Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๙-๑๑ หน้า ๕๔๙ - ๖๐๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙-๑๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๓. ตติยปุญญาภิสันทสูตร

๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๒
[๑๐๒๘] “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทาน
และการแจกทาน อยู่ครองเรือน นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้
ประการที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้”
ทุติยปุญญาภิสันทสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตติยปุญญาภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๓
[๑๐๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๔. ปฐมเทวปทสูตร
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้ง
ความเกิด และความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการ
ที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้”
ตติยปุญญาภิสันทสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมเทวปทสูตร
ว่าด้วยเทวบท สูตรที่ ๑
[๑๐๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เทวบท (ข้อปฏิบัติของเทพ) ของเทพ๑ ทั้งหลาย ๔ ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ผ่องแผ้ว
เทวบท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นเทวบทของเทพทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๕. ทุติยเทวปทสูตร
บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ผ่องแผ้วประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
นี้เป็นเทวบทของเทพทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของ
สัตว์ทั้งหลาย ผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่ผ่องแผ้วประการที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย เทวบทของเทพทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลายผู้
ไม่ผ่องแผ้ว”
ปฐมเทวปทสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยเทวปทสูตร
ว่าด้วยเทวบท สูตรที่ ๒
[๑๐๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย เทวบทของเทพทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่ผ่องแผ้ว
เทวบท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ อริยสาวกนั้นพิจารณาดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นเทวบท
ของเทพทั้งหลาย’ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ยินในบัดนี้ว่า
เทพทั้งหลายมีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง เราก็มิได้
เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือมั่นคง เราเป็นผู้ประกอบ
ด้วยธรรมคือเทวบทอยู่แน่แท้ นี้เป็นเทวบทของเทพทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๖. เทวสภาคสูตร
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความ
ผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ผ่องแผ้วประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ อริยสาวกนั้นพิจารณาดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นเทวบท
ของเทพทั้งหลาย’ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ยินในบัดนี้ว่า
เทพทั้งหลายมีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง เราก็มิได้
เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือมั่นคง เราเป็นผู้ประกอบ
ด้วยธรรมคือ เทวบทอยู่แน่แท้’ นี้เป็นเทวบทของเทพทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อ
ความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ไม่ผ่องแผ้วประการที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย เทวบทของเทพทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่ผ่องแผ้ว”
ทุติยเทวปทสูตรที่ ๕ จบ

๖. เทวสภาคสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมมาสู่เทวสภา
[๑๐๓๒] “ภิกษุทั้งหลาย เทพทั้งหลายปลื้มใจกล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๔ ประการ ซึ่งมาในที่ประชุม(ของเทพ)
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ เทพทั้งหลายผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๗. มหานามสูตร
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า จุติจากภพนี้แล้ว ไปเกิดในภพนั้น
คิดว่า ‘พวกเราประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเช่นใด
ในพระพุทธเจ้า จึงจุติจากภพนั้นแล้ว มาเกิดในที่นี้ แม้อริยสาวก
ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเช่นนั้นในพระพุทธเจ้า
ก็ไปเกิดในสำนักเทพทั้งหลาย ได้รับคำเชื้อเชิญว่ามาเถิด
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ เทพทั้งหลายผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ จุติ
จากภพนี้แล้ว ไปเกิดในภพนั้นคิดว่า ‘พวกเราประกอบด้วยศีล
ที่พระอริยะชอบใจเช่นใด จุติจากภพนั้นแล้ว มาเกิดในที่นี้ แม้
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจเช่นนั้น ก็ไปเกิด
ในสำนักของเทพทั้งหลาย ได้รับคำเชื้อเชิญว่ามาเถิด’
ภิกษุทั้งหลาย เทพทั้งหลายปลื้มใจ กล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการนี้ ซึ่งมาในที่ประชุม(ของเทพ)”
เทวสภาคสูตรที่ ๖ จบ

๗. มหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ
[๑๐๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่า
เป็นอุบาสก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร บุคคลถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ถึงพระธรรมเป็นสรณะ และถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึง
ชื่อว่าเป็นอุบาสก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๗. มหานามสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศีล”
“มหาบพิตร อุบาสกเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ และเว้นขาดจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศรัทธา”
“มหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของ
ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้ อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยจาคะ”
“มหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้
ทานและการแจกทาน อยู่ครองเรือน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยจาคะ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยปัญญา”
“มหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา”
มหานามสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๙. กาฬิโคธสูตร

๘. วัสสสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยฝนตก
[๑๐๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกบนยอดภูเขา น้ำนั้นไหลไป
ตามที่ลุ่ม ทำซอกเขา ลำธาร และห้วยให้เต็ม ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มแล้ว
ทำหนองให้เต็ม หนองเต็มแล้ว ทำบึงให้เต็ม บึงเต็มแล้ว ทำแม่น้ำน้อยให้เต็ม
แม่น้ำน้อยเต็มแล้ว ทำแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว ก็ทำมหาสมุทรให้เต็ม
แม้ฉันใด ธรรมเหล่านี้ของอริยสาวก คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
และศีลที่พระอริยะชอบใจ ไหลไปถึงฝั่งแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
วัสสสูตรที่ ๘ จบ

๙. กาฬิโคธสูตร
ว่าด้วยพระนางสากิยานีพระนามว่ากาฬิโคธา
[๑๐๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพระนางสากิยานีพระนามว่ากาฬิโคธา
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสกับพระนางกาฬิโคธาสากิยานีดังนี้ว่า
“โคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า “แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๑๐. นันทิยสักกสูตร
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทาน
และการแจกทาน อยู่ครองเรือน
โคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
พระนางกาฬิโคธาสากิยานีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ องค์เครื่อง
บรรลุโสดา ๔ ประการนี้ที่พระองค์ทรงแสดงไว้ ธรรม(คือองค์เครื่องบรรลุโสดา)
เหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉัน และหม่อมฉันก็เห็นธรรมเหล่านั้น เพราะว่าหม่อมฉัน
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
อนึ่ง ไทยธรรมทุกอย่างในตระกูล เป็นของไม่แบ่งแยกกับท่านผู้มีศีล มีธรรม
อันงาม”
“โคธา เป็นลาภของเธอ เธอได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลเธอทำให้แจ้งแล้ว”
กาฬิโคธาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นันทิยสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะ
[๑๐๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๑๐. นันทิยสักกสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกใด ไม่มีองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ
โดยประการทั้งปวง พระอริยสาวกนั้นชื่อว่าอยู่ด้วยความประมาทหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นันทิยะ บุคคลใด ไม่มีองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔
ประการ โดยประการทั้งปวง เราเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นผู้เหินห่าง ตั้งอยู่ในฝ่าย
ปุถุชน อนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท และอยู่ด้วยความไม่ประมาท
โดยวิธีใด ท่านจงฟัง จงใส่ใจวิธีนั้นให้ดี เราจักกล่าว” เจ้านันทิยศากยะทูล
รับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
“นันทิยะ อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ อริยสาวกพอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้านั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวัน
เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้
ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ
ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ก็อยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีทุกข์
ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ
เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความ
ประมาทโดยแท้
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ อริยสาวกพอใจด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจนั้น ไม่พยายาม
ให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๑๐. นันทิยสักกสูตร
ไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มี
ปัสสัทธิ ก็อยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีทุกข์ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่
ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ
จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทโดยแท้
นันทิยะ อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างนี้แล
อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ อริยสาวกไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้านั้น พยายามให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวัน
เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่
อย่างนี้ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์เกิดแล้ว ปีติย่อมเกิด
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมระงับ ผู้มีกายระงับย่อมเสวยสุข จิตของ
ผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ
เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่
ประมาทโดยแท้
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ อริยสาวกไม่พอใจด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ พยายาม
ให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ปราโมทย์ย่อมเกิด
เมื่อปราโมทย์เกิดแล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมระงับ
ผู้มีกายระงับย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น เมื่อจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ
จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทโดยแท้
นันทิยะ อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างนี้แล”
นันทิยสักกสูตรที่ ๑๐ จบ
ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร ๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร
๓. ตติยปุญญาภิสันทสูตร ๔. ปฐมเทวปทสูตร
๕. ทุติยเทวปทสูตร ๖. เทวสภาคสูตร
๗. มหานามสูตร ๘. วัสสสูตร
๙. กาฬิโคธสูตร ๑๐. นันทิยสักกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๑. ปฐมอภิสันทสูตร

๕. สคาถกปุญญาภิสันทวรรค
หมวดว่าด้วยห้วงบุญกุศลที่มีคาถาปน
๑. ปฐมอภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๑
[๑๐๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔
ประการนี้
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๔
ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้
การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔
ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ
ไม่ได้เลย’
การที่จะกำหนดปริมาณของน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำมีปริมาณเท่านี้อาฬหกะ๑
น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๑. ปฐมอภิสันทสูตร
น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้ที่จริง
ปริมาณของน้ำในมหาสมุทรนั้นย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ที่นับไม่ได้
ประมาณไม่ได้เลย’ แม้ฉันใด
การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔
ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ
ไม่ได้เลย’ ฉันนั้นเหมือนกัน
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา
ไหลบ่าไปยังมหาสมุทร อันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่
ประมาณไม่ได้ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก๑
เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยม ฉันใด
สายธารแห่งบุญย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชน
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า
ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด
เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทร ฉันนั้น”๒
ปฐมอภิสันทสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๒. ทุติยอภิสันทสูตร

๒. ทุติยอภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๒
[๑๐๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทาน
และการแจกทาน อยู่ครองเรือน นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้
ประการที่ ๔
ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้
การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔
ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้นำสุขมาให้’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ
ไม่ได้เลย’
แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู
แม่น้ำมหี ย่อมไหลเรื่อยไปที่ปากน้ำใด การที่จะกำหนดปริมาณของน้ำที่ปากน้ำ
นั้นว่า ‘น้ำมีปริมาณเท่านี้อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมี
ปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือน้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ’ ดังนี้
ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้ที่จริง ปริมาณของน้ำในมหาสมุทรนั้นย่อมถึงการนับว่า
‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๓. ตติยอภิสันทสูตร
การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔
ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ
ไม่ได้เลย’ ฉันนั้นเหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา
ไหลบ่าไปยังมหาสมุทร อันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่
ประมาณไม่ได้ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก๑
เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยม ฉันใด
สายธารแห่งบุญย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชน
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า
ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด
เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทร ฉันนั้น”
ทุติยอภิสันทสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตติยอภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๓
[๑๐๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๔. ปฐมมหัทธนสูตร
๔. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้
ประการที่ ๔
ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้แล
การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔
ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ
ไม่ได้เลย”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ผู้ใดต้องการบุญ ตั้งอยู่ในกุศล
ย่อมเจริญมรรคเพื่อบรรลุอมตะ
ผู้นั้นบรรลุธรรมอันเป็นสาระ ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ย่อมไม่หวั่นไหวเมื่อมัจจุราชมาถึง”
ตติยอภิสันทสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมมหัทธนสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมเป็นผู้มีทรัพย์มาก สูตรที่ ๑
[๑๐๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เรา
กล่าวว่า ‘เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่’
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๖. สุทธกสูตร
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เรากล่าวว่า
‘เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่”
ปฐมมหัทธนสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยมหัทธนสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมเป็นผู้มีทรัพย์มาก สูตรที่ ๒
[๑๐๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เรา
กล่าวว่า ‘เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่’
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เรากล่าวว่า
‘เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่”
ทุติยมหัทธนสูตรที่ ๕ จบ

๖. สุทธกสูตร
ว่าด้วยองค์คุณล้วนของพระโสดาบัน
[๑๐๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๗. นันทิยสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
สุทธกสูตรที่ ๖ จบ

๗. นันทิยสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะ
[๑๐๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะผู้ประทับนั่ง ณ
ที่สมควรว่า “มหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๘. ภัททิยสูตร
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
มหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน ไม่
มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
นันทิยสูตรที่ ๗ จบ

๘. ภัททิยสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าภัททิยะ
[๑๐๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้าศากยะพระนามว่าภัททิยะผู้ประทับนั่ง ณ ที่
สมควรว่า “มหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ
มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ภัททิยสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๑๐. อังคสูตร

๙. มหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ
[๑๐๔๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะผู้ประทับนั่ง ณ ที่
สมควรว่า “มหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
มหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน ไม่
มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
มหานามสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อังคสูตร
ว่าด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา
[๑๐๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้
องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ (การคบหาสัตบุรุษ)
๒. สัทธัมมัสสวนะ (การฟังพระสัทธรรม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย)
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
ภิกษุทั้งหลาย องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้”
อังคสูตรที่ ๑๐ จบ
สคาถกปุญญาภิสันทวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอภิสันทสูตร ๒. ทุติยอภิสันทสูตร
๓. ตติยอภิสันทสูตร ๔. ปฐมมหัทธนสูตร
๕. ทุติยมหัทธนสูตร ๖. สุทธกสูตร
๗. นันทิยสูตร ๘. ภัททิยสูตร
๙. มหานามสูตร ๑๐. อังคสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๑. สคาถกสูตร

๖. สัปปัญญวรรค
หมวดว่าด้วยผู้มีปัญญา
๑. สคาถกสูตร
ว่าด้วยตรัสองค์คุณของพระโสดาบันที่มีคาถา
[๑๐๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ
ในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ผู้ใดมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
มีศีลอันงามที่พระอริยะชอบใจ(และ)สรรเสริญ
มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๒. วัสสังวุตถสูตร
เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล
ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม”๑
สคาถกสูตรที่ ๑ จบ

๒. วัสสังวุตถสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่จำพรรษาในกรุงสาวัตถี
[๑๐๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษาในกรุง
สาวัตถีแล้ว ไปถึงกรุงกบิลพัสดุ์โดยลำดับด้วยกรณียกิจบางอย่าง พวกเจ้าศากยะ
ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ทรงสดับข่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษาในกรุงสาวัตถีมาถึง
กรุงกบิลพัสดุ์แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ตรัสถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่มีพระโรคาพาธ และมีพระพลานามัยแข็งแรง
อยู่หรือ”
ภิกษุนั้นถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคไม่มี
พระโรคาพาธ และมีพระพลานามัยแข็งแรงอยู่”
“ท่านผู้เจริญ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไม่มีโรคาพาธ และมีพลานามัย
แข็งแรงอยู่หรือ”
“มหาบพิตร แม้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็ไม่มีโรคาพาธ และมี
พลานามัยแข็งแรงอยู่”
“ท่านผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ไม่มีโรคาพาธ และมีพลานามัยแข็งแรงอยู่หรือ”
“มหาบพิตร แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่มีโรคาพาธ และมีพลานามัยแข็งแรงอยู่”
“ท่านผู้เจริญ ระหว่างพรรษานี้ อะไร ๆ ที่ท่านได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาค มีอยู่หรือ”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๓. ธัมมทินนสูตร
“มหาบพิตร อาตมภาพได้ฟังมา ได้รับเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มีจำนวนน้อย ที่แท้
ภิกษุผู้เป็นโอปปาติกะจักนิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์(สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป มีจำนวนมากกว่า’
อีกเรื่องหนึ่ง ที่อาตมภาพได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโอปปาติกะเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
จักนิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก มีจำนวนน้อย ที่แท้ภิกษุผู้เป็น
สกทาคามีเพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะบรรเทาราคะ โทสะ และ
โมหะให้เบาบาง มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ มีจำนวน
มากกว่า’
อีกเรื่องหนึ่ง อาตมภาพได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นสกทาคามีเพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะ
บรรเทาราคะ โทสะ และโมหะให้เบาบาง มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จักทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ มีจำนวนน้อยกว่า ที่แท้ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
มีจำนวนมากกว่า”
วัสสังวุตถสูตรที่ ๒ จบ

๓. ธัมมทินนสูตร
ว่าด้วยธัมมทินนอุบาสก
[๑๐๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ธัมมทินนอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ คน เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพระผู้มีพระภาคโปรดโอวาท โปรดพร่ำสอน
สิ่งนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๓. ธัมมทินนสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ธัมมทินนะ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้ว่า ‘พระสูตรเหล่าใดที่พระตถาคตตรัสแล้ว ลึกซึ้ง มีเนื้อความลุ่มลึก เป็น
โลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง เราจักเข้าถึงพระสูตรเหล่านั้นตลอดกาลอยู่’
ธัมมทินนะ ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ข้าพระองค์ทั้งหลายยังอยู่ครองเรือน นอนเบียด
เสียดบุตร ใช้สอยผงแก่นจันทน์จากแคว้นกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และ
เครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงิน จะเข้าถึงพระสูตรที่พระตถาคตตรัสแล้ว ลึกซึ้ง มี
เนื้อความลุ่มลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง ตลอดกาลอยู่นั้น มิใช่ทำ
ได้ง่าย ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมอันยิ่งแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ใน
สิกขาบททั้ง ๕ เถิด”
“ธัมมทินนะ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
๑. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. จักประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ’
ธัมมทินนะ ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการใดที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้ว ธรรม(คือองค์เครื่องบรรลุโสดา)เหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ทั้งหลาย
และข้าพระองค์ทั้งหลาย เห็นชัดธรรมเหล่านั้น เพราะข้าพระองค์ทั้งหลาย
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๔. คิลานสูตร
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ”
“ธัมมทินนะ เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้ดีแล้ว โสดาปัตติ-
ผลท่านทั้งหลายทำให้แจ้งแล้ว”
ธัมมทินนสูตรที่ ๓ จบ

๔. คิลานสูตร
ว่าด้วยอุบาสกป่วย
[๑๐๕๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มี
พระภาค ด้วยหวังว่า “พระผู้มีพระภาคทรงมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็
จักเสด็จจาริกไป”
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงทราบข่าวอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น
ท้าวเธอเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า ‘ได้ทราบว่า ภิกษุ
จำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า ‘พระผู้มีพระภาค
ทรงมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันยังไม่ได้ทราบข่าว ไม่ได้รับเรื่องนี้มาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘อุบาสกผู้มีปัญญา๑ พึงกล่าวสอนอุบาสกผู้มีปัญญา
ซึ่งป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก”
“มหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญาพึงปลอบใจอุบาสกผู้มีปัญญาซึ่งป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๔. คิลานสูตร
‘จงเบาใจเถิดท่านผู้มีอายุ ท่าน
๑. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. มีศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ’
มหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญาครั้นปลอบใจอุบาสกผู้มีปัญญาซึ่งป่วย ได้รับ
ทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการนี้แล้ว พึงถามว่า
‘ท่านยังมีความห่วงใยมารดาบิดาอยู่หรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘ผมยังมีความห่วงใย
มารดาบิดาอยู่’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา
ถึงแม้ท่านจักทำความห่วงใยมารดาบิดาก็จักตายเหมือนกัน ถึงแม้ท่านจะไม่ทำ
ความห่วงใยมารดาบิดาก็จักตายเหมือนกัน เอาเถิด ขอท่านจงละความห่วงใย
มารดาบิดาของท่านเสีย’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมละความห่วงใยมารดาบิดาของผมแล้ว’ อุบาสกนั้น
พึงถามเขาว่า ‘ท่านยังมีความห่วงใยบุตรและภริยาอยู่หรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘ผมยัง
มีความห่วงใยบุตรและภริยาอยู่’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกับเขาว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้มี
ความตายเป็นธรรมดา ถึงแม้ท่านจักทำความห่วงใยบุตรและภริยาก็จักตายเหมือน
กัน ถึงแม้ท่านจักไม่ทำความห่วงใยบุตรและภริยาก็จักตายเหมือนกัน เอาเถิด
ขอท่านจงละความห่วงใยบุตรและภริยาของท่านเสีย’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมละความห่วงใยบุตรและภริยาของผมแล้ว’ อุบาสก
นั้นพึงถามเขาว่า ‘ท่านยังมีความห่วงใยกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์อยู่หรือ’ ถ้า
เขาตอบว่า ‘ผมยังมีความห่วงใยกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์อยู่’ อุบาสกนั้นพึง
กล่าวว่า ‘ท่าน กามอันเป็นทิพย์ยังดีกว่าและประณีตกว่ากามอันเป็นของมนุษย์
เอาเถิด ขอท่านจงพรากจิตออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว น้อมจิตไปในหมู่
เทพชั้นจาตุมหาราชเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๕. โสตาปัตติผลสูตร
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมพรากจิตออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว ผม
น้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า ‘ท่าน หมู่เทพ
ชั้นดาวดึงส์ยังดีกว่าและประณีตกว่าหมู่เทพชั้นจาตุมหาราช เอาเถิด ขอท่านจง
พรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว น้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์เถิด’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมพรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ผม
น้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์แล้ว’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า ‘หมู่เทพชั้นยามายังดี
กว่าและประณีตกว่าหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ หมู่เทพชั้นดุสิต ฯลฯ หมู่เทพชั้น
นิมมานรดี ฯลฯ หมู่เทพชั้นปรินิมมิตวสวัตดี ฯลฯ พรหมโลกยังดีกว่าและ
ประณีตกว่าหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เอาเถิด ขอท่านจงพรากจิตออกจากหมู่
เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว น้อมจิตไปในพรหมโลกเถิด’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมพรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว
ผมน้อมจิตไปในพรหมโลกแล้ว’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า ‘ท่าน แม้พรหมโลกก็ไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน นับเนื่องด้วยสักกายะ๑ เอาเถิด ขอท่านจงพรากจิตออกจากพรหมโลกแล้ว
นำจิตเข้าไปในสักกายนิโรธ(ความดับกายของตน)เถิด’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมพรากจิตออกจากพรหมโลกแล้ว ผมนำจิตเข้าไป
ในสักกายนิโรธอยู่แล้ว’
มหาบพิตร อุบาสกผู้มีจิตหลุดพ้นอย่างนี้กับภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ
อาตมภาพไม่กล่าวว่าแตกต่างอะไรกันเลย คือ หลุดพ้นด้วยวิมุตติเหมือนกัน”
คิลานสูตรที่ ๔ จบ

๕. โสตาปัตติผลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
[๑๐๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๘. อรหัตตผลสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ (การคบหาสัตบุรุษ)
๒. สัทธัมมัสสวนะ (การฟังพระสัทธรรม)
๓. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย)
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล”
โสตาปัตติผลสูตรที่ ๕ จบ

๖. สกทาคามิผลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
[๑๐๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
ฯลฯ
ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล”
สกทาคามิผลสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนาคามิผลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
[๑๐๕๓] ... ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล”
อนาคามิผลสูตรที่ ๗ จบ

๘. อรหัตตผลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
[๑๐๕๔] ... ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล”
อรหัตตผลสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. ปัญญาปฏิลาภสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา
[๑๐๕๕] ... ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา”
ปัญญาปฏิลาภสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปัญญาวุฑฒิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา
[๑๐๕๖] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา”
ปัญญาวุฑฒิสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ปัญญาเวปุลลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา
[๑๐๕๗] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา”
ปัญญาเวปุลลสูตรที่ ๑๑ จบ
สัปปัญญวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สคาถกสูตร ๒. วัสสังวุตถสูตร
๓. ธัมมทินนสูตร ๔. คิลานสูตร
๕. โสตาปัตติผลสูตร ๖. สกทาคามิผลสูตร
๗. อนาคามิผลสูตร ๘. อรหัตตผลสูตร
๙. ปัญญาปฏิลาภสูตร ๑๐. ปัญญาวุฑฒิสูตร
๑๑. ปัญญาเวปุลลสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๗. มหาปัญญวรรค ๓. วิปุลปัญญาสูตร

๗. มหาปัญญวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญามาก
๑. มหาปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญามาก
[๑๐๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญามาก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ ๒. สัทธัมมัสสวนะ
๓. โยนิโสมนสิการ ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อความมีปัญญามาก”
มหาปัญญาสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปุถุปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาแน่น
[๑๐๕๙] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาแน่น”
ปุถุปัญญาสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิปุลปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาไพบูลย์
[๑๐๖๐] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาไพบูลย์”
วิปุลปัญญาสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๗. มหาปัญญวรรค ๘. สีฆปัญญาสูตร

๔. คัมภีรปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาลึกซึ้ง
[๑๐๖๑] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาลึกซึ้ง”
คัมภีรปัญญาสูตรที่ ๔ จบ

๕. อัปปมัตตปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาหาประมาณมิได้
[๑๐๖๒] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาหาประมาณมิได้”
อัปปมัตตปัญญาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ภูริปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาดุจแผ่นดิน
[๑๐๖๓] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาดุจแผ่นดิน”
ภูริปัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปัญญาพาหุลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาหลากหลาย
[๑๐๖๔] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาหลากหลาย”
ปัญญาพาหุลสูตรที่ ๗ จบ

๘. สีฆปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาเร็ว
[๑๐๖๕] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาเร็ว”
สีฆปัญญาสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๗. มหาปัญญวรรค ๑๓. นิพเพธิกปัญญาสูตร

๙. ลหุปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาฉับพลัน
[๑๐๖๖] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาฉับพลัน”
ลหุปัญญาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. หาสปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาร่าเริง
[๑๐๖๗] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาร่าเริง”
หาสปัญญาสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ชวนปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาแล่นไป
[๑๐๖๘] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาแล่นไป”
ชวนปัญญาสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ติกขปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญากล้า
[๑๐๖๙] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญากล้า”
ติกขปัญญาสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. นิพเพธิกปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาชำแรกกิเลส
[๑๐๗๐] “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาชำแรกกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๗. มหาปัญญวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ ๒. สัทธัมมัสสวนะ
๓. โยนิโสมนสิการ ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อความมีปัญญาชำแรกกิเลส”
นิพเพธิกปัญญาสูตรที่ ๑๓ จบ
มหาปัญญวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มหาปัญญาสูตร ๒. ปุถุปัญญาสูตร
๓. วิปุลปัญญาสูตร ๔. คัมภีรปัญญาสูตร
๕. อัปปมัตตปัญญาสูตร ๖. ภูริปัญญาสูตร
๗. ปัญญาพาหุลสูตร ๘. สีฆปัญญาสูตร
๙. ลหุปัญญาสูตร ๑๐. หาสปัญญาสูตร
๑๑. ชวนปัญญาสูตร ๑๒. ติกขปัญญาสูตร
๑๓. นิพเพธิกปัญญาสูตร

โสตาปัตติสังยุตที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๒. ปฏิสัลลานสูตร

๑๒. สัจจสังยุต
๑. สมาธิวรรค
หมวดว่าด้วยสมาธิ
๑. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ
[๑๐๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้
มีสมาธิย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
รู้ชัดอะไรตามความเป็นจริง
คือ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ
(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)’
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีสมาธิย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
สมาธิสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยผู้หลีกเร้น
[๑๐๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงประกอบความเพียรในการหลีกเร้น
ภิกษุผู้หลีกเร้นย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
รู้ชัดอะไรตามความเป็นจริง
คือ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๓. ปฐมกุลปุตตสูตร
เธอทั้งหลายจงประกอบความเพียรในการหลีกเร้น ภิกษุผู้หลีกเร้นย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปฏิสัลลานสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมกุลปุตตสูตร
ว่าด้วยกุลบุตร สูตรที่ ๑
[๑๐๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดได้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบก็เพื่อรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้น
ทั้งหมดจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบก็เพื่อรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการ
ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดย่อมออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบก็เพื่อรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบ ฯลฯ กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ฯลฯ กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดย่อมออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบก็เพื่อรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปฐมกุลปุตตสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๕. ปฐมสมณพราหมณสูตร

๔. ทุติยกุลปุตตสูตร
ว่าด้วยกุลบุตร สูตรที่ ๒
[๑๐๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ได้รู้แจ้งตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดได้
รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ จักรู้แจ้งตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้น
ทั้งหมดจักรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ในปัจจุบันกาลออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริง
กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-
อริยสัจ
กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ได้รู้แจ้งตามความเป็นจริง ฯลฯ กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ จักรู้แจ้ง ฯลฯ กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งใน
ปัจจุบันกาล ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริง
กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ทุติยกุลปุตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑
[๑๐๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
ได้รู้แจ้งตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดได้รู้แจ้งอริยสัจ ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ประการตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล
จักรู้แจ้งตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดจักรู้แจ้งอริยสัจ ๔
ประการตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล
ย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมรู้แจ้งอริยสัจ
๔ ประการตามความเป็นจริง
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้รู้แจ้งตามความเป็นจริง ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักรู้แจ้ง ฯลฯ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริง สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้ เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒
[๑๐๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
ได้ประกาศสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดได้ประกาศอริยสัจ ๔ ประการว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักประกาศสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้ว
ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดจักประกาศอริยสัจ ๔
ประการว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ย่อมประกาศสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมประกาศอริยสัจ ๔ ประการว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แจ้ง
แล้วตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๗. วิตักกสูตร
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ประกาศสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้ว
ตามความเป็นจริง ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจัก
ประกาศ ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมประกาศ
ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมประกาศอริยสัจ ๔ ประการนี้ว่า
เป็นสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อประกาศสิ่งที่
ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๖ จบ

๗. วิตักกสูตร
ว่าด้วยการตรึกถึงอริยสัจ
[๑๐๗๗] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าตรึกถึงถึงบาปอกุศลวิตก คือ
๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม)
๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะวิตกเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อ
สงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่อจะตรึก พึงตรึกว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความตรึกเหล่านี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๘. จินตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อตรึกว่า ‘นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
วิตักกสูตรที่ ๗ จบ

๘. จินตสูตร
ว่าด้วยการคิดเรื่องอริยสัจ
[๑๐๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าคิดเป็นบาปอกุศลจิตว่า ‘โลกเที่ยง
หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่างเดียว
กัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๒เกิดอีก หรือ
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความคิดนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อ
สงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
เธอทั้งหลายเมื่อจะคิด พึงคิดว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความคิดนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อคิดว่า ‘นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
จินตสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๑๐. ติรัจฉานกถาสูตร

๙. วิคคาหิกกถาสูตร
ว่าด้วยการกล่าวทุ่มเถียงแก่งแย่งกัน
[๑๐๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็อย่ากล่าวทุ่มเถียงแก่งแย่งกันว่า
‘ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่าน
ปฏิบัติผิด แต่ผมปฏิบัติถูก คำพูดของผมมีประโยชน์ แต่คำพูดของท่านไม่มี
ประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อน ท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง ท่าน
กลับพูดก่อน เรื่องที่ท่านเคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ผมจับผิดคำพูดของท่านได้แล้ว
ผมข่มท่านได้แล้ว ถ้าท่านมีความสามารถ ก็จงหาทางแก้คำพูดหรือเปลื้องตนให้
พ้นผิดเถิด๑
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการกล่าวเช่นนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อ
สงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
เธอทั้งหลายเมื่อจะกล่าวพึงกล่าวว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ ฯลฯ
เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรว่า ...”
วิคคาหิกกถาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ติรัจฉานกถาสูตร
ว่าด้วยติรัจฉานกถา
[๑๐๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากล่าวติรัจฉานกถา๒ ซึ่งมีหลาย
อย่าง คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๑๐. ติรัจฉานกถาสูตร
เรื่องมหาอำมาตย์ (๔) เสนากถา เรื่องกองทัพ (๕) ภยกถา เรื่องภัย (๖) ยุทธกถา
เรื่องการรบ (๗) อันนกถา เรื่องข้าว (๘) ปานกถา เรื่องน้ำ (๙) วัตถกถา เรื่องผ้า
(๑๐) สยนกถา เรื่องที่นอน (๑๑) มาลากถา เรื่องพวงดอกไม้ (๑๒) คันธกถา
เรื่องของหอม (๑๓) ญาติกถา เรื่องญาติ (๑๔) ยานกถา เรื่องยาน (๑๕) คามกถา
เรื่องบ้าน (๑๖) นิคมกถา เรื่องนิคม (๑๗) นครกถา เรื่องเมือง (๑๘) ชนปทกถา
เรื่องชนบท (๑๙) อิตถีกถา เรื่องสตรี (๒๐) ปุริสกถา เรื่องบุรุษ (๒๑) สูรกถา
เรื่องคนกล้าหาญ (๒๒) วิสิขากถา เรื่องตรอก (๒๓) กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่าน้ำ
(๒๔) ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว (๒๕) นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด
(๒๖) โลกักขายิกะ เรื่องโลก (๒๗) สมุททักขายิกะ เรื่องทะเล (๒๘) อิติภวาภวกถา
เรื่องความเจริญและความเสื่อม๑
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะติรัจฉานกถานี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไป
เพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่อจะกล่าวพึงกล่าวว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะถ้อยคำนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อกล่าวว่า ‘นี้
ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ติรัจฉานกถาสูตรที่ ๑๐ จบ
สมาธิวรรคที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมาธิสูตร ๒. ปฏิสัลลานสูตร
๓. ปฐมกุลปุตตสูตร ๔. ทุติยกุลปุตตสูตร
๕. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร
๗. วิตักกสูตร ๘. จินตสูตร
๙. วิคคาหิกกถาสูตร ๑๐. ติรัจฉานกถาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค
หมวดว่าด้วยการประกาศพระธรรมจักร
๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร๑
ว่าด้วยการประกาศพระธรรมจักร
[๑๐๘๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการ บรรพชิตไม่พึงเสพ
ที่สุด ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย)
เป็นธรรมอันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของ
พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความเดือดร้อนแก่ตน) เป็นทุกข์
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้ที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็น
ปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิด
ญาน เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
นี้คือมัชฌิมาปฏิปทานั้นที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาที่ก่อให้เกิดจักษุ
ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขอริยสัจ คือ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความ
แก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความเจ็บก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ความประสบสิ่ง
อันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนา
สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขสมุทยอริยสัจ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ
ด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วย
วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้ทุกขอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้
ควรกำหนดรู้’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้
เราได้กำหนดรู้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทย-
อริยสัจ นี้ควรละ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทย-
อริยสัจ นี้เราละได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ
นี้ควรทำให้แจ้ง’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจนี้เราได้ทำให้แจ้ง
แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิด
ขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ควรเจริญ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาอริยสัจนี้เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะ(ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ
๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการอย่างนี้ยังไม่หมดจดดีตราบใด เรา
ก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ตราบนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดญาณทัสสนะตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔
ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการอย่างนี้หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้นเราจึงยืนยันได้
ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ญาณทัสสนะ
เกิดขึ้นแก่เราว่า ‘ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพ
ใหม่ไม่มีอีก’
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์มีใจยินดี
ต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณะ๑อยู่ ธรรมจักษุ๒อันปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ทวยเทพชั้น
ภุมมะกระจายข่าวว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไป
แล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้๓”
ทวยเทพชั้นจาตุมหาราชสดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อ
ไปว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ สดับเสียงของทวยเทพชั้นจาตุมหาราชแล้วได้กระจาย
ข่าวต่อไป ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๒. ตถาคตสูตร
ทวยเทพชั้นยามา ฯลฯ
ทวยเทพชั้นดุสิต ฯลฯ
ทวยเทพชั้นนิมมานรดี ฯลฯ
ทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ
ทวยเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมสดับเสียงของทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว
ก็กระจายข่าวว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้ว
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
เพียงครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วย
ประการฉะนี้
ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้
ก็ปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานนี้ว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย
โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ” ดังนั้น คำว่า
“อัญญาโกณฑัญญะ” นี้จึงได้เป็นชื่อของพระโกณฑัญญะนั่นแล
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่ ๑ จบ

๒. ตถาคตสูตร
ว่าด้วยพระตถาคต
[๑๐๘๒] “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้น
แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่
ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกข-
อริยสัจนี้ควรกำหนดรู้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๒. ตถาคตสูตร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกข-
อริยสัจนี้ตถาคตทั้งหลายได้กำหนดรู้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า ‘นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกข-
สมุทยอริยสัจนี้ควรละ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกข-
สมุทยอริยสัจนี้ตถาคตทั้งหลายละได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกข-
นิโรธอริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกข-
นิโรธอริยสัจนี้ตถาคตทั้งหลายได้ทำให้แจ้งแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ควรเจริญ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๓. ขันธสูตร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทานี้ ตถาคตทั้งหลายได้เจริญแล้ว”
ตถาคตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ขันธสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์
[๑๐๘๓] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ทุกขอริยสัจนั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้
เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๔. อัชฌัตติกายตนสูตร
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ขันธสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัชฌัตติกายตนสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายใน
[๑๐๘๔] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ทุกขอริยสัจนั้น ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ ประการ
อายตนะภายใน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
ฯลฯ
๖. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความความเพลิดเพลินและความ
กำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๕. ปฐมธารณสูตร
ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
อริยสัจ ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
อัชฌัตติกายตนสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมธารณสูตร
ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ สูตรที่ ๑
[๑๐๘๕] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เรา
แสดงไว้แล้วเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้แล้ว”
“ภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เราแสดงไว้แล้ว อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขอริยสัจที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้แล้วเป็นข้อที่ ๑ ทรงจำทุกขสมุทยอริยสัจที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้ว
เป็นข้อที่ ๒ ทรงจำทุกขนิโรธอริยสัจที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วเป็นข้อที่ ๓
ทรงจำทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วเป็นข้อที่ ๔
ข้าพระองค์ทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้ว อย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๖. ทุติยธารณสูตร
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เราแสดงไว้แล้ว
เราแสดงทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ เธอก็จงทรงจำไว้อย่างนั้น เราแสดงทุกข-
สมุทยอริยสัจเป็นข้อที่ ๒ เธอก็จงทรงจำไว้อย่างนั้น เราแสดงทุกขนิโรธอริยสัจ
เป็นข้อที่ ๓ เธอก็จงทรงจำไว้อย่างนั้น เราแสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เป็นข้อที่ ๔ เธอก็จงทรงจำไว้อย่างนั้น เธอจงทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เรา
แสดงไว้แล้ว อย่างนี้แล
ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอพึงทำความเพียรเพื่อทรงจำว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ปฐมธารณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยธารณสูตร
ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ สูตรที่ ๒
[๑๐๘๖] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เรา
แสดงไว้แล้วเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้แล้ว”
“ภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เราแสดงไว้แล้ว อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขอริยสัจที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้แล้วเป็นข้อที่ ๑ เป็นไปไม่ได้เลยที่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘นี้ไม่ใช่ทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้แล้ว เราจัก
บอกคืนทุกขอริยสัจนั้นแล้วบัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ เป็นอย่างอื่น’ ข้าพระองค์
ทรงจำทุกขสมุทยอริยสัจ ฯลฯ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วเป็นข้อที่ ๔ เป็นไปไม่ได้เลยที่สมณะหรือ
พราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวว่า ‘นี้ไม่ใช่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ ที่
พระสมณโคดมทรงแสดงไว้แล้ว เราจักบอกคืนทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล้ว
บัญญัติทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ เป็นอย่างอื่น’ ข้าพระองค์ทรงจำ
อริยสัจ ๔ ประการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้ว อย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๗. อวิชชาสูตร
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เราแสดงไว้แล้ว
เราแสดงทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ เธอก็จงทรงจำไว้อย่างนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวว่า ‘นี้ไม่ใช่ทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ ที่พระสมณโคดม
ทรงแสดงไว้แล้ว เราจักบอกคืนทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ นั้นแล้วบัญญัติทุกขอริยสัจ
ข้อที่ ๑ เป็นอย่างอื่น’ เราแสดงทุกขสมุทยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ
เราแสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นข้อที่ ๔ เธอก็จงทรงจำไว้อย่างนั้น เป็น
ไปไม่ได้เลยที่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวว่า ‘นี้ไม่ใช่ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกคืนทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาอริยสัจ ๔ นั้นแล้วบัญญัติทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔
เป็นอย่างอื่น’ เธอจงทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เราแสดงไว้แล้ว อย่างนี้แล
ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอพึงทำความเพียรเพื่อทรงจำว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ทุติยธารณสูตรที่ ๖ จบ

๗. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา
[๑๐๘๗] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่า ‘ตกอยู่ในอวิชชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย
ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า ‘อวิชชา’
และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงชื่อว่า ‘ตกอยู่ในอวิชชา’
ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
อวิชชาสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๙. สังกาสนสูตร

๘. วิชชาสูตร
ว่าด้วยวิชชา
[๑๐๘๘] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไร
บุคคลจึงชื่อว่า ‘มีวิชชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย
ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า ‘วิชชา’ และ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงชื่อว่า ‘มีวิชชา’
ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
วิชชาสูตรที่ ๘ จบ

๙. สังกาสนสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอริยสัจ
[๑๐๘๙] “ภิกษุทั้งหลาย คำที่เราบัญญัติไว้ว่า ‘นี้ทุกขอริยสัจ’ ในคำบัญญัตินั้น
เมื่อจะขยายความว่า ‘นี้ชื่อว่าทุกขอริยสัจ แม้เพราะเหตุนี้’ อักษร พยัญชนะ
และการจำแนก ไม่มีที่สิ้นสุด คำที่เราบัญญัติว่า ‘นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ’ ฯลฯ
คำที่เราบัญญัติว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’ ในคำบัญญัตินั้น เมื่อจะ
ขยายความว่า ‘นี้ชื่อว่าทุกขนิโรธคามินี้ปฏิปทาอริยสัจ แม้เพราะเหตุนี้’ อักษร
พยัญชนะ และการจำแนก ไม่มีที่สิ้นสุด
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
สังกาสนสูตรที่ ๙ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น