไปทำไมเล่าว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มาก
กว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน”
ลำดับนั้น ภิกษุทั้ง ๒ รูปได้น้อมศีรษะลงแทบพระบาทพระผู้มีพระภาคแล้ว
กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายบวชในพระธรรมวินัยที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วอย่างนี้ ได้กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะเพราะความโง่เขลา
เบาปัญญาว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน
ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน’ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงให้อภัยโทษแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลาย เพื่อสำรวมต่อไปด้วยเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๗. ทุติยโอวาทสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เอาเถิด การที่เธอทั้งหลายบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้ว
อย่างนี้ ได้กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาว่า ‘มาเถิด
ภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นาน
กว่ากัน’ เพราะเหตุที่เห็นความผิดเป็นความผิด แล้วแก้ไขให้ถูกต้อง ข้อนั้นเรายอม
รับเธอทั้งหลายได้ เพราะการที่บุคคลเห็นความเห็นผิดเป็นความผิดแล้ว แก้ไขให้ถูก
ต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”
โอวาทสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยโอวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาท สูตรที่ ๒
[๑๕๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์ ...
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ... พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ เธอจงกล่าวสอนภิกษุ จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด
เราหรือเธอ พึงกล่าวสอน พึงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรม
ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ บุคคลบางคนไม่มี
ศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย
คืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความ
เจริญไม่ได้เลย
เปรียบเหมือนดวงจันทร์ข้างแรมย่อมอับแสง ไม่เต็มดวง ไร้รัศมี วัดความยาว
และความกว้างไม่ได้ ตลอดคืนวันที่ผ่านมา อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น บุคคล
บางคนไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ... ไม่มีโอตตัปปะ ... ไม่มีวิริยะ ... ไม่มีปัญญา
ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรม
ทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๗. ทุติยโอวาทสูตร
ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีหิรินี้ เป็น
ความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีโอตตัปปะนี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคล
เป็นคนเกียจคร้านนี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญาทรามนี้ เป็นความ
เสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นผู้มักโกรธนี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลผูกโกรธนี้
เป็นความเสื่อม ข้อที่ไม่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ เป็นความเสื่อม
บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาในกุศลธรรม
ทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
เท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย
เปรียบเหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น มีแสงเปล่งปลั่ง เต็มดวง มีรัศมีเจิดจ้า
วัดความยาวและความกว้างได้ ตลอดคืนวันที่ผ่านมา อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ... มีปัญญา
ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรม
ทั้งหลายเท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย
ข้อที่บุรุษบุคคลมีศรัทธานี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลมีหิรินี้ ไม่เป็น
ความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลมีโอตตัปปะนี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคล
ปรารภความเพียรนี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญานี้ ไม่เป็น
ความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่เป็นผู้มักโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคล
ไม่ผูกโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ ไม่เป็นความเสื่อม”
“ดีละ ดีละ กัสสปะ บุคคลบางคนไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ... ไม่มีโอตตัปปะ ...
ไม่มีวิริยะ ... ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้
แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย
เปรียบเหมือนดวงจันทร์ข้างแรมย่อมอับแสง ไม่เต็มดวง ไร้รัศมี วัดความยาว
และความกว้างไม่ได้ ตลอดคืนวันที่ผ่านมา อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น บุคคล
บางคนไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ... ไม่มีโอตตัปปะ ... ไม่มีวิริยะ ... ไม่มีปัญญาในกุศล-
ธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย
เท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๘. ตติยโอวาทสูตร
ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีหิริ ... ไม่มี
โอตตัปปะ ... เป็นคนเกียจคร้าน ... มีปัญญาทราม ... มักโกรธ ... ผูกโกรธ ...
ไม่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ เป็นความเสื่อม
บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ... มีปัญญาในกุศล
ธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
เท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย
เปรียบเหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น มีแสงเปล่งปลั่ง เต็มดวง มีรัศมีเจิดจ้า
วัดความยาวและความกว้างได้ ตลอดคืนวันที่ผ่านมา อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ... มีปัญญา
ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรม
ทั้งหลายเท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย
กัสสปะ ข้อที่บุรุษบุคคลมีศรัทธานี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคล
มีหิริ ฯลฯ มีโอตตัปปะ ฯลฯ ปรารภความเพียร ฯลฯ มีปัญญา ฯลฯ ไม่เป็นผู้
มักโกรธ ฯลฯ ไม่ผูกโกรธ ฯลฯ มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ ไม่เป็นความเสื่อม”
ทุติยโอวาทสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตติยโอวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาท สูตรที่ ๓
[๑๕๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ เธอจงกล่าวสอนภิกษุ จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด
เราหรือเธอ พึงกล่าวสอน พึงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๘. ตติยโอวาทสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรม
ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ”
“กัสสปะ จริงอย่างนั้น ในครั้งก่อน ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นผู้อยู่ป่า
เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้
ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้
มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัด
จากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่
เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปใดเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ
มักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และ
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการปรารภความเพียร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วย
คำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ใคร่ต่อการศึกษาแท้ มาเถิด
ภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’
เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระกระทำสักการะอย่างนั้นในภิกษุรูปนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นนวกะ พากันคิดว่า ‘ทราบว่า ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้
นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้
สันโดษ ... สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๘. ตติยโอวาทสูตร
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์
ให้เธอนั่ง ด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ใคร่ต่อการ
ศึกษาแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’ ภิกษุผู้เป็นนวกะเหล่านั้นย่อม
ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนั้น ย่อมมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน
ในบัดนี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ไม่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ไม่นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่กล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และ
ไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร ไม่เป็นผู้มักน้อย และไม่กล่าว
สรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ไม่เป็นผู้สันโดษ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
ความสันโดษ ไม่เป็นผู้สงัดจากหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่
เป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ปรารภ
ความเพียร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร
บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น ภิกษุรูปใดมีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์ให้เธอนั่ง
ด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ปรารถนาแต่เพื่อนสพรหมจารี
ด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด”
เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระกระทำสักการะอย่างนั้นในภิกษุรูปนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นนวกะ พากันคิดว่า ‘ทราบว่า ภิกษุรูปนี้มีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระพากันนิมนต์ให้เธอ
นั่งด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ปรารถนาแต่เพื่อน
สพรหมจารีด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’ ภิกษุผู้เป็นนวกะ
เหล่านั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนั้นย่อมมีเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความทุกข์แก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๙. ฌานาภิญญสูตร
กัสสปะ แท้จริงบุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนใดคนหนึ่งให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายของผู้ประพฤติพรหมจรรย์เบียดเบียนแล้ว
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความปรารถนาการ
ประพฤติพรหมจรรย์เกินประมาณเบียดเบียนแล้ว บัดนี้ บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนนั้น
ให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายของผู้ประพฤติพรหมจรรย์
เบียดเบียนแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความ
ปรารถนาการประพฤติพรหมจรรย์เกินประมาณเบียดเบียนแล้ว”
ตติยโอวาทสูตรที่ ๘ จบ

๙. ฌานาภิญญสูตร
ว่าด้วยฌานและอภิญญา
[๑๕๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เราสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะ
ก็สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร ปีติและ
สุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ เพราะวิตก วิจารสงบระงับไป แม้กัสสปะก็บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เพราะปีติจางคลายไป เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุขได้’ ตราบเท่าที่เราต้องการ เพราะปีติจางคลายไป แม้กัสสปะเป็น
ผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขได้’ ตราบเท่าที่
เธอต้องการเช่นกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๙. ฌานาภิญญสูตร
เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน เราบรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ได้ตราบเท่าที่เรา
ต้องการ เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว แม้กัสสปะก็บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ได้
ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘อากาศไม่มีที่สุด’ เพราะล่วง
รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง อยู่ได้
ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็บรรลุอากาสานัญจายตนะ ฯลฯ เพราะล่วง
รูปสัญญา ไม่มนสิการโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘วิญญาณไม่มีที่สุด’ เพราะล่วง
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะ
ก็บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘วิญญาณไม่มีที่สุด’ เพราะล่วง
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี’
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ
แม้กัสสปะก็บรรลุ ฯลฯ อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการ
ทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ฯลฯ อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการ
ทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ฯลฯ
เราแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคน
แสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้ หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)
ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไป
ในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยก เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไป
ในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๙. ณานาภิญญสูตร
แม้กัสสปะก็แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยหูทิพย์ ... ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ฯลฯ
เรากำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ฯลฯ จิตปราศจากโทสะ
... จิตมีโมหะ ... จิตปราศจากโมหะ ... จิตหดหู่ ... จิตฟุ้งซ่าน ... จิตเป็นมหัคคตะ
จิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ... หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ... จิตเป็น
สมาธิ ... จิตไม่เป็นสมาธิ ... จิตหลุดพ้น ... หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่
หลุดพ้นได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็กำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วย
จิตของตน คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิต
ไม่หลุดพ้นตราบเท่าที่เธอต้องการ
เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง
๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง
๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอด
สังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัป
เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ เราจุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพ
นั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ
อย่างนั้น ๆ ครั้นจุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติ ด้วยประการฉะนี้ได้ แม้กัสสปะก็ระลึกชาติ
ก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้ง
ลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ ด้วยประการฉะนี้ได้ ตราบเท่าที่เธอต้องการ
เราเห็นหมู่สัตว์ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณ
ทราม ไปดี ตกยาก ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า ‘ผู้เจริญทั้งหลาย หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๐. อุปัสสยสูตร
ตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต
วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำ
ตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เราเห็น
หมู่สัตว์ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ไปดี
ตกยาก ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วย
ประการฉะนี้ได้ ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็เห็นหมู่สัตว์ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการ
ฉะนี้ ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เรารู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้กัสสปะก็รู้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้เช่นกัน”
ฌานาภิญญสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุปัสสยสูตร
ว่าด้วยพระมหากัสสปะแสดงธรรมในสำนักภิกษุณี
[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะพักอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่าน
พระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“มาเถิดท่านกัสสปะผู้เจริญ เราจักไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่ง”
“ไปเถิดท่านอานนท์ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ก็ได้กล่าวกับท่านพระมหากัสสปะว่า ‘มาเถิด
ท่านกัสสปะผู้เจริญ เราจักไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่ง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๐. อุปัสสยสูตร
“ไปเถิดท่านอานนท์ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้กล่าวกับท่านพระมหากัสสปะว่า ‘มาเถิด
ท่านกัสสปะผู้เจริญ เราจักไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่ง”
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระมหากัสสปะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร มีท่าน
พระอานนท์ติดตาม เข้าไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่งแล้ว จึงนั่งบนอาสนะที่เขา
จัดไว้ ลำดับนั้นภิกษุณีจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ กราบท่าน
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหากัสสปะได้ชี้แจงให้ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจ
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ครั้นแล้วจึงลุกจากอาสนะหลีกไป
ครั้งนั้น ภิกษุณีชื่อถุลลติสสาไม่พอใจ จึงเปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจว่า
‘เพราะเหตุไรเล่า พระคุณเจ้ามหากัสสปะจึงสำคัญธรรมที่ตนควรกล่าวต่อหน้า
พระอานนท์ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นมุนีปราดเปรื่อง เปรียบเหมือนพ่อค้าเข็มสำคัญว่า ควรขาย
เข็มในสำนักของช่างเข็ม(ผู้ชำนาญ) ฉันใด พระคุณเจ้ามหากัสสปะย่อมสำคัญธรรม
ที่ตนควรกล่าวต่อหน้าพระอานนท์ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นมุนีปราดเปรื่อง ฉันนั้นเหมือนกัน’
ท่านพระมหากัสสปะได้ยินภิกษุณีชื่อถุลลติสสากำลังกล่าววาจานี้ จึงได้กล่าว
กับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ เราเป็นพ่อค้าเข็ม ท่านเป็นช่างเข็ม หรือ
เราเป็นช่างเข็ม ท่านเป็นพ่อค้าเข็ม”
“ขอประทานโทษท่านกัสสปะผู้เจริญ ชื่อว่ามาตุคามเป็นคนเขลา”
“หยุดเถิดท่านอานนท์ หมู่ของท่านอย่าด่วนสรุปเกินไปนัก
ท่านอานนท์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่
ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคบ้างหรือว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราสงัดจากกาม
และจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิด
จากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้อานนท์ก็สงัดจากกามและจากอกุศลธรรม
ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เธอ
ต้องการ”
“มิใช่อย่างนั้น ขอรับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๐. อุปัสสยสูตร
“ท่านผู้มีอายุ ผมเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราสงัดจากกามและจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ
แม้กัสสปะก็สงัดจากกามและจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ได้
ตราบเท่าที่เธอต้องการ’
[อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๕ มีข้อความที่ละไว้อย่างนี้] ๑
ท่านอานนท์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่
ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคบ้างหรือว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้อานนท์ก็ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบันเช่นกัน”
“ไม่ใช่อย่างนั้น ขอรับ”
“ท่านผู้มีอายุ ผมเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้กัสสปะ
ก็ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้เช่นกัน
ท่านผู้มีอายุ ผู้ใดสำคัญผมว่าควรปกปิดได้ด้วยอภิญญา ๖ ผู้นั้นก็ควร
สำคัญช้าง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกครึ่งว่าจะพึงปกปิดได้ด้วยใบตาล”
ภิกษุณีชื่อถุลลติสสาเคลื่อนจากพรหมจรรย์แล้ว
อุปัสสยสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๑. จีวรสูตร

๑๑. จีวรสูตร
ว่าด้วยจีวร
[๑๕๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะพักอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปในทักขิณาคิรี-
ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสัทธิวิหาริกของท่านพระอานนท์ประมาณ
๓๐ รูป โดยมากยังเป็นเด็กหนุ่ม๑ บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ครั้งนั้น
ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามชอบใจในทักขิณาคิรีชนบทแล้วกลับมายังพระเวฬุวัน
สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่
ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระมหากัสสปะได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไรหนอ จึงทรงบัญญัติการขบฉัน
๓ หมวด๒ ในตระกูลทั้งหลายไว้”
“ท่านกัสสปะผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ
จึงได้ทรงบัญญัติการขบฉัน ๓ หมวดในตระกูลทั้งหลายไว้ คือ
๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกของเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๓. เพื่ออนุเคราะห์ตระกูลมิให้เหล่าภิกษุผู้มีความปรารถนาชั่ว อาศัย
พรรคพวกทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการนี้ จึงทรงบัญญัติ
การขบฉัน ๓ หมวดในตระกูลทั้งหลายไว้”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๑. จีวรสูตร
“ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านเที่ยวจาริกไปกับภิกษุใหม่เหล่านี้ ผู้ไม่
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ เพื่อประโยชน์อะไรเล่า ท่านเห็นจะเที่ยวไปเหยียบย่ำข้าวกล้า ชะรอย
จะเที่ยวไปเบียดเบียนตระกูล บริษัทของท่านดูร่อยหรอลง สัทธิวิหาริกของท่านซึ่ง
โดยมากเป็นผู้ใหม่ กระจัดกระจายไป ท่านนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักประมาณ”
“ท่านกัสสปะผู้เจริญ เส้นผมทั้งหลายบนศีรษะของกระผมหงอกแล้วก็จริง
ถึงกระนั้นแม้ในวันนี้พวกกระผมก็ยังไม่พ้นจากการกล่าวว่าเป็นเด็ก”
“จริงอย่างนั้น ท่านอานนท์ ท่านเที่ยวจาริกไปกับภิกษุใหม่เหล่านี้ ผู้ไม่
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ ท่านเห็นจะเที่ยวไปเหยียบย่ำข้าวกล้า ชะรอยจะเที่ยวไปเบียดเบียน
ตระกูล บริษัทของท่านดูร่อยหรอลง สัทธิวิหาริกของท่านซึ่งโดยมากเป็นผู้ใหม่
กระจัดกระจายไป ท่านนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักประมาณ”
ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาได้ยินแล้วคิดว่า ‘ทราบว่าพระอานนท์ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็น
มุนีปราดเปรื่อง ถูกพระคุณเจ้ามหากัสสปะรุกรานด้วยการกล่าวว่าเป็นเด็ก’
ครั้งนั้น ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาไม่พอใจ จึงเปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจว่า
‘พระคุณเจ้ามหากัสสปะเคยเป็นอัญเดียรถีย์ จึงสำคัญพระคุณเจ้าอานนท์ ผู้เป็นมุนี
ปราดเปรื่องว่าควรรุกรานด้วยการกล่าวว่าเป็นเด็ก’ ท่านพระมหากัสสปะได้ยินภิกษุณี
ชื่อถุลลนันทากล่าววาจานี้แล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะจึงได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ‘เอาเถอะ
ท่านอานนท์ ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาพูดอย่างผลุนผลันไม่ทันพิจารณา เพราะเราปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่รู้เลยว่า เรา
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรชิตอุทิศศาสดาอื่น นอกจากพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อก่อน เราเป็นคฤหัสถ์ได้มีความคิดว่า ‘ฆราวาสช่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๑. จีวรสูตร
คับแคบ๑ เป็นทางมาแห่งธุลี๒ บรรพชาปลอดโปร่ง ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวประดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ไม่ใช่ทำได้ง่าย
ทางที่ดีเราควรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต’ สมัยต่อมา เราได้ทำสังฆาฏิด้วยผ้าเก่า ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า
กาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะท่านผู้เป็นพระอรหันต์ในโลก
ผมนั้นเมื่อบวชแล้วขณะที่เดินทางไกล ได้พบพระผู้มีพระภาคซึ่งประทับนั่งอยู่
ที่พหุปุตตเจดีย์ ระหว่างกรุงราชคฤห์กับบ้านนาลันทา ครั้นพบแล้วผมได้มีความ
คิดว่า ‘เราพบพระศาสดา ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคด้วย เราพบพระสุคต
ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคด้วย เราพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นอันพบพระผู้มี
พระภาคด้วย’ ท่านผู้มีอายุ ผมนั้นได้น้อมศีรษะลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค
ณ ที่นั้นเอง กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของ
ข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดา
ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก’
ประทานโอวาท ๓ ประการ
เมื่อผมกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับผมว่า ‘กัสสปะ
ผู้ใดยังไม่รู้จักสาวกผู้สมบูรณ์ด้วยจิตบริสุทธิ์อย่างนี้แล้ว พึงพูดว่า ‘รู้’ ยังไม่เห็น
พึงพูดว่า ‘เห็น’ แม้ศีรษะของผู้นั้นพึงแตก แต่เรารู้อยู่ จึงพูดว่า ‘รู้’ เห็นอยู่
จึงพูดว่า ‘เห็น’
เพราะเหตุนั้นแหละ กัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักเข้าไปตั้งหิริและ
โอตตัปปะอย่างแรงกล้าในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ ผู้เป็นมัชฌิมะ’ เธอพึง
ศึกษาอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๑. จีวรสูตร
เพราะเหตุนั้นแหละ กัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักฟังธรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกุศล จักกระทำธรรมนั้นทั้งหมดให้เป็นประโยชน์ มนสิการ
ถึงธรรมนั้นทั้งหมด จักประมวลจิต๑มาทั้งหมด เงี่ยโสตสดับธรรม’ เธอพึงศึกษา
อย่างนี้
เพราะเหตุนั้นแหละ กัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ละกายคตาสติ
ที่ประกอบด้วยความยินดี๒’ เธอพึงศึกษาอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคทรงโอวาทผมด้วยพระโอวาทนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ
หลีกไป ผมเป็นหนี้บริโภค๓ก้อนข้าวของราษฎรถึง ๑ สัปดาห์ วันที่ ๘ อรหัตตผล
จึงเกิดขึ้น คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลงจากทางไปยังโคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ผมจึง
ปูลาดผ้าสังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าซ้อนเป็น ๔ ชั้นถวาย แล้วกราบทูลว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงประทับนั่งบนผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด’ พระผู้มีพระภาคก็ประทับนั่งบน
อาสนะที่ผมจัดถวาย แล้วตรัสกับผมว่า ‘กัสสปะ สังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าของเธอ
ผืนนี้อ่อนนุ่ม’ ผมก็กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรด
อนุเคราะห์ ทรงรับสังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าของข้าพระองค์เถิด’ พระองค์ตรัสว่า
‘เธอจักทรงผ้าป่านบังสุกุลของเราที่ใช้สอยแล้วหรือ’ ผมก็กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทรงผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้สอยแล้วของพระผู้มีพระภาค’ ผมได้
ถวายผ้าสังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าแด่พระผู้มีพระภาค และได้รับผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้
สอยแล้วของพระผู้มีพระภาคมา
แท้จริงบุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนใดคนหนึ่งให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘บุตรของ
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ เกิดแต่พระธรรม อันพระธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๒. ปรัมมรณสูตร
เนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท จึงรับผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้สอยแล้ว’ บุคคลเมื่อจะ
กล่าวถึงคนนั้นให้ถูกต้อง ควรกล่าวกับผมว่า ‘บุตรของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เกิด
แต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ เกิดแต่พระธรรม อันพระธรรมเนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท
ได้รับผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้สอยแล้ว’
ผมสงัดจากกามและจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร
ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ตราบเท่าที่ผมต้องการ ผม ฯลฯ ตราบเท่าที่ผม
ต้องการ
[อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๕ มีข้อความที่ละไว้อย่างนี้]
ท่านผู้มีอายุ ผมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ผู้ใดสำคัญ
ผมว่าควรปกปิดได้ด้วยอภิญญา ๖ ผู้นั้นก็ควรสำคัญช้าง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกครึ่ง
ว่าจะพึงปกปิดได้ด้วยใบตาล
ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาเคลื่อนจากพรหมจรรย์แล้ว
จีวรสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ปรัมมรณสูตร๑
ว่าด้วยตถาคตตายไปแล้วเกิดอีกหรือไม่เกิด
[๑๕๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะและท่านพระสารีบุตรพักอยู่ ณ
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่
หลีกเร้น ในเวลาเย็นเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่ง
เรียบร้อยแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“ท่านกัสสปะ หลังจากตายแล้ว ตถาคต๒เกิดอีกหรือ”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๒. ปรัมมรณสูตร
“ท่านผู้มีอายุ ข้อที่ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’ นี้พระผู้มี
พระภาคมิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ข้อที่ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกหรือ’ นี้พระผู้มีพระภาคก็มิได้
ทรงพยากรณ์ไว้”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ข้อที่ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ’ นี้พระผู้มีพระภาค
ก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ข้อที่ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’
นี้พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“เพราะเหตุไร ข้อที่กล่าวถึงนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“เพราะข้อนั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“ถ้าเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างไรเล่า”
“พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้ว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”๑
“เพราะเหตุไร ข้อนี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ไว้”
“ท่านผู้มีอายุ เพราะข้อนั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ไว้”
ปรัมมรณสูตรที่ ๑๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร

๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร
ว่าด้วยสัทธรรมปฏิรูป
[๑๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ เมื่อก่อนสิกขาบท
มีน้อย ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีมาก และอะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ บัดนี้
สิกขาบทมีมาก แต่ภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีน้อย”
“กัสสปะ ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ คือ เมื่อหมู่สัตว์เสื่อมลง สัทธรรมก็เสื่อมสูญไป
สิกขาบทจึงมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลจึงมีน้อย สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้น
ในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใดสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น
ในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป
ทองคำปลอมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำแท้ก็ยังไม่หายไป
และเมื่อใดทองคำปลอมเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นทองคำแท้จึงหายไปฉันใด สัทธรรม-
ปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใด
สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป ฉันนั้นเหมือนกัน
ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ
(ธาตุไฟ) วาโยธาตุ(ธาตุลม) ก็ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้
ต่างหากเกิดขึ้นมาย่อมทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญไป เปรียบเหมือนเรือจะอับปางก็เพราะ
ต้นหนเท่านั้น สัทธรรมย่อมไม่เสื่อมสูญไป ด้วยประการฉะนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร

สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญ
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป
แห่งสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในพระศาสดา
๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในพระธรรม
๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในพระสงฆ์
๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในสิกขา
๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในสมาธิ
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป
แห่งสัทธรรม
สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมตั้งมั่น
กัสสปะ เหตุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย
เพื่อความไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม เหตุ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา
๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร
๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระสงฆ์
๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในสิกขา
๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในสมาธิ
เหตุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความ
ไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม
สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓ จบ

กัสสปสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สันตุฏฐสูตร ๒. อโนตตัปปีสูตร
๓. จันทูปมาสูตร ๔. กุลูปกสูตร
๕. ชิณณสูตร ๖. โอวาทสูตร
๗. ทุติยโอวาทสูตร ๘. ตติยโอวาทสูตร
๙. ฌานาภิญญสูตร ๑๐. อุปัสสยสูตร
๑๑. จีวรสูตร ๑๒. ปรัมมรณสูตร
๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖.ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. ทารุณสูตร

๖. ลาภสักการสังยุต

๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

๑. ทารุณสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ
[๑๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภ๑ สักการะ๒ และความสรรเสริญ๓เป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและ
ความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
ทารุณสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๒. พฬิสสูตร

๒. พฬิสสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนเบ็ด
[๑๕๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่น
ยิ่งกว่า เปรียบเหมือนปลาบางตัวเห็นแก่เหยื่อ กลืนกินเบ็ดที่เกี่ยวเหยื่อซึ่งพรานเบ็ด
หย่อนลงในห้วงน้ำลึก มันกลืนกินเบ็ดของพรานเบ็ดอย่างนี้แล้ว ได้รับทุกข์ ถึงความ
พินาศ ถูกพรานเบ็ดทำได้ตามใจปรารถนาฉะนั้น”
คำว่า ‘พรานเบ็ด’ นี้ เป็นชื่อของมารใจบาป คำว่า ‘เบ็ด’ นี้ เป็นชื่อของลาภ
สักการะและความสรรเสริญ ภิกษุบางรูปยินดี พอใจลาภสักการะและความสรรเสริญ
ที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ
ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอย่างนี้
เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและความ
สรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิต
ของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
พฬิสสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๓. กุมมสูตร

๓. กุมมสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนเต่าถูกเชือกมัด
[๑๕๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม เรื่องเคยมีมาแล้ว มีตระกูลเต่าใหญ่อาศัยอยู่ในห้วงน้ำแห่งหนึ่งมานาน
ครั้งหนึ่ง เต่าตัวหนึ่งเข้าไปหาเต่าอีกตัวหนึ่งถึงที่อยู่พูดว่า ‘พ่อเต่า เจ้าอย่าได้ไปยัง
ท้องถิ่นนั้นนะ’
เต่าตัวนั้นได้ไปยังท้องถิ่นนั้นแล้ว ถูกนายพรานยิงด้วยลูกดอก ลำดับนั้นเต่า
ตัวที่ถูกยิงเข้าไปหาเต่าตัวนั้นถึงที่อยู่ เต่าตัวนั้นได้เห็นเต่าตัวที่ถูกยิงกำลังเดินมาแต่ไกล
จึงถามว่า
“พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ไปท้องถิ่นนั้นหรือ”
“พ่อเต่า ฉันได้ไปท้องถิ่นนั้นมาแล้ว”
“พ่อเต่า เจ้าไม่บาดเจ็บ ไม่ถูกทุบตีดอกหรือ”
“ฉันไม่บาดเจ็บ ไม่ถูกทุบตี แต่ฉันมีเชือกเส้นหนึ่งติดหลังมานี้”
เต่าตัวนั้นกล่าวว่า “เอาเถอะพ่อเต่า เจ้าไม่บาดเจ็บ ไม่ถูกทุบตีก็ตามเถิด แต่บิดา
มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้าได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ เพราะเชือกเส้นนี้แหละ
ไปเดี๋ยวนี้ เจ้าไม่ใช่พวกของเราแล้ว”
คำว่า ‘พราน’ นี้ เป็นชื่อของมารใจบาป คำว่า ‘ลูกดอก’ นี้ เป็นชื่อของลาภ
สักการะและความสรรเสริญ คำว่า ‘เชือก’ นี้ เป็นชื่อของนันทิราคะ
ภิกษุบางรูปยินดี พอใจลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ
นี้เราเรียกว่า ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญ
อันเปรียบเหมือนลูกดอก ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
กุมมสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. มีฬหกสูตร

๔. ทีฆโลมิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญ
เปรียบเหมือนแกะขนยาวถูกหนามเกี่ยว
[๑๖๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม เปรียบเหมือนแกะขนยาวเข้าไปสู่พงหนาม มันพึงติด ถูกหนาม
เกี่ยวเกาะ ได้รับทุกข์ถึงความพินาศในที่นั้น ๆ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต เวลาเช้า
ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม เธอติดข้อง
ถูกปัจจัยเกี่ยวเกาะ ได้รับทุกข์ถึงความพินาศในที่นั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
ทีฆโลมิกสูตรที่ ๔ จบ

๕. มีฬหกสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือน
แมลงวันกินคูถ
[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม เปรียบเหมือนแมลงวันกินคูถเต็มท้องและเปื้อนคูถ และข้างหน้าของมัน
ยังมีคูถกองใหญ่ มันยังดูหมิ่นแมลงวันเหล่าอื่นว่า ‘เรากินคูถเต็มท้องและเปื้อนคูถ
เรายังมีคูถกองใหญ่อยู่ข้างหน้าอีก’ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ภิกษุบางรูปใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๖. อสนิสูตร
ธรรมวินัยนี้ ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต เวลาเช้า ครอง
อันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ฉัน(ภัตตาหาร) จนพอ
แก่ความต้องการ และทายกยังนิมนต์ให้ฉันในวันรุ่งขึ้น แม้อาหารของเธอจะเต็ม
บาตร เธอไปอารามแล้ว ยังพูดโอ้อวดท่ามกลางหมู่ภิกษุว่า ‘ผมฉันพอแก่ความ
ต้องการแล้ว ทายกยังนิมนต์ให้ฉันในวันรุ่งขึ้น อาหารของผมก็เต็มบาตร และยังจะ
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอีก ส่วนภิกษุเหล่าอื่น
มีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย จึงไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขาร’ เธอถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต จึงดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่น
ผู้มีศีลเป็นที่รัก การกระทำ ของโมฆบุรุษนั้นเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอด
กาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
มีฬหกสูตรที่ ๕ จบ

๖. อสนิสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนสายฟ้า
[๑๖๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
สายฟ้าผ่าถูกใคร ลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมติดตามพระเสขะ
ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตตผล คำว่า ‘สายฟ้าผ่า’ นี้ เป็นชื่อของลาภสักการะและความ
สรรเสริญ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
อสนิสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๙. เวรัมภสูตร

๗. ทิทธสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนลูกศรอาบยาพิษ
[๑๖๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
บุคคลยิงลูกศรอาบยาพิษถูกใคร ลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมติดตาม
พระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตตผล คำว่า ‘ลูกศร’ นี้ เป็นชื่อของลาภสักการะและความ
สรรเสริญ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
ทิทธสูตรที่ ๗ จบ

๘. สิคาลสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญ
เปรียบเหมือนสุนัขจิ้งจอกเป็นโรคเรื้อน
[๑๖๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
เมื่อเช้าตรู่ เธอทั้งหลายได้เห็นสุนัขจิ้งจอกแก่ที่มาอาศัยอยู่หรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนัขจิ้งจอกแก่นั้นเป็นโรคเรื้อน อยู่ในเรือนว่างก็ไม่ยินดี อยู่ที่โคนไม้ก็ไม่ยินดี
อยู่ในที่แจ้งก็ไม่ยินดี เดิน ยืน นั่ง นอนในที่ใด ๆ ก็เป็นทุกข์ในที่นั้น ๆ ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๙. เวรัมภสูตร
บางรูปในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต
อยู่ในเรือนว่างก็ไม่ยินดี อยู่ที่โคนไม้ก็ไม่ยินดี อยู่ในที่แจ้งก็ไม่ยินดี เดิน ยืน นั่ง
นอนในที่ใด ๆ ก็เป็นทุกข์ในที่นั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
สิคาลสูตรที่ ๘ จบ

๙. เวรัมภสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือน
นกถูกลมบ้าหมูพัด
[๑๖๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
ลมบ้าหมูพัดอยู่บนอากาศ ซัดนกที่กำลังบินอยู่ในอากาศ เมื่อมันถูกลม
บ้าหมูซัด เท้าไปทางหนึ่ง ปีกไปทางหนึ่ง ศีรษะไปทางหนึ่ง ตัวไปทางหนึ่ง ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ
ย่ำยีจิต เวลาเช้า ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม
ไม่รักษากายวาจาจิต ไม่ตั้งสติให้มั่นคง ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคามนุ่งห่ม
ไม่เรียบร้อยในที่นั้น ราคะก็รบกวนจิตของเธอเพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อย
เธอถูกราคะรบกวนจิต จึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ภิกษุพวกหนึ่งนำจีวร
ของเธอไป พวกหนึ่งนำบาตรไป พวกหนึ่งนำผ้านิสีทนะ๑ไป พวกหนึ่งนำกล่องเข็มไป
เปรียบเหมือนนกถูกลมบ้าหมูซัดไปฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
เวรัมภสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต] ๑๐. สคาถกสูตร

๑๐. สคาถกสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญมีอบายเป็นผล
[๑๖๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ ถูกสักการะครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว หลังจากตายแล้ว
ก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อนึ่ง เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ ถูกความเสื่อม
สักการะครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว หลังจากตายแล้วก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
อนึ่ง เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ถูกสักการะและความเสื่อมสักการะทั้งสองอย่าง
ครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว หลังจากตายแล้วก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“สมาธิของภิกษุใด ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท
ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
(๑) ด้วยมีผู้สักการะ (๒) ด้วยไม่มีผู้สักการะ
ภิกษุผู้เข้าฌานมีความเพียรพิจารณาด้วยปัญญาที่สุขุม
ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปาทานนั้น
นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า สัตบุรุษ”๑
สคาถกสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. สุวัณณปาติสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทารุณสูตร ๒. พฬิสสูตร
๓. กุมมสูตร ๔. ทีฆโลมิกสูตร
๕. มีฬหกสูตร ๖. อสนิสูตร
๗. ทิทธสูตร ๘. สิคาลสูตร
๙. เวรัมภสูตร ๑๐. สคาถกสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. สุวัณณปาติสูตร
ว่าด้วยถาดทองคำ
[๑๖๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะถาดทองคำ
เต็มด้วยผงเงินเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ’ ต่อมาเราเห็นเขาถูกลาภสักการะ
และความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
สุวัณณปาติสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๑๐. สุวัณณนิกขสุตตาทิอัฏฐกะ

๒. รูปิยปาติสูตร
ว่าด้วยถาดรูปิยะ
[๑๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะถาดทองคำ
เต็มด้วยผงทองคำเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ’ ต่อมาเราเห็นเขาถูกลาภสักการะ
และความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
รูปิยปาติสูตรที่ ๒ จบ

๓-๑๐. สุวัณณนิกขสุตตาทิอัฏฐกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๘ สูตร มีสูตรว่าด้วยทองคำแท่งเป็นต้น
[๑๖๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า “แม้
เพราะทองคำแท่งเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๓ จบ
๔. “แม้เพราะทองคำ ๑๐๐ แท่งเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๔ จบ
๕. “แม้เพราะทองสิงคีเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐.ชนปทกัลยาณีสูตร
๖. “แม้เพราะทองสิงคี ๑๐๐ แท่งเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๖ จบ
๗. “แม้เพราะแผ่นดินที่เต็มด้วยแร่ทองคำเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๗ จบ
๘. “แม้เพราะเห็นแก่ของกำนัลเพียงเล็กน้อยเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๘ จบ
๙. “แม้เพราะชีวิตเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๙ จบ
๑๐. “แม้เพราะนางงามประจำแคว้นเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ ต่อมา
เราเห็นเขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
ชนปทกัลยาณีสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุวัณณปาติสูตร ๒. รูปิยปาติสูตร
๓. สุวัณณนิกขสูตร ๔. สุวัณณนิกขสตสูตร
๕. สิงคินิกขสูตร ๖. สิงคินิกขสตสูตร
๗. ปฐวิสูตร ๘. อามิสกิญจิกขสูตร
๙. ชีวิตสูตร ๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๒. กัลยาณิสูตร

๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓

๑. มาตุคามสูตร
ว่าด้วยมาตุคาม
[๑๗๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
มาตุคามคนเดียวไม่สามารถครอบงำจิตของภิกษุรูปหนึ่ง แต่ลาภสักการะและ
ความสรรเสริญสามารถครอบงำจิตของภิกษุได้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
มาตุคามสูตรที่ ๑ จบ

๒. กัลยาณิสูตร
ว่าด้วยนางงาม
[๑๗๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
นางงามประจำแคว้นคนเดียวไม่สามารถครอบงำจิตของภิกษุรูปหนึ่ง แต่ลาภ
สักการะและความสรรเสริญสามารถครอบงำจิตของภิกษุได้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
กัลยาณิสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๓. เอกปุตตกสูตร

๓. เอกปุตตกสูตร
ว่าด้วยบุตรคนเดียว
[๑๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อจะวิงวอนบุตรคนเดียวซึ่งเป็นที่น่ารักน่าพอใจโดย
ถูกต้อง พึงวิงวอนว่า ‘ลูกเอ๋ย ขอพ่อจงเป็นเช่นจิตตคหบดี๑ และหัตถกอาฬวก-
อุบาสก๒เถิด’
บรรดาอุบาสกสาวกของเรา คือ จิตตคหบดีและหัตถกอาฬวกอุบาสก เป็นผู้
ชั่งได้วัดได้(นางพึงวิงวอนอีกว่า) ถ้าพ่อออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็ขอให้เป็น
เช่นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด
บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา คือ สารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นผู้ชั่งได้วัดได้
(นางพึงวิงวอนต่อไปว่า) ลูกเอ๋ย ขอลาภสักการะและความสรรเสริญ จงอย่าครอบงำ
เจ้าผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผลเลย ถ้าลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ
ภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ก็ย่อมเป็นอันตรายแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
เอกปุตตกสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๔. เอกธีตสูตร

๔. เอกธีตุสูตร
ว่าด้วยธิดาคนเดียว
[๑๗๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
อุบาสิกาผู้มีศรัทธาเมื่อจะวิงวอนธิดาคนเดียว ซึ่งเป็นที่น่ารักน่าพอใจโดยถูกต้อง
พึงวิงวอนว่า ‘ลูกเอ๋ย ขอเจ้าจงเป็นเช่นนางขุชชุตตราอุบาสิกา๑ และนางนันทมารดา๒
ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะเถิด’
บรรดาอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา คือ ขุชชุตตราอุบาสิกา และนางนันท-
มารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ เป็นผู้ชั่งได้วัดได้(นางพึงวิงวอนอีกว่า) ถ้าแม่ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็ขอให้เป็นเช่นเขมาภิกษุณี๓ และอุบลวรรณาภิกษุณี๔เถิด
บรรดาภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา เขมาภิกษุณีและอุบลวรรณาภิกษุณี เป็นผู้
ชั่งได้วัดได้ (นางพึงวิงวอนต่อไปว่า) ลูกเอ๋ย ขอลาภสักการะและความสรรเสริญ
จงอย่าครอบงำเจ้าผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผลเลย ถ้าลาภสักการะและความ
สรรเสริญครอบงำภิกษุณีผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผลก็ย่อมเป็นอันตรายแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
เอกธีตุสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร

๕. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์
[๑๗๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดคุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่
พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะและประโยชน์
ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
สมณพราหมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒
[๑๗๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง
ฯลฯ (ท่านเหล่านั้น) รู้ชัด ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง
ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๘. ฉวิสูตร

๗. ตติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๓
[๑๗๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดลาภสักการะ
และความสรรเสริญ ความเกิดแห่งลาภสักการะและความสรรเสริญ ความดับแห่ง
ลาภสักการะและความสรรเสริญ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งลาภสักการะและ
ความสรรเสริญ ฯลฯ รู้ชัด ฯลฯ ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”
ตติยสมณพราหมณสูตรที่ ๗ จบ

๘. ฉวิสูตร
ว่าด้วยผิว
[๑๗๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ลาภสักการะ
และความสรรเสริญย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อม
ตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อแล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูก
แล้วก็ตั้งจดเยื่อในกระดูกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
ฉวิสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๑๐. ภิกขุสูตร

๙. รัชชุสูตร
ว่าด้วยเชือก
[๑๗๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ลาภสักการะ
และความสรรเสริญย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อม
ตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อแล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูก
แล้วก็ตั้งจดเยื่อในกระดูกอยู่
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ทรงพลัง เอาเชือกขนหางสัตว์อย่างเหนียวพันแข้ง แล้วสีไป
สีมา เชือกนั้นพึงตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วพึงตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วพึงตัดเนื้อ
ครั้นตัดเนื้อแล้วพึงตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วพึงตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วก็ตั้ง
จดเยื่อในกระดูกอยู่ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ลาภสักการะและความสรรเสริญ
ย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อมตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อ
แล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วก็ตั้งจดเยื่อใน
กระดูกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
รัชชุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ
[๑๗๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอันตราย
แม้แก่ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอันตราย
แก่ภิกษุขีณาสพประเภทไหน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๑๐. ภิกขุสูตร
‘อานนท์ เราไม่กล่าวว่าลาภสักการะและความสรรเสริญ เป็นอันตรายแก่
เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบของภิกษุขีณาสพนั้น แต่เรากล่าวว่าลาภสักการะและความ
สรรเสริญเป็นอันตรายแก่ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันที่ภิกษุขีณาสพผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่นั้น บรรลุแล้ว
อานนท์ ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและ
ความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
ภิกขุสูตรที่ ๑๐ จบ
ตติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มาตุคามสูตร ๒. กัลยาณิสูตร
๓. เอกปุตตกสูตร ๔. เอกธีตุสูตร
๕. สมณพราหมณสูตร ๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร
๗. ตติยสมณพราหมณสูตร ๘. ฉวิสูตร
๙. รัชชุสูตร ๑๐. ภิกขุสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๒. กุสลมูลสูตร

๔. จตุตถวรรค
หมวดที่ ๔

๑. ภินทิสูตร
ว่าด้วยการทำลาย
[๑๘๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ เทวทัต
ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว จึงทำลายสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
ภินทิสูตรที่ ๑ จบ

๒. กุสลมูลสูตร
ว่าด้วยกุศลมูล
[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ
กุศลมูล๑ของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต ถึงความ
ขาดสูญแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
กุศลมูลสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๔. สุกกธัมมสูตร

๓. กุสลธัมมสูตร
ว่าด้วยกุศลธรรม
[๑๘๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ กุศลธรรม
ของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต ถึงความขาดสูญแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
กุสลธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุกกธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมขาว
[๑๘๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ธรรม
ฝ่ายดี (ขาว) ของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต
ถึงความขาดสูญแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
สุกกธัมมสูตรที่ ๔ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น