Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๘-๒ หน้า ๕๖ - ๑๑๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๓. ปฐมสมิทธิมารปัญหาสูตร
ครั้งนั้น ท่านพระมิคชาละชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกขึ้น
จากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ๑แล้วจากไป ต่อมา ท่านพระมิคชาละ
หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก
ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์๓ที่เหล่ากุลบุตรออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” อนึ่ง ท่านพระมิคชาละได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ทุติยมิคชาลสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมสมิทธิมารปัญหาสูตร
ว่าด้วยพระสมิทธิทูลถามปัญหาเรื่องมาร สูตรที่ ๑
[๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘มาร มาร‘๔ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงชื่อว่ามารหรือการบัญญัติว่ามาร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สมิทธิ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้
แจ้งทางจักขุวิญญาณมีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
โสตะ สัททะ โสตวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางโสตวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๕. สมิทธิทุกขปัญหาสูตร
ฆานะ คันธะ ฆานวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางฆานวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางกายวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
สมิทธิ ส่วนจักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณไม่มี
ในที่ใดมารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มีในที่นั้น
โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทาง
ชิวหาวิญญาณไม่มีในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มีในที่นั้น กาย ฯลฯ
มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณไม่มีในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มีในที่นั้น”
ปฐมสมิทธิมารปัญหาสูตรที่ ๓ จบ

๔. สมิทธิสัตตปัญหาสูตร
ด้วยพระสมิทธิทูลถามปัญหาเรื่องสัตว์
[๖๖] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอจึงชื่อว่าสัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์” ฯลฯ
สมิทธิสัตตปัญหาสูตรที่ ๔ จบ

๕. สมิทธิทุกขปัญหาสูตร
ว่าด้วยพระสมิทธิทูลถามปัญหาเรื่องทุกข์
[๖๗] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ทุกข์ ทุกข์’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอจึงชื่อว่าทุกข์หรือการบัญญัติว่าทุกข์” ฯลฯ
สมิทธิทุกขปัญหาสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๗. อุปเสนอาสีวิสสูตร

๖. สมิทธิโลกปัญหาสูตร
ว่าด้วยพระสมิทธิทูลถามปัญหาเรื่องโลก
[๖๘] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘โลก โลก’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอจึงชื่อว่าโลก๑หรือการบัญญัติว่าโลก”
“สมิทธิ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ในที่นั้น ฯลฯ
ชิวหา ฯลฯ มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณ
มีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ในที่นั้น
สมิทธิ ส่วนจักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณไม่มี
ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มีในที่นั้น ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ มโน ธรรมารมณ์
มโนวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณไม่มีในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่า
โลกก็ไม่มีในที่นั้น”
สมิทธิโลกปัญหาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุปเสนอาสีวิสสูตร
ว่าด้วยพระอุปเสนะถูกพิษงู
[๖๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอุปเสนะอยู่ที่เงื้อมเขาชื่อสัปป-
โสณฑิกะ ป่าสีตวัน เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น งูตัวหนึ่งได้หล่นลงมาที่กายของท่าน
พระอุปเสนะ ครั้งนั้น ท่านเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “มาเถิด ท่านทั้งหลาย
ช่วยกันยกกายของกระผมนี้ขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้างนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ย
รายในที่นี้เหมือนกำแกลบ”
เมื่อท่านพระอุปเสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรก็ได้กล่าวกับท่านว่า
“พวกเรายังไม่เห็นกายของท่านอุปเสนะเป็นอย่างอื่นหรืออินทรีย์ของท่านแปรผันไปเลย
เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านอุปเสนะยังพูดว่า ‘มาเถิด ท่านทั้งหลายช่วยกันยกกายของกระผม
นี้ขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้างนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายในที่นี้เหมือนกำแกลบ”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร
ท่านพระอุปเสนะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร ผู้ใดพึงมีความคิดว่า ‘เราเป็นจักขุ’
หรือ ‘จักขุเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นชิวหา’ หรือ ‘ชิวหาเป็นของเรา’ ฯลฯ
‘เราเป็นมโน’ หรือ ‘มโนเป็นของเรา’ ท่านสารีบุตร ความที่กายของผู้นั้นเป็นอย่าง
อื่นหรือความที่อินทรีย์ของผู้นั้นแปรผันพึงมีอย่างแน่นอน กระผมไม่มีความนึกคิด
เลยว่า ‘เราเป็นจักขุ’ หรือ ‘จักขุเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นชิวหา’ หรือ ‘ชิวหา
เป็นของเรา’ ... ‘เราเป็นมโน’ หรือ ‘มโนเป็นของเรา’ ท่านสารีบุตร ความที่กาย
ของกระผมเป็นอย่างอื่นหรือความที่อินทรีย์ของกระผมแปรผัน จักมีได้อย่างไร”
จริงอย่างนั้น ท่านพระอุปเสนะได้ถอนอหังการ๑ มมังการ๒ และมานานุสัย (กิเลส
ที่นอนเนื่องคือความถือตัว) ได้เด็ดขาดนานมาแล้ว ฉะนั้นท่านพระอุปเสนะจึงไม่มี
ความคิดว่า “เราเป็นจักขุ” หรือ “จักขุเป็นของเรา” ฯลฯ “เราเป็นชิวหา” หรือ
“ชิวหาเป็นของเรา” ฯลฯ “เราเป็นมโน” หรือ “มโนเป็นของเรา”
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นได้ยกกายของท่านพระอุปเสนะขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้าง
นอก ขณะนั้น กายของท่านพระอุปเสนะก็เรี่ยรายในที่นั้นเองเหมือนกำแกลบ
อุปเสนอาสีวิสสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะทูลถามธรรมที่พึงเห็นเอง
[๗๐] ครั้งนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘ธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ธรรมเป็นธรรมที่ผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมจึงชื่อว่าเป็น
ธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๓ ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตา
แล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปใน
ภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรูปในภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุเห็นรูป
ทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูป
ในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรูปในภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ
ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วเป็นผู้เสวยรส เสวยความกำหนัดใน
รส และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรสในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรสใน
ภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วเป็นผู้เสวยรส เสวยความกำหนัด
ในรส และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรสในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรสใน
ภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวย
ความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึงความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในซึ่งมีอยู่
ว่า ‘ความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์
ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึง
ความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในธรรมารมณ์ใน
ภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความ
กำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัดใน
รูปในภายในของเราไม่มี’ การที่ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวย
ความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัด
ในรูปในภายในของเราไม่มี’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติ
จะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๙. ปฐมฉผัสสายตนสูตร
อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วเป็นผู้เสวยรส แต่ไม่เสวยความกำหนัด
ในรส และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรสในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัดในรสในภายใน
ของเราไม่มี’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่
ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึงความกำหนัดในธรรมารมณ์ใน
ภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในของเราไม่มี’ การที่ภิกษุ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่เสวยความกำหนัดใน
ธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึงความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความ
กำหนัดในภายในของเราไม่มี’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมอันผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
อุปวาณสันทิฏฐิกสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมฉผัสสายตนสูตร
ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖ ประการ สูตรที่ ๑
[๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปไม่รู้ชัดถึงความ
เกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ๑ ๖ ประการตาม
ความเป็นจริง เธอชื่อว่าประพฤติพรหมจรรย์ยังไม่จบ เป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พินาศย่อยยับแล้วในศาสนานี้ เพราะ
ข้าพระองค์ไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง”
“ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเราหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑๐. ทุติยฉผัสสายตนสูตร
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้จักขุที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง นี้แลคือที่สุดแห่งทุกข์ ฯลฯ เธอพิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา‘หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ชิวหาที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง นี้แลคือที่สุดแห่งทุกข์ ฯลฯ เธอพิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา‘หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้มโนที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง นี้แลคือที่สุดแห่งทุกข์”
ปฐมฉผัสสายตนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยฉผัสสายตนสูตร
ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖ ประการ สูตรที่ ๒
[๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุบางรูปไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง เธอประพฤติ
พรหมจรรย์ยังไม่จบ เป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พินาศย่อยยับแล้วในศาสนานี้ เพราะ
ข้าพระองค์ไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง”
“ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา‘หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑๑. ตติยฉผัสสายตนสูตร
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้จักขุที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง ด้วยการเห็นอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๑ นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้วเพื่อ
ไม่ให้ผัสสายตนะนั้นเกิดอีกต่อไป” ฯลฯ
“เธอพิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา‘หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ชิวหาที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง ด้วยการเห็นอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๔ นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้ว
เพื่อไม่ให้ผัสสายตนะนั้นเกิดอีกต่อไป” ฯลฯ
“เธอพิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา‘หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้มโนที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง ด้วยการเห็นอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๖ นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้วเพื่อ
ไม่ให้ผัสสายตนะนั้นเกิดอีกต่อไป”
ทุติยฉผัสสายตนสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ตติยฉผัสสายตนสูตร
ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖ ประการ สูตรที่ ๓
[๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง เธอประพฤติ
พรหมจรรย์ยังไม่จบ เป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑๑. ตติยฉผัสสายตนสูตร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พินาศย่อยยับแล้วในศาสนานี้ เพราะ
ข้าพระองค์ไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง”
“ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ฯลฯ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้น
แล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ตติยฉผัสสายตนสูตรที่ ๑๑ จบ
มิคชาลวรรคที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมมิคชาลสูตร ๒. ทุติยมิคชาลสูตร
๓. ปฐมสมิทธิมารปัญหาสูตร ๔. สมิทธิสัตตปัญหาสูตร
๕. สมิทธิทุกขปัญหาสูตร ๖. สมิทธิโลกปัญหาสูตร
๗. อุปเสนอาสีวิสสูตร ๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร
๙. ปฐมฉผัสสายตนสูตร ๑๐. ทุติยฉผัสสายตนสูตร
๑๑. ตติยฉผัสสายตนสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๑. ปฐมคิลานสูตร

๓. คิลานวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้อาพาธ
๑. ปฐมคิลานสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อาพาธ สูตรที่ ๑
[๗๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารโน้น
มีภิกษุใหม่รูปหนึ่ง ไม่มีใครรู้จัก อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์โปรด
เสด็จไปเยี่ยมภิกษุนั้นถึงที่อยู่ด้วยเถิด”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสดับว่าภิกษุใหม่เป็นไข้ ทรงทราบว่า “เป็นภิกษุ
ที่ไม่มีใครรู้จัก” จึงเสด็จเข้าไปเยี่ยมภิกษุนั้นถึงที่อยู่ ภิกษุนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมาแต่ไกลจึงลุกขึ้นจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุ
นั้นดังนี้ว่า “อย่าเลยภิกษุ เธออย่าลุกจากเตียงเลย เราจักนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้
นั้น” พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์๑ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามภิกษุนั้น
ว่า “ภิกษุ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบ
ขึ้นหรืออาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของ
ข้าพระองค์กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่
ปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่รำคาญ ทุรนทุรายบ้างหรือ”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๑. ปฐมคิลานสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความจริง ข้าพระองค์รำคาญ ทุรนทุรายมาก
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอติเตียนตนเองโดยศีลได้หรือไม่”
“ข้าพระองค์ติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ถ้าเธอติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรำคาญ
ทุรนทุรายไปทำไม”
“ข้าพระองค์ยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อความหมดจดแห่งศีลเลย
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงเพื่อความหมดจดแห่งศีลแล้ว เมื่อ
เป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไร”
“ข้าพระองค์จะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว เพื่อคลายความ
กำหนัด พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแล้ว ภิกษุ ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อคลาย
ความกำหนัด เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้วล้วนมีความมุ่งหมายเพื่อคลายความ
กำหนัด ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตะ ฯลฯ ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๒. ทุติยคิลานสูตร
“ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นก็มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ ธรรมจักษุ๑อันปราศจากธุลี๒
ปราศจากมลทินได้เกิดแก่ภิกษุนั้นว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”
ปฐมคิลานสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยคิลานสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อาพาธ สูตรที่ ๒
[๗๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารโน้นมีภิกษุใหม่รูปหนึ่ง ไม่มีใครรู้จัก อาพาธ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์โปรด
เสด็จไปเยี่ยมภิกษุนั้นถึงที่อยู่ด้วยเถิด”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสดับว่าภิกษุใหม่เป็นไข้ ทรงทราบว่า “เป็นภิกษุ
ที่ไม่มีใครรู้จัก” จึงเสด็จไปเยี่ยมภิกษุนั้นถึงที่อยู่ ภิกษุนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมาแต่ไกลจึงลุกขึ้นจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุนั้น
ดังนี้ว่า “อย่าเลยภิกษุ เธออย่าลุกจากเตียงเลย เราจักนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้นั้น”
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ
เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ
อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๒. ทุติยคิลานสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ฯลฯ ข้าพระองค์
ติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ถ้าเธอติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรำคาญ
ทุรนทุรายไปทำไม”
“ข้าพระองค์ยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อความหมดจดแห่งศีลเลย
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงเพื่อความหมดจดแห่งศีลแล้ว เมื่อ
เป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไร”
“ข้าพระองค์จะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วเพื่อความดับสนิท
โดยไม่ยึดมั่น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแล้ว ภิกษุ ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความ
ดับสนิทโดยไม่ยึดมั่น เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้วล้วนมีความมุ่งหมายเพื่อความ
ดับสนิทโดยไม่ยึดมั่น ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส
... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๓. ราธอนิจจสูตร
“ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ แม้
ในมโน ฯลฯ แม้ในมโนวิญญาณ ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระ
ผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุนั้นก็หลุดพ้นจาก
อาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
ทุติยคิลานสูตรที่ ๒ จบ

๓. ราธอนิจจสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอนิจจธรรมแก่พระราธะ
[๗๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่
คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปไม่เที่ยง เธอพึงละ
ความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง เธอ
พึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯลฯ ชิวหา ... กาย ... มโนไม่เที่ยง เธอพึงละ
ความพอใจในมโนนั้น ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๕. ราธอนัตตสูตร
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”
ราธอนิจจสูตรที่ ๓ จบ

๔. ราธทุกขสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงทุกขธรรมแก่พระราธะ
[๗๗] “ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละ
ความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เธอ
พึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯลฯ มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ...
มโนสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”
ราธทุกขสูตรที่ ๔ จบ

๕. ราธอนัตตสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตธรรมแก่พระราธะ
[๗๘] “ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๖. ปฐมอวิชชาปหานสูตร
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปเป็นอนัตตา เธอพึง
ละความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ฯลฯ มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็
เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”
ราธอนัตตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมอวิชชาปหานสูตร
ว่าด้วยการละอวิชชา สูตรที่ ๑
[๗๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควรแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละ
อวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น
เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรม
อย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นคืออะไร”
“ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรม
อย่างหนึ่งนั้นคืออวิชชา”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”
“ภิกษุ ภิกษุเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น
เมื่อรู้เห็นรูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๗. ทุติยอวิชชาปหานสูตร
โดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้เห็นมโนโดยความไม่
เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นธรรม ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ
มโนสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึง
เกิดขึ้น
ภิกษุ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”
ปฐมอวิชชาปหานสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยอวิชชาปหานสูตร
ว่าด้วยการละอวิชชา สูตรที่ ๒
[๘๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่ง
ใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่หรือ”
“ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรม
อย่างหนึ่งนั้นมีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรม
อย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นคืออะไร”
“ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่าง
หนึ่งนั้นคืออวิชชา”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”
“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น’ ครั้นเธอได้สดับ
อย่างนี้ว่า ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น’ ก็รู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว
ก็กำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้วก็เห็นนิมิตทั้งปวงโดยอาการ
อื่น เห็นจักขุโดยอาการอื่น เห็นรูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ... เห็น
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๘. สัมพหุลภิกขุสูตร
เป็นปัจจัยโดยอาการอื่น ฯลฯ เห็นมโนโดยอาการอื่น ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ
มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ... เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยอาการอื่น
ภิกษุ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”
ทุติยอวิชชาปหานสูตรที่ ๗ จบ

๘. สัมพหุลภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป
[๘๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกในโลกนี้ถามข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
พวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อต้องการอะไร’ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ถูกถามอย่างนี้จึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้ทุกข์’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ จึงตอบอย่างนี้ ชื่อว่า
พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ
ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าว
ต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้
จึงตอบอย่างนี้ ชื่อว่าพูดตรงตามคำที่เราพูดไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่า
กล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะ
เป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเธอทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเราเพื่อกำหนดรู้
ทุกข์ ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลายว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกข์
ที่พวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อกำหนดรู้นั้นเป็นอย่างไร’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘ผู้มีอายุ จักขุเป็นทุกข์ พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๙. โลกปัญหาสูตร
รู้จักขุที่เป็นทุกข์นั้น รูป ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ พวกเราประพฤติพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น ฯลฯ มโนเป็นทุกข์ ฯลฯ
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลคือทุกข์ พวกเราประพฤติ
พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้”
สัมพหุลภิกขุสูตรที่ ๘ จบ

๙. โลกปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องโลก
[๘๒] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘โลก โลก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงตรัสว่า ‘โลก’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย
ก็อะไรเล่าแตกสลาย
คือ จักขุแตกสลาย รูปแตกสลาย จักขุวิญญาณแตกสลาย จักขุสัมผัสแตก
สลาย แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็แตกสลาย ฯลฯ ชิวหาแตกสลาย ฯลฯ มโนแตกสลาย ฯลฯ
ธรรมารมณ์แตกสลาย ฯลฯ มโนวิญญาณแตกสลาย ฯลฯ มโนสัมผัสแตกสลาย
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็แตกสลาย
ภิกษุ ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย”
โลกปัญหาสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. ผัคคุนปัญหาสูตร
ว่าด้วยพระผัคคุนะทูลถามปัญหา
[๘๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระผัคคุนะ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายในอดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า๑ ผู้ตัดทาง๒ได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว
ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นมีอยู่หรือ
ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ... ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วย
ชิวหาใด ชิวหานั้นมีอยู่หรือ ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายใน
อดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้น
ทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยมโนใด มโนนั้นมีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผัคคุนะ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในอดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้น
ทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นไม่มีเลย ฯลฯ
บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้
แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติ
ด้วยชิวหาใด ชิวหานั้นไม่มีเลย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในอดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้น
ทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยมโนใด มโนนั้นไม่มีเลย”
ผัคคุนปัญหาสูตรที่ ๑๐ จบ
คิลานวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมคิลานสูตร ๒. ทุติยคิลานสูตร
๓. ราธอนิจจสูตร ๔. ราธทุกขสูตร
๕. ราธอนัตตสูตร ๖. ปฐมอวิชชาปหานสูตร
๗. ทุติยอวิชชาปหานสูตร ๘. สัมพหุลภิกขุสูตร
๙. โลกปัญหาสูตร ๑๐. ผัคคุนปัญหาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑. ปโลกธัมมสูตร

๔. ฉันนวรรค
หมวดว่าด้วยพระฉันนะ
๑. ปโลกธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความแตกสลายเป็นธรรมดา
[๘๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า
‘โลก โลก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงตรัสว่า ‘โลก’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ สิ่งใดมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นเราเรียกว่า ‘โลก’ ในอริยวินัย
ก็อะไรเล่าชื่อว่ามีความแตกสลายเป็นธรรมดา
คือ จักขุมีความแตกสลายเป็นธรรมดา รูปมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
จักขุวิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา จักขุสัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา ฯลฯ
ชิวหามีความแตกสลายเป็นธรรมดา รสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ชิวหา-
วิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ชิวหาสัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส
เป็นปัจจัยก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา ฯลฯ
มโนมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความแตกสลายเป็นธรรมดา
มโนวิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา มโนสัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา
อานนท์ สิ่งใดมีความแตกสลายเป็นธรรมดา นี้เราเรียกว่า ‘โลก’ ในอริยวินัย”
ปโลกธัมมสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๓. สังขิตตธัมมสูตร

๒. สุญญตโลกสูตร
ว่าด้วยโลกว่าง
[๘๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
หนอจึงตรัสว่า ‘โลกว่าง’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘โลกว่าง’
ก็อะไรเล่าชื่อว่าว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
คือ จักขุว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา รูปว่างจากอัตตาหรือ
จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุวิญญาณว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
จักขุสัมผัสว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างจาก
อัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
อานนท์ เพราะว่างจากอัตตา หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฉะนั้นเราจึง
เรียกว่า ‘โลกว่าง’
สุญญตโลกสูตรที่ ๒ จบ

๓. สังขิตตธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมโดยย่อ
[๘๖] ท่านพระอานนท์นั่ง ณ ที่สมควร แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คน
เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๓. สังขิตตธัมมสูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือ
ทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๔. ฉันนสูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
สังขิตตธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ฉันนสูตร
ว่าด้วยพระฉันนะ๑
[๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาจุนทะ
และท่านพระฉันนะอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะอาพาธ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ต่อมาในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น๒ แล้วเข้าไปหา
ท่านพระมหาจุนทะถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับท่านพระมหาจุนทะดังนี้ว่า “มาเถิดท่าน
จุนทะ เราเข้าไปถามอาการอาพาธของท่านพระฉันนะกันเถิด” ท่านพระมหาจุนทะ
รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะเข้าไปหาท่านพระฉันนะ
ถึงที่อยู่ นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระฉันนะดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๔. ฉันนสูตร
“ท่านฉันนะ ท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่
กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”๑
ท่านพระฉันนะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการ
ทุเลาไม่ปรากฏ คนที่แข็งแรงใช้เหล็กที่แหลมคมทิ่มแทงศีรษะแม้ฉันใด ลมอันแรง
กล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้มีอายุ กระผมไม่สบาย จะ
เป็นอยู่ไม่ได้ ฯลฯ อาการทุเลาไม่ปรากฏ คนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันที่
ศีรษะแม้ฉันใด ลมอันแรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมก็ฉันนั้นเหมือนกัน กระผม
ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ฯลฯ อาการทุเลาไม่ปรากฏ คนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโค
ผู้ชำนาญใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้องแม้ฉันใด ลมอันแรงกล้าเสียดแทงท้องของกระผม
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ฯลฯ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
คนที่แข็งแรง ๒ คนจับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้างย่างให้ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง
แม้ฉันใด อาการเร่าร้อนในกายของกระผมก็มีมากอย่างยิ่งฉันนั้นเหมือนกัน ผู้มีอายุ
กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนากำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการ
กำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ ท่านสารีบุตร กระผม จักนำศัสตรา๒มา
กระผมไม่อยากมีชีวิตอยู่”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านฉันนะอย่านำศัสตรามา ท่านจงรักษาตัวให้
อยู่ต่อไปเถิด พวกเราอยากให้ท่านรักษาตัวอยู่ต่อไป ถ้าท่านฉันนะไม่มีโภชนะที่
เป็นสัปปายะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีเภสัชที่เป็นสัปปายะ ผมก็
จักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีพวกอุปัฏฐากผู้เหมาะสม ผมจักอุปัฏฐากเอง
ท่านฉันนะอย่านำศัสตรามาเลย ขอท่านฉันนะจงรักษาตัวให้อยู่ต่อไปเถิด พวกเรา
อยากให้ท่านฉันนะรักษาตัวอยู่ต่อไป”
“ท่านสารีบุตร โภชนะที่เป็นสัปปายะของกระผมไม่ใช่ไม่มี โภชนะที่เป็น
สัปปายะของกระผมมีอยู่ เภสัชที่เป็นสัปปายะของกระผมไม่ใช่ไม่มี เภสัชที่เป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๔. ฉันนสูตร
สัปปายะของกระผมมีอยู่ พวกอุปัฏฐากที่เหมาะสมของกระผมไม่ใช่ไม่มี พวก
อุปัฏฐากที่เหมาะสมของกระผมมีอยู่ อีกประการหนึ่ง กระผมก็ปรนนิบัติพระ
ศาสดาด้วยความเต็มใจมาตลอดทีเดียว ไม่ใช่ปรนนิบัติด้วยความไม่เต็มใจ ขอ
ท่านสารีบุตรจงจำข้อความนี้ไว้อย่างนี้เถิดว่า ‘ข้อที่พระสาวกปรนนิบัติพระศาสดา
ด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่ปรนนิบัติด้วยความไม่เต็มใจ นี้เป็นการสมควรแก่พระสาวก
ฉันนภิกษุจักนำศัตรามาจึงไม่ควรถูกติเตียน”
“พวกเราขอถามปัญหาบางข้อกับท่านฉันนะ ถ้าท่านฉันนะจะให้โอกาสตอบ
ปัญหา”
“ท่านสารีบุตร นิมนต์ถามเถิด ผมฟังแล้วจักบอกให้รู้”
“ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่าน
พิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณว่า
‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่านพิจารณาเห็นมโน
มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ”
“ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
กระผมพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ กระผมพิจารณาเห็นมโน
มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
“ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในจักขุ ในจักขุวิญญาณ และใน
ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณจึงพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึง
รู้แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ฯลฯ ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณจึงพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๔. ฉันนสูตร
และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่านฉันนะ ท่านเห็นอะไร รู้อะไรในมโน ในมโนวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณจึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรม
ที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
“ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในจักขุ ในจักขุ-
วิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณจึงพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ
และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในชิวหา
ในชิวหาวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณจึงพิจารณาเห็นชิวหา
ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่
เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นความดับ
รู้ความดับในมโน ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณจึง
พิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่
ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวกับท่านพระ
ฉันนะดังนี้ว่า “ท่านฉันนะ เพราะเหตุนี้แล แม้การเห็นนี้ ก็เป็นคำสอนของพระผู้
มีพระภาคพระองค์นั้น ท่านพึงใส่ใจให้ดีตลอดกาลเป็นนิตย์ บุคคลผู้มีตัณหา มานะ
และทิฏฐิอาศัยอยู่ ย่อมมีความหวั่นไหว บุคคลผู้ไม่มีตัณหา มานะ และทิฏฐิอาศัยอยู่
ย่อมไม่มีความหวั่นไหว เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็มีความสงบ๑ เมื่อมีความสงบ ก็
ไม่มีความน้อมไป๒ เมื่อไม่มีความน้อมไป การมาและการไป๓ก็ไม่มี เมื่อไม่มีการมา
และการไป ความตายและความเกิดก็ไม่มี เมื่อไม่มีความตายและความเกิด โลกนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร
โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์” ครั้นท่าน
พระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้วก็ลุกขึ้น
จากอาสนะแล้วจากไป ต่อมาท่านพระฉันนะก็ได้นำศัสตรามา๑เมื่อท่านทั้งสองจาก
ไปไม่นาน
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ท่านฉันนะได้นำศัสตรามา ท่านมีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพเป็น
อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร ฉันนภิกษุได้บอกว่าจะไม่ถูกติเตียน
ไว้ต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีหมู่บ้านชาววัชชีชื่อปุพพวิชชนะ ในหมู่บ้านนั้น
ตระกูลที่เป็นมิตร ตระกูลที่เป็นสหายเป็นตระกูลที่ท่านฉันนะเข้าไปอาศัยก็มีอยู่”
“สารีบุตร ตระกูลที่เป็นมิตรตระกูลที่เป็นสหายเหล่านั้น เป็นตระกูลที่
ฉันนภิกษุเข้าไปอาศัยมีอยู่ แต่เราไม่กล่าวว่า ‘ฉันนภิกษุมีตระกูลที่ตนพึงเข้าไป
อาศัยด้วยเหตุเพียงเท่านี้’ เธอจงจำข้อความนี้ไว้อย่างนี้เถิดว่า ‘เรากล่าวถึงภิกษุที่
ละกายนี้เข้าถือกายอื่น ว่ามีตระกูลที่ตนพึงเข้าไปอาศัย’ ตระกูลนั้นไม่มีสำหรับ
ฉันนภิกษุ ฉันนภิกษุนำศัสตรามาจึงไม่ควรถูกติเตียน”
ฉันนสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปุณณสูตร
ว่าด้วยพระปุณณะ
[๘๘] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้า
พระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่เถิด”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุณณะ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม
ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อม
เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อมเกิดขึ้น
เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับไป เรากล่าว
ว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้
ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความ
เพลิดเพลินย่อมดับ เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’
ปุณณะ เรากล่าวสอนด้วยโอวาทอย่างย่อนี้ เธอจักอยู่ในชนบทไหน”
ท่านพระปุณณะกราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่
ในชนบทชื่อว่าสุนาปรันตะ”
“ปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเป็นคนดุร้ายนัก พวกมนุษย์ชาว
สุนาปรันตชนบทเป็นคนหยาบคายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า
บริภาษเธอในที่นั้น เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า บริภาษ
ข้าพระองค์ในที่นั้น ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร
เหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเราด้วย
ฝ่ามือ’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต
ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยฝ่ามือ ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยฝ่ามือ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเรา
ด้วยก้อนดิน’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยก้อนดิน ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารข้าพระ
องค์ด้วยก้อนดิน ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหาร
เราด้วยท่อนไม้’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยท่อนไม้ ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหาร
เราด้วยศัสตรา’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยศัสตรา ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยศัสตรา ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ปลงชีวิต
ของเราด้วยศัสตราที่คม’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้
ข้าแต่พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงชีวิตเธอด้วยศัสตราที่คม
ในเรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงชีวิต
ข้าพระองค์ด้วยศัสตราที่คม ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสาวกทั้งหลาย
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นอึดอัด ระอา รังเกียจอยู่ด้วยร่างกายและชีวิต
แสวงหาศัสตราเครื่องปลงชีวิตก็มีอยู่ เราได้ศัสตราเครื่องปลงชีวิตที่ไม่ได้แสวงหา
เลย’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ใน
เรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ปุณณะ เธอประกอบด้วยความข่มใจและความสงบใจ๑นี้จักสามารถ
อยู่ในสุนาปรันตชนบทได้ ปุณณะ เธอรู้เวลาอันสมควรในบัดนี้”
ครั้งนั้น ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุก
ขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ เก็บงำเสนาสนะเรียบร้อยแล้ว
ถือบาตร และจีวรหลีกจาริกไปทางสุนาปรันตชนบท เมื่อจาริกไปโดยลำดับก็ถึง
สุนาปรันตชนบท ได้ยินว่า ท่านพระปุณณะอยู่ที่สุนาปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้น
ระหว่างพรรษานั้นท่านให้ชาวสุนาปรันตชนบทแสดงตนเป็นอุบาสกประมาณ ๕๐๐
คน และอุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ คน ระหว่างพรรษานั้นเหมือนกันท่านได้บรรลุ
วิชชา ๓ และนิพพานแล้ว
ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๖. พาหิยสูตร
ปุณณะที่พระองค์ทรงสั่งสอนด้วยพระโอวาทอย่างย่อนั้นตายไปแล้ว เขามีคติเป็นอย่างไร
มีอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อปุณณะเป็นบัณฑิต
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งไม่เบียดเบียนเราเพราะเหตุแห่งธรรม ภิกษุทั้งหลาย
กุลบุตรชื่อปุณณะปรินิพพานแล้ว”
ปุณณสูตรที่ ๕ จบ

๖. พาหิยสูตร
ว่าด้วยพระพาหิยะ
[๘๙] ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน
วโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์
ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
อยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พาหิยะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๖. พาหิยสูตร
“จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือ
ทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“พาหิยะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกขึ้น
จากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมาท่านพระพาหิยะ
หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก
ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้
ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” อนึ่ง ท่านพระพาหิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
พาหิยสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๗. ปฐมเอชาสูตร

๗. ปฐมเอชาสูตร
ว่าด้วยความหวั่นไหว สูตรที่ ๑
[๙๐] “ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหว๑เป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นหัวฝี ความ
หวั่นไหวเป็นลูกศร เพราะเหตุนั้นแล ตถาคตจึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่
เพราะเหตุนั้นแล ถ้าภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่’
เธอไม่พึงกำหนดหมายจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุ ไม่พึงกำหนดหมาย
เพราะจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายรูป ไม่พึงกำหนดหมายในรูป ไม่พึงกำหนดหมายเพราะรูป
ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘รูปของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายจักขุวิญญาณ ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุวิญญาณ ไม่พึง
กำหนดหมายเพราะจักขุวิญญาณ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุวิญญาณของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายจักขุสัมผัส ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุสัมผัส ไม่พึง
กำหนดหมายเพราะจักขุสัมผัส ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุสัมผัสของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายโสตะ ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายฆานะ ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายในชิวหา ไม่พึงกำหนดหมาย
เพราะชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายรส ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๗. ปฐมเอชาสูตร
ไม่พึงกำหนดหมายชิวหาวิญญาณ ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายชิวหาสัมผัส ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายกาย ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายมโน ไม่พึงกำหนดหมายในมโน ไม่พึงกำหนดหมายเพราะมโน
ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายธรรมารมณ์ ฯลฯ
มโนวิญญาณ ฯลฯ
มโนสัมผัส ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายสิ่งทั้งปวง ไม่พึงกำหนดหมายในสิ่งทั้งปวง ไม่พึงกำหนด
หมายเพราะสิ่งทั้งปวง ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘สิ่งทั้งปวงของเรา’
ภิกษุผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นย่อม
ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัวย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ปฐมเอชาสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๘. ทุติยเอชาสูตร

๘. ทุติยเอชาสูตร
ว่าด้วยความหวั่นไหว สูตรที่ ๒
[๙๑] “ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นหัวฝี ความ
หวั่นไหวเป็นลูกศร เพราะเหตุนั้นแล ตถาคตจึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่
เพราะเหตุนั้นแล ถ้าภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่’
เธอไม่พึงกำหนดหมายจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุ ไม่พึงกำหนดหมาย
เพราะจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายรูป ฯลฯ
จักขุวิญญาณ ฯลฯ
จักขุสัมผัส ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย
นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ
อยู่นั่นเอง ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายในชิวหา ไม่พึงกำหนดหมาย
เพราะชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายรส ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหาสัมผัส ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๘. ทุติยเอชาสูตร
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย
นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ
อยู่นั่นเอง ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายมโน ไม่พึงกำหนดหมายในมโน ไม่พึงกำหนดหมายเพราะมโน
ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายธรรมารมณ์ ฯลฯ
มโนวิญญาณ ฯลฯ
มโนสัมผัส ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย
นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ
อยู่นั่นเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑๐. ทุติยทวยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่พึงกำหนดหมายแม้ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่
ไม่พึงกำหนดหมายในขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่พึงกำหนดหมายเพราะ
ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ขันธ์ ธาตุ และ
อายตนะเท่าที่มีอยู่นั้นของเรา’
บุคคลผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นก็
ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ทุติยเอชาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมทวยสูตร
ว่าด้วยธรรมคู่กัน สูตรที่ ๑
[๙๒] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมคู่กันแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าธรรมคู่กัน
คือ (๑) จักขุกับรูป (๒) โสตะกับสัททะ (๓) ฆานะกับคันธะ (๔) ชิวหากับรส
(๕) กายกับโผฏฐัพพะ (๖) มโนกับธรรมารมณ์
นี้เรียกว่าธรรมคู่กัน
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าจักบอกเลิกธรรมคู่กันนั้น
แล้วบัญญัติธรรมคู่กันอย่างอื่นแทน’ คำพูดของผู้นั้นคงเป็นเพียงคำพูดเท่านั้น
ครั้นถูกถามเข้าก็คงตอบไม่ได้ และพึงถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเขาถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย”
ปฐมทวยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยทวยสูตร
ว่าด้วยธรรมคู่กัน สูตรที่ ๒
[๙๓] “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยธรรมคู่กันวิญญาณจึงเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑๐. ทุติยทวยสูตร
เพราะอาศัยธรรมคู่กัน วิญญาณจึงเกิดขึ้น อย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น จักขุไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น รูปไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ธรรมคู่กันนี้ หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
จักขุวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ก็
จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม ๓ ประการนี้
เรียกว่าจักขุสัมผัส แม้จักขุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย
อาการอื่น ก็จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
บุคคลถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก ถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมคิดได้ ถูกผัสสะ
กระทบแล้วย่อมจำได้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหว และเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิดขึ้น ชิวหาไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น รสไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ธรรมคู่กันนี้ หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ชิวหาวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ก็
ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม ๓ ประการนี้
เรียกว่าชิวหาสัมผัส แม้ชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น ก็ชิวหาสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
บุคคลถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก ถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมคิดได้ ถูก
ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑๐. ทุติยทวยสูตร
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น มโนไม่เที่ยง มี
ความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น ธรรมคู่กันนี้หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น มโนวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้
เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย
อาการอื่น ก็มโนวิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม ๓ ประการนี้
เรียกว่ามโนสัมผัส แม้มโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย
อาการอื่น ก็มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
บุคคลถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก ถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมคิดได้ ถูก
ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยธรรมคู่กันนี้แล วิญญาณจึงเกิดขึ้น”
ทุติยทวยสูตรที่ ๑๐ จบ
ฉันนวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปโลกธัมมสูตร ๒. สุญญตโลกสูตร
๓. สังขิตตธัมมสูตร ๔. ฉันนสูตร
๕. ปุณณสูตร ๖. พาหิยสูตร
๗. ปฐมเอชาสูตร ๘. ทุติยเอชาสูตร
๙. ปฐมทวยสูตร ๑๐. ทุติยทวยสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๑. อทันตอคุตตสูตร

๕. ฉฬวรรค
หมวดว่าด้วยอายตนะ ๖ ประการ
๑. อทันตอคุตตสูตร
ว่าด้วยการไม่ฝึกไม่คุ้มครองอายตนะ
[๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ที่บุคคล
ไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้
ผัสสายตนะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ผัสสายตนะคือจักขุที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว
ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ
๔. ผัสสายตนะคือชิวหาที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว
ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ
๖. ผัสสายตนะคือมโนที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว
ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้
ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แลที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา
ไม่สำรวมแล้วย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้
ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมดีแล้วย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้
ผัสสายตนะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ผัสสายตนะคือจักขุที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมดีแล้ว
ย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ
๔. ผัสสายตนะคือชิวหาที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมดีแล้ว
ย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ
๖. ผัสสายตนะคือมโนที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมดีแล้ว
ย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๑. อทันตอคุตตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แลที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมดีแล้วย่อมนำสุขยิ่งมาให้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖ ประการ
นั่นแลในอายตนะ ๖ ประการใด ย่อมประสบทุกข์
ส่วนบุคคลเหล่าใดได้การสำรวมอายตนะ ๖ ประการนั้น
บุคคลเหล่านั้นมีศรัทธาเป็นเพื่อน เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยราคะอยู่
บุคคลเห็นรูปที่น่าชอบใจหรือเห็นรูปที่ไม่น่าชอบใจแล้ว
พึงบรรเทาทางของราคะในรูปที่น่าชอบใจ
และไม่พึงเสียใจว่า ‘รูปของเราไม่น่ารัก’
ได้ยินเสียงที่น่ารักและไม่น่ารักแล้ว
ไม่พึงกระหายในเสียงที่น่ารัก
และพึงบรรเทาความไม่ชอบใจในเสียงที่ไม่น่ารัก
และไม่พึงเสียใจว่า ‘เสียงของเราไม่น่ารัก’
ได้ดมกลิ่นหอมที่น่าชอบใจ
และได้ดมกลิ่นเหม็นที่ไม่น่าชอบใจแล้ว
พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ
และไม่พึงพอใจในกลิ่นที่น่าชอบใจ
ได้ลิ้มรสที่ไม่อร่อยและอร่อย
และลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราวแล้ว
ไม่พึงติดใจลิ้มรสที่อร่อย
และไม่ควรยินร้ายในรสที่ไม่อร่อย
ถูกผัสสะที่เป็นสุขกระทบแล้วไม่พึงมัวเมา
แม้ถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบแล้วก็ไม่พึงหวั่นไหว
ควรวางเฉยผัสสะทั้งสองทั้งที่เป็นสุขและเป็นทุกข์
ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้ายกับผัสสะอะไร ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร
นรชนทั้งหลายผู้ต่ำทราม
มีปปัญจสัญญา (ความหมายรู้ในกิเลสเครื่องเนิ่นช้า)
ปรุงแต่งอยู่ เป็นสัตว์ที่มีสัญญา วนเวียนอยู่
ก็บุคคลบรรเทาใจที่อาศัยเรือน๑ ๕ ทั้งปวงแล้ว
ย่อมเปลี่ยนจิตให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ
ในกาลใดที่บุคคลอบรมใจดีแล้ว
ในอารมณ์ ๖ ประการอย่างนี้
ในกาลนั้นจิตของเขาถูกสุขสัมผัสหรือทุกขสัมผัสกระทบแล้ว
ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหน ๆ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายครอบงำราคะและโทสะได้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ถึงจุดจบ๒แห่งความเกิดและความตาย”
อทันตอคุตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. มาลุกยปุตตสูตร
ว่าด้วยพระมาลุกยบุตร
[๙๕] ครั้งนั้น ท่านพระมาลุกยบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้า
พระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุกยบุตร ในการขอโอวาทของเธอนี้ ในบัดนี้
เราจักบอกพวกภิกษุหนุ่มอย่างไรว่าเธอเป็นภิกษุผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาล
มามาก ผ่านวัยมามาก ขอโอวาทโดยย่อ”
ท่านพระมาลุกยบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็น
ผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามากก็จริง ถึงกระนั้น
ขอพระผู้มีพระภาคผู้สุคตโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อเถิด ทำอย่างไร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร
ข้าพระองค์พึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค พึงเป็นผู้สืบต่อ
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค”
“มาลุกยบุตร เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตาเหล่าใด
เธอไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็นแล้ว ย่อมไม่เห็น (ทั้งการกำหนด) ว่า ‘เราพึงเห็น’ ก็ไม่
มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่ในรูปเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเหล่าใด เธอไม่ได้ฟัง ไม่เคยฟังแล้ว ย่อมไม่ฟัง ทั้งการ
กำหนดว่า ‘เราพึงฟัง’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่ใน
เสียงเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเหล่าใด เธอไม่ได้ดม ไม่เคยดมแล้ว ย่อมไม่ดม
ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงดม’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือ
รักใคร่ในกลิ่นเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเหล่าใด เธอไม่ได้ลิ้ม ไม่เคยลิ้มแล้ว ย่อมไม่ลิ้ม ทั้งการ
กำหนดว่า ‘เราพึงลิ้ม’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่
ในรสเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายเหล่าใด เธอไม่ได้ถูกต้อง ไม่เคยถูกต้อง ย่อม
ไม่ถูกต้อง ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงถูกต้อง’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ
กำหนัด หรือรักใคร่ในโผฏฐัพพะเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเหล่าใด เธอไม่ได้รู้แจ้งไม่เคยรู้แจ้งแล้ว ย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร
ไม่รู้แจ้ง ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงรู้แจ้ง’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ
กำหนัด หรือรักใคร่ในธรรมารมณ์เหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“มาลุกยบุตร บรรดาธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เธอเห็น เสียงที่เธอฟัง
อารมณ์ที่เธอทราบ และธรรมที่เธอพึงรู้แจ้ง ในรูปที่เห็นจักเป็นเพียงสักว่าเห็น
ในเสียงที่ฟังจักเป็นเพียงสักว่าฟัง ในอารมณ์ที่ทราบจักเป็นเพียงสักว่าทราบ ใน
ธรรมที่รู้แจ้งจักเป็นเพียงสักว่ารู้แจ้ง
เมื่อใดบรรดาธรรมทั้งหลาย คือ รูปที่เธอเห็น เสียงที่เธอฟัง อารมณ์ที่เธอ
ทราบ และธรรมที่เธอพึงรู้แจ้ง ในรูปที่เห็นจักเป็นเพียงสักว่าเห็น ในเสียงที่ฟังจัก
เป็นเพียงสักว่าฟัง ในอารมณ์ที่ทราบจักเป็นเพียงสักว่าทราบ ในธรรมที่รู้แจ้งจัก
เป็นเพียงสักว่ารู้แจ้ง เมื่อนั้นเธอจักไม่ถูกสิ่งนั้นครอบงำ
เมื่อใดเธอจักไม่ถูกสิ่งนั้นครอบงำ เมื่อนั้นเธอจักไม่พัวพันในสิ่งนั้น
เมื่อใดเธอจักไม่พัวพันในสิ่งนั้น เมื่อนั้นเธอจักไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น
ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงแล้วอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้ว่า
‘เพราะเห็นรูปจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากรูปจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร
เพราะฟังเสียงจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากเสียงจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
เพราะดมกลิ่นจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากกลิ่นจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
เพราะลิ้มรสจึงหลงลืมสติ
บุคคลเมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากรสจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากโผฏฐัพพะจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร
เพราะรู้ธรรมารมณ์จึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากธรรมารมณ์จำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
บุคคลนั้นเห็นรูปแล้วมีสติไม่กำหนัดในรูป
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาก็เป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้นฟังเสียงแล้วมีสติไม่กำหนัดในเสียง
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาฟังเสียงและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้นดมกลิ่นแล้วมีสติไม่กำหนัดในกลิ่น
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร
บุคคลนั้นลิ้มรสแล้วมีสติไม่กำหนัดในรส
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ฯลฯ
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้นถูกต้องผัสสะแล้วมีสติไม่กำหนัดในผัสสะ
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาถูกต้องผัสสะและเสวยเวทนาอยู่ ฯลฯ
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว
มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขารู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้วอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ มาลุกยบุตร ดีแล้วที่เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่เราแสดง
แล้วอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้ว่า
‘เพราะเห็นรูปจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากรูปจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
เรากล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน ฯลฯ
บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว
มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขารู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
เรากล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน’
มาลุกยบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างย่อโดย
พิสดารอย่างนี้เถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระมาลุกยบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุก
ขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ท่านพระ
มาลุกยบุตรก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่า
กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระมาลุกยบุตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
มาลุกยปุตตสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๓. ปริหานธัมมสูตร

๓. ปริหานธัมมสูตร
ว่าด้วยปริหานธรรม
[๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริหานธรรม๑ อปริหานธรรม และ
อภิภายตนะ ๖ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ปริหานธรรม เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่ ไม่ละ
ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า ‘เรา
กำลังเสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่
ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า
‘เรากำลังเสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม’
ปริหานธรรมเป็นอย่างนี้แล
อปริหานธรรม เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่ ละ
บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า ‘เราไม่เสื่อม
จากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้น อาศัยอยู่
ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุ พึงทราบว่า ‘เราไม่
เสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม’
อปริหานธรรมเป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๔. ปมาทวิหารีสูตร
อภิภายตนะ ๖ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ย่อมไม่เกิดขึ้น
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า
‘อายตนะนี้เราครอบงำได้แล้ว นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า
‘อายตนะนี้เราครอบงำได้แล้ว นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ’
ภิกษุทั้งหลาย อายตนะเหล่านี้ เราเรียกว่า อภิภายตนะ ๖ ประการ”
ปริหานธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปมาทวิหารีสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท
[๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภิกษุผู้อยู่ด้วยความ
ประมาทและภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง
ทางตา เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ (ความบันเทิงใจ) ก็ไม่มี เมื่อไม่มีปราโมทย์
ปีติ (ความอิ่มใจ) ก็ไม่มี เมื่อไม่มีปีติ ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) ก็ไม่มี เมื่อ
ไม่มีปัสสัทธิ ภิกษุนั้นย่อมอยู่ลำบาก จิตของเธอผู้อยู่ลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิต
ไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลาย๑ก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ เธอย่อม
นับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’ แท้จริง ฯลฯ
เมื่อภิกษุไม่สำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตย่อมซ่านไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งทาง
ลิ้น เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ฯลฯ เธอย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’
แท้จริง ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๕. สังวรสูตร
เมื่อภิกษุไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมซ่านไปในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
ทางใจ เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี เมื่อไม่มีปราโมทย์ ปีติก็ไม่มี
เมื่อไม่มีปีติ ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อไม่มีปัสสัทธิ เธอย่อมอยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้
อยู่ลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรม
ทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’ แท้จริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาทเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุสำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง
ทางตา เมื่อเธอมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด
เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบ ย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบาย
ย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ
เธอย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง ฯลฯ
เมื่อภิกษุสำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไป ฯลฯ เธอย่อมนับว่า
‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง ฯลฯ
เมื่อภิกษุสำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไปในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ
เมื่อเธอมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อเกิด
ปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ เธอย่อมนับว่า
‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทเป็นอย่างนี้แล”
ปมาทวิหารีสูตรที่ ๔ จบ

๕. สังวรสูตร
ว่าด้วยความสำรวม
[๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสำรวมและไม่สำรวมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๕. สังวรสูตร
ความไม่สำรวม เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ ข้อนี้
ภิกษุพึงทราบว่า ‘เรากำลังเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นความเสื่อม’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณ ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ ข้อนี้ภิกษุพึงทราบว่า ‘เรากำลังเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม’
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สำรวมเป็นอย่างนี้แล
ความสำรวม เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ ข้อนี้
ภิกษุพึงทราบว่า ‘เราไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นความไม่เสื่อม’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ ข้อนี้ภิกษุพึงทราบว่า ‘เราไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย นี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม’
ภิกษุทั้งหลาย ความสำรวมเป็นอย่างนี้แล”
สังวรสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๗. ปฏิสัลลานสูตร

๖. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ
[๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นย่อม
รู้ชัดตามความเป็นจริง รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง คือ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูป
ไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุวิญญาณไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘จักขุสัมผัสไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘มโนไม่เที่ยง’ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโน-
วิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริง”
สมาธิสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยการหลีกเร้น
[๑๐๐] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายหลีกเร้นแล้ว จงประกอบความเพียรเถิด
ภิกษุผู้หลีกเร้นแล้วย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง คือ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่
เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุวิญญาณไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘จักขุสัมผัสไม่เที่ยง’ ฯลฯ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น