Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๐-๓ หน้า ๙๓ - ๑๓๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค
ภิกษุรูปโน้นเป็นธัมมานุสารี๑ ภิกษุรูปโน้นเป็นสัทธานุสารี๒ ภิกษุรูปโน้นมีศีลมี
กัลยาณธรรม ภิกษุรูปโน้นทุศีลมีธรรมเลวทราม” ภิกษุเหล่านั้นได้ลาภเพราะเหตุนั้น
เธอทั้งหลายครั้นได้ลาภนั้นแล้ว ต่างติดใจ ลุ่มหลง หมกมุ่น ไม่เห็นโทษ ขาดปัญญา
เป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักใน
สัทธรรม
บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุไม่กล่าวสรรเสริญคุณของกันและกัน
ต่อหน้าคฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวว่า “ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต ภิกษุรูปโน้นเป็น
ปัญญาวิมุต ภิกษุรูปโน้นเป็นกายสักขี ภิกษุรูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ ภิกษุรูปโน้นเป็น
สัทธาวิมุต ภิกษุรูปโน้นเป็นธัมมานุสารี ภิกษุรูปโน้นเป็นสัทธานุสารี ภิกษุรูปโน้นมี
ศีลมีกัลยาณธรรม ภิกษุรูปโน้นทุศีลมีธรรมเลวทราม “ภิกษุเหล่านั้นได้ลาภเพราะ
เหตุนั้น เธอทั้งหลายครั้นได้ลาภนั้นแล้ว ไม่ติดใจ ไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่น มองเห็น
โทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่หนักใน
สัทธรรม ไม่หนักในอามิส
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิสเป็น
เลิศ (๗)
[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่ไม่เรียบร้อย ๒. บริษัทที่เรียบร้อย
บริษัทที่ไม่เรียบร้อย เป็นอย่างไร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมที่ไม่เป็นธรรมเป็นไป กรรมที่เป็นธรรมไม่
เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรม
รุ่งเรือง กรรมที่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยไม่
รุ่งเรือง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไม่เรียบร้อย
เพราะบริษัทที่ไม่เรียบร้อย กรรมที่ไม่เป็นธรรมจึงเป็นไป กรรมที่เป็นธรรมไม่
เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมรุ่งเรือง
กรรมที่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง
บริษัทที่เรียบร้อย เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมที่เป็นธรรมเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่
เป็นไป กรรมที่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่เป็นธรรมรุ่งเรือง
กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง
บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เรียบร้อย
เพราะบริษัทที่เรียบร้อย กรรมที่เป็นธรรมจึงเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นธรรมไม่เป็นไป
กรรมที่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมที่เป็นธรรมรุ่งเรือง กรรม
ที่ไม่เป็นธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เรียบร้อยเป็นเลิศ (๘)
[๕๑] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บริษัทที่ไม่เป็นธรรม ๒. บริษัทที่เป็นธรรม ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นธรรมเป็นเลิศ (๙)
[๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้
บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๙๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค
๑. บริษัทที่เป็นอธัมมวาที (กล่าวแต่สิ่งที่ไม่เป็นธรรม)
๒. บริษัทที่เป็นธัมมวาที (กล่าวแต่สิ่งที่เป็นธรรม)
บริษัทที่เป็นอธัมมวาที เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุได้รับอธิกรณ์๑ ที่เป็นธรรมหรือไม่เป็น
ธรรมก็ตาม ครั้นได้รับอธิกรณ์นั้นแล้ว ไม่ประกาศให้ยอมรับกัน และไม่เข้าร่วมการ
ยอมรับ ไม่ยอมให้พิจารณาอธิกรณ์ และไม่เข้าร่วมการพิจารณาอธิกรณ์ ภิกษุ
เหล่านั้นมีความตกลงกันไม่ได้เป็นแรงหนุน มีการไม่เพ่งโทษตนเป็นแรงหนุน คิด
แต่จะดื้อดึงไม่ยอมรับ กล่าวด้วยความยึดมั่นถือมั่นอธิกรณ์นั้นว่า “นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง” บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่เป็นอธัมมวาที
บริษัทที่เป็นธัมมวาที เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุได้รับอธิกรณ์ที่เป็นธรรมหรือไม่เป็น
ธรรมก็ตาม ครั้นได้รับอธิกรณ์นั้นแล้ว ประกาศให้ยอมรับกัน และเข้าร่วมการยอมรับ
ยอมให้พิจารณาอธิกรณ์ และเข้าร่วมการพิจารณาอธิกรณ์ ภิกษุเหล่านั้นมีการตกลง
กันได้เป็นแรงหนุน มีการเพ่งโทษตนเป็นแรงหนุน คิดแต่จะยอมรับ ไม่กล่าวด้วย
ความยึดมั่นถือมั่นอธิกรณ์นั้นว่า “นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” บริษัทนี้เรียกว่า
บริษัทที่เป็นธัมมวาที
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นธัมมวาทีเป็นเลิศ (๑๐)
ปริสวรรคที่ ๕ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุตตานสูตร ๒. วัคคสูตร
๓. อัคควตีสูตร ๔. อริยสูตร
๕. กสฏสูตร ๖. อุกกาจิตสูตร
๗. อามิสสูตร ๘. วิสมสูตร
๙. อธัมมสูตร ๑๐. ธัมมิยสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑. ปุคคลวรรค

๒. ทุติยปัณณาสก์

๑. ปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล
[๕๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อ
เกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก๑ เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ
บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย (๑)
[๕๔] บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริย-
มนุษย์๒
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ
บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ (๒)
[๕๕] การตายของบุคคล ๒ จำพวกนี้เป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอยเดือด
ร้อนไปด้วย

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค
การตายของบุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ
การตายของบุคคล ๒ จำพวกนี้แลเป็นเหตุให้คนจำนวนมากพลอยเดือดร้อน
ไปด้วย (๓)
[๕๖] ถูปารหบุคคล๑ ๒ จำพวกนี้
ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระเจ้าจักรพรรดิ
ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกนี้แล (๔)
[๕๗] พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้
พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้แล (๕)
[๕๘] สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง
สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุขีณาสพ ๒. ช้างอาชาไนย
สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง (๖)
[๕๙] สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง
สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุขีณาสพ ๒. ม้าอาชาไนย
สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง (๗)
[๖๐] สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง
สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค
๑. ภิกษุขีณาสพ ๒. พญาราชสีห์
สัตว์วิเศษ ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง (๘)
เหตุที่กินนรไม่พูดภาษาคน
[๖๑] กินนร๑เห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้จึงไม่พูดภาษาคน
อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พูดเท็จ ๒. ไม่กล่าวตู่ผู้อื่นด้วยเรื่องไม่จริง
กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แลจึงไม่พูดภาษาคน (๙)
สิ่งที่มาตุคามไม่อิ่ม
[๖๒] มาตุคาม(สตรี)ไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการจนกระทั่งตาย
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การเสพเมถุนธรรม๒ ๒. การคลอดบุตร
มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการนี้แลจนกระทั่งตาย (๑๐)
การอยู่ร่วมกัน ๒ แบบ
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและการอยู่ร่วม
กันของสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
การอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและอสัตบุรุษอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค
คือ ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระ๑ก็ไม่ควร
ว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะ๒ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะ๓ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา
ตัวเราก็ไม่ควรว่ากล่าวพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่า
กล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าว
เรา เราจะพูดกับเขาว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนเขา แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตาม
คำแนะนำของเขา หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะจะว่ากล่าวเรา
ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะ
พูดกับเขาว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนเขา แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำแนะนำ
ของเขา”
แม้พระมัชฌิมะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ฯลฯ แม้พระนวกะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า
“ถึงพระเถระก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะ
ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ไม่ควรว่ากล่าวพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ
ถึงหากพระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนา
สิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนท่าน
แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำสอนของท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หาก
พระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่
เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนท่าน แม้
เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำสอนของท่าน”
การอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและอสัตบุรุษอยู่ร่วมกันเป็นอย่างนี้แล
การอยู่ร่วมกันของสัตบุรุษและสัตบุรุษอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค
คือ ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระก็ควรว่า
กล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะก็ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็
ควรว่ากล่าวทั้งพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่ากล่าวเรา
ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะ
พูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำตามคำแนะนำของ
ท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนา
สิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า
‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำตามคำแนะนำของท่าน”
แม้พระมัชฌิมะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ฯลฯ แม้พระนวกะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า
“ถึงพระเถระก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะก็ควร
ว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ควรว่ากล่าวทั้งพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหาก
พระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่
เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่
ก็จะทำตามคำสอนของท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะ
จะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่า
กล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำ
ตามคำสอนของท่าน”
การอยู่ร่วมกันของสัตบุรุษและสัตบุรุษอยู่ร่วมกันเป็นอย่างนี้แล (๑๑)
เหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ
[๖๔] ในอธิกรณ์ใด การโต้ตอบกันด้วยวาจา ความแข่งดีเพราะทิฏฐิ ความมี
ใจอาฆาต ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด ยังไม่สงบระงับภายใน ในอธิกรณ์นั้นจะมีผล
ตามมาดังนี้ คือ อธิกรณ์นั้นจักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อความ
ร้ายแรง๑ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. สุขวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใด การโต้ตอบด้วยวาจา ความแข่งดีเพราะทิฏฐิ
ความมีใจอาฆาต ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด สงบระงับไปด้วยดีภายใน ใน
อธิกรณ์นั้นจะมีผลตามมา ดังนี้ คือ อธิกรณ์นั้นจักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อ
ความรุนแรง เพื่อความร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก (๑๒)
ปุคคลวรรคที่ ๑ จบ

๒. สุขวรรค
หมวดว่าด้วยสุข
[๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขของคฤหัสถ์ ๒. สุขของบรรพชิต
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของบรรพชิตเป็นเลิศ (๑)
[๖๖] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. กามสุข๑ ๒. เนกขัมมสุข๒
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เนกขัมมสุขเป็นเลิศ (๒)
[๖๗] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่มีอุปธิ๓ ๒. สุขที่ไม่มีอุปธิ๔
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีอุปธิเป็นเลิศ (๓)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์ ] ๒. สุขวรรค
[๖๘] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่มีอาสวะ๑ ๒. สุขที่ไม่มีอาสวะ๒
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีอาสวะเป็นเลิศ (๔)
[๖๙] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่อิงอามิส๓ ๒. สุขที่ไม่อิงอามิส๔
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่อิงอามิสเป็นเลิศ (๕)
[๗๐] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขของพระอริยะ๕ ๒. สุขของผู้ไม่ใช่พระอริยะ๖
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของพระอริยะเป็นเลิศ (๖)
[๗๑] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขทางกาย ๒. สุขทางใจ
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อยางนี้ สุขทางใจเป็นเลิศ (๗)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒. สุขวรรค
[๗๒] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่มีปีติ๑ ๒. สุขที่ไม่มีปีติ๒
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีปีติเป็นเลิศ (๘)
[๗๓] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่เกิดจากความยินดี๓ ๒. สุขที่เกิดจากอุเบกขา๔
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากอุเบกขาเป็นเลิศ (๙)
[๗๔] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สมาธิสุข๕ ๒. อสมาธิสุข๖
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สมาธิสุขเป็นเลิศ (๑๐)
[๗๕] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่เกิดจากฌานมีปีติเป็นอารมณ์๗
๒. สุขที่เกิดจากฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์๘
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากฌานไม่มีปีติเป็น
อารมณ์เป็นเลิศ (๑๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓. สนิมิตตวรรค
[๗๖] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่เกิดจากฌานมีความยินดีเป็นอารมณ์๑
๒. สุขที่เกิดจากฌานมีอุเบกขาเป็นอารมณ์๒
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากฌานมีอุเบกขาเป็น
อารมณ์เป็นเลิศ (๑๒)
[๗๗] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่มีรูปฌานเป็นอารมณ์
๒. สุขที่มีอรูปฌานเป็นอารมณ์
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่มีอรูปฌานเป็นอารมณ์เป็น
เลิศ (๑๓)
สุขวรรคที่ ๒ จบ

๓. สนิมิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเหตุแห่งบาปอกุศล
[๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
นิมิต๓ จึงเกิดขึ้น ไม่มีนิมิต ไม่เกิดขึ้น เพราะละนิมิตนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓. สนิมิตตวรรค
[๗๙] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิทาน๑ จึงเกิดขึ้น ไม่มีนิทาน ไม่เกิดขึ้น
เพราะละนิทานนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๒)
[๘๐] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุ ไม่เกิดขึ้น เพราะละ
เหตุนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๓)
[๘๑] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสังขารจึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขาร ไม่เกิดขึ้น เพราะ
ละสังขารเหล่านั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๔)
[๘๒] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น ไม่มีปัจจัย ไม่เกิดขึ้น เพราะ
ละปัจจัยนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๕)
[๘๓] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีรูปจึงเกิดขึ้น ไม่มีรูป ไม่เกิดขึ้น เพราะละรูป
นั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๖)
[๘๔] ธรรมที่เป็นบาปอกุศลมีเวทนาจึงเกิดขึ้น ไม่มีเวทนา ไม่เกิดขึ้น เพราะ
ละเวทนานั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๗)
[๘๕] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสัญญาจึงเกิดขึ้น ไม่มีสัญญา ไม่เกิดขึ้น
เพราะละสัญญานั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๘)
[๘๖] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีวิญญาณจึงเกิดขึ้น ไม่มีวิญญาณ ไม่เกิดขึ้น
เพราะละวิญญาณนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๙)
[๘๗] ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสังขตธรรม(ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) เป็น
อารมณ์จึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ ไม่เกิดขึ้น เพราะละสังขตธรรมนั้น
เสียได้อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๑๐)
สนิมิตตวรรคที่ ๓ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. ธัมมวรรค

๔. ธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยธรรม
[๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่างอะไรบ้าง คือ
๑. เจโตวิมุตติ๑ (ความหลุดพ้นแห่งจิต)
๒. ปัญญาวิมุตติ๒ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑)
[๘๙] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเพียร ๒. ความไม่ฟุ้งซ่าน
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๒)
[๙๐] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. นาม ๒. รูป
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๓)
[๙๑] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. วิชชา (ความรู้แจ้ง) ๒. วิมุตติ (ความหลุดพ้น)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๔)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๔. ธัมมวรรค
[๙๒] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ภวทิฏฐิ๑ ๒. วิภวทิฏฐิ๒
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๕)
[๙๓] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อหิริกะ (ความไม่อายบาป) ๒. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๖)
[๙๔] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๗)
[๙๕] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ว่ายาก ๒. ความมีปาปมิตร
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๘)
[๙๖] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ว่าง่าย ๒. ความมีกัลยาณมิตร
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๙)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. พาลวรรค
[๙๗] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ๑ ๒. ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๐)
[๙๘] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ๒ ๒. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ๓
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๑)
ธัมมวรรคที่ ๔ จบ

๕. พาลวรรค
หมวดว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
[๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้
คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่ทำหน้าที่ซึ่งยังมาไม่ถึง ๒. คนที่ไม่ทำหน้าที่ซึ่งมาถึงแล้ว
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. พาลวรรค
[๑๐๐] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่ไม่ทำหน้าที่ซึ่งยังมาไม่ถึง ๒. คนที่ทำหน้าที่ซึ่งมาถึงแล้ว
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๒)
[๑๐๑] คนพาล ๒ จำพวกนี้
คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๒. คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๓)
[๑๐๒] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๒. คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ควร
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๔)
[๑๐๓] คนพาล ๒ จำพวกนี้
คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๕)
[๑๐๔] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ
๒. คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๖)
[๑๐๕] คนพาล ๒ จำพวกนี้
คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๑๐ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. พาลวรรค
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๗)
[๑๐๖] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๘)
[๑๐๗] คนพาล ๒ จำพวกนี้
คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๙)
[๑๐๘] บัณฑิต ๒ จำพวกนี้
บัณฑิต ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย
๒. คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล (๑๐)
[๑๐๙] อาสวะ๑ ย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๒. คนที่ไม่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๕. พาลวรรค
[๑๑๐] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่ไม่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๒. คนที่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๒)
[๑๑๑] อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๒. คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๓)
[๑๑๒] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๒. คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ควร
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๔)
[๑๑๓] อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ
๒. คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๕)
[๑๑๔] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๑๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์ ] ๕. พาลวรรค
[๑๑๕] อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๗)
[๑๑๖] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๘)
[๑๑๗] อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย
๒. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๑๙)
[๑๑๘] อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก
คน ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย
๒. คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย
ภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล (๒๐)
พาลวรรคที่ ๕ จบ
ทุติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. อาสาทุปปชหวรรค

๓. ตติยปัณณาสก์

๑. อาสาทุปปชหวรรค
หมวดว่าด้วยความหวังที่ละได้ยาก
[๑๑๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒ อย่างนี้ละ
ได้ยาก
ความหวัง ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความหวังในลาภ ๒. ความหวังในชีวิต
ความหวัง ๒ อย่างนี้แล ละได้ยาก (๑)
[๑๒๐] บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุพพการี (ผู้ทำอุปการะก่อน)
๒. กตัญญูกตเวที (ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน)
บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก (๒)
[๑๒๑] บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่อิ่มเอง๑ ๒. คนที่ให้ผู้อื่นอิ่ม๒
บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก (๓)
[๑๒๒] บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่มได้ยาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่สะสมสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง ๒. คนที่สละสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง
บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้อิ่มได้ยาก (๔)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. อาสาทุปปชหวรรค
[๑๒๓] บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่มได้ง่าย
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่ไม่สะสมสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง ๒. คนที่ไม่สละสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง
บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้อิ่มได้ง่าย (๕)
[๑๒๔] ปัจจัยให้เกิดราคะ ๒ อย่างนี้
ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุภนิมิต๑ (นิมิตงาม)
๒. อโยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยไม่แยบคาย)
ปัจจัยให้เกิดราคะ ๒ อย่างนี้แล (๖)
[๑๒๕] ปัจจัยให้เกิดโทสะ ๒ อย่างนี้
ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิฆนิมิต๒ (นิมิตให้ขัดเคือง) ๒. อโยนิโสมนสิการ
ปัจจัยให้เกิดโทสะ ๒ อย่างนี้แล (๗)
[๑๒๖] ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้
ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปรโตโฆสะ๓ (เสียงจากผู้อื่น) ๒. อโยนิโสมนสิการ
ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล (๘)
[๑๒๗] ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้
ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปรโตโฆสะ๔ ๒. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย)
ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล (๙)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค
[๑๒๘] อาบัติ ๒ อย่างนี้
อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อาบัติเบา ๒. อาบัติหนัก๑
อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๐)
[๑๒๙] อาบัติ ๒ อย่างนี้
อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อาบัติชั่วหยาบ ๒. อาบัติไม่ชั่วหยาบ๒
อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๑)
[๑๓๐] อาบัติ ๒ อย่างนี้
อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อาบัติที่มีส่วนเหลือ๓ ๒. อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ๔
ภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๒)
อาสาทุปปชหวรรคที่ ๑ จบ

๒. อายาจนวรรค
หมวดว่าด้วยความปรารถนา
[๑๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่อ
ปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอให้เราเป็นเช่นกับพระสารีบุตรและพระ
โมคคัลลานะเถิด” สารีบุตรและโมคคัลลานะนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของ
ภิกษุสาวกของเรา (๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค
[๑๓๒] ภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอ
ให้เราเป็นเช่นกับภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณาเถิด” เขมาและอุบลวรรณานี้
เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของภิกษุณีสาวิกาของเรา (๒)
[๑๓๓] อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอ
ให้เราเป็นเช่นกับจิตตคหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด” จิตตคหบดีและ
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของอุบาสกสาวก
ของเรา (๓)
[๑๓๔] อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า
“ขอให้เราเป็นเช่นกับอุบาสิกาขุชชุตตราและอุบาสิกาเวฬุกัณฏกีนันทมาตาเถิด”
ขุชชุตราและเวฬุกัณฏกีนันทมาตานี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของอุบาสิกา
สาวิกาของเรา (๔)
[๑๓๕] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ
สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง พูดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง พูดติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ
สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๑๗ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แลย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก (๕)
[๑๓๖] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
คนพาล ผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิต ผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณาไตร่ตรองแล้ว ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๒. พิจารณาไตร่ตรองแล้ว ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แลย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก (๖)
[๑๓๗] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. มารดา ๒. บิดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๑๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค
คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกย่อมบริหาร
ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ
บุญเป็นอันมาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. มารดา ๒. บิดา
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก (๗)
[๑๓๘] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ตถาคต ๒. สาวกของตถาคต
คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม
บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่
ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกย่อมบริหาร
ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ
บุญเป็นอันมาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ตถาคต ๒. สาวกของตถาคต
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก (๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๑๙ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ทานวรรค
[๑๓๙] ธรรม ๒ ประการนี้
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ๒. ความไม่ถือมั่นอะไร ๆ๑ ในโลก
ธรรม ๒ ประการนี้แล (๙)
[๑๔๐] ธรรม ๒ ประการนี้
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โกธะ (ความโกรธ) ๒. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ)
ธรรม ๒ ประการนี้แล (๑๐)
[๑๔๑] ธรรม ๒ ประการนี้
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การกำจัดความโกรธ ๒. การกำจัดอุปนาหะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แล (๑๑)
อายาจนวรรคที่ ๒ จบ

๓. ทานวรรค
หมวดว่าด้วยทาน
[๑๔๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้
ทาน ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อามิสทาน๒ (การให้สิ่งของ) ๒. ธัมมทาน๓ (การให้ธรรม)
ทาน ๒ อย่างนี้แล บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธัมมทานเป็นเลิศ (๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ทานวรรค
[๑๔๓] การบูชายัญ ๒ อย่างนี้
การบูชายัญ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การบูชายัญด้วยอามิส ๒. การบูชายัญด้วยธรรม
การบูชายัญ ๒ อย่างนี้แล บรรดาการบูชายัญ ๒ อย่างนี้ การบูชายัญ
ด้วยธรรมเป็นเลิศ (๒)
[๑๔๔] จาคะ (การสละ) ๒ อย่างนี้
จาคะ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อามิสจาคะ (การสละอามิส) ๒. ธัมมจาคะ (การสละธรรม)
จาคะ ๒ อย่างนี้แล บรรดาจาคะ ๒ อย่างนี้ ธัมมจาคะเป็นเลิศ (๓)
[๑๔๕] การบริจาค ๒ อย่างนี้
การบริจาค ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การบริจาคอามิส ๒. การบริจาคธรรม
การบริจาค ๒ อย่างนี้แล บรรดาการบริจาค ๒ อย่างนี้ การบริจาค
ธรรมเป็นเลิศ (๔)
[๑๔๖] การบริโภค ๒ อย่างนี้
การบริโภค ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การบริโภคอามิส ๒. การบริโภคธรรม
การบริโภค ๒ อย่างนี้แล บรรดาการบริโภค ๒ อย่างนี้ การบริโภคธรรม
เป็นเลิศ (๕)
[๑๔๗] การคบหากัน ๒ อย่างนี้
การคบหากัน ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การคบหากันด้วยอามิส ๒. การคบหากันด้วยธรรม
การคบหากัน ๒ อย่างนี้แล บรรดาการคบหากัน ๒ อย่างนี้ การคบหา
กันด้วยธรรมเป็นเลิศ (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๒๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ทานวรรค
[๑๔๘] การจำแนก ๒ อย่างนี้
การจำแนก ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การจำแนกอามิส ๒. การจำแนกธรรม
การจำแนก ๒ อย่างนี้แล บรรดาการจำแนก ๒ อย่างนี้ การจำแนกธรรม
เป็นเลิศ (๗)
[๑๔๙] การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้
การสงเคราะห์ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การสงเคราะห์ด้วยอามิส ๒. การสงเคราะห์ด้วยธรรม
การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล บรรดาการสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การสงเคราะห์
ด้วยธรรมเป็นเลิศ (๘)
[๑๕๐] การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้
การอนุเคราะห์ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๒. การอนุเคราะห์ด้วยธรรม
การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล บรรดาอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์
ด้วยธรรมเป็นเลิศ (๙)
[๑๕๑] ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้
ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเอื้อเฟื้อด้วยอามิส ๒. ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรม
ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้
ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรมเป็นเลิศ (๑๐)
ทานวรรคที่ ๓ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สันถารวรรค

๔. สันถารวรรค
หมวดว่าด้วยการรับรอง
[๑๕๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สันถาร (การรับรอง) ๒
อย่างนี้
สันถาร ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อามิสสันถาร (การรับรองด้วยอามิส)
๒. ธัมมสันถาร (การรับรองด้วยธรรม)
สันถาร ๒ อย่างนี้แล บรรดาสันถาร ๒ อย่างนี้ ธัมมสันถารเป็นเลิศ (๑)
[๑๕๓] ปฏิสันถาร(การต้อนรับ) ๒ อย่างนี้
ปฏิสันถาร ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อามิสปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยอามิส)
๒. ธัมมปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยธรรม)
ปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้แล บรรดาปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้ ธัมมปฏิสันถาร
เป็นเลิศ (๒)
[๑๕๔] การเสาะหา ๒ อย่างนี้
การเสาะหา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การเสาะหาอามิส ๒. การเสาะหาธรรม
การเสาะหา ๒ อย่างนี้แล บรรดาการเสาะหา ๒ อย่างนี้ การเสาะหา
ธรรมเป็นเลิศ (๓)
[๑๕๕] การแสวงหา ๒ อย่างนี้
การแสวงหา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหาอามิส ๒. การแสวงหาธรรม
การแสวงหา ๒ อย่างนี้แล บรรดาการแสวงหา ๒ อย่างนี้ การแสวงหา
ธรรมเป็นเลิศ (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๒๓ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. สันถารวรรค
[๑๕๖] การค้นหา ๒ อย่างนี้
การค้นหา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การค้นหาอามิส ๒. การค้นหาธรรม
การค้นหา ๒ อย่างนี้แล บรรดาการค้นหา ๒ อย่างนี้ การค้นหาธรรม
เป็นเลิศ (๕)
[๑๕๗] บูชา ๒ อย่างนี้
บูชา ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อามิสบูชา (การบูชาด้วยอามิส) ๒. ธัมมบูชา (การบูชาด้วยธรรม)
บูชา ๒ อย่างนี้แล บรรดาบูชา ๒ อย่างนี้ ธัมมบูชาเป็นเลิศ (๖)
[๑๕๘] ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้
ของต้อนรับแขก ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ของต้อนรับแขกคืออามิส ๒. ของต้อนรับแขกคือธรรม
ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้แล บรรดาของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้ ของ
ต้อนรับแขกคือธรรมเป็นเลิศ (๗)
[๑๕๙] ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้
ความสำเร็จ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความสำเร็จทางอามิส ๒. ความสำเร็จทางธรรม
ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้แล บรรดาความสำเร็จ ๒ อย่างนี้ ความสำเร็จ
ทางธรรมเป็นเลิศ (๘)
[๑๖๐] ความเจริญ ๒ อย่างนี้
ความเจริญ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเจริญด้วยอามิส ๒. ความเจริญด้วยธรรม
ความเจริญ ๒ อย่างนี้แล บรรดาความเจริญ ๒ อย่างนี้ ความเจริญด้วย
ธรรมเป็นเลิศ (๙)
[๑๖๑] รัตนะ(แก้วอันประเสริฐ) ๒ อย่างนี้
รัตนะ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๒๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค
๑. อามิสรัตนะ (รัตนะคืออามิส) ๒. ธัมมรัตนะ (รัตนะคือธรรม)
รัตนะ ๒ อย่างนี้แล บรรดารัตนะ ๒ อย่างนี้ ธัมมรัตนะเป็นเลิศ (๑๐)
[๑๖๒] การสะสม ๒ อย่างนี้
การสะสม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การสะสมอามิส ๒. การสั่งสมธรรม
การสะสม ๒ อย่างนี้แล บรรดาการสะสม ๒ อย่างนี้ การสั่งสมธรรม
เป็นเลิศ (๑๑)
[๑๖๓] ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้
ความไพบูลย์ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความไพบูลย์แห่งอามิส ๒. ความไพบูลย์แห่งธรรม
ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บรรดาความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้
ความไพบูลย์แห่งธรรมเป็นเลิศ (๑๒)
สันถารวรรคที่ ๔ จบ

๕. สมาปัตติวรรค
หมวดว่าด้วยสมาบัติ
[๑๖๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ๑
๒. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ๒
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค
[๑๖๕] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อาชชวะ (ความซื่อตรง) ๒. มัททวะ (ความอ่อนโยน)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๒)
[๑๖๖] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ขันติ (ความอดทน)๑ ๒. โสรัจจะ (ความเสงี่ยม)๒
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๓)
[๑๖๗] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สาขัลยะ๓ (ความมีวาจาอ่อนหวาน)
๒. ปฏิสันถาร (การต้อนรับ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๔)
[๑๖๘] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)
๒. โสเจยยะ๔ (ความสะอาด)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๕)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค
[๑๖๙] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์๑ ๒. ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๖)
[๑๗๐] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๒. ความรู้จักประมาณในการบริโภค
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๗)
[๑๗๑] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิสังขานพละ (กำลังคือการพิจารณา)
๒. ภาวนาพละ (กำลังคือการเจริญ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๘)
[๑๗๒] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สติพละ (กำลังคือสติ) ๒. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๙)
[๑๗๓] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สมถะ๒(การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) ๒. วิปัสสนา๓(ความเห็นแจ้ง)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๐)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค
[๑๗๔] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล)
๒. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๑)
[๑๗๕] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๒. ทิฏฐิสัมปทา๑ (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๒)
[๑๗๖] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล)
๒. ทิฏฐิวิสุทธิ๒ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๓)
[๑๗๗] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ)
๒. ปธาน (ความเพียร) ที่สมควรแก่สัมมาทิฏฐิ
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๔)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค
[๑๗๘] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ความไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๕)
[๑๗๙] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความหลงลืมสติ ๒. ความไม่มีสัมปชัญญะ
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๖)
[๑๘๐] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สติ ๒. สัมปชัญญะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๗)
สมาปัตติวรรคที่ ๕ จบ

ตติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๑. โกธเปยยาล

๑. โกธเปยยาล
[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. โกธะ (ความโกรธ) ๒. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ...
๑. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ๒. ปฬาสะ (ความตีเสมอ) ...
๑. อิสสา (ความริษยา) ๒. มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ...
๑. มายา (มารยา) ๒. สาเถยยะ (ความโอ้อวด) ...
๑. อหิริกะ (ความไม่อายบาป) ๒. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป)

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑-๕)

[๑๘๒] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. อักโกธะ (ความไม่โกรธ) ๒. อนุปนาหะ (ความไม่ผูกโกรธ) ...
๑. อมักขะ (ความไม่ลบหลู่คุณท่าน) ๒. อปฬาสะ (ความไม่ตีเสมอ) ...
๑. อนิสสา (ความไม่ริษยา) ๒. อมัจฉริยะ (ความไม่ตระหนี่) ...
๑. อมายา (ไม่มีมารยา) ๒. อสาเถยยะ (ความไม่โอ้อวด) ..
๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป)

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๖-๑๐)

[๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมอยู่เป็นทุกข์
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ...
๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ...
๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ...
๑. มายา ๒. สาเถยยะ ...
๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมอยู่เป็นทุกข์ (๑๑-๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๓๐ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๑. โกธเปยยาล
[๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมอยู่เป็นสุข
ธรรม ๒ อย่างอะไรบ้าง คือ

๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ...
๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ...
๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ...
๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ...
๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมอยู่เป็นสุข (๑๖-๒๐)

[๑๘๕] ธรรม ๒ อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมของภิกษุผู้ยังเป็นเสขะ
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ...
๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ...
๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ...
๑. มายา ๒. สาเถยยะ ...
๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมของภิกษุผู้ยังเป็น
เสขะ (๒๑-๒๕)

[๑๘๖] ธรรม ๒ อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมของภิกษุผู้ยังเป็นเสขะ
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ...
๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ...
๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ...
๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ...
๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมของภิกษุผู้ยัง
เป็นเสขะ (๒๖-๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๓๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๑. โกธเปยยาล
[๑๘๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ...
๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ...
๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ...
๑. มายา ๒. สาเถยยะ ...
๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้ (๓๑-๓๕)

[๑๘๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ...
๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ...
๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ...
๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ...
๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๓๖-๔๐)

[๑๘๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๓๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๒. อกุสลเปยยาล
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ...
๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ...
๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ...
๑. มายา ๒. สาเถยยะ ...
๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล หลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก (๔๑-๔๕)

[๑๙๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง หลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ...
๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ...
๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ...
๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ...
๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล หลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๔๖-๕๐)
โกธเปยยาล จบ

๒. อกุสลเปยยาล
[๑๙๑-๒๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรม ๒ อย่าง
นี้ ... กุศลธรรม ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่มีโทษ ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่ไม่มีโทษ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๓๓ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๓. วินยเปยยาล
อย่างนี้ ... ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่มีสุขเป็นกำไร ๒ อย่างนี้ ...
ธรรมที่มีวิบากเป็นทุกข์ ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่มีวิบากเป็นสุข ๒ อย่างนี้ ... ธรรม
ที่มีความเบียดเบียน ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒ อย่างนี้
ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. อักโกธะ (ความไม่โกรธ) ๒. อนุปนาหะ (ความไม่ผูกโกรธ) ...
๑. อมักขะ (ความไม่ลบหลู่คุณท่าน) ๒. อปฬาสะ (ความไม่ตีเสมอ) ...
๑. อนิสสา (ความไม่ริษยา) ๒. อมัจฉริยะ (ความไม่ตระหนี่) ...
๑. อมายา (ไม่มีมารยา) ๒. อสาเถยยะ (ความไม่โอ้อวด) ..
๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป)

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒ อย่างนี้แล (๑-๕๐)
อกุสลเปยยาล จบ

๓. วินยเปยยาล
[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบัญญัติสิกขาบทแก่
เหล่าสาวกโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้
อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์

๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม

๑. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๓๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๓. วินยเปยยาล
๑. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์
๒. เพื่อตัดฝักฝ่ายของภิกษุผู้ปรารถนาชั่ว

๑. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๒. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว

๑. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
๒. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย๑

ตถาคตบัญญัติสิกขาบทแก่เหล่าสาวกโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ
นี้แล (๑-๑๐)

[๒๐๒-๒๓๐] ตถาคตบัญญัติปาติโมกข์แก่เหล่าสาวก ... บัญญัติการสวด
ปาติโมกข์ ... บัญญัติการงดสวดปาติโมกข์ ... บัญญัติปวารณา ... บัญญัติการงด
ปวารณา ... บัญญัติตัชชนียกรรม ... บัญญัตินิยสกรรม ... บัญญัติปัพพาชนียกรรม ...
บัญญัติปฏิสารณียกรรม ... บัญญัติอุกเขปนียกรรม ... บัญญัติการให้ปริวาส ...

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๓. วินยเปยยาล
บัญญัติการชักเข้าหาอาบัติเดิม ... บัญญัติการให้มานัต ... บัญญัติอัพภาน ...
บัญญัติการเรียกเข้าหมู่ ... บัญญัติการขับออกจากหมู่ ... บัญญัติการอุปสมบท ...
บัญญัติญัตติกรรม ... บัญญัติญัตติทุติยกรรม ... บัญญัติญัตติจตุตถกรรม ...
บัญญัติสิกขาบทที่ยังไม่ได้บัญญัติ ... บัญญัติเพิ่มเติมสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว ...
บัญญัติสัมมุขาวินัย ... บัญญัติสติวินัย ... บัญญัติอมูฬหวินัย ... บัญญัติ-
ปฏิญญาตกรณะ ... บัญญัติเยภุยยสิกา ... บัญญัติตัสสปาปิยสิกา ... บัญญัติ
ติณวัตถารกะโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้
อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์

๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม

๑. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

๑. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์
๒. เพื่อตัดฝักฝ่ายของภิกษุผู้ปรารถนาชั่ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๓๖ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๔. ราคเปยยาล
๑. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๒. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว

๑. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
๒. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบัญญัติติณวัตถารกะแก่เหล่าสาวกโดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการนี้แล (๑๑-๓๐๐)
วินยเปยยาล จบ

๔. ราคเปยยาล
[๒๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๒
ประการเพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) ๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง)
ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่งราคะ...
เพื่อกำหนดรู้ราคะ(ความกำหนัด) ... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ...
เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความคลายไปแห่ง
ราคะ ... เพื่อความดับแห่งราคะ ฯลฯ เพื่อความสละราคะ ... เพื่อความสละคืน
ราคะ ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้ ฯลฯ (๑-๑๐)
[๒๓๒-๒๔๖] เพื่อรู้ยิ่งโทสะ(ความคิดประทุษร้าย) ... เพื่อกำหนดรู้โทสะ ...
เพื่อความสิ้นโทสะ ... เพื่อละโทสะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ ... เพื่อความเสื่อมไป
แห่งโทสะ ... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ ... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ ... เพื่อความ
สละโทสะ ... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง)... โกธะ(ความโกรธ)...
อุปนาหะ(ความผูกโกรธ)... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน)... ปฬาสะ(ความตีเสมอ)...
อิสสา (ความริษยา)... มัจฉริยะ(ความตระหนี่)... มายา(มารยา)... สาเถยยะ (ความ
โอ้อวด)... ถัมภะ(ความหัวดื้อ)... สารัมภะ(ความแข่งดี)... มานะ(ความถือตัว)...
อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา)... มทะ(ความมัวเมา)... ปมาทะ(ความประมาท)...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๑๓๗ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น