Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๗-๙ หน้า ๓๖๓ - ๔๐๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗-๙ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพกายสังยุต] ๒.สุจริตสูตร

๑๐. คันธัพพกายสังยุต
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยเทพผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพล้วน ๆ
[๔๓๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ฯลฯ ได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจัก
แสดงเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
เทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ เป็นอย่างไร
คือ เทพทั้งหลายสถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รากก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่
แก่นก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือกก็มี สถิต
อยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ดก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่ดอกก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผลก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รสก็มี สถิตอยู่ที่
ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่นก็มี
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่าเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ”
สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. สุจริตสูตร
ว่าด้วยสุจริต
[๔๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริตทางกาย
วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต] ๓. มูลคันธทาตาสูตร
อายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่
คันธัพพเทพ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้
นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ”
สุจริตสูตรที่ ๒ จบ

๓. มูลคันธทาตาสูตร
ว่าด้วยผู้ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก
[๔๔๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก
มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้
มีกลิ่นที่ราก’ จึงให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วม
กับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก”
มูลคันธทาตาสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต]
๔-๑๒. สารคันธาทิทาตาสุตตนวกะ

๔-๑๒. สารคันธาทิทาตาสุตตนวกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๙ สูตร มีสารคันธทาตาสูตรเป็นต้น
[๔๔๑-๔๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น
ฯลฯ
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส ...
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่แก่น มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้
สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น’ ฯลฯ
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต]
๑๓-๒๒. มูลคันธทานูปการสุตตทสกะ
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส ...
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น’
จึงให้ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น ฯลฯ ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่
เปลือก ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก
... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่รส ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น หลังจาก
ตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น”
สารคันธาทิทาตาสุตตนวกะที่ ๔-๑๒ จบ

๑๓-๒๒. มูลคันธทานูปการสุตตทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตร มีมูลคันธทานูปการสูตรเป็นต้น
[๔๕๐-๔๕๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่ราก มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้ว ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลาย
ผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ...
ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ...
ให้เครื่องประทีป หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลาย
ผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต]
๒๓-๑๑๒. สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก”
มูลคันธทานูปการสุตตทสกะที่ ๑๓-๒๒ จบ

๒๓-๑๑๒. สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๙๐ สูตร มีสารคันธทานูปการสูตรเป็นต้น
[๔๖๐-๕๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น ฯลฯ
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส ...
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น
มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงการอยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่กลิ่น’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม
... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจาก
ตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น”
สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะที่ ๒๓-๑๑๒ จบ
(ด้วยการรวบรวมเข้าเป็นหมวดเดียวกันอย่างนี้ จึงมีพระสูตร ๑๑๒ สูตร)
คันธัพพกายสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. สุจริตสูตร
๓. มูลคันธทาตาสูตร ๔-๑๒. สารคันธาทิทาตาสุตตนวกะ
๑๓-๒๒. มูลคันธทานูปการสุตตทสกะ
๒๓-๑๑๒. สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [ ๑๑. วลาหกสังยุต ] ๒. สุจริตสูตร

๑๑. วลาหกสังยุต
๑. เทสนาสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงเทพพวกวลาหก
[๕๕๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเทพพวกวลาหกแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
เทพพวกวลาหก เป็นอย่างไร
คือ เทพทั้งหลายที่เป็นสีตวลาหกก็มี ที่เป็นอุณหวลาหกก็มี ที่เป็นอัพภ-
วลาหกก็มี ที่เป็นวาตวลาหกก็มี ที่เป็นวัสสวลาหกก็มี
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า เทพพวกวลาหก”
เทสนาสูตรที่ ๑ จบ

๒. สุจริตสูตร
ว่าด้วยสุจริต
[๕๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไร
หนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่เทพพวกวลาหก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่วลาหก มี
อายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต]
๓-๑๒. สีตวลาหกทานูปการสุตตทสกะ
หมู่เทพพวกวลาหก’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้
... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป
หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่เทพ
พวกวลาหก
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่เทพพวกวลาหก”
สุจริตสูตรที่ ๒ จบ

๓-๑๒ สีตวลาหกทานูปการสุตตทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตร มีสีตวลาหกทานูปการสูตรเป็นต้น
[๕๕๒-๕๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกสีตวลาหก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริตทางกาย
วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพพวกสีตวลาหก มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มี
ความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้ว ขอเรา
พึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกสีตวลาหก’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า
... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก
... ให้เครื่องประทีป หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวก
สีตวลาหก
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกสีตวลาหก”
สีตวลาหกทานูปการสุตตทสกะที่ ๓-๑๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต] ๕๓. สีตวลาหกสูตร

๑๓-๕๒. อุณหวลาหกทานูปการสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกอุณหวลาหก
[๕๖๒-๖๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกอุณหวลาหก จะเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับเทพพวกอัพภวลาหก จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวาตวลาหก
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวัสสวลาหก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพพวกวัสสวลาหก มีอายุยืน มีผิว
พรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ หลังจาก
ตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวัสสวลาหก’ จึงให้ข้าว ฯลฯ
ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ...
ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็น
ผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวัสสวลาหก
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวัสสวลาหก”
อุณหวลาหกทานูปการสูตรที่ ๑๓-๕๒ จบ

๕๓. สีตวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกสีตวลาหก
[๖๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความหนาวในกาลบางคราว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต] ๕๕. อัพภวลาหกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกสีตวลาหกมีอยู่ เมื่อใด เทพ
เหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของ
ตนเอง’ เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น ความหนาวจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความหนาวในกาลบางคราว”
สีตวลาหกสูตรที่ ๕๓ จบ

๕๔. อุณหวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกอุณหวลาหก
[๖๐๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความร้อนในกาลบางคราว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกอุณหวลาหกมีอยู่ เมื่อใด
เทพเหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดี
ของตนเอง’ เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น ความร้อนจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความร้อนในกาลบางคราว”
อุณหวลาหกสูตรที่ ๕๔ จบ

๕๕. อัพภวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกอัพภวลาหก
[๖๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีหมอกในกาลบางคราว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต] ๕๗. วัสสวลาหกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกอัพภวลาหกมีอยู่ เมื่อใด
เทพเหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดี
ของตนเอง’ เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น หมอกจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีหมอกในกาลบางคราว”
อัพภวลาหกสูตรที่ ๕๕ จบ

๕๖. วาตวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกวาตวลาหก
[๖๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีลมในกาลบางคราว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกวาตวลาหกมีอยู่ เมื่อใด เทพ
เหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของ
ตนเอง’ เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น ลมจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีลมในกาลบางคราว”
วาตวลาหกสูตรที่ ๕๖ จบ

๕๗. วัสสวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกวัสสวลาหก
[๖๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีฝนในกาลบางคราว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกวัสสวลาหกมีอยู่ เมื่อใด เทพ
เหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของตนเอง’
เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น ฝนจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีฝนในกาลบางคราว”
วัสสวลาหกสูตรที่ ๕๗ จบ
วลาหกสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. เทสนาสูตร ๒. สุจริตสูตร
๓-๑๒. สีตวลาหกทานูปการสุตตทสกะ
๑๓-๕๒. อุณหวลาหกทานูปการสูตร ๕๓. สีตวลาหกสูตร
๕๔. อุณหวลาหกสูตร ๕๕. อัพภวลาหกสูตร
๕๖. วาตวลาหกสูตร ๕๗. วัสสวลาหกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต] ๑. รูปอัญญาณสูตร

๑๒. วัจฉโคตตสังยุต
๑. รูปอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในรูป
[๖๐๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่าง
เหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุดหรือโลกไม่มีที่สุด
ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันหรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกหรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในรูป เพราะความไม่รู้
ในเหตุเกิดแห่งรูป เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งรูป เพราะความไม่รู้ในปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือ
โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
รูปอัญญาณสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๓. สัญญาอัญญาณสูตร

๒. เวทนาอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในเวทนา
[๖๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในเวทนา เพราะความ
ไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งเวทนา เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งเวทนา เพราะความไม่รู้
ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
เวทนาอัญญาณสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัญญาอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในสัญญา
[๖๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๔. สังขารอัญญาณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในสัญญา เพราะความ
ไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งสัญญา เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งสัญญา เพราะความไม่
รู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
สัญญาอัญญาณสูตรที่ ๓ จบ

๔. สังขารอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในสังขาร
[๖๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในสังขาร เพราะความ
ไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งสังขาร เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งสังขาร เพราะความไม่รู้
ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
สังขารอัญญาณสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๖-๑๐. รูปอทัสสนาทิสุตตปัญจกะ

๕. วิญญาณอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในวิญญาณ
[๖๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในวิญญาณ เพราะ
ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งวิญญาณ เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งวิญญาณ เพราะ
ความไม่รู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้น
ในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิด
อีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
วิญญาณอัญญาณสูตรที่ ๕ จบ

๖-๑๐. รูปอทัสสนาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอทัสสนสูตรเป็นต้น
[๖๑๒-๖๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในรูป ฯลฯ เพราะ
ความไม่เห็นในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๑๑-๑๕. รูปอนภิสมยาทิสุตตปัญจกะ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในเวทนา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในสัญญา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในสังขาร ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในวิญญาณ ฯลฯ เพราะความไม่เห็นในปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ฯลฯ
รูปอทัสสนาทิสุตตปัญจกะที่ ๖-๑๐ จบ

๑๑-๑๕. รูปอนภิสมยาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอนภิสมยสูตรเป็นต้น
[๖๑๗-๖๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในรูป ฯลฯ เพราะ
ความไม่รู้แจ้งในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในเวทนา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในสัญญา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในสังขาร ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในวิญญาณ ฯลฯ
รูปอนภิสมยาทิสุตตปัญจกะที่ ๑๑-๑๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๒๑-๒๕. รูปอัปปฏิเวธาทิสุตตปัญจกะ

๑๖-๒๐. รูปอนนุโพธาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอนนุโพธสูตรเป็นต้น
[๖๒๒-๖๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่รู้เท่าทันในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในเวทนา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในสัญญา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในสังขาร ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในวิญญาณ ฯลฯ เพราะความไม่รู้เท่าทันใน
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ฯลฯ
รูปอนนุโพธาทิสุตตปัญจกะที่ ๑๖-๒๐ จบ

๒๑-๒๕. รูปอัปปฏิเวธาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอัปปฏิเวธสูตรเป็นต้น
[๖๒๗-๖๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ
เป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๓๖-๔๐. รูปอัปปัจจุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่แทงตลอดในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่แทงตลอดในวิญญาณ ฯลฯ
รูปอัปปฏิเวธาทิสุตตปัญจกะที่ ๒๑-๒๕ จบ

๒๖-๓๐. รูปอสัลลักขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอสัลลักขณสูตรเป็นต้น
[๖๓๒-๖๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่กำหนดในรูป ฯลฯ เพราะ
ความไม่กำหนดในวิญญาณ ฯลฯ
รูปอสัลลักขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๒๖-๓๐ จบ

๓๑-๓๕. รูปอนุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอนุปลักขณสูตรเป็นต้น
[๖๓๗-๖๔๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เข้าไปกำหนดในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่เข้าไปกำหนดในวิญญาณ ฯลฯ
รูปอนุปลักขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๓๑-๓๕ จบ

๓๖-๔๐. รูปอัปปัจจุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอัปปัจจุปลักขณสูตรเป็นต้น
[๖๔๒-๖๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เข้าไปกำหนดเฉพาะในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่เข้าไปกำหนดเฉพาะในวิญญาณ ฯลฯ
รูปอัปปัจจุปลักขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๓๖-๔๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๕๑-๕๔. รูปอัปปัจจักขกัมมาทิสุตตจตุกกะ

๔๑-๔๕. รูปอสมเปกขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอสมเปกขณสูตรเป็นต้น
[๖๔๗-๖๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เพ่งในรูป ฯลฯ เพราะ
ความไม่เพ่งในวิญญาณ ฯลฯ
รูปอสมเปกขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๔๑-๔๕ จบ

๔๖-๕๐. รูปอัปปัจจุเปกขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอัปปัจจุเปกขณสูตรเป็นต้น
[๖๕๒-๖๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เข้าไปเพ่งเฉพาะในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่เข้าไปเพ่งเฉพาะในวิญญาณ ฯลฯ
รูปอัปปัจจุเปกขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๔๖-๕๐ จบ

๕๑-๕๔. รูปอัปปัจจักขกัมมาทิสุตตจตุกกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๔ สูตร มีรูปอัปปัจจักขกัมมสูตรเป็นต้น
[๖๕๗-๖๖๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ
หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๕๕. วิญญาณอัปปัจจักขกัมมสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในรูป
เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในเหตุเกิดแห่งรูป เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในความ
ดับแห่งรูป เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในเวทนา ฯลฯ เพราะความไม่เห็น
ประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในสัญญา ฯลฯ เพราะความไม่เห็น
ประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในสังขาร ฯลฯ เพราะความไม่เห็น
ประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ฯลฯ
รูปอัปปัจจักขกัมมาทิสุตตจตุกกะที่ ๕๑-๕๔ จบ

๕๕. วิญญาณอัปปัจจักขกัมมสูตร
ว่าด้วยความไม่เห็นประจักษ์ในวิญญาณ
[๖๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในวิญญาณ
เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในเหตุเกิดแห่งวิญญาณ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ใน
ความดับแห่งวิญญาณ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
วิญญาณ ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ
หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุดหรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต
เดียวกันหรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือ
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
วิญญาณอัปปัจจักขกัมมสูตรที่ ๕๕ จบ
(ด้วยการรวบรวมเข้าเป็นหมวดเดียวกันจึงมีพระสูตร ๕๕ สูตร)
วัจฉโคตตสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. รูปอัญญาณสูตร
๒. เวทนาอัญญาณสูตร
๓. สัญญาอัญญาณสูตร
๔. สังขารอัญญาณสูตร
๕. วิญญาณอัญญาณสูตร
๖-๑๐. รูปอทัสสนาทิสุตตปัญจกะ
๑๑-๑๕. รูปอนภิสมยาทิสุตตปัญจกะ
๑๖-๒๐. รูปอนนุโพธาทิสุตตปัญจกะ
๒๑-๒๕. รูปอัปปฏิเวธาทิสุตตปัญจกะ
๒๖-๓๐. รูปอสัลลักขณาทิสุตตปัญจกะ
๓๑-๓๕. รูปอนุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ
๓๖-๔๐. รูปอัปปัจจุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ
๔๑-๔๕. รูปอสมเปกขณาทิสุตตปัญจกะ
๔๖-๕๐. รูปอัปปัจจุเปกขณาทิสุตตปัญจกะ
๕๑-๕๔. รูปอัปปัจจักขกัมมาทิสุตตจตุกกะ
๕๕. วิญญาณอัปปัจจักขกัมมสูตร
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑. สมาธิมูลกสมาปัตติสูตร

๑๓. ฌานสังยุต
๑. สมาธิมูลกสมาปัตติสูตร
ว่าด้วยการเข้าสมาธิอันเป็นมูล
[๖๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ๑ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการเข้าสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการเข้าสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด
เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๒. สมาธิมูลกฐิติสูตร
ในการเข้าสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด
และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาธิมูลกสมาปัตติสูตรที่ ๑ จบ

๒. สมาธิมูลกฐิติสูตร
ว่าด้วยการตั้งอยู่ในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๖๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ๑
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๓. สมาธิมูลกวุฏฐานสูตร
เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาด
ในการตั้งอยู่ในสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน
สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาธิมูลกฐิติสูตรที่ ๒ จบ

๓. สมาธิมูลกวุฏฐานสูตร
ว่าด้วยการออกจากสมาธิอันเป็นมูล
[๖๖๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ๑
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการออกจากสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการออกจากสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ
ยิ่งใหญ่ที่สุด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๔. สมาธิมูลกกัลลิตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาธิมูลกวุฏฐานสูตรที่ ๓ จบ

๔. สมาธิมูลกกัลลิตสูตร
ว่าด้วยความพร้อมในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๖๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ๑
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในความพร้อมในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ
ยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาธิมูลกกัลลิตสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๕. สมาธิมูลกอารัมมณสูตร

๕. สมาธิมูลกอารัมมณสูตร
ว่าด้วยอารมณ์ในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๖๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาธิมูลกอารัมมณสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๖. สมาธิมูลกโคจรสูตร

๖. สมาธิมูลกโคจรสูตร
ว่าด้วยโคจรในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๖๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ๑ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในโคจรในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ฉลาดในโคจรในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาธิมูลกโคจรสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๗. สมาธิมูลกอภินีหารสูตร

๗. สมาธิมูลกอภินีหารสูตร
ว่าด้วยอภินิหารในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ๑
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาธิมูลกอภินีหารสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๙. สมาธิมูลกสาตัจจการีสูตร

๘. สมาธิมูลกสักกัจจการีสูตร
ว่าด้วยผู้ทำโดยเคารพในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๖๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และทำโดยเคารพในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ทำโดยเคารพในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาธิมูลกสักกัจจการีสูตรที่ ๘ จบ

๙. สมาธิมูลกสาตัจจการีสูตร
ว่าด้วยผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๐. สมาธิมูลกสัปปายการีสูตร
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด
และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาธิมูลกสาตัจจการีสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สมาธิมูลกสัปปายการีสูตร
ว่าด้วยผู้ทำสัปปายะในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำสัปปายะในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และทำสัปปายะในสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๑๑. สมาปัตติมูลกฐิติสูตร
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ทำสัปปายะในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาธิมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๑๐ จบ
(สมาธิมูลกะ จบ)

๑๑. สมาปัตติมูลกฐิติสูตร
ว่าด้วยการเข้าและการตั้งอยู่ในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาด
ในการตั้งอยู่ในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกฐิติสูตรที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๓. สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตร

๑๒. สมาปัตติมูลกวุฏฐานสูตร
ว่าด้วยการเข้าและการออกจากสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในการออกจากสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกวุฏฐานสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตร
ว่าด้วยการเข้าและความพร้อมในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๔. สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตร
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔. สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตร
ว่าด้วยการเข้าและอารมณ์ในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่
ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตรที่ ๑๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๖. สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตร

๑๕. สมาปัตติมูลกโคจรสูตร
ว่าด้วยการเข้าและโคจรในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในโคจรในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกโคจรสูตรที่ ๑๕ จบ

๑๖. สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตร
ว่าด้วยการเข้าและอภินิหารในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๗. สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตร
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตรที่ ๑๖ จบ

๑๗. สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตร
ว่าด้วยการเข้าและความเคารพในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ทำโดยเคารพในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ทำโดยเคารพในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตรที่ ๑๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๙. สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตร

๑๘. สมาปัตติมูลกสาตัจจสูตร
ว่าด้วยการเข้าและความเพียรต่อเนื่องในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด
สมาปัตติมูลกสาตัจจสูตรที่ ๑๘ จบ

๑๙. สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตร
ว่าด้วยการเข้าและผู้ทำสัปปายะในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๘๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ทำ
สัปปายะในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำสัปปายะในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการเข้าสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๒๐-๒๗. ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และทำ
สัปปายะในสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้า
สมาธิ และทำสัปปายะในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ
ยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด
เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และทำสัปปายะใน
สมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ
ยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๑๙ จบ
(สมาปัตติมูลกะ จบ)

๒๐-๒๗. ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๘ สูตร มีฐิติมูลกวุฏฐานสูตรเป็นต้น
[๖๘๑-๖๘๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๒๘-๓๔. วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
และฉลาดในการออกจากสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด
ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะที่ ๒๐-๒๗ จบ
(พึงขยายพระสูตรทั้ง ๘ สูตร จนถึงฐิติมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๒๗ ให้เต็ม
เหมือนสูตรต้น ฐิติมูลกะ จบ)

๒๘-๓๔. วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๗ สูตร มีวุฏฐานมูลกกัลลิตสูตรเป็นต้น
[๖๘๙-๖๙๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
และไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
และฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด
วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะที่ ๒๘-๓๔ จบ
(พึงขยายพระสูตรทั้ง ๗ สูตร จนถึงวุฏฐานมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๓๔
ให้เต็มเหมือนสูตรต้น วุฏฐานมูลกะ จบ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๔๑-๔๕. อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะ

๓๕-๔๐. กัลลิตมูลกอารัมมณสุตตาทิฉักกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๖ สูตร มีกัลลิตมูลกอารัมมณสูตรเป็นต้น
[๖๙๖-๗๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่
ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
กัลลิตมูลกอารัมมณสุตตาทิฉักกะที่ ๓๕-๔๐ จบ
(พึงขยายพระสูตรอีก ๖ สูตร จนถึงกัลลิตมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๔๐ ให้
เต็มเหมือนสูตรต้น กัลลิตมูลกะ จบ)

๔๑-๔๕. อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีอารัมมณมูลกโคจรสูตรเป็นต้น
[๗๐๒-๗๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่
ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่
ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๔๖-๔๙. โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
และฉลาดในโคจรในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะที่ ๔๑-๔๕ จบ
(พึงขยายพระสูตรทั้ง ๕ สูตร จนถึงอารัมมณมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๔๕
ให้เต็มเหมือนสูตรต้น ๆ อารัมมณมูลกะ จบ)

๔๖-๔๙. โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๔ สูตร มีโคจรมูลกอภินีหารสูตรเป็นต้น
[๗๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
และไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ และ
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด
เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในโคจรในสมาธิ และฉลาดใน
อภินิหารในสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๕๓-๕๒. อภินีหารมูลกสัสกัจจสุตตาทิติกะ
[๗๐๘] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรสมาธิ แต่ไม่ทำ
โดยเคารพในสมาธิ ฯลฯ พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร
[๗๐๙] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ฯลฯ
[๗๑๐] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ทำ
สัปปายะในสมาธิ ฯลฯ
โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะที่ ๔๖-๔๙ จบ
(โคจรมูลกะ จบ)

๕๐-๕๒. อภินีหารมูลกสักกัจจสุตตาทิติกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๓ สูตร มีอภินีหารมูลกสักกัจจสูตรเป็นต้น
[๗๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
และไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
และทำโดยเคารพในสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๕๓-๕๔. สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะ
ภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ และยิ่งใหญ่
ที่สุด
[๗๑๒] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ฯลฯ
[๗๑๓] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ทำสัปปายะในสมาธิ ฯลฯ
อภินีหารมูลกสักกัจจสุตตาทิติกะที่ ๕๐-๕๒ จบ
(อภินีหารมูลกะ จบ)

๕๓-๕๔. สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๒ สูตร มีสักกัจจมูลกสาตัจจการีสูตรเป็นต้น
[๗๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
แต่ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
และไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิและ
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ สูงสุด
และยิ่งใหญ่ที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๕๕. สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตร
[๗๑๕] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่ทำ
สัปปายะในสมาธิ ฯลฯ
สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะที่ ๕๓-๕๔ จบ

๕๕. สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตร
ว่าด้วยความเพียรต่อเนื่องและผู้ทำสัปปายะในสมาธิอันเป็นมูล
[๗๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
แต่ไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำสัปปายะในสมาธิ แต่ไม่
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
และไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
และทำสัปปายะในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
และทำสัปปายะในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต
เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ และทำ
สัปปายะในสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด
และยิ่งใหญ่ที่สุด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๕๕ จบ
(พึงขยายความพระสูตรทั้ง ๕๕ นี้ให้พิสดาร)
ฌานสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สมาธิมูลกสมาปัตติสูตร ๒. สมาธิมูลกฐิติสูตร
๓. สมาธิมูลกวุฏฐานสูตร ๔. สมาธิมูลกกัลลิตสูตร
๕. สมาธิมูลกอารัมมณสูตร ๖. สมาธิมูลกโคจรสูตร
๗. สมาธิมูลกอภินีหารสูตร ๘. สมาธิมูลกสักกัจจการีสูตร
๙. สมาธิมูลกสาตัจจการีสูตร ๑๐. สมาธิมูลกสัปปายการีสูตร
๑๑. สมาปัตติมูลกฐิติสูตร ๑๒. สมาปัตติมูลกวุฏฐานสูตร
๑๓. สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตร ๑๔. สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตร
๑๕. สมาปัตติมูลกโคจรสูตร ๑๖. สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตร
๑๗. สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตร ๑๘. สมาปัตติมูลกสาตัจจสูตร
๑๙. สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตร
๒๐-๒๗. ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะ
๒๘-๓๔. วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะ
๓๕-๔๐. กัลลิตมูลกอารัมมณสุตตาทิฉักกะ
๔๑-๔๕. อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะ
๔๖-๔๙. โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
รวมสังยุตที่มีในขันธวารวรรค

๕๐-๕๒. อภินีหารมูลกสักกัจจสุตตาทิติกะ
๕๓-๕๔. สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะ
๕๕. สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตร

ขันธวารวรรคที่ ๓ จบ

รวมสังยุตที่มีในขันธวารวรรคนี้ คือ

๑. ขันธสังยุต ๒. ราธสังยุต
๓. ทิฏฐิสังยุต ๔. โอกกันตสังยุต
๕. อุปปาทสังยุต ๖. กิเลสสังยุต
๗. สารีปุตตสังยุต ๘. นาคสังยุต
๙. สุปัณณสังยุต ๑๐. คันธัพพกายสังยุต
๑๑. วลาหกสังยุต ๑๒. วัจฉโคตตสังยุต
๑๓. ฌานสังยุต

ขันธวารวรรคสังยุต จบบริบูรณ์

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น