Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๘-๕ หน้า ๒๒๑ - ๒๗๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘-๕ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๔. ขีรรุกโขปมสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นยังมีอยู่ โทสะนั้นยังมีอยู่ โมหะนั้นยังมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณี
ยังละไม่ได้ ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นมีอยู่ ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่
โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่ โมหะของ
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุ
หรือภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ ถ้าแม้ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเพียงเล็กน้อยมาปรากฏทางใจ
ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้ ไม่จำต้อง
กล่าวถึงธรรมารมณ์ที่มากกว่านั้นเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นยังมีอยู่ โทสะนั้นยังมีอยู่ โมหะนั้นยังมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณี
ยังละไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มียาง จะเป็นต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง
หรือต้นมะเดื่อก็ตาม ยังอ่อน ใหม่ ขนาดเล็ก บุรุษใช้ขวานที่คมฟันต้นไม้นั้นตรง
ที่ใด ๆ ยางจะพึงไหลออกได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะยางนั้นมีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ราคะของภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่ โทสะของภิกษุหรือภิกษุณี
รูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๔. ขีรรุกโขปมสูตร
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ ถ้าแม้รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
เพียงเล็กน้อยมาปรากฏทางตาของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุ
หรือภิกษุณีนั้นได้แท้ ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปที่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นยังมีอยู่ โทสะนั้นยังมีอยู่ โมหะนั้นยังมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณี
ยังละไม่ได้ ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นมีอยู่ ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่
โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่ โมหะ
ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่ ราคะนั้น
ภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ ถ้าแม้ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเพียงเล็กน้อยมาปรากฏทางใจ
ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้ ไม่จำต้อง
กล่าวถึงธรรมารมณ์ที่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นยังมีอยู่ โทสะนั้นยังมีอยู่ โมหะนั้นยังมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณีนั้นยังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี
โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี โมหะของภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้
แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว ถ้าแม้
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาซึ่งมากกว่ามาปรากฏทางตาของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำ
จิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปเพียงเล็กน้อยเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๔. ขีรรุกโขปมสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นไม่มี โทสะนั้นไม่มี โมหะนั้นไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้
แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือของภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้นไม่มี ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี โทสะ
ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี โมหะของ
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี ราคะนั้นภิกษุ
หรือภิกษุณีละได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณีนั้นละได้แล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจซึ่งมากกว่ามาปรากฏทางใจของ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือของภิกษุณีนั้นไม่ได้ ไม่จำต้อง
กล่าวถึงธรรมารมณ์เพียงเล็กน้อยเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นไม่มี โทสะนั้นไม่มี โมหะนั้นไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละ
ได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มียาง จะเป็นต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง
หรือต้นมะเดื่อก็ตาม ซึ่งเป็นไม้แห้ง ผุมา ๓-๔ ปี บุรุษใช้ขวานที่คมฟันต้นไม้นั้น
ตรงที่ใด ๆ ยางจะพึงไหลออกได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะยางนั้นไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ราคะของภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูป
ใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูป
ที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๕. โกฏฐิกสูตร
หรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว ถ้าแม้รูปที่พึงรู้แจ้งทาง
ตาซึ่งมากกว่ามาปรากฏทางตาของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือ
ภิกษุณีนั้นไม่ได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปเพียงเล็กน้อยเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นไม่มี โทสะนั้นไม่มี โมหะนั้นไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละ
ได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นไม่มี ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี โทสะ
ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี โมหะของ
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี ราคะนั้นภิกษุ
หรือภิกษุณีละได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณีละได้แล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจซึ่งมากกว่ามาปรากฏทางใจของ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้ ไม่จำต้อง
กล่าวถึงธรรมารมณ์เพียงเล็กน้อยเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นไม่มี โทสะนั้นไม่มี โมหะนั้นไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละ
ได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว”
ขีรรุกโขปมสูตรที่ ๔ จบ

๕. โกฏฐิกสูตร
ว่าด้วยพระมหาโกฏฐิกะ
[๒๓๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิกะ อยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้นในเวลาเย็นท่านพระมหาโกฏฐิกะออก
จากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระสารีบุตร
ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๕. โกฏฐิกสูตร
“ท่านสารีบุตร ตาเกี่ยวข้องกับรูป รูปเกี่ยวข้องกับตา ฯลฯ ลิ้นเกี่ยวข้อง
กับรส รสเกี่ยวข้องกับลิ้น ฯลฯ ใจเกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เกี่ยว
ข้องกับใจหรือ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโกฏฐิกะ ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป รูปก็ไม่
เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและ
รูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส รสก็ไม่เกี่ยวข้องกับลิ้น แต่เพราะอาศัยลิ้นและรส
ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ลิ้นและรสนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนโคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายคร่าวหรือ
ด้วยเชือกเส้นเดียวกัน ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาว
เกี่ยวเนื่องกับโคดำ’ ผู้นั้นเมื่อกล่าวพึงกล่าวถูกต้องหรือ”
“ไม่ถูกต้อง ขอรับ โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับ
โคดำ แต่โคทั้งสองนั้นถูกเขาผูกด้วยสายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าว
หรือเชือกนั้นจึงเกี่ยวเนื่องในโคทั้งสองนั้น”
“ผู้มีอายุ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป
รูปก็ไม่เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น
ตาและรูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส ฯลฯ
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ผู้มีอายุ ตาจักเกี่ยวข้องกับรูป หรือรูปจักเกี่ยวข้องกับตา การประพฤติ
พรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบไม่พึงปรากฏ แต่เพราะตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๕. โกฏฐิกสูตร
รูปไม่เกี่ยวข้องกับตา และเพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น
ตาและรูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฉะนั้นการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความ
สิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ ฯลฯ
ลิ้นจักเกี่ยวข้องกับรส หรือรสจักเกี่ยวข้องกับลิ้น การประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบไม่พึงปรากฏ แต่เพราะลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส รสไม่
เกี่ยวข้องกับลิ้น และเพราะอาศัยลิ้นและรสทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ลิ้น
และรสนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฉะนั้นการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้น
ทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ
ใจจักเกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ หรือว่าธรรมารมณ์จักเกี่ยวข้องกับใจ การ
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบไม่พึงปรากฏ แต่เพราะใจไม่
เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่เกี่ยวข้องกับใจ และเพราะอาศัยใจและ
ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึงเกี่ยวข้องใน
ฉันทราคะนั้น ฉะนั้นการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ
ผู้มีอายุ ข้อนี้พึงทราบโดยประการแม้นี้ ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป รูปก็ไม่
เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและ
รูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส ฯลฯ
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ผู้มีอายุ พระเนตรของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป
ด้วยพระเนตร แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะเลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระโสตของพระ
ผู้มีพระภาคมีอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงฟังเสียงด้วยพระโสต แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะ
เลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระนาสิกของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระผู้มีพระภาค
ทรงสูดกลิ่นด้วยพระนาสิก แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะเลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว
พระชิวหาของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระองค์ทรงลิ้มรสด้วยพระชิวหา แต่ไม่ทรงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๖. กามสูตร
ฉันทราคะเลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระวรกายของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระ
ผู้มีพระภาคทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยพระวรกาย แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะเลย ทรงมี
จิตหลุดพ้นดีแล้ว พระมนัสของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงรู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยพระมนัส แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะเลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว
ผู้มีอายุ ข้อนี้ก็พึงทราบโดยประการนี้ ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป รูปไม่เกี่ยวข้อง
กับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและรูปนั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
หูไม่เกี่ยวข้องกับเสียง ... จมูกไม่เกี่ยวข้องกับกลิ่น ... ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส
รสไม่เกี่ยวข้องกับลิ้น แต่เพราะอาศัยลิ้นและรสทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น
ลิ้นและรสนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น กายไม่เกี่ยวข้องกับโผฏฐัพพะ ... ใจไม่
เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะอาศัยใจและ
ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึงเกี่ยวข้องใน
ฉันทราคะนั้น”
โกฏฐิกสูตรที่ ๕ จบ

๖. กามภูสูตร
ว่าด้วยพระกามภู
[๒๓๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระกามภู อยู่ ณ โฆสิตาราม
เขตกรุงโกสัมพี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระกามภูออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหา
ท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“ท่านอานนท์ ตาเกี่ยวข้องกับรูป รูปเกี่ยวข้องกับตา ฯลฯ ลิ้นเกี่ยวข้อง
กับรส รสเกี่ยวข้องกับลิ้น ฯลฯ ใจเกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เกี่ยว
ข้องกับใจหรือ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๗. อุทายิสูตร
“ท่านกามภู ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป รูปก็ไม่เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตา
และรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและรูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ฯลฯ
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส รสก็ไม่เกี่ยวข้องกับลิ้น ฯลฯ
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนโคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายคร่าวหรือ
ด้วยเชือกเส้นเดียวกัน ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาว
เกี่ยวเนื่องกับโคดำ’ ผู้นั้นเมื่อกล่าวพึงกล่าวถูกต้องหรือ”
“ไม่ถูกต้อง ขอรับ โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับ
โคดำ แต่โคทั้งสองนั้นถูกเขาผูกด้วยสายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าว
หรือเชือกนั้นจึงเกี่ยวเนื่องในโคทั้งสองนั้น”
“ผู้มีอายุ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป
รูปก็ไม่เกี่ยวข้องกับตา ฯลฯ
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส ฯลฯ
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น”
กามภูสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุทายิสูตร
ว่าด้วยพระอุทายี
[๒๓๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระอุทายีอยู่ ณ โฆสิตาราม
เขตกรุงโกสัมพี ครั้นในเวลาเย็นท่านพระอุทายีออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหา
ท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๗. อุทายิสูตร
“ท่านอานนท์ กายนี้พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดย
ประการต่าง ๆ ว่า ‘กายนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันใด แม้วิญญาณนี้
ท่านอาจบอก๑ แสดง๒ บัญญัติ๓ กำหนด๔ เปิดเผย๕ จำแนก๖ ทำให้ง่าย๗ ว่า
‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันนั้นหรือ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านอุทายี กายนี้พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย
ประกาศแล้วโดยประการต่าง ๆ ว่า ‘กายนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันใด แม้
วิญญาณนี้ผมอาจบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายว่า
‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันนั้น”
“เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดหรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”
“เหตุและปัจจัยเพื่อให้จักขุวิญญาณเกิดพึงดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่าง
ไม่เหลือโดยประการทั้งปวง จักขุวิญญาณจะพึงปรากฏบ้างหรือ”
“ไม่ปรากฏ ขอรับ”
“จักขุวิญญาณพระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยประการ
แม้นี้ว่า ‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฯลฯ
“เพราะอาศัยลิ้นและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิดหรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๘. อาทิตตปริยายสูตร
“เหตุและปัจจัยเพื่อให้ชิวหาวิญญาณเกิดพึงดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่าง
ไม่เหลือ โดยประการทั้งปวง ชิวหาวิญญาณพึงปรากฏบ้างหรือ”
“ไม่ปรากฏ ขอรับ”
“ชิวหาวิญญาณพระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยประการ
แม้นี้ว่า ‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฯลฯ
“เพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิดหรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”
“เหตุและปัจจัยเพื่อให้มโนวิญญาณเกิดพึงดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่าง
ไม่เหลือโดยประการทั้งปวง มโนวิญญาณพึงปรากฏบ้างหรือ”
“ไม่ปรากฏ ขอรับ”
“มโนวิญญาณ พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยประการ
แม้นี้ว่า ‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’
ผู้มีอายุ บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้ ถือ
ขวานที่คมเข้าไปสู่ป่า พบต้นกล้วยใหญ่ ตรง ต้นใหม่ สูงมาก ในป่านั้น พึงตัด
โคนแล้ว ตัดปลาย ปอกกาบออก ไม่พบแม้กระพี้ที่ต้นกล้วยนั้น ที่ไหนจักพบ
แก่นเล่า แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น ไม่พิจารณาเห็นอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
ในผัสสายตนะ ๖ ประการ ท่านเมื่อไม่พิจารณาเห็นอย่างนี้ ย่อมไม่ยึดถือสิ่งใด ๆ
ในโลก เมื่อไม่ยึดถือ ก็ไม่ดิ้นรน เมื่อไม่ดิ้นรน ก็ดับไปเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อุทายิสูตรที่ ๗ จบ

๘. อาทิตตปริยายสูตร
ว่าด้วยอาทิตตบรรยาย
[๒๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตบรรยายและธรรมบรรยายแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๘. อาทิตตปริยายสูตร
อาทิตตบรรยายและธรรมบรรยาย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลแทงจักขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กที่ร้อน ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง
ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะ๑ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่ประเสริฐ
เลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ
เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไปได้ที่บุคคลนั้น
จะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลทะลวงโสตินทรีย์ด้วยขอเหล็กที่คม ไฟติด ลุกโชน
โชติช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู
ไม่ประเสริฐเลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีใน
อนุพยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไป
ได้ที่บุคคลนั้นจะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลคว้านฆานินทรีย์ด้วยมีดตัดเล็บที่คม ไฟติด ลุกโชน
โชติช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก
ไม่ประเสริฐเลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิต หรือเนื่องด้วยความยินดี
ในอนุพยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น
เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นจะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน
เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเฉือนชิวหินทรีย์ด้วยมีดโกนที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง
ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นไม่ประเสริฐ
เลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ
เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไปได้ที่บุคคลนั้น
จะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๘. อาทิตตปริยายสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงกายินทรีย์ด้วยหอกที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง
ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายไม่
ประเสริฐเลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีใน
อนุพยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไป
ได้ที่บุคคลนั้นจะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เราเห็นโทษนี้จึงกล่าวอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ความหลับยังประเสริฐกว่า แต่เรากล่าวว่าความหลับเป็น
หมันสำหรับผู้มีชีวิต กล่าวว่าไร้ผลสำหรับผู้มีชีวิต กล่าวว่าเป็นความเขลาสำหรับ
ผู้มีชีวิต ส่วนบุคคลตกอยู่ในอำนาจของวิตกเช่นใดแล้ว พึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
ก็ไม่ควรตรึกถึงวิตกเช่นนั้นเลย
เราเห็นโทษนี้แลว่าเป็นหมันสำหรับผู้มีชีวิต จึงกล่าวอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นอริยสาวกผู้ได้สดับย่อมเห็นดังนี้ว่า
จักขุนทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กที่ร้อน ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยก
ไว้ก่อน เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘จักขุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักขุวิญญาณไม่เที่ยง
จักขุสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
โสตินทรีย์ที่บุคคลทะลวงด้วยขอเหล็กที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยกไว้ก่อน
เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘โสตะไม่เที่ยง สัททะไม่เที่ยง โสตวิญญาณไม่เที่ยง
โสตสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
ฆานินทรีย์ที่บุคคลคว้านด้วยมีดตัดเล็บที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยก
ไว้ก่อน เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘ฆานะไม่เที่ยง คันธะไม่เที่ยง ฆานวิญญาณ
ไม่เที่ยง ฆานสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
ชิวหินทรีย์ที่บุคคลเฉือนด้วยมีดโกนที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยกไว้ก่อน
เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘ชิวหาไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๙. ปฐมหัตถปาโทปมสูตร
ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
กายินทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยกไว้ก่อน
เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘กายไม่เที่ยง โผฏฐัพพะไม่เที่ยง กายวิญญาณไม่เที่ยง
กายสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
ความหลับยกไว้ก่อน ฯลฯ เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘มโนไม่เที่ยง
ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคืออาทิตตบรรยายและธรรมบรรยายฉะนี้แล”
อาทิตตปริยายสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมหัตถปาโทปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยมือและเท้า สูตรที่ ๑
[๒๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง ๒ มีอยู่ การจับและการวางก็ปรากฏ เมื่อ
เท้าทั้ง ๒ มีอยู่ การก้าวไปและการถอยกลับก็ปรากฏ เมื่อข้อทั้งหลายมีอยู่ การคู้เข้า
และการเหยียดออกก็ปรากฏ เมื่อท้องมีอยู่ ความหิวและความกระหายก็ปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๑๐. ทุติยหัตถปาโทปมสูตร
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้เมื่อจักขุมีอยู่ สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อชิวหามีอยู่ สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อมโนมีอยู่ สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมือทั้ง ๒ ไม่มี การจับและการวางก็ไม่ปรากฏ เมื่อเท้าทั้ง ๒ ไม่มี การ
ก้าวไปและการถอยกลับก็ไม่ปรากฏ เมื่อข้อทั้งหลายไม่มี การคู้เข้าและการเหยียด
ออกก็ไม่ปรากฏ เมื่อท้องไม่มี ความหิวและความกระหายก็ไม่ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจักขุไม่มี สุขและทุกข์ในภายใน
ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อชิวหาไม่มี สุขและทุกข์ใน
ภายในย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อมโนไม่มี สุขและ
ทุกข์ภายในย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย”
ปฐมหัตถปาโทปมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยหัตถปาโทปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยมือและเท้า สูตรที่ ๒
[๒๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง ๒ มีอยู่ การจับและการวางก็มี เมื่อเท้า
ทั้ง ๒ มีอยู่ การก้าวไปและการถอยกลับก็มี เมื่อข้อทั้งหลายมีอยู่ การคู้เข้าและ
การเหยียดออกก็มี เมื่อท้องมีอยู่ ความหิวและความกระหายก็มี
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจักขุมีอยู่ สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อชิวหามีอยู่ ฯลฯ เมื่อมโนมีอยู่ สุขและทุกข์ใน
ภายในจึงเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เมื่อมือทั้ง ๒ ไม่มี การจับและการวางก็ไม่มี เมื่อเท้าทั้ง ๒ ไม่มี การ
ก้าวไปและการถอยกลับก็ไม่มี เมื่อข้อทั้งหลายไม่มี การคู้เข้าและการเหยียดออกก็
ไม่มี เมื่อท้องไม่มี ความหิวและความกระหายก็ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจักขุไม่มี สุขและทุกข์ในภายใน
ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เมื่อมโนไม่มี สุขและทุกข์ในภายในย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย”
ทุติยหัตถปาโทปมสูตรที่ ๑๐ จบ
สมุททวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสมุททสูตร ๒. ทุติยสมุททสูตร
๓. พาฬิสิโกปมสูตร ๔. ขีรรุกโขปมสูตร
๕. โกฏฐิกสูตร ๖. กามภูสูตร
๗. อุทายิสูตร ๘. อาทิตตปริยายสูตร
๙. ปฐมหัตถปาโทปมสูตร ๑๐. ทุติยหัตถปาโทปมสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑. อาสีวิโสปมสูตร

๔. อาสีวิสวรรค
หมวดว่าด้วยอสรพิษ
๑. อาสีวิโสปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยอสรพิษ
[๒๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวก๑ ซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า
ถ้าบุรุษอยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ เดินมา คนทั้งหลายพึง
บอกเขาอย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ อสรพิษ ๔ จำพวกนี้ ซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า
ท่านพึงปลุกให้ลุกตามเวลา ให้อาบน้ำตามเวลา ให้กินอาหารตามเวลา ให้เข้าที่อยู่
ตามเวลา เวลาใดอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวกนี้ ตัวใดตัวหนึ่งก็ตาม
โกรธ เวลานั้นท่านก็จะถึงความตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย พ่อมหาจำเริญ กิจใด
ที่ท่านควรทำ ท่านจงทำกิจนั้นเถิด’
ขณะนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวกนั้น จึงหนีไป
ทางใดทางหนึ่ง คนทั้งหลายพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู
๕ จำพวก ติดตามมาข้างหลังท่าน โดยหมายใจว่า ‘พบท่านในที่ใด ก็จะฆ่าท่าน
ในที่นั้นแล’ พ่อมหาจำเริญ กิจใดที่ท่านควรทำ ท่านจงทำสิ่งนั้นเถิด’
ขณะนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวกนั้น และกลัว
นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕ จำพวก จึงหนีไปทางใดทางหนึ่ง คนทั้งหลายพึงบอกเขา
อย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ นักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ ๖ นี้เงื้อดาบติดตามมา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑. อาสีวิโสปมสูตร
ข้างหลังท่านโดยหมายใจว่า ‘พบท่านในที่ใด ก็จะตัดศีรษะท่านในที่นั้นแล’ พ่อ
มหาจำเริญ กิจใดที่ท่านควรทำ ท่านจงทำกิจนั้นเถิด’
ขณะนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวก กลัว
นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕ จำพวก และกลัวนักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ ๖ ซึ่งเงื้อดาบ
ติดตามไป จึงหนีไปทางใดทางหนึ่ง เขาพบหมู่บ้านร้าง จึงเข้าไปสู่เรือนว่างเปล่า
หลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่าชนิดหนึ่ง คนทั้งหลายพึงบอกเขาว่า ‘พ่อ
มหาจำเริญ พวกโจรผู้ฆ่าชาวบ้านเพิ่งเข้ามาสู่หมู่บ้านร้างนี้เดี๋ยวนี้เอง กิจใดที่ท่าน
ควรทำ ท่านจงทำกิจนั้นเถิด’
ขณะนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวก กลัว
นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕ จำพวก กลัวนักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ ๖ ซึ่งเงื้อดาบ
ติดตามไป และกลัวโจรผู้ฆ่าชาวบ้าน จึงหนีไปทางใดทางหนึ่ง เขาพบห้วงน้ำใหญ่
แห่งหนึ่ง ซึ่งฝั่งนี้น่าระแวง มีภัยจำเพาะหน้า แต่ฝั่งโน้นปลอดภัย ไม่มีภัยจำเพาะ
หน้า เขาไม่มีเรือหรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้น
ขณะนั้น บุรุษนั้นคิดอย่างนี้ว่า ‘ห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งนี้น่าระแวง มีภัยจำเพาะ
หน้า ฝั่งโน้นปลอดภัย ไม่มีภัยจำเพาะหน้า เรานั้นไม่มีเรือหรือสะพานที่จะข้ามไป
ฝั่งโน้น ทางที่ดี เราควรรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่ง และใบมาผูกเป็นแพ อาศัยแพนั้น
ใช้มือและเท้าพยายามไปถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี’
ครั้นบุรุษนั้นรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่ง และใบมาผูกเป็นแพแล้ว อาศัยแพนั้น
ใช้มือและเท้าพยายามไปจน ถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี เป็นผู้ลอยบาปดำรงอยู่บนบก
ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้เรายกมาเพื่อให้เข้าใจเนื้อความแจ่มชัด ในอุปมานั้นมี
อธิบายดังนี้ว่า
คำว่า อสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวก นั้นเป็นชื่อของมหาภูตรูป
๔ คือ

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑. อาสีวิโสปมสูตร
คำว่า นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕ จำพวก นั้น เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
คำว่า นักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ ๖ ซึ่งเงื้อดาบติดตามไป นั้นเป็นชื่อ
ของนันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี)
คำว่า หมู่บ้านร้าง นั้นเป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖
ประการนั้นทางตา ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น
ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทางหู
ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทางจมูก
ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทางลิ้น
ฯลฯ
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทาง
กาย ฯลฯ
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทางใจ
ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น
คำว่า พวกโจรผู้ฆ่าชาวบ้าน นั้นเป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ตาย่อมเดือดร้อนเพราะรูปที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ หู ฯลฯ
จมูก ฯลฯ ลิ้นย่อมเดือดร้อนเพราะรสที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ กาย ฯลฯ ใจ
ย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๒. รโถปมสูตร
คำว่า ห้วงน้ำใหญ่ นั้นเป็นชื่อของโอฆะ (ห้วงน้ำ) ทั้ง ๔ คือ

๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม) ๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ)
๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)

คำว่า ฝั่งนี้น่าระแวง มีภัยจำเพาะหน้า นั้นเป็นชื่อของสักกายะ (กายของตน)
คำว่า ฝั่งโน้นปลอดภัย ไม่มีภัยจำเพาะหน้า นั้นเป็นชื่อของนิพพาน
คำว่า แพ นั้นเป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
ฯลฯ
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

คำว่า ใช้มือและเท้าพยายามไป นั้นเป็นชื่อของวิริยารัมภะ (ปรารภ
ความเพียร)
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า เป็นผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก นั้นเป็นชื่อ
ของพระอรหันต์”
อาสีวิโสปมสูตรที่ ๑ จบ

๒. รโถปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยรถ
[๒๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ มีสุขโสมนัส
มากอยู่ในปัจจุบัน และย่อมปรารภเหตุเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๒. รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
๓. ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ
ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๒. รโถปมสูตร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้อง
โผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติ
เพื่อสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศล
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
นายสารถีฝึกม้าผู้ฉลาด เป็นอาจารย์ฝึกม้าขึ้นสู่รถม้าซึ่งมีประตักเตรียมพร้อม
ไว้แล้ว ดึงเชือกด้วยมือซ้าย ถือประตักด้วยมือขวา ขับไปข้างหน้าก็ได้ ถอยหลังก็ได้
ในถนนใหญ่สี่แยกซึ่งมีพื้นเรียบเสมอตามต้องการแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมศึกษาเพื่อรักษา ย่อมศึกษาเพื่อสำรวม ย่อมศึกษาเพื่อฝึกฝน ย่อมศึกษา
เพื่อระงับอินทรีย์ ๖ ประการนี้
ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหารไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้
แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์
ด้วยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนิน
ไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา’
บุรุษพึงทาแผลก็เพียงเพื่อต้องการให้หาย หรือบุรุษพึงหยอดเพลารถก็เพียง
เพื่อต้องการขนสิ่งของไปได้แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันพิจารณาโดยแยบคาย
แล้วฉันอาหารไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง
แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความ
เบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า
และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และความ
อยู่ผาสุกจักมีแก่เรา’
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหารเป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๓. กุมโมปมสูตร
ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็นเครื่อง
ขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นเครื่องขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอน
ดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะ
ลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็น
เครื่องขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ชื่อว่ามีสุขโสมนัส
มากอยู่ในปัจจุบัน และชื่อว่าปรารภเหตุเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”
รโถปมสูตรที่ ๒ จบ

๓. กุมโมปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเต่า
[๒๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง เวลาเย็นเที่ยว
หากินที่ริมฝั่งแม่น้ำ แม้สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเวลานั้นก็เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ
เต่าเห็นสุนัขจิ้งจอกเที่ยวหากินแต่ไกล ก็หดหัวและขาเข้ากระดองของตน ไม่เคลื่อน
ไหว นิ่งอยู่ ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็เห็นเต่าเที่ยวหากินแต่ไกลเหมือนกัน จึงเข้าไปหา
เต่าแล้วยืนอยู่ใกล้ด้วยคิดว่า ‘เมื่อใดเต่านี้โผล่หัวและขาส่วนใดส่วนหนึ่งออกมา
เมื่อนั้นเราจักงับมันฟาดแล้วกินเสีย ในที่นั้น’ เมื่อใดเต่าไม่โผล่หัวและขาส่วนใด
ส่วนหนึ่งออกมา เมื่อนั้นสุนัขจิ้งจอกก็เบื่อหน่าย ไม่ได้โอกาส เดินจากเต่าไป
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้มารผู้มีบาปเข้าใกล้เธอทั้งหลายสม่ำเสมอด้วย
คิดว่า ‘บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางตา ฯลฯ ทางลิ้น ฯลฯ หรือทางใจของภิกษุ
เหล่านี้’ เพราะฉะนั้นเธอทั้งหลายจงคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด เห็น
รูปทางตาแล้วอย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๔. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร
สำรวมแล้วก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก
... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว
อย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะ
พึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษา
มนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดเธอทั้งหลายจักคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เมื่อ
นั้น แม้มารผู้มีบาปก็จะเบื่อหน่าย ไม่ได้โอกาส หลีกจากเธอทั้งหลายไป เหมือน
สุนัขจิ้งจอกเดินจากเต่าไปฉะนั้น
ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดับกิเลสแล้ว ไม่ว่าร้ายใคร ๆ
เหมือนเต่าหดหัวและขาไว้ในกระดองของตนฉะนั้น”
กุมโมปมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขอนไม้ สูตรที่ ๑
[๒๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เขตกรุงโกสัมพี
ได้ทอดพระเนตรเห็นขอนไม้ใหญ่ ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคา จึงรับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นขอนไม้ใหญ่โน้นที่
ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคาหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ถ้าขอนไม้จะไม่ลอยเข้ามาใกล้ฝั่งนี้ ไม่ลอยเข้าไปใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมกลาง
แม่น้ำ ไม่เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์นำไป ไม่ถูกอมนุษย์นำไป ไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้
ไม่ผุภายใน เมื่อเป็นเช่นนี้ ขอนไม้นั้นก็จักลอยไปสู่สมุทรได้ ไหลไปสู่สมุทรได้
เลื่อนไปสู่สมุทรได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกระแสแม่น้ำคงคาลุ่มไปสู่สมุทร ลาดไปสู่สมุทร ไหลไปสู่สมุทร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๔. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้เธอทั้งหลายจะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าไปใกล้
ฝั่งโน้น ไม่จมในท่ามกลาง ไม่เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง ไม่
ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ ไม่เป็นผู้เน่าภายใน เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอทั้งหลายก็จักน้อมไป
สู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสัมมาทิฏฐิย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ อะไรชื่อว่าฝั่งนี้ อะไรชื่อว่าฝั่งโน้น อะไรชื่อว่าการจมในท่ามกลาง อะไร
ชื่อว่าการเกยตื้น การถูกมนุษย์จับไว้เป็นอย่างไร การถูกอมนุษย์เข้าสิงเป็นอย่างไร
การถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้เป็นอย่างไร ความเน่าภายในเป็นอย่างไร”
“ภิกษุ คำว่า ฝั่งนี้ นี้เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ประการ
คำว่า ฝั่งโน้น นี้เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖ ประการ
คำว่า การจมในท่ามกลาง นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความยินดี)
คำว่า การเกยตื้น นี้เป็นชื่อของการถือตัว
การถูกมนุษย์จับไว้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่คลุกคลี เพลิดเพลิน เศร้าโศก กับพวกคฤหัสถ์
เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ช่วยทำ
กิจนั้นด้วยตนเอง
นี้เรียกว่า การถูกมนุษย์จับไว้
การถูกอมนุษย์เข้าสิง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาหมู่เทพหมู่ใด
หมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็น
เทวดาหรือเทพเจ้าตนใดตนหนึ่ง’
นี้เรียกว่า การถูกอมนุษย์เข้าสิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๔. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร
คำว่า การถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ ประการ
ความเน่าภายใน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นคนทุศีล๑ มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด๒
มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็น
สมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี๓ เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ
เป็นเหมือนหยากเยื่อ๔
นี้เรียกว่า ความเน่าภายใน”
ก็ขณะนั้น นายนันทโคบาลยืนอยู่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น นาย
นันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จัก
ไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้ จักไม่เข้าไปใกล้ฝั่งโน้น จักไม่จมในท่ามกลาง จักไม่เกยตื้น จัก
ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ จักไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง จักไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ จักไม่เป็นผู้
เน่าภายใน ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นันทะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงมอบโคให้เจ้าของเขาเถิด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกโคลูกแหง่จักไปเอง”
“นันทะ เธอจงมอบโคให้แก่เจ้าของเขาเถิด”
ต่อมา นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ได้มอบโคให้แก่เจ้าของเขาแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ
พระผู้มีพระภาค”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๖. อวัสสุตปริยายสูตร
นายนันทโคบาลได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค ท่าน
พระนันทะอุปสมบทได้ไม่นานก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว ฯลฯ อนึ่ง ท่านพระนันทะ
ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ปฐมทารุกขันโธปมสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยทารุกขันโธปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขอนไม้ สูตรที่ ๒
[๒๔๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เขตเมือง
กิมมิละ ได้ทอดพระเนตรเห็นขอนไม้ใหญ่ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคา จึงรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นขอนไม้ใหญ่โน้น
ที่ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคาหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมมิละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรชื่อว่าฝั่งนี้ ฯลฯ
“กิมมิละ ความเน่าภายใน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว การออก
จากอาบัติเช่นนั้นยังไม่ปรากฏ
นี้เรียกว่า ความเน่าภายใน”
ทุติยทารุกขันโธปมสูตรที่ ๕ จบ

๖. อวัสสุตปริยายสูตร
ว่าด้วยอวัสสุตบรรยาย
[๒๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์รับสั่งให้สร้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๖. อวัสสุตปริยายสูตร
ท้องพระโรงขึ้นใหม่เสร็จได้ไม่นาน ยังไม่มีสมณะ พราหมณ์ หรือมนุษย์คนใดคน
หนึ่งเข้าไปอยู่อาศัย ครั้งนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลาย คือ เจ้า
ศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์รับสั่งให้สร้างท้องพระโรงขึ้นใหม่ เสร็จได้
ไม่นาน ยังไม่มีสมณะ พราหมณ์ หรือมนุษย์คนใดคนหนึ่งเข้าไปอยู่อาศัย ขอ
พระผู้มีพระภาคโปรดใช้สอยท้องพระโรงนั้นก่อนเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรง
ใช้สอยท้องพระโรงก่อนแล้ว เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์จักใช้สอย
ในภายหลัง การใช้สอยของพระองค์นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
แก่เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์สิ้นกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ลำดับนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ทรงทราบว่าพระผู้มีพระภาค
ทรงรับนิมนต์แล้ว จึงเสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
กระทำประทักษิณแล้วเสด็จเข้าไปยังท้องพระโรงใหม่ รับสั่งให้ปูลาดท้องพระโรง ซึ่ง
เจ้าพนักงานได้ปูลาดด้วยเครื่องลาดทั้งปวงแล้ว ให้ปูลาดอาสนะทั้งหลาย ให้ตั้ง
โอ่งน้ำไว้ ให้จุดประทีปน้ำมันขึ้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรงได้ปูลาดด้วยเครื่องลาดทั้งปวงแล้ว
อาสนะปูลาดแล้ว ตั้งโอ่งน้ำประจำไว้ และจุดประทีปน้ำมันไว้แล้ว ขอพระองค์ทรง
ทราบกาลอันสมควรในบัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวร เสด็จ
เข้าไปยังท้องพระโรงใหม่พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าไป
ประทับนั่งพิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ฝ่ายพระสงฆ์ล้าง
เท้าแล้วก็เข้าไปยังท้องพระโรงแล้วนั่งพิงฝาด้านทิศตะวันตก หันหน้าไปทางทิศ
ตะวันออก ให้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ด้านหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๖. อวัสสุตปริยายสูตร
แม้เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ทรงล้างพระบาทแล้วก็เสด็จเข้าไปยัง
ท้องพระโรง ประทับนั่งพิงฝาด้านทิศตะวันออก ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก
ให้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ด้านหน้าเช่นกัน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีส่วนมาก แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า
“ท่านผู้โคตมโคตรทั้งหลาย ราตรี๑ล่วงไปแล้ว ท่านทั้งหลายจงรู้กาลอันสมควรใน
บัดนี้เถิด”
เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ทูลรับพระดำรัสแล้วเสด็จลุกขึ้นจากที่
ประทับ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
ขณะนั้น เมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์เสด็จจากไปไม่นาน
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า “โมคคัลลานะ ภิกษุสงฆ์
ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของเธอจงปรากฏแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง
จักเหยียดหลัง” ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยา (การ
นอนดุจราชสีห์) โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมีสติ
สัมปชัญญะ ทรงทำไว้ในพระทัยว่าจะเสด็จลุกขึ้น ณ ที่นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวดังนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำของ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ผมจักแสดงอวัสสุตบรรยาย๒และอนวัสสุตบรรยาย๓แก่ท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระ
มหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๖. อวัสสุตปริยายสูตร
“ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมยินร้ายใน
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโต-
วิมุตติ และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ
เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางตา มารก็
พึงได้ช่องได้อารมณ์๑ ฯลฯ
ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางลิ้น ฯลฯ
ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางใจ มารก็พึงได้ช่องได้อารมณ์
เรือนที่สร้างด้วยไม้อ้อหรือเรือนที่สร้างด้วยหญ้าแห้งกรอบมีอายุ ๓-๔ ปี ถ้า
แม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็พึงได้ช่องได้เชื้อ
ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ
ฯลฯ ทางทิศใต้ ฯลฯ ทางทิศเบื้องต่ำ ฯลฯ ทางทิศเบื้องบน ฯลฯ ถ้าแม้คน
เอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศไหน ๆ ก็ตาม ไฟก็พึงได้ช่องได้เชื้อแม้
ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๖. อวัสสุตปริยายสูตร
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางตา
มารก็พึงได้ช่องได้อารมณ์ ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทาง
ลิ้น ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางใจ มารก็พึงได้ช่องได้
อารมณ์
รูปครอบงำภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ได้ ภิกษุหาครอบงำรูปได้ไม่ เสียง
ครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำเสียงได้ไม่ กลิ่นครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหา
ครอบงำกลิ่นได้ไม่ รสครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำรสได้ไม่ โผฏฐัพพะ
ครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำโผฏฐัพพะได้ไม่ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุได้
ภิกษุหาครอบงำธรรมารมณ์ได้ไม่
ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถูกครอบงำ คือ ถูกรูปครอบงำ ถูกเสียงครอบงำ ถูก
กลิ่นครอบงำ ถูกรสครอบงำ ถูกโผฏฐัพพะครอบงำ และถูกธรรมารมณ์ครอบงำ
แต่ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ไม่ได้ ธรรมที่เป็น
บาปอกุศลอันเป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย
มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป ครอบงำเธอแล้ว
ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้ายใน
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโต-
วิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร
ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ
ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ
ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางตา มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่
พึงได้อารมณ์ ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ... ทางลิ้น ฯลฯ ถ้าแม้มาร
เข้าไปหาภิกษุนั้น ... ทางใจ มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์
เรือนยอดหรือศาลาที่พอกดินเหนียวหนามีเครื่องฉาบทาเปียก ถ้าแม้คนเอา
คบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้เชื้อ
ฯลฯ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศใต้
ฯลฯ ทางทิศเบื้องต่ำ ฯลฯ ทางทิศเบื้องบน ฯลฯ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟ
เข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศไหน ๆ ก็ตาม ไฟก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้เชื้อ แม้ฉันใด
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางตา
มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ... ทางใจ
มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ครอบงำรูปได้ รูป
ครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำเสียงได้ เสียงครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำ
กลิ่นได้ กลิ่นครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำรสได้ รสครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุ
ครอบงำโผฏฐัพพะได้ โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ได้
ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุไม่ได้
ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ครอบงำ คือ ครอบงำรูปได้ ครอบงำเสียงได้ ครอบงำ
กลิ่นได้ ครอบงำรสได้ ครอบงำโผฏฐัพพะได้ และครอบงำธรรมารมณ์ได้ แต่ไม่
ถูกรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ครอบงำ เธอครอบงำธรรมที่
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นอันเป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่ มีความ
กระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสเป็นอย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จลุกขึ้น รับสั่งเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะ
มาตรัสชมว่า “ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ ดีนักที่เธอได้กล่าวอวัสสุตบรรยายและ
อนวัสสุตบรรยายแก่ภิกษุทั้งหลาย”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาทรง
พอพระทัย ภิกษุเหล่านั้นก็มีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ดังนี้แล
อวัสสุตปริยายสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุกขธัมมสูตร
ว่าด้วยทุกขธรรม
[๒๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรม๑
ทั้งปวงตามความเป็นจริง เมื่อนั้นเธอย่อมเห็นกามโดยอาการที่เมื่อเห็นกามอยู่
ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วย
อำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลายจะไม่นอนเนื่อง
ทั้งตามรู้ธรรมเครื่องประพฤติและธรรมเครื่องอยู่โดยอาการที่เมื่อประพฤติอยู่ ธรรม
ที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสจะไม่ครอบงำ
ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง
เป็นอย่างไร
คือ รู้ชัดว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป
อย่างนี้เวทนา ฯลฯ อย่างนี้สัญญา ฯลฯ อย่างนี้สังขาร ฯลฯ อย่างนี้วิญญาณ
อย่างนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ
ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงเป็น
อย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร
ภิกษุเห็นกามโดยอาการที่เมื่อเห็นกามอยู่ ความพอใจด้วยอำนาจความ
ใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่ ความ
เร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลายจะไม่นอนเนื่อง เป็นอย่างไร
คือ หลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าช่วงบุรุษ เต็มด้วยถ่านเพลิง ไม่มีเปลว ไม่มีควัน
ขณะนั้นมีบุรุษคนหนึ่งอยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์เดินมา มี
บุรุษ ๒ คนที่แข็งแรงจับแขนเขาคนละข้าง ลากเข้าหาหลุมถ่านเพลิง เขาโอนเอน
กายไปข้างโน้นข้างนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษนั้นรู้ว่า ‘เราตกหลุมถ่านเพลิงนี้
จักถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย เพราะตกหลุมถ่านเพลิงนั้น’ แม้ฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นกามซึ่งเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง โดยอาการที่เมื่อเห็น
กามอยู่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความ
สยบด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลายจะไม่
นอนเนื่อง
ภิกษุตามรู้ธรรมเครื่องประพฤติและธรรมเครื่องอยู่ โดยอาการที่เมื่อ
ประพฤติอยู่ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสจะไม่ครอบงำ เป็น
อย่างไร
คือ บุรุษเข้าไปสู่ป่าที่มีหนามมาก ข้างหน้าของเขาก็มีหนาม ข้างหลังก็มี
หนาม ข้างซ้ายก็มีหนาม ข้างขวาก็มีหนาม ข้างล่างก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม
เขามีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ ด้วยคิดว่า ‘หนามอย่าแทงเรา’ แม้ฉันใด ข้อนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เรากล่าวรูปที่น่ารัก น่ายินดีในโลกว่าเป็นหนามในอริยวินัย ภิกษุ
รู้อย่างนี้แล้วพึงรู้จักความไม่สำรวมและความสำรวม
ความไม่สำรวม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น
บาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทาง
ใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร
ผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตาม
ความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแก่เธอ
ความไม่สำรวมเป็นอย่างนี้แล
ความสำรวม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์
ทางใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็น
ผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตาม
ความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้น
แล้วแก่เธอ
ความสำรวมเป็นอย่างนี้แล
ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอยู่อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นเพราะความหลงลืมสติในกาลบางครั้งบางคราว สติ
เกิดขึ้นช้า ขณะนั้นเธอย่อมละ บรรเทาธรรมที่เป็นบาปอกุศลนั้น ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกพลันทีเดียว
บุรุษพึงให้หยาดน้ำ ๒-๓ หยดตกลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน หยาด
น้ำตกลงช้า ขณะนั้นหยาดน้ำพึงระเหย เหือดแห้งไปอย่างรวดเร็ว แม้ฉันใด ข้อนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอยู่อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
ความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ย่อมเกิดขึ้น เพราะความหลงลืมสติในกาลบาง
ครั้งบางคราว สติเกิดขึ้นช้า ขณะนั้นเธอย่อมละ บรรเทาธรรมที่เป็นบาปอกุศลนั้น
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกพลันทีเดียว
ภิกษุตามรู้ธรรมเครื่องประพฤติและธรรมเครื่องอยู่ โดยอาการที่เมื่อประพฤติ
อยู่ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสจะไม่ครอบงำ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา มิตร๑ อำมาตย์๒
ญาติ๓ สาโลหิต๔ก็ตาม พึงปวารณาภิกษุผู้ประพฤติอยู่อย่างนี้เพื่อให้ยินดียิ่งด้วย
โภคทรัพย์ทั้งหลายว่า “มาเถิด พระคุณเจ้าผู้เจริญ ผ้ากาสาวพัสตร์เหล่านี้ทำให้
ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนหัวโล้น เที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด
เชิญท่านกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นเมื่อประพฤติอยู่อย่างนี้จักบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาที่ไหลไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก
หลากไปทางทิศตะวันออก ถ้าหมู่มหาชนพากันถือเอาจอบและตะกร้ามาด้วยตั้งใจ
ว่า ‘พวกเราจักช่วยกันทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไป
ข้างหลัง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หมู่มหาชนนั้นพึง
ทดแม่น้ำคงคาให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังได้หรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแม่น้ำคงคาไหลไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทาง
ทิศตะวันออก หลากไปทางทิศตะวันออก หมู่มหาชนจะทดแม่น้ำคงคานั้นให้ไหล
ไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลัง ไม่ใช่ทำได้ง่าย แต่หมู่มหาชนนั้นพึงมี
ส่วนแห่งความลำบาก เหน็ดเหนื่อยแน่นอน”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๘. กิงสุโกปมสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้แม้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพระราชา
มหาอำมาตย์ของพระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม พึงปวารณา
ภิกษุผู้ประพฤติอยู่อย่างนี้เพื่อให้ยินดียิ่งด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายว่า ‘มาเถิด พระ
คุณเจ้าผู้เจริญ ผ้ากาสาวพัสตร์เหล่านี้ทำให้ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคน
หัวโล้น เที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด เชิญท่านกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอย
โภคทรัพย์และทำบุญเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นเมื่อประพฤติอยู่อย่างนี้จักบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จิตนั้นที่
น้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวกตลอดกาลนานแล้วจักเวียนมาเพื่อ
เป็นคฤหัสถ์”
ทุกขธัมมสูตรที่ ๗ จบ

๘. กิงสุโกปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นทองกวาว
[๒๔๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถาม
ภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงมีทัศนะ๑หมดจดดี”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่ง
ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะ
หมดจดดี”
ขณะนั้น ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูป
หนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่ง
อุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะ
หมดจดดี”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๘. กิงสุโกปมสูตร
ต่อมา ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูป
หนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ
จึงมีทัศนะหมดจดดี”
ภิกษุนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่ง
มหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี”
ต่อมา ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูป
หนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ
จึงมีทัศนะหมดจดดี”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ ด้วย
เหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี”
ต่อมา ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง
ถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ‘ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงมี
ทัศนะหมดจดดี’
เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ
เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตามความ
เป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี’
ขณะนั้น ข้าพระองค์ไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุ
อีกรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ‘ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี’
เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ตอบข้าพระองค์ว่า ‘ผู้มีอายุ
เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ฯลฯ แห่งมหาภูต-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๘. กิงสุโกปมสูตร
รูป ๔ ตามความเป็นจริง ฯลฯ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี’
ต่อมา ข้าพระองค์ไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้ามาเฝ้า
พระองค์ถึงที่ประทับ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ
จึงมีทัศนะหมดจดดี”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เปรียบเหมือนบุรุษไม่เคยเห็นต้นทองกวาว
เลย เขาเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามบุรุษนั้น
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’
บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวดำเหมือนตอที่ถูกไฟไหม้’
เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็น ขณะนั้นเขาไม่พอใจการตอบปัญหา
ของบุรุษนั้น จึงเข้าไปหาบุรุษอีกคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถาม
บุรุษนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’
บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวแดงเหมือนชิ้นเนื้อ’
เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็น ต่อมาเขาไม่พอใจการตอบปัญหาของ
บุรุษนั้น จึงเข้าไปหาบุรุษอีกคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามบุรุษ
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’
บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวที่เกิดนานมีฝักเหมือน
ต้นซึก’
เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็น ต่อมา เขาไม่พอใจการตอบปัญหาของ
บุรุษนั้น จึงเข้าไปหาบุรุษอีกคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามบุรุษ
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’
บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวมีใบแก่และใบอ่อนหนา
แน่น มีร่มทึบเหมือนต้นไทร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๘. กิงสุโกปมสูตร
เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็นแม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน การ
เห็นของสัตบุรุษเหล่านั้นผู้เชื่อแล้วเป็นอันถูกต้องโดยประการใด ๆ สัตบุรุษเหล่านั้น
ก็ได้ตอบโดยประการนั้น ๆ
ภิกษุ เมืองชายแดนของพระราชา มีกำแพงและเชิงเทิน๑มั่นคง มี ๖ ประตู
นายประตูของเมืองนั้นเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก
อนุญาตเฉพาะคนที่ตนรู้จักให้เข้าไปในเมืองนั้น ราชทูต ๒ นายมีราชการด่วนมา
จากทิศตะวันออก ถามนายประตูนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้เจริญ เจ้าเมือง ๆ นี้อยู่ที่ไหน’
นายประตูนั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ที่ทางสี่แยก
กลางเมือง’
ลำดับนั้น ราชทูต ๒ นายผู้มีราชการด่วนได้มอบถวายพระราชสาส์นตามความ
เป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้วกลับไปตามทางที่ตนมา ราชทูตอีก ๒ นายผู้มีราชการด่วน
มาจากทิศตะวันตก ฯลฯ มาจากทิศเหนือ ... มาจากทิศใต้ แล้วถาม
นายประตูนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้เจริญ เจ้าเมือง ๆ นี้อยู่ที่ไหน’
นายประตูนั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ที่ทางสี่แยก
กลางเมือง’
ลำดับนั้น ราชทูต ๒ นายผู้มีราชการด่วนนั้นได้มอบถวายพระราชสาส์นตาม
ความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว ก็กลับไปตามทางที่ตนมา แม้ฉันใด
อุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เรายกมาก็เพื่อให้เข้าใจเนื้อความชัดเจน
ในอุปไมยนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้
คำว่า เมือง นี้เป็นชื่อของกายนี้ซึ่งประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจาก
มารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น
มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๙. วีโณปมสูตร
คำว่า มี ๖ ประตู นี้เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ประการ
คำว่า นายประตู นี้เป็นชื่อของสติ
คำว่า ราชทูต ๒ นายผู้มีราชการด่วน นี้เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา
คำว่า เจ้าเมือง นี้เป็นชื่อของวิญญาณ
คำว่า ทางสี่แยกกลางเมือง นี้เป็นชื่อของมหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)

คำว่า พระราชสาส์นตามความเป็นจริง นี้เป็นชื่อของนิพพาน
คำว่า ทางตามที่ตนมา นี้เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
ฯลฯ
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)”
กิงสุโกปมสูตรที่ ๘ จบ

๙. วีโณปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพิณ
[๒๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทะ๑(ความพอใจ) ราคะ๒(ความกำหนัด) โทสะ (ความ
ขัดเคือง) โมหะ (ความหลง) หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงห้ามจิตจาก
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตานั้นโดยพิจารณาว่า ‘ทางนั้นมีภัย มีภัยจำเพาะหน้า มีหนาม
รกชัฏ เป็นทางอ้อม เป็นทางผิด และไปลำบาก ทางนั้นเป็นทางที่อสัตบุรุษดำเนิน
ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษดำเนิน ท่านไม่ควรดำเนินไปทางนั้น’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๙. วีโณปมสูตร
ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตจากรูปที่พึงรู้แจ้งทางตานั้น ฯลฯ
ฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในรสที่พึงรู้แจ้ง
ทางลิ้นพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ฯลฯ
ฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในธรรมารมณ์ที่
พึงรู้แจ้งทางใจพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น
พึงห้ามจิตจากธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจนั้นโดยพิจารณาว่า “ทางนั้นมีภัย มีภัย
จำเพาะหน้า มีหนาม รกชัฏ เป็นทางอ้อม เป็นทางผิด และไปลำบาก ทางนั้น
เป็นทางที่อสัตบุรุษดำเนิน ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษดำเนิน ท่านไม่ควรดำเนินไปทางนั้น”
ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตจากธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจนั้น
ข้าวกล้าถึงจะสมบูรณ์ แต่คนเฝ้าข้าวกล้าประมาท และโคตัวกินข้าวกล้าก็ลง
ลุยข้าวกล้าโน้น พึงถึงความเมามันเลินเล่อตามต้องการแม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ทำความสำรวมในผัสสายตนะ ๖ ประการ ย่อมถึงความ
มัวเมาประมาทในกามคุณ ๕ ตามต้องการ
ข้าวกล้าสมบูรณ์ คนเฝ้าข้าวกล้าก็ไม่ประมาท และโคที่กินข้าวกล้า ก็ลงลุย
ข้าวกล้าโน้น คนเฝ้าข้าวกล้าจับโคสนตะพายให้แน่น แล้วจับสายตะพายเหนือเขา
ให้มั่น ตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้แล้วปล่อยเข้าฝูงไป
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ โคที่กินข้าวกล้าก็ลงลุยข้าวกล้าโน้นอีก คนเฝ้าข้าวกล้าก็จับโค
สนตะพายให้แน่น แล้วจับสายตะพายเหนือเขาให้มั่น ตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้แล้ว
ปล่อยเข้าฝูงไป เมื่อเป็นเช่นนั้น โคที่กินข้าวกล้านั้นจะอยู่ในบ้านก็ตาม อยู่ในป่า
ก็ตาม ก็จะเป็นสัตว์ยืนมากหรือนอนมาก ไม่กลับลงสู่ข้าวกล้าอีก พลางนึกถึงการ
ถูกตีด้วยท่อนไม้ครั้งก่อนนั้นแลแม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อใดภิกษุข่มขู่
คุกคามจิตในผัสสายตนะ ๖ ประการดีแล้ว เมื่อนั้นจิตย่อมอยู่สงบนิ่งอยู่ภายใน
ตั้งมั่น เป็นหนึ่งผุดขึ้น
เปรียบเหมือนพระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาไม่เคยสดับเสียงพิณ พระ
ราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นสดับเสียงพิณแล้วพึงถามว่า “ผู้เจริญ เสียงที่น่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๙. วีโณปมสูตร
ใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่าเพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพัน
อย่างนี้ เป็นเสียงอะไร”
ราชบุรุษทั้งหลายพึงทูลว่า “เสียงที่น่าใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่า
เพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพันอย่างนี้ เป็นเสียงพิณ พ่ะย่ะค่ะ”
พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาพึงกล่าวว่า “ผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงไป
นำพิณนั้นมาให้เรา”
ราชบุรุษทั้งหลายนำพิณนั้นมาถวายพระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นแล้ว
พึงกราบทูลว่า “นี่คือพิณนั้นซึ่งมีเสียงน่าใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่า
เพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพันอย่างนี้ พ่ะย่ะค่ะ”
พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาพึงกล่าวว่า “ผู้เจริญ เราไม่ต้องการพิณนี้
ท่านทั้งหลายจงนำเสียงพิณนั้นมาให้เรา”
ราชบุรุษทั้งหลายพึงกราบทูลว่า “ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบมากมาย
หลายอย่าง พิณที่นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่างจึงจะเปล่ง
เสียงได้ คือ อาศัยราง อาศัยหนัง อาศัยคัน อาศัยลูกบิด๑ อาศัยสาย อาศัย
ไม้ดีดพิณ และอาศัยความพยายามของบุรุษซึ่งเหมาะแก่พิณนั้น
ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบมากมายหลายอย่าง พิณที่นายช่างประกอบดี
แล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง จึงจะเปล่งเสียงได้อย่างนี้ พ่ะย่ะค่ะ”
พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นพึงผ่าพิณนั้นเป็น ๑๐ เสี่ยง หรือ ๑๐๐
เสี่ยงแล้ว ทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วพึงเผาไฟทำให้เป็นเขม่า โปรยไปในลม
พายุหรือลอยไปในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
ขึ้นชื่อว่าพิณนี้เลวทราม สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ชื่อว่าพิณก็เลวทรามเหมือนพิณฉะนั้น เพราะ
พิณนี้ทำให้คนประมาท หลงใหลจนเกินขอบเขต” แม้ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑๐. ฉัปปาณโกปมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมค้นหารูปตลอดคติแห่งรูปที่มีอยู่
ค้นหาเวทนาตลอดคติแห่งเวทนาที่มีอยู่ ค้นหาสัญญาตลอดคติแห่งสัญญาที่มีอยู่
ค้นหาสังขารตลอดคติแห่งสังขารที่มีอยู่ ค้นหาวิญญาณตลอดคติแห่งวิญญาณที่
มีอยู่
เมื่อภิกษุนั้นค้นหารูป ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... เมื่อภิกษุนั้นค้นหา
วิญญาณตลอดคติแห่งวิญญาณที่มีอยู่ ความถือว่า ‘เรา’ ‘ของเรา’ ‘มีเรา’ ของ
ภิกษุนั้นไม่มีเลย”
วีโณปมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ฉัปปาณโกปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยสัตว์ ๖ ชนิด
[๒๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษมีร่างกายเต็มไปด้วยแผลพุพอง เข้าไปสู่ป่าหญ้าคา
แม้ถ้าหน่อหญ้าคาตำเท้าของเขา ใบหญ้าคาบาดร่างกายที่พุพอง เมื่อเป็นเช่นนั้น
บุรุษนั้นพึงเสวยทุกข์โทมนัสเหลือประมาณเพราะเหตุนั้นแม้ฉันใด
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะไปสู่บ้านหรือจะไปสู่ป่าก็ตาม
จะมีผู้ทักท้วงว่า “ท่านรูปนี้ทำอย่างนี้ มีความประพฤติอย่างนี้ เป็นผู้ไม่สะอาด
เป็นดุจหนามคอยทิ่มแทงชาวบ้าน”
เธอทั้งหลายรู้ว่า “ภิกษุนั้นเป็นดุจหนาม” แล้วพึงทราบความสำรวมและ
ความไม่สำรวมต่อไป
ความไม่สำรวม
ความไม่สำรวม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑๐. ฉัปปาณโกปมสูตร
ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อม
ยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่
รู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีที่อยู่ต่างกัน มีที่หากินต่างกัน
แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว คือ จับงูแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับจระเข้แล้วผูกด้วย
เชือกที่เหนียว จับนกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับสุนัขแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว
จับสุนัขจิ้งจอกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับลิงแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว ขมวด
เป็นปมไว้ตรงกลางแล้วจึงปล่อยไป
ลำดับนั้น สัตว์ทั้ง ๖ ชนิดซึ่งมีที่อยู่ต่างกัน มีที่หากินต่างกันเหล่านั้นพึงดึง
ไปสู่ที่หากินและที่อยู่ของตน ๆ คือ
งูดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าไปสู่จอมปลวก”
จระเข้ดึงไปด้วยต้องการว่า “จักลงน้ำ”
นกดึงไปด้วยต้องการว่า “จักบินขึ้นสู่อากาศ”
สุนัขดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าบ้าน”
สุนัขจิ้งจอกดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าป่าช้า”
ลิงดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าป่า”
เมื่อใดสัตว์ทั้ง ๖ ชนิดนั้นต่างก็จะไปตามใจของตน พึงลำบาก เมื่อนั้นสัตว์
เหล่านั้นก็พึงตกอยู่ในอำนาจ ไปตามสัตว์ที่มีกำลังกว่า แม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน กายคตาสติที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
ตาย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในรูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจเป็นของน่าเกลียด ฯลฯ
ลิ้นย่อมฉุด ฯลฯ
ใจย่อมฉุดภิกษุไปในธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจเป็นของ
น่าเกลียด
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สำรวมเป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑๐. ฉัปปาณโกปมสูตร

ความสำรวม
ภิกษุทั้งหลาย ความสำรวม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติและ
ปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้ายใน
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัด
เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรม
ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีที่อยู่ต่างกัน มีที่หากินต่างกัน
แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว คือ จับงูแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับจระเข้แล้วผูกด้วย
เชือกที่เหนียว จับนกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับสุนัขแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว
จับสุนัขจิ้งจอกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับลิงแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว แล้วผูก
ติดไว้ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง
ลำดับนั้น สัตว์ทั้ง ๖ ชนิดซึ่งมีที่อยู่ต่างกัน มีที่หากินต่างกันเหล่านั้นพึงดึง
ไปสู่ที่หากินและที่อยู่ของตน ๆ คือ
งูดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าจอมปลวก”
จระเข้ดึงไปด้วยต้องการว่า “จักลงน้ำ”
นกดึงไปด้วยต้องการว่า “จักบินขึ้นสู่อากาศ”
สุนัขดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าบ้าน”
สุนัขจิ้งจอกดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าป่าช้า”
ลิงดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าป่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑๑. ยวกลาปิสูตร
เมื่อใดสัตว์ทั้ง ๖ ชนิดนั้นต่างก็จะไปตามใจของตน พึงลำบาก เมื่อนั้นสัตว์
เหล่านั้นพึงยืนพิง นั่งพิง นอนพิงหลักหรือเสานั้น แม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
กายคตาสติที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว
ตาย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจย่อมไม่น่าเกลียด
ฯลฯ
ลิ้นย่อมไม่ฉุด ฯลฯ
ใจย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ
ย่อมไม่น่าเกลียด
ภิกษุทั้งหลาย ความสำรวมเป็นอย่างนี้แล
คำว่า หลักหรือเสาอันมั่นคง นี้เป็นชื่อของกายคตาสติ
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “กายคตาสติเราทั้งหลาย
จักเจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ฉัปปาณโกปมสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ยวกลาปิสูตร
ว่าด้วยฟ่อนข้าวเหนียว
[๒๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียว บุคคลกองไว้ที่ถนนใหญ่สี่แยก ลำดับนั้น
บุรุษ ๖ คนถือไม้คานเดินมา พวกเขาช่วยกันนวดฟ่อนข้าวเหนียวด้วยไม้คานทั้ง ๖
อัน ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกนวดอย่างดีด้วยไม้คาน ๖ อันอย่างนี้ ต่อมา บุรุษคน
ที่ ๗ ถือไม้คานเดินมา เขาพึงนวดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฟ่อน
ข้าวเหนียวนั้นถูกนวดด้วยไม้คานอันที่ ๗ พึงถูกนวดดีกว่าอย่างนี้ แม้ฉันใด ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑๑. ยวกลาปิสูตร
ถูกรูปที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจกระทบตา ฯลฯ
ถูกรสที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจกระทบลิ้น ฯลฯ
ถูกธรรมารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจกระทบใจ
ถ้าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนั้นย่อมคิดเพื่อจะเกิดอีกต่อไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ปุถุชนนั้น
ย่อมเป็นโมฆบุรุษผู้ถูกอายตนะภายนอกกระทบอย่างหนักเหมือนฟ่อนข้าวเหนียวที่
ถูกนวดด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฉะนั้น
สงครามระหว่างเทวดากับอสูร
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้ประชิดกัน
ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรรับสั่งเรียกพวกอสูรมาตรัสว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรรบประชิดกัน พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดา
พึงพ่ายแพ้ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวสักกะจอมเทพนั้นด้วยเครื่อง
จองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ แล้วนำมายังเมืองอสูรในสำนักของเรา
ฝ่ายท้าวสักกะจอมเทพก็รับสั่งเรียกพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า “ท่านผู้
นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน พวกเทวดา
พึงชนะ พวกอสูรพึงพ่ายแพ้ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวเวปจิตติ
จอมอสูรนั้นด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอแล้วนำมายังเทวสภาชื่อ
สุธรรมาในสำนักของเรา
สงครามครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรพ่ายแพ้ ต่อมา พวกเทวดาชั้น
ดาวดึงส์ได้จองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ
แล้วนำมายังเทวสภาชื่อสุธรรมาในสำนักของท้าวสักกะจอมเทพ ได้ยินว่า ท้าว
เวปจิตติจอมอสูรถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ
ในกาลที่ท้าวเวปจิตติจอมอสูรทรงดำริว่า “พวกเทวดาตั้งอยู่ในธรรม พวก
อสูรไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจักไปยังเทพนคร” ท้าวเวปจิตติจอมอสูรย่อม
พิจารณาเห็นตนพ้นจากเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ และเป็นผู้เอิบอิ่ม
พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิาวรรค ๑๑. ยวกลาปิสูตร
ในกาลที่ท้าวเวปจิตติจอมอสูรทรงดำริว่า “พวกอสูรตั้งอยู่ในธรรม พวก
เทวดาไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจักไปยังเมืองอสูร” ท้าวเวปจิตติจอมอสูรพิจารณา
เห็นตนถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ และเสื่อมจากกามคุณ
๕ อันเป็นทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำท้าวเวปจิตติละเอียดอย่างนี้ เครื่องจองจำของ
มารละเอียดยิ่งกว่านั้น บุคคลเมื่อกำหนดหมายก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่กำหนด
หมายก็พ้นจากมารผู้มีบาป
ความกำหนดหมายเป็นต้นเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร
ภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดหมายว่า “เรามี” ความกำหนดหมายว่า “เรา
เป็นนี้” ความกำหนดหมายว่า “เราจักมี” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มี”
ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้มีรูป” ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้
ไม่มีรูป” ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้มีสัญญา” ความกำหนดหมายว่า
“เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา” ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่
มีสัญญาก็มิใช่”
ความกำหนดหมายเป็นโรค ความกำหนดหมายเป็นหัวฝี ความกำหนด
หมายเป็นลูกศร เพราะฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลาย
จักมีจิตไม่กำหนดหมายอยู่”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวว่า “เรามี” ความหวั่นไหวว่า “เราเป็นนี้”
ความหวั่นไหวว่า “เราจักมี” ความหวั่นไหวว่า “เราจักไม่มี” ความหวั่นไหวว่า
“เราจักเป็นผู้มีรูป” ความหวั่นไหวว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป” ความหวั่นไหวว่า “เรา
จักเป็นผู้มีสัญญา” ความหวั่นไหวว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา” ความหวั่นไหวว่า
“เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่”
ความหวั่นไหวเป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นหัวฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร เพราะ
ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลายจักมีจิตไม่หวั่นไหวอยู่”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิาวรรค ๑๑. ยวกลาปิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนว่า "เรามี" ความดิ้นรนว่า "เราเป็นนี้" ความ
ดิ้นรนว่า "เราจักมี" ความดิ้นรนว่า "เราจักไม่มี" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็น
ผู้มีรูป" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็นผู้มี
สัญญา" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็นผู้
มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่"
ความดิ้นรนเป็นโรค ความดิ้นรนเป็นหัวฝี ความดิ้นรนเป็นลูกศร เพราะ
ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ดิ้นรนอยู่"
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความปรุงแต่งว่า "เรามี" ความปรุงแต่งว่า "เราเป็นนี้"
ความปรุงแต่งว่า "เราจักมี" ความปรุงแต่งว่า "เราจักไม่มี" ความปรุงแต่งว่า
"เราจักเป็นผู้มีรูป" ความปรุงแต่งว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป" ความปรุงแต่งว่า
"เราจักเป็นผู้มีสัญญา" ความปรุงแต่งว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา" ความปรุงแต่ง
ว่า "เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่"
ความปรุงแต่งเป็นโรค ความปรุงแต่งเป็นหัวฝี ความปรุงแต่งเป็นลูกศร เพราะ
ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ปรุงแต่งอยู่"
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวว่า "เรามี" ความถือตัวว่า "เราเป็นนี้" ความ
ถือตัวว่า "เราจักมี" ความถือตัวว่า "เราจักไม่มี" ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้
มีรูป" ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป" ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้มีสัญญา"
ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา" ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้มีสัญญา
ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่"
ความถือตัวเป็นโรค ความถือตัวเป็นหัวฝี ความถือตัวเป็นลูกศร เพราะ
ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ถือตัวอยู่"
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล"
ยวกลาปิสูตรที่ ๑๑ จบ
อาสีวิสวรรคที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาสีวิโสปมสูตร ๒. รโถปมสูตร
๓. กุมโมปมสูตร ๔. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร
๕. ทุติยทารุกขันโธปมสูตร ๖. อวัสสุตปริยายสูตร
๗. ทุกขธัมมสูตร ๘. กิงสุโกปมสูตร
๙. วีโณปมสูตร ๑๐. ฉัปปาณโกปมสูตร
๑๑. ยวกลาปิสูตร

จตุตถปัณณาสก์ในสฬายตนวรรค จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในจตุตถปัณณาสก์นี้ คือ

๑. นันทิกขยวรรค ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค
๓. สมุททวรรค ๔. อาสีวิสวรรค

สฬายตนสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๑. สมาธิสูตร

๒. เวทนาสังยุต
๑. สคาถวรรค
หมวดว่าด้วยสูตรที่มีคาถา
๑. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ
[๒๔๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)
๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกสุขก็ไม่ใช่ทุกข์ก็ไม่ใช่)
ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้แล
สาวกของพระพุทธเจ้ามีจิตตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะ
ย่อมรู้ชัดเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา
นิพพานอันเป็นที่ดับแห่งเวทนา
และทางดำเนินให้ถึงความสิ้นไปแห่งเวทนาเหล่านั้น
เพราะสิ้นเวทนา ภิกษุจึงเป็นผู้หมดความหิว ปรินิพพานแล้ว”
สมาธิสูตรที่ ๑ จบ

๒. สุขสูตร
ว่าด้วยความสุข
[๒๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๓. ปหานสูตร
ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ทั้งที่เป็นภายใน ทั้งที่เป็นภายนอกมีอยู่
ภิกษุรู้ว่าเวทนานี้เป็นทุกข์
มีความพินาศแตกสลายเป็นธรรมดา
ถูกต้องสัมผัสความเสื่อม(ด้วยญาณ)อยู่
ย่อมคลายความยินดีในเวทนาเหล่านั้นด้วยประการอย่างนี้”
สุขสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปหานสูตร
ว่าด้วยการละ
[๒๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เธอทั้งหลายพึงละราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือราคะ) ในสุข-
เวทนา พึงละปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือความกระทบกระทั่งในใจ)
ในทุกขเวทนา พึงละอวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา) ใน
อทุกขมสุขเวทนา เพราะภิกษุละราคานุสัยในสุขเวทนา ละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา
ละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนาได้ ฉะนั้นภิกษุนี้เราจึงเรียกว่า ‘ผู้ไม่มีอนุสัย มี
ความเห็นชอบ ตัดตัณหาได้ เพิกถอนสังโยชน์แล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะ
รู้แจ้งมานะได้โดยชอบ’
ราคานุสัยนั้นย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวยสุขเวทนา
ผู้ไม่รู้ชัด มีปกติไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออก
ปฏิฆานุสัยย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวยทุกขเวทนา
ผู้ไม่รู้ชัด มีปกติไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๔. ปาตาลสูตร
บุคคลเพลิดเพลินอทุกขมสุขเวทนาซึ่งมีอยู่
ที่พระผู้มีพระภาคผู้มีปัญญาดุจแผ่นดินทรงแสดงไว้แล้ว
ย่อมไม่พ้นจากทุกข์
เมื่อใดภิกษุมีความเพียร ไม่ละสัมปชัญญะ
เมื่อนั้นเธอเป็นบัณฑิต กำหนดรู้เวทนาทั้งปวงได้
เธอครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว ไม่มีอาสวะในปัจจุบัน
ตั้งอยู่ในธรรม จบเวท ตายไป ย่อมไม่เข้าถึงการบัญญัติ”
ปหานสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปาตาลสูตร
ว่าด้วยบาดาล
[๒๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับกล่าวคำใดว่า ‘ในมหาสมุทรมี
บาดาล๑’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับกล่าวคำนั้นซึ่งไม่มีไม่ปรากฏว่า ‘ในมหาสมุทรมีบาดาล’
คำว่า บาดาล นี้เป็นชื่อของทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก
ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้เรากล่าวว่า ‘ปรากฏในบาดาลไม่ได้และถึงการหยั่งลง
ไม่ได้’
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับถูกทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระถูกต้องแล้ว ย่อมไม่
เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับนี้เรากล่าวว่า ‘ปรากฏในบาดาลได้และถึง
การหยั่งลงได้’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๕. ทัฏฐัพพสูตร
ภิกษุใดถูกทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระ
อันนำชีวิตไปซึ่งเกิดขึ้นถูกต้องแล้ว
อดกลั้นไม่ได้ ย่อมหวั่นไหว
มีกำลังทราม๑ เรี่ยวแรงน้อย๒ ย่อมร้องไห้คร่ำครวญ
ภิกษุนั้นปรากฏในบาดาลไม่ได้
ทั้งถึงการหยั่งลงไม่ได้ด้วย
ส่วนภิกษุใดถูกทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระ
อันนำชีวิตไปซึ่งเกิดขึ้นถูกต้องแล้ว
อดกลั้นได้ ย่อมไม่หวั่นไหว
ภิกษุนั้นแลปรากฏในบาดาลได้
ทั้งถึงการหยั่งลงได้ด้วย”
ปาตาลสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ควรเห็น
[๒๕๓] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เธอทั้งหลายพึงเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความ
เป็นลูกศร พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความไม่เที่ยง เพราะภิกษุเห็นสุขเวทนา
โดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดย
ความไม่เที่ยง ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘มีความเห็นชอบ ตัดตัณหาได้ เพิกถอน
สังโยชน์แล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะรู้แจ้งมานะได้โดยชอบ’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๖. สัลลสูตร
ภิกษุใดเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์
เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร
เห็นอทุกขมสุขเวทนาที่มีอยู่โดยความไม่เที่ยง
ภิกษุนั้นมีความเห็นชอบ ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายได้
เธอครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว ไม่มีอาสวะในปัจจุบัน
ตั้งอยู่ในธรรม จบเวท ตายไป ย่อมไม่เข้าถึงการบัญญัติ”
ทัฏฐัพพสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัลลสูตร
ว่าด้วยลูกศร
[๒๕๔] “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนา
บ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง อริยสาวกผู้ได้สดับก็เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง
อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
ในชน ๒ จำพวกนั้น มีอะไรเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็น
เหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้ง
หลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกทุกขเวทนา
ถูกต้อง ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง เขา
ย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการ คือ
๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ
นายขมังธนูใช้ลูกศรยิงบุรุษ ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก เมื่อเป็น
เช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการเพราะลูกศร คือ
๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ
แม้ฉันใด
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกทุกขเวทนาถูกต้องย่อมเศร้าโศก ลำบาก
ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการ คือ
๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๖. สัลลสูตร
อนึ่ง เขาถูกทุกขเวทนานั้นแลถูกต้องแล้ว ย่อมขัดเคือง ปฏิฆานุสัยในทุกข-
เวทนาย่อมไหลไปตามเขาผู้ขัดเคืองในเพราะทุกขเวทนา เขาถูกทุกขเวทนาถูกต้อง
แล้วก็ยังเพลิดเพลินกามสุข
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนั้นไม่รู้ชัดเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนานอกจากกามสุข
เมื่อเขาเพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยในสุขเวทนานั้นย่อมไหลไปตาม เขาย่อมไม่รู้ชัด
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนาเหล่านั้นตามความ
เป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
เวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนาย่อมไหลไปตาม
เขาเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ประกอบ(ด้วยกิเลส)เสวยสุขเวทนานั้น เสวยทุกขเวทนา
ก็เป็นผู้ประกอบ(ด้วยกิเลส)เสวยทุกขเวทนานั้น และเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เป็น
ผู้ประกอบ(ด้วยกิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้เราเรียกว่า ‘เป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส’ เรากล่าวว่า ‘เป็นผู้
ประกอบด้วยทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับถูกทุกขเวทนาถูกต้อง ย่อมไม่เศร้าโศก
ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง เธอย่อมเสวยเวทนา
ทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ
นายขมังธนูใช้ลูกศรยิงบุรุษ ไม่ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ เมื่อเป็นเช่นนี้
บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียวแม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกทุกขเวทนาถูกต้อง
ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง เขา
ย่อมเสวยเวทนาทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ
อนึ่ง เธอถูกทุกขเวทนานั้นแลถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ขัดเคือง ปฏิฆานุสัยใน
ทุกขเวทนา ย่อมไม่ไหลไปตามเธอผู้ไม่ขัดเคืองในเพราะทุกขเวทนา เธอถูกทุกข-
เวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลินกามสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๗๕ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น