Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๑-๑ หน้า ๑ - ๔๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๑. อนุพุทธสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. ภัณฑคามวรรค
หมวดว่าด้วยพุทธกิจในภัณฑคาม
๑. อนุพุทธสูตร
ว่าด้วยการตรัสรู้ธรรมเป็นเหตุสิ้นภพ
[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภัณฑคาม แคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรม ๔ ประการ เราและเธอ
ทั้งหลายจึงเที่ยวเร่ร่อนไป๒ตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
ธรรม ๔ ประการ๓ อะไรบ้าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๒.ปปติตสูตร
๑. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว
เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
๒. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว
เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
๓. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว
เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
๔. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว
เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ
เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราถอนภวตัณหา
ได้แล้ว ภวเนตติ๑สิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
และวิมุตติอันยอดเยี่ยมพระโคดมผู้มียศตรัสรู้แล้ว
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรม
แก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง
พระศาสดาทรงทำที่สุดแห่งทุกข์
มีจักษุ ปรินิพพาน๒แล้ว
อนุพุทธสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปปติตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ตกจากธรรมวินัย
[๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการ เราเรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๒.ปปติตสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยศีล เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
๒. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยสมาธิ เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
๓. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยปัญญา เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
๔. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยวิมุตติ เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า
‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เราเรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไป๑
จากธรรมวินัยนี้’
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยศีล เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
๒. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยสมาธิ เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
๓. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยปัญญา เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
๔. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยวิมุตติ เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า ‘ผู้
ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
ผู้เคลื่อนจากธรรมวินัย๒นี้ย่อมตกไป
ผู้ตกไปและกำหนัดเพราะราคะต้องกลับมา๓อีก
เมื่อทำกิจที่ควรทำ ยินดีสิ่งที่ควรยินดี
จะบรรลุสุขด้วยสุข๔
ปปติตสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๓. ปฐมขตสูตร

๓. ปฐมขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกกำจัด สูตรที่ ๑
[๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็น
อสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย
มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ๑สิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง กล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง กล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ
๓. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๔. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูก
ผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
๓. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๔. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย
ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๔.ทุติยขตสูตร
ผู้ใดกล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน
หรือกล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก
ย่อมไม่ประสพความสุขเพราะความผิดนั้น
การปราชัยด้วยทรัพย์ในการเล่นการพนัน
จนหมดตัวนี้ เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย
แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้ายในบุคคล
ที่ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น เป็นความผิดมากกว่า
บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่วติเตียนพระอริยะ
ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป๑
กับอีก ๕ อัพพุทกัป
ปฐมขตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกกำจัด สูตรที่ ๒
[๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็น
อสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๔ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย
มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในมารดา ย่อม
บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
๒. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบิดา ฯลฯ
๓. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในตถาคต ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๔.ทุติยขตสูตร
๔. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในสาวกของตถาคต
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้
ติเตียน และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๔
จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๔
จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูก
ผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในมารดา ย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่
ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
๒. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบิดา ฯลฯ
๓. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในตถาคต ฯลฯ
๔. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในสาวกของตถาคต
ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย
ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๔
จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย
ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
นรชนผู้ปฏิบัติผิดในมารดาบิดา
ตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือสาวกของตถาคตนั้น
ย่อมประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
เพราะการไม่ประพฤติธรรมในมารดาบิดานั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงติเตียนนรชนนั้นในโลกนี้แล
เขาจากโลกนี้ไปแล้วจึงไปสู่อบาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๕.อนุโสตสูตร
ส่วนนรชนผู้ปฏิบัติชอบในมารดาบิดา
ตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือสาวกของตถาคตนั้น
ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก
เพราะการประพฤติธรรมในมารดาบิดานั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงสรรเสริญนรชนนั้นในโลกนี้แล
เขาจากโลกนี้ไปแล้วจึงบันเทิงในสวรรค์
ทุติยขตสูตรที่ ๔ จบ

๕. อนุโสตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไปตามกระแส
[๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ

๑. บุคคลผู้ไปตามกระแส ๒. บุคคลผู้ไปทวนกระแส
๓. บุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น ๔. บุคคลผู้ลอยบาปข้าม๒ถึงฝั่ง
ดำรงอยู่บนบก๓

บุคคลผู้ไปตามกระแส เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เสพกาม๔และทำบาปกรรม๕ นี้เรียกว่าบุคคลผู้ไป
ตามกระแส

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๕.อนุโสตสูตร
บุคคลผู้ไปทวนกระแส เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เสพกามและไม่ทำบาปกรรม แม้มีทุกข์ทางกาย
และทุกข์ทางใจ ร้องไห้น้ำตานองหน้า ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้
นี้เรียกว่าบุคคลผู้ไปทวนกระแส
บุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕
ประการสิ้นไป เป็นโอปปาติกะ๑ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับจากโลกนั้นอีก
นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น
บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่าบุคคลผู้ลอย
บาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ในโลกนี้ชนผู้ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย
ยังไม่ปราศจากราคะ บริโภคกามตามปกติ
ถูกตัณหาครอบงำ เข้าถึงชาติและชราเสมอ
ชื่อว่าผู้ไปตามกระแส
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์
มีสติตั้งมั่นในโลกนี้ ไม่เสพกามและไม่ทำบาปกรรม
แม้มีทุกข์ก็ยังละกามได้
บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เป็นนักปราชญ์นั้นว่า
ผู้ไปทวนกระแส

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๖.อัปปัสสุตสูตร
นรชนผู้ละกิเลส ๕ ประการได้
มีสิกขาบริบูรณ์ เป็นผู้ไม่เสื่อมแน่นอน
ถึงความเชี่ยวชาญในจิต๑ มีอินทรีย์ตั้งมั่น
บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า ผู้มีภาวะตั้งมั่น
บุคคลผู้ประกอบด้วยญาณกำจัดธรรมทั้งหลาย
ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลให้สิ้นไปไม่เหลืออยู่
เป็นผู้ถึงเวท อยู่จบพรหมจรรย์
ถึงที่สุดแห่งโลก บัณฑิตเรียกว่าผู้ถึงฝั่ง๒
อนุโสตสูตรที่ ๕ จบ

๖. อัปปัสสุตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มีสุตะน้อย
[๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๓ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มีสุตะน้อยทั้งไม่เข้าถึงสุตะ
๒. บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงสุตะ
๓. บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงสุตะ
๔. บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ
บุคคลผู้มีสุตะน้อยทั้งไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างไร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๖.อัปปัสสุตสูตร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ๑น้อย ทั้งเขาก็หารู้อรรถ๒รู้ธรรม๓แห่งสุตะ
น้อยนั้นแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะน้อยทั้งไม่เข้าถึงสุตะ
เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละน้อย แต่
เขารู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้นแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะ
น้อย แต่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละมาก
แต่เขาหารู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะมากนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคล
ผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๖.อัปปัสสุตสูตร
บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละมาก ทั้งเขาก็รู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะมากนั้น
แล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ถ้าบุคคลมีสุตะน้อย ทั้งไม่ตั้งมั่นในศีล
บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนเขา
ทั้งในด้านศีลและสุตะ
ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย แต่ตั้งมั่นดีในศีล
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในด้านศีล
แต่สุตะของเขาไม่สมบูรณ์
ถ้าบุคคลแม้มีสุตะมาก แต่ไม่ตั้งมั่นในศีล
บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนเขาในด้านศีล
แต่สุตะของเขาสมบูรณ์
ถ้าบุคคลมีสุตะมาก ทั้งตั้งมั่นดีในศีล
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขา
ทั้งในด้านศีลและสุตะ
ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขาผู้มีสุตะมาก
ทรงธรรม มีปัญญา เป็นพุทธสาวก
ผู้เป็นเหมือนแท่งทองชมพูนุท๑
แม้เทวดาและมนุษย์ก็สรรเสริญเขา
ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา
อัปปัสสุตสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๗. โสภณสูตร

๗. โสภณสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ทำหมู่ให้งาม
[๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ผู้เฉียบแหลม
ได้รับคำแนะนำดี แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ย่อมทำหมู่ให้งาม
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
ในธรรมวินัยนี้
๑. ภิกษุผู้เฉียบแหลม ได้รับคำแนะนำดี แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมทำหมู่ให้งาม
๒. ภิกษุณี ฯลฯ
๓. อุบาสก ฯลฯ
๔. อุบาสิกาผู้เฉียบแหลม ได้รับคำแนะนำดี แกล้วกล้า เป็นพหูสูต
ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมทำหมู่ให้งาม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลผู้เฉียบแหลม ได้รับคำแนะนำดี แกล้วกล้า
เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมทำหมู่ให้งาม
บุคคลผู้เฉียบแหลม แกล้วกล้า เป็นพหูสูต
ทรงธรรม และปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เรียกว่าผู้ทำหมู่ให้งาม
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ภิกษุณีผู้เป็นพหูสูต
อุบาสกผู้มีศรัทธา และอุบาสิกาผู้มีศรัทธา๑
ชนเหล่านี้แลย่อมทำหมู่ให้งาม
ชนเหล่านี้แลชื่อว่าสังฆโสภณ
โสภณสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๘.เวสารัชชสูตร

๘. เวสารัชชสูตร
ว่าด้วยญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า
[๘] ภิกษุทั้งหลาย เวสารัชชญาณ (ญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า) ๔ ประการนี้
ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้ปฏิญญา(ยืนยัน)ฐานะที่องอาจ๑ บันลือสีหนาท๒ ประกาศ
พรหมจักร๓ในบริษัท๔
เวสารัชชญาณของตถาคต ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า “สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ
ในโลกจักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า ‘ท่านปฏิญญา
ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านก็ยังไม่รู้” เราเมื่อไม่
เห็นนิมิตแม้นี้จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
๒. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า “สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ
ในโลกจักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า ‘ท่านปฏิญญา
ว่าเป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านก็ยังไม่สิ้นไป” เราเมื่อไม่
เห็นนิมิตแม้นี้จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๘.เวสารัชชสูตร
๓. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า “สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ
ในโลกจักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า ‘อันตรายิก-
ธรรม๑ที่ท่านกล่าวไว้ไม่อาจก่ออันตรายแก่ผู้เสพได้จริง” เราเมื่อไม่
เห็นนิมิตแม้นี้จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
๔. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า “สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ
ในโลกจักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า ‘ท่านแสดงธรรม
เพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่สำเร็จเพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบแก่ผู้ทำตามได้จริง” เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นี้จึงถึงความเกษม
ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เวสารัชชญาณ ๔ ประการนี้แลที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
วาทะเหล่าใดที่สมณะหรือพราหมณ์
ตระเตรียมไว้แพร่หลาย
วาทะเหล่านั้นมาถึงตถาคตผู้แกล้วกล้า
ผู้ล่วงวาทะได้ย่อมไม่มีผล๒
สัตว์ทั้งหลายย่อมนมัสการตถาคต
ผู้เพียบพร้อมด้วยโลกุตตรธรรมทั้งหมด
ผู้ประกาศธรรมจักรครอบคลุมทั้งหมด
ผู้อนุเคราะห์สัตว์ทุกจำพวก
ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์
ผู้ถึงฝั่งแห่งภพเช่นนั้น
เวสารัชชสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๙.ตัณหุปปาทสูตร

๙. ตัณหุปปาทสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งตัณหา
[๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มีเหตุเกิดแห่งตัณหา ๔ ประการ
นี้ ที่ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นได้
มีเหตุเกิดแห่งตัณหา ๔ ประการ๑ อะไรบ้าง คือ
๑. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุ
๒. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ
๓. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ
๔. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะปัจจัยที่ดีและดีกว่า๒
ภิกษุทั้งหลาย มีเหตุเกิดแห่งตัณหา ๔ ประการนี้แลที่ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่
่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นได้
บุคคลมีตัณหาเป็นเพื่อน
เที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน
ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏ
ที่มีสภาวะอย่างนี้และสภาวะอย่างอื่น๓
ภิกษุรู้โทษนี้ รู้ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
พึงเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น
มีสติสัมปชัญญะอยู่
ตัณหุปปาทสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๑๐.โยคสูตร

๑๐. โยคสูตร
ว่าด้วยโยคะ
[๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย โยคะ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ไว้ในภพ)
๔ ประการนี้
โยคะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามโยคะ ๒. ภวโยคะ
๓. ทิฏฐิโยคะ ๔. อวิชชาโยคะ
กามโยคะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ๑ โทษ๒ และ
เครื่องสลัดกามทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดกามทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัด
เพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่น
เพราะกาม ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความติดเพราะกาม
ความอยากเพราะกามย่อมเกิดขึ้นในกามทั้งหลาย๓ นี้เรียกว่า กามโยคะ
กามโยคะ เป็นอย่างนี้
ภวโยคะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดภพทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดภพทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ
ภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความติด เพราะภพ ความอยาก
เพราะภพย่อมเกิดขึ้นในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภวโยคะ
กามโยคะและภวโยคะ เป็นอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๑๐.โยคสูตร
ทิฏฐิโยคะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดทิฏฐิทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดทิฏฐิทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ
ทิฏฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฏฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฏฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฏฐิ
ความกระหายเพราะทิฏฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฏฐิ ความติดเพราะทิฏฐิ ความ
อยากเพราะทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นในทิฏฐิทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทิฏฐิโยคะ
กามโยคะ ภวโยคะ และทิฏฐิโยคะ เป็นอย่างนี้
อวิชชาโยคะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการออกไป
ตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ย่อมเกิดขึ้นในผัสสายตนะ ๖ ประการ
นี้เรียกว่า อวิชชาโยคะ
กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ เป็นอย่างนี้
บุคคลผู้ประกอบด้วยบาปอกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพ
ใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก
เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ผู้ไม่มีความเกษม(ปลอด)จากโยคะ๑
ภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้
ความพรากจากโยคะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความพรากจากกามโยคะ ๒. ความพรากจากภวโยคะ
๓. ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ๔. ความพรากจากอวิชชาโยคะ
ความพรากจากกามโยคะ เป็นอย่างไร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๑๐.โยคสูตร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดกามทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดกามทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ
กาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม
ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความติดเพราะกาม ความอยาก
เพราะกามย่อมไม่เกิดขึ้นในกามทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความพรากจากกามโยคะ
ความพรากจากกามโยคะ เป็นอย่างนี้
ความพรากจากภวโยคะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดภพทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดภพทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ
ภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความติดเพราะภพ ความอยาก
เพราะภพย่อมไม่เกิดขึ้นในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความพรากจากภวโยคะ
ความพรากจากกามโยคะและความพรากจากภวโยคะ เป็นอย่างนี้
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดทิฏฐิทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดทิฏฐิทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ
ทิฏฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฏฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฏฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฏฐิ
ความกระหายเพราะทิฏฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฏฐิ ความติดเพราะทิฏฐิ ความอยาก
เพราะทิฏฐิย่อมไม่เกิดขึ้นในทิฏฐิทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความพรากจากทิฏฐิโยคะ
ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ และความพรากจากทิฏฐิโยคะ
เป็นอย่างนี้
ความพรากจากอวิชชาโยคะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการออกไปตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ย่อมไม่เกิดขึ้นในผัสสายตนะ ๖ ประการ นี้เรียกว่า
ความพรากจากอวิชชาโยคะ
ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ
และความพรากจากอวิชชาโยคะ เป็นอย่างนี้
บุคคลผู้พรากจากบาปอกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก เพราะเหตุ
นั้น จึงเรียกว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ
ภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้แล
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ
ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ
ถึงชาติและมรณะอยู่เป็นประจำ ย่อมไปสู่สังสารวัฏ
ส่วนสัตว์เหล่าใดกำหนดรู้กามโยคะ
และภวโยคะโดยประการทั้งปวง
ถอนทิฏฐิโยคะและคลายอวิชชาออกได้
สัตว์เหล่านั้นแลย่อมพรากจากโยคะทั้งปวง
ล่วงพ้นโยคะ เป็นมุนี๑
โยคสูตรที่ ๑๐ จบ
ภัณฑคามวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนุพุทธสูตร ๒. ปปติตสูตร
๓. ปฐมขตสูตร ๔. ทุติยขตสูตร
๕. อนุโสตสูตร ๖. อัปปัสสุตสูตร
๗. โสภณสูตร ๘. เวสารัชชสูตร
๙. ตัณหุปปาทสูตร ๑๐. โยคสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.จรวรรค ๑.จรสูตร

๒. จรวรรค
หมวดว่าด้วยอิริยาบถเดิน
๑. จรสูตร
ว่าด้วยอิริยาบถเดิน
[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากามวิตก (ความตรึกในทาง
กาม) พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท) หรือวิหิงสาวิตก (ความตรึกใน
ทางเบียดเบียน) เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังเดิน และภิกษุยินดีวิตกนั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา
ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้กำลังเดิน ผู้เป็นอย่างนี้๑ไม่มี
ความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อนต่อ
เนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังยืน และ
ภิกษุยินดีวิตกนั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้กำลังยืน ผู้เป็นอย่างนี้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เราก็เรียกว่า ‘ผู้
เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อนต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังนั่ง และ
ภิกษุยินดีวิตกนั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้กำลังนั่ง ผู้เป็นอย่างนี้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เราก็เรียกว่า ‘ผู้
เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อนต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังนอน ตื่นอยู่
และภิกษุยินดีวิตกนั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้กำลังนอน ตื่นอยู่ ผู้เป็นอย่างนี้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เราก็เรียกว่า
‘ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อนต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังเดิน และ
ภิกษุไม่ยินดีวิตกนั้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.จรวรรค ๑.จรสูตร
กำลังเดิน ผู้เป็นอย่างนี้๑ มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร
อุทิศกายและใจต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังยืน และ
ภิกษุไม่ยินดีวิตกนั้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้
กำลังยืน ผู้เป็นอย่างนี้มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราก็เรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร
อุทิศกายและใจต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังนั่ง และ
ภิกษุไม่ยินดีวิตกนั้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้
กำลังนั่ง ผู้เป็นอย่างนี้มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราก็เรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร
อุทิศกายและใจต่อเนื่องตลอดไป’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้
กำลังนอน ตื่นอยู่ และภิกษุไม่ยินดีวิตกนั้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำ
ให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้กำลังนอน ตื่นอยู่ ผู้เป็นอย่างนี้มีความเพียร มีโอตตัปปะ
เราก็เรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจต่อเนื่องตลอดไป”
ถ้าภิกษุใดผู้กำลังเดิน ยืน
นั่ง หรือนอนนึกถึงอกุศลวิตก
ที่เกี่ยวเนื่องกับการครองเรือน
ภิกษุนั้นชื่อว่าเดินทางผิด
หมกมุ่นอยู่ในอารมณ์เป็นเหตุแห่งความหลง
ภิกษุเช่นนี้ไม่สามารถบรรลุสัมโพธิญาณ๒อันสูงสุดได้
ภิกษุใดผู้กำลังเดิน ยืน
นั่ง หรือนอนให้วิตกสงบ
ยินดีในธรรมเป็นที่ระงับวิตก
ภิกษุเช่นนั้นสามารถบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุดได้
จรสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.จรวรรค ๒. สีลสูตร

๒. สีลสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มีศีล
[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์
สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์๑ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ๒และโคจร๓ มีปกติเห็น
ภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด เมื่อเธอทั้งหลาย
มีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์ สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย จะมีกิจอะไรที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเล่า
ถ้าภิกษุผู้กำลังเดินอยู่ ปราศจากอภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) พยาบาท
(ความคิดร้าย) ละถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้ง
ซ่านและร้อนใจ) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)ได้ ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน
มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่ เป็นสมาธิ
ภิกษุแม้กำลังเดินอยู่ ผู้เป็นอย่างนี้มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภ
ความเพียร อุทิศกายและใจต่อเนื่องตลอดไป’

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.จรวรรค ๓.ปธานสูตร
ถ้าภิกษุผู้กำลังยืน ฯลฯ
ถ้าภิกษุผู้กำลังนั่ง ...
ถ้าภิกษุผู้กำลังนอน ตื่นอยู่ ปราศจากอภิชฌา พยาบาท ละถีนมิทธะ
อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาได้ ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม
มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่ เป็นสมาธิ ภิกษุแม้กำลังนอน ตื่นอยู่
ผู้เป็นอย่างนี้มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราก็เรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศ
กายและใจต่อเนื่องตลอดไป
ภิกษุควรเดินสำรวม ยืนสำรวม
นั่งสำรวม นอนสำรวม
คู้เข้าสำรวม เหยียดออกสำรวม
พิจารณาความเกิดและความดับแห่งธรรมขันธ์๑
ทั่วภูมิเป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งชั้นบน ชั้นกลาง และชั้นต่ำ
นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกภิกษุเช่นนั้น
ผู้ศึกษาข้อปฏิบัติที่สมควรแก่ความสงบใจ
มีสติอยู่ทุกเมื่อว่า ‘ผู้อุทิศกายและใจต่อเนื่อง’
สีลสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปธานสูตร
ว่าด้วยสัมมัปปธาน
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ ประการนี้
สัมมัปปธาน ๔ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.จรวรรค ๔.สังวรสูตร
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ ประการนี้แล
พระขีณาสพเหล่านั้นมีสัมมัปปธาน
ครอบงำบ่วงมาร๑ได้ อันกิเลสไม่อาศัย
ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ
ท่านเหล่านั้นชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
เป็นผู้ยินดี ไม่มีความหวั่นไหว
และล่วงพ้นซึ่งกองพลมารทั้งหมด ถึงสุข๒แล้ว
ปธานสูตรที่ ๓ จบ

๔. สังวรสูตร
ว่าด้วยสังวรปธาน
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย ปธาน (ความเพียร) ๔ ประการนี้
ปธาน ๔ ประการ๓ อะไรบ้าง คือ
๑. สังวรปธาน (เพียรระวัง) ๒. ปหานปธาน (เพียรละ)
๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ) ๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.จรวรรค ๔.สังวรสูตร
สังวรปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) และโทมนัส (ความทุกข์ใจ) ครอบงำได้ จึงรักษา
จักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ...
ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ
ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุ
ให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความ
สำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า สังวรปธาน
ปหานปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่ยินดีวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น
ฯลฯ ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า ปหานปธาน
ภาวนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ
ความระลึกได้) ที่อาศัยวิเวก๓ อาศัยวิราคะ๓ อาศัยนิโรธ๓ น้อมไปในโวสสัคคะ เจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเฟ้นธรรม) ... เจริญวิริย-
สัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๒.จรวรรค ๕. ปัญญัตติสูตร
เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์
แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์
แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่ง
การตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง) ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน
อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตามรักษาสมาธินิมิตที่ชัดดีซึ่งเกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิก-
สัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน) ปุฬุวก-
สัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด) วินีลกสัญญา (กำหนด
หมายซากศพที่มีสีเขียวคล่ำคละด้วยสีต่าง ๆ) วิปุพพกสัญญา (กำหนดหมายซาก
ศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตามที่ที่แตกปริออก) วิจฉิททกสัญญา (กำหนดหมาย
ซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน) อุทธุมาตกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่เน่า
พองขึ้นอืด) นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน
ภิกษุทั้งหลาย ปธาน ๔ ประการนี้แล
ปธาน ๔ ประการนี้ คือ
สังวรปธาน ปหานปธาน
ภาวนาปธาน และอนุรักขนาปธาน
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ทรงแสดงไว้แล้ว
ที่เป็นเหตุให้ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ผู้มีความเพียร ถึงความสิ้นทุกข์
สังวรสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปัญญัตติสูตร
ว่าด้วยการบัญญัติสิ่งที่เลิศ
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย บัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้
บัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๒.จรวรรค ๖.โสขุมมสูตร
๑. บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพใหญ่ ราหูผู้เป็นจอมอสูรเป็นเลิศ
๒. บรรดากามโภคีบุคคล๑ พระเจ้ามันธาตุเป็นเลิศ
๓. บรรดาบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ มารผู้มีบาปเป็นเลิศ
๔. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศใน
โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย บัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้แล
บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพใหญ่
ราหูผู้เป็นจอมอสูรเป็นเลิศ
บรรดากามโภคีบุคคล พระเจ้ามันธาตุเป็นเลิศ
บรรดาบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ มารเป็นเลิศ
พระพุทธเจ้าผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ
ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ทั่วภูมิเป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งชั้นบน ชั้นกลาง และชั้นต่ำ
ปัญญัตติสูตรที่ ๕ จบ

๖. โสขุมมสูตร
ว่าด้วยโสขุมมญาณ
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย โสขุมมญาณ๒(ญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้ลักษณะละเอียด)
๔ ประการนี้
โสขุมมญาณ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๒.จรวรรค ๖.โสขุมมสูตร
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยรูปโสขุมมญาณ๑ ไม่เห็นรูปโสขุมมญาณอื่น
ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่ารูปโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนา
รูปโสขุมมญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่ารูปโสขุมมญาณนั้น
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยเวทนาโสขุมมญาณ ไม่เห็นญาณอื่นที่ยิ่งกว่าหรือ
ประณีตกว่าเวทนาโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนาเวทนาโสขุมม-
ญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าเวทนาโสขุมมญาณนั้น
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยสัญญาโสขุมมญาณ ไม่เห็นญาณอื่นที่ยิ่งกว่าหรือ
ประณีตกว่าสัญญาโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนาสัญญาโสขุมม-
ญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสัญญาโสขุมมญาณนั้น
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยสังขารโสขุมมญาณ ไม่เห็นสังขารโสขุมมญาณอื่น
ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสังขารโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนา
สังขารสขุมมญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสังขารโสขุมม-
ญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย โสขุมมญาณ ๔ ประการนี้แล
ภิกษุใดรู้ความละเอียดแห่งรูปขันธ์
รู้แดนเกิดแห่งเวทนาขันธ์
รู้เหตุเกิดและที่ดับแห่งสัญญาขันธ์
รู้สังขารขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง๒
เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
ภิกษุนั้นแลเห็นชอบ สงบ
ยินดีในสันติบท๓ ชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
ธำรงร่างกายชาติสุดท้ายไว้
โสขุมมสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๒.จรวรรค ๘.ทุติยอคติสูตร

๗. ปฐมอคติสูตร
ว่าด้วยอคติ สูตรที่ ๑
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ๑ (ความลำเอียง) ๔ ประการนี้
การถึงอคติ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมถึง
๑. ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ) ๒. โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)
๓. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง) ๔. ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)
ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้แล
บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม
ดุจดวงจันทร์ข้างแรมฉะนั้น
ปฐมอคติสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยอคติสูตร
ว่าด้วยอคติ สูตรที่ ๒
[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้
การไม่ถึงอคติ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมไม่ถึง
๑. ฉันทาคติ ๒. โทสาคติ
๓. โมหาคติ ๔. ภยาคติ
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๒.จรวรรค ๙. ตติยอคติสูตร
บุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
ยศของบุคคลนั้นย่อมบริบูรณ์
ดุจดวงจันทร์ข้างขึ้นฉะนั้น
ทุติยอคติสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตติยอคติสูตร
ว่าด้วยอคติ สูตรที่ ๓
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้
การถึงอคติ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมถึง
๑. ฉันทาคติ ๒. โทสาคติ
๓. โมหาคติ ๔. ภยาคติ
ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้
การไม่ถึงอคติ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมไม่ถึง
๑. ฉันทาคติ ๒. โทสาคติ
๓. โมหาคติ ๔. ภยาคติ
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้แล
บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม
ดุจดวงจันทร์ข้างแรมฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๒.จรวรรค ๑๐.ภัตตุทเทสกสูตร
ส่วนบุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
ยศของบุคคลนั้นย่อมบริบูรณ์
ดุจดวงจันทร์ข้างขึ้นฉะนั้น
ตติยอคติสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภัตตุทเทสกสูตร๑
ว่าด้วยพระภัตตุทเทสกะเลวและดี
[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสกะ๒ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระภัตตุทเทสกะย่อมถึง
๑. ฉันทาคติ ๒. โทสาคติ
๓. โมหาคติ ๔. ภยาคติ
ภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสกะผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อม
ดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสกะผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระภัตตุทเทสกะย่อมไม่ถึง
๑. ฉันทาคติ ๒. โทสาคติ
๓. โมหาคติ ๔. ภยาคติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๒.จรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสกะผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อม
ดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย
ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่เคารพธรรม ถึงอคติ
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
บุคคลเช่นนี้ เราเรียกว่าผู้เป็นขยะในบริษัท
สมณะผู้รู้กล่าวไว้แล้วอย่างนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรม
ไม่ทำบาป ไม่ถึงอคติ
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
เป็นสัตบุรุษที่น่าสรรเสริญ
บุคคลเช่นนี้ เราเรียกว่าผู้ผุดผ่องในบริษัท
สมณะผู้รู้กล่าวไว้แล้วอย่างนี้แล
ภัตตุทเทสกสูตรที่ ๑๐ จบ
จรวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จรสูตร ๒. สีลสูตร
๓. ปธานสูตร ๔. สังวรสูตร
๕. ปัญญัตติสูตร ๖. โสขุมมสูตร
๗. ปฐมอคติสูตร ๘. ทุติยอคติสูตร
๙. ตติยอคติสูตร ๑๐. ภัตตุทเทสกสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑.ปฐมอุรุเวลสูตร

๓. อุรุเวลวรรค
หมวดว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลา

๑. ปฐมอุรุเวลสูตร
ว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลา สูตรที่ ๑
[๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อแรกตรัสรู้ เราอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำ
เนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เรานั้นหลีกเร้นอยูในที่สงัด ได้เกิดความรำพึงขึ้นมา
อย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราพึงสักการะ เคารพ
อาศัยสมณะหรือพราหมณ์คนไหนหนอแลอยู่’ ดังนี้
เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่น
อยู่เพื่อความบริบูรณ์แห่งสีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์
อื่นในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์
เทวดา และมนุษย์ที่มีศีลสมบูรณ์กว่าเรา ที่เราจะพึงสักการะ เคารพ อาศัยอยู่
เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ฯลฯ
เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ฯลฯ
เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และ
มนุษย์ที่มีวิมุตติสมบูรณ์กว่าเรา ที่เราจะพึงสักการะ เคารพ อาศัยอยู่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑.ปฐมอุรุเวลสูตร
เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรจะสักการะ เคารพ อาศัยธรรมที่เรา
ตรัสรู้แล้วนั่นแลอยู่’
ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมกำหนดรู้ความรำพึงด้วยใจ หายตัวจากพรหม-
โลกมาปรากฏต่อหน้าเราเปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น
ครั้นแล้วท้าวเธอห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าด้านขวาลงบนแผ่นดิน ประนมมือ
มาทางเรา ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าในอดีตทรงสักการะ เคารพ อาศัยธรรมอยู่ พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตจักสักการะ เคารพ อาศัยธรรมอยู่ แม้พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ขอจงสักการะ เคารพ อาศัยธรรมอยู่เถิด’
ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
‘พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต
และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจจุบัน
ผู้ขจัดความโศกของสัตว์เป็นจำนวนมากให้พินาศไป
ทุกพระองค์ล้วนเคารพพระสัทธรรมอยู่
นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล กุลบุตรผู้ใฝ่ประโยชน์
มุ่งหวังความเป็นใหญ่
ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงเคารพพระสัทธรรม’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมครั้นกล่าวคาถาประพันธ์นี้แล้วจึงไหว้เรา ทำ
ประทักษิณแล้วหายไปในที่นั้นเอง ภิกษุทั้งหลาย การที่เราทราบการเชื้อเชิญของพรหม
และสักการะ เคารพ อาศัยธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนั่นแลอยู่ เป็นการสมควรแก่เรา
แต่เมื่อใดสงฆ์ประกอบด้วยความเป็นใหญ่๑ เมื่อนั้นเราก็มีความเคารพในสงฆ์”
ปฐมอุรุเวลสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๒.ทุติยอุรุเวลสูตร

๒. ทุติยอุรุเวลสูตร
ว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลา สูตรที่ ๒
[๒๒] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อแรกตรัสรู้ เราอาศัยอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้นแล พราหมณ์จำนวนมากเป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑ ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดม
พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาว่า พระสมณโคดมไม่อภิวาท ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่
ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย หรือไม่เชื้อเชิญให้นั่ง ท่านพระโคดม เรื่องที่
พวกข้าพเจ้าได้ทราบมานั้นจริงทีเดียว เพราะท่านพระโคดมไม่อภิวาท ไม่ลุกรับพวก
พราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย หรือไม่เชื้อเชิญให้นั่ง การที่ท่าน
พระโคดมทำเช่นนั้นไม่สมควรเลย’
เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘ท่านเหล่านี้ไม่รู้จักเถระหรือธรรมที่ทำให้เป็นเถระ’
ถึงแม้นับแต่เกิดมา บุคคลจะเป็นคนแก่มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี แต่เขา
พูดไม่ถูกเวลา พูดคำไม่จริง พูดไม่อิงประโยชน์ พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย
พูดคำไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่
เหมาะแก่เวลา เขาย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นเถระผู้โง่เขลา’ โดยแท้
ถึงแม้ว่าจะเป็นเด็ก ยังเป็นหนุ่มรุ่นเยาว์ มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความ
เป็นหนุ่มแน่นอยู่ในปฐมวัย แต่เขาพูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิงประโยชน์ พูดอิง
ธรรม พูดอิงวินัย พูดคำมีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
เหมาะแก่เวลา เขาย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นเถระ๒ผู้ฉลาด’ โดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ทำให้เป็นเถระ ๔ ประการนี้
ธรรมที่ทำให้เป็นเถระ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๒.ทุติยอุรุเวลสูตร
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์
ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๑
๓. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๒ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๔. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ทำให้เป็นเถระ ๔ ประการนี้แล”
บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
มีความดำริไม่มั่นคงเหมือนมฤค
ยินดีในอสัทธรรม กล่าวคำไร้สาระเป็นอันมาก
มีความเห็นต่ำทราม ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
ย่อมห่างไกลจากความเป็นผู้มั่นคง
ส่วนบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
มีสุตะ มีปฏิภาณ ประกอบอยู่ในธรรมที่มั่นคง
ย่อมเห็นแจ้งอรรถแห่งอริยสัจด้วยมรรคปัญญา
ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง๓ ไม่มีกิเลสเกาะยึดไว้
มีปฏิภาณ ละความเกิดและความตายได้แล้ว
เพียบพร้อมด้วยพรหมจรรย์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๓.โลกสูตร
เราเรียกภิกษุผู้ไม่มีอาสวะว่า ‘เถระ’
เราเรียกภิกษุนั้นว่า ‘เถระ’ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ทุติยอุรุเวลสูตรที่ ๒ จบ

๓. โลกสูตร
ว่าด้วยโลก
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย โลก๑ตถาคตตรัสรู้๒แล้ว ตถาคตพรากจากโลก ตถาคต
ตรัสรู้เหตุเกิดแห่งโลก ตถาคตละเหตุเกิดแห่งโลกแล้ว ตถาคตตรัสรู้ความดับแห่ง
โลก ตถาคตทำให้ประจักษ์ซึ่งความดับแห่งโลก ตถาคตตรัสรู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับแห่งโลก ตถาคตบำเพ็ญข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งโลกแล้ว
เพราะตถาคตตรัสรู้รูปที่ได้เห็น๓ เสียงที่ได้ฟัง๔ อารมณ์ที่ได้ทราบ๕ ธรรมารมณ์
ที่รู้แจ้ง๖ที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ถึง แสวงหา ตรองตามด้วยใจทั้งหมด ฉะนั้น
ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
เพราะตถาคตตรัสรู้ในราตรีใด ปรินิพพานในราตรีใด ในระหว่างนี้ย่อมภาษิต
กล่าว แสดงออกซึ่งคำใด คำนั้นทั้งหมดเป็นจริงอย่างนั้นแล ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น
ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
เพราะตถาคตกล่าวอย่างใด ก็ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ก็กล่าวอย่างนั้น ฉะนั้น
ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๓.โลกสูตร
เพราะตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ แผ่อำนาจไปใน
โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต‘๑
บุคคลใดรู้แจ้งโลกทั้งปวง
ตามความเป็นจริงทั้งหมด
พรากจากโลกทั้งปวง
ไม่มีกิเลสสั่งสมอยู่ในโลกทั้งปวง
บุคคลนั้นแลครอบงำอารมณ์ได้ทั้งหมด
เป็นนักปราชญ์ ปลดเปลื้องกิเลสที่ร้อยรัดได้ทั้งหมด
บรรลุนิพพานที่มีความสงบอย่างยิ่ง
ไม่มีภัยแต่ที่ไหน
บุคคลนี้สิ้นอาสวะ เป็นพุทธะ๒
ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้
บรรลุความสิ้นกรรมทั้งปวง
หลุดพ้นเพราะสิ้นอุปธิกิเลส
บุคคลนั้นเป็นผู้มีโชค ตรัสรู้
เปรียบเหมือนราชสีห์ที่ยอดเยี่ยม
ประกาศพรหมจักรแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก
เพราะเหตุนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ที่ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ๓ มาประชุมกัน
นมัสการพระองค์ผู้ยิ่งใหญ่ ทรงแกล้วกล้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๔.กาฬการามสูตร
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนมัสการพระพุทธเจ้านั้น
ผู้ยิ่งใหญ่ ทรงแกล้วกล้าด้วยการสรรเสริญว่า
เป็นผู้ฝึกตนที่ประเสริฐสุดในหมู่ผู้ฝึกตนทั้งหลาย
เป็นฤๅษีผู้สงบกว่าผู้สงบทั้งหลาย
เป็นผู้หลุดพ้นที่ยอดเยี่ยมกว่าผู้หลุดพ้นทั้งหลาย
เป็นผู้ข้ามพ้นที่ประเสริฐกว่าผู้ข้ามพ้นทั้งหลาย
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ไม่มีบุคคลที่เปรียบเทียบกับพระองค์ได้
โลกสูตรที่ ๓ จบ

๔. กาฬการามสูตร
ว่าด้วยพุทธกิจในกาฬการาม
[๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กาฬการาม เขตเมืองสาเกต
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง
ที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดา และมนุษย์ถึง แสวงหา ตรองตามด้วยใจนั้นเราก็รู้
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งที่ชาวโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ถึง แสวงหา ตรองตามด้วยใจนั้นเราก็รู้แล้ว ตถาคตรู้แจ้งรูปที่ได้
เห็นเป็นต้นนั้น อารมณ์๑นั้นไม่ปรากฏในตถาคต
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ชาว
โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ถึง แสวงหา ตรองตามด้วยใจนั้นเรากล่าวว่า ‘ไม่รู้’ คำนั้นของ
เราพึงเป็นคำเท็จ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๔. กาฬการามสูตร
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ฯลฯ นั้น
เราพึงกล่าวว่า ‘ทั้งรู้และไม่รู้’ แม้คำนั้นพึงเป็นคำเท็จเช่นเดียวกัน
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ฯลฯ นั้น
เราพึงกล่าวว่า ‘รู้ก็มิใช่ ไม่รู้ก็มิใช่’ คำนั้นพึงเป็นโทษแก่เรา
ตถาคตเห็นรูปที่ควรเห็นแล้ว แต่ไม่สำคัญว่าได้เห็น ไม่สำคัญว่าไม่ได้เห็น ไม่
สำคัญว่าต้องได้เห็น ไม่สำคัญว่าเป็นผู้เห็น ฟังเสียงที่ควรฟังแล้ว แต่ไม่สำคัญว่า
ได้ฟัง ไม่สำคัญว่าไม่ได้ฟัง ไม่สำคัญว่าต้องได้ฟัง ไม่สำคัญว่าเป็นผู้ฟัง ทราบอารมณ์
ที่ควรทราบแล้ว แต่ไม่สำคัญว่าได้ทราบ ไม่สำคัญว่าไม่ได้ทราบ ไม่สำคัญว่าต้อง
ได้ทราบ ไม่สำคัญว่าเป็นผู้ทราบ รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ควรรู้แจ้งแล้ว แต่ไม่สำคัญว่า
ได้รู้แจ้ง ไม่สำคัญว่าไม่ได้รู้แจ้ง ไม่สำคัญว่าต้องได้รู้แจ้ง ไม่สำคัญว่าเป็นผู้รู้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้คงที่เช่นนั้นแลในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง
อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เรากล่าวว่า ‘บุคคลอื่นผู้คงที่๑ยิ่งกว่าหรือ
ประณีตกว่าตถาคตผู้คงที่นั้น ไม่มี’
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ที่คนเหล่าอื่นหมกมุ่นแล้ว สำคัญกันว่าจริง
ตถาคตเป็นผู้คงที่ในรูปเป็นต้นเหล่านั้น
ที่สำรวมระวังดีแล้วด้วยพระองค์เอง
ไม่ปักใจเชื่อว่าจริงหรือเท็จ
เราเห็นลูกศรคือทิฏฐินี้ก่อนแล้ว
จึงรู้เห็นลูกศรคือทิฏฐินั้น
ที่หมู่สัตว์หมกมุ่นแล้ว ข้องอยู่อย่างนั้น
แต่ตถาคตทั้งหลายไม่มีความหมกมุ่น
กาฬการามสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.อุรุเวลวรรค ๖.กุหสูตร

๕. พรหมจริยสูตร
ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประพฤติพรหมจรรย์นี้มิใช่เพื่อจะลวงคน มิใช่
เพื่อเกลี้ยกล่อมคน มิใช่เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและชื่อเสียง มิใช่เพื่อ
อานิสงส์คือการอวดอ้างวาทะ มิใช่เพื่อให้คนรู้ว่า ‘คนจงรู้จักเราด้วยอาการอย่างนี้’
แท้จริง ตถาคตประพฤติพรหมจรรย์นี้เพื่อสำรวมระวัง เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับทุกข์
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ได้ทรงแสดงพรหมจรรย์
ปราศจากความยึดมั่นถือมั่นแต่โบราณ
ทำให้สัตว์ถึงพระนิพพานเพื่อสำรวมระวัง เพื่อละ
หนทางนี้ท่านผู้ใหญ่
ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ดำเนินไปตามแล้ว
อนึ่ง เหล่าชนผู้ปฏิบัติตามแนวทาง
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
พรหมจริยสูตรที่ ๕ จบ

๖. กุหสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้หลอกลวง
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดหลอกลวง กระด้าง ประจบ ชอบวางท่า
อวดดี มีจิตไม่ตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าไม่ใช่ผู้นับถือเรา ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้
และย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ส่วนภิกษุเหล่าใดไม่หลอก
ลวง ไม่ประจบ เป็นนักปราชญ์ ไม่กระด้าง มีจิตตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นแลชื่อว่า
ผู้นับถือเรา ไม่ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ และถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๗. สันตุฏฐิสูตร
พวกภิกษุผู้หลอกลวง กระด้าง
ประจบ ชอบวางท่า อวดดี
และมีจิตไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่งอกงามในธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว
ส่วนภิกษุที่ไม่หลอกลวง ไม่ประจบ
เป็นนักปราชญ์ ไม่กระด้าง
และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมงอกงามในธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว
กุหสูตรที่ ๖ จบ

๗. สันตุฏฐิสูตร
ว่าด้วยความสันโดษด้วยปัจจัย ๔
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัย ๔ อย่างนี้มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
ปัจจัย ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. บรรดาจีวร บังสุกุลจีวร(ผ้าที่ได้มาจากกองฝุ่น) มีค่าน้อย หาได้ง่าย
และไม่มีโทษ
๒. บรรดาโภชนะ ปิณฑิยาโลปโภชนะ (โภชนะคือคำข้าวที่ได้มาด้วย
กำลังปลีแข้ง) มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
๓. บรรดาเสนาสนะ รุกขมูลเสนาสนะ (อยู่อาศัยโคนไม้) มีค่าน้อย
หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
๔. บรรดายารักษาโรค ปูติมุตตเภสัช (ยาดองน้ำมูตรเน่า) มีค่าน้อย
หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
ปัจจัย ๔ อย่างนี้แลมีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยที่มีค่าน้อยและหาได้ง่าย นี้
เราจึงกล่าวว่า ‘เป็นองค์ประกอบแห่งความเป็นสมณะอย่างหนึ่ง’ ของภิกษุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๘.อริยวังสสูตร
จิตของภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัย
ที่มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
ย่อมไม่มีความคับแค้น ไม่ติดขัดทั่วทิศ
เพราะปรารภจีวร โภชนะ เสนาสนะ และยารักษาโรค
และธรรมที่เหมาะแก่ความเป็นสมณะ
ที่ภิกษุนั้นกล่าวไว้แล้ว
อันภิกษุผู้สันโดษ ไม่ประมาท บรรลุแล้ว
สันตุฏฐิสูตรที่ ๗ จบ

๘. อริยวังสสูตร
ว่าด้วยอริยวงศ์
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์๑ ๔ ประการนี้รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน
ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง
ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
อริยวงศ์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สันโดษ๒ด้วยจีวรตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวร
ตามแต่จะได้ ไม่แสวงหาอันไม่สมควรเพราะจีวรเป็นเหตุ ไม่ได้จีวร
ก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง
มองเห็นโทษ๓ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่ และไม่ยกตน
ข่มผู้อื่นเพราะความสันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้นั้น ภิกษุใดขยัน

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น