Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๘-๔ หน้า ๑๖๖ - ๒๒๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๑๐. เวรหัญจานิสูตร
แม้ครั้งที่ ๒ มาณพนั้นผู้ที่พระอุทายีชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา
ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปหาพราหมณีเวรหัญจานิโคตรถึงที่อยู่แล้ว ได้กล่าวกับ
เวรหัญจานิโคตรดังนี้ว่า
“ขอแม่เจ้าผู้เจริญโปรดทราบ พระอุทายีแสดงธรรม มีความงามในเบื้องต้น
มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน”
พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า “พ่อมาณพ ก็เธอกล่าวถึงคุณของพระ
อุทายีอย่างนี้ ส่วนพระอุทายีพอเรากล่าวว่า ‘ท่านจงกล่าวธรรมสิ’ ก็กล่าวว่า
‘ยังมีเวลา น้องหญิง’ แล้วลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป”
มาณพนั้นกล่าวว่า “ข้าแต่แม่เจ้า ที่เป็นอย่างนั้น ก็เพราะว่าแม่เจ้าสวม
รองเท้า นั่งคลุมศีรษะบนอาสนะสูง ทั้งได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านจงกล่าวสมณธรรมสิ’
ความจริงท่านผู้เจริญเหล่านั้นเป็นผู้หนักในธรรม เคารพในธรรม”
พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า “พ่อมาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนิมนต์
พระอุทายีตามคำของฉันเพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้”
มาณพนั้นรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้กราบเรียนท่านพระ
อุทายีดังนี้ว่า “นัยว่า ขอท่านพระอุทายี โปรดรับภัตตาหารของนางพราหมณี
เวรหัญจานิโคตรผู้เป็นภรรยาของอาจารย์ของพวกกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด”
ท่านพระอุทายีรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณีเวรหัญจานิโคตร นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น พราหมณีเวรหัญจานิโคตรได้นำของขบฉันอันประณีตประเคนท่าน
พระอุทายีให้อิ่มหนำด้วยตนเอง เมื่อท่านพระอุทายีฉันเสร็จวางมือจากบาตรแล้วจึง
ถอดรองเท้า นั่งบนอาสนะต่ำ เปิดผ้าคลุมศีรษะแล้วได้เรียนถามท่านพระอุทายี
ดังนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า เมื่อมีอะไร พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อ
ไม่มีอะไร พระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่บัญญัติสุขและทุกข์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ท่านพระอุทายีตอบว่า “น้องหญิง เมื่อมีจักขุ พระอรหันต์ทั้งหลายจึง
บัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อไม่มีจักขุ พระอรหันต์ทั้งหลายก็ไม่บัญญัติสุขและทุกข์ ฯลฯ
เมื่อมีชิวหา พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อไม่มีชิวหา พระ
อรหันต์ทั้งหลายก็ไม่บัญญัติสุขและทุกข์ ฯลฯ
เมื่อมีมโน พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อไม่มีมโน พระ
อรหันต์ทั้งหลายก็ไม่บัญญัติสุขและทุกข์” เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว
พราหมณีเวรหัญจานิโคตรได้กล่าวกับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านผู้เจริญ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระคุณเจ้าอุทายีประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า
‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ดิฉันนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระ
สงฆ์เป็นสรณะ ขอพระคุณเจ้าจงจำดิฉันว่าเป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”
เวรหัญจานิสูตรที่ ๑๐ จบ
คหปติวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้

๑. เวสาลีสูตร ๒. วัชชีสูตร
๓. นาฬันทสูตร ๔. ภารทวาชสูตร
๕. โสณสูตร ๖. โฆสิตสูตร
๗. หาลิททกานิสูตร ๘. นกุลปิตุสูตร
๙. โลหิจจสูตร ๑๐. เวรหัญจานิสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๑. เทวทหสูตร

๔. เทวทหวรรค
หมวดว่าด้วยเทวทหนิคม
๑. เทวทหสูตร
ว่าด้วยเทวทหนิคม
[๑๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เทวทหนิคมของเจ้าศากยะ
ทั้งหลาย แคว้นสักกะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ
อันภิกษุทุกรูปควรทำแท้’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ‘ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
ประการ อันภิกษุทุกรูปไม่ควรทำเลย’
ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน๑โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์๒
หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ‘ความไม่ประมาทใน
ผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นไม่ควรทำ’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความไม่ประมาทภิกษุเหล่านั้นกระทำแล้ว ภิกษุเหล่านั้นไม่ควรประมาท
ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนา
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ๓อันยอดเยี่ยมอยู่ เรากล่าวว่า ‘ความไม่ประมาทใน
ผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่ รูป
เหล่านั้นกระทบแล้วๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่ เพราะไม่ครอบงำจิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๒. ขณสูตร
บุคคลจึงปรารภความเพียร๑ ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่
กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าว
ว่า ‘ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่ รสเหล่านั้น
กระทบแล้ว ๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่ เพราะไม่ครอบงำจิต บุคคลจึง
ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับ
กระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า
‘ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้’ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่
ธรรมารมณ์นั้นกระทบแล้ว ๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่ เพราะไม่ครอบงำจิต
บุคคลจึงปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่
กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า
‘ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้”
เทวทหสูตรที่ ๑ จบ

๒. ขณสูตร
ว่าด้วยขณะ
[๑๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เธอ
ทั้งหลายได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เราเห็นนรก๒ ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ขุม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๒. ขณสูตร
ในนรกทั้ง ๖ ขุมนั้น สัตว์ย่อมเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้เฉพาะ
รูปที่ไม่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าใคร่ ไม่เห็น
รูปที่น่าใคร่ เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจ
ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งทางหูได้ ฯลฯ
ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งทางจมูกได้ ฯลฯ
ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งทางลิ้นได้ ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายได้ ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
ไม่น่าปรารถนา ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่
น่าใคร่ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ไม่รู้
แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ
ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เธอทั้งหลาย
ได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เราได้เห็นสวรรค์๑ ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ชั้นแล้ว
ในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นนั้น บุคคลย่อมเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้
เฉพาะรูปที่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่น่าใคร่ ไม่
เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่ เห็นได้เฉพาะรูปที่น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจ ฯลฯ
ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งทางลิ้นได้ ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
น่าปรารถนา ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
น่าใคร่ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ไม่รู้
แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ
ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เธอทั้งหลาย
ได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์”
ขณสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๓. ปฐมรูปารามสูตร

๓. ปฐมรูปารามสูตร
ว่าด้วยผู้ยินดีในรูป สูตรที่ ๑
[๑๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีในรูป รื่นรมย์
ในรูป เพลิดเพลินในรูป เพราะรูปแปรผัน คลายไป และดับไป เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลายจึงอยู่เป็นทุกข์
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีในสัททะ รื่นรมย์ในสัททะ เพลิดเพลิน
ในสัททะ เพราะสัททะแปรผัน คลายไป และดับไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจึง
อยู่เป็นทุกข์
ยินดีในคันธะ ... ยินดีในรส ... ยินดีในโผฏฐัพพะ ... ยินดีในธรรมารมณ์
รื่นรมย์ในธรรมารมณ์ เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรผัน คลายไป
และดับไป พวกเทวดาและมนุษย์จึงอยู่เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปทั้งหลายตามความเป็นจริง ไม่ยินดีในรูป
ไม่รื่นรมย์ในรูป ไม่เพลิดเพลินในรูป เพราะรูปแปรผัน คลายไป และดับไป
ตถาคตจึงอยู่เป็นสุข
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากสัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... รู้แจ้งความเกิด
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง ไม่
ยินดีในธรรมารมณ์ ไม่รื่นรมย์ในธรรมารมณ์ ไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ เพราะ
ธรรมารมณ์แปรผัน คลายไป และดับไป ตถาคตจึงอยู่เป็นสุข”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“รูป สัททะ คันธะ รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์
ล้วนน่าปรารถนา น่าใคร่ และน่าพอใจ
ที่กล่าวกันว่า มีอยู่ประมาณเท่าใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๓. ปฐมรูปารามสูตร
รูปเป็นต้นเหล่านั้นแลเป็นสิ่งที่ชาวโลก
พร้อมทั้งเทวโลกสมมติว่าเป็นสุข
ถ้ารูปเป็นต้นเหล่านั้นดับในที่ใด
ที่นั้น เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นก็สมมติกันว่าเป็นทุกข์
ส่วนอริยบุคคลทั้งหลายเห็นการดับสักกายะว่าเป็นสุข
การเห็นของอริยบุคคลทั้งหลายผู้เห็นอยู่นี้
ย่อมขัดแย้งกับชาวโลกทั้งปวง
บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นสุข
อริยบุคคลทั้งหลายกล่าวสิ่งนั้นว่าเป็นทุกข์
บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นทุกข์
อริยบุคคลทั้งหลายรู้แจ้งสิ่งนั้นว่าเป็นสุข
เธอจงเห็นธรรมที่รู้ได้ยาก
คนพาลผู้หลง ไม่รู้แจ้งในนิพพานนี้
ความมืดปรากฏแก่บุคคลผู้ถูกนิวรณ์คือกิเลสหุ้มห่อไว้
(เหมือน) ความมืดปรากฏแก่บุคคลผู้ไม่เห็นฉะนั้น
แต่นิพพานย่อมปรากฏแจ่มแจ้งแก่สัตบุรุษ
เหมือนแสงสว่างปรากฏแก่บุคคลผู้เห็นอยู่ฉะนั้น
ชนทั้งหลายผู้แสวงหาทาง ไม่ฉลาดในธรรม
ย่อมไม่รู้แจ้ง (นิพพาน) ที่อยู่ใกล้
บุคคลผู้ถูกความกำหนัดในภพครอบงำ
แล่นไปตามกระแส (ตัณหา) ในภพ
ถูกบ่วงมารคล้องไว้ จะไม่รู้ธรรมนี้ได้ง่าย
เว้นอริยบุคคลทั้งหลายแล้ว ใครเล่าควรจะตรัสรู้บท๑
ที่อริยบุคคลทั้งหลายตรัสรู้ชอบแล้วไม่มีอาสวะปรินิพพาน”
ปฐมรูปารามสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๕. ปฐมนตุมหากสูตร

๔. ทุติยรูปารามสูตร
ว่าด้วยผู้ยินดีในรูป สูตรที่ ๒
[๑๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีในรูป รื่นรมย์
ในรูป เพลิดเพลินในรูป เพราะรูปแปรผัน คลายไป และดับไป เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลายจึงอยู่เป็นทุกข์
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีในสัททะ ฯลฯ ยินดีในคันธะ ... ยินดีใน
รส ... ยินดีในโผฏฐัพพะ .... ยินดีในธรรมารมณ์ รื่นรมย์ในธรรมารมณ์ เพลิดเพลิน
ในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรผัน คลายไป และดับไป เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายจึงอยู่เป็นทุกข์
ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ไม่ยินดีในรูป ไม่รื่นรมย์ในรูป ไม่
เพลิดเพลินในรูป เพราะรูปแปรผัน คลายไป และดับไป ตถาคตจึงอยู่เป็นสุข
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากสัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ ไม่รื่นรมย์ในธรรมารมณ์
ไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรผัน คลายไป และดับไป
ตถาคตจึงอยู่เป็นสุข”
ทุติยรูปารามสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๑
[๑๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น
สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๕. ปฐมนตุมหากสูตร
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
คือ จักขุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุนั้น จักขุที่เธอ
ทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
ชิวหาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละชิวหานั้น ชิวหาที่เธอทั้งหลาย
ละได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
มโนไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนนั้น มโนที่เธอทั้งหลายละได้
แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
เปรียบเหมือนคนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป เผา หรือ
จัดการไปตามเรื่อง เธอทั้งหลายจะพึงมีความคิดอย่างนี้บ้างไหมว่า ‘คนนำเรา
ทั้งหลายไป เผา หรือจัดการไปตามเรื่อง”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะหญ้าเป็นต้นนั้นไม่ใช่อัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้แม้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักขุไม่ใช่ของ
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุนั้น จักขุที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
ชิวหาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละชิวหานั้น ชิวหาที่เธอทั้งหลาย
ละได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
มโนไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนนั้น มโนที่เธอทั้งหลายละได้
แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข”
ปฐมนตุมหากสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๗. อัชฌัตตอนิจจเหตุสูตร

๖. ทุติยนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๒
[๑๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น
สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
คือ รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้น ธรรมารมณ์ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ที่มีอยู่ใน
เชตวันนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้แม้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน รูป
ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจัก
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข”
ทุติยนตุมหากสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัชฌัตตอนิจจเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายในไม่เที่ยง
[๑๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุ
ก็ไม่เที่ยง จักขุที่เกิดจากเหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ฯลฯ
ชิวหาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาก็ไม่เที่ยง ชิวหาที่เกิด
จากเหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ฯลฯ
มโนไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนก็ไม่เที่ยง มโนที่เกิดจาก
เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๙. อัชฌัตตานัตตเหตุสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตอนิจจเหตุสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัชฌัตตทุกขเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายในเป็นทุกข์
[๑๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
จักขุก็เป็นทุกข์ จักขุที่เกิดจากเหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า ฯลฯ
ชิวหาเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาก็เป็นทุกข์ ชิวหาที่
เกิดจากเหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า ฯลฯ
มโนเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนก็เป็นทุกข์ มโนที่เกิดจาก
เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตทุกขเหตุสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัชฌัตตานัตตเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายในเป็นอนัตตา
[๑๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
จักขุก็เป็นอนัตตา จักขุที่เกิดจากเหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า ฯลฯ
ชิวหาเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาก็เป็นอนัตตา ชิวหา
ที่เกิดจากเหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๑๑. พาหิรทุกขเหตุสูตร
มโนเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนก็เป็นอนัตตา มโนที่
เกิดจากเหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตานัตตเหตุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พาหิรานิจจเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายนอกไม่เที่ยง
[๑๔๓] “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูปก็
ไม่เที่ยง รูปที่เกิดจากเหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง แม้
เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็ไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ที่เกิดจากเหตุที่ไม่
เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิรานิจจเหตุสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. พาหิรทุกขเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายนอกเป็นทุกข์
[๑๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูปก็
เป็นทุกข์ รูปที่เกิดจากเหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า
สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ แม้
เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ที่เกิดจากเหตุที่
เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิรทุกขเหตุสูตรที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๒. พาหิรานัตตเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายนอกเป็นอนัตตา
[๑๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
รูปก็เป็นอนัตตา รูปที่เกิดจากเหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า
สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา
แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ที่เกิดจาก
เหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททะ ฯลฯ แม้ในคันธะ ... แม้ในรส ... แม้ในโผฏฐัพพะ ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิรานัตตเหตุสูตรที่ ๑๒ จบ
เทวทหวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เทวทหสูตร ๒. ขณสูตร
๓. ปฐมรูปารามสูตร ๔. ทุติยรูปารามสูตร
๕. ปฐมนตุมหากสูตร ๖. ทุติยนตุมหากสูตร
๗. อัชฌัตตอนิจจเหตุสูตร ๘. อัชฌัตตทุกขเหตุสูตร
๙. อัชฌัตตานัตตเหตุสูตร ๑๐. พาหิรานิจจเหตุสูตร
๑๑. พาหิรทุกขเหตุสูตร ๑๒. พาหิรานัตตเหตุสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๑. กัมมนิโรธสูตร

๕. นวปุราณวรรค
หมวดว่าด้วยกรรมใหม่และกรรมเก่า
๑. กัมมนิโรธสูตร
ว่าด้วยกรรมและความดับกรรม
[๑๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมใหม่และ
กรรมเก่า ความดับกรรม และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
กรรมเก่า เป็นอย่างไร
คือ จักขุ (ตา) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วย
เจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ฯลฯ
ชิวหา (ลิ้น) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนา
เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ฯลฯ
มโน (ใจ) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนา
เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า
กรรมใหม่ เป็นอย่างไร
คือ กรรมที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา ใจ
นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่
ความดับกรรม เป็นอย่างไร
คือ นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ เพราะดับกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมได้
นี้เราเรียกว่า ความดับกรรม
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม อะไรบ้าง
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๒. ปฐมนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม
กรรมเก่าเราได้แสดงแล้ว กรรมใหม่เราได้แสดงแล้ว ความดับกรรมเราได้
แสดงแล้ว และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรมเราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึง
อาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอ
ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ
อย่าประมาท อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง
นี้คือคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”
กัมมนิโรธสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน สูตรที่ ๑
[๑๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นว่า ‘จักขุไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘รูปไม่เที่ยง’ เห็นว่า
‘จักขุวิญญาณไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘จักขุสัมผัสไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
เห็นว่า ‘ชิวหาไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘รสไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง’
เห็นว่า ‘ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๓. ทุติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
เห็นว่า ‘มโนไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘มโนวิญญาณ
ไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘มโนสัมผัสไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานเป็นอย่างนี้แล”
ปฐมนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน สูตรที่ ๒
[๑๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นว่า ‘จักขุเป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘รูปเป็น
ทุกข์’ เห็นว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นทุกข์’ เห็นว่า
‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุ-
สัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์’ ฯลฯ
เห็นว่า ‘ชิวหาเป็นทุกข์’ ฯลฯ เห็นว่า ‘มโนเป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘ธรรมารมณ์
เป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘มโนวิญญาณเป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘มโนสัมผัสเป็นทุกข์’ เห็นว่า
‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานเป็นอย่างนี้แล”
ทุติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๕. จตุตถนิพพาน...สูตร

๔. ตติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน สูตรที่ ๓
[๑๔๙] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นว่า ‘จักขุเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘รูปเป็นอนัตตา’
เห็นว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา’ ฯลฯ
เห็นว่า ‘ชิวหาเป็นอนัตตา’ ฯลฯ เห็นว่า ‘มโนเป็นอนัตตา’ เห็นว่า
‘ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘มโนวิญญาณเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘มโนสัมผัส
เป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานเป็นอย่างนี้แล”
ตติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตรที่ ๔ จบ

๕. จตุตถนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน สูตรที่ ๔
[๑๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๕. จตุตถนิพพาน...สูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานเป็นอย่างนี้แล”
จตุตถนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๖. อันเตวาสิกสูตร

๖. อันเตวาสิกสูตร
ว่าด้วยอันเตวาสิก
[๑๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์นี้ไม่มีอันเตวาสิก๑ ไม่มี
อาจารย์๒ ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย ส่วนภิกษุ
ผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สบาย
ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อม
เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมอยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ภายในของภิกษุนั้น
เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อม
ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึง
เรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอาจารย์’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ธรรมที่เป็นบาปอกุศลย่อมอยู่ภายในของ
ภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียก
ภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ย่อมฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุ
นั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุ
นั้นว่า ‘ผู้มีอาจารย์’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมอยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้น
เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมฟุ้งขึ้น
ท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียก
ภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอาจารย์’
ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๖. อันเตวาสิกสูตร
ส่วนภิกษุผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สบาย เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมไม่
เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น
เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุ
นั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอาจารย์’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อม
ไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น
เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุ
นั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอาจารย์’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นย่อมไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่อยู่ภายใน
ของภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาป
อกุศลย่อมไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น
เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอาจารย์’
ภิกษุผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สบาย เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์นี้ ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์
ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย ภิกษุผู้ไม่มีอันเตวาสิก
ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สบาย”
อันเตวาสิกสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๗. กิมัตถิยพรหมจริยสูตร

๗. กิมัตถิยพรหมจริยสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของการประพฤติพรหมจรรย์
[๑๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายพึงถามเธอทั้งหลาย
ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อ
ต้องการอะไร’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบแก่อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้
ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
กำหนดรู้ทุกข์’
อนึ่ง ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ก็ทุกข์ที่ท่านทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อกำหนดรู้
นั้นเป็นอย่างไร’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบแก่อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย จักขุเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระ
ผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้จักขุที่เป็นทุกข์นั้น
รูปเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนด
รู้รูปที่เป็นทุกข์นั้น
จักขุวิญญาณเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
เพื่อกำหนดรู้จักขุวิญญาณที่เป็นทุกข์นั้น
จักขุสัมผัสเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
กำหนดรู้จักขุสัมผัสที่เป็นทุกข์นั้น
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระ
ภาคเพื่อกำหนดรู้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๘. อัตถินุโขปริยายสูตร
ชิวหาเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
กำหนดรู้ชิวหาที่เป็นทุกข์นั้น ... มโนเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้มโนที่เป็นทุกข์นั้น
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระ
ภาคเพื่อกำหนดรู้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แล คือทุกข์ที่เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระ
ผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบแก่อัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้”
กิมัตถิยพรหมจริยสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัตถินุโขปริยายสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับเหตุ
[๑๕๓] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความ
เชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตาม
แนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่
จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป เหตุนั้นมีอยู่หรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่ง
ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๘. อัตถินุโขปริยายสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จง
ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ
เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล
เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้นมีอยู่
อนึ่ง ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ ฯลฯ เว้นจาก
การเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้นเป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะใน
ภายใน ซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะ ในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัดราคะ โทสะ
และโมหะในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’
ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ
โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ หรือรู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายใน
ซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’
ธรรมเหล่านี้พึงทราบด้วยความเชื่อ พึงทราบด้วยความชอบใจ พึงทราบ
ด้วยการฟังตามกันมา พึงทราบด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล หรือพึงทราบ
ด้วยการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้วได้บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมเหล่านี้ พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ
เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล
เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้น
เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๘. อัตถินุโขปริยายสูตร
อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้ว รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายใน
ซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัดราคะ โทสะ และ
โมหะในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’
ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วจึงรู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ
โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งไม่มีว่า
‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้พึงทราบด้วยความเชื่อ พึงทราบด้วยความชอบใจ
พึงทราบด้วยการฟังตามกันมา พึงทราบด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล หรือพึง
ทราบด้วยการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้วได้บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมเหล่านี้ พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ
เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล
เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้น
เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว รู้ชัดราคะ โทสะ และ
โมหะในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัด
ราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของ
เราไม่มี’
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจจึงรู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งมีอยู่ว่า
‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายใน
ซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๙. อินทริยสัมปันนสูตร
ธรรมเหล่านี้พึงทราบด้วยความเชื่อ พึงทราบด้วยความชอบใจ พึงทราบ
ด้วยการฟังตามกันมา พึงทราบด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล หรือพึงทราบ
ด้วยการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้วได้บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมเหล่านี้ พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ
เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล
เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้น
เป็นอย่างนี้แล”
อัตถินุโขปริยายสูตรที่ ๘ จบ

๙. อินทริยสัมปันนสูตร
ว่าด้วยผู้เพียบพร้อมด้วยอินทรีย์
[๑๕๔] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์
ตรัสว่า ‘ภิกษุเพียบพร้อมด้วยอินทรีย์ ภิกษุเพียบพร้อมด้วยอินทรีย์’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอินทรีย์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “หากภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในจักขุนทรีย์อยู่ ย่อมเบื่อหน่ายในจักขุนทรีย์ ฯลฯ หากภิกษุพิจารณาเห็น
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในชิวหินทรีย์อยู่ ย่อมเบื่อหน่ายในชิวหินทรีย์ ฯลฯ
หากภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในมนินทรีย์อยู่ ย่อมเบื่อหน่าย
ในมนินทรีย์ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๑๐. ธัมมกถิกปุจฉาสูตร
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงเป็นผู้
เพียบพร้อมด้วยอินทรีย์”
อินทริยสัมปันนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ธัมมกถิกปุจฉาสูตร
ว่าด้วยการถามเรื่องพระธรรมกถึก
[๑๕๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ
จึงเป็นธรรมกถึก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักขุ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’
หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักขุ ควร
เรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะ
ความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ ไม่ถือมั่นจักขุ ควรเรียกได้ว่า
‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน’ ฯลฯ
หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหา
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ ฯลฯ
หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับมโน
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับมโน ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ
ไม่ถือมั่นมโน ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”
ธรรมกถิกปุจฉาสูตรที่ ๑๐ จบ
นวปุราณวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัมมนิโรธสูตร ๒. ปฐมนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
๓. ทุติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร ๔. ตติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
๕. จตุตถนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร ๖. อันเตวาสิกสูตร
๗. กิมัตถิยพรหมจริยสูตร ๘. อัตถินุโขปริยายสูตร
๙. อินทริยสัมปันนสูตร ๑๐. ธัมมกถิกปุจฉาสูตร

ตติยปัณณาสก์ในสฬายตนวรรค จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในตติยปัณณาสก์นี้ คือ

๑. โยคักเขมิวรรค ๒. โลกกามคุณวรรค
๓. คหปติวรรค ๔. เทวทหวรรค
๕. นวปุราณวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๒. พาหิรนันทิกขยสูตร

๔. จตุตถปัณณาสก์
๑. นันทิกขยวรรค
หมวดว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลิน
๑. อัชฌัตตนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายใน
[๑๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักขุที่ไม่เที่ยง
นั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เมื่อ
เห็นชอบก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึง
สิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิต
หลุดพ้นดีแล้ว’ ฯลฯ
ภิกษุเห็นชิวหาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของภิกษุนั้นเป็น
สัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ
เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน ฯลฯ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นมโนที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของ
ภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลิน
และราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว”
อัชฌัตตนันทิกขยสูตรที่ ๑ จบ

๒. พาหิรนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายนอก
[๑๕๗] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็น
ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความ
เพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความ
เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๓. อัชฌัตตอนิจจนันทิกขยสูตร
ภิกษุเห็นสัททะ ... คันธะ ... รส .... โผฏฐัพพะ ... ภิกษุเห็นธรรมารมณ์
ที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบ
ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้น
ความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุด
พ้นดีแล้ว”
พาหิรนันทิกขยสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัชฌัตตอนิจจนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายในที่ไม่เที่ยง
[๑๕๘] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการจักขุโดยแยบคาย และจง
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักขุตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการจักขุโดยแยบคาย
และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักขุตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’ ฯลฯ
เธอทั้งหลายจงมนสิการชิวหาโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งชิวหาตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการชิวหาโดยแยบคาย และพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงแห่งชิวหาตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา เพราะสิ้น
ความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้ง
ความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการมโนโดยแยบคาย และจงพิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงแห่งมโนตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการมโนโดยแยบคาย และ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งมโนตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว”
อัชฌัตตอนิจจนันทิกขยสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๕. ชีวกัมพวนสมาธิสูตร

๔. พาหิรอนิจจนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายนอกที่ไม่เที่ยง
[๑๕๙] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการรูปโดยแยบคาย และจง
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการรูปโดยแยบคาย
และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการสัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... เธอทั้งหลาย
จงมนสิการธรรมารมณ์โดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์
ตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการธรรมารมณ์โดยแยบคาย และพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ เพราะ
สิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้น
ทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว”
พาหิรอนิจจนันทิกขยสูตรที่ ๔ จบ

๕. ชีวกัมพวนสมาธิสูตร
ว่าด้วยการเจริญสมาธิในชีวกัมพวัน
[๑๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว (สิ่งทั้งปวง) ย่อมปรากฏตาม
ความเป็นจริง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าปรากฏตามความเป็นจริง
คือ จักขุปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ รูปปรากฏตามความเป็นจริง
ว่า ‘ไม่เที่ยง’ จักขุวิญญาณปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ จักขุสัมผัส
ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า
‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๖. ชีวกัมพวนปฏิสัลลานสูตร
ชิวหาปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
มโนปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ธรรมารมณ์ปรากฏตามความ
เป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใชสุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว (สิ่ง
ทั้งปวง) ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง”
ชีวกัมพวนสมาธิสูตรที่ ๕ จบ

๖. ชีวกัมพวนปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยการหลีกเร้นในชีวกัมพวัน
[๑๖๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นประกอบความเพียรเถิด เมื่อภิกษุหลีกเร้นอยู่ (สิ่งทั้งปวง)ย่อม
ปรากฏตามความเป็นจริง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าปรากฏตามความเป็นจริง
คือ จักขุปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ รูปปรากฏตามความเป็น
จริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ จักขุวิญญาณปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ จักขุสัมผัส
ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า
‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
มโนปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ...
มโนสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นประกอบความเพียรเถิด เมื่อภิกษุ
หลีกเร้นอยู่ (สิ่งทั้งปวง)ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง”
ชีวกัมพวนปฏิสัลลานสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๗. โกฏฐิกอนิจจสูตร

๗. โกฏฐิกอนิจจสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงความไม่เที่ยงแก่พระมหาโกฏฐิกะ
[๑๖๒] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้า
พระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกฏฐิกะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง
คือ จักขุไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในจักขุนั้น รูปไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะ
ในรูปนั้น จักขุวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในจักขุวิญญาณนั้น จักขุสัมผัส
ไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในจักขุสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะ
ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยที่ไม่เที่ยงนั้น ฯลฯ
ชิวหาไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในชิวหานั้น รสไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในรสนั้น
ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในชิวหาวิญญาณนั้น ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง
เธอพึงละฉันทะในชิวหาสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะ
ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส
เป็นปัจจัยที่ไม่เที่ยงนั้น ฯลฯ
มโนไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในมโนนั้น ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอพึงละ
ฉันทะในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในมโนวิญญาณนั้น
มโนสัมผัสไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในมโนสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง เธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๘. โกฏฐิกทุกขสูตร
พึงละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่ไม่เที่ยงนั้น
โกฏฐิกะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”
โกฏฐิกอนิจจสูตรที่ ๗ จบ

๘. โกฏฐิกทุกขสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงความทุกข์แก่พระมหาโกฏฐิกะ
[๑๖๓] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ฯลฯ อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นทุกข์
คือ จักขุเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในจักขุนั้น รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะ
ในรูปนั้น จักขุวิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในจักขุวิญญาณนั้น จักขุสัมผัส
เป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในจักขุสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะ
ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น ฯลฯ
ชิวหาเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในชิวหานั้น ฯลฯ
มโนเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในมโนนั้น ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ เธอพึงละ
ฉันทะในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในมโนวิญญาณนั้น
มโนสัมผัสเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในมโนสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์
เธอพึงละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น
โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”
โกฏฐิกทุกขสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๑๐. มิจฉาทิฏฐิปหานสูตร

๙. โกฏฐิกอนัตตสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตาแก่พระมหาโกฏฐิกะ
[๑๖๔] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
... นั่ง ณ ที่สมควร ฯลฯ อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา
คือ จักขุเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุนั้น รูปเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะ
ในรูปนั้น จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุวิญญาณนั้น จักขุสัมผัส
เป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือ
ทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา เธอพึง
ละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นอนัตตานั้น ฯลฯ
ชิวหาเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในชิวหานั้น ฯลฯ
มโนเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในมโนนั้น ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอพึง
ละฉันทะในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็
เป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นอนัตตานั้น
โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”
โกฏฐิกอนัตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. มิจฉาทิฏฐิปหานสูตร
ว่าด้วยการละมิจฉาทิฏฐิ
[๑๖๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล
เมื่อรู้ เห็นอย่างไร จึงละมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๑๒. อัตตานุทิฏฐิปหานสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นจักขุโดยความไม่เที่ยง จึงละ
มิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นรูปโดยความไม่เที่ยง จึงละมิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นจักขุ-
วิญญาณโดยความไม่เที่ยงจึงละมิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นจักขุสัมผัสโดยความไม่เที่ยง
จึงละมิจฉาทิฏฐิได้ ฯลฯ เมื่อรู้ เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่
สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความไม่เที่ยง จึงละมิจฉาทิฏฐิได้
ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างนี้ จึงละมิจฉาทิฏฐิได้”
มิจฉาทิฏฐิปหานสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. สักกายทิฏฐิปหานสูตร
ว่าด้วยการละสักกายทิฏฐิ
[๑๖๖] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างไร จึงละสักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัว
ของตน) ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นจักขุโดยความเป็นทุกข์ จึง
ละสักกายทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ เมื่อรู้
เห็นจักขุวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นจักขุสัมผัส
โดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ ฯลฯ เมื่อรู้ เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความ
เป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้
ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างนี้ จึงละสักกายทิฏฐิได้”
สักกายทิฏฐิปหานสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. อัตตานุทิฏฐิปหานสูตร
ว่าด้วยการละอัตตานุทิฏฐิ
[๑๖๗] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างไร จึงละอัตตานุทิฏฐิได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นจักขุโดยความเป็นอนัตตา
จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้
เห็นจักขุวิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นจักขุสัมผัส
โดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็น
อนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ ฯลฯ
เมื่อรู้ เห็นชิวหาโดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ ฯลฯ
เมื่อรู้ เห็นมโนโดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็น
ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... เมื่อรู้ เห็นแม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้
ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างนี้ จึงละอัตตานุทิฏฐิได้”
อัตตานุทิฏฐิปหานสูตรที่ ๑๒ จบ
นันทิกขยวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัชฌัตตนันทิกขยสูตร ๒. พาหิรนันทิกขยสูตร
๓. อัชฌัตตอนิจจนันทิกขยสูตร ๔. พาหิรอนิจจนันทิกขยสูตร
๕. ชีวกัมพวนสมาธิสูตร ๖. ชีวกัมพวนปฏิสัลลานสูตร
๗. โกฏฐิกอนิจจสูตร ๘. โกฏฐิกทุกขสูตร
๙. โกฏฐิกอนัตตสูตร ๑๐. มิจฉาทิฏฐิปหานสูตร
๑๑. สักกายทิฏฐิปหานสูตร ๑๒. อัตตานุทิฏฐิปหานสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๒. อัชฌัตตอนิจจราคสูตร

๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยพระสูตรย่อ ๖๐ สูตร
๑. อัชฌัตตอนิจจฉันทสูตร
ว่าด้วยการละฉันทะในอายตนะภายในที่ไม่เที่ยง
[๑๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย
พึงละฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง
คือ จักขุไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในจักขุนั้น ฯลฯ ชิวหาไม่เที่ยง
เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในชิวหานั้น ฯลฯ มโนไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ
ในมโนนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”
อัชฌัตตอนิจจฉันทสูตรที่ ๑ จบ

๒. อัชฌัตตอนิจจราคสูตร
ว่าด้วยการละราคะในอายตนะภายในที่ไม่เที่ยง
[๑๖๙] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง
คือ จักขุไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในจักขุนั้น ฯลฯ ชิวหาไม่เที่ยง
เธอทั้งหลายพึงละราคะในชิวหานั้น ฯลฯ มโนไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะใน
มโนนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้น”
อัชฌัตตอนิจจราคสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๔-๖. ทุกขฉันทาทิสูตร

๓. อัชฌัตตอนิจจฉันทราคสูตร
ว่าด้วยการละฉันทราคะในอายตนะภายในที่ไม่เที่ยง
[๑๗๐] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง
คือ จักขุไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในจักขุนั้น ฯลฯ ชิวหาไม่เที่ยง
เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในชิวหานั้น ฯลฯ มโนไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทราคะในมโนนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น”
อัชฌัตตอนิจจฉันทราคสูตรที่ ๓ จบ

๔-๖. ทุกขฉันทาทิสูตร
ว่าด้วยการละฉันทะเป็นต้นในอายตนะภายในที่เป็นทุกข์
[๑๗๑-๑๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ
พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นทุกข์
คือ จักขุเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
จักขุนั้น ฯลฯ
ชิวหาเป็นทุกข์ ฯลฯ
มโนเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในมโนนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น”
ทุกขฉันทาทิสูตรที่ ๔-๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๑๐-๑๒. พาหิรานิจจฉันทาทิสูตร

๗-๙. อนัตตฉันทาทิสูตร
ว่าด้วยการละฉันทะเป็นต้นในอายตนะภายในที่เป็นอนัตตา
[๑๗๔-๑๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ
พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา
คือ จักขุเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะ
ในจักขุนั้น ฯลฯ
ฆานะเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
ฆานะนั้น
ชิวหาเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
ชิวหานั้น ฯลฯ
มโนเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
มโนนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น”
อนัตตฉันทาทิสูตรที่ ๗-๙ จบ

๑๐-๑๒. พาหิรานิจจฉันทาทิสูตร
ว่าด้วยการละฉันทะเป็นต้นในอายตนะภายนอกที่ไม่เที่ยง
[๑๗๗-๑๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึง
ละราคะ พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง
คือ รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในรูปนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๑๓-๑๕. พาหิรทุกขฉันทาทิสูตร
สัททะไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
สัททะนั้น
คันธะไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
คันธะนั้น
รสไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในรสนั้น
โผฏฐัพพะไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
โผฏฐัพพะนั้น
ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะ
ในธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น”
พาหิรานิจจฉันทาทิสูตรที่ ๑๐-๑๒ จบ

๑๓-๑๕. พาหิรทุกขฉันทาทิสูตร
ว่าด้วยการละฉันทะเป็นต้นในอายตนะภายนอกที่เป็นทุกข์
[๑๘๐-๑๘๒] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ
พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นทุกข์
คือ รูปเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในรูปนั้น
สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ เธอทั้ง
หลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น”
พาหิรทุกขฉันทาทิสูตรที่ ๑๓-๑๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๑๙. อัชฌัตตาตีตานิจจสูตร

๑๖-๑๘. พาหิรานัตตฉันทาทิสูตร
ว่าด้วยการละฉันทะเป็นต้นในอายตนะภายนอกที่เป็นอนัตตา
[๑๘๓-๑๘๕] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ
พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา
คือ รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะ
ในรูปนั้น
สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอ
ทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึง
ละฉันทราคะในสิ่งนั้น”
พาหิรานัตตฉันทาทิสูตรที่ ๑๖-๑๘ จบ

๑๙. อัชฌัตตาตีตานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตไม่เที่ยง
[๑๘๖] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ฯลฯ
ชิวหาที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ฯลฯ
มโนที่เป็นอดีตไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตาตีตานิจจสูตรที่ ๑๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๒๒-๒๔. อัชฌัตตา...ทิสูตร

๒๐. อัชฌัตตานาคตานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง
[๑๘๗] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ ชิวหาที่เป็นอนาคต
ไม่เที่ยง ฯลฯ มโนที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็น
อยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตานาคตานิจจสูตรที่ ๒๐ จบ

๒๑. อัชฌัตตปัจจุปปันนานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง
[๑๘๘] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ฯลฯ ชิวหาที่เป็นปัจจุบัน
ไม่เที่ยง ฯลฯ มโนที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็น
อยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตปัจจุปปันนานิจจสูตรที่ ๒๑ จบ

๒๒-๒๔. อัชฌัตตาตีตาทิทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นทุกข์
[๑๘๙-๑๙๑] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นทุกข์ ฯลฯ ชิวหาที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ฯลฯ
มโนที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตาตีตาทิทุกขสูตรที่ ๒๒-๒๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๓๑-๓๓. พาหิราตีตาทิทุกขสูตร

๒๕-๒๗. อัชฌัตตาตีตาทิอนัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นอนัตตา
[๑๙๒-๑๙๔] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นอนัตตา ฯลฯ ชิวหา ... เป็นอนัตตา ฯลฯ มโนที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต
ที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตาตีตาทิอนัตตสูตรที่ ๒๕-๒๗ จบ

๒๘-๓๐. พาหิราตีตาทิอนิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นต้นไม่เที่ยง
[๑๙๕-๑๙๗] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
ไม่เที่ยง สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ที่
เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิราตีตาทิอนิจจสูตรที่ ๒๘-๓๐ จบ

๓๑-๓๓. พาหิราตีตาทิทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นทุกข์
[๑๙๘-๒๐๐] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นทุกข์ สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต
ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิราตีตาทิทุกขสูตรที่ ๓๑-๓๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๓๗. อัชฌัตตา...ทิสูตร

๓๔-๓๖. พาหิราตีตาทิอนัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นอนัตตา
[๒๐๑-๒๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นอนัตตา สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต
ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิราตีตาทิอนัตตสูตรที่ ๓๔-๓๖ จบ

๓๗. อัชฌัตตาตีตยทนิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตไม่เที่ยง
[๒๐๔] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’ ฯลฯ
ชิวหาที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
มโนที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตาตีตยทนิจจสูตรที่ ๓๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๓๙. อัชฌัตตปัจจุปปันนยทนิจจสูตร

๓๘. อัชฌัตตานาคตยทนิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง
[๒๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น
ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’ ฯลฯ
ชิวหาที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
มโนที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตานาคตยทนิจจสูตรที่ ๓๘ จบ

๓๙. อัชฌัตตปัจจุปปันนยทนิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง
[๒๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น
ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
ชิวหาที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๔๓-๔๕. อัชฌัตตา...ทิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตปัจจุปปันนยทนิจจสูตรที่ ๓๙ จบ

๔๐-๔๒. อัชฌัตตาตีตาทิยังทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นทุกข์
[๒๐๗-๒๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น บุคคลพึง
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
ชิวหา ... เป็นทุกข์ ฯลฯ มโนที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึง
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตาตีตาทิยังทุกขสูตรที่ ๔๐-๔๒ จบ

๔๓-๔๕. อัชฌัตตาตีตาทิยทนัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นอนัตตา
[๒๑๐-๒๑๒] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๔๙-๕๑. พาหิราตีตาทิยังทุกขสูตร
ชิวหา .... เป็นอนัตตา ฯลฯ มโนที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตาตีตาทิยทนัตตสูตรที่ ๔๓-๔๕ จบ

๔๖-๔๘. พาหิราตีตาทิยทนิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นต้นไม่เที่ยง
[๒๑๓-๒๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใด
เป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ที่เป็น
อนาคต ที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิราตีตาทิยทนิจจสูตรที่ ๔๖-๔๘ จบ

๔๙-๕๑. พาหิราตีตาทิยังทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นทุกข์
[๒๑๖-๒๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น บุคคลพึง
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๕๕. อัชฌัตตา...ทิสูตร
สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต
ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น
บุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิราตีตาทิยังทุกขสูตรที่ ๔๙-๕๑ จบ

๕๒-๕๔. พาหิราตีตาทิยทนัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นอนัตตา
[๒๑๙-๒๒๑] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ที่เป็น
อนาคต ที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิราตีตาทิยทนัตตสูตรที่ ๕๒-๕๔ จบ

๕๕. อัชฌัตตายตนอนิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในไม่เที่ยง
[๒๒๒] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุไม่เที่ยง ฯลฯ ชิวหาไม่เที่ยง ฯลฯ มโนไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตายตนอนิจจสูตรที่ ๕๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๕๘. พาหิรายตนอนิจจสูตร

๕๖. อัชฌัตตายตนทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นทุกข์
[๒๒๓] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นทุกข์ ฯลฯ ชิวหาเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์
มโนเป็นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตายตนทุกขสูตรที่ ๕๖ จบ

๕๗. อัชฌัตตายตนอนัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นอนัตตา
[๒๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นอนัตตา ฯลฯ ชิวหาเป็นอนัตตา กายเป็น
อนัตตา มโนเป็นอนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัชฌัตตายตนอนัตตสูตรที่ ๕๗ จบ

๕๘. พาหิรายตนอนิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกไม่เที่ยง
[๒๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง ฯลฯ สัททะ ... คันธะ ... รส ...
โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิรายตนอนิจจสูตรที่ ๕๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๖๐. พาหิรายตนอนัตตสูตร

๕๙. พาหิรายตนทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นทุกข์
[๒๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ ฯลฯ สัททะ ... คันธะ ... รส ...
โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิรายตนทุกขสูตรที่ ๕๙ จบ

๖๐. พาหิรายตนอนัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นอนัตตา
[๒๒๗] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ สัททะ ... คันธะ ... รส ...
โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พาหิรายตนอนัตตสูตรที่ ๖๐ จบ
สัฏฐิเปยยาลวรรคที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัชฌัตตอนิจจฉันทสูตร ๒. อัชฌัตตอนิจจราคสูตร
๓. อัชฌัตตอนิจจฉันทราคสูตร ๔-๖. ทุกขฉันทาทิสูตร
๗-๙. อนัตตฉันทาทิสูตร ๑๐-๑๒. พาหิรานิจจฉันทาทิสูตร
๑๓-๑๕. พาหิรทุกขฉันทาทิสูตร ๑๖-๑๘. พาหิรานัตตฉันทาทิสูตร
๑๙. อัชฌัตตาตีตานิจจสูตร ๒๐. อัชฌัตตานาคตานิจจสูตร
๒๑. อัชฌัตตปัจจุปปันนานิจจสูตร ๒๒-๒๔. อัชฌัตตาตีตาทิทุกขสูตร
๒๕-๒๗. อัชฌัตตาตีตาทิอนัตตสูตร ๒๘-๓๐. พาหิราตีตาทิอนิจจสูตร
๓๑-๓๓. พาหิราตีตาทิทุกขสูตร ๓๔-๓๖. พาหิราตีตาทิอนัตตสูตร
๓๗. อัชฌัตตาตีตยทนิจจสูตร ๓๘. อัชฌัตตานาคตยทนิจจสูตร
๓๙. อัชฌัตตปัจจุปปันนยทนิจจสูตร ๔๐-๔๒. อัชฌัตตาตีตาทิยังทุกขสูตร
๔๓-๔๕. อัชฌัตตาตีตาทิยทนัตตสูตร ๔๖-๔๘. พาหิราตีตาทิยทนิจจสูตร
๔๙-๕๑. พาหิราตีตาทิยังทุกขสูตร ๕๒-๕๔. พาหิราตีตาทิยทนัตตสูตร
๕๕. อัชฌัตตายตนอนิจจสูตร ๕๖. อัชฌัตตายตนทุกขสูตร
๕๗. อัชฌัตตายตนอนัตตสูตร ๕๘. พาหิรายตนอนิจจสูตร
๕๙. พาหิรายตนทุกขสูตร ๖๐. พาหิรายตนอนัตตสูตร

พระสูตร ๖๐ สูตร จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๑. ปฐมสมุททสูตร

๓. สมุททวรรค
หมวดว่าด้วยสมุทร
๑. ปฐมสมุททสูตร
ว่าด้วยสมุทร สูตรที่ ๑
[๒๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน๑ ผู้ไม่ได้สดับ๒ ย่อม
กล่าวว่า ‘สมุทร สมุทร’ นั่นไม่ใช่สมุทรในอริยวินัย นั่นเป็นแอ่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงน้ำ
ใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นสมุทร๓ของบุรุษ กำลังของจักขุนั้นเกิดจากรูป บุรุษใด
อดกลั้นกำลังอันเกิดจากรูปนั้นได้ บุรุษนี้ได้ข้ามสมุทรคือจักขุ ซึ่งมีทั้งคลื่น๔ วังวน๕
สัตว์ร้าย๖ และผีเสื้อน้ำ๗เราเรียกว่า ‘บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่ง๘ดำรงอยู่บนบก’ ฯลฯ
ชิวหาเป็นสมุทรของบุรุษ กำลังของชิวหานั้นเกิดจากรส บุรุษใดอดกลั้นกำลัง
อันเกิดจากรสนั้นได้ บุรุษนี้ได้ข้ามสมุทรคือชิวหา ซึ่งมีทั้งคลื่น วังวน สัตว์ร้าย
และผีเสื้อน้ำ เราเรียกว่า ‘บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก’ ฯลฯ
มโนเป็นสมุทรของบุรุษ กำลังของมโนนั้นเกิดจากธรรมารมณ์ บุรุษใดอดกลั้น
กำลังอันเกิดจากธรรมารมณ์นั้นได้ บุรุษนี้ได้ข้ามสมุทรคือมโนซึ่งมีทั้งคลื่น วังวน
สัตว์ร้าย และผีเสื้อน้ำ เราเรียกว่า ‘บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๒. ทุติยสมุททสูตร
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“บุรุษใดข้ามสมุทรนี้ซึ่งมีทั้งคลื่น สัตว์ร้าย
และผีเสื้อน้ำที่น่ากลัวข้ามได้ยากได้แล้ว
บุรุษนั้นเราเรียกว่า ‘เป็นผู้จบเวท
อยู่จบพรหมจรรย์ ถึงที่สุดแห่งโลก๑ ถึงฝั่งแล้ว”
ปฐมสมุททสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยสมุททสูตร
ว่าด้วยสมุทร สูตรที่ ๒
[๒๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมกล่าวว่า ‘สมุทร สมุทร’
นั่นไม่ใช่สมุทรในอริยวินัย นั่นเป็นแอ่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงน้ำใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ นี้เรียกว่า ‘สมุทรในอริยวินัย’ โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ในสมุทรนี้
โดยมากเป็นผู้เศร้าหมอง ยุ่งเหยิงประดุจด้ายของช่างหูก เป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย
เป็นประดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย ย่อมไม่พ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต๒
และสงสารไปได้ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น...มีอยู่ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๓. พาฬิสิโกปมสูตร
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ นี้เรียกว่า ‘สมุทรในอริยวินัย’ โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ในสมุทรนี้โดย
มากเป็นผู้เศร้าหมอง ยุ่งเหยิงประดุจด้ายของช่างหูก เป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย
เป็นประดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย ย่อมไม่พ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต
และสงสารไปได้
“บุคคลใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว
บุคคลนั้นชื่อว่าข้ามสมุทรนี้ซึ่งมีทั้งคลื่น สัตว์ร้าย
(และ) ผีเสื้อน้ำที่น่ากลัวข้ามได้ยากได้แล้ว
เรากล่าวว่า ‘บุคคลนั้นล่วงพ้นเครื่องข้อง ละมัจจุ
ไม่มีอุปธิ ละทุกข์เพื่อไม่เกิดอีกต่อไป
ถึงความดับ ไม่ถึงการนับ ลวงมัจจุราชให้หลงได้”
ทุติยสมุททสูตรที่ ๒ จบ

๓. พาฬิสิโกปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพรานเบ็ด
[๒๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อลงไปในห้วงน้ำลึก
ปลาตัวใดเห็นแก่เหยื่อกลืนเบ็ดนั้น ปลาตัวนั้นชื่อว่ากลืนเบ็ดของนายพรานเบ็ด
ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ ถูกพรานเบ็ดทำได้ตามใจปรารถนาแม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เบ็ด ๖ ชนิดนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอยู่ในโลกเพื่อความ
วิบัติของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อฆ่าสัตว์ทั้งหลาย
เบ็ด ๖ ชนิด อะไรบ้าง
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้เรา
เรียกว่า ‘ผู้กลืนเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ ถูกมารผู้มีบาปทำได้
ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๔. ขีรรุกโขปมสูตร
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘ผู้กลืนเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ
ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามใจปรารถนา’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้
เราเรียกว่า ‘ผู้ไม่กลืนเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด ไม่ถึงความวิบัติ
ไม่ถึงความพินาศ ไม่ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘ผู้ไม่กลืนเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด
ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ ไม่ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามใจปรารถนา”
พาฬิสิโกปมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ขีรรุกโขปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้มียาง
[๒๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้ง
ทางตามีอยู่ โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่
โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณี
ยังละไม่ได้ ถ้าแม้รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเพียงเล็กน้อยมาปรากฏทางตาของภิกษุหรือ
ภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้ ไม่จำต้องกล่าวถึงรูป
ที่มากกว่านั้นเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น